Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย

Month: August 2019

11 วิธี ฝึกเด็กๆ พร้อมเป็นผู้นำ
Character building
9 August 2019

11 วิธี ฝึกเด็กๆ พร้อมเป็นผู้นำ

เรื่อง The Potential ภาพ antizeptic

‘ภาวะความเป็นผู้นำ’ หรือ Leadership 1 ใน 16 ทักษะในศตวรรษที่ 21 (21st century skills) หมวด Character Qualities – กลุ่มทักษะด้านคุณสมบัติ, คุณลักษณะ หรือ นิสัย ที่คนคนหนึ่งจะมีเพื่อแก้ปัญหาในโลกอนาคตที่จะซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ

ท่ามกลางบทความแนะนำสร้างความเป็นผู้นำฉบับ ‘How to’ นับพันจากสื่อมวลชนทุกแขนง คาริน เฮิร์ท (Karin Hurt) และ เดวิด ดาย (David Dye) นักพูดและเทรนเนอร์ระดับโลกเรื่องภาวะผู้นำ และเจ้าของหนังสือรางวัล Winning Well : A Manager’s Guide to Getting Results Without Losing Your Soul แนะนำ 11 วิธีสร้างภาวะผู้นำให้เด็กๆ แบบเข้าใจง่าย สร้างสรรค์ และน่าหยิบยืมทดลองไปใช้

มีทั้งหมด 11 วิธีด้วยกัน

1. สร้างบทบาทให้เด็กเป็น ‘ผู้ให้’ 

สร้างสถานการณ์ให้เค้าได้แบ่งปันสิ่งของ และชวนคิดชวนคุยด้วยว่าเค้าคิดอย่างไรกับการให้แบบนี้ เพื่อให้เห็นอกเห็นใจผู้คนที่มีสถานการณ์ไม่เหมือนตัวเอง

2. พูดกับเค้าเหมือนพูดกับผู้ใหญ่ 

คุยเรื่องสถานการณ์บ้านเมืองกับเด็กได้เลย วิธีนี้จะพัฒนาทักษะการฟังและเคารพมุมมองของผู้อื่น

3. ให้เป็นหนึ่งในผู้ร่วมตัดสินใจปัญหาครอบครัว

ลือกสถานการณ์ที่ต้องการการตัดสินใจ ชวนเด็กๆ ลงความเห็น ระหว่างพูดคุย ทุกคนต้องรับฟังกันจริงๆ

4. สร้างบรรยากาศการอ่าน

ชวนเด็กๆ คุยเรื่องคาแรกเตอร์และความสัมพันธ์ของผู้คนในหนังสือ เพื่อให้เด็กเข้าใจบทบาทและมุมมองของผู้คนหลากหลาย

5. พาเด็กๆ ไปทำงานด้วย

มอบหมายงานให้เด็กบริหารจัดการจริง ผู้ใหญ่ต้องอธิบายกระบวนการให้ฟังอย่างชัดเจน ถามความเห็นเพื่อให้เด็กออกแบบการทำงาน วิธีนี้สร้างความมุ่งมั่นและการปรับตัวยืดหยุ่น

6. ยอมรับเวลาคุณทำผิด

ชวนคุยเวลาคุณทำอะไรผิดพลาด ให้เด็กรู้ว่าไม่มีใครเพอร์เฟค แต่ความผิดพลาดคือบทเรียน ทุกวัยยังต้องเรียนรู้เพื่อเติบโตอยู่ทุกวัน

7. แวดล้อมด้วยคนที่มีภาวะผู้นำ

เพราะเด็กๆ ไม่เรียนจากการสั่งสอน แต่เค้าจะเป็นในสิ่งที่ผู้ใหญ่เป็น เป็นอย่างสิ่งแวดล้อมที่พวกเค้าอยู่

8. ให้เป็นผู้กล่าวต้อนรับเวลามีงานที่บ้าน

วิธีนี้ทำให้เด็กๆ ต้องรู้จักทุกคน ออกแบบว่าจะต้องร่างสุนทรพจน์สั้นๆ อย่างไร ไม่ใช่แค่มิตรไมตรีแต่ความมั่นใจที่ได้ทำอะไรด้วยตัวเองย่อมเกิดขึ้น

9. สร้างเครือข่าย

ไม่ใช่แค่รู้จักคนมาก แต่การรู้ว่าเครือข่ายสำคัญ มาพร้อมกับความสัมพันธ์เรื่องความซื่อสัตย์ต่อกลุ่ม ซึ่งสำคัญมากต่อการทำงานเป็นทีม

10. ช่วยเด็กหาอัตลักษณ์ของตัวเอง

ช่วยเด็กๆ หาpassion ด้วยการชวนคุยหรือเขียนถึงสิ่งที่ตัวเองชอบ เด็กๆ รู้ว่าเค้าจะพูดในสิ่งที่ต้องการ นี่คือการรู้จักตัวเอง

11. ถามคำถามที่เฉียบคม

เช่น ‘ถ้าไม่ทำวิธีนี้ ทำวิธีอื่นได้มั้ย?’ คำถามชวนคิดและไม่ชี้นำเหล่านี้จะช่วยร่างกรอบความคิดให้ชัดเจน และเด็กๆ เองจะได้นำทักษะของผู้นำข้อนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันด้วย

หมายเหตุ : อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่  11 วิธีสร้างสิ่งแวดล้อมให้เด็กเป็นผู้นำ: เคารพตัวเอง มุ่งมั่น ยืดหยุ่น ตัวอย่างนิสัยข้างในที่เด็กๆ จะได้

ที่มา:

letsgrowleaders.com

Tags:

คาแรกเตอร์(character building)21st Century skillsภาวะผู้นำ(leadership)

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Illustrator:

illustrator

antizeptic

Related Posts

  • Character building
    11 วิธีสร้างสิ่งแวดล้อมให้เด็กเป็นผู้นำ: เคารพตัวเอง มุ่งมั่น ยืดหยุ่น ตัวอย่างนิสัยข้างในที่เด็กๆ จะได้

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ บัว คำดี

  • 21st Century skills
    10 ทักษะผู้นำของคนในวงการไซเบอร์ ที่โลกอนาคตต้องการ

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Family Psychology
    เลี้ยงลูกด้วยจุดแข็ง อย่าเสียเวลาไปกับข้อผิดพลาด นี่แหละพ่อแม่สายสตรอง

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • 21st Century skills
    ในห้องเรียน ‘ความคิดสร้างสรรค์’ วัดกันได้ และไม่ต้องใช้คะแนนหรือเกรดเฉลี่ย

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • 21st Century skills
    เป็นเด็กยิ่งต้อง ‘เถียง’ และเถียงอย่างสร้างสรรค์เพื่อเข้าใจตัวเองและคนอื่น

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

กวิ๊: ดริปกาแฟ หมักเหล้าบ๊วยแบบโลกไม่สวยแต่ยั่งยืน
Everyone can be an Educator
8 August 2019

กวิ๊: ดริปกาแฟ หมักเหล้าบ๊วยแบบโลกไม่สวยแต่ยั่งยืน

เรื่องและภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • กวิ๊-อำนวย นิยมไพรเวศน์ เกษตรกรปกาเกอะญอ บ้านหนองเต่า ที่เชื่อมั่นในการต่อสู้ด้วยข้อมูล ใช้บทธา (บทกวีในภาษาปกาเกอะญอ แปลว่า ชาวปกาเกอะญอใช้เป็นเครื่องมือสอนวิถีการใช้ชีวิตให้ลูกหลาน) เป็น soft power สร้างความเข้มแข็งจากภายในชุมชน
  • กวิ๊ ไม่เคยหยุดอยู่กับที่ทดลองทำเกษตรหลายด้านด้วยความความหลงใหล ทั้งการหมักเหล้าบ๊วย ทำพิซซ่าโฮมเมด และพัฒนาเมล็ดพันธุ์กาแฟ
  • “แล้วการมาซื้อกาแฟของผม คุณไม่ได้แต่จะมาซื้อกาแฟ เราจะเป็นพี่น้องกัน คุณมีอะไรดีเยอะแยะ องค์ความรู้ที่คุณมีก็มาแบ่งปันกัน เราไม่ได้คิดแค่เรื่องธุรกิจ แต่เราคิดว่าเราจะเป็นเพื่อนหรือเป็นพี่น้องกันยาวนานได้อย่างไร” นี่คือมุมมองและไอเดียวิธีคิดของกวิ๊ต่อการทำการตลาดเกษตรแบบคนรุ่นใหม่

“หาอะไรแถวนี้มาทำพิซซ่าได้นะ”

ประโยคเรียบๆ แทรกวงสนทนาของผู้มาเยือนที่กำลังตาหยีอยู่กับรสเปรี้ยวของเสาวรสสด กวิ๊-อำนวย นิยมไพรเวศน์ เกษตรกรปกาเกอะญอรุ่นใหม่เดินเข้ามาด้วยท่าทีสบายๆ โพกผ้าบนศีรษะคล้ายเชฟญี่ปุ่น เขาเอ่ยชวนให้เก็บผักพื้นถิ่นและหาวัตถุดิบสนุกๆ รอบบ้านสำหรับมื้อเย็นที่กำลังใกล้เข้ามา เรานัดแนะกันไว้แล้วว่าจะอบพิซซ่าเตาถ่านกินกันที่บ้านของเขา

แดดบ่ายอุ่นตามความสูงของภูเขา อุ่นเหมือนเอามืออังข้าวหุงสุกใหม่ๆ สายลมผสมความเขียวของแปลงผักและธรรมชาติรอบๆ เราเพิ่งทอดทิ้งความร้อนอ้าวในตัวเมืองเชียงใหม่อย่างไม่ไยดีเพื่อมาหาอากาศดีแบบไม่ประนีประนอมที่หมู่บ้านหนองเต่า ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง หนึ่งในชุมชนปกาเกอะญอที่มีทั้งคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และวิถียั่งยืนตามปรัชญาดั้งเดิมและร่วมสมัยของสองกาลเวลา

“บ้านกวิ๊นี่มันฮิปสเตอร์จริงๆ”

ชาวแก๊งจากเมืองใหญ่แซวกันว่านี่คือความ slow life แบบไม่เกรงใจนิตยสาร Kinfolk ในขณะที่กำลังม่วนใจอยู่กับกาแฟดริปที่คนแปรรูปยืนห่างออกไปแค่ราว 20 เมตร เราสังเกตเห็นว่าบ้านกวิ๊มีเตาอบทรงเห็ด ดริปเปอร์ที่ทำจากดินภูเขาไฟ เขาออกแบบครัวไม้ไผ่เล็กๆ สไตล์ญี่ปุ่น ชั้นบนเป็นเหล้าบ๊วยโฮมเมดรสละมุน เดินออกไปไม่ถึง 10 ก้าวก็เจอศาลาริมน้ำที่เดินไปหย่อนใจได้อย่างสงบ

เขายิ้มบางๆ รับคำแซวและสายตาค้อนอ่อนๆ จากผู้มาเยือนโดยดีทุกรอบ

บ้านหนองเต่า บ้านที่เขาชอบ ชอบมากจนไม่อยากจากไปไหนไกลตั้งแต่เด็กๆ พ่อแม่ส่งไปเรียนหนังสือที่สันป่าตองตอนประถม 3 ได้ไม่นานก็ขอกลับมาเรียนที่โรงเรียนใกล้บ้าน มัธยมต้นพยายามอีกครั้งที่จะออกไปไกลจากชุมชน มัธยม 3 ลองไปเรียนไกลถึงลำพูนได้แค่เดือนเดียว แต่ความพยายามกลายเป็นศูนย์เพราะเขากลับมาเรียนที่บ้านอีกจนได้ ด้วยเหตุผลเดิมๆ ที่ว่า “ผมชอบอยู่บ้าน”

“พอเรียน ม.ปลายปุ๊บ ผมก็คิดว่าต้องมีรายได้ ผมเรียนไปด้วย ทำงานเก็บเงินไปด้วย ไปทำงานวัดซึ่งเขาจะให้ปั้นปูนเป็นซุ้มดอกไม้ ซุ้มประตูรูปดอกบัว มีญาติพี่น้องชวนผมไปทำเป็นรายวัน ยุคนั้นชุมชนก็เข้มข้นเรื่องกิจกรรมในชุมชน ปัญหาทรัพยากรและกฎหมายทับที่นะ ผมก็ไปๆ มาๆ อยู่กับกลุ่มหนุ่มสาวและเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือ (คกน.) เพื่อร่วมกิจกรรมแล้วกลับมาทำงาน เก็บเงินซื้อรถมอเตอร์ไซค์ได้บ้าง

“ผมปั้นปูนตามวัดอยู่ทุกวัน ทั้งวัน ตั้งแต่ 8 โมงถึง 5 โมง เลยคิดตามว่าถ้าอยู่บ้านแล้วทำงานตั้งแต่ 8 โมง-5 โมงเย็น งานที่บ้านน่าจะสำเร็จได้ดีเลย ถ้าเราทำแบบนี้เต็มๆ 1 ปี มันจะเหลือให้เรากินเยอะแยะมากมาย ทำไมเราไม่ทำ”

กวิ๊คิดถึงบ้านแบบไม่ดราม่า ไม่มีน้ำตา มีแต่แรงของวัยเยาว์และแพชชั่นที่อยากเห็นการเกษตรยั่งยืนเติบโตขึ้นในชุมชน เพราะปัญหาทรัพยากรขาดแคลนเริ่มใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และโลกไม่มานั่ง slow life กับคนที่หมุนตามมันไม่ทัน

เขาเติบโตมาจากการเห็นประเพณีดั้งเดิมของปกาเกอะญอมีสีสัน เกิดมาในวันที่ทรัพยากรยังอุดมสมบูรณ์เพราะทุกคนจัดสรรกันได้อย่างเป็นสัดเป็นส่วน วันนี้การรู้เท่าทันธรรมชาติและตัวเองน้อยลง พื้นที่ทำกินและวิธีการทำกินของพี่น้องปกาเกอะญอเริ่มน่าเป็นห่วง

ยุคสมัยและวิถีที่เปลี่ยนไปส่งผลให้เกษตรกรถูกบีบให้ทำการเกษตรเชิงเดี่ยว บางบ้านใช้สารเคมีเข้มข้น แต่สภาพความเป็นอยู่กลับล้นไปด้วยหนี้สินเพราะปลูกตามพืชเศรษฐกิจที่ได้รับการส่งเสริม พันธุ์นี้ไม่สำเร็จก็ส่งเสริมพันธุ์ใหม่ เกษตรพันธสัญญาเริ่มสร้างเงื่อนไขที่ห่างไกลจากความยุติธรรมที่เกษตรกรพึงได้รับ

เมื่อปัญหาเริ่มมาเคาะประตูว่าคนรุ่นใหม่ที่หนองเต่าเริ่มไม่อยู่บ้าน การเกษตรยั่งยืนเริ่มยืนยาก กิจกรรมในชุมชนและพิธีกรรมเริ่มซีดจางไปเพราะไม่มีพลังเยาวชนสานต่อ ในปี 2547 ก่อนที่จะกลับบ้านจริงๆ จังๆ กวิ๊ทำงานอยู่ที่ อบต.แม่วิน ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เขียนแผนแม่บทและลงไปช่วยตามหมู่บ้านต่างๆ ยาวนานอยู่ 3 ปี จะได้มีเวลากลับบ้านก็แค่วันเสาร์อาทิตย์เท่านั้น

เขาจึงตัดสินใจว่าถึงเวลาที่ต้องกลับสักที

แต่การกลับบ้านก็ไม่ใช่งานง่าย เขาไม่มีอำนาจอะไรที่จะสั่งให้ใครเชื่อจากปากเปล่าได้ว่าเกษตรอินทรีย์คือคำตอบ

กลับบ้านมาทำกาแฟ แต่ตอนนั้นยังชงกาแฟดริปไม่เป็นเลย

“มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย…” เขาหยุดคิด

“ในฐานะที่เราเรียนหลักสูตรสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นจากมหาวิทยาลัยชีวิต (สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน (สพช.) ในปัจจุบัน) มาแล้ว การกลับมาไม่ใช่แค่ชุมชนยอมรับ ปัญหาใหญ่คือตัวเองและครอบครัว ตัวเองจะทำอะไร คิดอะไร แล้วครอบครัวเป็นยังไง ผมบอกเลยว่ากว่าครอบครัวจะเข้าใจเรื่องเกษตรอินทรีย์ต้องใช้เวลา กว่าเขาจะเห็นและปรับตัวได้ มันกลายเป็นว่าเราเองก็ผ่านอะไรมาขนาดนี้ แล้วคนอื่นล่ะ”

อาสาสมัครเพื่อสังคมสู่ชุมชนบ้านเกิด รุ่นที่ 1 เล่าว่า เขาเข้าร่วมกลุ่มหนุ่มสาวของชุมชนตั้งแต่อายุ 15 ปี เฝ้ามองเหตุการณ์ที่เครือข่ายลุ่มน้ำวางกับเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือร่วมกันต่อสู้คัดค้านประกาศเพิ่มพื้นที่ป่าอุทยานทับที่อยู่อาศัยที่ดินทำกิน และป่าชุมชนเมื่อปี 2537

กวิ๊-อำนวย นิยมไพรเวศน์

กวิ๊เชื่อในการต่อสู้ด้วยข้อมูล ใช้บทธา (ธา ในภาษาปกาเกอะญอ แปลว่า บทกวี ชาวปกาเกอะญอใช้เป็นเครื่องมือสอนวิถีการใช้ชีวิตให้ลูกหลาน) เป็น soft power สร้างความเข้มแข็งจากภายในชุมชนเพื่อมาคัดค้านกับระบบ

“ชาวบ้านถูกส่งเสริมให้ปลูกพืชเมืองหนาว ต้องสร้างโรงเรือน ใช้เวลานานกว่าจะคืนทุน จะออกมาก่อนก็ไม่ได้เพราะเป็นเกษตรพันธสัญญา”

2 ปีก่อนพี่น้องชาวปกาเกอะญอเริ่มมีการปล่อยพื้นที่ทำกินให้เช่า ซึ่งชาวบ้านต่างถิ่นมาเช่ากันหนาตาเพื่อปลูกสตรอเบอร์รี แต่เพราะว่าพื้นที่ที่นี่ไม่เหมาะทั้งสภาพดินและภูมิอากาศ พืชบางชนิดจึงติดเทรนด์อยู่ปีสองปีแล้วไม่ได้รับการปลูกต่อเนื่อง แต่ปัญหาคือเมื่อผู้เช่าย้ายออกไป พื้นที่ของชาวบ้านก็เสียหาย ดินเสื่อม เคมีและขยะเต็มพื้นที่

“เราส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ การทำไร่หมุนเวียน แต่มันทำเป็นรายได้เป็นกอบเป็นกำได้ยาก พอมองว่าพืชตัวไหนที่ทำรายได้ได้เยอะก็จะเป็นพืชที่ถูกส่งเสริมให้ปลูก แต่เขาชี้แจงมาเลยว่าถ้าจะทำอินทรีย์ต้องปลูกแบบนี้ๆๆ ไม่ได้บอกว่าเกษตรกรต้องตัดแต่งหรือแปรรูปอย่างไร ดังนั้นองค์ความรู้เหล่านั้นเกษตรกรไม่มี และพืชที่ส่งเสริมไม่ใช่พืชดั้งเดิมของเกษตรกร เขาจะเป็นคนทำตลาดให้ พอขายไม่ได้ก็นำพืชตัวใหม่มาให้ปลูก

“ตอนผมมีไอเดียเรื่องการพัฒนากาแฟ ผมกลับมาคุยใหม่กับชาวบ้านอีกรอบหนึ่ง แต่ชาวบ้านบอกผมว่า ถ้าจะให้ทำตามอีกเนี่ยไม่เอาแล้วนะ เพราะมันไม่ประสบความสำเร็จ เราเลยบอกว่าการทำกาแฟสมัยใหม่มันมีเครื่องช่วย หรือไม่ใช้เครื่องก็ได้ มีวิธีแบบ dry process (การแปรรูปแบบแห้ง) เก็บมาตาก แต่เกษตรกรเคยชินกับการถูกส่งเสริมและเก็บขายอย่างนั้นไปแล้ว

“ผมเคยเก็บขายนะ เขาก็ให้เก็บไปเล่ยไปเท่ยน่ะ จะเก็บยังไงก็ขายได้ไง ไม่ใช่ว่าเก็บวันนี้แล้วไปขายเลยนะ ทิ้งไว้จนเน่าน่ะ ถ้าเราเก็บกาแฟไว้ในกระสอบปุ๊บมันจะมีสีดำ แดง เขียว ใส่กระสอบสักสองคืน มันจะกลายเป็นสีเดียวกันหมด เขาไม่ได้เอื้อให้เราพัฒนากาแฟที่มีคุณภาพ หรือสอนว่าอายุของต้นกาแฟจะยั่งยืนได้ยังไง”

เรานึกถึงรสชาติกาแฟดริปที่เขาชงให้ดื่มอย่างตั้งใจเมื่อบ่าย กวิ๊และโอชิ จ่อวาลู ลูกพี่ลูกน้องนักสู้ที่โตมาด้วยกันนั่งหมุนเครื่องคั่วเมล็ดกาแฟจนกลิ่นหอมไหม้ปลายฟุ้งไปทั่ว

“ผมตั้งคำถามว่าทำไมเราต้องมาทำเรื่องกาแฟ ผมทำกาแฟมา 10 ปีนะ บ๊วยอีก 7 ปี คำว่ากาแฟเนี่ย ผมไม่ได้คิดแต่เรื่องธุรกิจอย่างเดียว กาแฟอยู่ใต้ร่มไม้ได้ในสวนของคนนั้นคนนี้ แล้วพอเราปลูกไปปุ๊บ มันอยู่เป็น 100 ปี ยังมีต้นกาแฟที่พ่อแม่ปลูกให้หลงเหลืออยู่ ซึ่งตอนแรกผมก็ยังไม่รู้ว่าจะไปขายที่ไหนนะ เพราะยังไม่มีตลาด ตอนนั้นกาแฟอะเมซอน สตาร์บัคส์ก็เกิดขึ้นแล้ว ลองมาดูเรื่องตลาดอินทรีย์ ปรากฏว่าก็ยังไม่คึกคักนะ ยังไม่มีใครพูดถึงกันเลย แต่ช่วงนั้นมีตลาดปลอดภัยของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เขาเปิด เลยลองเอากาแฟเข้าไปขาย ลองชงแบบ moka pot (เครื่องชงกาแฟบนเตา) เพราะเขาไม่ให้ใช้ไฟฟ้า แล้วเราเองก็เน้นเรื่องการรักษาทรัพยากรด้วย”

10 ปีที่แล้วอุปกรณ์ดริปกาแฟในเมืองไทยยังหาไม่ได้ง่าย กวิ๊จึงอาศัยอาจารย์ชาวญี่ปุ่นที่มาดูงานที่หมู่บ้านหนองเต่านำเข้ามาให้ เขาเอ่ยติดตลกว่าแรกๆ ยังดริปกันไม่เป็นเลย กาแฟจืดชืด แต่ปรากฏว่ามีคนมามุงดูกันเยอะมาก

“ตอนแรกก็งงว่าเขาจะมาซื้อกาแฟกันหมดเลยเหรอ ไม่ใช่ เขามาถาม มาคุยว่ากาแฟทำแบบนี้ได้ด้วยเหรอ แล้วหาอุปกรณ์พวกนี้ได้ที่ไหน กาดริปอะไรพวกนี้ เรียนที่ไหน แม้แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็เข้ามาถาม ตอนนั้นเมืองไทยยังไม่เข้มข้นเรื่องกาแฟร้อนเพราะคนไทยกินกาแฟเย็นกันหมด เราก็ทำไปเรื่อยๆ จนคนที่กินกาแฟชอบ”

จากผู้บริโภคที่ดื่มกาแฟเป็นแก้วๆ ตลาดก็เริ่มกว้างขึ้นจนมีคนมาซื้อเมล็ดเป็น 200 กิโลกรัม เทรนด์เติบโตจนกวิ๊คิดไอเดียเรื่องระบบสมาชิก และคิดว่าจะกระจายกล้าออกไปทั้งตำบลแม่วิน แต่ปรากฏว่าชาวบ้านก็ได้รับการส่งเสริมให้ปลูกกาแฟอีก แจกกล้าเป็น 200,000 ต้น และประวัติศาสตร์ของการทำเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวก็ซ้ำรอยเดิมๆ

เมื่อเราทำการเกษตรเชิงปริมาณปุ๊บ ทรัพยากรถูกทำลายมากที่สุด เราพูดถึงการที่ต้นน้ำถูกทำลาย มีการแย่งชิงน้ำ แล้วก็มีการบุกรุกพื้นที่เพิ่ม ชาวบ้านนิยมปลูกผักระยะสั้น 20 วันก็ตัดขาย อย่างเรื่องกาแฟ ปีหนึ่งเก็บได้แค่รอบเดียวก็จริง แต่ลองคิดดูถ้าเราทำไร่หมุนเวียนไปด้วย เดือนมีนาคม เมษายน ผมแปรรูปบ๊วย เดือนพฤษภา มิถุนา กรกฎา ปลูกข้าว เดือนสิงหา กันยา ข้าวก็กำลังออกรวงเขียวเลยนะ รวมทั้งพลับกับอโวคาโดด้วย เดือนกันยา ตุลา เกี่ยวข้าวนะ ส่วนเดือนพฤศจิกาและธันวา ก็ทำกาแฟ แล้วนี่ผมพูดถึงแต่ไม้ผลนะ ยังไม่ได้พูดถึงผัก และเรื่องการทำตลาด

“โอเค เรายอมรับว่าชาวปกาเกอะญออาจไม่ถนัดเรื่องการตลาด แต่บ้านเรามีเครือข่ายเกษตรฯ เยอะแยะ สมมุติว่าผมมีสมาชิกอยู่ 5 คน แต่ละคนปลูกกาแฟในพื้นที่ไม่เหมือนกัน การดูแลไม่เหมือนกัน การจะแปรรูปก็ไม่เหมือนกัน ก็หาพ่อค้ามา 5 คน ชอบกาแฟของเกษตรกรคนไหนก็ซื้อของคนนั้น”

“แล้วการมาซื้อกาแฟของผม คุณไม่ได้แต่จะมาซื้อกาแฟ เราจะเป็นพี่น้องกัน คุณมีอะไรดีเยอะแยะ องค์ความรู้ที่คุณมีก็มาแบ่งปันกัน เราไม่ได้คิดแค่เรื่องธุรกิจ แต่เราคิดว่าเราจะเป็นเพื่อนหรือเป็นพี่น้องกันยาวนานได้อย่างไร”

ห้องครัวสำหรับทุกคน

พิซซ่าจำนวน 4 ถาดปะปนกันอยู่ในท้อง โฮมเมดและกรอบอร่อยด้วยวัตถุดิบสดๆ หลายชิ้นจากบ้านหนองเต่า อบในเตาฮิปสเตอร์ทรงเห็ดด้านนอกบ้าน ถาดแล้วถาดเล่า เรานั่งมองเขาจุดเตาถ่านอย่างเป็นธรรมชาติ

‘เมอล่อ’ ภาษาปะกาเกอะญอแปลว่า ห้องครัว ครัวกะทัดรัดของหนุ่มชาวปกาเกอะญอมีดีไซน์น่าสนใจ โต๊ะประกอบอาหารตั้งตรงกลาง ด้านบนมีโครงไม้ไผ่ไว้แขวนอุปกรณ์ครัวที่ห้อยลงมาแล้วดูอาร์ตบอกไม่ถูก เขยิบไปด้านหลังอีกหน่อยเป็นที่ล้างจาน ด้านบนมีกองทัพโหลเหล้าบ๊วยที่คนเมืองได้แต่มองแล้วกะพริบตาปริบๆ และที่น่าสนใจคือเตาย่างมินิมอลที่ดูยังไงๆ ก็เหมือนอยู่ในชุมชนชนบทของญี่ปุ่น

‘เมอล่อ’ ภาษาปะกาเกอะญอแปลว่า ห้องครัว ครัวกะทัดรัดของหนุ่มชาวปกาเกอะญอมีดีไซน์น่าสนใจ โต๊ะประกอบอาหารตั้งตรงกลาง ด้านบนมีโครงไม้ไผ่ไว้แขวนอุปกรณ์ครัวที่ห้อยลงมาแล้วดูอาร์ตบอกไม่ถูก เขยิบไปด้านหลังอีกหน่อยเป็นที่ล้างจาน ด้านบนมีกองทัพโหลเหล้าบ๊วยที่คนเมืองได้แต่มองแล้วกะพริบตาปริบๆ และที่น่าสนใจคือเตาย่างมินิมอลที่ดูยังไงๆ ก็เหมือนอยู่ในชุมชนชนบทของญี่ปุ่น

“ทุกคนมาเห็นเตาไฟนี้แล้วบอกว่าเหมือนของญี่ปุ่น แต่ผมปฏิเสธว่ามันไม่ใช่ แค่เพราะครัวปกาเกอะญอไม่เคยเผยแพร่ออกไป ทุกคนก็เลยไม่เห็น เราแค่เอาตัวห้อยมาประยุกต์ ญี่ปุ่นเขาจะมีที่ห้อยขึ้นๆ ลงๆ ไว้ห้อยหม้อ ส่วนด้านบนตรงนี้เป็นที่เก็บเมล็ดพันธุ์ของปกาเกอะญอ เรียกว่า ‘เส่อกิเตอ’ จะมีสองชั้นหรือสามชั้นก็แล้วแต่”

เชฟกวิ๊เล่าเรียบๆ ขณะที่เสียบหมูหมักโรสแมรีและปิ้งเสิร์ฟให้เราเป็นพักๆ

“ผมบอกเลยว่าห้องครัวนี้ไม่ได้เกิดจากการที่ผมชอบทำอาหาร แต่ว่าเกิดจากการที่ผมมองว่าเราจะต้องสร้างพื้นที่ พืชเมืองหนาวไม่ใช่พืชดั้งเดิม ผมเลยกินไม่เป็น ผมเลยคิดว่าเขาส่งเสริมให้เราปลูกขายแล้วเรากินไม่เป็นปุ๊บ เราก็จะมีแต่ใส่ยาให้มันสวย เราเองก็ไม่ได้มีองค์ความรู้เรื่องอาหารหรือเรื่องผัก อาจจะไปเรียนกับเชฟ หรือเชิญเชฟจากที่ต่างๆ ให้มาสอนเราที่นี่ก็ได้ และการที่เขาจะมาสอนที่นี่อาจจะต้องมีพื้นที่แลกเปลี่ยน ครัวเราจะไม่ใช่แค่ครัวใหม่ๆ มีความเป็นครัวเก่าดั้งเดิมบ้าง เปลี่ยนแปลงนิดหน่อย ส่วนความเป็นสมัยใหม่ก็คือเตาแก๊ส คอนกรีต ไม่ใช่ว่าสร้างแต่ครัวดั้งเดิมปกาเกอะญอ ครัวไม่ได้มีแค่ไม้ไผ่ แต่มีไม้ ดิน ปูน ไม้ฝาเชอร่า ผสมผสานอยู่ในนี้”

เชฟชี้ให้ดูแต่ละจุดที่เขาตั้งใจดีไซน์ให้ห้องครัวเล็กๆ เป็นมากกว่าพื้นที่แห่งการประกอบอาหาร

อยากชักจูงหนุ่มสาวกลับบ้าน ต้องไปหาความรู้ข้างนอกเพิ่มเติม

ความกังวลของเขาฉายชัดตั้งแต่ตอนที่เล่าเรื่องปัญหาทรัพยากร การเกษตรเชิงเดี่ยวที่เริ่มเติบโตแทนที่วิถีเกษตรอินทรีย์ ปัญหาใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตคือคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยนิยมกลับบ้านมาพัฒนาพื้นที่ของพ่อแม่ บ้างตัดสินใจขายที่ บ้างก็ประกอบอาชีพอื่นๆ ในเมืองตามค่านิยมและสิ่งแวดล้อมที่เป็นพลวัต หรือบ้างก็เลือกทางเดินเคมีเข้มข้น

แน่นอนว่าถ้าวัดจากบทสนทนาที่พูดคุยกันมายาวนาน ไอเดียอุดมคติคืออยากให้น้องๆ กลับมาทำการเกษตรวิถียั่งยืนที่บ้าน แต่กวิ๊ก็เข้าใจเช่นกันว่าคอนเซ็ปท์ของความยั่งยืนสามารถปรับใช้กับใครก็ได้ที่สนใจจะทำมันจริงๆ

“เขาอาจจะเป็นข้าราชการที่ไม่มีเวลาด้วยซ้ำ ถ้าสมมุติเป็นครู เขาไม่ต้องทำเกษตรก็ได้ แต่ส่งต่อความรู้สู่นักเรียนได้ นักเรียน 10 คนอาจจะเกิดไอเดียสัก 5 คนก็ได้ ตอนนี้พืชหลายตัวก็ยังถูกส่งเสริมอยู่ เกษตรกรก็ยังเป็นหนี้อยู่ จ่ายหนี้ไม่หมดซะทีแม้ว่าจะมีกองทุนหมู่บ้าน เขาต้องมองว่ารายได้ของเขาพอไหม ปีหนึ่งต้องจ่ายเท่าไหร่ ตอนนี้ถ้าเฉลี่ยทุกหมู่บ้านคือมีรายได้เข้ามา ถ้าพูดถึงตัวเลขมันเยอะมาก ทั้งจากอาชีพเกษตรกรรม รับจ้างหรือเป็นข้าราชการ แต่ว่าก็จ่ายออกไปเยอะมากเหมือนกัน”

นักศึกษาชาวญี่ปุ่นมาเรียนรู้เชิงปฏิบัติที่หมู่บ้านหนองเต่าทุกปีเพราะเป็นวิชาเลือกเสรีที่มหาวิทยาลัย กวิ๊เป็นพี่เลี้ยงและใช้บ้านเป็นฐานเรียนรู้ควบคู่ไปด้วย เขาเกิดไอเดียว่าถ้าอยากพัฒนาผลิตภัณฑ์และองค์ความรู้ที่จะชักจูงหนุ่มสาวปกาเกอะญอให้ทำเกษตรอินทรีย์ร่วมสมัย เขาจำเป็นต้องไปหาความรู้ข้างนอกมาเพิ่มเติมความแข็งแกร่ง

และ อบต.แม่วินก็ไม่ใช่จุดหมายอีกต่อไป เพราะครั้งนี้เขาไปเรียนรู้ไกลถึงญี่ปุ่น จากการคุยกับอาจารย์ชาวญี่ปุ่นเล่นๆ ว่าน้องๆ มาที่นี่ตั้งหลายครั้งแล้ว พี่เองก็อยากไปแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่นู่นบ้าง

“อาจารย์ก็เลยจัดให้เลย”

คล้ายฉากตัวเอกในการ์ตูนญี่ปุ่นตั้งปณิธานไว้แน่วแน่แล้วผูกผ้าคาดหัวเตรียมตัวออกเดินทาง กวิ๊ตีตั๋วไปเรียนคนเดียวในช่วงฤดูหนาว เมืองโอซาก้าและเกียวโตต้อนรับเขาด้วยความรู้เรื่องกาแฟและบ๊วยที่เจ้าตัวระบุไว้ว่าต้องการศึกษาเพื่อนำมาพัฒนาบ้านหนองเต่าและเครือข่าย

“เวลาที่คนญี่ปุ่นทำธุรกิจกาแฟ เขาคิดกันเป็นตันๆ แต่เราทำได้แค่ปีละ 500 กิโลกรัม เขาส่ายหัวเลยเพราะมันน้อยมาก ของเขานำเข้าปีหนึ่ง 20-30 กว่าตัน หรือ 1 ตู้คอนเทนเนอร์น่ะ แต่เราเข้าไปสำรวจไอเดียของเขา กาแฟของเขา 20 กว่าตันเมื่อมาถึง ถึงแม้จะเป็นกาแฟอินทรีย์ก็ต้องฆ่าเชื้อ ในโรงงานมีกระสอบเต็มไปหมด หุ่นยนต์เต็มไปหมด มีแต่มือน่ะ หยิบนู่นหยิบนี่”

เสียงหัวเราะของเขาเศร้าระคนสดใส

“ผมไปดูเรื่องวิธีการทำบ๊วยของเขาด้วย ที่ญี่ปุ่นเขาตั้งเป็นสหกรณ์บ๊วยเลย ไปหมู่บ้านชุมชนที่ปลูกบ๊วยเยอะที่สุด ผมเอาเหล้าบ๊วยขวดเล็กๆ ที่ผมทำไปด้วยนะ ผมตั้งใจไว้เลยว่าไปแล้วต้องได้กิ่งบ๊วยพันธุ์นั้นพันธุ์นี้มา มีเม็ดสีเขียว แดง ชมพู ซึ่งก็ได้มานะ แต่มันออกคนละฤดู ออกคนละฤดูไม่พอ เม็ดสีชมพูนี่มันกินไม่ได้อีก (หัวเราะ) แต่ว่าผมได้ไปที่วัดบ๊วยที่เกียวโต มีนักศึกษาญี่ปุ่นไปขอให้สอบผ่านตามความเชื่อ แล้วบ๊วยที่วัดนั้นก็ตัดแต่งเป็นไม้ประดับยาวลงมาเหมือนไม่ใช่ต้นบ๊วยแล้วน่ะ ตัดแต่งเป็นทรงอย่างดี

“เราเลยคิดว่าบ๊วยเนี่ย ไม่ใช่เอาแค่ลูกมาอย่างเดียว พื้นที่ไหนที่ไม่ออกลูกอาจจะใช้เป็นไม้ประดับก็ได้ ดอกเขาก็เอามาทำเป็นชา บ๊วยลูกเล็กๆ ของญี่ปุ่น ลูกละ 100 บาท แต่สรรพคุณยอดเยี่ยม เราแลกเปลี่ยนกันชิมเหล้าบ๊วย ของเขานี่มีบ๊วยตั้งแต่ 1 ปี 2 ปี 15 ปี 20 ปี เก็บไว้ ผมเลยบอกว่าบางขวดพอทำที่เมืองไทยแล้วรสชาติไม่เหมือนกัน เขาเลยเอารสชาติต้นตำรับของญี่ปุ่นมาให้ลองชิม”

เขาเลยเริ่มจากทำกินเองก่อน ยาบ๊วย บ๊วยเค็ม บ๊วยหวาน น้ำบ๊วย มองถึงการปลูกไม้ผลระยะยาวและวิเคราะห์ออกมาว่าการทำเกษตรยั่งยืนน่าจะเหมาะสมกว่า คือปลูก 1 รอบแล้วก็ดูแลต่อโดยไม่ต้องพลิกหน้าดินหรือปลูกเพิ่มเยอะแยะมากมาย สายตาเราเหลือบมองขวดเหล้าบ๊วยที่เรียงรายอยู่บนชั้นด้านบน

“ผมไปที่ศาลากลางเพื่อปรึกษาเรื่องการทำบ๊วย บอกว่าผมมีวัตถุดิบแบบนี้ เป็นเกษตรกร แนะนำตัวว่ามีบ๊วยแล้วจะทำเป็นเหล้าบ๊วยได้ไหม เขาก็พูดออกมาเลยว่าไม่ได้ กฎหมายไทยไม่อนุญาตให้ทำ ผมก็บอกว่าไม่ได้เอาเหล้าเถื่อนที่ไหนมา เอาเหล้าที่ถูกกฎหมายมาใส่ เขาก็บอกว่าไม่ได้ คุยกันไปคุยกันมาจริงๆ เขาบอกว่าคุณต้องมีเงินทุน 500 ล้าน ผมคิดเลยว่านี่คือระบบที่เอื้อให้กับนายทุน เรานี่เกือบจะเอาเหล้าบ๊วยออกมาให้เขาแล้วนะ (หัวเราะ)

“ที่ผมมาทำเรื่องกาแฟด้วยนี่ผมไม่ได้มองแค่เรื่องทรัพยากร แต่มองถึงคนรุ่นใหม่ด้วย เขาอาจจะกลับมา คนรุ่นใหม่ที่ไปทำงานหรือไปเรียนหนังสือกินกาแฟกับขนมปัง พ่อของเขามีก็มีสวน การที่เขาออกไปทำงานได้กินกาแฟแบบนั้น เขาจะมีใจกลับมาดูแลต้นกาแฟของเขาไหม ที่นี่ผมจะเป็นคนรับซื้อ แปรรูปให้ ถ้าคุณสนใจจะมาทำจริง คุณไม่ต้องไปขายที่ไหน มาเป็นสมาชิกกับผม ตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนด้วยกัน

“ทำไมเราถึงต้องทำเป็นวิสาหกิจ หรือห้างหุ้นส่วนฯ เพราะถ้าเราไม่เป็นวิสาหกิจชุมชน เราคุยกับ อบต. และเกษตรอำเภอยากมาก ห้างหุ้นส่วนสามารถส่งกาแฟไปญี่ปุ่น 50 กิโลกรัมได้ แต่ถ้าลูกค้าบอกว่าต้องการ 200 กิโลกรัม ห้างหุ้นส่วนจะส่งไม่ได้เพราะต้องเป็นบริษัท แต่เวลาทำธุรกิจ พื้นฐานของพวกเราไม่เคยพูดกันถึงเรื่องพวกนี้เลยไง คนรุ่นใหม่จึงต้องทำความเข้าใจองค์ความรู้ตรงนี้ด้วย”

หนึ่งในสมาชิกของกลุ่มแปรรูปและผลิตกาแฟอินทรีย์เลพาทอ (Lapato) เล่าเรื่องเคล้ากับลมกลางคืน เตาถ่านข้างๆ ไฟมอดไปนานแล้ว

“เราอาจจะเริ่มต้นจากมุมเล็กๆ ในศาลาที่ผมใช้เป็นที่ทำรายงานเมื่อก่อนตอนเรียนหนังสือ มันไม่ใช่แค่ที่ของผม ทุกคนก็มาใช้ได้ สมมุติถ้าหลานผมมานั่งทำการบ้าน เขาจะพาเพื่อนมาด้วย แล้วจะกินน้ำผลไม้สักแก้วหนึ่งไหม นั่นคือเราจะไม่สอนเขาโดยตรง สอนแบบอ้อมๆ ว่าแก้วนี้เป็นน้ำเลมอนที่มาจากสวนของพ่อคุณนะ ต้นนั้นน่ะ เขากินแล้วเขาจะได้เห็นค่าของของที่อยู่ใกล้บ้านเขา จะแยกได้ว่ารสชาติของแท้กับไม่แท้มันแตกต่างกันอย่างไร

“ต่อไปเขาได้กินกาแฟสักแก้วหนึ่ง จะได้กลับมาปลูกกาแฟในพื้นที่ของตัวเอง แล้วเราจะไม่หยุดแค่เครื่องดื่ม เราต้องมีเครือข่ายที่แต่ละคนทำแตกต่างกัน”

ศาลาหลังนั้นอาจจะไม่ได้เป็นแค่ร้านกาแฟ แต่เป็นสภากาแฟ คนมาคุยมาแลกเปลี่ยน 5 คน คนอาจจะกินกาแฟ 3 คน อีก 2 คนไม่กิน แต่มีองค์ความรู้อื่นมาแลกเปลี่ยน

“ตรงนั้นอาจจะเป็นบาร์ เป็นโต๊ะกินกาแฟ ห้องกลางจะเป็นห้องเก็บอุปกรณ์หรือตัวโชว์กาแฟ ห้องถัดมาจะเป็นเครื่องคั่ว cupping (การชิมทดสอบกาแฟ) ว่ารสชาติเป็นอย่างไร นั่นก็คือเราอยากให้คนในชุมชนที่ไม่กินกาแฟ และไม่เป็นสมาชิกมาเรียนรู้ที่นี่ เขาจะได้กลับไปทำเอง จะขายก็ได้ ไม่ขายก็ได้ แต่ว่าเขาจะมีองค์ความรู้พวกนี้ติดตัว บางคนเกิดไอเดียอาจจะพัฒนาต่อได้อีก

“ทุกคนบอกว่าที่นี่เป็นศูนย์เรียนรู้เหรอ ผมบอกว่าศูนย์ไม่เอาแล้ว เอาหนึ่ง สอง สาม ผมว่ามันเป็นฐาน ฐานที่มั่นคง ต้องยืน ต้องยึดให้ได้ ผมไม่ได้รู้อะไรทั้งหมด ทุกคนสามารถมาแลกเปลี่ยนกันที่นี่ได้ เราจะไม่มองหน้ากันแล้วพูดถึงแต่สินค้า เราจะมองกัน เราจะคุยกัน เราจะพูดถึงเรื่องความเป็นพี่น้อง ความเป็นครอบครัวเดียวกัน”

เรามองหน้ากัน จากนั้นเขาก็โยนประเด็นที่น่าสนใจ

“ที่ญี่ปุ่น คนรุ่นใหม่ก็กลับไปอยู่บ้านน้อยเหมือนกันนะ”

หลังจากไปเจอนวัตกรรมหุ่นยนต์ในโรงงานกาแฟและอุตสาหกรรมบ๊วยขนาดใหญ่ที่ญี่ปุ่น เราสงสัยว่าเขาเอาแง่มุมอะไรมาปรับใช้ภายใต้สเกลที่แตกต่างกันอย่างมากของขนาดธุรกิจ

“ที่แตกต่างกันคือ ถึงแม้ที่ดินจะไม่ค่อยมี แต่รัฐบาลญี่ปุ่นเขาส่งเสริมเกษตรกร หาตลาดให้ อุปกรณ์ก็มีให้ เมืองไทยมีที่ดิน ปลูกได้ แต่ตลาดไม่มี รัฐบาลไม่ส่งเสริม ผมไปแค่ไม่กี่วันก็รู้แล้วว่าต้องไปเรียนรู้เพิ่ม ผมจะต้องกลับไปดูเรื่องพลับที่ญี่ปุ่นต่อ เลยหาข้อมูลว่าพลับของญี่ปุ่นออกช่วงไหน ไปดูเรื่องการแปรรูปพลับของญี่ปุ่น เช่น อุณหภูมิการตากพลับแห้งต้องเท่าไหร่ หรือน้ำส้มพลับที่ใช้จากพลับฝาด ดีไม่ดีน้ำผลไม้พลับอาจจะเกิดขึ้นได้”

“ปรัชญาของปกาเกอะญอกับของญี่ปุ่นมีความคล้ายกัน เช่น คนญี่ปุ่นบอกว่ากินบ๊วยต้องได้รสชาติบ๊วย กินอะไรให้ได้รสชาตินั้น แล้วพื้นที่เขาน้อยเหมือนกับชนเผ่าปกาเกอะญอสมัยก่อน ต้นบ๊วยไม่ต้องเป็นไร่ คุณดูแลสามสี่ต้นที่มีให้ดี ถ้าคุณดูแลมันจริงๆ คุณแทบจะไม่มีเวลาให้กับตัวเองเลย ช่วงนี้เก็บ ช่วงนี้ดูแลให้น้ำ ช่วงนี้ตัดแต่ง ออกดอก วนเวียนอยู่นั่นแหละ”

นอกจากนี้กวิ๊ยังเล่าเรื่องการไปแลกเปลี่ยนที่ประเทศจีนเพราะมีทุนให้คนรุ่นใหม่ได้ไปเป็นเวลา 1 เดือน กลุ่มคนไฟแรงจากพม่า จีน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียมารวมตัวกันถกเถียงกระแสของประเทศตัวเอง เขาไปสำรวจการสร้างพื้นที่ให้เกษตรกรรุ่นใหม่มาเรียนรู้แล้วพบว่าระบบสหกรณ์ของจีนยิ่งใหญ่มาก แม้ว่าจีนจะประชากรเยอะและทำเคมีเข้มข้นแต่ก็สามารถส่งออกผลผลิตที่ดีออกมาได้ หรือไปอินโดนีเซียด้วยเงินของตัวเองแล้วเรียนรู้การปลูกกาแฟพันธุ์ทริปิก้าในพื้นที่ที่ทำการเกษตรอย่างสร้างสรรค์ แต่พื้นที่ที่ทำการเกษตรเชิงปริมาณ เคมีก็สูงลิ่วไม่แพ้กัน

“มันไม่ใช่แค่ประเทศไทยที่มีปัญหา ที่จีน ญี่ปุ่นเขาก็มีภัยพิบัติ มีปัญหาเหมือนกัน”

ออกไปข้างใน

เขาตั้งคำถามกับตัวเองว่า เขาไปญี่ปุ่นแค่ 10 กว่าวันแต่กลับมาเล่าได้เหมือนไปอยู่เป็นปี? เราเลยถามกลับว่า แล้วการออกไปข้างนอกจำเป็นขนาดนั้นหรือเปล่า

“อาจจะไม่ถึงขั้นจำเป็นแต่ว่าสำคัญ คุณไม่ต้องไปที่ประเทศพัฒนาก็ได้ ประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ๆ ก่อนก็ได้แล้วค่อยขยายไป คุณจะรักประเทศของคุณ ชุมชนของคุณเพิ่มขึ้น หรือคิดพัฒนาชุมชนได้เยอะ”

กวิ๊บอกว่าตอนที่เขาอยู่อินโดนีเซีย เกษตรกรที่นั่นก็เป็นชนเผ่าเหมือนกัน แต่พืชเศรษฐกิจเขายังไม่เข้าถึง ทำงานแค่ครึ่งวัน ตอนเช้าอยู่ที่แปลง ตอนบ่ายอยู่กับครอบครัว

“เราไปเรียนรู้เรื่องกาแฟแต่ไม่ค่อยได้คุยเรื่องกาแฟหรอก คุยกันเรื่องธรรมชาติ เรื่องวิถีชีวิต ภูมิปัญญา”

จึงเกิดคำถามสำคัญต่อว่าถ้ามีพี่น้องที่ทำการเกษตรในรูปแบบของตัวเองในท้องถิ่น และยึดวิถีดั้งเดิม เขาก็สามารถอยู่อย่างยั่งยืนได้ไหม

“การทำเกษตรมันเกี่ยวข้องกับทุกเรื่อง ทุกวันนี้มีงานวิจัยออกมาให้ส่งเสริมการเพาะปลูกพืชเมืองหนาว แต่ว่าเกษตรกรลืมไปว่าโลกมันเปลี่ยนไปนะ มันหนาวน้อยลง อยู่ข้างนอกมันร้อนจะตาย แล้วในอนาคตข้างหน้า ธรรมชาติอาจจะลงโทษเรา ภัยพิบัติจะเกิดขึ้น คนที่จะอยู่รอดได้คือต้องมีความหลากหลาย ทุกคนเลยต้องมีสวนที่หลากหลาย

“เราเลยต้องกลับย้อนไปดูว่าไร่ของเรามีอะไรบ้าง พืชผักเมื่อก่อนมีอะไรบ้าง เขาทำ 1 ปี กิน 2 ปี หรืออาจจะเก็บเมล็ดพันธุ์อีกปีหนึ่งได้ เราต้องพูดถึงเรื่องการผลิตเมล็ดพันธุ์แล้ว ในดินในไร่มันมีอะไรบ้าง เขาก็ปลูกเผือกนี่ แล้วบนดินล่ะ ผักเยอะแยะ เราก็กินไม่ใช่เหรอ ขึ้นมาอีกชั้นหนึ่งก็มีผักอีก พืชเมืองหนาวจะอยู่ชั้น 3 แต่ถ้าเป็นกาแฟจะอยู่ชั้น 4 ชั้น 5 แล้วถามว่าแต่ละชั้นน่ะกินฤดูไหน กาแฟ ผลไม้เก็บช่วงพระจันทร์เต็มดวงเพราะสะสมธาตุอาหารดีที่สุด รสชาติดีที่สุด แล้วข้างแรมล่ะ ธาตุอาหารลงดิน พวกเผือก พืชที่มีหัว เหล่านี้คือภูมิปัญญาทั้งหมด แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วเขาจะมีการเก็บรวบรวมไว้เป็นข้อมูลออกมา ซึ่งของปกาเกอะญอจะอยู่ในบทธา เราต้องเอามาปรับใช้ให้ได้”

แสดงว่าวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมก็สำคัญ?

“ผมคิดว่าการคงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมเป็นเรื่องที่ยาก แต่ชาวปกาเกอะญอจะมีคำว่าน้ำบ่อหน้า น้ำบ่อหลัง คือเราจะไม่มีแต่อะไรใหม่ๆ ในขณะเดียวกันเราก็จะไม่มีแต่อะไรเก่าๆ สองอย่างนี้เราจะผสมมันอยู่ด้วยกันได้อย่างไร

“ทำไมผมถึงชูเรื่องเกษตร มองเรื่องการจัดการทรัพยากร ซึ่งตอนแรกก็ยังไม่ได้มองเรื่องการศึกษานะ แต่ว่าพอทำแล้วมันเกี่ยวข้องกันหมด เช่น ถ้าเรายังใช้ชีวิตอยู่ที่นี่แล้วทรัพยากรไม่ดี รอบโรงเรียนมีแต่เคมี นักเรียนก็ไม่มีความสุข ยังไม่พอ อย่างเรื่องอาหารกลางวันเด็กก็ยังไม่ปลอดภัยเลย พ่อแม่ถูกส่งเสริมให้ใส่เคมีเต็มที่ลงไปในผักเพื่อขายที่ตัวเมืองเชียงใหม่ ครูก็เอาผักพวกนี้มาให้เด็กกิน ทำไมมันไม่ส่งจากบ้านไปโรงเรียน แล้วเคมีมันหายไปจากกลางทางเหรอ (หัวเราะ)

“ผมว่ามันเกี่ยวข้องกัน เขาบอกว่าการศึกษาเดี๋ยวนี้ต้องรู้เท่าทัน เรียนรู้ให้เยอะ เรียนอะไร? การเกษตร ธรรมชาติและการศึกษามันเชื่อมโยงกัน ถ้าคนรุ่นใหม่แต่งงานมีลูก ต้องส่งลูกไปโรงเรียน ต้องมีค่าใช้จ่าย คนรุ่นใหม่ก็ต้องรู้ว่าจะจัดการศึกษาของลูกอย่างไร รูปแบบไหน ถ้าลูกคุณไปเรียนหนังสือ คุณจะวางแผนชีวิตให้ลูกยังไง การศึกษาทางเลือกไหม แล้วคุณคิดว่าอนาคตของลูกคุณไม่เกิดขึ้นในโรงเรียนได้ไหม พ่อแม่เป็นคนสอนเองได้ไหม พื้นที่ที่ลูกจะได้วิ่งเล่นมีไหม ทุกวันนี้วิ่งไปเล่ยไปเท่ยไม่ได้นะ ยาฆ่าหญ้านะ ต้องใส่รองเท้าบูทอย่างดีนะ (หัวเราะ)”

เราคุยกันจนมืดค่ำ รอบกายเงียบสงบและอากาศบริสุทธิ์ ปกาเกอะญอหนุ่มบอกว่าวิถีเกษตรยั่งยืนมันสุนทรียะ การสู้กับตัวเองที่จะใช้ชีวิตแบบนี้และสู้เพื่อคนอื่นด้วยก็ถือเป็นสุนทรียะเช่นเดียวกัน เขาไม่ได้อยู่ในโลกเพียงลำพัง

แม้ครั้งหนึ่งคนในชุมชนจะมองว่าเขาเป็นคนบ้าที่ลุกขึ้นมาทำการเกษตรและวางคอนเซ็ปท์ที่ไม่คุ้นเคย แต่กวิ๊ก็ผ่านช่วงเวลาของการเดินทางกลับบ้านมาพิสูจน์ให้ครอบครัวเชื่อใจ ผ่านความวูบไหวของการดริปกาแฟไม่เป็นเมื่อ 10 ปีก่อน มาจนถึงตอนนี้ที่เขาก็ยังคิดหาทางแปรรูปพลับที่ออกผลอยู่เต็มสวนแต่ไม่ค่อยมีใครทำอะไรกับมันมากนัก หวังให้คนรุ่นใหม่หรือรุ่นใดก็ตามลองมากินกาแฟ หรือชนจอกเหล้าบ๊วยด้วยกันบ้าง

“ถึงแม้ว่าผมจะทำกาแฟ แต่วันหนึ่งก็กินแค่แก้วเดียวล่ะมั้ง (หัวเราะ) เมื่อก่อนผมคาดหวังกับชุมชน กับคนนั้นคนนี้สูงเกินไป โดยที่ผมไม่รู้ว่าผมเองก็ทำไม่ได้ ผมเลยใช้คำว่าถอยหลังไปข้างหน้า ทุกวันนี้เส้นที่เราจะเดินมันมีเยอะมาก แล้วทุกคนก็เดินหน้าจนไม่คิดจะหยุด ไม่คิดจะถอยไปตั้งหลัก เราอาจจะถอยไปตั้งหลักบ้างแล้วก็ไปต่อ ผมจะต้องทำตัวเองเป็นฐาน เป็นพื้นที่ที่ทำให้เขาเห็น

“กาแฟที่นี่ผมเปิดให้กินตลอด บางวันผมบอกว่าอย่ามาชิมแต่ฝีมือผมสิ คุณลองมาดริปเองก็ได้ แล้ววันหลังผมจะขอไปกินดริปของคุณที่บ้านคุณบ้าง”

Tags:

เกษตรกรผู้ประกอบการ(entrepreneurship)สิ่งแวดล้อมปกาเกอะญอชาติพันธุ์อำนวย นิยมไพรเวศน์

Author & Photographer:

illustrator

ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

ศิลปศาสตร์บัณฑิต และมนุษย์ฟรีแลนซ์ที่ทำงานเขียน ถ่ายรูป สัมภาษณ์ แปลงาน ล่าม ไปจนถึงครูสอนพิเศษเด็กชั้นประถม ของสะสมที่ชอบมากๆ คือถุงเท้าและผ้าลายดอก เขียนเรื่องเหนือจริงด้วยความรู้สึกจริงๆ ออกเป็นหนังสือ 'Sad at first sight' ซึ่งขายหมดแล้ว ผลงานล่าสุดคือ I Eat You Up Inside My Head รับประทานสารตกค้างในกลีบดอกปอกเปิก

Related Posts

  • Unique Teacher
    เรียนรู้เพื่ออยู่ร่วม อยู่รอด และอยู่อย่างมีความหมาย ในห้องเรียนที่กว้างเท่าผืนป่า : ‘ครูหนุ่ม-นิติศักดิ์’ ศูนย์การเรียนหญ้าแพรกสาละวิน

    เรื่อง ศากุน บางกระ

  • Voice of New GenCreative learning
    กีฬาเยาวชน ‘เบ๊อะบละตู’ : สนามนี้ไม่ได้มีไว้ชนะ แต่ชวนปกาเกอะญอรุ่นใหม่รักษาสิทธิดูแลป่า

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Everyone can be an Educator
    ‘วิชาถิ่นนิยม’ บนดอยหลวงเชียงดาว: ก่อนจะเป็นเป็นจะที่นิยม ต้องทำให้ท้องถิ่นเป็นความรื่นรมย์เสียก่อน

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดีอุบลวรรณ ปลื้มจิตร

  • Creative learning
    สวนสายรุ้งแห่งวัฒนธรรม: มหกรรมเยาวชนชาติพันธ์ุตากที่เชื่อว่าทุกคนมี ‘สี’ เป็นของตัวเอง

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Creative learningCharacter building
    เคาะประตูบ้าน ส่งต่อเพลงซอและนิทาน สืบสานต่อโดยละอ่อนปกาเกอะญอ

    เรื่องและภาพ The Potential

อ่าน เล่น ทำงาน: ของเล่นเด็ก (ตอน2) เด็กต้องการการสบตาและการเล่นกับพ่อแม่ตัวเป็นๆ มากกว่าสิ่งใด
EF (executive function)
6 August 2019

อ่าน เล่น ทำงาน: ของเล่นเด็ก (ตอน2) เด็กต้องการการสบตาและการเล่นกับพ่อแม่ตัวเป็นๆ มากกว่าสิ่งใด

เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

หากคิดว่าความคลั่งไคล้แผ่นเพลงโมซาร์ทสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์จะเป็นเรื่องสุดท้าย ลองอ่านเรื่องการสอดไอพอดเข้าไปในช่องคลอดของคุณแม่ตั้งครรภ์เพื่อเปิดเพลงกระตุ้นความฉลาดของลูกน้อยเสียก่อน

ข้อเขียนนี้แปล ถอดความ เก็บความ เขียนใหม่ และเขียนเพิ่มเติมจากบทความเรื่อง ‘Can You Super-Charge Your Baby?’ ของ Erik Vance ตีพิมพ์ในวารสาร Scientific American ฉบับพิเศษ Your Inner Genious, winter 2019 หน้า 72-77

​ต่อจากตอนที่แล้ว

​“ถ้าลูกของดิฉันเดินได้เมื่ออายุ 10 เดือนแทนที่จะเป็น 13 เดือน เขาจะได้เป็นหนึ่งในทีมนักวิ่งเร็วกว่าคนอื่นหรือเปล่า?” เป็นคำถามของ คาเรน อดอล์ฟ นักจิตวิทยาเด็กที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ค “การเร่งพัฒนาการของกล้ามเนื้อจะมีผลระยะยาวหรือเปล่า?”

ถัดจากเรื่องการเร่งพัฒนาการด้านภาษาและคณิตศาสตร์ด้วยสินค้าที่โฆษณาว่าเร็วกว่าดีกว่าในตอนที่แล้ว ตอนนี้เรามาดูเรื่องการเร่งพัฒนาการของกล้ามเนื้อ

​เราพบว่าเราสามารถเร่งให้ทารกนั่ง คลาน และเดินได้จริงๆ เรื่องนี้ทำได้ไม่ยากแต่ประโยชน์ที่ได้จะคุ้มค่าจริงหรือเปล่า ในปี 1935 นักจิตวิทยามัยร์เทิล แม็คกรอว์ ได้ฝึกทารกคนหนึ่งของเขาให้ว่ายน้ำ ปีน และเล่นสเก็ตในขณะที่ปล่อยให้ลูกแฝดอีกคนหนึ่งนั่งคลิปแบบที่ทารกทั่วไปจะได้นั่งกันอีกนาน เขาพบว่าเมื่อถึงเวลาลูกแฝดคนที่สองนี้ทำได้ทุกอย่างที่อีกคนหนึ่งทำ

​การเร่งพัฒนาการของกล้ามเนื้อนี้มิได้มีผลเฉพาะกล้ามเนื้อแต่มีผลต่อความคิดอ่านด้วย เด็กที่นั่งได้เร็วกว่าจะเอื้อมมือคว้าของได้ไกลกว่า เด็กที่เดินได้เร็วกว่าจะสำรวจโลกได้ไวกว่า มองในแง่นี้เร็วกว่าย่อมดีกว่า อย่างไรก็ตามพัฒนาการด้านการคิดมิได้มาจากพัฒนาการกล้ามเนื้อที่เร็วกว่าเพียงอย่างเดียว นั่งเร็วยืนเร็วกว่าแล้วจะฉลาดกว่าจึงมิใช่แน่ๆ

คาเรน อดอลฟ์ เล่าต่อไปว่านักวิ่งทาราอูมารา (Tarahumara) ที่เม็กซิโกเริ่มวิ่งตั้งแต่อายุน้อยแต่ไม่มีใครคลานหรือเดินเร็วกว่าเด็กทั่วไป ทุกวันนี้เธอทำงานที่คาจิกิสถานที่ซึ่งแม่มัดลูกไว้กับตัวทั้งวันก็ไม่พบว่าเด็กจะเดินช้ากว่าเด็กทั่วไป ประการหลังนี้ชวนให้นึกถึงชาวเขาบ้านเราที่กระเตงลูกบนตัวออกไปทำไร่ทั้งวัน น่าสนใจมากว่าเด็กเหล่านี้เดินช้าหรือเปล่า แต่เท่าที่เห็นด้วยตาเปล่าพวกเขาวิ่งเร็วมากบนไหล่เขาและหยุดกึ้กได้เมื่อถึงหน้าผา

ถึงปัจจุบันไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนการ supercharge เด็กเล็กว่าจะมีประโยชน์อะไร แต่มีหลักฐานมากมายเกี่ยวกับการละเล่นพื้นฐานว่ามีประโยชน์มากมายแน่ อาหารสำคัญต่อร่างกาย การเล่นคืออาหารของจิตใจ การเล่นพัฒนาการภาษา การคิด มิติสัมพันธ์ และเสริมสร้างพรสวรรค์ด้วยกลไกที่นักวิทยาศาสตร์พยายามทำความเข้าใจ (แปลว่ายังไม่เข้าใจ)

ของเล่นสองชนิดที่ถูกกล่าวขวัญมากคือบล็อกไม้และเลโก้ ของเล่นสองชิ้นนี้เสริมสร้างความฉลาดด้านมิติสัมพันธ์แน่ๆ และในบางรายงานเสริมสร้างความสามารถด้านคณิตศาสตร์ด้วย ผลการศึกษานี้ไม่น่าแปลกใจเพราะของเล่นสองชิ้นนี้ช่วยให้เด็กรู้จักสิ่งที่เรียกว่ารูปทรง การเปลี่ยนตำแหน่ง และแรงดึงดูดโลก ซึ่งก็คือพื้นฐานของฟิสิกส์

นึกภาพเด็กคนหนึ่งเล่นรถตักดินของเล่นบนกองทรายดูเถิด เขาจะฟิสิกส์ขนาดไหน มันน่าดูชมมาก

จะมีการเรียนรู้เรื่องแรงดึงดูดโลกอะไรที่สนุกสนานยิ่งกว่าการปีนอีกเล่า

เด็กคนหนึ่งสามารถใช้ขันเก่าๆ ตักทรายขึ้นมาเทลงไป แล้วทำซ้ำๆ เช่นนั้นได้นานสองนานโดยไม่เบื่อ เพราะอะไร เพราะเขาสนุกที่ได้เห็นปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ด้วย ‘ฝีมือ’ ของตนเอง คำสำคัญจึงเป็นคำว่าฝีมือ เขาเล่นกองทราย ต่อบล็อกไม้ ขัดใจก็ปา สร้างเสร็จก็เตะทิ้ง หรือถ้ารวยพอจะเล่นเลโก้ ทุกคนกำลังเรียนรู้ฟิสิกส์กันทั้งนั้น

หนึ่งในฟิสิกส์ที่เข้าใจยากและซับซ้อนคือเรื่อง ‘เวลา’ 

ดิมิตรี คริสทาคิส ที่มหาวิทยาลัยวอชิงตันได้อธิบายข้อเสียของการที่ปล่อยให้ทารกหรือเด็กเล็กดูหน้าจอว่ามิใช่เพราะจำนวนเวลาที่ดูเท่านั้นที่ต้องระวัง แต่เป็นเพราะความเร็วของการเปลี่ยนภาพด้วย เกมสมัยใหม่ โฆษณาและการ์ตูนยุคใหม่มีการเปลี่ยนภาพหน้าจอที่รวดเร็ว ความเร็วนี้จะไปกำหนด ‘จังหวะ’ ของสมองเหมือนกับที่เครื่องเคาะจังหวะเมโทรนอม (metronome) ทำกับนักดนตรี

ทารกและเด็กจะสร้าง “เวลาที่เคลื่อนที่เร็วเกินไป” ขึ้นมาบนโลก จะเห็นว่าทารกและเด็กเล็กมิได้อยู่ภายใต้กฎทางฟิสิกส์ เขาสร้างกฎทางฟิสิกส์ขึ้นมาเอาเองต่างหาก

การกำหนดจังหวะของโลกเร็วเกินไปนี้เองทำให้พวกเขาสมาธิสั้น

การปล่อยให้เด็กวิดีโอคอลกับปู่ย่าตายายจึงเป็นเรื่องทำได้เพราะปู่ย่าตายายมิใช่การ์ตูน ดังนั้นท่านกรุณานั่งคุยให้เรียบร้อยอย่าทำเว่อร์มากไป

​ดิมิตรี คริสทาคิส ได้วิจัยในหนูทดลองโดยใช้กลูตาเมท (glutamate) ซึ่งเป็นสารในสมองที่ตอบสนองต่อการเรียนรู้และความจำเป็นตัวบ่งชี้ เขาพบว่าหนูที่ถูกกระตุ้นมากเกินไปจะมีความทนทานต่อโคเคนมากกว่าหนูทั่วไป ความรู้ข้อนี้มิได้แปลว่าเด็กติดจอจะติดยาในเวลาต่อมา แต่เขาพบว่าร้อยละ 10 ของเด็กที่ดูจอก่อน 2 ขวบเมื่อสิบปีก่อนจบลงด้วยการติดยา

กลไกหนึ่งของยาเสพติดคือมันทำให้จังหวะของโลกช้าลง ช้าลงมากพอที่พวกเขาจะก้าวทันได้

ทั้งหมดที่เขียนมามิได้บอกว่าของเล่นเด็กทันสมัยมีโทษ แต่เรามีคำถามเรื่องประโยชน์คุ้มค่า และเรามิอาจปฏิเสธความจริงที่ว่าเด็กต้องการการสบตาจากพ่อแม่ และการเล่นกับพ่อแม่ตัวเป็นๆ มากกว่าอย่างอื่น

กลับไปที่ตอนต้นของบทความนี้ เมื่อสองสามีภรรยาพบยางกัดสำหรับทารกเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา พวกเขามิได้ซื้อของเล่นชิ้นนี้มาแต่ไปซื้อขนมปังแช่แข็งถุงละ 99 เซ็นต์กลับไปให้ลูกกัดเล่นเพื่อนวดเหงือกแทน

หมายเหตุ: ติดตามอ่านบทความที่เกี่ยวกับการเล่นของ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ได้ที่นี่:
อ่าน เล่น ทำงาน: พลังของการเล่นสร้าง EF
อ่าน เล่น ทำงาน: ห้ามเล่น = หยุดการสร้างสมองของคุณหนูๆ
อ่าน เล่น ทำงาน: เล่นแล้วได้อะไร ไม่เล่นแล้วเด็กจะเป็นอย่างไร
อ่าน เล่น ทำงาน: เรียนรู้ด้วยการเล่นดีอย่างไร
อ่าน เล่น ทำงาน: เพื่อคำว่า ‘ความสำเร็จ’ เราทำอะไรกันอยู่
อ่าน เล่น ทำงาน – ประโยชน์ 9 ข้อและ ‘พ่อมีอยู่จริง’ ของการเล่นบทบาทสมมุติ
อ่าน เล่น ทำงาน: เล่นปาของดีอย่างไร? ดีตรงปาของเสียในใจออกไปให้ไกลที่สุด
อ่าน เล่น ทำงาน: ของเล่นเด็ก (ตอน 1) “ซื้อเพื่อลดความวิตกกังวลของพ่อแม่หรือพัฒนาการลูก”

Tags:

การเล่นประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์อ่าน เล่น ทำงานEFและการศึกษา

Author:

illustrator

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

Illustrator:

illustrator

antizeptic

Related Posts

  • EF (executive function)
    อ่าน เล่น ทำงาน: ของเล่นเด็ก (ตอน 1) “ซื้อเพื่อลดความวิตกกังวลของพ่อแม่หรือพัฒนาการลูก”

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • EF (executive function)
    อ่าน เล่น ทำงาน: เรียนรู้ที่จะหยุดเล่นแล้วไปทำงาน

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • EF (executive function)
    อ่าน เล่น ทำงาน : เล่นแล้วได้อะไร ไม่เล่นแล้วเด็กจะเป็นอย่างไร

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • EF (executive function)
    อ่าน เล่น ทำงาน: EF ของหุ่นยนต์ หรือจะสู้ EF ของเด็ก

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • EF (executive function)
    อ่าน เล่น ทำงาน: ห้ามเล่น = หยุดการสร้างสมองของคุณหนูๆ

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

พอกันทีถ้าต้องทำงานไปแบบใจเฉาๆ ปลุกไฟในตัวเราให้พร้อมทำงานกันเถอะ
How to enjoy life
6 August 2019

พอกันทีถ้าต้องทำงานไปแบบใจเฉาๆ ปลุกไฟในตัวเราให้พร้อมทำงานกันเถอะ

เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • ฟองซ่าของโซดามีวันหมดไปฉันใด ภาวะหมดไฟล้วนมาเยือนทุกคนได้ฉันนั้น
  • การหาแรงจูงใจใหม่ๆ เพื่อปลุกไฟให้กลับมาเป็นสิ่งที่ควรทำ อย่าปล่อยให้ความรู้สึกเคว้งคว้างคล้ายคนกำลังจมน้ำในคลองตื้นๆ มาบั่นทอนจิตใจและคุณค่าในตัวเอง
  • บทความชิ้นนี้มีคำแนะนำ 3 วิธีจุดไฟให้กลับมาลุกโชนอีกครั้ง แนะนำโดย ศาสตราจารย์อายีเลท ฟิชบัค ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมศาสตร์และการตลาดที่ทำวิจัยศึกษาการสร้างแรงจูงใจ the University of Chicago’s Booth School of Business

การมีแรงจูงใจในตัวเองหรือ Self-Motivation นั้น ไม่ใช่จะมีกันทุกคน แล้วก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสามารถรักษามันไว้ไปตลอดเส้นทางชีวิตการทำงานของคนหนึ่ง ฟองซ่าของโซดามีวันหมดไปฉันใด ภาวะหมดไฟล้วนมาเยือนทุกคนได้ฉันนั้น บางคนยืนอยู่จุดสูงสุดของพีระมิด รู้ทุกอย่างทะลุปรุโปร่ง หมดความท้าทาย หมดเป้าหมาย หมดไฟในการทำงาน การเปลี่ยนงานอาจเป็นตัวเลือกสุดท้าย

แต่ถ้าวัยและสายงานไม่อำนวยเช่นนั้น การหาแรงจูงใจใหม่ๆ เพื่อปลุกไฟให้กลับมาเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่าปล่อยให้ความรู้สึกเคว้งคว้างคล้ายคนกำลังจมน้ำในคลองที่ตื้นแสนตื้นมาบั่นทอนจิตใจและคุณค่าในตัวเอง

บทความนี้ขอหยิบยกวิธีจุดไฟในการทำงานให้กลับมาลุกโชนอีกครั้ง แนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมศาสตร์และการตลาดที่ทำวิจัยศึกษาการสร้างแรงจูงใจ ศาสตราจารย์อายีเลท ฟิชบัค (Ayelet Fishbach) แห่ง the University of Chicago’s Booth School of Business มาเล่าสู่กันฟัง

1.ระบุเป้าหมายให้เจาะจง

เช่น ตั้งเป้ายอดขายให้ชัดๆไปเลยว่าจะเพิ่มลูกค้าให้มากขึ้นเป็น 10 เจ้าต่อเดือนแทนที่จะตั้งเป้าว่ายอดต้องเพิ่มจากเดิมแบบหลักลอย เมื่อระบุเป้าเจาะจงชัดเจนอย่างนี้จะทำให้เราโฟกัสไปที่การบรรลุเป้าหมายเพียงอย่างเดียว

นอกจากเป้าหมายชัดเจน แรงจูงใจจากตัวเองที่เป็นการได้ทำตามฝัน ได้ทำสิ่งที่รัก อาจนำไปหาเป้าหมายได้ง่ายกว่าแรงจูงใจภายนอกเช่น ภาวะจำยอมตามหน้าที่ ความคาดหวังจากที่บ้าน ความเกรงใจ หรือเงินค่าจ้างก็ตามที แต่ถึงอย่างนั้น เอาเข้าจริงหลายคนอาจค้านสุดตัวว่า ฉันเป็นคนประเภทเงินซื้อไม่ได้ ถ้าไม่ ‘มากพอ’ (ซึ่งแปลว่า เงินซื้อฉันได้ถ้ามากพอ) ทุกวันนี้เลยต้องทนทำงานที่เบื่อหน่ายมาเป็นสิบปีเพราะโบนัสที่บริษัทจ่ายตอนสิ้นปีมันยากจะปฏิเสธจริงๆ

จุดนี้อาจารย์ฟิชบัคอธิบายว่า เป็นเรื่องสุดแสนจะธรรมดาที่แรงจูงใจภายนอกที่คุ้มค่าบางอย่างสามารถมีอิทธิพลเหนือความต้องการที่แท้จริงของเราได้ ความฝันที่จะเป็นเจ้าของคอฟฟี่ช็อปเล็กๆ อาจถูกแรงจูงใจในรูปของความมั่นคง ความสุขสบาย ค่าผ่อนบ้านผ่อนรถ ค่าเทอมลูก ฝังกลบซะมิด ดังนั้นจะว่าไปแล้วพื้นที่ของแรงจูงใจภายในที่เป็นความสุขจากการเป็นตัวของตัวเองและเห็นคุณค่าของมัน กับฝั่งที่เป็นแรงจูงใจภายนอกซึ่งสนองตอบความต้องการทางสังคม อีโก้ ก็เลยแทบกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน

ด้วยเหตุนี้ บางทีอาจไม่สำคัญเท่าไหร่ว่าแรงจูงใจมาจากตัวเราเองหรือภายนอก ค้นหาเป้าหมายให้ได้คือสิ่งสำคัญกว่า คำถามที่ต้องหมั่นตั้งกับตัวเองเสมอคือ “เรากำลังทำสิ่งที่ทำอยู่นี้เพื่ออะไร และเพื่อใคร”

2. หาแรงจูงใจที่จะนำไปสู่เป้าหมายให้ดี

ไม่ผิดเลย ถ้าแรงจูงใจจะเป็นเงินเดือน ตำแหน่ง เกียรติยศ และความมั่นคงในชีวิตที่มันคุ้มค่าพอ ในเมื่อสู้อุตส่าห์ลงทุนฝึกฝนร่ำเรียนมาเพื่อรับผิดชอบงานความเสี่ยงสูง หรืออาชีพเฉพาะทางที่อาศัยความเชี่ยวชาญพิเศษ อย่างแพทย์ วิศวกรเคมี หรือนักบิน มาลองปฏิบัติตามคำแนะนำที่อาจารย์ฟิชบัคบอกว่านอกจากจะช่วยให้เราสร้างแรงจูงใจให้ชีวิตมีเป้าหมายที่ชัดเจนมากขึ้นแล้วยังทำให้เราเป็นคนที่ดีขึ้นด้วย

ข้อแรก คือ อย่าเอาแต่ไล่ตามสิ่งจูงใจจนทำงานแค่ให้เสร็จเร็วที่สุด มากที่สุดจนละเลยประสิทธิภาพ เซลล์ที่ตั้งหน้าตั้งตาขายเอายอดจำนวนลูกค้าให้ถึงเป้าแต่ไม่สนความพึงพอใจด้านบริการก็อาจต้องเสียลูกค้าไปอยู่ดี

ข้อสอง อย่าสร้างแรงจูงใจที่หักล้างเป้าหมายที่วางไว้ เช่น ถ้าให้รางวัลตัวเองที่ลดน้ำหนักสำเร็จเป็นไก่ทอด BonChon เซ็ทใหญ่กับบิงซู After You ก็เท่ากับว่าที่เพียรพยายามออกกำลังกายและคุมอาหารมาเต็มที่กลับสูญเปล่าเอาตอนท้ายสุด

ข้อสาม หาแรงจูงใจที่ท้าทายแต่เป็นไปได้ เช่น ถ้าเป้าหมายอยู่ที่การออมเงินให้ได้หนึ่งล้านภายในอายุสามสิบ รางวัลใหญ่ของลอตเตอรี่อาจยั่วใจกว่าการซื้อสลากออมสินหรือลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลก็จริง แต่โอกาสถูกลอตเตอรี่รางวัลใหญ่นั้นเป็นไปได้ยากกว่ามาก

ข้อสี่ หาแรงจูงใจที่ทำให้เราไม่คิดล้มเลิกกลางคัน เช่น วางเดิมพันกับภารรยาว่าถ้าเลิกบุหรี่ไม่สำเร็จ จะอดหอมแก้มลูกไปทั้งปี

3. หมั่นเช็คไฟในตัวเอง

เมื่อครั้งแรกเริ่มยังไฟแรง แต่อีกหลายปีต่อมาไฟริบหรี่ใกล้ดับ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความรู้สึกอิ่มตัวว่าไม่สามารถเรียนรู้หรือพัฒนาตัวเองไปได้ไกลกว่านี้ อาจารย์ฟิชบัคแนะว่า

ข้อหนึ่ง แบ่งเป้าหมายใหญ่ออกเป็นเป้าหมายย่อย เช่น จากตั้งเป้ายอดขายรายปี แบ่งย่อยเป็นรายสัปดาห์ว่าต้องทำยอดให้ได้เท่าไหร่ ความสำเร็จจากเป้าหมายย่อยจะเป็นกำลังใจให้ก้าวสู่เป้าหมายต่อไปจนบรรลุเป้าหมายในที่สุด

ข้อสอง เช็คตัวเองเสมอว่าเราเข้าใกล้เป้าหมายแค่ไหน เหมือนการสะสมแต้มบัตรเครดิตไปแลกซื้อของที่หมายตาไว้ เราสะสมได้แล้วกี่แต้มและเหลืออีกกี่แต้มจะครบเป้า

ข้อสาม หาแรงบันดาลใจหรือแบบอย่างจากไอดอลที่เรานับถือหรือคนเก่งที่มีทัศนคติดี มองคนเก่งรอบตัวแล้วสังเกต เรียนรู้จากเขาว่า เขาบริหารจัดการเวลาและตัวเองอย่างไรจึงยังชิวกับงานกองพะเนินอยู่ได้ เขาวางเป้าหมายให้ตนเองอย่างไรและทำไมถึงมีไฟกับมันได้ขนาดนั้น

ข้อสี่ ให้คำแนะนำกับผู้อื่นดูบ้าง วิธีนี้อาจารย์ฟิชบัคชี้ว่าช่วยให้คนหมดไฟผ่านพ้นอาการตีบตันในการทำงานและกอบกู้ความมั่นใจในตัวเองได้ดีที่สุด เมื่อให้คำแนะนำผู้อื่น ตัวเราเองก็ได้ใคร่ครวญปัญหาที่เจอในมุมมองของคนนอก เราอาจมองเห็นทางออกใหม่ และวางแผนอนาคตให้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น

แรงจูงใจในการทำงานคือเชื้อเพลิงที่ช่วยหล่อเลี้ยงไฟในการทำงานให้ยังมีพลังแข่งขันต่อสู้กับความยากลำบาก อุปสรรค หรือแม้แต่ความเบื่อหน่ายเพื่อเรียนรู้และพัฒนาตัวเองต่อไปได้ การรักษาแรงจูงใจไว้ให้ได้จะช่วยให้ผ่านพ้นช่วงเวลาตกต่ำยามที่ความเหนื่อยล้าเข้ามาบดบังเป้าหมายที่แท้จริง

และด้วยหลักยึดจากเทคนิคข้างต้นนี้ เราจะไม่ปล่อยตัวให้จมอยู่กับหนทางตัน แต่จะสามารถหาเชื้อไฟใหม่ๆ ผลักดันตัวเองให้ก้าวย่างอย่างมั่นคงไปสู่จุดที่มุ่งหวังในทางใดทางหนึ่งตราบใดที่ชีวิตยังไม่หมดลมหายใจ

อ้างอิง
เรียบเรียงจากบทความเรื่อง How to Keep Working When You’re Just Not Feeling It

Tags:

คาแรกเตอร์(character building)ชีวิตการทำงานแรงจูงใจในตัวเอง(Self motivation)

Author:

illustrator

วิภาวี เธียรลีลา

นักเขียนอิสระที่อยากเข้าใจวิถีชีวิตผู้คน เลยพาตัวเองไปใช้ชีวิตในลอนดอน ปักกิ่ง เซินเจิ้นและอเมริกา กินมังสวิรัติ อินกับโภชนาการ กำลังเรียนเป็นนักปรับพฤติกรรมสุนัขและชอบกินกาแฟใส่ฟองนม

Related Posts

  • 21st Century skills
    รวิศ หาญอุตสาหะ: คนรุ่นใหม่แบบไหนที่นายจ้างอยากทำงานด้วย

    เรื่อง The Potential

  • 21st Century skills
    INITIATIVE: ริเริ่มสร้างสรรค์โดยไม่มีใครร้องขอ แก้ปัญหาไม่ต้องรอคนจ้ำจี้จ้ำไช

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Grit
    5 ขั้นตอนตั้งเป้าหมายไม่ให้พลาด: เริ่มจากเขียนลงกระดาษและค่อยๆ ทำให้เป็นจริง

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ antizeptic

  • Life Long Learning
    คุณจะนอนเล่นมือถือบนโซฟา หรือลุกขึ้นมาแล้ววิ่งไปหาเป้าหมายของตัวเอง

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ บัว คำดี

  • 21st Century skillsEducation trend
    MEDIA LITERACY: หยุดแชร์ข่าวปลอม ด้วยวิชา ‘เท่าทันสื่อ’

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

11 วิธีสร้างสิ่งแวดล้อมให้เด็กเป็นผู้นำ: เคารพตัวเอง มุ่งมั่น ยืดหยุ่น ตัวอย่างนิสัยข้างในที่เด็กๆ จะได้
Character building
5 August 2019

11 วิธีสร้างสิ่งแวดล้อมให้เด็กเป็นผู้นำ: เคารพตัวเอง มุ่งมั่น ยืดหยุ่น ตัวอย่างนิสัยข้างในที่เด็กๆ จะได้

เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ บัว คำดี

  • หากมอง ‘ภาวะผู้นำ’ ลึกลงไปในแง่ลักษณะเฉพาะ หรือ อุปนิสัย (trait) การมีภาวะผู้นำหมายถึง ข้างในคุณต้องเป็นคนที่รู้จักตัวเอง, เคารพตัวเอง, มีมิตรไมตรี, มุ่งมั่น, สนใจใคร่รู้, ปรับตัวยืดหยุ่น, มีความฉลาดทางอารมณ์, ยุติธรรม สำคัญที่สุด มีพลังงานบางอย่างทำให้คนอยู่ใกล้มอบความเคารพไว้วางใจให้
  • 1 วิธีสร้างความเป็นผู้นำ และตีความกลับไปว่า วิธีดังกล่าวนี้ สร้างอุปนิสัยภายในอะไรให้พวกเขา

‘ภาวะความเป็นผู้นำ’ หรือ Leadership 1 ใน 16 ทักษะในศตวรรษที่ 21 (21st century skills) หมวด Character Qualities –กลุ่มทักษะด้านคุณสมบัติ, คุณลักษณะ หรือ นิสัย ที่คนคนหนึ่งจะมีเพื่อแก้ปัญหาในโลกอนาคตที่จะซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ

ทำไม ‘ภาวะความเป็นผู้นำ’ จึงสำคัญในศตวรรษที่ 21

คำอธิบายทั่วไปจากสภาเศรษฐกิจโลก หรือ world economic forum อธิบายว่า เพราะโลกในอนาคต (อันที่จริงต้องบอกว่าคือโลกในปัจจุบัน!) เชื่อมโยงถึงกัน เส้นพรมแดนประเทศพร่าเลือน เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว กระทั่งความรู้ก็มีอายุสั้นลงเรื่อยๆ

ในภาวะการณ์เช่นนี้ ระดับทั่วไป – มนุษย์จำเป็นต้องยืดหยุ่น อดทนต่อความขึ้งเครียดกดดันจากการทำงาน ยอมรับความหลากหลายทางความคิดและวัฒนธรรม เฉพาะหมวดการทำงาน – ซึ่งไม่มีใครรู้ว่างานในอนาคตจะเป็นไปในรูปแบบไหน ทักษะผู้นำจะเข้ามารับใช้เรื่องความสัมพันธ์กับผู้คน

ไม่เท่านั้น โลกต้องการผู้นำที่มาพร้อมกับไอเดียใหม่ๆ พร้อมจะยอมเสี่ยง พร้อมสร้างแรงบันดาลใจ พร้อมจะหากลยุทธ์ใหม่ในโลกเพื่อท้าทายการทำงานที่เปลี่ยนเร็ว ขนาดใหญ่ และซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ  

ที่อยากชวนพูดคุยไม่ใช่แค่การ ‘สร้าง’ ภาวะผู้นำ แต่ลึกลงไปในระดับภายใน คนที่เป็นผู้นำมักมีสายตาแบบไหน นิสัยเล็กๆ น้อยๆ อะไรที่ทำให้คนเรามีภาวะผู้นำ

Psychology Today นิตยสารด้านจิตวิทยาอธิบายภาวะผู้นำในแง่ cognitive science – วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา หรือกล่าวได้ว่าเป็นการศึกษาวิทยาศาสตร์ในแง่สหวิทยา ตั้งแต่ด้านภาษาศาสตร์ มานุษยวิทยา จิตวิทยา รวมทั้งวิทยาศาสตร์สมอง ว่า…

หากมอง ‘ภาวะผู้นำ’ ลึกลงไปในแง่ลักษณะเฉพาะ หรือ อุปนิสัย (trait) การมีภาวะผู้นำหมายถึง ข้างในคุณต้องเป็นคนที่รู้จักตัวเอง, เคารพตัวเอง, มีมิตรไมตรี, มุ่งมั่น, สนใจใคร่รู้, ปรับตัวยืดหยุ่น, มีความฉลาดทางอารมณ์, ยุติธรรม สำคัญที่สุด มีพลังงานบางอย่างทำให้คนอยู่ใกล้มอบความเคารพไว้วางใจให้

ซึ่งทั้งหมดนี้ท้าทายว่า เราจะสร้าง ‘คาแรคเตอร์’ ‘อุปนิสัย’ หรือ ‘ลักษณะเฉพาะ’ ภายในของคนให้มีและเป็นเช่นนี้ได้อย่างไร? ยีนหรือพันธุกรรมกำหนดคาแรคเตอร์ส่วนตัวจริงหรือไม่ ไม่สำคัญเท่าสภาพแวดล้อม พื้นที่ที่เราเติบโต เอื้อและสร้างให้เรามีภาวะผู้นำ… อย่างไรมากกว่า 

11 วิธีสร้างภาวะผู้นำให้เด็กๆ

ท่ามกลางบทความแนะนำฉบับ ‘How to’ นับพันจากสื่อมวลชนทุกแขนง คาริน เฮิร์ท (Karin Hurt) และ เดวิด ดาย (David Dye) นักพูดและเทรนเนอร์ระดับโลกเรื่องภาวะผู้นำ และเจ้าของหนังสือรางวัล Winning Well : A Manager’s Guide to Getting Results Without Losing Your Soul แนะนำ 11 วิธีสร้างภาวะผู้นำให้เด็กๆ แบบเข้าใจง่าย สร้างสรรค์ และน่าหยิบยืมทดลองไปใช้ 

คาริน และ ดาย อาจไม่ได้ตีความไปถึงอุปนิสัยภายใน แต่ผู้เขียนอยากลองตีความลึกลงไปว่า แต่ละวิธีจะกลับไปสร้างคุณลักษณะภายในอย่างไร 

1. สร้างสภาพแวดล้อม สร้างบทบาทให้เด็กได้เป็น ‘ผู้ให้’: สร้างสถานการณ์ให้เค้าได้แบ่งปันสิ่งของ แต่จะไม่ได้ให้บทบาทอย่างเดียว แต่ชวนคิดด้วยว่าพวกเค้าคิดอย่างไรกับการให้แบบนี้ เวลาที่แบ่งสิ่งของ ให้ตั้งคำถามว่า ทำไมเค้าถึงให้ บทบาทการให้จึงจะนำไปสู่ทำให้เด็ก sense เรื่อง การเห็นอกเห็นใจผู้คนที่มีสถานการณ์ไม่เหมือนตัวเอง

2. พูดกับเขาเหมือนพูดกับผู้ใหญ่: เด็กๆ ฉลาดกว่าที่คุณเห็น คุยกับเขาได้เลยเรื่องสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน ชวนเขาคุยถึงคนที่มีบทบาทแตกต่างจากพวกเขา วิธีนี้จะพัฒนาทักษะการฟังและเคารพมุมมองของผู้อื่น

3. ให้เป็นหนึ่งในผู้ร่วมตัดสินใจปัญหาครอบครัว: เลือกปัญหาหรือสถานการณ์บางอย่างที่ต้องการการตัดสินใจ ชวนให้เด็กๆ ได้ร่วมลงความเห็น ระหว่างพูดคุย พ่อแม่มอนิเตอร์วงคุยทำให้ทุกคนรับฟังกันจริงๆ เพื่อตัดสินใจร่วมกันได้ 

เช่นกัน วิธีนี้สร้างคาแรคเตอร์ของการ ‘ฟังอย่างลึกซึ้ง’ (deep listening) ลองคิดดูว่าจะดีแค่ไหนถ้าผู้นำของคุณมีคุณสมบัติการเป็นผู้ฟังที่ดี ฟังอย่างตั้งใจ นอกจากทำให้คุณรู้สึกว่าได้รับความเคารพไม่ตัดสินแล้ว ความเห็นทั้งหมดของเรายังถูกนำไปพัฒนาต่อยอดได้ 

4. สร้างบรรยากาศการอ่าน: ไม่ใช่แค่อ่าน แต่ชวนเด็กๆ คุยเรื่องคาแรคเตอร์และความสัมพันธ์ของผู้คนในหนังสือ ข้อนี้คล้ายกับข้อ 2 นั่นคือความเข้าใจบทบาทและมุมมองของผู้คนหลากหลาย หากตีความเรื่อง trait การอ่านมอบสายตาแห่งความ ‘เข้าอกเข้าใจ’ (empathy) ให้กับผู้นั้นได้เสมอ 

5. พาเด็กๆ ไปทำงานกับคุณ ให้บทบาทเขาทำงานจริง:  พาเขาไปทำงานจริงกับคุณได้เลย และมอบหมายงานที่เป็นรูปธรรมให้เขาบริหารจัดการจริง ที่ทั้งคู่แนะนำคือพ่อแม่ต้องอธิบายกระบวนการให้พวกเขาฟังอย่างชัดเจนแล้วจึงถามความเห็นเพื่อให้เขาอธิบายวิธีคิดต่อรูปแบบที่พวกเขาเลือกทำ

ชัดเจนว่าวิธีนี้สร้างความมุ่งมั่นและการปรับตัวยืดหยุ่น เพราะทุกการทำงานไม่ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหน การยืดหยุ่นเปลี่ยนวิธีคิดในการทำงานเพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคย่อมเกิดขึ้นเสมอ และนี่ตรงกับพื้นฐาน 3 อย่างของ EF (working memory, inhibit, shift) ในเรื่อง shift การปรับตัวยืดหยุ่น 

6. ยอมรับเวลาคุณทำผิด: ชวนคุยเวลาคุณทำอะไรผิดพลาด เด็กๆ ต้องรู้ว่าผู้ใหญ่ทำผิดกันแบบไหน ให้เขารู้ว่าไม่มีใครเพอร์เฟ็คท์ แต่ทุกคนที่พลาดจะมีบทเรียนเพื่อเรียนรู้ หนึ่งในวิธีสร้างคาแรคเตอร์การเป็นผู้นำที่ดีให้เด็ก คือให้เห็นว่าคุณเองก็ยังเรียนรู้เพื่อเติบโตอยู่ทุกวันด้วย

ข้อนี้ผู้เขียนตีความว่าเด็กๆ จะเคารพตัวเองและมีสายตาแห่งความยุติธรรม เพราะเมื่อเด็กๆ ไม่มีทัศนคติลบต่อความผิดพลาด ในเวลาที่เขาทำผิด เขาจะกล้ายอมรับอย่างตรงไปตรงมา 

7. แวดล้อมด้วยคนที่มีภาวะผู้นำ: เพราะเด็กๆ ไม่เรียนจากการสั่งสอน แต่เขาจะเป็นในสิ่งที่ผู้ใหญ่เป็น เป็นอย่างสิ่งแวดล้อมที่พวกเขาอยู่ การแวดล้อมเด็กๆ ด้วยผู้คนที่มีวิสัยทัศน์แบบผู้นำเป็นวิธีการเรียนรู้เรื่องนี้ที่แยบยลอีกทางหนึ่ง 

8. ให้เป็นผู้กล่าวต้อนรับเวลามีงานที่บ้าน: ในวันรวมญาติ งานปาร์ตี้ที่จะมีคนมาร่วมรับประทานอาหารด้วยกันเยอะๆ ให้เด็กได้เป็นผู้กล่าวต้อนรับหรือเปิดวงอาหาร หรือการคิดบทพูดว่าพวกเขาดีใจแค่ไหนที่ทุกคนมารวมกันในที่แห่งนี้

เฮิร์ทและดายไม่ได้อธิบายว่าวิธีการนี้ดีอย่างไร แต่ผู้เขียนทึกทักเอาเองว่า วิธีการนี้ทำให้เด็กๆ ต้องรู้จักผู้ที่มาร่วมงานทุกคน กำกับตัวเองและบทบาทว่าจะต้องร่างสุนทรพจน์สั้นๆ อย่างไร ไม่ใช่แค่มิตรไมตรีและความสนใจใคร่รู้ในตัวแขกที่จะเกิดกับเด็กๆ แต่ความมั่นใจในความคิดและการแสดงออกย่อมเกิดขึ้น

9. สร้างเครือข่าย: การทำให้เด็กๆ เห็นความสำคัญของเครือข่ายไม่ใช่แค่รู้จักคนมาก แต่มาพร้อมกับความสัมพันธ์เรื่องความซื่อสัตย์ต่อกลุ่ม ซึ่งเรื่องนี้สำคัญมากต่อการทำงานเป็นทีม 

10. ช่วยเด็กหาอัตลักษณ์ของตัวเอง: ต้องไม่ลืมช่วยเด็กๆ ค้นหาความหลงใหลของพวกเขา วิธีการง่ายๆ คือชวนเขาคุยหรือเขียนถึงสิ่งที่ตัวเองชอบ เฮิร์ทและดายไม่ได้กล่าวไว้อีกเช่นกัน แต่ข้อนี้ผู้เขียนเห็นว่า มันไม่สำคัญเลยว่าเด็กๆ จะชอบหรือมี passion ต่อสิ่งที่เขาบอกว่าชอบในวันนี้มากหรือยาวนานแค่ไหน สำคัญคือ เด็กๆ รู้ว่าเขาจะพูดในสิ่งที่ต้องการ สิ่งที่ตัวเองรู้สึกชอบและหลงใหลได้ในปัจจุบัน ถ้ากลับไปเรื่อง trait ที่อธิบายข้างต้น นี่คือเรื่องเดียวกับการรู้จักตัวเอง

11. คำถามที่เฉียบคม: ‘ถ้าไม่ทำวิธีนี้ ทำวิธีอื่นได้ไหม?’ ‘ทำไมวิธีนี้ถึงเวิร์คล่ะ เล่าให้ฟังหน่อยได้ไหม?’ คำถามเหล่านี้ไม่ชี้นำ แต่ชวนคุ้ยตะกอนความคิดของเด็กๆ ให้ฟุ้งขึ้น คำถามที่ชาญฉลาดและเอื้อให้เด็กๆ ได้คิด จะช่วยร่างกรอบความคิดให้ชัดเจนขึ้น และเด็กๆ เองจะได้วิธีการเหล่านี้-ถามให้คิด ไม่ชี้นำ ทักษะของผู้นำส่วนใหญ่ ไปใช้ในชีวิตประจำวันด้วย

กล่าวอีกครั้ง เราจะสร้าง ‘คาแรคเตอร์’ ‘อุปนิสัย’ หรือ ‘ลักษณะเฉพาะ’ ของคนให้มีและเป็นเช่นนี้ได้อย่างไร? ยีนหรือพันธุกรรมกำหนดคาแรคเตอร์ส่วนตัวจริงหรือไม่ ไม่สำคัญเท่าสภาพแวดล้อม พื้นที่ที่เราเติบโต เอื้อและสร้างให้เรามีภาวะผู้นำอย่างไร… นี่เป็นตัวแปรที่สำคัญมากกว่า

กล่าวอีกครั้ง เราจะสร้าง ‘คาแรคเตอร์’ ‘อุปนิสัย’ หรือ ‘ลักษณะเฉพาะ’ ของคนให้มีและเป็นเช่นนี้ได้อย่างไร? ยีนหรือพันธุกรรมกำหนดคาแรคเตอร์ส่วนตัวจริงหรือไม่ ไม่สำคัญเท่าสภาพแวดล้อม พื้นที่ที่เราเติบโต เอื้อและสร้างให้เรามีภาวะผู้นำอย่างไร… นี่เป็นตัวแปรที่สำคัญมากกว่า

ที่มา:

psychologytoday.com/

psychologytoday.com/

letsgrowleaders.com/

Tags:

คาแรกเตอร์(character building)21st Century skillsภาวะผู้นำ(leadership)

Author:

illustrator

ณิชากร ศรีเพชรดี

แอดมิชชันเข้าคณะการเขียนและสิ่งพิมพ์เพราะคิดว่าเขาจะสอนให้เขียนนิยาย แทนที่จะได้เขียนจากจินตนาการ อาจารย์และทุกอย่างที่นั่นเคี่ยวกรำให้ทำ-คิด-เขียน-รู้สึกกับประเด็นสังคม ยังคงสนุก(มาก)กับงานสื่อสาร ฝันสูงสุดคือยังเข้มแข็งเขียนงานได้อย่างมีคุณภาพและฐานะดี

Illustrator:

illustrator

บัว คำดี

เติบโตมากับเพลงป็อปแดนซ์ยุค 2000 เริ่มเป็นติ่งวงการ k-pop ในวัยมัธยม มีเพลงการ์ตูนดิสนีย์เป็นพลังใจในทุกช่วงวัยของชีวิต

Related Posts

  • Social Issues
    ล้าหลัง เชื่องช้า แต่อย่าเฉยชา ความหวังที่ยังไม่หมดของระบบการศึกษา

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Grit
    S.M.A.R.T GOAL ตั้งเป้าหมายให้ชัด ใกล้ ใช่ และจริง – ไม่ล้มเหลวแน่นอน

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • Character building
    11 วิธี ฝึกเด็กๆ พร้อมเป็นผู้นำ

    เรื่อง The Potential ภาพ antizeptic

  • 21st Century skills
    10 ทักษะผู้นำของคนในวงการไซเบอร์ ที่โลกอนาคตต้องการ

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • 21st Century skills
    เป็นเด็กยิ่งต้อง ‘เถียง’ และเถียงอย่างสร้างสรรค์เพื่อเข้าใจตัวเองและคนอื่น

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

ภารกิจสร้างวงโยฯ​ และการเรียนรู้ครั้งใหม่วัย 51 ของครูผู้เล่นดนตรีไม่เป็น
Life Long LearningUnique Teacher
5 August 2019

ภารกิจสร้างวงโยฯ​ และการเรียนรู้ครั้งใหม่วัย 51 ของครูผู้เล่นดนตรีไม่เป็น

เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา ภาพ สิทธิกร ขุนนราศัย

  • ครูบลู ครูสอนดนตรีระดับมัธยม โรงเรียนวัดสะแกงาม ได้รับภารกิจใหญ่จากผู้อำนวยการให้สร้างวงโยธวาทิตขึ้นมา แม้จะสอนดนตรีเป็นวิชาหลัก แต่การทำวงโยฯ ไม่ใช่เรื่องง่าย ครูบลูเริ่มต้นจากศูนย์ ต้องนั่งเรียนรู้เรื่องดนตรีและเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดไปพร้อมเด็กๆ 
  • แม้อีก 9 ปี ครูบลูจะเกษียณอายุราชการ แต่ไม่เคยคิดหยุดเรียนรู้ การได้มาทำวงโยฯ ช่วยเคาะสนิมทำให้ครูอยากเรียนอีกครั้ง โดยเลือกเรียนต่อในระดับปริญญาโท ด้านดนตรีในคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • “สิ่งสำคัญคือเราไม่ได้หวังว่าจะต้องเป็นวงโยฯ ที่เก่งที่สุด ในฐานะครูแค่ให้เขารู้สึกว่าช่วงชีวิตหนึ่งตอนที่เขาอยู่มัธยมเขาได้เป็นนักดนตรี เขาเคยเล่นดนตรีก็พอ” ภารกิจสร้างวงโยฯ ครั้งนี้ นอกจากเติมเต็มตัวครูเองแล้ว ยังช่วยให้เด็กๆ ค้นหาตัวเอง เพิ่มทักษะด้านดนตรี ประโยชน์คือเด็กๆ อาจใช้ดนตรีต่อยอดเป็นอาชีพในอนาคตได้

เสียงเครื่องเป่าจากเด็กๆ วงโยธวาทิตโรงเรียนวัดสะแกงาม ย่านพระราม 2 ดังขึ้นบริเวณหน้าห้องดนตรีเป็นประจำทุกวันหลังเลิกเรียน โดยมี ‘ครูบลู’ อัฒฑวินทร์ ธนเดชสำราญพงษ์ วัย 51 ครูประจำวิชาดนตรีระดับมัธยมต้น เป็นผู้ฝึกซ้อม 

แต่กว่าเครื่องดนตรีแต่ละชนิดจะประกอบกันเป็นวง – ไม่ใช่เรื่องง่าย

ใครจะรู้ว่าเสียงดนตรีที่เกิดขึ้นทุกวันหลังเลิกเรียน เกิดจากครูผู้สอนที่ไม่มีความรู้เรื่องดนตรีมาก่อน ย้อนไปหลายปีที่แล้ว ครูบลูได้รับโจทย์ใหญ่จากผู้อำนวยการโรงเรียนให้ฟอร์มวงโยธวาทิตขึ้นมา โดยมีระยะเวลากำหนดให้หนึ่งปีเท่านั้น จากครูเบ็ดเตล็ดที่สอนมาแล้วทุกวิชา งานช่าง เกษตร สังคม ภาษาไทย แม้ทุกวิชาที่กล่าวมาจะไม่ใช่ทางถนัด แต่ครูก็ตั้งใจและทำมันออกมาให้ดีที่สุด 

ครูบลูจบเอกโขน จากวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ และหลงใหลในการวาดรูป แม้ปัจจุบันจะเบนเข็มกลับเข้ามาสอนในแขนงศิลปะ แต่วิชาดนตรีที่ครูรับผิดชอบ ทำให้ครูต้องเรียนรู้ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยลงทุนไปเรียนต่อปริญญาโท ด้านดนตรี คณะดุริยางคศาสตร์โดยเฉพาะ

ภารกิจสร้างวงโยธวาทิตครั้งนี้พาครูบลูไปเคาะสนิมการเรียนรู้ของตัวเองในวัยใกล้เกษียณ ครูต้องทำความรู้จักเครื่องดนตรีแต่ละชนิด ที่สำคัญนอกจากเรียนดนตรีเพื่อเล่นให้เป็นแล้ว ยังต้องเรียนการเป็นผู้สอนดนตรีอีกด้วย และความทุ่มเทครั้งนี้ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง ในที่สุดโจทย์ที่ผู้อำนวยการมอบหมายให้ก็ลุล่วง ครูบลูทำให้วงโยธวาทิตเกิดขึ้นจริง-และตอนนี้กำลังมีวงโยฯ รุ่นสอง

อะไรทำให้ครูผู้นี้ ไม่กลัวที่จะเริ่มเรียนรู้ครั้งใหม่ในวัยใกล้เกษียณ

ทำไมถึงเลือกเรียนนาฏศิลป์ แล้วเข้ามาทำงานเป็นครูได้อย่างไร

เป็นเรื่องบังเอิญ เพราะเราชอบเรียนวาดรูป อยากวาดรูป คิดว่าการเรียนในวิทยาลัยนาฏศิลป์คงได้เรียนวาดรูปด้วย แต่ชีวิตคงถูกขีดไว้แล้ว จึงได้เข้าเรียนด้านนี้เลย แต่เราชอบนะ ชอบศิลปะอยู่แล้ว 

ไม่ได้อยากเป็นครูเลยนะ เป็นคนไม่ได้มีความคาดหวังในชีวิตขนาดนั้น ไม่อายที่จะบอกว่าเราเป็นคนไม่คิดอะไรเยอะ ย้อนไปตอนปี 2534 สอบบรรจุเป็นครูได้ในโรงเรียนสังกัด กทม. แห่งหนึ่ง พอได้สอนจริงแล้วรู้สึกว่า อาชีพครูไม่ใช่ทางของเรา อาจจะเป็นเพราะตอนนั้นยังเป็นเด็กจบใหม่ วิธีการคิดและการทำงานแบบผู้ใหญ่มันไม่เข้ากับเรา จึงตัดสินใจลาออกไปทำงานที่โรงละคร จากนั้นก็ผันตัวไปทำงานออร์แกไนซ์อยู่สักพัก จากนั้นก็ฟอร์มทีมทำงานเกี่ยวกับนาฏศิลป์และดนตรีไทย 

การที่เราตัดสินใจลองทำหลายๆ อย่าง อย่างไม่รีบร้อน เพราะเราอยากเรียนรู้ก่อน คิดว่าชีวิตเรายังมีโอกาสเลือกได้อีกเยอะ หากวันหนึ่งเราอยากกลับมาเป็นครูอีกครั้ง สิ่งที่เราทำมาทั้งหมดจะเป็นต้นทุนให้เรา 

จนปี 2540 เราตัดสินใจกลับเข้ามาสอบบรรจุครูที่โรงเรียนวัดสะแกงาม นับจากวันนั้นจนวันนี้ก็เป็นครูมา 21 ปีแล้ว

ตอนเป็นครูครั้งแรก เห็นอะไร ทำไมต้องทบทวนกับตัวเองว่า ‘ครูเป็นอาชีพที่เหมาะกับเราหรือไม่’

เห็นความแตกต่าง เรามีเพื่อนครูที่สอนอยู่โรงเรียนเอกชน สอนอยู่ในโรงเรียนมัธยม สอนอยู่ในโรงเรียนนาฏศิลป์ แต่ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เราพบว่าเด็กไม่มีอะไรเลย โดยเฉพาะโรงเรียนที่อยู่ในเขตรอบนอก ยังคงมีปัญหาและความไม่พร้อมอย่างยิ่ง แต่พอได้ทดลองไปทำงานอื่น เวลา 6 ปีผ่านไป เราเข้าใจอะไรมากขึ้น จึงอยากกลับมาเป็นครูอีกครั้ง

พอชีวิตได้พลิกมารับบทบาทครูอีกครั้งเป็นอย่างไรบ้าง

การเป็นครูในสังกัด กทม. ในยุคนั้น เราต้องสอนหลายวิชามาก ครูใหญ่มีคำสั่งให้สอนอะไรก็ต้องสอนให้ได้ (หัวเราะ) เพราะครูขาดแคลน จำได้ว่าอาทิตย์แรกเคยไปสอนเด็กอนุบาล จากนั้นขยับมาสอน ป.1-ป.2 สอนวิชาการงานและอาชีพ สอนงานประดิษฐ์ สอนพละ เราสอนได้หมดขอแค่มีหนังสือ จน 4 ปีผ่านไป ได้ขยับขึ้นมาสอนเด็กมัธยม แต่ก็ยังไม่ได้สอนวิชาตรงเอกที่เราจบมา เฉียดไปสอนเกษตร สอนภาษาไทยบ้าง 

สมัยนั้นยังไม่มีการปฏิรูปการศึกษาอย่างชัดเจน แค่มีหนังสือเรียนเป็นคู่มือและสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์ไปก็เพียงพอสำหรับยุคนั้น แต่สิ่งที่เราพยายามเสริมคือเรื่องทักษะชีวิต เราจะบอกเด็กและผู้ปกครองทุกรุ่นเสมอว่า “ครูบลูอาจจะสอนหนังสือไม่เก่งนะ แต่สอนทักษะชีวิตพอใช้ได้”

ทักษะชีวิตเรื่องอะไรบ้าง

การอยู่ร่วมกัน การใช้ชีวิตกับผู้อื่น เพราะความคาดหวังของเด็กขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัด กทม. ด้วยคาแรคเตอร์ของเด็กอาจจะไม่ได้คาดหวังทางวิชาการมากนัก ส่วนใหญ่ที่เข้ามาเรียนคือเด็กในชุมชนรอบๆ ครูขอให้เขาอยู่รอด อยู่เป็น จนจบ ม.3 จากนั้นเขาจะไปต่อเทคนิค เรียน ปวช. เรียนอาชีวะก็ปล่อยไปตามทางเขา หรือถ้าใครไปต่อสายสามัญได้จะถือว่าดีมากๆ ในยุคนั้น

ดังนั้นสิ่งที่เราพยายามเน้นคือมุมมองต่อการวางแผนชีวิตตัวเอง เมื่อคุณเรียนมา 3 ปีแล้ว คุณจะไปทางไหนต่อ? โดยใช้วิธีคุยกับเด็กๆ อย่างเปิดใจตั้งแต่เขาอยู่ ม.1 เหมือนเราเป็นครูแนะแนว เราวางตัวเองไม่ใช่แค่ครูประจำวิชา เป็นทั้งเพื่อน เป็นพี่ เป็นพ่อแม่ เป็นอะไรก็ได้ที่เขาอยากให้เป็น

ปัจจุบันครูได้กลับมาสอนในวิชาที่ตัวเองจบมาแล้วหรือยัง

ตอนนี้สอนวิชาดนตรีเป็นหลักแล้ว แต่ก็ไม่ได้สอนในลู่วิชาที่เราจบมาโดยตรงอย่างนาฏศิลป์

ฉะนั้นการเป็นครูสอนดนตรี จึงเป็นจุดเริ่มต้นทำให้ครูอยากทำวงโยธวาทิตขึ้นมาหรือเปล่า

การเกิดขึ้นของวงโยฯ เป็นเรื่องที่จักรวาลจัดสรรขึ้นมา (หัวเราะ) เราไม่เคยรู้มาก่อน ก่อนหน้านี้โรงเรียนวัดสะแกงามไม่เคยมีวงโยฯ วันดีคืนดีมีรถขนอุปกรณ์ดนตรีมาส่งที่ห้องดนตรี เราก็เซ็นรับแบบงงๆ จากนั้นเราก็ไปแจ้งผู้อำนวยการโรงเรียนว่า “มีเครื่องดนตรีมาส่งแล้วนะ ผอ. จะให้ใครดูแลในส่วนนี้” ผอ. ก็หันมาบอกว่า “ให้เรานั่นแหละเป็นผู้ดูแล” จังหวะนั้นเราก็ “โอ๊ย จะทำได้อย่างไร ไม่ได้จบมา สอนไม่เป็น เล่นดนตรีไม่เป็น” ผอ. จึงใช้วิธีจ้างครูข้างนอกมาสอนก่อน 1 ปีโดยที่ให้เราเรียนรู้ไปกับเด็ก เผลอๆ อาจจะเรียนหนักกว่าด้วยซ้ำ

สมมุติเด็กเรียนการเป่าเครื่องดนตรี แต่เราต้องเรียนการสอนการเป่าอีกที เวลาว่างๆ ก็ต้องมาฝึกเป่าเครื่องดนตรีนั้นให้เป็น อย่างน้อยก็ให้มันมีเสียงออกมาให้ได้

ถึงแม้เริ่มต้นจากความไม่รู้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปต้องจริงจังขึ้น ครูบลูใช้วิธีการฟอร์มวงอย่างไร

จากวันแรกเราใช้วิธีหว่านประกาศรับสมัครเด็ก ตอนนั้นแบ่งรับแบ่งสู้ ไม่รู้ว่าจะมีเด็กมาสมัครไหม เพราะไม่มีตัวอย่างให้เขาเห็น ปรากฏว่ามีเด็กสนใจ 20 กว่าคน เราก็รับหมดทุกคน ใครอยากเล่นเครื่องอะไรก็จับจองได้เลย 

ในช่วงแรก ผอ. จึงให้ ‘ครูกบ’ ซึ่งเป็นทหารจากกองดุริยางค์มาช่วยฟอร์มวงก่อนเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งในเวลานั้นเราก็ต้องเรียนรู้ไปพร้อมเด็ก เราต้องเรียนรู้เครื่องดนตรีทุกชนิด รวมๆ ก็เป็น 10 ชนิด ความยากคือเด็กหนึ่งคนต้องเรียนรู้ดนตรีหนึ่งเครื่อง แต่คนเป็นครูผู้สอนต้องเรียนรู้ทุกเครื่อง ซึ่งแต่ละเครื่องมีรายละเอียดต่างกัน เป่าต่างกัน ใช้นิ้วกดต่างกัน เสียงไม่เหมือนกัน เรามีเวลาแค่ 1 ปีเรียนรู้กับครูกบ ถ้าครูกบไปแล้ว เราจะต้องเป็นคนฟอร์มวงให้เด็กวงโยฯ รุ่นต่อไป 

ณ เวลานั้น รู้สึกกลัวหรือกดดันไหม?

ไม่กลัว คิดอย่างเดียวว่าต้องทำให้ได้ ตอนเด็กๆ เรียนกับครูกบ เราก็นั่งเรียนไปด้วย นั่งดูว่าครูกบสอนอย่างไร ถ่ายทอดอย่างไร สมมุติตัวเราเป็นผู้เรียนเอง สิ่งหนึ่งที่เห็นคือครูวงโยฯ มักจะดุ เป็นเพราะเขาอยากให้เด็กเล่นเครื่องดนตรีได้ไวๆ จนเผลอลืมไปว่าการเรียนดนตรีมันยาก พอตัวเรามาเริ่มต้นเรียนใหม่จริงๆ จึงทำให้รู้ว่าดนตรีมันยากจริงๆ ด้วย ฉะนั้นเราจึงกลายเป็นครูวงโยฯ ที่ไม่ดุเลย เพราะเราเข้าใจว่ามันยาก เข้าใจแล้วว่าทำไมเด็กถึงเป่าไม่ได้ 

แล้วในแง่ของเด็กๆ ระหว่างการเรียนดนตรีกับครูบลูกับครูกบ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

เราพยายามเช็คตัวเองตลอด แต่จะไม่เปรียบเทียบ อีกแง่หนึ่งก็พยายามทำให้เด็กเข้าใจว่าทำไมครูกบต้องดุ การเป็นครูในสายทักษะ ไม่ใช่แค่สอนจบแล้วแยกย้าย มันต้องคลุกคลี มันมีความผูกพัน เราอยู่กับเด็กตลอด ถ้าเป่าไม่ได้ เล่นดนตรีไม่ได้ ต้องพยายามเข้าใจ

นอกจาก ‘ความยาก’ ในการทำวงโยฯ ครูบลูพบปัญหาอะไรอีกบ้าง

มีแค่ความยากอย่างเดียว แต่เราแก้ปัญหาโดยการฝึกตัวเองให้เล่นดนตรีให้ได้ ซึ่งเด็กวงโยฯ รุ่นแรกไม่น่าห่วงเพราะมีครูกบช่วย แต่รุ่นต่อไปเราต้องดูแลทั้งหมดเอง การฟอร์มวงในวันที่ไม่มีครูกบแล้ว มันก็ยากนะสำหรับเรา เราใช้วิธีคล้ายเดิมในการเริ่มต้นใหม่ แต่จะไม่กดดันให้เด็กเล่นดนตรีเป็นเร็วๆ เพราะเข้าใจว่ามันยาก ให้เวลาเด็ก แล้วก็ให้เวลาตัวเอง

พอเห็นเด็กเล่นเครื่องดนตรีได้ เพราะเราสอน ครูรู้สึกอย่างไร

โอ้โห มันพราวด์มากเลย รู้สึกว่า ฉันก็ทำได้ (หัวเราะ)

ส่วนใหญ่งานที่วงจะเล่นก็เป็นงานโรงเรียนทั่วไป งานวันพ่อ วันแม่ งานต้อนรับผู้ว่าฯ ตามแต่ใครจะเรียกใช้งาน ซึ่งพอเราฟอร์มวงไปสักพัก เริ่มเข้าที่เข้าทาง ก็เริ่มรู้สึกอยากลงประกวด 

ตอนนั้นมีเวทียามาฮ่าลูกทุ่งคอนเทสต์ เราก็เตรียมวงและส่งเข้าประกวด แต่ถ้าให้เทียบกับวงอื่น วงเราเล็กและอ่อนประสบการณ์ที่สุด ซึ่งใครจะเรียกว่าเป็นวงไม้ประดับก็ไม่เป็นไร เราไม่ได้หวังรางวัลยิ่งใหญ่ เพราะโลกไม่ได้เดินเข้ามาหาเด็ก แต่เรากำลังพาเด็กเดินเข้าไปหาโลก สุดท้ายจะไม่ได้รางวัลก็ไม่เสียใจ 

เราแค่อยากพาเด็กมาสัมผัสโลกของคนดนตรี ให้เด็กๆ ได้รู้ว่าโลกดนตรีมันเป็นอย่างไร รวมไปถึงพาไปเจอพี่ๆ น้องๆ ในสายดนตรี 

เพื่อไม่ให้มันน่าเบื่อ ครูดีไซน์การสอนวงโยฯ แบบฉบับตัวเองอย่างไร

โดยปกติเราเริ่มเรียนทีละเสียง ให้เด็กรู้สึกคุ้นกับเสียง หัดฟัง เมื่อเริ่มคุ้นชินก็ลงมือเป่า ตรงนี้จะเป็นจุดยาก ศักยภาพแต่ละคนไม่เท่ากัน ดังนั้นการที่จะทำให้เด็กสนุกเราก็เล่นดนตรีไปกับเขา เอาโน้ตเพลงมาหลายๆ เพลง แต่หยิบแค่บางส่วนมาเล่น แต่ไม่เต็มเพลง เช่น โน้ตเพลงหนูมาลี ง่ายๆ ให้เขาสนุก และรู้สึกไม่ยากเกินไป

สิ่งสำคัญคือเราไม่ได้หวังว่าจะต้องเป็นวงโยฯ ที่เก่งที่สุด ในฐานะครูแค่ให้เขารู้สึกว่าช่วงชีวิตหนึ่งตอนที่เขาอยู่มัธยมเขาได้เป็นนักดนตรี เขาเคยเล่นดนตรีก็พอ

เพราะเด็กบางคนไม่เคยถูกคาดหวังทางวิชาการ แต่พอเขามาเล่นดนตรี เขากลับทำได้ ทำให้เขารู้สึกว่า “หนูทำอย่างอื่นได้นะ” “หนูมีค่านะ” มันมีผลต่อตัวเด็กมาก ครูไม่ได้สนใจอยู่แล้วว่าหนูจะเก่งในเรื่องนี้ที่สุดในโลกหรือเปล่า แต่สนใจเรื่องราวระหว่างทางที่อยู่ด้วยกันว่ามันจะเป็นอย่างไร มีอะไรที่ก้าวหน้าขึ้นบ้าง หนูพัฒนาตัวเองไปไกลได้แค่ไหนนับจากวันแรกที่มาเรียน

แล้วในแง่ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างทาง ระหว่างครูบลูกับเด็กวงโยฯ เป็นอย่างไร

โห มันเกิดอะไรขึ้นเยอะมากนะ ในแง่สถานที่ห้องดนตรีก็เหมือนบ้านของเขา หลังจากเขาเลิกเรียน เป็นเวลาที่ซ้อมดนตรี แต่ก่อนจะซ้อมเขาจะกิน เล่น นอน หรือทำการบ้านก่อนก็ตามสะดวก ทุกอย่างมันเกิดในบ้านหลังนี้ ส่วนความสัมพันธ์ของครู มันมีอะไรเกิดขึ้นมากมาย เพราะเราใช้เวลาอยู่กับเขามากกว่าครูในวิชาอื่นๆ  

ช่วยยกตัวอย่างเด็กนักเรียนที่เข้ามาอยู่ในวงโยฯ เขาเติบโต พัฒนา หรือเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

มีเด็ก 4 คน ที่เขาจบไปจากวงโยฯ ได้รับเหรียญทองจากการประกวดแข่งขันที่เซี่ยงไฮ้ 

อีก 2 คนที่ไม่ได้เรียนต่อวิทยาลัยนาฏศิลป์ ไปเรียนต่อในสายสามัญ แต่เขาก็ยังไม่ทิ้งดนตรี สิ่งที่เกิดขึ้นมันอาจจะไม่ใช่การสร้างหรือพัฒนาวินัยในตัวเอง แต่การที่เขาได้เข้ามาอยู่ในวงโยธวาทิตมันจะช่วยเขาในการค้นพบตัวเองมากกว่า ทำให้เขารู้ว่าเขาชอบอะไร ทำอะไรได้บ้าง และยังมีอีกหลายๆ คน ที่แม้ไปเรียนที่อื่น แต่เราก็ยังมีความผูกพันให้กัน 

เด็กบางคนเข้ามาอยู่ในวงโยฯ เขากลับค้นพบว่าตัวเองชอบเล่นกล้อง ก็ผันไปเป็นช่างภาพ บางคนเรียนไม่จบเพราะไม่มีทุนเรียนต่อ แต่เขายังใช้วิชาดนตรีในการหาเลี้ยงชีพ หรือบางคนเรียนไม่จบแต่เขาก็มีเป้าหมาย มุ่งมั่นที่จะใช้ทักษะดนตรีที่มีเข้าไปสมัครเป็นทหาร เพื่อจะได้ลงเหล่าดุริยางค์ 

ผลที่เกิดขึ้นแบบนี้ มันสำคัญแค่ไหนสำหรับความเป็นโรงเรียนขยายโอกาส

มันช่วยเติมอะไรให้เด็กได้เยอะ อย่างน้อยๆ เขาได้ประโยชน์จากการที่เขาได้อยู่กับดนตรี ไม่ได้เรียนรู้แค่วิธีการเล่นดนตรี แต่การที่เด็กคนหนึ่งได้อยู่ใกล้ใครเขาจะซึมซับวิธีการคิดแบบคนคนนั้นไปด้วย 

เช่นเดียวกับที่เราไปเรียนปริญญาโท ในคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ซึ่งเราไม่เคยคิดจะเรียนปริญญาโทมาก่อน แต่พอมาทำวงโยฯ ก็ตัดสินใจไปเรียนต่อในด้านนี้ โดยก่อนเรียนเราลังเลอยู่พักหนึ่ง เตรียมตัว หาข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันที่เราจะไปเรียน มีการปรึกษาเพื่อนๆ พี่ๆ ที่เป็นครูดนตรีด้วยกัน (เขาทราบดีว่าเราไม่ได้จบดนตรีมา เมื่อมีปัญหาก็จะได้รับความช่วยเหลืออยู่เสมอ) ซึ่งทุกคนเชียร์ให้ไปเรียนต่อ

พอได้ไปเรียนจริงๆ เรารู้สึกได้รับประโยชน์มาก นอกจากเทคนิค วิชาความรู้ เราซึมซับวิธีคิดอื่นๆ มาจากครู ซึ่งไม่ต่างจากเด็กๆ ที่มาอยู่กับเรา เขาก็คงซึมซับจุดนี้ได้เหมือนกัน 

อะไรที่ทำให้ครูลังเล และรู้สึกว่าไม่ต้องเรียนต่อ

เพราะในทุกวันของเรา มันมีหลายๆ สิ่งที่ทำให้รู้สึกมีคุณค่าตลอด เราพอใจในคุณค่าของความเป็นครูแล้ว เลยไม่ได้รู้สึกอยากไปเป็นอย่างอื่น ที่รู้สึกพอใจกับชีวิตความเป็นครูแล้ว มันอยู่ที่มุมมองเล็กๆ น้อยๆ เช่น แค่เราสามารถจัดการไม่ให้เด็กทะเลาะกันได้ มันก็ทำให้เรารู้สึกมีคุณค่าในทุกๆ วัน 

แล้วทำไม สุดท้ายครูถึงตัดสินใจไปเรียนต่อ

เพราะ ‘เด็ก’ เพราะเราอยากสอนเขาให้ดีๆ อยากมีวิธีการสอนที่ถูกต้อง อยากให้มันออกมาดีที่สุด เราไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง เพราะอย่างที่บอก ปีนี้อายุ 51 แล้ว อายุราชการที่เหลือก็คงไม่ได้กลับมาสอนอีกแล้ว 

การไปเรียนต่ออย่างจริงจังครั้งนี้ ช่วยอะไรเด็กได้บ้าง

ได้ครับ เราได้รู้ว่าเราจะต้องสอนดนตรีเขาอย่างไร เราได้ทบทวนตัวเอง การจะเป็นครูสอนดนตรี มันจะต้องเข้าใจดนตรี มีจิตวิทยาด้านดนตรีประกอบด้วย ก็จริงที่บางอย่างเราอาจจะสอนได้ บรรลุตามวัตถุประสงค์ แต่มันผิดหลักการ ให้เข้าใจง่ายๆ แทนที่เราจะสอน 1-2-3-4-5 จนถึง 10 แต่เรากลับสอน 5-4-3-1-2 แม้จะถึง 10 เหมือนกัน แต่มันผิดหลักวิธีการสอนดนตรี

การเรียนรู้ครั้งใหม่ของครูบลู ช่วยเติมเต็มอะไรในตัวครูเองบ้าง

เติมเต็ม ต้องมีความคาดหวังไหม? (หัวเราะ) เราคาดหวังให้มีเทคนิคดีๆ เพื่อนำมาสอนดนตรีเด็กๆ ซึ่งมันตอบโจทย์แล้ว แต่สิ่งที่เติมเต็มต่อจากนี้มันมีเยอะเลย โลกทัศน์ของเราเปิดกว้าง เราไปเรียนกับคนที่เป็นครูดนตรีจริงๆ เราได้รู้จักคนมากมาย ได้รู้จักครูที่สอนดนตรีในมหาวิทยาลัย ได้รู้จักครูที่สอนวงโยฯ ชนะอันดับหนึ่งของประเทศ เราโชคดีที่ได้รู้จักคนเครือข่ายเหล่านี้ นี่เป็นของแถมที่เกิดขึ้น

รู้สึกมั่นใจขึ้นไหม อารมณ์ในการสอนวงโยฯ ของครูบลูเปลี่ยนไปอย่างไร ระหว่างก่อนไปเรียน-หลังไปเรียน

ก่อน-หลัง ไปเรียน ไม่ต่างกัน เรารู้สึกสนุกกับการทำวงโยฯ อยู่แล้ว แต่หลังจากได้ไปเรียนต่อ ป.โท เมื่อเราเจอปัญหาที่เราไม่สามารถผ่านไปได้ เราสามารถปรึกษาคนอื่นได้ และนำเทคนิคเหล่านั้นมาปรับใช้ให้เข้ากับเด็กและวงของเรา

สนุกไหม ได้กลับไปเรียนอีกครั้ง

สนุกมากเลยครับ

ไม่มีความกลัวหรือกังวลใจบ้างเลยหรือ เช่น อายุ

ไม่เลยๆ เราเป็นคนชอบเรียนอยู่แล้ว แต่ด้วยความที่เราอยู่ที่นี่ อยู่ที่โรงเรียนขยายโอกาส แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว เราไม่ได้อยากจะไปสอบหรือต้องการเลื่อนขั้นไปไหน เป้าหมายอย่างเดียวที่ทำให้ไปเรียน เพื่อกลับมาสอนความรู้กับเด็กแค่นั้น ส่วนเรื่องอายุ ไม่มีปัญหา ตอนไปเรียนเราอายุประมาณ 45 ปี ซึ่งเท่ากับเพื่อนๆ ที่ไปเรียน เพียงแต่เขาเรียนปริญญาเอก 

วงโยฯ ในฝันของครูบลู หน้าตาเป็นอย่างไร

(หัวเราะ) แค่เป็นวงที่ครูและนักเรียน รู้สึกสนุกกับการเล่นดนตรีก็พอแล้ว 

ต้องมีความสุขด้วยไหม

แต่เวลาทำอะไรแล้ววัดจากความสุข ก็อาจจะสำเร็จได้ง่าย แต่ความลึกซึ้ง ความผูกพันที่เกิดขึ้นระหว่างกัน มันยากนะ 

สมมุติเราทำอะไรด้วยกันอยู่บนความสุข เราจะจำช่วงเวลานั้น จำรอยยิ้มได้ แต่ถ้ามันทุกข์ เรียนดนตรีแล้วเครียด กลับไปก็มีแต่เหนื่อยล้า มีแต่ความกดดันจะต้องทำให้ได้ มันคงไม่ใช่ทางของเรา รวมถึงคงไม่ใช่ทางที่เด็กน่าจะชอบด้วย 

ดังนั้นจะบอกกับเด็กเสมอ ‘เรียนก่อนค่อยเลือก’ เรียนให้รู้ว่าไม่ใช่ ไม่เป็น ไม่เอา ไม่ชอบ ไม่อยู่ ไม่มีความสุข ก็ไม่ว่ากัน เลิกเรียนได้ แต่ต้องค้นหาตัวเองต่อไป

ที่ครูบลูมีความสุข เพราะครูสอนดนตรี ไม่ได้สอนวิชาการหรือเปล่า

ครูทุกคนมีภาระหนักเป็นของตัวเอง การเรียนในวิชาดนตรีไม่ได้แปลว่าละทิ้งวิชาการ การเรียนดนตรีมีการสอบ การตัดเกรด ดังนั้นครูหนีงานวิชาการไม่ได้อยู่แล้ว ทุกอย่างต้องเป็นไปตามหลักสูตรที่กำหนด จริงๆ แล้วครูที่สอนวิชาการก็สามารถสร้างความสุขในแบบตัวเองได้ แต่ต้องหาวิธีเป็นของตัวเอง มีอย่างเดียวที่เราโชคดีกว่าคือการทำวงโยฯ หรือการสอนดนตรี มันเพิ่มโอกาสทำให้เราใกล้ชิดกับเด็กขึ้นเท่านั้นเอง

ความหมายของคำว่า ‘เรียนรู้’ แบบฉบับครูบลูคืออะไร

ทุกอย่าง อย่างไม่มีขีดจำกัดด้วย ทุกอย่างคือการเรียนรู้หมด ครูเองก็ต้องเรียนรู้จากเด็กตลอดเวลา ไม่ใช่แค่เขามาเรียนความรู้กับเราเพียงอย่างเดียว เราต้องอยู่กับเขา ทำงานกับเขา ต้องเรียนรู้เด็กทุกคน นิสัยใจคอ สิ่งที่เขาชอบ-ไม่ชอบ การใช้ชีวิตของเขา เรียนรู้เพื่อให้เข้าใจเด็กแต่ละคน 

เทคนิคการเรียนรู้ของเราคือการบอกด้วยเองอยู่เสมอว่า ‘เราอายุ 18’ เพื่อให้ตัวเองรู้สึกว่า ในวันที่เราอายุ 18 ตอนนั้นคิดและรู้สึกอย่างไร เวลาเราเห็นเด็กทำอะไรแปลกๆ หรือทำอะไรนอกลู่นอกทาง เราจะได้ทบทวนเพื่อเข้าใจว่าเขาทำแบบนั้นเพราะอะไร

Tags:

โรงเรียนดนตรีอัฒฑวินทร์ ธนเดชสำราญพงษ์

Author:

illustrator

รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

หลงใหลถุงผ้ากับกระบอกน้ำ เริ่มต้นอาชีพด้วยการฝึกปรือและอยู่กับผู้คนในประเด็นการศึกษา สนุกจะคุยกับเด็ก ชอบฟังเรื่องเล่าในห้องเรียน ที่สนใจการเรียนรู้ก็เพราะเชื่อว่านี่เป็นใบเบิกทางให้ขยายขอบขีดความสามารถตัวเอง ฝันสูงสุดคืออยากเห็นตัวเองทำงานสื่อสารที่มีคุณภาพและคุณค่าต่อไป

Photographer:

illustrator

สิทธิกร ขุนนราศัย

Related Posts

  • Creative learning
    พาเด็กอนุบาลเรียนรู้ผ่าน ‘งานสวน’ เสริมสมรรถนะการอยู่ร่วมกันและการแก้ปัญหา:  ครูกิม – ภาวิดา แซ่โฮ่ โรงเรียนรุ่งอรุณ

    เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ปริสุทธิ์

  • Tuber Teacher ครูนักเล่าเรื่อง : เวิร์กชอปที่จะเปลี่ยนให้คุณครูกลายเป็นยูทูบเบอร์

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • Dear ParentsMovie
    Soul: การตามหาแพชชัน ความฝัน และบอกว่าไม่มีใครอยากกลายเป็นคนที่ Lost soul

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Creative learning
    เปิดห้อง MAKERSPACE โรงเรียนบ้านปลาดาว: แค่นั่งมองต้นไม้เฉยๆ ก็รู้ว่าเรียนรู้จากมันได้

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ ศรุตยา ทองขะโชค

  • Creative learning
    โรงเรียนเล็กในทุ่งกว้าง เปลี่ยนเด็กด้วยลานกว้างและดนตรี

    เรื่อง The Potential

PLAY THERAPY ให้การเล่นช่วยบำบัด เพราะเด็กถูกสั่งสอนมามากพอแล้ว
Early childhood
2 August 2019

PLAY THERAPY ให้การเล่นช่วยบำบัด เพราะเด็กถูกสั่งสอนมามากพอแล้ว

เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

  • เมริษา ยอดมณฑป นักจิตวิทยา เจ้าของเพจตามใจนักจิตวิทยา เปิด ‘ห้องเรียนครอบครัว’ และ ‘การเล่น’ คือบทเรียนสำคัญที่ใช้ทั้งสอนและบำบัด
  • เพราะการเล่นบำบัด ช่วยเยียวยา บรรเทา ส่งเสริมพัฒนาการทั้งร่างกายและจิตใจ ที่สำคัญเด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อเขาได้เล่น
  • นี่คือพื้นที่ปลอดภัยทางใจ ไม่มีการชี้นำใดๆ เพราะเด็กถูกห้าม สั่งสอนมามากพอแล้ว เขาสามารถระบายทุกความรู้สึกและบรรเทาทุกอย่างผ่านการเล่น 
ภาพ: เฉลิมพล ปัณณานวาสกุล/ห้องเรียนครอบครัว

“การเล่น เป็นมากกว่าความสนุกสาน และการเล่นมีหลายระดับ ซึ่งการเล่นบำบัด (Play Therapy) สามารถช่วยเยียวยา บรรเทา และส่งเสริมพัฒนาทั้งทางร่างกายและจิตใจของเด็กในทุกๆ ด้าน” 

คือคำอธิบายเบื้องต้นของ การเล่นบำบัด (Play Therapy) ที่ ‘เม’ เมริษา ยอดมณฑป นักจิตวิทยาเด็กและครอบครัวเจ้าของเพจตามใจนักจิตวิทยา ซึ่งได้เรียนต่อเฉพาะทางด้านนี้มาจากสถาบัน Academy of Play and Child Psychotherapy (APAC) ภายใต้การดูแลควบคุมของ Play Therapy United Kingdom (PTUK) ประเทศอังกฤษ และปัจจุบันเมกำลังอยู่ในช่วงเก็บชั่วโมงการเล่นบำบัด 100 ชั่วโมง ที่โรงเรียนอนุบาลทางเลือกแห่งหนึ่ง

ระหว่างการเรียนและฝึกงาน เมก่อตั้ง ‘ห้องเรียนครอบครัว’ พื้นที่เล็กๆ ร่วม กับ ‘มาร์ค’ สิริสักก์ เจริญรวิภักดิ์ นักกิจกรรมบำบัด เพื่อให้การบำบัดเชิงกระตุ้น ส่งเสริมพัฒนาการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและให้ความรู้ครอบครัวด้วยจิตวิทยาเชิงบวกกับพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กๆ ที่มาเรียนด้วย

ห้องเรียนแห่งนี้ใช้การสอนผ่านการเล่น และลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของพวกเขา เพราะ “เด็กเรียนรู้ได้ที่สุดเมื่อเขาได้เล่น”

ทุกวันนี้เด็กถูกสั่งสอนมามากพอแล้ว

อย่างไรก็ตามความสนุกสนานและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพียงผลพลอยได้ แต่เป้าหมายหลัก คือ “การปลูกฝังการรักการเรียนรู้ การรักตัวเอง และการควบคุมตัวเองเพื่อการพัฒนาเด็กๆ และครอบครัวอย่างยั่งยืน” แม้จะไม่ได้มาเรียนที่นี่แล้วเด็กก็สามารถเติบโตต่อไป และพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถดูแลเด็กๆ อย่างมีความสุข

ส่วน ‘การเล่นบำบัด (Play Therapy)’ เมื่อเราต้องการจะใช้แนวทางการบำบัดนี้กับเด็กๆ สิ่งสำคัญอันดับแรก คือ นักเล่นบำบัดต้องสร้างพื้นที่พิเศษสำหรับเด็กๆ เสียก่อน

ถ้าในเชิงกายภาพ พื้นที่นั้น คือ ‘ห้องเล่น (play room)’ ที่แห่งนี้จะเต็มไปด้วยของเล่นมากมายหลายประเภท เช่น ถาดทราย(sand tray) ตัวหุ่นจำลองต่างๆ (figurines) ตุ๊กตา หุ่นมือ เครื่องดนตรี ดินเหนียว ดินน้ำมัน รวมทั้งอุปกรณ์สร้างสรรค์งานศิลปะต่างๆ รอให้เด็กเข้ามาหยิบจับตามความต้องการของพวกเขา

แต่ถ้าพูดถึงห้องนี้ในเชิงนามธรรม ห้องพิเศษ หรือ ห้องเล่น (play room) คือ พื้นที่ที่ปลอดการสอนสั่ง เพราะนักเล่นบำบัดเชื่อว่า พื้นที่ที่ปลอดภัยทางใจต้องไม่มีการชี้นำใดๆ เพื่อเด็กสามารถระบายทุกความรู้สึก และบรรเทาผ่านการสื่อสารออกมาในภาษาที่เรียกว่า ‘การเล่น’ 

เพราะทุกวันนี้เด็กได้รับการสั่งสอนมามากพอแล้ว เขาถูกสั่งให้นั่งนิ่งๆ อยู่เฉยๆ อย่าซน อย่าถาม หยุด เงียบ อย่าโวยวายฯลฯ เมื่อเข้ามาในห้อง เขาไม่ควรโดนสั่งอะไรอีกแล้ว ในทางกลับกันที่แห่งนี้เขาจะได้เป็นคนนำ และนักเล่นบำบัดจะเป็นผู้ตามเอง

การเล่นบำบัดจึงมีหลักการคล้ายกับ ‘จิตวิทยาการปรึกษา’ ในผู้ใหญ่ แต่เด็กคงไม่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวภายในใจได้เทียบเท่าผู้ใหญ่ เเต่ถ้าหากผ่านการเล่นแล้ว พวกเขาสามารถสื่อสารออกมาได้ง่ายกว่ามาก

ในทางปฏิบัติ ถ้าเป็นที่ต่างประเทศนักเล่นบำบัดจะแทนตัวเองด้วยชื่อเล่นเลย เช่น ‘เม’ ไม่มีการใส่คำนำหน้าใดๆ เช่น ‘ครูเม’ เพื่อให้เด็กรู็สึกว่า “เราเท่าเทียมกัน” เขาไม่ต้องกลัวที่จะเป็นตัวเอง แล้วสั่งให้เราทำอะไรก็ได้ 

“แต่ในประเทศไทย ในที่ที่เมไปฝึกงาน จะใช้คำว่า ‘พี่เม’ แทน ‘ครู’ เพราะเราไม่ใช่ครู เราไม่สอนเด็ก เราไม่บอกว่า อะไรถูกหรือผิด มีเพียงกติกาเดียวที่นักเล่นบำบัดต้องยึดตาม คือ “สิ่งที่อยู่ในห้องเล่น จะอยู่ในห้องนี้ทั้งเรื่องราว ชิ้นงาน ทุกๆ อย่างที่เด็กๆ ทำ พวกเขาจะมีกล่องเก็บผลงานของเขา หากเขาทำผลงานใดๆ ไว้ รอวันสุดท้ายที่มาบำบัด เราจะถามเขาว่า เขาอยากจะทำอะไรกับผลงานของเขา ถ้าเขาอยากเอากลับก็ได้ หรืออยากทิ้งก็ได้เช่นกัน” 

และ “ทำให้แน่ใจว่าเด็กปลอดภัยทั้งทางกายและใจ” เมื่อเด็กทำอะไรอันตรายต่อตนเอง หรือมีอะไรเป็นอันตรายต่อเด็ก เช่นเด็กมาบอกเราว่า เขาโดนผู้ใหญ่ทำร้าย อันนี้นักเล่นบำบัดสามารถดำเนินการตามหลักการได้เลย เช่น ติดต่อนักสังคมสงเคราะห์ หรือผู้ที่สามารถดูแลความปลอดภัยของเด็กได้ตามกฎหมาย

“พื้นที่นี้จะเริ่มต้นด้วยการสร้างความสัมพันธ์ หากปราศจากความสัมพันธ์อันดีแล้ว ไม่มีทางที่การบำบัดจะนำเราไปสู่สิ่งอื่นใดได้นอกจากการวนอยู่ในอ่าง”

ให้ความสนใจคอยเยียวยา

ในการเล่น เด็กจะนำ นักเล่นบำบัดจะเป็นผู้ตาม หากเขาอยากทำอะไร นักเล่นบำบัดจะมีหน้าที่สังเกตการณ์ ให้ความสนใจเเต่เด็กเพียงผู้เดียว

“เรียกง่ายๆ ว่า ‘ชั่วโมงนี้ สายตาเรามีไว้เพื่อเขา’ ความสนใจที่เด็กได้รับนั้น ทำให้เขาได้รับการเห็นคุณค่า เป็นการเยียวยาไปในตัว เด็กบางคนมาด้วยปัญหามีพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจ หลักการแก้นั้น ก็คือ การได้รับความสนใจอย่างเพียงพอนั่นเอง

“Every child does not want a therapist, he or she needs attention and relationship.” Virginia Axline (1987) 

“เด็กๆ ไม่ได้ต้องการนักบำบัดหรอก พวกเขาต้องการความสนใจอย่างเพียงพอ และความสัมพันธ์ที่ดีต่างหาก”

อย่าเพิ่งเข้าใจผิด นักเล่นบำบัดไม่ได้มีหน้าที่เอาใจเด็กๆ ไม่ได้ต้องทำอะไรเพื่อให้เด็กๆ สนุกหรือพึงพอใจ แต่นักเล่นบำบัดมีหน้าที่ตอบสนองเมื่อเด็กๆ ต้องการให้เราทำอะไร (ยกเว้นสิ่งนั้นเป็นอันตรายต่อตัวเขาหรือเรา เราจะไม่ทำ) และมีหน้าที่สังเกตความรู้สึก ตามอารมณ์ จับให้ไว (detect) และสะท้อนกลับสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้เด็กมองเห็นตัวเอง และปัญหาได้ชัดเจนขึ้น

สิ่งสำคัญเพื่อให้เขาได้รู้ว่า “เขาเป็นผู้ตัดสินใจ และควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ใครอื่น เขาเป็นผู้รับผิดชอบต่อการกระทำของตน” 

ยกตัวอย่าง

ถ้าเด็กเล่นทราย แล้วเขาเล่นแรงมากจนทรายสาดกระเด็นออกมาจากกล่อง แทนที่นักเล่นบำบัดจะบอกเด็กว่า “อย่าทำทรายหกเลอะ” แต่จะพูดว่า “ทรายอยู่ในกล่อง” แม้จุดประสงค์คือ การให้เด็กเล่นทรายไม่ให้เลอะเทอะออกมานอกกล่องเหมือนกันแต่ประโยคแรก นักบำบัดเป็นผู้ควบคุมเด็ก ไม่ใช่เด็กควบคุมตัวเอง ต่างจากประโยคที่สองเด็กต้องเป็นผู้ควบคุมตัวเอง นักบำบัดแค่บอกว่า กรอบของการเล่นทรายคืออะไร และเมื่อเด็กไม่สามารถเล่นทรายในกล่องได้ นักบำบัดจะพูดเตือนสองครั้ง

“ครั้งที่สามเราจะพูดว่า ‘วันนี้หนูไม่พร้อมเล่นทรายเนอะ เพราะหนูเลือกที่จะเล่นทรายนอกกล่อง เราไปเล่นอย่างอื่นนะคะ’ ซึ่งทำให้เด็กรู้ว่า เขาไม่พร้อมควบคุมตัวเอง เขาเลยต้องไปเล่นอย่างอื่น ตัวเขาเป็นผู้รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง ไม่ใช่เรา”

เมื่อเด็กโดนตอบสนองเช่นนี้เรื่อยๆ โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ไม่รู้จักเล่นอย่างระวัง เล่นแรงๆ ไม่สนใจใคร เราเห็นได้ชัดเจนถึงความเปลี่ยนแปลงเมื่อผู้ใหญ่เปลี่ยนวิธีการพูด เป็นการมอบความรับผิดชอบให้กับเขา แทนการบ่นและว่าเขาเมื่อเขาทำไม่ดีเด็กเรียนรู้ที่จะควบคุมตัวเองมากขึ้นจากแต่ก่อน

พื้นที่ปลอดการสอน

ถ้าเด็กบอกว่า “ช้างตัวนี้เป็นหมา” เราจะไม่ไปแก้คำให้เด็ก เช่น “ไม่ใช่นะคะ อันนี้เป็นช้าง หนูผิดแล้วลูก” เราจะไม่ทำเช่นนี้เด็ดขาด การเล่นบำบัดไม่เป็นไปเพื่อให้ความรู้ หรือสอนเด็กว่าอะไรผิดหรือถูก แต่เพื่อให้เด็กได้เป็นตัวของตัวเองอย่างเต็มที่ และพัฒนาด้านดีของตนให้แข็งแกร่ง จนสามารถเยียวยาส่วนที่ต้องการเติมเต็มและเรียนรู้ตัวเองในห้องแห่งนี้

ถ้าเด็กบอกเราว่า sit down หรือ on your knees เป็นม้าให้ฉัน เราก็ต้องเป็นม้า

การทำเช่นนี้เหมือนเด็กได้ฉายภาพในใจที่อาจจะเป็นความทรงจำของเขาที่ติดค้างผ่านการเล่นกับนักเล่นบำบัด ในความทรงจำเขาอาจจะเป็นผู้ถูกกระทำ แต่ในการเล่น เขาได้เปลี่ยนตัวเองไปสู่การเป็นผู้กระทำ ทางการเล่นบำบัดเราเรียกว่า“Reframing – Placing something in a new frame” แม้เขาจะเปลี่ยนอดีตที่กลายเป็นความทรงจำที่เลวร้ายไม่ได้ แต่วันนี้เขาเปลี่ยนมันในจินตนาการ แม้จะเป็นเพียงการจำลอง แต่นั่นอาจจะช่วยเยียวยาจิตใจของเขาได้

เปิดโอกาสให้สื่อสารกันอย่างที่มนุษย์ทุกๆ คนพึงกระทำ

“ไม่ใช่ว่าเขาเด็กกว่า เราแก่กว่า แต่เพราะทั้งเราและเขาเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่า หากเราให้เกียรติเขา เราจะได้รับการให้เกียรตินั้นกลับมา”

แม้ว่า “นักเล่นบำบัดจะไม่สอนหรือชี้นำใดๆ” แต่มีข้อยกเว้นหนึ่ง คือ เราสามารถสะท้อนความรู้สึกที่มีต่อการกระทำของเด็กได้เช่นกัน เพื่อให้เด็กได้รู้ว่า ผู้อื่นคิดอย่างไรกับเขาเมื่อเขาทำเช่นนั้นออกไป

นักเล่นบำบัดก็คือปุถุชน บางครั้งถ้าเรารู้สึกไม่ดี เราจะสะท้อนเช่นกันว่า “หนูทำแบบนี้ ทำให้เรารู้สึกไม่ชอบเลย” เขาจะเข้าใจว่าเวลาอยู่ข้างนอกเขาไม่พอใจ โกรธตลอดเวลา เพราะคนอื่นไม่ทำตามที่เขาบอก จะสะท้อนให้เขารู้ตัวไปเรื่อยๆ

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กตวาดเราว่า “ทำไมไม่หยิบมาให้ซะที” นักเล่นบำบัดจะสะท้อนกลับว่า “หนูไม่พอใจที่คนอื่นไม่สามารถทำตามที่หนูบอกได้” บ่อยครั้งที่เด็กจะเงียบลงทันที เพราะปกตินักเล่นบำบัดแทบจะทำตามทุกอย่างที่เขาขอ

ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับเด็กเรียกว่า “เหมือนเพื่อนต่างวัย” ดังนั้นเมื่อเราพูดอะไร “เสียงของเราจะดังก้องในหัวของเขามากกว่าเสียงของผู้ใหญ่หลายๆ คนที่อาจจะบ่นเขาอยู่ตลอดเวลา” 

เด็กจะใคร่ครวญในสิ่งที่เราบอก เพราะเราไม่ใช่ศัตรูของเขา เขามีความสัมพันธ์อันดีกับเรา อีกทั้งเรารับฟังเขาเสมอทำให้เขารับฟังเราเต็มหัวใจเช่นกัน

‘การเล่น’ บำบัดได้อย่างไร

ถ้าเป็นเรื่องเด็กก็จะเป็นการปรับพฤติกรรม แต่ถ้าเด็กที่โตแล้วเราจะใช้ปรับความคิดเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (CBT: Cognitive Behavioral Therapy) การปรับพฤติกรรมจะช่วยแก้ปัญหาแต่ไม่ได้เยียวยาจิตใจโดยตรงในเด็กบางคนที่เจอเรื่องที่กระทบใจอย่างหนักหนาสาหัส เช่น โดนทอดทิ้ง การถูกคุกคามทางเพศ เจออะไรที่ดราม่าหนักๆ การปรับพฤติกรรมอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ บางทีเขามีพฤติกรรมอาละวาดหนัก ร้องไห้ฟูมฟายเอาแต่ใจมากๆ เพราะพ่อแม่เพิ่งเสียชีวิต การอาละวาดของเขาเกิดจากการที่เขาไม่สามารถยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ เราจะไปปรับพฤติกรรมเขาก็อาจจะทำให้จิตใจของเด็กแย่ลง

ดังนั้น Play Therapy จึงเหมาะกับเด็กตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป เพราะเด็กไม่ได้ใช้คำพูดสื่อสารเหมือนผู้ใหญ่ แต่เขาใช้การเล่นเป็นสัญลักษณ์แทนภาษา บางคนโดนล่วงละเมิดทางเพศมา เขาบอกไม่ได้หรอก เด็กสามขวบจะบอกยังไงว่าผู้ชายคนนี้ทำอะไรกับหนูตรงไหนบ้าง แต่เขาจะหยิบตุ๊กตาตัวหนึ่งมาทำอะไรกับตุ๊กตาอีกตัวหนึ่ง เราค่อยๆ ดูก็รู้เลยว่าเกิดอะไรขึ้น ขนาดหน้าอก อวัยวะเพศเขายังไม่รู้จักชื่อเลย แล้วจะให้เขาบอกเราได้อย่างไรว่าโดนทำอะไรมา

เด็กชอบเล่นซ่อนหา เพราะเขาอยากให้หาเจอ

หรือเด็กบางคนไม่รู้ตัวนะว่าเขาต้องการเป็นที่รัก และเขาก็ปฏิเสธทุกคนด้วยการทำตัวอาละวาด ทำตัวแข็งๆ ข้างนอก แต่ข้างในเปราะบางมาก เรารู้ได้ยังไง เพราะในคาบเขาอยากเล่นซ่อนหากับเรา เขาบอกว่าเล่นซ่อนหาได้ไหม เวลา therapy เราจะถามเด็กเสมอว่าอยากให้เล่นแบบไหน

หรือเด็กบางคนไม่รู้ตัวนะว่าเขาต้องการเป็นที่รัก และเขาก็ปฏิเสธทุกคนด้วยการทำตัวอาละวาด ทำตัวแข็งๆ ข้างนอก แต่ข้างในเปราะบางมาก เรารู้ได้ยังไง เพราะในคาบเขาอยากเล่นซ่อนหากับเรา เขาบอกว่าเล่นซ่อนหาได้ไหม เวลา therapy เราจะถามเด็กเสมอว่าอยากให้เล่นแบบไหน

เล่นซ่อนหามันมีนัยยะสำคัญอีกอย่างคือ คนที่ซ่อนต้องการให้คนอื่นเจอเขา เด็กที่ชอบเล่นซ่อนหาเป็นวัยที่ต้องการความสนใจ ทำไมเด็กถึงชอบมาก เพราะเขาได้เป็นคนสำคัญ มีคนตามหาเขา หรือซ่อนของ เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งว่าเขาต้องการให้คนเจอ เวลาไม่เจอเขาก็บอกว่า นี่ไง แอบดูสิ พื้นตรงนี้ๆ บางทีเราไม่ต้องไปถามเขาหรอก เขาจะบอกเอง ซึ่งถึงเขาจะบอก ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นแบบนั้นเสมอ เราใช้การสังเกตเอาว่าเด็กคนนี้ขาดอะไรและต้องการอะไร

ฟัง สังเกต จับความรู้สึก สะท้อนกลับ เพื่อทำให้เขามองเห็น และเติมเต็ม เยียวยาบรรเทา

ทักษะที่สำคัญมากๆ ของนักจิตวิทยา นอกจากการฟัง คือการสังเกตและจับความรู้สึกให้ได้

หรือว่าเขาอยากให้เราเล่นแบบไหน เช่น อยากเล่นเป่ายิ้งฉุบ เราก็จะถามเลยว่า อยากให้เราแพ้หรือชนะ การเล่นบำบัด เราจะให้สิทธิเขาในการเล่น คุมเราทุกอย่างเพื่อที่จะตอบสนองในสิ่งที่เขาต้องการ เด็กบางคนเป็นขี้แพ้นอกห้อง เป็นใครสักกคนที่ไม่มีใครเห็นค่า แต่พออยู่ในห้องนี้เขาได้กุมอำนาจขึ้นมา เขาอยากเป็นคนชนะบ้าง เป็นคนที่มีคนเจอเขาบ้าง เราก็จะเป็นคนที่ตอบสนองเขา

เมื่อเด็กได้รับเต็มที่แล้วเขาก็จะรู้สึกได้รับการเติมเต็มความต้องการบางอย่าง จากนั้นเขาจะก้าวไปสู่ขั้นต่อไปได้

การเล่นบำบัดจึงเติมเต็มและเยียวยาในสิ่งที่เด็กขาด เช่น อยู่ข้างนอก เด็กบางคนกลัวเลอะเทอะมาก แต่มาเล่นในห้องนี้ก็สาดสีสาดทราย เด็กก็บอกว่าคุณแม่ไม่ให้เล่นที่บ้านแบบนี้ หนูเล่นแบบนี้ได้ที่เดียวคือที่นี่ แล้วก็พูดว่าที่บ้านหนูของเล่นเยอะมากเลยนะ ที่นี่น้อยมากเลย แต่หนูชอบเล่นที่นี่เพราะมีพี่เมเล่นด้วย

เขาต้องการคนรับฟัง ต้องการคนที่รับรู้ว่าเขามีตัวตนนะ ดังนั้น การเล่นบำบัดจึงเป็นการเยียวยา ปรับสภาพจิตใจเขา เมื่อเขาพร้อมแล้ว กลับมาสู่ปกติแล้ว พร้อมที่จะรับอะไรใหม่ๆ สอนได้แล้วก็ค่อยไปปรับพฤติกรรมหรือเรียนอย่างอื่นเพิ่ม

เทของเสียออกจากใจ

หรือเด็กบางคนชอบเทน้ำใส่กระบะทรายจนแบบท่วมเลย เอารถมาลอย แล้วก็บอกว่าคลื่นยักษ์ เล่นอย่างนี้สิบกว่าครั้ง เราก็งง อาจารย์บอกว่าถ้าเขาเล่นอะไรซ้ำๆ แสดงว่าเขาติดค้างอะไรอยู่ ช่วยเขาด้วย

อาจารย์พูดว่า “You must establish a feeling of permissiveness for the child so that he feels free to express his feelings completely.” คือ เราต้องเอื้อให้เด็กรู้สึกปลอดภัยที่จะเป็นตัวเขาเอง ทั้งความรู้สึก และสิ่งที่เขาต้องการจะสื่อสารออกมา โดยปล่อยให้เขาได้ทำในสิ่งที่ใจต้องการ และมีเราดูแลอย่างใกล้ชิด คอยสะท้อนทุกการกระทำและความรู้สึก

จนกระทั่งครั้งสุดท้ายเหมือนเขาได้พูดแล้วหลุดออกมา รู้ไหมว่าตอนเด็กๆ พ่อเคยจับโยนลงไปในสระน้ำ แล้วให้เขาว่ายน้ำพ่อไม่รู้หรอกว่าเขากลัวมาก ตั้งแต่เขาพูดคำนี้ ตั้งแต่นั้นเด็กคนนี้ไม่เล่นอย่างนั้นอีกเลย เหมือนเขาปลดล็อคอะไรที่ติดค้างในใจได้ (Completed Unfinished Business)

ดังนั้นหน้าที่ของการเล่นบำบัด คือ การเอาปมในใจ หรือ เทของเสียออกมาก่อน เหมือนเราใส่ของเสียไว้เต็มแก้ว ต่อให้เราเทน้ำเปล่าสะอาดๆ ใส่ยังไงมันก็สกปรก ดังนั้นเราต้องเทของเสียออกก่อน แล้วค่อยเทน้ำสะอาดใส่เข้าไปใหม่ เราเลยคิดว่าเด็กบางคนเขาเจออะไรมาเยอะมาก เราไม่สามารถสอนอะไรเขาได้ เราต้องรับฟังเขาก่อน เทเขาออกมาก่อนแล้วค่อยสอนสิ่งใหม่เข้าไป

บางอย่างเราเห็นว่ามันเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่มันเป็น trauma ของเขา หรือผู้ใหญ่เอง ถ้าเราลองนึกภาพกลับไป เรากลัวอะไรบางอย่าง ส่วนใหญ่มาจากวัยเด็กซึ่งตอนนั้นเรายังไม่เข้าใจ

‘Trauma’ ยิ่งเจอเร็ว ยิ่งดี

trauma แปลว่า ‘บาดแผล’ ซึ่ง ‘Psychological Trauma’ คือ บาดแผลทางใจ ที่เกิดจากการได้รับการกระทบทางใจอย่างแสนสาหัส เช่น การถูกทอดทิ้ง บุคคลอันเป็นที่รักเสียชีวิต การเจอเหตุการณ์ที่น่ากลัว เกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น ซึ่งแต่ละคนอาจจะเกิด trauma กับสิ่งเดียวกันหรือต่างสิ่งก็ได้ เพราะภูมิคุ้มกันทางใจของเเต่ละคนมีไม่เท่ากัน

ถ้าถามว่า เราควรรับรู้ให้เร็วหรือไม่เมื่อเด็กมีบาดแผลทางใจ แน่นอนว่า “ถ้าเพิ่งเป็นแผล เราใส่ยาเร็ว และรักษาอย่างถูกวิธีแผลอาจจะหายเร็ว และเเผลเป็นอาจจะเกิดได้น้อยกว่า การเป็นแผลแล้วทิ้งเอาไว้เนิ่นนาน ไม่ทำอะไรกับมันจนกลายเป็นแผลเป็นขนาดใหญ่”  

เช่นเดียวกับบาดแผลทางใจ ถ้าเราไม่ทิ้งเอาไว้นาน อาการบาดเจ็บก็จะไม่เกาะกินใจเขานาน ไม่ติดเป็นบาดแผลทางใจทั้งชีวิต ทำให้เขาสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ดีกว่า

ถ้าเด็กที่เหมือนมีอะไรในใจตลอดเวลา เขาคงกังวล อารมณ์เหมือนเรามีความกังวลในใจ เราจะทำอะไรไม่ค่อยได้ดี ทำไม่สุด ดังนั้น ยิ่งเราตรวจจับ (detect) ได้เร็ว ยิ่งดี

หนึ่งวันของเด็กอาจจะยาวนานมาก ในความรู้สึกมันยาวนานเป็นปี แต่ในผู้ใหญ่หนึ่งวันมันแค่นิดเดียว พ่อแม่บอกว่าทำโทษลูกโดยให้ลูกอยู่ในห้องคนเดียวสิบนาที แต่ลูกอาจจะมีบาดแผลทางใจไปทั้งชีวิต เพราะสิบนาทีของเขามันยาวนานมาก

ก่อนมาหานักจิตวิทยา พ่อแม่จะช่วยลูกก่อนได้อย่างไร

ปัญหาก็มีทั้งทางกาย สภาพแวดล้อม สำหรับทางกาย ถ้าลูกเรามีปัญหาทางกายในเชิงพัฒนาการล่าช้า มันก็ส่งผลต่อพฤติกรรม เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าจะมีพฤติกรรมบางอย่าง เพราะเขาไม่รู้วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ถ้ามีปัญหาด้านพัฒนาการ เช่น ลูกไม่สามารถเดินได้ตามวัย หรือลูกไม่พูดทั้งๆ ที่เกินเกณฑ์แล้วเราก็ควรเข้าไปหาผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์พัฒนาการเด็ก คือไปเร็วดีกว่าไม่ไป อย่าสงสัยนาน อย่าถามคนรอบข้าง อย่า search google จนเครียดไปเอง อย่าใช้การเดาหรือหรือเปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่น ถามผู้เชี่ยวชาญดีที่สุด

สุดท้ายไม่เป็นอะไรก็ดีแล้ว แค่ตัดข้อสงสัย เราก็สบายใจด้วย แล้วเราก็ได้รู้แนวทางว่าที่เขาช้าเพราะอะไร เราจะพัฒนาเขาได้อย่างไร

ข้อสอง สภาพแวดล้อม ถ้าสภาพแวดล้อมไม่โอเคเช่น พ่อแม่ทะเลาะกันตลอดเวลา หรือมีปัญหากับปู่ย่าตายายเราต้องคิดแล้วว่าถ้าเราเอาลูกออกมาจากตรงนั้นไม่ได้ เราจะทำยังไงเพื่อที่จะเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดให้ลูก แม่อาจจะเป็นคนเดียวที่ทำเพื่อลูก คนอื่นอาจจะไม่โอเคเลย ตรงนี้เราก็ต้องดูว่าใจเราไหวไหม สุขภาพกายใจเราพร้อมไหม ถ้าเราพร้อม เราก็ทำของเราให้ดีที่สุดตามหลักพัฒนาการลูก

แต่ถ้าแม่ไม่ไหว แม่หาตัวช่วยได้ เช่น ไปพบนักจิตวิทยา แล้วก็หาแนวทางระบายออก ไม่เก็บไว้คนเดียว ให้มองว่านักจิตวิทยาเป็นเพื่อน มีคนช่วยคิดดีกว่าเราคิดคนเดียว เครียดอยู่คนเดียว และเราก็โตพอที่จะทำอะไรเพื่อเราและลูกได้แล้ว ถ้าพ่อแม่ไม่ปกป้องลูกก็คงไม่มีใครทำได้

ข้อสาม คือ ปัญหาเชิงพฤติกรรมที่เราไม่เข้าใจว่าทำไมอยู่ดีๆ ลูกเราถึงลงไปเอาหัวโขกกำแพง หรือมีพฤติกรรมแปลกๆ ที่เด็กคนอื่นไม่ทำ ทางที่ดีคือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ นักจิตวิทยา จิตแพทย์ บางทีเราไม่รู้หรอกว่าพฤติกรรมอันนี้มันเกิดจากอะไรแต่ถ้าเรารู้ปุ๊บเราก็จะป้องกันได้ หรือรับมือกับมันได้แบบมีสติมากขึ้น อย่างน้อยก็เบาใจ ดีกว่าทำอะไรไม่ได้เลย

ดังนั้น การพบนักจิตวิทยา จิตแพทย์ เป็นเรื่องธรรมดา พ่อแม่ทุกคนไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลเมื่อต้องนัดพบผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้

อ่านบทความ SAND TRAY THERAPY: ปลดล็อคเรื่องเศร้าที่เล่ายากด้วยการบำบัดในถาดทราย ได้ ที่นี่

Tags:

การเล่นปฐมวัยจิตวิทยาศิลปะบำบัดเมริษา ยอดมณฑป

Author:

illustrator

ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

อดีตนักข่าวที่ผันตัวมาทำงานด้านการเรียนรู้(อย่างรื่นรมย์) ด้วยอินเนอร์คุณแม่ลูกหนึ่ง(ที่เป็นวัยรุ่นและขายาวมาก) รักการทำงานก็จริงแต่ชอบหนีไปออกกำลังกายตามคำบอกของคุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เพื่อให้ชีวิตการงานสมดุลอยู่

Related Posts

  • How to enjoy lifeFamily Psychology
    SAND TRAY THERAPY: ปลดล็อคเรื่องเศร้าที่เล่ายากด้วยการบำบัดในถาดทราย

    เรื่อง

  • Family Psychology
    คุยกับนักศิลปะบำบัดเรื่องซึมเศร้าในเด็ก กับข้อสังเกต ทำไมเด็กพูดเสียงดังและไม่มีใครฟังใคร?

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดีอุบลวรรณ ปลื้มจิตร ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่าง

  • Family Psychology
    ฟังลูกบ้าง อย่าเพิ่งแปลงร่างเป็นหมาป่า

    เรื่อง ภาพ BONALISA SMILE

  • Early childhoodLearning Theory
    EP.1: THE TWELVE SENSES ปรัชญาการเติบโตของมนุษย์ตั้งแต่ระดับ ‘เซลล์’ และ ‘โซล’

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่างบัว คำดี

  • Space
    พลังบวกมหาศาลในสนามเด็กเล่น

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

วิลเลียม คัมแควมบา: ความมุ่งมั่นและกัดไม่ปล่อยของเด็กชายที่ผลิตกังหันลมจากกองขยะ
GritMovie
2 August 2019

วิลเลียม คัมแควมบา: ความมุ่งมั่นและกัดไม่ปล่อยของเด็กชายที่ผลิตกังหันลมจากกองขยะ

เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • วิลเลียม คัมแควมบา ตัวละครเด็กชายมาลาวี จากภาพยนตร์เรื่อง ‘The Boy Who Harnessed the Wind’ ต้องลาออกจากโรงเรียนเพราะความยากจน เขาจึงแอบวิ่งเข้าห้องสมุดไปขโมยความรู้ และลงมือสร้างกังหันลมไฟฟ้า หวังเพียงแค่ช่วยเหลือครอบครัวและชุมชนให้มีกิน
  • กังหันลมทำให้เขาได้รับโอกาสต่างๆ มากมาย ทำให้ปัจจุบัน วิลเลียม คัมแควมบา วัย 31 ปี กลายเป็นนวัตกรระดับโลก
  • ความมุ่งมั่น พยายาม อดทน ของวิลเลียม อธิบายความแตกต่างระหว่างความอดทนธรรมดา กับคำว่า Grit ที่หมายถึงความมุ่งมั่นอดทน ไม่ย่อท้อในการทำสิ่งที่ตัวเองเชื่อ ไม่มองความล้มเหลวเป็นศัตรู และเป็นหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้

วันก่อนผู้เขียนหลงเข้าไปดูภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริงชื่อ ‘The Boy Who Harnessed the Wind’ ว่าด้วยเรื่องของ วิลเลียม คัมแควมบา (William Kamkwamba) เด็กชาวมาลาวี อายุ 13 ปี ที่ต้องออกจากโรงเรียนเพราะครอบครัวจ่ายค่าเล่าเรียนให้ต่อไม่ไหว ทุ่งหญ้าและแปลงข้าวโพดนอกบ้านแห้งแล้งอย่างหนัก เงินทั้งหมดในบ้านจำเป็นต้องรวบรวมเพื่อใช้ลงทุนกับการทำเกษตรกรรม

สิ่งที่วิลเลียมทำจึงคือการ ‘แอบ’ วิ่งเข้าวิ่งออกระหว่างห้องสมุดของโรงเรียนไปเปิดหนังสือเพื่อศึกษาวิธีทำมอเตอร์ไฟฟ้า และ กองขยะเพื่อหาวัตถุดิบมาทดลอง ทั้งหมดนี้เพื่อจุดมุ่งหมายใหญ่ …การผลิต ‘กังหันลม’

กังหันลมไม่ใช่องค์ความรู้ใหม่ในปี 2000 (จุดปีของเรื่องเล่า) แต่นี่คือกังหันลมแรกของหมู่บ้าน หมู่บ้านที่ผู้นำถูกฆ่าตายเพราะออกไปต่อรองกับนักการเมืองเรื่องความแห้งแล้ง หมู่บ้านที่ชาวบ้านวิ่งตามรถขายข้าวราคาถูกของรัฐเพียงเพื่อหวังว่าเงินที่มีน้อยนิด (แต่นั่นคือทั้งหมดของครอบครัว) จะพอซื้อข้าวสารประทังชีวิตต่อไปอีกมื้อ หมู่บ้านที่คนขโมยข้าวโพดมากกว่าสิ่งของมีค่า และเป็นการขโมยอย่างน้ำตานองหน้า บอกกับเจ้าของบ้านผู้นั้นว่า “เราไม่ได้กินอะไรมา 3 วันแล้ว หวังว่าคุณจะเข้าใจ”  และ …ในสถานการณ์อื่นๆ ที่ความแห้งแล้งยากจนจะกระทำกับมนุษย์อย่างสุดโต่ง  

ท่ามกลางความยากจนที่ต้องเลือกระหว่างเรียนหนังสือกับการมีกิน วิลเลียมไม่ได้ฝันอยากเป็นนวัตกรเอกของโลก เขาแค่คิดว่าความสนใจที่มีจะช่วยเหลือครอบครัวและชุมชนได้ กังหันลมไฟฟ้าคืออย่างเดียวที่จะช่วยขุดน้ำจากบ่อแล้วทำชลประทานในหมู่บ้าน และถ้ามันสำเร็จ วิลเลียมจะไม่ต้องทำงานเต็มเวลาแปลงข้าวโพด พ่อจะมีเงินส่งเขาเข้าโรงเรียน – นี่คือฝันสูงสุดในชีวิต …ได้กลับไปใส่ชุดนักเรียน

สิ่งที่วิลเลียมไม่รู้คือ เขาจะไม่ได้กลับไปใส่ชุดของโรงเรียนเดิมที่เขาแอบเข้าไปเรียนอีก เพราะหลังผลิตกังหันลมไฟฟ้าตัวแรกสำเร็จในปี 2002 ชื่อของเขาดังเป็นพลุแตกในบ้านเกิดและในแอฟริกาทันที ในปีเดียวกันนั้น วิลเลียมได้ทุนจาก African Leadership Academy 10 ปีถัดมา เขากลายเป็นบัณฑิตแห่งวิทยาลัยดาร์ทมัธ มหาวิทยาลัยเอกชนในไอวีลีกในสหรัฐอเมริกา 

ปัจจุบัน วิลเลียม คัมแควมบา อายุ 31 ปี เขาเป็นนวัตกร วิศวกร นักเขียน บางครั้งเป็นสปีคเกอร์สร้างแรงบันดาลใจระดับโลก 

ขณะวิ่งเข้าวิ่งออกระหว่างกองขยะกับห้องสมุด ระหว่างเปิดหนังสือเรื่องไฟฟ้าและมอเตอร์ทีละหน้า ระหว่างทดลองกังหันลมไฟฟ้าตัวแรก เอาไปบอกพ่อในแปลงนาแล้วพ่อระเบิดอารมณ์ใส่เพราะมองไม่ออกว่าจากกังหันทดลองจะกลายเป็นกังหันลมตัวใหญ่ แล้วจะเรียกคืนชีวิตของเกษตรกรอย่างเขาและชาวบ้านอย่างไร และคำพูดในเชิงตั้งคำถามจากคนที่เห็นความพยายามทั้งหมดจากเดือนเป็นปี …ไม่มีสักครั้งที่วิลเลียมจะไม่เชื่อสิ่งที่ตัวเองทำ ไม่มีแม้สักครั้งที่หวั่นไหว แม้บางครั้งเขาไม่มั่นใจ …แต่ไม่เคยปล่อยมือ

วิลเลียมทรนง มุ่งมั่น ยืนกราน พยายาม เขาอดทน อดทน และอดทน

นี่อาจเป็นตัวอย่างของคำอธิบายความแตกต่างระหว่างความอดทนธรรมดา กับคำว่า Grit (ความมุ่งมั่นอดทน) ในความหมายของ แองเจลา ดัคเวิร์ธ (Angela Lee Duckworth) ผู้เชี่ยวชาญด้าน Grit และนักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania)

Grit และ Persistence ทักษะในศตวรรษที่ 21 ตัวที่ 23 หมวด Character Qualities – กลุ่มทักษะด้านคุณสมบัติ คุณลักษณะ หรือ นิสัย ที่คนคนหนึ่งจะมีเพื่อแก้ปัญหาในโลกอนาคตที่จะซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ 

คีย์เวิร์ดของ Grit ไม่ใช่ความอดทนกับโปรเจ็คท์ระยะสั้นราวเดือน สอง หรือสามเดือน แต่คือความอดทน ยืนกราน และไม่ยอมแพ้ที่จะทำอะไรสักอย่างด้วย ‘ความหลงใหล’ และ ‘ในระยะยาว’ สิ่งนั้นอาจใช้เวลาเป็นปีหรือหลายปี วิลเลียมอาจทำกังหันลมสำเร็จได้ในเวลาหนึ่งปี แต่เขาไม่จบแค่นั้น ยังคงมุ่งมั่นศึกษาด้านวิศวกรรมตามความชอบและตั้งใจเดิมต่ออีกหลายปีจนสำเร็จการศึกษา กลายเป็นวิศวกรรมและนวัตกรที่ประสบความสำเร็จในอาชีพคนหนึ่ง

Grit ไม่ใช่พรสวรรค์ แต่คือ ‘ทักษะ’ และ ‘คาแรคเตอร์’ ซึ่งพอพูดว่าเป็นทักษะ นั่นหมายถึงมันไม่ได้เกิดได้เพียงเพราะรู้จักว่ามันคืออะไร แค่คือการฝึกให้ปรากฏขึ้นในเนื้อตัวและหยิบใช้มันโดยอัตโนมัติ 

Pulse Check: สำรวจชีพจร คุณมี Grit รึเปล่า?

เพื่อวัดว่าคุณเป็นคนมี Grit หรือไม่ และอยู่ในระดับไหน ลองใช้เช็คลิสต์เหล่านี้ช่วย

  • ฉันชอบโปรเจ็คท์ที่ต้องใช้เวลาทำเป็นปีถึงจะเห็นผล
  • เป้าหมายของงานหรือสิ่งที่ฉันทำอยู่นั้นเป็นเป้าหมายระยะยาว
  • สิ่งที่ฉันทำทุกวันคือสำรวจตัวเองว่า รู้จัก มองเห็น เชื่อมต่อกับคุณค่าลึกๆ ในตัวเองหรือไม่
  • มันจะมีอย่างน้อยหนึ่งอย่างหรือกิจกรรมสักอย่างหนึ่ง ที่ฉันทำได้โดยไม่รู้สึกเบื่อเลย
  • การต้อง ‘ถอยหลังหนึ่งก้าว’ ไม่เคยทำให้ฉันหวั่นไหวหรือสูญเสียความมั่นใจ
  • ฉันเป็นคนทำงานหนัก
  • ฉันไม่เคยทำอะไรครึ่งๆ กลางๆ ถ้าทำแล้วจะทำให้เสร็จเสมอ
  • ฉันไม่เคยหยุดพัฒนาตัวเอง

หรือลองเข้าไปทำแบบทดสอบเรื่อง Grit ได้ที่นี่: https://angeladuckworth.com/grit-scale/  

ทำไมต้องมี ทำไมต้องรู้จัก Grit?

หลายครั้งเราสงสัยว่าทำไมคนที่ประสบความสำเร็จในด้านใดด้านหนึ่งถึงทำมันได้อย่างง่ายดายราวกับมีคนหยิบมอบพรสวรรค์ใดหนึ่งให้ แต่ไม่ว่าคุณจะคิดว่า ‘พรสวรรค์’ คืออะไร ไม่ว่าคุณเป็นคนเรียนรู้ได้ง่ายและเร็วขนาดไหน อย่างไรคุณ-ใครก็ตาม ต้องเข้าไปอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ ต้องใช้ความพยายามในการเรียนรู้ และการทำแบบนี้ไม่เคยมีทางลัด

งานวิจัยของดัคเวิร์ธข้อหนึ่งสรุปว่า Grit มีนัยสำคัญต่อการประสบความสำเร็จในชีวิต เช่น นักเรียนที่มี Grit มักจะพาตัวเองจบการศึกษา ทั้งมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นยังยืนยันว่า Grit และ IQ ไม่ได้แปรผันตามกัน ไม่เกี่ยวข้องกัน หรือพูดได้ว่า ผู้ที่ถูกประเมินว่ามี IQ แย่ (ซึ่งตัวผลประเมินเองก็มีผู้คัดค้านจำนวนมากว่าความฉลาดของคนจำแนกได้ชัดเจนขนาดนั้นหรือ? ความฉลาดมีรูปแบบเดียวหรือ) แต่ถ้ามี Grit คนผู้นั้นย่อมประสบความสำเร็จในทางของตัวเองได้

“Ever tried. Ever failed. No matter. Try again. Fail again. Fail better.” – Samuel Beckett นักเขียนนวนิยาย

อันที่จริงทั้งหมดนี้เป็นแค่ทฤษฎีอธิบายว่า Grit คืออะไร ความสำคัญหรือสิ่งที่ดัคเวิร์ธผลักดันมาตลอด เป็นเพียงแนวคิดที่ว่า อย่าตีตราตัวเองว่าล้มเหลว อย่าลากเส้น ‘ขีดจำกัด’ ล้อมรอบตัวเอง การมี Grit สร้างได้ เราสร้างคาแรคเตอร์แห่งความทรหดอดทน ไม่ย่อท้อเพื่อทำสิ่งที่รักและหลงใหลได้ เราทำได้ 

เราทำได้ – ก้อนความคิดเติบโต หรือ Growth Mindset ดัคเวิร์ธกล่าวชัดว่าความสำเร็จของเราขึ้นกับเสียงในหัวเสียงนี้ ไม่ใช่แค่บอกตัวเอง แต่คือทัศนคติที่คุณมีต่อชีวิต ทั้งตัวเองและคนรอบข้าง 

มันเป็นปริศนาว่าการเกิดคาแรคเตอร์อย่าง Grit ในเนื้อตัวคน จะสร้างหรือปลูกฝังได้อย่างไร แต่หากเชื่อว่าคนเราเป็น ในสิ่งที่พ่อแม่เป็น เป็น อย่างที่ประสบการณ์ในชีวิตสอนเรา ชัดเจนว่าการเกิด Grit ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมทั้งในวัยเด็กและในปัจจุบัน 

ถามอีกครั้ง… ทำไมต้องรู้จักคำนี้, Grit? 

สำหรับผู้เขียน แค่รู้ว่า Grit คือคาแรคเตอร์ของคนที่ยืนกราน ทรหด ไม่ย่อท้อที่จะทำสิ่งที่ตัวเองเชื่อและหลงใหลอย่างไม่ละมือ รู้ว่ากระบวนการของการฝึกฝนจะยาวนาน ซึ่งในระหว่างนั้นมันพร้อมจะเกิดอุปสรรคให้ล้มลงได้เสมอ

คำว่า Grit จะย้ำกับเราว่า “ได้สิ ไม่เป็นไร ความล้มเหลวเป็นแค่หนึ่งในกระบวนการ” แล้วลุกขึ้นมาทำใหม่อย่างต่อเนื่อง นี่ไม่ใช่แค่อดทนต่อภาพในหัวที่เราอยากไปให้ถึง แต่ฝึก ‘ให้ตัวเองอดทน’ ‘ฝึกให้ตัวเองมี Grit’ แค่ฝึกทักษะความอดทนให้กับตัวเอง เท่านี้ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง 

ในบทสัมภาษณ์ชิ้นหนึ่ง ดัคเวิร์ธให้คำแนะนำที่น่าแบ่งปันว่า เอาจริงๆ Grit มีความยาก เพราะมันคือความอดทนยาวนานที่อาจทำให้คนคนนั้นล้มเลิกไปก่อน

เธอแนะนำว่าให้ลองใช้วิธี ‘small win’ หรือ ชัยชนะเล็กๆ น้อยๆ การวางเส้นชัยไว้ตามรายทาง จะช่วยหล่อเลี้ยงและกำกับเส้นทางให้ตัวเองโดยไม่แบกความทดท้อเสียใจจนหลังหัก – นี่เป็นเคล็ดลับที่เธอแนะนำกับบุคคลทั่วไปและครู ให้เอาไปลองใช้กับเด็กๆ 

ไม่จำเป็นต้องตบท้ายว่า Grit จำเป็นสำหรับคนในศตวรรษที่ 21 เพียงเพราะมันถูกระบุเอาไว้ เรียนรู้จากเรื่องเล่าของผู้ที่ประสบความสำเร็จมากมายและหลากวงการในหน้าประวัติศาสตร์ ไม่มีใครที่สำเร็จโดยไม่มีหนึ่งในคุณสมบัติข้อนี้ สิ่งที่ต้องถามคือ ถ้าทุกคนรู้ว่าความมุ่งมั่นพยายามนั้นสำคัญ ทำไมเราจึงห่วงกังวลว่าต่อไปพลเมืองโลกจะขาดคุณสมบัติข้อนี้ไป? 

ผู้เขียนจะไม่มีวันกลับไปดู ‘The Boy Who Harnessed the Wind’ อีกตลอดชีวิต มันเครียด มันบีบเค้น ความยากจนและความพยายามของวิลเลียม แค่ในฐานะคนดู ยังรู้สึกทดท้อและก่นด่าชะตาชีวิต แต่ความมั่นคงและยืนหยัดของวิลเลียมปลอบใจคนดูจนอยู่หมัด – ดูต่อไป เขาจะทำมันได้ 

แต่สิ่งที่จะฝังจำไปตลอดแม้ไม่กลับมาดูอีก คือความมุ่งมั่นกัดไม่ปล่อยของวิลเลียม จะคอยส่งเสียงบอกให้ผู้เขียนมุ่งมั่นฝึกฝนความอดทนของตัวเองต่อไป

Tags:

คาแรกเตอร์(character building)ภาพยนตร์21st Century skillsGritTED Talks

Author:

illustrator

ณิชากร ศรีเพชรดี

แอดมิชชันเข้าคณะการเขียนและสิ่งพิมพ์เพราะคิดว่าเขาจะสอนให้เขียนนิยาย แทนที่จะได้เขียนจากจินตนาการ อาจารย์และทุกอย่างที่นั่นเคี่ยวกรำให้ทำ-คิด-เขียน-รู้สึกกับประเด็นสังคม ยังคงสนุก(มาก)กับงานสื่อสาร ฝันสูงสุดคือยังเข้มแข็งเขียนงานได้อย่างมีคุณภาพและฐานะดี

Related Posts

  • Character building
    Critical Thinking การคิดเชิงวิพากษ์: ทักษะที่ฝึกฝนได้ทั้งในบ้านและห้องเรียน ช่วยเด็กไม่ให้ตกเป็นเหยื่อดรามา

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Grit
    GRIT การอดทนเพื่อสู้สิ่งยาก ถึงยากก็อยากจะสู้!

    เรื่อง The Potential ภาพ KHAE

  • Grit
    S.M.A.R.T GOAL ตั้งเป้าหมายให้ชัด ใกล้ ใช่ และจริง – ไม่ล้มเหลวแน่นอน

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • 21st Century skills
    ADAPTABILITY: ปรับตัว ยืดหยุ่น ไม่หนีปัญหา ทักษะสำคัญของโลกที่เปลี่ยนทุกวัน

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ บัว คำดี

  • 21st Century skills
    INITIATIVE: ริเริ่มสร้างสรรค์โดยไม่มีใครร้องขอ แก้ปัญหาไม่ต้องรอคนจ้ำจี้จ้ำไช

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

ศราวุธ แก้วบุตร: นับหนึ่งที่ครูเดลิเวอรี วันนี้คือครูเต็มตัวผู้เข้าถึงปมในใจเด็ก
Unique Teacher
1 August 2019

ศราวุธ แก้วบุตร: นับหนึ่งที่ครูเดลิเวอรี วันนี้คือครูเต็มตัวผู้เข้าถึงปมในใจเด็ก

เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดีอุบลวรรณ ปลื้มจิตร

  • ‘ครูเอ็กซ์’ ศราวุธ แก้วบุตร คืออดีตครูเดลิเวอรี ที่เข้าไปฝึกสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก ห่างไกล ใกล้ถูกยุบ เพราะเด็กๆ เรียนจากครูตู้ ไม่เคยเจอครูตัวเป็นๆ
  • นนี้เขารับราชการครูเต็มตัว ส่วนหนึ่งมาจาก ‘ยาแรง’ ที่เขาได้รับตอนเป็นครูเดลิเวอรี นั่นคือคำถามว่า “จะเอาดีในอาชีพนี้จริงๆ ใช่ไหม”
  • “เรารักความรู้สึกว่าถ้าลูกศิษย์เราได้ดี เราจะรู้สึกดีไปด้วย เรารู้จักความรู้สึกนี้ เรารู้ตัวเองตั้งแต่ทำโครงการครูเดลิเวอรีปีหนึ่งเลย” คือคำตอบวันนี้ของครูเอ็กซ์
ภาพ: พัชริดา จูจรูญ

ย้อนกลับไปราว 5 ปีก่อน นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา รวมตัวจัดตั้งคณะครูเคลื่อนที่นาม ครูเดลิเวอรี*เข้าไปสอนน้องๆ ในชนบทที่ห่างไกลออกไป ความน่าสนใจของ ‘ครูเดลิเวอรี’ ไม่ใช่แค่งานอดิเรกของนักศึกษาในช่วงที่ไฟฝันยังลุกโชน แต่เป็นการทำงานอาสาในพื้นที่ซึ่งมีปัญหาซับซ้อนอย่าง โรงเรียนบ้านพังเภา ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวะสงขลา ซึ่งขณะนั้นนักเรียนไม่ถึง 100 คนต้องเรียนกับ ‘ครูตู้’ หรือครูในโทรทัศน์ และอาจถูกยุบเพราะคะแนนการเรียนการสอนของเด็กไม่ผ่านเกณฑ์ประเมิน

“เพราะพวกเขาไม่ได้เจอครูจริงๆ แต่นั่งเรียนกับครูในทีวีหรือ ‘ครูตู้’ มาตลอด แต่พอเขามาเจอเราตัวเป็นๆ แบบนี้ (ชี้ตัวเอง) เขาดีใจ ตื่นเต้น ทำตัวไม่ถูกว่าการพูดคุยกับครูตัวเป็นๆ สักทีหลังจากดู ‘ครูตู้’ มาตลอดชีวิตนี่ มันเป็นยังไง”

เอ็กซ์-ศราวุธ แก้วบุตร หนึ่งในอดีตครูโครงการ ‘ครูเดลิเวอรี’ เล่าย้อนให้เห็นภาพ ขณะนั้นเขายังเป็นเพียงนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 

สำหรับเอ็กซ์ ‘ครูเดลิเวอรรี’ เป็นทั้งพื้นที่ทดลองและยาแรง ที่ตั้งคำถามกับเขาดังๆ ว่า ‘ที่อยากเป็นครู รู้แล้วใช่ไหมว่าต้องเจอกับปัญหาแบบไหน ถ้ารู้แล้ว ยังยืนยันชัดแจ้งใช่ไหมว่า จะเอาดีในอาชีพนี้จริงๆ?

เขายืนยันทำโครงการอยู่ 2 ปี ช่วงเวลานั้นเขากับเพื่อนลุยเปลี่ยนการสอนตั้งแต่ในห้องเรียนยันชุมชนที่เด็กๆ อาศัยอยู่ คำขวัญประจำใจของนักศึกษาอาสาขณะนั้นคือ ‘เมื่อไม่มีครูเดลิเวอรี เด็กต้องอยู่ได้ ชุมชนต้องอยู่ได้’ แม้เอ็กซ์เดินออกจากโครงการและปล่อยให้รุ่นน้องสานต่อห้องเรียนทดลองเคลื่อนที่นี้ต่อไป แต่เขาไม่ได้เดินออกจากการเป็นครู วันนี้เอ็กซ์ไม่ใช่แค่ ‘ครูอาสา’ แต่เป็นครูเต็มตัวแล้ว (และครูป้ายแดง) ที่ โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 2 สงขลา จังหวัดสงขลา บ้านเกิดของเขาเอง

The Potential จับตัวครูหนุ่มที่ตารางอัดแน่นยุ่งขิงมานั่งคุยสอบถาม ชวนย้อนเวลาแลกเปลี่ยนการเดินทางครั้งทำงานในโครงการ ‘ครูเดลิเวอรรี’ เขาเจออะไรบ้าง ยาแรงที่ว่าเปลี่ยนวิธีคิดการเป็นครูอย่างไร ปัญหาจริงๆ ของการศึกษาของเด็กๆ ในพื้นที่ห่างไกลที่ต้องเรียนกับ ‘ครูตู้’ ส่งผลกระทบอะไรกับเด็ก ต่อชุมชน ต่อคนเป็นครู

และวันนี้ อุดมการณ์ของเขายังไม่เปลี่ยนไปใช่ไหม?

จุดเริ่มต้นโครงการ ‘ครูเดลิเวอรี’

ตอนนั้นอยู่มหาวิทยาลัยปี 1 ช่วงต้นภาคเรียนแรก เราเห็นว่ารุ่นพี่ทำโครงการโครงการหนึ่งที่จะต้องออกไปทำอะไรกันก็ไม่รู้นอกมหาวิทยาลัยทุกสัปดาห์ จนกระทั่งมีพี่เขามาแนะนำในเอกว่ามีโครงการด้านสำนึกความเป็นพลเมืองอยู่ในชื่อ ‘ครูเดลิเวอรรี’

อาจเพราะตอนนั้นเรามีไฟในการเป็นครูกันมาก พอรู้ว่าโครงการที่พี่ๆ ทำอยู่คือการส่งความรู้ถึงมือเด็กโดยที่โรงเรียนนั้นอาจเป็นโรงเรียนที่มีปัญหาหรือไม่พร้อม แต่เราจะใช้ความรู้วิชาการที่ร่ำเรียนมา เข้าไปเติมเต็ม ไปถ่ายทอดความรู้ให้กับเขา เลยตัดสินใจลงมือทำกันตั้งแต่ปีแรก ตอนนั้นเราอยู่ปี 1 ก็ทำงานตามพี่ๆ เขาไป และกลายเป็นแกนนำของโครงการครูเดลิเวอรรีรุ่นที่สอง

ครูเดลิเวอรรีต้องทำอะไรบ้าง

ตอนปีหนึ่งเราเข้าไปรับโจทย์กับรุ่นพี่ว่าโครงการฯ ต้องการทำอะไร เริ่มจากพูดถึงปัญหาโดยรวมของแต่ละพื้นที่เพื่อดูว่าแต่ละพื้นที่มีปัญหาอะไร สุดท้ายเราเลือกโรงเรียนในพื้นที่ที่ไกลจากตัวเมือง นั่นก็คือ โรงเรียนบ้านพังเภา ใช้เวลาเดินทางจากตัวเมืองประมาณสองชั่วโมง ปัญหาตอนนั้น โรงเรียนใกล้จะถูกยุบ แต่ถ้าเราสามารถทำผลการเรียนของนักเรียนให้ดีขึ้นได้ก็จะช่วยไม่ให้โรงเรียนถูกยุบ นักเรียนก็จะมีที่เรียนต่อไป

ตอนไปโรงเรียนวันแรก ด้วยความที่เราเองไม่เคยสอนจริงเพราะตอนนั้นเพิ่งเรียนครูได้ปีเดียว เลยต้องเตรียมพร้อมมาก อยากไปสอน ไปให้ความรู้ เตรียมสิ่งที่ครูควรทำนั่นก็คือแผนการสอน เตรียมเนื้อหา วิธีการ เตรียมการรับมือกับเด็กต่างๆ ไป และคิดว่านักเรียนคงพร้อมรับ แต่พอไปถึงวันแรก ลงจากรถตู้ เข้าห้องเรียน กางเนื้อหาวิชาที่จะสอน ปุ๊บ… เด็กวิ่งออกจากห้อง จากที่เราคิดจะสอนวิชาการ แต่เอาแค่คำว่า ‘ดวงอาทิตย์’ ยังต้องสอนกันหลายครั้งมากกว่าเด็กจะเขียนได้ ตอนนั้นรู้สึกว่า ต้องเริ่มนับหนึ่งกับเด็กๆ ใหม่เลย

เพราะพวกเขาไม่ได้เจอครูจริงๆ แต่นั่งเรียนกับครูในทีวีหรือ ‘ครูตู้’ มาตลอด แต่พอมาเจอเราตัวเป็นๆ แบบนี้ (ชี้ตัวเอง) เขาดีใจ ตื่นเต้น ทำตัวไม่ถูกว่าการพูดคุยกับครูตัวเป็นๆ สักทีหลังจากดู ‘ครูตู้’ มาตลอดชีวิตนี่ มันเป็นยังไง

เราจับได้เลยว่า เด็กๆ จะตั้งใจเรียนมากเพราะกลัวว่าครูจะไม่มาหาพวกเขาอีก เขาจะรักเรามากเพราะเขารักสิ่งที่ไม่มีชีวิตอย่าง ‘ครูตู้’ ไม่ได้

อยากให้ช่วยขยายความบริบทโรงเรียน ที่ว่าเรียนกับครูตู้ เพราะอะไรและส่งผลอย่างไร

เป็นโรงเรียนเล็กๆ ที่มีผู้อำนวยการหนึ่งคน ครูสองคน แต่เด็กมีทุกชั้นตั้งแต่อนุบาล 1 ถึง ป.6 แต่ละห้องอาจมีนักเรียนแค่สองถึงสามคน แต่เด็กๆ ไม่ได้เรียนรวมกัน พอครูมีน้อย เท่ากับว่าครูคนหนึ่งต้องวิ่งไปดูห้อง ป.1 ป.2 ป.3 ครูอีกคนวิ่งดู ป.4 ป.5 ป.6 

ภาพที่เห็นก็คือ พอครูวิ่งไปห้องนี้ เด็กห้องนู้นออกมา วิ่งไปจับเด็กห้องนู้น เด็กห้องนี้ก็ออกมา พอครูต้องวิ่งดูแลเด็กหลายห้อง ครูก็ไม่สามารถอธิบายเพิ่มเติมในสิ่งที่เด็กสงสัยได้ เด็กๆ ก็ได้แค่เรียนกับครูในทีวี พวกเราก็เลยเรียกทีวีนั้นว่า ‘ครูตู้’ คือเด็กได้นั่งดู แต่พูดตอบโต้กับเขาไม่ได้ ยังไม่รวมปัญหาว่าครูต้องเป็นทุกอย่างตั้งแต่ภารโรงยันผู้อำนวยการ

กลับบ้านวันนั้น ตัดสินใจเลยว่าจะสอนแบบที่เรียนมาหรือสอนตามรูปแบบไม่ได้แล้ว แต่เราต้องรับมือกับสภาพปัญหาที่พบเจอ เริ่มเปลี่ยนรูปแบบการสอนเรื่อยๆ ให้เหมาะกับเด็กมากที่สุด และมันต้องยั่งยืน เพราะวันใดที่เราออกจากชุมชนไป แม้ไม่มีเรา ชุมชนต้องอยู่ได้ เลยนำมาสู่การออกแบบกระบวนการของการทำโครงการปีที่ 2 ที่ต้องเริ่มทำงานกับชุมชน จากเดิมที่โครงการปีหนึ่งเราลงมือแค่สอนหนังสือในโรงเรียนอย่างเดียว 

ก่อนจะว่ากันถึงกระบวนการครูเดลิเวอรรี อยากชวนครูเอ็กซ์เล่าปัญหาของเด็กๆ สถานการณ์เป็นยังไงบ้าง

หลักๆ เป็นปัญหาจากที่บ้าน เรียกว่ากว่า 90 เปอร์เซ็นต์เลยนะครับ ครอบครัวไม่อบอุ่น พ่อแม่แยกทาง พ่อแม่ออกไปทำงานในเมืองทำให้เด็กให้ต้องอยู่กับปู่ย่าตายาย อยู่ที่บ้านก็ไม่ได้คุยกับใครอยู่แล้ว พอมาโรงเรียน แทนที่จะได้คุยกับครูกับเพื่อน ในห้องมีกันอยู่แค่สองสามคน หันไปอยากคุยเรื่องสนุกสนาน แต่พอสบตากันก็นั่งร้องไห้เพราะคิดถึงพ่อกับแม่ มันเป็นภาพที่แบบ… (เงียบ) เราก็เลยรู้สึก ทำยังไงก็ได้ เราจะต้องกลับไปทำให้ชุมชนนี้เข้มแข็งขึ้น ทำความเข้าใจสถานการณ์ให้ได้

ถึงจะเป็นนักศึกษาครู แต่ก็อยู่เพียงชั้นปี 1 การต้องไปเจอกับสถานการณ์การศึกษาระดับลึก เรียกได้ว่าเป็น ‘ยาแรง’ ของบททดสอบและวัดใจคนเป็นครู วันนั้นนักศึกษาคนนั้นคิดยังไงกับภาพตรงหน้า รู้สึกอย่างไร

ตอนนั้น เพื่อนทุกคนคิดเหมือนกันว่าสงสารประเทศ ใช้คำว่า ‘สงสารประเทศ’ เลยนะ เพราะอนาคตของชาติต้องอาศัยเด็กที่จะโตมาแทนเรา แล้วถ้าเขาเจอกับสถานการณ์แบบนี้ เปรียบเทียบเด็กในเมืองกับชนบท เด็กในเมืองได้รับสิทธิพิเศษเยอะ แต่เด็กชนบทเสียเปรียบ ทั้งเรื่องโอกาสทางการศึกษาบ้างล่ะ เรื่องการใช้ชีวิตบ้างล่ะ เปรียบเทียบกับความเป็นชนบทด้วยกันเอง ชุมชนที่เราไปทำงาน ทุกบ้านมีแต่คนแก่ เด็กๆ ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ เลยรู้สึกว่าถ้าเด็กยังอยู่กับสังคมแบบนี้ ไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาแบบนี้ แล้วยิ่งถ้าโตไป ต้องออกไปเรียนไกลๆ ปู่ย่าตายาย ซึ่งปู่ย่าตายายก็ขับรถไม่ได้ ไปส่งไม่ได้ สิ่งแรกที่พวกเขาคิดคือให้ลูกหลานออกจากโรงเรียน อยู่บ้าน เลี้ยงวัว ทำนา ปลูกพืช ก็เท่ากับเด็กต้องตัดอนาคตตัวเอง

กลับมาที่เรื่องกระบวนการแก้ปัญหา โครงการปีที่ 1 ซึ่งครูเดลิเวอรีเน้นเรื่องการเรียนการสอนที่ต้องเข้ากับสภาพปัญหาของเด็ก ทำอย่างไร

ต่อหนึ่งอาทิตย์ ครูเดลิเวอรีจะลงไปหาเด็กๆ หนึ่งวัน คือทุกๆ วันอังคาร จากตอนแรกเรามีแผนการสอนครบ 8 กลุ่มสาระเลย กลายเป็นสอนแค่ 4 วิชาหลัก คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แล้วก็สังคม และสอนแค่ช่วงเช้า ตั้งแต่บ่ายสองเป็นต้นไปเราไม่สอนวิชาการแล้วแต่สอนแบบชุมนุมแทน ชอบศิลปะใช่ไหม มาศิลปะ ชอบกีฬาใช่ไหม ไปเล่นกีฬา คือเลือกได้หมด อยากทำอะไร ให้เวลาเด็กๆ ได้ผ่อนคลาย

ในโครงการจะมีนักศึกษาครูไปช่วยกันประมาณ 15 คน ซึ่งต่อนักเรียนหนึ่งห้องเราใช้ครูประมาณ 2-3 คนเลย สอนด้วย จดบันทึกพฤติกรรมเด็กด้วย ทุกครั้งก่อนสอน เราจะประชุมก่อนว่าวันนี้จะทำอะไร และดูว่าเข้าใจตรงกันไหม แล้วค่อยแยกย้ายกันไปสอน พอสอนเสร็จก็กลับมาสรุปกันวันนั้นและที่นั่นเลยว่าวันนี้เราเจอปัญหาอะไรกันบ้าง มีอะไรต้องปรับในคาบต่อไป

ต่อเนื่องมาโครงการปีที่ 2 ซึ่งเริ่มลงพื้นที่ทำงานในชุมชน เป็นอย่างไรบ้าง

อย่างที่บอกว่ามันมาจากคำว่า ‘ยั่งยืน’ ซึ่งคำนี้เป็นคำที่เราพยายามพูดคุยเพื่อหาคำตอบกันตลอด ป้าหนู (พรรณิภา โสตถิพันธุ์ ผู้อำนวยการสงขลาฟอรั่ม) บอกและถามกับเราตลอดว่า “ถ้าครูเดลิเวอรีออกมาจากพื้นที่ ชุมชนจะอยู่ได้ไหม โรงเรียนจะอยู่ได้ไหม” การทำโครงการฯ ในปีที่สอง เลยคุยกันว่า เราลองศึกษาชุมชนกันดูไหม หาข้อมูลเพิ่มทางเลือกเพื่อจะช่วยยื้อหรือต่อลมหายใจให้กับนักเรียน เพราะชุมชนจะเป็นผู้ขับเคลื่อนโรงเรียนต่อไป

เราเดินไปในชุมชน เช็คว่าแต่ละโซนหมู่บ้านนั้นมีกี่หลังคาเรือน มีประชากรเท่าไร เยอะไหม ซึ่งนี่ทำให้เราเห็นปัญหาว่าหมู่บ้านมีแต่ผู้สูงอายุ พูดคุยกับชาวบ้านได้คำตอบว่า เขาคงไม่ได้ส่งเด็กๆ เรียนต่อเพราะไม่มีปัญญาจะพาไป คนที่มีเงินหน่อยก็ฝากรถไปส่งในเมืองได้ คนที่ลำบากหน่อยก็ให้เด็กอยู่ที่นี่ ตอนนั้นเราคิดนะ มันเป็นงานที่ท้าทายเหมือนกันในการทำให้การสอนมันเสมอภาคเท่ากันทุกพื้นที่ แม้ว่าเราทำไม่ได้ทุกพื้นที่ แต่อย่างน้อยเราได้โอกาสเข้าถึงพื้นที่นี้  

ผลที่เกิดคือ ปีนั้นมีทั้งรถไถมาไถหญ้าให้โรงเรียน ไม่ต้องใช้ภารโรงเลย มีคนมาช่วยทาสี ทำแปลงผัก มาสร้างอะไรร่วมกัน อย่างน้อยๆ มันเป็นสัญญาณที่ดีว่าชุมชนเห็นความสำคัญของโรงเรียนเล็กๆ แห่งนี้แล้วว่าโรงเรียนมีความสำคัญกับชุมชน

เอาจริงๆ ตอนนั้น นักศึกษาคนนั้นหวังกับครูเดลิเวอรรีไว้ว่าอย่างไร

เราอยากสร้างที่นี่ให้เป็นโมเดลให้ได้ อยากให้รุ่นน้องมาสานต่อโครงการ แม้ไม่ใช่นิสิตครูมหาวิทยาลัยทักษิณ แต่อยากให้เป็นพื้นที่ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ของคนที่อยากรู้ว่าตัวเองพร้อมที่จะเป็นครูแค่ไหน หากต้องเจอสถานการณ์แบบนี้ พวกเขาจะสู้หรือถอย 

ถ้ามันเกิดประโยชน์เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ต่อไปโรงเรียนอื่นอาจมาศึกษาจากที่นี่แล้วนำกลับไปใช้ และมันจะเป็นตัวเชื่อมช่วยกันกระจายเรื่องแบบนี้ไปสู่ชุมชนอื่น

ตอนจบโครงการในปีที่สอง สถานการณ์ตรงนั้นคลี่คลายไปถึงระดับไหน

เด็กๆ ที่ผมสอนมีผลสัมฤทธิ์การเรียนระดับชาติสูงขึ้น เด็ก ป.6 รุ่นนั้นสอบเข้าโรงเรียนในเมืองได้บางส่วน บางส่วนก็ทำงานเลยไม่ได้เรียนต่อ 

แต่ผมเชื่อว่าอย่างน้อยเราได้ทำให้เขาเห็นว่า วันใดที่เขาอยากเรียนต่อ เขาจะมีโอกาส สำคัญคือเราไม่บอกเขาว่าการเรียนต่อจะทำให้เขาประสบความสำเร็จ เพราะความสำเร็จของแต่ละคนไม่เหมือนกัน 

และต้องทำความเข้าใจนะครับว่า เด็ก ป.6 ของที่นี่กับในเมืองไม่เหมือนกันเลย ทักษะชีวิตของเด็กๆ ที่นี่ครบเครื่อง แต่เรื่องยาเสพติดนี่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ผมทำโครงการครูเดลิเวอรีถึงปีที่สอง แต่โครงการยังมีรุ่นน้องที่มหาวิทยาลัยทำอยู่ถึงปัจจุบัน ยังมีเด็กรุ่นใหม่ที่ลงไปทำงานทั้งการสอนเป็นหลักและทำงานกับชุมชนคู่กันไป แต่ถ้าถามว่าสถานการณ์ของโรงเรียนและชุมชนคลี่คลายไปถึงระดับไหน ผมว่าผู้นำเขาเห็นปัญหาแล้วนะ รู้แล้วว่าควรจัดการยังไง ส่วนจะดำเนินการต่อหรือไม่เป็นเรื่องของโครงสร้างทางสังคม อย่างที่บอกว่าถ้าผู้นำอยากจะสร้างโอกาสให้กับเด็กที่นั่น เขาจะลงมือทำ

ทุกวันนี้เด็กๆ ยังเรียนกับ ‘ครูตู้’ อยู่ไหม

ยังเรียนกับ ‘ครูตู้’ อยู่ครับ แต่ว่าเด็กๆ ป.4-6 ถูกย้ายไปเรียนร่วมกับโรงเรียนอื่น ซึ่งทางโรงเรียนเองก็ได้รถตู้คันใหม่มาเนื่องจากผลสอบโอเน็ตดี ทางเขตฯ มอบให้รับส่งเด็กๆ ไปเรียนรวมกับโรงเรียนอื่นซึ่งมีครูเป็นบุคลากรจริง แต่น้องๆ ป.1-3 ยังเรียนแบบเดิมอยู่

ครูเดลิเวอรรีให้เครื่องมืออะไรกับคุณบ้าง

ทักษะการทำงานเป็นทีม ซึ่งจำเป็นมากในการทำงานครั้งนี้ ตอนนั้นมีเพื่อนคือ อนันต์ ชูช่วย คนนี้เป็นประธานในรุ่น ปัจจุบันบรรจุเป็นข้าราชการครู คนนี้ให้ความเป็นครูกับผมและได้เรียนรู้เรื่องการทำงานเป็นทีมด้วยกัน 

อีกอย่างคือโอกาส เพราะตอนที่ไปสอน เราไม่ได้มีความรู้จะไปสอนขนาดนั้น  

มันเป็นโอกาสที่ดีมากที่ได้เรียนรู้ว่าการเรียนรู้ที่ดีต้องมาจากปัญหาจริงๆ เพราะเราเจอปัญหาหนักมาก จึงทำให้เรารู้ว่าอนาคตการเป็นครูต้องเจอปัญหาเหล่านี้อีกเยอะ แต่เราพอรู้แล้วว่าจะรับมือยังไง เหมือนมันฉีดวัคซีนให้ตัวเองแล้ว สำคัญคือได้รู้ว่า การจัดการเรียนรู้มันจัดรูปแบบเดียวไม่ได้

ทุกวันนี้คุณเป็นครูเต็มตัวแล้ว ฝันของครูเอ็กซ์คืออะไร

ต้องเล่าก่อนว่าเด็กที่เราสอนอยู่ก็มีปัญหาในแบบของตัวเอง เด็กใต้เนอะ บางคนต้องตื่นมาตั้งแต่ตีสี่มาเก็บยาง เก็บเสร็จหกโมงเช้า หกโมงเช้าไปหลับ พอไปงีบก็ตื่นสาย มาโรงเรียนสาย โดนหักคะแนน บางคนโดนตีทุกวัน เด็กก็ไม่อยากมาโรงเรียน เพราะครูมองว่า “เธอนี่ขี้เกียจ ทำไมไม่ตั้งใจเรียน มาโรงเรียนก็หลับ” เพราะเขาไม่มีเวลา บางคนต้องหามขี้ไก่ใส่รถบรรทุกตั้งแต่สี่ทุ่มจนถึงตีสี่ แล้วมาโรงเรียนสิบโมงทุกวันเลย อยู่ๆ ไปก็ค่อยรู้ว่าเด็กแต่ละคนต่างมีปัญหาที่ลึกกว่าที่เรามองเห็น ปัญหาคือ ไม่เคยมีครูคนไหนถามว่าเขามีปัญหาอะไร?

ฝันของเราจึงอยากเห็นเด็กทุกคนเรียนจบ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะปัญหาเด็กๆ ในพื้นที่ตอนนี้คือการหลุดออกจากระบบกลางคัน ซึ่งท้ายที่สุดเด็กเหล่านี้จะออกจากชุมชน สังคมเองก็มองว่าเด็กเหล่านี้มีปัญหา ครอบครัวเองก็มองเขาแบบนั้น เพื่อนมองเขาแบบนั้น เด็กไม่รู้เลยว่าจะต้องปรับตัวยังไง ต่อให้ปรับมาแล้ว ก็ไม่รู้ว่าเขาจะกลับไปอยู่ในสังคมที่มีแต่คนมองว่า “เธอเป็นเด็กมีปัญหามาก่อน” ได้ไหม ที่อยากให้เรียนจบเพราะอย่างน้อยมันจะตัดปัญหาการถูกตราหน้าว่าเป็น “เด็กเรียนไม่จบ” อย่างน้อยเขาไปสร้างอาชีพต่อ ไปทำงานต่อ เท่านี้เราจะหายห่วงแล้ว

สุดท้าย จากวันที่ทำโครงการครูเดลิเวอรี ทดลองเป็นครูตอนเรียนอยู่ปี 1 จนถึงวันนี้ วันที่เป็นครูเต็มตัวครั้งแรกได้ไม่เต็มขวบปีดี รู้สึกอย่างไร ยังยืนยันจะเป็นครูอยู่ไหม

ถ้าทำเพราะรักในอาชีพ เราก็จะสนุกกับมัน ที่เขาบอกว่าการเป็นครูต้องเป็น 24 ชั่วโมง มันจริงมากๆ เลยนะ มันมีบางอาชีพที่ทำงานจบเป็นวันๆ ได้ แต่ครู กลับมาบ้านต้องเตรียมการสอน อ่านหนังสือ ไหนจะปัญหาเด็กๆ เด็กหนีออกจากบ้าน-ครูก็ต้องโทรตามละ เด็กมีปัญหาชกต่อย-ครูก็ต้องไปหาเด็ก คือเราเป็นเหมือนเป็นทั้งครู เป็นทั้งตำรวจ เป็นทุกอย่างให้กับชีวิตเขา

เราไม่ได้รักความสบายนะ แต่เรารักความรู้สึกที่… ถ้าลูกศิษย์เราได้ดี เราจะรู้สึกดีไปด้วย เรารู้จักความรู้สึกนี้ เรารู้ตัวเองตั้งแต่ทำโครงการครูเดลิเวอรีปีหนึ่งเลย

*ครูเดลิเวอรี ภายใต้โครงการ Active Citizen สนับสนุนการจัดการเรียนรู้และโครงการโดย สงขลาฟอรั่ม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ มูลนิธิสยามกัมมาจล

Tags:

ระบบการศึกษาโรงเรียนสงขลาฟอรั่มactive citizenเทคนิคการสอนครูเดลิเวอรี

Author:

illustrator

ณิชากร ศรีเพชรดี

แอดมิชชันเข้าคณะการเขียนและสิ่งพิมพ์เพราะคิดว่าเขาจะสอนให้เขียนนิยาย แทนที่จะได้เขียนจากจินตนาการ อาจารย์และทุกอย่างที่นั่นเคี่ยวกรำให้ทำ-คิด-เขียน-รู้สึกกับประเด็นสังคม ยังคงสนุก(มาก)กับงานสื่อสาร ฝันสูงสุดคือยังเข้มแข็งเขียนงานได้อย่างมีคุณภาพและฐานะดี

illustrator

อุบลวรรณ ปลื้มจิตร

บรรณาธิการเว็บไซต์ The Potential

Related Posts

  • Creative learning
    สุข สนุก และได้เลือกเรียนเอง เด็กๆ บ้านควนเก จึงอยากมาโรงเรียนทุกวัน

    เรื่อง The Potential

  • Creative learning
    โรงเรียนเล็กในทุ่งกว้าง เปลี่ยนเด็กด้วยลานกว้างและดนตรี

    เรื่อง The Potential

  • Creative learning
    ‘โรงเรียนเล็กในทุ่งกว้าง’ ดินคือกระดาษ จอบคือปากกา วิชาอยู่กลางทุ่ง

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • Education trend
    มหกรรมสอบในเด็ก: ความเครียดและความล้มเหลวก่อนวัยอันควร

    เรื่อง The Potential

  • Unique Teacher
    ‘ครูภาคิน’ ครูไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผิดได้ และเป็นมนุษย์แบบพวกเอ็งนั่นแหละ

    เรื่องและภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

ฟิอนน์ เฟอร์เรรา: เจ้าของ GOOGLE SCIENCE FAIR 2019 กำจัดไมโครพลาสติกออกจากสายน้ำ
Voice of New Gen
1 August 2019

ฟิอนน์ เฟอร์เรรา: เจ้าของ GOOGLE SCIENCE FAIR 2019 กำจัดไมโครพลาสติกออกจากสายน้ำ

เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • ฟิอนน์ เฟอร์เรรา วัยรุ่นไอริช วัย 18 เจ้าของรางวัล Google Science Fair 2019 ผู้คิดค้นนวัตกรรมกำจัดไมโครพลาสติก
  • ไมโครพลาสติก หรือ ไมโครบีดส์ คือขยะพลาสติกที่มีขนาดน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร มันเป็นส่วนผสมสำคัญของผลิตภัณฑ์ประเภทสครับ ทั้งสบู่ แชมพู โฟมล้างหน้า ฯลฯ ที่ไหลลงสู่แหล่งน้ำและกำจัดยากด้วยความจิ๋วของมัน
  • เฟอร์เรรา ใช้แม่เหล็กเหลว (Ferrofluid) ซึ่งเป็นการผสมระหว่างน้ำมันกับแร่แมกเนไทท์ (Magnetite) ดูดซับหรือดึงเอาเจ้าไมโครพลาสติกออกจากสายน้ำ

ฟิอนน์ เฟอร์เรรา (Fionn Ferreira) วัยรุ่นชาวไอริชอายุ 18 ปี เจ้าของรางวัล Google Science Fair 2019 เวทีแข่งขันโครงการวิทยาศาสตร์ระดับโลกรุ่นอายุ 13-18 ปี ผู้คิดค้นนวัตกรรมกำจัดไมโครพลาสติกออกจากสายน้ำ หนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลกที่นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมกำลังหาทางแก้ปัญหากัน คว้าเงินรางวัลจำนวน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1,539,000 บาท)* 

เป็นที่ทราบกันดีว่าเจ้าไมโครพลาสติก หรือ ไมโครบีดส์ คือขยะพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร เกิดจากการแตกหักของขยะพลาสติกชิ้น (ที่เคย) ใหญ่ครั้งอยู่ในภูเขาขยะหรือลอยอยู่ในน้ำ อีกส่วนหนึ่งคือพลาสติกที่ถูกทำให้เล็กตั้งแต่การผลิต เช่น อนุภาคพลาสติกที่ถูกใช้ในเครื่องสำอางอย่าง สบู่ แชมพู ยาสระผม สครับ ยาสีฟัน และอื่นๆ

ความร้ายกาจของมันคือ มันเล็กมากเสียจนย่อยสลายไม่ได้ สิ่งมีชีวิตในท้องทะเลเข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาหารจึงกินเข้าไป เมื่อมนุษย์จับสิ่งมีชีวิตในทะเลมากิน เราจึงกินไมโครพลาสติกมือสองเข้าไปในร่างกายอีกที และเพราะพลาสติกคือสารเคมี การกินพลาสติกชิ้นจิ๋ว จึงเท่ากับรับสารเคมีที่อยู่ในพลาสติกเข้าร่างกายเราด้วย (ซึ่งเจ้าปลาน้อยหรือสิ่งมีชีวิตในทะเลย่อมได้รับไปก่อนหน้าเราเต็มๆ)

บนเวที Google Science Fair 2019 เวทีสำหรับนวัตกรรุ่นเยาว์อายุระหว่าง 13-18 ปี สนับสนุนโดย Lego, Virgin Galactic, National Geographic และ Scientific American เฟอร์เรราคือหนึ่งใน 24 ผู้เข้ารอบสุดท้าย (และจาก 100 คนในรอบก่อนสุดท้ายอีกทีหนึ่ง)

เฟอร์เรรา คือเด็กหนุ่มจากไอร์แลนด์ที่เติบโตในแถบชายฝั่งด้านตะวันตกของเมืองคอร์ก เขาบรรยายสภาพแวดล้อมรอบบ้านที่โตมาตลอด 18 ปีว่าเป็น ‘ธรรมชาติบริสุทธิ์’ และทั้งหมดกลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้ลุกขึ้นมาหาวิธีกำจัดเจ้าพลาสติกจิ๋วจำนวนมหาศาลชนิดนี้

เริ่มต้น เขาสนใจวิธีการขจัดคราบน้ำมันโดยใช้แร่แมกเนไทท์ของนักวิทยาศาสตร์ อาร์เดน วอร์เนอร์ (Arden Warner) ซึ่งเป็นการกำจัดคราบน้ำมันโดยไม่สร้างมลพิษและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

จนนำมาสู่การค้นคว้า ทดลอง และได้วิธีในแบบของเด็กหนุ่มวัย 18…

ด้วยความตั้งใจอยากแก้ปัญหาขยะไมโครพลาสติกในทะเล เขาใช้แม่เหล็กเหลว (Ferrofluid) ซึ่งเป็นการผสมระหว่างน้ำมันกับแร่แมกเนไทท์ (Magnetite) ดูดซับหรือดึงเอาเจ้าไมโครพลาสติกออกจากสายน้ำ

วิธีการของเฟอร์เรราคือ ใช้ Ferrofluid เข้าไปจับไมโครพลาสติก จากนั้นจึงใช้แม่เหล็กดูดเจ้าพลาสติกจิ๋วขึ้นจากสายน้ำ จากการทดลอง 1,000 ครั้ง พบว่ากำจัดไมโครพลาสติกตัวอย่างได้ราว 87 เปอร์เซ็นต์ ได้ผลอย่างมากในพลาสติกที่ผ่านเครื่องทำความสะอาดมาแล้ว ได้ผลน้อยกับพลาสติกประเภทโพลีโพรพีลีน (Polypropylene) หรือ PP เฟอร์เรราชี้ว่านี่เป็นเพียงความเป็นไปได้ที่จะกำจัดเจ้าไมโครพลาสติกออกไป แต่เขาจะพัฒนาโครงการต่อให้นำไปใช้ระดับอุตสากรรมให้ได้ต่อไป

นอกจากเฟอร์เรราจะสนใจเรื่องการวิจัยและเทคโนโลยี หลักฐานคือการเป็นเจ้าของรางวัลด้านวิทยาศาสตร์กว่า 12 ชิ้น ปัจจุบันกำลังยื่นเรื่องเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เขายังเป็น curator หรือผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ที่ Schull Planetarium พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ที่เมืองคอร์ก ประเทศไอร์แลนด์ บ้านเกิดของเขา พูดได้ 3 ภาษา เป็นผู้เชี่ยวชาญทรัมเป็ตและเล่นในวงออร์เคสตราด้วย  

รายการโปรดของเขาคือช่องยูทูบ NileRed และ Backyard Scientist นอกจากนั้นยังเป็นแฟนตัวยงของ เดวิด แอทเทนเบอเรอห์ (David Attenborough) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษและผู้ร่วมสร้างสารคดีชุด Life กับบีบีซีด้วย 

“การได้รับรางวัลทำให้ผมตั้งใจกับโปรเจ็คท์มากขึ้น และมันดีกว่านี้ได้แน่ด้วยคำแนะนำและคำวิจารณ์ต่างๆ” เฟอร์เรรามั่นใจ และทิ้งท้ายไว้ว่า

“สิ่งที่ผมอยากเห็นที่สุดคือโปรเจ็คท์และไอเดียของผมถูกนำไปประยุกต์ใช้งานในชีวิตจริง”​ 

*ค่าเงิน ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2562 ที่ 30.78 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ

อ้างอิง
Irish teenager wins global science award for removing microplastics from water
forbes
googlesciencefair

Tags:

คาแรกเตอร์(character building)นวัตกรรมสิ่งแวดล้อมวิทยาศาสตร์

Author:

illustrator

ณิชากร ศรีเพชรดี

แอดมิชชันเข้าคณะการเขียนและสิ่งพิมพ์เพราะคิดว่าเขาจะสอนให้เขียนนิยาย แทนที่จะได้เขียนจากจินตนาการ อาจารย์และทุกอย่างที่นั่นเคี่ยวกรำให้ทำ-คิด-เขียน-รู้สึกกับประเด็นสังคม ยังคงสนุก(มาก)กับงานสื่อสาร ฝันสูงสุดคือยังเข้มแข็งเขียนงานได้อย่างมีคุณภาพและฐานะดี

Related Posts

  • Voice of New Gen
    Project-based learning กระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้อวกาศไม่ไกลเกินเอื้อม ของ ‘ทีมกรุงเทพคริสเตียนฯ’

    เรื่อง The Potential

  • Social Issues
    สู้วิกฤตฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ด้วยการทำเครื่องฟอกอากาศ DIY

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา ภาพ ภาพพิมพ์ พิมมะรัตน์

  • Voice of New Gen
    INSHELTER ราวตากผ้าอัจฉริยะ นวัตกรรมที่เกิดจากความขี้เกียจ

    เรื่อง กิติคุณ คัมภิรานนท์

  • Growth & Fixed Mindset
    ‘กล้า’ เด็กหนุ่มที่เติบโตและอีโก้หายไปในโรงเพาะเห็ด

    เรื่อง

  • Unique Teacher
    ‘ครูฝ้าย’ ครูผู้ชักใยและชวนเด็กๆ ออกไปใช้ชีวิตนอกห้องเรียนด้วย PROJECT BASED LEARNING

    เรื่อง

Posts navigation

Newer posts

Recent Posts

  • ‘นิทานปากเปล่า’ เล่าความรักให้ลูกฟัง สร้างจินตนาการ สานสัมพันธ์ในครอบครัว: แม่จาว – วัชราวรรณ เพชรบุล
  • ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP4: การซึมซับและปรับตัว 
  • เปลี่ยนระบบนิเวศโรงเรียนเป็นสนามพลังบวก ยกระดับเด็กด้อยโอกาสสู่เด็กได้โอกาส: ผอ.วรรณรักษ์ หงษ์ทอง
  • F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง
  • Myth Universe : จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์สู่ Edutainment ความรู้นอกห้องเรียนที่เริ่มต้นจากคำถามและการเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง

Recent Comments

  • Existential crisis: วิกฤตชีวิตที่มาพร้อมกับคำถาม “แล้วฉันอยู่เพื่ออะไร” – EducationNet on Midlife Crisis: เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ทำไมใจถึงวิกฤต
  • The Psychological Wounds of Winnie the Pooh and His Friends: Exploring Characters from a Classic Literary Work - World Today News on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • Exploring the Psychological Wounds of Winnie the Pooh and Friends: A Fascinating Analysis - Archyde on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • 6 วิธีฝึกสอนให้ลูกเป็นเด็กมี Critical Thinking ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต – โรงเรียนมารีวิทยา ป on CRITICAL THINKING: สอนเด็กให้รู้คิด ผิดหรือถูกก็ใช้วิจารณญาณเป็น
  • Best รูป พลเมือง ดี Update New – Haiduongcompany.com on สอนและสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เรื่องไม่ง่ายที่ครูทำได้

Archives

  • July 2025
  • June 2025
  • May 2025
  • April 2025
  • March 2025
  • February 2025
  • January 2025
  • December 2024
  • November 2024
  • October 2024
  • September 2024
  • August 2024
  • July 2024
  • June 2024
  • May 2024
  • April 2024
  • March 2024
  • February 2024
  • January 2024
  • December 2023
  • November 2023
  • October 2023
  • September 2023
  • August 2023
  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • October 2021
  • September 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • April 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • November 2019
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017

Categories

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Uncategorized
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel