Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย

Month: August 2024

หากวันใดคุณหลงทาง จงฟังเสียงที่อยู่ในหัวใจ
Book
31 August 2024

หากวันใดคุณหลงทาง จงฟังเสียงที่อยู่ในหัวใจ

เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • หนังสือ ‘หากวันใดคุณหลงทาง จงฟังเสียงที่อยู่ในหัวใจ’ ผลงานเขียนของ ‘มิยาชิตะ นัตสึ’ เล่าเรื่องราวของ ‘โทมุระ’ ชายหนุ่มผู้ไร้จุดหมาย แต่ได้ค้นพบความฝันในการเป็นช่างจูนเปียโนหลังจากได้ยินเสียงเปียโนที่ผ่านการปรับจูน และเริ่มต้นเส้นทางการตามหาความฝันนั้นด้วยความพยายามของตนเอง
  • แม้จะตั้งใจและพยายามอย่างหนัก แต่การเป็นช่างจูนเปียโนของโทมุระก็ไม่ใช่เส้นทางที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ เขาต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย ทั้งความกดดันจากตัวเองและจากผู้อื่น รวมถึงคำถามที่ว่า เขาจะมีพรสวรรค์มากพอที่จะประสบความสำเร็จในเส้นทางนี้หรือไม่
  • ทุกคนต่างมีที่ทางของตัวเอง ทุกคนต่างมีเส้นทางของตัวเอง และทุกคนต่างมีการเดินทางของตัวเอง บางคนอาจก้าวกระโดดเร็วด้วยพรสวรรค์ บางคนอาจเดินช้าๆ ทีละก้าว แต่สุดท้าย ทุกคนก็ไปถึงจุดหมายปลายทางได้เหมือนกัน

โรเจอร์ เฟดเดอเรอร์ ตำนานแห่งวงการเทนนิส ได้ชื่อว่าเป็นอัจฉริยะคนหนึ่งในโลกกีฬา โดยเฉพาะท่าตีแบคแฮนด์มือเดียวที่แสนงดงามแต่ทรงพลังของเขา ที่ทำให้ทุกคนพูดกันว่า เขาคือนักเทนนิสที่มาพร้อมพรสวรรค์ (Gifted) จึงสามารถตีท่ายากได้แบบสบายๆ ราวกับไม่ได้ออกแรงอะไรเลย

เฟดเดอเรอร์พูดถึงเรื่องนี้ว่า พรสวรรค์ ไม่ใช่แค่การที่คุณสามารถทำสิ่งยากๆ ได้อย่างง่ายดายเท่านั้น หากยังรวมไปถึงการมีวินัยในตัวเองอย่างเคร่งครัด การไปสนามซ้อมทุกวันก่อนคนอื่น และกลับบ้านหลังคนอื่น การมีทัศนคติที่ดี การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากคู่แข่ง การมีความอ่อนน้อมถ่อมตน หรือแม้กระทั่งการคุมโภชนาการอย่างจริงจัง

สิ่งที่เฟดเดอร์พูดไว้ คือความจริงที่หลายคนมักมองข้าม หรือมองไม่เห็น พรสวรรค์จริงๆ ไม่ใช่แค่ความสามารถพิเศษ แต่ยังรวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ที่คนไทยเรียกว่า ‘พรแสวง’ ซึ่งจะช่วยให้พรสวรรค์นั้นยิ่งแข็งแกร่งขึ้น หรือกระทั่งช่วยให้คนที่ไม่มีพรสวรรค์ อาจพัฒนาความสามารถได้เทียบเท่าผู้ที่มีทักษะมาโดยธรรมชาติ

ยิ่งไปกว่านั้น คนที่มีพรสวรรค์ หากละเลยองค์ประกอบของพรแสวง อาจทำให้พรสวรรค์ที่เคยเป็นพร กลับกลายเป็นคำสาป ที่ทำให้คนๆ นั้น ย่ำอยู่กับที่โดยไม่มีพัฒนาการ ที่จะพาตัวเองทะยานไปไกลกว่าเดิม

หนังสือที่มีชื่อเรื่องยาวแสนยาวว่า ‘หากวันคุณหลงทาง จงฟังเสียงที่อยู่ในหัวใจ’ ผลงานเขียนของ มิยาชิตะ นัตสึ แปลเป็นภาษาไทยโดย พิมพ์พชร คุณโสภา เป็นนิยายฟีลกู้ด บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของชายหนุ่มชื่อ ‘โทมุระ’  ผู้ค้นพบความฝันของตัวเอง และพยายามเดินหน้าไล่ตามความฝันนั้น ทว่า ยิ่งพยายามเท่าไหร่ ความฝันกลับดูยิ่งห่างไกลออกไปเรื่อยๆ

หรือนั่นจะเป็นเพราะ เขาไม่มีพรสวรรค์ทางด้านนี้มาแต่แรก?

โทมุระ เป็นเพียงเด็กบ้านนอก เกิดในหมู่บ้านเล็กๆ กลางหุบเขาแสนหนาวเหน็บ เขาไม่เคยมีภาพชัดเจนเกี่ยวกับอนาคตของตัวเอง ไม่มีความฝัน หรืออาจพูดอีกอย่างว่า โทมุระ ยังไม่ค้นพบความฝันของตัวเอง

จนกระทั่งวันหนึ่งในช่วงภาคเรียนชั้นมัธยม โทมุระ ได้พบกับช่างที่มาจูนเสียงเปียโนของโรงเรียน วินาทีแรกที่ได้ยินเสียงที่ผ่านการปรับจูนแล้วของเปียโน โทมุระ เกิดความรู้สึกบางอย่าง ราวกับว่ากำลังได้กลิ่น หรือมองเห็นภาพผืนป่ากว้างใหญ่ปรากฎตรงหน้า ผืนป่าในฤดูใบไม้ร่วงบนภูเขา ผืนป่าที่เขาคุ้นเคยตั้งแต่เด็ก

และในวินาทีนั้นเอง โทมุระ ค้นพบความฝันของตัวเอง เขาตั้งใจว่า เมื่อโตขึ้นเขาจะเป็นช่างจูนเสียงเปียโน เหมือนกับคุณอิทาโดริ ที่มาจูนเสียงเปียโนที่โรงเรียน

หนังสือเล่มนี้ เป็นเรื่องราวของช่างจูนเสียงเปียโน เนื้อหาจึงอัดแน่นไปด้วยรายละเอียด รวมถึงศัพท์เฉพาะทางด้านดนตรี โดยเฉพาะเปียโน แต่นั่นไม่ได้ทำให้รู้สึกเบื่อ ตรงกันข้าม ผมกลับรู้สึกทึ่งกับสิ่งละอันพันละน้อยที่ไม่เคยรู้มาก่อน

ไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่เคาะสายในเปียโน มีชื่อเรียกว่า ค้อน ทำจากสักหลาดขนแกะ ซึ่งแกะที่กินหญ้าบนภูเขา ที่สภาพแวดล้อมดีและเป็นธรรมชาติ จะให้ขนแกะที่ก่อกำเนิดเสียงเปียโนที่นุ่มนวล หรือ เปียโนที่ตั้งอยู่ในห้องอาหาร ที่มีผ้าปูโต๊ะอยู่เป็นจำนวนมาก จะถูกดูดซับเสีย จนผิดเพี้ยนจากตอนแรกที่จูนเสียง

รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ ทำให้เรื่องราวชีวิตของโทมุระ ยิ่งมีความสมจริงและน่าติดตามมากขึ้น

หลังจากจบชั้นมัธยมปลาย โทมุระ ได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนเฉพาะทาง ที่สอนเรื่องการจูนเสียงเปียโนโดยเฉพาะ จนกระทั่งจบการศึกษาแล้ว เขาจึงเข้าทำงานที่ร้านขายเครื่องดนตรีที่บ้านเกิด ซึ่งเป็นร้านที่อิทาโดริ ช่างจูนเสียงเปียโน ทำงานอยู่

ด้วยความที่อิทาโดริเป็นผู้จุดประกายและทำให้เขาค้นพบความฝัน โทมุระจึงหมายมั่นที่จะได้เรียนรู้เคล็ดลับการเป็นช่างจูนเสียงเปียโนจากอิทาโดริ แต่เพราะความที่เป็นช่างจูนเสียงฝีมือดีที่สุดคนหนึ่ง อิทาโดริจึงต้องออกไปจูนเสียงเปียโนให้ลูกค้าทุกวัน โดยเฉพาะลูกค้าที่เป็นนักเปียโนมืออาชีพ ทำให้ โทมุระ แทบไม่เคยได้พบหน้าอิทาโดริเลย

ครั้งหนึ่ง ทั้งคู่ได้มีโอกาสพบหน้ากันในวันที่โทมุระกำลังรู้สึกท้อแท้ ที่ฝีมือการจูนเสียงเปียโนของตัวเอง ไม่มีพัฒนาการอย่างที่ตั้งใจไว้เลย

“อย่าใจร้อนนะครับ หมั่นเพียรนะครับ หมั่นเพียร”

นั่นคือข้อความเพียงสั้นๆ ที่อิทาโดริ บอกกับโทมุระ ก่อนจะรีบเดินทางออกจากร้าน เพื่อไปจูนเสียงเปียโนให้กับลูกค้า

ถึงแม้โทมุระ จะไม่ได้เรียนรู้อะไรมากจากอิทาโดริ แต่เขาก็ได้มีโอกาสร่วมงานและเรียนรู้จากช่างจูนเสียงเปียโน ที่ถือเป็นรุ่นพี่ในร้านอีก 2 คน คือ คุณยานางิ และคุณอากิโนะ ซึ่งทั้งสองต่างก็มีสไตล์การทำงาน และทัศนคติต่อชีวิต แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ยานางิ เป็นคนสบายๆ ไม่มีพิธีรีตอง ไม่เคยถือว่าตัวเองอาวุโสกว่า มีประสบการณ์มากกว่า หรือเก่งกว่า ตรงกันข้าม เขาคอยให้กำลังใจรุ่นน้องอย่างโทมุระอยู่เสมอๆ

ครั้งหนึ่ง ระหว่างที่คุยเล่นกัน โทมุระ พูดชื่อต้นไม้และดอกไม้ที่อยู่สองข้างทางออกมา ยานางิ กล่าวชมว่า โทมุระ เท่มากที่รู้จักชื่อต้นไม้และดอกไม้ ที่คนส่วนใหญ่ไม่เคยให้ความสำคัญ ก่อนจะพูดต่อว่า การรู้จักรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ในเรื่องต่างๆ หรือการมีความรู้รอบตัวในหลายๆ ด้าน นอกจากจะช่วยสร้างหัวข้อในการสนทนากับลูกค้าแล้ว ยังช่วยให้เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าอีกด้วย

“ตอนที่ลูกค้าบอกว่าอยากได้เสียงนุ่มก็ต้องสงสัยไว้ก่อนเหมือนกัน เขาจินตนาการเสียงนุ่มไว้แบบไหน… ควรจับให้ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุดว่า เขาต้องการเสียงแบบไหน”

นุ่มแบบไข่ต้มยางมะตูม หรือนุ่มแบบสายลมฤดูใบไม้ผลิ หรือนุ่มแบบปีกนกปีกลายสกอต

ตรงข้ามกับยานางิ อากิโนะ ซึ่งเป็นช่างจูนเสียงเปียโนฝีมือดีอีกคน ไม่เคยให้ความสำคัญกับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เหล่านั้น เพราะเขาเชื่อว่า คำพูดไม่ใช่สิ่งจำเป็น เสียงที่ดีก็คือเสียงที่ดี และโดยส่วนใหญ่แล้ว ลูกค้าไม่สามารถบรรยายได้ชัดเจนจริงๆหรอกว่า เสียงที่ตัวเองต้องการเป็นอย่างไร มิสู้จูนเสียงให้ตรงที่สุด ให้เพราะที่สุดไปเลย จะทำให้จบงานได้ง่ายกว่าและเร็วกว่า

“เราไปจูนเสียงที่บ้านคนทั่วไป เขาไม่ต้องการอะไรมากไปกว่านั้น ทำไปก็ไม่มีความหมาย กลับกัน ยิ่งไปพิถีพิถันไม่เข้าท่าสิ… เขาจะยิ่งเล่นได้ไม่ดี”

หากเป็นคนอื่นพูด อาจฟังดูเหมือนการพูดส่งๆ แต่อากิโนะ คือ ช่างที่มีผลงานจูนเปียโนมากว่าสิบปี อีกทั้งยังเคยเป็นนักเปียโนมาก่อน โทมุระ อดสงสัยไม่ได้ว่า หรือเขาจะเห็นบางสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น

การเดินทางไล่ตามความฝันของโทมุระ ไม่ใช่การเดินบนเส้นทางที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ ตรงกันข้าม เป็นเหมือนเส้นทางที่เต็มไปด้วยหลุมบ่อและขวากหนาม จนเขาอดคิดไม่ได้ว่า เป็นเพราะตัวเอง ไม่มีพรสวรรค์ทางด้านนี้

ถ้าเป็นเช่นนั้น เขาควรพยายามต่อไป หรือจะหยุดอยู่เพียงแค่นี้

คิตากาวะ พนักงานคนหนึ่งของร้าน เห็นโทมุระแสดงท่าทางท้อแท้ จึงพูดปลอบใจว่า ถ้าอยากเก่งขึ้น ไม่ว่าจะในเรื่องการจูนเสียงเปียโน หรือเรื่องอื่นๆ ให้ทุ่มเทฝึกซ้อมอย่างน้อยหนึ่งหมื่นชั่วโมง แล้วจะกลายเป็นคนเก่งที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นได้

เชื่อว่า หลายคนคงเคยได้ยินคำกล่าวทำนองนี้ ซึ่งก็ไม่มีใครตอบได้ว่า เป็นเรื่องจริงหรือแค่พูดเล่นๆ แต่โดยส่วนตัวแล้ว ผมเชื่อว่าหากคุณตั้งใจฝึกซ้อมอะไรอย่างจริงจัง ถึงขนาดที่ทุ่มเทเวลาให้กับมันจนครบหนึ่งหมื่นชั่วโมง ต่อให้คุณไม่ได้กลายเป็นยอดฝีมือในเรื่องนั้น แต่อย่างน้อย คุณก็น่าจะเก่งขึ้นได้ในระดับหนึ่งล่ะ

คำพูดเรื่องการฝึกซ้อมหนึ่งหมื่นชั่วโมง ทำให้โทมุระมีไฟลุกโชนขึ้นอีกครั้ง เขาพยายามทำทุกอย่าง ทั้งฝึกฝนเคี่ยวกรำตัวเองยิ่งขึ้น ใส่ใจในทุกรายละเอียดของลูกค้า รวมถึงเก็บเกี่ยวความรู้ทุกอย่างจากช่างจูนเสียงคนอื่นๆ

ทว่า โทมุระ ก็ยังถูกลูกค้าบอกยกเลิก หรือขอเปลี่ยนตัวช่างจูนเสียงเปียโน มิหนาซ้ำ อากิโนะ ช่างจูนเสียงเปียโน ผู้ขึ้นชื่อเรื่องความปากร้าย ยังพูดโพล่งออกมาว่า ทฤษฎีหนึ่งหมื่นชั่วโมง เป็นแค่เรื่องพูดกันเล่นๆ ไม่มีใครเชื่อจริงจังหรอก เพราะคนที่ไม่มีพรสวรรค์  ต่อให้ฝึกจนครบหนึ่งหมื่นชั่วโมง ก็ไม่มีทางเก่งขึ้นมาได้

โทมุระ จะเดินหน้าต่อไป หรือจะหยุดอยู่เพียงแค่นี้ หรือจริงๆ แล้ว เขากำลังหลงอยู่ในเส้นทางที่ไม่ใช่ของตัวเอง

เวลาที่เราหลงทาง สิ่งที่จะนำเรากลับสู่เส้นทางได้ ก็คือ แผนที่ ไม่ว่าจะแผนที่ที่เป็นแผ่นกระดาษ หรือแผนที่ในแอพพลิเคชั่น

แต่ถ้าเราหลงทางในทางความคิด หลงทางเพราะไม่มั่นใจในตัวเอง สิ่งเดียวที่จะนำเรากลับสู่เส้นทางได้ ก็คือ หัวใจของเราเอง

ถ้าเราตั้งใจฟัง เสียงหัวใจจะดังให้ได้ยิน และบอกกับเราว่า ควรเดินไปทิศทางไหนเพื่อไปสู่เส้นทางที่ใช่

ฟังดูอาจเหมือนเป็นแค่คำพูดสวยๆ ของไลฟ์โค้ช ที่พบเจอได้เกลื่อนกลาดในโลกปัจจุบัน แต่ผมเชื่อว่า ถ้าเป็นเรื่องของตัวเราเอง คนที่รู้ดีที่สุด และให้คำแนะนำกับเราได้ดีที่สุด ก็คือ ตัวเราเอง

หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ถ้ามีความมั่นใจในตัวเองแล้ว เราย่อมมองเห็นทิศทางที่ต้องการไปอย่างชัดเจน

โทมุระ ได้ยินเสียงของหัวใจตัวเอง เมื่อตอนไปจูนเสียงเปียโนให้ลูกค้าคนหนึ่ง เป็นเด็กหนุ่มขี้อาย เก็บตัว ไม่พูดไม่จา ไม่กล้าสบตาใคร

เมื่อโทมุระบอกให้เด็กหนุ่มทดลองเล่นเปียโนดูว่า พอใจกับเสียงที่ปรับจูนใหม่แล้วหรือยัง วินาทีนั้น เด็กหนุ่มเปิดยิ้มกว้าง แล้วภาพของลูกหมาตัวโตก็ปรากฎในหัวของโทมุระ พร้อมกับเสียงเปียโนที่สดใสเปี่ยมด้วยความสุข

วินาทีนั้น โทมุระได้ยินเสียงหัวใจตัวเองบอกกับเขาว่า เปียโนแต่ละตัว ล้วนมีที่ทางของมัน เปียโนที่แสนสง่างาม ขับขานเสียงสุดไพเราะ อาจเหมาะกับฮอลล์ดนตรีแสนอลังการ เปียโนที่ดูธรรมดา ไม่หรูหราพิเศษใดๆ ก็เหมาะกับชายหนุ่มผู้เงียบขรึม ที่ไม่ได้ต้องการเล่นดนตรีให้คนอื่นฟัง ไม่ได้ต้องการเป็นนักเปียโนที่ชนะการแข่งขัน

เขาต้องการแค่เล่นดนตรีเพื่อให้ตัวเองมีความสุข ไม่จำเป็นว่าเปียโนตัวนั้นจะต้องให้เสียงที่ไพเราะที่สุด และไม่จำเป็นเลยว่า ตัวเขาจะต้องเปี่ยมพรสวรรค์ทางด้านดนตรีมากที่สุด

ทุกคนต่างมีที่ทางของตัวเอง ทุกคนต่างมีเส้นทางของตัวเอง และทุกคนต่างมีการเดินทางของตัวเอง บางคนอาจก้าวกระโดดเร็วด้วยพรสวรรค์ บางคนอาจเดินช้าๆ ทีละก้าว แต่สุดท้าย ทุกคนก็ไปถึงจุดหมายปลายทางได้เหมือนกัน

ขอเพียงแค่เส้นทางนั้น เป็นเส้นทางที่เราสามารถเดินไปอย่างมีความสุข

อากิโนะ ที่เคยพูดว่า ทฤษฏีการฝึกซ้อมหนึ่งหมื่นชั่วโมง เป็นเรื่องเพ้อเจ้อ บอกกับโทมุระว่า ถึงไม่มีพรสวรรค์ ชีวิตก็ยังอยู่ได้ ถึงต่อให้ฝึกซ้อมหนึ่งหมื่นชั่วโมงแล้วยังไม่เก่งขึ้น ก็ลองฝึกซ้อมต่อไปถึงสองหมื่นชั่วโมงดูสิ

“แค่ลงมือทำก็พอ”

สุดท้าย ผมหวนกลับไปนึกถึงคำพูดของอิดาโทริ ที่เคยบอกกับโทมุระในช่วงแรกๆ ที่เข้าทำงานว่า “อย่าใจร้อนนะครับ หมั่นเพียรนะครับ หมั่นเพียร”

ใช่ครับ ความขยันหมั่นเพียร คืออีกสิ่งหนึ่งที่พึงนับเป็นพรสวรรค์ เหมือนเช่นที่โรเจอร์ เฟดเดอเรอร์ กล่าวไว้

Tags:

หากวันใดคุณหลงทาง จงฟังเสียงที่อยู่ในหัวใจหนังสือการเรียนรู้ความฝันความพยายาม

Author:

illustrator

สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

อดีตนักแปล-นักข่าว ปัจจุบันเป็นพ่อค้า พ่อบ้าน และพ่อของลูกชายวัยรุ่น รักหนังสือ ชอบเข้าร้านหนังสือ และชอบซื้อหนังสือมาดองเป็นกองโต

Related Posts

  • Book
    ความฝันที่ล้มเหลวไม่เจ็บปวดเท่าความฝันที่ไม่ได้ลงมือทำ: คิริโกะกับคาเฟ่เยียวยาใจ

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • Book
    วันนั้นฉันเจอเพนกวิน: อย่าปิดกั้นจินตนาการของเด็กด้วยคำว่า ‘เพ้อฝัน’

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Book
    Olive Kitteridge : อาจใช้เวลาทั้งชีวิตกว่าจะยอมรับ เราไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบอารมณ์ร้ายๆ ของแม่

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Myth/Life/Crisis
    โกลมุนด์: ความทรงจำที่ถูกฝังกลบ การเยียวยาผ่านความฝัน และสัญญาณการเปลี่ยนแปลง

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Everyone can be an Educator
    วิธีสมุดบันทึก: การเรียนรู้บนสมุดไร้เส้น ชวนเด็กคิด อ่าน เขียนอย่างอิสระกับครูใหญ่สำนักพิมพ์ผีเสื้อ ‘มกุฏ อรฤดี’

    เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ปริสุทธิ์

Thelma (2024) : คุณยายสุดเท่ปราบแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์
Movie
30 August 2024

Thelma (2024) : คุณยายสุดเท่ปราบแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์

เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Thelma เป็นเรื่องราวของคุณยายวัย 90+ ที่ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงให้ส่งเงินประกันตัวหลานชายที่กำลังถูกจับเข้าคุก แต่แทนที่จะยอมเป็นเหยื่อที่ถูกหลอกและยอมจำนนกับชะตากรรม เธอกลับตัดสินใจออกตามล่าแก๊งค์มิจฉาชีพเหล่านี้ด้วยตัวเอง
  • เมื่อมีคนถูกมิจฉาชีพหลอกลวง คนบางกลุ่มมักจะหันมาโทษเหยื่อว่าตามโลกไม่ทัน ทั้งที่จริงแล้วเขาก็แค่ทำตามสัญชาตญาณเพราะอยากรู้สึกปลอดภัย ไม่ใช่ความผิดของเหยื่อเลยแม้แต่นิดเดียว
  • หนังเรื่องนี้เหมือนถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเสียดสีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแก๊งค์มิจฉาชีพ ที่ไม่ใส่ใจเหยื่อเท่าที่ควร ว่าหากช่วยเหลืออย่างเต็มที่มากกว่านี้ก็จะสามารถช่วยเหลือไม่ให้เกิดความเสียหายแก่เหยื่อได้

Thelma คือเรื่องราวของคุณยายวัย 90+ คนหนึ่งที่ถูกแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์หลอกว่าเป็นหลานชายที่กำลังถูกจับเข้าคุกและมีตำรวจที่ต้องการค่าไถ่ตัวหลานออกจากคุกเป็นเงินหนึ่งหมื่นดอลลาร์ ซึ่งคุณยายผู้ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ก็รีบออกไปส่งเงินให้แก๊งค์มิจฉาชีพทันทีด้วยความเป็นห่วงหลานรัก

พล็อตของหนังเรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องที่พวกเรารู้สึกร่วมได้อย่างดีเพราะมีออกข่าวแทบทุกวัน พ่อแม่หรือญาติของเราต่างเคยโดน หรือพวกเราเองอาจเคยคุยกับพวกแก๊งค์มิจฯ นี้กันมาแล้วไม่มากก็น้อย

คนพวกนี้จะทำให้เหยื่อรู้สึกว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องใหญ่มากและต้องได้รับการแก้ไขในทันที พวกมันจะพูดจนเหยื่อรู้สึกกลัว แล้วก็ส่งคนมาทำเป็นเสนอช่องทางที่ง่ายที่สุดที่จะดำเนินความสะดวกให้เพื่อให้เรารู้สึกวางใจว่าได้รับการช่วยเหลือแล้ว แต่แท้จริงนั้นคือการหลอกลวงทั้งหมด ซึ่งเหยื่อส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้สูงอายุที่ไม่ทันข่าวหรือไม่ได้เข้าใจเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เท่าไหร่ ซึ่งคุณยายเธลมาก็เป็นหนึ่งในนั้น 

เธอถูกแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์หลอกว่าเป็นหลานชายที่เธอรักมาก หลานปลอมหลอกว่าเขาไปต่อยคนจนถูกตำรวจจับแล้วก็มีการโอนสายให้ตำรวจคุย ตำรวจปลอมก็พร้อมแจกแจงว่าให้คุณยายทำยังไงเพื่อจะส่งเงินมาให้เขาให้เร็วที่สุด แล้วด้วยความเป็นห่วงและกลัวว่าหลานชายจะเป็นอะไรรึเปล่า คุณยายเลยรีบจัดการออกไปส่งเงินผ่านทางไปรษณีย์ทันที กว่าจะรู้ตัวว่าโดนหลอกเงินก็ถูกส่งไปให้ทางนู้นเรียบร้อยแล้ว

นอกจากจะเสียเงินแล้ว อีกอย่างที่เสียคือจิตใจของผู้สูงอายุหรือเหยื่อที่ถูกทำให้รู้สึกเสียท่า ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่ถูกมองข้ามไปเสมอ คนบางกลุ่มจะหันมาโทษเหยื่อว่าเพราะเธอใสซื่อเกินไปน่ะสิ ทั้งที่จริงแล้วเขาก็แค่ทำตามสัญชาตญาณเพราะอยากรู้สึกปลอดภัย มันไม่ใช่ความผิดของเหยื่อเลยแม้แต่นิดเดียว คนที่มาหลอกคนอื่นและคนที่ทำให้ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลไปตังหากคือคนที่เราควรจะโทษ

ในตอนที่คุณยายไปแจ้งความเพื่อต้องการเงินคืน เราจะเห็นความไม่ใส่ใจของธนาคาร การทำงานล่าช้าของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ดูไปแล้วเหตุการณ์ก็แทบจะไม่ต่างจากประเทศไทยเลย ซึ่งในตอนนั้นคุณยายก็เกิดคำถามที่คล้ายกับพวกเราว่า “ทำไมถึงไม่มีใครทำอะไรพวกแก๊งค์มิจฯ นี้ได้?” “ทำไมมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์กถึงไม่แบนพวกมิจฉาชีพในเฟสบุ๊ค?”

คุณยายรู้สึกว่าสิ่งที่พวกแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ทำนั้นไม่ถูกต้อง เงินก้อนนั้นคือเงินที่เธอเก็บหอมรอมริบมาอย่างสุจริต แล้วในเมื่อไม่มีใครหรือหน่วยงานใดเข้ามาช่วยเธอได้ เธอเลยตัดสินใจลงมือทำอะไรซักอย่างด้วยตัวเองโดยการออกตามล่าหาแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์มิจฉาชีพนี้เพื่อทวงเงินคืนแล้วสุดท้ายคุณยายก็เจอตัวพวกมันด้วย! เธอจัดการแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ด้วยวิธีที่คนธรรมดาคนหนึ่งจะทำได้อย่างสาแก่ใจแล้วจากมาด้วยความเท่

เรารู้สึกประทับใจกับการเล่าเรื่องที่เต็มไปด้วยความสนุก ตลกร้าย สไตล์หนังแอคชันที่ตัวเอกเป็นคุณยายอายุ 90 ซึ่งนานๆ ทีจะได้เห็นการใช้ตัวละครเป็นคนสูงอายุที่ยังไม่ได้แค่นั่งเปื่อยๆ เลี้ยงลูกเลี้ยงหลานนับรอวันจากไป แต่เธอยังสู้ พยายามเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ยังใช้ชีวิตของตัวเองต่อไปอย่างเต็มที่ แถมยังมีเรื่องของครอบครัวที่พยายามดูแลคุณยายจนเกิดเรื่องปวดหัวตามมามากมายอีก

และที่สำคัญคือรู้สึกเหมือนหนังเรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตบหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแก๊งค์มิจฉาชีพว่า นี่ไง คุณยายอายุ 90 ที่เดินไม่ค่อยจะไหวยังตามหาตัวแก๊งค์มิจฯ พวกนี้เจอภายใน 1 วันและจัดการพวกมันจนหงายได้เลยนะ แล้วพวกเธอทำอะไรกันเหรออยู่ถึงได้ปล่อยให้มีเรื่องนี้เกิดขึ้นซ้ำๆ ไม่รู้จบ หรือพวกเธอไม่เคยมีความคิดที่จะพยายามทำอะไรกับมันเลย?!

Tags:

มิจฉาชีพThelmaการหลอกลวงผู้สูงอายุภาพยนตร์ครอบครัว

Author:

illustrator

พิมพ์พาพ์

เป็นลูกคนเดียวจากแม่เลี้ยงเดี่ยว เรียกตัวเองว่านักวาดภาพประกอบที่ชอบวาดคนหน้าแมว เผลอเสียน้ำตาให้กับหนังครอบครัวอยู่บ่อยๆ

Related Posts

  • Movie
    Lilo & Stitch: ‘โอฮาน่า’ ไม่ใช่แค่ครอบครัว แต่หมายถึงใครสักคนที่เห็นคุณค่าและยอมรับตัวตนในแบบที่เราเป็น

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • Movie
    The Edge of Seventeen: เราต่างต้องการเป็นที่รักและมีค่าเสมอสำหรับใครบางคน

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Movie
    Ghostlight: การสูญเสียจะตามหลอกหลอนจนกว่าจะถึงเวลาเผชิญหน้ากับมัน

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Movie
    The Holdovers: ในวันที่ไม่มีใครเหลียวแล ขอแค่ใครสักคนที่มอบไออุ่นและเยียวยาหัวใจกัน

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Matilda The Musical: เมื่อโลกไม่เข้าข้าง เราต้องยืนหยัดเพื่อตัวเอง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

อย่าชนะในเกมแค่วินาทีนี้ แต่แพ้ในชีวิตตลอดไป: ฝึกใจให้พร้อมสู้ทุกสนาม กับ ผศ.วิมลมาศ ประชากุล นักจิตวิทยาการกีฬา
Life classroomSocial Issues
27 August 2024

อย่าชนะในเกมแค่วินาทีนี้ แต่แพ้ในชีวิตตลอดไป: ฝึกใจให้พร้อมสู้ทุกสนาม กับ ผศ.วิมลมาศ ประชากุล นักจิตวิทยาการกีฬา

เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ปริสุทธิ์

  • ในการแข่งขันกีฬารายการใหญ่ๆ นักจิตวิทยากีฬาถือว่ามีบทบาทสำคัญ ซึ่งในโอลิมปิก 2024 ชื่อของ ‘อาจารย์ปลา’ ได้รับการเอ่ยถึงว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการฝึกฝนด้านจิตใจของนักกีฬาไทยที่คว้าเหรียญรางวัลมาได้
  • หัวใจสำคัญของการฝึกฝนด้านจิตใจ คือการปรับมายด์เซ็ตที่ถูกต้องด้วยการตระหนักว่ากีฬามีแพ้มีชนะ และความสำเร็จอาจไม่ได้มาจากชัยชนะเสมอไป แต่คือการบรรลุเป้าหมายของนักกีฬาแต่ละคน
  • สำหรับพ่อแม่ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพเด็กด้านกีฬา อาจารย์ปลาให้ข้อคิดว่า ‘ลูกก็คือลูก ลูกไม่ใช่นักกีฬา’ พ่อแม่ควรเป็นเซฟโซนให้ลูกรู้สึกมั่นคงปลอดภัยเสมอ ไม่ว่าเขาจะชนะหรือแพ้ในการแข่งขัน

“ความสำเร็จอยู่ที่ไหน มันอยู่ในชั่วขณะหรือมันอยู่ในช่วงชีวิตอันยืนยาว”

ประโยคที่กลั่นออกมาจากประสบการณ์ของ ‘เซอร์ยา โบนาลี’ อดีตราชินีไร้บัลลังก์จากวงการสเก็ตน้ำแข็ง ถือเป็นตัวอย่างของตำราชีวิตที่พิสูจน์ให้เห็นว่าความสำเร็จที่แท้ไม่ได้อยู่ที่เหรียญรางวัล สวนทางกับกรอบความคิด (mindset) ของคนส่วนมากที่ผูกเงื่อนไขแห่งความสำเร็จไว้กับชัยชนะและเหรียญรางวัล ส่งผลให้นักกีฬาหลายคนตกอยู่ในภาวะกดดัน เครียด และวิตกกังวล จนส่งผลกระทบต่อศักยภาพทั้งในและนอกสนาม  

The Potential ชวน ‘อาจารย์ปลา’ ผศ.วิมลมาศ ประชากุล อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มาพูดคุยถึงบทบาทในการเป็นนักจิตวิทยาการกีฬา ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของนักกีฬาไทยหลายคน พร้อมแนะนำวิธีที่เหมาะสมสำหรับพ่อแม่และผู้ดูแลที่อยากสนับสนุนเด็กและเยาวชนในด้านกีฬา

นักจิตวิทยาการกีฬา ผู้ฝึกสอนทักษะด้านจิตใจ

“อาจารย์เป็นนักจิตวิทยาการกีฬา ไม่ได้เป็นจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิก ตอนเป็นนิสิตปริญญาตรีก็จะเรียนวิทยาศาสตร์การกีฬา แต่พอต่อปริญญาโทไปแล้วจะต้องเลือกว่าเราจะเชี่ยวชาญเรื่องอะไร เขาก็จะให้เราทำวิจัยเกี่ยวกับสาขานั้น เช่น นักโภชนาการ นักสรีระ นักชีวกลศาสตร์ นักจิตวิทยาการกีฬา ฯลฯ ซึ่งของอาจารย์เลือกที่จะเป็นนักจิตวิทยาการกีฬา เลือกที่จะเชี่ยวชาญในเรื่องของการฝึกความคิดฝึกทักษะการควบคุมจิตใจของนักกีฬา”

อาจารย์ปลาบอกว่าจิตวิทยาการกีฬาถือเป็น 1 ใน 4 องค์ประกอบที่ทำให้นักกีฬาประสบความสำเร็จ เพราะแม้นักกีฬาจะทำได้ดีในสนามซ้อม แต่พอลงสนามจริงอาจทำได้ไม่ดี และอาจกลายเป็น ‘หมูสนามจริง สิงห์สนามซ้อม’ ได้ หากไม่สามารถควบคุมสิ่งเร้าภายนอกและอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสนาม

“การที่นักกีฬาจะประสบความสำเร็จได้ หนึ่งคือนักกีฬาต้องมีทักษะที่ดี ซึ่งโค้ชจะต้องฝึกทักษะให้เขา สองคือนักกีฬาต้องมีสมรรถภาพร่างกายที่ดี ต้องมีนักวิทยาศาสตร์การกีฬามาดูแล สามคือเรื่องของสมรรถภาพทางจิตใจ และองค์ประกอบที่สี่คือเรื่องสภาพแวดล้อม คือได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว ทีมงาน ผู้บริหาร หรือแม้กระทั่งการได้รับโอกาสไปแข่งขันบ่อยๆ

ในส่วนของนักกีฬาเขาจะต้องฝึกทักษะสามอย่างควบคู่กัน ฝึกร่างกายแล้วก็ต้องฝึกจิตใจ ทีนี้ในส่วนจิตใจก็จะมีส่วนสำคัญตั้งแต่การฝึกซ้อมไปจนถึงการแข่งขัน เพราะในขณะฝึกซ้อมนักกีฬาอาจเผชิญกับความคับข้องใจ ซ้อมได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ซ้อมแล้วไม่มั่นใจเหมือนตัวเองไม่มีพัฒนาการ บางช่วงถูกโค้ชตำหนิ บางช่วงถูกสิ่งเร้าอื่นๆ เข้ามากระทบ อาจารย์ก็จะเข้าไปช่วยฝึกสอนปรับมายด์เซ็ตที่ถูกต้อง เพื่อให้นักกีฬาสามารถสร้างความมั่นใจให้ตัวเอง รับมือกับอารมณ์ และรักษาแรงจูงใจได้อย่างต่อเนื่อง

หรือบางครั้งเราจะเห็นนักกีฬาทำทุกอย่างได้ดีในการฝึกซ้อม แต่พอแข่งขันกลับทำไม่ได้ สมมติว่าเป็นแบดมินตัน พอไปสอบถาม เขาก็บอกว่าตอนซ้อมเขาก็แค่รู้ว่าจะหยอดต้องทำยังไง จะตบต้องทำแบบไหนใช่ไหม แต่ตอนแข่งเขาจะคิดไปว่า ถ้าหยอดแล้วไม่ผ่าน หรือตบแล้วมันติดเน็ตล่ะ แล้วถ้าแต้มนี้เสียแล้วเสียอีกจะต้องทำยังไง ซึ่งพอเขาเสียแต้มไปเรื่อยๆ เขาก็อ้าว…ตายแล้ว จะทำยังไงดี เพราะเขาอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกประเมินและการคาดหวังเต็มไปหมด”

เมื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ทำให้นักกีฬาคนหนึ่งเล่นผิดฟอร์ม หากนักกีฬามีอาการแพนิก หรือเป็นโรคซึมเศร้า อาจารย์ปลาบอกว่านักจิตวิทยาการกีฬาไม่อาจช่วยเหลือได้ เพราะเป็นหน้าที่ของจิตแพทย์ แต่หากสาเหตุมาจากความสามารถในการจัดการอารมณ์ความคิด เช่น การอ่อนซ้อม ความตื่นเต้น ความกดดัน อาจารย์ปลาจะเข้าไปโค้ชนักกีฬาแต่ละคนให้พร้อมรับมือกับเกมการแข่งขันได้อย่างปกติ

กีฬามีแพ้มีชนะ ปรับความคิดและทัศนคติที่ถูกต้อง

ในการเข้ามาฝึกสอนทักษะด้านจิตใจให้กับนักกีฬา อาจารย์ปลาบอกว่าสิ่งแรกคือการเข้าไปให้ความรู้นักกีฬาถึงรูปแบบความคิดและทัศนคติที่ถูกต้อง จากนั้นค่อยเริ่มกระบวนการต่างๆ ตั้งแต่การฝึกซ้อม ระหว่างการแข่งขัน และหลังการแข่งขัน 

“สิ่งแรกคือเราจะสอนให้เขามีทัศนคติที่ถูกต้องต่อการเป็นนักกีฬาก่อน ซึ่งคำว่าถูกต้องหมายถึงการตระหนักว่ากีฬามันมีแพ้มีชนะ แต่นักกีฬามักจะลืมไป พอแข่งขันทุกคนบอกตัวเองว่าต้องชนะ ไม่ชนะไม่ได้ อาจารย์เข้าใจว่าทุกคนต้องการชนะ ซึ่งความต้องการชนะมันเป็นตัวสร้างความกดดันให้นักกีฬา แต่จริงๆ แล้ว เสน่ห์ของกีฬาคือเราไม่รู้ว่าใครจะแพ้จะชนะจนกว่าจะจบการแข่งขัน ฉะนั้นมันไม่ได้หมายความว่าถ้าคุณซ้อมมาดีมากแล้วคุณจะชนะ เพราะคู่แข่งขันเขาก็เต็มที่และอยากชนะเช่นกัน 

สาระสำคัญของการเป็นนักกีฬาไม่ได้อยู่ที่ว่าคุณเตรียมตัวมาดีแล้วคุณจะชนะ คุณต้องเข้าใจว่าเวลาลงสนามแล้วทุกคนมีโอกาสหมด ทุกคนต้องเจอสิ่งเร้า เจอความกดดัน เจอความคาดหวัง 

ต่อให้คุณมีแต้มนำก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะชนะในตอนจบ เช่นกันถ้าคุณแต้มตามหลังก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะแพ้ เราต้องเข้าใจว่าเรามีโอกาส ถ้ายังไม่จบคือยังไม่จบ สถานการณ์มันพลิกได้ตลอด กระทั่งแข่งจบต่อให้เราชนะหรือแพ้ในครั้งนี้ ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะชนะหรือแพ้เขาตลอดไป อันนี้คือการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง นักกีฬาก็จะลดความกดดันได้นิดนึง” 

อาจารย์ปลากล่าวต่อว่าเมื่อทำความเข้าใจว่าผลแพ้ชนะไม่ใช่เรื่องจีรัง ขั้นถัดไปคือการสร้างความคิดที่ว่าการแข่งขันเป็นการประเมินการฝึกซ้อม ไม่ใช่คุณค่าของตัวเอง 

“สิ่งที่น่าสนใจคือ หากนักกีฬาเอาผลของการแข่งขันมาประเมินคุณค่าของตัวเอง สิ่งที่เกิดขึ้นคือความวิตกกังวลในช่วงคะแนนตามหลัง เช่น ถ้าแพ้แล้วคนจะรักหรือว่าฉันไหม อาจารย์ว่าความอยากชนะมันเข้าใจได้ แต่ไม่ใช่ว่าพอเสียแต้มหรือผิดพลาดแล้วจะต้องหวั่นไหวทุกครั้ง เพราะมันจะยิ่งทำให้โฟกัสหรือวิธีคิดรวนไปหมด เราต้องกลับมาอยู่กับตัวเอง และสร้างโอกาสเพื่อให้เราค่อยๆ ได้แต้มไปเรื่อยๆ 

จริงอยู่ที่เราควบคุมผลการแข่งขันไม่ได้ แต่เราควบคุมวิธีการเล่นของเราได้ อย่าเอาหัวไปชนกำแพง แต่ให้รู้ว่ากำแพงนั้นมันเป็นข้อจำกัดที่เราต้องหาทางก้าวข้ามไปให้ได้”

แม้หลักการในการสอนนักกีฬาอาจจะมีความคล้ายคลึงกัน แต่อาจารย์ปลาบอกว่าถ้าลงลึกไปในรายละเอียดแล้ว การพัฒนาสมรรถภาพด้านจิตใจจะเริ่มแตกต่างกันไปตามบุคลิกลักษณะและพื้นฐานจิตใจของนักกีฬาแต่ละคน

“สิ่งสำคัญคือในการสอน อาจารย์จะต้องขอเวลาทำความรู้จักนักกีฬาแต่ละคนก่อน ซึ่งการรู้จักกันมันจะทำให้เขาเชื่อมั่นและมั่นใจที่จะให้เราฝึกเรื่องวิธีการ เราก็จะฝึกทักษะแล้วอยู่กับเขา ที่สำคัญคือให้เวลาเขาไปเผชิญสถานการณ์แล้วกลับมาฟีดแบคซ้ำไปซ้ำมา เพื่อให้เขาเชื่อมั่นในกระบวนการและกล้าเอาสิ่งนี้ไปใช้ในการแข่งขัน 

แน่นอนว่านักกีฬามีบุคลิกและสไตล์ต่างกัน แต่ก่อนแข่งเราจะให้นักกีฬา ‘เข้าโซน’ เข้าโซนหมายถึงการทำให้นักกีฬามีสภาวะความคิดอารมณ์ความรู้สึกที่เขาเล่นได้ดี จากนั้นเราก็จะอยู่กับเขา เช่นนักกีฬาบอกว่าหนูขอแบบรีแล็กซ์โล่งๆ เพราะถ้าหนูทำให้หัวโล่งๆ จะเล่นได้ดี แต่อีกคนทำแบบนั้นไม่ได้ก็ขอให้สะกดจิตเขาหน่อย แต่คำว่าสะกดจิตในที่นี้คือการลำดับขั้นตอนให้เขาว่าตอนเดินเข้าสนามต้องทำอะไรยังไงบ้าง 

ดังนั้นรายละเอียดในการเข้าไปพูดคุยกับนักกีฬาก็จะแตกต่างกัน หรือแม้กระทั่งในคนที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจมาก ก็บอกเขาไปว่าดีแล้ว แต่อย่าให้มันทะลุเกินไปนะ เพราะการที่นักกีฬาจะแสดงความสามารถได้ดี มันต้องทำให้เขาอยู่ในสภาวะเหมือนกับตอนซ้อม เพราะเขาจะได้ดึงสิ่งที่ซ้อมออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่”

เคล็ด(ไม่)ลับในวันแข่ง ‘มีสติและโฟกัสกับปัจจุบัน’

หากใครมีโอกาสชมการสัมภาษณ์นักกีฬาไทยชื่อดังอย่าง ‘เทนนิส’ พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ เจ้าของเหรียญทองโอลิมปิกสองสมัยซ้อนคนแรกของประเทศไทย และ ‘วิว’ กุลวุฒิ วิทิตศานต์ เจ้าของเหรียญเงินแบดมินตันในกีฬาโอลิมปิก เชื่อว่าอาจเคยได้ยินหรือคุ้นๆ ชื่อของอาจารย์ปลามาบ้าง

“อาจารย์อยู่กับสมาคมเทควันโดแห่งประเทศไทยมาตั้งแต่ปีค.ศ.2002 เพราะอุปนายกสมาคมในสมัยนั้นคือคุณปรีชา ต่อตระกูล ให้ความสำคัญกับการฝึกด้านจิตวิทยา ก็ได้โอกาสดูแลนักกีฬาทุกคนทุกรุ่นมาเรื่อยๆ ส่วนแบดมินตันได้เข้าไปประมาณเดือนมีนาคม ซึ่งบ้านทองหยอดติดต่อให้อาจารย์มาช่วยเตรียมความพร้อมให้เมย์(รัชนก) กับ วิว(กุลวุฒิ) ไปโอลิมปิก 

สำหรับหลักการพื้นฐานที่สอนนั้นไม่ต่างกัน คือเรื่องสติและการโฟกัสกับปัจจุบัน ค่อยๆ ไปทีละแต้ม ไม่ว่าจะมีอารมณ์ในใจอย่างไร หรือเสียงรอบข้างว่ายังไง ก็ให้ calm down และหายใจตามวิธีการที่ฝึกมา เพราะเราไม่อาจควบคุมสิ่งต่างๆ ได้ แต่เราควบคุมโฟกัสของเราได้ 

อย่างน้องเทนนิสอยู่ด้วยกันมานาน ช่วงแรกๆ อาจมีบ้างที่น้องเคยเล่าผ่านเฟซบุ๊กว่าไม่เข้าใจพี่ปลาว่าให้เรายืนเฉยๆ แล้วหลับตาทำไม หนูเอาเวลานี้ไปเตะเป้าไม่ดีกว่าเหรอ แต่พอได้ทำไปเรื่อยๆ จนได้เหรียญทองแดงที่บราซิลก็รู้แล้วว่าเรื่องนี้สำคัญและทำให้เขานิ่ง ดังนั้นน้องก็จะเข้าใจวิธีการดี แต่สิ่งที่มุ่งเน้นกับน้องในช่วงหลังคือการรับมือกับสื่อและความคาดหวังต่างๆ เพราะน้องเป็นคนค่อนข้างเซนซิทีฟและรับทุกสิ่งเอาไว้หมด จนบางทีทำให้เขาคิดลำดับไม่ถูก ก็จะไปช่วยเคลียร์ตรงนี้มากกว่า ส่วนเรื่องการฝึกน้องเขาตั้งใจทำอยู่แล้ว เราแค่คอยติดตามและถามเขาตลอดว่าได้ฝึกไหม เป็นอย่างไรบ้าง

สำหรับน้องวิว เขาเป็นคน nice เป็นคนเปิดรับ พอเราให้คอนเซ็ปต์ไป เขาก็จะให้ข้อมูลและฟีดแบคคุยกับเราตลอด ซึ่งเราก็ค่อยๆ เสริมให้เขาเชื่อในกระบวนการไปเรื่อยๆ ซึ่งไม่กี่วันก่อนเพิ่งเข้าไปคุยกับน้องวิวและโค้ชถึงเรื่องที่ฝึกฝนกันมา โค้ชบอกว่าสิ่งที่แตกต่างชัดเจนคือเมื่อก่อนถ้าแต้มไหลจะไหลเลย แต่ตอนนี้ไม่ไหล ก็คือเสียแต่กลับมาได้

สังเกตได้ว่าน้องทั้งสองคนนี้จะมีคุณลักษณะเหมือนกันคือเรื่องฝีมือ และความสุดในเรื่องความใส่ใจในรายละเอียด น้องให้ข้อมูลว่าได้นำสิ่งที่ฝึกในส่วนนี้ไปใช้ จนสามารถควบคุมลมหายใจ คุมตัวเองได้ เพราะลมหายใจเป็นเทคนิคสำคัญที่ทำให้ออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้เยอะขึ้น แล้วก็ไปกระตุ้นระบบพาราซิมพาติก (parasympathetic) ที่ให้ความรู้สึกโล่งสบายผ่อนคลาย ซึ่งการหายใจเป็นการช่วยให้เขาหยุดวงจรสิ่งต่างๆ เสร็จแล้วเขาก็จะใส่ความคิดจากสิ่งที่ฝึกเข้าไป แต่ทั้งนี้การที่เขาประสบความสำเร็จเพราะว่าเขามีทักษะที่ดีมาก ร่างกายก็ฝึกมาอย่างแข็งแกร่งอยู่แล้ว”

พ่อแม่คือรากแก้ว ‘ลูกก็คือลูก ลูกไม่ใช่นักกีฬา’

เมื่อการเป็นนักกีฬาระดับแชมป์เปี้ยนนำมาซึ่งชื่อเสียง โอกาส และผลประโยชน์มากมาย พ่อแม่หลายคนจึงมุ่งหวังที่จะผลักดันให้ลูกได้ก้าวขึ้นไปยืนอยู่บนยอดพีระมิดของวงการกีฬา โดยวิธีการที่หลายครอบครัวเลือกนำมาใช้ คือการเคี่ยวกรำลูกอย่างหนักในนามของความหวังดี ไม่ว่าจะเป็นการกดดัน บังคับ ใช้กำลัง หรือแม้แต่การตีกรอบให้ลูกโฟกัสกับการฝึกซ้อมเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีโอกาสได้ใช้ชีวิตตามวัย เรื่องนี้ อาจารย์ปลาให้ความเห็นว่า วิธีการดังกล่าวอาจไม่ได้การันตีผลลัพธ์เสมอไป ทั้งยังทำให้เด็กเสี่ยงกับภาวะความเครียดและให้คุณค่าตัวเองผ่านผลการแข่งขัน

“มันก็ใช้ได้ค่ะ เพราะนักกีฬาหลายคนก็ประสบความสำเร็จในเส้นทางนั้น แต่มีใครไปดูไหมคะว่าครอบครัวที่ใช้วิธีรูปแบบเดียวกันแล้วไม่ประสบความสำเร็จมีกี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอาจารย์เชื่อว่าคนที่ใช้วิธีการเดียวกันนี้แล้วไม่ประสบความสำเร็จมีเปอร์เซ็นต์เยอะกว่า เพียงแต่ไม่ได้รับการโปรโมทเหมือนคนที่ประสบความสำเร็จ

อีกมุมหนึ่งที่ไม่ค่อยมีใครมองเห็นคือ ทำไมเด็กที่มีพรสวรรค์และทักษะด้านกีฬาดีมาก พอเป็นผู้ใหญ่หลายคนเลิกเล่น Burnout ไปก่อน นั่นก็เพราะพวกเขาถูกกดดันให้ต้องชนะตั้งแต่เด็ก แล้วพอเขาเลือกได้ เขาก็เลือกอย่างอื่นที่ไม่ใช่กีฬา ซึ่งเรามีเด็กกลุ่มนี้ค่อนข้างเยอะ สุดท้ายแทนที่จะได้พัฒนาเด็กต่อไป กลับกลายเป็นต้องสูญเสียพรสวรรค์เหล่านี้”

อาจารย์ปลาบอกต่อว่าวิธีการแสดงออกของพ่อแม่ถือเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อจิตใจเด็กมากที่สุด ดังนั้นพ่อแม่อาจต้องปรับวิธีการแสดงออกที่เหมาะสม และทำให้ลูกรู้สึกมั่นคงปลอดภัยเสมอไม่ว่าเขาจะชนะหรือแพ้ในการแข่งขัน

“แนวคิดพื้นฐานของเด็กมาจากพ่อแม่ เพราะพ่อแม่คือรากแก้วของเด็ก บ้านจะต้องเป็นเซฟโซนให้เขา เพราะเขาต้องเผชิญกับความยากลำบากในการฝึกซ้อม ต้องเจอกับผลการแข่งขันที่ไม่ได้ผลดั่งใจ 

แล้วยิ่งเด็กไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร เด็กก็จะเครียด เพราะเขาไม่รู้หรอกว่าชนะคืออะไร รู้แค่เมื่อไหร่ชนะ พ่อแม่จะยิ้ม แต่แพ้ชนะมันควบคุมไม่ได้ ยิ่งเจอครอบครัวที่พ่อแม่กดดันที่ผลอย่างเดียว เด็กก็จะเครียดมากเพราะกลัวพ่อแม่ไม่รัก บางคนพอใกล้แพ้ก็ร้องไห้ตั้งแต่ยังแข่งไม่จบเลย เพราะเขารู้ว่ากลับไปต้องเจอกับอะไรบ้าง  โดยเฉพาะคำพูดที่ต้องได้ยินจากพ่อแม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เขารู้สึกถึงคุณค่าในตัวเองน้อยลง

สำหรับผู้ปกครองต้องปรับฟิลเตอร์ในตัวเองก่อนว่า ‘ลูกคือลูก ลูกไม่ใช่นักกีฬา’ ไม่ว่าลูกจะแพ้หรือชนะ ลูกก็จะเป็นลูกที่แม่รักเสมอ ครอบครัวที่เป็น Sport Parent ต้องทำแบบนี้ เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับผลการแข่งขันของเขา ให้รู้ว่าพ่อแม่สนับสนุนและมีอ้อมกอดให้เขาเหมือนเดิม 

บางครั้งพ่อแม่อาจบอกว่าไม่เคยตำหนิลูกเวลาแพ้ แต่พอชนะกลับให้ความสนใจเป็นพิเศษ หรือเวลาแพ้ไม่ว่าลูก แต่แสดงท่าทางบึ้งตึงจนเงียบไปทั้งรถ แบบนั้นถือว่ารุนแรงกว่าการต่อว่าอีกค่ะ ถ้าจะให้ดีพ่อแม่ควรสนใจเฉพาะพฤติกรรม เช่น ลูกมีวินัยไหม ตรงเวลาไหม หรือต่อให้แพ้ชนะมายังไง เขาก็ยังทำรูทีนเหมือนเดิมหรือเปล่า และที่สำคัญคือเด็กไม่ชอบการถูกเปรียบเทียบ เขาแค่ต้องการความรัก ฉะนั้นพ่อแม่ควรเอาความรักที่เด็กอยากได้มาสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสมของลูก เช่น แทนที่จะไปกอดลูกเฉพาะเวลาชนะ ให้กอดลูกหรือแสดงความรักในตอนที่ลูกมีวินัย ปฏิบัติตนฝึกซ้อมอย่างถูกต้อง เขาจะได้รู้ว่าการทำสิ่งนี้มันดี เขาก็จะอยากทำบ่อยๆ นอกจากนี้เวลาที่เขาทำอะไรด้วยความรัก เขาก็อยากจะพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นและไปได้ไกลกว่าการทำด้วยความกลัว”

ความสำเร็จไม่ใช่แค่ชัยชนะเสมอไป

ในช่วงท้ายการสัมภาษณ์ อาจารย์ปลาได้ให้มุมมองถึงความสำเร็จไว้อย่างน่าสนใจว่า ความสำเร็จไม่ได้จำกัดความอยู่แค่เพียงชัยชนะ การประสบความสำเร็จที่แท้จริง คือการบรรลุเป้าหมายของนักกีฬาแต่ละคน 

“ชัยชนะอาจจะเป็นส่วนหนึ่ง แต่มันควบคุมไม่ได้ การประสบความสำเร็จจึงอยู่ที่ความภาคภูมิใจในตัวเองที่เขาสามารถพัฒนาตัวเองมาถึงจุดที่เขาตั้งใจไว้หรือไม่ก็ใกล้เคียงที่สุด 

อย่าลืมว่าบางคนพอชนะแต่กลับไม่ได้เรียนรู้เลยว่าที่คุณชนะเพราะอะไร ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นการแข่งขันอาจไม่มีความหมายเลยก็ได้ ก็แค่ได้ฟิลว่าฉันชนะ แต่ความจริงคือเราชนะวินาทีนี้ พอวินาทีหน้าชัยชนะมันก็ผ่านไปแล้ว หรือถ้าครั้งนี้เขาแพ้ เขาก็สามารถเรียนรู้ว่าตอนซ้อมขาดตรงจุดไหนไปบ้าง เพราะเขาแอบอู้แอบไม่ยอมไปซ้อมไหม หรือเขาต้องระวังอะไรเพิ่มเติมในการแข่งขันครั้งต่อไป เพราะกีฬามันไม่ได้แข่งครั้งเดียวจบ มันต้องแข่งขันไปเรื่อยๆ ซึ่งนอกจากการแข่งขัน เขายังได้รับประสบการณ์จากการเดินทางไปยังประเทศต่างๆ มากมายอีกด้วย  

แต่ถ้าถามในเรื่องความสำเร็จ มันจะมีคำว่า Success กับ Winning ซึ่งนักกีฬาหลายคนที่ประสบภาวะเครียดและกดดัน ชอบคิดว่าต้องชนะให้ได้จึงจะ Success แต่ความเป็นจริง คำว่า Success นั้นก็คือการมีเป้าหมาย มันมีการปฏิบัติตน มีการฝึกฝน มีวินัย มีการพัฒนาตัวเองไปตามเป้าหมายที่เราต้องการ แบบนี้เรียกว่า Success ได้ แล้วเราก็สามารถควบคุมมันได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ทำก็คือต้องปรับให้นักกีฬาเข้าใจคำว่าการประสบความสำเร็จ คือการตั้งเป้าหมายที่เหมาะสม และลงมือทำอย่างสอดคล้อง เพื่อให้เขาประสบความสำเร็จ แล้วก็ทิ้งท้ายเพื่อเน้นย้ำเขาว่า…เพราะความสำเร็จไม่ได้หมายถึงชัยชนะเสมอไป”

Tags:

โอลิมปิกความสำเร็จการฝึกฝนนักจิตวิทยาการกีฬากีฬาผศ.วิมลมาศ ประชากุลGrowth mindsetการจัดการอารมณ์ชัยชนะจิตใจ

Author:

illustrator

อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

เจ้าของเพจ The Last Bogie ผู้ตัดสินใจขึ้นรถไฟขบวนสุดท้าย โดยมีปลายทางอยู่ที่สถานี 'ยูโทเปีย'

Photographer:

illustrator

ปริสุทธิ์

Related Posts

  • The Greatest Game Ever Played: เกมที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือเกมที่เล่นกับตัวเอง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • How to enjoy life
    Midlife Crisis: เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ทำไมใจถึงวิกฤต

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Myth/Life/Crisis
    ผ่านไซเรนในน่านน้ำ: เสียงวิจารณ์ภายในที่ต้อนเราให้อยู่ในวิธีคิดเดิมๆ

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Life Long Learning
    เสรี จินตนเสรี แชมป์โลกลูกขนไก่วัย 77 ปี: ให้ผมตีแบดจนตาย ผมก็มีความสุข

    เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะรชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา ภาพ สิทธิกร ขุนนราศัยศรุตยา ทองขะโชค

  • Growth & Fixed Mindset
    ครูไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ ก็สอน GROWTH MINDSET เด็กๆ ได้

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

โรงเรียน 4 ตารางวา แต่ขนาดหัวใจของครูใหญ่กว่า: ‘ครูติ๊ก- ชัชวาลย์ บุตรทอง’ พาเด็ก Drop Out กลับสู่โลกการเรียนรู้ที่ไม่ลิดรอนความฝัน
Unique Teacher
26 August 2024

โรงเรียน 4 ตารางวา แต่ขนาดหัวใจของครูใหญ่กว่า: ‘ครูติ๊ก- ชัชวาลย์ บุตรทอง’ พาเด็ก Drop Out กลับสู่โลกการเรียนรู้ที่ไม่ลิดรอนความฝัน

เรื่อง ชุติมา ซุ้นเจริญ ภาพ ปริสุทธิ์

  • เมื่อประตูสู่โอกาสของการศึกษาในระบบไม่สามารถเปิดต้อนรับเด็กๆ ที่มีเรื่องราวในชีวิตต่างออกไป ‘ครูติ๊ก-ชัชวาลย์ บุตรทอง’ จึงขยายบทบาทของตัวเองจากครูในระบบสู่การเป็นครูนอกกรอบของโรงเรียนขยายโอกาส
  • ศูนย์การเรียนแห่งนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสังคม ส่วนชื่อเล่นคือ ‘โรงเรียน 4 ตารางวา’ สื่อว่าขนาดของพื้นที่และงบประมาณไม่ใช่ข้อจำกัดในการสร้างโอกาสการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ
  • “เด็กควรที่จะได้รับโอกาสทางการศึกษาไม่ว่าจะยากดีมีจน เป็นคนชั่วคนเลว หรืออยู่ภายใต้เส้นที่เราขีดไว้ไหม …ศูนย์เราทำหน้าที่คล้ายๆ กับป่าชายเลนอนุบาลเด็กไว้ เราเติมเต็มให้เขาเติบโต และพร้อมที่จะไปต่อ”

“เด็ก Drop Out หลายคน พอเดินกลับเข้ามาที่โรงเรียน ประตูของการเข้ารอบสอง มันเปิดน้อยมาก แล้วไม่มีหลักประกันว่าเขาจะอยู่จนจบ”

ประสบการณ์ในรั้วโรงเรียนกับบทบาทครูฝ่ายปกครองสะกิดใจให้ ‘ครูติ๊ก’ ชัชวาลย์ บุตรทอง เริ่มตั้งคำถามกับการศึกษาในระบบที่ไม่เปิดกว้างเพียงพอสำหรับเด็กๆ ที่มีความแตกต่างหลากหลาย และมองหาการศึกษาทางเลือกรูปแบบอื่นที่สามารถมอบโอกาสในการมีชีวิตที่ดีในแบบของตัวเอง จนเป็นที่มาของการออกแบบการเรียนรู้ภายใต้ร่ม ‘โรงเรียนขยายโอกาส’ ที่ใช้ชื่อแบบไม่เป็นทางการว่า ‘โรงเรียน 4 ตารางวา’ …โรงเรียนที่ขนาดของพื้นที่ไม่สำคัญเท่าขนาดของหัวใจ(ความเป็นครู)

 “ตอนแรกผมบรรจุเป็นครูอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี แล้วได้กลับมาบ้านที่อุตรดิตถ์ในโครงการครูคืนถิ่น ทำงานที่โรงเรียนตามปกติ ผ่านไปหลายปี ได้เจอเด็กที่เขาทำผิดต้องเข้าไปสู่กระบวนการยุติธรรม พอวันที่กลับออกมาเขาขอให้เราบอก ผอ.ว่าขอเข้ามาเรียนได้ไหม  ปรากฏว่า ผอ. ก็ไม่เอานะครับ ไม่รับเพราะว่ากลัวเป็นปัญหา… มันเป็นความหวาดกลัวของระบบการศึกษา” 

“ตรงนั้น ก็เลยทำให้ผมรู้สึกว่า ถ้าเรามีพื้นที่สักที่นึงที่เป็นโรงเรียนเพื่อรองรับน้องๆ กลุ่มนี้ ไม่ว่าจะออกมาจากกระบวนการยุติธรรมหรือหลุดออกจากระบบด้วยสาเหตุอื่น เขาสามารถมาใช้พื้นที่ตรงนี้ในการเรียนรู้ได้”

ในที่สุด ครูติ๊กก็เลือกแนวทางการจัดการศึกษานอกระบบในรูปแบบศูนย์การเรียน ซึ่งต่อมาได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ภายใต้โครงการพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเยาวชนนอกระบบการศึกษา โดยใช้ชื่อว่า ‘โครงการจัดการเรียนรู้นอกระบบ เพื่อพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นและการเห็นคุณค่าในตนของเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม’ 

คำถามแรกที่เชื่อว่าหลายคนก็คงอยากรู้ ทำไมถึงเรียก ‘โรงเรียน 4 ตารางวา’

ชื่อศูนย์จริงๆ คือ ศูนย์การเรียนสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสังคม ซึ่งยาวมาก วันนึงมีการถ่ายวิดีโอกันโดยให้เด็กพูดชื่อศูนย์ เด็กๆ ก็พูดไม่ได้ จำไม่ได้ เราก็เลย อืม…โรงเรียนเรามันเล็กๆ นะครับ ก็เลยตั้งชื่อว่า ‘โรงเรียน 4 ตารางวา’ เพื่อให้เกิดการรับรู้ว่า พื้นที่แค่ 4 ตารางวาก็สามารถออกแบบการเรียนรู้จัดการศึกษาได้ ไม่จำเป็นต้องใหญ่เหมือนโรงเรียนที่มีสนามกว้างๆ ให้เด็กวิ่งเล่น แต่ว่าเราใช้พื้นที่ที่เรามีอยู่อย่างจำกัดนี้ ในการออกแบบการเรียนรู้ ซึ่งเราอาจจะต้องทำเรื่องของกลไกในการทำงานให้มันเป็นระบบ เพื่อที่จะรองรับการประกันคุณภาพการศึกษาที่ทางเขตเขากำกับดูแลเราด้วย 

ที่ตั้งชื่อนี้ก็อยากเป็นแรงบันดาลใจให้คนที่อยากทำงานการศึกษาทางเลือกเห็นว่า การศึกษามันไม่ใช่เรื่องที่ต้องมาพร้อมกับเงินทองมากมายนะครับ จริงๆ ไม่มีอะไรเลยก็ทำโรงเรียนได้ และโรงเรียนที่เราทำมีความหมาย เพราะว่าเด็ก 35 คน หรือในอนาคตจะมากกว่านั้นก็ได้มีโอกาสเติม ได้มีโอกาสสานต่อความฝันของตัวเอง แล้วก็ก้าวไปข้างหน้าเด็กบอกผมว่า “ถ้าครูไม่ได้กลับมาจากนนทบุรี หนูคงไม่ได้เรียนหนังสือละ” 

ศูนย์การเรียนจัดการศึกษาในลักษณะไหน

ศูนย์การเรียนจัดตั้งภายใต้ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ มาตรา 12 ซึ่งให้สิทธิบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งศูนย์ของเราอยู่ในร่มขององค์กรเอกชน โดยสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสังคมได้ขอจัดตั้งศูนย์การเรียนและเปิดทำการเรียนการสอนได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565 

ตอนนี้ศูนย์การเรียนมีเด็กอยู่ 42 คน มีทั้งเด็กในพื้นที่และเด็กที่อยู่ไกล โดยศูนย์จะใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็จะเป็น ม.ต้น – ม.ปลาย โดยเราใช้หลักสูตรของ กศน. ซึ่งในแต่ละระดับชั้นจะมีอยู่ 20 รายวิชา วิชาส่วนใหญ่จะเป็นวิชาทักษะการเรียนรู้ วิชาพัฒนาทักษะอาชีพ วิชาสุขศึกษา แล้วก็วิชาการใช้ชีวิตในสังคม  โดยมีเงื่อนไขของกระทรวงศึกษาว่าน้องๆ ต้องมีสถานะเป็นนักเรียนของศูนย์เท่าไหร่ และจะต้องผ่านเกณฑ์อะไรบ้าง ถึงจะมีสิทธิได้รับวุฒิการศึกษา ก็คือ ม.3 กับ ม.6

ที่ศูนย์เราถ้าน้องๆ อยู่ประมาณ 8 เดือนก็เหมือนอยู่ 2 เทอมนะครับ เพราะว่าเราออกแบบการเรียนรู้ไม่นับวันหยุด เราคิดว่าการหยุดก็ไม่ได้หยุดเรียนรู้ เราไม่ได้ให้นั่งเรียนเหมือนโรงเรียนไงครับ เรานับทุกการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นของเด็ก การทำงานการใช้ชีวิตการทำกิจกรรมก็เทียบโอนมาทั้งหมดเลย 

นอกจากนี้เราก็มีการออกแบบตัวระบบที่เรียกว่า D Learning คือน้องที่ไม่ได้มาทำกิจกรรมต้องเข้าไปทำงานในระบบ ระบบก็จะเปิดให้เข้าไปได้ตลอด แต่ท้ายสุดคือทุกคนต้องเข้าไปสอบเพราะว่าเป็นเงื่อนไขของการจบการศึกษา เราก็ต้องรายงานต่อ สพม. ว่าน้องได้รับการทดสอบแล้วนะ ผ่านแล้ว อย่างนี้ครับ

ครูติ๊กวางแนวทางจัดการเรียนรู้ไว้อย่างไร เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยปัญหาที่ทำให้เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา

ก่อนที่จะมาทำงานนี้ผมเป็นครูฝ่ายปกครองอยู่พักนึง แล้วก็มีครูบางคนที่อยากให้ไล่เด็กออกให้หน่อย ผมบอกว่าผมเป็นครู ผมจะไม่มีวันไล่เด็กออก แต่พอวันที่เด็กออกเราก็ไม่ได้สนใจมากมาย จนกระทั่งในวันที่เด็กเขาอยากจะกลับเข้ามาเนี่ยมันติดเงื่อนไขมากมาย

เด็กหลายคนที่เป็นเด็ก Drop Out พอเดินกลับเข้ามาที่โรงเรียน มันมีอุปสรรคปัญหาที่ทำให้เขาเข้ามาไม่สำเร็จ เนื่องจากประตูของการเข้ารอบสองมันเปิดน้อยมากสำหรับน้องๆ แล้วบางทีพอเข้ามาแล้วก็ไม่มีหลักประกันว่าเขาจะอยู่จนจบ อย่างกระทรวงก็เคยตามน้องกลับมาเรียน แต่น้องหลายคนกลับมาแล้วก็ไม่ได้จบ เพราะว่ากลไกข้างในโรงเรียนมันยังเหมือนเดิม มันยังไม่ได้ยืดหยุ่นที่จะรองรับน้องๆ กลุ่มนี้

ผมคิดว่าการศึกษาที่ยืดหยุ่น มันอาจจะเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เด็กยังคงอยู่ในระบบการศึกษาได้ ฉะนั้นศูนย์การเรียนเราออกแบบการเรียนรู้โดยพยายามยืดหยุ่นให้มากที่สุดครับ เปลี่ยนวิธีการเรียนแบบเดิมให้เป็นแบบใหม่ จากที่นั่งเรียนแล้วก็มีครูสอนก็เปลี่ยนรูปแบบไปเลย เช่น ใช้กิจกรรมของชุมชนร่วมด้วย หรือน้องบางคนที่ทำงานอยู่แล้วก็เทียบโอนสิ่งที่น้องเขาทำงาน ซึ่งหลักสูตรของศูนย์การเรียนเปิดโอกาสให้มีการเทียบโอนผลการเรียนได้ จากทั้งประสบการณ์และสิ่งที่เคยเรียนมาแล้ว 

ตอนที่เราได้ทุนสนับสนุนจาก กสศ.  เราก็ชวนน้องๆ ทำงานที่ชุมชน จริงๆ ตอนแรกเราอยากจะเติมเรื่องของเซลฟ์อย่างเดียวครับ แต่พอเติมไปปุ๊บ เราเห็นว่าตัวน้องเองพอเขาเติบโต เขาอยากจะทำอะไรบางอย่าง เลยชวนเขาทำงานที่ชุมชน จริงๆ ไปทำไม่กี่ครั้งแต่เราเห็นว่าน้องเป็นคนนำเด็กๆ ในชุมชนได้ จากที่เราคิดว่าเราจะสอนเขาให้เขานั่งฟัง ซึ่งเรามองภาพอย่างนั้น เพราะว่าเราไม่มีประสบการณ์เรื่องการทำงานกับน้องๆ นอกระบบ แต่พอได้ทำงานจริงๆ เราได้เรียนรู้ว่าไอ้แบบนี้ไม่ตอบโจทย์เขาละ เขาอยากทำมากกว่า ก็เลยชวนเขามาทำ ซึ่งน้องๆ หลายคนก็มีศักยภาพมาก

ทำไมถึงให้ความสำคัญกับการเติม Self esteem ก่อนเป็นอันดับแรก  

ผมเข้าใจว่าน้องๆ ที่ผ่านระบบโรงเรียน บางคน Self esteem จะหายไป คุยกับคนทำงานการศึกษาทางเลือกด้วยกันครับ อย่างลูกชายเขาเคยชอบกีฬาฟุตบอล แต่ว่าพอไปเล่นฟุตบอลปุ๊บ ครูบอกว่าไม่ให้เล่นละให้เรียนก่อน บางทีกระบวนการที่ครูเข้าใจว่าเป็นการอบรมสั่งสอน มันทำลาย Self esteem บางทีครูอาจจะพูดว่า เธอตัวเล็ก เธอไม่ควรจะเล่นฟุตบอล ควรจะเรียนหรือควรจะอ่านหนังสือให้ออกก่อน..อะไรอย่างนี้ สิ่งเหล่านี้มันทำลายเซลฟ์ หรือเด็กเอางานมาส่ง ครูด่าเลยเพราะเขียนผิด ไอ้เซลฟ์ตัวนี้มันหายไปทีละนิดทีละนิด เด็กก็เลยรู้สึกขาดความมั่นใจในตัวเอง 

ก็เลยนึกถึงช้างเวลาไปเที่ยวสวนสัตว์ ช้างตัวใหญ่ๆ ที่เขาถูกล็อกด้วยโซ่เส้นเล็กๆ ทำไมมันกระชากไม่ได้ ขณะที่ท่อนซุงใหญ่ๆ เขายังลากไหว ผมคิดว่าไอ้ตัวความเชื่อที่มันถูกหล่อหลอมมาตั้งแต่เด็กๆ ว่าเขานั้นไม่มีความสามารถ ซึ่งเด็กนอกระบบส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่เกรดน้อย ติด 0 มาก่อน หรือว่าเกรด 1 อย่างนี้ครับ เขาเชื่อว่าตัวเลขที่โรงเรียนให้ตัดสินเขาไปแล้ว สังคมเองก็เชื่อว่า 1 หรือ 0 เนี่ยโง่แน่นอน เขาก็ต้องยอมจำนนว่า ไอ้สิ่งที่ยืนยันว่าเขาได้เกรด 1 หรือ 0 คือความความโง่ของเขาไงครับ ซึ่งสิ่งนี้ติดตัวระยะยาวนะ เปลี่ยนไม่ได้ จะย้อนกลับมาเปลี่ยนเกรดตอน ป. 1 ไม่ได้เลย แม้ว่าเขาจะมีศักยภาพนะครับ 

ดังนั้นแล้วพอเด็กกลายเป็นเด็กนอกระบบ สังคมก็ประทับตราเขาว่าไม่เรียน เด็กเกเร อะไรอย่างนี้ ตัวเซลฟ์เขาก็ไม่เหลือ พื้นที่เดียวที่เขาจะมีคือพื้นที่ที่เพื่อนๆ จัดสรรให้นะครับ เช่น ตามท้องถนน ตามซุ้ม ตามอะไรแบบนี้

เด็กก็จะไปตรงนั้น เพราะเขาไม่มีพื้นที่ ไม่ได้หมายความว่าเขาอยากไป แต่ว่าพื้นที่เดียวที่เขามีตัวตน ได้รับการยอมรับก็คือบริเวณนั้น 

พอเราจัดพื้นที่เติมเซลฟ์ให้เขา โดยเราส่งเด็กไปทำกิจกรรมที่กิ่งก้านใบ 3 วัน 2 คืน เราเห็นความเปลี่ยนแปลงของน้องๆ อย่างเรื่องมุมมองต่อการใช้ชีวิต เด็กบางคนที่เคยใช้กัญชาเขาเลิกใช้เลย แล้วก็อยากจะลาออกจากงานเพื่อที่จะไปอยู่ไร่กิ่งก้านใบ แต่ว่าพอเวลาผ่านไปเราก็ทำความเข้าใจว่า เราต้องมีชีวิตในแบบของเรานะ เราจะไปอยู่ที่โน่นไม่ได้ ปัจจุบันนี้น้องก็เลิกใช้กัญชาแล้วนะครับ แล้วก็มีมุมมองต่อชีวิตอีกแบบนึง 

พอเซลฟ์มันถูกเติม ผมคิดว่าเด็กเขาก็เปลี่ยน แล้วระยะแรกถ้าเราไม่เติมเซลฟ์มาตั้งแต่ต้น เราจะทำกระบวนการขั้นที่ 2 ที่ 3 จะให้เขาไปทำงานชุมชนก็คงไม่ได้ 

หลังจากเติมเซลฟ์ให้เด็กๆ แล้ว กระบวนการขั้นต่อไปคืออะไร

ตอนแรกก็คิดว่าเดี๋ยวเราจะฝึกอาชีพละ แต่พอพาน้องไปทำงานฝึกอาชีพมันไม่ตอบสิ่งที่เขาอยากทำ ก็เลยมาวางแผนว่าจะทำอะไรดี ตอนนั้นเราไปเย็บกระเป๋าเล็กๆ ครับ เพ้นท์ผ้าเพ้นท์กระเป๋า เพื่อที่จะชวนกันคุยว่าเราจะทำอะไรต่อ น้องก็บอกว่าอยากทำกิจกรรมเพื่อสังคมสักอย่างนึง  ป้าเรซึ่งทำงานกับเรา (เรวดี กล่ำศิริ รองประธานชุมชนเจริญธรรม) แนะนำว่า ชุมชนเจริญธรรมก็มีพื้นที่นะ แล้วก็คุยกันว่าเดี๋ยวเราชวนน้องๆ มาทำพื้นที่การเรียนรู้ให้กับเด็กๆ พอวันไปทำจริงๆ เราจัดงานเป็น ‘โครงการเจริญธรรมเจริญดี’ เพื่อที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานในพื้นที่ ปรากฏว่าเราไม่ต้องทำอะไรเลย เด็กจัดการให้หมด ทั้ง Backdrop อะไรเขาขึ้นให้หมด 

คือจากเด็กนอกระบบที่ไม่มีอะไรเลย ไม่มีความฝัน ไม่มีพื้นที่สำหรับการทำงาน พื้นที่สำหรับการแสดงออก เขาเริ่มที่จะมีความรับผิดชอบในงานที่เขาได้ทำได้รับมอบหมาย เราแค่เป็นกลไกหนึ่งที่จัดประสบการณ์ให้เขาครับ

เหมือนการทำกิจกรรมเพื่อสังคมทำให้เขารู้สึกว่าเขามีคุณค่ามีตัวตน?

ใช่ครับ คือเขากลายเป็นคนให้คนอื่น สอนเด็กคนอื่น การที่ตัวเองมีสิทธิได้สอนคนอื่นผมว่ามันป็นความภูมิใจอย่างหนึ่ง มีสิทธิทำให้คนอื่นมีความสุข แล้วน้องๆ ก็นับถือเขา น้องๆ ก็นับถือพี่ เด็กเขาจะมีบุหรี่ไฟฟ้าคนละอันห้อยคอ เขาจะไม่สูบ เพราะว่ามีเด็กตัวเล็กๆ เขาตระหนักว่าน้องตัวเล็กๆ ถ้าเห็นว่าเขาทำแบบนี้มันไม่ดี เพราะเขาเริ่มมีเซลฟ์อยู่ในตัวแล้วเขาจะไม่ทำในสิ่งที่คนอื่นจะมองว่าเขาไม่ดี 

เด็กเขาเริ่มมองเห็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่ดีขึ้น?

คือเด็กที่ไม่ได้เรียน มันไม่รู้จะออกแบบอนาคตยังไง เพราะว่าในบ้านเราถ้าไม่มีวุฒิการศึกษามันก็ไปต่อไม่ได้ เด็กที่ Drop out อยู่ ก็จะเที่ยวเตร่ไปวันๆ เพราะไม่รู้จะออกแบบชีวิต หรือวางแผนอะไรที่ไกลกว่านี้ เพราะมันไม่มีทางที่จะเป็นจริง อย่างสมมุติว่าอยากทำงานดีๆ เขาไม่มีทางที่จะออกแบบได้เลย เพราะว่าวุฒิ ม. 1 จะไปทำงานดีๆ ได้ยังไง พอเขาได้มีโอกาสกลับมาเรียน เขาเริ่มปะติดปะต่อได้ว่าเขาอยากจะเป็นอะไร 

อะไรคือผลลัพธ์ที่ครูติ๊กคาดหวังกับเด็กๆ

สิ่งที่ผมคิดว่าเป็นตัวชี้วัดก็คือ เขาได้เริ่มวางแผนชีวิต แต่ไม่ใช่น้องๆ ทุกคนจะเริ่มไปถึงขั้นวางแผนได้นะครับ ก็มีน้องๆ ส่วนหนึ่งเท่านั้นที่เริ่มวางแผนว่าจะไปยังไง การวางแผนของเขาหมายถึงเป็นสัญญาณนึงนะว่าเขามีความพร้อมที่จะไปต่อ 

คือเด็กๆ พอออกจากระบบการศึกษาปุ๊บเขาก็ไม่รู้จะยังไง เขาเปราะบาง ศูนย์เราทำหน้าที่คล้ายๆ กับป่าชายเลนอนุบาลเด็กไว้นะครับ เราเติมเต็มให้เขาเติบโต พอเขาพร้อมที่จะไปต่อ ก็ควรที่จะให้เขาไปต่อ 

ดังนั้น การศึกษาที่เราจัดไม่ควรจะยาวนานจนทำให้เขาท้อแท้ เด็กนอกระบบส่วนใหญ่อายุเยอะ ที่ศูนย์เรามีน้อง 13 คนเดียวที่อายุน้อย ที่เหลือมากสุดก็อายุ 24 ปีนะครับ ยังเรียน ม.ปลายอยู่เลย ถ้าเรายังให้น้องเรียนอยู่อีกตั้ง 3 ปีหมายความว่าเขาจะอายุ 27 นะครับ ไปต่อมามหาวิทยาลัยก็เป็นโอกาสที่ล่าช้าแล้วครับ 

สำหรับครู อะไรคือความท้าทายของการทำงานกับเด็กนอกระบบ

ความท้าทายของการทำงาน ผมว่าคือการเข้าถึงน้องๆ ยากนะครับแม้ว่าจะเจอน้องและรู้ว่าเขาอยู่ตรงนี้ แต่ว่าไม่สามารถที่จะเข้าถึงได้ ยิ่งน้องในกระบวนการยุติธรรมยิ่งเข้าถึงยากไปอีกครับ น้องกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ขาดโอกาสทางการศึกษามากกว่ากลุ่มอื่นเลย บางครั้งน้องบางคนก็ไม่กล้าที่จะกลับเข้ามาเพราะว่าไม่มั่นใจว่าตัวเองจะทำได้สำเร็จ น้องที่ใช้ยาเสพติด เราชวนไปที่กิ่งก้านใบ แล้วเขามาขอว่าผมไม่ไปนะ เพราะผมก็ยังใช้ยาเสพติดอยู่ ไอ้เงื่อนไขที่เขามีในตัวเองก็เป็นความยาก ท้ายสุดเราต้องเปลี่ยนรูปแบบของการทำงาน ก็คือใช้กลไกของของภาคีที่อยู่ในชุมชน ซึ่งเรามีฐานอยู่แล้ว

ความท้าทายอีกอย่างคือทัศนคติของคนทำงานครับ ตอนนี้เรามีคนทำงานอยู่ 3-4 คนแต่เป็นคนที่ไม่มีเงื่อนไขกับน้องๆ ถ้าสมมุติว่าคนทำงานอยู่บนพื้นฐานของความกลัว ทุกอย่างมันจะยาก เหมือนผมเมื่อก่อนไปทำงานก็กลัว กลัวว่าจะอย่างนู้นอย่างนี้อย่างนั้น เดี๋ยวนี้ไม่กลัวแล้ว เพราะเราคิดว่าไอ้สิ่งที่คาดการณ์ไม่เคยเกิดขึ้นเลย เราก็เลยออกจากความกลัว ทีนี้พอเราไม่มีความกลัวผมคิดว่ามันก็ไม่ยาก เพราะได้ก็ได้ ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร อย่างน้องอยู่ที่ศูนย์ บางทีน้องก็หายไปเลย เมื่อเช้าทักมาบอกว่า ผมจะสมัครเรียนใหม่ทำยังไง ก็ให้มาสมัครเรียนใหม่ได้เลย 

จริงๆ เริ่มแรกอาจจะยาก แต่ว่าศูนย์ก็ได้รับการช่วยเหลือจากหลายๆ คนที่เข้าใจน้องๆ คือเราทำงานในโรงเรียนเราจะรู้ว่าครูมองเด็กยังไง แต่ว่าเราไปบอกอย่างนั้นไม่ได้ เพราะเขาก็จะหาว่าเราเพ้อฝันอะไรอย่างนี้ แต่พอเรามาเจอคนทำงานเพื่อสังคม แม้เขาเป็นชาวบ้านไม่มีความรู้อะไรเลย เขาก็ยังมีมุมมองที่เข้าใจเด็กมากกว่า ในขณะที่เราเรียนมาสูงมากเลย เรียนจิตวิทยาการศึกษา เรียนเรื่องทุกอย่างทั้งหมดที่เกี่ยวกับการศึกษา แต่เรามองเด็กคล้ายๆ เป็นศัตรู เราใช้สิ่งที่เรามีเป็นอาวุธ แทนที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือเด็ก เช่น เด็กเรียนไม่เก่งให้ 0 ซะเลย ใช้สิ่งที่เรามีอยู่เนี่ย ร่ำเรียนมาตั้ง 6-7 ปี เพื่อเป็นอาวุธในการประหัตประหารเด็กนะครับ พยายามขับให้เด็กหลายคนต้องออกจากระบบการศึกษา 

โดยเฉพาะตอนนี้เจอปัญหาว่าเด็กพิเศษ มักจะถูกโรงเรียนขับออกจากระบบการศึกษา ด้วยการกดดันผ่านครอบครัวให้ย้ายโรงเรียน ซึ่งเราทำงานที่โรงเรียนก็เห็น ครูเขียนไปว่าเด็กมีพฤติกรรมแบบนี้นะ ย่าต้องเขียนตอบไปด้วยตัวหนังสือผิดๆ ถูกๆ เพื่อจะอธิบายว่าหลานเขาป่วยเป็นอะไร มีใบรับรองแพทย์ แต่คนที่มีความรู้ด้านการศึกษากลับไม่เข้าใจว่าเด็กเป็นอะไร ถามว่าทำไมเราต้องโอบอุ้มเด็กไว้ เพราะว่าระบบการศึกษามันต้องดูแลเด็กๆ เพื่อที่จะให้เขาขยับต่อไปได้นะครับ

ในฐานะที่เป็นครูในระบบด้วย อะไรคือนิยามความเป็นครูที่ตรงใจครูติ๊ก

คือผมเติบโตมาในครอบครัวที่ค่อนข้างยากจน เราหวังว่าเราจะเป็นครู ก็คือเรียนแล้วก็สอบรับราชการ แล้วก็คิดว่าชีวิตนี้สบายละ เรารับราชการเราเหนือกว่าใคร การทำงานในโรงเรียน จริงๆ ก็ช่วยเด็กได้ส่วนหนึ่ง แต่ว่าพอเราเข้ามาทำงานกับน้องๆ นอกระบบ เราคิดว่าการเป็นครูมันไม่ต้องยืนอยู่ แล้วก็มีเด็กแบบว่าอยู่เป็นบริวาร “ตักน้ำให้ครูหน่อย” “เธอจะเรียนไหม ถ้าไม่เรียนครูจะไม่สอน” อะไรอย่างนี้ 

คือทุกคนมันควรจะมีโอกาสเท่าเทียมกัน เด็กก็ไม่ต้องมาต่ำกว่าเรา เขาก็ควรเป็นเพื่อนของเราได้ มีพื้นที่ที่จะบอกเราว่าทำอะไรอย่างโน้นอย่างนี้ดีไหม  มันมีประโยชน์มากกว่าที่จะเป็นครูที่คอยแต่สั่งคอยแต่กำกับ อันนี้ก็ผิดอันนั้นก็ผิด ชีวิตนี้เด็กไปโรงเรียน 200 วันต่อปี แทบจะไม่มีวันที่ทำอะไรถูกเลย เด็กจะเป็นอย่างไร 

ครูในหมายความของผมก็คือ คนที่มองเด็กๆ ทุกคนว่า เขาก็เป็นเด็ก เขาควรที่จะได้รับโอกาสทางการศึกษาไม่ว่าจะยากดีมีจน เป็นคนชั่วคนเลว หรืออยู่ภายใต้เส้นที่เราขีดไว้ไหม อย่างปกติเราเป็นครูเราจะขีดเส้นว่า ใครอยู่ข้างบนนี้คือคนดี ใครอยู่ข้างล่างคือคนไม่ดี เราก็ไปลบไอ้เส้นนั้นออกซะ เพราะว่าในสังคมหลายๆ กรณีมันแล้วแต่ว่าใครมีวิถีชีวิตแบบไหนมากกว่า ไม่ใช่ว่าทุกคนที่จบปริญญาตรีจะถูกนิยามว่าเป็นคนดี เด็กที่ไม่ได้เรียนหนังสือจะถูกนิยามว่าไม่เป็นคนดี อันนี้ก็เป็นภาพที่สะท้อนว่าน้องๆ กลุ่มนี้ถูกประทับตรามาแบบนี้ครับ พอเขามาเจอโลกของการศึกษาที่ให้พื้นที่เขา เขาก็เลยเติบโต ผมคิดว่าเขากำลังเติบโต  

ซึ่งมันก็เชื่อมโยงมาถึงแนวคิดเรื่องการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ชีวิตบนพื้นฐานของความแตกต่างหลากหลาย?

ผมคิดว่าเด็กควรจะได้เลือก ได้เลือกว่าจะเรียนแบบไหนมากกว่า คืออย่างประเทศเรานะครับ เด็กเกิดมาได้ 3 ขวบก็ถูกจับแต่งตัวชุดนักเรียนไปโรงเรียนละ จริงๆ เด็กวัยนี้เขาต้องได้เล่นนะครับ แต่พอไปโรงเรียนเขาต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการเล่นไปสู่การเรียน แม้สิ่งที่โรงเรียนทำจะถูกนิยามว่าเป็น Active Learning หรือทักษะศตวรรษที่ 21 ก็อาจเป็นแค่มายาคติที่ทำให้โรงเรียนได้ครอบครองพื้นที่การเรียนรู้ทั้งหมด จริงๆ เด็กอยู่ในชุมชนเด็กก็ได้เรียนรู้นะครับ วันเสาร์-อาทิตย์ก็ได้เรียนรู้ แต่ว่าการเรียนรู้แบบนี้มันไม่ถูกนับรวมว่าเป็นการเรียนรู้ของเด็ก หรือถูกพรากไปหรือถูกนิยามให้ไร้ค่า อย่างเด็กไปเล่นดนตรีก็ไม่มีความหมายในโรงเรียนนะครับ แม้ว่าจะเก่งดนตรีขนาดไหน ไอ้เกรดเรื่องนี้ก็ไม่ได้ถูกมานับเป็นผลการเรียน

ผมคิดว่าถ้าการเรียนรู้ในโรงเรียนยังบังคับให้เด็กเรียนในสิ่งที่เขาไม่ชอบ วันนึงเขาก็ต้องออกจากระบบโรงเรียนไป แต่ว่าในอนาคต ระบบสังคมอาจจะยอมรับเรื่องการศึกษาทางเลือกมากขึ้น วันนี้อาจจะดีนิดหน่อย แต่ย้อนกลับไปเมื่อ 5 – 10 ปีที่แล้ว การศึกษาทางเลือกแทบไม่ได้เป็นที่ยอมรับหรือรู้จักในอุตรดิตถ์เลย คนทำโฮมสคูลในอุตรดิตถ์ เด็กในโฮมสคูลจะถูกดูถูกว่าเป็นเด็กไม่มีเพื่อน พอวันนี้นะครับ เด็กในโฮมสคูล มีโอกาสที่จะไปเจอเพื่อนๆ มากมาย ในขณะที่เด็กในโรงเรียนถูกขังไว้ที่โรงเรียนตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น มีเวลาเล่นแค่ชั่วโมงเดียวคือพักเที่ยงเท่านั้นเอง 

ผมว่าการศึกษาถ้าออกแบบให้มันยืดหยุ่น ออกแบบให้มันตอบโจทย์ชีวิตของน้องๆ หลายคนอาจจะหลั่งไหลออกมาอยู่แบบนี้ คือน้องๆ บางคนเขาขยาดกับการไปโรงเรียนแล้วนะครับ แม้ว่าโรงเรียนจะชวนเขากลับไปเขาก็ไม่อยากกลับ เพราะกลับไปก็เหมือนเดิม ท้ายสุดเขาอาจจะคิดว่าเขาต้องหลุดแน่ เพราะโรงเรียนมันไม่ตอบโจทย์สิ่งที่เขาชอบ 

ครูติ๊กมองบทบาทตัวเองในโรงเรียน 4 ตารางวาอย่างไร

เป็นครูครับ เป็นครูที่มีความสุขที่ได้ทำงาน เหมือนได้เติมเต็ม เพราะว่าในสังคมโรงเรียนเราไปมุ่งเน้นอย่างอื่นมากกว่าที่จะสร้างการเรียนรู้ อันนี้ก็ไม่ได้อันนั้นก็ไม่ได้ อันนี้ก็ติดอันนั้นก็ติด เช่นการจะรับเด็กเข้าเรียน อย่างวันนั้นผมไปเจอเด็กเดินอยู่ตามทาง เขาขาดเรียนไปสักสองอาทิตย์ละ ผมถามว่า “หนูเรียนอยู่ที่ไหน” “ผมไม่ได้เรียนแล้วครับ ผมโดนไล่ออก ผมขโมยตังค์” ผมก็เลยถามว่า “หนูอยากเรียนไหม” “ถ้าอยากเรียนให้ไปหาครูที่โรงเรียน” (โรงเรียนในระบบที่ครูติ๊กทำงานประจำ) 

อีกวันเขามาจอดจักรยานรอที่หน้าประตูตั้งแต่เช้า ผมบอกให้เข้าไปสมัครเลย พอเข้าไปก็ติดเงื่อนไขคือต้องให้ผู้ปกครองพามาสมัครอีก อะไรอย่างนี้ ซึ่งน้องเขาพ่อพิการเดินไม่ได้ ก็ต้องมีคนหิ้วมา คือการเข้าเรียนมันมีเงื่อนไขมากมาย แต่ว่าศูนย์การเรียนผมบริหารจัดการเอง ผมอาจจะไปดูที่บ้านเองว่าน้องเขาอยู่ยังไง ก็แค่นั้น คือเราตัดสินใจเบ็ดเสร็จ เพราะว่าความเบ็ดเสร็จที่เราทำนั้นมันเป็นประโยชน์กับเด็ก การสร้างเงื่อนไขมากมายจริงๆ ไม่จำเป็นเลย การเซ็นชื่อใบสมัครก็ฝากเด็กเขาไปให้พ่อเซ็นมาก็ได้ 

อะไรที่มันเป็นประโยชน์กับเด็ก ไม่เห็นจำเป็นต้องมีเงื่อนไขเยอะนะครับ อย่างศูนย์ผมรับหมดเด็กทุกคน เด็กที่พอจะไปโรงเรียนได้ ผมก็จะไปไว้ที่โรงเรียนที่ผมทำงาน เด็กที่ไม่มีความพร้อมเลยก็จะให้มาที่ศูนย์การเรียนนี้ครับ 

ความเป็นครู หรือความเป็นโรงเรียน เมื่อมันไม่ยึดโยงกับผลประโยชน์ของเด็ก แล้วมันไปยึดโยงอยู่กับอะไร

คือครูในโรงเรียนเราทำงานแบบระบบราชการ ตอนเช้าเด็กเริ่มเรียน 8 โมงครึ่ง บ่าย 3 ครึ่งก็เลิกเรียน พอเป็นระบบราชการบางคนก็อาจไม่สนใจอะไร แล้วครูหลายคนก็อาจจะยังมีมุมมองต่อเด็ก เหมือนเป็นศัตรูกับเด็กนักเรียน ต้องมีการลงโทษ แถมบางทีผู้ปกครองก็มาบอกว่าตีได้เลยนะครู  จริงๆ การลงโทษในโรงเรียนมันไม่ควรจะเกิดขึ้นนะครับ อีกอย่างครูมักจะเข้าใจว่าตัวเองถ่ายทอดความรู้ให้เด็กยังไงก็ได้ ด้วยวิธีการไหนก็ได้ จะไม่ถ่ายทอดให้ก็ได้ เพราะว่าความรู้เป็นของเรา เธอไม่ต้องเรียนถ้าเธอไม่พร้อม จริงๆ แล้วเราเป็นบริการที่รัฐจัดให้ประชาชน เราต้องทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด

ถึงที่สุดครูติ๊กคาดหวังอะไรจากโรงเรียน 4 ตารางวา 

ความคาดหวังเริ่มแรกผมคิดว่าน่าจะเป็นที่ให้เด็กได้มาเรียนได้วุฒิการศึกษาแค่นั้นนะครับ หลังๆ พอทำงานไปเราก็คิดว่ามันน่าจะมากกว่านั้น อาจจะเป็นเรื่องของทักษะหรือการช่วยเขาออกแบบชีวิต 

โรงเรียน 4 ตารางวาเป้าหมายก็คือการชวนเด็กๆ ที่อาจจะเป็นเด็ก drop out หรืออะไรแบบนี้ให้เขาได้ออกแบบชีวิตอีกครั้งหนึ่ง เติมทักษะต่างๆ ที่เราพอจะมีเครือข่ายอยู่ให้เด็กได้ขยับต่อ แต่ที่สำคัญคือการมีวุฒิการศึกษา เพื่อรับประกันว่าเด็กสามารถที่จะเลื่อนชั้นต่อไปได้ 

เราเข้าใจเรื่องหลักสูตรเพราะเราเป็นครูไงครับ เราก็เลยมองว่าอันนี้ได้นะ เราทำแบบนี้ได้เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร แล้วเรารู้ว่าสิ่งที่เราทำมันถูกกฎหมาย อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เราต้องวางแผน ผมคิดว่าอนาคตต่อไปเป้าหมายที่สำคัญ คือการไม่หยุดที่จะดูแลน้องๆ แม้ว่าเขาจะจบจากศูนย์เราไปแล้ว เพราะบางทีเขาก็ไม่รู้จะไปต่อยังไง ถ้ามีช่องให้เดิน เขาอาจจะเดินไปได้ไกลมากกว่านี้อีกครับ เราจะพยายามดูแลโดยใช้กลไกเครือข่ายเพื่อที่พยุงน้องๆ ให้ไปถึงเป้าหมาย บางคนอาจจะมีเป้าถึงปริญญาตรี บางคนอาจจะมีเป้าแค่ ปวส. บางคนจบ ม. 6 แล้วอยากไปทำงาน เราพยายามจะดูตรงนี้ แม้ว่าศูนย์จะไม่ได้ซัพพอร์ตเรื่องของเงินให้น้องได้ทั้งหมด 

จากการทำงานภายใต้โครงการนี้ สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือทุกคนสามารถเป็นนักจัดการเรียนรู้ได้? 

ผมคิดว่าเมื่อก่อน การศึกษาก็อยู่ตามบ้านตามวัด ตามสิ่งที่เขามีตามพื้นที่ต่างๆ พอการศึกษาในระบบยึดครองสิ่งเหล่านี้มา บ้านที่เคยเป็นพื้นที่การเรียนรู้มันถูกทำให้เป็นของไร้ค่า ไม่ว่าบ้านไหนจะมีความรู้เรื่องดนตรี แกะสลัก งานช่าง สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นของไร้ค่าทันทีเลย ทั้งที่ความรู้ที่เขาถ่ายทอดกันมามันก็เป็นความรู้ เมื่อก่อนเราจะเรียกว่าครู เป็นครูเพลง ครูดนตรี เพราะฉะนั้นผมคิดว่าทุกคนมีความรู้ที่จะส่งต่อให้กับเด็กๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นความรู้แบบไหนนะครับ บางคนเก่งเรื่องสมุนไพร บางคนเก่งเรื่องทอผ้า บางคนเก่งเรื่องซ่อม เรื่องอะไรต่างๆ ก็ควรจะเป็นความรู้ที่มีอยู่ในชุมชน แต่ว่าเราจะออกแบบยังไงให้สามารถบริหารจัดการเรื่องทรัพยากรได้ เพื่อที่จะทำงานสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ 

มองกลับมาที่ตัวเอง ครูติ๊กเรียนรู้อะไรจากการทำงานตรงนี้คะ

ผมคิดว่าผมรู้จักเด็กนอกระบบมากกว่าเดิม คือเมื่อก่อนเรารู้ว่าเด็กนอกระบบก็คือเด็กที่ไม่เรียนหนังสือ ตอนมาทำงานใหม่ๆ ลุงผมบอกว่า ขี่รถมาโรงเรียนเนี่ยอย่าขี่ทางเดิมนะต้องสลับเส้นทางบ้าง เผื่อว่ามีคนดักทำร้าย อะไรอย่างนี้ คือมันก็เป็นภาพนึงนะครับที่คนเป็นครูมอง แล้วเราเป็นครูที่ทำงานแบบนี้ สมัยก่อนเขามองว่าเป็นการสงเคราะห์ เราต้องช่วยเหลือเด็กยากไร้ แต่จริงๆ เด็กหลายคนไม่ได้อยากให้เราสงเคราะห์นะครับ การทำงานการศึกษาต้องเข้าใจว่าเด็กหลายคนไม่ได้ต้องการการสงเคราะห์ แต่การศึกษาเป็นการหยิบยื่นโอกาสให้เขาเท่านั้นเอง 

ถ้าเราทำงานการศึกษาแบบสงเคราะห์ เด็กที่ได้รับโอกาสทางการศึกษาเขาจะตัวเหลือนิดเดียว เวลาเด็กมาหาเราเขาอาจจะคลานมาเพราะว่าซาบซึ้งในพระคุณ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ผมไม่อยากทำ เราอยากให้การศึกษาทำให้ทุกคนเท่าเทียมแล้วก็เติบโต

และผมเรียนรู้ว่าการเป็นครู ไม่ต้องให้เด็กมาไหว้ครูเพราะว่าเราเป็นผู้มีพระคุณ อย่างเด็กบอกอยากจะเรียนจบแล้วจะได้มาช่วยครูทำงานที่ศูนย์ เพื่อที่น้องๆ หรือเพื่อนๆ คนอื่นจะได้มีโอกาสมาเรียนบ้าง เราก็ดีใจแล้ว

พอทำงานไปมากๆ ผมก็ได้รู้ว่าในพื้นที่อุตรดิตถ์มีคนทำงานเพื่อสังคมอยู่ ไม่ใช่เราทำอยู่แค่คนเดียว แล้วก็มีหลายๆ หน่วยงานที่มาสนันสนุน หลายหน่วยงานที่พร้อมที่จะเคลื่อน ขณะเดียวกันสิ่งที่เราทำมันสอนให้รู้ว่า การทำงานเล็กๆ ไม่ต้องมีตังค์อะไรก็สามารถที่จะขับเคลื่อนการศึกษาได้ แต่ว่าอาจจะต้องใช้การประสานทรัพยากรที่มีให้ดี 

ผมคิดว่าจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของการทำศูนย์การเรียนที่ไม่มีพื้นที่เลย แล้ววันนึงก็พัฒนามาเป็นศูนย์ที่ด้านหน้าบ้าน และตอนนี้พัฒนาต่อมาจน คนในอุตรดิตถ์หลายคนรู้จัก อนาคตศูนย์การเรียนน่าจะเติบโต และเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้กับเด็กๆ ได้มากขึ้น ที่สำคัญคือเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนที่อยากทำงานการศึกษา ว่าพื้นที่แค่ 4 ตารางวาก็สามารถออกแบบการเรียนรู้ได้ 

Tags:

D Learning‘ครูติ๊ก’ ชัชวาล บุตรทองระบบการศึกษาการศึกษาทางเลือกDropoutการศึกษาที่ยืดหยุ่นศูนย์การเรียนสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสังคมโรงเรียน 4 ตารางวา

Author:

illustrator

ชุติมา ซุ้นเจริญ

ลูกครึ่งมานุษยวิทยาและนิเทศศาสตร์ รักการเล่าเรื่องผ่านตัวอักษร พอๆ กับการเดินทางข้ามพรมแดนทุกรูปแบบ เชื่อเสมอว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสังคม แต่ไม่นิยมแบกโลกไว้บนบ่า

Photographer:

illustrator

ปริสุทธิ์

Related Posts

  • non-cover (1)
    Voice of New GenSocial Issues
    การศึกษานอกกรอบที่ตอบโจทย์ชีวิต เสียงสะท้อนจากเด็กนอกระบบ ‘นนท์’ – นนทวัฒน์ โตมา 

    เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ปริสุทธิ์

  • Early childhoodFamily Psychology
    มหากาพย์การเลือกโรงเรียน (โรงเรียนที่ดีของพ่อแม่ โรงเรียนที่แย่ของลูก)

    เรื่อง อังคณา มาศรังสรรค์ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Creative learning
    เส้นทางการหนีออกนอกห้องเรียน สู่ผู้สร้างโรงเรียนเพื่อเด็กชนเผ่า ‘โจ๊ะมาโลลือหล่า’ ของ‘ครูนิด-อรพินทุ์ กุศลรุ่งรัตน์’

    เรื่อง วิภาดา แหวนเพชร ภาพ ธีระพงษ์ สีทาโส

  • Social Issues
    การศึกษาที่เท่าเทียมและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สร้างการเรียนรู้ที่แท้จริง

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Education trend
    โลกไม่สนใจว่าเรารู้อะไรแต่สนใจว่าเราทำอะไรกับสิ่งที่รู้: บันไดขั้นแรกสู่ YOUNG INNOVATOR

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

Sunny กับเด็กที่อยู่กับการขาดหาย
Book
22 August 2024

Sunny กับเด็กที่อยู่กับการขาดหาย

เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป

  • Sunny เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นที่เล่าเรื่องราวชีวิตของเด็กๆ ในสถานรับเลี้ยงเด็กแห่งหนึ่ง ผ่านมุมมองของตัวละครหลักอย่าง เซย์ และ ฮารุโอะ เด็กทั้งสองคนต่างมีความเป็นมาและความฝันที่แตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ความต้องการที่จะมีครอบครัวที่สมบูรณ์ โดยเน้นไปที่ความหวังและจินตนาการของเด็กๆ ที่ใช้ชีวิตอยู่ในสถานรับเลี้ยงแห่งนี้
  • Sunny อาจจะทำให้ผู้อ่านตระหนักคือการยอมรับถึงตัวตนของ ‘พ่อแม่ที่ไม่พร้อมเลี้ยงลูก’ จริงอยู่ว่าการมีลูกเมื่อพร้อมเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสุดท้ายหลายๆ คนก็ไม่ได้ตั้งใจจะมีลูก หรือแม้แต่มารู้ตัวว่าไม่พร้อมหลังจากเด็กเกิดขึ้นมาแล้ว หรือพ่อแม่ที่พบปัญหาชีวิตหรืออุบัติเหตุตามมาภายหลังจนไม่อาจเลี้ยงลูกของตนได้
  • หากเด็กขาดครอบครัวซึ่งเป็นดั่งฐานที่ปลอดภัยที่สุดของเขาไปแล้ว อย่างน้อยก็อยากให้สังคมมีที่ทางประคับประคองให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ยังมองเห็นว่าโลกนี้ยังเป็นที่ที่ดีอยู่บ้าง

หลายๆ ท่านอาจจะคิดว่าหนังสือการ์ตูนเป็นสื่อสำหรับเด็ก แต่จริงๆ แล้วในหลายๆ ประเทศไม่เป็นแบบนั้นนะครับ โดยเฉพาะที่ญี่ปุ่น ประเทศที่จะเรียกว่าเจ้าแห่งการผลิตหนังสือการ์ตูนก็ว่าได้ ที่นั่นหนังสือการ์ตูนเป็นที่นิยมอ่านแพร่หลายทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่การ์ตูนญี่ปุ่นก็มีหลายแบบ เราอาจจะได้ยินคำว่าการ์ตูน ‘โชเน็น’ ที่แปลว่าเด็กผู้ชาย ซึ่งเจาะกลุ่มเด็กๆ แต่ยังมีการ์ตูนที่เรียกว่า ‘เซเน็น’ ที่แปลว่าผู้ชายผู้ใหญ่ ที่เจาะกลุ่มผู้อ่านวัยผู้ใหญ่โดยเฉพาะด้วย โดยเซเน็นอาจจะมีเนื้อหาที่ ‘หนัก’ กว่าเด็กจะอ่านและเข้าใจหรือสนุก หรืออาจมีเนื้อหาหรือภาพที่รุนแรงไม่เหมาะสำหรับเด็ก หากไล่ดูการ์ตูนที่ขายในไทยเราจะพบแนวนี้น้อยกว่าโชเน็นมาก และยิ่งเป็นเซเน็นที่เน้นเนื้อหาเครียด ไม่ได้เน้นการต่อสู้รุนแรงจะยิ่งหายากขึ้นไปอีก การที่เซเน็นอย่าง ‘Sunny’ ได้รับการแปลและตีพิมพ์ไทยจึงถือว่าไม่เกิดขึ้นบ่อย แม้จะเป็นการ์ตูนที่ได้รับรางวัลก็ตาม (จาก Japan Media Arts Festival ใน พ.ศ. 2560) เพราะเรื่องนี้เป็นการ์ตูนแนวสะท้อนสังคมที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมอ่านนัก

Sunny เป็นเรื่องราวของสถานรับเลี้ยงเด็ก ‘โฮชิโนะโกะ’  (แปลว่า ‘เด็กแห่งดวงดาว’) หากพูดถึงสถานรับเลี้ยงเด็ก เราอาจจะนึกถึงแต่เด็กกำพร้า แต่ที่จริงแล้วสถานรับเลี้ยงเด็กยังเป็นที่ดูแลและพักพิงของเด็กที่มาจากพ่อแม่ที่มีปัญหา หรือบ้านมีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมกับเด็ก หรือพ่อแม่มีปัญหาในแง่ต่างๆ จนไม่อาจเลี้ยงลูกตัวเอง ก็สามารถส่งให้ลูกมาอยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กแทนได้เช่นกัน ดังนั้นเด็กในสถานรับเลี้ยงอาจจะอยู่แค่ชั่วคราว รอจนกว่าครอบครัวหรือพ่อแม่พร้อมและรับกลับไป หรือเด็กที่อาจจะต้องอยู่ในยาวจนโต เช่น เด็กกำพร้า หรือเด็กที่พ่อแม่ ‘ทิ้ง’ ให้อยู่ในสถานรับเลี้ยงและไม่กลับมารับก็มี นอกจากนี้โฮชิโนะโกะอาจจะแตกต่างจากที่เราจินตนาการถึงสถานรับเลี้ยงเด็กทั่วไปตรงที่สถานที่เป็นเหมือนบ้านหลังหนึ่งแทนที่จะเป็นตึกอาคาร ที่นี่จำนวนเด็กไม่มากเพราะตั้งอยู่ในเมืองเล็กๆ ไม่ค่อยเจริญและมีแสงสีนัก ข้างๆ โฮชิโนะโกะมีที่รกร้าง และมีรถยนต์นิสสัน ซันนี ที่เสียแล้วจอดตายอยู่ และรถคันนี้เป็นสถานที่ที่เด็กๆ จะชอบไปนั่งเล่นกัน และนั่นคือที่มาของชื่อหนังสือครับ 

Sunny เปิดเรื่องมาด้วยตัวละครหลักคนแรกคือ ‘เซย์’ เด็กประถมต้นที่ครอบครัวมีปัญหาบางอย่าง จึงไม่พร้อมจะเลี้ยงลูกเอง และต้องให้เซย์อยู่ที่โฮชิโนะโกะ ‘ชั่วคราว’ เซย์จะเหมือนตัวละครที่ทำหน้าที่พาคนอ่านในการทำความรู้จักกับสถานรับเลี้ยงแห่งนี้ และทำให้ได้เห็นว่ามีเด็กหลากหลายแบบที่อยู่ที่นี่ ตั้งแต่ตัวเซย์เองที่ยังทำใจไม่ได้เมื่อได้รู้ความจริงว่าตัวเองอาจจะต้องอยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กไปอีกนานหรืออาจจะตลอดไป เด็กกำพร้าที่ไม่มีวันที่พ่อแม่กลับมาแล้ว เด็กที่แม่ป่วยหนักจนเลี้ยงลูกเองไม่ได้ เด็กที่พ่อยังอยู่แต่ติดสุราจนเสียคนเลยพาลูกมาทิ้งไว้ที่นี่ และเด็กที่แม่ไม่พร้อมจะเลี้ยงลูกเองอย่าง ‘ฮารุโอะ’ ตัวละครหลักอีกตัวที่รุ่นราวคราวเดียวกับเซย์

ฮารุโอะอยู่ที่นี่มานานแล้วและปัจจุบันทำตัวเป็นเด็กเกเร ขวางโลก ปฏิเสธสังคมที่มอบความจริงที่โหดร้ายนี้ให้แก่ตัวเอง ซึ่งฮารุโอะจะเป็นคนเน้นย้ำให้เด็กคนอื่นๆ หมดหวังบ่อยๆ ว่าถูกทิ้งแล้ว ไม่ได้กลับไปหาพ่อแม่อีกแล้ว

แม้ว่าเปิดเรื่องมา อาจจะทำให้รู้สึกว่าการ์ตูนนี่คงเป็นอีกหนึ่งสื่อที่เรียก ‘ความสงสาร’ ของเด็กในสถานรับเลี้ยงที่พบเห็นทั่วไปในสื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวกับหัวข้อนี้ แต่ Sunny แตกต่างออกไปตรงที่เนื้อเรื่องในภาพรวมไม่ได้เน้นที่ความหมองหม่น ความน่าเวทนา ไม่ได้เน้นที่ฉากฟูมฟายหรือซึมเศร้าของเด็ก แต่จะเป็นการมองโลกผ่านมุมมองของเด็กๆ ซึ่งน่าสนใจอย่างคาดไม่ถึง โดยเฉพาะกับผู้ใหญ่อย่างเราๆ ที่อาจจะลืมวิธีคิดในแบบของเด็กไปแล้ว 

ลายเส้นของการ์ตูนเรื่องนี้อาจดูแปลกถ้าเทียบกับการ์ตูนเรื่องอื่นๆ โดยไม่ได้วาดคนให้สมจริง แต่นั่นก็ช่วยสร้างบรรยากาศที่ทำให้รู้สึกว่าได้มองโลกผ่านสายตาของเด็กๆ และสิ่งที่เราจะได้อ่านส่วนใหญ่จะไม่ใช่คำพูดของผู้ใหญ่ แต่เป็นบทสนทนาของเด็กๆ ที่อาจจะดูไม่มีแก่นสาร แต่ก็สมจริง

เพราะเด็กก็ไม่ใช่วัยที่จะมานั่งสลดกับเคราะห์กรรมของตัวเอง เด็กเป็นวัยแห่งการเรียนรู้โลกที่กว้างใหญ่ เด็กมีสิ่งที่ไม่รู้อีกมาก เด็กจึงมีความแข็งแกร่งในแบบของตัวเองคือความฝันที่ยิ่งใหญ่ และหวังถึงสิ่งต่างๆ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด 

อย่างเด็กผู้ชายฝันอยากเป็นฮีโรหรือนักกีฬาเท่ๆ เด็กผู้หญิงอยากเป็นเจ้าหญิงหรือนางแบบแต่งตัวสวยๆ ชีวิตในแต่ละวันของเด็ก แม้จะอยู่ที่บ้านพักจึงไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ ‘ความทุกข์’ แต่เป็น ‘การไขว่คว้าความสุข’ เด็กๆ มักจะใช้เวลาว่างกับการนั่งในรถนิสัน ซันนี ที่จอดนิ่งๆ อยู่กับที่ และใช้จินตนาการในการวาดฝันว่าเดินทางไปไหนต่อไหนตามสถานที่ที่แต่ละคนปรารถนา เด็กต่างเพศต่างวัยก็มีความฝันที่แตกต่างกัน และตรงนี้สะท้อนให้เห็นว่าความฝันและจินตนาการก็เป็นเครื่องมืออันทรงพลังให้เด็กใช้ชีวิตต่อไปในข้างหน้าได้

แต่ถึงจะไม่ใช่ประเด็นมุ่งเน้น แต่สิ่งที่แทรกอยู่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือธรรมชาติของเด็กที่ต้องการพ่อแม่ ความรู้สึก ‘ขาดหาย’ จะปรากฏทุกครั้งที่มีโอกาส เด็กที่ยังมีความหวังอย่างเซย์ก็ยังรอจดหมายจากแม่ พยายามหาหนทางไปหาครอบครัวด้วยวิธีของตัวเอง ส่วนฮารุโอะที่ปกติแสดงว่าตัวเองไม่สนใจ ไม่แคร์แม่ที่ทิ้งไป และเข้มแข็ง แต่พอได้ข่าวคราวของแม่ทีไรก็แทบจะเปลี่ยนไปเป็นคนละคน และพร้อมจะทำทุกอย่างให้กลับไปอยู่กับแม่ให้ได้ 

ตัวละครอีกตัวที่น่าสนใจคือ ‘เคย์’ เด็กที่พ่อที่ติดสุราจนเป็นคนไม่ได้เรื่องได้ราว และแม่ที่ตัดสินใจหนีไป จนต้องอยู่ที่โฮชิโนะโกะจนถึงตอนนี้เขาก็อยู่ในวัยมัธยมต้นแล้ว เคย์ซึ่งเป็นเด็กวัยรุ่นจะมองโลกแตกต่างจากเด็กเล็กๆ คนอื่นเพราะปัญหาในกรอบของโลกความจริงมากกว่า เขาเห็นความไม่เอาไหนของพ่อตัวเองดี และตัดหางปล่อยวัดพ่อไปแล้ว แต่สุดท้ายเรื่องก็จะยังสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการพ่อแม่ลึกๆ ของเขาอยู่ดี 

ถึงความขาดหายจะมีอิทธิพลที่หนีไม่พ้นอย่างไร แต่ความขาดหายไม่ใช่เป้าหมายของชีวิต Sunny เองก็สะท้อนให้เห็นว่าเด็กก็ต้องข้ามผ่านปัญหาการขาดพ่อแม่ ให้ได้เด็กบางคนโชคดีที่พ่อแม่มารับกลับไปก็มี แต่เด็กบางคนที่พ่อแม่มารับกลับไป แต่สุดท้ายก็มาทิ้งไว้ที่นี่ใหม่ วนไปวนมา จนแม้แต่ตัวเด็กเองก็ปรับตัวและเข้าใจว่าบ้านของเขาไม่ใช่ที่อยู่ที่เหมาะสมของเขาแล้ว อยู่ที่นี่ยังจะดีเสียกว่า หรือเด็กที่พ่อแม่เสียชีวิตไปแล้ว แต่ชีวิตของเขาก็ต้องเดินหน้าต่อ ต้องปรับตัวเช่นไปอยู่กับผู้ปกครองใหม่ทั้งๆ ที่ไม่อยาก และเด็กที่อยู่กับโฮชิโนโกะจนโตก็ต้องคิดถึงอนาคตของตัวเองมากกว่าการนึกถึงแต่สิ่งที่ขาดหายไป เพราะสุดท้ายตัวเองก็ต้องออกไปเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งในสังคมที่ต้องอยู่ด้วยตนเองให้ได้ 

อีกสิ่งที่น่าสนใจของ Sunny คือเรื่องไม่ได้อธิบายสถานการณ์ของพ่อแม่ที่ทิ้งลูกไว้ตรงๆ เพราะเรื่องเล่าจากมุมมองของเด็กๆ แต่ถึงแบบนั้นเมื่อเราอ่านเราจะสังเกตถึงความไม่พร้อมของพ่อแม่ที่แตกต่างกันไป บางครอบครัวสถานะทางการเงินไม่ดีพอที่จะเลี้ยงลูกไหว หรือเจ็บป่วยจนเลี้ยงลูกไม่ได้ พ่อแม่บางคนปัญหาอยู่ที่สภาพทางจิตใจที่ไม่พร้อมที่จะมีลูก หรือพ่อแม่ที่สถานะทางสังคมและอาชีพไม่เอื้อต่อการมีเด็กอยู่ด้วย สังคมมักจะมีทัศนคติว่า “ไม่มีเหตุผลใดที่มากพอที่ควรจะทิ้งลูก” แต่หากพิจารณาถึงสถานการณ์ของแต่ละครอบครัวในโลกความจริงแล้ว เราจะพบว่าไม่ใช่ทางที่ดีเสมอไปที่เด็กจะต้องอยู่กับพ่อแม่ที่ไม่พร้อม ไม่ใช่แค่เรื่องเงินเท่านั้น แต่สภาพจิตใจก็เป็นประเด็นสำคัญที่สังคมมักมองข้ามไป ผมไม่ได้สื่อว่าให้มองผู้ใหญ่ที่ทิ้งลูกไว้ที่สถานรับเลี้ยงเด็กเป็นผู้ใหญ่ที่ดี แต่การที่ Sunny แสดงถึงความจำเป็นในแง่มุมของครอบครัวนั้นๆ และทำให้เราเริ่มเห็นความสำคัญของสถานรับเลี้ยงเด็ก เพราะหากไม่มีที่ให้เด็กเหล่านี้อยู่ การที่เด็กจะอยู่กับครอบครัวที่ไม่พร้อมด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตามอาจส่งผลเสียกับเด็กยิ่งกว่า

โฮชิโนะโกะตั้งอยู่ในเมืองเล็กๆ ดังนั้นคนในเมืองมักจะรู้จักกันเองเกือบหมด และทำให้สังคมรู้ว่าเด็กคนนี้มาจากสถานรับเลี้ยงเด็ก และสิ่งนี้สะท้อนอีกปัญหาที่สำคัญที่หลายๆ คนอาจมองข้ามไป แน่นอนว่าในสายตาของคนนอก เด็กที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่เป็นเด็กน่าสงสาร หากเรามองผ่านสายตาของตัวเด็กแล้ว เด็กไม่ต้องการ ‘ความเวทนา’ ‘ความสงสาร’ ที่มีแต่สิ่งลบๆ ที่เขาเองก็ไม่ชอบ แต่เด็กต้องการสิ่งบวกอย่าง ‘ความสุข’ จากทั้งสิ่งที่เอื้อมคว้าได้ในโลกความจริง และ ‘ความฝัน’ ที่หวังว่าจะเป็นจริงลึกๆ 

ดังนั้นการที่สังคมคิดถึงเด็กในสถานรับเลี้ยงแล้วแสดงความสงสารเวทนา กลับเป็นการกัดเซาะความรู้สึกของเด็ก ทำให้เด็กกลายเป็น ‘เด็กที่ไม่เหมือนคนอื่น’ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เด็กอยากได้เลย ใครจะอยากอยู่ในตำแหน่งที่แปลกหรือแตกต่างในทางด้อยกว่า อย่างเด็กๆ ก็อยากมีเพื่อนที่มองตนเองว่ามีความเท่าเทียม ไม่ได้อยากให้เพื่อนมองตนเองด้วยความสงสาร หรือแม้แต่กับผู้ใหญ่ที่อาจจะคิดไปเองว่าเด็กพวกนี้อาจจะมีปัญหา ในทางจิตวิทยาแล้วความคาดหวังของคนรอบตัวนั้นส่งผลต่อบุคคลมาก พอคนคิดว่าเด็กคนนี้แตกต่าง การกระทำของคนนั้นก็จะแตกต่างออกไปโดยไม่รู้ตัว เช่น การพูดด้วยน้ำเสียงเวทนา การพูดในเชิงสงสัยว่าจะมีปัญหาหรือไม่ หรือการแสดงออกว่าเด็กพวกนี้คงเศร้าคงทุกข์อยู่เสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไปกระตุ้นให้เด็กปกติคนหนึ่งที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่กลายเป็นเด็กที่มีปัญหาไปจริงๆ ได้ เพราะได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างจากเด็กที่อยู่กับพ่อแม่ 

แม้ Sunny จะเป็นการ์ตูนแนวสะท้อนสังคมที่มุ่งความสมจริง แต่ผู้ใหญ่อย่างเราๆ เมื่ออ่านแล้วเราคงตระหนักได้ว่า โฮชิโนะโกะ อาจจะเป็นที่ที่ดีอย่างหาได้ยากในโลกความจริง ไม่ใช่เพราะเรื่องสถานที่ หรือสภาพความเป็นอยู่ แต่โฮชิโนะโกะเป็นสถานรับเลี้ยงเด็กที่ผู้ก่อตั้งและผู้ดูแลมีอุดมการณ์แรงกล้าในการช่วยเหลือ ผู้ก่อตั้งพยายามสร้างสถานที่ที่เป็นครอบครัวของเด็ก ไม่ใช่เป็นเหมือนสถาบันหรือมูลนิธิ ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ได้แค่ทำงาน แต่ทำตัวในฐานะผู้ปกครอง เป็นผู้ใหญ่ที่เปิดรับและเข้าหาให้เด็กพึ่งพิง แต่ก็ไม่ได้เอาแต่แสดงความใจดี การเลี้ยงเด็กมาพร้อมความเข้มงวดในระดับที่สมควร มีการลงโทษ ขีดเส้นชัดเจนและบอกเหตุผลในกฎเกณฑ์ต่างๆ แต่ก็พิจารณาถึงสถานการณ์ของเด็กแต่ละคนไปด้วย และถึงจะฟังแล้วโฮชิโนะโกะดูเป็นสถานรับเลี้ยงเด็กในอุดมคติ แต่เรื่องก็ยังคงสื่อว่าให้ตระหนักเสมอว่าที่นี่อาจจะไม่เหมาะกับเด็กทุกคน เพราะเด็กแต่ละคนเหมาะกับสถานรับเลี้ยงที่มีบรรยากาศและกฎเกณฑ์แตกต่างกันไป ส่วนหนึ่งคือสังคมรอบๆ สถานรับเลี้ยงก็แตกต่างกันไปด้วย ซึ่งประเด็นนี้อาจไม่ใช่สิ่งสังคมนึกถึงมาก่อน เพราะเด็กกลุ่มนี้ก็มักจะไม่มีทางเลือกในการเลือกที่อยู่ของตัวเองมากนัก และสถานรับเลี้ยงเด็กในหลายๆ ประเทศก็ไม่ได้มีจำนวนมากจนเป็นตัวเลือกได้ 

เหตุผลหนึ่งที่ผมอยากให้คนลองอ่าน Sunny เพราะแน่นอนว่าในแง่ของการ์ตูนแล้ว ผมว่าเนื้อเรื่องแต่งมาได้ดี คำพูดและลายเส้นสื่ออารมณ์ อ่านได้เพลินๆ และได้เห็นธรรมชาติของเด็กหลายๆ อย่างที่น่าสนใจ แต่อีกเหตุผลคือเมื่ออ่านแล้ว หลายๆ ท่านคงสังเกตเห็นว่าการจัดการสถานรับเลี้ยงเด็กให้เป็นสถานที่ที่ดีเป็นเรื่องยากมาก แต่สถานรับเลี้ยงเด็กก็เป็นสถานที่ที่สำคัญมากเช่นกัน และหลังจากอ่านแล้ว หลายๆ คนคงมีคำถามนี้ในใจว่า “แล้วเราทำอะไรได้บ้าง” 

สิ่งแรกสุดที่ผมคิดว่าเป็น ‘ก้าวแรก’ ที่ทำได้ทุกท่านคือ การตระหนักถึงตัวตนของครอบครัวที่มีปัญหาในสังคม ครอบครัวคือหน่วยเล็กที่สุดของสังคม แต่ก็สำคัญที่สุดในสังคมเช่นกัน ถ้าครอบครัวอ่อนแอสังคมก็อ่อนแอตาม อย่าคิดว่าเด็กที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่เป็นเพียง ‘กลุ่มเล็กๆ ที่มีปัญหา’ หลายๆ ครั้งที่เด็กกลุ่มนี้ถูกตัดโอกาสออกจากสังคมอย่างน่าเสียดาย และจากการที่ถูกตัดโอกาสยิ่งทำให้เขากลายเป็นผู้ด้อยสิทธิหรือเสียงในการเรียกร้องเพื่อเด็กแบบเดียวกันกับพวกเขา และยิ่งทำให้คนละเลยปัญหาเหล่านี้มากขึ้นไปอีก

อีกสิ่งที่ Sunny อาจจะทำให้ผู้อ่านตระหนักคือการยอมรับถึงตัวตนของ ‘พ่อแม่ที่ไม่พร้อมเลี้ยงลูก’ จริงอยู่ว่าการมีลูกเมื่อพร้อมเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสุดท้ายหลายๆ คนก็ไม่ได้ตั้งใจจะมีลูก หรือแม้แต่มารู้ตัวว่าไม่พร้อมหลังจากเด็กเกิดขึ้นมาแล้ว หรือพ่อแม่ที่พบปัญหาชีวิตหรืออุบัติเหตุตามมาภายหลังจนไม่อาจเลี้ยงลูกของตนได้ ชีวิตของเด็กทุกคนเริ่มที่ครอบครัว หากครอบครัวไม่พร้อมแล้วเด็กกลุ่มนี้จะมีอะไรให้พึ่งพิงอีกล่ะครับ เราคงหวังว่าจะมีญาติพี่น้องไปเลี้ยงดูแทนไม่ได้ทุกครั้ง สังคมจึงละเลยเด็กที่ขาดครอบครัวไม่ได้ และละเลยตัวตนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือครอบครัวและเด็กกลุ่มนี้ไม่ได้

 ผมหวังว่าการตระหนักถึงปัญหาในสังคมที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ภาครัฐตระหนักและให้ความสำคัญกับปัญหานี้มากขึ้นเช่นกัน ในยุคที่อัตราการเกิดลดลงนี้ หลาย ๆ ประเทศส่งเสริมให้คนมีลูก แต่ที่จริงแล้วผมเชื่อว่าเราไม่ได้ต้องการแค่ ‘ปริมาณ’ ของประชาชน แต่เราต้องการประชาชนที่มี ‘คุณภาพ’ ซึ่งผู้ใหญ่คงจะมีคุณภาพได้ยากหากชีวิตวัยเด็กของเขาขาดครอบครัวหรือสถานที่ ‘ทดแทนครอบครัว’ และสถานรับเลี้ยงที่ดี อาจจะเป็นไปไม่ได้เลยในโลกความจริงหากไม่มีภาครัฐในการส่งเสริมทางนโยบายและงบประมาณ และคนอื่นอื่นๆ ในสังคมส่งเสริมในด้านสิ่งแวดล้อม แม้เราอาจจะเคยได้ยินเรื่องของเด็กที่ขาดพ่อแม่แต่ล้มลุกคลุกคลานเติบโตมาได้ดิบได้ดีอยู่บ้าง แต่เราก็คงยอมรับว่ามีเด็กที่ขาดพ่อแม่และไม่อาจจะมีชีวิตที่ดีได้แม้จะพยายามแล้วก็ตามอีกจำนวนมากในสังคม หากเด็กขาดครอบครัวซึ่งเป็นดั่งฐานที่ปลอดภัยที่สุดของเขาไปแล้ว อย่างน้อยก็ผมก็อยากให้สังคมมีที่ทางประคับประคองให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ยังมองเห็นว่าโลกนี้ยังเป็นที่ที่ดีอยู่บ้าง 

เติบโตมาแบบขาดสิ่งสำคัญก็จริงแต่ไม่ได้ทนทุกข์ทรมานจากการขาดสิ่งนั้นจนเกินไป และแน่นอนว่าพวกเขาได้รับสิทธิในการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานและการศึกษาที่มีคุณภาพ

สังคมที่ดีก็คือสังคมที่ไม่ละเลยไม่ว่าจะเป็นคนกลุ่มไหนจริงไหมครับ

หนังสือที่รีวิว: หนังสือการ์ตูน “Sunny ” ผู้แต่ง: ไทโย มัทสึโมโตะ สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมมิค

Tags:

ครอบครัวSunnyการเติบโตเด็ก

Author:

illustrator

พงศ์มนัส บุศยประทีป

ตั้งแต่เรียนจบจิตวิทยา ก็ตั้งใจว่าอยากเป็นนักเขียน เพราะเราคิดความรู้หลายๆ อย่างที่เราได้จากอาจารย์ หนังสือเรียน หรืองานวิจัย มันมีประโยชน์กับคนทั่วไปจริงๆ และต้องมีคนที่เป็นสื่อที่ถ่ายทอดความรู้แบบหนักๆ ให้ดูง่ายขึ้น ให้คนทั่วไปสนใจ เข้าใจ และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ไม่อยากให้มันอยู่แต่ในวงการการศึกษา เราเลยอยากทำหน้าที่นั้น แต่เพราะงานหลักก็เลยเว้นว่างจากงานเขียนไปพักใหญ่ๆ จนกระทั่ง The Potential ให้โอกาสมาทำงานเขียนในแบบที่เราอยากทำอีกครั้ง

Related Posts

  • Book
    บ้านเล็กในป่าใหญ่: ที่พักพิงแสนปลอดภัยในโลกอันน่าหวาดหวั่นคือ ‘ครอบครัว’

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Early childhoodFamily Psychology
    เติบโตไปด้วยกัน Alpha Generation EP.2 ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ไม่ได้ทำให้สิ่งสำคัญต่อตัวเด็กเปลี่ยนแปลง

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Movie
    Inside Out 2: เมื่อไม่อาจหลีกหนีความวิตกกังวล สิ่งสำคัญคือการรู้เท่าทันและไม่ปล่อยให้มันครอบงำจิตใจ

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • Movie
    A Little girl’s Dream (2014) : การเติบโตของโทโทมิกับครอบครัวที่ไม่ใจร้าย

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Matilda The Musical: เมื่อโลกไม่เข้าข้าง เราต้องยืนหยัดเพื่อตัวเอง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

การศึกษานอกกรอบที่ตอบโจทย์ชีวิต เสียงสะท้อนจากเด็กนอกระบบ ‘นนท์’ – นนทวัฒน์ โตมา 
Voice of New GenSocial Issues
20 August 2024

การศึกษานอกกรอบที่ตอบโจทย์ชีวิต เสียงสะท้อนจากเด็กนอกระบบ ‘นนท์’ – นนทวัฒน์ โตมา 

เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ปริสุทธิ์

  • จากในเด็กในระบบสู่เด็กนอกระบบ ด้วยฐานะทางบ้าน สภาพแวดล้อมที่เติบโตมาดึงดูดให้ ‘นนท์’ – นนทวัฒน์ โตมา หลุดออกจากวงโคจรของการศึกษาในระบบ ที่สำคัญคือการศึกษาที่เขาพบเจอนั้นไม่ตอบโจทย์ชีวิต ไม่ได้ทำให้เขาเห็นคำตอบว่า …เรียนไปเพื่ออะไร?
  • ปัจจุบันนนท์ได้เจอกับการศึกษาที่ยืดหยุ่นและตอบโจทย์กับชีวิตเขาแล้ว นั่นก็คือ Free Form School ห้องเรียนนอกกรอบเพื่อให้เด็กมีทักษะการทำงานและวุฒิการศึกษา จากโครงการคลองเตยดีจัง โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือเด็กนอกระบบในชุมชนคลองเตย กรุงเทพมหานคร
  • “สำหรับผมก็ยังมองว่าการศึกษามันสำคัญ เพราะว่าประเทศเรามันขับเคลื่อนด้วยวุฒิการศึกษาอยู่แล้ว การศึกษาเองเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันก็ให้ความรู้เราในระดับนึง”

“เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในแต่ละพื้นที่มันมีอยู่แล้วแหละสิ่งที่ไม่ดี แต่ในคลองเตยสิ่งที่ไม่ดีดึงดูดเด็กได้มากกว่าพื้นที่อื่น เด็กหลายๆ คนคิดว่ามันเท่ ผมว่าอันนี้มันก็คือปัจจัยที่ทำให้เด็กหลุดออกจะระบบการศึกษา บวกกับพ่อแม่ไม่ได้มีทุนทรัพย์ ไม่มีเวลาดูแลลูกเพราะต้องทำงาน ลูกก็ไปอยูกับหัวโจก ขายยาได้เงิน ตอนหลังสูบยา ออกจากระบบการศึกษา แล้วก็ติดยา” 

‘นนท์’ – นนทวัฒน์ โตมา ตัวแทนเยาวชนนอกระบบการศึกษา สะท้อนเรื่องราวของเด็กคนหนึ่งที่เติบโตมาในชุมชนคลองเตย จากในเด็กในระบบสู่เด็กนอกระบบ ด้วยฐานะทางบ้าน สภาพแวดล้อมที่เติบโตมาดึงดูดให้เขาหลุดออกจากวงโคจรของการศึกษาในระบบ ที่สำคัญคือการศึกษาที่เขาพบเจอนั้นไม่ตอบโจทย์ชีวิต ไม่ได้ทำให้เขาเห็นคำตอบว่า …เรียนไปเพื่ออะไร? 

“ปัญหาหลักๆ ของคนคลองเตย ก็คือพ่อแม่ไม่มีเวลาอยู่กับลูก ยกตัวอย่างถ้าพ่อแม่ใครทำงานเป็นแม่บ้านหรือรปภ.เนี่ย พ่อแม่ของคนเหล่านั้นเขาต้องตื่นตั้งแต่ตีสี่ตีห้า อาบน้ำเตรียมตัวเพื่อมานั่งรอรถเมล์สายเดียวที่อยู่ในคลองเตยที่มันผ่านก็คือสาย 72 เพื่อออกไปข้างนอก กลับบ้านมาก็สองสามทุ่มแล้ว ประเด็นก็คือว่า พอพ่อแม่ไม่อยู่ก็ไม่มีใครอยู่กับลูก แล้วตัวเงินที่พ่อแม่เขาได้มาน้อยมากได้ 300 กิน 3 มื้อ ขั้นต่ำๆ ลูกคนเดียวอยู่กับพ่อแม่รวมเป็น 3 คน พ่อด้วยแม่ด้วยวันละ 300 บาท 2 คนก็ 600 บาท แล้วต้องอยู่ทั้งวัน บวกกับค่าเช่า ค่าอะไรพวกนี้ มันไม่พอ 

แล้วพอไม่มีพ่อแม่คอยอยู่ด้วย ลูกก็ต้องหาที่พึ่งใหม่ ซึ่งในชุมชนมีอยู่แล้วก็คือเป็นพวกหัวโจกต่างๆ ที่ว่าเป็นคนไม่ดีนะ เด็กไม่มีที่คุ้มกันก็จะอยู่กับคนพวกนี้ แล้วก็ซึมซับในสิ่งที่ไม่ดี 

อีกอย่างมีความคิดหนึ่งที่มันค่อนข้างดังในโซเชียล ตั้งแต่อดีตแล้วแหละ ก็คือว่า ไม่ต้องเรียนหรอกทำงานหาเงินดีกว่า เฟี้ยวกว่าเยอะ บวกกับที่พอไม่มีเงิน เด็กก็คิดว่างั้นไปทำงานดีกว่า เรียนไปก็ไม่ได้ประโยชน์ไม่ได้เงิน

ถ้าเกิดว่ามีการบริหารประเทศให้ดีขึ้น แล้วพ่อแม่เขาไม่ต้องไปทำงานตั้งแต่ตีสี่ตีห้า กลับมาสองสามทุ่ม บางทีพ่อแม่เขาอาจจะมีเวลาอยู่กับลูก มีเวลาคอยดูแลลูกมากกว่านี้ แล้วก็ตัวเด็กเองไม่จำเป็นต้องไปหางานทำก็ได้ เพราะพ่อแม่เขามีเงินมากพอที่จะเลี้ยงดูครอบครัว แต่ปัจจุบันคือไม่พอ อย่างเช่นตัวผมเอง”

เส้นทางการศึกษาในรั้วโรงเรียน ความหวัง-ความฝันของเด็กชายนนทวัฒน์ 

นนท์เล่าแบล็กกราวด์ให้เห็นถึงเส้นทางชีวิตความเป็นอยู่ของตัวเอง ซึ่งเด็กหลายๆ คนที่เติบโตมาในชุมชนคลองเตยมักจะมีประสบการณ์ร่วมกันไม่มากก็น้อย เด็กชายนนทวัฒน์ในวันนั้นต้องต่อสู้กับความท้าทายอะไรบ้าง 

“ผมเกิดมาในครอบครัวชนชั้นแรงงาน แม่เป็นแม่บ้านอยู่ที่บ้าน พ่อก็ออกไปทำงานข้างนอก ซึ่งพ่อแท้ๆ ของผมทำงานเป็นช่างอาคาร แล้วพอมีเงินอยู่ในฐานะปานกลาง มีช่วงนึงที่เก็บเงินได้พอสมควรก็เลยย้ายจากบ้านโทรมๆ มาอีกที่นึง ก็อยู่ในชุมชนแหละแต่ว่าดีขึ้นมาในระดับนึง แต่พอพ่อผมเสีย แล้วแม่ก็มีสามีใหม่ทำงานเป็นรปภ. เงินเก็บที่ว่าพอมีมันก็หมดไป แล้วก็กลับไปอยู่บ้านที่มันซอมซ่อเหมือนเดิม ก็ต้องกัดก้อนเกลือกิน เพราะว่าพ่อเลี้ยงผมทำงานอยู่คนเดียวเงินเดือนประมาณ 12,000-13,000 บาท ผมก็ต้องหางานทำตั้งแต่เด็ก ผมจำได้อาชีพแรกของผมคือการขายเรียงเบอร์ ตอนนั้นประมาณป.5 ป.6 ได้ อยู่ในช่วงคาบเกี่ยวเลย” 

หลังจากนั้นเด็กชายนนทวัฒน์ก็เข้าสู่ช่วงมัธยมศึกษาตอนต้น และเป็นจุดเริ่มต้นในการเข้าสู่วงการเพลงแร็ป เขาได้เจอในสิ่งที่ชอบ และลองทำมันอยู่ช่วงหนึ่ง 

“ผมไม่เคยสนใจเรื่องแรปมาก่อน แต่ตอนนั้นผมแอบชอบสาวคนนึง แล้วเห็นเขาแชร์เพลงแรปของพี่ 19TYGER ชื่อเพลงว่ากูน่ะคลองเตย ผมก็คิดว่าถ้าผมทำจะแชร์ของเราไหม ก็เลยลองทำดูแต่งกับเพื่อน แต่ปัจจุบันผ่านมา 4-5 ปีแล้วยังไม่แชร์ของผมเลย” 

“ตอนนั้นผมเรียนอยู่โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา สังกัดกทม. ตั้งแต่ป.1-ม.3 เลย แล้วหลังจบม.3 ก็ออกมาหางานทำ ผมทำ kfc ขับ shopee ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ปิดเทอมอยู่ แล้วตอนนั้นผมได้เข้าไปเรียนปวช.ปี 1 หลังจากปิดเทอมผมก็ออกมอเตอร์ไซค์ ตอนนั้นเลือดร้อน ออกมอไซค์มาแล้วก็สมัคร shopee เป็นไรเดอร์ ช่วงนั้นต้องพูดอย่างตรงไปตรงมาเลยว่ารายได้มันดี เฉลี่ยแล้วผมวิ่งตั้งแต่แปดโมงถึงประมาณสองทุ่ม ได้ประมาณอยู่ที่พันกว่าบาทต่อวัน พอทีนี้พอเราเห็นเม็ดเงินเยอะด้วยความที่เป็นวัยรุ่น ผมก็เก็บเงินไปดาวน์นั่นดาวน์นี่สารพัดดาวน์ แล้วพอเปิดเทอมใหม่ผมบริหารเวลาไม่ทันคือผมต้องเลือกว่าระหว่างเรียนกับทำงาน เพื่อเอาเงินมาจ่ายสิ่งที่ไปดาวน์มา ต้องรับผิดชอบ ซึ่งผมลองทำงสองอย่างไปพร้อมกัน สรุปคือมันเละเทะมาก จนผมซ้ำชั้นแล้วก็ตัดสินใจไม่เรียนต่อ”

ในตอนที่นนท์ยังเรียนอยู่ในรั้วโรงเรียนนั้น เขาเล่าให้ฟังว่า เขาเป็นเด็กหลังห้องเกรดต่ำที่ไม่ชอบเรียน ความทรงจำในห้องเรียนในมุมมองของนนท์ค่อนข้างติดลบ แต่ก็ยังมีช่วงหนึ่งของชีวิตที่เขาได้ค้นพบความชอบ และได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ 

“จำได้ช่วงนึงชอบเรียนมากเพราะรู้สึกว่าเป็นจุดสนใจของเพื่อร่วมห้องก็คือช่วงประถมต้น เรียนดีมาก คนนั้นก็มาลอก คนนี้ก็มาลอก แต่พอหลังจากป.4 ผมรู้สึกว่าสังคมเพื่อนผมมันเริ่มเปลี่ยนไป จากเด็กเล่นดีดลูกแก้ว ก็เริ่มเอาบุหรี่เข้ามาสูบ เริ่มใช้ความรุนแรง เกรดผมเริ่มตก เริ่มติดศูนย์สองสามตัว เพราะไม่สนใจเรียน แค่ทำงานส่งๆ ไม่ได้รักษาคุณภาพเท่าตอนประถมต้น 1-3 มันไม่ได้มีแรงจูงใจในการเรียน ไม่มีเป้าหมาย อีกอย่างนึงก็คือได้เห็นตัวอย่างของเพื่อน พอมันเป็นเกเรแล้วรู้สึกว่ามันเท่ ก็เลยอยากจะเกเรด้วย”

“แต่ก็มีช่วงนึงผมรู้สึกชอบศิลปะ เพราะว่าช่วงนั้นโดนสปอย คือผมเองก็ไม่ได้วาดรูปสวย แต่ว่ามองโลกในแง่จริงคือโรงเรียนชุมชนเด็กคุณภาพมีน้อย ซึ่งผมดันไปเป็นเด็กที่พอมีคุณภาพ พอวาดรูปสวย แล้วแต่ละโรงเรียนในสังกัดกทม. ชุมชนคลองเคยมันจะมีการแข่งทุกปี แข่งวาดรูปวันวิสาขบูชา พูดสุนทรพจน์ หลายอย่างเลย จำได้ว่าแข่งที่วัดสะพาน ซึ่งผมเองก็ได้คัดเลือกไปทุกปี แล้วก็รู้สึกว่า พอโดนสปอยว่าผมวาดรูปได้ รู้สึกว่าชอบวาดรูป แต่พอโตมารู้สึกว่าตกเป็นเครื่องมือของผู้ใหญ่ คือด้วยความที่ว่าโรงเรียนอย่างที่ผมบอกไปข้างต้นคือ เด็กที่มีคุณภาพมีน้อย พอเรื่องการแข่งอย่างวาดรูปพอได้มันมีรางวัลให้โรงเรียน ซึ่งผมเองก็ไมได้วาดรูปสวยขนาดนั้น มันเป็นเศษเสี้ยวนึงที่ทำให้ผมบ่มเพาะให้ผมเป็นคนที่ชอบโดนสปอย เลยรู้สึกว่าไม่ได้ชอบเท่าไร แล้วก็บอกครูไปตามตรงว่า ไม่อยากวาดแล้ว ไม่อยากแข่งแล้ว” 

ตัดสินใจไม่ไปต่อในระบบการศึกษา

จากที่นนท์เล่ามาดูเหมือนว่าปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้เด็กในชุมชนคลองเตย หลุดออกจากระบบการศึกษา เป็นเรื่องของทุนทรัพย์ สภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ หลักสูตรที่ไม่ตอบโจทย์ชีวิต แต่มากไปกว่านั้น นนท์เล่าต่อว่าสาเหตุที่ทำให้เขาตัดสินใจไม่ไปต่อกับการเรียนในระบบการศึกษานั้นมีจุดนึงที่สะกิดใจเขา

“ช่วงที่มีม็อบแรกๆ ผมก็ไปร่วมแล้วก็ฟังตั้งแต่เริ่มจนจบเลยที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย มันมีบางประเด็นที่ผมรู้สึกว่าก็จริงนะ เป็นเรื่องการบริหารประเทศครับ 

ตอนแรกผมคิดว่าปัญหาที่ผมเจอมันแค่ปัญหาในครอบครัว แต่พอมานั่งฟังจริงๆ รู้สึกว่าครอบครัวผมก็ส่วนนึงแหละ ครอบครัวผมคือส่วนนึงของความผิด แต่ความผิดจริงมันคือการบริหารที่ผิดพลาด 

พอหลังจากนั้นมันก็เริ่มหล่อหลอมผมมาเรื่อยๆ คือผมเริ่มลงลึกว่าทำไมการศึกษาของเราถึงไม่ตอบโจทย์เด็กอย่างผมที่ว่าเป็นเด็กที่ไม่สนใจการเรียน อย่างในต่างประเทศมีวิชาชีพให้เลือกเยอะ แล้วพอผมมองกลับมาที่ไทย ทำไมมันไม่หลากหลาย ผมเลยคิดว่าในเมื่อหัวผมไม่ได้ไปทางด้านที่การศึกษาไทยมันวางไว้ ผมออกมาดีกว่า แล้วก็เรื่องการเงินด้วย หลายๆ อย่างมันประกอบกัน” 

นอกจากนี้ นนท์เสริมว่าในตอนที่เรียนนั้นมีเทอมนึงที่โรงเรียนมีชั่วโมง ‘ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้’ ซึ่งทำให้เพื่อนของเขาได้ค้นพบความถนัดของตัวเอง แล้วก็ออกไปเรียนรู้ด้วยตัวเองในสายงานนั้นเลย 

“เพื่อนผมไปเลือกวิชาซ่อมคอมพ์ แล้วเพื่อนผมก็ไม่สนใจการเรียนวิชาอื่นเลย แล้วก็ไม่ซ่อมคอมพ์แล้วก็ไปทำอาชีพเป็นช่างซ่อมคอมพ์เลย เพราะว่ามันเจอสิ่งที่น่าสนใจกว่า” 

“ช่วงที่มีลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของกทม. ผมว่าช่วงนั้นเหมือนจะเป็นขาขึ้น แต่อยู่ดีๆ มันก็หายไป ผมก็งงว่ามันหายไปได้ไง ทั้งๆ ที่มันตอบโจทย์เด็กนักเรียนมากๆ มันเพิ่มวิชาที่ไม่ใช่แค่วิชาการให้เด็กได้เรียนรู้ แต่แล้วมันก็หายไปดื้อๆ”

การศึกษาที่ยืดหยุ่นและตอบโจทย์ชีวิต   

หลังจากที่นนท์ได้มีโอกาสไปฟังปราศรัย ได้รับข้อมูลเชิงการเมืองมากขึ้น จึงมีความคิดว่า “ถ้าเกิดเราไปประท้วงอย่างเดียว มันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้เลย ก็เลยอยากเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในจุดมันสามารถเปลี่ยนแปลงได้ก็คือภายในสภา อันนี้ก็เป็นความฝันสูงสุดเลย ผมก็อยากเป็นสส. เขตคลองเตย ซึ่งก็ต้องใช้วุฒิการศึกษา” 

นี่จึงเป็นแรงบันดาลใจให้นนท์พยายามกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอีกครั้งในระดับปวช. ซึ่งแม้จะไม่สำเร็จ แต่ปัจจุบันนนท์ได้เจอกับการศึกษาที่ยืดหยุ่นและตอบโจทย์กับชีวิตเขาแล้ว นั่นก็คือ Free Form School ห้องเรียนนอกกรอบเพื่อให้เด็กมีทักษะการทำงานและวุฒิการศึกษา จากโครงการคลองเตยดีจัง โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือเด็กนอกระบบในชุมชนคลองเตย กรุงเทพมหานคร

“ผมกลับมาเรียนอีกครั้งกับ Free Form School ปัญหาที่เคยเจอก็ไม่ค่อยได้เจอเท่าไร แต่ว่ามันต้องสู้กับตัวเอง พอมันเปิดกว้าง สถานที่ก็คือไม่ต้อง ไม่จำเป็นต้องไปเรียนก็ได้ ได้งานมาก็คือต้องเขียนงาน ทำโครงงาน ทีนี้จะจบเทอมแล้วผมยังทำไม่เสร็จสักอย่างเลย ผมทำจบไป 2 บทเองเหลืออีกตั้ง 8 บท คือมันต้องสู้กับตัวเอง ต้องพยายามอย่าขี้เกียจในการทำการบ้าน

ซึ่งต้องให้เครดิตครูไฝ (สัญชัย ยำสัน หัวหน้าโครงการพัฒนาเด็กและชุมชน มูลนิธิดวงประทีป) เขาบอกว่า ไม่ต้องเข้าหรอก เข้าไปก็เสียเวลาเพิ่มอีกตั้ง 3 ปีเพราะต้องเริ่มใหม่ ก็ไปเรียนกศน. ในรูปแบบของ Free Form School เลย เพราะว่าในคลองเตยมีอยู่แล้ว โครงการคลองเตยดีจังเป็นคนจัดหาเข้ามาให้เด็กในคลองเตยที่หลุดจากระบบการศึกษาได้เรียน เพราะว่าเด็กในคลองเตยส่วนใหญ่แล้ว เป็นลักษณะเดียวกับผมคือ เรียนในห้องเรียนไม่เก่งแล้วก็ จำเป็นต้องหางาน หาเงิน เพื่อมาจุนเจือครอบครัว”

“รูปแบบที่ผมเรียนคือเขาจะให้รับชิ้นงานเป็น 3 ชิ้นงานใหญ่ก็คือตัวสมุดแบบฝึกหัด ตัวโครงงาน แล้วก็ตัวชีวประวัติของเรา ก็คือถ้าทำ 3 อย่างนี้ก็คือจะจบหลักสูตร ได้วุฒิ แบบฝึกหัดก็คือจะให้รวมเลย 8 วิชา แล้วก็จะมีคิวอาร์โค้ดให้เราไปเรียนรู้ตามยูทูบ แล้วก็เอามานั่งตอบคำถาม ซึ่งผมมองว่ามันเป็นการเรียนแบบรวดเดียว” 

การศึกษาที่ยืดหยุ่นแบบนี้ ทำให้นนท์ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง และได้รู้ว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร? อีกทั้งยังปลดล็อกจุดด้อยที่เขาเคยผ่านมันไปไม่ได้ในตอนที่เรียนในระบบการศึกษา 

“ผมพูดแบบตรงไปตรงมาเลยนะครับ ว่าที่ผมเรียนที่เขาให้ผมไปสแกนคิวอาร์โค้ดแล้วก็เรียนตามยูทูบเนี่ยได้ความรู้มากกว่าที่ครูมานั่งบอกผมอีก จริงๆ ก็ต้องโทษตัวผมเองด้วยว่า ถ้าเกิดมีครูมานั่งอธิบาย แล้วถ้าเกิดผมอยู่กับเพื่อนผมไม่ฟัง แต่พอผมได้นั่งฟังเองคนเดียว แล้วผมตั้งใจฟัง ผมได้ความรู้กว่าที่ครูบอกผมอีก 

แล้วจากที่ผมได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง ผมว่าผมรู้สึกชอบวิชาวิทยาศาสตร์มากที่สุด ทั้งที่เป็นวิชาที่ผมด้อยที่สุดตอนที่ผมเรียนอยู่ในโรงเรียน แต่พอมาที่นี่ผมรู้สึกว่าผมฉลาดขึ้นมา รู้สึกว่าผมรับและซึมซับความรู้ได้มากกว่าที่ต้องไปนั่งฟังในห้องเรียนอีก 

มันเหมือนผมได้ปลดล็อก จากที่วิชานี้มันเคยเป็นวิชาที่ผมเรียนในโรงเรียนแล้วรู้สึกว่าด้อยด้วย” 

อนาคตต่อจากนี้ที่นนท์วาดไว้ก็คือ การเรียนต่อในคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อสานต่อความฝันที่อยากทำหน้าที่สมาชิกผู้แทนราษฎร 

“จริงๆ ผมจะจบสิ้นเดือนนี้ แต่ว่างานผมยังไม่เสร็จสักอย่างเลย คิดว่าหลังจากนี้ต้องเร่งทำ หลังจากนั้นส่วนตัวผมก็คือจะไปต่อม.รามเลย แต่ว่าหลายๆ คนก็แนะนำว่า เรียนปวส.ก่อนดีกว่า แล้วค่อยเอาวุฒิปวส.ไปต่อมหาลัยปี 3 อีกทีนึง แต่ว่าช่วงนี้ก็อยู่ในช่วงตัดสินใจอยู่ครับ ว่าจะต่อมหาลัยเลยดีไหม หรือว่าจะต่อปวส.ก่อน ที่อยากต่อรัฐศาสตร์ก็อย่างที่บอกว่าอยากเป็นสส.ด้วย อยากมีความรู้ตรงนี้เพิ่ม และอีกอย่างประเทศเรามันขับเคลื่อนด้วยวุฒิการศึกษาอยู่แล้ว และถึงแม้ว่าผมไม่ได้เป็นสส.ตามที่ผมคาดหมายก็ตาม แต่ก็ยังใช้วุฒิไปทำอย่างอื่นได้อีก” 

ตราบใดที่ประเทศยังขับเคลื่อนด้วยใบปริญญา การศึกษาในระบบจึงสำคัญ

จากประสบการณ์ที่ได้เรียนอยู่ในระบบการศึกษา จนหลุดออกจากระบบการศึกษา รวมถึงประสบการณ์ชีวิตที่เติบโตมา ทำให้นนท์เข้าใจดีว่า การศึกษาสำคัญแค่ไหน แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ยังมองไม่เห็นความหวังกับการศึกษาที่เป็นอยู่  

“สำหรับผมก็ยังมองว่าการศึกษามันสำคัญ เพราะว่าประเทศเรามันขับเคลื่อนด้วยวุฒิการศึกษาอยู่แล้ว การศึกษาเองเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันก็ให้ความรู้เราในระดับนึง จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ผมเจอมานะ ผมว่าผมได้ภูมิคุ้มกันด้านการโดนด่า เพราะว่าผมก็โดนด่ามาเยอะพอสมควรในรั้วโรงเรียน แล้วตัวผมเองก็หาข้อดีไม่ค่อยเจอ ผมว่ามันก็มีข้อดีการศึกษา แต่ว่าผมหาไม่เจอ อาจจะเป็นเพราะว่าผมก็ไม่ได้เรียนเก่ง”

“ถ้าถามว่ามีความหวังกับการศึกษาที่เป็นอยู่ตอนนี้ไหม การศึกษาตอนนี้มีหัวเรือใหญ่ที่ไม่ได้ชำนาญเรื่องการศึกษาแล้วมาทำ มันเลยทำให้การศึกษาที่มันแย่อยู่แล้วยิ่งแย่กว่าเดิม ผมเลยมองว่าผมไม่มีความหวังกับการศึกษา(ในระบบ)เลย ด้วยความที่ว่าปัญหามันส่งผลเป็นทอดๆ แล้วตอนนี้ปัญหาอย่างแรกที่มันเป็นตัวศูนย์กลางมันยังไม่ได้รับการแก้ไข อย่างเช่นปกติรุ่นผม ป.4-5-6 อันนี้วัยที่กำลังเริ่มสูบบุหรี่ ตอนนี้ป.1 ป.2 เริ่มสูบกันแล้ว แล้วก็มีเด็กจากที่ผมหาข้อมูลมาคือจะหลุดกันเฉพาะแค่ช่วงม.1-2-3 ตอนนี้ ป.1 ป.2 เริ่มหลุดกันแล้ว 

การศึกษามันไม่ได้ตอบโจทย์ ไม่ได้น่าดึงดูด แล้วน้องผมตอนนี้อยู่ป.4 แล้วนะ แต่ยังอ่านหนังสือไม่ได้ ยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เลย”

นอกจากนี้นนท์ยังฝากสารถึงผู้ใหญ่ทั้งหลายว่า 

“มีสิ่งหนึ่งผมอยากจะให้พวกผู้ใหญ่ได้ทราบก็คือว่า มันจะมีช่วงนึงที่ทางคนข้างนอกก็คือพี่เบส-ผู้กำกับ School town king เข้ามาจัดกิจกรรม Connext Klongtoey ที่เอาคนจากแขนงวิชาชีพต่างๆ มาทำเป็นเวิร์กชอปในชุมชน จำไม่ได้หมดว่ามีอะไรบ้าง แต่หลักๆ เลยคือมีแร็ป ช่างภาพ สัก ออกแบบดีไซน์ มันดีมากเลยนะ เพราะว่าเด็กหลายๆ คนก็ได้วิชาจากตรงนั้น อันนี้ก็เป็นต้นแบบที่ดี เอามาเป็นโมเดลเอาไปจัดได้ จริงๆ มันก็คล้ายกับลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้นะ แต่ลดเวลาเรียนมันคือการเรียนหน้าเดียว ได้ทำจริง แต่ว่าไม่ได้ลงในภาคสนาม คือครูจะจำลองเหตุการณ์มาให้ แต่พอเป็นเวิร์กชอปคือเราเจอกันแค่สัปดาห์ละครั้ง เริ่มต้นจากคนไม่มีความรู้ จนได้เป็นผลงาน 

ยกตัวอย่างเช่นแรป ตอนนั้นผมเองก็ไม่ได้มีความรู้เรื่องแรปอะไร พอเริ่มมาได้เจาะข้อมูลจริงๆ เขาสอนเริ่มจากศูนย์เลย ก็คือเริ่มจากการหาหัวข้อที่จะแต่งเพลง การเขียนเนื้อเขียนยังไง แล้วเราจะสื่อความรู้สึกผ่านน้ำเสียงของเรายังไงให้คนฟังได้สัมผัสถึงมัน หาบีท เขียนบีท แล้วก็ไปอัดเพลง ได้ผลงานเพลง แล้วก็ได้ไปเล่นคอนเสิร์ตจริงๆ”

“ถึงตัวผมเองจะไม่ได้ตั้งใจเรียนขนาดนั้น แต่เพื่อนๆ ผมก็มีที่เขาสัมผัสถึงปลายทางของมัน อย่างเช่นเพื่อนผมที่เป็นช่างซ่อมคอมพ์ แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเจอ อย่างผมเองตรงนั้นมันไม่มีสิ่งที่ผมชอบด้วย 

ผมเสนอว่าถ้าคุณจะเอาลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ อยากจะให้เด็กเป็นคนเลือกเองว่าจะเรียนอะไร แล้วค่อยมาคัดเลือกว่าอันไหนมีความต้องการมากที่สุด 

เพราะว่าตอนที่ผมเรียน อยู่ดีๆ มันมีขึ้นมาให้เลือกเลย ไม่ได้ถามเราก่อน แต่ว่าเรามีสิทธิเลือกในหัวข้อที่เขาตั้งขึ้นมา แต่เราไม่ได้มีโอกาสตั้งหัวข้อขึ้นมาเอง น่าจะเพิ่มตัววิชาที่มันตรงกับความสนใจของผู้เรียนจริงๆ”

“สุดท้ายผมฝากถึงคณะรัฐบาลเลยละกัน ผมอยากให้คณะรัฐบาลเลือกคนมาเป็นรัฐมนตรีที่มันสมเหตุสมผลหน่อย การศึกษาที่ว่าแย่แล้วยิ่งหนักกว่าเดิม แล้วก็อยากจะให้ทางคณะรัฐบาลที่พยายามสื่อถึงว่าตัวเองเป็นรัฐบาลที่ดีนักดีหนาได้เข้ามาแก้ไขปัญหาจริงๆ สักที ถ้าไม่เห็นภาพ ไม่เห็นตัวอย่างว่าปัญหานี้มันมีปัญหาตรงไหนก็ดู School town king ได้เลย ผมคิดว่าน่าจะตอบโจทย์ได้ดีพอสมควร”

Tags:

ความยากจนการบริหารการศึกษาที่ยืดหยุ่นFree Form School‘นนท์’ - นนทวัฒน์ โตมาDropoutสภาพแวดล้อมเด็กนอกระบบ

Author:

illustrator

นฤมล ทับปาน

Photographer:

illustrator

ปริสุทธิ์

Related Posts

  • Social Issues
    มากกว่าชนะในเกมคือไม่แพ้ในชีวิตจริง การพัฒนาศักยภาพเด็กที่ไม่มีคำว่า ‘ใน’ หรือ ‘นอก’ ระบบการศึกษา: ทีมฟุตบอลชมรมเยาวชนลำปางหลวง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ปริสุทธิ์

  • Pakorn_1
    Everyone can be an EducatorSocial Issues
    “เราก็แค่ส่องไฟให้เขาเลือกเส้นทางเอง” ปกรณ์ นาวาจะ นักออกแบบการเรียนรู้ผู้ขอเป็น ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ให้เด็กนอกระบบ

    เรื่อง ชุติมา ซุ้นเจริญ ภาพ ปริสุทธิ์

  • Voice of New GenSocial Issues
    ‘เด็กทุกคนมีศักยภาพขอเพียงอย่าปิดกั้นโอกาส’  ชีวิตไม่หยุดฝันในวัน Dropout:  ‘กัน’ บัณฑิตา มากบำรุง

    เรื่อง The Potential

  • unique-teacher-outside-the-box-nologo
    Unique Teacher
    โรงเรียน 4 ตารางวา แต่ขนาดหัวใจของครูใหญ่กว่า: ‘ครูติ๊ก- ชัชวาลย์ บุตรทอง’ พาเด็ก Drop Out กลับสู่โลกการเรียนรู้ที่ไม่ลิดรอนความฝัน

    เรื่อง ชุติมา ซุ้นเจริญ ภาพ ปริสุทธิ์

  • Social Issues
    ‘บ้านไม่เป็นบ้าน โรงเรียนไม่เป็นโรงเรียน’ เด็กไทยต้นทุน(ชีวิต)ต่ำ: รศ.นพ. สุริยเดว ทรีปาตี

    เรื่อง ชุติมา ซุ้นเจริญ ภาพ ปริสุทธิ์

การดูแลบาดแผลทางใจ (trauma-informed care) คือการสร้างสังคมที่ปลอดภัย
Healing the trauma
19 August 2024

การดูแลบาดแผลทางใจ (trauma-informed care) คือการสร้างสังคมที่ปลอดภัย

เรื่อง ชัค ชัชพงศ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • บาดแผลทางใจหมายถึงความรู้สึกเจ็บปวดจนส่งผลกระทบต่อร่างกายหรือจิตใจอย่างรุนแรง เช่น อุบัติเหตุ การสูญเสีย ความรุนแรงทางจิตใจ ร่างกาย หรือภัยธรรมชาติ แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนที่มีบาดแผลทางใจจะพัฒนาเป็นโรค PTSD 
  • หลักการสำคัญของการนำความรู้เรื่องการดูแลบาดแผลทางใจไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือองค์กรมี 4 ข้อ ได้แก่ การตระหนัก การรับรู้ การตอบสนอง และการต่อต้านการสร้างบาดแผลทางใจซ้ำ
  • สิ่งที่ยากที่สุดของการต้องอยู่กับบาดแผลทางใจคือการที่เราต้องก้าวไปข้างหน้าโดยที่ต้อง “รับผิดชอบความรู้สึกตัวเอง” ถ้าเราอยากมีความสุขเราก็ต้องค่อยๆ ถอนตัวเองออกจากความรู้สึกเหล่านั้น

เริ่มต้นบาดแผลทางใจถูกเรียกว่า ‘อาการช็อกจากกระสุน’ (shell shock) ซึ่งเป็นอาการที่มักพบในกลุ่มทหารผ่านศึก (veteran) ที่เผชิญสถานการณ์โหดร้าย ทั้งความรุนแรงจากการสูญเสีย การใช้ความรุนแรง 

เรียกรวมๆ ว่าภาพที่น่าหดหู่ของสงคราม และภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเรียกและเพิ่มการวินิจฉัยเป็นโรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์เลวร้าย (post-traumatic stress disorder) เข้าไปในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตของสมาคมจิตเวชศาสตร์ โดยมีอาการคร่าวๆ ดังนี้ 

1) เป็นผู้เผชิญ สังเกตการณ์ หรือได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรงไม่ว่าจะเป็นการเสียชีวิต การทารุณกรรม 

2) รู้สึกเหมือนเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นซ้ำๆ ไม่ว่าจะเป็นการนึกถึง ฝัน หรือรู้สึกเหมือนอยู่ในเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ (flashback)

3) พยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ ผู้คน หรือสิ่งที่เกี่ยวข้อง 

4) มีความคิดหรือความรู้สึกแง่ลบเปลี่ยนแปลงไปในแง่ลบ เช่น จำเหตุการณ์ไม่ได้ มองตัวเองแย่ รู้สึกเชิงลบ ถอยตัวออกหากจากคนอื่น

5) ตื่นตัวหรือการตอบสนองต่อเหตุการณ์มากเกินไป เช่น หงุดหงิด ระเบิดอารมณ์ง่าย สะดุ้งตกใจง่าย มีปัญหาสมาธิ หรือการนอนหลับ 

6) อาการเหล่านี้รบกวนชีวิตจนเกิดปัญหา และมีระยะเวลามาก 1 เดือน 

*เกณฑ์ดังกล่าวเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น ยังมีรายละเอียดมากกว่านี้ หากสนใจสามารถปรึกษาจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรืออ่านเพิ่มเติมได้ที่คู่มือ DSM-V TR 

เมื่อเริ่มมีการตระหนักถึงความรุนแรงและผลกระทบของบาดแผลทางจิตใจในกลุ่มทหารผ่านศึก ระหว่างเดียวกันกลุ่มผู้หญิง และเด็กก็พบว่าแม้ตนเองจะไม่เคยผ่านเหตุการณ์เลวร้ายอย่างสงคราม แต่ตนเองก็มีบาดแผลทางจิตใจหรืออาการของโรค PTSD เช่นกัน ซึ่งมาจากการนึกย้อนถึงเหตุการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นในวัยเด็กได้ภายหลัง (delayed recall of memories) โดยเหตุการณ์มักจะเกี่ยวข้องกับความรุนแรงในครอบครัว และการล่วงละเมิดทางเพศ (sexual abuse) ส่งผลให้เกิดการถกเถียงด้วยว่าความทรงจำนั้นเป็นเรื่องจริง หรือเป็นเพียงอาการความจำผิด (false memory syndrome) แต่ก็ได้มีการค้นพบว่า อาการ PTSD สามารถเกิดขึ้นได้กับการทารุณกรรมหรือความรุนแรงในครอบครัวได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นการค้นพบจึงเป็นเหตุการณ์พลิกวงการบาดแผลทางใจที่ทำให้สังคมค่อยๆ เห็นว่า อาการของ PTSD สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และบาดแผลทางใจก็เช่นกัน 

หลายคนมักจะเชื่อมโยงว่าบาดแผลทางใจคือ โรค PTSD เพราะว่า PTSD ทำให้สังคมเห็นว่าบาดแผลทางใจสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจมนุษย์ได้อย่างรุนแรง

 ถึงอย่างนั้น ทั้งสองอย่างก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน บาดแผลทางใจมีความหมายที่กว้างมากกว่านั้น ซึ่งหมายถึงความรู้สึกเจ็บปวดจนส่งผลกระทบต่อร่างกายหรือจิตใจอย่างรุนแรง เช่น อุบัติเหตุ การสูญเสีย ความรุนแรงทางจิตใจ ร่างกาย หรือภัยธรรมชาติ แม้อาการของ PTSD มักจะเกิดจากเหตุการณ์ที่เป็นบาดแผลทางใจ แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนที่มีบาดแผลทางใจจะพัฒนาเป็นโรคดังกล่าว เพราะมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ความเข้มแข็งทางจิตใจ การมีคนรอบข้างสนับสนุน และอื่นๆ นอกจากนั้น บาดแผลทางใจยังเป็นปัจจัยที่พัฒนาเป็นโรคจิตเวชอื่นๆ ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น โรคทางบุคลิกภาพ เช่น โรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบก้ำกึ่ง (BPD) หรือโรคทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว หรืออาจจะไม่ได้เป็นอะไรเลยก็ได้หากมีความเข้มแข็งทางจิตใจ การสนับสนุนจากคนรอบข้างที่เหนียวแน่น หรือพันธุกรรมที่ดี  

กำเนิดวิธีการดูแลบาดแผลทางใจ (trauma-informed care)

เมื่อสังคมเริ่มตระหนักถึงการมีอยู่ของบาดแผลทางจิตใจ จึงเริ่มมีการพัฒนามุมมองของการดูแลบาดแผลทางใจ หรือ trauma-informed care โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างการตระหนักรู้ถึงรูปแบบ ผลกระทบของบาดแผลทางจิตใจ รวมถึงวิธีในการดูแลและสร้างสังคมที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผลทางใจซ้ำอีกครั้ง และส่งเสริมสังคมของการเยียวยาจิตใจ 

การตระหนักถึงการดูแลบาดแผลทางใจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนมุมมองต่อการเข้าใจมนุษย์ จากปกติเรามักจะตั้งคำถามว่า “คุณผิดปกติตรงไหน” แต่เมื่อเข้าใจบาดแผลทางใจ เราจะค่อยๆ เข้าใจว่าบาดแผลทางใจเป็นมากกว่าโรคทางจิตเวชที่แบ่งคนออกเป็นโรคต่างๆ ผู้คนมีความซับซ้อนมากกว่าการแปะป้ายชื่อโรค คำถามที่เรามักจะถามจึงเปลี่ยนเป็น “เกิดอะไรขึ้นกับคุณ” ซึ่งแสดงถึงการพยายามทำความเข้าใจประสบการณ์ชีวิต เหตุการณ์ที่พบเจอ ความคิด ความรู้สึก มากกว่ามองว่าเขาผิดปกติด้วยโรคอะไรแล้วก็จบไป 

การใส่ใจถึงประสบการณ์ที่ซับซ้อนของคนจึงเป็นการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้คนรู้สึกกล้าที่จะเป็นตัวเอง มากกว่าจมอยู่กับความรู้สึกว่าตัวเองผิดปกติ 

หลักการสำคัญของการนำความรู้เรื่องการดูแลบาดแผลทางใจไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือองค์กรมี 4 ข้อ ได้แก่ 

1) การตระหนัก (realization) มีความเข้าใจผลกระทบของบาดแผลทางใจไม่ว่าจะต่อร่างกาย จิตใจ หรือสังคม ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือระดับหน่วยงานองค์กร 

2) การรับรู้ (recognize) มีความรู้ว่าสัญญาณและอาการของบาดแผลทางใจที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร 

3) การตอบสนอง (respond) เมื่อมีความเข้าใจเรื่องบาดแผลทางใจแล้วเราก็ควรนำองค์ความรู้ไปใช้ทั้งในชีวิตประจำวัน ในองค์กร หรือการสร้างนโยบายต่างๆ ที่คำนึงถึงมิติด้านบาดแผลทางใจมากขึ้น เริ่มตั้งแต่วิธีการทำงาน การคิด การปฏิบัติตัว เช่น การไม่ตัดสิน การตั้งใจฟัง การคำนึงถึงภูมิหลังทางชาติ ศาสนา หรือความเชื่อต่างๆ 

4) การต่อต้านการสร้างบาดแผลทางใจซ้ำ (re-traumatization) เมื่อเรามีความเข้าใจเรื่องบาดแผลทางใจมากขึ้น เราจะยิ่งเห็นว่าบาดแผลทางใจเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อมนุษย์ทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นบุคคล กลุ่ม ชุมชน สังคม ประเทศ และเป็นเหมือนเมล็ดพันธุ์ที่มีอนุภาคทำลายร้างมนุษย์ได้สูงมาก เราจึงควรหลีกเลี่ยงการสร้างบาดแผลทางใจเพิ่มขึ้น เพราะเห็นแล้วว่าผลกระทบนั้นใหญ่เพียงใด เช่น การไม่นำโรคทางจิตเวชมาล้อเล่น เพราะเรารู้ว่าคนที่เป็นโรคอาจไม่ได้สนุกหากบังเอิญมาได้ยิน  

บาดแผลทางใจคืออะไร

ธรรมชาติของบาดแผลทางใจไม่ใช่เพียงเหตุการณ์ที่ทำให้เราเจ็บปวด แต่ต้องเป็นเหตุการณ์ที่มีความรุนแรงและส่งผลกระทบที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อร่างกาย ความรู้สึก มุมมองต่อตัวเองหรือโลก เช่น ปัญหาภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ นอนไม่หลับ การเรียนแย่ ซึมเศร้า วิตกกังวล สมาธิสั้น ไม่เห็นคุณค่าตัวเอง คุมตัวเองไม่ได้ มีอาการเสพติด รู้สึกไร้ความหมาย ปัญหาความสัมพันธ์ ไม่ไว้ใจคนอื่น ทำร้ายคนอื่น 

โดยผมนิยามว่า บาดแผลทางใจคือ เหตุการณ์เลวร้ายที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และรวมถึงสิ่งที่ดีๆ ที่อยากให้เกิดแต่ไม่ได้เกิดขึ้นในชีวิตด้วย นอกจากบาดแผลทางใจที่เกิดขึ้นจากการถูกทำร้ายทางร่างกายหรือจิตใจแล้ว บาดแผลทางใจยังสามารถเกิดจากการถูกเพิกเฉยได้ด้วย รูปแบบนี้มีความซับซ้อนตรงที่เราไม่สามารถสังเกตเห็นได้โดยตรง จึงมีความรู้สึกที่ซับซ้อนตรงที่เราไม่สามารถโกรธอีกฝ่ายได้เพราะอีกฝ่ายไม่ได้ทำร้ายเราตรงๆ ส่งผลให้เป็นความรู้สึกก้ำกึ่งระหว่างสงสัยในตัวเองกับโกรธบางอย่างที่ไม่มีคำตอบชัดเจน ดังนั้นการเพิกเฉยมักจะนำไปสู่บาดแผลทางใจที่ซับซ้อนและรุนแรง 

ยิ่งกว่านั้น สิ่งที่สำคัญมากกว่าเหตุการณ์ภายนอกนั้นเล็กหรือใหญ่ คือความรู้สึกที่เรามีต่อเหตุการณ์นั้นเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นคำว่า “เรื่องแค่นี้” ของแต่ละคนจึงต่างกัน บางคนมองเรื่องการที่เพื่อนไม่รอทานข้าวเป็นเรื่องเล็กน้อย สำหรับบางคนอาจมองเป็นการถูกทอดทิ้ง นอกจากนี้บาดแผลทางใจยังสามารถเกิดขึ้นได้กับคนที่ไม่ได้ประสบเหตุการณ์โดยตรง แต่เป็นการได้รับฟังหรือเป็นผู้สังเกตเหตุการณ์ด้วย (secondary trauma) 

ประโยคที่ผมจำได้ขึ้นใจเมื่อไปเข้าอบรมเรื่องการดูแลบาดแผลทางใจในช่วง 3 ปีก่อนคือ เราควรให้ความสนใจกับการดูแลบาดแผลทางใจ เพราะมันคือสาเหตุของปัญหาพฤติกรรม ความรู้สึกที่ส่งผลต่อทั้งตัวบุคคล ความสัมพันธ์ สังคม และประเทศ 

บาดแผลทางใจเหมือนกับระเบิดเวลาที่ยิ่งปกปิด ยิ่งกดทับ ยิ่งหลีกหนี มันยิ่งจะทวีความรุนแรงในการแสดงออก 

หากเขาส่งสัญญาณว่าต้องการความสนใจแล้วเรายิ่งเมินเฉย เมื่อรับกับแรงกดทับของเราไม่ไหว เขาจะระเบิดตัวออกมา หากไม่เท่าทันสิ่งที่กระตุ้นบาดแผลทางใจ บาดแผลทางใจจะมีอำนาจในการควบคุมความคิด ความรู้สึกเราได้ แต่หากเรารู้ทันเท่า มันจะเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการที่เราจะควบคุมและเป็นเจ้าของชีวิตตัวเอง 

บาดแผลทางใจสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ 

1. เหตุการณ์บาดแผลทางใจ (event trauma) มักเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตอนโต คนเจอมักจะจำเหตุการณ์ได้ อาจมีอาการคล้ายโรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์เลวร้าย 

2. บาดแผลทางใจที่ถูกส่งต่อมาจากบรรพบุรุษ (inherited trauma) การส่งต่ออาจเกิดขึ้นได้ทั้งทาง DNA หรือรูปแบบการเลี้ยงดู ยกตัวอย่าง หากตายายไม่ค่อยใส่ใจเรื่องความรู้สึก แม่ก็อาจพัฒนาบุคลิกภาพเป็นคนที่ไม่ค่อยสนใจความรู้สึก เมินเฉยสิ่งที่เด็กรู้สึก เด็กจะรู้สึกเหมือนถูกปฏิเสธหรือทอดทิ้งทางอารมณ์ 

3. บาดแผลทางใจด้านพัฒนาการ (developmental trauma) มักเกิดขึ้นจากประสบการณ์ในวัยเด็กที่ถูกเพิกเฉยหรือทารุณกรรมซ้ำๆ เป็นประสบการณ์ที่คนมักจะจำไม่ได้แต่มีผลต่ออย่างยิ่งต่อความรู้สึก ซึ่งอาจถูกเรียกว่า บาดแผลทางใจในแง่ความสัมพันธ์ (relational trauma) 

4. บาดแผลทางใจที่ซับซ้อน (complex trauma) เป็นบาดแผลทางใจที่มีความซับซ้อนที่อาจเกิดจากหลายเหตุการณ์รวมกันที่อธิบายไปในข้อ 1-3 ที่ผ่านมา มีความซับซ้อนในการรักษา ต้องใช้ความเชี่ยวชาญพิเศษในการทำความเข้าใจและรักษา 

เมื่อเจอเหตุการณ์ที่ส่งผลให้เกิดความเครียด ร่างกายจะตอบสนองผ่านระบบประสาท 4 รูปแบบ ได้แก่ 

1) การต่อสู้ (fight) อาการที่สังเกตได้ชัด ได้แก่ หายใจถี่ หัวใจเต้นเร็ว ม่านตาขยาย เป็นวิธีที่ร่างกายใช้เพื่อเตรียมตัวเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่อันตราย หรือเพื่อปกป้องตัวเองหรือคนอื่น อาจแสดงออกมาผ่านความก้าวร้าว โกรธ ความหงุดหงิด การเตรียมร่างกายเพื่อพร้อมพุ่งไปข้างหน้า 

2) การหนี (flight) อาการที่สังเกตได้ ได้แก่ หายใจถี่ หัวใจเต้นเร็ว กล้ามเนื้อตึงเครียด เป็นวิธีที่ใช้เพื่อเตรียมหนีออกจากสถานการณ์ที่เห็นว่าอันตราย อาจแสดงออกมาผ่านความวิตกกังวล หรือความกลัว 

3) การแข็งทื่อ (freeze) อาการที่สังเกตเห็นได้คือ ร่างกายแข็ง รู้สึกเหมือนทุกอย่างหยุดค้าง คิดอะไรไม่ออก รู้สึกชา มักเกิดขึ้นเมื่อเจอเหตุการณ์ที่มีความรุนแรงจนทำให้ไม่สามารถคิดหรือทำอะไรได้ 

4) การยอมตาม (fawn) เป็นการมุ่งสนใจไปที่ความต้องการผู้อื่นเพื่อสร้างความพอใจ รวมถึงหลีกหลี่ยงความขัดแย้ง ซึ่งพัฒนามาจากความโกรธที่ถูกกดทับ (repressed anger) และบาดแผลทางใจ 

สิ่งที่ยากที่สุดของการต้องอยู่กับบาดแผลทางใจคือการที่เราต้องก้าวไปข้างหน้าโดยที่ต้อง “รับผิดชอบความรู้สึกตัวเอง” 

ผมฟังครั้งแรกจากอาจารย์แล้วผมรู้สึกเห็นด้วยนะครับ เพราะการโยนปัญหาไปให้คนอื่นไม่ได้ช่วยให้เราจัดการปัญหาได้ ยิ่งโยนออกไปเยอะเราก็ยิ่งรู้สึกโกรธหรือสิ้นหวัง การรับผิดชอบจึงเป็นเหมือนการดึงอำนาจในการมีความทุกข์และสุขกลับมาที่ตัวเอง แต่เชื่อไหมครับ พอผมได้ทำจิตบำบัด (self-analysis) แล้วเจอบาดแผลทางใจของตัวเองทำให้รู้เลยว่าแนวคิดที่รู้สึกเห็นด้วยตอนเรียนมันไม่ได้ง่ายเหมือนที่คิด ยิ่งรู้สึกว่ามันไม่ยุติธรรมเลยที่ต้องมาเจออะไรแบบนี้ ผมยิ่งก่นด่า โทษคนอื่น โกรธคนอื่น แล้วก็วนกับความรู้สึกแย่แบบนั้นอยู่หลายเดือน จนได้เรียนรู้ว่าสุดท้ายถ้าเราอยากก้าวข้าวผ่านมันไป เราอาจต้อง “ยอมรับ” สิ่งที่เกิดขึ้น แค่คำนี้ก็ยากแล้วครับ แต่เป็นแบบนั้นจริงๆ ครับ “มันเกิดขึ้นแล้ว..มันเกิดจริงๆ” ผมบอกตัวเองแบบนั้นหลายรอบมาก ต่อมาจึงเริ่ม “รับผิดชอบความรู้สึกตัวเอง” การรับผิดชอบไม่ใช่การบอกว่าเขาไม่ผิด แต่มันคือรับรู้ว่าเขาผิดแล้วเหตุการณ์ก็จบแล้ว ถ้าเราอยากมีความสุขเราก็ต้องค่อยๆ ถอนตัวเองออกจากความรู้สึกเหล่านั้น มันเป็นความรู้สึกที่ยากและซับซ้อนมากเลย ตอนนี้ก็ยังผ่านมันไปไม่ได้นะครับ แต่มันค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อเรารู้สึกว่าการโทษคนอื่นไม่ได้มีประโยชน์ (แม้จะอยากโทษมากแค่ไหนก็ตาม) และสุดท้ายชีวิตก็เป็นของเรา สุขภาพจิตที่ดีเกิดจากการที่เรามีอำนาจในการควบคุมชีวิตตัวเอง ไม่ใช่ควบคุมอะไรนะครับ แต่มันคือการควบคุมและรับผิดชอบความรู้สึกตัวเอง กระบวนการเยียวยาบาดแผลทางใจของผมใช้เวลานานมากครับ แล้วคิดว่าแต่ละคนก็คงใช้เวลาและวิธีการเยียวยาที่ต่างกันออกไป 

เป็นเรื่องยากที่มนุษย์จะไร้ซึ่งบาดแผลทางใจ แนวคิดเรื่อง การดูแลบาดแผลทางใจ (trauma-informed care) จึงสำคัญมากในการจะสร้างสังคมที่ปลอดภัย และช่วยให้คนในครอบครัว สังคม และประเทศมีความสุข ซึ่งจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากมีเพียงบุคคลากรสุขภาพจิตที่พยายามขับเคลื่อน แต่มันจะเกิดขึ้นจากการที่ทุกคนมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับบาดแผลทางใจ ผมนึกถึงกรณีเจ้าชายวิลเลียมที่เพิ่งออกมาเล่าประสบการณ์บาดแผลทางใจของตัวเองที่เกิดขึ้นในจากการสูญเสียแม่หรือเจ้าหญิงไดอาน่าจากเหตุการณ์อุบัติเหตุรถยนต์ที่พระองค์ทรงแบกมาไว้ในใจมากกว่า 20 ปี ผมคิดว่ามันเป็นก้าวที่สำคัญของการที่สังคมเริ่มเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นของบาดแผลทางใจที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกคนแม้กระทั่งคนที่เพียบพร้อมอย่างเจ้าชายวิลเลียม 

สร้างพื้นที่ปลอดภัยต่อใจไปด้วยกันครับ

อ้างอิง 

– เนื้อหาที่เขียนส่วนใหญ่มาจากช่วงที่ผมไปเรียน trauma-informed care, Colorado Professional Development Center และช่วงที่ไปเรียนเรื่องการดูแลบาดแผลทางใจจากสมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย

Tags:


Author:

illustrator

ชัค ชัชพงศ์

นักจิตวิทยาที่เขียนบทความเพื่อช่วยให้คนเข้าใจตัวเองและคนรอบข้าง FB: Chuck Chatpong

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Relationship
    แม้แผลใจจะยังไม่หายดี แต่เธอก็มีความสัมพันธ์ที่ดีได้นะ

    เรื่อง ชัค ชัชพงศ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Myth/Life/Crisis
    ความตายขับเคลื่อนชีวิต (2): เมื่อการระลึกถึง ‘ความตาย’ ทำให้เข้าใจความหมายของ ‘ชีวิต’

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Healing the trauma
    Overexplaining: แกะปมที่ซ่อนอยู่ในคำอธิบายอันท่วมท้นของใครบางคน

    เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Myth/Life/Crisis
    ความตายขับเคลื่อนชีวิต (1): เพราะมนุษย์รู้ว่าสักวันหนึ่งจะต้องตาย การเห็นคุณค่าในตัวเองจึงสำคัญ

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Alexithymia-nologo
    How to enjoy life
    พูดไม่ออก บอกไม่ถูก? เมื่อใจรู้สึก แต่ปากกลับบอกไม่ได้ว่าคืออารมณ์อะไร: Alexithymia ภาวะไร้คำให้กับอารมณ์

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

Modern love : ไม่จำเป็นต้องลืมคนเก่า-ถูกแทน หัวใจเรารักได้มากกว่านั้น
Movie
17 August 2024

Modern love : ไม่จำเป็นต้องลืมคนเก่า-ถูกแทน หัวใจเรารักได้มากกว่านั้น

เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Modern love เป็นซีรีส์ที่ได้แรงบันดาลใจจากบทความออนไลน์เกี่ยวกับความรักของ New York Times ที่จะเล่าถึงความรักในรูปแบบต่างๆ
  • ‘สเตฟานี’ คุณหมอแม่ลูกสอง ผู้ที่ตัดใจขายรถสปอร์ตคันเก่าไม่ได้เสียที เพราะเบื้องหลังแล้วมันเป็นมากกว่าแค่พาหนะ แต่เสมือนกล่องเก็บความทรงจำระหว่างสามีเก่าที่เสียชีวิตไป
  • ‘ไนออล’ สามีคนปัจจุบันของสเตฟานีก็มีหัวใจที่ยิ่งใหญ่และกว้างขวางมาก เขาสามารถเปิดรับความเป็นมนุษย์ที่เปราะบางของคนอื่นได้อย่างเต็มใจและไม่ตัดสินซึ่งเป็นสิ่งที่งดงามมาก

Modern love เป็นซีรีส์ที่ได้แรงบันดาลใจจากบทความออนไลน์เกี่ยวกับความรักของ New York Times มีฉากหลังเป็นเมืองใหญ่ซึ่งเต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์อย่างนิวยอร์ก ซีรีส์ในแต่ละอีพีก็จะเล่าถึงความรักในรูปแบบต่างๆ ส่วนในอีพีที่เราหยิบมาเล่าในครั้งนี้นั้นได้พาเราออกไปจากเมืองนิวยอร์ก แวะไปชมเมืองที่มีถนนทอดยาวขนาบคู่ไปกับวิวธรรมชาติที่กว้างไกลอย่างเมืองดับลินในประเทศไอร์แลนด์

ที่นั่นมี ‘สเตฟานี’ คุณหมอผู้ใจดี และเป็นคุณแม่ลูกสอง เธอมีรถสปอร์ตคันนึงที่เก่าเกินจะขับ แต่ก็ใหม่เกินกว่าจะเป็นรถคลาสสิก ซึ่งเธอไม่สามารถตัดใจขายมันลงซักที

รถสปอร์ตเปิดประทุนสีฟ้าสด Triumph Stag ของคุณหมอสเตฟานีมีอายุกว่า 40 ปี ซึ่งในอายุขัยของรถก็ถือว่าเป็นรถที่แก่มากควรจะต้องปลดระวางเต็มที และแม้ว่าช่างซ่อมรถประจำตัวของเธอจะบ่นว่ารถคันนี้ควรไปอยู่ในกองเศษเหล็กได้แล้วเพราะไม่คุ้มกับค่าซ่อมที่ต้องจ่ายเป็นพันเหรียญ แต่สเตฟานีก็ยังคงดื้อ ไม่อยากขายและยืนยันจะซ่อมมันต่อไป ช่างเลยบอกว่า “คุณต้องถอดใจกับรถคันนี้ได้แล้ว มันไม่ใช่คนไข้ของคุณนะ”

แล้วยิ่งพอเธอกลับมาที่บ้านแล้วได้คุยกับ ‘ไนออล’ สามีของเธอ ก็บอกเธอว่าครอบครัวกำลังต้องเซฟรายจ่ายและค่าซ่อมรถของเธอในปีนี้สูงมาก เลยทำให้สเตฟานีคิดว่าครั้งนี้น่าจะถึงเวลาที่ต้องขายรถได้ซักที หลังจากเคยตัดสินใจจะขายมาหลายครั้งแล้วแต่ก็สุดท้ายก็ตัดใจไม่ลง

เมื่อ ‘แชนนอน’ ลูกสาวคนโตของเธอซึ่งกำลังเรียนมหาวิทยาลัยรู้เรื่องเข้าก็มีอาการไม่พอใจอยู่ลึกๆ แต่ก็บอกกับแม่ว่าเธอเข้าใจ ด้านสเตฟานีเมื่อเห็นลูกไม่พอใจก็พาลไปโทษสามีว่าเค้าบังคับให้เธอต้องขายรถแล้วทำให้ลูกสาวของเธอรู้สึกไม่โอเค

หลังจากนั้นซีรีส์ก็เริ่มเล่าว่าทำไม สเตฟานีกับแชนนอนถึงได้ผูกพันถึงขั้นยึดติดกับรถสปอร์ตเปิดประทุนคันนี้ 

สามีคนแรกของสเตฟานีได้เก็บเงินซื้อรถมาสมัยที่เค้าและสเตฟานียังเป็นเพียงนักศึกษามหาวิทยาลัย มันร่วมทุกข์ร่วมสุขกับครอบครัวของสเตฟานีมาอย่างยาวนาน ทั้งตอนที่ตัดสินใจแต่งงาน มีลูก จนลูกโตพอจะเลือกเพลงที่เปิดฟังด้วยกันบนรถได้ และจนกระทั่งสามีป่วยหนักและเสียชีวิตไป ทั้งสองจึงมีทั้งความรู้สึกรักและผูกพันกับรถคันนี้มากเพราะมันเปรียบเหมือนกล่องบรรจุความทรงจำเกี่ยวกับสามีคนแรกหรือพ่อของแชนนอนที่เสียชีวิตไป

และอีกเหตุผลนึงที่ทำให้สเตฟานีไม่สามารถปล่อยวางรถได้คือทุกครั้งที่เธอออกไปขับรถบนนถนนคนเดียว เธอจะได้มีโอกาสพูดคุยระบายเรื่องราวชีวิตกับสามีเก่าที่จากไปเสมือนว่าเค้ายังนั่งอยู่ข้างๆ เธอ ด้วยความรักและระลึกถึงเขาไม่เคยเปลี่ยน เธอกลัวว่าหากขายรถคันนี้ไป เธออาจไม่มีพื้นที่ที่ได้ระลึกถึงเขาแบบนี้อีกแล้วรึเปล่า

แต่สุดท้ายเธอก็เลือกที่จะขายรถเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว

หลังจากขายรถไปสเตฟานีพูดกับไนออลว่า “ฉันทำถูกแล้วที่ขายรถ มันเป็นสิ่งที่คนโตแล้วควรจะทำ ฉันไม่น่าโกรธคุณที่บังคับให้ฉันทำ ฉันควรขอบคุณที่คุณพยายามดูแลครอบครัวของเรา” หลังจากนั้นเธอก็เริ่มสารภาพว่าเธอรู้สึกอย่างไรกับรถคันนั้น เธอบอกว่า “รถคันนั้นถ่วงให้ฉันอยู่ในอดีต” ไนออลถามต่อว่าเธอหมายความว่ายังไง สเตฟานีพูดว่า “รถคันนั้นเหมือนไทม์แมชชีนที่ส่งฉันย้อนกลับไปในอดีต ฉันยังคุยกับสามีเก่าบนรถคันนั้นเหมือนเค้ายังคงอยู่ข้างๆ” และนั่นทำให้เธอรู้สึกเสียใจต่อไนออล สามีคนปัจจุบัน

ไนออลถามว่าทำไมถึงไม่เคยเล่าเรื่องนี้เลย สเตฟานีบอกว่า “ฉันกลัวว่าคุณจะคิดว่าฉันเป็นบ้าที่คุยกับรถคนเดียว หรือคิดว่าฉันหมกมุ่นกับอดีตมากเกินไป” เธอยังบอกอีกว่า เธอเก็บเสื้อหนาวของสามีเก่าเอาไว้ในถุงพลาสติกเพื่อบางครั้งเธอจะนำมันออกมาสูดกลิ่นและสัมผัสมันเหมือนว่าสามีเก่ายังคงกอดเธอไว้ เธอถามไนออลว่า “แบบนี้มันผิดมั้ย คุณอยากทิ้งฉันรึเปล่า”

ไนออลครุ่นคิดก่อนจะนั่งลงข้างสเตฟานีแล้วพูดว่า “คนที่ต้องสูญเสียคนที่รักไป บางคนอาจทำใจได้เร็วแล้วใช้ชีวิตต่อ แต่ก็รู้สึกผิดที่มันเป็นแบบนั้น สำหรับบางคนการปล่อยให้คนที่รักไปนั้นยากมาก เขาอาจลืมไม่ได้ไปตลอดชีวิตเลยก็ได้ แต่นี่แหละคือความรักและความเศร้า มันไม่มีกฎเกณฑ์”

สเตฟานีถามต่อว่า “มันกวนใจคุณมั้ยที่ไมเคิล (สามีเก่า) ยังมีความสำคัญกับชีวิตฉันขนาดนี้” ไนออลตอบกลับมาว่า

“ผมรู้ว่าคุณรักเขามากแค่ไหนตอนที่ผมแต่งงานกับคุณ แต่ก็รู้ด้วยว่ายังมีที่ว่างในนั้นอีกมากแค่ไหน นั่นคือสิ่งที่ดึงดูดผมมาหาคุณ หัวใจคุณเป็นสถานที่ที่กว้างที่สุดที่ผมเคยอยู่มา

ผมรู้จากท่าทีของคุณที่มีต่อผู้คน กับพ่อแม่ผม คนไข้ ลูกๆ แล้วถ้าผมได้ครอบครองพื้นที่เล็กๆ ในนั้น นั่นก็มากมายกว่าที่ผมเคยคาดหวังไว้ในชีวิตแล้ว” 

ต่อจากนั้นไนออลยังเล่าให้สเตฟานีฟังอีกว่าเค้าเองก็มีของชิ้นนึงที่สภาพไม่ได้ดีเหมือนกันแต่เค้าก็เก็บมันไว้ไม่ยอมทิ้ง เพราะมันทำให้เค้านึกถึงแม่ที่จากไป ซึ่งหมายความว่าเขาก็เข้าใจความรู้สึกของเธอที่มีต่อรถคันนั้นมากมายทีเดียว

สิ่งที่ไนออลตอบกลับมานั้นเป็นสิ่งที่เราไม่เคยคิดมาก่อน เขาทำให้เราเห็นภาพว่าในหัวใจของคนเรานั้นมีพื้นที่ที่สามารถรักคนได้มากกว่า 1 คน เราเคยเข้าใจว่าเวลาที่เรามอบความรักให้คนนึงแล้ว พอมีคนเข้ามาใหม่คือเราจะต้องแบ่งความรักจากคนหนึ่งไปให้อีกคน

ที่เป็นอย่างนั้นอาจเป็นเพราะตอนเด็กๆ เราถือเป็นพี่คนโตในแก๊งค์ลูกพี่ลูกน้องแล้วมักจะถูกแม่บอกว่า “ต่อไปจะไม่มีใครรักเราเพราะทุกคนจะรักน้องคนใหม่” ความคิดนี้น่าจะถูกปลูกฝังอยู่กับเรามาตั้งแต่นั้น และทุกครั้งที่เรามีความรักเราจะกลัวที่จะถูกแย่งความรักไปตลอดเวลา ทั้งที่จริงแล้วความรักมันไม่ได้ถูกแบ่งจากคนหนึ่งไปให้อีกคนได้ง่ายๆ อย่างนั้น

เราคิดว่าไม่ใช่แค่สเตฟานีเท่านั้นที่มีหัวใจที่จะมอบความรักให้กับคนได้มากมาย แต่ไนออลเองก็มีหัวใจที่ยิ่งใหญ่และกว้างขวางมาก เขาสามารถเปิดรับความเป็นมนุษย์ที่เปราะบางของคนอื่นได้อย่างเต็มใจและไม่ตัดสินซึ่งเราคิดว่ามันเป็นสิ่งที่งดงามมาก

ในซีรีส์สเตฟานีบอกไนออลว่า “เธอโชคดีถึงสองครั้งในชีวิต” ครั้งแรกคือการได้เจอกับสามีเก่าและอีกครั้งคือการมีไนออลเป็นสามี ผู้ซึ่งเข้าใจเธออย่างลึกซึ้ง

เราเองก็รู้สึกโชคดีที่ได้รับรู้เรื่องนี้เพราะมันทำให้เรายังมีความหวังที่จะมองเห็นหัวใจของตัวเองกำลังค่อยๆ กว้างขึ้นจากที่เป็นอยู่ และทำให้เรารู้ว่าต่อไปนี้ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกใครมาพรากความรักไปได้อีก

Tags:

ครอบครัวพ่อแม่ความสัมพันธ์ความรัก

Author:

illustrator

พิมพ์พาพ์

เป็นลูกคนเดียวจากแม่เลี้ยงเดี่ยว เรียกตัวเองว่านักวาดภาพประกอบที่ชอบวาดคนหน้าแมว เผลอเสียน้ำตาให้กับหนังครอบครัวอยู่บ่อยๆ

Related Posts

  • Book
    รถไฟขนเด็ก – เพราะรักจึงยอมปล่อยมือ

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Movie
    Love, Simon: หากแม้คนทั้งโลกจะใจร้าย ขอแค่พ่อแม่รักและเข้าใจก็พอ

    เรื่อง อัฒภาค ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Movie
    Aftersun: แม้ภายในจะรวดร้าวแต่พ่อยังอยากเป็นความทรงจำที่ดีของลูก

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Dear ParentsMovie
    The love of Siam: รักแห่งสยาม ‘เดอะแบก’ ของบ้านที่ไม่พูดความต้องการและรู้สึก

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Dear ParentsMovie
    Orange is the new black: แม้ในเรือนจำความเป็นมนุษย์ไม่ควรถูกกักขัง

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

‘โรงเรียน = รุนแรง’ สมการนี้สังคมต้องร่วมแก้ …เพราะทุกคนมีสิทธิที่จะไม่ถูกรังแก
16 August 2024

‘โรงเรียน = รุนแรง’ สมการนี้สังคมต้องร่วมแก้ …เพราะทุกคนมีสิทธิที่จะไม่ถูกรังแก

เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • ทำไมสถิติการกลั่นแกล้งรังแก (Bully) ของไทยจึงยังติดอันดับต้นๆ ของโลก? จริงหรือที่การกลั่นแกล้งรังแกเกิดขึ้นจากพฤติกรรมส่วนตัวของเด็กบางคน? ปัจจัยอะไรที่สนับสนุนให้การกลั่นแกล้งรังแกนับวันจะยิ่งรุนแรงและเรื้อรัง?
  • The Potential ร่วมหาคำตอบกับนักวิชาการ นักการศึกษา และจิตแพทย์ เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือเด็กๆ ให้ออกจากวังวนของความรุนแรงในรั้วโรงเรียน
  • หากถามว่าควรเริ่มต้นแก้ปมปัญหานี้จากจุดไหนก่อน อยากชวนให้ทุกคนร่วมกันส่งเสียงว่า “ไม่ว่าใครก็ไม่ควรถูกกลั่นแกล้งรังแก” และ “ไม่ว่าใครก็ไม่มีสิทธิกลั่นแกล้งรังแกผู้อื่น” …ไม่ว่าจะอ้างเหตุหรือเจตนาใดๆ ก็ตาม

“สังคมต้องเข้าใจว่าการกลั่นแกล้งรังแกเกิดขึ้นทุกวัน และไม่ใช่แค่เรื่องธรรมดาทั่วไป ไม่มีใครสมควรถูกรังแกและทุกคนมีสิทธิที่จะไม่ถูกรังแก”

ผศ.นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ชวนตั้งโจทย์ให้ตรงจุดเกี่ยวกับปัญหาการกลั่นแกล้งรังแก (Bully) ที่หลายคนอาจมองข้ามไป ทั้งที่ ‘ทุกคน’ ทุกเพศ-ทุกวัย ต่างสมควรได้รับการเคารพบนหลักการพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะเด็กๆ มนุษย์ตัวเล็กที่ยังต้องการการปกป้องคุ้มครองจากการคุกคามทั้งทางร่างกายและจิตใจ 

ผศ.นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์
ผศ.นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์

จากการสำรวจเด็กและเยาวชนจำนวน 31,271 คน ในปีพ.ศ. 2566 โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพโดยกองสุขศึกษา พบว่า ร้อยละ 44.2 เคยตกเป็นเหยื่อของการกลั่นแกล้งรังแก โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นในโรงเรียนสูงถึงร้อยละ 86.9 ซึ่งถ้าจะพูดให้เห็นภาพมากขึ้นคือ ในจำนวนนักเรียน 100 คน จะมีเกือบครึ่งหนึ่งที่เคยถูกกลั่นแกล้งรังแก และส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่โรงเรียน

สอดคล้องกับรายงานของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ที่ระบุว่า เด็กและเยาวชนก่อคดีเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายเพิ่มขึ้น ที่น่าสนใจคือ เด็กและเยาวชนที่ถูกกลั่นแกล้งเคยคิดแก้แค้นเอาคืนกว่าร้อยละ 42.8 ซึ่งอาจลุกลามไปสู่การก่อคดีอาชญากรรมได้ในอนาคต

ใครจะเป็น ‘เหยื่อ’ รายต่อไป?

[กรณีตัวอย่างนี้เป็นนำข้อมูลจากนักเรียนที่ถูกบูลลี่ในหลายเหตุการณ์มาเรียบเรียงใหม่]

‘ซูโม่’ (นามสมมติ) นักเรียนมัธยมฯจากโรงเรียนชายล้วนชื่อดัง เขาถูกแก๊งอันธพาลประจำรุ่นกลั่นแกล้งเป็นประจำ ไล่ตั้งแต่การล้อเลียนปมด้อย รีดไถเงิน ใช้กรรไกรตัดผมให้แหว่ง ชกต่อยจนร่างกายมีรอยฟกช้ำ ยิ่งไปกว่านั้นยังถ่ายภาพไว้แบล็คเมล์อีกนับไม่ถ้วน

แม้ซูโม่จะพยายามหาทางออกจากฝันร้ายนี้ แต่ทุกครั้งที่เขานำเรื่องดังกล่าวไปเล่าให้พ่อแม่ฟัง นอกจากพ่อแม่จะไม่รับฟังยังตำหนิที่เขาไม่รู้จักสู้กลับ หนำซ้ำยังบอกว่าเรื่องแค่นี้โรงเรียนไหนก็มี มันเทียบไม่ได้เลยกับสิ่งที่เขาต้องเผชิญในอนาคต 

เมื่อพ่อแม่ไม่ช่วย ซูโม่จึงหันไปพึ่งครู ครูก็แค่เรียกแก๊งเด็กอันธพาลมาสอบถามเพียงผิวเผิน ต่อด้วยการดุด่าว่ากล่าว พร้อมกับเขียนรายงานเหตุการณ์ลงในสมุดจดการบ้านเพื่อให้ผู้ปกครองรับทราบ ซึ่งหารู้ไม่ว่าการกระทำนี้กลับยิ่งทำให้ซูโม่ถูกรังแกหนักขึ้นกว่าเดิม โทษฐานทำตัวเป็นพวก ‘ขี้ฟ้อง’ 

แน่นอนว่า หากซูโม่ถูกกลั่นแกล้งและกลับมาบอกครูอีก เหตุการณ์ทุกอย่างก็จะวนกลับมาเป็นวงจรอุบาทว์ ท้ายสุดเขาจึงเลือกเก็บปัญหาไว้เองคนเดียวจนการเรียนของเขาแย่ลง เขาเริ่มวิตกกังวล เครียด และเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า

พญ.เบญจพร ตันตสูติ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นโรงพยาบาลมนารมย์ มีโอกาสได้พูดคุยกับเด็กหลายคนที่ถูกบูลลี่ อธิบายถึงพฤติกรรมที่เข้าข่ายการบูลลี่ (Bullying) หรือการกลั่นรังแกกันว่ามีหลากหลายรูปแบบ ไม่ใช่แค่การทำร้ายร่างกาย แต่ยังรวมถึงการพูดล้อเลียน ดูหมิ่น หรือการแบนออกจากกลุ่ม โดยรูปแบบที่เจอได้บ่อยๆ ในยุคนี้ คือการกลั่นแกล้งรังแกในโลกออนไลน์ (Cyberbullying) 

สำหรับเส้นแบ่งระหว่างการหยอกล้อกับการบูลลี่ พญ.เบญจพร จิตแพทย์เจ้าของเพจ ‘เข็นเด็กขึ้นภูเขา’ บอกว่าไม่ได้อยู่ที่เจตนาของผู้กระทำอย่างเดียว แต่ให้ยึดความรู้สึกของผู้ถูกกระทำเป็นเกณฑ์ และบางครั้งก็เป็นการกระทำของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กๆ ด้วย ซึ่งไม่ควรมองว่าเป็นแค่เรื่องธรรมดา 

“อย่างกรณีครูที่ชอบทักเด็กจะด้วยความเอ็นดูหรืออะไรก็ตามโดยอ้างว่าไม่มีเจตนาร้าย ด้วยการนำรูปลักษณ์ของเด็กมาล้อเล่น เช่น ยายไฝ นายแว่น ยายดำ นายอ้วน ฯลฯ โดยคิดว่าเป็นเรื่องเล่นๆ สนุกๆ แต่หารู้ไม่ว่าเป็นการปลูกฝังค่านิยมการเหยียดหรือบูลลี่ในใจเด็ก แล้วเด็กก็ไปบูลลี่เพื่อนต่อไปเรื่อยๆ”

และแม้เรื่องราวเหล่านี้จะได้รับการฉายภาพซ้ำแล้วซ้ำเล่า ประเด็นการเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ดูเหมือนจะได้รับความสำคัญมากขึ้นในกลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่หลายคำถามยังคงถูกทิ้งไว้ในสังคม

…ทำไมสถิติการกลั่นแกล้งรังแก (Bully) ของไทยจึงยังติดอันดับต้นๆ ของโลก?

…จริงหรือที่การกลั่นแกล้งรังแกเกิดขึ้นจากพฤติกรรมส่วนตัวของเด็กบางคน?

….ปัจจัยอะไรที่สนับสนุนให้การกลั่นแกล้งรังแกนับวันจะยิ่งรุนแรงและเรื้อรัง?

โรงเรียน…โรงบ่มความรุนแรง?

  • นักเรียนชั้น ม.3 ตกตึกชั้น 4 แม่ติดใจเชื่อลูกถูกแกล้ง โดนเพื่อนบูลลี่เป็นประจำ
  • วิจารณ์ยับ! คลิปครูโรงเรียนดังเชียงใหม่กล้อนผมเด็กนักเรียนหน้าเสาธง-ซัดทำเกินกว่าเหตุละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
  • แฉซ้ำ! ครูวิทย์โหดทำโทษ ป.6 นิ้วห้อเลือด เคยตบหน้านักเรียนสมาธิสั้นจนถูกทัณฑ์บนแต่มาก่อเหตุซ้ำซาก
  • สุดสลด ลูก 7 ขวบถูกครูทำโทษ วิ่งรอบสนามดับ เหตุเครื่องแบบลูกเสือไม่ครบ พ่อเผยลูกป่วยเป็นหอบหืด

เหตุการณ์ที่ปรากฎในข่าวแทบทุกวัน คือหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เผยให้เห็นว่านอกจากการบูลลี่โดยเด็กๆ ด้วยกันเอง ความรุนแรงในโรงเรียนจำนวนไม่น้อยยังเกิดจาก ‘ครู’ ผู้ถูกคาดหวังว่าจะปกป้องเด็กจากความรุนแรง

ที่ผ่านมาแม้จะดูเหมือนมีความพยายามแก้ปัญหา แต่ก็เป็นไปในลักษณะลูบหน้าปะจมูก หรือซุกปัญหาไว้ใต้พรมมากกว่า เรื่องนี้นักสังคมศาสตร์มองว่า แท้จริงแล้วการกลั่นแกล้งรังแกเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งของความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่เกิดขึ้นจาก ‘วัฒนธรรมการใช้อำนาจ’ ในสังคมไทย

“บูลลี่ แน่นอนว่าปัจจัยเชิงบุคคลมันก็มีส่วน แต่สิ่งที่เรามักจะลืมคือการที่บุคคลเลือกทำอะไรหรือไม่ทำอะไร มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเขาคนเดียว แต่มันหมายถึงว่า สังคม สภาพแวดล้อม หรือพื้นที่ที่เขาอยู่ มันอนุญาตให้เขาเลือกที่จะทำสิ่งเหล่านั้น

…ก็ต้องตั้งคำถามว่าสังคมแบบไหนที่ทำให้คนๆ นึงรู้สึกว่าตัวเองได้รับการอนุญาตให้ใช้ความรุนแรงหรือทำร้ายคนอื่นได้”

ผศ.กานน คุมพ์ประพันธ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาตรี คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขยายภาพการบูลลี่จากพฤติกรรมส่วนบุคคล ไปสู่ปัจจัยที่หล่อเลี้ยงและส่งต่อความรุนแรงในโรงเรียนจากรุ่นสู่รุ่น 

ผศ.กานน คุมพ์ประพันธ์

“ถ้ามองในเชิงสังคมศาสตร์ โรงเรียนเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยความรุนแรง ทั้งการกลั่นแกล้งรังแกกันระหว่างนักเรียน รวมถึงความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมที่แฝงมาในรูปแบบของกฎระเบียบที่ปิดโอกาสในการคิดนอกกรอบและมองเห็นสิทธิในร่างกายตัวเอง”

มองในมุมนี้ การกลั่นแกล้งรังแกกันในกลุ่มนักเรียนจึงถูกซ้ำเติมด้วยทัศนคติและความเคยชินของผู้ใหญ่ที่มองไม่เห็นปัญหาและไม่ตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง รวมถึงยังอาจเป็นคนก่อความรุนแรงอีกด้วย

“ถ้าเรามาดูในโรงเรียนไทย มันก็มีในระดับตั้งแต่เด็กกับเด็ก แล้วก็ครูกับเด็ก นี่ก็ชัดมากเลยนะ แต่ว่ามันอาจจะต่างกับการรังแกกันนิดนึงตรงที่ การที่ครูใช้ความรุนแรงกับเด็กมันถูกสนับสนุนด้วยโครงสร้างและวัฒนธรรมบางอย่างที่มันทำให้รู้สึกว่ามันเป็นความชอบธรรมด้วย

ผมมองว่ามันมีโครงสร้าง มันมีความคิดความเชื่อบางอย่างที่สนับสนุน ไม่ใช่แค่การอนุญาต แต่คือการสนับสนุนและเห็นดีเห็นงามให้ใช้ความรุนแรง”

ทั้งนี้ ผศ.กานน อธิบายถึงปัจจัยที่ส่งผลให้การใช้อำนาจและความรุนแรงแฝงเร้นอยู่ในค่านิยมของสังคมไทยว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการไม่ยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย

“เราล้อเลียนคนอื่นจนเป็นเรื่องปกติ เราปฏิบัติกับคนที่แตกต่างไม่เหมือนกับคนทั่วไป บ่อยครั้งจะเห็นว่าคนที่เป็น LGBTQ+ ถูกกลั่นแกล้งด้วยความที่เขาไม่เหมือนคนอื่น หรือแม้แต่คนที่มีความคิด หน้าตา รูปร่างแตกต่างจากเรา เราทำจนเป็นเรื่องสนุก เรื่องตลก สุดท้ายแล้ว สิ่งเหล่านี้มันเป็นการธำรงความรุนแรงไว้ 

ซึ่งความรุนแรงนั้นไม่ได้จำกัดแค่การทำร้ายร่างกายนะครับ แม้แต่การทำร้ายด้วยวาจา รวมถึงการยึดติดกับกฎมากเกินไปจนไม่เห็นความเป็นคน อันนี้ก็เป็นความรุนแรงนะครับ

ถามว่าความรุนแรงพวกนี้มันสร้างความชอบธรรมให้ใคร มันคือการสร้างความชอบธรรมให้กับระบบสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน มันเป็นการสร้างความชอบธรรมที่ว่า คนที่มีอำนาจหรือสิทธิบางอย่างสามารถใช้ความรุนแรงได้โดยไม่มีลิมิต ไม่มีการถูกท้วงติง”

โรงเรียนซึ่งควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับนักเรียน จึงกลายเป็นแหล่งบ่มเพาะและส่งต่อค่านิยมที่ทำให้เด็กๆ บางส่วนเห็นความรุนแรงเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหา ขณะที่เด็กผู้ถูกกระทำก็เติบโตไปพร้อมกับบาดแผลทางใจซึ่งหากไม่ได้รับการเยียวยาอย่างเหมาะสม เขาก็อาจกลายไปเป็นผู้ใหญ่อีกคนที่ทวงคืนสังคมด้วยความรุนแรงในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

‘เรา’ ต่างเป็นส่วนหนึ่งของความรุนแรง

จากเรื่องราวของซูโม่ เด็กชายผู้เผชิญกับการกลั่นแกล้งในโรงเรียน เขาเล่าว่าสิ่งที่เจ็บปวดไม่แพ้การถูกทำร้าย คือการที่พ่อแม่ไม่ใส่ใจและกล่าวโทษเขา คุณครูก็ไม่ได้ให้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ขณะที่เพื่อนสนิทและเพื่อนที่เห็นเหตุการณ์ นอกจากจะไม่เคยยื่นมือเข้ามา ยังไม่เคยให้กำลังใจเขาเลยสักครั้ง 

หากความรุนแรงในโรงเรียนคือฉากใหญ่ฉากหนึ่ง ตัวละครจึงไม่ได้มีแค่เด็กผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ ยังมีเพื่อน ครู รวมไปถึงครูใหญ่ หรือผู้อำนวยการโรงเรียนที่ควรเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา 

แต่ถ้าถามว่าต้นทางหรือตัวละครที่สำคัญที่สุดคือใคร ผศ.นพ.คมสันต์ บอกว่า ครอบครัวและการเลี้ยงดู ถือเป็นต้นทางสำคัญที่หล่อหลอมความคิดและพฤติกรรมในการกลั่นแกล้งรังแกของเด็กคนหนึ่ง ไม่ว่าเขาจะเป็น ‘ผู้กระทำ’ หรือ ‘เหยื่อ’ เพราะความรุนแรงทั้งที่แสดงออกผ่านคำพูด การลงไม้ลงมือ การบังคับข่มขู่ ข่มเหงจิตใจ รวมไปถึง การเพิกเฉย ปล่อยปละละเลย ด้านหนึ่งอาจส่งผลให้เด็กไม่มั่นใจ ไม่กล้าแสดงความรู้สึก หรือปกป้องตัวเองไม่ได้เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการกลั่นแกล้งรังแก

“เด็กที่เป็นเป้าหมายหรือถูกรังแกบ่อยๆ มักจะมีบุคลิกบางอย่าง เช่น เป็นคนเก็บตัวเงียบๆ หรือไม่ค่อยพูดคุยเล่าสิ่งต่างๆ กับใคร ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ บางคนมีผลจากครอบครัวที่เขาอาจรู้สึกว่าครอบครัวไม่ได้รับฟังเขา หรือการพูดไปก็ทำให้เขาถูกว่าถูกตำหนิ เขาเลยเลือกไม่พูดหรือขอความช่วยเหลือจากใคร

ส่วนผู้ที่ไปรังแกผู้อื่นก็เหมือนกัน บางคนอาจเป็นผลจากครอบครัวที่ไม่พร้อมไม่สมบูรณ์ อาจมีการใช้ความรุนแรงกันภายในครอบครัว หรือบางทีอาจเป็นการเล่นกันในครอบครัวที่บางทีคุณพ่อคุณแม่อาจแหย่แกล้งให้เด็กโกรธหรือหงุดหงิด และทำให้เด็กรู้สึกว่านี่คือการเล่นกันเฉยๆ ซึ่งทำให้เด็กอาจนำการเล่นในลักษณะนี้ไปใช้กับเพื่อนๆ ด้วยเหมือนกัน” 

ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่สังคมต้องยอมรับคือ เราทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ หลายคนเพิกเฉย หลายคนชาชินและมองความผิดปกติเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า ไม่ว่าจะเป็นด้านทรัพย์สิน ความอาวุโส หรือตำแหน่งหน้าที่ มักถือไพ่อันได้เปรียบนี้ในการข่มเหงผู้ที่อ่อนแอกว่า โดยได้รับการรับรองจากค่านิยม ความเชื่อ ธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ ซึ่งในที่สุดแม้คนที่เคยถูกรังแกเอง ในวันหนึ่งที่เขามีอำนาจมีโอกาสก็อาจแสดงออกไม่ต่างกัน ด้วยเหตุนี้ ผศ.กานน จึงเสนอว่าหากจะแก้ปัญหาให้ตรงจุด ควรตั้งเป้าหมายให้ไปไกลกว่า ‘โรงเรียน’ 

“เป้าหมายคือ จะเปลี่ยนสังคมที่ใช้ความรุนแรงอย่างไร อย่างในโรงเรียนก็มีครูหลายคนที่ไม่ชอบวิธีการแบบเดิมๆ เพียงแต่เขาไม่รู้ว่ามันมีทางไหนบ้าง ก้าวแรกที่ผมว่าเป็นกุญแจสำคัญที่สุดคือ Mindset ต้องเปลี่ยนวิธีคิดเรื่องการศึกษาว่า การศึกษาไม่ได้มีไว้เพื่อทำให้เด็กเป็นแค่ 1-2-3-4 แล้วเรามีหน้าที่ควบคุมให้เกิด 1-2-3-4 แต่การศึกษามันคือทำยังไงให้มันเกิดการเติบโต เรียนรู้และเข้าใจ

ผู้ใหญ่ต้องถามตัวเองว่าอยากอยู่ในสังคมแบบไหน อยากอยู่ในสังคมที่บ้าอำนาจที่มีความได้เปรียบบางอย่างในการใช้ความรุนแรง หรืออยากอยู่ในสังคมที่เราแก้ปัญหาด้วยความเข้าใจกัน 

เด็กหลายคนกระทำความรุนแรงเพราะมีความต้องการบางอย่างที่เขาไม่รู้ตัว เช่น อยากได้รับการยอมรับ มันดูเท่ ดูคูล แต่จริงๆ แล้ว มันมีวิธีไปถึงจุดนั้นอย่างหลากหลายโดยไม่ต้องไปทำร้ายคนอื่น 

ดังนั้น ถ้าเราสามารถเปลี่ยนโรงเรียนได้ ก็เปลี่ยนสังคมไทยได้ ถ้าเปลี่ยนสังคมไทยได้ก็เปลี่ยนโรงเรียนได้”

หยุดวงจรความรุนแรง เริ่มต้นที่ผู้ใหญ่ สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เด็ก

จากปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกในโรงเรียนซึ่งถูกมองเป็นเรื่องเด็กๆ โดยมีปัจจัยด้านครอบครัวเป็นแรงผลักสำคัญ นักวิชาการหลายท่านได้ชี้ให้เห็นถึงบทบาทที่ผิดเพี้ยนของโรงเรียน จาก ‘พื้นที่ปลอดภัย’ กลายเป็นพื้นที่หล่อเลี้ยงความรุนแรง ดังนั้นแนวทางการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม บ้านและโรงเรียนต้องร่วมมือกันปกป้องสิทธิของเด็กอย่างเต็มที่ โดยไม่โยนภาระให้ใครคนใดคนหนึ่ง

เริ่มจาก ‘บ้าน’ พญ.เบญจพร บอกว่าเมื่อเด็กคนหนึ่งถูกกลั่นแกล้งรังแก สิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรทำคือการเป็นผู้ฟังที่ดี แม้บางเรื่องจะไปสะกิด ‘ต่อมอยากสอน’ มากแค่ไหนก็ตาม

“สิ่งแรกที่พ่อแม่ควรทำคือทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยและมั่นคง เริ่มด้วยการฟัง ถามลูกว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะการที่ลูกได้เล่าถือเป็นการระบายความรู้สึก พ่อแม่ควรฟังไปเรื่อยๆ สนใจ และตั้งใจ พยักหน้าเป็นระยะ สบตาลูก ไม่ใช่ว่าลูกเล่าไป พ่อแม่ก็ก้มหน้ากดมือถือ รวมถึงมีคำพูดที่สะท้อนความรู้สึกให้เหมาะสม เช่น หนูคงรู้สึกแย่มากทีเดียวที่เจอเรื่องแบบนี้…

หมอเชื่อว่าถ้าพ่อแม่และครูเปิดโอกาสให้เด็กได้เข้ามาพูดคุยเรื่องนี้ได้อย่างปกติ โดยไม่มองว่าเป็นเรื่องของเด็กๆ ที่เล่นกัน เพราะการรับฟังช่วยได้มาก 

ถึงแม้ว่าเพื่อนก็ยังแกล้งเขาอยู่ แต่เด็กจะรู้สึกดีขึ้น ถ้ารู้สึกว่ามีใครสักคนที่รับฟังและเข้าใจความทุกข์ของเขา ที่สำคัญคือเด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นคงเพียงพอว่าผู้ใหญ่เป็นที่พึ่งทางใจให้เขาได้”

เมื่อครอบครัวโอบอุ้มเด็กด้วยความรักความเข้าใจ ด่านต่อมาก็คือ ‘โรงเรียน’ รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรมและกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเวชศาสตร์วัยรุ่นกล่าวว่าการแก้ปัญหานี้ควรเป็นหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนที่จะต้องเป็น ‘ผู้นำ’ ในการรวมพลังจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน คุณครู และผู้ปกครอง เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและออกแบบวิธีการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ 

“สิ่งสำคัญที่สุดคือเสียงของเด็กเป็นเสียงสวรรค์ ดังนั้นเราถามเด็กได้ไหมว่าพฤติกรรมและคำพูดอะไร เอาแค่ 3 ประเด็นก่อนก็ได้ที่ไม่อยากให้มีในโรงเรียนนี้ แล้วสำรวจความเห็นทั้งโรงเรียน จนได้ประเด็นร่วมมาทำบูลลี่โปรแกรมในรั้วโรงเรียน 

ทีนี้ใครจะมาเป็นกองกำลังในการช่วยกันบ้าง ก็อาจออกแบบโดยเลือกเพื่อนในดวงใจ ครูในดวงใจ หรือผู้ปกครองจิตอาสามาร่วมเป็นกองกำลังร่วม เพื่อคิดค้นระบบเฝ้าระวังต่างๆ เช่น มีระบบเพื่อนช่วยเพื่อน รุ่นพี่ช่วยรุ่นน้อง รวมถึงการมีนักจิตวิทยาในรั้วโรงเรียนให้คำปรึกษา แต่ถ้ายังไม่มีโรงเรียนก็อาจเซ็ตกองกำลังให้ครูจิตวิทยาและมีครูในดวงใจเด็กๆ มาร่วมด้วยช่วยกัน รวมถึงอาจนำกรณีศึกษาการบูลลี่ที่เกิดขึ้นในรั้วโรงเรียนมาให้นักเรียนถกกันโดยล้างชื่อเพื่อนออก ให้ทุกคนได้ลองวิเคราะห์ร่วมกันว่าจะแก้ปัญหายังไง

หมอเคยทดลองทำสิ่งเหล่านี้มาหมดแล้ว และอยากให้คุณทำซะวันนี้ มันก็จะกลายเป็น Anti-Bully Program เพราะมันมีเด็กจำนวนหนึ่งที่เราต้องเข้าใจว่าพอเขาเป็นผู้แพ้ซ้ำซาก โดนเพื่อนบูลลี่ซ้ำซาก ความภาคภูมิใจในตัวเองมันก็พัง แล้วบวกกับทุนชีวิต บ้านไม่เป็นบ้าน โรงเรียนก็ไม่เป็นโรงเรียน เขาพร้อมจะก่อการได้ทุกอย่างเลยนะ 

อย่าลืมว่าความก้าวร้าวรุนแรงกับเรื่องซึมเศร้าคือเรื่องเดียวกัน เพราะถึงชื่อมันบอกว่าซึมเศร้า แต่แสดงได้ 2 แบบ คือซึมเศร้าตามชื่อและตรงข้ามกับซึมเศร้าคือใช้ความรุนแรง แต่ก็เป็นการใช้ความรุนแรงที่ซ่อนนัยด้วยความเศร้า ทั้งการใช้ความรุนแรงกับผู้อื่นและการฆ่าตัวตาย ซึ่งทุกวันนี้วัยรุ่นของเราฆ่าตัวตาย 2 รายต่อวัน เพราะความภาคภูมิใจในตัวเองมันพังไปหมดแล้ว” 

นอกเหนือจากผู้บริหารโรงเรียนและครูที่จะต้องแสดงออกอย่างเหมาะสมตามบทบาทของตนเอง เพื่อนๆ หรือผู้เห็นเหตุการณ์ (Bystander) ก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญในการช่วยเหลือเหยื่อที่ถูกกลั่นแกล้งรังแกอย่างน้อยก็ช่วยให้เขาไม่รู้สึกโดดเดี่ยวหรือถูกทอดทิ้งให้เผชิญปัญหาตามลำพัง  

ผศ.นพ.คมสันต์ ให้คำแนะนำเพื่อนนักเรียนหรือคนรอบข้างที่พบเห็นเหตุการณ์ว่า หากสามารถเข้าไปช่วยได้โดยไม่เกิดอันตรายต่อตนเองก็ควรให้การช่วยเหลือ แต่ถ้ามีความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายขึ้น อาจใช้วิธีขอความช่วยเหลือจากครูหรือผู้ใหญ่

“บางทีก็อาจเป็นแค่การไปพูดคุยกับเหยื่อที่ถูกรังแกว่าเขาเป็นยังไงบ้าง รู้สึกอย่างไร มีอะไรให้เราช่วยได้ไหม หรือช่วยพาไปหาคนที่สามารถให้ความช่วยเหลือต่อไปได้ เช่นครูหรือพ่อแม่ของเขา ซึ่งจะช่วยให้เหยื่อที่ถูกรังแกรู้ว่าอย่างน้อยตัวเขาก็ไม่ได้โดดเดี่ยว ยังมีคนที่เห็นอกเห็นใจ และพร้อมช่วยเหลือเขา”

นอกจากนี้ สังคมเองก็มีบทบาทสำคัญในการตัดวงจรการกลั่นแกล้งรังแก ด้วยการไม่เพิกเฉย และพร้อมต่อต้านการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบทั้งในชีวิตจริงและบนโลกออนไลน์ เพราะถึงที่สุดแล้ว ปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกที่เริ่มต้นในรั้วโรงเรียน อาจเป็นบทเรียนที่เด็กๆ ทั้งผู้กระทำและเหยื่อได้ซึมซับจนกลายเป็นความเคยชิน และปัญหาที่หลายคนมองว่าเป็นเพียงเรื่องหยอกล้อของเด็กๆ ก็อาจพัฒนาไปสู่ความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ อย่างไม่รู้จบ

เช่นนั้น หากถามว่าเราควรเริ่มต้นแก้ปมปัญหานี้จากจุดไหนก่อน อยากชวนให้ทุกคนร่วมกันส่งเสียงว่า “ไม่ว่าใครก็ไม่ควรถูกกลั่นแกล้งรังแก” และ “ไม่ว่าใครก็ไม่มีสิทธิกลั่นแกล้งรังแกผู้อื่น” …ไม่ว่าจะอ้างเหตุหรือเจตนาใดๆ ก็ตาม

Tags:

ความรุนแรงพื้นที่ปลอดภัยเด็กการกลั่นแกล้งรังแกBullyingครูโรงเรียน

Author:

illustrator

อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

เจ้าของเพจ The Last Bogie ผู้ตัดสินใจขึ้นรถไฟขบวนสุดท้าย โดยมีปลายทางอยู่ที่สถานี 'ยูโทเปีย'

Related Posts

  • Life Long LearningTransformative learning
    ‘Lifelong Learning’ เรียนรู้จากประสบการณ์ รากฐานสู่ความงอกงามของชีวิต: ศ. นพ.วิจารณ์ พานิช

    เรื่อง บุญญิสา รัตนมณี

  • IMG_7497
    Book
    โต๊ะโตะจัง: แค่เปลี่ยนมายด์เซ็ต ‘เด็กดื้อ’ ของผู้ใหญ่บางคน ก็อาจเป็น ‘เด็กดี’ ของโลกใบนี้ 

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • Education trend
    ความผิดพลาดของการสอนวิทยาศาสตร์ที่อาจพาประเทศชาติหลงทาง

    เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์

  • Movie
    The Holdovers: ในวันที่ไม่มีใครเหลียวแล ขอแค่ใครสักคนที่มอบไออุ่นและเยียวยาหัวใจกัน

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Social IssuesMovie
    อานนเป็นนักเรียนตัวอย่าง: อนาคตสีจางๆ ของเด็กไทย ในรั้วโรงเรียนที่ล้อมด้วยอำนาจและผลประโยชน์

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ PHAR

การฝึกสมาธิ (Meditation): วิธีเรียบง่ายที่จะช่วยปรับสมองวัยรุ่นให้พร้อมรับมือกับความว้าวุ่น
Adolescent Brain
13 August 2024

การฝึกสมาธิ (Meditation): วิธีเรียบง่ายที่จะช่วยปรับสมองวัยรุ่นให้พร้อมรับมือกับความว้าวุ่น

เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • จากการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันพบว่า การฝึกสมาธิเป็นกิจกรรมที่สร้างประโยชน์ทั้งกับร่างกายและจิตใจ ซึ่งทุกคนสามารถทำได้ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดก็ตาม
  • การฝึกสมาธิช่วยพัฒนาสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ‘การควบคุมตัวเอง’ (Self-control) ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในพัฒนาการของวัยรุ่น เมื่อเราควบคุมตัวเองได้ก็จะสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี ทำให้เกิดความเครียดน้อยลงและนำไปสู่การมีสุขภาพจิตที่ดี
  • การฝึกสมาธิมีหลายรูปแบบ สามารถเลือกปฏิบัติได้ตามนิสัยความชอบ การฝึกสมาธิระยะสั้นก็เป็นหนึ่งในวิธีที่ตอบโจทย์สำหรับคนที่ไม่อยากนั่งสมาธินานๆ ที่ได้รับความสนใจคือ Integrative Body-Mind Training (IBMT)

คำว่า ‘สมาธิ’ เป็นสิ่งที่คนไทยเคยได้ยินมาโดยตลอด เพราะปรากฏในหลักธรรมพื้นฐานด้านการพัฒนามนุษย์อย่าง ‘ไตรสิกขา’ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

ทว่ามีน้อยคนนักที่จะได้ปฏิบัติหรือฝึกสมาธิเป็นประจำ โดยส่วนหนึ่งอาจมองว่าเป็นกิจกรรมที่น่าเบื่อ และมองไม่เห็นประโยชน์อื่นใดนอกจากความเชื่อมโยงกับศาสนา ทำให้ความสำคัญของสมาธิถูกละเลยไป อย่างไรก็ดี จากการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันพบว่า การฝึกสมาธิเป็นกิจกรรมที่สร้างประโยชน์ทั้งกับร่างกายและจิตใจ ซึ่งทุกคนสามารถทำได้ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดก็ตาม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลในเชิงบวกต่อสมอง มีการศึกษาพบว่า ผู้ที่ฝึกสมาธิเป็นประจำจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสมองที่ดีขึ้น เนื่องจากสมาธิช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น ซึ่งหมายถึงการมีสุขภาพจิตที่ดีตามไปด้วย

ดังนั้น การฝึกสมาธิ (Meditation) จึงถือเป็นทางเลือกที่ดีในการพัฒนาสมองและเสริมสร้างสุขภาพจิต โดยเฉพาะกับวัยรุ่นซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ ส่งผลให้มีความเปราะบางทางจิตใจ อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงในระบบของร่างกายก็ทำให้มีความหุนหันพลันแล่นและขาดการยับยั้งชั่งใจ ซึ่งการฝึกสมาธิจะช่วยพัฒนาความสามารถในการควบคุมตัวเองและอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น

การฝึก ‘สมาธิ’ คืออะไร?

กาญจนา หาญศรีวรพงศ์ และพระมหามิตร ฐิตปญฺโญ (2562) ได้สรุปความหมายของ ‘สมาธิ’ ไว้ว่า การฝึกจิตให้มีความเข้มแข็ง ตั้งมั่น และสงบ เมื่อมีสมาธิจะส่งผลให้จิตมีสภาวะเป็นหนึ่ง แน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งต่างๆ ที่มากระทบความรู้สึกทางใจ

การฝึกสมาธิสามารถทำได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับนิสัยความชอบ (จริต) ของเรา เช่น การเดินจงกรม การนั่งสมาธิ การสวดมนต์ เป็นต้น แต่ก่อนการฝึกสมาธินั้น ในเบื้องต้นผู้ปฏิบัติต้องตัดความกังวลใจต่างๆ (ปลิโพธ) ออกไปเสียก่อนจึงจะเข้าถึงสมาธิได้อย่างแท้จริง

การปฏิบัติสมาธิต้องทำสม่ำเสมอเป็นประจำ ทำอย่างสบายๆ ไม่เร่ง ไม่บังคับ ทำได้แค่ไหนให้พอใจแค่นั้น เพื่อไม่ให้เราตะบี้ตะบันทำมากเกินไปจนเกิดความไม่สบายหรือความเครียด

วัยรุ่นกับการเปลี่ยนแปลง

Dr. Roselinde Kaiser (2019) นักจิตวิทยาคลินิกและนักประสาทวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ช่วงวัยรุ่นเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ โดยมีเหตุปัจจัย 3 สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกันในช่วงวัยรุ่น คือ ‘การเปลี่ยนแปลงทางสมอง’ ‘การพัฒนาฟังก์ชันการรู้คิดขั้นสูง’ และ ‘การเปลี่ยนผ่านทางสังคม’ (อ่านเพิ่มใน เพราะสมองหรือเพราะใจ? ทำไมวัยรุ่นถึงเป็นซึมเศร้า ทำความเข้าใจผ่านปัจจัยสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา)

กล่าวโดยย่อคือ ในช่วงวัยรุ่น สมองแต่ละส่วนมีการเชื่อมต่อกันมากขึ้น ทำให้สามารถพัฒนาฟังก์ชันการรู้คิดขั้นสูงได้ เช่น ‘การกำกับควบคุมตัวเอง’ (Self-regulation) เมื่อพัฒนาการรู้คิดขั้นสูงได้ก็จะสามารถรับมือกับความเครียดที่เกิดจากการเปลี่ยนผ่านทางสังคมได้ เช่น เจอเพื่อนใหม่ เจอสังคมใหม่

จากคำอธิบายของ Dr. Kaiser สามารถนำไปสู่ข้อสรุปได้ว่า การพัฒนาสมองที่ดีจะช่วยให้วัยรุ่นสามารถรับมือกับความเครียดที่เกิดขึ้นในช่วงวัยของตัวเองได้

การฝึกสมาธิกับการพัฒนาสมอง

จากบทความวิจัยในวารสารวิชาการ Nature Reviews Neuroscience ปี 2015 เผยว่า การฝึกสมาธิสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสมองได้ โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นในบริเวณสมองหลายๆ ส่วน เพราะการฝึกสมาธิมีการใช้สมองหลายส่วน

การเปลี่ยนแปลงที่พบสามารถสรุปเป็นภาพรวมได้ว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงในบริเวณสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ได้แก่ ‘การควบคุมความสนใจจดจ่อ’ (Attention Control), ‘การกำกับควบคุมอารมณ์’ (Emotion Regulation) และ ‘การตระหนักรู้ตนเอง’ (Self-Awareness)

บริเวณสมองที่เกี่ยวข้องกับการฝึกสมาธิ โดยแสดงภาพด้วยมุมมองแบบผ่านกลาง (ซ้าย) และด้านข้าง (ขวา) (Tang et al., 2015)

สรุปคือ การฝึกสมาธิช่วยพัฒนาสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ‘การควบคุมตัวเอง’ (Self-control) ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในพัฒนาการของวัยรุ่น เมื่อเราควบคุมตัวเองได้ก็จะสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี ทำให้เกิดความเครียดน้อยลงและนำไปสู่การมีสุขภาพจิตที่ดี

การฝึกสมาธิระยะสั้นก็สร้างความเปลี่ยนแปลงได้

เมื่อพูดถึงการฝึกสมาธิ เราอาจนึกถึงการนั่งสมาธิเป็นชั่วโมงๆ แต่การฝึกสมาธิก็มีหลายรูปแบบ สามารถเลือกปฏิบัติได้ตามนิสัยความชอบของเรา การฝึกสมาธิระยะสั้นก็เป็นหนึ่งในวิธีที่ตอบโจทย์สำหรับคนที่ไม่อยากนั่งสมาธินานๆ เพราะเป็นวิธีที่ใช้เวลาน้อยและสร้างความเปลี่ยนแปลงได้

การฝึกสมาธิระยะสั้นที่ได้รับความสนใจคือ Integrative Body-Mind Training (IBMT) โดย Dr. Yi-Yuan Tang (2016) ศาสตราจารย์พิเศษสาขาประสาทวิทยาศาสตร์ที่ Texas Tech University กล่าวว่า IBMT เป็นการฝึกสมาธิด้วยการทำงานผสานระหว่าง ‘ร่างกาย’ กับ ‘จิตใจ’

  • สำหรับร่างกาย คือ การวางท่าทางหรือจัดสภาวะของร่างกายให้เหมาะสม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่หลายคนมองข้าม เพราะท่าทางหรือสภาวะของร่างกายส่งผลต่ออารมณ์และประสิทธิภาพในการรู้คิด ทำให้เข้าถึงสมาธิได้อย่างลึกซึ้ง
  • สำหรับจิตใจ คือ การมีสติระลึกรู้ตัวอยู่เสมอ ตระหนักรู้ถึงความคิดและอารมณ์ของตน โดยการตระหนักรู้นี้คือการเฝ้าสังเกต โดยไม่ต้องพยายามควบคุมหรือปรับเปลี่ยนความคิดและอารมณ์เหล่านั้น ไม่ยินดียินร้ายในความคิดและอารมณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อปฏิบัติไปเรื่อยๆ จะเข้าใจว่าตัวเรากับอารมณ์เป็นสิ่งที่แยกจากกัน

จากบทความวิจัยในวารสารวิชาการ Journal of Child and Adolescent Behavior ปี 2014 พบว่า ผู้ที่ปฏิบัติ IBMT มีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในด้าน ‘ความสนใจจดจ่อ’ (Attention) และ ‘สมรรถนะทางวิชาการ’ (Academic Performance) โดยทดลองให้นักเรียนอายุ 13-18 ปี จำนวน 104 คน เข้าร่วมการฝึกสมาธิแบบ IBMT เป็นเวลา 6 สัปดาห์ โดยแต่ละวัน (เฉพาะวันจันทร์-ศุกร์) ใช้เวลาปฏิบัติแค่ 20 นาทีเท่านั้น

หลังจากการฝึกเสร็จสิ้นพบว่า นักเรียนมีความสนใจจดจ่อเชิงบริหารจัดการ (Executive Attention) และความสนใจจดจ่อเชิงตื่นตัว (Alerting Attention) ที่ดีขึ้น บ่งชี้ให้เห็นว่า IBMT ช่วยพัฒนาความสามารถในการควบคุมตัวเองและช่วยทำให้มีสมาธิคงอยู่ในกิจกรรมต่างๆ ได้ 

เมื่อนักเรียนมีความสนใจจดจ่อเชิงบริหารจัดการที่ดีขึ้น ก็จะสามารถจัดการกับอารมณ์ได้ดี เห็นได้จากผลชี้วัดที่แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีอารมณ์เชิงบวกที่เพิ่มขึ้นและอารมณ์เชิงลบที่ลดลง อีกทั้งนักเรียนยังรายงานด้วยว่ารู้สึกมีความเครียดที่ลดลง

นอกจากนี้ สมรรถนะทางวิชาการ (Academic Performance) ของนักเรียนก็ดีขึ้นเช่นกัน โดยวัดผลจากเกรดในวิชาการรู้หนังสือ (Literacy), คณิตศาสตร์ และภาษาที่สอง (ภาษาอังกฤษ) เพราะความสนใจจดจ่อมีความสำคัญต่อการจัดเก็บและเรียกคืนความทรงจำ ซึ่งในวิชาดังกล่าวต้องมีการใช้ความจำและการหาความสัมพันธ์ด้วยเหตุผล 

การมีความสนใจจดจ่อที่ดีจึงนำไปสู่ผลการเรียนที่ดี อีกทั้งการควบคุมอารมณ์ได้ดีก็มีส่วนช่วยในการเรียนด้วย เพราะจะทำให้ไม่เครียดและมีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ 

จากการทดลองนี้สรุปได้ว่า การฝึกสมาธิทำให้เรา ‘ควบคุมความสนใจจดจ่อ’ และ ‘ควบคุมอารมณ์’ ได้ดีขึ้น ซึ่งความสามารถเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนสำคัญใน ‘การกำกับควบคุมตัวเอง’ (Self-regulation) และเมื่อเรากำกับควบคุมตัวเองได้ก็จะทำให้รับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี

การฝึกสมาธิทำให้เรามีจิตใจที่เข้มแข็งไม่หวั่นไหว และยังช่วยพัฒนาสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมตัวเอง ทำให้เรารับมือความเครียดได้อย่างมีสติรู้ตัว และนำไปสู่การมีสุขภาพจิตที่ดีต่อไป

อ้างอิง

กาญจนา หาญศรีวรพงศ์ และพระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2562). สมาธิกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 9(1), 287-296.

Roselinde Kaiser. (2019). Teen Brains Are Not Broken | Roselinde Kaiser, Ph.D. | TEDxBoulder.

Tang, Y.Y. (2017). Mindfulness Meditation Impact on the Adolescent Brain. In Balvin, N., & Banati, P. (Eds.), The Adolescent Brain: A second window of opportunity (pp. 75-78). UNICEF Office of Research – Innocenti.

Tang, Y.Y., Hölzel, B.K., & Posner, M.I. (2015). The neuroscience of mindfulness meditation. Nature Reviews Neuroscience, 16, 213-225.

Tang, Y.Y., Tang, R., Jiang, C., & Posner, M.I. (2014). Short-Term Meditation Intervention Improves Self-Regulation and Academic Performance. Journal of Child and Adolescent Behavior, 2(4), 154.

Yi-Yuan Tang. (2016). Integrated Body & Mind Training.

Tags:

การจัดการอารมณ์สุขภาพกายใจสมองวัยรุ่นการจดจ่อใส่ใจการฝึกสมาธิ (Meditation)การควบคุมตัวเอง (Self-control)สมรรถนะทางวิชาการ

Author:

illustrator

ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Dr.Yongyud-1
    How to enjoy life
    จิตวิทยาสติ (Modern Mindfulness) ทางเลือกในการดูแลจิตใจและรับมือกับความเครียด: นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์

    เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง

  • Healing the traumaSocial Issues
    Maddiction: เพราะเป็นคนดีจึงหัวร้อน หรือเพราะหัวร้อนแล้วรู้สึกดี? รับมือกับความโกรธที่อาจก่อตัวจากปมในวัยเด็ก

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to enjoy life
    ‘ไม่มีใครเกิดมาเพื่อที่จะเหงา’ 6 วิธีรับมือกับความเหงา

    เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • How to enjoy life
    การทำร้ายร่างกายตัวเอง (self-injury) ที่ไม่ใช่แค่การกดดัน ตำหนิตัวเอง

    เรื่อง ชัค ชัชพงศ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to enjoy life
    ปลดปล่อยความทรงจำอันเจ็บปวด เรียกคืนความสมดุลให้ชีวิต ด้วย 4 คำทรงพลัง “ขอโทษ ให้อภัย ขอบคุณ และฉันรักคุณ”

    เรื่อง ศรีสุภา ส่งแสงขจร ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

Posts navigation

Older posts

Recent Posts

  • ‘นิทานปากเปล่า’ เล่าความรักให้ลูกฟัง สร้างจินตนาการ สานสัมพันธ์ในครอบครัว: แม่จาว – วัชราวรรณ เพชรบุล
  • ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP4: การซึมซับและปรับตัว 
  • เปลี่ยนระบบนิเวศโรงเรียนเป็นสนามพลังบวก ยกระดับเด็กด้อยโอกาสสู่เด็กได้โอกาส: ผอ.วรรณรักษ์ หงษ์ทอง
  • F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง
  • Myth Universe : จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์สู่ Edutainment ความรู้นอกห้องเรียนที่เริ่มต้นจากคำถามและการเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง

Recent Comments

  • Existential crisis: วิกฤตชีวิตที่มาพร้อมกับคำถาม “แล้วฉันอยู่เพื่ออะไร” – EducationNet on Midlife Crisis: เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ทำไมใจถึงวิกฤต
  • The Psychological Wounds of Winnie the Pooh and His Friends: Exploring Characters from a Classic Literary Work - World Today News on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • Exploring the Psychological Wounds of Winnie the Pooh and Friends: A Fascinating Analysis - Archyde on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • 6 วิธีฝึกสอนให้ลูกเป็นเด็กมี Critical Thinking ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต – โรงเรียนมารีวิทยา ป on CRITICAL THINKING: สอนเด็กให้รู้คิด ผิดหรือถูกก็ใช้วิจารณญาณเป็น
  • Best รูป พลเมือง ดี Update New – Haiduongcompany.com on สอนและสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เรื่องไม่ง่ายที่ครูทำได้

Archives

  • July 2025
  • June 2025
  • May 2025
  • April 2025
  • March 2025
  • February 2025
  • January 2025
  • December 2024
  • November 2024
  • October 2024
  • September 2024
  • August 2024
  • July 2024
  • June 2024
  • May 2024
  • April 2024
  • March 2024
  • February 2024
  • January 2024
  • December 2023
  • November 2023
  • October 2023
  • September 2023
  • August 2023
  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • October 2021
  • September 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • April 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • November 2019
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017

Categories

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Uncategorized
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel