Skip to content
ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)
  • Creative Learning
    Creative learningLife Long LearningEveryone can be an EducatorUnique Teacher
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Transformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent Brain
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)
How to get along with teenager
20 August 2021

“อย่าเร่งร้อนให้ผลิบาน” ความยากลำบากของวัยหนุ่มสาวกับการบรรลุนิติภาวะในวัย 18

เรื่อง จณิสตา ธนาธรชัย ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • ความต้องการของสังคมในปัจจุบันรวมไปถึงความกดดันจากสื่อสังคมเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เราควรยืดอายุการบรรลุนิติภาวะออกไปเพื่อรักษาวัยหนุ่มสาวเอาไว้
  • เพราะเงื่อนไขดังกล่าวทำให้บ่อยครั้งวัยรุ่นมักถูกผลักให้ต้องโตเร็วเกินไปจนสูญเสียความไร้เดียงสาและกระบวนการพัฒนาตัวเองไประหว่างทาง
  • เพื่อชะลอปัญหานี้ เราควรลำดับเวลาและความสำคัญใหม่ให้เหมาะสม โดยการขยายอายุช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านจากวัยรุ่นไปสู่วัยผู้ใหญ่ออกไปเป็น 25 ปี และในระหว่างนั้นก็ควรปล่อยให้ลูกๆ ของเราได้ล้มและเรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเอง

ปัจจุบันนี้มี ‘วัยรุ่น’ จำนวนมากที่กำลังเผชิญกับ ‘ความยากลำบาก’ ในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 นี้ เด็กๆ ในปัจจุบันถูกผลักให้ต้องรีบโตเร็วเกินไป พวกเขายังต้องได้รับการเรียนรู้ปรับปรุงและการพัฒนาอีกมากแต่กลับต้องสูญเสียโอกาสเหล่านั้นไป เห็นได้ชัดเลยว่าแม้แต่เด็กอายุเพียง 5 – 6 ปี ก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำกิจกรรมเพื่อความสนุกสนานอีกต่อไป กิจกรรมทุกอย่างต้องรองรับกับการเรียนรู้ที่จะเพิ่มโอกาสทางการศึกษาในอนาคต

เราอาจรู้กันมาบ้างแล้วว่าเด็กอายุ 15 ปีมีระดับสติปัญญาที่เทียบเคียงได้กับวัยผู้ใหญ่ ผลวิจัยการทำงานของสมองกล่าวว่า สมองของมนุษย์จะมีการพัฒนาต่อเนื่องจนชีวิตเข้าสู่เลขสาม โดยการพัฒนาในช่วงนี้จะเกิดขึ้นในสมองส่วนหน้าและวงจรเยื่อหุ้มสมองซึ่งเป็นส่วนของสมองที่รับผิดชอบการรู้คิดและสังเคราะห์ข้อมูล ทั้งยังเป็นตัวรับอารมณ์สำหรับการตัดสินใจ ด้วยเหตุนี้ ช่วงอายุ 18 ปีจึงอาจยังไม่เหมาะสมสำหรับการบรรลุนิติภาวะ 

หากเราลองย้อนดูประวัติศาสตร์เราจะพบว่าขอบข่ายของช่วงอายุวัยรุ่นนั้นมีการผันผวนไปมาตลอดเพื่อให้เหมาะสมกับสังคมในช่วงเวลานั้นๆ เช่น ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์อเมริกา อายุที่เยาวชนสามารถแต่งงานได้ตามกฎหมายอยู่ที่ 12 ปีสำหรับเด็กผู้หญิง และ 14 ปีสำหรับเด็กผู้ชาย ส่วนอายุในการบรรลุนิติภาวะเคยจำกัดอยู่ที่ 21 ปี แต่ก็มีการลดลงมาเรื่อยๆ จนเหลือเพียง 18 ปีในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เพื่อให้เอื้อต่อความต้องการทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในขณะที่ทางศาสนา สองศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ได้แก่ ศาสนายิวและนิกายโรมันคาทอลิก ได้กำหนดให้ช่วงอายุของการบรรลุศาสนภาวะไว้ที่ 13 ปีมาตลอดหลายศตวรรษ

และหากย้อนกลับไปเมื่อสองพันปีก่อน จะพบว่ากฎหมายโรมันในช่วงต้นได้กำหนดให้อายุบรรลุนิติภาวะอยู่ที่ 25 ปี ซึ่งถือว่าเป็นอายุขั้นต่ำสำหรับชายหนุ่มที่จะมีอิสระในการตัดสินใจกระทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นทางการโดยไม่ต้องขอคำแนะนำ นอกจากนี้ ช่วงอายุระหว่าง 15 – 25 ปีนั้น เด็กหนุ่มชาวโรมันจะอยู่ภายใต้การดูแลชั่วคราวของผู้ใหญ่ที่เรียกกันว่าผู้รักษา โดยผู้รักษาจะทำหน้าที่เป็นทั้งพี่เลี้ยง นักบำบัด และที่ปรึกษาให้กับวัยรุ่น ทั้งยังคอยอนุมัติและตรวจสอบการกระทำของเด็กหนุ่มเหล่านี้จนกว่าพวกเขาจะมีอายุครบ 25 ปีบริบูรณ์

ดูเหมือนว่าชาวโรมันในยุคนั้นมีความเข้าใจว่ากลุ่มวัยรุ่นต้องการเวลาในการพัฒนาก่อนที่เราจะให้เขาแบกกระสอบที่เต็มไปด้วยความคาดหวังและความรับผิดชอบของวัยผู้ใหญ่ งานวิจัยของ Leah Sommerville ยังกล่าวเสริมอีกว่าวัยรุ่นต้องการเวลามากกว่านี้เพื่อพัฒนากลไกทางประสาทและพฤติกรรมให้สามารถยับยั้งอารมณ์ด้วยเหตุผลได้

การเติบโตในประวัติศาสตร์มีความท้าทายเฉพาะตัว แต่ด้วยเหตุผลหลายประการทำให้เราเชื่อว่าโลกในปัจจุบันนี้มีความคาดหวังต่อเด็กๆ มากกว่าในอดีต จะเห็นได้ว่าเราได้กำหนดขอบเขตอายุของ ‘วัยรุ่น’ ตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget ได้ก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการดำรงชีวิตที่กลายเป็นเรื่องยากขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการศึกษาและการฝึกอบรมขั้นสูง รวมไปถึงการแข่งขันในการทำงานเพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น 

วิวัฒนาการของบรรทัดฐานทางเพศที่นำไปสู่การแบ่งเพศสภาพซึ่งมากกว่าแค่ชายกับหญิงเป็นอีกความเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เด็กๆ ต้องเรียนรู้มากขึ้นเพื่อการเข้าสังคมอย่างเหมาะสม ความเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เด็กหนุ่มในปัจจุบันมีความอ่อนไหวทางอารมณ์และทักษะในการสื่อสารที่มากกว่าผู้ชายรุ่นก่อน ส่วนเด็กสาวก็มีความแข็งแกร่งทางด้านร่างกาย และความแน่วแน่ที่เกินความคาดหมายผู้หญิงในรุ่นก่อนเช่นเดียวกัน หมายความว่าลูกๆ ของเราจะต้องใช้เวลามากขึ้นในการเรียนรู้ ฝึกฝน และทดลองกับลักษณะนิสัยในการเป็นผู้ใหญ่ที่กว้างกว่าที่เคยมีมาเพื่อที่จะประสบความสำเร็จเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้ในอนาคต

นอกจากนี้ สภาพครอบครัวก็เป็นอีกปัญหาที่มองข้ามไม่ได้ เด็กๆ ที่เติบโตขึ้นในครอบครัวที่มีผู้ปกครองเพียงคนเดียวหรือพ่อแม่ทั้งสองที่ทำงานจนไม่มีเวลามาดูแลพวกเขาอย่างเหมาะสม มักจะไม่ได้รับคำแนะนำจากผู้ปกครองในช่วงที่มีความทุกข์ทางอารมณ์อย่างรุนแรง ทำให้เด็กต้องดิ้นรนหาทางออกด้วยตัวเอง ซึ่งหลายครั้งเป็นทางออกที่มีแนวโน้มในการใช้กลไกการเผชิญปัญหาที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น การกิน การใช้ยา และการใช้สื่อที่ไม่เหมาะสม การที่สื่อสังคมออนไลน์เข้ามามีอิทธิพลมากต่อวิถีชีวิตก็เป็นอีกสาเหตุทำให้วัยรุ่นเกิดภาวะความเครียดมากขึ้นตามไปด้วย 

พฤติกรรมการเสพสื่อมากเกินไปได้ปลูกฝังค่านิยมใหม่ในกลุ่มผู้ปกครองว่าลูกๆ ของเราต้องมีความสามารถ ทำสิ่งที่มีคุณภาพและน่าทึ่งได้แม้จะยังไม่ถึงเวลาอันสมควร เพื่อเป็นการพิสูจน์ตัวของผู้ปกครองให้ผู้อื่นเห็นว่าเราเป็นพ่อแม่ที่ดี 

หรือในทางกลับกัน พ่อแม่อีกหลายคนที่กังวลอย่างมากกับการที่ลูกๆ ต้องพบเจอกับความยากลำบากในการเปลี่ยนผ่านจากวัยรุ่นไปสู่วัยผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองเหล่านี้ต่างก็ตื่นตระหนกและผลักดันกลุ่มวัยรุ่นหนักขึ้นโดยไม่ตระหนักถึงความเหมาะสมของช่วงวัย

สื่อสังคมออนไลน์เปรียบเหมือนดาบสองคม แม้ว่าพฤติกรรมการเสพสื่อในกลุ่มวัยรุ่นจะชี้ว่าพวกเขาได้รับข้อมูลในสังคมโลกที่กว้างขวางขึ้น

แต่ก็บ่อยครั้งเหลือเกินที่พวกเขามักถูกกดตันให้มีจุดยืนในประเด็นที่พวกเขามีความรู้ความเข้าใจเพียงเล็กน้อย และการไม่เปิดเผยตัวตนบนโลกอินเทอร์เน็ตก็ยังเพิ่มโอกาสที่จะถูกโจมตีด้วยวาจาในลักษณะที่พวกเขาอาจไม่พร้อมที่จะรับมือ

ความกดดันที่แพร่กระจายเป็นวงกว้างจากสื่อสังคมแค่เพียงอย่างเดียวก็เป็นภาระหนักเกินกว่าที่ผู้ใหญ่สุขภาพจิตดีจำนวนมากจะรับมือไหว นับประสาอะไรกับเยาวชนและวัยรุ่นในวัยเลข 2 ที่ยังคงรอการพัฒนาสมองและการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่จะช่วยให้พวกเขามีความยืดหยุ่นทางอารมณ์

ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมา เราจึงจำเป็นต้องขยับขอบเขตของคำว่า ‘วัยรุ่น’ ให้เลยช่วงเวลาในวัยหัวเลี้ยวหัวต่อออกไปเป็นวัย 25 ปี และควรคิดว่าอายุ 25 ปีเป็นเกณฑ์ใหม่ที่เหมาะสมสำหรับการบรรลุนิติภาวะ การทำแบบนี้ไม่ได้ความหมายว่าเราจำเป็นต้องเปลี่ยนอายุสำหรับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การทำงาน การขับขี่ยานพาหนะ หรือการรับราชการทหารไปที่อายุ 25 ปีด้วย เพียงแต่ว่าเราควรเปลี่ยนความคาดหวังที่มีต่อวัยรุ่นและผู้ปกครองให้แตกต่างออกไป

นอกจากการขยายอายุของการบรรลุนิติภาวะแล้ว ขอแนะนำวิธีการเลี้ยงดูวัยรุ่นในโลกที่เร่งรีบเพื่อชะลอไม่ให้เกิดปัญหาและความยากลำบากที่เยาวชนหนุ่มสาวในปัจจุบันกำลังเผชิญ

  1. ปรับเปลี่ยนลำดับเวลาและลำดับความสำคัญ

เราต้องให้ความสำคัญกับการเลี้ยงดูวัยรุ่นให้มีความสมดุลทางจิตใจและมีสุขภาพก่อนดีเป็นอันดับแรก แทนที่จะให้วัยรุ่นเข้ามหาวิทยาลัยดังหลังจบจากโรงเรียนมัธยม การได้เข้าเรียนในวิทยาลัยที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสมจะมีผลดีมากกว่าการรีบเร่งให้พวกเขาเข้ามหาวิทยาลัยในทันที ส่วนในช่วงมัธยม ควรส่งเสริมให้เด็กๆ ได้เล่นกีฬาและเรียนรู้ดนตรีเพียงเพื่อความสนุกสนาน ไม่ใช่เพื่อโอกาสทางการศึกษา และพยายามหลีกเลี่ยงการจัดตารางการเรียนที่แน่นจนเด็กๆ ไม่มีเวลาฝันกลางวัน ทั้งนี้ เราควรให้เวลาพวกเขาได้เรียนรู้และลองสิ่งใหม่ๆ เช่น การศึกษาแลกเปลี่ยนต่างประเทศ การฝึกงาน เพื่อให้พวกเขาได้ออกไปพบปะผู้คนใหม่ๆ หรือโอกาสใหม่ๆ ที่อาจไม่มีในชีวิตที่เร่งรีบเติบโต

  1. ปล่อยให้พวกเขาได้ล้มเหลวเพื่อเรียนรู้จากความผิดพลาด

การเลี้ยงลูกแบบเฮลิคอปเตอร์คือพฤติกรรมการเลี้ยงลูกแบบเอาใจใส่มากจนเกินพอดีจนกลายเป็นการควบคุมลูก ปัญหาที่ตามมาคือเมื่อเราป้องกันไม่ให้เด็กล้มเหลว พวกเขาจะไม่ได้เรียนรู้วิธีใช้กระบวนการลองผิดลองถูกเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของตนเองและเติบโตจากความผิดพลาด เด็กที่เติบโตมาด้วยวิธีการเลี้ยงดูในข้างต้นนี้ มักจะมีปัญหาในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ แม้กระทั่งเรื่องความต้องการของตนเอง เพราะส่วนมากพ่อแม่เป็นผู้ตัดสินใจแทนตลอดชีวิตของพวกเขา

นี่เป็นเพียงคำแนะนำที่อาจช่วยให้วัยรุ่นในการดูแลของเราสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี มีความสมดุลในชีวิต เราอาจคาดหวังได้ว่าเมื่อเด็กๆ เหล่านี้ผ่านพ้นช่วงวัยรุ่นไปแล้ว พวกเขาจะสามารถจัดการกับจิตใจได้อย่างมีเสถียรภาพและมั่นคงมากขึ้น ไม่เร่งรีบเติบโตให้ทันต่อโลกที่รีบร้อนใบนี้ หากพวกเขาไหลไปตามกระแสสังคมและสะดุดล้มลง พวกคุณก็แค่ต้องเตือนความจำให้พวกเขา “ช้าลง” เท่านั้นเอง

อ้างอิง
Why 25 May Be the New 18
Is 25 the New 18? Slow Down and Find the Answer in “Vienna”

Tags:

การเติบโตไวรัสโคโรนา(โควิด-19)สิทธิเด็กวัยรุ่น

Author:

illustrator

จณิสตา ธนาธรชัย

นัก (ทดลอง) เขียนธรรมดาและนักอ่านวรรณกรรม(ฝึกหัด) ชื่นชอบหนังแอคชั่น เรื่องลี้ลับ และการ์ตูนslam dunk

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • How to get along with teenager
    ในวันที่โลกดูสิ้นหวัง และตัวฉันที่กำลังจะหมดหวังกับตัวเอง : EP.3 “I am worth enough.”

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Social Issues
    โรคระบาด ความเครียด การฆ่าตัวตาย และสถานการณ์ที่วัยรุ่นทั่วโลกกำลังแบกรับ

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • How to get along with teenager
    เข้าใจตัวตนหลากหลายของวัยรุ่นผ่านทฤษฎีสี กับ ครูมอส – อนุพันธ์ุ พฤกษ์พันธ์ขจี จิตรกรและนักศิลปะบำบัด

    เรื่อง กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร

  • Life classroom
    อนาคตจะเดินต่อไปอย่างไร เส้นทางการเรียนจะเป็นแบบไหน – ความกังวลของวัยรุ่นช่วงโควิด-19

    เรื่อง ปราชญา ศิริ์มหาอาริยะโพธิ์ญา

  • Character building
    กฎข้อที่ 1 ของการเป็นคนกล้า คือการเผชิญหน้ากับความกลัว

    เรื่อง The Potential

  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel