Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย

Month: February 2022

ชวนเด็กเปื้อนดิน ติดตั้ง ‘สมรรถนะการอยู่กับธรรมชาติและวิทยาการ’ ให้เขาอยู่รอดและอยู่ร่วมกับโลกได้อย่างยั่งยืน
Character building
16 February 2022

ชวนเด็กเปื้อนดิน ติดตั้ง ‘สมรรถนะการอยู่กับธรรมชาติและวิทยาการ’ ให้เขาอยู่รอดและอยู่ร่วมกับโลกได้อย่างยั่งยืน

เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • ปัจจุบันเส้นแบ่งระหว่างธรรมชาติกับเทคโนโลยีกำลังค่อยๆ เลือนลางลง เพราะเทคโนโลยีเข้ามาบทบาทกับชีวิตมากขึ้น อีกทั้งสภาพสังคมก็ทำให้คนเราห่างไกลจากธรรมชาติมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ลึกๆ แล้วจิตใต้สำนึกของมนุษย์ยังคงโหยหาพลังจากธรรมชาติ
  • ‘สมรรถนะการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน’ เป็นหนึ่งในสมรรถนะหลัก 6 ด้าน ในหลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่มุ่งหวังให้เด็กรู้เท่าทันวิทยาการเทคโนโลยี เห็นคุณค่า สามารถแก้ปัญหา หรือสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่ออยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
  • นับจากนี้โลกยังต้องการนักคิดและนวัตกร ที่มีวิทยาการและเทคโนโลยีในการปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมธรรมชาติให้อยู่คู่กันได้อย่างยั่งยืน

ธรรมชาติ วิทยาการและเทคโนโลยีกำลังหลอมรวมกัน

แล้วเราจะสร้างความยั่งยืนจากความเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างไร?

ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เจน (Generation) ไหน การรับมือกับความเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับทุกคน โดยเฉพาะเมื่อต้องตั้งรับกับสิ่งที่ไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเห็น และไม่เคยมีอยู่มาก่อน นวัตกรรมถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาทุกยุคทุกสมัย ด้วยวัตถุประสงค์และเป้าหมายแตกต่างกันไป ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยี เครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบายขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงการพัฒนาในระดับเซลล์ ดีเอ็นเอ ไมโครไบโอม และสมอง ที่เกี่ยวข้องกับร่างกายของมนุษย์ รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ 

ด้านหนึ่งกล่าวได้ว่าวิทยาการที่ก้าวหน้าทำให้มนุษย์เข้าใจสรรพชีวิตมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ทำให้รู้ว่ามนุษย์ไม่ใช่แค่สัตว์สังคม ที่ต้องการปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตเท่านั้น แต่การมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ต้องพึ่งพาจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตหลายล้านชนิดในอาหาร อากาศ น้ำและสิ่งแวดล้อมรอบตัว มนุษย์สามารถคิดค้น ประดิษฐ์ สิ่งอำนวยความสะดวก วิธีการควบคุม ป้องกัน และจัดการดูแลชีวิตได้ ล้ำหน้าไปถึงการเดินทางนอกโลกที่ไปไกลเกินกว่าแค่ดวงจันทร์

ขณะเดียวกันเทคโนโลยีได้ถูกพัฒนาและพัฒนาตัวเองถึงขนาดที่สามารถเรียนรู้เพื่อเข้าใจความรู้สึกของมนุษย์และคาดการณ์พฤติกรรมของมนุษย์ได้ ไม่ใช่แค่สมาร์ทโฟน แต่มนุษย์จะอาศัยภายในบ้านที่เป็นสมาร์ทโฮม – แค่ติดตั้งอุปกรณ์ เซ็ตระบบนิดหน่อย แล้วเอ่ยปากบอกให้อเล็กซา (Alexa) สั่งการอุปกรณ์ภายในบ้าน เช่น เปิดไฟ ตั้งเวลาเตาอบ โดยไม่ต้องใช้มือสัมผัส คำกล่าวที่ว่า “คลิกเดียวแค่ปลายนิ้วสัมผัส” จะเปลี่ยนไปตลอดการ อีกไม่กี่ปีข้างหน้าเราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงด้านนี้ชัดเจนขึ้น จากรถที่ใช้น้ำมันกลายเป็นรถสมาร์ทคาร์ที่ติดตั้งโปรแกรทขับเคลื่อนเองได้ มนุษย์จะอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ชาญฉลาดและตอบสนองความต้องการของเราได้มากขึ้นนั่นหมายความว่า เส้นแบ่งระหว่างสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ วิทยาการและเทคโนโลยีกำลังค่อยๆ เลือนราง นำมนุษย์เข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม…ครั้งใหม่!!

Biophilia ความผูกพันโดยกำเนิดที่มนุษย์มีต่อธรรมชาติ และการอยู่ร่วมกับวิทยาการอย่างยั่งยืน

ไบโอฟิลเลีย (Biophilia)เป็นแนวคิดที่ถูกเอ่ยถึงโดย เอ็ดเวิร์ด โอ. วิลสัน (Edward O. Wilson) ช่วงราวปี 1984 คำว่า ‘biophilia’ มาจากรากศัพท์ภาษาอังกฤษ 2 คำ ได้แก่ ‘Bios’ แปลว่า ชีวิต และ ‘Phila’ แปลว่า ความรักในเชิงมิตรภาพและความเท่าเทียมกัน แนวคิดนี้อธิบายว่าการหลงรักหรือรู้สึกดีเมื่ออยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติของมนุษย์ไม่ได้เป็นแค่ความรู้สึกหรืออารมณ์ แต่เพราะมนุษย์ถูกเข้ารหัสทางพันธุกรรมเชื่อมโยงและเป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติ เห็นได้จากเด็กๆ ที่มีความสนใจอยากรู้อยากเห็นสิ่งมีชีวิตรอบตัว อยากเล่นกับดินกับทรายถึงแม้จะเลอะเทอะและสกปรก 

พ่อแม่เองต่างหากที่ปิดกั้นไม่ให้ลูกได้เปิดประสาทสัมผัสกับธรรมชาติเหล่านี้ เพราะความกลัว ความกังวลว่า ‘อันตราย’ ‘ไม่ปลอดภัย’ ‘ไม่ดีต่อสุขภาพ’ วันเวลาผ่านไปเด็กๆ เติบโตขึ้นและยิ่งถูกจำกัดอยู่ในห้อง – ห้องที่บ้าน ห้องเรียน การเรียนในชั้นเรียนที่โฟกัสความรู้ในตำรามากกว่าวิถีชีวิตรอบตัว เมื่อเข้าสู่วัยทำงานสภาพสังคม การประกอบอาชีพอาจทำให้ความสัมพันธ์และความผูกพันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติเลือนหายไป แต่ลึกๆ แล้วจิตใต้สำนึกของมนุษย์ยังคงโหยหาพลังจากธรรมชาติ

จากการสำรวจพบว่า กว่าร้อยละ 76 ของมนุษย์ทั่วโลกเผชิญหน้ากับปัญหาการจัดการคุณภาพชีวิตทั้งกายและใจ

ไม่น่าแปลกใจที่อาชีพไลฟ์โค้ช นักบำบัด เทรนเนอร์ นักโภชนาการ และที่ปรึกษาด้านต่างๆ ได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วโลกในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งนี้เพราะมนุษย์กำลังต้องการความช่วยเหลือ โดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตามธรรมชาติเป็นหัวใจสำคัญในการอยู่รอดของมนุษย์ ขณะที่วิทยาการก้าวล้ำไปข้างหน้า มนุษย์มีความพยายามนำธรรมชาติเข้ามาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในชีวิตด้วยเสมออิทธิพลของไบโอฟิลเลียเห็นได้ชัดในงานออกแบบที่เรียกว่า ‘Biophilic Design’ การออกแบบและจัดวางพื้นที่ทำงาน ที่พักอาศัย พื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่ภายในอาคาร ให้เชื่อมโยงวิถีชีวิตของมนุษย์เข้ากับองค์ประกอบทางธรรมชาติ ด้วยวิถีการทำงานที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่ทำงานและที่บ้าน วิถีคนเมืองที่อยู่ในป่าคอนกรีต ก่อให้เกิดความเครียด อึดอัด เป็นต้นเหตุของโรคเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น

บทความเรื่องออกแบบธรรมชาติอย่างไรให้ ธรรมชาติบำบัด (Biophilic Design)’ โดย ศุภาศัย วงศ์กุลพิศาล เผยแพร่โดยศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ หรือ ทีซีดีซี (TCDC: Thailand Creative and Design Center) นำเสนอการศึกษาเกี่ยวกับการคลุกคลีกับธรรมชาติและผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้พักอาศัย พบว่า ผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ใกล้ชิดกับพื้นที่สีเขียว แวดล้อมด้วยธรรมชาติ มีความสามารถในการจัดการชีวิตของตัวเองได้ดีกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยคอนกรีต

การศึกษาครั้งนี้จัดทำขึ้นในบริเวณย่านเสื่อมโทรมของชิคาโก (Chicago) สหรัฐอเมริกา ทางเมืองได้สร้างอพาร์ทเมนต์ให้เป็นที่อยู่อาศัยทางเลือกของผู้ที่มีรายได้จำกัด ผู้พักอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน 2 แบบ แบบแรกเป็นอาคารที่รายล้อมไปด้วยพื้นเทคอนกรีต ยางมะตอย และแบบที่สองเป็นอาคารที่รายล้อมไปด้วยพื้นที่สีเขียวและต้นไม้ใหญ่

 ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้พักอาศัยในอาคารที่มีลักษณะเป็นคอนกรีตโดยรอบ เมื่อเจอกับปัญหาใหญ่ๆ ในชีวิต พวกเขามักหนีและผลักปัญหาออกไป มีลักษณะนิสัยผลัดวันประกันพรุ่ง ประเมินว่าปัญหาของตัวเองเป็นปัญหาที่ยากและไม่สามารถแก้ไขได้ อีกทั้งยังใช้เวลาในการแก้ปัญหานานกว่ากลุ่มผู้ที่อยู่อาศัยในอาคารที่รายล้อมไปด้วยพื้นที่สีเขียว ขณะที่ผู้พักอาศัยท่ามกลางธรรมชาติสามารถยอมรับและรับมือกับปัญหาได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่นๆ ที่พบว่า

การอยู่อาศัยใกล้กับพื้นที่สีเขียวทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านความจำดีขึ้น มีสุขภาพกายใจดีขึ้น 

ข้อค้นพบเหล่านี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการจัดสภาพแวดล้อมที่บ้าน โรงเรียน ในบ้านและในชั้นเรียนได้ รวมถึงการสร้างการเรียนรู้ให้เด็กเยาวชนได้สัมผัสใกล้ชิดกับธรรมชาติ เช่น การปลูกพืชผักสวนครัว การปลูกต้นไม้ การดูแลรักษาความสะอาดภายในบ้านและในโรงเรียน เป็นต้น

ร่องรอยของวิทยาการที่มีทั้งด้านบวกและด้านลบ

แม้ธรรมชาติคือความอยู่รอดของมนุษย์และมนุษย์ผูกพันกับธรรมชาติ สิ่งที่น่าเศร้าคือ ตลอดเวลาที่ผ่านมามนุษย์เองก็เป็นผู้ทำลายธรรมชาติ การปฏิวัติอุตสาหกรรมช่วงปี 1760 – 1850 ที่หลายคนมองว่าเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ แต่อีกหลายคนมองว่าเป็นความล้มเหลวที่ประเมินค่าไม่ได้    ผลลัพธ์จากการปฎิวัติอุตสาหกรรมทำให้โลกเต็มไปด้วยตึกระฟ้า ยานพาหนะ อาหารจานด่วน (ทำลายสุขภาพ) และโรงงานที่ผลิตทุกอย่างเพื่อการอุปโภคบริโภค ระบบทุนนิยมที่กระตุ้นความต้องการบริโภคมากเกินความจำเป็น  ความเปลี่ยนแปลงที่สร้างความสะดวกสบายให้มนุษย์แต่ทำลายระบบนิเวศน์อย่างมหาศาล ด้วยกระบวนการผลิตที่ใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติ และกระบวนการบริโภคที่ผลิตของเสียปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม มนุษย์ได้รับบทเรียนและผลกระทบมากมาย เห็นได้จากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งทั่วทุกมุมโลก จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

ความหวังและการอยู่รอดของมนุษ์จึงต้องการธรรมชาติ วิทยาการและเทคโนโลยีที่หลอมรวมและเกื้อกูลกัน

หลักสูตรสมรรถนะให้ความสำคัญกับธรรมชาติและวิทยาการเช่นเดียวกัน โดยนิยาม ‘สมรรถนะการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน’ หมายถึง การมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับปรากฎการณ์ของโลก เอกภพและความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และธรรมชาติในชีวิตประจำวัน ใช้และรู้เท่าทันวิทยาการเทคโนโลยี มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต เห็นคุณค่า สามารถแก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ เพื่อการดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน 

สมรรถนะด้านนี้อาศัยการเรียนรู้ ฝึกฝนทักษะ และสร้างความเข้าใจผ่านประสบการณ์ชีวิต ทั้งความฉลาดทางปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์

‘ธรรมชาติ’ เป็นตัวอย่างที่แสดงให้มนุษย์เห็นถึงความมหัศจรรย์ของการปรับตัวและสร้างสมดุลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน ด้าน ‘วิทยาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม’ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตมนุษย์ ยังเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องเรียนรู้และหาสมดุลระหว่างกันให้ได้ 

นับจากนี้โลกต้องการนักคิดและนวัตกรจากทุกสาขาอาชีพที่เปิดรับเทคโนโลยีแต่ไม่ละทิ้งธรรมชาติ สร้างสรรค์เทคโนโลยีที่สามารถปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมธรรมชาติให้อยู่คู่กันได้อย่างยั่งยืน

แทนที่จะนำวิทยาการและเทคโนโลยีมาแทนที่ธรรมชาติ เราจะใช้เทคโนโลยีเป็น ‘เครื่องมือ’ ช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาธรรมชาติให้ดีขึ้นได้อย่างไร?
การพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน เช่น การทำให้โซลาเซลล์เข้าถึงทุกครัวเรือน
โรงงานที่มีระบบกำจัดน้ำเสียแล้วหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่
การทำการเกษตรปลอดสารเคมีที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาและเพิ่มผลผลิต
แน่นอนว่าหลายๆ เรื่องต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ในฐานะพลเมืองที่เข้มแข็ง เราสามารถลงมือทำสิ่งที่ทำได้ในทันที เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ในชุมชนของเรา เตรียมความพร้อมสำหรับความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต

อ้างอิง

https://medium.com/thebeammagazine/a-connected-future-between-nature-and-technology-a13aa222c18d

https://grist.org/science/nature-and-technology-are-merging-what-does-that-mean-for-sustainability/

https://thriveglobal.com/stories/the-role-of-technology-in-bridging-the-gap-between-humans-and-nature/

https://www.humansandnature.org/how-can-we-live-respectfully-with-the-land-and-with-one-another-how-to-find-mother-nature-in-the-age-of-technology

https://www.forbes.com/sites/peterbarrett/2021/03/15/what-does-nature-think-of-human-technology/?sh=386ed607fbf9

Tags:

การเรียนรู้เด็กnaturescienceธรรมชาติCompetency-based Curriculum

Author:

illustrator

วิภาวี เธียรลีลา

นักเขียนอิสระที่อยากเข้าใจวิถีชีวิตผู้คน เลยพาตัวเองไปใช้ชีวิตในลอนดอน ปักกิ่ง เซินเจิ้นและอเมริกา กินมังสวิรัติ อินกับโภชนาการ กำลังเรียนเป็นนักปรับพฤติกรรมสุนัขและชอบกินกาแฟใส่ฟองนม

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Space
    วางจอมาจับกบ เล่น เลอะ เรียนรู้ที่ ‘ป้าจิ๊บฟาร์ม’: คุยกับ วิน-สินธุประมา

    เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง

  • Education trend
    ความผิดพลาดของการสอนวิทยาศาสตร์ที่อาจพาประเทศชาติหลงทาง

    เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์

  • Learning Theory
    ทำไมเราควรมองพัฒนาการเรียนรู้ผ่าน ‘ม่านวัฒนธรรม’

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Movie
    Like Stars on Earth: ไม่มีเด็กคนไหนไร้ค่า ขอแค่แสงสว่างจากใครสักคนเพื่อเปล่งประกาย

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Everyone can be an Educator
    เรียนรู้นอกกรอบ กับอดีตครูนอกคอก: อาจารย์จำลอง บัวสุวรรณ์ ผู้ก่อตั้ง ‘กลุ่มลูกหว้า’ เยาวชนก่อการดีแห่งเมืองเพชร

    เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง ภาพ สิริเชษฐ์ พรมรอด

เจ้าชายน้อย : นิยายรักจากดาว B612
Book
11 February 2022

เจ้าชายน้อย : นิยายรักจากดาว B612

เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • ค้นหาความหมายและความรักที่ซุกซ่อนอยู่ในวรรณกรรมเยาวชนที่มีคนรักมากที่สุดเล่มหนึ่ง หนึ่งในหนังสือที่ขายดีที่สุดในโลก ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ มากที่สุด
  • ‘เจ้าชายน้อย’ ผลงานของ อองตวน เดอ แซงเตก-ซูเปรี แก่นหลักของหนังสือเล่มนี้คือ ความเป็นเด็กของเจ้าชายน้อย ผู้มองโลกอย่างบริสุทธิ์ ใสซื่อ ตรงไปตรงมา และเปี่ยมด้วยจินตนาการ
  • แม้สไตล์การเล่าเรื่องจะดูเรียบง่ายแต่โทนของหนังสือกลับดูหม่นเศร้า แฝงไว้ด้วยเรื่องราวความรักความสัมพันธ์ในชีวิตจริงของแซงเตก-ซูเปรี โดยเฉพาะเรื่องราวของดอกกุหลาบและสุนัขจิ้งจอก

หากมีคนถามว่า หนังสือเล่มไหน คือนิยายรักโรแมนติกที่สุดในความรู้สึกของคุณ คุณจะตอบว่าอะไร

สำหรับผมแล้ว คำตอบคือ ‘เจ้าชายน้อย’ ครับ

หลายคนอาจจะงง “เอ๊ะ เจ้าชายน้อย นี่มันวรรณกรรมเยาวชนที่ขายดีที่สุดในโลกไม่ใช่เหรอ” ใช่ครับ เจ้าชายน้อยเล่มนั้นแหละครับ

เจ้าชายน้อย (Le Petit Prince ในภาษาฝรั่งเศส หรือ The Little Prince ในภาษาอังกฤษ) เป็นผลงานของ อองตวน เดอ แซงเตก-ซูเปรี ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นหนึ่งในวรรณกรรมเยาวชนที่มีคนรักมากที่สุด และเป็นหนึ่งในหนังสือที่ขายดีที่สุดในโลก (ยอดขายกว่า 140 ล้านเล่ม) และได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ มากที่สุด (มากกว่า 300 ภาษา) รวมถึงภาษาไทยที่มีการแปลออกมาหลายฉบับ แต่ฉบับที่ผมหยิบมาใช้อ้างอิงในบทความนี้ คือ ฉบับแปลโดย อำพรรณ โอตระกูล

หนังสือเล่มนี้ บอกเล่าเรื่องราวของนักบินคนหนึ่ง ที่เครื่องบินตกกลางทะเลทราย ระหว่างที่นักบิน ซึ่งก็คือ แซงเตก-ซูเปรี พยายามซ่อมเครื่องบินและรอความช่วยเหลือ เขาได้พบกับเด็กชายผมทองคนหนึ่ง ซึ่งต่อมาได้รู้จักในชื่อ เจ้าชายน้อย ผู้เดินทางมาจากดาวเคราะห์น้อยที่มีชื่อว่า B612

เจ้าชายน้อยได้เล่าเรื่องราวของตัวเองให้แซงเตก-ซูเปรีฟัง ตั้งแต่ชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงกระจิ๋ว ที่มีเพียงเจ้าชายน้อย ดอกกุหลาบแสนสวย และภูเขาไฟ 3 ลูก ไปจนถึงการออกเดินทางจากดาวบ้านเกิด ท่องไปยังดาวเคราะห์ดวงต่างๆ ได้พบปะผู้คนที่หลากหลาย ตั้งแต่พระราชา ผู้มองว่า ทุกคนล้วนคือข้าราชบริพารที่ต้องเชื่อฟังคำสั่งของพระองค์, คนหลงตนเอง ผู้มีความสุขก็ต่อเมื่อมีคนนิยมชมชอบ, นักดื่ม ผู้ดื่มเพื่อให้ลืมความอับอายในเรื่องที่ตนเป็นนักดื่ม, นักธุรกิจ ผู้หมกมุ่นกับตัวเลขและความมั่งคั่ง, คนจุดโคมไฟ ผู้ทุ่มเททุกอย่างที่มีให้กับงานที่รับผิดชอบ จนไม่มีเวลาเหลือให้กับชีวิต และนักภูมิศาสตร์ ผู้ให้ความสำคัญแต่กับสิ่งที่อยู่ยงคงทน เช่น ภูเขาหรือแม่น้ำ แต่มองข้ามสิ่งที่ไม่จีรังยั่งยืน เช่น ดอกไม้

และสุดท้าย การเดินทางมาถึงดาวเคราะห์สีฟ้าที่มีชื่อว่า โลก ซึ่งทำให้เจ้าชายน้อยได้พบกับแซงเตก-ซูเปรี

แก่นหลักของหนังสือเล่มนี้ คือ ความเป็นเด็กของเจ้าชายน้อย ผู้มองโลกอย่างบริสุทธิ์ ใสซื่อ ตรงไปตรงมา และเปี่ยมด้วยจินตนาการ

ขณะที่ความเป็นผู้ใหญ่ ถูกแทนความหมายในทางลบ ด้วยภาพของผู้คนหลากหลายอาชีพบนดวงดาวต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่ยึดติดในอัตตาที่มาในรูปแบบต่างๆ และที่สำคัญ ความเป็นผู้ใหญ่ในเรื่องราวของเจ้าชายน้อย คือ ความแห้งแล้งไร้ซึ่งจินตนาการ

แม้ว่าสไตล์การเล่าเรื่องจะเรียบง่ายคล้ายนิทานสำหรับเด็ก  แต่โทนของหนังสือที่หม่นเศร้าและมีท่วงทำนองราวบทกวี ทำให้นักวิจารณ์จำนวนมาก เลี่ยงที่จะระบุว่า เจ้าชายน้อยเป็นวรรณกรรมสำหรับเด็ก โดยพูดอ้อมๆ แค่ว่า เป็นเรื่องราวที่เต็มไปด้วยจินตนาการเหนือจริงแบบเด็กๆ แต่มีความซับซ้อนหลายระดับ

โดยส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่า เจ้าชายน้อย ไม่ใช่วรรณกรรมสำหรับเด็ก ในแบบเดียวกับวรรณกรรมสำหรับเด็กเล่มอื่นๆ อาทิ แมงมุมเพื่อนรัก บ้านเล็กในป่าใหญ่ หรือแม้กระทั่งหนังสือชุดแฮร์รี พ็อตเตอร์ หากแต่เป็นหนังสือที่เขียนเพื่อให้นักอ่านที่เป็นผู้ใหญ่ ได้หวนระลึกถึงตัวตนความเป็นเด็ก ที่อาจถูกหลงลืมไปตามกาลเวลา

แซงเตก-ซูเปรีเอง ก็อาจคิดเช่นนั้น เขามอบคำอุทิศของหนังสือเล่มนี้ให้กับเพื่อนรักของเขาที่มีชื่อว่า เลออง แวร์ท โดยเขียนไว้ว่า 

“ผู้ใหญ่ทุกคนเคยเป็นเด็กมาก่อนแล้วทั้งนั้น แต่น้อยคนนักที่จะหวนระลึกได้…แด่ เลออง แวร์ท สมัยเมื่อเขายังเป็นเด็กน้อย”

แม้ว่าในคำอุทิศจะเขียนไว้เช่นนั้น แต่ผมเชื่อว่า บุคคลที่ แซงเตก-ซูเปรี ตั้งใจอุทิศหนังสือเล่มนี้ให้จริงๆ ก็คือตัวเอง หรือตัวเองสมัยเมื่อเขายังเป็นเด็กน้อย เพราะหลากหลายตัวละครในเรื่องเจ้าชายน้อย ล้วนมาจากเรื่องราวและความรักในชีวิตจริงของเขา

เจ้าชายน้อยกับดอกกุหลาบแสนสวย

อาจกล่าวได้ว่า หากไม่มีดอกกุหลาบ ก็ไม่มีเรื่องราวของเจ้าชายน้อย เพราะดอกกุหลาบ คือ สาเหตุที่ทำให้เจ้าชายน้อยต้องทิ้งดาว B612 ออกเดินทางไปยังดวงดาวต่างๆ ก่อนจะมาถึงดาวเคราะห์โลก และดอกกุหลาบ ก็คือเหตุผลที่ทำให้เจ้าชายน้อย ตัดสินใจละทิ้งร่างอันหนักอึ้งของตัวเอง เพื่อออกเดินทางกลับไปพบดอกกุหลาบแสนรักของเขาอีกครั้ง

ดอกกุหลาบ คือ สิ่งมีชีวิตที่งดงามที่สุดบนดาวบ้านเกิดของเจ้าชายน้อย แต่ก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่บอบบางที่สุดด้วยเช่นกัน ด้วยความบอบบางนั้น ทำให้เธอเรียกร้องต้องการความใส่ใจดูแลอย่างยิ่งยวดจากเจ้าชายน้อย

“ในตอนเย็นเธอจะต้องหาอะไรมาคลุมฉันนะ บนโลกของเธออากาศหนาวจังเลย มันตั้งไม่เหมาะทำเลสู้ที่ที่ฉันมาไม่ได้…”

การเรียกร้องเอาแต่ใจของดอกกุหลาบ ทำให้เจ้าชายน้อยเป็นทุกข์ และตัดสินใจออกเดินทางจากดาวบ้านเกิด เพื่อหนีหน้าไปจากดอกกุหลาบที่แสนเข้าใจยาก

ช่างอ่อนหัดเสียเหลือเกิน! อ่อนหัดเกินกว่าจะรู้ว่า สิ่งที่ดอกกุหลาบเรียกร้อง ไม่ใช่ม่านกั้นลม หรือที่ครอบแก้ว หากแต่เป็น ‘ความรัก’

กว่าที่เจ้าชายน้อยจะรู้เรื่องนี้ ก็เป็นเวลาที่เขาจากเธอมาไกลแสนไกลแล้ว

“ฉันไม่ควรหนีจากเธอมาเลย! ฉันควรจะเห็นความอ่อนหวานที่ซ่อนอยู่ภายใต้มารยาเธอ ดอกไม้ก็มีอารมณ์หวั่นไหวง่ายเช่นนี้เสมอแหละ! แต่ฉันก็อ่อนหัดเกินกว่าจะรู้จักรัก”

ความสัมพันธ์อันซับซ้อน ระหว่างเจ้าชายน้อยกับดอกกุหลาบ แท้ที่จริงแล้ว คือ ภาพสะท้อนชีวิตรักในความเป็นจริง ระหว่างแซงเตก-ซูเปรี กับคอนซูเอโล เดอ แซงเตก-ซูเปรี ภรรยาแสนสวยและบอบบางของเขา

คอนซูเอโล เกิดในครอบครัวเศรษฐีมีอันจะกิน ในประเทศเอลซัลวาดอร์ เธอถูกส่งตัวไปอยู่อเมริกาตั้งแต่ยังเด็ก เพราะที่บ้านเกิด สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อสุขภาพอันแสนเปราะบางจากโรคหอบหืดของเธอ หลังจากนั้น คอนซูเอโล ได้ย้ายไปศึกษาต่อที่เม็กซิโก และฝรั่งเศส

หญิงสาวแสนสวยแต่แสนบอบบางผู้นี้ ผ่านชีวิตสมรสที่ล้มเหลวมาแล้ว 2 ครั้ง ก่อนที่เธอจะย้ายไปอยู่ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา และที่นี่เอง ที่คอนซูเอโล ได้พบหน้าและพบรักกับแซงเตก-ซูเปรี นักเขียน-นักบินชาวฝรั่งเศส

ชีวิตรักของแซงเตก-ซูเปรี ผู้แสนอ่อนไหวและใสซื่อ กับคอนซูเอโล ผู้แสนบอบบางและเอาแต่ใจ ก็ไม่ต่างจากความสัมพันธ์ของเจ้าชายน้อยกับดอกกุหลาบ

ทั้งคู่ รัก-เลิก-ร้าง-ลา หลายต่อหลายครั้ง ซึ่งในหนังสือชีวประวัติของแซงเตก-ซูเปรี ถึงกับเขียนไว้ว่า คอนซูเอโล เป็นทั้งแรงบันดาลใจและความโกรธเกรี้ยวของเขา

“ฉันไม่ควรไปฟังเธอเลย… เราควรสนใจแต่เพียงเชยชมมันและดมมันเท่านั้น… ฉันไม่เข้าใจอะไรเสียเลย!”

หรือจริงๆ แล้ว ถ้อยคำที่เจ้าชายน้อย รำพึงรำพันถึงดอกกุหลาบในวันที่ร้างลา ก็คือ ถ้อยคำที่แซงเตก-ซูเปรี รำพึงรำพันถึงคอนซูเอโลในวันที่ร้างไกล

…ช่างอ่อนหัดเสียเหลือเกิน! อ่อนหัดเกินกว่าจะรู้จักรัก…

นอกเหนือจากความสัมพันธ์ของทั้งคู่แล้ว แม้กระทั่งทิวทัศน์บนดาว B612 ที่มีภูเขาไฟ 3 ลูก ลูกหนึ่งดับสนิท แต่อีก 2 ลูก ยังคุกรุ่น ก็ยังได้แรงบันดาลใจมาจากเมืองบ้านเกิดของคอนซูเอโล ซึ่งเมื่อมองออกไปนอกหน้าต่างบ้าน เธอจะมองเห็นภูเขาไฟ 3 ลูก

หลังการหายสาบสูญของแซงเตก-ซูเปรี ในเดือนก.ค. 1944 คอนซูเอโล ได้เขียนบันทึกรำลึกถึงสามีผู้จากไป โดยใช้ชื่อว่า “The Tale of the Rose” หรือ ตำนานแห่งดอกกุหลาบ ซึ่งบันทึกเล่มนี้ถูกเก็บไว้ในหีบที่บ้านของเธอ จนหลังจากที่คอนซูเอโลเสียชีวิตไปแล้ว บันทึกเล่มนี้ จึงถูกค้นพบ และได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือ เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี วันคล้ายวันเกิดของแซงเตก-ซูเปรี เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ปี 2000

อีก 13 ปีต่อมา ข้ามฟากไปที่มหานครนิวยอร์ก พิพิธภัณฑ์และหอสมุดมอร์แกน ได้จัดงานนิทรรศการรำลึกครบรอบ 70 ปี การจัดพิมพ์หนังสือ “เจ้าชายน้อย” ซึ่งในงานนิทรรศการนี้เอง ได้มีการเปิดเผยเรื่องราวความสัมพันธ์อันลึกซึ้ง ระหว่างแซงเตก-ซูเปรี กับหญิงสาวคนหนึ่ง ที่เชื่อกันว่า เธอคือ ‘สุนัขจิ้งจอก’ ในหนังสือเจ้าชายน้อย

เจ้าชายน้อยกับสุนัขจิ้งจอก

ซิลเวีย ฮามิลตัน ไรน์ฮาร์ท หญิงสาวผมสีทองชาวอเมริกัน พบหน้าแซงเตก-ซูเปรี ครั้งแรกในงานเลี้ยงงานหนึ่งที่นิวยอร์ก เธอพูดภาษาฝรั่งเศสไม่ได้ จึงบอกกับเพื่อนที่พูดฝรั่งเศสได้ว่า “เดินไปบอกกับเขาที ฉันชอบเขานะ”

“มาเล่นกับฉันสิ” เจ้าชายน้อยชวน “ฉันกำลังใจเศร้าใจมาก…”

“ฉันเล่นกับเธอไม่ได้หรอก ฉันยังไม่ถูกทำให้เชื่อง” สุนัขจิ้งจอกตอบ

“ทำให้เชื่อง แปลว่าอะไร”

“เป็นสิ่งซึ่งมักถูกลืม” สุนัขจิ้งจอกกล่าว “มันคือการสร้างความสัมพันธ์… ถ้าเธอทำให้ฉันเชื่อง ชีวิตของฉันก็จะสดใสขึ้น ฉันจะเรียนรู้ฝีเท้าของเธอซึ่งผิดจากเสียงอื่นทั้งหมด… เธอมีผมสีทอง ข้าวสาลีสีเหลืออร่ามจะทำให้ฉันหวนระลึกถึงเธอ… ได้โปรดเถิด จงทำให้ฉันเชื่อง”

แม้จะมีกำแพงของภาษา แต่ทั้งคู่ก็พัฒนาความสัมพันธ์กันอย่างรวดเร็ว แซงเตก-ซูเปรี มักไปหาซิลเวียที่บ้าน พร้อมกับอวดต้นฉบับหนังสือและภาพวาดที่เขาเขียนขึ้น ขณะที่ซิลเวียเอง ก็รู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้ยินเสียงเคาะประตูยามค่ำ

“เธอควรจะมาในเวลาเดียวกันเสมอ” สุนัขจิ้งจอกกล่าว “เป็นต้นว่า ถ้าเธอเคยมาตอนบ่ายสี่โมง ประมาณสักบ่ายสามโมงฉันก็เริ่มเป็นสุขแล้ว”

เชื่อกันว่า ซิลเวีย ผู้มีผมสีทองเช่นเดียวกับเจ้าชายน้อย เป็นคนให้คำแนะนำเรื่องความรักแก่แซงเตก-ซูเปรี

“จงกลับไปดูดอกกุหลาบเหล่านั้น เธอจะเข้าใจในที่สุดว่า ดอกกุหลาบของเธอ มีอยู่ดอกเดียวในโลก…เวลาที่เธอเสียไปให้ดอกกุหลาบของเธอ ทำให้ดอกกุหลาบนั้นมีค่ามากขึ้น”

และเชื่อกันว่า ซิลเวีย ผู้นี้เอง ที่เป็นเจ้าของประโยคอมตะในหนังสือเรื่องเจ้าชายน้อย

“เราจะมองเห็นแจ่มชัดด้วยหัวใจเท่านั้น สิ่งสำคัญนั้น ไม่อาจเห็นได้ด้วยตา”

ไม่นานหลังจากนั้น แซงเตก-ซูเปรี กลับไปคืนดีกับคอนซูเอโล และวันหนึ่ง เขากลับมาเยี่ยมซิลเวีย พร้อมกับกล่าวว่า “ผมอยากให้ของขวัญชิ้นใหญ่กับคุณ แต่เท่าที่ผมมีก็คือสิ่งนี้”

และสิ่งนั้นคือ ต้นฉบับของหนังสือเรื่องเจ้าชายน้อย

หลังจากนั้นไม่นาน แซงเตก-ซูเปรี ขับเครื่องบินขึ้นเพื่อปฏิบัติภารกิจลาดตระเวณในฝรั่งเศส เครื่องบินของเขาไม่เคยกลับมานับจากนั้น และแซงเตก-ซูเปรี ไม่มีโอกาสได้รับรู้ว่า นิยายรักจากดาว B612 ของเขา ได้กลายเป็นหนังสือในดวงใจของคนทั้งโลก

………….

(หมายเหตุ – ประโยคตัวเอนในอัญประกาศ คัดลอกมาจากหนังสือ ‘เจ้าชายน้อย’ แปลโดย อำพรรณ โอตระกูล จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์จินด์)

Tags:

เจ้าชายน้อยนิทานความรัก

Author:

illustrator

สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

อดีตนักแปล-นักข่าว ปัจจุบันเป็นพ่อค้า พ่อบ้าน และพ่อของลูกชายวัยรุ่น รักหนังสือ ชอบเข้าร้านหนังสือ และชอบซื้อหนังสือมาดองเป็นกองโต

Related Posts

  • Book
    ข้างหลังภาพ – ไม่ได้มีแค่ความรักในภาพวาด

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Early childhood
    เพราะเด็กคือความหวัง และนิทานมีพลังกว่าที่คิด: “ป่าดอยบ้านของเรา” ให้นิทานสร้างเด็กเพื่อให้เด็กสร้างเมือง

    เรื่องและภาพ วิรตี ทะพิงค์แก

  • EF (executive function)
    อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านนิทานได้อะไร ฉบับสมบูรณ์ ตอนที่ 6

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • EF (executive function)
    อ่าน-เล่น-ทำงาน: เล็กๆ น้อยๆ แต่สำคัญมาก ของ ‘นิทานก่อนนอน’

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • How to get along with teenagerAdolescent Brain
    สมองวัยรุ่น เมื่อต้องรับมือกับความผิดหวัง อกหัก!

    เรื่อง The Potential ภาพ KHAE

School town king: การศึกษาที่ไม่มีที่ให้ความแตกต่าง ไม่เอื้อให้ครอบครัวยินดีกับฝันที่ไม่เหมือนกันของเด็ก
Movie
10 February 2022

School town king: การศึกษาที่ไม่มีที่ให้ความแตกต่าง ไม่เอื้อให้ครอบครัวยินดีกับฝันที่ไม่เหมือนกันของเด็ก

เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • School town king เป็นหนังสารคดีเกี่ยวกับความฝันนอกกรอบของเด็กหนุ่มสองคน แต่ปัจจัยสังคมและสิ่งแวดล้อมกลับไม่เอื้อให้เขาไปถึงความฝันนั้น
  • เด็กบางคนต้องทิ้งความฝันของตนเอง เพราะระบบการศึกษาและสังคมที่ตีกรอบ ไม่สนับสนุนและเปิดกว้างมากพอให้เด็กทุกคนพิชิตฝันตามที่ตนเองต้องการได้
  • ยังมีเด็กที่ต้องการโอกาสและความช่วยเหลืออีกมาก ประเทศของเราจึงต้องการเสียงของทุกคนเพื่อหาต้นเหตุของปัญหา เพื่อจะได้รับการแก้ไขและพัฒนาอย่างจริงจัง

Tags:

วัยรุ่นการศึกษาความฝันSchool town King

Author:

illustrator

พิมพ์พาพ์

เป็นลูกคนเดียวจากแม่เลี้ยงเดี่ยว เรียกตัวเองว่านักวาดภาพประกอบที่ชอบวาดคนหน้าแมว เผลอเสียน้ำตาให้กับหนังครอบครัวอยู่บ่อยๆ

Related Posts

  • Everyone can be an Educator
    มากกว่ารักษ์ คือการเรียนรู้ที่เห็นคุณค่าตัวเองและมรดกภูมิปัญญา: โนรา Gen Z ‘ชาดา สังวรณ์’ 

    เรื่อง ชุติมา ซุ้นเจริญ

  • “บนโลกนี้มีเด็กเก่งมากมาย เขาแค่ไม่ได้รับโอกาส” คุยกับ ไมกี้ – นิธิยุทธ วงศ์พุทธา นักประดิษฐ์รุ่นเยาว์

    เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ปริสุทธิ์

  • Social Issues
    โรคระบาด ความเครียด การฆ่าตัวตาย และสถานการณ์ที่วัยรุ่นทั่วโลกกำลังแบกรับ

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Social Issues
    กรณีศึกษารัฐมิสซิสซิปปี้: วัยรุ่นซึมเศร้าในชนบท น้อยรายที่จะได้เข้ารักษา

    เรื่อง The Potential

  • EF (executive function)
    ไม่พอใจก็แค่ใส่หูฟังแล้วเปิดเพลงดังๆ ‘การจัดการอารมณ์’ ที่ท้าทายแต่ทำได้ในวัยรุ่น

    เรื่อง

คาวีและจันทร์สุดา: ความไว้วางใจ ความลับและการบาดเจ็บ
Myth/Life/Crisis
10 February 2022

คาวีและจันทร์สุดา: ความไว้วางใจ ความลับและการบาดเจ็บ

เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • ความไว้เนื้อเชื่อใจอาจเป็นความรู้สึกมั่นใจว่าเขาพึ่งพาได้หรือรู้สึกว่าเขาจะไม่ทำอันตราย ซึ่งส่งผลต่อความรู้สึกปลอดภัยในการที่เราจะเผยความเปราะบาง และเผยความลับออกมา
  • ภัทรารัตน์ เขียนถึงเรื่องราวของคาวีและจันทร์สุดา กับการแพร่งพรายความลับของตนเองให้คนที่เราไว้วางใจให้รับรู้ แต่ผลสุดท้ายความไว้ใจนั้นก็ย้อนกลับมาทำร้ายตนเอง
  • แม้การเล่าเรื่องราวในบางครั้งจะกลายเป็นการเปิดเผยมากเกินไป แต่บางครั้งมันก็ช่วยลดทอดความตึงเครียดในใจลงได้

1.

(ความเดิมจากเรื่องหลวิชัยคาวี) กุมารผู้หนึ่งชื่อ คาวี ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนกับฤาษีร่วมกับสหายชื่อว่า หลวิชัย เมื่อพวกเขาได้เรียนสรรพวิชาจนโตเป็นหนุ่มกันแล้ว ฤาษีเห็นว่าพวกเขาน่าจะเดินทางออกจากป่าไปครองเมืองซึ่งทั้งสองก็เห็นชอบ ท่านทำพิธีถอดดวงใจของทั้งสองใส่ลงในพระขรรค์และย้ำว่าห้ามให้ศัตรูผู้ปองร้ายได้ขรรค์ไปเด็ดขาด ทั้งหลวิชัยและคาวีเดินทางลาจากฤาษี แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งก็แยกกันไปคนละทิศ

คาวีท่องโลกต่อแต่เพียงลำพังกระทั่งไปเจอกลองในวังแห่งจันทรนครซึ่งร้างไร้ผู้คน ในกลองนั้นมีนาง จันท์สุดา ผู้เป็นธิดาของเจ้าเมืองจันทรนครซ่อนตัวอยู่ เมื่อได้ทราบจากนางว่าชาวเมืองรวมถึงบิดามารดาของนางถูกนกอินทรีย์จับกิน เขาจึงล่อนกมาสังหารเสีย จากนั้นก็ได้สมรสกับนางและครองจันทรนครนับแต่นั้น

อย่างไรก็ตาม ภายหลังท้าวสันนุราชผู้ครองกรุงพันธวิสัยได้พบเส้นผมกลิ่นเย้ายวนของนางจันท์สุดาในผอบที่ลอยมาตามน้ำ ชายแก่ปรารถนาในตัวนางและประกาศให้รางวัลคนที่ช่วยเหลือได้ ฝั่งยายทัศประสาทซึ่งเป็นข้าเก่าของพระธิดาก็รุดไปบอกท่านท้าวและได้ทรัพย์มามากมาย นางจึงวางแผนขอกลับไปอยู่รับใช้นางจันท์สุดา และใช้โอกาสนั้นยุแยงว่าคาวีไม่ไว้ใจพระนางเพราะคาวี “เหน็บพระขรรค์บรรทมทุกคืนไป น่าจะแหนงแคลงฤทัยเทวี”

นางจันท์สุดาได้ยินคำปั่นจึงไปถามคาวีด้วยความขุ่นข้องหมองหมางว่าไม่ไว้ใจตนล่ะหรือ? และจึงได้รู้ว่าหัวใจของคาวีอยู่ในพระขรรค์ “พระขรรค์นี้พี่ฝังชีวิตไว้ ใครลักเข้าเผาไฟจะมรณา” กล่าวคือถ้าใครได้ขรรค์ไปเผาไฟคาวีก็จะถึงแก่ความตาย คาวีบอกความนี้แล้ว กำชับไม่ให้จันทร์สุดาเอาไปบอกคนอื่น “ความจริงบอกเจ้าไม่อำพราง อย่าพูดมากปากสว่างฟังพี่ว่า” ทว่าจันท์สุดาก็ยังนำความลับนี้ไปแก้ตัวกับยายทัศประสาท “ยายเอ๋ยผัวรักข้าหนักหนา” “จันทร์สุดาพาซื่อไม่สงสัย คิดว่าข้าหลวงเดิมก็เคลิ้มไป หลงใหลนับถือว่าซื่อตรง” 

จันทร์สุดาเชื่อใจยาย

ด้วยเหตุนี้ผู้มาดร้ายจึงได้ช่องจะฆ่าพระคาวี…

โดยยายใช้อุบายลวงคู่รักไปลงน้ำสระผมตามประเพณี อีกทั้งหลอกล่อให้คาวีฝากขรรค์ไว้แล้วนำขรรค์ไปเผาไฟ ซึ่งทำให้คาวีล้มสิ้นสติ เปิดทางให้ยายเจ้าเล่ห์นำตัวจันท์สุดาไปถวายท้าวเฒ่าสันนุราชในภายหลังหลวิชัยรู้สึกผิดสังเกตจึงเดินทางเสาะหาคาวี กระทั่งได้พบกับคาวีที่นิ่งแน่ใกล้เพลิงที่แผดเผาพระขรรค์อยู่ เขาจึงอธิษฐานจิตและรดน้ำพระขรรค์ทำให้คาวีฟื้นขึ้น จากนั้นหลวิชัยปลอมตัวเป็นดาบสแล้วใช้วิชาย่อร่างคาวีลงย่ามพาไปที่เมืองของท้าวสันนุราช และได้ออกโรงช่วยเหลือจนคาวีได้กลับมาครองคู่กับนางจันทร์สุดาดั่งเดิม

2.

ความไว้วางใจและการเผยความลับ

ความไว้เนื้อเชื่อใจอาจเป็นความรู้สึกมั่นใจว่าเขาพึ่งพาได้หรือรู้สึกว่าเขาจะไม่ทำอันตราย ซึ่งส่งผลต่อความรู้สึกปลอดภัยในการที่เราจะเผยความเปราะบางออกมา และหนึ่งในการเผยด้านที่เปราะบางก็คือการเผยสิ่งที่ควรจะเป็นความลับออกมาให้เขาทราบ อันเป็นสิ่งที่เมื่อมีใครรู้เข้าเราก็อาจเป็นอันตรายได้…

การส่งต่อเรื่องที่ควรจะเป็นความลับ และอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

มีรุ่นพี่คนหนึ่งที่เรียกตนเองว่าปราชญ์วิปลาส เคยเขียนข้อความลอยๆ ทำนองว่า “ผมรู้ความลับคุณ” เพราะความลับที่คุณได้บอกให้คนที่คุณเชื่อใจทราบ ได้ถูกเขาคนนั้นบอกต่อไปให้คนที่เขาเชื่อใจทราบอีกทอด และต่อไปอีกหลายทอดในลักษณะนั้น.. 

คล้ายการที่เราไว้ใจเล่าเรื่องส่วนตัวบางอย่างให้คนอื่นฟัง แล้วกำชับว่า “อย่าไปบอกใครนะ” ทว่าผลมักกลับเป็นในทางตรงข้าม!

และเมื่อเรื่องของเราถูกส่งผ่านไปถึงหูคนที่ไม่หวังดีกับเรา มันก็อาจจะถูกใช้พิฆาตเราได้

เฉกเช่นคาวีที่กล้าเล่าเรื่องที่ทำให้ตัวเองเปราะบางแก่นางจันทร์สุดาโดยกำชับว่า “อย่า ปากสว่าง” แต่เมียรักกลับนำความลับนี้ไปบอกข้าเก่าต่ออีกทอด ซึ่งนางกล้าบอกส่วนหนึ่งก็เพราะความเชื่อใจเช่นกัน ทั้งยังเป็นการตอบสนองตัวเองด้วยเพราะระหว่างบรรทัดของถ้อยคำที่ป่าวประกาศก็คือการบอกว่า ฉันเป็นที่รักและควรค่าแก่ความไว้วางใจ

แต่ผลก็คือสามีของนางเกือบม้วยมรณ์ และตัวนางเองก็ต้องสูญเสียพลัดพราก

ไม่ว่าจะเป็นยายเฒ่า ท้าวแก่และจันทร์สุดา ทุกคนล้วนมีความปรารถนาที่ต้องการการตอบสนอง แม้แต่คาวีเองก็ยังฆ่านก ต่อให้บอกว่าเพื่อความปลอดภัยของผู้อื่นก็ตาม ภายใต้การกระทำนั้นก็มีสิ่งที่เขาต้องการจะเป็นมิใช่หรือ? ความเป็นปรปักษ์นั้นไม่ถาวรแต่ความเกื้อกูลและมโนธรรมก็ลื่นไหลได้เช่นนั้นด้วย ยิ่งกับคนที่ดูน่าเชื่อถืออย่างที่สุดมันอาจเพียงสะท้อนว่าเขาฝึกปรือจนเจนจัดมากเพียงใดให้ดูเหมือนควรค่าแก่การวางใจ ดั่งนี้ การบอกความลับและการไว้วางใจผู้คนในเรื่องใดก็ตามจึงไม่ได้รับประกันว่าจะไม่ก่อโทษภัยกับตัวเองและผู้อื่นในภายภาคหน้า ในกรณีของคาวีก็ยิ่งตอกย้ำคำเตือนที่ว่า “อันเชื้อชาติช้างสารแลงูเห่า ข้าเก่าเมียรักอย่าวางจิต” 

เมื่อบาดเจ็บ

หากเราบอกเล่าเรื่องที่เปราะบางของตนเองไปให้ใครสักคนได้รับรู้ แล้วใครคนนั้นกลับใช้มันย้อนกลับมาทำร้ายเราหรือเป็นเหตุให้เราถูกผู้หนึ่งผู้ใดทำร้ายไม่ว่าทางใด เราอาจกลายเป็นคนที่กลั่นกรองคำพูดเพิ่มขึ้นอีกมากมายและจดจำคำสอนว่า “อย่าไว้ใจมนุษย์” ได้ขึ้นใจ และแม้แต่โทษตัวเอง  

แต่มันไม่จำเป็นต้องแปลว่าเราโดนแบบนี้เพราะเราทำอะไรบางอย่าง ‘ผิด’ เราล้วนเป็นเพียงคนธรรมดาคนหนึ่ง ในการส่งผ่านเรื่องราวอันเปราะบางไปสู่ผู้หนึ่งผู้ใดบางครั้งก็เกิดจากการคะยั้นคะยอของคนอื่นที่เรามักประเมินแล้วว่าไม่น่าจะอันตรายและอยากรักษาความสัมพันธ์ด้วยเหมือนกรณีของคาวีกับจันทร์สุดา หรือแม้แต่เป็นการกระชับความสัมพันธ์ในกรณีอื่นๆ เพราะเมื่อเรากล้าเปราะบางต่อหน้าผู้อื่น ผู้อื่นก็มักจะกล้าเปลือยเปล่าต่อเราเช่นกัน 

นอกจากนี้ การบอกเล่าเรื่องราวบ้างก็กลายเป็นการเปิดเผยมากเกินไปในบรรยากาศที่พาไป ซึ่งเราก็ไม่รู้หรอกว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อจากนั้น และบางทีก็เกิดจากแรงขับของเราเองทั้งที่ผู้อื่นมิได้รบเร้าทว่ามันช่วย ลดทอดความตึงเครียดในใจลง

อย่างน้อยเราก็ต้องให้อภัยตัวเองที่ไม่รู้ว่าบางสิ่งจะเกิดขึ้นตราบจนมันได้เกิดขึ้นแล้ว และยกโทษให้ตัวเองที่ต้องการหาทางออกจากความปั่นป่วนภายในผ่านการเล่าเรื่อง หากต้องเก็บงำบางอย่างไว้คนเดียวตลอดไปเราอาจมีอาการป่วยไข้ก็ได้

เพราะความลับหลายอย่างก็เชื่อมโยงกับความรู้สึกผิดและความละอายใจ ความรู้สึกของเราเองว่าเป็นคนไม่ดี ไม่น่าเคารพหรือไม่ควรค่าจะถูกรัก ฯลฯ การได้ถ่ายทอดเรื่องราวของตนไปสู่คนที่เป็นเสมือนภาชนะอันปลอดภัยช่วยให้เราได้ทำงานกับช่วงชั้นความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้นและได้รวบรวมส่วนเสี้ยวอันแตกสลายที่เราได้ทอดทิ้งไปในจุดเวลาต่างๆ ในอดีตมาร้อยเรียงโอบกอดไว้

หรือมันเป็นเช่นการ “สารภาพ” และทำให้ได้รู้ว่าแม้จะเกิดเรื่องราวเหล่านั้นขึ้นแล้ว เราก็ยังควรค่าต่อการถูกรักและให้อภัย ทั้งปลดเปลื้องความหนักอึ้งออกไป เชื่อมโยงกับประเด็นนี้ คาร์ล กุสตาฟ ยุง นักจิตวิทยาวิเคราะห์ชาวสวิสกล่าวว่าในหลายกรณีเรื่องราวอันเป็นความลับซึ่งคนไข้ “มิได้บอกเล่าให้รับรู้และหามีผู้ใดล่วงรู้ไม่” อันเป็น “แก่นความของทุกสิ่ง ดุจก้อนศิลาที่ได้ทุบเขาจนเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย” นั้นเป็นกุญแจสู่การบำบัดรักษา 

อีกด้านหนึ่งของการบอกเล่าความลับของตัวเองในบริบทที่เหมาะสมจึงเป็นการเยียวยาได้เช่นกัน

3.

ไม่ว่าเราจะระมัดระวังถ้อยคำและระแวดระวังกับผู้คนมากเพียงไหน ในที่สุดแล้วก็ไม่มีการรับประกันได้ว่าเราจะไม่บาดเจ็บ ดังนั้น เมื่อรอบคอบตามสมควรแล้วเราจึงทำได้เพียงปลดปล่อยจากควบคุมสิ่งที่ไม่อาจคุมและยอมรับผลของการตัดสินใจของตัวเองซึ่งมันดีที่สุดในเวลานั้นๆ แล้ว เราน้อมรับชีวิตดั่งที่มันคลี่เผยออกมา 

บางครั้ง คมขรรค์ที่มีหัวใจก็ปรารถนาจะเชื่อมโยงกระทั่งลืมเลือนการปกป้องภัย แต่แม้เผชิญพาลภัยมา หัวใจดวงนั้นก็มีศักยภาพที่จะให้อภัยและใจดีกับตัวเองได้เช่นกัน  ❄❄

อ้างอิง

บทละครนอกเรื่องคาวีและสังข์ศิลป์ชัย พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางจำปา วัฒนศิริโรจน์
พิมพ์ปีพ.ศ. 2508 สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี

ความทรงจำ ความฝัน ความคิดคำนึง (Memories, Dreams, Reflections) โดย คาร์ล กุสตาฟ ยุง แปลเป็นภาษาไทยโดย พจนา จันทรสันติ

ข้อความของคุณเบิร์ด ณัฐเมธี สัยเวช หรือ ปราชญ์วิปลาส ประมาณปีพ.ศ. ๒๕๕๕

What Is Trust? โดย Paul Thagard, Ph.D.
Who Do You Trust With Your Deepest, Darkest Secrets?

Tags:

หลวิชัย คาวีความไว้วางใจความลับการเปิดเผย

Author:

illustrator

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา

ชอบอยู่กับต้นไม้ใบไม้ต่างๆ ผืนน้ำ เที่ยวไปในโบราณสถาน และเรียบเรียงสิ่งที่อยู่ในเงามืด เราเองยังต้องเรียนรู้และขัดเกลาอะไรอีกมาก รู้สึกขอบคุณที่ให้โอกาสเราได้ฟังเรื่องราวของทุกคนนะ (Line ID: patrasuwan)

Illustrator:

illustrator

กรองพร ทององอาจ

Graphic Designer & Illustrator Instagram: @monkrongpin

Related Posts

  • Movie
    F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • SpaceBook
    Myth Universe : จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์สู่ Edutainment ความรู้นอกห้องเรียนที่เริ่มต้นจากคำถามและการเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง

    เรื่อง เจษฎา อิงคภัทรางกูร

  • Movie
    Elio:  ไม่ว่าจะหนีไปไกลแค่ไหน สุดท้ายความรู้สึกมีคุณค่า…เริ่มต้นจากหัวใจตัวเอง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • ปาฏิหาริย์ร้านชำของคุณนามิยะ: ปาฏิหาริย์ของการรับฟัง ‘โดยไม่ตัดสิน’

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • BookPlayground
    ไม่ว่าจะมีนิสัยที่เป็นภัยหรือไม่ เราทุกคนต่างก็เป็นที่รักได้ : Things No One Taught Us About Love

    เรื่อง อัฒภาค

เงินทองต้องคิดส์ (11): เรื่องเงินทองที่พ่อแม่ต้องวางแผน
Early childhood
10 February 2022

เงินทองต้องคิดส์ (11): เรื่องเงินทองที่พ่อแม่ต้องวางแผน

เรื่อง รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • การมีลูกหนึ่งคนต้องทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ เวลา และยังนับเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่หนักหน่วง แต่ถ้าเป็นไปได้ พ่อแม่เองก็ต้องหาเวลาสงบสติอารมณ์ จัดการวางแผนเรื่องเงินๆ ทองๆ ในบ้านให้เรียบร้อย เพราะการบริหารที่ผิดพลาดหรือการปล่อยปละละเลยอาจส่งผลต่ออนาคตของเจ้าตัวเล็กอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
  • บทความสุดท้ายของซีรีส์ ‘เงินทองต้องคิดส์’ ขอฝากคำแนะนำทางการเงิน 7 ข้อสำหรับพ่อแม่ทุกคน เริ่มจากการซื้อประกัน วางแผนภาษี จัดการหนี้สิน คัดสรรทางเลือกการลงทุน แบ่งเงินก้อนไว้ในกรณีฉุกเฉิน ตรวจเครดิตบูโร และเริ่มวางแผนทางการเงินเพื่อการศึกษาของเจ้าตัวเล็ก

ตลอด 10 เดือนที่ผ่านมา ผู้เขียนแนะนำสารพัดวิธีสำหรับพ่อแม่ในการสื่อสารเรื่องการเงินกับเจ้าตัวเล็ก แต่สำหรับบทความชิ้นนี้ กลุ่มเป้าหมายหลักไม่ใช่เด็กๆ ในบ้าน แต่เป็นพ่อแม่ผู้ปกครองทุกท่านที่อาจยังไม่ได้จัดระเบียบชีวิตทางการเงินของตัวเอง

ผมเข้าใจครับว่าการมีลูกหนึ่งคนต้องทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ เวลา และยังนับเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่หนักหน่วง แต่ถ้าเป็นไปได้ พ่อแม่เองก็ต้องหาเวลาสงบสติอารมณ์ จัดการวางแผนเรื่องเงินๆ ทองๆ ในบ้านให้เรียบร้อย เพราะการบริหารที่ผิดพลาดหรือการปล่อยปละละเลยอาจส่งผลต่ออนาคตของเจ้าตัวเล็กอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในบทความชิ้นสุดท้ายของซีรีส์ ‘เงินทองต้องคิดส์’ ผมขอฝาก 7 คำแนะนำเรื่องการเงินพร้อมกำลังใจให้พ่อแม่ทุกคนครับ 

1. ป้องกันความเสี่ยงด้วยการซื้อประกัน

‘ประกัน’ เป็นผลิตภัณฑ์ที่แปลกประหลาดเพราะคนซื้อไม่อยากใช้ หลายคนจึงมีทัศนคติที่ไม่ดีนักต่อการซื้อประกันโดยมองว่าเงินที่จ่ายแต่ละปีนั้น ‘เสียเปล่า’ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับถ่ายโอนความเสี่ยง และช่วยบรรเทาความร้ายแรงเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน

ในวันที่พ่อแม่เป็นเสาหลักที่ลูกๆ ต้องพึ่งพิง ผลิตภัณฑ์ประกันเปรียบเสมือนฟูกรองรับในวันที่เราล้ม เช่น ประสบอุบัติเหตุหรือเกิดเจ็บป่วยแบบไม่คาดฝันจนทำให้รายได้หดหายหรือค่าใช้จ่ายพอกพูน สำหรับคนไทย เราโชคดีที่มีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้อาจไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากนัก ดังนั้น อย่างน้อยที่สุดพ่อแม่ผู้ปกครองควรจะมีประกันชีวิตอย่างน้อยสักหนึ่งกรมธรรม์

แน่นอนครับว่าเงินก้อนใหญ่ที่ได้จากประกันในกรณีที่เกิดเหตุร้ายคงไม่อาจทดแทนชีวิตหรือสุขภาพของคนเป็นพ่อแม่ได้ แต่อย่างน้อยเงินก้อนดังกล่าวก็จะช่วยให้ช่วงเวลาระหว่างการเปลี่ยนผ่านสู่ชีวิตหลังวิกฤติไม่ยากลำบากเกินไปนัก

2. วางแผนภาษี

สำหรับพ่อแม่หลายคนที่เป็นมนุษย์เงินเดือน เวลายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแต่ละปีจะพบว่ายอดที่ต้องชำระเพิ่มเติมไม่ได้มากมายอะไร บางครั้งอาจได้รับเครดิตภาษีคืนเสียด้วยซ้ำ แต่อย่าลืมนะครับว่าที่เราต้องจ่ายภาษีน้อยก็เพราะบริษัททำการหักภาษีจากเงินเดือนของเราทุกเดือนตามกฎหมายเพื่อส่งกรมสรรพากร แม้ตอนยื่นแบบอาจไม่ต้องจ่ายเพิ่ม แต่ความเป็นจริงเราอาจเสียภาษีหลักหมื่นหรือหลักแสนทุกปีโดยไม่รู้ตัว

การวางแผนภาษีเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย โดยเฉพาะคนที่ไม่เคยมีความรู้มาก่อนอาจต้องทุ่มเทศึกษาข้อมูลสารพัดค่าลดหย่อน สิทธิและเงื่อนไขต่างๆ ที่จะช่วยให้สามารถบริหารภาษีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ กว่าจะเข้าใจอย่างถ่องแท้ก็อาจต้องใช้เวลาลองผิดลองถูกอยู่สองสามปี

แต่เชื่อผมเถอะครับว่าการวางแผนภาษีเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่าลืมว่าเราต้องเสียภาษีกันไปตลอดชีวิต ดังนั้นเริ่มต้นทำความเข้าใจก่อน รับรองว่าดีกว่าในระยะยาวอย่างแน่นอนครับ

3. จัดการหนี้สิ้น

คำถามที่หลายคนคาใจแต่อาจไม่กล้าถามใครคือหากได้เงินมาหนึ่งก้อน เราควรเอาเงินก้อนนั้นไปลงทุนหรือใช้หนี้เสียก่อน สำหรับคำตอบในมุมมองนักการเงินคือ ‘ใช้หนี้ก่อน’ โดยเฉพาะหนี้ที่อัตราดอกเบี้ยสูง เช่น บัตรเครดิต

ส่วนเหตุผลก็แสนจะเรียบง่ายเพราะดอกเบี้ยของบัตรเครดิตนั้นสูงถึงราว 18 เปอร์เซ็นต์ต่อปี นี่คือค่าใช้จ่ายที่เราต้องจ่ายไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ส่วนการลงทุนเช่นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยราว 7 ถึง 8 เปอร์เซ็นต์ แต่ตัวเลขดังกล่าวมีความผันผวนสูงลิ่วขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจในแต่ละปี ดังนั้นการใช้หนี้จึงถือเป็นการลดค่าใช้จ่ายที่เรียกได้ว่าคุ้มเกินคุ้ม

ก้าวแรกในการเริ่มต้นจัดการหนี้สินคือการรู้สถานะของตัวเอง ไล่เรียงหนี้สินทั้งหมดที่มีโดยจัดอันดับตามอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย แล้วจึงพยายามลดหนี้สินที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูงโดยอาจเร่งชำระหนี้หรือการรีไฟแนนซ์โดยหาเงินกู้จากแหล่งอื่นที่ดอกเบี้ยต่ำกว่ามาชำระก่อนเพื่อแบ่งเบาภาระดอกเบี้ย

การมีหนี้ไม่ใช่ปัญหา แต่การปล่อยปละละเลยไม่บริหารจัดการหนี้อาจทำให้มีปัญหาในอนาคตครับ

4. ลงทุนแบบคนขี้เกียจ

เราอาจได้ยินได้ฟังเหล่านักลงทุนมือทองที่ร่ำรวยจากตลาดหุ้นหรือตลาดคริปโตฯ ผมไม่ปฏิเสธว่าคนที่กลายเป็นเศรษฐีจากการลงทุนนั้นมีอยู่จริง แต่อาจคิดเป็นจำนวนเพียงหยิบมือหากเทียบกับนักลงทุนทั้งหมด สาเหตุที่เรามักจะได้ยินแต่เรื่องราวของเหล่าคนที่ประสบความสำเร็จจากการลงทุนก็เพราะคนส่วนมากที่ขาดทุนมักจะไม่ได้ออกสื่อหรือไม่อยากจะพูดถึงมันสักเท่าไหร่

หากจะลงทุนให้ได้กำไรจำเป็นต้องทุ่มเทเวลาในการศึกษาตลาดและกำหนดกลยุทธ์ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จเสมอไป หากใครมาถามผมว่าควรจะลงทุนอย่างไรดี คำตอบที่ได้คือให้ลงทุนแบบคนขี้เกียจ ฝากฝังให้มืออาชีพเป็นคนดูแล ปล่อยให้เงินทำงานและอย่าไปคาดหวังว่าเงินก้อนดังกล่าวจะโตวันโตคืน เพราะการขาดทุนคือเรื่องสามัญธรรมดาของการลงทุน

สำหรับใครที่รู้สึกว่าชีวิตยุ่งมากพอแล้ว ลองมองหากองทุนรวมที่ผลตอบแทนพอใช้ได้แล้วปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเหล่ามืออาชีพในการบริหารจัดการ แทนที่จะต้องหัวหมุนและแบกรับความเครียดเมื่อต้องพยายามลงทุนด้วยตัวเอง

5. กันเงินส่วนหนึ่งไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน

เมื่อเริ่มมองหาช่องทางการลงทุน คนจำนวนไม่น้อยอาจมองว่าการทิ้งเงินไว้ในบัญชีออมทรัพย์หรือสินทรัพย์สภาพคล่องสูงผลตอบแทนต่ำดูจะเป็นทางเลือกที่ไม่ฉลาดนัก แต่ความเป็นจริงแล้วเราควรมีเงินสักก้อนหนึ่งในบัญชีดังกล่าวเพื่อเก็บไว้ใช้ในกรณีเกิดเหตุไม่คาดฝัน

ส่วนควรจะกันเงินเอาไว้มากน้อยแค่ไหน นักวางแผนทางการเงินแนะนำว่าเงินก้อนสำหรับกรณีฉุกเฉินควรครอบคลุมค่าใช้จ่ายประมาณ 6 เดือน ตัวอย่างเช่น ผมและครอบครัวมีค่าใช้จ่ายประมาณเดือนละ 20,000 บาท เงินก้อนที่ควรแบ่งไว้ในสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วก็ควรจะอยู่ที่ 120,000 บาทนั่นเอง

เห็นแล้วก็อดไม่ได้ที่จะปาดเหงื่อเพราะทุกวันนี้แค่มีเงินเก็บออมบ้างก็ถือว่าเป็นเรื่องยากเย็น ไม่เป็นไรครับ เราอาจเริ่มตั้งต้นเงินในบัญชีฉุกเฉินที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายแค่ 1 เดือนก่อน แล้วค่อยๆ สะสมให้เพิ่มพูนไปในอนาคต

6. ตรวจเครดิตบูโรทุกปี

สำหรับประเทศไทย ข้อมูลหนี้ในระบบแทบทั้งหมดจะถูกรวบรวมไว้โดยบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือที่เราคุ้นหูว่าเครดิตบูโร ในฐานะพ่อแม่ผู้ปกครอง เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่เราจะต้องตรวจเครดิตบูโรและคะแนนเครดิตของเราอย่างสม่ำเสมอ เพราะวันหนึ่งในอนาคต เครดิตของเราอาจมีความจำเป็นสำหรับค้ำประกันเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือวันที่ลูกๆ จำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่แต่เครดิตยังไม่ดีพอที่จะขอสินเชื่อด้วยตัวเอง

ปัจจุบันการตรวจเครดิตบูโรและคะแนนเครดิตนั้นไม่ยุ่งยาก ถ้าเราอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลก็สามารถติดต่อขอรับบริการที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร หรือจะใช้บริการออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันธนาคารต่างๆ โดยมีค่าบริหารเพียง 100 ถึง 150 บาท ซึ่งผู้เขียนแนะนำว่าทุกคนควรตรวจเครดิตบูโรอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีหนี้ก้อนไหนที่เราผิดนัดชำระ และไม่มีใครนำชื่อเราไปแอบอ้างขอสินเชื่อ

7. เริ่มออมเงินเพื่อการศึกษาลูก

พ่อแม่ทุกคนอยากให้ลูกแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ ได้เรียนในสิ่งที่รัก และทุ่มเทในสิ่งที่ชอบ แต่ข้อจำกัดทางการเงินอาจกลายเป็นอุปสรรคที่หลายคนคาดไม่ถึงเมื่อต้องตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตการศึกษาของลูกๆ

‘ออมก่อนรวยกว่า’ คำนี้ไม่ได้มีไว้พูดให้ฟังดูดี แต่คือข้อเท็จจริงจากพลังของดอกเบี้ยทบต้น สำหรับใครที่ลูกยังไม่เข้าโรงเรียนเตรียมอนุบาล ผมขอบอกว่าไม่เร็วเกินไปหรอกครับที่จะเริ่มวางแผนการเงินสำหรับค่าใช้จ่ายในระดับอุดมศึกษา เพราะช่วงเวลาในรั้วมหาวิทยาลัยคือค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่ต้องเตรียมพร้อมล่วงหน้า หากชะล่าใจอาจไม่ทันการ

ดังนั้น พ่อแม่ควรวางแผนค่าเล่าเรียนลูกๆ ตั้งแต่วันนี้ จัดสรรเงินบางส่วนเก็บออมไว้ในช่องทางการลงทุนระยะยาวที่มีความเสี่ยงปานกลางถึงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน หรือเงินฝากประจำ แม้ว่าผลตอบแทนอาจจะต่ำ แต่ก็แลกมาด้วยความเสี่ยงในระดับที่พอรับได้ เพราะเราคงไม่อยากแขวนอนาคตทางการศึกษาของลูกไว้สภาพเศรษฐกิจที่เอาแน่เอานอนไม่ได้

นี่คือ 7 เรื่องสุดท้ายที่ผมอยากจะฝากให้พ่อแม่ผู้ปกครองทุกท่าน และขอให้มีความสุขกับการวางแผนจัดการเงินเพื่อคนที่คุณรักที่สุดในโลกนะครับ 🙂

Tags:

การเงินเงินทองต้องคิดส์ครอบครัวเตรียมความพร้อม

Author:

illustrator

รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์

คุณพ่อลูกอ่อน นักการเงินทาสหมา ที่ใช้เวลาว่างหลังลูกนอน (ซึ่งไม่ค่อยจะมี) ในการอ่าน เขียน และเรียนคอร์สออนไลน์

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Early childhood
    เงินทองต้องคิดส์ (8) : เรื่องหนี้ เรื่องนี้พ่อแม่ต้องสอน

    เรื่อง รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to get along with teenager
    เงินทองต้องคิดส์ (7) : เรียนเรื่องลงทุนแบบไม่ยุ่งยาก (ฉบับวัยรุ่น)

    เรื่อง รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Early childhood
    เงินทองต้องคิดส์ (6) : เรียนเรื่องลงทุนแบบไม่ยุ่งยาก (ฉบับเด็กเล็ก)

    เรื่อง รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to get along with teenager
    เงินทองต้องคิดส์ (5) : สอนลูกชั่งใจก่อนใช้เงิน (ฉบับวัยรุ่น)

    เรื่อง รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Early childhood
    เงินทองต้องคิดส์ (4): สอนลูกชั่งใจก่อนใช้เงิน (ฉบับเด็กเล็ก)

    เรื่อง รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

พ่อแม่มีหน้าที่ปกป้องสิทธิในร่างกายของลูก
Early childhood
9 February 2022

พ่อแม่มีหน้าที่ปกป้องสิทธิในร่างกายของลูก

เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ PHAR

  • ลูกมีสิทธิที่จะไม่อนุญาตให้ใครมาสัมผัสไม่ว่าจะเป็นส่วนใดของร่างกายก็ตาม และผู้ใหญ่ก็ควรทำความเข้าใจ ไม่ล้ำเส้นเมื่อถูกปฏิเสธ

ไม่ว่าเด็กจะอายุเท่าไร เด็กก็มีสิทธิที่จะปฏิเสธการถูกเนื้อต้องตัวทุกรูปแบบ โดยพ่อแม่ยิ่งต้องช่วยลูกรักษาสิทธินี้ในวัยที่ลูกไม่สามารถปฏิเสธเองได้ และสอนให้ลูกปกป้องร่างกายจากผู้อื่น โดยเฉพาะจุดต้องห้าม 

‘ร่างกายเป็นของลูก’  ให้การปกป้องลูกในวันที่เขาช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ 

เด็กจะเกิดความรักและหวงแหนร่างกายของตัวเองได้ ก็ต่อเมื่อในวัยเยาว์ของเขาได้รับการปกป้องจากพ่อแม่ หากมีใครอยากมากอด มาอุ้ม มาหอม ลูกของเราในวัยแรกเกิดถึงวัยเตาะแตะที่ยังสื่อสารและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พ่อแม่ควรปกป้องลูกและบอกปฏิเสธชัดเจนเมื่อผู้อื่นพยายามเข้ามาสัมผัสลูกทันที หรือเล่นกับลูกในแบบที่เขาไม่ชอบ โดยเราอาจจะให้คำอธิบายกับอีกฝ่ายว่า “ขอโทษนะคะ/ครับ น้องยังเล็ก ไม่มีภูมิคุ้มกันเท่าผู้ใหญ่” ถ้าอีกฝ่ายไม่เข้าใจ ขอให้พ่อแม่ปล่อยวางและยืนหยัดต่อไป ในกรณีที่เด็กโตพอจะสื่อสารได้เอง ผู้ใหญ่ควรขออนุญาตเขาก่อนการสัมผัสตัวหรือเข้าไปเล่นกับเขา 

นอกจากนี้ หากมีใครอยากมาเล่น มาหยอกล้อ มากอด มาอุ้ม มาสัมผัสตัวเด็ก โดยที่เขาไม่ได้รู้สึกยินยอม พ่อแม่ควรเข้าไปพาลูกออกมาจากผู้ใหญ่คนดังกล่าว ไม่ควรเกรงใจแล้วปล่อยให้เขาสัมผัสลูกของเรา แม้จะเป็นการหยอกล้อก็ตาม 

ไม่มีคำว่า ‘หวงลูก’ ‘เล่นตัว’ หรือ ‘หยิ่ง’ เกินไปในกรณีนี้ เพราะสำหรับเด็กไม่ว่าเขาจะอายุเท่าไหร่ จะเป็นเด็กชายหรือเด็กหญิง การที่เขาไม่ยินยอม เขาควรได้รับการปกป้องจากเรา 

“ร่างกายนี้เป็นของลูก ลูกมีสิทธิปฏิเสธไม่ให้ใครมาสัมผัสได้เสมอ” 

“สอนลูกว่าร่างกายเป็นของเรา” 

ลูกมีสิทธิที่จะไม่อนุญาตให้ใครมาสัมผัส และบริเวณใดบนร่างกายที่ไม่ควรให้ใครมาสัมผัสเด็ดขาด 

สอนลูกให้รู้จักร่างกายของตัวเอง และสอนเขาให้ปกป้องร่างกายของเขาจากการสัมผัสจากผู้อื่น แม้จะเป็นผู้ใหญ่ในบ้าน ก็ไม่ควรสัมผัสเด็กในส่วนใดของร่างกาย หากเขาไม่ได้อนุญาตหรือไม่ชอบวิธีการสัมผัสของเรา 

โดยเฉพาะจุดต้องห้าม 4 จุด ได้แก่ 

  1. ริมฝีปาก    2. หน้าอก   3. อวัยวะเพศและบริเวณระหว่างขา   4. ก้น 

เหตุผลคือ จุดเหล่านี้เป็นจุดที่ไวต่อการสัมผัสและละเอียดอ่อน ถ้าคนอื่นมาสัมผัสแล้วเขาอาจจะเกิดความรู้สึกอยากทำอะไรมากกว่าแค่สัมผัส ซึ่งเขาอาจจะทำร้ายลูกเราได้

สิ่งสำคัญ คือ ผู้ใหญ่ไม่ควรหยอกล้อเด็กๆ โดยการสัมผัสร่างกายของเขาในบริเวณเหล่านี้

อ่านบทความฉบับเต็ม https://thepotential.org/family/child-rights-body/

Tags:

พ่อแม่ครอบครัวลูกสิทธิร่างกาย

Author:

illustrator

เมริษา ยอดมณฑป

นักจิตวิทยาเจ้าของเพจ ‘ตามใจนักจิตวิทยา’ เพจที่อยากให้ทุกคนเข้าถึง ‘นักจิตวิทยา’ ได้มากขึ้นในฐานะเพื่อนแปลกหน้าผู้เคียงข้าง ปัจจุบันเป็นนักจิตวิทยาที่ห้องเรียนครอบครัว เป็น "ครูเม" ของเด็กๆ และคุณพ่อคุณแม่ ความฝันต่อไปคือการเป็นนักเล่นบำบัด วิทยากร นักเขียน และการเปิดร้านหนังสือเล็กๆ เป็นของตัวเอง

Illustrator:

illustrator

PHAR

ชื่อจริงคือ พัชชา ชัยมงคลทรัพย์ เป็นนักวาดรูปเล่น มีงานประจำคือเอ็นจีโอ ส่วนงานอดิเรกชอบทำกับข้าว

Related Posts

  • Early childhoodFamily Psychology
    เติบโตไปด้วยกัน Alpha Generation EP.7 ‘การสื่อสารที่ส่งไปถึงใจลูก’

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Movie
    Modern love Tokyo (2022): แม่ต้องปล่อยวางหลายเรื่อง แต่วันหนึ่งลูกจะภูมิใจในเราเองแหละ

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Dear ParentsMovie
    Survival of the thickest – แด่ผู้รอดชีวิตจาก toxic parents

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Movie
    After the storm: เผชิญหน้าเพื่อลาจาก

    เรื่อง พิมพ์พาพ์ ภาพ พิมพ์พาพ์

  • Dear ParentsBook
    โปรดโอบกอดมนุษย์ลูก: โลกร้ายกาจอาจไม่ทำลายคน ความเดียวดายต่างหาก

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

‘วิธีหาคำตอบไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียว’ ห้องเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการคิดมากกว่าผลลัพธ์
Creative learning
8 February 2022

‘วิธีหาคำตอบไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียว’ ห้องเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการคิดมากกว่าผลลัพธ์

เรื่อง นฤมล ทับปาน

  • วิธีการแบบเปิด (Open Approach) เป็นแนวคิดที่ครูในประเทศญี่ปุ่นนิยมใช้กัน เป็นแนวคิดที่ทำให้ครูพัฒนาการสอนของตนเองไปพร้อมๆ กับพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก
  • “เน้นกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์ โจทย์หนึ่งโจทย์อาจไม่มีวิธีหาคำตอบเพียงวิธีการเดียว ถ้าเราเน้นที่กระบวนการ เด็กๆ จะได้เรียนรู้วิธีหาคำตอบที่หลากหลาย ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้เราจะได้เห็นกระบวนการคิดของพวกเขา ที่เกิดจากการเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยมีครูผู้สอนเป็นเพียงคนยื่นโจทย์ให้และคอยเฝ้าสังเกตการณ์”
  • เปิดห้องเรียนของ ครูโสม ชฎาณิศ คำจันทร์ โรงเรียนบ้านนาขนวน ที่ใช้กระบวนการ Lesson Study และวิธีการแบบเปิด Open Approach ในวิชาคณิตศาสตร์ที่จะนำไปสู่สมรรถนะการคิดขั้นสูง โจทย์ท้าทายคือ ทำอย่างไรให้เด็กๆ รู้สึกอยากมีส่วนร่วมในการแก้โจทย์ปัญหา ได้พื้นฐานคณิตศาสตร์ และสามารถนำไปใช้ได้ หรือที่เรียกว่า ‘การเชื่อมโลกจริง เข้ากับโลกทางคณิตศาสตร์’ 

โลกของคณิตศาสตร์ เชื่อมโยงไปสู่ทักษะมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการคิดอย่างเป็นระบบ คิดอย่างมีเหตุผล และคิดวิเคราะห์ ซึ่งล้วนเป็นสมรรถนะการคิดขั้นสูง ที่ถูกพูดถึงในหลักสูตรฐานสมรรถนะ โดยมีกรอบแนวคิด คือ สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และตัดสินใจอย่างมีวิจารญาณบนหลักเหตุผลอย่างรอบด้าน โดยใช้คุณธรรมกำกับการตัดสินใจได้อย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลด้วยความเข้าใจถึงความเชื่อมโยงของสรรพสิ่งที่อยู่ร่วมกันอย่างเป็นระบบ ใช้จินตนาการและความรู้สร้างทางเลือกใหม่ เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างมีเป้าหมาย

จะเห็นว่า การคิดช่วยให้เราสามารถอธิบายสิ่งต่างๆ หรือแสดงความคิดเห็นได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ในชั้นเรียนนั้น คุณครูสามารถช่วยเสริมทักษะการคิดขั้นสูงได้ โดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด Open Approach ซึ่งเป็นแนวคิดที่ครูในประเทศญี่ปุ่นนิยมใช้กัน เป็นแนวคิดที่ทำให้ครูพัฒนาการสอนของตนเองไปพร้อมๆ กับพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก 

บทความนี้ถอดความจากเวที Online PLC Coaching  ของเครือข่ายโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา โดยเรื่องเล่าจากครูต้นเรื่อง ผ่านห้องเรียน ‘การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงทางคณิตศาสตร์ด้วยกระบวนการ Lesson Study และวิธีการแบบเปิด Open Approach บนฐานสมรรถนะ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5’

ห้องเรียนคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของ ครูโสม ชฎาณิศ คำจันทร์ โรงเรียนบ้านนาขนวน

นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach)

การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) เป็นนวัตกรรมสำหรับพัฒนาวิชาชีพครูที่ได้รับการยอมรับจากนักการศึกษาทั่วโลก และนำไปปรับใช้ในประเทศต่างๆ ซึ่งประเทศไทย รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ ได้ปรับใช้เป็นวงจรการพัฒนาวิชาชีพครู 3 ขั้นตอน ได้แก่ การร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนรู้ การร่วมกันสังเกตชั้นเรียน และการ่วมกันสะท้อนผล    

ส่วนวิธีการแบบเปิด หรือ Open Approach คือการเน้นกระบวนการแก้ปัญหาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการคิดของผู้เรียน เป้าหมายสำคัญของแนวคิดการสอนด้วยวิธีการแบบเปิดนั้น คือการที่เด็กๆ เรียนคณิตศาสตร์ ด้วยพลังและความสามารถของแต่ละคน ครูจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจวิธีคิดของเด็กๆ 

“จากที่ได้ Reflection ชั้นเรียนที่เน้นการคิดขั้นสูงทางคณิตศาสตร์ โดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีกาารแบบเปิด (Open Approach) คำถามสำคัญคือ ทำอย่างไรให้นักเรียนสามารถคิดได้เองจนไปถึงขั้นคิดขั้นสูง” ผศ.ดร.นฤมล ช่างศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคณิตศาสตร์ศึกษา พูดถึงการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ได้สมรรถนะการคิดขั้นสูงในเวทีนี้ 

“เราต้องเปลี่ยนมายเซ็ตใหม่ เน้นกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์ โจทย์หนึ่งโจทย์อาจไม่มีวิธีหาคำตอบเพียงวิธีการเดียว ถ้าเราเน้นที่กระบวนการ เด็กๆ จะได้เรียนรู้วิธีหาคำตอบที่หลากหลาย ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้เราจะได้เห็นกระบวนการคิดของพวกเขา ที่เกิดจากการเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยมีครูผู้สอนเป็นเพียงคนยื่นโจทย์ให้และคอยเฝ้าสังเกตการณ์” 

การเปิดโอกาสทางการเรียนรู้ให้กับเด็ก จะทำให้พวกเขามีอิสระทางความคิด เด็กๆ ได้พูดมากขึ้น พร้อมๆ กับรับฟังมากขึ้น เรียนรู้ความคิดที่แตกต่างจากเพื่อนในชั้นเรียน เพื่อทำความเข้าใจและยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างจากของตัวเอง ขณะเดียวกันครูก็พูดน้อยลง เน้นการสังเกตการณ์ 

โจทย์ปัญหาท้าให้คิด เชื่อมโลกจริงกับโลกคณิตศาสตร์

การใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ในการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงในวิชาคณิตศาสตร์ การวางบทบาทของครูก็เป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องนึกถึงด้วย นอกจากครูจะต้องเปลี่ยนจากผู้สอนเป็นโค้ชแล้ว การสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยอาจใช้คำถามหรือคำพูดในการกระตุ้นคิด  

โดยในห้องเรียนของ ครูโสม ชฎาณิศ คำจันทร์ ครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านนาขนวน ครูโสมใช้กระบวนการ Lesson Study และวิธีการแบบเปิด Open Approach ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ที่จะนำไปสู่สมรรถนะการคิดขั้นสูง ซึ่งโจทย์สุดท้าทายคือจะทำอย่างไรให้เด็กๆ รู้สึกอยากมีส่วนร่วมในการแก้โจทย์ปัญหา ได้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และสามารถนำไปใช้ได้ หรือที่เราเรียกว่า ‘การเชื่อมโลกจริง เข้ากับโลกทางคณิตศาสตร์’

“ชั้นเรียนนี้เป็นของ ป.5 ซึ่งเรียนถึงเรื่องการหารจำนวนเต็มกับทศนิยม เรามองว่าเป็นเรื่องที่ยาก ทำอย่างไรเด็กๆ ถึงจะแก้ปัญหาการหารได้ ทีมงานครูคณิตศาสตร์ก็มาช่วยกันออกแบบและวางแผนเลยพยายามที่จะเอาสื่อจริงมาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กเกิดแนวคิดที่จะแก้ปัญหานี้ได้”

ในที่สุดก็ได้แผนการเรียน 1 ชั่วโมง เรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่ชื่อว่า ‘แบบไหนคุ้มค่า คุ้มราคา’ ครูโสมวางจุดประสงค์ของชั่วโมงนี้ว่า เด็กๆ จะสามารถหารจำนวนเต็มด้วยทศนิยมหนึ่งตำแหน่งได้ และแสดงประโยคสัญลักษณ์ได้ถูกต้อง แสดงวิธีการแก้ปัญหา วิธีการหาคำตอบได้หลากหลายแนวคิด

ในแผนการเรียนรู้ ครูโสมมีสถานการณ์คำถามมาให้เด็กๆ ซึ่งในตอนนั้นเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่พพอดี จึงใช้โจทย์ที่ว่า คุณแม่อยากจะจัดงานเลี้ยงปีใหม่ จึงไปซื้อน้ำผลไม้ยี่ห้อหนึ่งที่ซูเปอร์มาเก็ต ซึ่งมีอยู่ 2 ขนาด 2 ราคา ให้เลือก คือ ขนาด 2 ลิตร ราคา 390 บาท และขนาด 1.6 ลิตร ราคา 320 บาท เด็กๆ ช่วยคุณแม่คิดหน่อยว่าจะซื้อขนาดไหนดี จึงจะคุ้มค่าคุ้มราคา? โดยจะคาดเดาแนวคิดของเด็กๆ ไว้ 5 แนวคิด 

“แนวคิดที่หนึ่งกับสองจะเป็นการเขียนประโยคสัญลักษณ์ ซึ่งคาดว่าเด็กๆ จะเขียนประโยคสัญลักษณ์อันแรก คือ การหารจำนวนเต็มด้วยจำนวนเต็ม 390 ÷ 2 กับการหารจำนวนเต็มด้วยทศนิยม 320 ÷ 1.6 และการแสดงการหารอีกสามแนวคิด คือ การหารแนวตั้งของ 390 ÷ 2, การเพิ่มขึ้น 10 เท่า เนื่องจาก 10 เท่า ของ 0.1 ลิตร คือ ราคาของน้ำส้ม 1 ลิตร และแนวคิดสุดท้ายคือ การทำให้เป็นจำนวนเต็มทั้งตัวตั้งและตัวหาร โดยนำไปคูณ 10 เพื่อให้ตัวตั้งและตัวหารเพิ่มขึ้น ตัวหารก็จะเป็นจำนวนเต็มที่สามารถใช้หารได้โดยที่ผลหารไม่เปลี่ยนแปลง”  

ในขั้นตอนการจัดกิจกรรม จะมีด้วยกัน 4 ขั้นตอน ตามการสอนด้วยศาสตร์แบบองค์รวม : วิธีการสอนแบบเปิด (Open Appoach)

  • ขั้นที่ 1 ครูให้สถานการณ์ปัญหา โดยให้เด็กออกมาทดลองเทน้ำผลไม้ใส่เหยือก ปริมาณ 2 ลิตร กับ 1.6 ลิตร ในราคาที่แตกต่างกัน เพื่อนำไปสู่การเปรียบเทียบว่า แบบไหน คุ้มค่าคุ้มราคา กว่ากัน โดยใช้คณิตศาสตร์มาแก้โจทย์สถานการณ์ปัญหานี้  
  • ขั้นที่ 2 นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูคอยสังเกตและบันทึกแนวคิดในขณะที่นักเรียนแก้โจทย์สถานการณ์ปัญหา 
  • ขั้นที่ 3 อภิปรายทั้งชั้นเรียน ครูจัดกลุ่มแนวคิดของนักเรียน และวางแผนลำดับแนวคิดที่ต้องการนำเสนอ
  • ขั้นที่ 4 สรุปเชื่อมโยงแนวคิด ครูร่วมกับนักเรียนจัดระบบกลุ่มแนวคิดที่ได้ในการแก้โจทย์สถานการณ์ปัญหาในครั้งนั้น และเชื่อมโยงสู่สาระสำคัญของแผนการเรียนรู้ จากนั้นให้นักเรียนเขียนสรุป 

ในการเขียนประโยคสัญลักษณ์นั้น เด็กๆ เขียนออกมา 2 แบบ ด้วนกัน แบบแรก คือ 195 ÷ 10 กับ 20 ÷ 10 และแบบที่สอง 390 ÷ 2 กับ 320 ÷ 1.6

เด็กกลุ่มที่เขียนประโยคสัญลักษณ์แบบแรก อธิบายวิธีคิดว่า “นำ 2 ลิตร มาหารกับราคาน้ำผลไม้ 390 บาท แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปหารกับ 10 (10 มาจาก 10 ขีดของ 1,000 มิลลิลิตร) จะได้ 19.5 และนำ 1.6 มาหารกับราคาน้ำผลไม้ 320 บาท นำผลลัพธ์ไปหารกับ 10 จะได้ 2 สรุปว่า ขนาดที่ 1 100 มิลลิลิตร เท่ากับ 19.5 บาท ขนาดที่ 2 100 มิลลิลิตร เท่ากับ 2 บาท ดังนั้นขนาดที่ 2 คุ้มค่าคุ้มราคามากกว่า” 

ส่วนกลุ่มที่เขียนประโยคสัญลักษณ์แบบที่สองนั้น ใช้วิธีการหารทศนิยมกับจำนวนเต็ม ซึ่งต้องทำให้ทศนิยมเป็นจำนวนเต็มก่อน โดยเพิ่มจำนวนเท่าๆ กันทั้งตัวตั้งและตัวหาร เพื่อทำให้ผลหารไม่เปลี่ยนแปลง ตัวอย่าง 320 ÷ 1.6 นำ 320 x 10 และ 1.6 x 10 จะได้ 3200 ÷ 16 = 200     

“สรุปได้ว่า ทุกกลุ่มเลือกขนาด 2 ลิตร ราคา 390 บาท เหมือนกัน โดยให้เหตุผลว่า เมื่อนำมาหารเพื่อให้ได้ 1 ลิตร เท่ากัน ขนาด 2 ลิตร ราคา 390 บาท ราคาต่อ 1 ลิตร จะอยู่ที่ 195 บาท ส่วนขนาด 1.6 ลิตร ราคา 320 บาท จะมีราคาต่อลิตรอยู่ที่ 200 บาท ดังนั้น น้ำผลไม้ขนาด 2 ลิตร ราคา 390 บาท จึงคุ้มค่าคุ้มราคามากกว่า”

ผลลัพธ์ที่สำคัญที่สุด คือ การที่เด็กได้คิดด้วยตัวเอง

ดร.นาฎฤดี จิตรรังสรรค์ หรือ ครูแอน ผู้อำนวยการโรงเรียนสุจิปุลิ ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ให้คำแนะนำในการจัดชั้นเรียนการคิดขั้นสูงและการพัฒนาทักษะการคิดที่นำไปสู่สมรรถนะต่างๆ ว่า 

“ในคาบเรียนของครูโสมนั้น เป็นการฝึกให้เด็กแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้เป็นสถานการณ์เข้ามาเป็นตัวช่วยให้เด็กๆ ได้ลองทำ แต่ยังไม่ใช่ตัวชี้วัดว่า เขาสามารถซื้อของที่คุ้มค่าคุ้มราคาจริงๆ เพราะยังมีองค์ประกอบอื่นที่ต้องเพิ่มเติม อย่างการบูรณาการสิ่งที่เรียนรู้ในครั้งนี้ว่าสามารถเรียนรู้และนำไปต่อยอดอะไรได้บ้าง เช่น เราบอกว่าเป้าหมายเราต้องการให้เขาสามารถที่จะซื้อของที่มีความคุ้มค่าในชีวิตประจำวันของเขาได้ นั่นคือเขานำไปแก้ปัญหาในโลกจริงของเขา” 

การหารได้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เด็กๆ รู้ว่าสิ่งนั้นมีปริมาตรเท่าไร และสามารถซื้ออย่างคุ้มค่าได้ ซึ่งเป็นการให้เหตุผลในเชิงปริมาณอย่างเดียว แต่ขณะเดียวกันความคุ้มค่าต้องมีเหตุผลเชิงคุณภาพประกอบการตัดสินใจด้วย 

“ของแพงกว่าไม่ได้หมายความว่าจะไม่คุ้มค่านะ ของถูกก็ไม่ได้ดีเสมอไป ทำอย่างไรเขาจะมีมิติของการคิดในการแก้ปัญหาและให้เหตุและผล เขารู้แหละว่าอันนี้มันมีปริมาณมากกว่า แต่ของบางอย่างมันมีคุณภาพมากกว่า เป็นต้น 

เอาคณิตศาสตร์ไปช่วยแก้ปัญหาเชิงปริมาณ ในขณะเดียวกันก็มีการแก้ปัญหาเชิงคุณภาพ ให้แสดงความคิดเห็น การคิดที่เป็นเชิงคุณภาพอาจเป็นเรื่องของสุขศึกษา คุณค่าทางโภชนาการ เพื่อให้การเรียนการสอนนี้มันเข้าไปในโลกจริงของเด็กได้อย่างลึกซึ้ง แล้วเด็กจะเรียนรู้คาบนี้ได้อย่างมีความหมายมากขึ้น”

ทั้งนี้ ผศ.ดร.นฤมล เสริมว่า การเรียนรู้ด้วยตัวเองของนักเรียน จะเห็นว่าเน้นให้เด็กแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ซึ่งอาจจะเป็นเดี่ยวหรือกลุ่มขึ้นอยู่กับรูปแบบกิจกรรมในแต่ละคาบเรียน ซึ่งการเรียนการสอนลักษณะนี้คุณครูจะมีหน้าที่สำคัญคือการสังเกต ส่วนหน้าที่ของเด็กๆ คือ การฝึกแสดงความคิดเห็นกับเพื่อนในชั้นเรียน 

“โจทย์ให้อะไรมา มีเงื่อนไขอะไร ต้องแก้ยังไง ฝึกเขียนอธิบายแนวคิดของตัวเอง แล้วในกลุ่มเพื่อนอาจจะมีแนวคิดที่ไม่เหมือนกันหรือขัดแย้งกัน เขาก็จะต้องพยายามหาเหตุผลหรือว่ามีหลักเกณฑ์อะไรบางอย่างมาพูดเพื่อให้เพื่อนในกลุ่มยอมรับไอเดียเขา เราต้องพยายามฝึกเด็กให้เกิดสิ่งนี้ขึ้น เป็นเรื่องของการแก้ปัญหาที่จะต้องทำร่วมกับผู้อื่น มองเห็นว่าแนวคิดของผู้อื่นมันก็โอเคนะ ไม่ใช่ยึดของตัวเอง อันนี้ก็จะถูกสอดแทรกในกระบวนการนี้ไปด้วย” 

ที่สำคัญ ในช่วงของการสรุปและเชื่อมโยงจากแนวคิดของนักเรียน จะนำไปสู่การตระหนักและการเห็นคุณค่าของแนวคิดของตนเองและผู้อื่น เพราะว่าทุกแนวคิดจะไม่ได้ถูกทิ้ง แต่เน้นให้เห็นจุดสำคัญ ซึ่งเป็นการสร้างวัฒนธรรมในชั้นเรียน

เป้าหมายของชั้นเรียนแบบนี้ ไม่ได้เน้นที่ผลลัพธ์สุดท้ายที่ถูก แต่เราเน้นกระบวนการ 4 ขั้นตอนการสอนของคุณครู นี่เป็นแนวคิดหลักในการพัฒนาการคิดขั้นสูง โดยใช้วิธีการแบบเปิด

“ถ้าเราเน้นต้องการให้เด็กแก้ปัญหาด้วยตัวเองเราก็ต้องจัดกระบวนการในลักษณะนี้ ถึงแม้ว่าเขาจะออนแฮนด์ มันก็เป็นการนำเสนอสถานการณ์ปัญหาหรือการแก้ปัญหาด้วยตัวเองของเขาที่เขาทำมาก่อน แล้วเราก็ต้องมีเวทีให้เขาได้แลกเปลี่ยนกัน ซึ่งเวทีในที่นี้อาจจะออนไลน์ก็ได้ ออนไซต์ก็ได้ หรืออาจจะติดเป็นบอร์ดของโรงเรียน แล้วก็ให้เขามาสังเกตสิ่งที่เพื่อนทำแล้วก็บันทึก เราก็สามารถปรับเปลี่ยนได้” ผศ.ดร.นฤมล ทิ้งท้าย 

Tags:

วิธีการแบบเปิด (Open Approach)การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study)โรงเรียนบ้านนาขนวนเทคนิคการสอนวิชาคณิตศาสตร์การคิดขั้นสูง

Author:

illustrator

นฤมล ทับปาน

Related Posts

  • เรียนเมตริกซ์จาก KFC เรียนตรีโกณฯ จากคดีฆาตกรรม: ห้องเรียนคณิตของ ‘ครูนัน’ ที่พาเด็กเชื่อมใช้ได้จริง

    เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง

  • Unique Teacher
    ‘จงทำให้เด็กรู้สึกโชคดีที่มีเราเป็นครู’ ครูคณิตที่นิยามตัวเองเป็น ‘นักการศึกษา’ ของครูร่มเกล้า ช้างน้อย (2)

    เรื่อง สัญญา มัครินทร์ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Unique Teacher
    ‘จงทำให้เด็กรู้สึกโชคดีที่มีเราเป็นครู’ ครูคณิตที่นิยามตัวเองเป็น ‘นักการศึกษา’ ของครูร่มเกล้า ช้างน้อย (1)

    เรื่อง สัญญา มัครินทร์

  • 21st Century skills
    อย่าให้ใครว่ามั่ว เช็คให้ชัวร์ก่อนแชร์ FAKE NEWS

    เรื่อง The Potential ภาพ KHAE

  • Character building
    ปั้น ‘คาแรคเตอร์’ ที่ดีให้เด็ก: โรงเรียน พ่อแม่ ชุมชน ต้องร่วมมือกัน

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

ทำไมครูต้องสร้างบทเรียนเพื่อความยุติธรรม
Transformative learning
8 February 2022

ทำไมครูต้องสร้างบทเรียนเพื่อความยุติธรรม

เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • การสอนเพื่อความยุติธรรม เป็นมุมมองการสอนที่เชื่อว่า ความอยุติธรรมที่ดำรงอยู่ในสังคมควรเป็นหัวใจของการเรียนรู้ นักเรียนควรได้เรียนรู้ สำรวจ ตั้งคำถาม ตระหนัก และร่วมกันแสวงหาทางเพื่อสร้างสังคมที่ยุติธรรมขึ้น
  • ในมิติชั้นเรียน สนับสนุนให้นักเรียนได้เปล่งเสียงถึงความรู้ในเชิงประสบการณ์ของความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตของพวกเขา เพื่อสร้างการสนทนา คิดไตร่ตรอง เผชิญหน้า และหาหนทางเปลี่ยนสภาพที่เป็นอยู่ จึงไม่ใช่ห้องเรียนของความเงียบ กดทับ และไร้เรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตของนักเรียน
  • บทบาทครูนอกจากการสร้างบทเรียนที่เชื่อมโยงกับความไม่ยุติธรรมแล้ว เพื่อเผยให้เห็นรากของปัญหาที่แท้จริง ครูจำเป็นต้องมีความเป็นมนุษย์และสร้างพื้นที่ปลอดภัย ที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้แบ่งปันเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตของเขา

นักเรียนชั้นประถมกลุ่มหนึ่งใช้เวลาไปกับการระดมความเห็นเกี่ยวกับเรื่องในชุมชนที่พวกเขากังวล ยาเสพติด อาวุธปืน อุบัติเหตุบนท้องถนน เหล้าบุหรี่ ฯลฯ คือตัวอย่างที่เด็กๆ ได้ร่วมกันบอกเล่าในชั้นเรียนของครูแคทเธอรีน ครูที่เชื่อว่าไม่ควรมีเด็กคนไหนต้องใช้ชีวิตภายใต้ความกังวลเหล่านั้น นี่คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้แคทเธอรีนเกิดคำถามต่อตัวเองว่า “บทบาทครูควรเป็นอย่างไร” เธอเชื่อว่า ประเด็นเหล่านี้ไม่ใช่ ‘เรื่องของผู้ใหญ่’ ตามที่ใครหลายคนบอก แต่เป็นสิ่งที่เด็กควรได้เรียนรู้ เพราะนี่คือเรื่องราวในโลกที่เป็นของเด็กๆ ด้วยเช่นกัน 

ห้องเรียนจึงเป็นพื้นที่สำคัญที่ประสบการณ์ของเด็กจากทั้งในและนอกโรงเรียนได้หลอมรวม เพื่อพาพวกเขาเรียนรู้ผ่านความกังวลเหล่านั้น และท้าทายเพื่อเอาชนะมัน 

ครูแคทเธอรีนเริ่มต้นด้วยการพาเด็กๆ เดินสำรวจเมืองที่พวกเขาอาศัยอยู่ ที่นี่เด็กๆ ได้ยินเสียงปืนในทุกค่ำคืน และหลายครอบครัวต้องสูญเสียคนในบ้านไปจากความรุนแรงและอาชญากรรมในชุมชน ประเด็นนี้ได้กลายเป็นคำถามหลักในบทเรียนของเด็กๆ ถึงอำนาจของความรุนแรง “อะไรคือความรุนแรง และทำไมมันถึงเกิดขึ้น” ไปจนถึงการที่พวกเขาลุกขึ้นมาเขียนจนหมายถึงคนขายปืนในเมืองเพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ปัญหา

นี่เป็นตัวอย่างเรื่องราวของห้องเรียนที่อยู่บนจุดยืนบทเรียนเพื่อความยุติธรรมของครูแคทเธอรีน ครูที่เชื่อว่า เป้าหมายสำคัญของการสอนคือการนำพาให้นักเรียนได้เห็นว่า การเลือกปฏิบัติต่อผู้คน การถูกกีดกันในการเข้าถึงทรัพยากร สภาพชีวิตที่อยู่บนความอันตราย ภายใต้โครงสร้างสังคมที่เราเห็นผ่านในชีวิตประจำวันนั้น ล้วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและอำนาจอย่างไร เพื่อที่พวกเขาจะได้ทำความเข้าใจ และสร้างการเปลี่ยนแปลง 

ทำไมเราต้องสอนเพื่อความยุติธรรม

การสอนเพื่อความยุติธรรมหรือ Teaching for Social Justice  เป็นมุมมองการสอนที่เชื่อว่า ความอยุติธรรมที่ดำรงอยู่ในสังคมควรเป็นหัวใจของการเรียนรู้ นักเรียนควรได้เรียนรู้ สำรวจ ตั้งคำถาม ตระหนัก และร่วมกันแสวงหาทางเพื่อสร้างสังคมที่ยุติธรรมขึ้น  การมองสังคมจากแนวคิดนี้ยังเป็นเลนส์ที่พาให้ทั้งครูและผู้เรียนกลับมาตั้งคำถามว่า เรามองเห็นและได้ยินเสียงใครบ้างในสังคมของเรา (รวมถึงตัวเรา) แล้วพวกเขา (ตัวเรา) กำลังเผชิญกับความไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำ การแบ่งแยก การกีดกัน หรือการเลือกปฏิบัติอย่างไรในแต่ละวันของชีวิต 

มุมองการสอนนี้ จึงยืนอยู่ตรงข้ามหรือโต้กลับกับระบบที่ไม่เท่าเทียมหรือกดขี่ ระบบที่ส่งผลต่อการจัดสรรทรัพยากร โอกาสในชีวิต และการปฏิสัมพันธ์กันบนอัตลักษณ์ที่แตกต่างของผู้คน เช่น เพศ สีผิว ชนชั้น ร่างกาย เชื้อชาติ ฯลฯ ควบคู่ไปกับการท้าทายอำนาจและวัฒนธรรมที่หล่อเลี้ยงสิ่งเหล่านี้เอาไว้ หรือเป็นสิ่งที่ Sonia Nieto  นักการศึกษาที่ทำงานด้านนี้ มองว่า การสอนเป็นการทำงานการเมือง เพื่อยืนยันถึงสิทธิพลเมืองที่อยู่บนความเป็นธรรม ความเคารพศักดิ์ศรี และความเอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์ 

ในมิติชั้นเรียน การสอนเพื่อความยุติธรรมจึงสนับสนุนให้นักเรียนได้เปล่งเสียงถึงความรู้ในเชิงประสบการณ์ของความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตของพวกเขา เพื่อสร้างการสนทนา คิดไตร่ตรอง เผชิญหน้า และหาหนทางเปลี่ยนสภาพที่เป็นอยู่  นี่จึงไม่ใช่ห้องเรียนของความเงียบ กดทับ และไร้เรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตของนักเรียน

ในมุมมองของ Gutstein การสอนเพื่อความยุติธรรม จึงเป็นการติดตั้งเลนส์ เพื่อให้นักเรียนมีวิธีการ ‘อ่านโลก’ ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจและความไม่เป็นธรรมที่ดำรงอยู่ตั้งแต่ในชีวิตประจำวันจนถึงสังคมใหญ่ ในด้านหนึ่งคือ ‘การเขียนโลก’ ที่ดีกว่าขึ้นมาใหม่ ผ่านการเผชิญหน้ากับระบอบที่ไม่ยุติธรรมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง   

บทบาทครูกับการสร้างบทเรียนเพื่อความยุติธรรม 

ในหนังสืออย่าง Teaching for Diversity and Social Justice  ระบุว่า สิ่งสำคัญสำหรับครู คือการเริ่มตั้งคำถาม “ใครคือผู้กดขี่” และ “ใครเป็นผู้ถูกกดขี่” ที่ถูกกระทำซ้ำผ่านพฤติกรรมและทัศนคติ ทั้งจากที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ตั้งแต่ระดับตั้งแต่ปัจเจกบุคคล สถาบันทางสังคม ระบบกฎหมาย รวมถึงสังคมวัฒนธรรม องค์กร The Canadian Council for Refugee ได้ชี้ชัดลงไปอีกว่า การพิจารณาถึงการกดขี่และความไม่ยุติธรรมนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมองให้เห็นว่า ใครมีอภิสิทธิ์ (privilege)  ผ่านหลากหลายมิติ เช่น เชื้อชาติ ภาษา อายุ สีผิว เพศ สถานะความเป็นพลเมือง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สำคัญเพราะจะช่วยให้ครูเห็นว่า ภายใต้ความไม่ยุติธรรม (1) ใครกำลังได้ประโยชน์จากสิ่งที่เป็นอยู่ (2) ทำไมการกดขี่ยังถึงดำรงอยู่ต่อไปได้ และ (3) สิ่งนี้กำลังสร้างหรือผลิตซ้ำคุณค่าของสังคมแบบไหนขึ้นมา

นอกจากนี้ เราอาจจำเป็นต้องตั้งคำถามว่า บทบาทของโรงเรียน ตำราเรียน ครู กำลังส่งต่อ ถ่ายทอด  ผลิตซ้ำความรู้และวัฒนธรรมของความไม่ยุติธรรมเหล่านี้หรือไม่ ถ้าเช่นนั้น บทบาทครูควรจะสร้างห้องเรียน โรงเรียน และการศึกษา เพื่อท้าทายสิ่งเหล่านี้อย่างไร เพื่อไม่ให้ความไม่ยุติธรรม การกดขี่ และการเลือกปฏิบัติ ดำรงอยู่ต่อไปได้  

ครูทิว ธนวรรธน์ สุวรรณปาล จากกลุ่มครูขอสอน เห็นว่า แทนที่การสอนจะยึดติดกับสิ่งที่แบบเรียนกำหนด การสอนควรท้าทายต่อมายาคติ วัฒนธรรมความโรแมนติกที่บดบังปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความไม่ยุติธรรมของสังคมเอาไว้ บทเรียนในความเห็นของครูทิว จึงให้ความสำคัญกับการตั้งคำถาม สร้างการวิพากษ์ สืบเสาะผ่านการเชื่อมโยงในชีวิตจริงของนักเรียน นอกจากนี้ Renée Watson and Linda Christensen นักการศึกษาหัวก้าวหน้า ได้ชี้ว่า บทบาทครูนอกจากการสร้างบทเรียนที่เชื่อมโยงกับความไม่ยุติธรรมแล้ว เพื่อเผยให้เห็นรากของปัญหาที่แท้จริง ครูจำเป็นต้องมีความเป็นมนุษย์และสร้างพื้นที่ปลอดภัย ที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้แบ่งปันเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตของเขา

วิธีสร้างสะพานบทเรียนเพื่อความยุติธรรม 

ครูชัยวัฒน์ ครูในเครือข่าย Thai Civic Education ได้ใช้ GPS มาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างบทเรียนเพื่อพานักเรียนเรียนรู้เรื่องความไม่เป็นธรรมในเขตย่านพระโขนง โดยให้นักเรียนปักหมุดเส้นทางระหว่างเดินทางกลับบ้าน การปักหมุดจึงไม่ใช่แค่การคำนวณระยะทาง แต่นักเรียนจะได้สำรวจชีวิตผู้คน และความไม่ธรรมที่เกิดขึ้นระหว่างทาง บทเรียนของครูชัยวัฒน์ ได้กลายเป็นบทสนทนาในชั้นเรียนถึงความเหลื่อมล้ำในเขตพื้นที่เมืองในมิติของชนชั้น รายได้ ที่ส่งผลต่อการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะที่ต่างกัน หรืออีกตัวอย่าง ห้องเรียนของครูไม้เอก จากโรงเรียนสาธิตธรรมศาสตร์ที่สร้างกระบวนการให้นักเรียนได้ตั้งคำถามเพื่อถอดรื้อการกดทับ กีดกันในมิติเรื่องเพศ จากสื่อโฆษณา เพลง หนัง วรรณกรรม ที่อยู่รายล้อมตัวนักเรียน

นี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่ช่วยสะท้อนให้เห็นรูปธรรมของการสอนเพื่อความยุติธรรม ในเว็บไซต์อย่าง Edutopia and learning for social justice ได้เสนอวิธีการไว้หลากหลาย ซึ่งอาจสรุปได้ 3 วิธีการ ดังต่อไปนี้ 

  1. สร้างการเชื่อมโยงกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ด้วยมุมมองที่หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนได้เกิดการสนทนากับปัญหา ผลกระทบที่เกิดขึ้น และค้นหาแนวทางการแก้ไขปัญหา ที่ไม่ใช่แค่ในระดับผิวเผิน แต่ต้องพาให้พวกเขาได้ตั้งคำถามถึงใจกลางปัญหาที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเชิงโครงสร้าง ในมิติสังคมการเมือง และประวัติศาสตร์ และยืนหยัดเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
  2. สร้างการเรียนรู้ผ่านสื่อที่หลากหลายที่นักเรียนคุ้นเคย  เช่น วรรณกรรม การ์ตูน ข่าว บทความ และสารคดี เป็นต้น  เพื่อให้พานักเรียนสำรวจ ถอดรื้อ ถึงความไม่เป็นธรรม มายาคติ และอคติที่แอบแฝงอยู่ในสื่อ หรือเรียนรู้เรื่องราวของการต่อสู้กับความไม่ยุติธรรม
  3.  สร้างการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน  ดังที่กล่าวไปในก่อนหน้า พื้นที่ห้องเรียนควรเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วม ผ่านบทบาทของครูในการใช้คำถาม ตัวอย่าง เรื่องราว ประเด็น ที่เชื่อมโยงกับแนวคิดสำคัญของการสอนเพื่อความยุติธรรม เช่น อภิสิทธิ์ (Privilege) การแบ่งแยก (Discrimination) อคติ (Prejudice)  ความหลากหลาย (Diversity)  เป็นต้น

การสอนเพื่อความยุติธรรม จึงไม่ใช่เรื่องของวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือประเด็นหนึ่งในการสอน แต่เป็นจุดยืน แนวคิด และมุมมองการสอนที่เชื่อว่า การกดขี่ ความไม่เป็นธรรม และการเลือกปฏิบัติ ไม่ใช่สิ่งที่ปกติ แต่เป็นสิ่งที่เราต้องตั้งคำถามเพื่อเผยให้เห็นว่ามันเกิดขึ้นและส่งผลอย่างไรต่อชีวิตของพวกเรา และไม่ยอมจำนนกับสิ่งที่เป็นอยู่

อ้างอิง

ภาษาอังกฤษ

Teaching Young Children About Bias, Diversity, and Social Justice (https://www.edutopia.org/blog/teaching-young-children-social-justice-jinnie-spiegler)

Creating Classrooms for Social Justice https://www.edutopia.org/blog/creating-classrooms-for-social-justice-tabitha-dellangelo

Teaching Social Justice in Theory and Practice https://resilienteducator.com/classroom-resources/teaching-social-justice/

Digging Deep Into the Social Justice Standards: Justice https://www.learningforjustice.org/magazine/spring-2020/digging-deep-into-the-social-justice-standards-justice

The Power of Teaching Poetry A Conversation https://rethinkingschools.org/articles/the-power-of-teaching-poetry/?fbclid=IwAR0_yLtapG8XE9bs5F_WHPtGW7fKc7rxFM3bLB8Ws_YkAUKa_p4gDMS6XbM

Anti-oppression https://ccrweb.ca/en/anti-oppression

หนังสือ Teaching for Diversity and Social Justice  

หนังสือ Confronting Racism, Poverty, and Power: Classroom Strategies to Change the World 

ภาษาไทย

“สอนคณิตอย่างไร ให้ตั้งคำถามถึงความเป็นธรรม” https://www.facebook.com/eduzenthai/photos/a.798941106860833/3956220457799533/

Civic Classroom ตอนที่ 2 : ใช้GPS ปักหมุดสอนเรื่องความไม่เป็นธรรม https://www.facebook.com/media/set/?vanity=thaiciviceducationcenter&set=a.2948001311942867

ครูทิว-ธนวรรธน์ สุวรรณปาล: สอนเด็กตั้งคำถาม ทลายโครงสร้างเหลื่อมล้ำ https://www.eef.or.th/tanawat-suwannapan-interview/

Happy Pride Classroom ความหลากหลายทางเพศสอนยังไง https://inskru.com/idea/-MbdjC1bVJG__xRLhkj-

Tags:

ครูความเหลื่อมล้ำการเรียนรู้การสอนเพื่อความยุติธรรม (Teaching for Social Justice)

Author:

illustrator

อรรถพล ประภาสโนบล

ครูพล อดีตครูสังคมศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่ง ผู้เขียนหนังสือ “ห้องเรียนล้ำเส้น” และบรรณาธิการร่วมหนังสือ “สังคมศึกษาทะลุกะลา” ปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาสาขา Education studies ที่ไต้หวัน

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • teaching-nologo
    Learning Theory
    การสอนคือความยินดีที่จะมอบใจให้ใครสักคนเข้ามาในชีวิตของเรา

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Education trend
    ความผิดพลาดของการสอนวิทยาศาสตร์ที่อาจพาประเทศชาติหลงทาง

    เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์

  • Education trend
    AI กับอนาคตการศึกษา: ตัวช่วยที่ทำให้เด็กเก่งขึ้น หรือตัวการขัดขวางการเรียนรู้ ทำลายอาชีพครู

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Transformative learning
    4 ไอเท็มที่ครูอาจจำเป็นต้องมี ในห้องเรียนพหุวัฒนธรรม

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Everyone can be an Educator
    เรียนรู้นอกกรอบ กับอดีตครูนอกคอก: อาจารย์จำลอง บัวสุวรรณ์ ผู้ก่อตั้ง ‘กลุ่มลูกหว้า’ เยาวชนก่อการดีแห่งเมืองเพชร

    เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง ภาพ สิริเชษฐ์ พรมรอด

CODA: พ่อแม่อาจ ‘ไม่ได้ยิน’ เสียงของลูกที่กำลังสื่อสารความต้องการของพวกเขา
Movie
3 February 2022

CODA: พ่อแม่อาจ ‘ไม่ได้ยิน’ เสียงของลูกที่กำลังสื่อสารความต้องการของพวกเขา

เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • CODA เป็นหนังที่งดงาม ละมุน ดูง่าย มีพล็อตเรื่องร้ายกาจ เราจะได้ฟังเพลงเพราะๆ และได้ขำคิกคักพร้อมกับเสียน้ำตานิดๆ ในความเปราะบางของการเป็นพ่อ แม่ และลูก 
  • เรื่องราวคล้ายกับเปรียบเทียบให้เห็นว่า ถึงแม้จะเป็นครอบครัวหูดี แต่บางครั้งพ่อแม่ก็ไม่ได้ยินเสียงลูกที่กำลังพยายามบอกความต้องการ หรือความฝันของตัวเองเลยด้วยซ้ำ
  • เมื่อสัมผัสถึงความต้องการของลูกแล้ว สิ่งที่ครอบครัวจะทำให้กับลูกได้นั้นก็คือ รับฟังสิ่งที่ลูกต้องการและสนับสนุนให้ลูกได้ทำตามความฝัน

Tags:

ครอบครัวความเข้าใจลูกภาพยนตร์CODA

Author:

illustrator

พิมพ์พาพ์

เป็นลูกคนเดียวจากแม่เลี้ยงเดี่ยว เรียกตัวเองว่านักวาดภาพประกอบที่ชอบวาดคนหน้าแมว เผลอเสียน้ำตาให้กับหนังครอบครัวอยู่บ่อยๆ

Related Posts

  • Movie
    Modern love Tokyo (2022): แม่ต้องปล่อยวางหลายเรื่อง แต่วันหนึ่งลูกจะภูมิใจในเราเองแหละ

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Playground
    หลานม่า: ในความทรงจำแสนดี คือวิถีที่ลูกหลานอาจต้องทน

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Movie
    Monster: เรื่องโกหกที่เริ่มต้นจากความกลัวเพราะไม่อยากเป็นตัวประหลาด

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Movie
    Yes Day: ขอให้มีสักวันที่แม่จะไว้ใจและให้พื้นที่อิสระพอที่เราจะใช้ชีวิตในแบบของตนเอง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Movie
    Lady Bird : ด้วยรักและเอาชนะ ระหว่างมนุษย์ลูกผู้อยากโผบินกับมนุษย์แม่ขี้โมโห

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

การสื่อสารความจริงของเราออกไป
Myth/Life/Crisis
3 February 2022

การสื่อสารความจริงของเราออกไป

เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • ตอนเด็กๆ เรามักจะได้ยินผู้ใหญ่สอนว่าห้ามพูดโกหกนะ แต่เมื่อโตขึ้นก็กลับตระหนักรู้ว่าเราได้ใช้ชีวิตอยู่กับเรื่องเล่าลวงของอัตตาตนเองมา พอกันกับที่ถูกหลายสถานการณ์บีบคั้นให้ต้องป้อนคำลวงให้คนอื่นไปตามโอกาส ยิ่งในการปฏิสัมพันธ์ที่สามารถให้ประโยชน์และโทษด้วยแล้วคนพูดก็ย่อมระแวดระวัง
  • ภัทรารัตน์ เล่าถึงเด็กคนหนึ่งในเรื่องฉลองพระองค์ชุดใหม่ของพระราชา ที่กล้าพูดความจริงออกมาเป็นคนแรก เด็กคนนี้เปรียบเหมือนพลังงานขบถซึ่งเป็นอิสระจากแบบแผนเก่าๆ ทำให้ทุกคนตื่นขึ้นจากความลวง ทั้งที่หลอกตัวเองและหลอกกันเอง
  • การที่เรากล้าพูดความจริงของเราออกไปทำให้เราสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นกล้าพูดความจริงของเขาด้วย เหมือนเด็กในนิทานที่ทำให้ประชนชนเริ่มส่งต่อความจริงไปสู่กันและกัน มันย่อมต้องสำคัญและตอบสนองอะไรบางอย่างในตัวผู้พูดเองเอง

1.

ณ เมืองแห่งหนึ่งซึ่งมีพระราชาที่หมกมุ่นอยู่กับการแต่งตัว มีนักต้มตุ๋นสองคนเดินทางเข้ามาโดยแอบอ้างว่าเป็นช่างทอผ้า ซึ่งสามารถทอผ้าอันมีคุณสมบัติพิเศษ กล่าวคือคนที่ดำรงตำแหน่งการงานอันไม่เหมาะสมกับตนเองและคนโง่เขลาจะมองผ้าทอดังกล่าวไม่เห็นเลย 

พระราชาได้ฟังคุณสมบัติของผืนพัสตราจึงจ้างช่างทอกำมะลอให้ทอและตัดเย็บฉลองพระองค์ใหม่ให้ ซึ่งพวกเขาก็เพียงแต่แสร้งทำเป็นทอผ้า ทว่าบรรดาขุนนางที่พระราชาส่งไปดูความคืบหน้า แม้เมื่อมองไม่เห็นผลงานของช่างทอเลยแต่ก็ต่างเออออไปกับคำลวงของนักตุ๋นและกราบทูลพระราชาถึงความวิจิตรพิสดารของผืนผ้าอันไม่ปรากฏแก่สายตานั้น  กระทั่งถึงวันที่พระราชาต้องลองฉลองพระองค์ที่เสร็จสมบูรณ์พระองค์ก็มองไม่เห็นอะไรเลยเช่นกัน แต่ก็ไม่อยากเชื่อว่าพระองค์ไม่เหมาะกับยศกษัตริย์หรือเป็นคนเขลา เช่นเดียวกับข้าราชบริพารและประชาชนทั้งหลายที่แม้ไม่เห็นสิ่งใดอยู่เบื้องหน้าแต่ก็พร้อมใจกันยกยอความงามของฉลองพระองค์ล่องหนที่พระราชาสวมใส่อวดในขบวนแห่ 

แต่ในที่สุดก็มีเด็กคนหนึ่งตะโกนขึ้นอย่างไร้เดียงสา เมื่อเห็นพระราชาในชุดล่องหนว่า พระองค์ ไม่ได้ใส่อะไรเลย! 

แล้วประชาชนก็เริ่มกระซิบกระซาบข้อเท็จจริงนี้ต่อๆ กันไป กระทั่งคลื่นแห่งสรรพเสียงของพวกเขาหลอมรวมเป็นความเอกฉันท์ว่า ที่แท้แล้วพระราชาทรงความเปลือยเปล่า   

2.

หน้าที่ของความเท็จและกึ่งจริงกึ่งเท็จ

แม้ตอนเด็กๆ เรามักจะได้ยินผู้ใหญ่สอนว่าห้ามพูดโกหกนะ แต่เมื่อโตขึ้นก็กลับตระหนักรู้ว่าเราได้ใช้ชีวิตอยู่กับเรื่องเล่าลวงของอัตตาตนเองมา พอกันกับที่ถูกหลายสถานการณ์บีบคั้นให้ต้องป้อนคำลวงให้คนอื่นไปตามโอกาส ยิ่งในการปฏิสัมพันธ์ที่สามารถให้ประโยชน์และโทษด้วยแล้วคนพูดก็ย่อมระแวดระวัง “แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา จะพูดจาพิเคราะห์ให้เหมาะความ”

แต่ในอีกทางหนึ่งการพูดสิ่งที่ไม่ตรงกับที่คิดเสียทีเดียวก็มิได้เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของเรา แต่เป็นความพยายามช่วยปกป้องคนอื่นไม่ให้เขาเจ็บปวดจนเกินไป บ้างก็เป็นอาหารใจหล่อเลี้ยงผู้ฟังเพื่อเป็นฐานสำหรับขั้นต่อไปสำหรับเขาในการรับฟังเรื่องราวอีกด้าน ดูเหมือนในความก้ำกึ่งดังกล่าวนั้นมีอีกสิ่งซุกซ่อนอยู่ นั่นคือทุกชีวิตล้วนแล้วแต่ต้องการการยอมรับและรู้สึกว่ามีคุณค่าในโลกใบนี้

บทบาทของเด็กที่โพล่งความจริงออกมา

อย่างไรก็ตาม ในนิทานนี้ก็มีเด็กที่กล้าพูดความจริงออกมาเป็นคนแรก เด็กคนนี้เปรียบเหมือนพลังงานขบถซึ่งเป็นอิสระจากแบบแผนเก่าๆ ที่ใกล้หมดอายุ เป็นพลังการปฏิรูปอันพร้อมเริ่มต้นสิ่งใหม่ผสานไปกับพลังความไร้เดียงสา เด็กคนนี้ไม่ได้พูดความจริงของเขาขึ้นมาเพื่อจะกระชากหน้ากากใคร เขาไม่ได้กระเทาะอัตตาคนอื่นเพื่อสนองอัตตาของตัวเองว่าผมเก่ง ผมชนะ เขาก็แค่พูดสิ่งที่เห็นไป ซื่อๆ ซึ่งส่งผลอันทรงพลัง กล่าวคือ เขาทำให้ทุกคนตื่นขึ้นจากความลวง ทั้งที่หลอกตัวเองและหลอกกันเอง

ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าความสามารถที่จะแสดงความจริงของเราออกไปมีประโยชน์ ดังนี้

ประโยชน์ของการแสดงความจริงของเราออกไป

1. การเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นกล้าพูดความจริง

การที่เรากล้าพูดความจริงของเราออกไปทำให้เราสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นกล้าพูดความจริงของเขาด้วย เหมือนเด็กในนิทานที่ทำให้ประชนชนเริ่มส่งต่อความจริงไปสู่กันและกัน มันย่อมต้องสำคัญและตอบสนองอะไรบางอย่างในตัวผู้พูดเองเอง ไม่อย่างนั้นจะเสียพลังงานพูดมันออกมาให้กันฟังไปทำไม?  

2. การมีความสัมพันธ์ที่จริงแท้และการเติบโต 

อีกสิ่งที่เราใช้ประเมินตัวเองและผู้อื่นได้ ก็คือการดูว่าสามารถทนความจริง(และสิ่งที่คนอื่นคิดว่าจริง)ได้มากน้อยแค่ไหนและรับมือกับมันอย่างไร ถ้าเราอยู่ในความสัมพันธ์ที่ต้องแก้ไขเรียบเรียงสิ่งที่จะสื่อสารอยู่ตลอดเพื่อจะปกป้องความรู้สึกของอีกฝ่ายรวมถึงตัวเราเองด้วย มันก็มีแนวโน้มจะต้องประนีประนอมกับความซื่อตรงและบูรณภาพของตัวเองกระทั่งความจริงแท้ของเราค่อยๆ สูญหายไปในความสัมพันธ์ คล้ายว่าอีกฝ่ายกำลังปฏิสัมพันธ์กับ “ตัวปลอม” ของเราอยู่เรื่อยไป ซึ่งก็ต้องตั้งคำถามเช่นกันว่ามันดีต่อสุขภาวะในระยะยาวของเขาและตัวเราเองหรือไม่? มันมีการ พึ่งพา ซึ่งรวมถึงการพึ่งพาทางอารมณ์จากตัวเราเองร่วมอยู่ด้วยหรือไม่? ดร.จอร์แดน ปีเตอร์สัน (Jordan B. Peterson) ศาสตราจารย์สาขาวิชาจิตวิทยาชาวแคนาดาให้ความสำคัญกับ การพูดความจริงออกมา ข้อแนะนำของเขาคือ “ทั้งๆ ที่ฉันโง่เง่า มีอคติ ไม่รู้เหนือรู้ใต้แบบนี้แหละ แต่ฉันจะสื่อสารสิ่งที่คิดให้ชัดที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจะเผชิญกับผลลัพธ์ไม่ว่ามันจะเป็นอะไรก็ตาม” เมื่อเรากล้าสื่อสารออกมาตามที่คิดจริงๆ คนอื่นจะสะท้อนหรือกระแทกเรากลับมาเอง ซึ่งก็เป็นราคาที่ต้องจ่ายแต่จะทำให้เราเรียนรู้และสามารถสื่อสารได้เฉียบคมขึ้นในครั้งต่อๆ ไป อีกทั้งจะเพิ่มความสามารถในการรับแรงกดดันได้มากขึ้นเรื่อยๆ

ในขณะเดียวกันการไม่พูดความจริงของเราออกมานั้นก็มีสิ่งที่ต้องแลกเหมือนกัน เช่น ไม่สามารถสื่อสารความเห็นตัวเอง ไม่กล้ายืนหยัดต่อสู้เพื่ออาณาเขตของตัวเอง รู้สึกไร้อำนาจและเต็มไปด้วยความคับข้องขุ่นใจและเคารพตัวเองน้อยลงทุกที

ในแง่นี้ หากคนเราสัมพันธ์กันอย่างมีพื้นที่ให้ยั่วให้แย้ง ไม่เพียงแต่จะรู้สึกปลดปล่อยกว่าและมีชีวิตชีวากว่า แต่การกระทบกระทั่งกันได้บ้างก็เป็นโอกาสในการเติบโตของทั้งสองฝ่าย 

3.การเติมพลังให้ตัวเองและสังคม

ยิ่งไปกว่านั้น หากแต่ละคนสามารถพูดความจริงของตนออกไปในบริบทที่ประเมินแล้วไม่น่าจะพูดอะไรได้ เช่น เมื่อเราหรือพวกของเราอยู่ในความสัมพันธ์ที่ตนมีผลรวมของอภิสิทธิ์น้อยกว่าหรือมีความได้เปรียบทางสังคมน้อยกว่า การได้พูดความจริงของเราออกไปก็สามารถทำให้เกิดพลังบางอย่างขึ้นในใจ ปลดเปลื้องจากความหนักที่เคยถูกกดทับ อย่างน้อยๆ มันก็ตอบสนองว่าการดำรงอยู่ของพวกเราสำคัญและมีความหมายเหมือนกันนะ

3.

อย่างไรก็ตาม เวลาที่เราใช้ชุด ‘ความจริง’ อันหนึ่งปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น สุดท้ายก็ย่อมส่องสะท้อนกลับมาหาสิ่งที่เราตกลงกับตัวเองเช่นกัน ในระดับความจริงโดยสมมุติ จริง-เท็จ เท็จ-จริง ล้วนคลุกเคล้าถักทอพันกันไปมาจนไม่อาจแยกออก หากเราเป็นจริงเป็นจังกับสิ่งที่เป็นเสมือนฟองอากาศอันดำรงอยู่เพียงชั่ววูบมากไป เราก็จะเหนื่อยเกินจำเป็น

อีกด้านหนึ่งของการกระทบหรือชนะกันด้วยสิ่งที่คิดว่าจริงก็คือความพ่ายแพ้  

ในอีกทางเลือกหนึ่ง(ซึ่งจะเลือกหรือไม่เลือกใช้ตอนไหนก็สุดแล้วแต่) นอกเหนือจากแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการกล้าแสดงความจริงของตนออกมา หากเราพิจารณาว่าแม้แต่ “วาจาใดอันจริง อันแท้ ประกอบด้วยประโยชน์และเป็นที่รัก ที่พึงใจของผู้อื่น” เมื่อเข้าทุกองค์ประกอบแล้ว ก็ยังต้องมี กาละที่เหมาะ เพื่อกล่าววาจานั้นออกมาแล้วไซร้ 

เราก็มีพื้นที่แห่งความเงียบไว้ให้เคารพชุด ‘ความจริง’ ของคนอื่นในชั่วขณะของเขา และปล่อยให้เสียงแห่ง ‘ความจริง’ ในระดับความละเอียดต่างๆ ถูกตรับฟังอย่างเหมาะแก่จังหวะแห่งการเติบโตที่หลากหลายของชีวิตนั้นๆ เอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับอัตตาของเรา ดั่งเช่นที่เราก็มีชั่วขณะต่างๆ ของตัวเองในการตื่นจากความลวง  

เมื่อแก่นสารบางอย่างถึงจุดสูงสุด ความจริงของคู่แย้งได้เริ่มปรากฏขึ้น และกระแสน้ำที่ไหลไปจนเบื้องปลายก็ให้กำเนิดไฟชีวิตใหม่อีกครั้ง  

เรื่อยไปจนกว่าเราจะตื่นจากช่วงชั้นต่างๆ แห่งความลวงได้ครบทั้งสิ้น ❄ 

อ้างอิง

อภัยราชกุมารสูตร สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

พระอภัยมณี โดย สุนทรภู่

The Emperor’s New Clothes, a translation of hans christian andersen’s by jean hersholt. 
How White Are Your White Lies? White Lies Are Generally Fine, But Use Them Cautiously
13 Things That Will Happen When You Always Speak The Truths

Postmodernism: practice and pathology, talk the lead, 23-25 February 2017

The Truth, Motivation Thrive 

Tags:

ความจริงการพูดฉลองพระองค์ชุดใหม่ของพระราชา

Author:

illustrator

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา

ชอบอยู่กับต้นไม้ใบไม้ต่างๆ ผืนน้ำ เที่ยวไปในโบราณสถาน และเรียบเรียงสิ่งที่อยู่ในเงามืด เราเองยังต้องเรียนรู้และขัดเกลาอะไรอีกมาก รู้สึกขอบคุณที่ให้โอกาสเราได้ฟังเรื่องราวของทุกคนนะ (Line ID: patrasuwan)

Illustrator:

illustrator

กรองพร ทององอาจ

Graphic Designer & Illustrator Instagram: @monkrongpin

Related Posts

  • Relationship
    แม้แผลใจจะยังไม่หายดี แต่เธอก็มีความสัมพันธ์ที่ดีได้นะ

    เรื่อง ชัค ชัชพงศ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Myth/Life/Crisis
    ความตายขับเคลื่อนชีวิต (2): เมื่อการระลึกถึง ‘ความตาย’ ทำให้เข้าใจความหมายของ ‘ชีวิต’

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Healing the trauma
    Overexplaining: แกะปมที่ซ่อนอยู่ในคำอธิบายอันท่วมท้นของใครบางคน

    เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to enjoy life
    เก็นจิ เก็นบุตซึ (Genchi Genbutsu):  ไปให้เห็นกับตา ค้นหาความจริงและไม่ด่วนตัดสิน

    เรื่อง ปริพนธ์ นำพบสันติ ภาพ ninaiscat

  • Early childhood
    เด็กควรได้รับโอกาสในการกระตุ้น ‘พัฒนาการตามวัย’ : พรินทร์ อัศเรศรังสรร ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์สื่อความหมาย

    เรื่อง นฤมล ทับปาน

Posts navigation

Older posts
Newer posts

Recent Posts

  • ‘นิทานปากเปล่า’ เล่าความรักให้ลูกฟัง สร้างจินตนาการ สานสัมพันธ์ในครอบครัว: แม่จาว – วัชราวรรณ เพชรบุล
  • ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP4: การซึมซับและปรับตัว 
  • เปลี่ยนระบบนิเวศโรงเรียนเป็นสนามพลังบวก ยกระดับเด็กด้อยโอกาสสู่เด็กได้โอกาส: ผอ.วรรณรักษ์ หงษ์ทอง
  • F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง
  • Myth Universe : จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์สู่ Edutainment ความรู้นอกห้องเรียนที่เริ่มต้นจากคำถามและการเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง

Recent Comments

  • Existential crisis: วิกฤตชีวิตที่มาพร้อมกับคำถาม “แล้วฉันอยู่เพื่ออะไร” – EducationNet on Midlife Crisis: เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ทำไมใจถึงวิกฤต
  • The Psychological Wounds of Winnie the Pooh and His Friends: Exploring Characters from a Classic Literary Work - World Today News on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • Exploring the Psychological Wounds of Winnie the Pooh and Friends: A Fascinating Analysis - Archyde on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • 6 วิธีฝึกสอนให้ลูกเป็นเด็กมี Critical Thinking ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต – โรงเรียนมารีวิทยา ป on CRITICAL THINKING: สอนเด็กให้รู้คิด ผิดหรือถูกก็ใช้วิจารณญาณเป็น
  • Best รูป พลเมือง ดี Update New – Haiduongcompany.com on สอนและสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เรื่องไม่ง่ายที่ครูทำได้

Archives

  • July 2025
  • June 2025
  • May 2025
  • April 2025
  • March 2025
  • February 2025
  • January 2025
  • December 2024
  • November 2024
  • October 2024
  • September 2024
  • August 2024
  • July 2024
  • June 2024
  • May 2024
  • April 2024
  • March 2024
  • February 2024
  • January 2024
  • December 2023
  • November 2023
  • October 2023
  • September 2023
  • August 2023
  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • October 2021
  • September 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • April 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • November 2019
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017

Categories

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Uncategorized
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel