Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย

Month: July 2022

Losers EP.2 เซอร์ยา โบนาลี: อย่าปล่อยให้เสียงของใครดังกว่าเสียงหัวใจตัวเอง
Movie
28 July 2022

Losers EP.2 เซอร์ยา โบนาลี: อย่าปล่อยให้เสียงของใครดังกว่าเสียงหัวใจตัวเอง

เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • บทความนี้อ้างอิงเนื้อหาจากสารคดีชุด Losers ตอน Judgement ที่เผยแพร่ทาง Netflix ในปี 2019 เป็นเรื่องราวของเซอร์ยา โบนาลี สุดยอดนักสเก็ตน้ำแข็งผิวสีที่แม้จะเก่งกาจแค่ไหนแต่ก็ไม่เคยคว้าแชมป์โลก
  • ความเก่งของเซอร์ยานั้นไม่เพียงแค่การกระโดดหมุนตัวสามสี่รอบกลางอากาศ แต่รวมถึงการเป็นนักสเก็ตน้ำแข็งเพียงคนเดียวในประวัติศาสตร์ที่สามารถกระโดดตีลังกากลับหลังด้วยขาข้างเดียวได้ หากทั้งหมดกลับไม่สามารถเอาชนะอคติทางสีผิวและการเมืองของกรรมการได้เลยสักครั้ง
  • ในการแข่งขันโอลิมปิกครั้งสุดท้าย เธอกลับสลัดความคิดเรื่องเหรียญทองออกจากสมองและเลือกทำตามเสียงของหัวใจสักครั้ง และนั่นทำให้เธอค้นพบชัยชนะในชีวิตจริง

‘เซอร์ยา โบนาลี’ อาจไม่ใช่ชื่อที่คุ้นหูในเมืองไทย แต่สำหรับแฟนสเก็ตลีลาทั่วโลก เธอคนนี้คือราชินีไร้มงกุฎแห่งวงการสเก็ตน้ำแข็ง ผู้คว้าแชมป์ในประเทศบ้านเกิดอย่างฝรั่งเศสถึง 9 สมัย และทะยานคว้าแชมป์ยุโรปอีก 5 สมัย แต่เมื่อขึ้นสู่เวทีระดับโลก เธอกลับเป็นได้เพียงไม้ประดับเก๋ๆ หรือไม่ก็รองแชมป์โลก 3 สมัยที่ทำยังไงก็ไปไม่สุดสักครั้ง 

ถ้าพูดถึงความเก่ง ผมมั่นใจว่าหากเซอร์ยาเกิดในศตวรรษที่21 เธอคงคว้าเหรียญทองโอลิมปิกหรือแชมป์โลกไม่น้อยกว่า 2 สมัยแน่นอน ดังนั้นคำถามคือทำไมคนเก่งอย่างเธอถึงได้โชคร้ายอย่างนั้น และในวังวนของความโชคร้าย เธอก้าวผ่านมันมาได้อย่างไร และทำไมนางรองอย่างเธอถึงได้เป็นที่รู้จักมากกว่านางเอกผู้คว้าแชมป์ 

ถ้าพร้อมแล้วมาร่วมทำความรู้จักเธอไปพร้อมๆ กัน

จากเด็กกำพร้าผิวสี สู่นักกีฬาทีมชาติ

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีคนนำเด็กทารกเพศหญิงผิวสีคนหนึ่งมาทิ้งไว้ที่โรงพยาบาลทางตอนใต้ของฝรั่งเศส แต่ทารกน้อยก็กำพร้าไม่นาน เมื่อคู่รักผิวขาวชาวฝรั่งเศสรับเธอไปอุปการะเป็นบุตรบุญธรรม

“ฉันพูดได้เต็มปากว่าฉันโชคดีมากๆ ที่ได้เป็นลูกบุญธรรม มันเหมือนกับการชนะล็อตเตอรี่เลยล่ะ” เซอร์ยา โบนาลี กล่าวถึงชีวิตวัยเยาว์ของเธอบนเวที TEDxTorino

การชนะล็อตเตอรี่ของเซอร์ยาคือการเติบโตในครอบครัวที่พ่อแม่ให้ความรักความอบอุ่น ยิ่งกว่านั้นด้วยความที่แม่เป็นโค้ชกีฬา หนูน้อยจึงได้ฝึกได้เล่นกีฬาหลากหลายชนิดไล่ตั้งแต่ฟันดาบ กระโดดน้ำ ไปจนถึงยิมนาสติก 

ความเก่งกาจของเซอร์ยาฉายแววตั้งแต่อายุ 12 ปี เมื่อเธอสามารถคว้าแชมป์ตีลังกาโลกมาไว้ในครอบครอง ซึ่งทักษะการตีลังกานั้นเป็นผลพวงมาจากยิมนาสติกนั่นเอง 

หลังได้แชมป์ตีลังกาโลก ก็ถึงเวลาออกจากพื้นที่ปลอดภัยเพื่อหาความท้าทายใหม่ๆ และตอนนั้นเองเซอร์ยาก็ค้นพบว่าแท้จริงแล้ว สิ่งที่เธอชอบที่สุดคือการเล่นสเก็ตน้ำแข็งลีลา เธอจึงตัดสินใจฝึกฝนมันอย่างบ้าคลั่งจริงจัง

กระทั่งฤดูร้อนปีหนึ่ง ดิดิเยร์ ไกยาเกต์ โค้ชสเก็ตทีมชาติฝรั่งเศสได้นำทัพนักกีฬามาเก็บตัวที่เมืองนีซ บ้านเกิดของเซอร์ยา ทำให้ลานสเก็ตน้ำแข็งคิวแน่นไปหลายวัน แม่ของเซอร์ยาจึงไปขออนุญาตโค้ชดิดิเยร์เพื่อให้ลูกสาวได้ฝึกซ้อมสักหนึ่งชั่วโมง ซึ่งโค้ชก็ใจดีพอที่จะตอบตกลง เซอร์ยาจึงมีโอกาสลงไปวาดลวดลายท่ามกลางนักกีฬาทีมชาติ แต่ที่โดดเด่นและเข้าตาโค้ชเมืองน้ำหอมสุดๆ คือการฝึกท่า Double Jump (กระโดดหมุนกลางอากาศ 2 รอบ) ซึ่งดิดิเยร์ถึงกับตกตะลึงและให้สัมภาษณ์ภายหลังถึงสาเหตุที่ชักชวนแชมป์ตีลังกาโลกเข้ามาติดทีมชาติว่า “เพราะเราไม่มีนักสู้ขาลุยแบบนี้ในฝรั่งเศส” 

“สามสัปดาห์ต่อมา ฉันแทบจะเก่งกว่านักเรียนของดิดิเยร์แล้ว เขาจึงชวนให้ฉันย้ายไปปารีสเพื่อที่เขาจะได้สอนฉันเพราะฉันเก่งมากทีเดียว”

จากนั้นการเดินทางอันแสนยาวไกลของเซอร์ยา โบนาลีก็เริ่มต้นขึ้น

กำแพงอคติที่ไม่อาจก้าวข้าม

หลังฝึกซ้อมอย่างเข้มข้นเป็นเวลา 1 ปี เซอร์ยา โบนาลี ก็ติดทีมชาติ และค่อยๆ สร้างผลงานตอบแทนความไว้ใจของโค้ชดิดิเยร์ ไล่ตั้งแต่แชมป์ระดับประเทศ แชมป์เยาวชนโลกปี 1990 ต่อยอดไปถึงแชมป์ยุโรปปี 1992

หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เซอร์ยาคว้าแชมป์เป็นว่าเล่นนั่นคือลีลาสุดเร้าใจโดยเฉพาะการตีลังกากลับหลัง ซึ่งเป็นทักษะและผลพลอยได้จากการเป็นแชมป์ตีลังกาโลกสมัยเด็กๆ 

“เธอตีลังกากลับหลัง มันบ้ามาก ฉันอาจเรียกตัวเองว่าเป็นนักสเก็ตที่เก่งมาก แต่ไม่มีทางที่ฉันจะลองทำแบบนั้นเด็ดขาด” ทารา ลิพินสกี นักสเก็ตลีลาเหรียญทองโอลิมปิกกล่าว

สื่อของฝรั่งเศสหลายแห่งพยายามประโคมข่าวว่าเซอร์ยาคือคนที่อาจจะคว้าเหรียญทองโอลิมปิกให้กับประเทศ ส่วนตัวเธอเองหรือแม้แต่โค้ชก็มั่นใจและหวังอยู่ลึกๆ เช่นกัน เพียงแต่ว่าความจริงกลับไม่ง่ายอย่างที่คิด

‘เซอร์ยา’ ไม่เป็นที่ต้อนรับของกรรมการเท่าไร ด้วยสีผิว อคติทางการเมือง เครื่องแต่งกาย หรือแม้แต่ภาพลักษณ์ที่ขัดแย้งต่อการเป็น ‘เจ้าหญิงน้ำแข็ง’ ที่ต้องสวย บอบบาง สง่างาม และผิวขาว

ถึงอย่างนั้น เซอร์ยาก็ไม่สนไม่แคร์ พร้อมก้มหน้าก้มตาฝึกฝนท่วงท่าต่างๆ เพื่อหวังจะสยบคำวิจารณ์ลบๆ ที่มีต่อรูปลักษณ์ของเธอในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวปี 1992 ที่บ้านเกิดของเธอจะเป็นเจ้าภาพ

“ฉันหมุน 4 รอบได้ดีมากตอนซ้อม ฉันทำมันได้ติดต่อกันหลายครั้ง ฉันซ้อมหนัก มั่นใจมาก และอยากทำท่านี้ในการแข่งโอลิมปิก ไม่ว่ายังไงฉันก็จะทำ แม้โค้ชจะไม่อนุญาตก็ตาม”

ผมเชื่อว่าทุกท่านที่ผ่านช่วงวัยรุ่นย่อมรู้ดีว่าพอฮอร์โมนพลุ่งพล่านก็ยากที่ใครจะมาหยุดยั้ง เซอร์ยาก็เช่นกัน เธอเลือกขัดคำสั่งของโค้ช พร้อมกระโดดหมุน 4 รอบ ซึ่งเรียกเสียงฮือฮาจากผู้ชมทั้งสนาม แต่แล้วเธอกลับตกม้าตายง่ายๆ กับท่าอื่นๆ ส่งผลให้เธอไม่สามารถคว้าเหรียญรางวัลใดๆ 

สำหรับโค้ชดิดิเยร์ การไม่ได้เหรียญเป็นเรื่องที่พอรับได้ แต่การขัดคำสั่งเป็นการผิดวินัยอย่างร้ายแรง ส่งผลให้ครูจอมเก๋ากับลูกศิษย์เลือดร้อนทะเลาะกันอย่างรุนแรงถึงขั้นยุติความสัมพันธ์ เซอร์ยาจึงกลายเป็นนักกีฬาไร้โค้ชท่ามกลางความสนใจจากสื่อฝรั่งเศสที่ตามเล่นข่าวอยู่บ่อยครั้ง 

ฝันร้ายในวันที่มีแต่คำว่า ‘แพ้’

ผมไม่รู้ว่าอะไรดลใจให้เซอร์ยาตัดสินใจนำแม่มาเป็นโค้ชสเก็ตประจำตัวคนใหม่ แม้แม่ของเธอจะมีความสุขและขยันขันแข็งกับการเทรนด์ลูกสาว แต่ผมกลับเห็นด้วยกับผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความเห็นว่าแม่คือหนึ่งในปัญหาสำคัญ เพราะแม่ไม่มีใบอนุญาตครูฝึก แถมชอบขลุกอยู่กับเซอร์ยาตลอดเวลา ทำให้บรรดานักออกแบบท่าเต้นที่จ้างมาไม่สามารถโน้มน้าวใจเซอร์ยาให้เห็นถึงความสำคัญของทักษะด้านอื่นๆ ที่นอกเหนือจากการตีลังกาหรือกระโดดหมุนตัวได้ 

และนั่นทำให้เซอร์ยาถูกกรรมการรังแกอีกครั้งในการแข่งขันชิงแชมป์โลกปี 1993 เมื่อเซอร์ยาสามารถกระโดดหมุนกลางอากาศ 3 รอบได้ถึง 7 ครั้ง และทำท่าต่อเนื่องได้อย่างพลิ้วไหว แต่กลับปราชัยต่อ ‘ออคซานา ไบอุล’ นักสเก็ตน้ำแข็งที่กระโดดหมุนได้เพียง 5 รอบ และทำท่าต่อเนื่องได้แค่ครั้งเดียว

พอพลาดแชมป์โลก เซอร์ยาก็พยายามเปิดใจรับคำแนะนำของคนรอบข้างมากขึ้น เพราะกีฬาประเภทนี้ตัดสินกันด้วยความรู้สึกล้วนๆ ไม่เหมือนกับกอล์ฟหรือเทนนิสที่มีบรรทัดฐานในการทำคะแนน แต่ดูเหมือนว่ามันจะไม่ช่วยอะไรให้ดีขึ้น เพราะการแข่งโอลิมปิกในปีถัดมา เธอกลับทำได้แค่ที่ 4 ของการแข่งขัน

“ฉันร้องไห้คนเดียวนานมาก(ตอนรู้ว่าได้ที่4) สาบานได้ว่ามันคือฝันร้ายสำหรับฉัน”

1 เดือนต่อมา นักสเก็ตผิวสีชาวฝรั่งเศสได้ลุกขึ้นสู้อีกครั้งกับการแข่งขันชิงแชมป์โลกที่เมืองชิบะ ประเทศญี่ปุ่น ปรากฎว่าเซอร์ยาทำผลงานออกมาอย่างไร้ที่ติ แต่กลับแพ้ให้กับนักสเกตเจ้าถิ่นอย่างเฉียดฉิว และแล้วความอดทนที่กลั้นไว้มานานก็ปะทุออก เซอร์ยาไม่อาจควบคุมตัวเองได้อีกต่อไป

“ฉันพยายามทำตัวน่ารักและมีเหตุผลให้ได้สักครั้ง แต่ฉันโกรธมากจริงๆ”

เซอร์ยาปฏิเสธที่จะยืนบนแท่นรับเหรียญ เธอร้องไห้ด้วยความเสียใจและถอดเหรียญเงินที่คล้องคอออกมาท่ามกลางเสียงโห่ร้องจากผู้ชมในสนาม

 “มันเศร้าแต่มันคือความจริง เราฝึกซ้อมกันมาหลายปีกับความเหน็บหนาว เมื่อคุณพลาดมันก็น่าท้อใจ ในฐานะนักกีฬาผิวสี ฉันคิดว่าเราต้องทำให้มากกว่าคำว่าดี ดังนั้นหน้าที่ของฉันคือไร้ที่ติ”

ทำตามเสียงหัวใจ ชัยชนะในชีวิตจริง

ว่ากันว่าครั้งแรกกับครั้งสุดท้ายมักเป็นความทรงจำที่ตราตรึงเสมอ เช่นเดียวกับโอลิมปิกครั้งสุดท้ายที่เซอร์ยาสามารถเข้าร่วม(ก่อนอายุเกินกำหนด) แต่แล้วก่อนการแข่งขัน เซอร์ยากลับเอ็นร้อยหวายขาดแต่เธอก็กัดฟันร่วมทีมฝรั่งเศสต่อไป

ในวันแข่งขัน แม้นักสเก็ตทั่วโลกต่างวาดลีลาลวดลายที่สวยงามถูกใจกรรมการ แต่เซอร์ยากลับทำสิ่งที่เหนือกว่านั่นคือการร่ายมนตร์ผ่านการตีลังกากลับหลังด้วยขาข้างเดียว

ตามกติกาสเก็ตลีลา การตีลังกากลับหลังเป็นการละเมิดกฎ ดังนั้นการกระทำของเซอร์ยาถือเป็นการท้าทายกรรมการอย่างแรง แต่สำหรับเซอร์ยา เธอไม่ได้แคร์เหรียญทองใดๆ อีกแล้ว

เพราะสิ่งเดียวที่เธอแคร์มีเพียงเสียงข้างในหัวใจ เธอหลุดจากกับดักของชัยชนะที่เกิดจากอคติของกรรมการ หลุดจากกรอบที่ใครบางคนกำหนดว่านักสเก็ตที่ดีต้องเป็นแบบนี้ และหลุดจากพันธนาการทั้งปวงที่ฉุดรั้งศักยภาพที่แท้จริงของเธอ

“คนดูถูกใจสุดๆ คนดูลุกขึ้นยืนปรบมือให้ฉันก่อนฉันแสดงจบเสียอีก คนดูชอบมาก ยกเว้นกรรมการ ผู้คนบ้ากันชั่วข้ามคืน ฉันเดินเข้าไปในหมู่บ้านโอลิมปิก ได้ยินพวกนักสกี นักฮอกกี้ พูดว่า โอ้พระเจ้ามันเป็นอะไรที่เจ๋งที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมา”

เส้นทางใหม่ที่ไม่มีคำว่า ‘แพ้’

หลังการแข่งขันโอลิมปิก เซอร์ยาผันตัวสู่การเล่นสเก็ตอาชีพ และเธอก็ค้นพบว่าแม้คณะกรรมการจะไม่ให้เธอชนะในสนามแข่ง แต่บนเวทีโลก เธอนั่นแหละคือผู้ชนะและราชินีตัวจริงแห่งวงการสเก็ตน้ำแข็ง

“ความสำเร็จอยู่ที่ไหน มันอยู่ในชั่วขณะหรือมันอยู่ในช่วงชีวิตอันยืนยาว 

เธอสามารถควบคุมคนดูได้หรือเปล่า ผมเป็นคนเน้นเรื่องช่วงชีวิต ถ้าคุณสามารถยืนหยัดได้เป็นเวลานาน และให้ความสุขกับคนดูได้ ทำให้พวกเขารอคอยที่จะดูคุณได้ก็ถือว่าทำได้ดีครับ…ไม่เคยมีใครควบคุมเซอร์ยาได้ สำหรับเธอการเล่นมืออาชีพคืออิสรภาพ มันคือการปลดเปลื้อง” สก็อต ฮามิลตัน อดีตนักสเก็ตเหรียญทองโอลิมปิกที่ปัจจุบันผันตัวมาเป็นนักวิเคราะห์กล่าว

ปัจจุบัน เซอร์ยาผันตัวมาเป็นโค้ชให้นักสเก็ตเยาวชนในสหรัฐฯ บ่อยครั้งที่เธอที่เชิญไปแชร์ประสบการณ์ชีวิตเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชน

“การแข่งไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต เธอไม่ต้องรอให้เหรียญมาเปลี่ยนชีวิตเธอ เหรียญมันก็ดีแต่มันไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด เหรียญมันแค่เรื่องผิวเผินไม่จริงแท้ ถ้าเธอเต็มที่ 100% แล้ว จงรู้สึกดีกับมัน จงคิดบวกและก้าวต่อไป

 …ดังนั้น พยายามเป็นคนดี นักกีฬาที่ดี โดยไม่ต้องพยายามคว้าเหรียญ เพราะบางครั้งมันจะทำลายเธอและทำให้เธอผิดหวังมาก บางครั้งอาจทั้งชีวิตเลยและมันไม่ดี”

หลังจากดูสารคดีของเซอร์ยาแล้ว ผมรู้สึกถึงแรงบันดาลใจอันเปี่ยมล้น และการยืนหยัดต่อสู้ด้วยพลังความสามารถทั้งหมดที่มีแม้รู้ทั้งรู้ว่าต้องปราชัยต่อกรรมการ แต่เธอก็ไม่เคยยอมแพ้และกลายเป็นแชมป์ในใจผู้ชมทั่วโลก(ไม่เว้นแม้แต่เกาหลีเหนือ)เซอร์ยาทำให้ผมตระหนักว่ามนุษย์ต่างมีศักยภาพที่เปี่ยมล้น เพียงแต่ว่าหลายคนอาจอยู่ผิดที่ผิดเวลาหรืออยู่ในกรอบการแข่งขันที่ผู้อื่นกำหนดขึ้น ดังนั้นผมขอให้กำลังใจทุกท่านว่า อย่าปล่อยให้เสียงของใครดังกว่าเสียงในหัวใจคุณ เพราะเสียงๆ นั้นอาจนำคุณไปสู่อิสรภาพและคำตอบที่คุณตามหามาชั่วชีวิต

Tags:

Losersความพ่ายแพ้สเก็ตน้ำแข็งนักกีฬาโอลิมปิกแชมป์Surya Bonaly

Author:

illustrator

อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

เจ้าของเพจ The Last Bogie ผู้ตัดสินใจขึ้นรถไฟขบวนสุดท้าย โดยมีปลายทางอยู่ที่สถานี 'ยูโทเปีย'

Illustrator:

illustrator

ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

Related Posts

  • Movie
    F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Weerathep pomphan-cover
    Life classroom
    ‘เรียนรู้จากความพ่ายแพ้ เรียนรู้จากชัยชนะ’ นักฟุตบอลทีมชาติที่มีครอบครัวเป็นกองหลัง: วีระเทพ ป้อมพันธุ์

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ปริสุทธิ์

  • How to enjoy life
    เมื่อคำว่า ‘แพ้’ รุนแรงต่อชีวิต ความพ่ายแพ้จึงไม่ใช่เรื่องเล็ก และผู้แพ้ไม่ควรถูกละเลย

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Dr.Pla Wimonmas-Cover 1
    Life classroomSocial Issues
    อย่าชนะในเกมแค่วินาทีนี้ แต่แพ้ในชีวิตตลอดไป: ฝึกใจให้พร้อมสู้ทุกสนาม กับ ผศ.วิมลมาศ ประชากุล นักจิตวิทยาการกีฬา

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ปริสุทธิ์

  • Movie
    Losers EP.3 แบล็ค แจ็ค: พรสวรรค์ที่เกือบสูญเปล่า เพราะคำว่า ‘Low Self-Esteem’

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

ทำไมไม่อยู่บ้านกับพ่อแม่? กับ 5 คำถามสำรวจโลกภายใน
Myth/Life/Crisis
28 July 2022

ทำไมไม่อยู่บ้านกับพ่อแม่? กับ 5 คำถามสำรวจโลกภายใน

เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • คำถามต่างๆ เกี่ยวกับการ ‘อยู่’ หรือ ‘ไม่อยู่’ กับครอบครัว อาจทำให้ผู้ถูกถามรู้สึกรบกวนใจ แต่นี่ก็เป็นเหมือนการเปิดโอกาสให้ได้กลับมาสำรวจขอบของตัวเองอีกทีว่ามีอะไรอยู่ในใจผู้ถูกถามและผู้ถามบ้าง?
  • การทำหรือไม่ทำให้เกิดอะไรสักอย่างของแต่ละคน รวมถึงการที่ผู้คนสนใจว่าทำไมเราไม่ทำอะไรตามที่เขาคาด เราสามารถเจอ ‘คุณค่า’ บางอย่างที่แต่ละคนให้ ซึ่งสามารถสะท้อนจากคำถามที่ว่า ทำไม เขาต้องการให้มันเป็นแบบนั้น
  • ไม่ได้มีคำตอบตายตัวให้กับอะไร เพราะองค์ประกอบชีวิตของแต่ละคนและชุมชนไม่เหมือนกัน เพียงแต่ใช้คำถามต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจตัวเองและคนรอบข้าง


“ไปอยู่ที่นั่นตั้งนาน ทำไมไม่กลับมาอยู่บ้านดูแลพ่อแม่ล่ะ?” “หนี/ ทิ้งพ่อแม่หรือ?”

“นี่ยังอยู่ที่เดียวกับพ่อแม่อีกหรือ? เมื่อไหร่จะย้ายออก?”“อ่อนแอ ไม่เป็นไท?” 

1.

คำถามทำนองดังกล่าวจากผู้คนที่เราอาจไม่สนิทนัก สามารถเป็นการอยากชวนคุยอย่างเป็นมิตรที่ผู้ถามไม่ได้คิดลึกและสามารถสะท้อนความหวังดีของผู้ถามหลายท่านได้ อย่างไรก็ตาม หากคุณผ่านประสบการณ์อยู่บ้านกับพ่อแม่และแยกกันอยู่มาหลายแบบแล้ว คำถามที่ฟังดูขัดกันเองและประดังประเดเข้ามาซ้ำๆ ก็สามารถนำไปสู่การสืบหา ขอบของแต่ละคนที่ตั้งคำถาม ซึ่งสามารถเชื่อมโยงขอบของสังคมนั้นๆ ที่ผู้ถามสังกัด โดย ‘ขอบ’ ในที่นี้ก็คือ การไม่สามารถทำอะไรบางอย่าง ‘ถูกจำกัดหรือขัดขวางไม่ให้ทำ ไม่ให้คิดหรือสื่อสารออกมา’ โดยขอบแยกตัวตนหลักของเราออกจาก กระบวนการชีวิตในแบบอื่นๆ (ดู City Shadows โดย Dr. Arnold Mindell)

สำหรับผู้ถูกถาม หากรู้สึกรบกวนใจ ก็กลับเปิดโอกาสให้ได้สำรวจขอบของตัวเองอีกที 

เหมือนกับการมีคนมาถามซ้ำไปมาว่า ทำไมไม่ซื้อรถยนต์ส่วนตัวขับสักทีล่ะ? (แทนที่จะเป็น ทำไมระบบขนส่งสาธารณะที่มีมาตรฐานไม่กระจายไปอย่างทั่วถึงเสียที) ทำไมยังไม่มีลูกล่ะ? ทำไมหน้าดำคล้ำจัง? ฯลฯ ที่เราสามารถสำรวจสนุกๆ ว่ามีอะไรอยู่ในใจผู้ถูกถามและผู้ถามบ้าง? 

2. 

5 คำถามสะท้อนคุณค่า 

ในการทำหรือไม่ทำให้เกิดอะไรสักอย่างของแต่ละคน รวมถึงการที่ผู้คนสนใจจังว่าทำไมเราไม่ทำอะไรตามที่เขาคาด ลึกลงไป เราสามารถเจอ ‘คุณค่า’ บางอย่างที่แต่ละคนให้ ซึ่งสามารถสะท้อนจากคำถามที่ว่า ทำไม เขาต้องการให้มันเป็นแบบนั้น?

คำถามจากและแนวทางที่ดัดแปลงจาก The How to Think like Leonardo da Vinci Workbook โดย Micael J. Gelb เหล่านี้ เป็นสิ่งที่เราสามารถนำมาใช้สำรวจตัวเองได้

คำถามที่ 1 สิ่งที่เราต้องการนั้นถูกตั้งเงื่อนไขจากภายนอกมากน้อยเพียงไหน? 

เงื่อนไขภายนอกที่เรารับเข้ามา อาจเป็นสารจากพ่อแม่ญาติพี่น้อง โรงเรียน โฆษณาหรืออะไรก็ตาม เช่น ค่านิยมในชุมชนหนึ่งๆ บอกว่าการอยู่บ้านกับพ่อแม่จนเลยอายุ 18 ปี เป็นเรื่องของคนไม่เอาไหน ไม่รู้จักยืนด้วยลำแข้งตัวเอง แต่สำหรับอีกชุมชน การที่คุณออกจากบ้านไปใช้ชีวิตลงหลักปักฐานของตัวเองที่อื่น กลับถูกมองเชิงลบว่าไม่ยอมอยู่บ้านเพื่อดูแลพ่อแม่หรือเป็นการปล่อยให้คนเฒ่าเหงาหงอย เป็นต้น

คำถามที่ 2 เราทำอะไรที่เป็นปฏิกิริยาต่อต้านเงื่อนไขข้างต้นเหล่านั้นบ้างไหม? 

เช่น ถ้าคุณถูกตั้งเงื่อนไขว่าต้องอยู่บ้านกับพ่อแม่ตลอดไปเพราะนั้นคือสิ่งที่ ‘ลูกที่ดี’ ทำ คุณก็แหกคอกด้วยการออกไปทำงานไกลๆ บ้านนานหลายปีหรือย้ายหลักแหล่ง หรือคุณถูกสังคมบีบคั้นให้ต้องซื้อรถยนตร์ส่วนตัวขับ คุณก็นั่งรถสารณะโชว์เสียเลย นี่อาจเป็นการขบถต่อเงื่อนไขที่ถูกยัดเยียดมาให้ ซึ่งบางทีก็ไม่รู้ตัวว่ากำลังทำเพื่อต่อต้านอยู่

คำถามที่ 3 อะไรบ้างที่เราต้องการทำหรือทำไปแล้ว สอดคล้องกับสิ่งที่เราให้ค่าจริงๆ? 

คำถามที่ 4 ด้านล่างนี้เป็นกลุ่มคำพอเป็นแนวทางที่สะท้อนคุณค่าต่างๆ ได้ คุณสามารถวงประมาณ 5 รายการที่สอดคล้องกับสิ่งที่ตัวเองให้ค่ามากที่สุด ซึ่งถ้าไม่มีในนี้ คุณก็สามารถเขียนเพิ่มเองได้

ความทรงปัญญา ความตระหนักรู้ ความจริงแท้ มิตรภาพ การเติบโต ความรับผิดชอบ ความยุติธรรม ความเป็นครอบครัว ธรรมชาติ ระบบนิเวศ ความคิดสร้างสรรค์ ความเคารพ ความถ่อมตน ความสนุก เงิน ศักยภาพ การแข่งขัน การชนะ การนำ ชุมชน ความประหยัด การให้ ระเบียบ ความโกลาหล จิตวิญญาณ เสถียรภาพ ความอ่อนไหวไวต่อสิ่งเร้า ความหยั่งรู้ เวลา ขนบ ความนอกรีต ความขี้เล่น อิสรภาพ ฯลฯ

คำถามที่ 5 สิ่งที่คุณต้องการสอดคล้องกับ ‘คุณค่า’ ที่คุณให้ หรือไม่?

เช่น คุณอาจให้ค่ากับอิสรภาพ การที่คุณต้องการจะอยู่คนละพื้นที่กับพ่อแม่ตัวเองก็น่าจะสอดคล้องกับอิสรภาพ หรือคุณให้ค่าความประหยัดและการได้ให้บริการผู้คนในครอบครัว การที่คุณต้องการจะอยู่กับคนที่บ้านอย่างพร้อมหน้าโดยไม่ต้องให้ใครสักคนในบ้านเปลืองเงินซื้อหรือเช่าที่อยู่ให้เยอะแยะในสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้ ก็อาจสอดคล้องกับคุณค่าที่คุณให้มากกว่าการที่สมาชิกในครอบครัวต้องออกไปแยกกันอยู่

แต่เราไม่จำเป็นต้องติดตันอยู่กับคุณค่าหรือวิธีการแค่อย่างเดียว เช่น ถ้าเราให้ค่ากับการที่คนหลายรุ่นในครอบครัวได้อยู่ด้วยกันและก็ให้ค่ากับอิสรภาพสำหรับแต่ละบุคคลมากด้วย ก็อาจหาวิธีทำบ้านให้เป็นสัดส่วนกว่าเดิม ซึ่งก็สามารถแตกต่างกันไปตามงบประมาณและความสร้างสรรค์ของแต่ละคน หรืออาจจะย้ายไปเช่าหรืออยู่ที่อื่นและกลับบ้านเป็นระยะสลับกันไป ซึ่งก็มีคนทำแบบนี้มากมาย ฯลฯ ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน 

มีทางเลือกนับไม่ถ้วนที่ดำรงอยู่ระหว่างทางเลือกสองขั้วตายตัวของการอยู่หรือไม่อยู่บ้านกับพ่อแม่พี่น้อง

3. 

ลึกลงไปอาจมีแก่นสารและคุณค่าร่วมกัน

นอกจากนี้ คนที่คุณเห็นโดยผิวเผินว่าเขาให้คุณค่าแตกต่างจากคุณ ลึกลงไปเขาอาจให้คุณค่าแบบเดียวกับคุณ เช่น คนที่ถามคนอื่นว่า “ทำไมไม่ยอมอยู่บ้านกับพ่อแม่ล่ะ?” โดยถามเพราะให้ค่าความรักแก่คนในครอบครัวและเชื่อบาปบุญต่างๆ ส่วนลูกที่เลือกจะไม่อยู่กับพ่อแม่ ก็อาจออกไปอยู่ที่อื่นเพราะเขารักพ่อแม่อย่างที่สุด ทว่าเมื่ออยู่ด้วยกันแล้วมีเหตุให้ต้องทะเลาะกันบ่อยๆ มันทำให้คนในสถานะลูกอย่างเขารู้สึกผิดบาป เขาจึงเลือกจะไม่อยู่กับพ่อแม่ 

แต่เขาก็เป็นดั่งต้นไม้ที่รากของมันยังหาทางหยั่งลงและปกแผ่โยงใยอยู่ใต้ผืนดินที่ไม่มีใครมองเห็น แม้ภายในจะถูกกัดกร่อนจากความทรงจำของบรรยากาศขัดแย้งเมื่ออยู่ที่บ้านเพียงใด ภาพชีวิตประจำวันของคนในครอบครัวยังคงเป็นมนต์ขลังซึ่งเขาโหยหาและหวาดหวั่นไม่แน่ใจว่าวันไหนจะกลายเป็นวันสุดท้ายที่ได้มองดู

4. 

สำหรับสังคมที่ให้ค่าการอยู่บ้านกับพ่อแม่ที่มีอายุมากขึ้น คนที่ไม่อยู่หรือไม่ค่อยอยู่กับท่านก็ถูกมองในเชิงลบมาแล้ว แต่สำหรับสังคมที่ให้ค่าความเป็นเอกเทศไม่ขึ้นกับใคร คนที่ยังอยู่กับพ่อแม่ก็กลายเป็น ‘ผู้แพ้’ (ใส่เครื่องหมายตั้งคำถาม) มาแล้วเช่นกัน ดังนั้น ลบหรือบวกก็ไม่ได้ตายตัว

เฉกเช่นที่เมื่อสังคมหนึ่งๆ ให้ความสำคัญกับการทำงานหามรุ่งหามค่ำอย่างไม่อาจสนใจสุขภาพ, การเชื่อฟังไปเชื่องๆ อย่างไม่ตั้งคำถาม ฯลฯ  บุคคลใดที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานนั้นๆ ก็อาจถูกมองว่าเป็น ‘ปัญหา’  ส่วนอีกตัวอย่าง ในสังคมที่ให้ค่าความอ่อนไหวไวต่อสิ่งเร้าสูง (highly sensitive) ความอ่อนไหวก็สามารถจะได้รับการมองว่าเป็นหนึ่งในลักษณะความชาญฉลาดที่เป็นประโยชน์กับส่วนรวม หรือในชุมชนที่ให้ค่าความหยั่งรู้และจินตนาการ ภาพแฟนตาซีฝันๆ ก็กลายเป็นประตูสู่การเยียวยา ปัญญาและสิ่งประดิษฐ์ล้ำยุคได้ โดยไม่ต้องถูกมองว่าเป็นอาการหรือเค้าลางของโรคจิตเวชแต่อย่างใด (ดูเพิ่ม City Shadow และ Highly Sensitive Person ตามที่อ้างอิง) 

เหมือนเช่นเคย ไม่ได้มีคำตอบตายตัวให้กับอะไร องค์ประกอบชีวิตของแต่ละคนและชุมชนไม่เหมือนกัน เพียงแต่ชวนคิดและนำเสนอคำถามต่างๆ เพื่อใช้ทำความเข้าใจตัวเองและคนรอบข้าง เท่าที่จะทำได้ เท่านั้นเอง

อ้างอิง
City Shadow: Psychological Interventions in Psychiatry โดย Dr Arnold Mindell
Highly Sensitive Person โดย Dr. Elaine Aron
The How to Think like Leonardo da Vinci Workbook โดย Micael J. Gelb

Tags:

ครอบครัวคำถามสำรวจตนเองสังคม

Author:

illustrator

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา

ชอบอยู่กับต้นไม้ใบไม้ต่างๆ ผืนน้ำ เที่ยวไปในโบราณสถาน และเรียบเรียงสิ่งที่อยู่ในเงามืด เราเองยังต้องเรียนรู้และขัดเกลาอะไรอีกมาก รู้สึกขอบคุณที่ให้โอกาสเราได้ฟังเรื่องราวของทุกคนนะ (Line ID: patrasuwan)

Illustrator:

illustrator

กรองพร ทององอาจ

Graphic Designer & Illustrator Instagram: @monkrongpin

Related Posts

  • Movie
    The Unbreakable Boy: เพราะชีวิตคือสิ่งล้ำค่า ไม่ว่ามันจะแตกต่าง หรือแตกสลาย

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Movie
    Pachinko (2022): อ่านผู้หญิงเกาหลีในนาม ‘ซุนจา’

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Relationship
    Asexual ชีวิตที่อยู่นอกกรอบเรื่องรักใคร่

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Movie
    Monster: เรื่องโกหกที่เริ่มต้นจากความกลัวเพราะไม่อยากเป็นตัวประหลาด

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Dear ParentsMovie
    We’re here: แดร็กควีนที่ไม่ใช่แค่ความสนุก แต่เพื่อความรู้สึกมีอำนาจ

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

The Boy Who Harnessed the Wind เมื่อ ‘หนังสือเล่มหนึ่ง’ นำไปสู่ชัยชนะของเด็กชายต่อสายลม
Learning Theory
26 July 2022

The Boy Who Harnessed the Wind เมื่อ ‘หนังสือเล่มหนึ่ง’ นำไปสู่ชัยชนะของเด็กชายต่อสายลม

เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • ‘วิลเลี่ยม’ เด็กชายผู้ที่ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน เพราะไม่มีเงินจ่ายค่าเทอม สามารถประดิษฐ์กังหันลมเพื่อใช้ปั้มน้ำไปยังพื้นที่เกษตรกรรมได้สำเร็จ 
  • การเรียนรู้ของวิลเลี่ยมเกิดขึ้นบน ‘พื้นที่รอยต่อการเรียนรู้’ คือการที่ตัวเขาได้แลกเปลี่ยนกับครู เพื่อนสนิท (กิลเบิร์ต) และหนังสือในฐานะตัวแทนของความรู้ในเชิงซับซ้อน
  • The Boy Who Harnessed the Wind นอกจากจะพาให้เราเห็นถึงความสำคัญของนั่งร้านในพื้นที่รอยต่อการเรียนรู้ ที่จะเป็นสะพานเชื่อมให้เด็กเกิดการพัฒนาทางความคิดหรือความเข้าใจโลกทางสังคมที่เขาอยู่ ผ่านภาษาและความรู้ ยังชวนตั้งคำถามสำคัญว่า “การศึกษากำลังเป็นพื้นที่รอยต่อแบบไหนกันแน่?”

ในฉากสุดท้ายของภาพยนตร์เรื่อง ‘ชัยชนะของไอ้หนู’ หรือ The Boy Who Harnessed the Wind  ‘วิลเลี่ยม’ เด็กชายผู้ที่ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน เพราะไม่มีเงินจ่ายค่าเทอม สามารถประดิษฐ์กังหันลมเพื่อใช้ปั้มน้ำไปยังพื้นที่เกษตรกรรมได้สำเร็จ ในข้อเขียนนี้จึงอยากชวนวิเคราะห์เรื่องราวที่เกิดขึ้นผ่านทฤษฏีการเรียนรู้ที่เน้นสังคมวัฒนธรรม (Sociocultural Learning Theory) เพื่อทำความเข้าใจการเรียนรู้ของวิลเลี่ยมท่ามกลางบริบทสังคมวัฒนธรรมที่เขาเผชิญ จนนำไปสู่การลงมือสร้างการเปลี่ยนแปลง

ภาษาและความรู้ในโลกของวิลเลี่ยม 

ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริง โดยบอกเล่าเรื่องราวของวิลเลี่ยม เด็กหนุ่มที่เติบโตมาในครอบครัวชาวไร่ในประเทศมาลาวี ในช่วงกลางปี 2000 ที่ประชาชนต้องเผชิญกับพิษเศรษฐกิจและภัยแล้งอย่างหนัก ชีวิตของเขามีพ่อเป็นเสมือนครูที่คอยถ่ายทอดความรู้และวิธีการทำการเกษตรให้เขาอยู่ตลอดเวลา ระบบความรู้ที่ถูกถ่ายทอดผ่านวิถีเกษตรกรรมเหล่านี้จึงมีความสำคัญทั้งสำหรับตัววิลเลี่ยมเองและครอบครัว เพราะเป็นความรู้ที่จะทำให้พวกเขามีรายได้ มีกิน และมีชีวิตรอด ในมุมมองของ Sociocultural learning theory ความรู้ที่วิลเลี่ยมได้เรียนรู้จากพ่อไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ แต่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่เข้าไปมีส่วนปฏิสัมพันธ์ต่อโลกทางสังคมที่เราอาศัยอยู่บนผลประโยชน์บางอย่างร่วมกับผู้อื่น เช่น เพื่อจะมีชีวิตรอด เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับโลก 

มนุษย์ต้องสร้าง ‘ภาษาและความรู้’ ขึ้นมาเพื่อที่จะใช้ทำความเข้าใจ รับมือ ให้ความหมาย หรือทำบางสิ่งบางอย่างกับโลกที่เขาดำรงอยู่เพื่อวันนี้และพรุ่งนี้ ดังนั้น ‘ภาษาและความรู้’ จึงไม่ได้แยกขาดจากเงื่อนไขทางสังคมวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของมนุษย์ และก็ยังเป็นผลผลิตทางปัญญาที่มนุษย์ยุคก่อนหน้าสร้างขึ้นมาเพื่ออนาคต    

Vygotsky  มองว่า เด็กคือคนที่เติบโตท่ามกลาง ‘ชีวิตทางปัญญา’ (intellectual life) ผ่านภาษา สำหรับเขาภาษาเป็นเครื่องมือทางวัฒนธรรม (cultural tool) ที่สำคัญ ไม่ใช่แค่เครื่องมือเพื่อการสื่อสารแต่ภาษาโดยตัวมันเองเป็นผลมาจากเงื่อนไขผลประโยชน์ทางสังคม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ที่มนุษย์เข้าไปมีส่วน นำมาสู่การสร้างแนวคิด ให้คำอธิบาย หรือนิยามความหมายของโลกที่กำลังเผชิญ ในแง่นี้ ภาษามีส่วนสัมพันธ์กับความคิด ในภาพยนตร์เราจะเห็นได้ว่าภาษาและความรู้เกี่ยวกับเกษตรกรรมเป็นสิ่งที่ช่วยให้วิลเลี่ยมผู้มาทีหลังเข้าใจโลกที่เขาดำรงอยู่ ผ่านการสอนหรือพิธีกรรมจากผู้เป็นพ่อ ครอบครัว และชุมชนที่เขาเติบโตมา   

ก้าวออกจากโรงเรียน สู่คำถามถึงวันพรุ่งนี้ 

พ่อของวิลเลี่ยมส่งเขาเข้าโรงเรียนเพื่อหวังให้เขามีโอกาสและมีอนาคตที่ดีขึ้นจากการศึกษา อย่างไรก็ตาม วิลเลี่ยมเข้าไปเรียนได้เพียงไม่นานก็ถูกบังคับให้ออกจากโรงเรียนกลางคัน เนื่องจากครอบครัวของเขาไม่สามารถหาเงินมาจ่ายค่าเล่าเรียนได้ ถึงแม้ครอบครัวจะพยายามอย่างเต็มที่ แต่ผลผลิตทางการเกษตรที่หดหายจากภัยแล้งที่สาหัสนำไปสู่ปัญหาความอดอยากและหนี้สินที่ตามมา ในขณะที่ผู้คนบางส่วนเริ่มหาทางออกด้วยการขายที่ดินทำกินและย้ายไปอยู่ที่อื่น เรื่องราวที่เกิดขึ้นกลับเป็นแรงผลักดันสำคัญให้เด็กหนุ่มลุกขึ้นมาท้าทายต่อสภาพความแร้นแค้นจากภัยแล้งที่เกิดขึ้น ส่วนนี้สะท้อนให้เห็นว่า ภาษาและความรู้ที่ถูกส่งต่อมาจากคนรุ่นก่อนหน้า ไม่อาจช่วยให้วิลเลี่ยมรับมือกับปัญหา หรือสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างสังคมที่ไม่ต้องเผชิญภัยแล้งในวันพรุ่งนี้ได้ 

ก่อนที่จะถูกบังคับให้ออกจากโรงเรียน วิลเลียมสังเกตเห็นรถจักรยานของครูสอนวิทยาศาสตร์ เขาพบว่าไฟหน้ารถสว่างขึ้นจากการปั่นของล้อจักรยาน นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของความสงสัยว่าแท้จริงแล้วมันเกิดขึ้นได้อย่างไร เขาตั้งคำถาม และได้คำตอบจากครูว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเรียกว่า ‘ไดนาโม’ ความสงสัยและความปรารถนาที่อยากจะเปลี่ยนแปลงสังคมที่ดำรงอยู่ผลักให้เขาเดินกลับเข้าไปในชั้นเรียนอีกครั้ง และเป็นอีกครั้งที่วิลเลี่ยมถูกปฏิเสธจากครูใหญ่  

อย่างไรก็ตาม เมื่อเขาถูกขอให้ออกจากโรงเรียน แทนที่จะร้องขอความเมตตาให้ได้กลับเข้าเรียน วิลเลี่ยมเริ่มต่อรองกับครูวิทยาศาสตร์ด้วยความลับเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของครูกับพี่สาว เขาขอให้ครูพาไปที่ห้องสมุด การมาที่ห้องสมุดครั้งนี้ทำให้เขาได้พบกับหนังสือวิทยาศาสตร์เล่มหนึ่งที่ช่วยให้คำอธิบาย ขยายความเข้าใจ และไขข้อสงสัยของเขา สุดท้ายแล้วหนังสือเล่มนี้ได้กลายเป็น “นั่งร้าน” ที่ช่วยให้เขาสร้างกังหันลมขึ้นมาได้ในที่สุด 

หนังสือในพื้นที่รอยต่อการเรียนรู้

หนังสือทำให้วิลเลียมพัฒนาความคิดได้อย่างไร? สำหรับ Vygotsky แนวคิด (concept) มี 2 ระดับ ระดับแรก คือแนวคิดในระดับชีวิตประจำวัน (everyday concept) ซึ่งเป็นสิ่งที่เราใช้อธิบายเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ทั่วไปในชีวิต ส่วนที่สองคือ แนวคิดในระดับซับซ้อน (academic concept) เป็นสิ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบ เพื่อใช้อธิบายสิ่งที่ต่างๆ ที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การที่ไฟหน้ารถติด ถ้าอธิบายแบบง่ายๆ อาจอธิบายได้ว่าไฟติดจากการปั่นจักรยาน แต่ในระดับที่ซับซ้อนคำอธิบายคือไฟติดจากพลังงานไฟฟ้าไดนาโม ในแง่นี้ Vygotsky เห็นว่า พื้นที่ทางการศึกษาจึงเป็นพื้นที่สำคัญที่ช่วยให้เด็กได้เข้าถึงความรู้ในระดับที่ซับซ้อน ซึ่งคนที่ทำหน้าที่ตรงนั้นก็คือครู ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้มีประสบการณ์มากกว่า 

ดังนั้น การพัฒนาทางความคิด (cognitive) ในคนคนหนึ่งจึงไม่ใช่การเปลี่ยนระดับแนวคิดในชีวิตประจำวันมาสู่การคิดที่ซับซ้อน แต่เป็นการที่แนวคิดในชีวิตประจำวันที่มีอยู่ในตัวของเด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับแนวคิดซับซ้อนที่มีการจัดระบบ ซึ่งนำไปสู่การสร้างความรู้ความเข้าใจขึ้นมาใหม่ในตัวคนคนหนึ่ง 

เมื่อมองถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น ‘หนังสือ’ รวมถึงครูวิทยาศาสตร์ ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนความรู้ในระดับที่ซับซ้อน (และมีประสบการณ์มากกว่า) ที่พาวิลเลี่ยมไปสำรวจว่าอะไรคือสิ่งที่เขารู้อยู่ ณ ขณะนั้น และอะไรคือสิ่งที่เขาอาจยังไม่รู้ และกำลังจะเดินไปสู่การทำความเข้าใจ  

Sociocultural learning theory เห็นว่า ในการเรียนรู้ มีพื้นที่ตรงกลางที่เรียกว่า “Zone of Proximal Development (ZPD) หรือพื้นที่รอยต่อการเรียนรู้” ซึ่งอยู่ระหว่างสิ่งที่เด็กมีอยู่ในตัว อย่างความคิดความเข้าใจและคำอธิบายจากประสบการณ์ในชีวิตประจำวันและแนวคิดก่อนหน้า แต่เมื่อได้เจอสถานการณ์หรือเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ เมื่อแนวคิดเหล่านั้นกลับไม่สามารถใช้ทำความเข้าใจโลกได้อีกต่อไป จึงทำให้เกิดพื้นที่อีกฝากของ ZPD คือสิ่งที่เด็กต้องการจะเป็น ทำได้ หรือเข้าใจได้ 

ดังนั้น การมีอยู่ของ academic concept จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะเป็นนั่งร้านในพื้นที่รอยต่อที่จะช่วยเข้ามาปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ในการแลกเปลี่ยนเพื่อขยับขยายมุมมองต่อโลกความเป็นจริงที่เด็กใช้ชีวิตอยู่ออกไป และเช่นเดียวกัน เมื่อเขาเผชิญหน้าสถานการณ์ที่ต่างออกไป ท้าทาย หรือที่ไม่คุ้นเคย พื้นที่อย่าง ZPD  ก็จะมีความสำคัญขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อเป็นนั่งร้านให้คนคนหนึ่งได้ก้าวกระโดดไปข้างหน้า 

การเรียนรู้ของวิลเลี่ยมที่เกิดขึ้นบนพื้นที่รอยต่อก็คือการที่ตัวเขาได้แลกเปลี่ยนกับครู เพื่อนสนิท (กิลเบิร์ต) และหนังสือในฐานะตัวแทนของความรู้ในเชิงซับซ้อน จนนำมาสู่การทดลองครั้งแรกที่วิลเลี่ยมและกิลเบิร์ตสามารถทำให้วิทยุใช้งานได้จากการปั่นไฟด้วยพลังไดนาโม ถือเป็นจุดสำคัญที่ทำให้เขาพัฒนาความคิด ความเข้าใจต่อโลกในมุมที่ต่างไปจากเดิม รวมถึงความเชื่อมั่นในการสร้างการเปลี่ยนแปลง จนกระทั่งท้ายที่สุดเขาสามารถสร้างกังหันลมเพื่อแจกจ่ายน้ำไปยังพื้นที่เกษตรกรรมขึ้นมาได้สำเร็จ  

เรื่องราวของ The Boy Who Harnessed the Wind  นอกจากจะพาให้เราเห็นถึงความสำคัญของนั่งร้านในพื้นที่รอยต่อการเรียนรู้ ที่จะเป็นสะพานเชื่อมให้เด็กเกิดการพัฒนาทางความคิดหรือความเข้าใจโลกทางสังคมที่เขาอยู่ ผ่านภาษาและความรู้ ในเรื่องยังชวนให้เรากลับมาตั้งคำถามสำคัญว่า “การศึกษากำลังเป็นพื้นที่รอยต่อแบบไหนกันแน่?” แบบที่คอยผลิตซ้ำผ่านการหยิบยื่นภาษา ความคิด ความรู้ ที่ทำให้เด็กเข้าใจโลกแบบเดิมผ่านความรู้ของอดีต หรือจะเป็นพื้นที่จะพาเด็กไปสู่ความก้าวหน้าและความเป็นไปได้ของอนาคต 

อ้างอิง

หนังสือ  Vygotsky’s Educational Theory in Cultural Context

หนังสือ  Psychological tools: A sociocultural approach to education

Tags:

The Boy Who Harnessed the WindSociocultural Learning Theoryการศึกษาพื้นที่รอยต่อพัฒนาการ (Zone of proximal development)ทฤษฎีการเรียนรู้

Author:

illustrator

อรรถพล ประภาสโนบล

ครูพล อดีตครูสังคมศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่ง ผู้เขียนหนังสือ “ห้องเรียนล้ำเส้น” และบรรณาธิการร่วมหนังสือ “สังคมศึกษาทะลุกะลา” ปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาสาขา Education studies ที่ไต้หวัน

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Voice of New GenSocial Issues
    ‘เด็กทุกคนมีศักยภาพขอเพียงอย่าปิดกั้นโอกาส’  ชีวิตไม่หยุดฝันในวัน Dropout:  ‘กัน’ บัณฑิตา มากบำรุง

    เรื่อง The Potential

  • Social Issues
    ไม่ยุบ ไม่ควบรวม แต่ร่วมกันพัฒนา ‘โรงเรียนขนาดเล็ก’ ของชุมชน เพื่อโอกาสทางการศึกษาของเด็กไทย

    เรื่อง นฤมล ทับปาน

  • Learning Theory
    ทำไมเราควรมองพัฒนาการเรียนรู้ผ่าน ‘ม่านวัฒนธรรม’

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Transformative learning
    ทำไมครูควรมีมุมมอง พหุวัฒนธรรมศึกษา (Multicultural Education)

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Social Issues
    คลี่ม่าน ‘มายาคติทางการศึกษา’ เปิดพื้นที่เรียนรู้บนความแตกต่างหลากหลายโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างทาง: ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข

    เรื่อง ชุติมา ซุ้นเจริญ ภาพ ปริสุทธิ์

เด็กควรได้รับโอกาสในการกระตุ้น ‘พัฒนาการตามวัย’ : พรินทร์ อัศเรศรังสรร ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์สื่อความหมาย
Early childhood
25 July 2022

เด็กควรได้รับโอกาสในการกระตุ้น ‘พัฒนาการตามวัย’ : พรินทร์ อัศเรศรังสรร ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์สื่อความหมาย

เรื่อง นฤมล ทับปาน

  • ทำความเข้าใจเรื่องพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัย ผ่านการทำงานของนักเวชศาสตร์สื่อความหมาย ผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่กระตุ้นพัฒนาการเด็กหลังจากแพทย์วินิจฉัยว่ามีพัฒนาการล่าช้า มีภาวะออทิสติก หรือมีภาวะอื่นๆ ทางด้านกุมารเวชกรรม
  • ในแต่ละช่วงวัย หากเด็กขาดโอกาสที่จะการได้รับการกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสม อาจส่งผลต่อพัฒนาการที่ล่าช้า โดยเฉพาะด้านการพูด ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ควรนิ่งนอนใจ
  • ช่วงอันตรายคือ 2-4 ขวบ เป็นช่วงที่เด็กต้องเรียนรู้เรื่องพัฒนาการทางอารมณ์ของตนเอง ถ้าอารมณ์ตัวเองยังไม่สามารถบอกได้ เช่น โกรธ สนุก ตื่นเต้น เศร้า หรือน้อยใจ พอโตขึ้นเกิดอารมณ์เหล่านี้เขาอาจมีพฤติกรรมแบบสุดโต่ง ไม่รู้ว่าจะจัดการกับอารมณ์ตัวเองอย่างไร เป็นจุดบอดของพัฒนาการทางด้านอารมณ์

“เราเป็นนักเวชศาสตร์สื่อความหมาย หน้าที่ของเราคือเมื่อหมอเด็กตรวจวินิจฉัยแล้วพบว่าเด็กมีพัฒนาการล่าช้า มีภาวะออทิสติก หรือมีภาวะอื่นๆ ทางด้านกุมารเวชกรรม ในทางกระตุ้นพัฒนาการหรือการฝึกพูดหรือการปรับพฤติกรรมเป็นหน้าที่ของเราในการดูแลต่อ” พรินทร์ อัศเรศรังสรร หรือ ปิ๊ก ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์สื่อความหมาย เจ้าของเพจหมีน้อยกระตุ้นพัฒนาการฝึกพูด เริ่มต้นบทสนทนาด้วยการแนะนำหน้าที่ที่เธอรับผิดชอบเกี่ยวกับการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ก่อนจะลงรายละเอียดถึงการเป็น ‘นักเวชศาสตร์สื่อความหมาย’ ว่าวิชาชีพนี้ เป็นผลผลิตจากคณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เพียงแห่งเดียวเท่านั้น และผลิตได้เพียงปีละ 10-20 คน ซึ่งยังถือว่าไม่เพียงพอต่อความต้องการนัก

“พอจบจากรามาธิบดี ตอนนั้นก็ทำงานอยู่ตามโรงพยาบาลรัฐ เพราะเราอยากจะรู้ว่าแต่ละเคสไม่ว่าจะยากดีมีจนปัญหาของเขาคืออะไร และด้วยความตั้งใจของเราคืออยากจะให้วิชาชีพนี้หรือเทคนิคการฝึกพูดนี้ให้มันเป็นที่แพร่หลาย เพื่อช่วยพ่อแม่ในเรื่องของการกระตุ้นพัฒนาตามวัยอย่างเหมาะสม ก็เลยทำเพจขึ้นมาด้วยเพื่อเป็นช่องทางในการให้ข้อมูลเกี่ยวกันการฝึกพูด กระตุ้นพัฒนาการต่างๆ”

พัฒนาการที่ล่าช้า พ่อแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ 

ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์สื่อความหมาย และเจ้าของเพจที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก เธอเล่าว่า ส่วนใหญ่พ่อแม่ที่มาปรึกษาจะเป็นปัญหาในเรื่องของพัฒนาการล่าช้าในทุกๆ ด้านโดยเฉพาะเรื่องของการพูด 

“อาการที่เขาจะพามาก็คือ 2 ขวบแล้วยังไม่พูดสักที หรือลูกพูดออกมาแล้วเป็นภาษาการ์ตูน ไม่ใช่ภาษาที่ใช้สื่อสาร นี่คืออันดับหนึ่ง ต่อมาก็จะเป็นกลุ่มพูดแล้วนะ แต่ว่ามีพัฒนาทางอารมณ์ที่พ่อแม่จัดการไม่ได้และไม่สมวัย เขาก็จะอยากได้วิธีการจะจัดการว่า ต้องทำยังไงเวลาที่ลูกมีพฤติกรรมแบบนี้ แล้วก็จะมีกลุ่มพูดไม่ชัด ดูเก่งทุกอย่าง ทำได้หมดเลย พัฒนาการสมวัย แต่ว่าพูดไม่ชัด เราก็จะดูแลปัญหาเหล่านี้”

สำหรับคำแนะนำนั้น หากเป็นกลุ่มพัฒนาการล่าช้า ซึ่งมีหลายสาเหตุ เช่น ขาดการกระตุ้น พ่อแม่ผู้รู้ใจแค่ลูกมองตาก็หยิบของเล่นให้เลย หรือเพียงลูกชี้นิ้วก็ตอบสนองในสิ่งที่เขาต้องการโดยที่ตัวเด็กไม่ต้องใช้คำพูดใดๆ  

“หลังจากที่ทำการประเมินพัฒนาการเรียบร้อยแล้ว ก็พบว่าเด็กมีปัญหาเรื่องของการพูดช้าที่เขาขาดความเข้าใจว่าเขาจะต้องพูด ก็ให้พ่อแม่เปลี่ยนวิธีการเลี้ยงดูอาจจะใส่คำศัพท์ก่อน เพื่อให้เด็กเขารู้ว่าของสิ่งนั้นเรียกว่าอะไร เช่น บอล ตุ๊กตา ขนม มันมีคำศัพท์ที่แทนของสิ่งนี้ 

เวลาเขาอยากได้อะไรอย่าเพิ่งให้เขาเลย ให้เขาพูดหรือพยายามทำปากที่จะพูด ตรงนี้ให้พ่อแม่ใจแข็งนิดนึง นอกจากใส่คำศัพท์แล้วมันยังฝึกเรื่องของการรอคอยด้วย เพราะเด็กที่รอเป็นเขาก็จะมีทักษะทางด้านสังคม เช่น การยับยั้งชั่งใจที่ดีขึ้นในอนาคตด้วย”

“แต่ถ้าเป็นเด็กที่พัฒนาการล่าช้าจากออทิสติก เราก็จะต้องฝึกจากพัฒนาการด้านความสัมพันธ์ เพราะออทิสติกเขาจะไม่มีทักษะทางด้านสังคม อารมณ์ และภาษา ก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง เราก็ให้ความรู้คุณพ่อคุณแม่ก่อนว่าที่เราทำอยู่มันดีแล้วนะ แต่มันจะดีขึ้นอีกได้ยังไงบ้าง”

พรินทร์ อัศเรศรังสรร ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์สื่อความหมาย

กระตุ้นพัฒนาการตามวัยที่เหมาะสมให้กับเด็กๆ 

ตามหลักการของการกระตุ้นพัฒนาการนั้น พัฒนาการของเด็กเริ่มต้นตั้งแต่ 0 ขวบ ในช่วง 0-3 เดือนแรก จะเป็นพัฒนาการทางด้านร่างกายเสียส่วนใหญ่ เช่น การกิน การนอน การร้องไห้ การหายใจ การเคลื่อนไหว หลังจากนั้นเมื่ออายุ 6 เดือน เด็กก็จะเริ่มเรียนรู้โดยการเลียนแบบ การกระตุ้นพัฒนาการจะเริ่มตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป 

“พัฒนาการที่ควรจะกระตุ้นนั้น อย่างปิ๊กเองทำเรื่องของภาษาและการพูด เราก็จะเริ่ม tracking เด็กเลยตั้งแต่ 3 เดือน เด็กมีเสียงในลำคอรึยัง เช่น เสียงอือ อา 6 เดือนเด็กเริ่มทำเสียงริมฝีปากได้รึยัง เพราะว่า 6 เดือนเด็กเขาจะเริ่มเลียนแบบที่ริมฝีปาก เช่น ป๊ะๆ ม๊ะๆ บ๊ะๆ เริ่มเม้มปากแล้วก็ทำเสียงได้ พอ 9 เดือนเด็กเขาจะเริ่มเล่นเสียงหลายๆ พยางค์ต่อกัน เช่น มะม๊ะ ปะป๊ะ อาจจะไม่มีความหมายแต่เป็นเสียงภาษาเด็ก” 

เมื่อเข้าสู่ช่วงวัย 1 ขวบแล้ว สิ่งพ่อแม่ควรจะต้องเริ่มใส่ใจก็คือ เด็กควรจะพูดคำที่มีความหมายอย่างน้อย 1 พยางค์ เช่น มา ไป แม่ พ่อ เนื่องจากเด็กวัยนี้เริ่มรับรู้ความเป็นไปเป็นมาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว และมักจะเริ่มเลียนแบบตามนั้น 

“ในเด็ก 1 ขวบ บางรายอาจจะมีปัญหาเรื่องการพูดช้าบ้าง แต่ถ้า 1 ขวบ 6 เดือนแล้วยังไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้ พ่อแม่ควรจะพาลูกมาที่คลินิกพัฒนาการเด็กต่างๆ เพื่อดูว่ามีอะไรที่พอจะส่งเสริมพัฒนาการได้บ้าง” 

“ลักษณะการกระตุ้นพัฒนาการก็จะดูจากโรคที่เป็นและอาการที่ปรากฏ เช่น ถ้าเป็นเด็กปกติที่มีปัญหาเรื่องของการพูดช้า ก็จะต้องส่งเสริมด้วยการใส่เงื่อนไข ใส่ภาษา เพิ่มเรื่องของการเล่น แล้วก็ใส่คำศัพท์ แต่ถ้าเป็นเด็กที่พัฒนาการล่าช้าโดย Neuroticle development ก็คือระบบประสาท อาจจะมีอย่างอื่น เช่น สมองพิการ ออทิสติก หรือมีความเสี่ยงในเรื่องสมาธิสั้น หรือมีคุณพ่อคุณแม่ที่ใช้สารเสพติด อันนี้ก็เจอเยอะ ก็จะส่งผลต่อพัฒนาการของลูกโดยตรง มีคุณพ่อสูบบุหรี่เยอะๆ ลูกออกมาก็จะพัฒนาการล่าช้า แล้วมันมีผลต่อการเรียนรู้และสติปัญญาด้วย”

เด็กส่วนใหญ่ที่เข้ารับการกระตุ้นพัฒนาการจะมาด้วยอาการ Hyperactive คือไม่จดจ่อ พลังงานล้น ไม่มองหน้าสบตา รวมถึงไม่พูดสื่อสารบอกความต้องการ และจะมาด้วยอารมณ์รุนแรง เช่น อยากได้อะไรร้องไห้ทันที ก็จะกลายเป็นเด็กซน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ก็จะบอกว่า เดี๋ยวโตขึ้นเขาก็จะดีขึ้นไหม ถ้าเขามีสาเหตุมาจากระบบประสาทหรือสมองมีการทำงานที่ไม่สมวัย ผิดปกติ เมื่อโตขึ้นอาการจะยิ่งแย่ลงถ้าไม่รีบแก้ไข 

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อความหมายย้ำว่า เด็กซนก็คือเด็กซน เป็นเด็กไฮเปอร์แอคทิวิตี้ (Hyperactivity) ไม่ใช่ว่าเด็กซนทุกคนคือเด็กฉลาด เด็กบางคนเขาก็ไม่สามารถยับยั้งชั่งใจได้ เราต้องสอนเรื่องกติกา 

“เด็กซนกับเด็กฉลาดคือคนละคนกัน เด็กฉลาดบางคนอาจจะซนได้ แต่เด็กซนไม่ใช่ทุกคนที่จะฉลาด เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่เห็นลูกซนอย่าเพิ่งดีใจไป เราต้องดูเรื่องพัฒนาการองค์รวมด้วย” 

“ต่อมาช่วงประมาณขวบครึ่ง เด็กส่วนใหญ่ที่เราควรจะระวัง เช่น การไม่ทำตามคำบอก เด็ก 1 ขวบส่วนใหญ่เขาจะเริ่มเลียนแบบ แล้วก็ทำตามได้แล้ว พอขวบครึ่งเขาจะเริ่มทำตามคำบอก เช่น จับหู จับจมูก หรือว่าไปทิ้งขยะ หรือว่าชี้ตรงนั้นตรงนี้ ถ้าเด็กขวบครึ่งทำสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ เราก็อาจจะสอนผ่านกิจกรรม เช่น เล่นกับเขาเยอะๆ แล้วก็ทำให้เขาเลียนแบบ เช่น แม่ชี้ไปที่ตรงนั้น (ถังขยะ) คือให้เอาไปทิ้งขยะ แล้วแม่พาทำ ทุกๆ ครั้งที่พาทำมันจะเกิดระบบการเรียนรู้ แล้วมันก็จะอินซิงค์เข้าไปในสมอง” 

1 ขวบ 1 พยางค์, 2 ขวบ 2 พยางค์

ช่วง 2-4 ขวบ เน้นเรื่องการพูด โดยยึดหลักที่ว่า หนึ่งขวบหนึ่งพยางค์ สองขวบต้องต่อกันเป็นสองพยางค์ได้ เช่น แม่มา กินหนม(ขนม) สิ่งนี้บอกถึงลักษณะการเชื่อมต่อข้อมูลในสมองของเด็ก เด็กรับรู้มากขึ้นก็จะเริ่มพูดเป็นสองพยางค์ พอ 3 ขวบ ก็จะต้องอัพสกิลการพูดมากขึ้น ควรจะพูดได้ 3-4 พยางค์ต่อกัน ซึ่งเด็กบางคนจะพัฒนาไปเร็วมากในช่วงนี้ สามารถพูดเป็นประโยคได้เลย 

และในกรณีเด็ก 4 ขวบ ที่สมองในเรื่องของเหตุผลหรือการเชื่อมโยงเริ่มมีมากขึ้น เด็กจะเริ่มพูดเป็นประโยคที่เชื่อมต่อกัน เช่น หิวจังเลย กินหนมหน่อย มีเหตุมีผลเล็กๆ หรือว่าการควบคุมการขับถ่ายเองได้ การบอกอึ บอกฉี่ได้ หรือถ้าเป็นเรื่องของทักษะสังคม ก็คือการเล่นร่วมกับคนอื่นได้ 

“พอโตขึ้นมาหน่อย ช่วงวัน 5-7 ขวบ เราจะเรียกว่าเป็นเด็กโตแล้ว ควรจะมีสิ่งที่เรียกว่าความคิดในเชิงนามธรรม เพราะว่าเด็กเล็กอย่างนี้ เขาคิดในเฉพาะรูปธรรมเท่านั้น มองเห็นอะไรเขาก็จะเชื่อมโยงอย่างนั้น แต่ถ้าเป็นนามธรรมของเด็กเช่น 5 ขวบ ถึง 7 ขวบ ก็จะเริ่มเข้าใจถึงเรื่องความดี ความชั่ว นี่คือสิ่งที่ดีที่ควรทำ ทำสิ่งนี้แล้วคนอื่นจะดีใจหรือเสียใจ ก็จะเป็นทักษะสังคมหนึ่ง 

เราเรียกว่า theory of mind หรือการรู้ถึงอารมณ์ของคนอื่น การเข้าใจสถานการณ์ของบุคคลอื่น เช่น ถ้าพูดอย่างนี้ไปแล้วเพื่อนจะเสียใจ ถ้าทำบางอย่างไปแม่จะโกรธ แล้วเขาก็จะเริ่มมีตัวตนที่ชัดเจนขึ้น เช่น ถ้าพ่อแม่บอกว่าหนูเป็นเด็กดื้อ เขาก็จะคิดว่าตัวเอง Self-Image ก็คือเป็นเด็กดื้อ เขาก็จะทำในสิ่งที่เด็กดื้อทำ ดังนั้นการกระตุ้นพัฒนาการกับการใส่ตัวตน มันต้องทำไปพร้อมๆ กัน”

ปล่อยให้เด็กเติบโตตามธรรมชาติ อาจขาดโอกาสในกระตุ้นพัฒนาการที่สำคัญไป

มีคำพูดของพ่อแม่ ผู้ปครอง หรือปู่ย่าตายายที่เลี้ยงหลานบางคนจะบอกว่า “ก็เลี้ยงไปตามมีตามเกิดนั่นแหละ” ซึ่งการเลี้ยงเด็กโดยปล่อยให้เขาเติบโตตามธรรมชาติอย่างนั้น อาจทำให้เด็กขาดโอกาสในการได้รับการกระตุ้นพัฒนาการตามวัยที่เหมาะสม 

“นี่เป็นกลุ่มใหญที่สุดเลยที่มาเจอกัน ถ้าจะเปรียบเทียบทางสถิติคือ 60-80 เปอร์เซ็นต์เลยนะแต่ละปี เพราะว่าเด็กที่มาด้วยพ่อแม่ ผู้ปกครองคิดว่า การเลี้ยงไปเรื่อยๆ เดี๋ยวเด็กจะเจริญเติบโตเองได้ แต่เขาเรียกว่าขาดโอกาสในการกระตุ้นด้านคุณภาพ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่มาถึงเรื่องการฝึกพูดล่าช้าเลยด้วยซ้ำ” 

“ถ้าเขาเป็นเด็กที่พัฒนาการปกติ เขาก็จะเติบโตมาพร้อมกับสิ่งเร้าต่างๆ ถ้าสิ่งแวดล้อมดีเขาก็จะเรียนรู้ได้ดี แต่ถ้าสิ่งแวดล้อมไม่มีการกระตุ้นเลย เขาก็จะขาดโอกาส (ในการได้กระตุ้นพัฒนาการ) ไป เช่น แต่ละวัยควรทำอย่างนี้ได้ไหม แต่ถ้าทำไม่ได้ แล้วเพื่อนๆ วัยเดียวกันทำได้ เขาก็จะเกิดความรู้สึกว่า ฉันไม่เก่งเท่าเพื่อน ขาดความมั่นใจในตัวเอง ส่งผลกระทบต่อทักษะสังคม แต่ก็ขึ้นอยู่กับในเรื่องของแต่ละวัยด้วย” 

“อย่างวัยนี้ (5-7 ขวบ) ควรใส่ทักษะในเรื่องของอารมณ์ ทักษะเรื่องของ theory of mind แต่เขาไม่เคยถูกปลูกฝังมาก่อน พอไปอยู่ในสังคมจริง ในวัยผู้ใหญ่ เขาก็จะขาดการเข้าอกเข้าใจในความคิดของคนอื่น 

การไม่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการตามวัยอย่างเหมาะสม มันไม่ได้ทำให้ตาย หรือไม่ตาย แต่มันส่งผลกระทบต่อคุณภาพการดำเนินชีวิต” 

ถามว่าถ้าเด็ก 1-3 ขวบ แต่ยังไม่พูด แล้วพ่อแม่ยังใจเย็นบอกว่าเป็นไรเดี๋ยว 4 ขวบ ก็คงจะพูดเอง สิ่งนี้น่ากังวลหรือไม่ คำตอบคือยิ่งปล่อยไว้ยิ่งอันตราย เพราะว่าช่วง 1 ขวบ เขาต้องสะสมคำศัพท์ เด็กที่เริ่มพูดสมวัยส่วนใหญ่จะพูดชัด เด็กที่พูดไม่ชัดเลยในวัยที่โตขึ้น อาจจะเกิดจากที่เขาเริ่มพูดช้า หรืออาจมีปัญหาเรื่องการขยับกล้ามเนื้อรูปปาก ซึ่งถ้าไม่ได้รับการฝึกเลยแล้วมาฝึกตอนโตก็จะยิ่งลำบาก 

“แล้วไม่กระตุ้นได้ไหม ป.1 เข้าโรงเรียน เดี๋ยวก็ไปเรียนรู้กับเพื่อนๆ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดมาก เพราะว่าเด็กต้องโตมาอย่างมีคุณภาพในครอบครัวก่อน เขาต้องได้รับสิ่งเหล่านี้ในครอบครัว เพราะว่าเขาไปเข้าโรงเรียน ไปเจอเพื่อนในสังคม มันก็เป็นสนามทดสอบอีกสนามหนึ่ง ก่อนที่เขาจะไปเรียนรู้กับเพื่อน เขาก็ต้องเรียนรู้กับคนในครอบครัวเขาก่อน ครอบครัวเป็นยูนิตที่สำคัญ บางบ้านบอกปล่อยร้องไห้ไปเถอะ เดี๋ยวสักพักอยากได้จริงๆ พูดเอง ไม่ใช่ ต้องใส่คำศัพท์ด้วย” 

ช่วงอันตรายคือ ช่วง terrible 2-4 ขวบ เป็นช่วงที่เด็กต้องเรียนรู้เรื่องพัฒนาการทางอารมณ์ของตนเอง ถ้าอารมณ์ตัวเองยังไม่สามารถบอกได้ เช่น โกรธ สนุก ตื่นเต้น เศร้า หรือน้อยใจ พอโตขึ้นเขาเกิดอารมณ์เหล่านี้เขาอาจมีพฤติกรรมแบบสุดโต่ง เช่น พอโกรธเพื่อนแล้วโยนข้าวของ เสียใจร้องไห้แล้วก็อยู่กับตัวเอง ไม่รู้ว่าจะต้องจัดการกับอารมณ์ตัวเองอย่างไร เป็นจุดบอดของพัฒนาการทางด้านอารมณ์ 

‘กัญชาเสรี’ ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการในเด็กมากกว่าที่คิด

ช่วงที่ผ่านมาประเด็นเรื่องกัญชาเสรีเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก โดยเฉพาะผลกระทบในเด็ก ในมุมของคนที่ทำงานด้านพัฒนาการเด็กมองว่า ตอนนี้กัญชาที่ทำได้คือ กัญชาเพื่อการแพทย์และการวิจัย ซึ่งเขามีการพิสูจน์ว่า การใช้สารสกัดจากกัญชา Cannabidiol: CBD ในการรักษาโรคของกลุ่มลมชักที่ดื้อยาใช้ได้จริง แต่ก็ต้องดูเรื่องของการสกัด อย่างกลุ่มออทิสติกเขาก็ใช้ 

แล้วกัญชาส่งผลกระทบต่อเด็กด้านไหนอย่างไรบ้าง? 

ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์สื่อความหมายอธิบายว่า ถ้าเป็นกัญชาที่ใช้สันทนาการที่มีสาร Tetrahydrocannabinol: THC มีการศึกษาคุณแม่ที่ใช้กัญชาตั้งแต่ยังตั้งครรภ์ พบว่าจะส่งผลกระทบต่อตัวอ่อนในครรภ์ก็คือ ‘เด็ก’

“หลักๆ ก็คือเรื่องของการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย น้ำหนักตัวน้อยมีความเสี่ยงในเรื่องของการเจริญเติบโตของสมอง โดยเฉพาะถ้าเด็กเล็ก 1 ขวบถึง 2 ขวบ ถ้าได้รับกัญชาเข้าไปก็จะมีผลในเรื่องของไฮเปอร์แอคทิวิตี้หรือความซนที่มากเกินไป ซนมากผิดปกติ ดูเหมือนไม่มีสมาธิ แล้วก็รู้สึกตื่นตัวตลอดเวลา จนไม่สามารถโฟกัสสิ่งต่างๆ ได้ ก็จะเกี่ยวกับเรื่องของความวิตกกังวลด้วย” 

สาร THC ในกัญชา จะส่งผ่านจากแม่ไปยังลูกผ่าน ‘รก’ สารเหล่านี้มีการทำงานโดยตรงกับสมองและระบบประสาท  คุณแม่กิน คุณแม่ใช้อาจจะไม่เป็นไรนัก เพราะโครงสร้างของสมองมีความหนาแน่น มีเซลล์สมองมากพอ รวมถึงมีการเชื่อมโยงของระบบประสาทที่ดีพอ 

“เด็กในครรภ์เขากำลังสร้างระบบประสาทใหม่ขึ้นมา ก็เหมือนสร้างบ้านหลังใหม่ที่ยังไม่มีความแข็งแรง พอเจอสารเคมีเหล่านี้ การทำงานในสมองก็เกิดการสับสนแทนที่มันจะเจริญเติบโตขึ้นมาอย่างดี แต่กลับกลายเป็นว่ามีสารเคมีเข้ามา สมองของเด็กกลุ่มนี้ที่จะเกิดการพัฒนาการที่ล่าช้า พอสมองล่าช้า feedback ในสมองเติบโตช้าและมันเติบโตน้อยลงกว่าปกติ พอโตขึ้นมา การเรียนรู้มันก็เหมือนหน้าต่างที่มันมีน้อยก็ไม่สามารถรับรู้อะไรได้มากขึ้น”

นอกจากนี้สารเคมีจากกัญชายังส่งต่อผ่านทางน้ำนมได้ด้วย เพราะฉะนั้นสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตรเป็นกลุ่มเปราะบางอีกกลุ่มหนึ่ง 

“การศึกษาในอเมริกาจากที่อ่านมา เด็กที่ได้รับกัญชาอายุต่ำกว่า 2 ปีส่วนใหญ่จะได้รับกัญชามาจากบุคคลในบ้านถึง 90 เปอร์เซ็นต์ เขาได้รับจากนมมารดา จากการที่คนรอบข้างสูบหรือว่าส่วนที่ผสมในอาหาร เรียกว่า Second hand cannabis ก็คือเหมือน second hand smoker เลย มันส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจยิงไปสู่ระบบประสาท คือมีการศึกษาชัดเจนว่าได้รับกัญชาทาง second hand อันตรายพอๆ กับการได้รับกัญชาจริงๆ” 

นอกจากนี้ยังเกี่ยวกับเรื่องอารมณ์ เพราะกัญชาส่งผลกระทบระยะยาวในเรื่องของอารมณ์ ทำให้หงุดหงิดง่าย 

“เมื่อสารเคมีเข้าไปมันจะยับยั้งการจัดการเรื่องอารมณ์ พอไม่มีสารเคมีเข้ามาสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือสมองเราเคยชินกับสารพวกนี้มันก็จะเกิดความหงุดหงิดง่าย เด็กก็จะวิตกกังวล แล้วก็ขาดความยับยั้งชั่งใจ อันนี้เฉพาะในเด็กเล็ก 

แต่ถ้าโตขึ้นมาเขาศึกษาต่อมาว่า ในวัยรุ่นสิ่งที่เกิดขึ้นแน่นอนก็คือเรื่องความจำ แล้วความจำมันส่งผลกระทบคือเรื่องการเรียน เพราะว่าเด็กโตหรือเด็กวัยรุ่นสิ่งที่เขาต้องทำมากที่สุดคือการเรียนรู้ การพัฒนาตัวเอง ก็จะส่งผลเรื่องของความจำแล้วก็ทักษะทางด้านสังคม แล้วก็มีความเสี่ยงในการเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของ depression หรือว่าโรคซึมเศร้าด้วย”

แล้วเราจะดูแลเด็กอย่างไรในยุคที่กัญชาเสรี นอกจากการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้กัญชาที่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ 

“สิ่งที่ต้องย้ำคือกัญชาก็ยังต้องน่ากลัวอยู่ พ่อแม่ ผู้ปกครองยังคงต้องปกป้องให้ห่างไกลจากเด็กๆ อยู่ มันอาจจะมีเอ๊ะขึ้นมาว่า…แต่กัญชาเขาให้ใช้ทางการแพทย์ ต้องบอกว่าสาร CBD ใช้ในทางการแพทย์ เพราะถ้าเราให้ข้อมูลว่ากัญชาใช้ในทางการแพทย์นะ กัญชาจากผู้ร้ายก็จะกลายเป็นพระเอกเลยละ ซึ่งมันไม่ถูกต้อง” ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์สื่อความหมาย ทิ้งท้าย   

Tags:

พัฒนาการทางอารมณ์การพูดพัฒนาการเด็กนักเวชศาสตร์สื่อความหมายHyperactivity

Author:

illustrator

นฤมล ทับปาน

Related Posts

  • Myth/Life/Crisis
    การสื่อสารความจริงของเราออกไป

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • EF (executive function)
    ทักษะ EF และบัญญัติ 10 ประการที่ผู้ใหญ่ควรรู้ เพื่อให้เด็กไปถึงเป้าหมายอย่างมีความสุข

    เรื่อง ปริสุทธิ์

  • Character building
    สังคมแบบนี้ เด็กๆ ถึงจะ ‘อยู่ดีและมีความสุข’

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Life classroom
    เปลี่ยนโรค เปลี่ยว เหงา ซึมเซา เป็นโลกใหม่: 5 วิธีช่วยให้วัยรุ่นรู้สึกดีกับตัวเอง

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Dear Parents
    สงครามกลางบ้าน: อย่าคิดว่าเด็กไม่รู้ว่าผู้ใหญ่ทะเลาะกัน

    เรื่อง The Potential

Passive Aggressive: คำพูดทิ่มแทงอีกฝ่ายโดยไม่รู้ตัว ความก้าวร้าวแบบแยบยลที่บั่นทอนความสัมพันธ์
Relationship
25 July 2022

Passive Aggressive: คำพูดทิ่มแทงอีกฝ่ายโดยไม่รู้ตัว ความก้าวร้าวแบบแยบยลที่บั่นทอนความสัมพันธ์

เรื่อง ชัค ชัชพงศ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • คำพูดที่ดูเหมือนหวังดี แต่แฝงไปด้วยความต้องการควบคุมหรือทำให้รู้สึกผิด, แกล้งทำดีต่อหน้า แต่จริงๆ ตั้งใจที่จะทำร้าย หรือทำให้รู้สึกแย่ด้วยแล้วบอกว่า “ก็แค่เรื่องล้อเล่น” “แกล้งเล่นไม่ได้เหรอ” พฤติกรรมเหล่านี้คือ ‘ความก้าวร้าวเคลือบน้ำตาล’ หรือ ‘Passive Aggressive’
  • ความก้าวร้าวเคลือบน้ำตาลอาจเป็นผลมาจากการที่เขาไม่สามารถจัดการหรือควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ เขาจึงต้องหาวิธีระบายอารมณ์ออกมา
  • หัวใจของการลดความก้าวร้าวนี้ คือการสร้างวัฒนธรรมของการพูดถึงอารมณ์ความรู้สึกไม่ใช่ความอ่อนแอ แต่คือความกล้าหาญในการเผชิญหน้ากับความเปราะบางของตัวเอง และสร้างทัศนคติของการเผชิญหน้า คุยอย่างตรงไปตรงมา และซื่อสัตย์กับความรู้สึกมากขึ้น

ความรุนแรง (Aggressive) คือการกระทำความรุนแรงที่เราสามารถเห็นได้อย่างตรงไปตรงมา แล้วระบุได้ทันทีว่าความรุนแรงคือสิ่งที่ไม่เหมาะสม แล้วนั่นก็มักเป็นสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ ซิกมันด์ ฟรอยด์ บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ เชื่อว่า มนุษย์มีความก้าวร้าวเป็นสัญชาตญาณพื้นฐานเพื่อที่จะมีชีวิตรอด มนุษย์ยุคก่อนฆ่าสัตว์ไม่เพื่อปกป้องครอบครัวก็เพื่อประทังชีวิตให้อยู่รอด แน่นอนว่าความก้าวร้าวมีประโยชน์หากใช้ในทางที่ถูก เช่น ถ้ามีคนจะทำร้ายร่างกายคนที่เรารัก ความก้าวร้าวหรือความรุนแรงที่ใช้ต่อสู้เพื่อปกป้องคนที่รักก็เป็นสิ่งที่ประโยชน์ ถึงอย่างนั้น ความก้าวร้าวก็มีผลที่ตามมาเช่นเดียวกัน เช่น การต่อสู้อาจนำมาซึ่งการบาดเจ็บ ความเสียหายทางกายและทางใจ

เพื่อหลีกเลี่ยงความรุนแรงที่ตรงไปตรงมา และเพื่อหลีกหนีพฤติกรรมก้าวร้าวที่สังคมไม่ยอมรับ มนุษย์จึงเปลี่ยนรูปแบบความรุนแรงนั้นเป็น ‘ความก้าวร้าวเคลือบน้ำตาล’ หรือ ‘Passive Aggressive’ เมื่อการเผชิญหน้าตรงๆ อาจทำให้รู้สึกลำบากใจ อึดอัด หลายคนจึงใช้ดาบทิ่มแทงโดยที่อีกฝ่ายไม่ค่อยรู้ตัว (บางครั้งคนทำก็ไม่รู้ตัว) เพราะเป็นวิธีระบายความรู้สึกที่อัดอั้นในใจที่แยบยล แล้วก็ยังเป็นสิ่งที่สังคมยังรู้ทันได้ยากหากไม่ได้สังเกตดีๆ

9 เช็คลิสต์ที่อาจบอกได้ว่าคุณกำลังเจอความก้าวร้าวเคลือบน้ำตาล (Passive-Aggressive) 

  • เขาใช้น้ำเสียงและถ้อยคำที่แสนจะเป็นมิตรเพื่อหลอกด่าคุณ
  • เขาแกล้งทำดีต่อหน้า แต่จริงๆ ตั้งใจที่จะทำร้าย
  • เขาแสดงความนิ่งเฉยที่เป็นการเมินเฉยให้คุณรู้สึกแย่ 
  • เขาพูดแซะเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้รู้สึกแย่ทีละนิดทีละหน่อยแต่บ่อยครั้ง 
  • เขาทำให้รู้สึกแย่ด้วยแล้วบอกว่า “ก็แค่เรื่องล้อเล่น” “แกล้งเล่นไม่ได้เหรอ”
  • เขาใช้คำพูดที่ดูเหมือนหวังดี แต่แฝงไปด้วยความต้องการควบคุม หรือทำให้รู้สึกผิด
  • เขาประชดชันทั้งที่ตัวเองต้องการอย่างหนึ่ง แต่กลับพูดอย่างอีกอย่างด้วยความเสียดสี 
  • เขาพูดท้าทาย หรือต่อต้านให้คุณรู้สึกหงุดหงิดใจอยู่บ่อยๆ
  • เขาแสดงออกเหมือนเป็นคนดี แต่ลึกๆ มีความเกรี้ยวกราด ขี้อิจฉาที่ก่อกวนจิตใจ  

ความก้าวร้าวเคลือบน้ำตาลอาจเป็นผลมาจากการที่เขาไม่สามารถจัดการหรือควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ เขาจึงต้องหาวิธีระบายอารมณ์ออกมา 

สมมุติว่าเขารู้สึกน้อยใจ ถ้าเขาเป็นคนที่จัดการอารมณ์ตัวเองได้ เขาก็จะยอมรับความรู้สึก แล้วเลือกมาบอกความรู้สึกเพื่อปรับความเข้าใจ ความรู้สึกน้อยใจก็จะหายไป แต่ถ้าเขาเป็นคนที่เก็บกดอารมณ์หน่อยเขาก็อาจจะใช้วิธีระบายอารมณ์ที่ขุ่นมัวด้วยความแยบยล หรือ Passive-Aggressive ตามตัวอย่าง 9 ข้อด้านบนนั่นเอง

การไม่สื่อสารอารมณ์ ความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมามักจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ความสัมพันธ์ค่อยๆ พังโดยไม่รู้ตัว หรือรู้ตัวอีกทีก็สายเกินแก้ไปแล้ว พฤติกรรมความก้าวร้าวที่แยบยลนี้จะค่อยๆ กัดกินความสัมพันธ์ เราอาจรู้สึกหงุดหงิดเล็กน้อยจากการถูกหลอกด่า ซ้ำๆ จากการถูกพูดทิ่มแทงซ้ำๆ พอมันเป็นการสะกิดทีละเล็กทีละน้อยเราก็มักจะไม่ค่อยให้ความสนใจ เพราะคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องใหญ่เหมือนการทำความรุนแรงแบบตรงไปตรงมา แต่พอปล่อยไว้นานวันเข้า ความรู้สึกปลอดภัยในความสัมพันธ์ก็จะค่อยๆ หายไป ความเชื่อใจก็ลดน้อยลง ดังนั้น หากคุณกำลังเจอพฤติกรรมความก้าวร้าวที่แยบยลในความสัมพันธ์ อย่าซุกปัญหาไว้ใต้พรมแล้วปล่อยทิ้งค้างไว้ให้ทับถม 

สิ่งที่อยากเน้นเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ ความรุนแรงแบบแยบยลมักไม่ถูกให้ความสำคัญและมองข้ามบ่อยๆ แต่ก็นั่นแหละ เพราะมันไม่ถูกให้ความสำคัญมันก็เลยสำคัญมากๆ เพราะกว่าจะเห็นว่าพฤติกรรมแบบนี้เป็นปัญหา ปัญหานี้ก็อาจจะรุนแรงเกินแก้แล้วก็ได้

3 คำแนะนำสำหรับคนที่มีรอบข้างมีพฤติกรรมก้าวร้าวแบบแยบยล (Passive-Aggressive)

  1. สูดลมหายใจเข้าลึกๆ พยายามจัดการอารมณ์ตัวเองด้วยการระบุอารมณ์ที่กำลังเกิดขึ้น และรับรู้ว่าไม่แปลกที่เราจะอารมณ์เสีย เศร้า เสียใจ เพราะเราต่างก็เป็นมนุษย์ธรรมดา 
  2. พูดความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ด่าว่า (Blaming) แล้วก็พูดถึงผลกระทบของการกระทำให้เขาได้รับรู้ เช่น เรารู้สึกแย่ที่เธอพูดหลอกด่าเรานะเมื่อกี้ มันทำให้เรารู้สึกกังวลเวลาอยู่ใกล้เธอ 
  3. หากพูดแล้วเขายังมีพฤติกรรมอยู่ ควรตั้งขอบเขต (Boundary) ให้ชัดเจนว่าถ้าเขาทำไม่ดีกับคุณ คุณจะทำอย่างไร อย่าปล่อยให้เหตุการณ์เกิดซ้ำๆ ผ่านไป เช่น ถ้าเขายังทำแบบนั้นอยู่ เราจะไม่คุยด้วยแล้วเดินออกไปทันที เขาจะค่อยๆ เรียนรู้ว่า ไม่ใช่ว่าเขาจะทำอะไรตามใจตัวเองก็ได้ เพราะไม่มีใครทนพฤติกรรมได้ตลอด ทุกอย่างการกระทำควรมีขอบเขต นอกจากนี้ การตั้งขอบเขตยังทำให้คุณรู้ว่าจุดไหนคือจุดที่คุณจะไม่ทน แล้วมันก็ยังเป็นการปกป้องสุขภาพจิตของคุณด้วย 

4 คำแนะนำสำหรับคนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวแบบแยบยล 

  1. นึกถึงผลของการมีพฤติกรรมก้าวร้าวแบบแยบยลทั้งต่อตัวเอง แล้วก็จินตนาการถึงความรู้สึกของคนที่ได้ถูกปฏิบัติแบบนั้น แล้วคิดดูว่าถ้าตัวเองถูกคนอื่นทำแบบนั้นจะรู้สึกอย่างไร และจะมุมมองความคิดอย่างไรต่อคนนั้น
  2. พยายามสังเกตเวลาที่ตัวเองรู้สึกเครียด อึดอัด กังวล แล้วฝึกยอมรับความรู้สึก การยอมรับไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ไม่ใช่เรื่องที่ฝึกไม่ได้ พยายามไม่วิ่งหนีหรือเก็บกดความรู้สึก “ตอนนี้เรากำลังรู้สึกอะไรอยู่นะ” แล้วก็หาวิธีระบายอารมณ์ที่เหมาะสมมากขึ้น เช่น หาเพื่อนคุย ตั้งคำถามเพื่อเข้าใจตัวเอง การปรับวิธีระบายอารมณ์เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา
  3. นั่งคุยกับตัวเองเพื่อหาสาเหตุของความรู้สึกแย่เหล่านั้น “อะไรทำให้เรารู้สึกแบบนั้น” “จริงๆ เราต้องการอะไร” “อะไรคือคุณค่าที่เราให้” 
  4. แทนที่จะระบายอารมณ์ด้วยความก้าวร้าวเหมือนเคย ฝึกบอกความรู้สึก สิ่งที่ไม่สบายใจให้คนรอบข้างฟัง เช่น เรารู้สึกไม่สบายใจที่เธอไม่ได้ตอบคำถามเราเมื่อกี้ เมื่อกี้เธอทำอะไรอยู่เหรอ ? มันอาจจะรู้สึกเหมือนตัวเองอ่อนแอสำหรับบางคนที่ต้องพูดความรู้สึก แรกๆ อาจไม่ชิน แต่ให้เวลาตัวเองแล้วจะพบว่าความรู้สึกหวิวๆ ตอนพูดความรู้สึกไม่ใช่ความอ่อนแอเลย 

การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อจิตใจ (Psychological Safety) เป็นสิ่งสำคัญในการมีความสัมพันธ์ที่ดี และความก้าวร้าวแบบแยบยล (Passive-Aggressive) ก็เป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้สึกไม่ปลอดภัย และบั่นทอนจิตใจ เมื่อต่างฝ่ายต่างรู้สึกไม่ปลอดภัย ความสัมพันธ์ก็จะค่อยๆ บั่นทอน 

คนที่มีความสุขก็มักจะส่งต่อความสุข ส่วนคนที่มีความทุกข์ก็จะมักส่งต่อความทุกข์ บางครั้งการที่เขาพูดจาไม่ดี แอบหลอกด่า ชมแบบจิกๆ ก็อาจจะมาจากการที่เขามีความทุกข์อยู่ในตัวแล้วไม่รู้วิธีจัดการ ดังนั้น หัวใจของการลดความก้าวร้าวที่แยบยล (Passive-Aggressive) คือการสร้างวัฒนธรรมของการพูดถึงอารมณ์ความรู้สึกไม่ใช่ความอ่อนแอ แต่คือความกล้าหาญในการเผชิญหน้ากับความเปราะบางของตัวเอง และสร้างทัศนคติของการเผชิญหน้า คุยอย่างตรงไปตรงมา และซื่อสัตย์กับความรู้สึกมากขึ้น 

ขอให้มีความอ่อนโยนต่อกันมากขึ้นครับ ☺

Tags:

ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ (Toxic Relationship)Passive Aggressiveความก้าวร้าว

Author:

illustrator

ชัค ชัชพงศ์

นักจิตวิทยาที่เขียนบทความเพื่อช่วยให้คนเข้าใจตัวเองและคนรอบข้าง FB: Chuck Chatpong

Illustrator:

illustrator

ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

Related Posts

  • Relationship
    แม้แผลใจจะยังไม่หายดี แต่เธอก็มีความสัมพันธ์ที่ดีได้นะ

    เรื่อง ชัค ชัชพงศ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Myth/Life/Crisis
    ความตายขับเคลื่อนชีวิต (2): เมื่อการระลึกถึง ‘ความตาย’ ทำให้เข้าใจความหมายของ ‘ชีวิต’

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Healing the trauma
    Overexplaining: แกะปมที่ซ่อนอยู่ในคำอธิบายอันท่วมท้นของใครบางคน

    เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Myth/Life/Crisis
    ความตายขับเคลื่อนชีวิต (1): เพราะมนุษย์รู้ว่าสักวันหนึ่งจะต้องตาย การเห็นคุณค่าในตัวเองจึงสำคัญ

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Weaponized-Incompetence-1
    Relationship
    Weaponized Incompetence: ทำไมการ ‘แกล้งทำไม่เป็น’ เพื่อโยนงานให้คนอื่น ถึงเป็นเรื่องท็อกซิกในความสัมพันธ์

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

Boyhood: ครอบครัว แตกสลาย เติบโต
Dear ParentsMovie
21 July 2022

Boyhood: ครอบครัว แตกสลาย เติบโต

เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Boyhood คือหนัง coming of age ที่พาไปดูชีวิตวัยเด็กของ ‘เมสัน’ เด็กน้อยอายุ 6 ขวบผู้เติบโตกลายเป็นหนุ่มวัยรุ่นอายุ 18 ปี ที่พ่อแม่แยกทางกันแต่พวกเขาก็ยังรักและเลี้ยงดูลูกอย่างเต็มที่
  • ความพิเศษของหนังเรื่องนี้คือ มีการถ่ายทำทุกปีเป็นเวลาสิบกว่าปีซึ่งทำให้เรารู้สึกว่าได้ติดตาม ‘เมสัน’ และครอบครัวที่ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงและเติบโตขึ้นจากทุกเหตุการณ์ที่พบเจอในแต่ละปีอย่างต่อเนื่อง
  • บางครั้งพ่อแม่ต้องลองมองว่าโลกเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน และต้องทำความเข้าใจใหม่ แม้จะไม่ใช่สิ่งที่พ่อแม่เคยเชื่อมาตลอด แต่ก็ไม่มีอะไรที่ผิดหรือทำให้โลกล่มสลายไปเลย

Tags:

ครอบครัวBoyhoodพ่อแม่วัยรุ่นการเติบโตเด็ก

Author:

illustrator

พิมพ์พาพ์

เป็นลูกคนเดียวจากแม่เลี้ยงเดี่ยว เรียกตัวเองว่านักวาดภาพประกอบที่ชอบวาดคนหน้าแมว เผลอเสียน้ำตาให้กับหนังครอบครัวอยู่บ่อยๆ

Related Posts

  • Book
    บ้านเล็กในป่าใหญ่: ที่พักพิงแสนปลอดภัยในโลกอันน่าหวาดหวั่นคือ ‘ครอบครัว’

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Early childhoodFamily Psychology
    เติบโตไปด้วยกัน Alpha Generation EP.2 ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ไม่ได้ทำให้สิ่งสำคัญต่อตัวเด็กเปลี่ยนแปลง

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Movie
    Instant family: ได้โปรดให้เวลาพวกเราหน่อยนะ 

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Movie
    Inside Out 2: เมื่อไม่อาจหลีกหนีความวิตกกังวล สิ่งสำคัญคือการรู้เท่าทันและไม่ปล่อยให้มันครอบงำจิตใจ

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • Dear ParentsMovie
    The love of Siam: รักแห่งสยาม ‘เดอะแบก’ ของบ้านที่ไม่พูดความต้องการและรู้สึก

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

เข้าใจลูกในวันที่เขาเปลี่ยนไป EP.4 ‘แนวทางในการรับมือกับเด็กปฐมวัยพลังล้นเหลือ’
Early childhoodFamily Psychology
19 July 2022

เข้าใจลูกในวันที่เขาเปลี่ยนไป EP.4 ‘แนวทางในการรับมือกับเด็กปฐมวัยพลังล้นเหลือ’

เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • ผู้ใหญ่ต้องทำความเข้าใจว่าธรรมชาติของเด็กๆ วัยนี้ เขามีพลังมากมายที่จะเล่น จนผู้ใหญ่อย่างเราอาจจะหมดแรงตั้งแต่ชั่วโมงแรก บทความนี้จึงจะช่วยแนะนำ 6 แนวทางที่จะช่วยให้เรารับมือกับเด็กๆ ที่มีพลังล้นเหลือได้ดีขึ้น
  • แนวทางที่ให้เด็กปล่อยพลังตามวัยมีหลายวิธี เช่น ให้เด็กทำพฤติกรรมในกิจกรรมตามกติกาที่กำหนด สร้างกิจกรรมที่ช่วยปรับพฤติกรรม หรือเล่นกับสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและสิ่งรอบตัว ก็ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้เช่นกัน
  • ไม่เป็นไรที่ผู้ใหญ่จะพักผ่อน แค่เพียงการเฝ้าดูและให้ความช่วยเหลือยามจำเป็น อาจจะเป็นสิ่งที่เด็กๆ ต้องการจากผู้ใหญ่

‘เด็กปฐมวัยพลังล้นเหลือ ผู้ใหญ่จะชวนไปปล่อยพลังอย่างไรดี?’ 

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าธรรมชาติของเด็กๆ วัยนี้ พวกเขามีพลังมากมาย เรียกง่ายๆ ว่าเล่นและเคลื่อนไหวไปมาอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ผู้ใหญ่อย่างเราอาจจะหมดแรงตั้งแต่ชั่วโมงแรกแล้ว ในบทความนี้จึงอยากแนะนำแนวทางที่จะช่วยให้เรารับมือกับเด็กๆ ที่มีพลังล้นเหลือได้ดีขึ้น

ข้อแนะนำข้อที่ 1 ‘ผู้ใหญ่ห้ามให้เด็กหยุดทำพฤติกรรมไม่ได้ แต่ผู้ใหญ่สามารถให้เขาทำพฤติกรรมนั้นในกิจกรรม เวลา สถานที่ ที่เหมาะสมได้’ 

‘เปลี่ยนจากอยู่ไม่สุข วิ่งเล่นป่วนในคาบเรียน ให้เด็กได้วิ่งเล่นอย่างเต็มที่ในสนามก่อน จะเริ่มเรียน’ 

เด็กๆ ที่เต็มไปด้วยพลังงาน พวกเขาต้องการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ในสายตาผู้ใหญ่ มันคือการอยู่ไม่นิ่ง อยู่ไม่สุข และไม่เหมาะสม ถ้าผู้ใหญ่ให้เด็กๆ ไปเคลื่อนไหวและใช้ พลังที่ล้นเหลือของพวกเขา จนพลังงานนั้นอยู่ในระดับที่เขาควบคุมได้ เด็กๆ จะสงบและพร้อมทำกิจกรรมตรงหน้ามากขึ้น 

อาจจะให้เด็กๆ ได้ใช้พลังให้สุดเเรงด้วยกิจกรรมออกแรงที่ต้องใช้ความเร็วหรือการจับ เวลา เช่น การวิ่งให้เร็วที่สุดไปที่เส้นชัย หรือ แข่งกันวิ่งเก็บบอลหรือของทั่วห้องใส่ ตะกร้าภายในเวลาที่กำหนด เพื่อให้เด็กๆ ได้ใช้ความเร็วอย่างที่เขาต้องการด้วย 

ในกรณีที่เด็กเริ่มเข้าใจกติกาและสามารถทำตามกติกาได้ ผู้ใหญ่อาจจะให้เขาไปเล่น กีฬาที่ได้ออกแรงและต้องใช้ความเร็วเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของเขา การให้เด็กๆ วิ่งเล่นรอบบ้านหรือในสนามประมาณ 1 ชั่วโมง แม้หัวของเด็กๆ จะชุ่มไป ด้วยเหงื่อและแก้มของพวกเขาจะแดงระเรื่อ แต่สิ่งที่พบนอกจากนี้ คือ รอยยิ้มที่สดใสขึ้น ระยะเวลาที่เด็กๆ จะสามารถนั่งทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิ เช่น การเรียน การทำการ บ้าน ก็นานขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากต่ำกว่า 10 นาที เป็น 15-20 นาที

ข้อแนะนำข้อที่ 2 ‘เมื่อเด็กชอบทำตรงข้ามคำสั่ง ก็ชวนเด็กมาเล่นเกมทำตรงข้ามคำสั่งเสียเลย’ 

กิจกรรมที่สามารถนำมาเล่นกับเด็กๆ ในวันที่พวกเขาทำตรงข้ามคำสั่งผู้ใหญ่ทั้งหมด ได้แก่ 

‘เกมโลกกลับตาลปัตร’ เด็กๆต้องทำตรงข้ามคำสั่ง เช่น

ถ้าสั่งให้ยืนต้องนั่งลง ให้นั่งต้องยืน 

ถ้าสั่งให้พูดเบาๆ ให้พูดดังๆ 

ถ้าสั่งให้เดินเร็วๆ ให้เดินช้าๆ 

เป็นต้น 

โดยเกมนี้ผู้ใหญ่สามารถผลัดกันกับเด็กๆ เป็นผู้น (คนสั่ง) และ ผู้ตาม (ทำตามคำสั่ง ของอีกฝ่ายได้) การเล่นเกมนี้ได้ตอบสนองสิ่งที่เด็กต้องการคือ ทำตรงข้ามกับคำสั่ง แต่เกมนี้พวกเขา กลับได้เรียนรู้การทำตามคำสั่งครั้งแรกโดยที่เขาไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เกมนี้ทำให้เด็กๆ ได้มีโอกาสมาสั่งผู้ใหญ่ด้วย ผู้ใหญ่ผลัดกันสั่งฝ่ายตรงข้าม สิ่งที่เขาได้เรียนรู้คือ การเป็นผู้ฟังและทำตาม และเป็นผู้นำและตัดสินใจด้วย เกมน้ีไม่มีใครคุมใคร กติกาเป็นผู้คุมผู้ใหญ่ทั้งสอง เด็กและผู้ใหญ่อยู่ภายใต้กติกาเดียวกัน

ข้อแนะนำที่ 3 ‘เมื่อเด็กๆ ใจร้อนและชอบทำอะไรเร็วๆ ผู้ใหญ่สามารถให้เขาทำกิจกรรมที่ต้องระมัดระวังและท้าทายมากขึ้น’ 

กิจกรรม ‘เดินไต่ลวด’ 

ในเมื่อเด็กๆ ชอบวิ่งเร็วๆ ผู้ใหญ่ก็เพิ่มกติกาให้เป็นเกมเสียเลย เขาต้องเดินบนเส้น เช่น แปะเทปกาวสีติดบนพื้นเป็นเส้นตรง ซิกแซก หรือเส้นอื่นๆ หรือเดินบนสะพาน (ถ้าไม่มีสะพานทรงตัว จะเป็นเบาะ หรือ เก้าอี้เตี้ยวางต่อกันก็ได้) เขาต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น 

กิจกรรม ‘พื้นลาวา’ 

เด็กๆ ต้องระวังไม่ให้เท้าเหยียบพื้นที่ถูกสมมติให้เป็นลาวาร้อนๆ พวกเขาต้องปีนป่าย และเดินข้ามเกาะ (เบาะ/แผ่นโฟม/เทปกาวที่แปะเป็นกรอบสี่เหลี่ยม) ต่างๆ จนไปถึงปลายทาง 

กิจกรรมที่ต้องระมัดระวัง 

ในเด็กเล็ก ผู้ใหญ่อาจจะให้เทน้ำใส่แก้วหลายๆ แก้ว กรอกน้ำใส่ขวด หรือ ตักถั่ว/ ข้าวสารใส่ขวด เป็นต้น ถ้าเขาเร่งจนเกินไปน้ำหรือถั่วอาจจะกระฉอก และเด็กๆ ต้องทำหลายครั้งกว่าจะเต็ม

ในเด็กโต ผู้ใหญ่สามารถให้เขาทำงานประดิษฐ์ งานไม้ (เลื่อยไม้ ตอกตะปู) งานครัว (หั่นผักผลไม้) ถักโครเชต์ เย็บผ้า เกม Puzzle ต่างๆ (ต่อจิ๊กซอว์ และอื่นๆ) เป็นต้น

ข้อแนะนำที่ 4 ‘เล่นน้ำ เล่นดิน เล่นทราย เล่นปีนป่าย เล่นทำงานบ้าน เล่นในกล่อง’ 

เมื่อคิดอะไรไม่ออก สิ่งที่จะช่วยทุ่นแรงพ่อแม่อย่างผู้ใหญ่ คือ ‘เล่นน้ำ เล่นดิน เล่นทราย’ บางครั้งแค่เปิดน้ำใส่กะละมังในห้องน้ำสักสองสามใบ ให้เด็กๆ ได้ลงไปแช่ ได้ไปตีน้ำ ตัก เท สาด กรี๊ดกร๊าดอยู่ในนั้น ก็เป็นการปล่อยพลังได้มหาศาล 

บางทีมีทราย มีดิน ให้เด็กๆ ลงไปเล่น ไปตัก ขุด คลุก มุด ขยำ ก็ช่วยสลายพลังไปได้มากพอดู ยิ่งทรายหรือดินที่เล่นกับน้ำได้ เด็กๆ ยิ่งชอบ ได้ผสมสารพัดสูตรทำกับข้าวผ่านการจำลองทรายและดินผสมกับน้ำ 

บ้านไหนมีต้นไม้หรือเครื่องเล่นให้เด็กๆ ปีนเล่น ก็สามารถช่วยให้เด็กๆ ได้ออกแรง อย่างเหมาะสมเช่นกัน แต่ถ้าไม่มี ‘ตัวพ่อกับแม่’ นี่แหละที่สามารถเป็นภูเขาจำลองให้ เด็กๆ ขึ้นมาปีนป่ายหรือเหยียบ ถือโอกาสให้ลูกๆ เหยียบหลังให้ผู้ใหญ่เป็นการนวดผ่อนคลายเสียเลย 

เล่นทำงานบ้าน สำหรับพ่อแม่อาจจะมองงานบ้านเป็นงาน แต่สำหรับเด็กเล็กๆ แล้ว พวกเขาอาจจะมองว่าเป็นการเล่น ชวนลูกๆ ล้างรถ รดน้ำต้นไม้ ซักผ้า ตากผ้าด้วยกัน เด็กๆ อาจจะถือโอกาสเล่นน้ำไปในตัว หรือ จะชวนทำกับข้าว เด็กๆ หลายบ้านอาจจะชอบมากกว่าเล่นของเล่น ครัวจำลองกับอาหารพลาสติกเสียอีก 

สุดท้าย คิดอะไรไม่ออก นำกล่องลังมาให้เด็กๆ เล่น ยิ่งกล่องใหญ่ ยิ่งสนุก เด็กๆ อาจจะสมมติให้กล่องเหล่านั้นเป็นบ้านของเขา นอกจากนี้ให้สีเทียนกับเด็กๆ นำไปเขียนสะเปะสะปะ หรือสติกเกอร์สักแผ่น เท่านี้ก็ใช้เวลาไปมากโขแล้ว 

เด็กปฐมวัยควรได้รับการส่งเสริมในเรื่องของการเคลื่อนไหวร่างกายทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็ก และมัดใหญ่ เพื่อให้เขามีร่างกายที่พร้อมสำหรับการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การช่วยเหลือตัวเอง การขีดเขียน การวาด การตัดกระดาษ การควบคุมแรง การกะระยะ เเละ อื่นๆ 

ซึ่งการเล่นนอกบ้าน การเล่นดิน เล่นทราย เล่นน้ำ เล่นดิน การขีดเขียนสะเปะสะปะ การเล่นด้วยการเคลื่อนไหวร่างกาย และการทำงานบ้านจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการร่างกายที่สมวัย ทั้งนี้ต้องผนวกกับการสอนให้เขาอดทนรอคอยและแก้ปัญหาได้ตามวัย ผู้ใหญ่ไม่ควรรู้ใจ ทำให้เด็กทุกอย่าง ให้เขารอบ้างและทำเองให้เยอะๆ ทำไม่ได้ ผู้ใหญ่จับมือสอนเขาทำและลองให้เขาทำอีกครั้ง ทำไม่ได้ดีครั้งแรกไม่เป็นไร ค่อยๆ ฝึกฝนกันไป

ข้อแนะนำท่ี 5 ‘ให้กติกาและตารางเวลาเป็นผู้ควบคุมเด็ก เพื่อให้เขาเรียนรู้การควบคุม ตัวเองในอนาคต’ 

‘กติกา’ 

ผู้ใหญ่ควรกำหนดกติกากับเด็กให้ชัดเจนตั้งแต่แรก กติกาไม่ควรมีข้อ และกติกาพื้น ฐานที่ควรมี 

(1) ไม่ทำร้ายตัวเอง 

(2) ไม่ทำร้ายผู้อื่น 

(3) ไม่ทำลายข้าวของ 

ส่วนข้ออื่นๆ ที่จะเพิ่มเข้าไป ขึ้นอยู่กับแต่ละครอบครัว 

‘ตารางเวลา’ ผู้ใหญ่ควรใช้ตารางเวลากับเด็กๆ เพราะเมื่อมีตารางเวลา เด็กจะต้องดูว่าเขาจะทำ อะไรเวลาไหน โดยมีผู้ใหญ่ควบคุมให้เขาสามารถทำตามตารางเวลาได้ ถ้าไม่มีตารางเวลา ผู้ใหญ่จะต้องคอยสั่งเขาตลอดเวลาว่าเวลานี้ควรทำอะไร และต้องทำอะไรต่อ ตารางเวลาเด็กเล็ก ควรมีเรื่องตื่นนอน ล้างหน้า แปรงฟัน อาบน้ำ กินข้าว ทำงานบ้าน เล่น และอ่านนิทาน เข้านอนเวลาไหน

ข้อแนะนำสุดท้าย ‘เหนื่อยก็พัก และเฝ้าดูลูกๆ เล่น’ 

บางครั้งพ่อแม่และผู้ใหญ่มักเป็นกังวลว่า ‘วันนี้ผู้ใหญ่ต้องทำอะไรกับลูกดี’ ผู้ใหญ่มักจะรู้สึกผิดจากการที่ ‘ปล่อยให้วันแต่ละวันของลูกผ่านไปโดยที่ผู้ใหญ่ไม่ได้ ทำอะไรเลย’ 

ณ จุดนี้ ผู้ใหญ่ลืมมองย้อนไปว่า ‘เด็กๆ ก็ต้องมีเวลาว่างท่ีได้อยู่กับตัวเองบ้าง’ บางทีการไม่ได้ทำอะไรเลยและให้เด็กๆ ได้เล่นอย่างอิสระภายใต้กติกา (กฎ 3 ข้อ) ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน ให้เด็กๆ ได้รู้สึกเบื่อบ้าง เพื่อที่พวกเขาจะได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์การเล่นใหม่ๆ 

ไม่เป็นไรที่ผู้ใหญ่จะพักผ่อน แค่เพียงการเฝ้าดูและให้ความช่วยเหลือยามจำเป็น อาจจะเป็นสิ่งที่เด็กๆ ต้องการจากผู้ใหญ่ การเลี้ยงดูเด็กคนหนึ่งให้เติบโต เหมือนกับการวิ่งมาราธอน เพราะผลลัพธ์ไม่ได้เกิดขึ้น เพียงข้ามคืน บางครั้งอาจจะใช้เวลาเป็นเดือน เป็นหลายเดือน หรือ เป็นหลายปี พ่อแม่ค่อยๆ เรียนรู้เติบโตไปพร้อมกับลูก แม้จะเติบโตไปช้าๆ แต่เติบโตอย่างมั่นคง เราจะไปด้วยกัน และไปได้ไกลจนสุดทาง

Tags:

พลังเข้าใจลูกในวันที่เขาเปลี่ยนไปพ่อแม่ปฐมวัยเด็กครอบครัว

Author:

illustrator

เมริษา ยอดมณฑป

นักจิตวิทยาเจ้าของเพจ ‘ตามใจนักจิตวิทยา’ เพจที่อยากให้ทุกคนเข้าถึง ‘นักจิตวิทยา’ ได้มากขึ้นในฐานะเพื่อนแปลกหน้าผู้เคียงข้าง ปัจจุบันเป็นนักจิตวิทยาที่ห้องเรียนครอบครัว เป็น "ครูเม" ของเด็กๆ และคุณพ่อคุณแม่ ความฝันต่อไปคือการเป็นนักเล่นบำบัด วิทยากร นักเขียน และการเปิดร้านหนังสือเล็กๆ เป็นของตัวเอง

Illustrator:

illustrator

ninaiscat

ทิพยา ทิพย์พันธ์ (ninaiscat) เป็นนักวาดภาพประกอบและนักออกแบบกราฟิกอิสระ ชอบแมว (เป็นชีวิตจิตใจ) ชอบทำกับข้าว กินกาแฟทุกวันและมีความฝันว่าอยากมีบ้านสักหลังที่เชียงใหม่

Related Posts

  • Early childhoodFamily Psychology
    เติบโตไปด้วยกัน Alpha Generation EP.2 ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ไม่ได้ทำให้สิ่งสำคัญต่อตัวเด็กเปลี่ยนแปลง

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Movie
    The Holdovers: ในวันที่ไม่มีใครเหลียวแล ขอแค่ใครสักคนที่มอบไออุ่นและเยียวยาหัวใจกัน

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to enjoy life
    สอนให้เด็กรู้ว่าอารมณ์ไม่ใช่ผู้ร้าย เรียนรู้และเข้าใจตัวเองผ่านดนตรี: กฤษดา หุ่นเจริญ

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ชุติมา ซุ้นเจริญ

  • Early childhoodFamily Psychology
    เข้าใจลูกในวันที่เขาเปลี่ยนไป EP.10 ในวันที่ลูกใจร้อน พ่อแม่มีหน้าที่ต้องช้าลง

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Family PsychologyEarly childhood
    เข้าใจลูกในวันที่เขาเปลี่ยนไป EP.5 ‘เด็กพูดโกหก’ 

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

สมองไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เข้าใจผู้อื่นผ่านออนไลน์ สร้างภูมิคุ้มกันเด็กด้วยการจัดการเวลาหน้าจอ
Adolescent BrainCharacter building
19 July 2022

สมองไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เข้าใจผู้อื่นผ่านออนไลน์ สร้างภูมิคุ้มกันเด็กด้วยการจัดการเวลาหน้าจอ

เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • เมื่อธรรมชาติของสมองไม่ได้ทำงานสนับสนุนให้เราเข้าอกเข้าใจผู้อื่นในโลกออนไลน์ได้ จึงไม่น่าแปลกใจที่พื้นที่ส่วนหนึ่งในโลกออนไลน์เต็มไปด้วยการล่วงละเมิดและหมิ่นประมาท โดยเฉพาะการใช้คำพูดหรือข้อความที่สามารถทำร้ายจิตใจผู้อื่นได้อย่างง่ายดาย
  • การรู้เท่าทันข้อดีข้อเสียของโลกเสมือนจริงนี้ จะช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่แสดงออกของตัวเองและเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น วางแนวทางที่เหมาะสมให้กับเด็กๆ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันผลเสียที่อาจเกิดขึ้นได้
  • นอกจากการจำกัดเวลาหน้าจอเด็กๆ แล้ว ยังมีการพัฒนาหลักสูตรความรู้เท่าทันสื่อในโรงเรียน ที่ช่วยสร้างทักษะด้านการตรวจสอบ วิเคราะห์ และแยกแยะข้อมูลบนโลกออนไลน์ ชวนตั้งคำถามถึงที่มาที่ไปและความน่าเชื่อถือของข้อมูลก่อนตัดสินใจเชื่อ แสดงความคิดเห็นหรือนำไปแชร์ต่อ

การปฏิเสธวิทยาการและเทคโนโลยีไปเลยนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่าย ทางออกหนึ่งของปัญหานี้ คือ การบริหารจัดการเวลา การสร้างความรู้ความเข้าใจจนเกิดความรู้เท่าทัน และความเข้าใจธรรมชาติของสังคมทั้งในโลกแห่งความจริงและโลกเสมือนจริง

มาลองค้นหาวลีขึ้นต้นประโยคเหล่านี้ในกูเกิ้ลด้วยกัน

“I hate…” (ฉันเกลียด…)

“I am worried…” (ฉันกังวล…)

เจย์ เชตตี้ (Jay Shetty) นักเขียนและนักสร้างแรงบันดาลใจชาวอังกฤษเชื้อสายอินเดีย กล่าวถึงเรื่องนี้บนเวทีเสวนาครั้งหนึ่ง เขาเล่าว่าคำค้นหาที่ปรากฎขึ้นมาเป็นสองลำดับแรกบนกูเกิ้ล หากพิมพ์ว่า “I hate” คือ “I hate my life.” (ฉันเกลียดชีวิตตัวเอง) และ “I hate my job.” (ฉันเกลียดงานของฉัน)

ส่วนเมื่อลองพิมพ์ว่า “I am worried” สิ่งที่ปรากฏขึ้น คือ “I am worried about my future.” (ฉันกังวลเกี่ยวกับชีวิตของฉัน) และลำดับต่อมา คือ “I am worried about my mental health” (ฉันกังวลเกี่ยวกับสุขภาพจิตของฉัน)

เชตตี้ ชวนค้นหาต่อด้วยวลีคำถามที่ว่า “Will I” (ฉันจะ…..ไหม?)

“Will I always be depressed forever?” (ฉันจะซึมเศร้าไปตลอดชีวิตไหม?)

“Will I always be sad?” (ฉันจะเศร้าไปตลอดไหม?)

ข้อมูลจากคำค้นหาเหล่านี้บอกอะไรกับเราได้บ้าง? แล้วแต่ละคนรู้สึกอย่างไรกันบ้างเมื่อได้รับรู้ข้อมูลนี้? 

ความเชื่อมโยงระหว่างโซเชียลมีเดียกับภาวะซึมเศร้า

ในโลกดิจิทัลที่มีการประมาณการณ์ผู้ใช้งานกว่า 4 พันล้านคนทั่วโลกบนเครือข่ายโซเชียลมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟสบุ๊ก อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ ติ๊กต็อก ฯลฯ ผลการวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตชี้ให้เห็นว่า คนที่จำกัดการใช้เวลาบนโลกออนไลน์มักมี ‘ความสุข’ มากกว่าคนที่เกาะติดอยู่บนหน้าจอและใช้ชีวิตอยู่บนโซเชียลมีเดียอย่างไร้ขีดจำกัด เนื่องจากการใช้เวลาในโลกออนไลน์มากเกินไป มีโอกาสทำให้ผู้ใช้งานเสพเนื้อหาที่เป็นสิ่งเร้าเชิงลบ เช่น ข่าวสารหรือข้อมูลที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม การเปรียบเทียบทางสังคมและการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ 

นอกจากนี้การศึกษายังระบุด้วยว่าโซเชียลมีเดียสามารถกระตุ้นอารมณ์เชิงลบของผู้ใช้งาน ส่งผลกระทบให้ผู้เสพข้อมูลรู้สึกต้อยต่ำ ด้อยค่า และไม่พอใจในตนเอง ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดโรคซึมเศร้าหรือทำให้อาการของโรคซึมเศร้านั้นแย่ลง

“ปรากฎการณ์นี้กำลังสะท้อนให้เราเห็นว่าสิ่งเร้า ปัจจัยภายนอกและความวุ่นวายต่างๆ ที่เจอในชีวิต ทำให้เราห่างไกลและขาดการเชื่อมโยงกับตัวเอง มองไม่เห็นคุณค่าและเป้าหมายในชีวิตของตัวเอง” เชตตี้ กล่าว

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ปี 2020 รายงานเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า พบประเด็นที่น่าสนใจ 4 ประการ พร้อมระบุผลจากการวิเคราะห์ว่าการใช้สื่อออนไลน์เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงหลักของโรคซึมเศร้า เห็นได้จากอัตราความซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นสอดรับไปกับการมีส่วนร่วมในโซเชียลมีเดียที่เพิ่มขึ้น

  • ผู้คนจำนวน 264 ล้านคนทั่วโลกกำลังทุกข์ทรมานจากภาวะซึมเศร้า ซึ่งมีที่มาจากความรู้สึกไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง การมีสมาธิบกพร่อง และการนอนหลับไม่สนิท รวมถึงอาการที่ไม่เหมาะสมอื่นๆ  
  • วัยรุ่นอายุระหว่าง 13-18 ปี มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น
  • อัตราความเสี่ยงของการเป็นโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 52 จากสถิติระหว่างปี 2005 – 2017 
  • อาการของโรคซึมเศร้าเชื่อมโยงกับปัญหาร้ายแรงอื่นๆ เช่น ความล้มเหลวทางการศึกษา การตั้งครรภ์โดยขาดการวางแผน ความสัมพันธ์ที่ไม่มีคุณภาพ และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อการใช้สารเสพติดและการฆ่าตัวตาย

สมองไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เข้าใจผู้อื่นผ่านหน้าจอ

ก่อนการเข้ามาของอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย ลูกจะเข้ากับเพื่อนได้หรือเปล่า ลูกจะโดนแกล้งไหม หรือลูกจะเรียนรู้เรื่องไหม? สิ่งเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นความกังวลพื้นฐานสำหรับพ่อแม่เมื่อต้องส่งลูกไปโรงเรียน แต่ในโลกยุคดิจิทัลการกลั่นแกล้งรังแกทางไซเบอร์ (Cyber Bullying) หรือที่เรียกกันติดปากว่า ‘การบูลลี่’ นั้น ไม่จำเป็นต้องเกิดซึ่งหน้าหรือตัวต่อตัวอีกต่อไป เพราะข้อความต่างๆ ทั้งที่เป็นความจริงและไม่เป็นความจริง สามารถถูกนำมาเผยแพร่เพื่อเย้ยหยันหรือสร้างความอับอายให้กับคนๆ หนึ่ง ซ้ำยังสามารถเปิดพื้นที่ให้เพื่อนฝูงและคนแปลกหน้าเข้ามารุมแสดงความคิดเห็นเชิงลบทางหน้าจอได้อย่างอิสระและยังไม่มีมาตรการที่ดีพอเข้ามาจัดการอย่างรัดกุมได้

แดเนียล โกลแมน (Daniel Goleman) นักเขียน นักจิตวิทยา และนักข่าวสายวิทยาศาสตร์ ผู้มีผลงานที่มีชื่อเสียงด้านสมองและพฤติกรรมศาสตร์ นิยามคำว่า ‘cyber-disinhibition’ ขึ้นมา เพื่ออธิบายว่าวิธีการที่เราปฏิบัติกับผู้อื่นออนไลน์นั้นไม่สอดคล้องกับวิธีการที่เราปฏิบัติกับผู้อื่นในชีวิตจริง ทั้งนี้ เนื่องจากระบบทางสังคมในสมองของมนุษย์พึ่งพิงเชื่อมโยงอยู่กับการตอบสนองที่เกิดขึ้นซึ่งหน้าในทันที แต่การสื่อสารในโลกออนไลน์ขาดปฏิสัมพันธ์ในส่วนนี้ พูดง่ายๆ คือว่า ธรรมชาติไม่ได้สร้างมนุษย์ให้ปฏิสัมพันธ์กันผ่านข้อความบนหน้าจอด้วยวิธีการต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ในโลกดิจิทัล

สมองของมนุษย์ถูกออกแบบมาสำหรับการตอบโต้แบบเห็นหน้ากัน ศูนย์รวบรวมอารมณ์ในส่วนย่อยของเปลือกสมอง (subcortex) จะทำงานอย่างรวดเร็วโดยที่เราไม่รู้ตัว เพื่อรับข้อมูลที่หลากหลายจากผู้คนและสภาพแวดล้อมรอบตัวแล้วส่งแรงกระตุ้นที่นำไปสู่การตอบสนองของแต่ละบุคคลว่าจะทำหรือพูดอะไรออกไป ขณะที่วงจรส่วนหน้าของสมองกลีบหน้าผาก (prefrontal cortex) ทำหน้าที่ช่วยประสานให้การปฏิสัมพันธ์ในวงจรเหล่านี้เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งโดยการยับยั้งแรงกระตุ้นทางอารมณ์ที่จะผลักดันให้เกิดการตอบสนองด้วยพฤติกรรมในทิศทางที่ไม่เหมาะสม 

อย่างไรก็ตาม กระบวนการตอบโต้และสื่อสารที่เกิดขึ้นในพื้นที่ออนไลน์ ทำให้วงจรสมองขาดการถูกกระตุ้นแบบ ‘ซึ่งหน้า’ และไม่ได้รับการส่งสัญญาณที่จำเป็นต่อการสร้างความเข้าใจ หรือ ความรู้สึกร่วมว่าผู้อื่นรู้สึกอย่างไร (Emotional Empathy) แต่จะพึ่งพาความเข้าใจว่า ผู้อื่นคิดต่อเรื่องนั้นๆ อย่างไร (Cognitive Empathy) มากขึ้น นั่นหมายความว่าเราจะสัมผัสอารมณ์ความรู้สึกจากการตอบสนองของผู้อื่นได้เพียงเล็กน้อย หรืออาจไม่สามารถสัมผัสและเข้าใจความรู้สึกหรือความคิดของผู้อื่นจริงๆ ได้เลยผ่านข้อความที่ปรากฎขึ้น

เมื่อธรรมชาติของสมองไม่ได้ทำงานสนับสนุนให้เราเข้าอกเข้าใจผู้อื่นในโลกออนไลน์ได้ จึงไม่น่าแปลกใจที่พื้นที่ส่วนหนึ่งในโลกออนไลน์เหล่านี้เต็มไปด้วยการล่วงละเมิดและหมิ่นประมาท โดยเฉพาะการใช้คำพูดหรือข้อความที่สามารถทำร้ายจิตใจผู้อื่นได้อย่างง่ายดาย

จำกัดเวลาและหันมารู้เท่าทันความเป็นไปในโซเชียล 

ถึงแม้อีกด้านหนึ่งในวงวิชาการยังมีการตั้งคำถามและถกเถียงกันว่า การใช้โซเชียลมีเดียเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า หรืออาการของโรคซึมเศร้าเป็นแรงขับให้เกิดการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อชดเชยความต้องการบางอย่าง อย่างไรก็ตาม การรู้เท่าทันข้อดีข้อเสียของโลกเสมือนจริงนี้ จะช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่แสดงออกของตัวเองและเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น เมื่อผู้ใหญ่มีความเข้าใจก็จะช่วยวางแนวทางที่เหมาะสมให้กับเด็กๆ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันผลเสียที่อาจเกิดขึ้นได้

ตามทฤษฎีการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการชดเชย (Theory of Compensatory Internet) มองว่า กิจกรรมออนไลน์เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยบรรเทาความรู้สึกเชิงลบ หรือเติมเต็มความต้องการทางจิตใจที่ไม่ได้รับการตอบสนองจากสังคม เช่น ผู้ป่วยที่ทรมานจากโรคซึมเศร้าหันไปพึ่งพาเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อสร้างตัวตนและการตรวจสอบทางสังคมจากยอดไลก์และยอดผู้ติดตาม เช่นเดียวกับโมเดลปัญญาสังคม (Sociocognitive model) เกี่ยวกับการเสพติดการใช้งานในโลกอินเทอร์เน็ตที่มองสังคมออนไลน์เป็นพื้นที่สร้างแรงจูงใจและตอบสนองทางจิตใจของผู้ใช้ แต่ก็เป็นอันตรายต่อผู้ที่ขาดทักษะการกำกับตนเอง (self-regulation)

พ่อแม่ควรจำกัดเวลาเด็กๆ ในโลกออนไลน์แค่ไหน มากแค่ไหนถึงจะพอ?

สถาบันจิตเวชเด็กและวัยรุ่นอเมริกัน (American Academy of Child and Adolescent Psychiatry) ได้ให้แนวทางการจัดการเวลาหน้าจอสำหรับเด็กๆ ไว้ ดังนี้

  • สำหรับเด็กอายุ 2-5 ปี จำกัดเวลาหน้าจอที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไว้ที่ประมาณ 1 ชั่วโมงต่อวัน และ 3 ชั่วโมงในวันหยุดสุดสัปดาห์
  • สำหรับเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป ส่งเสริมอุปนิสัยที่ดีด้วยการจัดสมดุลในการใช้ชีวิต จากการวางข้อตกลงร่วมกันในครอบครัว เช่น ไม่ใช้มือถือขณะร่วมโต๊ะอาหารหรือขณะใช้เวลาร่วมกับครอบครัว แน่นนอนว่าเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีผู้ปกครองจำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อตกลงเช่นเดียวกัน 
  • ผู้ปกครองเรียนรู้การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการ เช่น แอพควบคุม/จำกัดเวลาการใช้งานโซเชียลมีเดียในมือถือ
  • ผู้ปกครองหลีกเลี่ยงการใช้มือถือ หรือการใช้ภาพเคลื่อนไหวบนหน้าจอหลอกล่อเด็ก 
  • ปิดหน้าจอ แล้วนำเครื่องมือสื่อสารออกจากห้องก่อนนอน 30-60 นาที

ผลจากการศึกษา พบว่า การจำกัดเวลาการใช้งานโซเชียลมีเดียช่วยลดผลกระทบด้านสุขภาพจิตทั้งในวัยเด็ก วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ได้ งานวิจัยชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นผลลัพธ์จากการจำกัดเวลาการใช้โซเชียลมีเดียเหลือ 30 นาทีต่อวันที่ช่วยบรรเทาความรู้สึกเหงาและซึมเศร้าได้ภายใน 3 สัปดาห์ 

งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งพบว่าการงดเล่นโซเชียลมีเดียหนึ่งสัปดาห์ช่วยลดระดับความเครียดในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตอยู่แล้วได้ 

นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาหลักสูตรความรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) ในโรงเรียน ที่ช่วยสร้างทักษะด้านการตรวจสอบ วิเคราะห์ และแยกแยะข้อมูลต่างๆ บนโลกออนไลน์ให้กับผู้เรียน ชวนผู้เรียนตั้งคำถามถึงที่มาที่ไปและความน่าเชื่อถือของข้อมูลก่อนตัดสินใจเชื่อ แสดงความคิดเห็นหรือนำไปแชร์ต่อ 

ทั้งนี้ เชื่อว่าหากสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กๆ รู้เท่าทันการใช้งานโซเชียลมีเดียและโลกออนไลน์ตั้งแต่ยังเล็ก แล้วให้อิสระพวกเขาได้เล่นและเรียนรู้จากสิ่งที่สัมผัสได้จริงรอบตัว จะช่วยถนอมความเป็นเด็กสดใส ร่าเริงและช่างสงสัย คำค้นหาต่างๆ ที่เชตตี้กล่าวถึงไว้ในตอนต้นน่าจะมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

https://thepotential.org/knowledge/media-literacy/

อ้างอิง

https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpsyt.2021.641934/full

https://www.verywellmind.com/social-media-and-depression-5085354

https://www.kornferry.com/insights/this-week-in-leadership/emotional-intelligence-empathy-digital-age

https://www.aacap.org/AACAP/Families_and_Youth/Facts_for_Families/FFF-Guide/Children-And-Watching-TV-054.aspx

Tags:

ความเข้าอกเข้าใจ(empathy)โซเชียลมีเดียการจัดการเวลา

Author:

illustrator

วิภาวี เธียรลีลา

นักเขียนอิสระที่อยากเข้าใจวิถีชีวิตผู้คน เลยพาตัวเองไปใช้ชีวิตในลอนดอน ปักกิ่ง เซินเจิ้นและอเมริกา กินมังสวิรัติ อินกับโภชนาการ กำลังเรียนเป็นนักปรับพฤติกรรมสุนัขและชอบกินกาแฟใส่ฟองนม

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • what-about-me-effect-nologo
    How to enjoy lifeSocial Issues
    ‘What About Me Effect’ แค่ถามหรือเรียกร้องความสนใจ ปรากฎการณ์ปัจเจกนิยมเกินเหตุในโซเชียลมีเดีย

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Unique Teacher
    ให้เด็กลอง ‘สวมรองเท้าของคนอื่น’ วิธีเติมเต็ม Empathy ในห้องเรียนของครูนักปรัชญา: ครูเปี๊ยก – วิสิทธิ์ ตออำนวย

    เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง ภาพ ปริสุทธิ์

  • Education trend
    เอาชนะหุ่นยนต์ได้ด้วยการ ‘เอาใจเขามาใส่ใจเรา’ และความฉลาดทางอารมณ์

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Life classroom
    PERFECTIONISM อย่าหวดวัยรุ่นด้วยความสมบูรณ์แบบอีกเลย

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Life classroom
    เปลี่ยนโรค เปลี่ยว เหงา ซึมเซา เป็นโลกใหม่: 5 วิธีช่วยให้วัยรุ่นรู้สึกดีกับตัวเอง

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

Space Inspirium:  แหล่งการเรียนรู้ที่ชวนคนทุกวัยท่องอวกาศไปด้วยกัน
Space
16 July 2022

Space Inspirium:  แหล่งการเรียนรู้ที่ชวนคนทุกวัยท่องอวกาศไปด้วยกัน

เรื่อง ชุติมา ซุ้นเจริญ ภาพ ปริสุทธิ์

  • หลายคนอาจไม่ทราบว่าประเทศไทยก็มีแหล่งเรียนรู้ด้านอวกาศอย่าง ‘Space Inspirium‘ สถานที่ที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางสู่ความเวิ้งว้างอันไกลโพ้น ที่มอบทั้งสาระความรู้และความสนุกสนานผ่านประสบการณ์แบบเสมือนจริง แถมยังอยู่ไม่ไกลจากแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมอย่างพัทยา
  • Space Inspirium เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ภายในอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA แม้ดูจากภายนอกจะไม่โดดเด่นสะดุดตา แต่เนื้อหาที่แสดงอยู่ภายในนั้นเรียกว่าตื่นตาตื่นใจทีเดียว
  • ที่นี่มีโซนจัดแสดงให้เรียนรู้อวกาศถึง 25 โซน โดยเนื้อหาหลักๆ ของแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ นิทรรศการเกี่ยวกับอวกาศ สู่วิวัฒนาการการเดินทางสู่ห้วงอวกาศ และการนำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

อวกาศ…ไม่ไกลเกินฝัน 

และเราสามารถเริ่มต้นการเดินทางสู่ความเวิ้งว้างอันไกลโพ้นได้ที่นี่ Space Inspirium ศรีราชา

หลายคนอาจไม่รู้ว่าประเทศไทยก็มีแหล่งเรียนรู้ด้านอวกาศที่มอบทั้งสาระความรู้และความสนุกสนานผ่านประสบการณ์แบบเสมือนจริง แถมยังอยู่ไม่ไกลจากแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมอย่างพัทยา

Space Inspirium แหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ภายในอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี แม้ดูจากภายนอกจะไม่โดดเด่นสะดุดตา แต่เนื้อหาที่แสดงอยู่ภายในนั้นเรียกว่าตื่นตาตื่นใจทีเดียว 

“เราทำให้ที่นี่เป็นสถานที่จุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจในเรื่อง ‘อวกาศ’ ที่ใครก็เข้าถึงได้ และเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ” ปราณปริยา วงค์ษา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) หรือ ‘GISTDA’  กล่าวถึงแนวคิดของ Space Inspirium

สำหรับการนำเสนอเนื้อหาหลักๆ แบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน ชั้นบนเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับอวกาศ ร้อยเรียงไทม์ไลน์ช่วงต่างๆ เริ่มจากการกำเนิดเอกภพและกาแล็กซี่ต่างๆ สู่วิวัฒนาการการเดินทางสู่ห้วงอวกาศ จนได้เทคโนโลยีอวกาศมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษยชาติ  โดยในส่วนของคอนเทนต์ต่างๆ นั้น ได้มีการออกแบบร่วมกับนักวิชาการเฉพาะทาง เพื่อแปลงข้อมูลเชิงวิชาการให้เป็นการเรียนรู้ตอบโจทย์ผู้เข้าชมทุกช่วงวัย

ชั้นล่าง เป็นเรื่องการนำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ เน้นภารกิจในด้านภูมิสารสนเทศ การจัดทำภาพถ่ายแผนที่จากดาวเทียมไทยโชตเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ

สำหรับไฮไลท์ที่ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ไม่ควรพลาด ได้แก่ โซนการเตรียมพร้อมสู่อวกาศ ที่จะทำให้ทุกคนได้สัมผัสประสบการณ์เสมือนจริง เริ่มจาก เครื่องเล่น Gyroscope ซึ่งเป็นการจำลองการฝึกของนักบินอวกาศให้มีความเคยชินกับสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง หรือแรง G ที่บอกได้เลยว่าในประเทศไทยมีที่นี่ที่เดียว

อีกเครื่องมีชื่อว่า Mars Walk ให้ความรู้สึกเหมือนเรากำลังเดินอยู่บนดาวอังคารในสภาวะไร้น้ำหนัก แนะนำว่าให้ลองจะได้รู้ว่าการเดินลอยตัวแบบนักบินอวกาศนั้น…ไม่ง่ายอย่างที่คิด สำหรับเด็กๆ เครื่องนี้น่าจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจได้เป็นอย่างดี

ส่วนเครื่อง VR Sphere เหมือนเป็นการผ่านอุโมงค์ไปสู่โลกแห่งอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า โดยมุ่งเน้นทางด้านการคมนาคมและการขนส่งทั้งทางเรือ ทางอากาศ ทางบก ซึ่งสามารถนำไปเป็นเครื่องมือพัฒนาประเทศในอนาคตต่อไปเนื่องจาก Space Inspirium มีเป้าหมายสำคัญเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนผ่านการสร้างประสบการณ์จริง ดังนั้นนอกจากส่วนจัดแสดงในตัวอาคารแล้ว ยังส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศผ่านกิจกรรม ONE DAY KIDS โดยจัดให้เยาวชนจากสถานศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศได้รับความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ รวมถึงบทบาทของ ‘ดาวเทียมไทยโชต’ ที่มีต่อการสำรวจและปกป้องทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยใน 1 วัน พร้อมส่งเสริมทักษะผ่านเกมส์ โดยการกำกับดูแลของวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งจะทำให้เยาวชนได้เกิดกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลในการสร้างสรรค์ผลงานด้านเทคโนโลยีอวกาศ สามารถนำไปต่อยอดในการศึกษาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนเองได้

“คอนเซ็ปต์ของเราคือ ‘อวกาศไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัว’ เพราะมันอยู่รอบตัวเราเลย มันคือเทคโนโลยีที่เราไม่เคยรู้ว่ามันอยู่รอบตัวและเราก็ใช้มันมาโดยตลอด

เราจึงขยายผลและกระจายโอกาสในการเรียนรู้เทคโนโลยีอวกาศให้ทั่วถึง ด้วยการให้ทุกคนมาสัมผัสและเรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งเราจะเน้น Learn and Play ไม่เน้นการท่องจำ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ช่วยเตรียมตัวคนสู่อนาคต 

การได้สัมผัสกับอุปกรณ์เครื่องเล่นที่เป็นของจริงไม่ใช่ในตำรา จะทำให้เกิดจินตนาการ สร้างแรงบันดาลใจ เกิดการค้นพบตนเอง ทำในสิ่งที่ตนเองชื่นชอบ และพัฒนาศักยภาพไปสู่ในสิ่งที่ใฝ่ฝันไว้”  ผอ.ปราณปริยา กล่าว

เรียนรู้อวกาศผ่านส่วนจัดแสดง 25 โซน

โซน 1 APRSAF แรงบันดาลใจจากอวกาศสู่จินตนาการ

ห้องเก็บรวบรวมภาพวาดผลงานสีสันสดใสของเด็กๆ อายุตั้งแต่ 8-12 ปี จากโครงการเวทีความร่วมมือองค์การอวกาศภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APRSAF)

โซน 2 : กำเนิดเอกภพและแรงดึงดูด

เริ่มต้นเรียนรู้จุดกำเนิดว่าโลกเรามาจากไหน และเราเป็นใครในกาแล็กซี่ทางช้างเผือกผ่านดาวเคราะห์น้อยใหญ่ 

โซน 3 : วิวัฒนาการทางอวกาศ

มาช่วยกันหาคำตอบว่าจากดาวเคราะห์หลากหลายดวงในระบบสุริยะ ทำไมถึงมีแค่โลกของเราที่มีสิ่งมีชีวิต

โซน 4 : เทคโนโลยีสำรวจโลกและอวกาศ

แรงบันดาลใจสร้างได้จากสิ่งรอบตัว เรียนรู้ผ่านกาลเวลา กระบวนการคิดหลากหลายรูปแบบจากจินตนาการสู่การประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่จนมาถึงปัจจุบัน

โซน 5 : มุ่งสู่อวกาศ

การเตรียมความพร้อมไปสู่อวกาศ มีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องคำนึงถึงในการที่จะออกไปนอกโลก เมื่อออกไปนอกโลกแล้วร่างกายจะมีปฏิกิริยาอย่างไร เช่น ร่างกายกับแรงโน้มถ่วง รวมถึงการได้ทดลองเครื่อง Gyroscope ที่จะจำลองสภาวะหมุนเหวี่ยงของการฝึกนักบินอวกาศ

โซน 6 : การจำลองเดินบนดาวอังคาร

เครื่องเล่น Mars walk จำลองการเดินทางไปบนพื้นผิวดาวอังคาร สถานที่ซึ่งมีแรงดึงดูดน้อยกว่าโลกของเรา

โซน 7 : การใช้ชีวิตในอวกาศ

การใช้ชีวิต การค้นคว้าวิจัย การอยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station: ISS)

โซน 8 : โรงภาพยนตร์

เพลิดเพลินไปกับภาพยนตร์ ที่จะพาเราค้นหาคำตอบในจักรวาลที่กว้างไกลผ่านดวงดาวต่างๆ มากมาย

โซน 9 : ดาวเทียม

พบกับดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของประเทศไทยที่มีขนาดเท่ากับของจริงที่โคจรอยู่ในอวกาศ และวงโคจรของดาวเทียมชนิดต่างๆ ที่โคจรอยู่รอบโลกของเรา

โซน 10 : ห้องจำลองดาวอังคาร

สนุกกับการสำรวจดาวอังคาร และตื่นตาตื่นใจไปกับภารกิจบนดาวอังคาร

โซน 11 : Cosmo Cafe’to

ร้านกาแฟที่ชวนผ่อนคลายไปกับเครื่องดื่มหลากหลายในบรรยากาศอวกาศ

โซน 12 : ยูริ กาการิน

ทำความรู้จักกับนักบินอวกาศคนแรกที่โคจรรอบโลกได้สำเร็จ

โซน 13 : ถ่ายภาพสร้างแรงบันดาลใจ

แลนด์มาร์กของ Space Inspirium สำหรับถ่ายภาพสร้างแรงบันดาลใจ

โซน 14 : เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ 3S

การศึกษาเกี่ยวกับโลกของเรา ผ่านข้อมูลที่ได้มาโดยใช้เทคโนโลยี 3S

โซน 15 : EEC ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก แผนยุทธศาสตร์ประเทศภายใต้ไทยแลนด์ 4.0

โซน 16 : GIS ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ข้อมูลที่มีมากมายจะต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้างกว่าจะได้ออกมาเป็นแผนที่

โซน 17 : ภาพถ่าย Street View

สนุกสนานไปกับการท่องเที่ยวรอบโลกภายใน 1 นาที

โซน 18 : RS การรับรู้จากระยะไกล

เรียนรู้วิธีและขั้นตอนการได้มาของข้อมูลโดยที่เราไม่ต้องไปสำรวจด้วยตัวเอง

โซน 19 : การระบุตำแหน่งผ่านดาวเทียม

พบกับนวัตกรรมของดาวเทียมระบุตำแหน่งที่ปัจจุบันเรานำมาใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย

โซน 20 ห้องเรียนหุ่นยนต์

สถาบันควอนตัมโมดัส (Quantum Motus Institute) สอนเด็กให้รู้และเข้าใจในพื้นฐานของการสร้างหุ่นยนต์ ตามหลักการ STEM เด็กจะได้เรียนรู้ทั้งด้าน hardware ซึ่งได้แก่กลไกชิ้นส่วนต่างๆ ในการประกอบหุ่นยนต์ และด้าน software ที่จะต้องเขียนโปรแกรมสั่งงานหุ่นยนต์ให้ทำตามที่ออกแบบไว้ พร้อมให้เด็กๆ ได้ลองคิดสร้างสรรค์ตามจินตนาการของตัวเอง

โซน 21 : การประยุกต์ใช้ 3S

การใช้งานในด้านต่างๆ การใช้ประโยชน์ด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการเกษตรกรรม ด้านการวางผังเมืองและป้องกันภัย โดยเพิ่มความเข้าใจผ่านการเล่นเกมส์

โซน 22 : ศาสตร์พระราชา

รับชมศาสตร์พระราชาแห่งความพอเพียงผ่าน VDO Mapping เริ่มจาก ‘น้ำ’ และ ‘ดิน’ สู่ ‘ชุมชน’ และ ‘สังคม’ อย่างยั่งยืน

โซน 23 : เครื่องเล่น VR sphere ท่องโลกอนาคต

เดินทางสู่อนาคตในยุค EEC กับสถานที่สำคัญที่มีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย

โซน 24 : เมืองในอนาคต

ที่นี่เด็กๆ จะได้พบกับหุ่นยนต์มากมายหลายประเภทที่จะช่วยกันทำงานเพื่อให้โลกน่าอยู่ขึ้น

โซน 25 : โมดูลห้องทดลองอวกาศจากประเทศญี่ปุ่น

แบบจำลองส่วนหนึ่งของสถานีอวกาศนานาชาติที่สร้างโดยประเทศญี่ปุ่น

Space Inspirium เปิดบริการทุกวันอังคาร-อาทิตย์ (หยุดเฉพาะวันจันทร์) 
วันอังคาร – ศุกร์ เวลา 9:00 น.-16:00 น. 
วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 9:00 น.- 17:00 น.
ราคาบัตร: ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็กสูง 101-140 ซม. 20 บาท 
เด็กสูงไม่ถึง 100 ซม. และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เข้าชมฟรี
โทร: 033-005-835,  033-005-836

Tags:

วิทยาศาสตร์อวกาศspaceLearning SpaceเทคโนโลยีSpace Inspiriumแหล่งการเรียนรู้

Author:

illustrator

ชุติมา ซุ้นเจริญ

ลูกครึ่งมานุษยวิทยาและนิเทศศาสตร์ รักการเล่าเรื่องผ่านตัวอักษร พอๆ กับการเดินทางข้ามพรมแดนทุกรูปแบบ เชื่อเสมอว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสังคม แต่ไม่นิยมแบกโลกไว้บนบ่า

Photographer:

illustrator

ปริสุทธิ์

Related Posts

  • Space
    Civilization: เรียนสังคมและประวัติศาสตร์ด้วยเกม

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Creative learning
    วิทยาศาสตร์ในนาข้าว ไขปริศนาภูมิปัญญาสู่การเรียนรู้ข้างกองฟาง กับ ลุงจี๊ด ‘นาบุญข้าวหอม’

    เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ปริสุทธิ์

  • SpaceSocial Issues
    โมเดล ‘พื้นที่การเรียนรู้ Tailor-made’ หลากหลาย ยืดหยุ่น เด็กทุกคนเข้าถึงได้

    เรื่อง รัชดา ธราภาค

  • ไอเดีย – ไอซี : เส้นทางสู่ ‘อวกาศ’ ของเด็กไทยที่เริ่มต้นจากนิทาน จินตนาการ และการเรียนรู้ โดยไม่หยุดแค่คำว่า… เป็นไปไม่ได้

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Life classroomVoice of New Gen
    นิศาชล คำลือ: ถึงอวกาศจะไม่มีอากาศ แต่ทำให้อยากหายใจเพื่อค้นหาดาวดวงต่อไป

    เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

ลดการตัดสิน ทิ่มแทงจิตใจ แล้วเพิ่มความเข้าอกเข้าใจต่อกันมากขึ้น (Empathy)
How to enjoy life
15 July 2022

ลดการตัดสิน ทิ่มแทงจิตใจ แล้วเพิ่มความเข้าอกเข้าใจต่อกันมากขึ้น (Empathy)

เรื่อง ชัค ชัชพงศ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • เราอาจไม่สามารถเข้าใจมุมมองหรือความรู้สึกได้เสมอไป แต่แค่เราพยายามที่จะทำนั้นก็เพียงพอแล้วต่อการทำให้เกิดความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) แล้วความสัมพันธ์ที่ดีก็จะค่อยๆ ก่อตัวขึ้น เพราะบนโลกนี้ไม่มีของขวัญไหนดีไปกว่าความเข้าอกเข้าใจอีกแล้ว  
  • ความเข้าอกเข้าใจ หรือ Empathy เปรียบเสมือนยาวิเศษที่ช่วยทำให้คนๆ หนึ่งรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย มีคุณค่า ถูกมองเห็น และยังช่วยลดความเครียด ความไม่ปลอดภัย ความวิตกกังวลอีกด้วย
  • สิ่งที่ต้องรู้คือ ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้สึกดีกับการได้รับความเห็นอกเห็นใจ (Sympathy) เพราะเขาอาจรู้สึกว่าตัวเองด้อยกว่าได้ มีคนจำนวนมากที่ไม่ชอบการถูกสงสาร

การตัดสิน การด่าทอ การพูดแทงใจ การประชดประชัน ล้วนเป็นสิ่งที่ขัดขวางความเข้าอกเข้าใจ แล้วนั่นก็มักจะเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง แน่นอนไม่มีใครอยากอยู่ใกล้คนที่แบบเป็นนั้น แต่หลายครั้งเราก็เผลอเป็นแบบนั้นแม้จะไม่ได้ตั้งใจก็ตาม

แล้วอะไรจะช่วยทำให้เราเป็นคนที่น่ารักขึ้น ?                                                            

อยากชวนให้รู้จักคำว่า ความเข้าอกเข้าใจ หรือ Empathy ที่เปรียบเสมือนยาวิเศษที่ช่วยทำให้คนๆ หนึ่งรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย มีคุณค่า ถูกมองเห็น และยังช่วยลดความเครียด ความไม่ปลอดภัย ความวิตกกังวลอีกด้วย

ความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) คือการพยายามทำความเข้าใจมุมมองและความรู้สึกของคนที่อยู่ตรงหน้า ด้วยคำถามว่า “ถ้าเขาเจอเหตุการณ์นี้ตัวเขาจะรู้สึกและมีมุมมองอย่างไร” โดยไม่ยัดเยียดมุมมอง ความรู้สึก ค่านิยม ความเชื่อของตัวเองไปให้เขา แต่คือพยายามมองจากมุมมองของเขาให้มากที่สุด

เทเรซา ไวซ์แมน นักวิชาการสาธารณสุขได้แบ่ง ความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) ออกเป็น 4 องค์ประกอบ ได้แก่

1. การไม่ตัดสิน เมื่อไหร่ที่เกิดการตัดสินว่าสิ่งนี้ถูกหรือผิด ดีหรือไม่ดีย่อมปิดโอกาสในการทำความเข้าใจอีกฝ่ายแก่นสำคัญคือ การพยายามทำความเข้าใจไม่ใช่การปรับเปลี่ยนความคิดเขา

2. การเอาตัวเข้าไปอยู่ในโลกของเขา คือ การถอดความเป็นตัวเองออกแล้วพยายาม “สวมบทบาทเป็นเขา” เพื่อทำความเข้าใจมุมมองหรือความรู้สึกที่เขามองโลก

3. การทำความเข้าใจความคิดหรือความรู้สึกของผู้อีกฝ่าย หมายถึงการพยายามหลีกเลี่ยงการเอามุมมองความคิดของตัวเองไปใส่

4. การสื่อสารความเข้าใจออกไป เมื่อทำตาม 3 องค์ประกอบแรกแล้ว เราก็ควรสื่อสารให้เขารับรู้ โดยสามารถสื่อสารได้หลากหลายทาง เช่น การสะท้อนความคิดหรือความรู้สึกเขา “ช่วงนี้ฉันเบื่อไม่รู้จะทำอะไรเลยเครียดๆเหนื่อยๆ” อาจสะท้อนว่า “เหมือนชีวิตช่วงนี้มันหน่วงๆ เหรอ”

หรืออาจสื่อสารความเข้าใจเป็นการทำน้ำเสียง “อื้อออ…แบบนั้นเหรอ” แต่บางคนก็อาจถนัดเป็นการพยักหน้าหรือแสดงสีหน้าตามความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างฟัง

เมื่อไหร่ก็ตามที่เราสะท้อนสิ่งที่เขารู้สึกหรือนึกคิด เขาจะรู้สึกว่ามีคนเข้าใจหรืออย่างน้อยก็พยายามทำความเข้าใจเขา

จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ผมได้ทำการวิเคราะห์ตัวเองร่วมกับนักจิตบำบัด (Self-Analysis) ผมได้เข้าใจว่าความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) แบ่งออกเป็น 2 แบบ

แบบแรก การเข้าอกเข้าใจในระดับความคิดหรือมุมมอง (Cognitive Empathy)

แบบที่สอง การเข้าอกเข้าใจในระดับความรู้สึก (Emotional Empathy)

การเข้าใจความรู้สึกด้วยความรู้สึกมีความลึกซึ้งมากกว่าการเข้าใจความรู้สึกด้วยความคิดอย่างมาก มันคือการที่เราอยู่ตรงนั้น เพื่อรับรู้และสัมผัสถึงอารมณ์เขาอย่างแท้จริงว่า “ตัวเขา” จะรู้สึกอย่างไร แต่จากงานวิจัยพบว่าก็มีจุดที่ต้องระวังตรงที่ยิ่งมีความเข้าใจความรู้สึกหรือ Emotional Empathy มากอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า 

อย่างไรก็ตาม เราอาจไม่สามารถเข้าใจมุมมองหรือความรู้สึกได้เสมอไป แต่แค่เราพยายามที่จะทำนั้นก็เพียงพอแล้วต่อการทำให้เกิดความเข้าอกเข้าใจแล้ว (Empathy) แล้วความสัมพันธ์ที่ดีก็จะค่อยๆ ก่อตัวขึ้น เพราะบนโลกนี้ไม่มีของขวัญไหนดีไปกว่าความเข้าอกเข้าใจแล้ว

เวลาที่หัวใจของเรากำลังร้องไห้ สิ่งที่เราต้องการ ไม่ใช่คำแนะนำ แต่คือคนที่นั่งอยู่ข้างๆ ด้วยความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) และรับฟังอย่างไม่ตัดสิน-ตีตรา ใจร้ายใส่กันให้น้อยลง เพิ่มความเข้าอกเข้าใจกันให้มากขึ้น ตัดสินกันให้น้อยลง ก้าวเข้าไปอยู่ในโลกของอีกฝ่ายให้มากขึ้น

งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า กลุ่มคนที่ประสบความสำเร็จ มีความสัมพันธ์ที่ดี มีชีวิตที่มีความหมาย เป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับ ล้วนมีแนวโน้มที่จะมีความเข้าอกเข้าใจที่สูง (Empathy) มันจะดีแค่ไหนหากสังคมเราเต็มไปด้วยคนที่มีความเข้าอกเข้าใจ สื่อสารและใช้ชีวิตกันด้วยความรู้สึกว่าเราเป็นมนุษย์เช่นเดียวกัน ไม่ดูถูก เหยียดหยาม ตัดสิน เพราะเราเข้าใจดีว่าแค่ใช้ชีวิตทุกวันนี้ก็มีความทุกข์มากพอแล้ว

5 หลุมพรางของความเข้าอกเข้าใจ (Empathy Trap)

1. สิ่งที่แตกต่างอย่างชัดเจน ความเห็นอกเห็นใจ (Sympathy) ต่างจากความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) อย่างชัดเจนคือ การเอาความรู้สึกตัวเองเป็นที่ตั้งในการมองเหตุการณ์ว่ารู้สึกอย่างไร โดยไม่ได้ทำเข้าใจความรู้สึกหรือความคิดของคนที่ตรงหน้า และอาจรู้สึกเหนือกว่าโดยไม่รู้ตัวด้วย เช่น เพื่อนสอบตก Empathy จะบอกว่าฉันสัมผัสได้ว่าเธอกำลังรู้สึกเศร้า Sympathy จะบอกว่า สงสารเธอจังเลย ไม่เป็นไรนะ (ไม่ได้เข้าใจคนตรงหน้า แต่เอาความรู้สึกตัวเองเป็นที่ตั้ง) สิ่งที่ต้องรู้คือ ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้สึกดีกับการได้รับความเห็นอกเห็นใจ (Sympathy) เพราะเขาอาจรู้สึกว่าตัวเองด้อยกว่าได้ มีคนจำนวนมากที่ไม่ชอบการถูกสงสาร

Sympathy จะทำให้คนถอยห่างออกจากกัน เพราะไม่ได้เกิดความเข้าใจ แต่ Empathy จะทำให้เราเชื่อมเข้าใกล้กันมากขึ้น

2. ประสบการณ์ที่ใกล้กัน อาจทำให้อินแล้วเผลอเอาตัวเองเข้าไปตัดสินแทนที่จะทำความเข้าใจจากมุมของเขา ซึ่งเป็นปกติของมนุษย์ที่จะเชื่อมโยงสิ่งที่เจอกับประสบการณ์ตัวเอง ต้องคอยเตือนตัวเองว่านี่คือเรื่องราวของเขา

3. ประสบการณ์ที่ห่างไกลกัน จะทำให้เราเชื่อมโยงประสบการณ์ได้ยากขึ้น เหมือนเวลาที่เพื่อนพูดถึงวงเกาหลีถ้าเราชอบอยู่แล้วเราก็จะเข้าใจได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าไม่ได้สนใจเป็นทุนเดิมก็ทำให้ต้องใช้พลังงานมากขึ้น ประสบการณ์ที่แตกต่างกันอาจทำให้เหนื่อยที่ต้องใช้พลังงานแล้วปล่อยเบลอไม่สนใจ

4. ให้ความเข้าอกเข้าใจคนอื่นเกินไปจนเหนื่อยล้า หรือที่เรียกว่าการหมดไฟ (Burnout) นี่คือสัญญาณสำคัญให้เราหาโอกาสกลับมาดูแลหัวใจตัวเอง หรือที่เรียกว่า Self-Empathy นั่นเอง

5. อคติที่เกิดจากความใกล้ชิด (Closness-Communication Bias) ยิ่งเราใกล้ชิดใครมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีโอกาสที่เราจะละเลยการเข้าใจเขามากยิ่งขึ้น เพราะเราจะคิดว่าเรารู้จักเขาดีอยู่แล้ว รู้อยู่แล้วว่าเขาจะพูดอะไรก็เลยไม่ได้ให้ความสำคัญ แต่นั่นกลับยิ่งทำให้เราห่างเหินและไม่เข้าใจกันมากเท่านั้น ดังนั้น อย่าลืมมอบความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) ให้คนใกล้ชิดนะครับ

แล้วจะฝึกความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) อย่างไร ?

เป็นที่ถกเถียงกันว่าความเข้าอกเข้าใจเป็นสิ่งที่สอนได้หรือไม่ ฝั่งหนึ่งบอกว่าความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) ไม่สามารถสอนได้ อีกฝั่งบอกว่าความเข้าอกเข้าใจสามารถสอนได้  ผมขอยกตัวอย่างการเปรียบเทียบของเอดิท ชไตน์ (Edith Stein) นักปรากฎการณ์วิทยา เขาบอกว่าความเข้าอกเข้าใจเหมือนกับการตกหลุมรักตรงที่เราไม่สามารถบังคับให้มันเกิดได้ เราอาจอยากตกหลุมรักคนหนึ่ง แต่เราก็บังคับตัวเองไม่ได้ รู้ตัวอีกทีเราก็ตกหลุมรักไปซะแล้ว มันเหมือนความเข้าอกเข้าใจตรงที่เราไม่สามารถบอกให้ใคร ‘รู้สึก’ ได้ เราไม่สามารถบอกให้ตัวเองรักได้ แต่เราสามารถบอกองค์ประกอบ (Facilitate) ของการเกิดความรู้สึกเหล่านั้นได้ แล้วถ้าทำตามองค์ประกอบนั้นแล้วความเข้าอกเข้าใจก็อาจจะเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ

คำแนะนำในการฝึกความเข้าอกเข้าใจ (Empathy)

1. เอาตัวเองไปอยู่ใกล้คนที่มีความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) เช่น ผู้ใหญ่ที่มีความโอบอ้อมอารี นักจิตวิทยา คนที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องจิตใจ แล้วค่อยๆ ซึมซับสังเกตความรู้สึกของการมีคนเข้าอกเข้าใจ แล้วค่อยๆ เลียนแบบวิธีการส่งต่อความรู้สึกดีๆ เหล่านั้น

2. ฝึกการตั้งใจฟังอย่างลึกซึ้ง เริ่มต้นด้วยการฟังโดยไม่ตัดสินว่าอะไรถูก-ผิด ตั้งใจฟังเพื่อให้เกิดความเข้าใจไม่ใช่ฟังเพื่อรอตอบกลับ

3. พยายามอยู่กับปัจจุบัน ละวางความกังวลของตัวเองลงแล้วอยู่กับที่อยู่ตรงหน้าจริงๆ เพราะความวิตกกังวลเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราไม่สามารถเข้าใจคนที่อยู่ตรงหน้าได้

4. เรียนรู้จุดบอด อคติ หรือสิ่งที่กระตุ้นให้มีอารมณ์ได้ง่ายเพื่อให้เท่าทันตัวเองไม่ให้จมไปอารมณ์เหล่านั้น

5. ฝึกมองเห็นคุณค่าในตัวเอง (Self-Esteem) เชื่อมั่นในสิ่งที่เป็นข้อดีเพื่อให้เห็นคุณค่าในตัวเอง การที่เรารู้สึกดีกับตัวเองจะทำให้เราทำความเข้าใจคนอื่นได้ง่ายขึ้น ดร.แนท ฐิตาภา นักจิตบำบัด กล่าวว่า “หากเรามีวุฒิภาวะ (Maturity) ความสามารถในการจินตนาการถึงมุมมองของผู้อื่นก็จะมากขึ้น วุฒิภาวะ (maturity) เกิดจากการที่เราเห็นคุณค่าในตัวเอง เชื่อมั่นและมั่นใจในความสามารถรวมถึงสิ่งที่ตนเองมี ในขณะที่วุฒิภาวะ (maturity) จะลดทอนลงเมื่อเราเกิดความรู้สึกวิตกกังวล ความสงสัยในตนเอง รู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ”

สำหรับผม การมีความเข้าอกเข้าใจเป็นของขวัญของมนุษย์ที่ดีที่สุดเท่าที่มนุษย์คนหนึ่งจะมอบให้กันได้ นอกจากผู้รับ Empathy จะมีความสุขแล้ว ตัวผู้ให้เองก็จะได้ฝึกบ่มเพาะความเข้าอกเข้าใจในหัวใจตัวเองก่อนด้วย เพราะมันเป็นไปไม่ได้เลยหากเราจะให้ Empathy ผู้อื่น โดยที่ยังไม่มีเมล็ดพันธุ์นั้นในหัวใจ

การมีความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) เป็นเรื่องที่ดี และจะดียิ่งหากเราสามารถหาสมดุลระหว่างการมีความเข้าอกเข้าใจต่อผู้อื่น และความเข้าอกเข้าใจต่อตัวเอง (Self-Empathy) เพราะถ้ามีให้คนอื่นเยอะเกินไปจนลืมให้ความสำคัญตัวเองก็จะส่งผลเสีย แต่หากให้ความสำคัญตัวเองจนหมกหมุ่นเกินไปก็เป็นผลเสียเช่นกัน ชีวิตที่ดีจึงเป็นการหาสมดุลของหัวใจ

มาเริ่มปลูกเมล็ดพันธุ์แห่งความเข้าอกเข้าใจด้วยกันนะครับ

อ้างอิง

Davis, C. M. (1990). What is empathy, and can empathy be taught?. Physical therapy, 70(11), 707-711.

Wiseman, T. (1996). A concept analysis of empathy. Journal of advanced nursing, 23(6), 1162-1167.

 Yan, Z., Zeng, X., Su, J., & Zhang, X. (2021). The dark side of empathy: Meta‐analysis evidence of the relationship between empathy and depression. PsyCh Journal, 10(5), 794-804.

แนท ฐิตาภา. (2563). Empathy สิ่งที่ไม่สามารถสอนกันได้. สืบค้น 28 มิถุนายน 2565, จาก https://web.facebook.com/told.psychologist/photos/a.125878814749186/540803336590063/

Tags:

ความเข้าอกเข้าใจ(empathy)ความรู้สึกการตัดสิน

Author:

illustrator

ชัค ชัชพงศ์

นักจิตวิทยาที่เขียนบทความเพื่อช่วยให้คนเข้าใจตัวเองและคนรอบข้าง FB: Chuck Chatpong

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • emotional corrective experience-cover
    Healing the trauma
    บาดแผลทางใจอาจลึกเกินกว่าจะเยียวยาด้วยความคิด การเปลี่ยนแปลงต้องเกิดที่ความรู้สึกด้วย (emotional corrective experience)

    เรื่อง ชัค ชัชพงศ์ ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • How to enjoy life
    เก็นจิ เก็นบุตซึ (Genchi Genbutsu):  ไปให้เห็นกับตา ค้นหาความจริงและไม่ด่วนตัดสิน

    เรื่อง ปริพนธ์ นำพบสันติ ภาพ ninaiscat

  • Movie
    Hometown Cha Cha Cha: ทะเลาะกันไม่ใช่ประเด็น แต่คือเรา ‘เอมพาตี้’ คนตรงหน้าแค่ไหน

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • How to enjoy lifeBook
    DESIGNING YOUR LIFE: ปัญหาที่แก้ไม่ได้ไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นสถานการณ์ไม่ต่างกับ ‘แรงโน้มถ่วง’

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • EF (executive function)
    เราแค่ ‘รู้’ แต่เราไม่ ‘รู้สึก’ การศึกษาไทยจึงถูกทิ้งไว้กลางทาง : เดชรัต สุขกำเนิด

    เรื่อง

Posts navigation

Older posts

Recent Posts

  • ‘นิทานปากเปล่า’ เล่าความรักให้ลูกฟัง สร้างจินตนาการ สานสัมพันธ์ในครอบครัว: แม่จาว – วัชราวรรณ เพชรบุล
  • ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP4: การซึมซับและปรับตัว 
  • เปลี่ยนระบบนิเวศโรงเรียนเป็นสนามพลังบวก ยกระดับเด็กด้อยโอกาสสู่เด็กได้โอกาส: ผอ.วรรณรักษ์ หงษ์ทอง
  • F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง
  • Myth Universe : จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์สู่ Edutainment ความรู้นอกห้องเรียนที่เริ่มต้นจากคำถามและการเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง

Recent Comments

  • Existential crisis: วิกฤตชีวิตที่มาพร้อมกับคำถาม “แล้วฉันอยู่เพื่ออะไร” – EducationNet on Midlife Crisis: เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ทำไมใจถึงวิกฤต
  • The Psychological Wounds of Winnie the Pooh and His Friends: Exploring Characters from a Classic Literary Work - World Today News on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • Exploring the Psychological Wounds of Winnie the Pooh and Friends: A Fascinating Analysis - Archyde on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • 6 วิธีฝึกสอนให้ลูกเป็นเด็กมี Critical Thinking ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต – โรงเรียนมารีวิทยา ป on CRITICAL THINKING: สอนเด็กให้รู้คิด ผิดหรือถูกก็ใช้วิจารณญาณเป็น
  • Best รูป พลเมือง ดี Update New – Haiduongcompany.com on สอนและสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เรื่องไม่ง่ายที่ครูทำได้

Archives

  • July 2025
  • June 2025
  • May 2025
  • April 2025
  • March 2025
  • February 2025
  • January 2025
  • December 2024
  • November 2024
  • October 2024
  • September 2024
  • August 2024
  • July 2024
  • June 2024
  • May 2024
  • April 2024
  • March 2024
  • February 2024
  • January 2024
  • December 2023
  • November 2023
  • October 2023
  • September 2023
  • August 2023
  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • October 2021
  • September 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • April 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • November 2019
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017

Categories

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Uncategorized
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel