Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย

Month: September 2021

เกมของเจอรัลด์ : เลิกขังตัวเองให้เป็นเหยื่อและนำอำนาจของตัวเองคืนกลับมา
Myth/Life/Crisis
30 September 2021

เกมของเจอรัลด์ : เลิกขังตัวเองให้เป็นเหยื่อและนำอำนาจของตัวเองคืนกลับมา

เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • เจสซี่ หญิงสาวผู้มีลักษณะแบบตั้งรับ (passive) ใช้ชีวิตสมรสกับ เจอรัลด์ เบอร์ลินเกม ทนายความผู้รุ่งโรจน์ ดูเหมือนเธอดำเนินชีวิตคู่ในลักษณะที่โดนสามีจูงจมูกไปเรื่อย และพบว่าเหตุการณ์ที่พ่อกระทำกับเธอเมื่อเยาว์วัยยังคงไหลเวียนในความสัมพันธ์นี้ และสามีก็กลายเป็นเงาสะท้อนของพ่อ
  • ผู้กระทำในเหตุการณ์ทำนองนี้มักมีข้อได้เปรียบไม่ว่าจะเป็นกำลังกาย เศรษฐกิจหรือการให้ท้ายทางวัฒนธรรม ผู้ถูกกระทำที่มีขุมกำลังน้อยกว่าจึงมักถูกบีบให้รู้สึกว่าจำต้องสยบยอมไปชั่วนาตาปี หรือถ้าเป็นบุคคลที่เรายังต้องพึ่งพิง เราอาจกลายเป็นคนที่ละอายใจแทนและคิดว่ามันอาจเป็นความผิดของเรา
  • การออกจากรูปแบบความสัมพันธ์ที่เรามีอำนาจต่อรองน้อยกว่ามากหรือไม่มีเลย อาจต้องเจ็บปวดหรือสูญเสียบางอย่างไปบ้าง ทว่าคนที่ขังเราไว้ในกรงเก่าได้อย่างแน่นหนาที่สุดอาจไม่ใช่คนมีอำนาจเหนือที่เคยทำร้ายเราในอดีต แต่คือตัวเราเองในปัจจุบันที่แค่ไม่กล้าเสี่ยง ไม่กล้าแลก

1.

เจสซี่ หญิงสาวผู้มีลักษณะแบบตั้งรับ (passive) ได้สละงานการและอิสรภาพมาสมรสกับ เจอรัลด์ เบอร์ลินเกม ทนายความผู้รุ่งโรจน์ โดยดูเหมือนเธอได้ดำเนินชีวิตในลักษณะที่โดนสามีจูงจมูกไปเรื่อย และแล้ววันหนึ่งเจอรัลด์ก็จัดแจงพาเจสซี่ไปพักร้อน ณ บ้านพักติดทะเลสาบ เพื่อที่เขาจะเปิดเกมเพศสัมพันธ์ ‘ของเจอรัลด์’ (ซึ่งสะท้อนว่าเจตนาของทั้ง ‘สองฝ่าย’ ไม่ได้ตรงต้องสนองกันอย่างแท้จริง) ด้วยการจับภรรยาใส่กุญแจมือไว้ติดเตียง ซึ่งแน่ว่าทำให้เขามีอำนาจควบคุมเหนือกว่า ดั่งเช่นที่เขาสามารถคุมภรรยาในมิติอื่นๆ ของความสัมพันธ์ที่ผ่านมาด้วย 

เจสซี่ยอมถูกพันธนาการอย่างเสียไม่ได้ ทว่าสุดท้ายสัญญาณความไม่ยอมจำนนก็เริ่มไหลรั่วออกมา เธอขอให้เจอรัลด์ปล่อยแต่เขากลับถือเสียว่าเสียงโอดครวญของเธอเป็นเพียงส่วนหนึ่งของบทจำเลยรักผู้เปราะบางซึ่งกำลังจะถูกข่มขืน

ทันใดนั้นเจสซี่ถีบเขาร่วง ยังให้สามีหัวใจวายตายโดยพลัน ทิ้งนวลนางร่างผุดผาดให้ตรึงติดอยู่กับเตียง แต่เพียงผู้เดียว 

แล้วนารีในที่เปลี่ยวคว้างก็ต้องประจัญหน้ากับสุนัขที่เข้ามาแทะเล็มซากศพอันหอมหื่น หนำซ้ำเงื้อมเงาชวนสยองยังคืบเข้าหาเธอในความมืด กระแสเสียงซึ่งมีบุคลิกภาพหลากหลายเริ่มผุดพรายขึ้นในความคิดของเธอ และสรรพเสียงเหล่านั้นได้พาเธอกลับไปสัมผัสกับเรื่องเลวร้ายในวัยเยาว์ซึ่งถูกฝังกลบไว้ นั่นคือเธอถูกพ่อล่วงละเมิดทางเพศ ณ ริมทะเลสาบขณะเกิดสุริยุปราคา ซึ่งหลังจากนั้นพ่อก็ทำให้เธอรู้สึกว่าตัวเธอเป็นคนผิดและตกลงกันว่าเธอจะไม่บอกใคร ความละอายใจที่เธอได้รับเข้ามาไว้และความรู้สึกนึกคิดต่างๆ 

หลังจากเหตุการณ์นั้นยังคงไหลเวียนในความสัมพันธ์ของเธอกับสามีผู้เป็นเงาสะท้อนพ่อทรราชย์ในอดีต ซึ่งรังแต่จะเพิ่มโอกาสการถูกฝืนจิตใจและรู้สึกด้อยค่าซ้ำซ้อนไปอีก เธอตกร่องรูปแบบความสัมพันธ์ที่เธอรู้จักในวัยเด็ก แต่แล้วก็ตระหนักว่าการสมรสเต็มไปด้วยการควบคุมซึ่งทำให้เธอไร้ความสุขเพียงใด 

และในสถานการณ์ขังเดี่ยวที่ดูไร้ทางออกนั้นเอง เจสซี่ได้ตัดสินใจทำให้แก้วน้ำที่เข็นคว้ามาได้อย่างยากเย็นแตกออก และนำเศษแก้วมากรีดข้อมือที่ติดอยู่ในกุญแจจนโชกเลือดกระทั่งมือเธอลื่นรอดออกมาได้ และขับรถหนีออกไปได้ในที่สุด

สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นพ่อ สามี และร่างมหึมาของฆาตกรต่อเนื่องที่เธอได้เจอในบ้านพักแห่งนั้น บัดนี้ก็ไม่ได้ดูใหญ่โตเท่าที่เธอเคยรับรู้อีกต่อไป – เธอเติบโตขึ้นแล้ว

2.

ผู้รอด 

หากมองประเด็นให้กว้างกว่าการที่เจสซี่เป็นผู้รอดหลังจากถูกล่วงละเมิดทางเพศ การที่เธอสามารถหลุดออกจากรูปแบบความสัมพันธ์ ซ้ำรอยเดิม ทั้งกับพ่อและสามี ซึ่งท้ายที่สุดเธอได้สลัดบทสาวน้อยผู้อ่อนแอกว่าไปเป็นสาวนักสู้ผู้กล้าได้กล้าเสียที่จะมีชีวิต ก็แสดงให้เห็นด้วยว่าเจสซี่รอดจากการ ทำให้ตัวเองเป็นเหยื่อ ของสิ่งที่ ดูเหมือนมีอำนาจกดทับเธอ ในมิติอื่นๆ ด้วย เมื่อเธอเติบโตขึ้นจากภายใน สิ่งที่เคยมีพลังคุกคามก็ดูเล็กลงไป

เมื่อผู้ลงมืออยู่ในตำแหน่งได้เปรียบกว่าในช่วงชั้นแห่งความสัมพันธ์ และเป็นคนที่เรารัก

อย่างไรก็ตาม หากย้อนไปในขณะที่เกิดเหตุ ผู้กระทำในเหตุการณ์ทำนองนี้มักมีข้อได้เปรียบไม่ว่าจะเป็นกำลังกาย เศรษฐกิจหรือการให้ท้ายทางวัฒนธรรม (เช่น ผู้ใหญ่กับผู้น้อย ผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง พ่อแม่กับลูก ผู้ชายกับผู้หญิงในบางบริบท) ฯลฯ ผู้ถูกกระทำที่มีขุมกำลังน้อยกว่าจึงมักถูกบีบให้รู้สึกว่าจำต้องสยบยอมไปชั่วนาตาปี ราวกับสัตว์ในห้องทดลองที่ถูกตั้งเงื่อนไขให้กลัวโดยสอนให้มันรู้ว่าถ้ายิ่งขัดขืน ก็จะยิ่งโดนแรงดีดกลับมาสากรรจ์กว่าเดิม

หากเราเคยถูกทารุณกรรมหรือทำร้ายในวัยเด็ก ซึ่งใน ตอนนั้น เราไม่สามารถปกป้องตัวเองได้ โดยเฉพาะหากคนที่ทำเป็นผู้ใหญ่ในครอบครัวซึ่งควรเป็นที่ปลอดภัย เป็นบุคคลที่วัฒนธรรมเทิดทูนซึ่งในอดีตนั้นเรายังต้องพึ่งพิง อีกทั้งแสวงหาความรักจากเขา 

ในกรณีเช่นนั้น เราอาจกลายเป็นคนที่ละอายใจแทนและคิดว่ามันอาจเป็นความผิดของเรา เราเริ่มไม่เคารพตัวเอง เราหาข้อแก้ตัวให้เขาและก่นว่าตัวเอง บ้างก็ทำได้เพียงคอยโกรธตัวเองที่เกรี้ยวกราดเป็นบางครั้งเนื่องจากให้อภัยให้เขาไม่ได้ตลอดรอดฝั่ง หนำซ้ำบ้างก็เชื่อไปแล้วว่าตนเองคู่ควรกับความทุกข์ทรมาน 

เราจึงเป็นเหมือนเจสซี่คนเก่าที่ถูกหล่อหลอมให้เส้นกั้นอาณาเขตไม่ชัดเจนและเปิดเปลือยต่อการถูกก้าวล่วงโดย เปิดโอกาสให้ผู้อื่นเสร็จสมอารมณ์ปรารถนาบางอย่างผ่านตัวเรา การยอมถูกขืนใจไม่ว่าจะเกี่ยวกับเรื่องทางเพศหรือไม่ ก็คือการที่เราจำยอมทำตามความปรารถนาของอีกฝ่ายเรื่อยไปทั้งที่มันทำร้ายเรา ฝืน ขัดต่อเจตจำนงภายในที่แท้ และไม่เอื้อต่อสุขภาวะระยะยาวของเรา

ไม่น่าแปลกที่จะวิถีดังกล่าวจะทำให้รู้สึกติดกับ ถูกจำกัด ลำบากใจและอึดอัด

ประโยชน์ ของการเป็น ‘เหยื่อ’ ติดบ่วง

หากเคยผ่านเหตุการณ์ที่สร้างบาดแผลในใจตอนที่เรายังต้องพึ่งพาคนอื่นอย่างมาก เราก็อาจจะยังขังตัวเองในวิธีคิดแบบ ‘เหยื่อตัวน้อย’ ต่อไปโดยไม่รู้ตัว แม้เมื่อเราเติบโตขึ้นกว่าในอดีตมากแล้ว เป็นเรื่องง่ายสำหรับคนที่ในอดีตไม่อาจสู้ชนะที่จะปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นในลักษณะเดิมอันคุ้นชิน เพราะอย่างน้อยมันก็เป็น “ผีที่เรารู้จัก” 

และมันก็สะดวกที่จะกล่าวโทษต่อไปว่า ประเด็นต่างๆ ในชีวิตที่เราไม่พอใจเป็นความผิดของคนอื่น (ซึ่งอาจจะใช่ แต่ก็อาจไม่ทั้งหมด) ซึ่งบ้างก็ทำให้เราได้รับความเห็นใจ หรือได้รับมิตรภาพจากผู้คนที่ได้ฟังเรื่องเล่าลักษณะนี้ เหล่านั้นคือประโยชน์ของการเป็นเหยื่อที่ได้รับมาโดยไม่รู้ตัวหรือไม่?

3.

สุริยุปราคาไม่ได้คงอยู่ตลอดกาล : เราอาจเคยถูกกระทำ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องตลอดไป 

แน่นอนว่าการกระทำทารุณผู้อื่นมิใช่สิ่งน่าสรรเสริญ ผู้ถูกกระทำบางทีก็ตายทั้งเป็น และบ้างก็ค่อยๆ รวบรวมและเยียวยาส่วนเสี้ยวแห่งตัวตนต่างๆ ที่แตกแยก และยังต้องทำงานกับตัวเองในด้านอื่นๆ อย่างหนักหน่วง ซึ่งต้องใช้เวลาและก็อาจจะยังอยู่ในบริบทที่ต้องง้อคนอื่นด้วยอันเป็นเรื่องน่าเห็นใจ สำหรับผู้ที่มีบาดแผลทางจิตใจรุนแรงมาก จึงแนะนำให้ไปหานักจิตบำบัดและ/ หรือจิตแพทย์เพื่อทำงานกับรายละเอียดอันอ่อนไหวเหล่านั้น

แต่ในบางกรณี ผู้เคยถูกกระทำก็แข็งแกร่งขึ้นและไม่ได้ไร้อำนาจดั่งเดิมแล้ว สิ่งที่ดูทรงฤทธิ์กว่าและน่าหวั่นเกรงอย่างยิ่ง อาจเปราะบางกว่าที่เรารับรู้จากความทรงจำในอดีตแล้ว 

เราย่อมมีทางเลือก  เพียงแต่หลายกรณีเราก็ต้องกล้าเจ็บและกล้าสูญเสีย

ยอมสูญเสียบางอย่างเพื่อชีวิตใหม่  

เรามีศักยภาพและทรัพยากรในการผ่าทางตันมากกว่าตอนที่เป็นเด็ก เราสามารถกลับมารักษาสิทธิ์ของตนและเลิกมอบอำนาจให้สิ่งที่อยู่นอกตัวไปอย่างเชื่องๆ ทิ้งความเคยชินในการคิดลบถึงแต่สถานการณ์ที่แย่ที่สุดทั้งที่มีมุมใหม่ๆ ให้มอง และปลดตัวเองออกจากขื่อคา

ทว่าการทะลวงผ่านความเคยชินที่สั่งสมมานานโขก็มักไม่อาจเป็นไปอย่างพลิกผ่ามือเพียงในชั่วข้ามคืน ผู้ที่เชื่อมั่นว่าตนเองเป็นผู้ใหญ่ที่มีจิตใจมั่นคงพอควรแล้วและต้องการทำงานกับโลกภายใน สามารถทำความเข้าใจตัวเองที่อาจมีส่วนส่งเสริมให้ความสัมพันธ์อันบั่นทอนมีอยู่ต่อไป โดยทบทวนตนผ่านคำถามด้านล่างนี้ (พึงปักหมุดอยู่กับมุมมองผู้ใหญ่ในปัจจุบัน และหากข้อไหนทำให้รู้สึกหวั่นไหวเกินไป ก็ขอให้ข้ามไปก่อนเพราะมันอาจไปเปิดแผลที่เราปิดเองไม่ได้ หากรู้สึกว่าต้องไปหาผู้เชี่ยวชาญก็ไปเสีย) ซึ่งแม้ไม่อาจครอบคลุมความซับซ้อนทั้งหมดของปัจเจก แต่ก็ใช้เป็นจุดเริ่มต้นได้

  • เราเลือกจะเล่นบทผู้อ่อนแรงกว่าที่ต้องสยบยอม ซ้ำซากในหลายความสัมพันธ์เพราะลึกๆ ต้องการ “ซ่อม” ปัญหาจากความสัมพันธ์เก่าก่อนหรือไม่? 
  • เรารู้สึกว่าตัวเองคู่ควรกับความทุกข์ทรมานหรือไม่? มันสมเหตุสมผลจริงหรือ? 
  • เราได้อะไรจากการเป็นเหยื่อโดยที่เราไม่รู้ตัวหรือไม่? (เช่น ความเห็นใจและความเกื้อกูลจากผู้ที่รับฟังเรื่องราว)
  • เรารู้สึกว่าตัวเองไม่มีศักยภาพด้านใดหรือไม่? ต่อให้วันนี้ยังไม่เก่งมากเท่าที่ต้องการ เราก็ยังพัฒนาไปเรื่อยๆ ได้ใช่หรือไม่? เราตีความไปเองว่าเราห่วย แย่ ไร้ราคา ทั้งที่คนรอบตัวชื่นชมและให้ค่าเราตั้งมากมายหรือไม่?
  • เรารู้สึก “ถูกขัง” เพราะยังคงแสวงหาการยอมรับจากฝ่ายที่เราเห็นว่ามีอำนาจเหนือและจากคนที่เรารักหรือไม่? เรากำลังง้อเขาเรื่องอะไรและเขาต้องง้อเราเรื่องอะไรบ้างไหม?
  • หากเราจะยอมรับตัวเองและทางเลือกของเราแม้คนที่เราใส่ใจจะไม่ชอบสักครั้ง เราต้องแลกกับการสูญเสียอะไรไปหรือไม่? (เช่น ถ้าเป็นตัวของตัวเองเราจะต้องเสียแรงทะเลาะกับอีกฝ่าย หรือสูญเสียความสัมพันธ์ หรือความสะดวกสบายอย่างอื่น?)
  • ก่อนหน้านี้เรารู้สึกว่ามันไม่คุ้มที่จะแลกใช่หรือไม่? เคยต่อรองและเปลี่ยนวิธีต่อรองบ้างหรือยัง?
  • เราจะโทษว่าคนอื่นควบคุมและดูดกลืนพลังชีวิตเราอย่างเดียวได้ไหม หากเราเป็นผู้หยิบยื่นหลอดดูดให้เขาไปเอง?

คำตอบต่างๆ ที่เราตอบตัวเองสามารถช่วยในเบื้องต้นให้เราเห็นตัวเองชัดขึ้น และเห็นหนทางมากขึ้นในการจะกลับมากุมบังเหียนชีวิตตัวเองอย่างเต็มที่

ซึ่งเมื่อผ่านปราการอันยากเข็ญไปได้ไม่กี่ด่านและมองย้อนกลับไป เราก็อาจตกตะลึงว่าตนเองได้เติบโตขึ้นมากเพียงใดแล้ว

อ้างอิง
Gerald’s Game โดย Stephen King  และ Gerald’s Game (2017) ฉบับภาพยนตร์กำกับโดย Mike Flanagan
(Re)Living Trauma: Vulnerability, Isolation and Gender in Stephen King’s Gerald’s Game (1992) โดย Silvia Antosa

Tags:

ปม(trauma)คุกคามทางเพศ (sexual harassment)

Author:

illustrator

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา

ชอบอยู่กับต้นไม้ใบไม้ต่างๆ ผืนน้ำ เที่ยวไปในโบราณสถาน และเรียบเรียงสิ่งที่อยู่ในเงามืด เราเองยังต้องเรียนรู้และขัดเกลาอะไรอีกมาก รู้สึกขอบคุณที่ให้โอกาสเราได้ฟังเรื่องราวของทุกคนนะ (Line ID: patrasuwan)

Illustrator:

illustrator

กรองพร ทององอาจ

Graphic Designer & Illustrator Instagram: @monkrongpin

Related Posts

  • Healing the trauma
    Overexplaining: แกะปมที่ซ่อนอยู่ในคำอธิบายอันท่วมท้นของใครบางคน

    เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Education trend
    ที่ก้าวร้าวก็เพราะข้างในบอบช้ำ: ATLAS หลักสูตรที่ ‘ครู’ ใช้รักษาบาดเเผลในใจนักเรียน

    เรื่อง ณัฐธนีย์ ลิ้มวัฒนาพันธ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Life classroom
    VISION QUEST: กระโจนเข้าป่า หลอมรวมกับตัวตนที่หลงลืม

    เรื่องและภาพ กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร

  • Character building
    คุกคามทางเพศในวัยเด็ก: ปม การละเมิด ถูกทรยศ และความเคารพในการปฏิเสธ

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Dear Parents
    สงครามกลางบ้าน: อย่าคิดว่าเด็กไม่รู้ว่าผู้ใหญ่ทะเลาะกัน

    เรื่อง The Potential

Yoshino’s Barber Shop : เสียงตะโกนของแก๊งเด็ก ‘ไม่เอาผมทรงเห็ดแล้ว’
Dear ParentsMovie
30 September 2021

Yoshino’s Barber Shop : เสียงตะโกนของแก๊งเด็ก ‘ไม่เอาผมทรงเห็ดแล้ว’

เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งที่มีกฎว่าเด็กผู้ชายทุกคนต้องออกมาร้องเพลงสวดอ้อนวอนต่อเทพเจ้าภูเขา เพื่อให้พื้นที่นั้นไม่แล้งและน้ำไม่ท่วม รวมถึงต้องตัดผม ‘ทรงเห็ด’ พล็อตของหนังจากดินแดนปลาดิบเรื่อง Yoshino’s Barber Shop
  • ‘โยสุเกะ’ เด็กชายที่เพิ่งย้ายจากโตเกียวมาอยู่ที่นี่ เขาตั้งคำถามกับประเพณีนี้และปฏิเสธที่จะตัดผมทรงเห็ด เพราะโยสุเกะมองว่าการจะตัดผมทรงอะไรเป็นสิ่งที่เราควรเลือกเอง ไม่ใช่ถูกคนอื่นบังคับ
  • “คือพอเราไม่รู้ว่าตัวเองมีสิทธิ์ที่จะทำอะไรก็ได้กับร่างกาย กับทรงผมของเรา มันก็เหมือนลืมนึกถึงไปว่าอะไรที่ตัวเองต้องการจริงๆ เราได้เสียสิทธิเสรีภาพในตัวเองไปโดยไม่รู้ตัว”

Tags:

ประชาธิปไตยสิทธิเด็กพ่อแม่

Author:

illustrator

พิมพ์พาพ์

เป็นลูกคนเดียวจากแม่เลี้ยงเดี่ยว เรียกตัวเองว่านักวาดภาพประกอบที่ชอบวาดคนหน้าแมว เผลอเสียน้ำตาให้กับหนังครอบครัวอยู่บ่อยๆ

Related Posts

  • Character building
    ประชาธิปไตย Vs. เผด็จการ เมื่อการเลี้ยงดูสามารถสร้างคาแรกเตอร์เหล่านี้ได้

    เรื่อง The Potential ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Dear Parents
    ‘เราอาจไม่มีวันเข้าใจกันได้ แต่เหตุการณ์นี้ทำให้เรารู้ว่าเราไม่ได้เกลียดพ่ออย่างที่เคยนึก’ เขียนถึงพ่อในวันที่เราตะโกนใส่หน้ากัน

    เรื่อง ณัฐชานันท์ กล้าหาญ ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • BookFamily Psychology
    การแบ่งปันอารมณ์ความรู้สึกในครอบครัวคือขุมพลังชีวิตของลูก

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • 21st Century skills
    ถึงเวลาปลูก ‘ฟาร์มคิดสร้างสรรค์’ โลกต้องการเด็กตั้งคำถามมากกว่าทำตามคำสั่ง

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Family Psychology
    ไม่ผิดหรอกหากพ่อแม่จะกอดตัวเองบ้าง

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

ในวันที่โลกดูสิ้นหวัง และตัวฉันที่กำลังจะหมดหวังกับตัวเอง : EP.1 ‘I feel hopeless.’
How to get along with teenager
29 September 2021

ในวันที่โลกดูสิ้นหวัง และตัวฉันที่กำลังจะหมดหวังกับตัวเอง : EP.1 ‘I feel hopeless.’

เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • แม้สถานการณ์โรคระบาดจะทำให้วัยรุ่นขาดโอกาสในการออกไปใช้ชีวิตข้างนอกบ้าน แต่ความคาดหวังที่มาพร้อมกับการเติบโตไม่เคยหยุดลง
  • วัยรุ่นต้องเผชิญกับความคาดหวังมากมาย และบ่อยครั้งที่พวกเขาต้องพ่ายแพ้และผิดหวังซ้ำๆ ยิ่งในสถานการณ์โรคระบาดที่ ‘การเรียนออนไลน์’ กลายมาเป็นวิธีการเรียนรู้หลัก ปัญหาที่พวกเขาต้องเผชิญมีทั้งไม่เข้าใจบทเรียน ไม่สามารถทำงานได้ทันเวลา ไม่ได้ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ฯลฯ
  • สิ่งที่พ่อแม่และผู้ใหญ่สามารถให้ความช่วยเหลือกับวัยรุ่นได้ บางครั้งสิ่งที่ลูกต้องการจากพ่อแม่มากที่สุด คือ การรับฟัง เพราะการรับฟังที่ดี จะนำไปสู่ ‘ความเข้าใจ’ และ ‘การยอมรับ’ ทั้งต่อตัวเองและพ่อแม่ที่มีต่อตัวเขา

‘วัยรุ่น’

วัยรุ่น เป็นวัยแรกเริ่มแห่งการใช้ชีวิตอย่างอิสระ เพื่อเรียนรู้ เก็บเกี่ยวสะสมประสบการณ์ ก่อนก้าวสู่วัยผู้ใหญ่เต็มตัว วัยรุ่นถือเป็นวัยที่เชื่อมระหว่าง ‘เด็ก’ กับ ‘ผู้ใหญ่’ บางครั้งการเป็นวัยตรงกลางทำให้วัยรุ่นค่อนข้างเป็นวัยที่สับสนได้ง่าย เพราะ…

วัยรุ่นโตเกินกว่าจะถูกปฏิบัติเหมือนเด็กๆ วัยรุ่นคงไม่ชอบให้ใครมาบอกว่าต้องทำอะไรทุกขั้นตอนเหมือนเด็กเล็ก แต่ในขณะเดียวกัน วัยรุ่นก็ยังไม่โตพอที่จะรับผิดชอบทุกๆ อย่างได้เฉกเช่นผู้ใหญ่ เขายังต้องการการแนะนำ และความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่อย่างเรา

วัยรุ่นกระหายที่จะเป็นตัวเขาเอง แต่ในขณะเดียวกันก็แสวงหาการยอมรับจากผู้อื่น

วัยรุ่นต้องการอิสระเพื่อออกไปค้นหาหรือไล่ตามความฝัน แต่อีกเช่นเคย เขายังต้องการบ้านที่ปลอดภัยที่เขาสามารถกลับมาพักใจได้เสมอ

“ความสดใสและอิสรภาพที่ถูกพรากไป…”

ในสถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้คนส่วนใหญ่นั้นมีมากมายมหาศาล 

สำหรับวัยรุ่น สิ่งที่พวกเขาถูกพรากไปมากที่สุด คือ ‘ความสดใสแห่งวัย’ และ ‘อิสรภาพ’

พื้นที่ในการเรียนรู้ของเด็กๆ ยุคโรคระบาดเหลือเพียงภายใน ‘บริเวณบ้าน’ และ ‘หน้าจอสี่เหลี่ยม’ แม้บางบ้านจะมีพื้นที่สำหรับการทำกิจกรรมบ้าง และการท่องโลกผ่านอินเตอร์เน็ตอาจจะไม่ใช่เรื่องที่แย่ที่สุด แต่สำหรับวัยรุ่นแล้ว การออกไปข้างนอกบ้าน คือ การได้เจอเพื่อนๆ ของเขา และได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

การได้กินข้าวกับเพื่อนในโรงอาหารตอนพักกลางวัน

การได้จูงมือกับเพื่อนไปเข้าห้องน้ำด้วยกันตอนพักน้อย (พักเบรก)

การได้เตะบอล เล่นบาส นั่งคุยกับเพื่อน

การได้ไปเที่ยวที่ต่างๆ ด้วยกัน

และการได้มีความรักครั้งแรก

หากกิจกรรมที่วัยรุ่นทำเปรียบเสมือนสีสันบนโลกใบนี้ โลกของวัยรุ่นในสถานการณ์โรคระบาดคงเหลือเพียงสีไม่กี่สี และสำหรับวัยรุ่นบางคน โลกของเขาได้กลายเป็นสีที่หม่นหมอง

“โลกดูเศร้าหม่นและสิ้นหวัง”

แม้สถานการณ์โรคระบาดจะทำให้วัยรุ่นขาดโอกาสในการออกไปใช้ชีวิตข้างนอกบ้าน แต่ความคาดหวังที่มาพร้อมกับการเติบโตไม่เคยหยุดลง พ่อแม่และสังคมยังคงมีความคาดหวังต่อพวกเขาไม่ได้ลดหย่อนลงตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปเลย ซึ่งความคาดหวังที่วัยรุ่นต้องเผชิญอย่างหนักหน่วงที่สุด คือ ‘การเรียน’

พ่อแม่และสังคมมักคาดหวังให้วัยรุ่นตั้งใจเรียน เรียนให้ได้ดี คะแนนสอบและเกรดเฉลี่ยกลายเป็นตัวเลขที่ตัดสินวัยรุ่น ทั้งๆ เราไม่ควรตัดสินมนุษย์จากมิติๆ เดียวของชีวิต 

วัยรุ่นคนหนึ่งเป็นเด็กที่มีจิตใจดี เวลาเพื่อนๆ หรือคุณครูขอให้เขาช่วยอะไร เขามักยินดีและออกตัวอาสาเสมอ

นอกจากนี้เขายังชอบเล่นกีตาร์มากและเล่นได้ดีเสียด้วย แต่เขากลับเรียนได้ไม่ดีนัก แม้จะพยายามแล้วแต่ก็ทำได้ไม่เท่าเพื่อนๆ ทำให้เวลาผลสอบออกมา เขามักจะได้ลำดับที่ท้ายๆ ของห้อง พ่อแม่และญาติพี่น้องของวัยรุ่นคนนี้ มองว่า ‘เด็กคนนี้เป็นเด็กเกเร ไม่ตั้งใจเรียน’ โดยตัดสินเขาจากคะแนนสอบและลำดับที่สอบได้ 

ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงวัยรุ่นคนนี้ไม่ได้เกเร และตั้งใจเรียนเสมอ แต่เขาอาจจะทำไม่ได้ดีในเรื่องวิชาการ นอกจากนี้เขายังมีด้านดีๆ อีกมากมาย น่าเศร้าที่สิ่งเหล่านั้นกลับไม่ถูกมองเห็นและให้คุณค่า เพียงเพราะไม่ตรงกับความคาดหวังของพ่อแม่และผู้ใหญ่

“การเรียนออนไลน์”

วัยรุ่นต้องเผชิญกับความคาดหวังมากมาย และบ่อยครั้งที่พวกเขาต้องพ่ายแพ้และผิดหวังซ้ำๆ ยิ่งในสถานการณ์โรคระบาด ‘การเรียนออนไลน์’ คือ วิธีการเรียนรู้ที่วัยรุ่นต้องเผชิญ 

วัยรุ่นที่มีแนวโน้มเรียนได้ดีในรูปแบบปกติมักจะมีแนวโน้มปรับตัวและเรียนได้ดีในรูปแบบออนไลน์เช่นกัน 

ในทางกลับกันวัยรุ่นที่อาจจะมีปัญหาในการเรียนในห้องเรียนรูปแบบปกติเป็นทุนเดิม การปรับเปลี่ยนมาเรียนในรูปแบบออนไลน์อาจจะทำให้เขาไม่สามารถเข้าใจบทเรียนได้ และมีวัยรุ่นอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถเรียนในรูปแบบนี้ได้ เนื่องด้วยความไม่พร้อมของตนเองและข้อจำกัดของทางบ้าน

แม้ปัญหาด้านการเรียนและการเข้าสังคมในวัยรุ่นอาจจะดูไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรเมื่อเทียบกับปัญหาอื่นๆ ในสายตาของผู้ใหญ่ แต่สำหรับวัยรุ่นแล้ว ‘ความเครียด’ ที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นจากปัญหาเล็กๆ เหล่านี้ค่อยสะสมจนกลายเป็นปัญหาที่กัดกินเขาจากภายในโดยที่ตัวเองไม่รู้ตัว…

“การไม่เข้าใจบทเรียน” 

ความรู้สึกอึดอัดจากการที่ไม่เข้าใจในสิ่งที่เรียน ยิ่งเรียนต่อไปเรื่อยๆ พื้นฐานที่ไม่แน่นตั้งแต่แรก ก็กลายเป็นอุปสรรคในการเรียนเนื้อหาที่ซับซ้อนขึ้นไป วัยรุ่นหลายคนยอมรับว่า ไม่เข้าใจเนื้อหาที่เรียน บางคนแก้ปัญหาด้วยการทบทวนบทเรียนด้วยตัวเอง หรือให้เพื่อนช่วยสอนและอธิบายในภาษาตนเองเข้าใจได้ และบางคนถึงขั้นใช้การคัดลอกจากเพื่อนส่งครูบ้างเพื่อให้ผ่านๆ ไป 

“การไม่สามารถทำงานได้ทันเวลา” 

การบ้านที่มีปริมาณมาก หรือการบ้านที่ยากเกินความเข้าใจวัยรุ่น 

วัยรุ่นบางคนมีการวางแผนและการจัดการเวลาที่ดี เขาอาจจะรับมือกับปัญหาข้อนี้ได้ดี แต่วัยรุ่นบางคนไม่สามารถบริหารจัดการได้ การรับมือกับปริมาณงานที่มาพร้อมกับเป็นจำนวนมากอาจจะทำให้กลัวและอยากที่จะหลีกเลี่ยงและหลีกหนีงานดังกล่าวไป

“การไม่ได้ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน”

การพูดคุยกับเพื่อนผ่านหน้าจอ ไม่มีทางแทนที่การได้เจอเพื่อนในชีวิตจริงได้ วัยรุ่นเป็นวัยแห่งการสร้างอัตลักษณ์ตัวตนและแสวงหาการยอมรับจากเพื่อน การได้เจอกัน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน คือ สิ่งที่วัยรุ่นต้องการ แต่สถานการณ์โรคระบาดทำให้วัยรุ่นขาดโอกาสได้เจอกับผู้อื่น

ระยะเวลาที่ยาวนานที่วัยรุ่นต้องเรียนคนเดียวผ่านหน้าจอที่บ้านคนเดียว วัยรุ่นมักเกิดความเครียดมากขึ้นกว่าเดิม เพราะต้องเผชิญปัญหาเพียงลำพัง วัยรุ่นบางคนไม่สามารถแก้ปัญหาและจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้ จนท้ายที่สุด พวกเขาบางคนเลือกที่จะหยุดพยายามและยอมแพ้ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

“สภาวะสิ้นหวังอันเกิดจากการเรียนรู้  (Learned Helplessness)”

วัยรุ่นที่เผชิญความล้มเหลวทางการเรียนรู้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แม้ว่าเขาจะตามเพื่อนๆ ให้ทัน พยายามจะทำความเข้าใจเนื้อหา แต่กลายเป็นว่า ยิ่งพยายาม ยิ่งพบรูรั่วมากมาย ตามเท่าไหร่ก็ไม่ทันเสียที ซ้ำร้ายยังมีเรื่องใหม่ๆ ที่ต้องเรียนและทำความเข้าใจเพิ่มขึ้นทุกวัน ไม่ต่างอะไรกับปริมาณงานและการสอบที่เข้ามาประเดประดังทุกทาง ถ้าหากวัยรุ่นที่มีความไม่พร้อมทางจิตใจ เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดที่ทำให้ชีวิตของเขาเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ผนวกกับการไม่ได้รับการสนับสนุนและความเข้าใจจากทางบ้าน พวกเขาเหล่านั้นอาจจะเข้าสู่สภาวะสิ้นหวังอันเกิดจากการเรียนรู้ได้

สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association; APA) กล่าวว่า การสิ้นหวังอันเกิดจากการเรียนรู้ (Learned Helplessness) คือ สภาวะที่เกิดขึ้นหลังจากที่บุคคลประสบกับสถานการณ์ที่ตึงเครียดซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนทำให้เขาเชื่อว่า ตนเองไม่สามารถควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงสถานการณ์นั้นได้ ส่งผลให้บุคคลหมดความพยายามที่จะทำสิ่งนั้นหรือแก้ไขปัญหานั้นอีก แม้ในความเป็นจริงเขาอาจจะมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์นั้นได้ก็ตาม

อย่างไรก็ตาม การที่เด็กคนหนึ่งจะตกอยู่ในสภาวะสิ้นหวังนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากสถานการณ์บีบบังคับเขาเพียงอย่างเดียว แต่เกิดขึ้นจากปัจจัยทาง ‘ความคิด’ ของเด็กแต่ละคนด้วย ในที่นี้คือ ความคิดหรือมุมมองที่มีต่อโลก 

ในเด็กบางคนอาจจะเป็นคนที่มองโลกในแง่ร้ายและมีความคิดแบบยึดติด (Fixed Mindset) กล่าวคือ เด็กกลุ่มนี้จะเชื่อว่า ตนเองไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาได้ ทุกๆ อย่างที่เขาทำได้สำเร็จไม่ได้เกิดจากความสามารถของตนเอง แต่เกิดจากความช่วยเหลือของผู้อื่น หรือสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุมของเขา เช่น โชคหรือดวงชะตา 

แต่เด็กบางคนมองโลกในแง่ดีและมีความคิดแบบเติบโตได้ (Growth mindset) กล่าวคือ เด็กกลุ่มนี้จะเชื่อว่าตนเองสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้ และตนเองเป็นผู้ควบคุมชีวิตของตัวเอง ทุกสิ่งที่เขาทำได้สำเร็จเกิดจากความพยายามและความตั้งใจของตนเอง

ซึ่งเด็กที่มองโลกในแง่ร้ายและมีความคิดแบบยึดติดจะมีแนวโน้มตกอยู่ในสภาวะสิ้นหวังอันเกิดจากการเรียนรู้ได้ง่ายกว่าเด็กที่มองโลกในแง่ดีและมีความคิดแบบเติบโตได้

แนวทางการสร้างเด็กที่มีความคิดแบบเติบโตได้ (Growth Mindset)

ข้อที่ 1 ใช้คำถามปลายเปิดมากกว่าคำถามปลายปิด และใช้คำถามมากว่าคำสั่ง

คำถามปลายเปิดจะทำให้เด็กๆ ได้มีโอกาสคิดและประมวลความรู้จากประสบการณ์ที่สั่งสมมา เด็กๆ จะได้ใช้ความสามารถของเขามากกว่าคำถามปลายปิด

ดังนั้น ข้อสอบแนวอัตนัย (ข้อเขียน) จะทำให้เด็กๆ ได้ใช้ศักยภาพทางความคิดมากกว่าข้อสอบแนวปรนัย (กากบาทตัวเลือก)

นอกจากนี้การที่ผู้ใหญ่ใช้คำถามกับเด็กมากกว่าคำสั่ง ทำให้เด็กได้มีโอกาสเลือกและตัดสินใจตัวเขาเองมากขึ้น เด็กจะมีแนวโน้มรับผิดชอบต่อสิ่งที่เลือกมากขึ้น

ข้อที่ 2 ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้และความพยายามมากกว่าผลลัพธ์ที่ออกมา

ทุกการลงมือ ไม่ว่าผลงานที่ออกมาจะดีหรือไม่ก็ตาม เด็กๆ เกิดการเรียนรู้เสมอ และทุกความพยายามมีค่ามากกว่าผลลัพธ์ที่ออกมานัก เพราะผลลัพธ์เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้เสมอ 

ข้อที่ 3 เวลาที่เด็กๆ ทำผิดให้ตำหนิที่ ‘พฤติกรรมที่เขาทำ’ ไม่ใช่ ‘ตัวตนที่เขาเป็น’

บางวันเด็กอาจจะทำพฤติกรรมที่แย่มากๆ เราควรตำหนิเขาที่พฤติกรรม ไม่ใช่การว่าแบบเหมารวมตัวตนของเขา เพราะพฤติกรรม คือ สิ่งที่เด็กสามารถควบคุมและเปลี่ยนแปลงได้ ในขณะที่ตัวตนของเขาเป็นสิ่งที่ค่อนข้างคงทนและเปลี่ยนแปลงได้ยาก ดังนั้น การตำหนิที่พฤติกรรมจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้มากกว่าการตำหนิที่ตัวตนของเขา

เมื่อเด็กๆ ทำผิด ผู้ใหญ่ควรสอนให้พวกเขารับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองเสมอ เพื่อให้เด็กๆ เรียนรู้ว่า นี่คือการตัดสินใจของพวกเขาเอง และตัวเขาเองสามารถรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ หากเด็กยังไม่มีประสบการณ์ และไม่รู้ว่าต้องรับผิดชอบอย่างไร ผู้ใหญ่สามารถลงไปสอนเขาได้ แต่ไม่ใช่แก้ปัญหาหรือทำให้ทันที

ที่สำคัญผู้ใหญ่ควรสอนให้เด็กๆ รู้ว่า ‘ไม่มีใครที่ไม่เคยทำผิดพลาด ไม่เป็นไรที่จะทำผิดพลาด แต่ต้องเรียนรู้ที่จะรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเสมอ’

ข้อที่ 4 ให้การชื่นชมมากกว่าการตำหนิ 

เมื่อเด็กๆ ทำได้ดี ให้ผู้ใหญ่ชื่นชมพวกเขาที่การกระทำ เพื่อให้เด็กๆ มองเห็นสิ่งดีๆ ที่พวกเขาสามารถทำได้

ข้อที่ 5 ไม่เปรียบเทียบตนเองกับใคร 

ผู้ใหญ่ไม่ควรเปรียบเทียบเด็กกับใคร และควรสอนให้เด็กๆ ไม่เปรียบเทียบตัวเขากับคนอื่นเช่นกัน

ถ้าหากเด็กๆ ต้องการรู้ว่า ตนเองอยู่จุดไหนแล้ว การเปรียบเทียบที่ดีที่สุด คือ เปรียบเทียบตัวเองในวันนี้กับตัวเองในวันวาน เพราะจะนำไปสู่การพัฒนาได้

สิ่งสำคัญที่ผู้ใหญ่ควรตระหนักเสมอ

“เด็กทุกคนมีความแตกต่างกัน ซึ่งทำให้พวกเขามีวิธีการเรียนรู้ที่อาจจะแตกต่างกันไปด้วย การเรียนออนไลน์อาจจะทำให้เด็กบางคนหล่นหายไประหว่างทาง ตรงนี้ยังไม่ได้หมายรวมถึงความพร้อมของแต่ละบ้าน แต่หมายถึงความพร้อมของเด็กแต่ละคนก็แตกต่างกันแล้ว”

ไม่ว่าอย่างไรก็ตามผู้ใหญ่มีหน้าที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับเด็กๆ ว่า “พวกเขามีศักยภาพและพวกเขาสามารถเรียนรู้ได้” ไม่ใช่การสร้างทัศนคติทางลบต่อการเรียนรู้ และที่เลวร้ายที่สุด คือ ทัศนคติทางลบต่อตัวเอง เช่น “ฉันมันไม่ได้เรื่อง” “ฉันทำมันไม่ได้หรอก” และ “ทำอย่างไรก็ไม่ดีพอ”

ดังนั้น ผู้ใหญ่ที่ช่วยกันดูแลเด็กๆ ทั้งพ่อแม่ โรงเรียน และองค์กรทางการศึกษาต่างๆ สิ่งที่ควรตระหนักและให้ความสำคัญ ไม่ใช่ปริมาณชั่วโมงการเรียนหรือการบ้าน แต่คือ ‘ธรรมชาติของการเรียนรู้ในเด็กแต่ละวัย’ และ ‘ข้อจำกัดที่เด็กแต่ละคนมีไม่เท่ากัน’ เพื่อช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้และเติบโตต่อไปได้อย่างที่เขาควรจะเป็น

ในวันที่วัยรุ่นรู้สึกว่า “ตัวเขาไม่ดีพอ”

สิ่งที่พ่อแม่และผู้ใหญ่สามารถให้ความช่วยเหลือกับวัยรุ่นได้ บางครั้งสิ่งที่ลูก (วัยรุ่น) ต้องการจากพ่อแม่มากที่สุด คือ การรับฟัง เพราะการรับฟังที่ดี จะนำไปสู่ ‘ความเข้าใจ’ และ ‘การยอมรับ’ ทั้งต่อตัวเองและพ่อแม่ที่มีต่อตัวเขา

“การฟังที่ดี” เริ่มต้นจาก…

(1) อยู่ตรงนั้นเพื่อเขา (Be present) วางทุกอย่างลง สายตามองที่เขา และเปิดรับสิ่งที่เขากำลังพูด

(2) ฟังสิ่งสำคัญ หรือ สิ่งที่อีกฝ่ายต้องการจะบอก ไม่แทรกแซงด้วยการบ่น ตำหนิ ต่อว่า ระหว่างที่อีกฝ่ายพูด

(3) ฟังให้ได้ยินเสียงพูด และเสียงความรู้สึกที่ซ่อนอยู่

(4) ฟังด้วยหัวใจ และร่างกาย ได้แก่ สีหน้า ท่าทาง อารมณ์ที่แสดงออกล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้อีกฝ่ายสบายใจที่พูดหรือไม่พูดออกมา

(5) ฟังด้วยใจเป็นกลาง ไม่คิดแทน ไม่ตัดสินอีกฝ่าย ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย แต่เราควรฟังให้จบ โดยไม่พูดแทรก

(6) ฟังเพราะอยากเข้าใจในมุมของอีกฝ่าย

(7) ฟังโดยไม่ต้องคิดว่า เราจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ไหม เพราะสิ่งสำคัญของการฟัง คือ “การฟัง” อย่างเคียงข้าง ไม่ใช่การสอนสั่ง หรือการตัดสิน

บางครั้งพ่อแม่ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับทุกสิ่งที่ลูกพูด หรือ ต้องมีคำตอบให้กับทุกปัญหาของลูก เพราะสิ่งที่ลูกต้องการจากเราอาจจะเป็นเพียง ‘การรับฟัง’ และ ‘การยอมรับ’ เท่านั้นเอง

สุดท้าย หากวัยรุ่นรู้สึกว่า ‘เขาต้องการความช่วยเหลือ’ การไปพบจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา คือ ทางเลือกที่พ่อแม่ควรแนะนำให้กับลูกได้ เพราะบางครั้งการพูดคุยกับพ่อแม่ในเรื่องบางเรื่อง อาจจะทำให้วัยรุ่นรู้สึกกระอักกระอ่วนใจ พ่อแม่อย่าเพิ่งน้อยใจว่า ทำไมลูกไม่กล้าปรึกษาเรา เพราะวัยรุ่นหลายคนกลัวว่า ถ้าเขาพูดเรื่องนั้นออกไปแล้ว พ่อแม่จะเสียใจ หรือผิดหวังในตัวเขาหรือเปล่า ดังนั้นการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ อาจจะเป็นทางเลือกที่เขาสบายใจกว่าเท่านั้น ไม่ได้แปลว่าเขารักหรือเคารพพ่อแม่น้อยลงแต่อย่างใด

แม้โลกจะดูสิ้นหวัง และตัวเขากำลังจะหมดหวังกับตัวเอง ถ้าพ่อแม่ยังคงยืนหยัดเคียงข้างและเชื่อมั่นในตัวลูก ความหวังที่เรามอบให้กับเขาสามารถจุดประกายความหวังให้กับลูกได้อีกครั้งหนึ่ง ขอเพียงพ่อแม่อย่าหมดหวังในตัวลูก

อ้างอิง
Maier, S. F., & Seligman, M. E. (1976). Learned helplessness: theory and evidence. Journal of experimental psychology: general, 105(1), 3.
Claro, S., Paunesku, D., & Dweck, C. S. (2016). Growth mindset tempers the effects of poverty on academic achievement. Proceedings of the National Academy of Sciences, 113(31), 8664-8668.

Tags:

วัยรุ่นGrowth mindsetการฟังและตั้งคำถามไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ความเครียด

Author:

illustrator

เมริษา ยอดมณฑป

นักจิตวิทยาเจ้าของเพจ ‘ตามใจนักจิตวิทยา’ เพจที่อยากให้ทุกคนเข้าถึง ‘นักจิตวิทยา’ ได้มากขึ้นในฐานะเพื่อนแปลกหน้าผู้เคียงข้าง ปัจจุบันเป็นนักจิตวิทยาที่ห้องเรียนครอบครัว เป็น "ครูเม" ของเด็กๆ และคุณพ่อคุณแม่ ความฝันต่อไปคือการเป็นนักเล่นบำบัด วิทยากร นักเขียน และการเปิดร้านหนังสือเล็กๆ เป็นของตัวเอง

Illustrator:

illustrator

ninaiscat

ทิพยา ทิพย์พันธ์ (ninaiscat) เป็นนักวาดภาพประกอบและนักออกแบบกราฟิกอิสระ ชอบแมว (เป็นชีวิตจิตใจ) ชอบทำกับข้าว กินกาแฟทุกวันและมีความฝันว่าอยากมีบ้านสักหลังที่เชียงใหม่

Related Posts

  • How to get along with teenager
    ในวันที่วัยรุ่นรู้สึกว่า “ตัวฉันไม่ดีพอ” การรับฟังที่ดีจากพ่อแม่ คือ สิ่งที่เขาต้องการมากที่สุด

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ PHAR

  • How to get along with teenager
    Teenage Burnout : ภาวะหมดไฟในวัยรุ่นวัย (หมด) ฝัน

    เรื่อง จณิสตา ธนาธรชัย ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to get along with teenager
    ในวันที่โลกดูสิ้นหวัง และตัวฉันที่กำลังจะหมดหวังกับตัวเอง : EP.3 “I am worth enough.”

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Social Issues
    ในวันที่ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับสังคมไม่โอเค : คุยกับสมภพ แจ่มจันทร์ Knowing Mind

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • Social Issues
    โรคระบาด ความเครียด การฆ่าตัวตาย และสถานการณ์ที่วัยรุ่นทั่วโลกกำลังแบกรับ

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

ครูไก่แจ้ – สิทธิพงษ์ ติยเวศย์ : ครูอาสาวิชาคณิตศาสตร์ ที่เปิดพื้นที่ปลอดภัยให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าในตัวเองมากกว่าท่องสูตร
Everyone can be an Educator
28 September 2021

ครูไก่แจ้ – สิทธิพงษ์ ติยเวศย์ : ครูอาสาวิชาคณิตศาสตร์ ที่เปิดพื้นที่ปลอดภัยให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าในตัวเองมากกว่าท่องสูตร

เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ปริสุทธิ์

  • ครูไก่แจ้ – สิทธิพงษ์ ติยเวศย์ ครูอาสาสอนคณิตศาสตร์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายให้กับ กศน. หรือการศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย เขาไม่ได้เป็นครูที่มีใบประกอบวิชาชีพครู มีงานประจำทำเป็นหลักแหล่ง และใช้เวลาวันหยุดไปกับการสอนหนังสือ 
  • นอกจากเขาจะทำให้นักเรียนของเขาเข้าใจในเนื้อหาและวิธีคิดในวิชาคณิตศาสตร์แล้ว สิ่งที่นักเรียนสะท้อนกลับคือ การมองเห็นคุณค่าที่ซุกซ่อนอยู่ในตัวเอง จนยกให้เป็นครูที่ดีคนหนึ่งที่เปิดมุมมองใหม่ต่อวิชาคณิตศาสตร์ที่ไม่เคยคิดว่าจะเข้าใจมันได้ และยังทำให้พวกเขารู้จักตัวเองมากขึ้น รู้ว่าจะวางเป้าหมายในชีวิตอย่างไรต่อไป

“ความรู้ไม่ได้มีหน้าที่กดขี่ความเป็นมนุษย์ให้ต่ำลง แต่หน้าที่ของความรู้ คือ การอุ้มชูให้มนุษย์งอกงามขึ้น สิ่งสำคัญในการสอนของผม คือ การมองเห็นคุณค่าในตัวเอง รู้ว่าตัวเองมีความถนัดอะไร และทำมันให้ดีที่สุด ไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนคณิตศาสตร์เก่งก็ได้ แต่จะทำอย่างไรให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือให้เขาค้นหาคุณค่าของตัวเองให้เจอ เราปักธงไว้ว่า เราจะสอนหนังสือแบบนี้ ซึ่งกว่าจะออกมาเป็นเช่นนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย”

ชวนไปเปิดห้องเรียนที่กว้างใหญ่ของ ครูไก่แจ้ – สิทธิพงษ์ ติยเวศย์ ครูอาสาสอนคณิตศาสตร์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายให้กับ กศน. หรือการศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย ผู้ที่ไม่ได้เป็นครูที่มีใบประกอบวิชาชีพครู มีงานประจำทำเป็นหลักแหล่ง และใช้เวลาวันหยุดไปกับการสอนหนังสือ 

หัวใจของการเรียนคณิตศาสตร์ของครูไก่แจ้ คือ การเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ และเข้าถึงกฎกติกา ความเข้าใจนี้มีความหมายมากกว่าการท่องจำ ซึ่งจะทำให้โจทย์คำถามของคณิตศาสตร์นั้นเต็มไปด้วยความท้าทายและสนุกสนาน 

ขณะเดียวกันในทุกการเรียนรู้ ‘พื้นที่ปลอดภัย’ เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกๆ การสร้างห้องเรียนให้เป็นสนามแห่งการแลกเปลี่ยน ไม่ว่าคำตอบนั้นจะถูกต้องหรือผิดพลาด การลงมือคิดคำนวณตัวเลขล้วนเป็น ‘ประสบการณ์มือหนึ่ง’ ที่สร้างคุณค่าให้กับผู้เรียน นำไปสู่หัวใจแห่งการเรียนรู้ เมื่อ “คณิตศาสตร์เป็นมากกว่าคำตอบที่ถูกต้อง”

จุดเริ่มต้นของการเป็นครูอาสา

“ผมเป็นคนระยองโดยกำเนิด เรียนจบที่ระยอง แล้วก็ทำงานที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติที่ระยอง ตอนนั้นก็ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะเป็นครู ทีนี้ปี 2542 ก็มีโรงเรียนปริยัติธรรม วัดโสภณวนาราม ที่อยู่มาบตาพุด ขอความอนุเคราะห์บุคลากรเพื่อสอนหนังสือให้แก่สามเณร ผมกับเพื่อนๆ 4-5 คนก็เลยไปสมัครสอนหนังสือ ที่สอนวิชาคณิตศาสตร์เพราะเราจบสายวิทย์-คณิตฯมาด้วย แล้วก็รู้สึกว่าเราน่าจะมีความชำนาญคณิตศาสตร์มากกว่า ก็เลยเป็นครั้งแรกที่ได้เริ่มสอนหนังสือ”

หลังจากนั้นก็ถูกชักชวนโดยแม่บ้านที่ทำงาน ซึ่งเธอเรียนกศน. และรู้ว่าครูไก่แจ้สอนคณิตศาสตร์ เมื่อได้การบ้านวิชาคณิตศาสตร์ที่ทำไม่ได้ก็จะมาให้เขาสอนเสมอ จึงชวนให้ไปสอนที่ศูนย์กศน. ห้วยโป่ง เพราะที่นั่นไม่มีครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ แต่ใช้วิธีแจกใบงานให้กลับมาเรียนรู้ด้วยตัวเอง 

ตารางการสอนของครูไก่แจ้ในตอนนั้นช่วงบ่ายแก่ๆ ของวันจันทร์ถึงวันศุกร์จึงเป็นการสอนสามเณร ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ สอนให้กับกศน. เป็นอย่างนั้นมา 10 ปีได้ ก่อนจะย้ายเข้ามาทำงาน CSR โครงการรักษ์น้ำรักษ์ป่ารักษ์คุ้งบางกะเจ้า บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)

ออกแบบการเรียนรู้ ในห้องเรียนแห่งความหลากหลาย

ครูไก่แจ้อธิบายว่า กศน. มีนักเรียน 3 กลุ่ม แบ่งตามช่วงวัยและจุดประสงค์ในการเรียน คือ 1. วัยรุ่น อายุตั้งแต่ 10-20 ปี ออกจากการศึกษาในระบบด้วยเหตุผลหลากหลาย ซึ่งมีความรู้พื้นฐานมาบ้าง และส่วนใหญ่มาเรียนเพื่อเอาวุฒิการศึกษาไปเรียนต่อในระดับปวส. หรือมหาวิทยาลัย 2. วัยทำงาน อายุ 30-40 ปี ต้องการนําวุฒิการศึกษาไปใช้ในการทำงานหรือใช้เลื่อนตำแหน่ง และ 3. วัยสูงอายุ ที่ตอนเด็กไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ และนำวุฒิการศึกษาไปใช้รับรองตําแหน่งแกนนำชุมชนต่างๆ ซึ่งความต่างของช่วงอายุนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจและท้าทายการสอนของครูไก่แจ้มาก ทำอย่างไรให้คน 3 ช่วงอายุมาเรียนรู้ร่วมกันได้ และได้เรียนรู้ประสบการณ์ต่างวัยไปด้วย 

จากต้นทุนที่ครูไก่แจ้มีคือ ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ จึงเริ่มสอนแบบเน้นทฤษฎี เปิดหนังสือเขียนสมการ วิธีทำบนกระดาน จนกระทั่งที่ย้ายมาทำงาน CSR ได้ทำงานกับชุมชน และได้เรียนรู้กระบวนการด้านสังคมติดตัวมาด้วย 

“แล้วก็ได้มีโอกาสไปเรียนรู้ทฤษฎีกระบวนการเติบโตภายในของพัฒนาการจิตอาสา และเรียนรู้กับโครงการก่อการครู ผมก็เอาทั้งสามเรื่องนี้มาสร้างกระบวนการสอนของผมใหม่ เริ่มใช้กระบวนการเปิดฉากด้วยการตั้งคำถาม ตบด้วยการเขียนบัตรคำ ซึ่งมันก็ทำให้ตัวเราได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับเขา” 

เริ่มต้นจากคำถาม เปิดใจผู้เรียนเปลี่ยนทัศนคติต่อวิชาคณิตศาสตร์

“คำถามเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ และการตั้งคำถามจะบอกวิธีคิดของมนุษย์” ครูไก่แจ้ว่าอย่างนั้น

ในการเจอกันสัปดาห์แรกของการเรียนคณิตศาสตร์ระหว่างครูไก่แจ้กับนักเรียนของเขา เริ่มจากการทำความรู้จักกันโดยการแนะนำตัวเองเพียงประโยคเดียวคือ ชื่อกับนามสกุล จากนั้นให้นักเรียนเป็นคนตั้งคำถามที่อยากรู้เกี่ยวกับครู เนื่องจากมองว่าห้องเรียนแห่งนี้คือสถานที่ของทั้งครูและนักเรียน แม้ครูจะยืนอยู่หน้าชั้น แต่ไม่ได้มีอภิสิทธิ์ในการตั้งคำถามเพียงฝ่ายเดียว ครูไก่แจ้จึงชวนให้นักเรียนของเขาตั้งคำถาม โดยเขียนลงในกระดาษ ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้บังคับว่าทุกคนจะต้องเขียน

“ชั่วโมงแรกของการเรียนและเป็นครั้งแรกในชีวิตที่เราได้เจอกัน บางคนไม่มีคำถาม ไม่รู้จะเขียนอะไรลงไป มันสะท้อนถึงความไม่กล้าหาญของมนุษย์หรือสิ่งที่กดทับบนความถูกและไม่ถูกมันทำให้คนไม่กล้าแม้แต่จะตั้งคำถาม บางคนก็ถามผมว่า เพื่อนคิดยังไงกับอาจารย์? ทำไมหน้าตาอาจารย์มีความสุขจัง? จะเห็นว่ามิติการถามมีหลากหลายมาก” 

โดยเป้าหมายในการจุดประกายให้นักเรียนตั้งคำถามของครูไก่แจ้ มีส่วนประกอบสำคัญ 3 อย่างด้วยกัน คือ เพื่อให้มองเห็นความแตกต่างระหว่างตัวเองกับเพื่อนร่วมชั้น ยอมรับความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นอายุหรือประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆ และสำคัญที่สุด คือ ลองตั้งคำถามกับตัวเองให้มากขึ้น เช่น เราไปเรียนกศน. ทำไม? เป้าหมายในชีวิตคืออะไร? 

“ถึงผมจะชวนให้เขาตั้งคำถามที่อยากรู้เกี่ยวกับตัวผม แต่มันเป็นเพียงเครื่องมือที่ให้เขาได้ย้อนกลับไปดูตัวเอง แล้วย้อนกลับไปดูคนอื่นรอบข้างว่า เขาคิดแบบไหน เขาตั้งคำถามแบบไหน แล้วตัวเราละเคยตั้งคำถามกับตัวเองไหม ให้เขาเรียนรู้ที่จะวางเป้าหมายในชีวิต” 

ในส่วนของเนื้อหาครูไก่แจ้จะสอนจากเรื่องที่ง่ายก่อน เมื่อนักเรียนทำได้เขาจะมีกำลังใจในการเรียนอย่างเช่น บทแรกที่เกี่ยวกับรูปเรขาคณิต รูปทรงสามมิติ และการเคลื่อนที่ เป็นต้น 

“พื้นฐานของแต่ละห้องไม่เหมือนกันบางห้องสามารถไปได้เร็ว บางห้องไปได้ช้า เวลาที่เราสอนทฤษฎีผมจะไม่เป็นคนเฉลยคำตอบให้เขาเป็นอันขาด แต่จะต้องช่วยกันหาคำตอบด้วยตัวเอง เพราะการลงมือทำเป็นสิ่งสำคัญมาก 

ยิ่งคณิตศาสตร์ต้องคิดและลงมือทำ คุณจะต้องหาคำตอบมาได้ด้วยตัวเอง ครูจะไม่เป็นคนหาคำตอบให้ อันนี้คือเป็นกติกาของผมเลย แล้วการที่เขาเรียนคณิตศาสตร์ไม่รู้เรื่อง เพราะว่าไม่เข้าใจเครื่องมือ และเราไม่ได้สอนให้เขาเชื่อมโยงความรู้ เพราะฉะนั้นในเวลาจำกัดสิ่งที่ครูทำได้ดีที่สุดคือสอนเครื่องมือ และเขาจะต้องไปฝึกฝนการใช้เครื่องมือให้ชำนาญเอง ที่สำคัญต้องรู้วิธีการใช้ที่เหมาะสมกับโจทย์แต่ละข้อ เพราะฉะนั้นเราจะต้องสอนเครื่องมือ ทฤษฎี ก็คือ พวกสูตรต่างๆ แต่ต้องเสริมตัวอย่างที่จะทำให้เขาเข้าใจด้วยนะ ไม่ใช่แค่บอกเฉยๆ”

สร้างพื้นที่ปลอดภัยในห้องเรียน สะท้อนคิดผ่าน ‘บัตรคำ’ 

สำหรับครูไก่แจ้การสอนให้นักเรียนหาคำตอบที่ถูกต้องไม่ใช่เรื่องยาก แต่การทำให้เขากล้าลงมือทำยากยิ่งกว่า ซึ่งสิ่งที่จะดึงความกล้าเพื่อลงมือทำคือ การรู้จักฟังและสื่อสารอย่างชัดเจน 

“ผมถามเด็กๆ ทุกคนว่าทำไมไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์เขาบอกว่า ครูดุมาก เวลาที่เขาทำผิดครูก็จะด่า ลงโทษ ก่อนจะใส่เนื้อหาให้เขา เราจึงต้องทำให้พื้นที่นี้ที่ปลอดภัย เมื่อเขารู้สึกปลอดภัยก็จะตั้งใจฟัง”

 การสอนของครูไก่แจ้ จึงเน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ ค้นหาคุณค่าในตัวเอง โดยยอมแลก 1 ชั่วโมงแรกของการเรียนนั้นกับเป้าหมายดังกล่าว ซึ่งท้ายคาบครูไก่แจ้จะให้นักเรียนเขียนความรู้สึกหลังเรียน หรือที่ครูเรียกว่า ‘บัตรคำ’

“เป้าหมายสูงสุดไม่ใช่ข้อความที่เขาเขียนนะ ประเด็กแรกที่ครูอยากได้ก็คือ การฝึกเขียน และกล้าที่จะเขียน กล้าตั้งคำถาม เพราะการที่จะเขียนสิ่งเหล่านี้ได้ คุณต้องประมวลตั้งแต่แรก เช่น เจอครูวันนี้ทำอะไรนะ ครูให้ถามคำถาม แล้วครูตอบอะไรนะ ค่อยๆ ประมวลความคิดแล้วเขียน เป็นกระบวนที่ให้เขาได้นิ่งเพื่อทบทวนตัวเอง และกล้าหาญที่จะบอกความรู้สึกตัวเองผ่านตัวอักษร หรือผ่านภาพวาดก็ได้ ไม่ได้มีขีดจำกัด 

กระดาษแผ่นนี้เป็นของคุณเพราะฉะนั้นคุณสามารถที่จะทำอะไรก็ได้บนกระดาษแผ่นนี้ เราเปิดโอกาสให้เขาได้เรียนรู้ด้วยตัวเขาเอง แต่พอเราอ่านเราจะรู้เลยว่า คือ สิ่งที่เราส่งไปให้เขาๆ รับได้” 

“รู้สึกมีความสุข และเรียนเข้าใจง่าย เรียนสนุก ไม่กดดัน อาจารย์น่ารัก ขอบคุณที่มาสอนโดยที่ไม่หวังผลประโยชน์อะไร นอกจากเห็นพวกผมเป็นอนาคตที่ดีของชาติ…” 

“…มันได้อะไรมากกว่าวิชาคณิตศาสตร์ คือครูสิทธิพงษ์แถมความรู้ทั่วไป, การใช้ชีวิตร่วมกันในสังคม, การวางตัว หรือการรู้จักตัวเอง…” นี่คือตัวอย่างข้อความสะท้อนคิดหลังจากที่นักเรียนได้เรียนกับครูไก่แจ้

เป็นเช่นนั้นเพราะว่า การเรียนรู้มักจะเริ่มต้นจากความสนุก เพราะความสนุกเป็นผลสะท้อนจากปฏิกิริยาของร่างกายเมื่อเรา ‘รู้สึกปลอดภัย’ ซึ่งเกิดจากการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในห้องเรียนร่วมกัน ช่วยกันรื้อถอนคำว่าถูกหรือผิด เก่งหรือกลัว

“แก่นวิธีคิดของผมคือ เมื่อใดที่เราสอนด้วยความสุข คนรอบข้างเด็กๆ ก็จะรู้สึกมีความสุข ถึงแม้ว่าเรื่องนั้นมันจะต้องเรียนซับซ้อนก็ตาม” 

หัวใจคือการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน

นักเรียนหลายคนของครูไก่แจ้ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยาก แต่พอได้ลองเปิดใจเรียนแล้วก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด 

“บางคนบอกว่าเกลียดวิชานี้เลย ผมก็ถามว่าทำไม จริงๆ  เขาไม่ได้เกลียดวิชาหรอก เขาเกลียดคนสอน น่าตกใจมากว่าการที่เราจะเรียนเข้าใจหรือไม่เข้าใจมันขึ้นอยู่กับครูผู้สอนจริงๆ นะ มันมีอิทธิพลสูงมาก”

อีกทั้งโจทย์ยากในการสอนสำหรับครูไก่แจ้ คือ การที่ กศน. ไม่มีสถานที่เรียนเป็นของตัวเอง ไม่มีโรงเรียน วิธีการคืออาจารย์ประจำศูนย์จะไปขอยืมสถานที่จากพื้นที่นั้นๆ เช่น เขตบางนา ไปขอสถานที่ทหารเรือ ก็คือจะต้องไปหาสถานที่ที่เป็นชุมชน และบางสถานที่ก็ไม่เอื้อให้สอนหนังสือจริงจัง เพราะฉะนั้นสถานที่จึงเป็นอีกหนึ่งข้อจำกัด แต่เนื่องจากเนื้อหาเป็นเป้าหมายสุดท้ายปลายทาง สิ่งสำคัญคือ กระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะอุปกรณ์เครื่องมือแบบใดก็ตาม การเรียนรู้จะต้องเดินต่อไปได้ 

“ผมไปสอนที่หนึ่งที่ระยองเข้าไปอาทิตย์แรกเด็กๆ เขาก็ยังไม่รู้จักผม เขาก็จะนั่งเล่นเกม พอผมเปิดประตูเข้าไป เขาเงยหน้า แล้วก็เล่นโทรศัพท์ต่อ เราก็สอนไป ทำตามกระบวนการที่บอกไป สุดท้ายพอเวลาผ่านไปเขาก็ค่อยๆ ขยับมานั่งข้างหน้า ผมไม่ได้บังคับให้เขามานั่ง แต่จะบอกเขาว่า ทุกคนคงไม่ชอบให้ครูบังคับ งั้นเมื่อใดที่คุณเลือกเก้าอี้ที่นั่งแล้วคุณมองไม่เห็น ฟังไม่ชัด แล้วคุณไม่ขยับนั่นคือสิ่งที่คุณเลือกเอง แค่นั้นเองเด็กๆ ก็จะเริ่มรู้ตัวว่าควรจะทำแบบไหน แล้วเราก็ไม่ได้บอกด้วยอารมณ์เกรี้ยวกราด เราบอกความรู้สึกเราจริงๆ ไม่ได้น้อยใจ ไม่ได้ตีโพยตีพาย เขาก็ค่อยๆ เปลี่ยนครับ แต่ถ้าสุดท้ายเขาจะไม่ลุกขึ้นมาก็ไม่เป็นไรนะ 

หรือเวลาเขาคุยกับเสียงดัง ผมไม่เคยดุเขาเลย ไม่เคยขึ้นเสียง ไม่เคยไล่ออกจากห้อง แต่ผมจะเงียบ แล้วเขาก็จะได้ยินเสียงของเขาเอง แล้วเขาก็จะเงียบ บางทีก็จะบอกว่า ถ้าใครมีธุระที่จะต้องคุยกันจริงๆ ครูอนุญาตให้ออกไปคุยนอกห้องได้ ครูไม่ได้ว่าอะไร ไม่ตัดคะแนน แล้วไม่ได้พูดเพื่อดรามาหรือน้อยใจ แต่เราพูดด้วยความเป็นจริง” 

“เมื่อใดก็ตามที่เรามีความปรารถนาดีต่อกัน มนุษย์รับรู้ได้ แล้วสิ่งที่เรากำลังจะสอน เนื้อหาต่างๆ การทำข้อสอบให้ผ่านต่างๆ คือความปรารถนาดีของเรา ความหวังดีของเรา ซึ่งเราเป็นใครไม่รู้ เราเพิ่งจะมาเจอกันครั้งแรกในชีวิต แต่ครูปรารถนาดีกับเธอนะ ครูหวังดีกับเธอนะ แล้วตัวเธอเองละจะใจร้ายที่จะทำลายความปรารถดีทั้งของครูและของตัวเองเลยหรือ”

แม้เทอมนี้ครูไก่แจ้จะไม่ได้พบปะกับนักเรียนเลย เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 และส่วนใหญ่ทางกศน. เลือกใช้วิธีการเรียนผ่านยูทูบแทน เพราะการสอนออนไลน์ผ่าน zoom ไม่สะดวกกับพวกเขา เนื่องด้วยไม่มีเวลา ติดทำงาน เลี้ยงลูก 

“ผมก็ไปอัดเป็นต้นฉบับไว้ ซึ่งผมได้บอกอาจารย์เขาว่าเนื้อหาแบบนี้ยูทูบเยอะแยะ ผมจะสอนในแบบที่สอนในห้องเลย สอนแบบกศน.จากประสบการณ์ที่เราเคยสอนมา ออกแบบกระบวนการที่มันสอดคล้องกับตัวเขาให้มากที่สุด ไม่ทฤษฏีจ๋า พยายามจะมุ่งเน้นให้เขาสร้างกระบวนการในการเรียนรู้ให้เขาเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองอย่างที่เคยทำ”   

“ผมจะรู้สึกว่าเราโชคดีมากๆ ที่ได้เรียนรู้ชีวิตจากคนมากมาย มีรอยยิ้ม มีตำหนิ มีบาดแผล มีน้ำตาทุกครั้งที่ผมได้คุยกับนักเรียนไม่ว่าจะโอกาสไหนก็ตามผมรู้สึกว่าชีวิตมันทรงพลังมากๆ กับการที่ได้เรียนรู้กับคนเหล่านี้ การได้พูดคุยกันกับเขา การที่เขาตอบคำถาม การที่เขาตั้งคำถาม การที่เขามีแววตาแห่งความตั้งใจ มันคือพลังที่ตอบกลับมาให้กับเราด้วย มันทำให้เรามีพลังไปในตัว เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน อย่างน้อยเขากลับไปมีความสุข ถึงแม้จะเรียนได้ 50% ดีกว่า 3 ชม.แล้วไม่มีความสุขเลย” นี่คือสิ่งที่ครูไก่แจ้ได้จากการเป็นครูอาสาสอนคณิตศาสตร์กว่า 10 ปี

Tags:

วิชาคณิตศาสตร์ครูไก่แจ้ - สิทธิพงษ์ ติยเวศย์การเห็นคุณค่าในตัวเอง(Self-esteem)พื้นที่ปลอดภัยการเรียนรู้

Author:

illustrator

นฤมล ทับปาน

Photographer:

illustrator

ปริสุทธิ์

Related Posts

  • Social Issues
    ‘BuddyThai’ แอปคู่ใจของวัยรุ่นในวันที่ไม่มีใครยืนเคียงข้าง: พีเจ-หริสวรรณ ศิริวงศ์

    เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง ภาพ ปริสุทธิ์ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Unique Teacher
    เปลี่ยนโรงเรียนติดลบเป็นโรงเรียนติดดาว เริ่มที่ ‘ตัวฉัน’: ผอ.นันทิยา บัวตรี

    เรื่อง The Potential

  • How to enjoy life
    การทำร้ายร่างกายตัวเอง (self-injury) ที่ไม่ใช่แค่การกดดัน ตำหนิตัวเอง

    เรื่อง ชัค ชัชพงศ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to enjoy life
    เรียนหนัก อกหัก ทะเลาะกับพ่อแม่… ทุกเรื่องที่น้องอยากระบาย ‘สายเด็ก’ (Childline Thailand) ยินดีรับฟัง

    เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ปริสุทธิ์

  • Unique Teacher
    ‘จงทำให้เด็กรู้สึกโชคดีที่มีเราเป็นครู’ ครูคณิตที่นิยามตัวเองเป็น ‘นักการศึกษา’ ของครูร่มเกล้า ช้างน้อย (2)

    เรื่อง สัญญา มัครินทร์ณิชากร ศรีเพชรดี

เงินทองต้องคิดส์ (7) : เรียนเรื่องลงทุนแบบไม่ยุ่งยาก (ฉบับวัยรุ่น)
How to get along with teenager
24 September 2021

เงินทองต้องคิดส์ (7) : เรียนเรื่องลงทุนแบบไม่ยุ่งยาก (ฉบับวัยรุ่น)

เรื่อง รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • เมื่อเข้าสู่วัยมัธยม เด็กๆ ควรเข้าใจว่าทำไมต้องลงทุน โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถเล่าให้ฟังเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่จะทำให้มูลค่าเงินในอนาคตลดลงได้หากไม่มีลงทุน รวมถึงพลังของการทบต้นที่ทำให้ยิ่งลงทุนเร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งได้เปรียบมากขึ้นเท่านั้น
  • เมื่อก้าวเข้าสู่วัยมหาวิทยาลัยหรือเริ่มทำงาน ก่อนจะตบเท้าเข้าไปเปิดบัญชีซื้อขายหุ้น พ่อแม่ควรชวนลูกมาทำความรู้จักตัวเองว่ารับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อให้สามารถเลือกรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมให้ได้
  • เมื่อลูกเริ่มทำงานในบริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่ก็ควรให้คำแนะนำเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่หากลูกไม่มีภาระอะไรก็ควรหักสะสมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อประโยชน์ในอนาคต

เมื่อเด็กก้าวย่างสู่วัยรุ่น เขาจะเจอกับโลกใบที่กว้างขึ้น บางคนอาจได้ยินได้ฟังกลุ่มเพื่อนพูดคุยถึงคนที่ร่ำรวยจากการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หากลูกแสดงท่าทีสนใจเรื่องดังกล่าว พ่อแม่บางคนก็อาจใจร้อนรีบส่งลูกไปเข้าค่ายหรือสมัครคอร์สการลงทุนให้เจ้าตัวเล็ก หวังปั้นให้เป็นวอร์เรน บัฟเฟตต์ เมืองไทยที่เริ่มซื้อขายหุ้นครั้งแรกตั้งแต่อายุ 11 ขวบ

ค่ายและคอร์สเหล่านี้มีเป้าหมายคล้ายคลึงกันนั่นคือการฝึก ‘เลือกหุ้น’ ที่จะทำกำไรในอนาคต แต่คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยไหมครับว่าทำไมมหาเศรษฐีจากการเล่นหุ้นถึงมีอยู่แค่เพียงหยิบมือ? คำตอบก็คือการจะเลือกหุ้นแล้วร่ำรวยนั้นทำได้จริงแต่ทำได้ยากมาก เพราะอย่าลืมว่าในตลาดมีแต่นักการเงินเขี้ยวลากดินที่เปี่ยมประสบการณ์และความรู้ทางทฤษฎี บ้างทำงานฉายเดี่ยว บ้างทำงานเป็นทีม คนเหล่านี้พร้อมจะ ‘ฟัน’ นักลงทุนหน้าใหม่ที่ ‘รู้น้อย’ กว่าตนเอง

ดังนั้น ก่อนที่จะหุนหันพลันแล่นส่งลูกไปตะลุยโลกการเงินแบบหวังฟันกำไรระยะสั้นไม่ต่างจากการเล่นหวย หรือฝันว่าเด็กๆ จะเป็นอัจฉริยะที่มองตลาดหุ้นอย่างทะลุปรุโปร่ง เรามาเริ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไปแบบปุถุชนคนธรรมดา เข้าใจสาเหตุที่ต้องลงทุนในวัยมัธยม เพื่อให้พร้อมลงทุนจริงเมื่อเข้าสู่วัยทำงาน

วัยมัธยม เข้าใจว่าทำไมต้องลงทุน

1. ไม่ลงทุนคือขาดทุน ว่าด้วยอัตราเงินเฟ้อ

หลายครั้งที่ผู้ใหญ่ชื่นชอบที่จะรำลึกความหลังสมัยเด็กว่าด้วยราคาสินค้าต่างๆ เช่น แต่ก่อนกินข้าวจานละ 20 บาทแต่สมัยนี้ไม่มีแล้ว หรือสมัยพ่อแม่จีบกันใหม่ๆ กางเกงยีนส์ยังตัวหลักร้อยไม่มีหรอกนะที่จะต้องเสียเงินซื้อหลักพัน ฯลฯ

แต่ไหนๆ ก็จะพูดถึงราคาสินค้าในสมัยก่อนแล้ว ก็ชวนเด็กๆ คิดต่อว่าทำไมข้าวของถึงราคาแพงขึ้นทุกวัน แล้วพ่วงเรื่องเงินเฟ้อเข้าไปด้วยสิครับ!

เนื่องจากเงินเป็นแค่สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน มูลค่าที่แท้จริงจึงไม่คงที่ เงิน 20 บาทในอดีตจึงมีอำนาจในการซื้อไม่เท่ากับเงิน 20 บาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่แล้วมูลค่าของเงินจะค่อยๆ ลดลงหรือที่เราเรียกว่าภาวะเงินเฟ้อ หมายความว่าถ้าเราเก็บเงินไว้ในบัญชีออมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ นอกจากเงินก้อนนั้นจะไม่งอกเงยแล้วอาจจะมีมูลค่าลดลงเรื่อยๆ เพราะผลตอบแทนพ่ายแพ้ต่ออัตราเงินเฟ้อ

เป้าหมายขั้นต่ำที่สุดของการลงทุนก็คือการเอาชนะเงินเฟ้อนี่แหละครับ เพราะคงไม่มีใครอยากปล่อยให้เงินที่หาได้มาอย่างยากลำบากสูญเสียมูลค่าไปต่อหน้าต่อตา ดังนั้น การปล่อยปละละเลยทิ้งเงินไว้โดยไม่บริหารจัดการก็ไม่ต่างจากการที่เราจะยากจนลงทุกวันเนื่องจากเงินเฟ้อนั่นเอง

รู้แบบนี้ อย่าลืมชวนเจ้าตัวเล็กในบ้านย้ายเงินที่ฝากฝังไว้ในกระปุกหมูแล้วเอาไปหาทางเลือกลงทุนเพื่อเอาชนะเงินเฟ้อนะครับ

2. ลงทุนก่อนรวยกว่า ว่าด้วยพลังของการทบต้น

บางคนอาจรู้สึกแปลกใจถ้าผมแนะนำให้คุณสอนลูกเรื่องวางแผนเกษียณตั้งแต่วัยมัธยม แต่คุณจะเริ่มเข้าใจหากรู้จักพลังของการทบต้นที่ทำให้ยิ่งลงทุนเร็วยิ่งทำให้ผลตอบแทนทบทวี

ลองเล่นเกมส์คณิตศาสตร์ง่ายๆ กับเด็กๆ ในบ้านก็ได้ครับ สมมติให้ลูกฝากเงินไว้ 1,000 บาท ถ้าครบ 1 ปีจะได้ผลตอบแทน 10 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเวลาผ่านไป 1 ปีก็จะได้ผลตอบแทน 100 บาท เงินก้อนดังกล่าวก็จะงอกเงยเป็น 1,100 บาท แต่ถ้าฝากไปครบ 10 ปี เงินก้อนดังกล่าวจะงอกเงยไปเป็นเท่าไหร่?

ง่ายขนาดนี้ไม่ต้องกดเครื่องคิดเลขให้เมื่อยมือก็ได้คำตอบคือ 2,000 บาท ก็ได้ผลตอบแทนปีละ 100 บาท 10 ปี ผลตอบแทนรวมก็ต้องเท่ากับ 2,000 บาทสิ

คำตอบนี้ผิดครับ เพราะเจ้าตัวเล็กลืมเอาผลตอบแทนเข้ามาคิดคำนวณเป็นเงินก้อนใหม่ที่ใช้ลงทุน เช่น สิ้นปีที่หนึ่ง เงินลงทุนจะเพิ่มจาก 1,000 บาทเป็น 1,100 บาท ผลตอบแทนที่ได้จึงเพิ่มจาก 100 บาทต่อปีเป็น 110 บาทต่อปี คำนวณแบบนี้ต่อกันไปเรื่อยๆ ก็จะได้เงินตอนสิ้นปีที่ 10 เท่ากับ 2,593.74 บาท แบ่งเป็นเงินต้น 1,000 บาท ผลตอบแทน 1,000 บาท และผลตอบแทนที่ทบต้นสูงถึง 593.74 บาท!

สำหรับใครที่ขี้เกียจคำนวณให้ยุ่งยาก หลากหลายเว็บไซต์ก็มีเครื่องมือสำเร็จรูปสำหรับการคำนวณ เช่น ห้องเรียนนักลงทุนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถ้ามีเวลาก็ลองชวนลูกเข้าไปกดเล่นดูนะครับ จะได้เห็นภาพว่าลงทุนก่อนรวยกว่าจริงๆ!

3. อย่าถูกหลอกเพราะหวังรวยเร็ว

โลกสมัยนี้มีกลโกงสารพัด ยิ่งบนอินเทอร์เน็ตยิ่งแล้วใหญ่เพราะเหล่านักต้มตุ๋นลงทุนยิงโฆษณาหวังหลอกเหยื่อที่หลงเชื่อไม่กี่รายให้นำเงินมา ‘ร่วมลงทุน’ เพื่อหวังผลตอบแทนแบบทะลุฟ้า เช่น 5 เปอร์เซ็นต์ต่อสัปดาห์พร้อมการันตีเงินต้น เพียงแต่มีเงื่อนไขว่าต้องช่วยกันหาเพื่อนมาร่วมกันรวยกับโอกาสสุดพิเศษนี้อย่างน้อย 3 คน เพื่อรับโบนัสพิเศษอีกมากมาย

ผลตอบแทนล่อตาล่อใจขนาดนี้ วอร์เรน บัฟเฟตต์เองก็คงตั้งขยี้ตาว่า ‘ทำได้ยังไง!?’ เพราะผู้บริหารกองทุนระดับเซียนก็ยังสร้างผลตอบแทนระยะยาวเฉลี่ยได้ราว 20 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ต่อปี แถมยังไม่การันตีเงินต้นเพราะบางปีก็ต้องเจอกับภาวะขาดทุนซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของการลงทุน

การฉ้อฉลดังกล่าวเรียกว่า ‘แชร์ลูกโซ่’ ที่ตัวการหลักไม่ได้นำเงินที่ระดมมาได้ไปลงทุนอะไรหรอกครับ แต่เป็นการนำเงินดังกล่าวไปจ่ายเป็นผลตอบแทนให้ฐานนักลงทุนเก่า พร้อมทั้งใช้เป็นแรงจูงใจให้หาเงินลงทุนมาเพิ่มเพื่อป้องกันไม่ให้เงินขาดมือ เมื่อใดก็ตามที่จำนวนเงินลงทุนหน้าใหม่เริ่มน้อยลงจนส่อเค้าว่าแชร์ลูกโซ่จะล่ม เจ้ามือก็จะเผ่นหนีไปพร้อมกับเงินก้อนใหญ่ ลอยแพเหล่าคนที่หวังรวยทางลัดจากผลตอบแทนที่สูงเกินจริง

ข่าวแชร์ลูกโซ่ขึ้นพาดหัวหน้าหนึ่งไม่เว้นแต่ละปี เมื่อ 30 ปีก่อนก็เจ้ามืออาจจะหลอกว่านำเงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ส่วนปัจจุบันก็จะลวงว่าเอาเงินไปลงทุนในบิตคอยน์ แต่ไม่ว่าแชร์ลูกโซ่รูปแบบใด วันหนึ่งก็ย่อมพังทลายลงเสมอ

เมื่อสอนลูกลงทุนแล้วก็อย่าลืมบอกให้ระวังกลโกงมากมายที่จะเชิญชวนให้รวยทางลัด โดยพ่อแม่ต้องเน้นย้ำเสมอว่าทางลัดเหล่านั้นไม่มีอยู่จริง และไม่มีใครที่กลายเป็นเศรษฐีจากการลงทุนตามที่เพื่อนชักชวนหรือโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต

วัยมหาวิทยาลัย – เริ่มทำงาน ลงสู่สนามจริง

1. รู้ตัวเองว่ารับความเสี่ยงได้แค่ไหน

เมื่อพูดถึงการลงทุน ทุกคนจะพุ่งเป้าไปที่ตลาดหลักทรัพย์เป็นอย่างแรก แต่ความจริงแล้วเรามีทางเลือกมากมายในการลงทุนที่นอกเหนือจากหุ้น ไม่ว่าจะเป็นเงินฝากประจำ พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ สินค้าโภคภัณฑ์อย่างทองคำหรือน้ำมัน กองทุนรวม ไปจนถึงตราสารอนุพันธ์

แต่ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะนำเงินก้อนดังกล่าวไปลงทุนกับอะไรดี เราต้องเริ่มจากทำความเข้าใจว่ารับความเสี่ยงได้มากน้อยขนาดไหน เพราะทางเลือกในการลงทุนแต่ละอย่างมีความเสี่ยงไม่เท่ากัน เราจึงต้องคำนึงถึงความรู้ความเข้าใจ เป้าหมายการลงทุน ระยะเวลาที่คาดหวัง และสัดส่วนที่ยอมรับให้ขาดทุนได้

สมมติว่าลูกต้องการเก็บเงินเพื่อเรียนปริญญาโท แน่นอนว่าพ่อแม่คงไม่อยากให้อนาคตทางการศึกษาของลูกขึ้นอยู่กับการขึ้นลงของตลาดหลักทรัพย์ หรือผลประกอบการของบริษัทที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ แต่ถ้าลูกต้องการเก็บเงินไปเที่ยวตอนสิ้นปี แบบนี้จะเสี่ยงหน่อยก็ไม่มีปัญหาเพราะถ้าโชคเข้าข้างก็อาจได้บินไปต่างประเทศ แต่ถ้าชะตาไม่เป็นใจอย่างน้อยไปพักผ่อนที่หัวหินก็ไม่เสียหาย

การประเมินความเสี่ยงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ห้ามมองข้ามอย่างเด็ดขาด เนื่องจากเป้าหมายการลงทุนอาจไม่ใช่การสร้างผลตอบแทนมากที่สุด แต่เป็นการแบกรับความเสี่ยงที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินก้อนดังกล่าวไปใช้ต่างหาก โดยพ่อแม่อาจชวนลูกไปลองเล่นแบบสอบถามบนเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มขึ้น

2. จัดเต็มในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

สำหรับลูกหลานใครที่เริ่มต้นชีวิตมนุษย์เงินเดือนโดยการทำงานในบริษัทขนาดใหญ่ เรื่องการเงินแรกๆ ที่ต้องตัดสินใจ คือ จะจัดสรรเงินเดือนกี่เปอร์เซ็นต์เข้าไปในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลอาจยื่นใบมาให้เลือกตั้งแต่ 2 เปอร์เซ็นต์จนถึง 15 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน

ถ้าไม่มีภาระต้องผ่อนบ้านผ่อนรถผ่อนหนี้ กยศ. ใดๆ ผมขอแนะนำให้หักมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากเงินทุกบาททุกสตางค์ที่ใส่เข้าไปในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นายจ้างเองก็ต้องจ่ายเงินสมทบเข้าไปเช่นกัน ดังนั้น ยิ่งเราใส่เงินเข้าไปมากเท่าไหร่ นายจ้างก็จะจ่ายสมทบให้มากเท่านั้น แถมเงินที่ใส่ลงไปยังถูกนำไปลงทุนโดยมืออาชีพอีกด้วย

นี่เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจนะครับ อย่าลืมว่าพนักงานเอกชนทั้งหลายพอเกษียณอายุไปแล้วรายได้ก็จะลดจนแทบเหลือศูนย์ จะไปรอหวังพึ่งพาลูกหลานก็ใช่ที่ ทางที่ดีควรจัดการชีวิตตัวเองให้เรียบร้อย เตรียมแผนเกษียณตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งวิธีหนึ่งคือการสะสมเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปเรื่อยๆ พอเกษียณอายุก็อาจมีเงินหลักล้านรออยู่ในบัญชีแบบไม่รู้ตัว

ข้อดีอีกหนึ่งอย่างของการหักเงินเดือนเข้าไปในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพคือเงินที่ถูกหักไปลงทุนนั้นจะเพิ่มขึ้นอัตโนมัติ เนื่องจากยอดที่หักจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน เมื่อเงินเดือนขึ้นเราก็จะออมเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ถือเป็นการอำนวยความสะดวกแบบไม่ต้องเปลืองสมองคิด

3. จงลงทุนแบบคนขี้เกียจ

คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยต้องการรวยทางลัด บางคนถึงขั้นนั่งขะมักเขม้นเฝ้าหน้าจอซื้อหลายหลักทรัพย์แม้กระทั่งในเวลางาน เวลาว่างก็อ่านข่าวเศรษฐกิจ ฟังพอดแคสท์ ดูยูทูบการลงทุน เพื่อหวังจะสร้างผลตอบแทนได้เหนือกว่าคนอื่น แต่ลองนึกดูดีๆ นะครับ ว่าการที่เราทุ่มเทเวลามากมายไปกับการลงทุน แล้วผลตอบแทนที่ได้มันคุ้มค่ากับสิ่งที่เสียไปหรือเปล่า

แน่นอนครับว่าการศึกษาหาความรู้เรื่องการลงทุนไม่ใช่เรื่องผิด แต่ถ้าต้องลงทุนลงแรงแล้วเอาชนะตลาดได้ 1 หรือ 2 เปอร์เซ็นต์ สู้เอาเงินไปลงในกองทุนรวมหรือกองทุนดัชนี จ่ายค่าธรรมเนียมเล็กน้อยให้มืออาชีพบริหารจัดการ แล้วเอาเวลาไปตั้งใจทำงานหลัก หารายได้เสริมจากงานรอง หรือพักผ่อนอยู่กับครอบครัวไม่ดีกว่าหรือ?

อาจจะแปลกสักหน่อยหากผมจะแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่บอกลูกว่าจงขี้เกียจเรื่องการลงทุน เปิดดูพอร์ตฟอร์ลิโอสักเดือนละครั้งสองครั้ง แล้วเอาเวลาที่เหลือไปตั้งใจทำงานเพื่อแสวงความก้าวหน้าในอาชีพ ดีกว่าจะมาทุ่มเทกับการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อหวังส่วนต่างไม่กี่เปอร์เซ็นต์ เว้นเสียแต่ว่าเด็กๆ จะมีความสุขที่ได้ทำสิ่งเหล่านี้จริงๆ โดยไม่มาโอดครวญว่าอ่านเรื่องหุ้นจนไม่ได้หลับไม่ได้นอน แต่ทำไมถึงไม่รวยกับเขาสักที

ว่าด้วยกฎของ 72

ในโลกการเงินมีกฎจำง่ายมากมายนับไม่ถ้วน แต่กฎที่ลูกๆ รู้ยิ่งเร็วยิ่งดี คือ กฎของ 72 (Rule of 72)

กฎดังกล่าวนั้นแสนเรียบง่าย เป็นการคำนวณคร่าวๆ ว่าต้องใช้เวลาเท่าไหร่เงินต้นที่ลงทุนไว้จะงอกเงยเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า โดยคิดจากตัวเลข 72 หารด้วยผลตอบแทนต่อปี 

ตัวอย่างเช่น ถ้าเราลงทุนได้ผลตอบแทน 7 เปอร์เซ็นต์ ตามกฎของ 72 จะได้ว่าต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปี (คำนวณจาก 72 หารด้วย 7) เงินจึงจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า แต่ถ้าเราลงทุนได้ผลตอบแทน 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี จะใช้เวลาเพียงราว 3 ปีครึ่ง ส่วนใครที่ลงทุนสบายๆ ความเสี่ยงต่ำที่สร้างผลตอบแทน 3 เปอร์เซ็นต์ต่อปีก็ต้องรอถึง 24 ปี

กฎดังกล่าวสื่อสารปัจจัยหลัก 3 ประการที่ส่งผลต่อการลงทุน นั่นคือ (1) ผลตอบแทน ยิ่งมากก็ยิ่งดี (2) ระยะเวลาที่ใช้ลงทุน ยิ่งนานก็ยิ่งดี และ (3) เงินที่นำมาลงทุน ยิ่งเยอะก็ยิ่งดี การตัดสินใจลงทุนทุกครั้งจึงไม่ควรมองข้ามสามประเด็นนี้ เพื่อให้ผลลัพธ์ของการลงทุนเป็นไปตามที่คาดหวัง

อย่างไรก็ดี ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ ความเสี่ยง วาทะติดปากของเหล่านักการเงิน คือยิ่งผลตอบแทนสูง ความเสี่ยงก็สูงเป็นเงาตามตัว ดังนั้น ทางเลือกการลงทุนที่เรามีโอกาสกำไรมหาศาลก็จะสามารถทำให้เราขาดทุนมหาศาลได้เช่นกัน

สำหรับผู้เขียน การลงทุนที่ดี ไม่ใช่ทางเลือกที่ทำให้เรารวยล้นฟ้าและสามารถเกษียณอายุได้ตอนอายุ 35 ปี แต่เป็นการบริหารจัดการเงินที่เก็บหอมรอมริบมาได้อย่างยากลำบากเพื่อให้งอกเงยในอัตราที่สมน้ำสมเนื้อกับความเสี่ยงที่เรารับได้ สิ่งที่ผมอยากให้พ่อแม่ปูพื้นฐานให้กับลูกจึงไม่ใช่ทางลัดรวยเร็ว แต่เป็นการตอบคำถามว่าเราลงทุนไปเพื่ออะไรและจะจัดการเงินอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้นโดยที่ลงแรงน้อยที่สุด

Tags:

วัยรุ่นการเงินเงินทองต้องคิดส์การลงทุน

Author:

illustrator

รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์

คุณพ่อลูกอ่อน นักการเงินทาสหมา ที่ใช้เวลาว่างหลังลูกนอน (ซึ่งไม่ค่อยจะมี) ในการอ่าน เขียน และเรียนคอร์สออนไลน์

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Early childhood
    เงินทองต้องคิดส์ (11): เรื่องเงินทองที่พ่อแม่ต้องวางแผน

    เรื่อง รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Early childhood
    เงินทองต้องคิดส์ (6) : เรียนเรื่องลงทุนแบบไม่ยุ่งยาก (ฉบับเด็กเล็ก)

    เรื่อง รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to get along with teenager
    เงินทองต้องคิดส์ (5) : สอนลูกชั่งใจก่อนใช้เงิน (ฉบับวัยรุ่น)

    เรื่อง รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to get along with teenager
    เงินทองต้องคิดส์ (3) : ออมเงินเรื่องง่าย (ฉบับเด็กโต)

    เรื่อง รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Early childhood
    เงินทองต้องคิดส์ (2) : ออมเงินเรื่องง่าย (ฉบับเด็กเล็ก)

    เรื่อง รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

สิทธิการเลือกรับวัคซีนยังคงเป็นของเรา แม้ว่าจะอายุเท่าไรก็ตาม
Social Issues
23 September 2021

สิทธิการเลือกรับวัคซีนยังคงเป็นของเรา แม้ว่าจะอายุเท่าไรก็ตาม

เรื่อง The Potential

  • ขณะนี้วัคซีนที่ประเทศไทยอนุมัติให้ฉีดให้กับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี นอกจาก Pfizer สำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้อนุมัติวัคซีน Moderna เป็นอีกหนึ่งวัคซีนที่สามารถฉีดให้ผู้ที่มีอายุระหว่าง 12 – 17 ปี 
  • การตัดสินใจจะฉีดหรือเลือกรับวัคซีนใดๆ คนที่มีสิทธิ์เลือกและตัดสินใจก็คือเจ้าตัว แต่ในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือยังไม่ได้บรรลุนิติภาวะ ทำให้การตัดสินใจบางอย่างต้องมีผู้ปกครองร่วมด้วย กลายเป็นจุดที่ทำให้การตัดสินใจฉีดวัคซีนในคนกลุ่มนี้มีหลายองค์ประกอบ
  • Claire Breen ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ได้เขียนบทความลง The Conversation แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนให้ผู้ที่อายุต่ำกว่า 16 ปีในนิวซีแลนด์ ผู้เขียนกล่าวว่า แม้กฎหมายนิวซีแลนด์จะระบุให้ผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ถึงจะมีสิทธิ์ตัดสินใจทางการแพทย์ด้วยตัวเอง แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าผู้ที่อายุต่ำกว่า 16 ปีจะไม่สามารถตัดสินใจใดๆ ได้ เพราะกุญแจสำคัญอยู่ที่ความสามารถในการตัดสินใจของคนๆ นั้น ไม่มีการกำหนดว่าอายุเท่าไรถึงจะเรียกว่ามีความสามารถ

ปัจจุบันสถานการณ์การฉีดวัคซีนให้คนไทย จากข้อมูล ณ วันที่ 19 กันยายน โดยคณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการให้วัคซีนโควิด 19 รายงานจำนวนผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 สะสม 29,002,572 คน เข็มที่ 2 สะสม 15,118,015 คน และเข็มที่ 3 สะสม 621,462 คน โดยกลุ่มคนที่ได้รับวัคซีน ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ด่านหน้า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ประชาชนทั่วไป ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ตั้งครรภ์

ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบอ.) มีมติเห็นชอบให้บริการฉีดวัคซีน Pfizer สำหรับผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป โดยผ่านความยินยอมของผู้ปกครอง วางกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 หรือเทียบเท่า โดยการฉีดจะแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 หรือเทียบเท่า ถัดไปจึงจัดสรรให้นักเรียนชั้นอื่นๆ โดยจะเริ่มให้บริการฉีดวัคซีนแก่ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายนนี้เป็นต้นไป 

รูปแบบการให้บริการฉีดวัคซีนจะผ่านสถานศึกษาที่ผู้มีอายุ 12 ปีขึ้นไปกำลังศึกษาอยู่ โดยสถานศึกษาต้องทำการชี้แจงผู้ปกครองเพื่อขอความยินยอมในการรับวัคซีนผ่านใบยินยอม และแจ้งนักเรียนที่ต้องเข้ารับการฉีดวัคซีน ศบอ.มีเป้าหมายเร่งฉีดให้ทันรับเปิดภาคเรียนที่ 2 / 2564 ซึ่งวางแผนเปิดวันที่ 1 พฤศจิกายน

ขณะนี้วัคซีนที่ประเทศไทยอนุมัติให้ฉีดให้กับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี นอกจาก Pfizer สำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้อนุมัติวัคซีน Moderna เป็นอีกหนึ่งวัคซีนที่สามารถฉีดให้ผู้ที่มีอายุระหว่าง 12 – 17 ปี 

แต่ล่าสุดก็เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเซียลเมื่อราชวิทยาจุฬาภรณ์ (รจภ.) ได้เริ่มฉีดวัคซีน Sinopharm ให้กลุ่มผู้ที่มีอายุ 10 – 18 ปี เมื่อวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา เนื่องจากสถานะวัคซีนชนิดนี้กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาขึ้นทะเบียนสำหรับการฉีดให้ผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป ทำให้เกิดกระแสถกเถียงหลากหลายว่าการฉีดวัคซีนตอนนี้อยู่ในช่วง ‘ทดลองวิจัย’

การตัดสินใจจะฉีดหรือเลือกรับวัคซีนใดๆ คนที่มีสิทธิ์เลือกและตัดสินใจก็คือเจ้าตัว แต่ในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือยังไม่ได้บรรลุนิติภาวะ ทำให้การตัดสินใจบางอย่างต้องมีผู้ปกครองร่วมด้วย กลายเป็นจุดที่ทำให้การตัดสินใจฉีดวัคซีนในคนกลุ่มนี้มีหลายองค์ประกอบ

อายุเท่าไหร่ถึงสามารถตัดสินใจทางการแพทย์ด้วยตัวเอง

ในการตัดสินใจให้ความยินยอมทางการแพทย์จะมีสิ่งที่เรียกว่า หลักความยินยอมทางการแพทย์ (informed consent) เป็นหลักการทางชีวจริยศาสตร์ที่มีอยู่ทั้งในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมและการวิจัยในมนุษย์ แพทย์ที่ทำการรักษาและนักวิจัยที่ทำการทดลองในมนุษย์ต้องขอความยินยอมจากบุคคลนั้นก่อนจะกระทำการใดๆ ต้องมีการแจ้งข้อมูลการวินิจฉัย การรักษา หรือการวิจัยให้เจ้าตัวทราบก่อน และเปิดโอกาสให้ตัดสินใจด้วยตัวเอง เป็นหลักที่ได้จากแนวคิดในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่มนุษย์ทุกคนย่อมมีอิสระที่จะกระทำการใดด้วยตัวเอง (right to self – determination) ตราบเท่าที่การกระทำนั้นไม่รบกวนหรือแทรกแซงบุคคลอื่น 

แม้การให้ความยินยอมจะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนมีตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่หากให้ทุกคนสามารถให้ความยินยอมในการรักษาได้โดยไม่คำนึงถึงอายุอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี ด้วยเหตุผลด้านวิทยาศาสตร์ ที่ต้องรอช่วงระยะเวลาหนึ่งมนุษย์ถึงจะพัฒนาร่างกายและจิตใจพร้อมสำหรับการตัดสินใจต่างๆ ในแต่ละประเทศจึงมีการกำหนดอายุผู้ที่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง เช่น ที่นิวซีแลนด์และอังกฤษ ผู้ที่อายุ 16 ปีขึ้นไป สามารถตัดสินใจให้ความยินยอมหรือปฎิเสธการรักษาด้วยตัวเอง หรือที่ญี่ปุ่น ผู้ที่อายุ 20 ปีขึ้นไปถึงจะสามารถตัดสินใจการรักษาที่เกี่ยวกับการผ่าตัดได้ (กฎหมายที่กำหนดเรื่องความสามารถของบุคคลก็อาจแตกต่างกันได้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของกฎหมายนั้นๆ เช่น ในไทย กฎหมายแพ่งบัญญัติให้ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะเมื่ออายุ 20 ปี ในขณะที่กฎหมายมรดกกำหนดให้ผู้เยาว์ทำพินัยกรรมได้ เมื่ออายุ 15 ปี และกฎหมายเลือกตั้งกำหนดให้บุคคลธรรมดามีสิทธิเลือกตั้งเมื่ออายุ 18 ปี)

ในประเทศไทยยังไม่มีกฏหมายที่บัญญัติถึงสิทธิของผู้ป่วยที่เป็นผู้เยาว์โดยตรง ไม่มีการกำหนดว่าผู้เยาว์อายุเท่าไหร่ถึงสามารถให้ความยินยอมด้วยตัวเองได้ อีกทั้งยังไม่มีกำหนดว่าผู้ที่สามารถให้ความยินยอมแทนผู้เยาว์ในการรักษาพยาบาลและลำดับในการให้ความยินยอมแทนผู้เยาว์ไว้ว่าต้องเป็นอย่างไร 

กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ไม่ได้ระบุเรื่องความยินยอมในการเข้ารับการรักษาโดยตรง แต่มีมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ มาตรา 8 ที่ผู้รับบริการด้านสุขภาพต้องได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริการอย่างเพียงพอในการตัดสินใจว่าจะให้ความยินยอมหรือไม่ และหากไม่ยินยอมก็เป็นสิทธิ์ของบุคคลนั้น และมาตรา 9 ระบุว่า ในการทดลองงานวิจัย ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขต้องแจ้งให้ผู้รับบริการทราบล่วงหน้า และต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือ ผู้รับบริการสิทธิ์เพิกถอนได้ทุกเมื่อ

แม้ไม่มีกฎหมายที่ระบุเรื่องนี้ชัดเจน แต่มีข้อบัญญัติที่เกี่ยวข้อง คือ คำประกาศสิทธิของผู้ป่วย (เป็นกรอบกำหนดสิทธิของผู้ป่วย ออกโดยแพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา และคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วย แต่ไม่ถือเป็นกฎหมายบังคับ) ข้อที่ 9 กำหนดให้ผู้ที่อายุ 18 ปีบริบูรณ์สามารถให้ความยินยอมได้ และให้พ่อแม่หรือผู้แทนโดยชอบธรรมใช้สิทธิแทนผู้ที่อายุยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ และพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551 กำหนดให้แพทย์ต้องขอความยินยอมจากผู้ป่วยซึ่งอายุเกิน 18 ปีขึ้นไปและกำหนดให้คู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ปกครอง หรือผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นแล้วแต่กรณีเป็นผู้ให้ความยินยอมแทนในกรณีอายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ 

การกำหนดอายุขั้นต่ำสำหรับการตัดสินใจให้ความยินยอมการทำกิจกรรมต่างๆ แง่หนึ่งถือเป็นการคุ้มครอง ปกป้องผู้เยาว์ที่ร่างกายและจิตใจอาจจะยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่อีกด้านอาจกลายเป็นการปิดปากไม่ให้พวกเขาได้ส่งเสียง ตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวกับตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวพันกับชีวิต 

อายุไม่ใช่เกณฑ์ตัดสินขาดเดียว หากบุคคลนั้นมีความสามารถมากพอที่จะพิจารณาด้วยตัวเองได้ 

หลักในการพิจาณาว่าบุคคลใดสามารถตัดสินใจให้ความยินยอมทางการแพทย์ได้ นอกจากความสามารถที่กำหนดโดยกฏหมาย อีกหนึ่งปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาประกอบ คือ ความสามารถตามความเป็นจริง (Capacity) ของบุคคล หากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ หรือผู้ให้บริการ เห็นว่าบุคคลนั้นมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการรักษาและสามารถตัดสินใจได้อย่างมีสติ ก็สามารถอนุญาตให้ผู้ที่อายุต่ำกว่าเกณฑ์สามารถให้ความยินยอมด้วยตัวเอง

Claire Breen ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ได้เขียนบทความลง The Conversation แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนให้ผู้ที่อายุต่ำกว่า 16 ปีในนิวซีแลนด์ ผู้เขียนกล่าวว่า แม้กฎหมายนิวซีแลนด์จะระบุให้ผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ถึงจะมีสิทธิ์ตัดสินใจทางการแพทย์ด้วยตัวเอง แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าผู้ที่อายุต่ำกว่า 16 ปีจะไม่สามารถตัดสินใจใดๆ ได้ เพราะกุญแจสำคัญอยู่ที่ความสามารถในการตัดสินใจของบุคคลๆ นั้น ไม่มีการกำหนดที่ตายตัวว่าอายุเท่าไรถึงจะเรียกว่ามีความสามารถ 

การกำหนดทางกฎหมายเป็นเพียงการให้แนวทางปฎิบัติ ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือผู้เยาว์ ถือว่ามีความสามารถในการตัดสินใจด้วยตัวเอง หากพวกเขาสามารถทำความเข้าใจการรักษานั้นๆ ได้ และถ้าผู้ให้บริการประเมินว่าบุคคลนั้นสามารถเข้าใจวัตถุประสงค์ทางการแพทย์อย่างถ่องแท้ ก็สามารถมอบหมายการตัดสินใจให้ผู้เยาว์ เว้นแต่ว่าจะมีเหตุอันควรที่ทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถกระทำการได้ และในการฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่อายุต่ำกว่า 16 ปี พวกเขาสามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง มีสิทธิ์ที่จะปฎิเสธไม่รับการฉีดได้ภายใต้ข้อบัญญัติว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานของพลเมืองนิวซีแลนด์ (New Zealand Bill of Rights Act 1990) 

นอกจากนี้ ผู้เขียนได้ยกอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก (United Nations Convention on the rights of the child) (อนุสัญญาที่ประเทศไทยได้เข้าร่วม) ข้อบัญญัติที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการให้ความยินยอมทางการแพทย์ของผู้เยาว์ คือ ข้อ 3 ในการกระทำทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับผู้เยาว์ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของผู้เยาว์เป็นลำดับแรก ข้อ 6 เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิต รัฐต้องดูแลให้เด็กรอดและมีพัฒนาการที่ดีที่สุด และข้อ 12 ผู้เยาว์มีสิทธิแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีโดยได้รับการคุ้มครอง และผู้ใหญ่ควรรับฟัง

แม้ ณ ขณะนี้บ้านเราอาจจะยังไม่มีวัคซีนให้เลือกมากนักและสถานการณ์ผู้ติดเชื้อยังคงเพิ่มเรื่อยๆ แต่ก็ยังคงเป็นสิทธิของมนุษย์คนหนึ่งที่ไม่ว่าจะอายุเท่าไร หรือแม้กระทั่งผู้เยาว์ พวกเขาควรได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง ผ่านการได้รับข้อมูลครบถ้วนประกอบการตัดสินใจ ถูกรับฟังความคิดเห็น และไม่ถูกกดดัน บังคับ

อ้างอิง
การให้ความยินยอมในการรักษาพยาบาลของผู้เยาว์ในประเทศไทย โดย รุ่งรัตน พิมพา
รายงานความก้าวหน้าการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19
เตรียมฉีดวัคซีน Pfizer เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ผู้ปกครองต้องให้ความยินยอม ขณะที่ กทม. เริ่มฉีดวัคซีน
อย.อนุมัติใช้วัคซีน “โมเดอร์นา” เด็ก วัยรุ่น อายุ 12-17 ปี ป้องกันเชื้อโควิด
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550
อนุสัญญาประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก
คำประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย
What rights do NZ children and their parents have when giving consent to be vaccinated?
Care of Children Act 2004
Children and young people – Consent to treatment

Tags:

พ่อแม่สิทธิวัคซีน

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Related Posts

  • Social Issues
    สิทธิเด็กอยู่ตรงไหน (ในการนินทา) ข่าวดาราเลิกกัน: จะเด็จ เชาวน์วิไล

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษาณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • BookFamily Psychology
    การแบ่งปันอารมณ์ความรู้สึกในครอบครัวคือขุมพลังชีวิตของลูก

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Family Psychology
    เล่าเรื่องอย่างใส่ใจใคร่ครวญ: พ่อแม่เข้าใจตัวเองมากเท่าไหร่ ยิ่งเข้าใจลูกมากเท่านั้น

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • 21st Century skills
    ถึงเวลาปลูก ‘ฟาร์มคิดสร้างสรรค์’ โลกต้องการเด็กตั้งคำถามมากกว่าทำตามคำสั่ง

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Family Psychology
    ไม่ผิดหรอกหากพ่อแม่จะกอดตัวเองบ้าง

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

Sex Education: ความเข้าใจเรื่องสิทธิ์เนื้อตัวไม่ได้มาเพราะโชคช่วย ครอบครัวต้องหยุดสร้างทัศนคติ Victim blaming
MovieDear Parents
23 September 2021

Sex Education: ความเข้าใจเรื่องสิทธิ์เนื้อตัวไม่ได้มาเพราะโชคช่วย ครอบครัวต้องหยุดสร้างทัศนคติ Victim blaming

เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • แม้จะชื่อเรื่องว่า Sex Education แต่ไม่ได้มีแค่เรื่องเซ็กส์อย่างเดียว สำหรับเรามันคือซีรีส์ coming of age ที่สวยงาม และยังพูดถึงประเด็นครอบครัวได้อย่างหลากหลายมากๆ
  • ‘เอมี่’ ตัวละครหนึ่งในเรื่อง ขึ้นรถบัสเจอผู้ชายที่ยืนอยู่ข้างหลังกำลังช่วยตัวเอง เอมี่รู้สึกอึดอัดและไม่อยากพูดถึงเรื่องนี้ เพราะยิ่งคิดก็รู้สึกไม่สบายใจ แต่ ‘เมฟ’ เพื่อนสนิทของเอมี่บอกว่านี่มันไม่ใช่เรื่องเล่นเลยนะ มันคือการถูกคุกคาม เลยยืนยันที่จะช่วยพาเอมี่ไปแจ้งตำรวจ
  • เราว่าครอบครัวมีส่วนสำคัญมาก เราเป็นคนนึงที่ถูกแม่สอนว่าอย่ากลับบ้านดึกมันอันตราย โดนฉุด โดนขมขื่นไม่มีใครช่วยนะ คนที่ถูกข่มขืนเป็นคนน่าอาย หรือสอนว่าการแต่งตัวโป๊คือการเอาไว้โชว์ผู้ชายอย่างเดียว ทั้งหมดนี้ช่างเป็นความคิดที่ล้าสมัยมากๆ มันเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุและปลูกฝังความรู้สึกไม่ปลอดภัยอยู่ตลอดเวลาให้กับผู้หญิง

Tags:

วัยรุ่นเพศซีรีส์คุกคามทางเพศ (sexual harassment)

Author:

illustrator

พิมพ์พาพ์

เป็นลูกคนเดียวจากแม่เลี้ยงเดี่ยว เรียกตัวเองว่านักวาดภาพประกอบที่ชอบวาดคนหน้าแมว เผลอเสียน้ำตาให้กับหนังครอบครัวอยู่บ่อยๆ

Related Posts

  • Movie
    Jane The Virgin : สิ่งที่เกิดขึ้นกับยาย ไม่ได้แปลว่ามันจะเกิดกับ ‘เจน’

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Dear ParentsMovie
    Queer eye: รายการที่บอกให้เห็นคุณค่าตัวเอง มั่นใจในสิ่งที่มี และเราสมควรได้รับความรักเช่นกัน

    เรื่องและภาพ พิมพ์พาพ์

  • Dear Parents
    เสียงของเด็กชายที่ไม่มีใครได้ยิน เสียงของเด็กหญิงที่ดังไม่มากพอ

    เรื่อง ณัชชาพร มีสัจ ภาพ ภาพพิมพ์ พิมมะรัตน์

  • Dear ParentsMovie
    Gilmore girls – ซีรีส์ที่ทำให้อยากมีแม่แบบเพื่อน ให้อิสระ อยู่ตรงนั้นเพื่อให้คำปรึกษาและพึ่งพิง

    เรื่องและภาพ พิมพ์พาพ์

  • How to get along with teenager
    รับมือวัยรุ่นยุค SEXTING: สื่อสารให้เข้าใจเรื่องความปลอดภัยของตัวลูกเอง

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

Silent Treatment :  ‘เงียบใส่’ เพื่อรักษาความสัมพันธ์หรือลงโทษทำร้ายจิตใจอีกฝ่าย
Relationship
22 September 2021

Silent Treatment : ‘เงียบใส่’ เพื่อรักษาความสัมพันธ์หรือลงโทษทำร้ายจิตใจอีกฝ่าย

เรื่อง จณิสตา ธนาธรชัย ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • หลายครั้งที่ผู้คนเลือกใช้ ‘ความเงียบเฉย’ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในความสัมพันธ์ โดยอาจแสดงออกมาในรูปแบบ ‘การเมินเฉย’ หรือ ‘อาการงอน’
  • บางคนอาจเลือกใช้ความเงียบเฉยเพื่อหลีกเลี่ยงการพูดตรงๆ ที่อาจนำไปสู่ความร้าวฉานในความสัมพันธ์ แต่บางคนอาจใช้วิธีการดังกล่าวเพื่อเป็นเครื่องมือสร้างรอยร้าวขึ้นแทน
  • การเข้าใจเจตนาและที่มาที่ไปของความเงียบเฉยจะทำให้เรารู้เท่าทันได้ว่าควรจัดการอย่างไรกับปัญหาที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์

งอน ไม่ยอมคุยด้วย ทำตัวห่างเหิน…

อาการที่หลายคนอาจเคยเป็นกันเวลาเจอเหตุการณ์ที่ไม่ได้ดั่งใจ บางคนเลือก ‘ไม่คุยด้วย’ เพื่อป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งลุกลามใหญ่โต โดยเลือกที่จะเงียบไปก่อน ค่อยกลับมาคุยเมื่ออารมณ์ดีขึ้น หรือเลือก ‘งอน’ ‘ทำตัวห่างเหิน’ เพื่อลงโทษอีกฝ่าย ด้วยความผิดที่เรามองว่าเขาเป็นต้นเหตุ

และเหตุผลอื่นๆ อีกมากมายที่ทำให้เราเลือกแสดงอาการนี้ออกมา ในสายตาบางคนอาจคิดว่านี่เป็นพฤติกรรมปกติ เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ส่งผลร้ายแรง อาจสร้างความหงุดหงิดใจ แต่จะหายไปเมื่อได้ทำความเข้าใจกัน แต่ความเคยชินที่ทำให้เรามองว่าพฤติกรรมนี้ธรรมดา จนมองไม่เห็นว่าข้างในซ่อนเข็มพิษไว้ เพราะพฤติกรรมเหล่านี้ถือเป็นหนึ่งใน Emotional Abuse หรือการใช้อารมณ์ควบคุมอีกฝ่ายเพื่อให้ได้สิ่งที่เราต้องการ เรียกว่า ความเงียบเฉย (Silent Treatment)

โดยทั่วไปความเงียบเฉย คือ ความพยายามของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในการยุติการสนทนาในระหว่างการโต้เถียง โดยปิดกั้นอีกฝ่ายออกไป และเริ่มปฏิเสธที่จะมีส่วนร่วมในการถกเถียงต่อไปไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม พฤติกรรมนี้สามารถเกิดขึ้นในความสัมพันธ์หรือสภาพแวดล้อมประเภทใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน เพื่อนสนิท สมาชิกในครอบครัว หรือคู่รัก 

มีหลายเหตุผลที่คนเลือกใช้วิธีนี้ กลุ่มคนที่คิดว่าตัวเองเป็นคนที่มีความสามารถในการควบคุมตนเองสูง จะมองว่าความเงียบเฉยเป็นวิธีการที่ถูกต้องชอบธรรม เป็นการกระทำที่ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ และพวกเขายังเชื่อว่า การเลือกที่จะเงียบนั้นไม่ใช่การยอมแพ้ในการโต้เถียง

นอกจากนี้ การสร้างกำแพงขณะสนทนาอาจเป็นความพยายามในการป้องกันตนเอง นั่นคือมีความกลัวต่ออีกฝ่ายหรือกลัวความขัดแย้งมากกว่าที่จะเป็นเจตนาร้าย การสร้างกำแพงเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการเงียบเฉย แต่จะต่างไปจากการเงียบเฉยด้วยเงื่อนไขของเวลา โดยทั่วไปแล้วการสร้างกำแพงจะเกิดขึ้นระหว่างการสนทนา ในขณะที่การเงียบเฉยอาจกินเวลานานหลายสัปดาห์ หลายเดือน หรือกระทั่งหลายปี 

รักษาความสัมพันธ์หรือทำร้ายจิตใจ

การเงียบเฉยสามารถเป็นหนึ่งในรูปแบบของการควบคุมหรือทำร้ายจิตใจ (Emotional Abuse) ได้ หากใช้การเงียบเฉยเป็นประจำทุกครั้งที่เกิดการโต้เถียงกัน เป็นที่รู้กันดีว่าการเงียบเฉยนั้นหลายครั้งเป็นจุดจบของความสัมพันธ์คู่รัก ความสัมพันธ์ฉันท์มิตร และยังมีผลเสียต่อการเจริญเติบโตของเด็กเมื่อเด็กถูกพ่อแม่หรือผู้ปกครองหมางเมิน ผลกระทบจากพฤติกรรมเหล่านี้อาจสร้างความเสียหายให้แก่สภาพจิตใจได้ 

ผู้ที่ถูกเมินเฉยจะรู้สึกว่าพวกเขาต่ำต้อยกว่าคนอื่น และเชื่อว่าบุคคลที่ปิดกั้นพวกเขาออกไปก็คิดว่าพวกเขาด้อยกว่าเช่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่าการขาดการสื่อสารนั้นมีผลตามมาที่รุนแรงเพราะเป็นการปฏิเสธความต้องการพื้นฐานทางสังคมและความสัมพันธ์ของมนุษย์

พ่อแม่ที่เพิกเฉยลูก การถูกตัดขาดจากครอบครัว เด็กๆ ที่ไม่ถูกรวมกลุ่มช่วงที่ต้องเข้าสังคมหรือเล่นเกม การถูกกีดกันโดดเดี่ยวจากกลุ่มเพื่อน การไม่ถูกรวมเข้ากลุ่มจากเพื่อนร่วมงาน การถูกคว่ำบาตรบนโลกออนไลน์ การรุกล้ำทางอ้อมอื่นๆ พฤติกรรมเหล่านี้อาจคุกคามสุขภาพจิตในหลายด้านเพราะผู้ที่ประสบกับความเงียบเฉยหลายคนจะรู้สึกเหมือนสูญเสียการควบคุม 

งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าความรู้สึกถูกกีดกันบ่อยครั้งสามารถลดความมั่นใจและความเป็นเจ้าของในตนเองได้ ผลกระทบนี้อาจรุนแรงขึ้นเมื่อมีคนใกล้ตัวทำการเงียบเฉยใส่เพื่อเป็นการลงโทษ

แม้ว่าบางครั้งการเงียบเฉยจะเป็นตัวเลือกที่ดีในการหลีกเลี่ยงการพูดสิ่งที่เราอาจเสียใจในภายหลัง ผู้คนมักใช้วิธีนี้ในเวลาที่พวกเขาไม่อยากพูดความรู้สึกของตนเองหรือรู้สึกกดดัน แต่บางครั้งผู้คนอาจเลยเถิดใช้การเงียบเฉยเป็นเครื่องมือเพื่อให้ตัวเองมีอำนาจเหนือผู้อื่น หรือเพื่อสร้างระยะห่างทางอารมณ์ คนที่ใช้การเงียบเฉยเป็นเครื่องมือมักมีเป้าหมายเพื่อควบคุม พวกเขาจะเมินเฉยคุณหลายวันหรือหลายสัปดาห์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของพวกเขา พฤติกรรมและเจตนาแบบนี้เรียกว่าการทำร้ายจิตใจ

ในด้านการรับมือกับอาการหมางเมินเงียบเฉย บางคนอาจจะมีความยืดหยุ่นต่อพฤติกรรมดังกล่าว แต่บางคนกลับสัมผัสได้ถึงความรุนแรงของการกระทำนี้เช่นเดียวกับการถูกละเลยเป็นเวลานานหรือการถูกทำร้ายร่างกาย ในบางกรณี ผู้ที่ใช้ความเงียบเฉยอาจเชื่อว่าตัวเองเลือกใช้ความเงียบเพื่อหลีกเลี่ยงการโต้เถียงที่ทวีความรุนแรงขึ้นหรือเพื่อรักษาความรู้สึกของอีกฝ่าย แต่อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุด การเลือกใช้ความเงียบเฉยก็ถือเป็นวิธีการจัดการ ลงโทษ และควบคุมผู้อื่นอยู่ดี

สัญญาณของการทำร้ายจิตใจ

แน่นอนว่าการเงียบเฉยอาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำร้ายจิตใจเสมอไป บางคนเพียงแค่ขาดทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพหรือแค่ต้องการเวลาจัดการตนเองก่อน แต่สำหรับคนที่ชอบทำร้ายจิตใจผู้อื่นนั้น การเงียบเฉยถือเป็นเครื่องมือในการควบคุม นี่เป็นสัญญาณบางประการที่บ่งบอกว่าพฤติกรรมเงียบเฉยได้ล้ำเส้นไปเป็นการทำร้ายความรู้สึก  

  • ความเงียบเฉยเกิดขึ้นบ่อยครั้งและกินเวลาเป็นเวลานาน
  • ความเงียบเฉยเกิดเพื่อลงโทษ ไม่ใช่เพื่อให้อีกฝ่ายใจเย็นลง
  • ทำการตัดสินใจแทนคุณโดยไม่ถามความสมัครใจหรือขออนุญาต
  • เราต้องเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเงียบเฉยใส่

ที่กล่าวข้างต้น แม้ว่าจะไม่ได้มีผลทางร่างกาย แต่ผลจากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทำร้ายจิตใจนั้นสามารถทำให้เกิดผลกระทบทางจิตใจได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ผู้ที่ถูกเมินเฉยใส่นั้นอาจกลายเป็นคนที่มีความมั่นใจในตัวเองต่ำ บางครั้งถึงขั้นรู้สึกโดดเดี่ยวสิ้นหวัง และอาจเป็นปัจจัยร่วมในความเจ็บป่วยบางอย่าง เช่น โรคซึมเศร้า โรคอ่อนล้าเรื้อรัง หรือ โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia กลุ่มอาการปวดเรื้อรัง) ได้เลยทีเดียว

การรับมือกับการเงียบเฉย

มีงานวิจัยบางชิ้นระบุว่าในความสัมพันธ์ฉันท์คู่รัก คู่รักบางคู่เชื่อว่าการใช้ Silent Treatment จะนำไปสู่การแก้ไขข้อขัดแย้งได้ แต่พฤติกรรมเงียบเฉยอาจมีแนวโน้มส่งผลให้รู้สึกขุ่นเคืองติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน  เพื่อแก้ไขความขัดแย้งโดยไม่ต้องใช้ Silent treatment ในการแก้ปัญหา นี่เป็นอีกแนวทางที่อาจเป็นประโยชน์และช่วยคลี่คลายความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดให้ดีขึ้นได้ 

  1. ใช้วิธีการแบบสุภาพโดย ‘นึกถึงใจเขา’

หากการเงียบเฉยไม่ใช่พฤติกรรมที่อีกฝ่ายทำกับเราเป็นประจำ แนวทางที่สุภาพอาจเป็นวิธีที่ดีในการเริ่มต้นการสนทนาเพื่อหาทางออก คือ ถามอีกฝ่ายว่าเราอยากรู้ว่าทำไมเขาถึงแสดงพฤติกรรมนี้ออกมา ทำไมถึงงอน ไม่คุยกับเรา อธิบายว่าเราอยากรู้สาเหตุเพื่อปรับความเข้าใจ ถ้าหากปัญหาที่เกิดขึ้นเรามีส่วนผิด การขอโทษคือสิ่งที่เราควรทำ แต่ถ้าพวกเขายังไม่ยอมคุยด้วย เราสามารถบอกพวกเขาว่าเข้าใจว่าอาจต้องการเวลาส่วนตัว แต่อย่าลืมบอกเขาด้วยว่าเราเองก็ต้องการเขากันเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน

  1. หรือนึกถึงใจตัวเอง

บอกอีกฝ่ายไปเลยว่า การถูกเมินเฉยทำให้เรารู้สึกไม่ดีและโดดเดี่ยว ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการในความสัมพันธ์ อธิบายว่าเราไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยการเผชิญหน้ากับพฤติกรรมนี้ได้ แล้วเจาะจงเกี่ยวกับประเด็นปัญหานั้นๆ เพราะถ้าเรารู้สึกว่าพฤติกรรมเช่นนี้ทำให้ความสัมพันธ์ร้าวฉานก็ควรพูดออกมาตามตรง

  1. ไม่สนใจและปล่อยผ่าน

บางครั้งการไม่สนใจพฤติกรรมดังกล่าวอาจเป็นวิธีที่ง่ายกว่า เพราะในกรณีนี้สิ่งที่อีกฝ่ายต้องการ คือ ทำให้เรารู้สึกแย่และตัดสินใจที่จะเป็นคนเริ่มก่อน และรอให้เราเป็นคนเปิดประเด็นและยอมเพื่อเอาใจเขา นี่เป็นวิธีการเชิงรับเพื่อให้เรารุกโดยมีเจตนาเพื่อให้เรายังอยู่ในความควบคุมเขา ดังนั้น การปล่อยผ่านไปอาจแสดงให้เขาเห็นว่าการแสดงพฤติกรรมเช่นนี้ ไม่มีทางจะทำให้เขาได้สิ่งที่ต้องการจากเรา

  1. เสนอแนวทางแก้ไข

วางแผนว่าเราจะต้องพูดคุยกันอย่างไรเมื่อบทสนทนาเริ่มตึงเครียดและจะหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเงียบใส่ที่เริ่มก่อตัวอย่างไร รับฟังและพูดทวนสิ่งที่อีกคนพูดเพื่อที่จะได้เข้าใจว่าต่างฝ่ายต่างกำลังคาดหวังอะไร ตั้งกฎสำหรับการสื่อสารที่ดีขึ้นในอนาคต ถ้าเราอยู่ในความสัมพันธ์ฉันท์คู่รัก การไปพบกับผู้ให้คำปรึกษาด้านชีวิตคู่เพื่อหาวิธีการใหม่ๆ ในการจัดการกับปัญหาระหว่างกัน

  1. ยืนหยัดเพื่อตัวเอง

เมื่อการเงียบเฉยไต่ระดับไปสู่การทำร้ายจิตใจแล้ว นั่นแปลว่าเรากำลังอยู่ในความสัมพันธ์ที่ไม่ดี (Toxic Relationship) ถึงเวลาแล้วที่เราควรให้ความสำคัญกับตัวเองก่อน หากเราเชื่อว่าความสัมพันธ์นี้ควรค่าแก่การรักษาไว้ ควรกำหนดขอบเขตพฤติกรรมที่เรายอมรับได้และความคาดหวังที่จะได้รับเพื่อความสัมพันธ์ที่มั่นคงในอนาคต นอกจากนี้ ควรพูดตามตรงว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเกิดการล้ำเส้นที่เราขีดไว้และเราต้องทำตามที่พูด หากไม่มีวี่แววว่าอีกฝ่ายจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ ลองพิจารณาทางเลือกถอยออกมาจากความสัมพันธ์แทน

ข้อควรระวัง

เมื่อต้องมีการโต้ตอบกับอีกฝ่ายที่ใช้พฤติกรรมเงียบใส่ ข้อห้ามบางประการที่เราควรหลีกเลี่ยง…

  • โต้ตอบด้วยความโกรธ เพราะจะทำให้สถานการณ์ตึงเครียดขึ้น
  • ขอร้องหรืออ้อนวอน เพราะจะยิ่งเป็นการสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมนี้มากขึ้นอีก
  • ขอโทษเพื่อให้ทุกอย่างจบแม้ว่าเราจะไม่ได้ทำอะไรผิด
  • ยังพยายามที่จะมีเหตุผลกับอีกฝ่าย แม้เราจะลองทำไปแล้ว
  • ขู่ว่าจะจบความสัมพันธ์ เว้นเสียแต่ว่าเราพร้อมที่จะทำแบบนั้นจริงๆ

แม้ว่าการเงียบเฉยจะไม่ได้เกิดจากเจตนาร้ายเสมอไป แต่ยังไงก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อความสัมพันธ์ เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาการทำร้ายจิตใจกันและกัน เราอาจต้องเป็นคนพิจารณาว่าเมื่อเกิดพฤติกรรมเช่นนี้ เราควรพัฒนาความสัมพันธ์ต่อไป หรือเอาตัวเองออกมาจากสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีต่อสุขภาพจิต เพื่อปกป้องจิตใจของเรา

อย่าโทษว่าเป็นความผิดของตัวเองหากความสัมพันธ์นั้นจบลงไม่สวย ไม่ใช่ความผิดของเราด้วยที่ทำให้อีกฝ่ายแสดงพฤติกรรมเงียบใส่ และเราไม่มีหน้าที่รับผิดชอบพฤติกรรมของเขา ไม่ว่าเขาจะกล่าวหาเราด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม สิ่งสำคัญ คือ หากความสัมพันธ์นั้นควรค่าแก่การรักษาไว้ พฤติกรรมเงียบเฉยจะไม่ล้ำเส้นมาเป็นการทำร้ายจิตใจ เพราะจะไม่มีการแพ้-ชนะในความสัมพันธ์หากเราใส่ใจกันมากพอ

อ้างอิง
Silent Treatment
How to Respond When Someone Gives You the Silent Treatment

Tags:

แบบแผนทางความสัมพันธ์ความรักToxic relationshipความเงียบเฉย (Silent Treatment)

Author:

illustrator

จณิสตา ธนาธรชัย

นัก (ทดลอง) เขียนธรรมดาและนักอ่านวรรณกรรม(ฝึกหัด) ชื่นชอบหนังแอคชั่น เรื่องลี้ลับ และการ์ตูนslam dunk

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Relationship
    ทำไมต้องรักตัวเองให้ได้ก่อนจะรักคนอื่น

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Family Psychology
    การเข้าใจผิดเรื่องการเลี้ยงดู EP.3 ความรักที่ไม่เคยได้รับในวัยเยาว์ บาดแผลทางใจที่รอการเยียวยา

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Relationship
    สามเหลี่ยมความรัก : ตอนนี้เรารักกันแบบไหน

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Relationship
    เหมือนดูเย็นชา แต่ใช่ว่าไม่รัก

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Social Issues
    แยกความรักออกจากการทำร้ายร่างกาย: คุยกับ เบส-SHero เรื่องการก้าวออกจากความรุนแรงในครอบครัว 

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษาณิชากร ศรีเพชรดี

วัยเยาว์ที่ถูกพรากไป ในโลกที่ไม่ปลอดภัยดังเดิม : EP.3 แนวทางในการเตรียมความพร้อมให้กับลูกก่อนเข้าสู่สังคม (โรงเรียน)
Early childhood
22 September 2021

วัยเยาว์ที่ถูกพรากไป ในโลกที่ไม่ปลอดภัยดังเดิม : EP.3 แนวทางในการเตรียมความพร้อมให้กับลูกก่อนเข้าสู่สังคม (โรงเรียน)

เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • ในวันที่เด็กๆ ต้องกลับเข้าสังคม ภายหลังกักตัวอยู่บ้านเป็นระยะเวลายาวนาน การเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจอาจจะเป็นสิ่งที่พ่อแม่และผู้ใหญ่ควรเตรียมให้เขา เพื่อให้พวกเขาก้าวออกจากบ้านด้วยความมั่นใจ
  • ในสภาวะที่เด็กต้องอยู่แต่บ้าน ออกไปเจอใครๆ ก็มักมีหน้ากากอนามัยบดบังครึ่งล่างของใบหน้าตลอด ทำให้เด็กๆ ขาดโอกาสในการสังเกตสีหน้าท่าทางผู้อื่น รวมทั้งการที่ตัวเองรู้สึกอย่างไรก็แสดงออกให้คนอื่นรับรู้ได้ลำบาก
  • พ่อแม่และคนที่บ้านเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้จักอารมณ์ตัวเองและผู้อื่น การใช้เวลาเล่นกับลูก มองหน้าสบตา ยิ้ม หัวเราะ พูดคุยกัน ทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อารมณ์ตัวเอง
  • ก่อนจะส่งลูกออกจากอ้อมอก เด็กควรจะรับรู้ว่า ‘พ่อแม่มีอยู่จริง’ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว การส่งเขาไปโรงเรียนก่อนวัยแยกจาก เด็กอาจจะรับรู้อย่างเข้าใจผิดไปว่า ‘พ่อแม่ไม่ต้องการฉันหรือเปล่า?’ ดังนั้นพ่อแม่ควรมีเวลาคุณภาพให้กับลูก

ในวันที่เด็กปฐมวัยต้องกลับไปโรงเรียนและเผชิญกับการปรับตัวจากการแยกจาก

หลังจากที่เด็กปฐมวัยกักตัวอยู่บ้านเป็นระยะเวลายาวนาน ในวันที่สถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ พวกเขาต้องกลับสู่สังคมโรงเรียนอีกครั้ง การเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจอาจจะเป็นสิ่งที่พ่อแม่และผู้ใหญ่สามารถให้ความช่วยเหลือกับเด็กปฐมวัยได้ เพื่อให้พวกเขาก้าวออกจากบ้านด้วยความมั่นใจ

การเตรียมความพร้อมให้เด็กปฐมวัยก่อนเข้าสู่สังคม

ตามพัฒนาการเด็ก ความวิตกกังวลในการแยกจากมักเกิดขึ้นในเด็กปฐมวัย 0 – 6 ปี เนื่องจากเด็กๆ ยังไม่สามารถแยกจากได้อย่างสมบูรณ์ (Ainsworth, 1979) หากเด็กๆ ยังอยู่ในช่วงวัยดังกล่าว การที่พวกเขายังไม่พร้อมจากโดยสมบูรณ์ การแยกจากนั้นนับเป็นเรื่องปกติ ทั้งนี้ หากมีเตรียมความพร้อมให้กับเด็กๆ ทางร่างกายและจิตใจ จะช่วยให้พวกเขาปรับตัวเข้าสู่สังคมได้ดีขึ้น

แนวทางในการเตรียมความพร้อมให้กับลูก 

ข้อที่ 1 พ่อแม่มีอยู่จริง

ก่อนจะส่งลูกออกจากอ้อมอก เด็กควรจะรับรู้ว่า ‘พ่อแม่มีอยู่จริง’ เพราะไม่เช่นนนั้นแล้ว การส่งเขาไปโรงเรียนก่อนวัยแยกจาก เด็กอาจจะรับรู้อย่างเข้าใจผิดไปว่า ‘พ่อแม่ไม่ต้องการฉันหรือเปล่า?’ ดังนั้นพ่อแม่ควรมีเวลาคุณภาพให้กับลูก ถ้าพ่อแม่ต้องทำงานควรแบ่งเวลาให้กับลูกอย่างน้อย 15 นาที – 1 ชั่วโมงต่อวันให้กับเขา อ่านนิทาน เล่นกับลูก นอนกอด ทำงานบ้าน หรือ ทำอะไรด้วยกัน เพื่อให้ลูกได้รับรู้ถึงการมีอยู่จริงของเรา และรับรู้ว่าตัวเขาเองก็มีอยู่จริงสำหรับพ่อแม่ เขายังเป็นที่รักและที่ต้องการจากเรา แม้ในวันที่พ่อแม่จำเป็นต้องส่งเขาไปโรงเรียนก่อนวัยอันควร

เมื่อส่งลูกไปโรงเรียน สัญญากับลูกว่า ‘จะมารับเขาทันทีหลังเลิกเรียน จะมายืนรอรับที่ไหน’ พ่อแม่ต้องทำตามสัญญาด้วย ถ้าทำผิดสัญญา เด็กจะจดจำและอาจจะไม่ไว้ใจเราไปอีกนาน ดังนั้นหากมีเหตุฉุกเฉินควรบอกลูกไว้ก่อน หรือ โทรมาบอกทางโรงเรียนเสมอ

ข้อที่ 2 สอนการช่วยเหลือตนเองตามวัย (Self care)

เด็กปฐมวัยที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดีมักจะมีความมั่นใจในตนเอง เพราะเด็กที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ตามวัย จะสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ ส่งผลให้เขาไม่กลัวการเจอผู้คนใหม่ๆ ในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย 

ดังนั้น การที่เด็กๆ กินข้าวเองเป็น แต่งตัวเป็น อาบน้ำและแปรงฟันเองได้ แม้จะไม่สะอาดเอี่ยมอ่อง แต่พวกเขาไม่จำเป็นต้องรอให้ผู้อื่นมาทำให้ เด็กๆ จะรับรู้ถึงศักยภาพที่ตัวเองมี ซึ่งนำไปสู่การมีความมั่นใจในตัวเอง

ข้อที่ 3 การทำตามตารางเวลา 

ทุกๆ บ้านควรมีตารางเวลาที่ชัดเจน อย่างน้อยต้องมีเวลาตื่นนอน กินข้าวเช้า กลางวัน เย็น เวลาเล่น ทำงานบ้าน เวลาอาบน้ำ เวลานอน เพราะเมื่อเด็ก ๆ เข้าสู่สังคมโรงเรียน พวกเขาต้องเรียนรู้ที่จะทำตามตารางเวลาที่โรงเรียน แต่ถ้าเขาไม่เคยทำตามตารางเวลามาก่อน เขาอยากกิน อยากนอน อยากเล่น อยากทำอะไรเวลาไหนก็ได้ เด็กจะปรับตัวยากขึ้นที่โรงเรียน เพราะที่โรงเรียนทุกคนกินเวลาเดียวกัน นอนกลางวันเวลาเดียวกัน ดังนั้นเมื่อลูกต้องเข้าโรงเรียน ลองสอบถามตารางเวลาที่โรงเรียนว่า เข้าเรียน กินข้าว นอนกลางวัน เวลาไหนบ้าง ให้นำเวลาดังกล่าวมาลองปรับเป็นตารางเวลาที่บ้าน แล้วให้ลูกทำตามอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้เวลานอนของเด็กเล็กต่อคืนควรอยู่ที่ 10-12 ชั่วโมง เวลาเล่นวันละ 2 ชั่วโมงอย่างต่ำ (สามารถแบ่งย่อยเวลาได้)

ข้อที่ 4  การเล่น เพื่อช่วยเตรียมพร้อมร่างกายและจิตใจ

(1) การเล่นเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับกล้ามเนื้อมัดเล็ก-มัดใหญ่

“เด็กคนหนึ่งจะเรียนรู้ได้ดี ต้องมีร่างกายที่พร้อมก่อนเสมอ” ผู้ใหญ่จึงควรส่งเสริมเรื่อง ร่างกายและการช่วยเหลือตัวเองเป็นสำคัญ ก่อนจะกังวลเรื่องของการเขียนการอ่าน ที่สำคัญเด็กปฐมวัยควรเล่นอย่างน้อย 2 – 3 ชั่วโมงต่อวัน

กล้ามเนื้อมัดใหญ่-มัดใหญ่แข็งแรงและเคลื่อนไหวได้ตามวัย ซึ่งเกิดจากการเล่นอย่างเต็มที่

ขา-เท้า เดิน วิ่ง กระโดดขาคู่ ขาเดียว ไปข้างหน้าอย่างมั่นคง

แขนแกว่งไกว ปีนป่ายอย่างคล่องแคล่ว

มือกำ หยิบ จับ โยน ขว้าง อย่างแม่นยำ

นิ้วมือทั้งสิบ หยิบ หนีบ กด ฉีก ตัด อย่างแข็งแรง

หากที่บ้านมีพื้นที่จำกัด เราสามารถนำเทปกาวมาติดเมื่อทำเป็นเส้นทางให้เด็ก ๆ เดินต่อเท้า กระโดดไปข้างหน้า หรือ จะนำเฟอร์นิเจอร์ หมอน และของใช้ภายในบ้านมาทำเป็นด่านอุปสรรคให้เด็ก ๆ มุด ลอด คลาน ข้ามไป ก็สามารถทำได้เช่นกัน

(2) การเล่นเพื่อช่วยให้เด็กปฐมวัยสามารถปรับตัวกับการแยกจากได้ดีขึ้น

การเล่นซ่อนแอบ การเล่นซ่อนของ เพราะการเล่นแบบนี้ทำให้เด็กพัฒนาความคิดเรื่อง ‘วัตถุมีอยู่จริง (Object permanent)’ อธิบายง่ายๆ ว่า สิ่งของแม้จะไม่ได้อยู่ในลานสายตาเราแล้ว เช่น โดนเอาไปซ่อน อยู่ใต้ผ้าห่ม สิ่งของนั้นมีอยู่จริง ไม่ได้หายไปจากโลกใบนี้ เมื่อเด็กพัฒนาความคิดเรื่องวัตถุมีอยู่จริง บุคคล คือ พ่อแม่ย่อมมีอยู่จริงเช่นกัน แม้พ่อแม่จะมาส่งแล้วไปทำงาน พ่อแม่จะกลับมารับเขาตอนเย็น พ่อแม่ไม่ได้ทิ้งเขาไปไหน

นอกจากนี้การเล่นกับธรรมชาติสามารถช่วยส่งเสริมเด็กในเรื่องของการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เช่นกัน เพราะการที่เด็กสามารถสัมผัสผิวสัมผัสของธรรมชาติที่หลากหลาย ทั้งเปียก ทั้งแห้ง มั่นคง ไม่มั่นคง เลอะเทอะ สะอาด ทำให้เด็กมีความมั่นใจที่จะเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยคนมากมายมากขึ้น คนก็ถือเป็นสภาพแวดล้อมที่คาดเดาได้ยากสำหรับเด็ก เขาต้องเข้าไปอยู่ในห้องเรียนที่มีเพื่อนๆ ที่มีความหลายหลาก

ข้อที่ 5 พ่อแม่ดูแลอยู่ห่างๆ ดูแลความปลอดภัย ลดการช่วยเหลือที่เร็วเกินไป

แม้ว่าเป็นเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องมีผู้ใหญ่ดูแลใกล้ชิด แต่ไม่ได้หมายความว่า เราต้องเข้าไปดูแล ทำทุกอย่างให้กับเด็กๆ ในทางกลับกันเราสามารถปล่อยให้พวกเขาเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ หากสิ่งนั้นไม่ได้เป็นอันตรายสำหรับสำหรับเขา หรือ ตัวเขาไม่ได้ทำให้ตัวเองและผู้อื่นเดือดร้อน ผู้ใหญ่ควรปล่อยเด็กๆ ได้เล่น ทดลอง และเรียนรู้ในแบบของพวกเขาเอง ที่สำคัญควรลดการช่วยเหลือที่เร็วเกินไป เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กๆ แก้ปัญหาด้วยตนเองมากขึ้น

ข้อที่ 6 ส่งเสริมการสื่อสารตามวัย

เด็กปฐมวัยอยู่ในช่วงวัยที่กำลังฝึกการสื่อสารผ่านการใช้คำพูด ดังนั้น ถ้าเด็กๆ สื่อสารไม่เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น เขาอยากให้ช่วย แต่กลับใช้การร้องไห้ โวยวาย หรือ ใช้คำสั่ง แทน การพูดขอให้ช่วยดีๆ 

ในกรณีที่เด็กร้องไห้ อาละวาดโวยวาย ผู้ใหญ่ควรรอเขาสงบให้เรารอเขาสงบ แล้วพูดถามเขาว่า “ลูกอยากให้ช่วยอะไร?” แล้วให้เขาตอบกลับมา จากนั้นเราค่อยช่วยเขา

ในกรณีที่เด็กใช้คำสั่ง ผู้ใหญ่สามารถพูดกับเขาได้ว่า “พ่อ/แม่ยินดีช่วยนะ แต่ให้ลูกพูดขอดีๆ 

เช่น ช่วยเปิดหน่อยครับ ขออีกชิ้นครับ ขอหน่อยค่ะ เป็นต้น

ในขณะเดียวกัน ผู้ใหญ่ไม่ควรรู้ใจเด็กๆ จนเกินไป และทำสิ่งต่างๆ ให้พวกเขา โดยที่เด็กๆ ยังไม่สื่อสาร หรือ ขอให้เราความช่วยเหลือจากเราเลย การทำเช่นนี้จะส่งผลให้เด็กๆ ขาดโอกาสที่จะสื่อสารอย่างเหมาะสม และเคยชินกับการที่คนอื่นต้องรู้ใจเขา เมื่อเข้าสู่สังคม เด็กๆ อาจจะติดปัญหาเรื่อง การสื่อสารเพื่อบอกความต้องหรือปฏิเสธอย่างเหมาะสมกับผู้อื่น

ข้อที่ 7 เรียนรู้เรื่องอารมณ์จากคนในบ้าน

เด็กปฐมวัย สามารถเริ่มเรียนรู้อารมณ์ขั้นพื้นฐาน ได้แก่ เศร้า มีความสุข ได้ตั้งแต่เขาเริ่มสื่อสาร และจะเรียนรู้อารมณ์ต่างๆ ที่ละเอียดขึ้นในวัยต่อๆ มา

ยิ่งเด็กได้เรียนรู้ว่า “ตนเองนั้นรู้สึกอย่างไรอยู่” จะนำไปสู่การเข้าใจตนเอง และการแสดงออกที่เหมาะสมมากขึ้น

ผู้ใหญ่สามารถสอนเรื่องอารมณ์ในเด็กผ่านการแสดงสีหน้า หรือเล่นบทบาทสมมติกับเขา

ในสภาวะที่เด็กๆ ต้องอยู่แต่บ้าน และเวลาออกไปเจอใครๆ ก็มักจะมีหน้ากากอนามัยบดบังครึ่งล่างของใบหน้าตลอด ทำให้เด็กๆ ขาดโอกาสในการสังเกตสีหน้าท่าทางผู้อื่น รวมทั้งการที่ตัวเองรู้สึกอย่างไรก็แสดงออกให้คนอื่นรับรู้ได้ลำบาก ดังนั้น พ่อแม่และคนที่บ้านเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้จักอารมณ์ตัวเองและผู้อื่น การใช้เวลาเล่นกับลูก มองหน้าสบตา ยิ้ม หัวเราะ พูดคุยกัน ทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อารมณ์ตัวเองและคนที่พวกเขารัก

ข้อที่ 8 การทำตามกติกา เรียนรู้การรอคอยและผลัดกันเล่นกับคนในบ้าน

ครอบครัว คือ สังคมแรกที่เด็ก ๆ สามารถสอนเด็ก ๆ ในเรื่องของการทำตามกติกาและการรอคอย เวลาเล่นกับลูก พ่อแม่สามารถสอนเขาให้รู้จักการรอคอยให้ถึงตาตัวเอง และกติกาอย่างง่ายได้ 

เช่น กิจกรรมรับส่งบอล เด็กโยนให้พ่อ/แม่ โยนเสร็จต้องรอพ่อ/แม่ส่งกลับมาให้, กิจกรรมบอร์ดเกม เมื่อทอยลูกเต๋า ต้องเดินจากเลขที่ได้ ไม่ใช่เดินตามใจชอบ และเมื่อถึงตาคนอื่น ก็ต้องรู้จักรอคอย เมื่อผลออกมาว่า แพ้-ชนะ ก็ต้องเรียนรู้ที่จะยอมรับผลนั้น เป็นต้น

นอกจากเด็กๆ จะได้เรียนรู้เรื่องการทำตามกติกา และการรอคอยแล้ว พวกเขายังได้เรียนรู้การเข้าสังคมจากการเล่นกับพ่อแม่ พี่น้อง และผู้ใหญ่คนอื่นๆ ภายในบ้านอีกด้วย

ข้อสำคัญ ผู้ใหญ่ไม่ควรยอมให้เด็กๆ ชนะตลอด เพราะพวกเขาจะคิดว่าทุกคนจะต้องยอมเขา การเล่นเกมหรือเล่นกับลูก เราอาจจะผลัดกันนำ ผลัดกันตามตามบ้าง เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ทั้งความรู้สึกของการเป็นผู้นำและผู้ตาม ที่สำคัญคือเกมมีกติกาไว้แบบไหน ให้เรายึดตามกติกาของเกมนั้น ไม่จำเป็นต้องตามใจเด็ก ๆ จะช่วยให้เขาเรียนรู้กติกาและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นมากยิ่งขึ้น

ในวันที่เด็ก ๆ ก้าวขาออกจากบ้านเข้าสู่รั่วโรงเรียน วันนั้นหน้าที่ของพ่อแม่ คือ การสนับสนุนลูกและให้คำแนะนำยามที่ลูกต้องการ แม้จะไม่ได้ช่วยประคับประครองเขาตลอดเวลาเหมือนตอนวัยแบเบาะ แต่พ่อแม่จะอยู่เคียงข้างเพื่อให้ลูกมั่นใจได้ว่า ถ้าหากเขาล้มหรือเจออุปสรรคใด ๆ พ่อแม่จะรอเขาอยู่ที่บ้าน ให้เขาได้มาพักใจจากสิ่งที่เขาต้องเผชิญ เพื่อว่าในวันพรุ่งนี้เขาจะไปสู่กับมันใหม่

ดังนั้น บ้านจึงควรเป็นสถานที่ปลอดภัย อบอุ่น สบายใจ และสามารถเป็นที่พึ่งพิงให้เขาได้ ถ้าเด็ก ๆ กลับบ้านมา มีพ่อแม่ที่คอยรับฟังพวกเขา เด็ก ๆ จะอยากเล่าเรื่องราวให้เราฟัง ไม่ว่าเรื่องจะร้ายหรือดี พวกเขาจะกล้าเล่าให้เราฟัง เมื่อมีปัญหาหรือมีสิ่งที่พวกเขาไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง คนที่บ้านพร้อมจะให้คำแนะนำหรือให้ความช่วยเหลือแก่เขา เช่น ในวันที่ลูกทำการบ้านไม่ได้ พ่อแม่ยินดีที่จะสอนเขา แม้ว่าพ่อแม่จะทำไม่ได้ ก็พร้อมจะหาคำตอบไปพร้อมกับลูก

สุดท้าย เด็กปฐมวัยทุกคน ควรได้รับความรักจากผู้เลี้ยงดูที่รักเขาอย่างปราศจากเงื่อนไข รักเขาในแบบที่เขาเป็น และเตรียมความพร้อมให้เขาออกไปเผชิญโลกที่แสนกว้างใหญ่ต่อไป

อ้างอิง
Ainsworth, M. S. (1979). Infant–mother attachment. American psychologist, 34(10), 932.

Tags:

โรงเรียนปฐมวัยไวรัสโคโรนา(โควิด-19)

Author:

illustrator

เมริษา ยอดมณฑป

นักจิตวิทยาเจ้าของเพจ ‘ตามใจนักจิตวิทยา’ เพจที่อยากให้ทุกคนเข้าถึง ‘นักจิตวิทยา’ ได้มากขึ้นในฐานะเพื่อนแปลกหน้าผู้เคียงข้าง ปัจจุบันเป็นนักจิตวิทยาที่ห้องเรียนครอบครัว เป็น "ครูเม" ของเด็กๆ และคุณพ่อคุณแม่ ความฝันต่อไปคือการเป็นนักเล่นบำบัด วิทยากร นักเขียน และการเปิดร้านหนังสือเล็กๆ เป็นของตัวเอง

Illustrator:

illustrator

ninaiscat

ทิพยา ทิพย์พันธ์ (ninaiscat) เป็นนักวาดภาพประกอบและนักออกแบบกราฟิกอิสระ ชอบแมว (เป็นชีวิตจิตใจ) ชอบทำกับข้าว กินกาแฟทุกวันและมีความฝันว่าอยากมีบ้านสักหลังที่เชียงใหม่

Related Posts

  • Creative learning
    พาเด็กอนุบาลเรียนรู้ผ่าน ‘งานสวน’ เสริมสมรรถนะการอยู่ร่วมกันและการแก้ปัญหา:  ครูกิม – ภาวิดา แซ่โฮ่ โรงเรียนรุ่งอรุณ

    เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ปริสุทธิ์

  • Early childhood
    วัยเยาว์ที่ถูกพรากไป ในโลกที่ไม่ปลอดภัยดังเดิม : EP.2 แนวทางการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับลูกปฐมวัย

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Social Issues
    NEW NORMAL ของการศึกษาไทยคืออะไร เมื่อการเรียนทางไกลไม่ใช่คำตอบ

    เรื่อง ภาพ เพชรลัดดา แก้วจีน

  • Social Issues
    การศึกษาพื้นฐานในยุคโควิด-19: จะเปิด-ปิดโรงเรียนอย่างไร?

    เรื่อง ภาพ เพชรลัดดา แก้วจีน

  • Space
    เปลี่ยนสนามเด็กเล่นที่ไม่น่าเล่นและไม่ปลอดภัย มาเป็นผู้ช่วยให้เด็กพัฒนาสมวัย

    เรื่องและภาพ ณิชากร ศรีเพชรดี

การศึกษาไม่ใช่แค่หน้าที่ แต่เป็นสิทธิเสรีภาพในการเติบโต : อินทิรา วิทยสมบูรณ์ ชวนสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ที่ไม่จำกัดแค่ในห้องเรียน
Creative learning
20 September 2021

การศึกษาไม่ใช่แค่หน้าที่ แต่เป็นสิทธิเสรีภาพในการเติบโต : อินทิรา วิทยสมบูรณ์ ชวนสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ที่ไม่จำกัดแค่ในห้องเรียน

เรื่อง นฤมล ทับปาน

  • การศึกษาไทยค่อนข้างเป็นลู่เดียวปลายปิด ไม่ได้มีทางเลือกมากนักให้กับผู้คนได้สามารถลุกขึ้นมาเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตัวเองได้ จึงเกิดการด้อยโอกาสทางการศึกษา แต่เป็นการด้อยโอกาสทางสิทธิ เนื่องจากผู้คนไม่สามารถเข้าถึงหรือออกแบบสิทธิของตัวเอง เพื่อนำไปสู่การค้นเจอศักยภาพ ความคิด ความชอบ หรือวิธีการเรียนรู้ที่เป็นของตัวเองจริงๆ
  • การออกแบบการเรียนรู้ในสเกลเล็กๆ ที่เชื่อมโยงกับฐานชุมชน เมื่อวิถีชีวิตกับการเรียนรู้กลายเป็นเรื่องเดียวกัน โดยเรียนรู้จากทุนท้องถิ่น ต่อยอดเป็นอาชีพ และนำไปสู่การสร้างชุมชนที่เข้มแข็งในที่สุด อาจเป็นคำตอบในสถานการณ์นี้ 
  • “สิ่งสำคัญที่การศึกษาควรให้คือ ‘ภูมิคุ้มกันของชีวิต’ ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้จริง หากไม่ติดตั้งวิธีคิดชุดนี้ไว้ เราจะเจอพลเมืองที่อ่อนแอ เพราะเขาจะไม่มีกำแพงตั้งรับเลย แต่ถ้าเราทำกระบวนการพวกนี้ เขาจะรู้ความรู้ รู้จักตัวเอง รู้จักผู้คน เชื่อมตัวเองกับชุมชนกับโลก ซึ่งทำให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ หากเราเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตัวเองแล้ว ‘เราเรียนรู้ได้ทุกที ทุกเวลา และทุกสถานการณ์’”

ภาพ : เครือข่ายสาธารณศึกษา

ในหนึ่งปีมีเด็กจบใหม่กว่า 4 แสนคน ทว่าในจำนวนนั้นกำลังเผชิญกับภาวะตกงานกว่า 3 ใน 4 จากรายงานภาวะสังคมไตรมาสที่ 2/2564 โดยสำนักงานคณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า อัตราการว่างงานของคนไทยอยู่ที่ร้อยละ 1.89 หรือราวๆ 7.3 แสนคน ซึ่งเป็นเด็กจบใหม่ถึง 2.9 แสนคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.04 

หากย้อนกลับมาดูการเติบโตของเด็กคนหนึ่ง หากเรียนจนสุดลู่ระดับอุดมศึกษาจะใช้เวลาราวๆ 20-22 ปี ซึ่งในการเรียนรู้เติบโตกว่า 20 ปีนั้นมีราคาที่ต้องจ่าย ทว่าเมื่อเรียนจบแล้วหลายคนกลับหางานไม่ได้ ไม่รู้ว่างานแบบไหนที่เหมาะกับตัวเอง บางคนไม่รู้แม้กระทั่งว่าเป้าหมายของตัวเองคืออะไร จะเชื่อมโยงตัวเองกับชุมชนกับโลกอย่างไร เท่ากับว่าเงินที่เราลงทุนไปกับการศึกษาเพื่อสร้างต้นทุนให้ตัวเอง กลับเป็นต้นทุนที่ไม่ได้ตอบโจทย์ชีวิตเท่าไรนัก ทั้งหมดนี้ใจความสำคัญอาจอยู่ที่ ระบบการศึกษาในปัจจุบันไม่ได้ทำให้ผู้เรียนค้นเจอศักยภาพตัวเอง

“ทุกๆ การลงทุน ทุกๆ ราคาที่เราต้องจ่าย เรากำลังแบกความหวัง ความฝัน ที่ไม่รู้ว่าจะไปถึง Goal (จุดมุ่งหมาย) นั้นหรือเปล่า เพราะว่าระบบการศึกษาไม่ได้พาเราไปเลย” 

การศึกษา คือ การลงทุนบนความเสี่ยง 

“การด้อยโอกาสทางการศึกษา อาจต้องมองเรื่องมิติเศรษฐกิจที่คนๆ หนึ่งเติบโตมาด้วย ทุกๆ เวลาที่เราเสียไป ทุกๆ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น คือสิ่งที่การศึกษาไม่เคยมอง สุดท้ายการศึกษาก็ไม่ได้ตอบโจทย์ผู้เรียน แล้วสิ่งที่เราลงทุนเรียนมันคืออะไร กลายเป็นคำตอบที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่เกิดประสิทธิผลด้วย” อินทิรา วิทยสมบูรณ์ แห่งเพจ Feel Trip ผู้ที่ทำงานกับเยาวชนทั้งในและนอกระบบ สะท้อนมุมมองปัญหาการศึกษาไทยในงานเสวนาออนไลน์ ‘การศึกษาที่เด็กไทยไม่ด้อยโอกาส เมื่อผู้คนและชุมชนร่วมออกแบบการเรียนรู้ที่นำไปสู่โอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียม’ จัดโดย TED x Charroenkrung

ความด้อยโอกาส จึงไม่ใช่แค่เยาวชนสามารถเรียนในระบบได้หรือไม่ได้ แต่หมายถึงสิทธิและเสรีภาพในการสร้างการเรียนรู้ที่ไม่ได้แยกตัวผู้เรียนออกจากวิถีชีวิตจริง 

“เราเสียค่าใช้จ่ายเยอะมาก มีทั้งค่าใช้จ่ายจริงๆ ที่เราเห็น ค่าเทอม ค่าอาหาร ค่าเดินทาง แล้วก็ค่าใช้จ่ายจิปาถะ ยังไม่รวมถึงถ้าเด็กคนหนึ่งต้องทำกิจกรรมต้องซื้อของสารพัดอย่าง ขณะเดียวกันถ้ามีเพื่อนมีสังคมก็ต้องใช้ค่าใช้จ่ายที่ไปสังคมกับเพื่อน แล้วพวกการสอบเข้าก็ใช้ค่าใช้จ่ายนะคะ อย่าง TCAS 900 บาท คนไม่มี 900 บาททำยังไง เข้าไม่ถึงการศึกษาอย่างนี้เหรอ”

อินทิรา วิทยสมบูรณ์

การศึกษาไม่ใช่หน้าที่และไม่ควรมีลู่เดียว

อินทิรา ชวนมองย้อนกลับมาที่ระบบการศึกษาซึ่งจะพบว่า การศึกษาไทยค่อนข้างเป็นลู่เดียวปลายปิด ไม่ได้มีทางเลือกมากนักให้กับผู้คนได้สามารถลุกขึ้นมาเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตัวเองได้ ดังนั้นด้วยข้อจำกัดของระบบการศึกษาที่อยู่ในกรอบหรือว่าลู่เดียวนี้ จึงทำให้เกิดการด้อยโอกาสทางการศึกษา แต่เป็นการด้อยโอกาสทางสิทธิ เนื่องจากผู้คนไม่สามารถเข้าถึงหรือออกแบบสิทธิของตัวเอง เพื่อนำไปสู่การค้นเจอศักยภาพ ความคิด ความชอบ หรือวิธีการเรียนรู้ที่เป็นของตัวเองจริงๆ เพราะห้องเรียนไม่ได้เปิดโอกาสหรือเปิดพื้นที่เช่นนั้นให้ผู้เรียนนัก 

ปัจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว คนส่วนใหญ่ล้วนเป็น Digital Native หรือชนเผ่าดิจิทัลที่ใช้อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ความสะดวกสบายของชีวิต แม้กระทั่งการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีความทันสมัยมากขึ้น  ทำให้ ‘พื้นที่การเรียนรู้’ หรือการศึกษา มีรูปแบบที่เปลี่ยนตามไปด้วย โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย อาจไม่ใช่ลู่ทางเดียวของการศึกษาที่ทุกคนจะวิ่งเข้าหา ขณะเดียวกันอาชีพในปัจจุบันกับอาชีพในอดีตก็เปลี่ยนไป 

“ยิ่งในอนาคต เมื่อเกิด Sharing Economy ขึ้นมา โลกของเด็กอีกยุคหนึ่งกับคนยุคหนึ่ง ทั้งอาชีพ ความคิดความเชื่อ และกระบวนการเรียนรู้เติบโตย่อมต่างกัน ดังนั้นสิทธิ เสรีภาพ และการมีอิสรภาพในการสร้างการเรียนรู้จึงเป็นของเรา” 

Feel Trip ชุมชนแห่งการเรียนรู้

‘เรียนรู้อะไรก็ได้ เรียนรู้ที่ไหนก็ได้’ ภายใต้ฐานคิดของแพลตฟอร์ม Feel Trip ที่เป็นเสมือนชุมชนนักปฏิบัติการเล็กๆ ที่รวบรวมผู้คนที่มีความคิดความเชื่อเรื่อง ‘สิทธิทางการศึกษา’ ทุกคนเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตัวเอง ความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และอำนาจในการเรียนรู้เติบโตเป็นของเราทุกคน 

“สิ่งที่เราร่วมทำคือพยายามจะสร้าง ‘วัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่’ เราไม่ได้ปฏิเสธการศึกษาในระบบ เราแค่บอกว่าจริงๆ แล้วสังคมควรจะต้องมีลู่ที่หลากหลาย เสมือนลู่หลักที่จะทำให้ทุกคนสามารถเลือกวิธีการเข้าถึงการเรียนรู้การศึกษาของตัวเองได้ตามอัธยาศัย แม้พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ จะกำหนดเรื่องหน้าที่ทางการศึกษาไว้ แต่ที่สุดแล้วมันเป็นมากกว่าหน้าที่ แต่คือสิทธิและเสรีภาพในการเติบโตของเรา”

โดยในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ที่ให้ผู้คนลุกขึ้นมาออกแบบการเรียนรู้ของตัวเองนี้ Feel Trip ได้ชวนผู้คนทุกเพศ ทุกวัย มาทำแผนการเรียนรู้หรือ ‘โปรเจคการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง’ ของตัวเอง  ซึ่งเกิดจากกระบวนการที่คนๆ นั้นเชื่อ ตั้งคำถาม หรือมีความสนใจในบางอย่าง และเอาความสนใจใคร่รู้ หรือคำถามที่มีในใจสร้างเป็นโจทย์ของการเรียนรู้ หากเทียบกับห้องเรียนนี่ก็คือ Problem based Learning หรือ Project based Learning (PBL) นั่นเอง เพียงแต่กระบวนการนี้เกิดขึ้นในพื้นที่ข้างนอก ซึ่งเชื่อมโยงกับชุมชนหรือมิติต่างๆ ที่ตัวบุคคลสนใจ 

“โควิดทำให้เราเห็นจริงๆ ว่า การเรียนรู้ในระบบการศึกษามันคับแคบ ห้องเรียนที่ผูกรวมกับส่วนกลางที่มีการกำหนดนโยบายการศึกษา หลักสูตรการศึกษาจากส่วนกลางจริงๆ มันไม่ได้ตอบโจทย์ความหลากหลายของผู้คนเลย ยิ่งต้องใช้วิธีการเรียนออนไลน์เราก็จะยิ่งพบว่า คนทุกคนไม่ได้เข้าถึงออนไลน์ได้ เด็กๆ ที่เป็นลูกของคนงานตามแคมป์แรงงานที่ต้องปิดโครงการทำยังไงละ? หรือเด็กๆ ที่อยู่ตามชุมชนแออัด ไม่ว่าจะเป็นในเมืองหรือพื้นที่ท้องถิ่นทำยังไงละ? บางคนยังไม่มีสมาร์ทโฟนที่จะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเลยด้วยซ้ำ 

การออกแบบการเรียนรู้ในสเกลเล็กๆ ที่มีความเป็นท้องถิ่นและมีความหลากหลายอาจเป็นคำตอบของสถานการณ์เช่นนี้ก็ได้ แต่จริงๆ แล้วมันก็ยังไม่ได้เป็นคำตอบสุดท้าย เพราะเราก็จะเห็นการผูกโยงนโยบายบางอย่างที่มันผูกอิงกับส่วนกลางอยู่ การกำหนดวิธีการเรียนรู้ที่มันเป็นแบบเรียนในห้องท่องจำต่างๆ ก็ดี ก็ยังเป็นโจทย์ท้าทายอยู่”

ทว่าภายใต้สถานการณ์เหล่านี้ มีโรงเรียนและครูจำนวนไม่น้อย ลุกขึ้นมาสร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ รวมถึงมีชุมชนอีกจำนวนมากที่ลุกขึ้นมาท้าทายสิ่งเหล่านี้ โดยการสร้างการเรียนรู้ของตัวเอง 

จากกระบวนการเรียนรู้ สู่การพัฒนาชุมชน

มาถึงการเชื่อมโยงการเรียนรู้เข้ากับฐานชุมชน เมื่อวิถีชีวิตกับการเรียนรู้กลายเป็นเรื่องเดียวกัน โดยเรียนรู้จากทุนท้องถิ่น จากนั้นต่อยอดเป็นอาชีพ เป็นผู้ประกอบการ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างชุมชนที่เข้มแข็งในที่สุด 

“ที่ผ่านมาเราเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกคนได้มีโอกาสเข้าไป Trip ก่อน เพราะเราเชื่อว่าการสร้างประสบการณ์ชีวิตจะทำให้เราเกิดความรู้ความเข้าใจ ในขณะที่ห้องเรียนให้ความรู้กับเรา แต่ความรู้ในห้องเรียนมันเป็นลำดับขั้นหนึ่งสองสาม แต่สิ่งที่เรารู้สึกว่าประสบการณ์ให้ มันคือความรู้สึกถึงความรู้ เป็นพลังที่ทำให้เข้าใจความรู้มากขึ้น รู้ได้ว่าความรู้นี้มันมาจากกระบวนการอะไร มาจากคุณค่าอะไร มาจากวิธีการอะไร ซึ่งถ้าเกิดคนจะเข้าใจกระบวนการเหล่านี้ได้มันต้องไปปฏิบัติการ ต้องสร้างประสบการณ์ สร้างความทรงจำร่วมบางอย่างให้กัน โดยใช้การเดินทางเป็นเครื่องมือในการสร้างประสบการณ์ดังกล่าว จึงเกิดเป็น Feel Trip ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของผู้คนที่จะลุกขึ้นมาสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างนักพลเมืองได้” 

ทั้งนี้ การเข้ามาแบ่งปันความรู้สึกกัน จะทำให้เกิดกระบวนการ Knowledge sharing ซึ่งเป็นตัวสร้าง Experiential Learning (การเรียนรู้จากประสบการณ์) จึงเริ่มต้นจากการพาคนไปพื้นที่ปฏิบัติการ พาไปเรียนรู้พาไปดูผู้คน ดูชุมชนที่ลุกขึ้นมาสร้างการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ซึ่งเป็นเรื่องราวหลากหลายที่ห้องเรียนไม่สามารถเชื่อมโยงผู้เรียนกับโลกได้

“มีน้อง Feel Trip คนหนึ่งเรียนจบมหาวิทยาลัยกลับมาบ้านแล้วก็พบว่าแทบจะไม่รู้เลยว่าตัวเองจะทำอะไรดี เพราะว่าไม่รู้จะทำงานอะไรภายใต้โควิด ขณะเดียวกันการศึกษาที่เรียนมา มันไม่สามารถเชื่อมโยงตัวเขากับชุมชนกับโลกได้เลย ก็เกิดคำถามว่า เอ๊ะ…งั้นจะเรียนไปเพื่ออะไรในเมื่อการศึกษาคาบเขาออกจากบ้านตัวเอง ตอบไม่ได้ว่าบ้านตัวเองที่อยู่ติดชายหาดมีต้นทุนทรัพยากรอะไร แทบจะไม่รู้จักตัวเองเลย” 

เมื่อได้โจทย์แล้วก็นำโจทย์มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ทำ Problem based Learning หรือ Project based Learning (PBL) 

“แล้วเอาสิ่งนี้ไปชวนผู้คนในชุมชนของเขา ชวนพ่อแม่ที่อาจจะไม่เคยได้คุยกันลึกๆ ว่าพ่อแม่เป็นครูผู้รู้ หรือไปชวนเด็กๆ เยาวชนในพื้นที่ออกมาสำรวจชุมชน แล้วเด็กๆ นี่แหละเป็นคนไปสร้างพื้นที่ปลอดภัยกับพ่อแม่ของเขา กับคนในชุมชนของเขา เพื่อจะมาออกแบบกระบวนการเรียนรู้ด้วยกัน ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาชุมชนด้วย จึงเกิดแผนกิจกรรมและรูปแบบการปฏิบัติการต่างๆ โดยเริ่มที่ชุมชนเป็นเจ้าภาพของตัวเองโดยสมบูรณ์และเด็กเยาวชนในพื้นที่เป็นเจ้าภาพร่วม ดังนั้นกระบวนการที่นำมาสู่ตรงนี้ ทำให้ผู้คนสำรวจตรวจค้นชุมชน เกิดการพบว่าจริงๆ แล้วตัวเองมีคุณค่าแบบนี้ มีมรดกแบบนี้ มีต้นทุนแบบนี้ พอเห็นกันและกันมากขึ้น ก็สามารถเชื่อมโยงกับตัวเองได้”

ในขณะที่อาชีพส่วนใหญ่ของชุมชน เช่น เคี่ยวน้ำตาล ขึ้นตาล ตกปลา ไดหมึก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาและเป็นองค์ความรู้ของชุมชนเช่นเดียวกัน เมื่อมองเห็นก็จะไปสู่กระบวนการค้นหาคุณค่าเพิ่มเติม จากจุดเล็กๆ ขยายไปสู่เรื่องอื่นๆ ในที่สุดจะพบว่าชุมชนมีต้นทุนมหาศาลแค่ไหน 

สิ่งนี้เองจะเป็นคานงัดสำคัญเมื่อวันหนึ่งที่ชุมชนต้องเจอการเปลี่ยนแปลง เช่น มีนโยบายหรือโครงการต่างๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงพื้นที่ องค์ความรู้ที่สร้างขึ้นจะทำให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชน โดยชุมชนรู้ข้อมูลตัวเองเป็นฐาน และนำมาสู่กระบวนคิดออกแบบนวัตกรรรมที่จะมาแก้โจทย์ปัญหา มาสรุปบทเรียน และกระบวนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์  

“อย่างเช่นในเมื่อโควิดก็มีอยู่ทำยังไง ก็เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ผ่านสายตาร่วมของเด็กรุ่นใหม่ซึ่งมีความคิดความเข้าใจเข้าถึงเครื่องมือแบบหนึ่งกับพ่อแม่และคนในชุมชนที่มีต้นทุนความรู้แบบหนึ่ง ทำให้ความรู้เก่าและใหม่เกิดการผสมผสานกัน ไม่ได้บอกว่าความรู้ไหนดีที่สุดอีกแล้ว มันคือความรู้ของเรา ความรู้นี้คือกระบวนการที่นำมาสู่การทำ Co-Creation กระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมที่ทุกคนเป็นเจ้าของ และนำไปสู่การลงมือทำ ทำให้เขาค้นเจอผลิตภัณฑ์ต่างๆ ค้นเจอความรู้ใหม่ๆ และความรู้ใหม่หมุนเวียนกลับมาในชุมชน” 

Learn, Re-Learn, Un-Learn เรียนรู้เพื่อตั้งรับ 

“เมื่อเกิดการเปิดพื้นที่ มีคนลุกขึ้นมาเป็นครู เป็นเจ้าของโปรเจค เกิดห้องเรียนแล้ว เราก็ชวนผู้คนไปเรียนรู้ในพื้นที่เหล่านี้ ทำกระบวนการ ก็คือ Learn, Re-Learn, Un-Learn เพื่อให้เขาได้มีโอกาสทดลองท้าทายตัวเองด้วยโจทย์ใหม่ๆ ถ้าเราเคยทำแล้วประสบความสำเร็จ เราอาจจะเจอปัญหาเกิดขึ้นระหว่างทาง เป็นกระบวนการจัดการในชีวิตจริง เพื่อจะบอกว่าคุณล้มเหลวก็ได้นะ คุณจะเจอความสำเร็จก็ได้นะ แต่คุณต้องเรียนรู้และตั้งรับกับมันได้ ซึ่งการจัดการชีวิตพวกนี้โรงเรียนหรือระบบการศึกษาไม่ทำให้เราเข้าใจมันได้ เราจึงเจอแต่โจทย์ที่เราต้องมุ่งสู่ความเก่งเท่านั้น ต้องเข้าสู่ปริญญาเท่านั้น เข้าสู่การมีระดับทางการศึกษา” 

“สิ่งสำคัญที่การศึกษาควรให้คือ ภูมิคุ้มกันของชีวิต ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้จริง หากไม่ติดตั้งวิธีคิดชุดนี้ไว้ เราจะเจอพลเมืองที่อ่อนแอ เพราะเขาจะไม่มีกำแพงตั้งรับเลย แต่ถ้าเราทำกระบวนการพวกนี้ เขาจะรู้ความรู้ รู้จักผู้คน เชื่อมตัวเองกับชุมชนกับโลก และรู้ตัวเองก็คือรู้สึกถึงตัวเอง รู้สึกถึงเนื้อตัว รู้สึกถึงผู้คนอาจจะมากถึง Empathy เลยด้วยซ้ำ ซึ่งทำให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ หากเราเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตัวเองแล้ว ‘เราเรียนรู้ได้ทุกที ทุกเวลา และทุกสถานการณ์’”

โลกยุคหลังโควิด-19 คือ โจทย์ที่ท้าทาย เพราะเราไม่สามารถอยู่ด้วยวิธีการจัดชีวิตแบบเดิมได้อีกต่อไป เช่นเดียวกับการศึกษา 

“ลองสำรวจตัวเองดูเราอาจจะเจอความชอบ ความสนใจใคร่รู้บางอย่างของตัวเอง เมื่อเจอแล้วอย่าหยุดเพียงการตั้งคำถาม เอาคำถามนั้นไปท้าทายตัวเองต่อ ลงมือทำมันซะ ไม่ต้องรอว่าใครจะเปลี่ยนแปลง เราเองเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงได้ แล้วทุกๆ การเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ มีคุณค่า มีความหมายต่อเราทั้งสิ้น ดังนั้นค้นหามันให้เจอ แล้วเอาสิ่งนั้นมาสร้างกระบวนการ ออกแบบชีวิตตัวเอง สร้างการมีส่วนร่วมให้กับผู้คนด้วย” อินทิรา ทิ้งท้าย

Tags:

สิทธิการศึกษาไทยเสรีภาพวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่อินทิรา วิทยสมบูรณ์

Author:

illustrator

นฤมล ทับปาน

Related Posts

  • Learning Theory
    กล้าพอไหม? ที่จะสร้างระเบียบโลกใหม่จากในโรงเรียน (Dare the school build a new social order?)

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Social Issues
    ถึงเวลาการศึกษาไทยต้องอัพเดทแพทช์! ความหวังหลังเลือกตั้งของ ‘อร-พัศชนันท์ เจียจิรโชติ’

    เรื่อง ปริสุทธิ์ ภาพ ปริสุทธิ์

  • โรงเรียนเล็ก โรงเรียนใหญ่ แก้ปัญหาแบบไหนที่ตรงจุด?: มองหาทางออกใหม่ ให้การศึกษาไทยได้ไปต่อ

    เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง

  • Everyone can be an EducatorSocial Issues
    ‘Saturday School’ วิชานอกห้องเรียนที่ทำให้เด็กกล้าฝันและเป็นเจ้าของการเรียนรู้: ยีราฟ-สรวิศ ไพบูลย์รัตนากร

    เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง

  • Unique Teacher
    ‘เสรีภาพ’ และ ‘เซลฟ์’ คนรุ่นใหม่ : ทบทวนและตั้งหลักสู่ศตวรรษใหม่ในมุมการศึกษา กับ ครูปาด-ศีลวัต ศุษิลวรณ์

    เรื่อง ชุติมา ซุ้นเจริญ

Posts navigation

Older posts

Recent Posts

  • ‘นิทานปากเปล่า’ เล่าความรักให้ลูกฟัง สร้างจินตนาการ สานสัมพันธ์ในครอบครัว: แม่จาว – วัชราวรรณ เพชรบุล
  • ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP4: การซึมซับและปรับตัว 
  • เปลี่ยนระบบนิเวศโรงเรียนเป็นสนามพลังบวก ยกระดับเด็กด้อยโอกาสสู่เด็กได้โอกาส: ผอ.วรรณรักษ์ หงษ์ทอง
  • F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง
  • Myth Universe : จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์สู่ Edutainment ความรู้นอกห้องเรียนที่เริ่มต้นจากคำถามและการเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง

Recent Comments

  • Existential crisis: วิกฤตชีวิตที่มาพร้อมกับคำถาม “แล้วฉันอยู่เพื่ออะไร” – EducationNet on Midlife Crisis: เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ทำไมใจถึงวิกฤต
  • The Psychological Wounds of Winnie the Pooh and His Friends: Exploring Characters from a Classic Literary Work - World Today News on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • Exploring the Psychological Wounds of Winnie the Pooh and Friends: A Fascinating Analysis - Archyde on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • 6 วิธีฝึกสอนให้ลูกเป็นเด็กมี Critical Thinking ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต – โรงเรียนมารีวิทยา ป on CRITICAL THINKING: สอนเด็กให้รู้คิด ผิดหรือถูกก็ใช้วิจารณญาณเป็น
  • Best รูป พลเมือง ดี Update New – Haiduongcompany.com on สอนและสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เรื่องไม่ง่ายที่ครูทำได้

Archives

  • July 2025
  • June 2025
  • May 2025
  • April 2025
  • March 2025
  • February 2025
  • January 2025
  • December 2024
  • November 2024
  • October 2024
  • September 2024
  • August 2024
  • July 2024
  • June 2024
  • May 2024
  • April 2024
  • March 2024
  • February 2024
  • January 2024
  • December 2023
  • November 2023
  • October 2023
  • September 2023
  • August 2023
  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • October 2021
  • September 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • April 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • November 2019
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017

Categories

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Uncategorized
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel