Skip to content
ความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงาน
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long Learning
  • Family
    Dear ParentsEarly childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily Psychology
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
ความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงาน
Education trend
14 December 2018

ครูก็คือครู อย่าเอาหน้าที่ของพ่อแม่มาแบกไว้บนไหล่

เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • ครูและโรงเรียนไม่ได้สามารถแก้ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับเด็กได้ พ่อแม่ต้องเข้าใจและให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กด้วย
  • ยกตัวอย่าง ‘วิกฤตโรคอ้วน’ ที่เกิดขึ้นกับเด็ก สาเหตุหลักเกิดขึ้นที่บ้าน โรงเรียนมีหน้าที่ให้ความรู้และส่งเสริมการออกกำลังกาย กินอาหารสุขภาพ แต่ไม่สามารถรักษาให้เด็กหายได้ เพราะมันคือหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญและพ่อแม่ต่างหาก
  • โรงเรียนมีบทบาทในการให้ความรู้แก่เยาวชนเกี่ยวกับอันตราย แต่ไม่ได้หมายความว่า โรงเรียนจะเป็นยาครอบจักรวาลที่จะรักษาโรคทางสังคมได้

“พ่อแม่ต้องไม่ทิ้งภาระทั้งหมดให้ครู” คำยืนยันจาก Ofsted (the Office for Standards in Education) ของอังกฤษ

โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพ…

พ่อแม่ไม่ควรคาดหวังว่าโรงเรียนจะควบคุมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายของเด็กๆ หรือแม้แต่การเข้าห้องน้ำบนรถไฟก็ตาม อแมนด้า สปิลแมน (Amanda Spielman) ผู้อำนวยการ Ofsted กล่าว

หัวหน้าผู้ตรวจสอบโรงเรียนของอังกกฤษกล่าวว่า ‘วิกฤตโรคอ้วน’ ที่เกิดขึ้นกับเด็ก มีสาเหตุเกิดขึ้นที่บ้าน และพ่อแม่ไม่ควร ‘ละทิ้งความรับผิดชอบ’

เพราะโรงเรียนไม่สามารถเป็น ‘ยาครอบจักรวาล’ ที่จะรักษาหรือดูแลเด็กได้ทุกเมื่อ

ที่เด็กอ้วน ไม่ใช่เพราะครูไม่สอน

จากการศึกษาสองครั้งในปีนี้ได้สอบถามถึงผลที่ได้ของโครงการต่อต้านโรคอ้วนในโรงเรียนเดือนกุมภาพันธ์ British Medical Journal รายงานว่าโครงการป้องกันโรคอ้วนในระยะยาว ซึ่งมีนักเรียนโรงเรียนประถมกว่า 600 รายของ West Midlands ไม่ได้รับการแก้ไข และเดือนกรกฎาคมจากสำรวจของ Ofsted ใน 60 โรงเรียนไม่พบว่ามีความพยายามในการจัดการกับความอ้วนและน้ำหนักของนักเรียน

สปิลแมน สนอรายงานประจำปี เรื่องความกังวลว่าเด็กๆ เกือบ 1 ใน 4 ของเด็กนักเรียนอังกฤษที่เริ่มเข้าเรียนโรงเรียนประถมมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน และจะเพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งในสามเมื่อพวกเขาเข้าสู่โรงเรียนมัธยมศึกษา

“โรงเรียนสามารถและควรสอนให้เด็กๆ  เห็นความสำคัญของการกินเพื่อสุขภาพ และการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับบทเรียนที่สอนในโรงเรียน อย่างเช่นวิชาพละก็ควรทำให้นักเรียนเห็นถึงความสำคัญของการรัษาสุขภาพ” สปิลแมนกล่าว

“แต่นอกเหนือจากนั้นโรงเรียนไม่สามารถรับบทบาทของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ และทำหน้าที่แทนพ่อแม่ทั้งหมดได้”

จากเรื่องร่างกาย มาสู่เรื่องอาชญากรรม

เรื่องที่รุนแรงกว่าโรคอ้วนในเด็ก อย่างการก่ออาชญากรรมในเด็ก ก็ถือเป็นเรื่องที่พ่อแม่ก็ต้องรับผิดชอบเช่นกัน สปิลแมน เถียงว่า จะคาดหวังให้โรงเรียนจัดการกับความรุนแรง อาชญากรรมในเด็ก หรือความเสี่ยงทางสังคมที่จะเกิดขึ้น ไม่เพียงแต่ทำให้เสียสมาธิจากจุดประสงค์หลัก แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้

“เรื่องที่ซับซ้อนดังกล่าวต้องได้รับการจัดการโดยผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญที่ถูกต้อง” สปิลแมนแย้ง

“ในขณะที่โรงเรียนมีบทบาทในการให้ความรู้แก่เยาวชนเกี่ยวกับอันตราย แต่ไม่ได้หมายความว่า โรงเรียนจะเป็นยาครอบจักรวาลที่จะรักษาโรคทางสังคมได้การป้องกันอาชญากรรมเป็นความร่วมมือกันของหน่วยงานด้านการคุ้มครองท้องถิ่นที่จะปกป้องเด็กจากอันตราย และจัดการกับความผิดทางอาญาได้” สปิลแมนกล่าวทิ้งท้าย

อ้างอิง
Parents ‘must not abdicate duties’ to teachers, says Ofsted

Tags:

ครูโรงเรียนเทคนิคการสอนโรคอ้วนกลั่นแกล้ง(bully)ความรุนแรง

Author:

illustrator

กนกอร แซ่เบ๊

อดีตนักศึกษามานุษยวิทยา เกิดในครอบครัวคนจีนจึงพูดจีนได้คล่องราวภาษาแม่ ปัจจุบันเป็นคุณน้าที่หลงหลานสุดๆ และขยันฝึกโยคะเกือบเท่างานประจำ

Related Posts

  • Creative learning
    โรงเรียนเล็กในทุ่งกว้าง เปลี่ยนเด็กด้วยลานกว้างและดนตรี

    เรื่อง The Potential

  • Creative learning
    ‘โรงเรียนเล็กในทุ่งกว้าง’ ดินคือกระดาษ จอบคือปากกา วิชาอยู่กลางทุ่ง

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • Education trend
    มหกรรมสอบในเด็ก: ความเครียดและความล้มเหลวก่อนวัยอันควร

    เรื่อง The Potential

  • Unique Teacher
    ‘ครูภาคิน’ ครูไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผิดได้ และเป็นมนุษย์แบบพวกเอ็งนั่นแหละ

    เรื่องและภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Social Issues
    เกิดเป็นครูไทย ต้องทำอะไรบ้าง?

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel