Skip to content
ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)
  • Creative Learning
    Creative learningLife Long LearningEveryone can be an EducatorUnique Teacher
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Transformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent Brain
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)
อ่านความรู้จากบ้านอื่นBook
12 September 2018

บันทึกคุณแม่นักอ่านนิทาน: แค่คำว่า ‘กาลครั้งหนึ่ง’ ก็เปลี่ยนโลกได้

เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • ‘บันทึกคุณแม่นักอ่านนิทาน’ เป็นฮาวทูฉบับปฏิบัติที่จะมาช่วยแม่ๆ หาวิธีรับมือกับลูกน้อยแบบสร้างสรรค์และถนอมหัวใจ
  • เด็กแต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน วิธีการเลี้ยงลูกก็ต้องต่างกัน บันทึกคุณแม่นักอ่านนิทาน จะช่วยให้เข้าใจลูกและส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การอ่านนิทานถือเป็นวิธีการง่ายๆ ที่จะทำให้ลูกเริ่มใช้ตรรกะ ข้อคิดเล็กๆ น้อยๆ ในนิทานอาจจะเปลี่ยนโลกของลูกน้อยเลยก็ได้

การจะเป็นแม่ยุค 2018 คงไม่ใช่เรื่องง่าย เราไม่สามารถเลี้ยงลูกแบบที่รุ่นปู่ย่าสอนมา เพราะโลกเปลี่ยนไปแล้ว นอกจากเลี้ยงแล้ว ยังต้องเตรียมความพร้อมให้ลูกอยู่ได้ในอนาคตอย่างแข็งแรงด้วย

คุณแม่จำนวนไม่น้อยแน่นปึ้กทั้งวิชาและหลักการ แต่พอปฏิบัติจริงกลับสับสนหยิบจับมาใช้ไม่ถูกสถานการณ์ เพราะลูกแต่ละคนไม่มีทางเหมือนกัน

หนังสือบันทึกคุณแม่นักอ่านนิทาน จะเป็นฮาวทูฉบับฏิบัติที่จะมาช่วยแม่ๆ หาวิธีรับมือกับลูกน้อยอย่างสร้างสรรค์และถนอมใจ

หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องโดย แม่โบ-ธิดา พานิช (แม่โบ นิทานหัวเตียง) คุณแม่ลูกสอง ที่เล่าเรื่องราวของ น้องวาวา ลูกสาวคนโต กับ น้องดิน ลูกชายคนเล็ก

จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้อยู่ที่ประสบการณ์ตรงจากผู้เขียนหรือแม่โบ แม้อาจจะไม่ได้เจอเหตุการณ์แบบแม่โบเป๊ะๆ แต่ก็สามารถเอาไปปรับใช้ได้หลายสถานการณ์ หรืออย่างน้อยก็มีหนังสือเล่มนี้เป็นเพื่อนยามท้อเมื่อต้องเจอกับความปวดหัวและวุ่นวายกับเจ้าตัวเล็ก

“โบยอมรับว่าไม่ใช่คนเก่งกาจหรือเชี่ยวชาญอะไร แค่เป็นแม่ที่รักลูก รักที่จะอ่านหนังสือให้ลูกฟัง และรักการเขียน จึงอยากจะขอใช้พื้นที่ในหนังสือเล่มนี้ รวบรวมบทความที่แม่โบเคยบอกเล่าใน ‘เพจนิทานหัวเตียง’ ด้วยหวังว่าจะเกิดประโยชน์แก่พ่อแม่ท่านอื่นบ้าง หรืออย่างน้อยๆ แค่ผู้อ่านได้รู้สึกว่าฉันไม่ใช่พ่อแม่ที่โดดเดี่ยว แต่ยังมีแม่โบเป็นเพื่อนที่เข้าใจ เท่านี้โบก็มีความสุขแล้วค่ะ”

หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 4 บทใหญ่

1. จักรวาลของแม่

เล่าเรื่องการเลี้ยงลูกของแม่โบ เช่น ต้องทำอะไรบ้างในแต่ละวัน ความเปลี่ยนแปลงของตัวเองเมื่อมีลูก รวมถึงจัดการกับชีวิตของตัวเองอย่างไรเพื่อที่จะดูแลลูกให้ดีที่สุด และที่สำคัญคือวิธีรับมือกับลูกเวลาทำตัวไม่น่ารัก

เชื่อว่าบทนี้คุณแม่มือใหม่จะต้องได้วิธีการสร้างสรรค์ไปรับมือกับลูกน้อย เช่นปัญหาคลาสสิกอย่าง ลูกไม่ยอมนอน ที่แม่โบเจอเหมือนกับทุกคน

แม่โบให้ tips ง่ายๆ หรือที่แม่โบเรียกว่า ‘กลยุทธ์ปราบศึกบนเตียง’ คือ นอนที่เดิม เวลาเดิม นอนกับคนเดิม เข้านอนด้วยขั้นตอนเดิม และสิ่งสำคัญที่เป็นหัวใจปราบหนูน้อยไม่ยอมนอนคือ ความสม่ำเสมอ อย่างที่แม่โบพูดไว้

2. โลกใบเล็กของหนูและน้อง

เคลื่อนจากจักวาลของแม่มาเป็นโลกของลูก บทนี้จะพูดถึงพัฒนาการต่างๆ ของลูกที่จะมาพร้อมกับวิธีการปฏิบัติที่ต่างกัน

เช่น คุณแม่มือใหม่หลายท่านที่กังวลว่าทำไมลูกถึงไม่ค่อยพูด พูดได้ช้า แม่โบเขียนไว้ในเรื่อง ‘ทำอย่างไรให้ลูกพูดเร็ว’ ว่า ถ้าอยากให้ลูกพูดเก่ง พ่อแม่ต้องขยันพูดกับเขาตลอด แถมด้วยฮาวทูเล็กๆ น้อยๆ ให้คุณแม่ไปลองทำกัน

  • อย่าปล่อยลูกไว้กับสื่ออิเล็กทรอนิกส์
  • พาลูกไปเล่นกับเด็กวัยใกล้ๆ กัน
  • อ่านนิทานให้ลูกฟัง
  • เล่นกับลูก
  • สอนลูกด้วยของจริง

3. เปลี่ยนเด็กดื้อเป็นเด็กน่ารัก

เมื่อลูกๆ เริ่มโตขึ้น เข้าสู่ช่วงเจ้าหนูจำไม บางรายอาจเริ่มเถียงผู้ใหญ่ แสดงพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก และชวนปวดหัวมากๆ

บทนี้แม่โบเล่าผ่านความดื้อของน้องวาวา แต่ที่น่าสนใจกว่า คือ วิธีการเวิร์คๆ ที่แม่โบหยิบมาแนะนำ เช่น ตอนที่น้องวาวางอแง เพราะเห็นแม่โบกำลังป้อนข้าวน้องดิน แม่โบเกือบจะหันไปดุแล้วแต่ก็ดึงสติตัวเองไว้ได้

“เวลาที่โบอารมณ์เริ่มปะทุจากอาการงอแงของลูก โบใช้วิธีด้วยการถาม “หนูว่า….ยิ้มแย้มหรืองอแงจะน่ารักกว่ากันคะ” เป็นการเตือนให้ลูกรู้ตัวแทนการดุลูกค่ะ แถมยังเป็นการเตือนตัวเองไม่ให้ด่วนใช้อารมณ์กับลูกด้วยค่ะ”

4. โลกของนิทาน

หัวใจสำคัญของบทนี้อยู่ที่นิทานมากมาย เช่น อีเล้งเค้งโค้ง งานแรกของมี้จัง ดินสอสีของจี๊ดจ๊าด หมีใหญ่จอมกอด เป็นต้น แต่แม่โบไม่ได้มาเล่าว่าแต่ละเรื่องมีเนื้อหาอย่างไร สิ่งที่ได้จากนิทานต่างหากที่แม่โบอยากจะบอก

มีงานวิจัยและบทความมากมายที่บอกถึงประโยชน์ของนิทาน เพราะนิทานคือคลังภาษาที่จะช่วยเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา ช่วยพัฒนาสมอง ช่วยสร้างความไว้วางใจตนเอง (มองโลกในแง่ดี) เพิ่มพูนประสบการณ์ สร้างแรงบันดาลใจ สร้างสุนทรียะ สร้างสมาธิ ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน และสร้างสัมพันธ์ในครอบครัว

อย่างเช่นหนังสือนิทานชุดหนูนิด หนูนิดเป็นตัวแทนของเด็กดื้อ ทั้งไม่อยากกินผัก ไม่อยากมีน้อง ไม่อยากแปรงฟัง แต่สุดท้ายแล้วหนูนิดก็จะเจอกับเหตุการณ์ที่ทำให้หนูนิดเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น แม่โบก็เอาเรื่องราวของหนูนิดมาเล่าให้วาวาฟัง เพื่อเป็นแบบอย่างแล้วให้จินตนาการตาม

เมื่อเด็กได้เห็นตัวอย่าง ก็จะเริ่มคิดตาม – แม่โบว่าไว้

บันทึกคุณแม่นักอ่านนิทานเล่มนี้ อาจไม่ใช่ฮาวทูสรุปการเลี้ยงลูกที่ถูกที่สุด แต่อย่างน้อยก็ผ่านการลองผิดลองถูกและพิสูจน์ว่าเวิร์คจากแม่โบ น้องวาวา และน้องดิน ที่สำคัญหนังสือเล่มนี้อยากแชร์ให้คุณแม่ๆ (และคุณพ่อ) รู้สึกว่ายังมี ‘เพื่อน’ คอยตบบ่าหรือนั่งอยู่ข้างๆ กัน

เท่านี้ก็น่าจะพอแล้ว

Tags:

พ่อแม่ปฐมวัยคาแรกเตอร์(character building)หนังสือนิทาน

Author:

illustrator

กนกอร แซ่เบ๊

อดีตนักศึกษามานุษยวิทยา เกิดในครอบครัวคนจีนจึงพูดจีนได้คล่องราวภาษาแม่ ปัจจุบันเป็นคุณน้าที่หลงหลานสุดๆ และขยันฝึกโยคะเกือบเท่างานประจำ

Related Posts

  • BookEarly childhood
    THE HAPPIEST KIDS IN THE WORLD: อิสรภาพจากการได้เล่นอิสระ เคล็ดลับเด็กดัตช์แฮปปี้สุดๆ

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Creative learning
    เจ้าหญิงคาราเต้: ศิลปะเป็นเรื่องของทุกคน และต้องมีไว้เพื่อหล่อเลี้ยงหัวใจ

    เรื่อง ขวัญชนก พีระปกรณ์

  • Family PsychologyLearning Theory
    4 SENSES เข้าใจวัยรุ่น : อะไรทำให้เขาอยากใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • Early childhoodBook
    เลี้ยงลูกด้วยเสียงดนตรี: เพลงสร้างจินตนาการและพัฒนาสมองได้จริง

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • Early childhood
    ปล่อยให้ลูก โกรธ เศร้า เหงา กลัว เขาจะได้เติบโตทั้งตัวและหัวใจ

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel