Skip to content
พัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถาม
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    อ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear ParentsEarly childhoodHow to get along with teenager
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Myth/Life/CrisisLife classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy life
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
พัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถาม

Month: July 2024

Weaponized Incompetence: ทำไมการ ‘แกล้งทำไม่เป็น’ เพื่อโยนงานให้คนอื่น ถึงเป็นเรื่องท็อกซิกในความสัมพันธ์
Relationship
30 July 2024

Weaponized Incompetence: ทำไมการ ‘แกล้งทำไม่เป็น’ เพื่อโยนงานให้คนอื่น ถึงเป็นเรื่องท็อกซิกในความสัมพันธ์

เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • การใช้ประโยชน์จากการ ‘ทำไม่เป็น’ เพื่อเลี่ยงที่จะได้ไม่ต้องทำสิ่งนั้นและโยนให้คนอื่นทำแทน อาจดูเป็นเพียงเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่ใช้ในการปฏิเสธโดยอ้อม แต่หากทำพฤติกรรมเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ในระยะยาวอาจส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ของเราได้
  • จริงๆ การทำไม่เป็นไม่ใช่เรื่องผิดเลย แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือ คนนั้น ‘อยากเรียนรู้’ ที่จะทำให้เป็นไหม
  • ถ้าเป็นคนที่ทำไม่เป็น ให้จำเอาไว้ว่าการแกล้งทำไม่เป็นหรือไม่ยอมเรียนรู้ที่จะทำให้เป็น เป็นสิ่งที่กำลังทำร้ายชีวิตคู่อยู่ คู่ของเราต้องการคู่ครองเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่เป็นเด็กที่ต้องคอยทำโน้นทำนี้ให้ตลอดเวลา

อยากสบายก็แค่บอกว่า “ทำไม่เป็น”

ข้อความประมาณนี้มาจากโพสต์หนึ่งในเฟซบุ๊ก และมีคนจำนวนมากเข้ามาแสดงความรู้สึกขำขันกับเรื่องนี้ เชื่อว่าทุกคนล้วนเคยเจอกับสถานการณ์ที่ตัวเองไม่อยากทำอะไรบางอย่าง เลยเลือกที่จะบอกไปว่า ‘ทำไม่เป็น’ เพื่อเลี่ยงที่จะได้ไม่ต้องทำสิ่งนั้นและโยนให้คนอื่นทำแทน

สถานการณ์แบบนี้มักพบได้บ่อยในการทำงาน แต่จริงๆ แล้วพฤติกรรมเช่นนี้มีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ในบ้านแล้ว ตัวอย่างเช่น ผู้ชายบางคนอาจหลีกเลี่ยงไม่ทำงานบ้านด้วยการบอกว่า ‘ทำไม่เป็น’ เพื่อให้ผู้หญิงเป็นคนทำทั้งหมด

การใช้ประโยชน์จากการทำไม่เป็น หรือที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Weaponized Incompetence อาจดูเป็นเพียงเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่ใช้ในการปฏิเสธโดยอ้อม แต่หารู้หรือไม่ว่าการทำพฤติกรรมเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ในระยะยาวอาจส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ของเราได้

Weaponized Incompetence คืออะไร?

เมื่อแปล Weaponized Incompetence ตรงตัวจะได้ว่า ‘การนำการไร้ความสามารถมาใช้เป็นอาวุธ’ หมายถึงการแกล้งว่าตัวเองไร้ความสามารถ (Incompetence) ในงานบางอย่าง เพื่อที่จะได้ไม่ต้องทำงานนั้นและให้คนอื่นมาทำแทน โดยบุคคลอาจรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ว่ากำลังทำพฤติกรรมนี้ และพฤติกรรมนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนโดยไม่ได้แบ่งแยกว่าเป็นชายหรือหญิง

Weaponized Incompetence เป็นพฤติกรรมก้าวร้าวแบบแยบยล (Passive Aggressive) รูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการทำร้ายอีกฝ่ายแบบอ้อมๆ ผ่านการสร้างความไม่สมดุลในความสัมพันธ์ กล่าวคือ มีฝ่ายหนึ่งจะต้องทำงานหนัก ในขณะที่อีกฝ่ายทำงานแค่นิดเดียวหรือไม่ต้องทำงานเลย

พฤติกรรมนี้เป็นกระแสโด่งดังมากในโซเชียลมีเดียเมื่อปีที่แล้ว โดยเฉพาะใน TikTok ของฝั่งโลกตะวันตก คำว่า Weaponized Incompetence ในเวลานั้นเป็นหัวข้อที่มียอดเข้าชมมากถึง 148 ล้านวิว โดยเนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นฝ่ายหญิงออกมาบอกเล่าเรื่องราวว่าสามีของตัวเองเหมือนจะแกล้งทำงานบ้านหรือดูแลลูกไม่เป็น เพื่อจะได้ไม่ต้องทำ หรือแม้แต่ตั้งใจทำงานลวกๆ เพื่อทำให้ฝ่ายหญิงหงุดหงิดและเข้าไปทำแทน

เรื่องราวทั้งหมดสรุปรวบยอดได้ว่า คนอื่นอาจมองว่าการที่ผู้ชายทำงานบ้านหรือเลี้ยงลูกไม่เป็นดูเป็นเรื่องตลกและน่ารัก แต่สำหรับฝ่ายหญิงเองเรื่องนี้ไม่ตลกเลย เพราะว่ามันทำให้เกิดความรู้สึกไม่ยุติธรรม สร้างภาระและความเครียดให้กับฝ่ายหญิงที่ต้องทำงานเองทั้งหมดด้วยตัวคนเดียว

อันที่จริงแล้วคำว่า Weaponized Incompetence มักใช้อธิบายในกรณีของความสัมพันธ์คู่รัก แต่ในโซเชียลมีเดียก็มีการนำไปใช้อธิบายเหตุการณ์ลักษณะที่คล้ายคลึงกันนี้ในบริบทอื่นๆ ด้วย เช่น เพื่อน ที่ทำงาน ฯลฯ

คนเราใช้ Weaponized Incompetence เพื่ออะไร?

  • ลดความรับผิดชอบ – คำว่า ‘ทำไม่เป็น’ ดูเป็นข้ออ้างที่มีน้ำหนักเพียงพอให้เราปฏิเสธงานได้ ซึ่งก็เป็นการลดภาระงานที่เราต้องทำไปโดยปริยาย
  • หลีกเลี่ยงความลำบากหรือความอึดอัด – บางคนอาจรู้สึกกลัว กังวล ไม่มั่นใจ หรือไม่ชอบทำงานนั้น เลยแกล้งทำไม่เป็นเพื่อปฏิเสธที่จะทำ
  • เรียกร้องความสนใจ – บางครั้งการดูทำอะไรไม่เป็นอาจทำให้คนอื่นสนใจ รู้สึกสงสาร และเข้ามาช่วยเหลือได้
  • รักษาการควบคุม – ในความสัมพันธ์ที่มีความไม่สมดุลสูง อาจมีฝ่ายหนึ่งใช้การแกล้งทำไม่เป็นเพื่อควบคุมบงการ (Manipulate) อีกฝ่าย เป็นเหมือนการสั่งเป็นนัยๆ ว่า “ฉันทำไม่เป็น เธอทำเป็นก็ทำแทนฉันสิ”

แล้วถ้าเขาทำไม่เป็นจริงๆ ล่ะ?

เป็นไปได้ว่าคนคนหนึ่งจะไม่ได้แกล้งทำไม่เป็น แต่เขาทำไม่เป็นจริงๆ ซึ่งการทำไม่เป็นไม่ใช่เรื่องผิดเลย แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือ คนนั้น ‘อยากเรียนรู้’ ที่จะทำให้เป็นไหม

ภูมิหลังของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่การเลี้ยงดูในวัยเด็กค่อนข้างที่จะมีผล บางคนอาจเติบโตมาในครอบครัวที่ตัวเองไม่ต้องทำงานบ้าน เลยไม่ได้เรียนรู้ที่จะทำงานบ้าน หรือบางคนโดนสปอยล์มากเกินไปจนไม่ได้เรียนรู้ที่จะดูแลตัวเอง

ถ้าพฤติกรรมแบบนี้ปล่อยไว้จนถึงวัยผู้ใหญ่ คนเหล่านี้จะสร้างความไม่สมดุลในความสัมพันธ์ผ่านการทำให้อีกฝ่ายทำงานคนเดียว และก็ไม่คิดเรียนรู้ที่จะทำให้เป็นด้วย เพราะสามารถอ้างความไม่รู้เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ต้องทำงานก็ได้

ก็แค่ ‘ทำไม่เป็น’ จะส่งผลเสียอะไรมากมาย

จากบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Archives of Sexual Behavior เมื่อปี 2022 เผยว่า ผู้หญิงมีความปรารถนาทางเพศลดลงเมื่อรับรู้ว่า ‘คู่ครองฝ่ายชายชอบพึ่งพาตน’ และ ‘มีการแบ่งงานที่ไม่ยุติธรรม’

ทั้ง 2 ปัจจัยนี้มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยผู้หญิงที่รายงานว่าตน ‘ทำงานบ้าน’ ในสัดส่วนที่สูงกว่าคู่ครองฝ่ายชาย มีแนวโน้มที่จะรับรู้ว่าคู่ครองฝ่ายชาย ‘ต้องพึ่งพา’ ให้ตนเป็นคนทำงานบ้านให้ และทั้ง 2 ปัจจัยนี้เองก็สัมพันธ์กับความปรารถนาทางเพศของฝ่ายหญิงที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

เหตุที่ทำให้ความปรารถนาทางเพศลดลงเป็นเพราะว่า ความไม่เท่าเทียมในการทำงานบ้านทำให้เส้นแบ่งระหว่างบทบาทของแม่กับคู่รักไม่ชัดเจน และความรู้สึกที่ว่าตัวเองเป็นเหมือนแม่ของคู่รักก็ไม่เอื้อให้เกิดความปรารถนาทางเพศได้

นอกจากนี้ Claudia de Llano นักบำบัดด้านชีวิตแต่งงานและครอบครัว กล่าวว่า การแบ่งหน้าที่ที่ไม่สมดุลจะก่อให้เกิดความคับข้องใจ (Frustration) และความขุ่นเคืองใจ (Resentment) ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจะเริ่มไม่เชื่อใจในคู่ของเรา เพราะเรารู้สึกว่าเขาไม่สามารถพึ่งพาได้

เมื่อเหตุการณ์เช่นนี้ดำเนินต่อไปนานวันเข้า เราจะล้มเหลวในการสื่อสาร (Communication Breakdown) เพราะเราลังเลที่จะแสดงความกังวลหรือความคับข้องใจที่เรามี ด้วยความกลัวที่ว่าคู่ของเราจะบอกว่ามันเป็นเรื่องงี่เง่าไร้สาระ หรือไม่ก็ใช้ Weaponized Incompetence ในการหลีกเลี่ยงการทำงานนั้นต่อไป

เราจะจัดการกับ Weaponized Incompetence ได้อย่างไร?

Dr. Kurt Smith ผู้ให้บริการปรึกษาและนักบำบัดด้านชีวิตแต่งงานและครอบครัว แนะนำว่า วิธีที่ง่ายที่สุดคือ พูดออกไปอย่างตรงไปตรงมา อย่ายอมรับและใช้การนิ่งเฉยเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง

สิ่งที่ควรพูดออกไปควรเน้นว่าเราต้องการ ‘ความพยายามตั้งใจ’ และอย่าไขว้เขวไปกับคำที่เขาบอกว่าทำไม่ได้หรือทำแล้วจะออกมาแย่ ให้เขาแสดงความพยายามตั้งใจออกมาและเราก็ลองเชื่อใจว่าเขาจะสามารถทำได้ หรืออย่างน้อยก็เชื่อใจว่าเขาจะสามารถ ‘เรียนรู้’ ที่จะทำได้

Dr. Smith กล่าวถึงคนที่ใช้ Weaponized Incompetence ว่า ถ้าเป็นคนที่ทำไม่เป็น ให้จำเอาไว้ว่าการแกล้งทำไม่เป็นหรือไม่ยอมเรียนรู้ที่จะทำให้เป็น เป็นสิ่งที่กำลังทำร้ายชีวิตคู่อยู่ คู่ของเราต้องการคู่ครองเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่เป็นเด็กที่ต้องคอยทำโน้นทำนี้ให้ตลอดเวลา

บางคนอาจจะชอบความโรแมนติกและมองงานบ้านไม่ใช่กิจกรรมที่โรแมนติก ให้ลองเปลี่ยนมุมมองว่างานบ้านก็เป็นเรื่องโรแมนติกที่ใช้ในการแสดงความรัก วิธีนี้ก็จะช่วยให้เราอยากทำงานบ้านได้ ซึ่งก็อาจจะมีงานบ้านบางอย่างที่เราไม่ชอบ ขอให้บอกกับอีกฝ่ายตรงๆ และตกลงให้ชัดเจนว่าใครจะทำหน้าที่อะไร

สุดท้าย Dr. Smith สรุปว่า ให้มองชีวิตคู่เป็นเหมือนทีมทีมหนึ่ง การที่เราทำงานน้อย ไม่ได้หมายความว่าทีมจะได้ทำงานน้อยด้วย เพราะอีกฝ่ายต้องเป็นคนคอยรับภาระงานที่เราไม่ได้ทำ ถ้าเราทำงานน้อย แต่อีกฝ่ายทำงานมาก มันก็ไม่สมดุลและทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่ามันไม่ยุติธรรม ซึ่งนั่นจะนำไปสู่ปัญหาในความสัมพันธ์ได้

อ้างอิง

Brittany Wong. (2022). ‘Weaponized Incompetence’ Screws Women Over At Work And In Relationships.

Elyse Wanshel. (2023). Women Call Out Men For Using ‘Weaponized Incompetence’ To Avoid Household Chores.

Harris, E.A., Gormezano, A.M. & van Anders, S.M. (2022). Gender Inequities in Household Labor Predict Lower Sexual Desire in Women Partnered with Men. Archives of Sexual Behavior, 51, 3847-3870.

Kate Balestrieri. (2022). What Is Weaponized Incompetence? Is it bad?

Mark Travers. (2023). 2 Ways ‘Weaponized Incompetence’ Might Be Hurting Your Relationship.

Sanjana Gupta. (2023). Why Weaponized Incompetence Hurts Your Relationship.

Tags:

ความสัมพันธ์เพื่อนPassive Aggressiveชีวิตคู่ที่ทำงานWeaponized Incompetenceการแกล้งทำไม่เป็น

Author:

illustrator

ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Book
    เพื่อนยาก: ความผูกพัน ความฝัน ความรับผิดชอบและการจากลาชั่วนิรันด์ในนาม ‘มิตรภาพ’

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Book
    เพื่อนคนเก่ง: ในมิตรภาพอันแสนซับซ้อนนั้นมีทั้งความรักและความอิจฉา

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Book
    ในโมงยามแห่งความรัก เราทุกคนล้วนบ้า…และมาจากดวงจันทร์

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • platonic
    Relationship
    เพื่อนสนิทในที่ทำงานมีจริงไหม? ทำความเข้าใจมิตรภาพในที่ทำงานผ่านแนวคิด Platonic Love

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Relationship
    ทำความเข้าใจความรักกับการเมืองด้วย Balance theory

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

OMG2: ‘เพศศึกษา’ เรื่องที่ครูไม่ได้สอน แต่กลับคอยซ้ำเติมความเชื่อผิดๆ
Movie
26 July 2024

OMG2: ‘เพศศึกษา’ เรื่องที่ครูไม่ได้สอน แต่กลับคอยซ้ำเติมความเชื่อผิดๆ

เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • OMG2 เป็นภาพยนตร์อินเดียในปี 2023 บอกเล่าเรื่องราวของวิเวก เด็กมัธยมที่ถูกไล่ออกจากโรงเรียนเพราะคลิปอนาจารที่เขาถูกแอบถ่ายในห้องน้ำ ทำให้พ่อของเขาตัดสินใจฟ้องร้องโรงเรียนจนเป็นข่าวดังระดับประเทศ
  • ภาพยนตร์พยายามชี้ให้เห็นถึงความทุกข์ใจของเด็กคนหนึ่งที่ขาดความรู้เรื่องเพศ แต่กลับไม่มีผู้ใหญ่คนไหนที่พร้อมรับฟังหรือให้คำปรึกษา สุดท้ายเขาจึงค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งล้วนแต่พาให้หลงทาง
  • เช่นเดียวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย หากเด็กๆ ได้รับความรู้เรื่องเพศศึกษาอย่างเหมาะสมจากโรงเรียน น่าจะช่วยลดความเสี่ยงจากการหลงเชื่อข้อมูลผิดๆ ซึ่งส่งผลเสียต่อตนเองทั้งทางตรงและทางอ้อม

หนึ่งในความทรงจำเกี่ยวกับพฤติกรรมของครูที่ผมรู้สึกรังเกียจที่สุดเกิดขึ้นตอนที่ผมอยู่ม.5 จำได้ว่าวันนั้นครูประจำชั้นของผมถามทุกคนในห้องว่า “พวกเอ็งรู้จักเจ้า xxx ไหมที่อยู่ม.6” ก่อนจะใช้เวลาเกือบ 10 นาทีในการเล่าถึงพี่ xxx ที่ถูกแอบถ่ายคลิปขณะช่วยตัวเองอยู่ในห้องน้ำอย่างละเอียดยิบ  

สิ่งที่ค้างคาใจผมมาตลอดคือทำไมครูถึงเอาเรื่องดังกล่าวมาเล่าให้ทุกคนฟังอย่างสนุกสนาน แถมตีตราว่ารุ่นพี่คนดังกล่าวเป็นพวกบ้ากามและโรคจิต ทั้งที่การช่วยตัวเองเป็นเรื่องธรรมชาติแถมเขาก็ทำในห้องน้ำที่ปิดล็อก แต่ครูกลับไม่กล่าวโทษหรือเปิดเผยชื่อของพวกคึกคะนองที่แอบถ่ายสักนิด ส่งผลให้พี่ xxx ที่ตกเป็นเหยื่อเปลี่ยนสถานะกลายมาเป็น ‘จอมหื่น’ ในเรื่องเล่าที่ไม่รู้จบของใครหลายคนในโรงเรียน 

เช่นเดียวกับ ‘วิเวก’ เด็กชายวัยมัธยมจากภาพยนตร์อินเดียเรื่อง OMG2 ที่เผชิญชะตากรรมถูกถ่ายคลิปในลักษณะเดียวกัน แต่เรื่องราวของเขากลับลุกลามไปไกลกว่านั้น เพราะหลังจากคลิปลับถูกส่งต่อไปนอกโรงเรียน ผู้อำนวยการก็เรียก ‘กันติ’ พ่อของวิเวกมาเซ็นใบลาออกให้ลูกโทษฐานทำเรื่องต่ำช้าเป็นเหตุให้โรงเรียนสูญเสียภาพลักษณ์ มิหนำซ้ำตัวกันติเองยังถูกไล่ออกจากที่ทำงานเพราะหัวหน้าของเขากลัวจะถูกตราหน้าว่าเป็น ‘คนประเภทเดียวกัน’ สุดท้ายกันติจึงตัดสินใจฟ้องศาลถึงความอยุติธรรมที่ได้รับจากโรงเรียนจนกลายเป็นข่าวใหญ่ระดับประเทศ

วิเวกถือเป็นตัวแทนของวัยรุ่นชายหลายคนทั้งในอินเดียหรือแม้แต่ประเทศไทยที่ไม่มีความรู้เรื่องเพศมากนัก ด้วยความไม่รู้ทำให้เขาตกเป็นเหยื่อของความเชื่อผิดๆ ที่ว่า “ขนาดเป็นตัวบ่งชี้ความเป็นชาย” “อวัยะเพศสามารถวัดได้จากขนาดของนิ้ว” หรือ “การช่วยตัวเองเป็นเรื่องบาป” แม้ตอนแรกเขาจะพยายามไปปรึกษาครูผู้ชาย แต่ครูกลับดุเขาแทนคำตอบ 

ด้วยความสงสัยและความไม่รู้ วิเวกจึงพยายามหาข้อมูลต่างๆ ด้วยตัวเอง ซึ่งน่าเสียดายที่เขามักเจอแต่ชุดข้อมูลผิดๆ ในอินเตอร์เน็ตรวมไปถึงโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อขายยากระตุ้นสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งตัวเขาเองก็หลงซื้อยาต่างๆ มาใช้แบบเกินขนาดจนถึงขั้นเข้าโรงพยาบาล

ผมมองว่าการขาดความรู้เรื่องเพศถือเป็นความทุกข์ของวัยรุ่นหลายคน และแม้สังคมจะพยายามสื่อสารว่าโลกปัจจุบันเปิดรับเรื่องเพศมากกว่าสมัยก่อน ซึ่งมุมหนึ่งผมก็เห็นด้วย แต่อีกมุมต้องทำความเข้าใจว่าการเปิดรับเรื่องเพศในสื่อต่างๆ กับการให้ความรู้เรื่องเพศนั้นเป็นคนละเรื่องกัน

สำหรับการให้ความรู้เรื่องเพศนั้น ผมเห็นด้วยกับกันติที่บอกว่า “โรงเรียนคือผู้ที่ต้องรับผิดชอบ” เพราะปัจจุบันวิชาเพศศึกษาที่โรงเรียนสอนยังคงมุ่งเน้นแต่เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สรีระและพัฒนาการทางเพศ รวมไปถึงค่านิยมในการมีเพศสัมพันธ์หลังแต่งงาน ซึ่งทั้งหมดแทบไม่ต่างจากสมัยที่ผมอยู่ชั้นมัธยม อีกทั้งรูปแบบการเรียนการสอนยังคงสไตล์เดิมคือการยืนบรรยาย โดยระหว่างนั้นหากนักเรียนคนไหนถามเยอะหรืออยากรู้เรื่องเพศบางประเด็นในมุมที่เจาะลึก ครูก็มักตัดบทด้วยการดุให้เด็ก ‘อับอาย’ หรือไม่ก็มองว่าเด็กคนนั้นเป็นพวก ‘หมกมุ่นในกาม’ นำไปสู่การบูลลี่ที่ครูเองก็อาจนึกไม่ถึง 

ถึงตรงนี้ อาจมีคนสงสัยว่าแล้วจะให้โรงเรียนสอนหรือเปลี่ยนแปลงอะไร 

คำตอบของผมคือ อยากเสนอให้คุณครูปรับความเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ได้เป็นเรื่องสกปรกหรือผิดบาปอย่างที่ค่านิยมสมัยก่อนปลูกฝัง 

อีกทั้งโรงเรียนควรสอนเพศศึกษาที่มุ่งเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการมีสุขภาวะทางเพศ เช่น การตระหนักถึงสิทธิในร่างกาย,  การเข้าใจและยอมรับความหลากหลายของเพศวิถี, การยินยอมทางเพศในบริบทต่างๆ (sexual consent) , วิธีป้องกันตัวเองจากภัยคุกคาม ความรุนแรง การทารุณกรรม และการล่วงละเมิดทางเพศทั้งในชีวิตจริงและโซเชียลมีเดีย ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีประโยชน์และปรับใช้ในชีวิตจริงได้ทันที 

โดยเฉพาะตัวคุณครูเองต้องร่วมด้วยช่วยกันในการเป็นผู้พิทักษ์สิทธิของเด็กมากกว่าพาตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการซ้ำเติมเด็กแบบกรณีครูประจำชั้นของผม

นอกจากนี้ ผมเชื่อว่าการขาดความรู้เป็นสาเหตุของความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นหากเด็กได้รับความรู้เรื่องเพศศึกษาอย่างเหมาะสมในโรงเรียน รวมถึงทางโรงเรียนอาจจะมีคุณครูหรือนักจิตวิทยาประจำโรงเรียนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามาปรึกษาปัญหาเรื่องเพศอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่มองว่าเป็นเรื่องน่าอายหรือผิดบาปก็น่าจะเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ตรงจุด พร้อมกับลดโอกาสของเยาวชนในการเผชิญความเสี่ยงจากการลองถูกลองผิดด้วยตัวเองผ่านชุดข้อมูลในอินเตอร์เน็ตที่ไม่ได้การันตีความถูกต้องเสมอไป 

Tags:

ครูภาพยนตร์การศึกษาเพศศึกษาค่านิยม

Author:

illustrator

อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

เจ้าของเพจ The Last Bogie ผู้ตัดสินใจขึ้นรถไฟขบวนสุดท้าย โดยมีปลายทางอยู่ที่สถานี 'ยูโทเปีย'

Illustrator:

illustrator

ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

Related Posts

  • Social IssuesMovie
    อานนเป็นนักเรียนตัวอย่าง: อนาคตสีจางๆ ของเด็กไทย ในรั้วโรงเรียนที่ล้อมด้วยอำนาจและผลประโยชน์

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ PHAR

  • Learning Theory
    ทำไมเราควรมองพัฒนาการเรียนรู้ผ่าน ‘ม่านวัฒนธรรม’

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Movie
    Dead Poets Society: คงจะดีถ้าครูสอนให้เราเรียนรู้ที่จะเติบโตในแบบของตัวเอง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Education trend
    AI กับอนาคตการศึกษา: ตัวช่วยที่ทำให้เด็กเก่งขึ้น หรือตัวการขัดขวางการเรียนรู้ ทำลายอาชีพครู

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Transformative learning
    ทำไมครูควรมีมุมมอง พหุวัฒนธรรมศึกษา (Multicultural Education)

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

เปลี่ยนครูพักลักจำ เป็น ‘หลักสูตรทอผ้า’ การเรียนรู้ที่ไม่มีใครแก่เกินสอนหรืออ่อนเกินเรียน: แม่หลวงทัญกานร์ ยานะโส
Everyone can be an EducatorCreative learning
24 July 2024

เปลี่ยนครูพักลักจำ เป็น ‘หลักสูตรทอผ้า’ การเรียนรู้ที่ไม่มีใครแก่เกินสอนหรืออ่อนเกินเรียน: แม่หลวงทัญกานร์ ยานะโส

เรื่อง ชุติมา ซุ้นเจริญ ภาพ ปริสุทธิ์

  • แม่หลวงทัญกานร์ ยานะโส คือตัวอย่างของนักจัดการเรียนรู้ที่ใช้ฐานทุนทางวัฒนธรรมมายกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งผลลัพธ์ที่มากกว่านั้นคือความภาคภูมิใจในตัวเองและการส่งต่อแรงบันดาลให้คนอื่น
  • หลังจากสะสมองค์ความรู้เรื่องการทอผ้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์จนได้รับการยอมรับ ปัจจุบันกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าฝ้ายเชิงดอยได้พัฒนา ‘หลักสูตรการทอผ้าจกล้านนาและการย้อมสีธรรมชาติ (หินโมคคัลลาน)’
  • กุญแจของความสำเร็จอยู่ที่การสร้างความเข้าใจและออกแบบการเรียนรู้ร่วมกัน ปรับตัวและยืดหยุ่นตามบริบทของผู้เรียน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการสร้างความมั่นใจให้แต่ละคนสามารถพัฒนาตนเองต่อไปได้ 

จาก ‘กี่’ ที่ถูกทิ้งร้าง เส้นฝ้ายที่ไม่มีใครเหลียวแล ทัญกานร์ ยานะโส แม่หลวงร่างเล็ก (ผู้ใหญ่บ้าน) แห่งบ้านเชิงดอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ไม่เพียงพลิกฟื้นภูมิปัญญาที่หลายคนไม่เห็นค่าให้กลับมาเป็นอาชีพสร้างงานสร้างรายได้ ในนาม ‘กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าฝ้ายเชิงดอย’ ยังพัฒนาสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ และต่อยอดเป็น หลักสูตรการทอผ้าจกล้านนาและการย้อมสีธรรมชาติ (หินโมคคัลลาน)  ซึ่งเปิดกว้างสำหรับผู้เรียนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ไม่จำกัดพื้นฐานการศึกษา ภาษาหรือชาติพันธุ์

เพราะหลักสูตรทอผ้านี้ถูกออกแบบให้ยืดหยุ่นสำหรับผู้เรียนที่มีความหลากหลาย บนหลักการที่ทั้งผู้ถ่ายทอดความรู้และผู้เรียนรู้ร่วมออกแบบการเรียนรู้ด้วยกัน โดยเป้าหมายปลายทาง…ไม่ใช่แค่การทอผ้าเป็นขายผ้าได้ แต่คือการเสริมสร้างความมั่นใจเพื่อให้แต่ละคนสามารถพัฒนาตนเองต่อไป

“สิ่งที่น่าดีใจไม่ใช่แค่การสร้างอาชีพ เพราะวันนี้ทุกคนได้รับการยกย่องและเคารพนับถือ ว่านี่คือ พ่อครู แม่ครู เขาสามารถเป็นวิทยากรสอนคนอื่นต่อได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สร้างไม่ได้ง่ายๆ ทำให้ชาวบ้านทุกคนเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง” แม่หลวงทัญกานร์ กล่าวด้วยน้ำเสียงที่เต็มไปด้วยความภาคภูมิใจ

บทเรียนที่ 1 ก่อร่างสร้างงานบนฐานทุนเดิม

 ในอดีตผู้หญิงบ้านเชิงดอยทอผ้าเป็นแทบทุกครัวเรือน และยึดการทอผ้าเป็นอาชีพหลัก ส่วนผู้ชายถ้ามีเวลาว่างก็จะมาร่วมทอผ้าบ้าง เป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่สืบทอดมายาวนาน แต่เมื่อสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป คนในหมู่บ้านก็แทบไม่ทอผ้ากันอีกเลย 

“ช่วงนั้นชาวบ้านหันไปปลูกลำไยกัน ก็เป็นเรื่องอาชีพและรายได้ที่ดีกว่า ชาวบ้านก็ทิ้งอุปกรณ์ทอผ้าต่างๆ ขณะที่ตัวเราเองไปเรียนหนังสือและทำงานที่อื่น พอกลับมาบ้านเริ่มรู้สึกว่าทำไมเสียงทอผ้าหายไปหมดเลย ก็มาคิดวิเคราะห์ดูว่าจริงๆ แล้วภูมิปัญญาการทอผ้าไม่ได้หายไปไหน ทุนยังอยู่ ความรู้ยังอยู่ เพียงแต่วิถีอาชีพเท่านั้นที่เปลี่ยนไป ตอนนั้นก็คุยกับเพื่อนว่า เรามาเริ่มตั้งกลุ่มกันใหม่มั้ย เพราะว่าไม่อยากให้สิ่งดีๆ ของชุมชนหายไป ก็มาเริ่มตั้งต้นรวมกลุ่มใหม่เมื่อปี 2550 ไปรวบรวมคนที่ยังรักการทอผ้าอยู่ ซึ่งมีไม่มาก ราว 3-4 คน ช่วยกันขับเคลื่อนเรื่อยมาและพยายามทำการตลาดเพิ่มขึ้น” แม่หลวงทัญกานร์ เล่าถึงจุดตั้งต้นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าฝ้ายเชิงดอย ซึ่งเธอรั้งตำแหน่งประธานกลุ่ม

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าฝ้ายเชิงดอย
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าฝ้ายเชิงดอย

การกลับมาพลิกฟื้นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าฝ้ายเชิงดอย ประกอบกับการทำการตลาดที่แข็งขัน ทำให้ ‘ผ้าฝ้ายเชิงดอย’ ได้รับการยอมรับทั้งในส่วนของลวดลายการถักทอที่มีอัตลักษณ์ สีสันโดดเด่นแปลกตา จากการย้อมสีด้วยหินโมคคัลลาน วัตถุดิบจากธรรมชาติที่ผ่านการเฟ้นหาและสร้างสรรค์โดยปราชญ์ชุมชน ส่งผลให้เป็นที่ต้องการของตลาดและมีชื่อเสียงในฐานะผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่แล้วทุกอย่างก็ต้องหยุดชะงักอีกครั้ง เมื่อเกิดการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 

“ทุกอย่างเหมือนปิดสวิตช์หมดเลย กลุ่มได้รับผลกระทบอย่างมาก ขณะเดียวกันชาวบ้านในหมู่บ้านก็ได้รับผลกระทบจากการว่างงาน และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ตอนนั้นจึงตัดสินใจเขียนข้อเสนอ ‘โครงการการพัฒนาเพื่อยกระดับทักษะฝีมือการทอผ้าและเพิ่มโอกาสทางการตลาดของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19’ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ในเรื่องของการพัฒนาอาชีพ เพราะหวังเป็นทางรอดของชาวบ้านและสานต่องานของกลุ่มให้เข้มแข็งขึ้น

“ตอนนั้นโชคดีได้รับทุน เป็นจังหวะที่ดี เราได้ไปรวบรวมชาวบ้านที่ยังรักอาชีพนี้อยู่ ไปขอพ่อครูแม่ครูที่เคยย้อมผ้าสีธรรมชาติ เคยทอผ้า ซึ่งตอนนี้ก็อายุเยอะแล้วให้มารวมตัวกันอีกครั้ง มาช่วยกันถ่ายทอดความรู้การทำผ้า และรวบรวมชาวบ้านที่สนใจกลับมาเรียนรู้การทอผ้า มาช่วยกันพัฒนาสานต่อทุนในชุมชน ซึ่งหลังจากที่ทำงานขับเคลื่อนกลุ่มได้ 1 ปี เราก็พบว่าเราทำได้ และกลุ่มมีความเข้มแข็งขึ้นมาก”

บทเรียนที่ 2 ความรู้ที่ถูกเผยแพร่ย่อมไม่สูญหาย

แม่หลวงทัญกานร์ เล่าว่า พื้นเพของอำเภอจอมทองและบริเวณใกล้เคียงจะทำผ้าทอเหมือนกันหมด ดังนั้นจึงต้องการสร้างความแตกต่าง และสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น เพราะนั่นหมายถึงการขยายตลาดให้กว้างขึ้นด้วย

“ถ้าตลาดเราดี เราก็สามารถขยายกิจการ ขยายการจ้างงานไปถึงคนอื่นๆ ได้ด้วย ก็เลยเกิดแนวคิดการทำผ้าจกและการแปรรูป นอกจากนี้ก็เน้นในเรื่องของสีธรรมชาติ เพราะพื้นเพชุมชนเรามีสีเปลือกไม้ สีลูกไม้ที่นำมาทำได้ และเรายังมีปราชญ์ชุมชนที่ชอบคิดค้นทดลอง นำหินโมคคัลลานแล้วมาลองย้อมจนได้สีย้อมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน”

ด้วยเหตุนี้ แม่หลวงทัญกานร์จึงเดินหน้าทำโครงการต่อเนื่องภายใต้การสนับสนุนของกสศ. โดยเน้นการต่อยอดทักษะฝีมือการทอผ้าของสมาชิก ทั้งในด้านการพัฒนาลายผ้าทอ การทอผ้าจกที่กำลังสูญหาย รวมถึงการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งหลังจากได้สะสมองค์ความรู้มาระยะหนึ่ง เธอก็ตระหนักว่าสิ่งที่จะรักษามรดกภูมิปัญญานี้ไว้ก็คือการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่คนรุ่นต่อไป

“ถ้าเราสอนแบบเมื่อก่อน คือถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกผ่านการเรียนรู้แบบครูพักลักจำ ความรู้ก็จะอยู่ในตัวตนของคนคนหนึ่ง แต่ถ้าเราบันทึกเป็นความรู้ หรือทำเป็นหลักสูตร ความรู้เหล่านี้จะไม่สูญหาย และถูกเผยแพร่ออกไปได้กว้างขวางขึ้น คนรับรู้ได้เยอะขึ้น 

เพราะเดี๋ยวนี้สถานการณ์โลกเปลี่ยนไป มีวัฒนธรรมเข้ามามากมายหลากหลายเต็มไปหมด ดั้งนั้นถ้าเราหวงความรู้ต่างๆ เหล่านี้ไว้ สุดท้ายสิ่งดีๆ ที่เรามีจะถูกกลืนไป”

ในที่สุดความรู้ที่เปรียบเสมือนสมบัติส่วนตัวของพ่อครูแม่ครู ถ่ายทอดกันครอบครัวหรือในชุมชน ก็ได้รับการรวบรวมและออกแบบเป็น หลักสูตรการทอผ้าจกล้านนาและการย้อมสีธรรมชาติ (หินโมคคัลลาน) และวางแนวทางจัดการเรียนรู้ใน 2 รูปแบบ คือ หลักสูตรเพื่อการศึกษา และ หลักสูตรเพื่อการพัฒนาอาชีพ 

“พอเราคิดอยากพัฒนาหลักสูตรก็เป็นความโชคดี เพราะเรามีภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งทั้งกรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) และเทศบาลตำบลสบเตี๊ยะที่เข้ามาช่วยสนับสนุน โดยหลักสูตรตั้งต้นที่ออกแบบมามีทั้งหลักสูตรสำหรับการทำอาชีพ 18 ชั่วโมง และหลักสูตรสำหรับการศึกษา 40 ชั่วโมง รวมทั้งยังนำหลักสูตรนี้มาปรับใช้กับนักเรียนตั้งแต่เด็กอนุบาลจนถึงระดับมัธยม แล้วก็ยังมีการศึกษาทางเลือกด้วย”

แม่หลวงทัญกานร์เล่าว่า ตอนนี้กำลังเริ่มทำกับโรงเรียนสบเตี๊ยะในรูปแบบของหลักสูตรท้องถิ่น โดยในระดับอนุบาลจะเน้นที่การทำกิจกรรม การได้สัมผัสธรรมชาติ  มีแผนการสอนเล็กๆ น้อยๆ ส่วนระดับประถมมีการทำงานร่วมกับเทศบาลตำบลสบเตี๊ยะเพื่อส่งเสริมให้หลักสูตรเข้าไปอยู่ในโรงเรียน 

“ระดับมัธยมก็มีติดต่อเข้ามาแบบที่เรียนรู้เพื่อทำเป็นชิ้นงานเลย เช่น โรงเรียนจอมทองอยากได้สีม่วงไปใช้ในงานนิทรรศการของกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ให้เด็กมาเรียนรู้นอกเวลาโดยมีครูไปด้วย เพื่อทำสีย้อมขึ้นมาเลย เราก็เขียนแผนการสอนสักประมาณ 8 ชั่วโมง วันละ 2 ชั่วโมง อาทิตย์ละ 2 วัน กลายเป็นหลักสูตรเฉพาะกิจ”

บทเรียนที่ 3 ทุกคนเรียนรู้ได้ภายใต้การออกแบบร่วมกัน

สำหรับหลักสูตรการทอผ้าจกและการย้อมมีธรรมชาติเพื่อการศึกษา ระยะเวลา 40 ชั่วโมง ล่าสุดวิสาหกิจชุมชนผ้าฝ้ายเชิงดอยได้นำไปขยายผลจัดการเรียนรู้ให้แก่กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านเมืองอาง บ้านขุนยะและบ้านขุนแปะ ซึ่งอุปสรรคทั้งในด้านภาษา วัฒนธรรมและวิถีชีวิต กลายเป็นบททดสอบสำคัญของการนำหลักสูตรไปใช้จริง

“กว่าจะสำเร็จได้ต้องมีการปรับตัวอย่างมากทั้งผู้สอนและผู้เรียน เพราะต้องปรับไปตามบริบทของผู้เรียน เนื่องจากส่วนใหญ่ชาวบ้านมีงานของเขาอยู่แล้ว ในหนึ่งสัปดาห์จะว่างประมาณ 3 วัน ซึ่งใน 3 วัน ก็ต้องมานั่งพูดคุยกันว่า เขาจะเรียนวันไหน พร้อมวันไหน เวลาไหน และแม้จะนับจำนวนเวลาเรียนได้ 40 ชั่วโมง แต่บางคนใช้เวลานานกว่านั้น ส่วนสุดท้ายการประเมินผลก็ต้องมีการพูดคุยกัน”

การจัดการเรียนรู้ภายใต้หลักสูตรนี้จึงไม่ได้มีเพียงผู้เรียนฝ่ายเดียวที่ต้องปรับตัว รวมถึงทำความเข้าใจการทอผ้าในรูปแบบที่แตกต่างไป แต่ทีมผู้สอนเองก็ได้ประสบการณ์การออกแบบและพัฒนาหลักสูตรในแง่มุมต่างๆ เช่นเดียวกัน 

แม่หลวงทัญกานร์บอกว่าตนเองได้เรียนรู้เยอะมาก อย่างแรกคือการทำงานที่ไม่สามารถทำคนเดียวได้ ต้องมีทีมงานและมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง สองคือการไปถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่น ผู้สอนต้องมีความรู้มีความชำนาญพอสมควรก่อน ส่วนที่เหลือถือเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน 

“ยกตัวอย่าง วิทยากรที่เป็นพ่อครูแม่ครู ท่านชำนาญเรื่องกี่มือ แต่กี่เอวไม่ชำนาญ ก็ต้องปรับ หาคนที่สามารถปรับการใช้กี่มือไปใช้กับกี่เอวได้ แล้วอย่าคิดว่าสิ่งที่เราคิดหรือกระบวนการที่เตรียมมานั้นดีแล้วใช้ได้เลย คือไม่ใช่ว่าไปถึงก็สอนได้เลย 

อย่างการนำหลักสูตรไปขยายผลในพื้นที่นี้ จริงๆ แล้วเราเข้าไปซึมซับในชุมชนเขาก่อนตั้งแต่ปีแรก เป็นการเตรียมความพร้อมชุมชน เราต้องไปแสดงความจริงใจให้เขาเห็น เรามาทำจริงนะ ไม่ได้มาเล่นๆ ให้เขาเห็นภาพว่าเมื่อเราร่วมงานกันแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเขาเอง 

เวลาสอน เราต้องปรับตัวและมีการพูดคุยกัน ต้องออกแบบการเรียนรู้ร่วมกัน ต้องชัดเจนในการเขียนแผนงานร่วมกัน เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน สิ่งสำคัญคือทำให้เขารู้สึกว่าอยากเรียนด้วย

ที่สำคัญต้องมีความยืดหยุ่นตลอด สมมติว่าวันนี้นัดผู้เรียน 9 โมง แต่บางทีกว่าผู้เรียนรู้จะมาถึง เพราะว่าเขาตื่นเช้ามาก็ต้องเอาวัวควายไปในสวน ต้องทำอาหารให้สามี ต้องเก็บผักให้เรียบร้อยก่อนถึงจะมาได้”

กุญแจของความสำเร็จจึงอยู่ที่การสร้างความเข้าใจและออกแบบการเรียนรู้ร่วมกัน ปรับตัวและยืดหยุ่น ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่จะเป็นสะพานเชื่อมก็คือ ‘การสื่อสาร’

“ถ้าเราต้องไปสื่อสารให้คนที่ฟังเราไม่รู้เรื่อง และเราก็ฟังเขาไม่รู้เรื่อง ต้องดูว่าอะไรคือองค์ประกอบที่จะช่วยให้เราทำงานตรงนี้ได้ เช่น ใครจะมาเป็นล่ามให้เรา ใครที่เขาให้ความเชื่อมั่น อย่างพื้นที่ตรงนี้ เราเลือกเพราะชุมชนมีโรงเรียนของ สกร. อยู่ มีครูที่คุยกับผู้เรียนได้ และผู้เรียนรวมถึงชุมชนก็ให้ความเชื่อถือ ให้ความเคารพ ขณะเดียวกันเราต้องเข้าไปทำความรู้จักกับผู้นำชุมชน ให้เขาเห็นถึงความตั้งใจ ขออนุญาตเขาในการเข้ามาทำงานในพื้นที่ เมื่อผู้นำชุมชนรับรู้ เห็นดีเห็นงาม เครือข่ายต่างๆ ที่เข้ามาหนุนเสริมก็จะมีความมั่นใจ แล้วตัวเราเอง เวลาเราเข้าไปก็ต้องเข้าไปแบบกลมกลืน ทำให้เขารู้สึกเหมือนเพื่อน เหมือนญาติ คอยถามสารทุกข์สุขดิบเขา” 

สำคัญที่สุดคือเป้าหมายปลายทาง แม่หลวงทัญกานร์ย้ำว่า องค์ความรู้ที่นำเข้าไปสอนก็ไม่ใช่แค่การทอผ้า แต่เป็นการเสริมสร้างความรู้ที่จะสร้างความมั่นใจให้เขาพัฒนาตนเองต่อไปได้ 

“การทำงานต้องทำไปเป็นระบบพร้อมๆ กัน ไม่ใช่แค่สอนทอผ้า แต่สอนให้เขาเรียนรู้เรื่องอื่นที่เป็นองค์ประกอบไปด้วย เช่น คุณทอผ้า รู้ว่าทอผ้าทำยังไง ทอผ้าเสร็จได้ผลงานออกมาหน้าตาแบบนี้ เราทำให้เขาเห็นภาพและมั่นใจว่าทำออกมาแล้วโอเคใช้ได้ แต่การที่เขาจะขายของได้ ต้องชี้ให้เขาเห็นว่าต้องมีเรื่องราวต่างๆ จากชุมชน ต้องรู้ว่าจุดเด่นของชุมชนเราคืออะไร เพราะฉะนั้นการเล่าเรื่องราวต่างๆ จะทำให้เขาคิดและหันกลับมามอง แล้วเขาจะเห็นว่าเรื่องราวเหล่านั้นเป็นความรู้ทั้งนั้นเลย เป็นองค์ประกอบสำคัญ ต้องทำให้เขาเห็นให้ได้”

บทเรียนที่ 4 ความสำเร็จที่แท้จริง คือคุณค่าและความภูมิใจของผู้ร่วมเรียนรู้

ถึงวันนี้อาจกล่าวได้ว่าวิสาหกิจชุมชนผ้าฝ้ายเชิงดอยคือตัวอย่างพื้นที่เรียนรู้ที่ครบวงจร ทั้งการหนุนเสริมให้พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ยกลายเป็นพ่อครูแม่ครูผู้ไม่เคยหยุดเรียนรู้ การเก็บรวบรวมองค์ความรู้และถ่ายทอดผ่านหลักสูตรการทอผ้าฯ รวมไปถึงการเปิดแหล่งผลิตผ้าทอเป็นแหล่งเรียนรู้การทอผ้าและการย้อมสีธรรมชาติให้กับคนทั่วไปที่สนใจ ซึ่งแน่นอนว่าวิทยากรก็ไม่ใช่ใครที่ไหน คือชาวบ้านที่เคยเป็นผู้ร่วมเรียนรู้นั่นเอง

“เราพัฒนาจากคนที่เริ่มเรียนรู้จนเดี๋ยวนี้เป็นวิทยากรได้หมดแล้ว ถ้ามีผู้ที่สนใจอยากเข้ามาศึกษาที่แหล่งเรียนรู้ของเรา ในกลุ่มก็จะมีการพูดคุยกันก่อน วางแผนเป็นกระบวนการขั้นตอน ซึ่งเรามีคอร์สที่เข้าไปส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับทีมวิทยากรซึ่งก็คือชาวบ้านในโครงการด้วย พอเขาได้รับการฝึกฝนไปเรื่อยๆ เขาจะเริ่มเรียนรู้ด้วยตัวเองว่าต้องทำอย่างไร และสุดท้ายเขาก็สามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ต่างๆ เหล่านี้ออกไปยังผู้คนที่เข้ามาเรียนรู้ได้ แล้วก็ยังเป็นวิทยากรประจำหลักสูตรได้ด้วย”

สำหรับคนที่สนใจเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้ผ้าฝ้ายเชิงดอย สามารถเดินทางไปที่ชุมชนได้เลยจะมีชาวบ้านในกลุ่มนำชม แต่ถ้าเป็นสถาบันการศึกษาหรือกลุ่มที่ต้องการให้มีการจัดกิจกรรมหรือการบรรยายพิเศษ แนะนำให้ติดต่อไปก่อน 

“โดยส่วนใหญ่ผ้าทอก็จะเป็นแค่ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ แต่เราได้พัฒนาเรื่องของการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีทั้งเสื้อผ้าสำเร็จรูป หมวก กระเป๋า แล้วก็ยังมีลายปักอื่นๆ ที่เสริมเข้าไปด้วย”

ในฐานะผู้ที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับการพลิกฟื้นคืนคุณค่าให้กับมรดกทางวัฒนธรรมชิ้นนี้ แม่หลวงทัญกานร์มองว่า คุณค่าความสำเร็จของการรวมกลุ่มผ้าฝ้ายเชิงดอยไม่เพียงรักษาภูมิปัญญา และแก้ปัญหาปากท้องให้คนในชุมชน แต่ยังยกระดับชาวบ้านสู่การเป็นวิทยากรเพื่อส่งต่อความรู้ให้อยู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน 

“จากคนที่มาเรียนรู้กับเรา หรือว่าทำงานกับเราตั้งแต่ปีที่เราเริ่มก่อตั้งกลุ่ม จนมาถึงตอนนี้เขาสามารถปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากคนรับจ้างมาทอผ้าเป็นอาชีพหลักได้ สิ่งที่น่าดีใจไม่ใช่แค่การสร้างอาชีพ เพราะวันนี้ทุกคนได้รับการยกย่องและเคารพนับถือ ว่านี่คือ พ่อครู แม่ครู เขาสามารถเป็นวิทยากรสอนคนอื่นต่อได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สร้างไม่ได้ง่ายๆ ทำให้ชาวบ้านทุกคนเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง”

และแน่นอนว่า ท้ายที่สุด…คนที่ภูมิใจไม่น้อยไปกว่าใครก็คือตัวแม่หลวงนั่นเอง

“จริงๆ มีหลายอย่างมากที่เราภูมิใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่สามารถดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมในเรื่องการแต่งกาย การส่งเสริมให้ทุกคนมองเห็นคุณค่าของตัวเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทุกคนมีไม่เท่ากัน 

เราจะมองคนรวยว่าเขามั่นใจ เพราะเขามีเงิน แต่เราจะไปสร้างความมั่นใจให้กับคนที่เขาด้อยโอกาสได้อย่างไร นั่นก็คือการสร้างจากตัวตนของเขาเอง เมื่อเขารู้จักคุณค่าของตัวเอง มันจะเด่นชัดออกมาที่ผลงาน เหมือนกับการที่เราปลูกพืชอย่างหนึ่ง เมื่อเราหว่านเมล็ดลงไป พอเราเห็นมันงอกงามออกมา นั่นคือความสำเร็จ และเราเกิดความภูมิใจ” 

Tags:

ผ้าจกล้านนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าฝ้ายเชิงดอยแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนการทอผ้าทัญกานร์ ยานะโส

Author:

illustrator

ชุติมา ซุ้นเจริญ

ลูกครึ่งมานุษยวิทยาและนิเทศศาสตร์ รักการเล่าเรื่องผ่านตัวอักษร พอๆ กับการเดินทางข้ามพรมแดนทุกรูปแบบ เชื่อเสมอว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสังคม แต่ไม่นิยมแบกโลกไว้บนบ่า

Photographer:

illustrator

ปริสุทธิ์

Related Posts

  • Creative learning
    ห้องเรียนฐานชุมชน (Social Lab) เมื่อครูไม่ได้เป็นผู้ให้คำตอบ แต่เปิดพื้นที่ ให้นักเรียนสร้างคำตอบเอง: ครูภัทร – ภัทฑริก เอียดเกลี้ยง

    เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง ภาพ ปริสุทธิ์

  • Social Issues
    Tambon Zero Dropout เราจะไม่ทิ้ง ‘เด็กนอกระบบ’ ไว้ข้างหลัง: หมอตุ้ย-สันติพงษ์ ศิลปสมบูรณ์

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ปริสุทธิ์

  • Social Issues
    มากกว่าชนะในเกมคือไม่แพ้ในชีวิตจริง การพัฒนาศักยภาพเด็กที่ไม่มีคำว่า ‘ใน’ หรือ ‘นอก’ ระบบการศึกษา: ทีมฟุตบอลชมรมเยาวชนลำปางหลวง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ปริสุทธิ์

  • Social Issues
    ‘บ้านไม่เป็นบ้าน โรงเรียนไม่เป็นโรงเรียน’ เด็กไทยต้นทุน(ชีวิต)ต่ำ: รศ.นพ. สุริยเดว ทรีปาตี

    เรื่อง ชุติมา ซุ้นเจริญ ภาพ ปริสุทธิ์

  • Learning Theory
    ทำไมเราควรมองพัฒนาการเรียนรู้ผ่าน ‘ม่านวัฒนธรรม’

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

เปลี่ยนเรื่องร้ายๆ ในชีวิต(ที่เรารับมือได้)ให้กลายเป็นแรงขับดัน
How to enjoy life
24 July 2024

เปลี่ยนเรื่องร้ายๆ ในชีวิต(ที่เรารับมือได้)ให้กลายเป็นแรงขับดัน

เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • คนที่เผชิญกับความยากลำบากในชีวิต ‘มาบ้าง’ มักจะมีสุขภาพจิตที่ดีกว่าคนที่ไม่เคยต้องเผชิญเรื่องร้ายๆ ในชีวิตเลย และดีกว่าคนที่ต้องทนทุกข์อยู่บ่อยๆ ซ้ำซาก เพราะจะทำให้เข้มแข็งและสามารถรับมือกับปัญหาที่พบได้ดี
  • การเผชิญหน้ากับความท้าทายแปลกใหม่ จะช่วยย้ำเตือนให้เรามองเห็นถึงความเข้มแข็งและศักยภาพในตัวเองที่มีอยู่ ทำให้เราตระหนักถึงและมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่มองข้ามไป
  • ความยากลำบากในชีวิตไม่ได้มีแต่ข้อเสีย เราอาจหาวิธีแปรเปลี่ยนมัน ให้กลายไปเป็นพลังและเป็นแรงขับดันสำคัญในชีวิตได้

มีคำกล่าวหนึ่งที่หลายคนอาจจะเคยได้ยินแล้ว นั่นก็คือ “สิ่งที่ไม่ได้ฆ่าคุณ ก็จะทำให้คุณเข้มแข็งขึ้น” แต่คำกล่าวนี้มีเป็นความจริงแน่หรือ?

คำพูดนี้อาจจะจริงหรือไม่ก็ได้

เรื่องหนึ่งที่ทุกคนคงไม่โต้แย้งก็คือ ยิ่งเราผ่านวันเวลามากขึ้นเท่าไร เราก็มักจะต้องผ่านเรื่องราวหรือผู้คนที่มองในมุมหนึ่ง ก็อาจจะเป็นเคราะห์ร้ายหรืออาจจะคิดไปถึงขั้นว่า คงทำเวรกรรมอะไรบางอย่างไว้ในชาติก่อน จึงได้มาเจอเหตุการณ์หรือบุคคลพวกนั้นเข้าในชาตินี้ 

เรื่องร้ายๆ ที่เราต้องเผชิญอาจมีได้หลายรูปแบบ ความยากลำบากอาจเกิดทางร่างกาย เช่น เราต้องทำงานหนัก ใช้แรงมาก หรือแบกหามจนเข่า ไหล่ และหลังแทบทรุด ร่างกายแทบรับไม่ไหว หรือความยากลำบากทางใจหรือทางอารมณ์ จนเกิดความเครียด กระวนกระวายใจ ซึมเศร้า ไปจนถึงเกิดรอยแผลในใจอย่างร้ายแรงยากจะหาย หรือบางคนอาจเผชิญกับความยากลำบากทางสังคมบางอย่าง เช่น โดนรังแก ไม่อาจสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน เพื่อนร่วมงาน หรือคนใกล้ชิดอื่นๆ ทั้งคนในครอบครัวหรือคู่ครอง

อีกความยากลำบากหนึ่งคือ ทางด้านการเงิน อาจจะเคยได้ยินเรื่องคนที่ตก ‘นรกบัตรเครดิต’ อย่างถอนตัวไม่ขึ้น ต้องวนเวียนอยู่กับการทำบัตรใหม่เพื่อมากู้เงินมาโปะหนี้เก่าเป็นวัฏจักรไม่สิ้นสุด หรือเรื่องของคนเป็นหนี้นอกระบบที่ผ่อนคืนเท่าไหร่ก็ไม่หมดหนี้สินเสียที เงินต้นเหมือนไม่เคยลดลงเลย   

น่าสนใจว่ามีงานวิจัยที่ชี้ว่า คนที่ผ่านความยากลำบากในชีวิตมาก่อน มักจะมีสุขภาพจิตที่ดีกว่าคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์ทำนองเดียวกันมาเลย [1]     

ในการวิจัยนี้มีการสำรวจข้อมูลคน 2,398 คนเป็นระยะเวลานาน โดยเลือกกลุ่มประชากรแบบสุ่มครอบคลุมตัวอย่างอายุตั้งแต่ 18–101 ปี โดยมีอายุเฉลี่ย 49.3 ปี การเก็บข้อมูลทำ 5 ครั้ง ปีละครั้ง ตั้งแต่ ค.ศ. 2001-2004 

ข้อสรุปที่น่าสนใจก็คือ คนที่เผชิญกับความยากลำบากในชีวิต ‘มาบ้าง’ มีผลตรวจสุขภาพจิตที่ดีกว่าคนที่ไม่เคยต้องเผชิญเรื่องร้ายๆ ในชีวิตเลย และดีกว่าคนที่ต้องทนทุกข์อยู่บ่อยๆ ซ้ำซาก โดยเฉพาะในกรณีหลังที่เป็นความทุกข์ยากแบบหนักหนาสาหัสจนยากจะรับมือไหว แถมยังมาบ่อยๆ 

โดยเปรียบเทียบแล้ว คนที่มีประสบการณ์ความยากลำบากในชีวิตมาบ้าง มักมีความกังวลใจที่ต่ำกว่า มีอาการบอบช้ำทางใจน้อยกว่า ให้คะแนนเรื่องความบกพร่องของตัวเองต่ำกว่า และมีความพึงพอใจในชีวิตสูงกว่า หลังจากผ่านเหตุการณ์ร้ายๆ นั้นไป 

เรื่องที่สำคัญที่สุดอีกเรื่องที่ค้นพบก็คือ กลุ่มคนที่มีประสบการณ์ตกทุกข์ได้ยาก รับมือกับเหตุการณ์ร้ายๆ เฉพาะหน้าได้ดีกว่า และได้รับผลกระทบน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับอีก 2 กลุ่ม

นี่เป็นหลักฐานยืนยันได้ในเบื้องต้นว่า คำพูดที่ว่า “สิ่งที่ไม่ได้ฆ่าคุณ ก็จะทำให้คุณเข้มแข็งขึ้น” น่าจะเป็นเรื่องจริง

เรื่องนี้ดูจะสอดคล้องกันเป็นอย่างดีกับเรื่องการไม่ปกป้องลูกหลานมากจนเกินไป จนก่อให้เกิดความเปราะบางในเด็กและขัดขวางพัฒนาการที่ผมเคยเขียนไว้ [2] เพราะทั้งสองเรื่องเป็นการเอาตัวออกไปเผชิญกับสิ่งแปลกใหม่และไม่คุ้นเคย เป็นการออกนอกคอมฟอร์ตโซนที่บ้างครั้งก็ไม่ใช่เรื่องสนุก 

แต่เราเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตได้ทั้งจากเรื่องร้ายและเรื่องดี  

สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องทำนองนี้ ปัญหาใหญ่สุดของความท้าทายทำนองนี้ก็คือ การมีทัศนคติที่ดี การมองโลกในแง่บวก เพื่อรักษาสภาพจิตใจและทำตัวยืดหยุ่นได้มากขึ้น ไม่จมหรือท่วมท้นไปด้วยความเครียดจนเกินรับมือ อาจใช้วิธีการ 3 ขั้นตอนต่อไปนี้ในการจัดการชีวิต [3] 

ขั้นตอนแรกสุด เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ยุ่งยาก ให้พยายามตระหนักรู้ความคิดและอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองในขณะนั้นว่า เรากำลังเครียดอยู่หรือเปล่า? มีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นหรือเปล่า กำลังโกรธ สับสน กลัว หรือสิ้นหวังหรือเปล่า? 

ทันทีที่เราตระหนักเรื่องความคิดและอารมณ์ความรู้สึกได้สำเร็จ เราก็จะเกิดความรู้สึกว่าเรา ‘ควบคุม’ สถานการณ์ได้แทบจะในทันที

ขั้นตอนต่อไปได้แก่ การเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับปัญหาหรือสถานการณ์ตรงหน้าที่กำลังรู้สึกว่า ‘เกินรับมือไหว’ ให้เป็น ‘รับมือได้’ จนเกิดความหวังว่า เราน่าจะหาทางออก ‘ที่ดีกว่า’ ที่เป็นอยู่ตอนนี้ได้  

ขั้นตอนสุดท้ายได้แก่ การนำปัญหาความยุ่งยากตรงหน้ามาพินิจพิจารณาในมุมใหม่ เปลี่ยนมุมมองและอารมณ์ใหม่ พยายามมองหาวิธีการรับมือกับปัญหาแบบใหม่ 

หากฝึกฝนด้วยวิธีการแบบนี้บ่อยๆ จนกลายเป็นอุปนิสัยประจำตัว เราจะกลายเป็นคนมองโลกในแง่ดี มีความหวังในชีวิตมากขึ้น สามารถนำเอาประสบการณ์ความยากลำบากมาใช้ประโยชน์ได้เสมอ   

สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นพัฒนาความสามารถของตัวเองในแบบนี้ได้อย่างไร คุณจูลี แบสเซตต์ (Julie Bassett) ที่เขียนให้กับนิตยสาร Psychology Now แนะนำวิธีการตั้งเป้าหมายส่วนตัวและการออกนอกคอมฟอร์ตโซนไว้ [3] ว่าทำได้หลายแบบ โดยมีลักษณะสำคัญก็คือ ต้องเลือกพาตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย ทำให้จำเป็นต้องเอาตัวรอดจากสถานการณ์นั้นๆ ต้องทำตัวให้ยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์ จนสุดท้ายจะได้รับรู้ได้ถึงความสำเร็จและเกิดความมั่นใจในความรู้ความสามารถตัวเอง 

อย่างไรก็ตาม อาจตั้งเป้าหมายแบบค่อยเป็นค่อยไป จะได้ไม่ล้มเหลวจนหมดกำลังใจเสียแต่ต้น

หากคุณมีกิจวัตรที่ซ้ำซากและน่าเบื่อ อาจเริ่มจากการวางแผนทำอะไรที่ท้าทายศักยภาพทางกาย เช่น การเดินทางไกลในป่า การวิ่งหรือปั่นจักรยานระยะทางไกล โดยตั้งเป้าและค่อยๆ ไต่ข้ามและท้าทายผลสำเร็จไปเรื่อยๆ เช่น เริ่มจากทำเป้าหมายวิ่ง 3 กิโลเมตร และเมื่อทำได้แล้วก็ไปยัง 5 กิโลเมตร ต่อด้วยมินิมาราธอน ฮาล์ฟมาราธอน และฟูลมาราธอน เป็นต้น

บางคนอาจเลือกเดินทางท่องเที่ยวแบบตัวคนเดียว โดยวางแผนไว้ทั้งหมดหรือแค่บางส่วน หรือในที่สุดก็แค่เลือกเป้าหมายที่ต้องการไป แล้วสุ่มการเดินทางให้มากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องมีการเตรียมตัว เตรียมใจพร้อมรับสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง บางคนก็อาจเลือกทำสิ่งที่ตัวเองกลัวเป็นพิเศษ เช่น กลัวความสูงก็ไปกระโดดร่ม โดยเริ่มจากการไปกระโดดหอก่อน จากนั้นก็กระโดดร่มแบบมีครูฝึกร่วมโดดด้วยก่อน ไปจนถึงหัดกระโดดร่มด้วยตัวคนเดียวในที่สุด 

แม้แต่การไปยังสถานที่แปลกใหม่ แล้วลองหาทางจดจำเส้นทาง คลำทางโดยไม่พึงพาเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่ต้องใช้กูเกิลแมป ฯลฯ ช่วย ใช้แต่ความจำล้วนๆ ก็เป็นความท้าทายได้เช่นกัน 

ยังมีกิจกรรมอื่นอีกมากมายที่อาจเลือกมาทำได้ 

สำหรับเด็กๆ การเลือกทำกิจกรรมแปลกๆ อาจนำไปสู่การค้นพบความชอบ (หรือความเกลียด) ที่ไม่รู้หรือคาดไม่ถึง ส่งผลต่อการเลือกสาขาวิชาที่จะเรียนต่อในอนาคตได้ทีเดียว เราไม่มีทางรู้เลยว่าจะเกิดจุดเปลี่ยนในชีวิตตอนไหน การพาตัวเองไปพบเจอสิ่งแปลกใหม่จึงมีประโยชน์มาก  

การเผชิญหน้ากับความท้าทายแปลกใหม่ จะช่วยย้ำเตือนให้เรามองเห็นถึงความเข้มแข็งและศักยภาพในตัวเองที่มีอยู่ ทำให้เกิดความภาคภูมิใจ ความมั่นใจ และที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ อาจทำให้เราตระหนักถึงและมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่มองข้ามไป ไม่ว่าจะเป็นมิตรภาพกับเพื่อนหรือคนในครอบครัว

ความยากลำบากในชีวิตจึงไม่ได้มีแต่ข้อเสีย และเราอาจหาวิธีแปรเปลี่ยนมัน ให้กลายไปเป็นพลังและเป็นแรงขับดันสำคัญในชีวิตได้ 

เอกสารอ้างอิง

[1] Seery, M. D., Holman, E. A., & Silver, R. C. (2010). Journal of Personality and Social Psychology, 99(6), 1025–1041. https://doi.org/10.1037/a0021344

[2] https://thepotential.org/knowledge/bubble-wrap-parenting/

[3] Julie Bassett (2023) Psychology Now, Vol. 7, 16-19. 

Tags:

ความสำเร็จอุปสรรคสุขภาพจิตการเติบโตการเรียนรู้ชีวิต

Author:

illustrator

นำชัย ชีววิวรรธน์

นักอณูชีววิทยา นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ นักเขียน นักแปล และนักอ่าน ผู้มีความสนใจอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาขับเคลื่อนสังคม

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • IMG_3795
    Healing the trauma
    เมื่อบาดแผลหล่อหลอมชีวิต: การเติบโตงอกงามจากความเจ็บปวด (Post-traumatic Growth)

    เรื่อง ชัค ชัชพงศ์ ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Marshmallow
    How to enjoy life
    ‘อดเปรี้ยวไว้กินหวาน’ ทักษะชีวิตที่ช่วยให้เด็กรู้จักยับยั้งชั่งใจ

    เรื่อง ปริพนธ์ นำพบสันติ ภาพ ninaiscat

  • Social Issues
    ‘หนังพาไป’ 13 ปีของคู่หูนักเดินทาง ‘บอล-ยอด’ ที่ชวนเรามองโลกมุมต่าง ตั้งคำถามกับตัวเองและเติบโตไปด้วยกัน

    เรื่อง ปริสุทธิ์ ภาพ ปริสุทธิ์

  • MovieDear Parents
    Orange is the new black: แม้ในเรือนจำความเป็นมนุษย์ไม่ควรถูกกักขัง

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • How to enjoy life
    ‘สุขสำเร็จ’ เมื่อสมดุลของความสำเร็จคือความทะเยอทะยานและความสุข

    เรื่อง จณิสตา ธนาธรชัย ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

บาดแผลทางใจอาจลึกเกินกว่าจะเยียวยาด้วยความคิด การเปลี่ยนแปลงต้องเกิดที่ความรู้สึกด้วย (emotional corrective experience)
Healing the trauma
19 July 2024

บาดแผลทางใจอาจลึกเกินกว่าจะเยียวยาด้วยความคิด การเปลี่ยนแปลงต้องเกิดที่ความรู้สึกด้วย (emotional corrective experience)

เรื่อง ชัค ชัชพงศ์ ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • ไม่มีใครอยากรู้สึกแย่กับตัวเอง แต่หลายครั้งเราก็ยังปล่อยให้ประสบการณ์ที่ไม่ดีมาทำร้ายตัวเองซ้ำแล้วซ้ำเล่า
  • การเยียวยาความรู้สึกด้วยประสบการณ์ใหม่ (emotional corrective experience) คือ ประสบการณ์ที่ทำให้คนเราเข้าใจเหตุการณ์หรือความสัมพันธ์ในมุมมองที่ต่างออกไป หรือไม่คาดคิด ซึ่งนำไปสู่การยอมรับและทำความเข้าใจประสบการณ์ใหม่ในเชิงความรู้สึก
  • สำหรับบางคนที่มีประสบการณ์เลวร้าย การเอาตัวเองไปเผชิญสถานการณ์ใหม่อาจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะบาดแผลทางจิตใจทำให้เขาต้องสร้างกำแพงขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวตนจากความเจ็บปวด การรู้เท่าทันกำแพงที่ตัวเองสร้างขึ้นจึงสำคัญต่อการสร้างประสบการณ์ใหม่

“เมื่อความเจ็บปวดฝังรากลึกเกินกว่าคำปลอบโยนจะเยียวยา”

คุณอาจเคยเจอเหตุการณ์ที่แม้จะใช้ความคิดหรือเหตุผลเพื่อจัดการกับความรู้สึกแย่มากเท่าไหร่ก็ดูเหมือนว่าความรู้สึกที่ท่วมท้นเหล่านั้นจะไม่หายไป แม้คุณจะตระหนักดีว่าสิ่งที่คุณคิดนั้นมีความสมเหตุสมผลมากเพียงใดก็ตาม ราวกับว่าเหตุผลกับความรู้สึกไม่ได้ไปด้วยกัน สิ่งนี้อาจเกิดขึ้นเพราะว่าบางบาดแผลทางใจอาจลึกเกินกว่าจะเยียวยาด้วยความคิด แต่บาดแผลทางใจนั้นกำลังต้องการการเยียวยาที่ลึกซึ้งกว่านั้น นั่นคือ การเยียวยาความรู้สึกด้วยประสบการณ์ใหม่

สมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศอเมริกา ให้ความหมาย การเยียวยาความรู้สึกด้วยประสบการณ์ใหม่ (emotional corrective experience) ว่า “ประสบการณ์ที่ทำให้คนเราเข้าใจเหตุการณ์หรือความสัมพันธ์ในมุมมองที่ต่างออกไป หรือไม่คาดคิด ซึ่งนำไปสู่การยอมรับและทำความเข้าใจประสบการณ์ใหม่ในเชิงความรู้สึก”

เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกอาจทำให้หลายคนรู้สึกกลัว เพราะการใช้ความคิดเป็นเรื่องที่ง่ายกว่า ไม่ต้องเผชิญกับความเจ็บปวด เพียงแค่คิดถึงที่มาที่ไปก็เพียงพอแล้ว แต่ต้องบอกว่าตามหลักการทำงานของสมอง หลายต่อหลายปัญหาไม่ได้อยู่ในระดับของความคิด แต่เกิดขึ้นในระดับลึกของความรู้สึก การทำงานกับสิ่งนี้โดยตรงจึงอาจจะเจ็บปวด แต่ก็มักจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งและมั่นคงมากยิ่งขึ้น 

ก่อนจะพูดถึงการเยียวยาที่ทำงานกับความรู้สึกต้องเห็นภาพก่อนว่าเวลาที่มนุษย์จะเข้าใจว่า “ฉันเป็นคนที่มีคุณค่า” “ฉันเป็นที่รัก” “ฉันดีพอ” สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากประสบการณ์เพียงวันเดียว หากแต่เกิดจากการสร้างความหมายจากการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างซ้ำไปซ้ำมา นักจิตบำบัดที่ผมทำงานภายในด้วยเคยสอนผมว่า คนที่จะมีอิทธิพลกับตัวตนมนุษย์มากที่สุดคือพ่อแม่และคู่รักที่มีความสัมพันธ์ลึกซึ้ง ส่วนคนที่จะมีอิทธิพลต่อการเห็นคุณค่าตัวเองในแต่ละมุม (self-esteem) คือสังคม (การเห็นคุณค่าในตัวเองจะแบ่งเป็นด้านต่างๆ เช่น เห็นคุณค่าด้านงาน แต่อาจจะไม่ได้มองว่าตัวเองมีคุณค่าด้านความสัมพันธ์) 

ช่วงแรกที่เราเกิดมา เรายังไม่รู้จักว่าโลกคืออะไร คนเป็นแบบไหน ถ้าพ่อแม่ตอบสนองเราอย่างเหมาะสม เราจะค่อยๆ พัฒนาความรู้สึกว่าเราก็เป็นคนที่มีคุณค่ามากพอที่จะถูกรักถูกใส่ใจ ในทางกลับกัน หากคนนั้นไม่ได้ถูกตอบสนองความรู้สึก เวลาเสียใจก็ถูกปล่อยไว้คนเดียวไม่ได้มีใครมาปลอบประโลม เขาก็อาจจะพัฒนาความรู้สึกที่มีต่อตัวเองว่า ความรู้สึกของเขาไม่สำคัญมากพอ 

เมื่อโตขึ้น มุมมองเกี่ยวกับตัวเองก็จะยิ่งชัดเจนยิ่งขึ้น เวลามีประสบการณ์ใหม่ที่ต่างจากประสบการณ์เดิมเข้ามา เช่น คุณมองว่าตัวเองเป็นคนไม่เก่ง แต่เพื่อนมาชมว่าคุณเก่ง คุณก็อาจจะไม่ได้สนใจคำพูดของเพื่อนเพราะสิ่งนั้นไม่ได้ตรงกับมุมมองที่คุณมีกับตัวเอง สิ่งนี้น่าสนใจตรงที่ ไม่มีใครอยากรู้สึกแย่กับตัวเอง แต่หลายครั้งเราก็ยังปล่อยให้ประสบการณ์ที่ไม่ดีมาทำร้ายตัวเองซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทั้งที่มองตามเหตุผลเราก็ควรจะรับสิ่งที่เพื่อนพูดเพราะสิ่งนั้นมีประโยชน์ต่อตัวเรา อาจเป็นเพราะมนุษย์มีกลไกทางจิตใจที่ซับซ้อน ด้วยมุมมองเกี่ยวกับตัวเองที่ฝังแน่นเขาอาจจะรู้ไม่ทันตัวเองเลยด้วยซ้ำว่าเขามีมุมมองแบบนี้ แล้วมุมมองแบบนั้นพัฒนามาจากประสบการณ์หรือความคิดอะไรบ้าง ตอนนั้นเขาอาจคิดเพียงว่า “เพื่อนแค่พูดไปงั้นแหละ” 

การจะเปลี่ยนแปลงประสบการณ์เหล่านั้นจึงต้องใช้เวลาอย่างมาก ซึ่งต้องเกิดจากการทำงานภายในกับตัวเองซ้ำไปซ้ำมาจนมีมุมมองใหม่ การจะเปลี่ยนแปลงความรู้สึกด้วยประสบการณ์ใหม่ สามารถทำได้ ดังนี้ 

1) อะไรคือสิ่งที่ตัวเองรู้สึกแย่ แล้วสิ่งนั้นเกิดจากประสบการณ์อะไร

ขั้นตอนนี้สำคัญเพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการยอมรับว่าตัวเองมีปัญหา การยอมรับอาจเป็นเรื่องที่เจ็บปวด แต่เป็นสิ่งสำคัญของการเริ่มเยียวยาแม้อาจไม่ได้เกิดขึ้นโดยง่าย การยอมรับไม่ใช่การยอมแพ้ต่อปัญหา แต่คือความกล้าในการเผชิญหน้าต่อปัญหา

2) เอาตัวเองไปเจอประสบการณ์ใหม่ๆ 

ตัวอย่างที่ผมมักจะเจอในการทำงานกับคนที่มีปัญหาความสัมพันธ์คือ การที่คนหนึ่งอยู่ในความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ แต่ก็ยังปล่อยให้ตัวเองโดนเพิกเฉย ทำร้ายความรู้สึกจนเริ่มชินชากับความเจ็บปวด จนค่อยๆ มองว่าตัวเองสมควรที่จะได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดีเพราะเขาไม่ได้มีคุณค่ามากพอ แต่พอเขาไปเจอความสัมพันธ์ใหม่ที่ดีพอ เขาจะไม่ได้เชื่อว่าความรักที่ดีมีอยู่จริง เขาสงสัยด้วยซ้ำว่าการที่อีกฝ่ายทำดีนั้นเป็นเพราะรักเขา หรือเป็นเพราะเขามีประโยชน์อะไรหรือเปล่า

การที่เขารู้ทันว่าตัวเองมีปัญหาความเชื่อใจในความสัมพันธ์ซึ่งพัฒนามาจากประสบการณ์เลวร้ายในความสัมพันธ์เก่า แล้วค่อยๆ เปิดใจเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ในความสัมพันธ์ใหม่จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากปราศจากการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในความสัมพันธ์ ซึ่งประกอบด้วย 1) การยอมรับอย่างไร้เงื่อนไข การยอมรับในแบบที่เขาเป็น ไม่ตัดสินหรือตำหนิในสิ่งที่เขาเป็น 2) ความจริงใจ จริงใจในสิ่งที่รู้สึกและแสดงออก 3) ความเข้าอกเข้าใจ พยายามเข้าใจความรู้สึกอีกฝ่ายแล้วสื่อสารเขารู้ว่าเราเข้าใจเขาอย่างไร 

สำหรับบางคนที่มีประสบการณ์เลวร้าย การเอาตัวเองไปเผชิญสถานการณ์ใหม่อาจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะบาดแผลทางจิตใจทำให้เขาต้องสร้างกำแพงขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวตนจากความเจ็บปวด การรู้เท่าทันกำแพงที่ตัวเองสร้างขึ้นจึงสำคัญต่อการสร้างประสบการณ์ใหม่ 

ถึงแม้แนวคิดเรื่องการเยียวยาความรู้สึกด้วยประสบการณ์ใหม่จะเป็นแนวคิดที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในวงการการทำจิตบำบัด โดยเฉพาะการทำจิตบำบัดแบบจิตวิเคราะห์ (psychodynamic) แต่แนวคิดนี้ก็ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในบริบทของคนทั่วไปได้ด้วย โดยเฉพาะการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการเยียวยาความรู้สึก รวมถึงการใช้ 2 วิธีการที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งเป็นจุดสำคัญของการเข้าใจบาดแผลทางใจ เพราะปัญหาเหล่านั้นมักฝังรากลึกในความรู้สึก

การเยียวยาบาดแผลทางจิตใจไม่ใช่เรื่องง่ายและอาจใช้เวลานาน หากรู้สึกว่าปัญหานั้นซับซ้อน การอาศัยความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เช่น นักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ที่ฝึกฝนด้านการบำบัดบาดแผลทางจิตใจ (trauma-informed therapist) จะช่วยให้คุณเข้าใจความรู้สึกและสนับสนุนให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้ราบรื่นขึ้น เพราะหากมองตามตรง การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกด้วยประสบการณ์ใหม่ด้วยตัวเองไม่ใช่เรื่องง่ายโดยเฉพาะคนที่มีบาดแผลทางจิตใจที่ซับซ้อน แต่แนวคิดนี้อาจมีประโยชน์กับคนที่เข้าใจตัวเองประมาณหนึ่ง หรือบาดแผลทางจิตใจไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเขามากเกินไป 

สิ่งสำคัญคือการเปิดใจยอมรับความรู้สึกของตัวเอง และให้เวลากับตัวเองในการเยียวยา อย่าพยายามฝืนหรือกดดันตัวเองมากเกินไป จงจำไว้ว่าการเยียวยาบาดแผลทางใจเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความอดทน แต่ด้วยความพยายามและการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม คุณจะเข้าใจบาดแผลและสามารถอยู่ร่วมกับความเจ็บปวดนั้นได้

Tags:

การยอมรับบาดแผลทางจิตใจความรู้สึกการเยียวยาความรู้สึกด้วยประสบการณ์ใหม่สุขภาพจิตความเข้าอกเข้าใจ(empathy)

Author:

illustrator

ชัค ชัชพงศ์

นักจิตวิทยาที่เขียนบทความเพื่อช่วยให้คนเข้าใจตัวเองและคนรอบข้าง FB: Chuck Chatpong

Illustrator:

illustrator

กรองพร ทององอาจ

Graphic Designer & Illustrator Instagram: @monkrongpin

Related Posts

  • IMG_3795
    Healing the trauma
    เมื่อบาดแผลหล่อหลอมชีวิต: การเติบโตงอกงามจากความเจ็บปวด (Post-traumatic Growth)

    เรื่อง ชัค ชัชพงศ์ ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Myth/Life/Crisis
    เยียวยาโดยไม่ยึดติดกับบทบาท

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Early childhoodFamily Psychology
    เข้าใจลูกในวันที่เขาเปลี่ยนไป EP.9 บาดแผลของการทำผิดพลาดแล้วถูกประจานให้อับอาย

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Healing the trauma
    จิตวิทยาของการกราดยิง (mass shooting): บาดแผลทางใจและการรับมือกับเหตุการณ์เลวร้าย

    เรื่อง ชัค ชัชพงศ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Movie
    Precious: แม้พ่อแม่จะสร้างแผลใจที่ไม่อาจลบเลือน แต่เราเติบโตและงดงามได้ในแบบของตัวเอง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

คุณไม่จำเป็นต้องสูญเสียความเป็นตัวเองเพื่อใคร: ถึงฉันจะโดดเดี่ยว แต่ก็ยังอยากอยู่คนเดียวอยู่ดี
Book
18 July 2024

คุณไม่จำเป็นต้องสูญเสียความเป็นตัวเองเพื่อใคร: ถึงฉันจะโดดเดี่ยว แต่ก็ยังอยากอยู่คนเดียวอยู่ดี

เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • ใจหนึ่งก็ต้องการความอบอุ่นจากความสัมพันธ์ แต่อีกใจหนึ่งก็กลัวว่า ความสัมพันธ์จะจบลงด้วยความเจ็บปวด จึงได้แต่บอกตัวเองว่า “ถึงฉันจะโดดเดี่ยว แต่ก็ยังอยากอยู่คนเดียวอยู่ดี”
  • หนังสือเรื่อง ‘ถึงฉันจะโดดเดี่ยว แต่ก็ยังอยากอยู่คนเดียวอยู่ดี’ เขียนโดย โทน เทลเลอเฆิน ใช้สัตว์เป็นตัวละครดำเนินเรื่อง เป็นตัวแทนของมนุษย์ในรูปแบบต่างๆ มีหลายแง่มุม ที่ชวนให้เราเข้าใจอารมณ์ความรู้สึก ‘เหงา’ ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย
  • เม่นแคระ คือตัวแทนของคนขี้เหงาที่โหยหาความสัมพันธ์จากคนอื่น แต่ขณะเดียวกัน ก็หวาดกลัวว่า หนามแหลมบนตัวจะทิ่มแทงทำร้ายผู้อื่น 

ความเหงา เป็นหนึ่งในอารมณ์ที่อยู่คู่กับมนุษย์มาช้านาน อาจจะตั้งแต่เมื่อที่เรายังไม่วิวัฒนาการแยกตัวเองออกจากสัตว์ที่เป็นบรรพบุรุษร่วมระหว่างคนกับลิง และอาจเป็นหนึ่งในความรู้สึก ที่ถือเป็นลักษณะเฉพาะตัวของมนุษย์ ที่สัตว์อื่นไม่มี

แน่นอนว่า สัตว์หลายชนิดที่มีพฤติกรรมเป็นสัตว์สังคม หรืออยู่รวมกันเป็นฝูง ไม่ว่าจะเป็นสิงโต หมาป่า โลมา ช้าง ม้า วัว ควาย ล้วนมีอารมณ์ที่ใกล้เคียงกับความรู้สึก ‘เหงา’ เมื่อมันถูกจับแยกออกจากฝูง ซึ่งอารมณ์นั้นอาจเริ่มจากความรู้สึกเครียด กลายเป็นความรู้สึกซึมเศร้า และอาจนำไปสู่ความเจ็บป่วยทางกายได้ในที่สุด

ถึงกระนั้น มนุษย์น่าจะเป็นสัตว์ชนิดเดียว ที่มีความรู้สึก ‘เหงา’ ได้ แม้จะอยู่ท่ามกลางมนุษย์จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสังคมสมัยใหม่ที่เราอยู่รวมกันอย่างแออัดในสังคมเมือง ที่มีผู้คนเบียดเสียดไหล่ชนไหล่นับแสนนับล้านคน แต่ถึงกระนั้น ความรู้สึกเปล่าเปลี่ยว อ้างว้าง และแสนโดดเดี่ยว ก็ยังเกิดขึ้นกับใครบางคนได้

แล้วอะไรที่ทำให้ใครบางคน ซึ่งอาจเป็นคุณ หรืออาจเป็นเขา หรือกระทั่งตัวผม เกิดความรู้สึกเหงา ทั้งที่รายล้อมด้วยผู้คนมากมาย บนรถไฟฟ้า ในห้างสรรพสินค้า หรือแม้แต่ในบ้านของเราเอง

หนังสือเล่มเล็กๆ ที่มีชื่อว่า ‘ถึงฉันจะโดดเดี่ยว แต่ก็ยังอยากอยู่คนเดียวอยู่ดี’ อาจไม่ได้ให้คำตอบสำหรับคำถามนี้ แต่อย่างน้อย เรื่องราวที่เหมือนนิทานสำหรับเด็กเล่มนี้ ก็มีหลายแง่มุม ที่ชวนให้เราเข้าใจอารมณ์ความรู้สึก ‘เหงา’ ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย

โทน เทลเลอเฆิน (Toon Tellegen) ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้ เป็นทั้งกวี นักเขียน และแพทย์ชาวดัทช์ ผลงานส่วนใหญ่ของเขา มีรูปแบบเหมือนนิทานสำหรับเด็ก โดยใช้สัตว์เป็นตัวละครดำเนินเรื่อง หากแต่ว่า จริงๆ แล้ว ตัวละครสัตว์เหล่านั้น คือตัวแทนของมนุษย์ในรูปแบบต่างๆ ขณะที่เรื่องราวที่ดูเรียบง่าย และแฝงไว้ด้วยอารมณ์ขัน กลับแฝงความหมายเชิงปรัชญาและจิตวิทยาอย่างลึกซึ้ง

ก่อนอื่น ต้องสารภาพตรงๆ ว่า ตอนที่ผมหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นจากชั้นวางในร้านหนังสือ เพียงเพราะสะดุดตากับหน้าปกที่เป็นรูปตัวเฮดจ์ฮอก (hedgehog) ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีหนามบนหลังคล้ายเม่น แต่อยู่คนละอันดับ และคนไทยเรียกในชื่อว่า ‘เม่นแคระ’

ในช่วงวัยเด็ก เม่น รวมถึงเม่นแคระ เป็นหนึ่งในสัตว์ตัวโปรดของผม ด้วยความที่มีหนามแหลมอยู่บนตัว ทำให้สามารถป้องกันตัวเองจากสัตว์ดุร้ายที่มีขนาดใหญ่กว่าได้

ผมชอบคิดเอาเองว่า เม่น เป็นตัวแทนของคนใจดี ไม่ชอบเกะกะระรานใคร แต่ถ้ามีใครมารุกรานล่วงเกิน ก็จะโดนหนามทิ่มแทงไปเอง

ทว่า ในแง่มุมทางจิตวิทยา ซึ่งผมจำไม่ได้แล้วว่าเคยอ่านเจอมาจากที่ไหน บอกไว้ว่า เม่น คือตัวแทนของคนประเภทหนึ่ง คนที่มีโลกส่วนตัวสูง แม้ว่าอาจจะเปิดรับความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ แต่ก็จะมีระดับ หรือเส้นแบ่งกั้นไม่ให้ความสัมพันธ์นั้น ลึกซึ้งหรือแน่นแฟ้นเกินไป

ไม่ต่างอะไรจากหนามแหลมบนตัว ที่อาจทิ่มแทง แม้กระทั่งคนที่อ้าแขนกว้างเพื่อโอบกอด ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม

ผมอดคิดไม่ได้ว่า เม่นแคระที่ตัวเอกของเรื่อง ‘ถึงฉันจะโดดเดี่ยว แต่ก็ยังอยากอยู่คนเดียวอยู่ดี’ ของ โทน เทลเลอเฆิน คือตัวแทนของคนประเภทนั้น คนขี้เหงาที่โหยหาความสัมพันธ์จากคนอื่น แต่ขณะเดียวกัน ก็หวาดกลัวว่า หนามแหลมบนตัวจะทิ่มแทงทำร้ายผู้อื่น

ใจหนึ่งก็ต้องการความอบอุ่นจากความสัมพันธ์ แต่อีกใจหนึ่งก็กลัวว่า ความสัมพันธ์จะจบลงด้วยความเจ็บปวด จึงได้แต่บอกตัวเองว่า “ถึงฉันจะโดดเดี่ยว แต่ก็ยังอยากอยู่คนเดียวอยู่ดี”

มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่า หนังสือเล่มนี้ กลายเป็นหนังสือขายดิบขายดีในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสังคมที่ได้ชื่อว่า เต็มไปด้วยผู้คนที่รู้สึกโดดเดี่ยวท่ามกลางผู้คนในเมืองใหญ่ เมืองที่ผู้คนแออัดยัดเยียดเป็นปลากระป๋องบนรถไฟฟ้า ทว่า ต่างคนต่างรู้สึกอ้างว้างจนเหน็บหนาวในหัวใจ

“การอ่านหนังสือเล่มนี้ ทำให้ฉันอยากกอด ทั้งเม่นแคระ กอดใครสักคน และกอดตัวเอง ฉันค้นพบแล้วว่า ความเหงานั้นช่างอบอุ่นยิ่งนัก”

หน้าปกรูปเม่นแคระ ทำให้ผมตัดสินใจหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา แต่ข้อความของโยโกะ ฮารุมัตสึ นักเขียนชาวญี่ปุ่น ที่อยู่บนหลังปกหนังสือเล่มนี้ คือ สิ่งที่ทำให้ผมตัดสินใจซื้อหนังสือเล่มนี้

หนังสือเล่มนี้ เริ่มต้นเรื่องด้วยถ้อยคำง่ายๆ ว่า

“วันหนึ่งในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วง เม่นแคระนั่งอยู่ที่หน้าต่าง และจ้องมองออกไปข้างนอก เขาอยู่เพียงลำพัง ไม่เคยมีใครมาเยี่ยมเขาเลย…”

เม่นแคระ นึกขึ้นได้ว่า การที่ยังไม่มีสัตว์ตัวไหนมาเยี่ยมเขาเลย อาจเป็นเพราะเขาเองต่างหาก ที่ไม่เคยเอ่ยปากชักชวนให้ใครมาเยี่ยม เมื่อคิดได้ดังนั้นแล้ว เม่นแคระจึงเขียนจดหมายเชิญสัตว์ทุกตัวให้มาเยี่ยมเยียน

ทว่า หลังจากเขียนเสร็จแล้ว เม่นแคระตัดสินใจว่า ยังไม่ใช่เวลาอันควรที่จะส่งจดหมายฉบับนี้ ว่าแล้ว ก็นั่งครุ่นคิดจินตนาการถึงสถานการณ์อันเลวร้ายที่อาจเกิดขึ้น หากสัตว์แต่ละชนิดมาเยี่ยมบ้านของมัน

ไม่ว่าจะเป็น แรด ที่พุ่งชนทุกสิ่งทุกอย่าง ทำลายข้าวของทุกชิ้นในบ้านของเม่นแคระ ก่อนจะจากไปอย่างอารมณ์ดี หรือเจ้าหมีจอมตะกละ ที่เข้ามาเพียงเพื่อกินทุกอย่างในบ้านของเม่นแคระ เมื่อไม่เหลืออะไรให้กินอีกแล้ว เจ้าหมีจึงจากไปเพื่อไปเยี่ยมเยียนสัตว์ตัวอื่นต่อ

นอกจากนี้ ยังมีอีกาปากร้ายที่มาพร้อมถ้อยคำเสียดสี ประชดประชัน ปั่นหัว จนเจ้าของบ้านอย่างเม่นแคระต้องเป็นฝ่ายรู้สึกผิด ไหนจะกุ้งก้ามกราม จอมอันธพาล ที่ชอบทำร้ายร่างกายคนอื่น โดยไม่มีเหตุผลใดๆ ทั้งสิ้น นอกเสียจากว่า แค่พอใจอยากจะทำ

เราจะเห็นได้ว่า สัตว์ต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นตัวแทนของคนประเภทต่างๆ ที่ต้องพบเจอในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเพื่อนร่วมงานที่เห็นแก่ตัว ลุงป้าข้างบ้าน ที่ชอบพูดจาว่าร้าย อันธพาลในโรงเรียนตอนวัยเด็ก ที่ชอบแกล้งทำร้ายคนอื่นโดยไม่มีเหตุผล หรือแม้แต่คนที่เราไม่รู้จักในโลกโซเชียล ที่พร้อมจะเข้ามาปั่นหัวให้เรารู้สึกเฟล ด้วยคอมเมนต์แย่ๆ

ไม่แปลกที่เม่นแคระ จะเริ่มลังเลว่า จริงๆ แล้ว มันควรจะส่งจดหมายเชิญเพื่อนๆ สัตว์เหล่านี้ให้มาเยี่ยมบ้าน หรือจริงๆ แล้ว มันควรจะอยู่ลำพังคนเดียวอย่างสบายใจ แม้ว่าจะรู้สึกเหงาบ้างก็ตาม

และไม่แปลกที่ผู้คนจำนวนมาก จะรู้สึกลังเลว่า จริงๆ แล้ว เขาหรือเธอควรเปิดใจโอบรับความสัมพันธ์กับผู้คน ที่จะเข้ามาในรูปแบบต่างๆ หรือจริงๆ แล้ว เขาหรือเธอควรปิดตัวเองอยู่ลำพังคนเดียวอย่างสบายใจ แม้ว่าจะรู้สึกอ้างว้างบ้างก็ตาม

เรื่องราวของเม่นแคระชวนให้เรานึกถึงคนประเภทอินโทรเวิร์ต (Introvert) ซึ่งเป็นลักษณะบุคลิกภาพของคนที่มีโลกส่วนตัวสูง พอใจกับการอยู่ลำพังคนเดียว และให้ความสำคัญกับอารมณ์ ความรู้สึกของตัวเอง มากกว่าการออกไปพบเจอผู้คนในโลกภายนอก

ตรงกันข้ามกับคนประเภทเอ็กซ์โทรเวิร์ต (Extrovert) ซึ่งเป็นลักษณะบุคลิกภาพของคนที่ไม่ชอบอยู่คนเดียว สนุกสนานกับการออกไปพบเจอผู้คน ได้ทำลองทำอะไรใหม่ๆ และสามารถเข้ากับคนได้ง่าย

หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า คนที่มีบุคลิกแบบอินโทรเวิร์ต จะต้องเป็นคนเงียบๆ ขี้อาย ไม่ค่อยพูดค่อยจากับคนอื่น ซึ่งจริงๆ แล้ว อินโทรเวิร์ตหลายคน เป็นคนร่าเริง พูดคุยกับคนอื่นได้อย่างสนุกสนาน หากเพียงแต่เขาหรือเธอ เลือกที่จะสนุกสนานกับเพื่อนแค่บางคน ไม่ใช่กับทุกๆ คน 

นอกจากนี้แล้ว อินโทรเวิร์ต ยังสามารถออกไปเฮฮากับเพื่อนกลุ่มที่ตัวเองสนิท เพียงแต่ว่า เขาหรือเธอจะรู้สึกว่าต้องใช้พลังไปมากในการทำเช่นนั้น ดังนั้น พวกเขาจึงไม่ใช่มนุษย์สายปาร์ตี้ ที่พร้อมจะไปเฮฮาได้ทุกสุดสัปดาห์

อย่างไรก็ดี พฤติกรรมหลายๆ อย่างของเม่นแคระ อาจชวนให้สงสัยว่า มันอาจไม่ได้เป็นแค่อินโทรเวิร์ต หากแต่เป็นผู้ป่วยที่มีอาการหวาดกลัวสังคม ซึ่งในทางการแพทย์ใช้คำว่า SAD ที่ย่อมาจาก Social Anxiet Disorder

ผู้ป่วยที่มีอาการ SAD จะรู้สึกประหม่า ไม่สบายใจ อึดอัด เป็นกังวล จนถึงขั้นเครียดมาก เมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกจ้องมองโดยผู้คนจำนวนมาก เช่น การพูดต่อหน้าคนจำนวนมาก การนำเสนอผลงานในที่ประชุม หรือการพูดคุยกับคนแปลกหน้า

แน่นอน อาการประหม่า พูดจาตะกุกตะกัก มือไม้สั่น เวลาต้องอยู่ต่อหน้าคนจำนวนมาก เป็นเรื่องปกติธรรมที่ใครๆ ก็เป็นกันได้ และก็จะหายไปหากได้มีการซักซ้อมจนเกิดความมั่นใจ ตรงข้ามกับคนที่เข้าข่ายผู้ป่วย SAD จะมีอาการเหล่านี้ทุกครั้ง และส่งผลกระทบอย่างยิ่งทางจิตใจ จนกลายเป็นคนที่ขาดความมั่นใจในตัวเอง หรือ กลายเป็นคนที่มีความภาคภูมิใจในตัวเองต่ำ (Low Self-esteem)

อย่างไรก็ดี โรคหวาดกลัวสังคม เป็นสิ่งที่สามารถรักษาได้ ด้วยการปรับทัศนคติ รวมถึงการได้รับกำลังใจจากคนรอบข้างที่เข้าอกเข้าใจ

ในตอนท้ายๆ ของเรื่อง เม่นแคระ ซึ่งคิดว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในตัวเอง รวมถึงหนามแหลมของตัวเอง คือ สิ่งที่น่ารังเกียจ และเป็นสาเหตุทำให้ไม่มีสัตว์ตัวไหนอยากมาเยี่ยม จึงเตรียมเขียนจดหมายอีกฉบับ เพื่อบอกกับสัตว์ทุกตัวว่า

“ฉันไม่น่าคบ ฉันมีหนาม ฉันไม่เคยรู้ว่าจะคุยเรื่องอะไร… ตัวฉันไม่มีอะไรดีเลย ฉันไม่ได้เป็นอะไรสักอย่าง เพราะฉะนั้น อย่ามาเลย”

แน่นอนว่า หนังสือที่ได้รับความนิยมจากนักอ่าน ทั้งวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่เล่มนี้ ไม่ได้จบแบบหดหู่และสิ้นหวัง สุดท้าย เม่นแคระได้พบกับกระรอก ที่แวะมาเยี่ยมถึงในบ้าน และเป็นการเยี่ยมเยียนที่น่าประทับใจ แม้ว่าทั้งคู่จะแทบไม่ได้คุยกันเลย แต่ต่างฝ่ายต่างก็พึงใจกับการอยู่เงียบๆ เคียงข้างกันในบ้านหลังเล็กของเม่นแคระ

และท้ายสุด นิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า…

ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร หรือเป็นคนแบบไหน เป็นเม่นแคระ เป็นอินโทรเวิร์ต หรือแม้กระทั่งคนที่หวาดกลัวสังคม จงยอมรับตัวเองในแบบที่เป็น คุณไม่จำเป็นต้องสูญเสียความเป็นตัวเองเพื่อใคร

คุณไม่จำเป็นต้องถอดหนามของตัวเองทิ้งไป เพียงเพื่อจะได้ความใกล้ชิดจากคนอื่น เพราะในป่าแห่งนี้ ยังมีคนแบบกระรอก ที่สามารถทำให้หัวใจคุณอบอุ่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องเข้ามากอด

Tags:

ความสัมพันธ์ความเหงาอินโทรเวิร์ต (Introvert)การเข้าสังคมถึงฉันจะโดดเดี่ยว แต่ก็ยังอยากอยู่คนเดียวอยู่ดีหนังสือ

Author:

illustrator

สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

อดีตนักแปล-นักข่าว ปัจจุบันเป็นพ่อค้า พ่อบ้าน และพ่อของลูกชายวัยรุ่น รักหนังสือ ชอบเข้าร้านหนังสือ และชอบซื้อหนังสือมาดองเป็นกองโต

Related Posts

  • Book
    เพื่อนยาก: ความผูกพัน ความฝัน ความรับผิดชอบและการจากลาชั่วนิรันด์ในนาม ‘มิตรภาพ’

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Book
    เพื่อนคนเก่ง: ในมิตรภาพอันแสนซับซ้อนนั้นมีทั้งความรักและความอิจฉา

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • loneliness-nologo
    How to enjoy life
    ‘ภัยเงียบของความเหงา’ เมื่อคนมากมายไม่อาจเติมช่องว่างทางความรู้สึก

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Cover
    Book
    The Wild Robot: ชีวิตที่ลิขิตเอง ไม่ต้องรอโปรแกรมคำสั่ง

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Book
    ในโมงยามแห่งความรัก เราทุกคนล้วนบ้า…และมาจากดวงจันทร์

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

เรียนรู้อย่างมีความหมาย-ไร้รอยต่อ สร้างสมรรถนะเด็กไทยพร้อมรับความท้าทายแห่งอนาคต
Social Issues
15 July 2024

เรียนรู้อย่างมีความหมาย-ไร้รอยต่อ สร้างสมรรถนะเด็กไทยพร้อมรับความท้าทายแห่งอนาคต

เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ปริสุทธิ์

  • มีผลการศึกษาที่ชัดเจนว่าประเทศที่ใช้ฐานสมรรถนะในการพัฒนาผู้เรียนนั้น เด็กเกิดการพัฒนาที่ดีขึ้น ดังนั้นประเทศไทยจึงควรเปลี่ยน เพื่อเตรียมเด็กไทยให้พร้อมรับความท้าทายในอนาคต
  • การสร้างสมรรถนะแบบไร้รอยต่อ ต้องเริ่มตั้งแต่ปฐมวัย โดยธรรมชาติให้ Self มาตั้งแต่ในช่วงปฐมวัย และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการมีตัวตนของมนุษย์ที่จะรู้ว่า ตัวเองมีสมรรถนะอะไร มีความสามารถอะไร
  • การจะพัฒนาเด็กสู่สมรรถนะ ต้องพัฒนาแบบเป็นองค์รวม ซึ่งคำว่าองค์รวมตีความได้หลายมิติ แต่ท้ายที่สุดแล้ว ก็นำไปสู่การจัดการเรียนการสอนที่เรียกว่า การเรียนรู้ที่มีความหมาย (Meaningful Learning) เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม ที่ต้องการคนที่มีความพร้อมด้านสมรรถนะ

“เรื่องสมรรถนะไม่ใช่เรื่องใหม่ถอดด้าม หลายโรงเรียนทำมานานแล้ว เพียงแต่ไม่เรียกว่าสมรรถนะ เพราะทำไม่สุดแต่คิดว่าใช่ ก็อาจจะต้องทบทวน แล้วก็มีโรงเรียนส่วนหนึ่งทำแต่ส่วนใหญ่ทำเพียงเล็กน้อยถึงปานกลาง เพราะติดกับดักความคิดเดิมๆ เช่น มันต้องเกิดในเวลาเรียนนะ เกิดขึ้นในห้องเรียน ครูเท่านั้นที่เป็นผู้พัฒนาสมรรถนะ ถ้าครูไม่บอก ไม่สั่งสอน ไม่เรียนจากหนังสือไม่เกิดสมรรถนะ ทั้งๆ ที่นอกห้องเรียนบางทีเกิดเยอะกว่า”

ศ.ดร.บังอร เสรีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กล่าวในเวที TEP Forum 2024 ในหัวข้อ ‘พัฒนาผู้เรียนด้วยฐานสมรรถนะ’ โดยบอกเล่าจากประสบการณ์การทำงานที่คลุกคลีกับเรื่องเหล่านี้มาร่วม 7 ปี ว่ามีจุดไหนบ้างที่ต้องตระหนักถึง อะไรที่ทำให้เด็กไม่เกิดสมรรถนะอย่างที่ตั้งเป้าหมายกันไว้

เริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า ทำไมต้องทำ? ศ.ดร.บังอร เล่าผ่านข้อมูลสองชุดด้วยกัน 

“ชุดที่ 1 แผนภูมิ ระดับความสามารถของนักเรียนไทยเปรียบเทียบกับชาติต่างๆ (ร้อยละ) เป็นข้อมูลที่น่าตกใจมาก อยากให้เห็นภาพของข้อมูลที่เป็นระดับความสามารถจากการประเมิน ดูที่สีส้ม (แทนเด็กเก่ง: Top Performer) กับสีเหลือง (แทนเด็กอ่อน: Low Performer) ประเทศที่เขานำฐานสมรรถนะไปใช้ ปรากฏว่า เด็กเก่งมีเยอะ เด็กอ่อนมีน้อย แล้วเห็นประเทศไทยไหมคะ หาส้มไม่ค่อยเจอเหลืองย๊าว ยาว เพราะฉะนั้นนี่ก็ถึงเวลาแล้วว่า ถ้าเราจะสร้างเด็กให้มีคุณภาพ มีความสามารถสูงเราต้องเปลี่ยน เพราะประเทศที่ส้มยาวเปลี่ยนเป็นฐานสมรรถนะเป็น 10 ปี แล้ว”

แผนภูมิ ระดับความสามารถของนักเรียนไทยเปรียบเทียบกับชาติต่างๆ (ร้อยละ)

อีกทั้ง ผลการสอบ PISA ปี 2022: ผลประเมินความสามารถเด็กไทย ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นแล้วว่า คะแนนทุกด้านต่ำสุดในรอบ 20 ปี โดยเฉพาะด้านการอ่านที่ลดลงมากที่สุด และทุกด้านยังต่ำว่าค่าเฉลี่ยของ OECE ด้วย จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ว่า ทำไมต้องทำ? เพราะมีผลชัดเจนว่าประเทศที่ใช้ฐานสมรรถนะในการพัฒนาผู้เรียนนั้น เด็กเกิดการพัฒนาที่ดี 

ความรู้ + ทักษะ + เจตคติ/คุณลักษณะ เกิดเป็น ‘สมรรถนะ’ ที่ใช้พัฒนาศักยภาพผู้เรียน 

ศ.ดร.บังอร อธิบายคอนเซ็ปต์ของ ‘สมรรถนะ’ ว่า เกิดจากการใช้ ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และ เจตคติ/คุณลักษณะ (Attitude/Attribute) ในการทำงานหรือการแก้ปัญหาต่างๆ จนประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง 

“แต่ภาพที่เกิดแล้วหยุดเลย ไม่ได้ไปต่อ ก็คือเรียนๆ แล้วมีการประยุกต์เล็กน้อยถึงปานกลาง ไปไม่สุด เพราะฉะนั้นคอนเซ็ปต์นี้ไม่ใช่แค่เห็นว่ามีแต่ต้องนำไปใช้ด้วย อีกอันที่พูดถึงเยอะคือ การประเมินสมรรถนะ ซึ่งตัวนี้ก็เชื่อมให้เห็นว่าเวลาเราจะรู้ว่าคนมีสมรรถนะ สิ่งที่ต้องทำก็คือ ต้องจัดสถานการณ์ สถานการณ์เท่านั้นที่จะบอกว่าคุณมีหรือเปล่า มีสถานการณ์ให้เข้าร่วมทำได้ไหม ทำได้นั่นคือมี”

ถ้าอย่างนั้นแล้ว ทำอย่างไรได้บ้าง ที่จะทำให้เด็กเกิดสมรรถนะ? ในมุมของ ศ.ดร.บังอร มองว่า 

“หลายคนบอกว่าถ้าเราจะพัฒนาสมรรถนะให้เด็กได้คิด ปฏิบัติจริง คำว่า Active Learning ก็เข้ามา ถ้าคิดแค่นี้ยังเสี่ยงอยู่ อาจไปไม่สุด ต้องเพิ่มคำสำคัญคือ การประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่/ใช้ในชีวิตจริง ความเสี่ยงจะน้อยลง แต่ถ้าไม่ต้องการเสี่ยงต้องทำให้เขากระหาย อยากเรียน อยากเดิน อยากทำ มีความมุ่งมั่น เริ่มต้นตรงนี้ก่อน เพราะนั่นคือรากฐานสำคัญ”

สุดท้าย โรงเรียนจะทำได้ไหม? เริ่มอย่างไร? ศ.ดร.บังอร เสนอ 2 เส้นทาง โดยเส้นทางที่ 1 เริ่มต้นจากการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะหรือพัฒนาสมรรถนะ และค่อยๆ ถอดบทเรียน เพื่อทำหลักสูตรสถานศึกษาฐานสมรรถนะ และนำหลักสูตรไปใช้ 

“เส้นทางนี้ทำได้ทุกโรงเรียน แต่สิ่งสำคัญหนึ่งคือจะทำอะไรต้องรู้จักเขาอย่างละเอียด สองให้เลือกแนวทางที่หลากหลาย เหมาะสมกับการพัฒนาสมรรถนะแต่ละด้าน สามเป็นหัวใจเลยต้องนึกถึงสถานการณ์ 3 อย่าง เราเรียกว่าสถานการณ์เพื่อการเรียนรู้ (ASK) นั่นคือสถานการณ์ที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาขั้นแรกของสมรรถนะ สถานการณ์อันที่สองคือ การประยุกต์ใช้ เอาไปใช้ สถานการณ์ที่สาม เช็ค ตรวจสอบดูว่าเกิดหรือยัง เป็นสถานการณ์เพื่อประเมินสมรรถนะ”

เส้นทางที่ 2 คือ การทำหลักสูตร และนำไปใช้ เส้นทางนี้ทำได้แค่โรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรม ที่มีการใช้หลักสูตรประเภทที่ 3 คือ หลักสูตรอื่นๆ ที่สถานศึกษานำร่องประสงค์จะจัดการเรียนการสอนโดยไม่ใช้หลักสูตรตามมาตรา 20 (4) 

“การนำหลักสูตรไปใช้พัฒนาสมรรถนะผู้เรียนจะเกิดปรากฏการณ์ 3 อย่างขึ้น เลือกได้เลยว่าอยากให้โรงเรียนเป็นอย่างไร ปรากฏการณ์ที่ 1 คือ โกลาหล สับสน และทุกข์ทน ใครก็ตามทำพอเป็นพิธี เวลาเอาไปใช้จะเป็นอย่างนี้เลย อันที่ 2 อึดอัดเล็กน้อยไม่สบายตัว พัฒนาเล่มหลักสูตรตามความรู้ ความเข้าใจ แต่ไม่พัฒนาสมรรถนะหน้างาน อันนี้ก็ยังมีประโยชน์ แต่ถ้าอยากสบายๆ ก็นำประสบการณ์เดิม เอาความรู้ ตอนทำที่เราเข้าใจมาพัฒนา”

ในการทำงานการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนนั้น ศ.ดร.บังอร ชี้ว่า จุดเริ่มต้นคือการเข้าใจที่ชัดเจน “ทำไป คิดไป ปรับไป ยิ่งเข้าใจลุ่มลึก” 

“ที่สำคัญการพัฒนาสมรรถนะที่เกิดผลต้องอาศัยลมใต้ปีก อย่าปล่อยให้ครูทำงานโดยลำพัง ผู้บริหารเข้าไปช่วย ศึกษานิเทศน์ นักวิชาการต้องช่วยกัน 

การสอนเป็นหน้าที่ของครูอยู่แล้ว แต่ต้องคอยสนับสนุนเป็นลมให้เขาบินได้ และอย่าทำงานในมุมแคบๆ ห้องเรียนเล็กๆ หนังสือสองสามเล่ม เปิดกว้างให้แนวทางที่หลากหลาย และชวนสองผู้มาทำงานด้วย คือ ผู้เรียน กับ ผู้ปกครอง จะทำให้ทุกท่านเดินอย่างมั่นใจ และผู้เรียนก็เกิดสมรรถนะ”

พัฒนา 4 ด้าน, Self และทักษะ EF 3 มิติในการพัฒนาเด็กอย่างสมดุลในทุกช่วงวัย 

ในช่วงของการเสวนามีอีกหนึ่งหัวข้อที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาผู้เรียนด้วยฐานสมรรถนะ ที่ศ.ดร.บังอร ได้กล่าวในช่วงต้น นั่นก็คือ ‘สร้างสมรรถนะเพื่อคนทุกวัย รับความท้าทายแห่งอนาคต’ โดยเริ่มจากปฐมวัย 

“เราเชื่อว่าปฐมวัยคือรากฐานของชีวิตมนุษย์ เราไม่พัฒนาเขาเพื่อเข้าสู่ชั้นประถมปีที่ 1 แต่เราสร้างเขาเพื่อชีวิตของเขาทั้งหมด” อาจารย์ธิดา พิทักษ์สินสุข นายกสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ พูดถึงการส่งเสริมสมรรถนะแบบไร้รอยต่อ ต้องเริ่มตั้งแต่เด็กเล็ก 

“ธรรมชาติให้สิ่งที่ดีงามที่สุดให้กับเด็กปฐมวัย แต่ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น เมื่อเข้าสู่ช่วง 5 ขวบ ก่อนที่จะเข้าสู่วัยเรียน เด็กของเราพัฒนาล่าช้าไปถึง 1 ใน 4 แล้ว ทักษะสมอง EF ซึ่งเป็นทักษะที่ประกันความสำเร็จของมนุษย์ในอนาคต พัฒนาล่าช้าไปถึง 29% ความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นมาตั้งแต่เขายังไม่เข้าสู่วัยเรียนเลย ทั้งๆ ที่ธรรมชาติให้หน้าต่างแห่งโอกาส ให้พัฒนาที่ดี ให้ Self ที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ที่สุดในชีวิตของมนุษย์”

“ในเรื่องของพัฒนาการเด็กคว่ำ หงาย คลาน อย่างรวดเร็ว พอถึงหนึ่งขวบพูดหนึ่งคำ สองขวบพูดสองคำ แต่พอสี่ขวบเขาเถียงกับเราได้ทันที คือพัฒนาการไวมากๆ จนต้องจับตามอง ในช่วงนี้พัฒนาการขั้นพื้นฐานจะส่งผลต่อพัฒนาการในระยะถัดๆ ไป ถ้าเราทำดี พัฒนาการไม่ล่าช้า ไม่มีรอยต่อแน่นอน”

มาที่เรื่องของ ‘ตัวตน’ หรือ Self อาจารย์ธิดาอธิบายว่า ธรรมชาติให้ Self มาตั้งแต่ในช่วงปฐมวัย และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการมีตัวตนของมนุษย์ที่จะรู้ว่า ตัวเองมีสมรรถนะอะไร มีความสามารถอะไร 

“ถ้าเด็กมี Self แข็งแรง เขาจะมีพลังชีวิตที่จะก้าวออกไปเรียนรู้ในโลกใบนี้ โลกใบนี้ไม่น่ากลัว จะมองโลกในมุมบวก จะนึกถึงคนอื่นว่าสิ่งที่ทำจะกระทบถึงคนอื่นอย่างไร 

เพราะฉะนั้น Self เริ่มต้นในขวบปีแรกของชีวิต และ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยลำพัง เกิดขึ้นจากการมีสัมพันธ์กับคนอื่น แปลว่าไม่ได้เริ่มที่ตัวเขา แล้วขยายไปที่คนอื่นอย่างที่การศึกษามักเข้าใจ แต่มันจะหลอมรวมไปตั้งแต่แรกเกิดของชีวิต ที่มีตัวเขาและคนอื่น มีความสัมพันธ์กันตลอดเวลา แล้ว Self ยังส่งผลถึงเมื่อมีพลังชีวิตสมองจะทำงานได้ดี Self ที่แข็งแรง จึงส่งผลดีต่อการทำงานของ EF ด้วย”

“สมองของเด็กจะมีพัฒนาการด้าน EF หรือ Executive Functions หรือทักษะสมอง เมื่อสมองเริ่มต้น แน่นอนว่าเราเรียนรู้กันอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้วว่า หลังจากความรู้ทางด้าน Neuroscience (ประสาทวิทยาศาสตร์) เข้ามา สมองของเด็กเติบโตได้ถึง 80-90% ของสมองผู้ใหญ่ สมองที่เรามีทุกวันนี้เด็กเขามีมาตั้งนานแล้ว เรามาเติมกันอีกหน่อยเดียว เติมทักษะที่มีความเชี่ยวชาญจากประสบการณ์”

ในการทำงานกับเด็กปฐมวัย อาจารย์ธิดา มองว่า “เด็กคือเมล็ดพันธุ์ที่มีศักยภาพอยู่ในตัว เราจะไม่ไปจัดการกับเมล็ดพันธุ์นี้ แต่เราจะเป็นชาวสวนที่ขยันขันแข็ง รดน้ำพรวนดิน เพื่อให้สิ่งที่ธรรมชาติให้เด็กๆ มานั้นเติบโตงอกงาม นั่นคือ พัฒนาการที่ดี Self ที่แข็งแรง และ EF ที่ดี 

เพราะฉะนั้นสิ่งที่ครูปฐมวัยจะต้องรู้และอยากจะฝากไปทุกช่วงวัยก็คือ ครูจะต้องมีความรู้ฐานราก 3 มิติ คือ พัฒนาการ 4 ด้าน Self และทักษะสมอง EF เป็นความรู้สามัญประจำมนุษย์ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นครู พ่อแม่ นักการศึกษา ประชาชนทั่วไปต้องมีความรู้สามัญประจำตัวเพื่อดูแลเด็กๆ ความรู้นั้นคืออะไร แม่นยำในเรื่องของพัฒนาการ อย่าฝืนให้เขาทำอะไรที่ไม่ใช่ในเรื่องพัฒนาการของเขา” 

“เพราะเด็กคือธรรมชาติที่งดงาม เขาคือต้นกล้าที่มี Self ที่แข็งแรงอยู่ในตัว ถ้าเขาได้รับความรัก ความอบอุ่น จากคนรอบข้าง แต่ถ้าคุณทำลาย Self เขาด้วยการเปรียบเทียบ กดดัน พยายามที่จะทำให้เขาไม่ได้รับความสำเร็จด้วยตัวเอง แม้กระทั่งใส่รองเท้า ถุงเท้า เขากำลังจะใส่ก็ยังดึงดันที่จะใส่ให้เขาอีก เขาเรียกว่าการเอาใจมากเกินไปทำให้เขาไม่ค้นพบเลยว่าเขามีศักยภาพ หรือมีสมรรถนะอะไร ธรรมชาติที่เขามี สมองที่ดี แต่เราไม่ได้ให้เขาคิด เขาอยากจะตัดสินใจที่จะเลือกหยิบเสื้อผ้ามาใส่ เขาอยากจะเล่นของเล่น คุณครูก็กำหนดว่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วเมล็ดต้นกล้าเหล่านี้จะงอกงามได้อย่างไร”

ในด้านการจัดการศึกษาในเด็กเล็ก อาจารย์ธิดาจึงมองว่า “เราต้องเคารพในความเป็นธรรมชาติของเด็ก เราไม่มองเด็กเป็นเครื่องจักรที่จะจัดการให้เขารู้อย่างนั้น รู้อย่างนี้ ครูอนุบาลถูกสอนสั่งมาว่า เด็กคือครูของเรา เราต้องให้ความใส่ใจ แล้วหาจังหวะที่เราเอื้ออำนวยให้เขาเติบโตอย่างงดงาม”

ความรู้ฐานรากในการพัฒนาเด็ก (Knowledge Foundation for Child Development)

“การจัดการเรียนการสอนในระดับประถม ในระดับมัธยม ต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเขาด้วย โดยเฉพาะอย่างช่วงที่เขาจะเป็นวัยรุ่น การจัดการเรียนการสอนบางทีเรามองเรื่องของความรู้ ทักษะ เจตคติหรือคุณค่า แต่มองถึงด้วยไหมว่าพัฒนาการของเด็กที่กำลังเข้าสู่วัยพรีทีน เขากำลังปั่นป่วนอะไรอยู่ในตัวของเขา ฝากมองสายที่เชื่อมต่อกันไปจากปฐมวัยด้วย สายใยที่เราสร้างเอาไว้ให้เขามีภูมิต้านทานทางด้านพลังชีวิตก็คือ Self ของเขาที่เริ่มก่อตัวตั้งแต่ปฐมวัยแล้ว ทำให้เขาเห็นคุณค่าในตนเอง ทำให้เขาเห็นคุณค่าในผู้อื่น” 

ทั้งนี้ เด็กปฐมวัยเรียนรู้ผ่านการกระบวนการหลากหลาย อาจารย์ธิดา เล่าว่า นอกจากลงมือทำแล้ว เด็กจะเรียนรู้ผ่านการซึบซับจากสภาพแวดล้อมทั้งหมด รวมถึงตัวคุณครูเองที่เป็นแบบอย่าง เพราะฉะนั้นในแนวการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจึงไม่ควรมองแคบหรือตีบตันเพียงแค่การศึกษา แต่มองถึงการพัฒนาตัวเด็กโดยองค์รวม 

“แล้วถ้ามองในเรื่องของ Ecology (นิเวศวิทยา) ของเด็กปฐมวัย เด็กเกี่ยวพันกับโรงเรียน ครอบครัว เพราะฉะนั้นปฐมวัยจะดึงครอบครัวเข้ามาร่วมกันพัฒนาเด็กไปด้วยกัน แบบที่พยายามไม่ให้มีรอยต่อระหว่างบ้านกับโรงเรียน กระทรวงต่างๆ หน่วยงานต่างๆ ผู้คนต่างๆ ที่แวดล้อมรอบเด็กก็ถูกบังคับให้เป็นองค์รวม หากวันนี้สังคมไทยยังแยกส่วนต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างมีมาตรฐานคุณภาพตัวชี้วัดเป็นของตัวเอง เราก็หั่นเด็กเป็นชิ้นอีกเหมือนกัน”

“เด็กปฐมวัยเตือนสติเราอยู่ตลอดเวลาว่า เขามีชีวิตแบบองค์รวมอย่าทำให้เขาแยกส่วน และเขาเปลี่ยนแปลงถ้าผู้ใหญ่เปลี่ยนแปลง 

ถ้าเมื่อไหร่พวกเราเก่งขึ้น ดีวันดีคืนขึ้น เป็นชาวสวนที่แข็งแรงและเฉลียวฉลาดในการดูแลต้นกล้าอย่างนี้ เขาจะเติบโต งดงาม และเขาจะกลับมาเป็นที่ชื่นใจของพวกเรา แต่ถ้าเราเป็นคนสวนที่ไม่ขยันขันแข็ง ไม่ได้ใส่ใจว่าเม็ดพันธุ์แต่ละต้นมันมีความหลากหลายต่างกันยังไง ทำตามใจตัวเองหรือทำเหมือนกันหมดทั้งแปลง ต้นกล้าแต่ละต้นก็จะไม่สามารถงอกงามได้ หรือเติบโตอย่างล่าช้า ไม่ว่าเราจะทำข้างบนอย่างไรให้เก่ง คิดนวัตกรรมดีแค่ไหน หากตัวเขาไม่ได้เป็นต้นกล้าที่แข็งแรงมาตั้งแต่ช่วงปฐมวัย ต้นกล้าก็จะแคระและแกร็น หากเราไม่ให้ความใส่ใจกับวิธีคิดของการดูแลเด็กปฐมวัย”

อาจารย์ธิดา เสริมว่า ในด้านพัฒนาการที่ล่าช้านั้นเป็นเพราะผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กยังขาดความรู้เรื่องพัฒนาการ ขาดความรู้เรื่อง Self และขาดความรู้เรื่องของสมอง 

“เวลาเราพูดถึงหลักสูตรฐานสมรรถนะ พูดถึง Active Learning ต้องกลับมาถามว่าสอนแล้วเด็กกำกับตัวเองได้ไหม ทุกวันนี้ปัญหาเกิดจากเด็กไม่สามารถกำกับตัวเองได้ เพราะว่าจริงๆ ช่วงของ Early Childhood (วัยเด็กตอนต้น) EF พัฒนาสูงสุด พอเขาไม่สามารถที่จะมีความยั้งคิดไตร่ตรองหรือยับยั้งชั่งใจได้ วงจรประสาทของสมองที่ดีที่สุดในช่วงเล็กๆ มันไม่ได้ถูกสร้าง อาจจะมาจากการตามใจบ้าง ไม่เข้าใจพัฒนาการบ้าง ทำให้ส่วนนี้อ่อนแอ แปลว่าเมื่อเขาโตขึ้นในชั้นประถมเขาก็กำกับตัวเองไม่ได้เลยในการที่จะรู้เวลาว่าตัวเองจะต้องเรียนหนังสือ 

พอกำกับตัวเองไม่ได้ยั้งใจตัวเองไม่ได้ เวลาเพื่อนมาแกล้งจัดการกับอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ทักษะเสียหายไปหมด จึงเห็นเด็กติดยา เด็กทำอะไรตามใจ ทำอะไรตามอารมณ์ตัวเอง เพราะขาดการฝึกฝนทักษะการยับยั้งชั่งใจ การจัดการอารมณ์ การจดจ่อใส่ใจ เพราะทั้งหมดนั้นการที่จะทำให้เด็กคนหนึ่งพัฒนาได้ แล้วทำให้เขายังรักคนอื่น รักสิ่งแวดล้อม หลักการสำคัญที่สุดคือการสร้างความสัมพันธ์เชิงบวก จึงทำให้ทุกอย่างไร้รอยต่อ เพราะมันจะสมานทุกอย่างเข้าไป”

พัฒนาเด็กแบบองค์รวม ด้วย Meaningful Learning การเรียนรู้ที่มีความหมาย 

“การพัฒนาเด็กต้องพัฒนาแบบเป็นองค์รวม ซึ่งคำว่าองค์รวมนั้นตีความได้หลายมิติ แต่ท้ายที่สุดแล้ว ก็นำไปสู่การจัดการเรียนการสอนที่เราเรียกว่า การเรียนรู้ที่มีความหมาย หรือ Meaningful Learning” รศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า รองคณบดี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พูดถึงปรัชญาหนึ่งที่สำคัญของการศึกษาปฐมวัย ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์การศึกษาที่นำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนสู่สมรรถนะ  

โดยคอนเซ็ปต์ Meaningful Learning รศ.ดร.ยศวีร์ อธิบายว่า พูดถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งสังคมในแต่ละยุคสมัยมีความต้องการที่แตกต่างกันไป 

“ยุคหนึ่ง Meaningful Learning ในระดับประถมกับมัธยมให้ความสำคัญกับการที่พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนรู้เยอะ สอบเก่ง เข้าเรียนในคณะที่เรียนยาก เพราะฉะนั้นกลไกก็เลยไหลไปสู่การเรียนการสอนแบบนั้น เลยเกิดตะเข็บขึ้น เพราะว่าตะเข็บของ Meaningful Learning ของอนุบาล ประถม กับมัธยม เป็นคนละกระบวนทัศน์กัน”

ในฐานะที่มาจากภาควิชาหลักสูตรและการสอน รศ.ดร.ยศวีร์ มองว่า “เราจัดการศึกษา เราไม่ได้จัดการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองหรือผู้ที่กำหนดตัวทิศทางใดๆ ก็ตาม แต่ท้ายสุดแล้วเรากำลังจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของสังคม 

ในยุคนี้ต้องทำความเข้าใจก่อนเลยว่า ผู้ที่มีผลประโยชน์โดยตรงกับการรับผลผลิตทางการศึกษาก็คือกลุ่มผู้ประกอบการ เพราะเขาเป็นคนรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาเข้าไปสู่โลกของการทำงาน โลกของวิชาชีพ ยุคหนึ่งนายจ้างเคยบอกว่าฉันต้องการคนที่รู้เยอะรู้เก่ง แต่พอเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าขึ้นมา ไม่จำเป็นแล้ว เพราะหลายอย่างเทคโนโลยีทำงานแทนคนได้ มีการพูดถึงเรื่องของ multitasking คือคนหนึ่งคนทำอะไรได้หลายต่อหลายอย่างในเวลาเดียวกัน เพราะฉะนั้นเราจะสังเกตเห็นเลยว่า เวลาที่เราพูดถึงเรื่องของความต้องการของผู้ประกอบการเขาไม่ได้คาดหวังคนเก่งอีกต่อไปแล้ว”

รศ.ดร.ยศวีร์ ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่ทำให้เห็นภาพชัดของงานหนึ่งงานที่แฝงไปด้วยความรู้ ทักษะ และเจตคติ 

“สมมติว่าถ้าเราจะต้องเขียนบัตรอวยพรญาติผู้ใหญ่เนื่องในวันคล้ายวันเกิด เราจะเขียนว่าอะไร มาดูสิว่าจริงๆ แล้วมันต้องใช้สมรรถนะอะไรบ้าง ผลผลิตในงานนี้ที่เราต้องการคือคำอวยพรที่เป็นคำพูด ความรู้ที่เขาจะต้องใช้ในการเขียนคำอวยพรญาติผู้ใหญ่ คำพูดการใช้ภาษามีผลหมดเลย ทักษะที่จะต้องใช้ก็มีการสื่อสาร คือถ้ามีความรู้ว่าต้องใช้ภาษาแบบนี้ แต่พูดจาไม่ได้เลย ความรู้ก็ไม่ถูกเอาไปใช้ เช่นเดียวกันกับตัวคุณลักษณะหรือสิ่งที่มันอยู่ข้างใน สิ่งที่มันมองไม่เห็นอาจจะเป็นมารยาทในการใช้ภาษาท่าทาง ความสุภาพ ท่าทางที่เราใช้ในการส่งความปรารถนาในขณะที่เราสื่อสาร เพียงแค่ตัวอย่างเล็กๆ ในชีวิตประจำวันที่คนหลายคนมักจะมองข้ามอย่างการอวยพรญาติผู้ใหญ่ จริงๆ แล้วมันแฝงไปด้วยทักษะ แฝงไปด้วยความรู้ แฝงไว้ด้วยคุณลักษณะ หรืออะไรใดๆ ที่อยู่ข้างในแบบที่เรามองไม่เห็น นี่คือสิ่งที่การศึกษาโลกกำลังจะพัฒนาให้มนุษย์คนนึงเติมเต็มด้วยสิ่งเหล่านี้” 

“และในฐานะที่อยู่ในภาคส่วนของครุศึกษา เราพัฒนาครู มันมีมายด์เซ็ตนึงที่เราค่อนข้างกังวลกับการเปลี่ยนแปลงจากหลักสูตรที่จะอิงมาตรฐานไปสู่ฐานสมรรถนะ เราจะเห็นเลยว่าภาพที่เรามองผลผลิตปลายทางที่เป็นตัวผู้เรียน เราไม่ได้ให้ความสำคัญกับคนที่รู้เยอะหรือได้คะแนนเยอะๆ อย่างเดียว หรือเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับคนที่เขาทำอะไรต่อมิอะไรคล่องแคล่ว แต่สิ่งที่ทำถูกบ้างผิดบ้าง และเราก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคนที่ทำอะไรเป็นแต่ว่าเอาความสามารถของตนเองไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง”

“สิ่งที่เด็กจะพัฒนาได้ แน่นอนมันต้องผ่านประสบการณ์ตรง ในเรื่องของการเรียนรู้ที่มีความหมายหรือว่า Meaningful Learning ผมอยากขยายความต่อว่า ตะเข็บหรือว่ารอยเชื่อมต่อมันจะหายไปถ้าเราเซ็ตคอนเซ็ปต์ของ Meaningful Learning ให้ตรงกับปฐมวัย ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ทำได้แล้วสังคมมองหาด้วยซ้ำไป 

อย่างที่บอกว่าตอนนี้มุมมองวิธีคิดความต้องการของคนในสังคมที่คาดหวังต่อการจัดการศึกษาหรือผลผลิตของการศึกษา เขาไม่ได้ต้องการคนเก่ง แต่เขาต้องการคนที่มีความพร้อมในการมีสมรรถนะ 

ซึ่งการสอนให้เด็กเกิดสมรรถนะ คีย์เวิร์ดสำคัญก็คือ การลงมือปฏิบัติ หรือ Active Learning เพราะว่าสมรรถนะหรือทักษะใดทักษะหนึ่งไม่ได้เกิดขึ้นมาได้เพียงชั่วข้ามคืน เราไม่สามารถสอนให้เด็กเกิดทักษะได้อย่างชำนิชำนาญ โดยคิดไว้เลยว่าสองคาบทำได้เลย เพราะฉะนั้นความต่อเนื่อง ตอกย้ำ ซ้ำทวน การจัดประสบการณ์ให้เขาเกิดซ้ำๆ จนกระทั่งเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นระบบ จะทำให้ทักษะของเขาแข็งแกร่ง ทำให้เขาเกิดสมรรถนะขึ้นโดยธรรมชาติที่สุด แล้วเมื่อไรก็ตามที่เกิดทักษะ เกิดสมรรถนะแล้วสิ่งนั้นจะอยู่ติดตัว” 

สำหรับ Meaningful Learning หรือการเรียนรู้ที่มีความหมายนั้น รศ.ดร.ยศวีร์ อธิบายต่อถึงคอนเซ็ปต์ของการสอนว่า “ครูทุกคนจะรู้เลยว่าในการที่จะสอนให้เด็กคนนึงเกิดความสำเร็จได้ ต้องมีความสอดคล้องกันใน 3 สิ่งนี้ สิ่งแรกคือเราต้องมีเป้าหมายหรือการเรียนรู้ที่ชัดเจน สองคือกระบวนการจัดการเรียนการสอน และสุดท้ายก็คือการวัดผลประเมินผล พูดง่ายๆ ความสอดคล้อง 3 ส่วนนี้คือ หลักสูตร การสอน และการประเมินผล 

ทุกวันนี้จะบอกว่าการสอนขั้นพื้นฐานเราก็สอดคล้องนะครับ 3 ตัวนี้ แต่สิ่งสอดคล้องของเราไม่ได้สอดคล้องกับเขาเท่านั้นเอง ถึงจุดนี้ทุกท่านจะเห็นเลยว่ารอยตะเข็บที่ว่ามันมาจากไหน แต่มันมีแนวโน้มทิศทางที่ดีขึ้นนะครับ ในกลุ่มนักวิชาการหลายต่อหลายท่าน ก็รวบรวมพลังพอสมควรที่จะทำให้เกิดภาพเปลี่ยนของหลักสูตรของบ้านเราให้เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ 

แต่กลไกนึงที่นักครุศึกษาไม่ใช่ผมคนเดียว ก็หลายคนด้วยซ้ำมองไปในทิศทางเดียวกันว่า ถ้าเปลี่ยนหลักสูตรแต่การสอนและการวัดประเมินผลไม่เปลี่ยนก็ไม่มีประโยชน์ เพราะถ้าสมมติหลักสูตรกำหนดว่าต้องทำให้เด็กเกิดสมรรถนะ คุณครูก็ทราบ แต่ปรากฏการสอนก็ยังสอนคอนเซ็ปต์แล้วตามด้วยแบบฝึกหัดเป็นแพทเทิร์นปกติที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน เด็กไม่ได้เอาความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ในขณะเดียวกันการวัดประเมินผลของคุณครูก็เป็นลักษณะของ paper-pencil test (แบบให้เขียนตอบ) เพื่อตอบให้ได้ว่าคะแนนดีขึ้นกี่เปอร์เซ็น ตัดเกรดเท่าไร อันนี้มันก็จะเห็นเลยว่า ทั้ง 3 สิ่งที่ผมบอกมันไม่สอดคล้องกัน แล้วก็เกิดสับสนกับตัวเองอีกว่าเราจะไปทางไหน 

เพราะฉะนั้นถ้าเรามองดีๆ เราจะเห็นเลยว่าความต้องการของสังคม เราต้องการคนแบบไหน การที่จะเกิดสมรรถนะได้มันต้องมีงาน และงานจะเกิดขึ้นเด็กต้องลงมือทำ เช่น การเขียนการ์ดอวยพรญาติผู้ใหญ่ที่ยกตัวอย่างไป ต้องใช้ทั้งความรู้ ต้องมีทักษะอะไรบางอย่าง การเขียน การใช้ภาษา การสื่อสาร ต้องมีคุณลักษณะบางอย่างออกมาเพื่อทำให้เขียนแล้วญาติผู้ใหญ่เกิดความซาบซึ้ง” 

“ท้ายสุดแล้วถ้าต้องเรียนแบบสมรรถนะ สมมติมีหลักสูตรเรียนแบบฐานสมรรถนะ คุณครูให้เด็กทำงาน มี Active Learning ให้เด็กเรียนรู้ ถึงเวลาครูก็ให้เด็กสอบ RT (Reading Test คือการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1) อยู่ดี หรือสอบ O-Net (การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน) อยู่ดี มันก็ไม่ไปไหน เพราะฉะนั้นมันจะทรงพลังมากถ้ามีอิทธิพลมาสู่หลักสูตร การสอนและการวัดประเมินผล 

แต่ก็ต้องยอมรับว่าเวลาพูดถึงการวัดประเมินผลผู้เรียน ในชั้นเรียน ในบริบทจริงๆ เห็นความเพียรพยายามของคุณครูนะครับ ในการที่จะประเมินเด็กแทนที่จะประเมินจากการใช้ข้อสอบ เราก็พยายามให้เด็กทำชิ้นงาน และเราก็จะให้เด็กประเมินจากชิ้นงาน ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีในระดับห้องเรียน แต่เราพบว่าในระดับประเทศที่มีเรื่องของ Accountability System ระบบรับผิดรับชอบ ก็จะมีกลไกในการต้องใช้คะแนนเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยต่างๆ มองในมุมของคุณครูมันเป็นแรงกดดันมหาศาลมาที่คุณครู แล้วก็อยากจะฝากจริงๆ ครับว่า Seamless (ไร้รอยต่อ) ที่มันจะเกิดขึ้นได้มันต้องสอดคล้องกันทั้งในส่วนที่เป็นของหลักสูตร การสอน และการประเมินผล มันจะทำให้บรรยากาศในชั้นเรียนเปลี่ยนไปได้จริงๆ ครับ” รศ.ดร.ยศวีร์ ทิ้งท้าย

Tags:

EFActive Learningสมรรถนะการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaningful Learning)การพัฒนาผู้เรียนตัวตน (Self)การสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกปฐมวัย

Author:

illustrator

นฤมล ทับปาน

Photographer:

illustrator

ปริสุทธิ์

Related Posts

  • Kru-gar_cover 2
    Creative learning
    ‘ปล่อยให้เด็กอ่านโลกก่อน แล้วค่อยอ่านหนังสือ’ ใช้เวลาทองแห่งการเติบโตช่วงปฐมวัยให้คุ้มค่า: ครูก้า – กรองทอง บุญประคอง โรงเรียนจิตตเมตต์ (ปฐมวัย)

    เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ปริสุทธิ์

  • Creative learning
    พาเด็กอนุบาลเรียนรู้ผ่าน ‘งานสวน’ เสริมสมรรถนะการอยู่ร่วมกันและการแก้ปัญหา:  ครูกิม – ภาวิดา แซ่โฮ่ โรงเรียนรุ่งอรุณ

    เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ปริสุทธิ์

  • Early childhoodEF (executive function)
    “อุ้มหนูหน่อย” = ลูกกำลังเสียเซลฟ์ พ่อแม่สร้างตัวตนให้ลูกได้ผ่านการเลี้ยงดู

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา ภาพ ณิชากร ศรีเพชรดี

  • EF (executive function)
    ปนัดดา ธนเศรษฐกร: เลี้ยงลูกถึงใจ ด้วยวินัยเชิงบวก

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • EF (executive function)
    เพราะอะไรจึงไม่ควรเรียนหนังสืออย่างจริงจังก่อน 7 ขวบ: นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

โยนคำวิจารณ์ที่บดขยี้ความมั่นใจของเราทิ้งไป แล้วกลับมาฟังเสียงหัวใจตัวเอง
How to enjoy life
13 July 2024

โยนคำวิจารณ์ที่บดขยี้ความมั่นใจของเราทิ้งไป แล้วกลับมาฟังเสียงหัวใจตัวเอง

เรื่อง อัฒภาค ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • ดร.จูลี่ สมิธ นักจิตวิทยาคลินิก มองว่าอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ เป็นเพียงกลไกปกป้องตัวเองจากภัยคุกคาม ดังนั้นสิ่งสำคัญคือเราต้องรู้เท่าทันและกล้าเผชิญหน้ากับความรู้สึกเหล่านั้น
  • ในบทที่ว่าด้วย ‘การรับมือกับคำวิจารณ์และการไม่เป็นที่ยอมรับ’ ดร.จูลี่ บอกว่ามนุษย์ถูกสร้างมาให้ใส่ใจคำพูดของคนรอบตัว ดังนั้นการเรียนรู้ที่จะรับมือกับคำวิจารณ์และการไม่เป็นที่ยอมรับด้วยวิธีที่เหมาะสมถือเป็นทักษะชีวิตที่สำคัญมาก
  • คนคนหนึ่งจะลุกขึ้นอีกครั้งได้ก็ต่อเมื่อเราหยุดทุบตีเขาเสียก่อน ดังนั้นกุญแจสำคัญของการใช้คำวิจารณ์ให้เป็นประโยชน์ คือการเป็นฝ่ายสนับสนุนให้ตัวเอง โดยเราต้องเห็นอกเห็นใจตัวเองมากพอที่จะพิจารณาและตัดสินใจว่าควรเก็บหรือทิ้งคำวิจารณ์ใด

ผมเป็นคนหนึ่งที่สงสัยในศักยภาพของตัวเอง ผมมักรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพออยู่เสมอ โดยเฉพาะในเรื่องงาน แม้ว่าหลายครั้งผู้คนมากมายชื่นชมผม แต่หากพ่อแม่วิจารณ์ในทางตรงกันข้าม จิตใจของผมก็มักจะออกอาการรวน คือเปลี่ยนให้เสียงของพ่อแม่กลายเป็นเสียงของคนรอบข้าง จนในที่สุดเสียงของพ่อแม่ก็กลายเป็นเสียงเดียวที่ผมได้ยิน ต่อด้วยการตำหนิตัวเองซ้ำไปซ้ำมาในหัว ซึ่งอาการแบบนี้ติดตัวผมมาตั้งแต่เด็ก 

ผมเรียกอาการนี้ว่ามองโลกในแง่ร้ายและไม่มั่นใจในตัวเอง จนวันนี้ผมเองก็ยังอยู่ในช่วงฝึกฝนเพื่อก้าวข้ามปัญหาของตัวเองไปให้ได้

ระหว่างการพัฒนาตัวเอง ผมมีโอกาสอ่านหนังสือเรื่อง ‘วิชาสำคัญที่คุณควรรู้ก่อนที่ชีวิตจะสอนคุณ’ (Why Has Nobody Told Me This Before?) ของ ดร.จูลี่ สมิธ  (Dr. Julie Smith) นักจิตวิทยาคลินิกชื่อดัง ซึ่งจุดเด่นของดร.จูลี่ คือการชวนให้เราอยู่กับความเป็นจริงและมองว่าอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ เป็นเพียงกลไกปกป้องตัวเองจากภัยคุกคาม ดังนั้นสิ่งสำคัญคือเราต้องรู้เท่าทันและกล้าเผชิญหน้ากับความรู้สึกเหล่านั้น เพราะวิธีที่จะก้าวผ่านอุปสรรคทั้งหลายในจิตใจไม่ใช่การหลีกหนีหรือหลอกตัวเอง แต่เป็นการเผชิญหน้ากับมันอย่างกล้าหาญและชาญฉลาดผ่านการใช้อุปกรณ์จากกล่องเครื่องมือทางจิตวิทยาที่เธอแนะนำในแต่ละบท

สำหรับบทที่ผมชอบเป็นพิเศษคือเรื่อง ‘การรับมือกับคำวิจารณ์และการไม่เป็นที่ยอมรับ’ ซึ่งในบทนี้ดร.จูลี่ บอกว่ามนุษย์ถูกสร้างมาให้ใส่ใจคำพูดของคนรอบตัว ดังนั้นการเรียนรู้ที่จะรับมือกับคำวิจารณ์และการไม่เป็นที่ยอมรับด้วยวิธีที่เหมาะสมถือเป็นทักษะชีวิตที่สำคัญมาก 

ในบทนี้ ดร.จูลี่ ค่อยๆ คลี่ให้ผมเห็นตัวเองว่า ผมเป็นคนที่มี ‘ภาวะเอาอกเอาใจผู้อื่น’ ซึ่งมันไม่ใช่แค่การหยิบยื่นไมตรีให้ผู้คน แต่หมายถึงการให้ความสำคัญกับความจำเป็นและความต้องการของคนอื่นมากกว่าตัวเองเสมอ แม้สุดท้ายสิ่งเหล่านั้นจะส่งผลเสียต่อสุขภาพกายสุขภาพใจของผมก็ตาม

“การเป็นที่ยอมรับคือสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องการ แต่สำหรับคนที่มีภาวะเอาอกเอาใจผู้อื่น มันไม่ใช่แค่สิ่งที่ต้องการเท่านั้น

การเติบโตมาในสภาพแวดล้อมซึ่งไม่ปลอดภัยที่จะแสดงความไม่เห็นด้วย หรือทำในสิ่งที่แตกต่างออกไป ไม่ก็เหยียดหยามหรือแสดงความเดือดดาลใส่คนที่พวกเขาไม่ยอมรับ จะทำให้เราเรียนรู้ตั้งแต่เด็กว่าต้องเอาตัวรอดในสภาพแวดล้อมเช่นนั้นอย่างไร”

เมื่อหัดเรียนรู้ที่จะเอาอกเอาใจคนอื่นในสภาพแวดล้อมดังกล่าว ทำให้หลายคนพอโตขึ้นจึงมักรู้สึกว่าตกที่นั่งลำบากกับการต้องคอยสังเกตผู้คนรอบข้างและคอยคิดกังวลว่าเขาจะคิดยังไงกับเรา ซึ่งทั้งหมดเกิดจากความกลัวว่าตัวเองจะไม่เป็นที่ยอมรับ

“สิ่งที่ทำให้การใช้ชีวิตของผู้ที่มีภาวะเอาอกเอาใจผู้อื่นวุ่นวายยิ่งขึ้นก็คือ ความจริงที่ว่าผู้คนไม่ได้แสดงความไม่ยอมรับด้วยการพูดออกมาตามตรงเสมอไป ดังนั้นเราจึงอาจกลัวและรู้สึกไม่เป็นที่ยอมรับแม้จะไม่มีใครพูดแบบนั้นเลย เมื่อไม่มีข้อมูลว่าคนอื่นคิดอย่างไรกับเรา สมองก็จะเริ่มเติมเต็มข้อมูลนั้นเอง”

เมื่อสมองเริ่มเติมเต็มข้อมูลนั้น แปลว่าสิ่งที่เราคิดอาจจะเดาถูกหรือผิดก็ได้ เราจึงตกอยู่ในความกังวลอย่างไม่หยุดหย่อนว่าคนอื่นจะคิดยังไงกับเรา ดังนั้นดร.จูลี่จึงมอบคำแนะนำให้ไปลองปฏิบัติ เช่น การเปิดใจรับการวิจารณ์เชิงลบจากผู้อื่นเพื่อมาพัฒนาตัวเอง แต่หากความเห็นนั้นเป็นเพียงคำพูดที่สะท้อนค่านิยมของคนอื่น การหัดปล่อยวางคำพูดบ้างก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดี  

ดร.จูลี่ บอกว่าคนที่ชอบวิจารณ์คนอื่นส่วนมากมักจะชอบวิจารณ์ตัวเองด้วยเช่นกัน โดยพวกเขาวิจารณ์เพราะทำจนติดเป็นนิสัย แถมการวิจารณ์ต่างๆ ก็มักกล่าวออกมาจากมุมมองและค่านิยมส่วนตัวของพวกเขาที่มีต่อโลก โดยไม่ได้คำนึงว่ามนุษย์ทุกคนล้วนมีประสบการณ์ชีวิตในรูปแบบที่ต่างกัน

“การเข้าใจความจริงที่ว่าผู้คนมักวิจารณ์คนอื่นตามกฎเกณฑ์ในการใช้ชีวิตของตัวเองเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะกับคนที่มีแนวโน้มว่าจะมีภาวะเอาอกเอาใจผู้อื่น เพราะถึงเราจะต้องการเป็นที่ยอมรับของคนอื่น แต่ในเมื่อทุกคนต่างก็มีความคิดและมุมมองเฉพาะตัว เราย่อมไม่สามารถทำให้ทุกคนพอใจตลอดเวลาได้ ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อเรามีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับใคร เราก็มักให้คุณค่ากับความคิดเห็นของเขามากเป็นพิเศษ”

ในส่วนของกล่องเครื่องมือนั้น ดร.จูลี่ได้แนะนำให้พิจารณาว่าการตัดสินต่างๆ ที่แฝงมากับคำวิจารณ์เป็นความจริงหรือไม่ มีประโยชน์หรือไม่ ในกรณีที่มีประโยชน์เราก็ควรนำคำวิจารณ์นี้มาแก้ไขข้อผิดพลาดเพื่อพัฒนาตัวเอง แต่หากการวิจารณ์นั้นเป็นเพียงคำด่าทอ เราก็ควรโยนถ้อยคำเหล่านั้นทิ้งไปเพื่อรักษาการเห็นคุณค่าในตัวเอง

“หมั่นเตือนตัวเองว่าความไม่สมบูรณ์แบบ การทำพลาด และการล้มเหลวล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นมนุษย์ การยอมรับว่าเราอาจทำพลาดได้ หมายความว่าเราไม่จำเป็นต้องรู้สึกไร้ค่าเมื่อล้มเหลว และสามารถใช้ประโยชน์จากทุกประสบการณ์ได้ด้วยการเรียนรู้จากมัน

ระวังคำพูดที่คุณใช้กับตัวเอง ไม่ว่าอย่างไรคำวิจารณ์ก็ทำให้เราเจ็บปวดเสมอ นี่คือกลไกของสมองในการปกป้องเรา เพราะมันมองว่าคำวิจารณ์คือภัยคุกคาม ไม่มีสิ่งใดจะช่วยป้องกันความเจ็บปวดจากคำวิจารณ์ได้ตลอดเวลาโดยทำหน้าที่เหมือนเกราะกำบัง อันที่จริงถึงจะมีเกราะกำบังแบบนี้ก็คงไม่มีประโยชน์ เพราะคำวิจารณ์ที่เลวร้ายที่สุดเกิดขึ้นในหัวของเราเอง…

คนคนหนึ่งจะลุกขึ้นอีกครั้งได้ก็ต่อเมื่อเราหยุดทุบตีเขาเสียก่อน ดังนั้นกุญแจสำคัญของการใช้คำวิจารณ์ให้เป็นประโยชน์ คือการเป็นฝ่ายสนับสนุนให้ตัวเอง โดยเราต้องเห็นอกเห็นใจตัวเองมากพอที่จะพิจารณาและตัดสินใจว่าควรเก็บหรือทิ้งคำวิจารณ์ใด โดยเลือกเก็บคำวิจารณ์ที่มีประโยชน์ และทิ้งคำวิจารณ์ที่ไร้ประโยชน์ซึ่งทำลายการเห็นคุณค่าในตัวเองและบดขยี้ความมั่นใจของเรา”

Tags:

จิตวิทยาทักษะชีวิตการพัฒนาตนเองอารมณ์คำวิจารณ์

Author:

illustrator

อัฒภาค

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • positive-parenting-nologo
    Adolescent Brain
    Positive Parenting: เลี้ยงลูกด้วย ‘จิตวิทยาเชิงบวก’ เสริมสร้างสมองที่แข็งแกร่ง

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Character building
    ‘บุคลิกภาพ’ สร้างได้? เข้าใจ 5 บุคลิกหลักจากมุมมองทางจิตวิทยา

    เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Everyone can be an Educator
    ‘การอ่าน’ คือต้นทุน(เปลี่ยน)ชีวิตเด็ก กำหนดอนาคตประเทศไทย: พญ.ปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี – หมอแพมชวนอ่าน

    เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ปริสุทธิ์

  • BookHow to enjoy life
    7 หลักจิตวิทยาเชิงบวก เปิดประตูความสำเร็จด้วย ‘ความสุข’

    เรื่อง พิรญาณ์ บุลสถาพร

  • Family Psychology
    พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน เพราะความรักเป็นเรื่องไม่อาจฝืน

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

Instant family: ได้โปรดให้เวลาพวกเราหน่อยนะ 
Movie
12 July 2024

Instant family: ได้โปรดให้เวลาพวกเราหน่อยนะ 

เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Instant family เป็นภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องราวการอุปถัมภ์เด็กของคู่สามีภรรยา ‘เอลลี่และพีท’  ซึ่งเรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นอเมริกา
  • กว่าทั้งคู่จะรับเลี้ยงลูกบุญธรรมได้ ต้องผ่านขั้นตอนและการเรียนรู้มากมาย ทำให้เห็นว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะรับเลี้ยงและทำความเข้าใจธรรมชาติที่แตกต่างของเด็กแต่ละคน
  • เมื่อเรามองไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง ก็เป็นปมในใจทำให้อยากกันตัวเองออกมาจากคนอื่น เพราะเกิดความคิดว่าเราไม่สมควรได้รับความรักจากใคร และกว่าจะคลายปมได้ก็ต้องใช้เวลานานพอสมควร

หนังเรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากเรื่องจริงเกี่ยวกับการอุปถัมภ์เด็กของครอบครัวหนึ่งในอเมริกา

เรื่องเริ่มจากคู่รักที่แต่งงานกันมานานอย่าง ‘เอลลี่และพีท’ ทั้งคู่ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สร้างตัวกันมาจนอายุเริ่มมากขึ้น วันหนึ่งพวกเขามีความคิดอยากมีลูก แต่พีทรู้สึกว่าตัวเองแก่แล้วเลยแค่พูดกับเอลลี่เล่นๆ ว่าถ้ารับเลี้ยงเด็กอาจจะดีกว่าเพราะเขาจะได้ไม่แก่เกินไปที่จะดูแลลูก

เอลลี่เก็บเอาไปคิดจริง เธอลองค้นหาข้อมูลดูแล้วทำให้ได้เห็นว่ามีเด็กมากมายที่ต้องการบ้านและความช่วยเหลือ เมื่อพีทเห็นหน้าตาของเด็กๆ เหล่านั้นเขาก็เปลี่ยนใจจากความคิดเล่นๆ มาจริงจัง

เอลลี่และพีทตัดสินใจสมัครเข้าร่วมกับสถานสงเคราะห์สำหรับอุปถัมภ์เด็ก ซึ่งเด็กส่วนใหญ่ในบ้านอุปถัมภ์คือเด็กที่พ่อแม่มีปัญหาทำร้ายร่างกาย ติดยา ติดคุก หรือเรียกได้ว่าไม่มีความพร้อมในการเลี้ยงดูลูก

เมื่อสมัครเข้าร่วมแล้วขั้นตอนต่อมา สองสามีภรรยาต้องเรียนรู้ที่จะเป็นพ่อแม่บุญธรรมโดยการเข้าร่วมเวิร์คชอปเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนจะรับอุปถัมภ์เด็กในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านความปลอดภัยอย่างการฝึกทำ CPR ทั้งทำความเข้าใจจิตใจของเด็กๆ ที่ต้องจากพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดมา และเตรียมบ้านของตัวเองให้มีพื้นที่สำหรับลูกในอนาคตของพวกเขา

ขั้นตอนที่สำคัญต่อจากนั้นคือพ่อแม่เหล่านี้จะต้องทดลองอยู่ร่วมกับเด็กที่พวกเขาสนใจจนผ่านการประเมินโดยศาลก่อนถึงจะสามารถรับเลี้ยงเด็กมาเป็นลูกบุญธรรมโดยสมบูรณ์ได้ 

ซึ่งทั้งหมดนี้ก็กินระยะเวลานานพอสมควรจนทำให้เห็นว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะรับเลี้ยงเด็กคนหนึ่งเพราะบางบ้านก็อุปถัมภ์เด็กเพื่อเงิน

บางบ้านก็ปรับตัวเข้าหากันไม่ได้ เด็กเลยต้องกลับมาอยู่ที่บ้านอุปถัมภ์ต่อ ถ้าโชคดีเด็กๆ อาจจะไม่ต้องเข้าสู่วัฏจักรเดิมๆ นี้อีก แต่ในความเป็นจริงมีเด็กหลายคนที่ต้องผ่านการเข้าศาลและถูกปฏิเสธซ้ำแล้วซ้ำอีก พวกเขาต้องรับมือกับความไม่แน่นอนนี้เพียงลำพัง

มีเวิร์คชอปนึงที่คล้ายกับการให้ผู้ปกครองสวมหมวกเป็นเด็ก ทางบ้านอุปถัมภ์จะให้ 1 คนรับบทเป็นเด็กโดยให้ถือเชือกหลายๆ เส้นเอาไว้ในมือและปลายทางของเชือกแต่ละเส้นคือความสัมพันธ์รอบๆ ตัวของเด็ก พวกเขาเล่าว่า “เด็กพลัดถิ่น(Displaced child) มักรู้สึกว่าตัวเองดีไม่พอ พวกเขาผ่านความรู้สึกว่าผู้ใหญ่ไม่ต้องการเขามาหลายครั้ง แทนที่พวกเขาจะเสียใจ พวกเขากลับสูญเสียสายสัมพันธ์กับทุกสิ่งทุกอย่างไป”

หลังจากนั้นเชือกจะค่อยๆ ถูกกรรไกรตัดออกไปทีละเส้น ทีละเส้น เพื่อทำให้พวกเขาเห็นภาพสถานการณ์ว่า นี่คือสิ่งที่เด็กรู้สึกเมื่อต้องเข้าสู่วัฏจักรนี้

ในวันนัดเจอกันของผู้ปกครองและเด็กๆ จะถูกจัดเหมือนสวนสนุกที่มีเครื่องเล่นมากมายเพื่อให้ต่างฝ่ายต่างมีโอกาสมาทำความรู้จักกัน เด็กวัยรุ่นส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีพ่อแม่สนใจ แม้แต่เอลลี่กับพีทก็รู้สึกไม่ค่อยอยากรับเลี้ยงเด็กวัยรุ่นเช่นกัน

แต่สักพักหลังจากทั้งสองพยายามทำความรู้จักเด็กน้อยมากมายหลายคน พวกเขากลับบังเอิญถูกใจเด็กวัยรุ่นอายุ 15 คนหนึ่งชื่อว่า ‘ลิซซี่’แทน เธอเป็นคนฉลาด กล้าพูด แต่ทางบ้านอุปถัมภ์บอกว่าถ้าพวกเขาจะรับเลี้ยงลิซซี่ ก็จะต้องรับเลี้ยงเด็กอีก 2 คน (‘ฮวนกับลิต้า’) ซึ่งเป็นพี่น้องของลิซซี่ด้วยเหตุผลทางด้านสายสัมพันธ์ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่พวกเขายึดถือ คือการทำให้ครอบครัวได้อยู่ด้วยกันเพื่อไม่ให้พวกเขารู้สึกโดดเดี่ยวกับปัญหาที่ต้องเผชิญในอนาคต

เด็กทั้งสามคนมีแม่ที่เล่นยาจนสลบ ทำบ้านไฟไหม้ แม่ของเด็กๆ เคยสัญญามาตลอดหลายปีแต่ก็ไม่เคยทำตามคำสัญญาได้สำเร็จ ล่าสุดก็ติดคุกอยู่ และไม่เคยติดต่อกลับมาที่สถานสงเคราะห์ถึงสองปี ส่วนพ่อก็ไม่ได้ระบุตัวตน

ในตอนแรกที่ทั้งสามคนได้ไปอยู่กับเอลลี่และพีทก็เหมือนทุกอย่างจะผ่านไปด้วยดี แต่สักพักก็พบเจอปัญหาในการปรับตัวเข้าหากันมากมายใหญ่โต 

ลิต้าน้องคนเล็กแม้จะน่ารักสดใสตามวัย แต่ก็เป็นเด็กขาดระเบียบ ชอบพูดคำหยาบคาย ส่วนฮวนก็เป็นเด็กที่ค่อนข้างบอบบาง อ่อนไหว และใสซื่อเกินไปจนทำให้ตัวเองเจ็บตัวตลอดเวลา

และแน่นอน ลิซซี่ แม้จะเป็นเด็กที่ฉลาด แต่ก็มีความหัวแข็ง ไม่เชื่อใจใครง่ายๆ เธอโตกว่าวัยเพราะต้องเป็นคนคอยดูแลน้องทั้งสองคน

แต่ในความเป็นจริงเธอเป็นเพียงเด็กสาววัยรุ่นที่ถูกปฏิเสธซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนไม่เชื่อว่าตัวเองจะเป็นที่รักของใครได้

ลิซซี่มักจะแสดงออกด้วยความโกรธ ทำตัวเหมือนไม่แคร์อะไร เพื่อผลักคนอื่นออกตลอดเวลาเพราะลึกลงไปในจิตใต้สำนึกเธอคิดว่าตัวเองไม่สมควรได้รับความรัก ทั้งเอลลี่และพีทเลยต้องพยายามมากกว่าเดิมเพื่อทำความเข้าใจธรรมชาติที่แตกต่างของเด็กแต่ละคนให้มากขึ้น 

พอเรื่องราวทุกอย่างกำลังจะดีอีกครั้ง แม่ผู้ให้กำเนิดเด็กทั้งสามคนก็ติดต่อเข้ามาขอเจอลูกๆ และจะขอสิทธิ์เลี้ยงดูลูกกลับมา ซึ่งที่บ้านอุปถัมภ์ก็มีจุดประสงค์หลักของระบบคือการรักษาสถาบันครอบครัว พวกเขาจึงให้สิทธิ์พ่อแม่ผู้ให้กำเนิดมาเป็นอันดับแรก แน่นอนว่าคนที่ดีใจและตื่นเต้นที่สุดก็คือลิซซี่

 ในวันที่เอลลี่กับพีทใกล้จะต้องขึ้นศาลเพื่อไกล่เกลี่ยขอสิทธิ์เลี้ยงดู พวกเขาก็คิดจะยอมแพ้โดยการเขียนสำนวนที่จะปล่อยเด็กๆ ไป พวกเขาคิดว่าลิซซี่น่าจะอยากกลับไปอยู่กับแม่ผู้ให้กำเนิดมากกว่า พวกเขากลัวว่าถ้าสำนวนที่พวกเขาเขียนทำให้แม่ของลิซซี่ไม่ได้สิทธิ์เลี้ยงดู ลิซซี่จะยิ่งเกลียดพวกเขากว่าเดิม 

ในตอนนั้นเองที่คุณย่าเข้ามาบอกว่า “ลิซซี่ไม่ได้เกลียดทั้งสองคน เธอแค่คิดว่าทั้งสองคนไม่ได้รักเธอจริง และสำนวนนั่นไม่ช่วยอะไรเลย” เอลลี่สงสัยและถามว่า “ลิซบอกแม่แบบนั้นหรอ”

คุณย่าจึงเล่าว่า “ฉันโตมาคล้ายกับลิซซี่มาก ถ้าเราถูกด่าซ้ำซากว่าไร้ค่าวันละห้าครั้งไม่นานคงยากที่จะเชื่อว่ามีใครรักเราได้” เอลลี่บอกว่า “คุณรู้ใช่มั้ยว่าพวกเรารักคุณ” คุณย่านิ่งไปแปปนึง แล้วตอบว่า “ไม่รู้…แต่ไม่ใช่เพราะเธอ มันเป็นเพราะตัวฉันเอง”

เราเองก็เติบโตมาด้วยความรู้สึกคล้ายกันกับคุณย่าและลิซซี่เลยรู้สึกเข้าใจความหมายของสิ่งที่คุณย่าพูด ตอนเป็นเด็กเราเคยถูกบอกซ้ำๆ ว่าเป็นหมาหัวเน่าที่ไม่มีใครรัก พอมองไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง เราก็อยากกันตัวเองออกมาจากคนอื่นเพราะไม่คิดว่าตัวเองจะเป็นประโยชน์ให้ใคร เพราะคิดว่าเราไม่สมควรได้รับความรักจากใคร

ในท้ายที่สุดแล้วเราดีใจกับลิซซี่ที่เธอได้มีครอบครัวซึ่งพยายามทำความเข้าใจในตัวเธอและพร้อมที่จะมอบความรักให้เธอแม้จะไม่ได้มีสายเลือดเดียวกัน เราคิดว่าทั้งเรา ลิซซี่และคุณย่าต่างคงต้องการเวลาทำความเข้าใจตัวเองมากกว่าคนทั่วไปและต้องการความรักมากมายจนกว่าจะรู้ว่าตัวเองเป็นที่รักได้เพียงแค่เราเป็นเรา 

เราใช้เวลาหลายปีเพื่อคลี่คลายปมในใจนี้และยังคงต้องทำงานกับมันอย่างหนัก และแม้จะรู้ว่าตัวเองได้ความรักมากมายแล้วแต่เราก็ยังไม่สามารถเปิดหัวใจให้รักตัวเองได้อย่างง่ายดาย 

บางครั้งเราก็แอบคิดว่ามันคงจะดีถ้าเราได้ตั้งระบบตั้งต้นที่ดีกว่านี้ ถ้าไม่มีคำว่าหมาหัวเน่าในวันนั้นมันคงจะดีกว่านี้รึเปล่านะ เราอาจจะกอดตัวเองได้โดยไม่ต้องพยายาม

ดังนั้นเราเลยอยากบอกใครก็ตามที่ได้ผ่านมาอ่านบทความนี้ ถ้าคุณมีโอกาสเจอคนแบบเราหรือลิซซี่ได้โปรดให้เวลาพวกเราหน่อยนะ 

Tags:

พ่อแม่วัยรุ่นภาพยนตร์เด็กครอบครัวบาดแผลทางจิตใจInstant Family

Author:

illustrator

พิมพ์พาพ์

เป็นลูกคนเดียวจากแม่เลี้ยงเดี่ยว เรียกตัวเองว่านักวาดภาพประกอบที่ชอบวาดคนหน้าแมว เผลอเสียน้ำตาให้กับหนังครอบครัวอยู่บ่อยๆ

Related Posts

  • Movie
    No hard feelings : พ่อแม่ต้องยอมให้เขาล้มเหลว หรือสำเร็จได้ด้วยตัวเอง

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Dear Parents
    แทนที่พ่อจะสอนผมเรื่องความกตัญญู ช่วยทำให้ดูก่อนดีไหม?

    เรื่อง อัฒภาค ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Movie
    The Holdovers: ในวันที่ไม่มีใครเหลียวแล ขอแค่ใครสักคนที่มอบไออุ่นและเยียวยาหัวใจกัน

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to enjoy life
    สอนให้เด็กรู้ว่าอารมณ์ไม่ใช่ผู้ร้าย เรียนรู้และเข้าใจตัวเองผ่านดนตรี: กฤษดา หุ่นเจริญ

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ชุติมา ซุ้นเจริญ

  • Movie
    Precious: แม้พ่อแม่จะสร้างแผลใจที่ไม่อาจลบเลือน แต่เราเติบโตและงดงามได้ในแบบของตัวเอง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

Learning City พัฒนาเมืองสู่นิเวศแห่งการเรียนรู้ เปิดประตูสู่โอกาสที่ทุกคนเข้าถึงได้
Social Issues
11 July 2024

Learning City พัฒนาเมืองสู่นิเวศแห่งการเรียนรู้ เปิดประตูสู่โอกาสที่ทุกคนเข้าถึงได้

เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง ภาพ ปริสุทธิ์

  • เมืองแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning City คือการสร้างเมืองโดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของประชาชนทุกระดับ ส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต และต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเอง
  • ในงาน TEP Forum 2024 ภายใต้หัวข้อ ‘สร้างประเทศไทยเป็นสังคมการเรียนรู้ เรียนรู้สู่สมรรถนะอย่างไร้รอยต่อ’ รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม และ ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร ได้แลกเปลี่ยนมุมมองและแนวทางการพัฒนาประเทศให้มีสภาพแวดล้อมพร้อมแก่การเรียนรู้อย่างยั่งยืน
  • การสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ เป็นภารกิจสำคัญร่วมกันของทุกภาคส่วน ที่จะสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และพัฒนาคนและเมืองไปข้างหน้าพร้อมๆ กัน

‘เมืองแห่งการเรียนรู้’ คืออนาคตของการศึกษาไทย ที่ทุกคนสามารถเรียนรู้และเติบโตได้อย่างมีศักยภาพ

ในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทักษะและความรู้ในโรงเรียนเพียงอย่างเดียว อาจไม่มากพอต่อความต้องการของโลกยุคใหม่ ดังนั้น การเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และการสร้างสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษา รวมถึง พื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space) จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน 

เมืองแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning City คือการสร้างเมืองโดยใช้ทรัพยากรในทุกภาคส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของประชาชนทุกระดับ อาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต ซึ่งเป็นแนวทางใหม่ที่จะช่วยพัฒนาทักษะและความรู้ให้ตรงกับความสนใจของแต่ละบุคคล และสามารถนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองได้

ในงาน TEP Forum 2024 ภายใต้หัวข้อ ‘สร้างประเทศไทยเป็นสังคมการเรียนรู้ เรียนรู้สู่สมรรถนะอย่างไร้รอยต่อ’ รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และ ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร ได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและแนวทางการพัฒนาประเทศไทยให้มีสภาพแวดล้อมพร้อมแก่การเรียนรู้ รวมถึงการผลักดันให้กรุงเทพมหานคร ก้าวเข้าสู่ ‘เมืองแห่งการเรียนรู้’ อย่างยั่งยืน

โดย รศ.ดร.ปุ่น ได้ชวนตั้งคำถามเกี่ยวกับการศึกษา ว่าแท้จริงแล้วการศึกษาเป็นของใคร เพราะการเรียนรู้ไม่ใช่แค่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของ ‘ทุกคน’ ที่อยู่ในเมือง ดังนั้นการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการช่วยกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ จะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้การศึกษาไทยเติบโตไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ในขณะที่ศานนท์ได้นำเสนอโมเดล นโยบาย และโครงการต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่มุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาการศึกษา พัฒนาทักษะ และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนทุกเพศทุกวัย และคาดหวังว่าจะบรรลุเป้าหมายในการสร้างกรุงเทพฯ ให้กลายเป็น ‘เมืองแห่งการเรียนรู้’ ที่ไม่ว่าจะเป็นใคร ก็มีโอกาสที่จะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ และสามารถพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

Learning City โมเดลพัฒนาเมืองสู่นิเวศแห่งการเรียนรู้ 

‘เมือง’ ในที่นี้ ไม่ได้เป็นเพียงแค่ ‘สถานที่’ แต่หมายถึง ชุมชน ระบบนิเวศ และคนทุกคนที่อยู่ในเมือง ดร.ปุ่น เน้นย้ำ

เพราะเราสามารถเรียนรู้ได้ทุกช่วงวัย ไม่ใช่เพียงแค่เด็กนักเรียนเท่านั้น  และจากสาเหตุดังกล่าว ประเด็นในเรื่องการออกแบบเมืองจึงเป็นเรื่องสำคัญในการพัฒนาการเรียนรู้ ซึ่งเมืองแห่งการเรียนรู้นั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน 

“เรื่องระบบการศึกษามักถูกตั้งคำถาม และประเด็นนี้ก็ถูกยกขึ้นมาถกเถียงบ่อยครั้ง แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นความหวังของการศึกษา คือการสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ 

เพราะระบบการศึกษาหรือเมืองแห่งการเรียนรู้ มักจะถูกตั้งคำถามว่าเป็นของใครกันแน่ เป็นของคุณครู ของเด็ก ของรัฐบาลหรือเปล่า แต่ผมอยากให้ถอยออกมามองนิดนึง มาดูว่าจริงๆ แล้วเราต้องการอะไร คำตอบคือ เราต้องการให้มนุษย์และลูกหลานสามารถอยู่รอดและแข่งขันกับคนอื่นได้ แต่เขาต้องเกิดการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ เราจะต้องมีความสุขก่อน

ในมุมมองของผมในฐานะนักพัฒนาเมือง ผมมองว่าโรงเรียนเป็นเพียงฟังก์ชันหนึ่ง ที่อาจจะยังไม่พอกับโลกปัจจุบัน จากสถิติคะแนนการวัดระดับของนักเรียนไทย ผลลัพธ์สะท้อนได้ว่าการที่มีแค่โรงเรียนเพียงอย่างเดียว อาจจะทำให้เราตามคนอื่นไม่ทัน”

ดร.ปุ่น ยกตัวอย่างความสำเร็จทางการศึกษาของประเทศฟินแลนด์และเกาหลีใต้ โดยฟินแลนด์เป็นประเทศที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวาง ว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก นักเรียนฟินแลนด์มักทำคะแนนได้ดีในการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (PISA) ในขณะที่เกาหลีใต้ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีผลคะแนน PISA เป็นอันดับต้นๆ เช่นกัน

แต่ก็ให้ความเห็นว่า ความสำเร็จที่เกิดกับประเทศอื่นๆ นั้นเป็นเพราะแต่ละพื้นที่ก็มีแรงผลักดัน (Driving Force) ที่แตกต่างกันไปตามบริบทของประเทศ โดยแรงผลักดันนั้นก็เป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ (Key Success) ทำให้มีผลลัพธ์ที่ดีในระบบการศึกษา ซึ่งประเทศไทยเองก็สามารถสร้างเมืองแห่งการเรียนรู้ให้ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน

ดร.ปุ่น จึงได้ยกตัวอย่างเมืองที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเป็น ‘เมืองแห่งการเรียนรู้’ เช่น จังหวัดขอนแก่น มีการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต สนับสนุนให้ประชาชนมีทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพและพัฒนาชุมชน, จังหวัดพะเยา มีการปรับใช้แนวคิดเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในจังหวัด และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรม รวมถึงจังหวัดยะลา ที่มีการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้พหุวัฒนธรรมและมาร์เก็ตเพลซต่างๆ ในชุมชน ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม สนับสนุนการเรียนรู้ทักษะอาชีพและการประกอบการ

โดยความสำเร็จของเมืองเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้นั้น ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เมืองใหญ่ แต่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกพื้นที่ ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของทุกภาคส่วน ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชนทั่วไป

“สิ่งนี้จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อระบบการเรียนรู้เป็นของเมือง ส่วนกลางต้องสนับสนุน ทุกคนต้องเป็นเจ้าของ เราต้องเชื่อว่าการเรียนรู้จะถูกส่งมอบต่อ ถ้าเราเชื่อว่าโรงเรียนหรือสถานที่ในการเรียนรู้เป็นของเราเอง ผมเชื่อมั่นว่าเราจะสามารถปฏิรูปขบวนการนี้ได้”

เพราะการเรียนรู้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในหน้ากระดาษ หรือในโรงเรียน แต่เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา สิ่งสำคัญที่ขับเคลื่อนพลังแห่งการเรียนรู้ คือ แรงผลักดัน (Driving Force) ระบบนิเวศ (Ecology) และ ความสามารถ (Capability)

“ถ้า 3 ปัจจัยนี้ถูกขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ สิ่งที่เราต้องการอาจจะไม่ใช่โรงเรียน แต่คือนิเวศของการเรียนรู้ที่สังคมเราต้องการ ดังนั้น โรงเรียนยุคใหม่ และ Space ใหม่ๆ จะเกิดขึ้นในยุคของเราครับ” ดร. ปุ่น กล่าว

Bangkok Learning City เติมสมรรถนะคนเมืองหลวง ให้หลุดบ่วงแห่งความยากจน

“เมืองไม่มีทางดีกว่าคน เพราะหากคนเป็นอย่างไร เมืองก็จะเป็นแบบนั้น เราจึงต้องไปพัฒนาคนให้ดีขึ้น ซึ่งการจะทําให้คนดีขึ้นก็ต้องไปพัฒนาการศึกษา”

ศานนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร เล่าถึงสภาพปัญหาการจัดการศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ว่าเด็กจำนวนมากไม่ได้อยู่ในระบบที่ กทม. ดูแล และหลายครอบครัวตกอยู่ในเส้นความยากจนที่ยากจะออกมาได้ หากไม่มีกระบวนการหรือหน่วยงานใดเข้าไปช่วยเหลือ

“ตอนนี้มีโรงเรียนจำนวน 374 โรงเรียนที่ กทม.ดูแลอยู่ ซึ่งเราดูแลโรงเรียนที่มีความสัมพันธ์กับชุมชน โดยเฉพาะชุมชนแออัด ซึ่งจะเป็นการเรียนฟรี คนส่วนใหญ่จึงส่งลูกเข้าโรงเรียน กทม. เพราะพ่อแม่ก็หาเช้ากินค่ำ

จุดประสงค์หลักคือเราต้องทำให้ลูกเขาดีขึ้น และดีกว่าพ่อแม่ของเขาให้ได้ แล้วเราจะทำอย่างไรให้เกิดขึ้น หลายงานวิจัยเรียกสิ่งนี้ว่าการทำ Social Mobility คือการทำให้เด็กดีขึ้น หลุดออกจากเส้นความยากจนผ่านการศึกษา 

หัวใจหลักของเราคือต้องการทำให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัย ทำให้เด็กอยากมาโรงเรียน และอยากพัฒนาตัวเองให้ดีกว่าเดิม เพราะในชุมชนประกอบไปด้วยหลายปัจจัยที่ไม่ใช่แค่ปัจจัยทางบวก มันยังประกอบไปด้วยปัจจัยทางลบ เช่น ยาเสพติด ดังนั้นโรงเรียนจึงเป็นประตูแรกที่เราน่าจะทำได้

ในประเด็นการเรียนรู้โดยภาพรวม สิ่งที่ผู้ว่าฯ กทม. ให้นโยบายมาคือ จะทำอย่างไรให้การเรียนรู้ไม่จบแค่ที่โรงเรียน ซึ่งจุดแรกเราต้องตีโจทย์ให้แตกก่อนว่า การศึกษาคือการที่มีคนมาทำให้ คือรัฐทำให้เด็ก และเด็กมานั่งเรียน แต่การเรียนรู้ เราก็ต้องทำให้เขาอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง อยากแสวงหาสิ่งที่เขาอยากเรียนรู้ด้วยตัวเอง (Education is what people do to you, Learning is what you do to yourself)

ซึ่งพอโจทย์เปลี่ยน การเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและในเมืองก็จะเปลี่ยนไปทั้งหมด และพอมีเป้าหมายนี้แล้วผมเลยนำมาตีโจทย์ Learning City ที่ทำร่วมกันกับภาคีอื่นๆ”

โดยทาง กทม.ได้แบ่งออกมาเป็น 4 เรื่องหลักๆ ในการที่จะพัฒนาให้ตอบโจทย์เมืองแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ การดูแลเด็กปฐมวัย (Early Childhood Development) การพัฒนาการศึกษาภาคบังคับ (Compulsory Education) การพัฒนาทักษะอาชีพ (Vocational Skills Development) และ การส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา (Life Long Learning For All, Anywhere, Anytime) โดยจะเล่าเรื่องราวผ่านบุคคลต่างๆ ว่ากทม. มีการทำงานอย่างไรบ้าง

“ในการดูแลเด็กปฐมวัย (Early Childhood Development) คนแรกที่ต้องพูดถึงคือ ครูส้ม-คณิตา โสมภีร์ ครูในสถานรับเลี้ยงเด็ก ‘บ้านครูส้ม’ ชุมชนทรัพย์สินเก่า เขตวังทองหลาง ซึ่งอยู่ในพืนที่ที่โดนไล่รื้อ เพราะเจ้าของจะนำพื้นที่ไปพัฒนาอย่างอื่น แต่สิ่งที่ครูส้มทำมาตลอด 30 ปี คือการดูแลเด็กเล็กในชุมชน และพาเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษาในโรงเรียน กทม. แต่ด้วยความที่ครูส้มอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ทำให้ครูส้มต้องดูแลด้วยตัวคนเดียว ไม่สามารถรับเงินอุดหนุนจากใครได้เลย”

จุดประสงค์หลักของ กทม. คือการเพิ่มการดูแลเด็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยจำนวนเด็กตามทะเบียนราษฎร์ มี 284,677 คน ในขณะที่จำนวนเด็กในการดูแลของ กทม. มีจำนวนเพียง 83,264 คน ซึ่งในกรณีของครูส้ม เด็กทั้งหมดก็ไม่ได้อยู่ในความดูแลของ กทม. เนื่องจากไม่ได้ถูกจดทะเบียนชุมชน

“กทม. จึงมีเป้าหมายว่าอยากจะเพิ่มเด็กในการดูแลอีกประมาณ 20,000 คน โดยการยกระดับเด็กอนุบาลในโรงเรียนเพิ่มจาก 4 ขวบ เป็น 3 ขวบ เพื่อที่จะรับเอาเด็กอีกประมาณ 8 พันคน มาในระบบ และสนับสนุนส่วนที่เหลือ คือศูนย์เด็กเล็กเหมือนกับของครูส้ม ให้สามารถช่วยเหลือเด็กได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น”

สำหรับการพัฒนาการศึกษาภาคบังคับ (Compulsory Education) ศานนท์ได้ยกกรณีของ ด.ช.ภาคิณ สุขทุม นักเรียนชั้น ป.5 โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ เขตบางเขน ที่มีเพื่อนสนิทเป็นเด็กพิเศษ โดยปัญหาหลักคือเด็กมีความช้า-เร็วในการเรียนแตกต่างกัน ทำให้เขาอาจจะไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่

“สิ่งที่เราเข้าไปทำคือ มีโครงการ Digital Classroom (ห้องเรียนดิจิทัล) โดยเอาคอมพิวเตอร์เก่าๆ ที่ได้รับบริจาคมาจัดการเรียนรู้ภายในห้องเรียน ซึ่งหัวใจสำคัญของการเรียนแบบ Digital Classroom คือการ Personalized (การเรียนสำหรับเฉพาะบุคคล) ไม่ต้องมีระดับความเร็วในการเรียนตามครู เพราะปกติเราเรียนกับครูคนเดียว ไม่ว่าครูจะเร็วหรือช้า ก็ต้องรอทั้งห้องพร้อมกัน แต่การมีเครื่องมือจะทำให้เด็กเขาสามารถเรียนตาม Speed (ความเร็ว) ของตัวเองได้ บทบาทของครูจากเดิมที่เป็นผู้พูดตลอด ก็จะปรับเปลี่ยนเป็นผู้ที่ตั้งโจทย์ให้เด็กทำงาน”

นโยบายที่ กทม. วางแผนเอาไว้สำหรับการสร้าง Digital Classroom คือการติดตั้ง Wifi ให้ครอบคลุมทุกจุดในโรงเรียน รวม 4,719 จุด และให้นักเรียนระดับชั้น ป.4 – ม.3 ทุกคนมีคอมพิวเตอร์ หรือ โน้ตบุ๊ก สำหรับการเรียนแบบดิจิทัล รวมถึงการอบรมครูผู้เชี่ยวชาญดิจิทัล ให้มีแผนการสอนและสื่อการสอนใหม่

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ นักเรียนมีผลการเรียนที่ดีขึ้นอย่างก้าวกระโดด เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนสูงขึ้นมาก ซึ่งในกรณีของ ด.ช.ภาคิณและเพื่อนที่เป็นเด็กพิเศษนั้น เขาทั้งคู่ก็สามารถเรียนในห้องเรียนเดียวกันด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน และอยู่ร่วมกันได้โดยที่ไม่ต้องมีใครรอใคร หรือไม่ต้องกังวลว่าความเร็วในการเรียนจะมากน้อยเกินไป รวมถึงทำให้เด็กมีความอยากมาเรียนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

“ในอีกกรณีของการพัฒนาการศึกษาภาคบังคับ คือเรื่องราวของ ด.ช.ปัณณวิชญ์ กันบุตร นักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียนวัดบางพลัด เขตบางพลัด ซึ่งผมได้เข้าไปทำงานร่วมกับโรงเรียนผ่านทีมมูลนิธิ Starfish ที่ทำเรื่อง Active Learning (การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ) 

โรงเรียนทั้งหมดในเขตบางพลัดก็ได้สมัครเข้าพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาและใช้หลักสูตรสมรรถนะ โดยมีการปรับโครงสร้างหลักสูตรในโรงเรียนจาก 8 วิชาหลัก เป็น 3 วิชา ส่วนอีก 5 วิชาก็จะนำมาปรับเป็นแบบบูรณาการ ซึ่งโรงเรียนวัดบางพลัดได้มีการนำขยะในโรงเรียนมาประดิษฐ์เป็นอุปกรณ์การเรียนต่างๆ ซึ่งผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดคือเด็กได้นำความรู้ไปใช้ ไม่ใช่แค่การนั่งฟังอย่างเดียว

เพราะปัญหาหลักของการที่เด็กไทยได้คะแนน PISA ต่ำ เป็นเพราะว่าเด็กไม่ได้นำความรู้ที่เรียนมาไปใช้ในชีวิตจริง ดังนั้นการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนมาเป็นรูปแบบบูรณาการ จะทำให้เด็กหยิบความรู้ไปใช้ได้มากขึ้น”

นอกเหนือจากการพัฒนาเด็กแล้ว การพัฒนาทักษะอาชีพก็เป็นเรื่องสำคัญที่จะผลักดันศักยภาพให้คนมีอาชีพและมีรายได้ ศานนท์ยกตัวอย่าง เชฟหนึ่ง-ศนันต์กัญจ์ เนตรจักรวาล ผู้ที่ได้รับทักษะอาชีพจาก ‘โรงเรียนฝึกอาชีพของกรุงเทพมหานคร’ จนผันตัวเองจากพนักงานบริษัท สู่เจ้าของกิจการธุรกิจขายอาหารออนไลน์ และวิทยากรสอนทำอาหาร 

“เชฟหนึ่งเป็นอีกคนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด ทำให้ไม่สามารถกลับไปประกอบอาชีพได้ โรงเรียนฝึกอาชีพของเรามีการเปิดรับสมัครอยู่ตลอด โดยมีค่าสมัครเข้าเพียง 100 บาท เชฟหนึ่งก็เข้าไปเรียนและกลายเป็นเชฟตัวอย่าง

สิ่งที่ กทม.อยากทำคือการฝึกอาชีพหรือการ Upskill ​(การเพิ่มพูนทักษะ) และ Reskill (การฝึกอบรมทักษะใหม่) เพื่อที่จะไม่จำกัดความสามารถในการพัฒนาทักษะความรู้ให้อยู่แค่ในโรงเรียนที่เดียว และในอนาคตก็มีแผนว่าจะนำหลักสูตรต่างๆ จากภายนอกเข้ามาโดยการสนับสนุนจากรัฐบาล”

และสุดท้ายคือการส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นทุกที่ ทุกเวลา โดยกทม. สามารถขอความร่วมมือจากหลายหน่วยงานเพื่อสร้างระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้ที่ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ แต่สิ่งที่ต้องการทำเพิ่มเติมคือการเจาะจงพื้นที่ต่างๆ ให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มพื้นที่การเรียนรู้ โดยมีตัวอย่างความสำเร็จจากเขตคลองเตย เขตปทุมวัน และเขตพระนคร ทั้งนี้ยังเน้นการพัฒนาแต่ละพื้นที่ในกรุงเทพมหานครให้เป็นแหล่งความรู้ที่เปิดโอกาสให้ทุกเพศทุกช่วงวัยสามารถแสวงหาความรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองได้สูงสุด ผ่านการทำงานของ กทม.

“ทั้งหมดนี้เราจึงต้องพัฒนาคนให้มีศักยภาพมากขึ้น เพราะกรุงเทพก็จะดีกว่านี้ไม่ได้ หากคนไม่ดีกว่านี้” ศานนท์ทิ้งท้าย

Tags:

โรงเรียนกรุงเทพมหานครการพัฒนาLearning Cityประเทศไทยเมือง

Author:

illustrator

กนกพิชญ์ อุ่นคง

A girl who aspires to live like a yacht floating on the ocean, a dandelion fluttering over the heather, a champagne bursting in party.

Photographer:

illustrator

ปริสุทธิ์

Related Posts

  • Social IssuesMovie
    อานนเป็นนักเรียนตัวอย่าง: อนาคตสีจางๆ ของเด็กไทย ในรั้วโรงเรียนที่ล้อมด้วยอำนาจและผลประโยชน์

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ PHAR

  • Social Issues
    คลี่ม่าน ‘มายาคติทางการศึกษา’ เปิดพื้นที่เรียนรู้บนความแตกต่างหลากหลายโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างทาง: ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข

    เรื่อง ชุติมา ซุ้นเจริญ ภาพ ปริสุทธิ์

  • Early childhood
    วัยเยาว์ที่ถูกพรากไป ในโลกที่ไม่ปลอดภัยดังเดิม : EP.3 แนวทางในการเตรียมความพร้อมให้กับลูกก่อนเข้าสู่สังคม (โรงเรียน)

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Creative learning
    โรงเรียนบ้านควนเก จังหวัดสตูล ที่นี่พ่อแม่ โรงเรียน ชุมชน “ทุกคนเป็นครู”

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • Creative learning
    มีชัยพัฒนา: โรงเรียนนี้นักเรียนเป็นใหญ่

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา ภาพ สิทธิกร ขุนนราศัย

Posts navigation

Older posts

Recent Posts

  • ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP4: การซึมซับและปรับตัว 
  • เปลี่ยนระบบนิเวศโรงเรียนเป็นสนามพลังบวก ยกระดับเด็กด้อยโอกาสสู่เด็กได้โอกาส: ผอ.วรรณรักษ์ หงษ์ทอง
  • F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง
  • Myth Universe : จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์สู่ Edutainment ความรู้นอกห้องเรียนที่เริ่มต้นจากคำถามและการเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง
  • The Anxious Generation EP 1: เลี้ยงลูกด้วย ‘หน้าจอ’ สัญญาณร้ายสู่คนรุ่นใหม่วัยวิตก

Recent Comments

  • Existential crisis: วิกฤตชีวิตที่มาพร้อมกับคำถาม “แล้วฉันอยู่เพื่ออะไร” – EducationNet on Midlife Crisis: เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ทำไมใจถึงวิกฤต
  • The Psychological Wounds of Winnie the Pooh and His Friends: Exploring Characters from a Classic Literary Work - World Today News on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • Exploring the Psychological Wounds of Winnie the Pooh and Friends: A Fascinating Analysis - Archyde on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • 6 วิธีฝึกสอนให้ลูกเป็นเด็กมี Critical Thinking ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต – โรงเรียนมารีวิทยา ป on CRITICAL THINKING: สอนเด็กให้รู้คิด ผิดหรือถูกก็ใช้วิจารณญาณเป็น
  • Best รูป พลเมือง ดี Update New – Haiduongcompany.com on สอนและสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เรื่องไม่ง่ายที่ครูทำได้

Archives

  • July 2025
  • June 2025
  • May 2025
  • April 2025
  • March 2025
  • February 2025
  • January 2025
  • December 2024
  • November 2024
  • October 2024
  • September 2024
  • August 2024
  • July 2024
  • June 2024
  • May 2024
  • April 2024
  • March 2024
  • February 2024
  • January 2024
  • December 2023
  • November 2023
  • October 2023
  • September 2023
  • August 2023
  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • October 2021
  • September 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • April 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • November 2019
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017

Categories

  • Uncategorized
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel