Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย

Month: January 2023

Active Learning กับ การสอนสังคมฯ ที่ (ไม่) ได้รับอนุญาตให้ศึกษา
Learning Theory
31 January 2023

Active Learning กับ การสอนสังคมฯ ที่ (ไม่) ได้รับอนุญาตให้ศึกษา

เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • แท้จริงแล้วการสอนสังคมศึกษาล้วนวางอยู่บนเป้าหมายและอุดมการณ์ที่สัมพันธ์กับความรู้และอำนาจเสมอ สังคมศึกษาไม่อาจปลอดการเมืองหรือดำรงอยู่โดยปราศจากชุดคุณค่าใดๆ ได้ 
  • การสอนสังคมศึกษาไม่อาจเริ่มต้นด้วยการควานหาเทคนิควิธีการ หรือไอเดีย active learning แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า “เรากำลังสอนสังคมศึกษาไปเพื่ออะไร” หรือ “เรากำลังสอนสังคมบนแนวคิดแบบไหน”
  • การสอนของครูสามารถพานักเรียนไปท้าทายและตั้งคำถาม ถึงชุดความรู้กระแสหลักได้ สังคมศึกษาในแง่นี้ จึงเป็นสังคมศึกษาที่ยืนอยู่ตรงข้ามกับโครงสร้างสังคมที่กดขี่เพื่อนมนุษย์

หลายครั้งการสอนสังคมศึกษาในไทยมักเริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่าเทคนิคและวิธีการสอนแบบใดที่จะทำให้นักเรียนได้รับความรู้ที่มีอยู่ในตำราเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สนุกที่สุด 

วิธีการต่างๆ อาทิ กิจกรรมการเรียนรู้ นวัตกรรม เกม การใช้สื่อเทคโนโลยี ถูกมองเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะพานักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ราวกับว่าใจความสำคัญของการสอนสังคมฯ เป็นเพียงเรื่องเทคนิควิธีการในชั้นเรียนของครู ดังที่ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ กระทรวงศึกษาธิการได้หันมาส่งเสริมการเรียนการสอนแบบ Active Learning อย่างจริงจัง ร่วมกับสื่อร่วมสมัยและนวัตกรรมการสอน ไม่ว่าจะเป็นเพลงแร็ป หมอลำ หรือ Animation โดยเฉพาะในวิชาประวัติศาสตร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมจิตสำนึกและความรักชาติให้มากขึ้น 

หากมองดูผิวเผิน ดูเหมือนว่าการเรียนการสอนสังคมศึกษาของไทยกำลังก้าวไปข้างหน้าตามทิศทางการศึกษาของโลกในศตวรรษที่ 21 ที่ครูต้องปรับเปลี่ยนบทบาทการสอนจากผู้สอนความรู้ (Teacher) มาเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ (Facilitator) ในการสร้างการเรียนรู้แบบเชิงรุก แต่การสอนสังคมศึกษาเป็นเพียงเรื่องเทคนิควิธีการจริงหรือ?

สังคมศึกษาฯ ที่ (ไม่) ได้รับอนุญาตศึกษา

แท้จริงแล้วการสอนสังคมศึกษาล้วนวางอยู่บนเป้าหมายและอุดมการณ์ที่สัมพันธ์กับความรู้และอำนาจเสมอ สังคมศึกษาไม่อาจปลอดการเมืองหรือดำรงอยู่โดยปราศจากชุดคุณค่าใดๆ ได้ เราจึงไม่อาจมองการสอนสังคมศึกษาในแง่เทคนิควิธีการเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องตั้งคำถามถึงชุดความรู้ที่ปรากฏอยู่ในห้องเรียน ตำราเรียน รวมถึงสื่อการเรียนรู้ที่ครูนำมาใช้ว่ากำลังวางอยู่บนอุดมการณ์ คุณค่า หรือวิธีการมองโลกแบบใด 

ตัวอย่างเช่น แนวคิดเรื่องกรรมในรายวิชาพระพุทธศาสนา หนึ่งในสาระการเรียนรู้ของสังคมศึกษา หากผู้สอนมีความเชื่อว่ากรรมนั้นนำไปสู่สถานะของบุคคลที่แตกต่างกันตามบุญวาสนา มุ่งเน้นให้ยอมรับสถานะที่เกิดมามากกว่าจะชวนตั้งคำถามหรือวิเคราะห์ความเชื่อทางศาสนา การสอนของครูอาจนำไปสู่การยอมรับความไม่เท่าเทียมในสังคม การเกื้อหนุนให้เกิดระบบอุปภัมภ์และการคอรัปชั่นผ่านแนวคิดมารยาทชาวพุทธ ที่ผู้น้อยน้อยต้องเคารพและตอบแทนผู้ใหญ่ ไปจนถึงเนื้อหาวิชาประวัติศาสตร์ที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ความยิ่งใหญ่ของผู้ปกครองและชนชั้นนำมากกว่าประวัติศาสตร์ชาติที่มีการต่อสู้ของประชาชนเป็นส่วนสำคัญ 

การปรับเปลี่ยนวิธีการสอนมาสู่ Active learning ที่ดูเหมือนก้าวหน้าทันกระแสโลกนั้น เป็นสิ่งที่ชนชั้นนำหรือผู้มีอำนาจยอมรับได้ ตราบใดที่เทคนิควิธีการเหล่านี้ยังเป็นพาหนะที่บรรจุเนื้อหา คุณค่า และเป้าหมาย เพื่อรักษาสถานะและตอกย้ำอำนาจที่ไม่เท่าเทียมของสังคมให้มั่นคงมากขึ้น  

เช่นเดียวกับคำถามท้ายแบบเรียนที่จะได้รับอนุญาตให้ถามได้ก็ต่อเมื่อคำถามเหล่านั้นไม่ได้สั่นคลอนหรือท้าทายอำนาจของพวกเขา ดังที่อาจารย์พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การรับรู้ประวัติศาสตร์ได้ก่อร่างความทรงจำร่วมบางอย่างของสังคมขึ้นมา แต่ทว่าความทรงจำที่ผู้มีอำนาจกระทำความรุนแรงต่อประชาชนในบางเรื่อง กลับกลายเป็นสิ่งต้องห้ามที่จะจดจำ ตั้งคำถาม และถูกแทนที่ด้วยความกลัว ซึ่งยิ่งตอกย้ำให้วัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดและความไม่ยุติธรรมในสังคมดำรงอยู่ต่อไป จึงไม่แปลกที่เราแทบไม่เคยเห็นการส่งเสริมสังคมศึกษาที่ให้ความสำคัญกับความเป็นธรรมหรือสิทธิมนุษยชนในห้องเรียนของไทย

สังคมศึกษาต้องไปให้ไกลกว่า Active Learning

การสอนสังคมศึกษาไม่อาจเริ่มต้นด้วยการควานหาเทคนิควิธีการ หรือไอเดีย Active Learning แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า “เรากำลังสอนสังคมศึกษาไปเพื่ออะไร” หรือ “เรากำลังสอนสังคมบนแนวคิดแบบไหน” แนวคิดอย่างการศึกษาเชิงวิพากษ์ (Critical pedagogy) พหุวัฒนธรรมศึกษา (Multicultural education) และการสอนเพื่อความยุติธรรม (Teaching for social justice) เห็นตรงกันว่า นัยยะหนึ่งของการสอนสังคมศึกษาเป็นไปเพื่อรักษาโครงสร้างทางสังคมที่ไม่เป็นธรรมเอาไว้ ด้วยการหล่อเลี้ยงความเหลื่อมล้ำ อคติ การเหมารวม และการเลือกปฏิบัติ ผ่านชุดความรู้บางอย่างที่หลายครั้งก็ถูกผลิตซ้ำอยู่ในตำราเรียนฉบับทางการ ผ่านบทบาทครูในชั้นเรียน ขณะเดียวกัน แม้จะถูกการผลิตซ้ำการรับรู้ ความเข้าใจ 

แต่อีกนัยยะหนึ่ง การสอนของครูก็สามารถพานักเรียนไปท้าทายและตั้งคำถาม ถึงชุดความรู้กระแสหลักได้เช่นกัน  สังคมศึกษาในแง่นี้ จึงเป็นสังคมศึกษาที่ยืนอยู่ตรงข้ามกับโครงสร้างสังคมที่กดขี่เพื่อนมนุษย์

ในคาบเรียนพระพุทธศาสนา แทนที่การเทศนาเรื่องบุญกรรมหรือเล่นเกมตอบคำถามหลักธรรมเพื่อท่องจำคำสอน ครูสามารถสร้างบทเรียนที่พานักเรียนกลับมาตั้งคำถามและวิเคราะห์ความเชื่อต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมได้ เช่น ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับความไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล้ำ เพศ หรือการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นต้น 

ตัวอย่างห้องเรียนของครูแนท ครูในเครือข่าย Thai civic education ที่นำประเด็นความเชื่อเรื่องศาลพระภูมิ ณ ทางโค้งของถนน หรือ การขอหวย มาเป็นคำถามตั้งต้น เพื่อชวนคุยถึงปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรม  มากไปกว่านั้น ครูแนทได้ยังได้เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ถกเถียงถึงประเด็นทางศาสนาร่วมสมัย ไม่ว่าจะเป็น เช่น การห้ามขายเหล้าในวันพระ กลุ่มศาสนาสุดโต่ง หรือการไม่นับถือศาสนาอีกด้วย นอกจากนี้ เมื่อชวนคุยในมิติเรื่องเพศ ครูอาจให้นักเรียนค้นหาข้อมูลและเปรียบเทียบสิทธิของผู้หญิงและ LGBT+ ในศาสนาต่างๆ ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร และความเชื่อเหล่านั้นนำไปสู่สังคมแบบใดได้อีกด้วย

สำหรับเศรษฐศาสตร์ที่บ่อยครั้งมักถูกมองเป็นเพียงสอนให้นักเรียนเข้าใจระบบเศรษฐกิจและการทำงานของระบบตลาด ผู้คนในฐานะคนทำงานต่างถูกมองเป็นเพียงตัวเลขแรงงานในปัจจัยการผลิต มากกว่าจะมีการกล่าวถึงสิ่งที่ผู้คนต้องเผชิญภายใต้ระบบที่เป็นอยู่ อย่างความเหลื่อมล้ำ ความหิวโหย ความเครียด การเข้าไม่ถึงทรัพยากร ค่าจ้างที่ไม่เป็นธรรม และอื่นๆ อีกทั้งการเกิดขึ้นของอาชีพแบบใหม่ หรือที่เราเรียกว่า แรงงานเฟลตฟอร์ม เช่น ไรเดอร์ส่งอาหารที่ถูกกดขี่จากระบบการจ้างงานแบบไร้หลักประกัน สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องราวสำคัญที่ครูสามารถดึงเข้าไปเป็นประเด็นหลักในการเรียนเศรษฐศาสตร์ได้ ด้วยการนำบทสัมภาษณ์ของคนทำงานต่างๆ มาให้นักเรียนอ่านและวิเคราะห์ถึงความไม่ธรรมร่วมกับมุมมองทางกฎหมาย 

ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ ห้องเรียนของครูแนน จากกลุ่มครูขอสอน ที่ได้หยิบยกซีรีสย์ชื่อดังอย่าง Squid Game มาชวนคุยพร้อมกับคำถามที่ว่า “เงื่อนไขทางสังคมแบบไหน ที่ทำให้ผู้คนต้องแลกร่างกาย ชีวิต แม้กระทั่งความเป็นมนุษย์เพื่อให้ได้เงินมาใช้หนี้” ซึ่งเป็นเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนกลับมาตั้งคำถามถึงระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ให้ลึกลงไปถึงชีวิตผู้คนในฐานะมนุษย์

ในทำนองเดียวกัน วิชาภูมิศาสตร์ในสังคมศึกษาที่เราพบได้ทั่วไปก็ไม่ได้เอ่ยถึงชีวิตผู้คนในพื้นที่ต่างๆ เขตแดน เส้นแบ่ง พิกัด ถูกสอนในฐานะสัญลักษณ์ที่ว่างเปล่า มากกว่าจะชวนศึกษาว่าผู้คนที่ถูกดำรงอยู่ในเส้นสมมติต่างๆ กำลังต้องเผชิญกับความไม่เป็นธรรมอย่างไร ดังเช่นกรณีของแม่น้ำโขง ที่ผู้เรียนมักถูกสอนให้จดจำว่า แม่น้ำไหลผ่านทิศทางใด ในพื้นที่ประเทศไหน จังหวัดใด มากกว่าจะเป็นการเรียนรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศที่เกี่ยวพันกับอำนาจรัฐและทุน ที่ส่งผลให้เกิดการต่อสู้ของชาวบ้านริมโขงกับการเกิดขึ้นของเขื่อนและโรงไฟฟ้า

Active Learning จึงคงไม่ใช่คำตอบสำหรับการสอนสังคมศึกษาที่ควรจะเป็น แต่เป็นแนวคิดและความเป็นไปได้ของการสอนสังคมศึกษาเพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมต่างหาก ที่จะพาเราไปรับรู้ สัมผัส ได้ยิน มองเห็น และรู้สึกร่วมกับเพื่อนร่วมสังคมเดียวกับเรา ที่ที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำ การเลือกปฏิบัติ ความไม่เป็นธรรม ความไม่ยุติธรรม ไร้ซึ่งสิทธิเสรีภาพ และวิพากษ์พร้อมกับจินตนาการถึงสังคมที่ดีกว่า

อ้างอิง

1. คำถามท้ายบทเรียนเป็นอำนาจที่รัฐอนุญาตให้ถาม กับการลาออกของ ‘ครูพล’ ชวนเด็กล้ำเส้นนอกบทเรียน

https://decode.plus/20201008/

2. ถอดรื้อแบบเรียนประวัติศาสตร์ไทย กำกับด้วยความรัก-กลัว ความมั่นคงของชาติ

https://prachatai.com/journal/2019/07/83588

3. Civic Classroom : Rethinking การสอน (พระพุทธ)ศาสนาที่ควรจะเป็น

รพีพรรณ จักรสาน สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏลำปาง

https://www.facebook.com/thaiciviceducationcenter/posts/pfbid02MPBCtPDagPg8fvUr636cb2azM11iiE9KGxYDE9soKBDNbQnpYbnW3iHACHQTvwiWl

4. Civic Classroom ตอนที่ 1 : เมื่อพหุวัฒนธรรม ความเป็นธรรม พลเมืองโลกสอนผ่านประเด็นศาสนา

https://www.facebook.com/media/set/?vanity=thaiciviceducationcenter&set=a.2901346853274980

5. Civic Classroom ตอนที่ 20 : บทเรียนวิชาสังคมที่ว่าด้วยเรื่องเพศ ศาสนา และความไม่เป็นธรรม

https://www.facebook.com/thaiciviceducationcenter/posts/pfbid02R9pFG8CPGzQZcW3wmspkaceki6f9f3sbjhC3QVKQ3Vp6HAfsJX5HJHQ5Kimp5fmcl

Tags:

พระพุทธศาสนาActive Learningการสอนเพื่อความยุติธรรม (Teaching for Social Justice)พหุวัฒนธรรมศึกษา (Multicultural Education)สังคมศึกษาการศึกษาเชิงวิพากษ์ (Critical pedagogy)

Author:

illustrator

อรรถพล ประภาสโนบล

ครูพล อดีตครูสังคมศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่ง ผู้เขียนหนังสือ “ห้องเรียนล้ำเส้น” และบรรณาธิการร่วมหนังสือ “สังคมศึกษาทะลุกะลา” ปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาสาขา Education studies ที่ไต้หวัน

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Book
    ครบรอบ 20 ปี หนังสือ ‘ไชลด์เซ็นเตอร์ สำนวนซ้ำซากของการศึกษาไทย’ กับคำถามที่ว่า การศึกษายังคงเป็นเพียงเรื่องฉาบฉวย?

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Social IssuesEducation trend
    ข้อสังเกตในยุคที่ ‘อะไรอะไรก็ต้องเป็น Active Learning’ เมื่อ AL อาจทำให้มุมมองการสอนของเราแคบลง

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • ‘ปูม้าที่หายไป’ โจทย์การเรียนรู้บริบทชุมชนที่เด็กออกแบบเอง: โรงเรียนบ้านแหลมไทร จังหวัดตรัง

    เรื่อง นฤมล ทับปาน

  • Transformative learning
    ทำไมครูควรมีมุมมอง พหุวัฒนธรรมศึกษา (Multicultural Education)

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Transformative learning
    ทำไมครูต้องสร้างบทเรียนเพื่อความยุติธรรม

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

Whisper of the heart:  ในวันที่มองไม่เห็นอนาคตและความฝันยังไม่สำเร็จ ฉันเพียงต้องการแค่คนที่อยู่เคียงข้างกัน
Movie
26 January 2023

Whisper of the heart: ในวันที่มองไม่เห็นอนาคตและความฝันยังไม่สำเร็จ ฉันเพียงต้องการแค่คนที่อยู่เคียงข้างกัน

เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • ชิซูกุ สึกิชิมะ คือเด็กสาววัยมัธยมต้นที่ชอบอ่านหนังสือและแต่งกลอนเป็นชีวิตจิตใจ แต่น่าเสียดายที่เธอกลับไม่สามารถค้นพบความชอบของตัวเอง กระทั่งวันหนึ่งที่เธอพบกับเพื่อนร่วมชั้นอย่าง เซจิ อามาซาวะ เด็กหนุ่มผู้มีฝันอยากเป็นช่างทำไวโอลิน ทั้งยังมองเห็นศักยภาพบางอย่างในตัวชิซูกุ และนั่นถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ชิซูกุเปิดใจให้กับความฝันของตัวเอง

โตขึ้นอยากเป็นอะไร? 

คำถามตอนเด็กที่ผมฟังทีไรเป็นต้องอึดอัดใจไปทุกครั้ง อาจเพราะผมเป็นแค่เด็กที่ไม่มีความฝันหรือแพสชันในชีวิต แถมผลการเรียนก็ธรรมดา ส่วนกิจกรรมไม่ต้องพูดถึง  

ผมไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองต้องมีแพสชัน จนกระทั่งวันรวมญาติที่พวกผู้ใหญ่ต่างจับกลุ่มคุยโวโอ้อวดว่าลูกตัวเองเก่งแบบนั้นแบบนี้ ตั้งใจติวพิเศษเพื่อจะสอบเข้าวิศวะบ้าง บัญชีบ้าง ซึ่งไม่ว่าถ้อยคำเหล่านั้นจะจริงหรือไม่ แต่ก็พอจะทำให้พ่อแม่ผมนึกเปรียบเทียบผมกับหลานๆ เหล่านั้น

เช่นนี้ ผมผู้ไร้แพสชันจึงกลายเป็นลูกที่เฉื่อยแฉะในสายตาพ่อแม่ และพ่อแม่ก็มักพยายามเร่งเร้าให้ผมพบกับแพสชันอะไรสักอย่างในชีวิต

ทว่าพอความฝันแรกอย่างการเป็นครูผู้นั่งรถไฟจากกรุงเทพไปสอนหนังสือเด็กในชนบทห่างไกลถูกเหยียบย่ำด้วยจำนวนเงินและความมีหน้ามีตาในสังคม ชีวิตของผมจึงเคว้งอีกครั้ง ต่างกับเพื่อนบางคนที่พ่อแม่สนับสนุนเต็มที่โดยเอาความชอบของลูกเป็นที่ตั้ง

แต่อีกมุมผมก็เข้าใจว่าพ่อแม่อาจมองว่าผมคือ ‘สินทรัพย์’ ที่ลงทุนไปแล้ว สมควรให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า ดังนั้นผมจึงหรี่สวิตช์สมองซีกขวาและใช้สมองซีกซ้ายมากขึ้น

ชีวิตที่ไร้แพสชันของผมจึงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ กระทั่งเข้ามหาวิทยาลัยและเริ่มเอาเวลาว่างมาเขียน Blog เพื่อความสนุกสนาน ปรากฏว่าทำไปทำมาเพื่อนๆ รวมถึงอาจารย์ต่างชื่นชมและสนับสนุนให้ผมหันมาเอาดีด้านการเขียน ซึ่งจุดนี้เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ผมขยับเข้าไปใกล้กับคำว่าแพสชันมากขึ้นตราบจนปัจจุบัน

แม้จะไม่ใช่เรื่องเดียวกันทีเดียว แต่ผมมักนึกเปรียบเปรยชีวิตตัวเองกับ ‘ชิซูกุ สึกิชิมะ’ สาวน้อยมัธยมจากภาพยนตร์อนิเมะขึ้นหิ้งอย่าง Whisper Of The Heart เพราะชิซูกุเองก็เริ่มต้นจากการไม่มีแพสชัน และใช้ชีวิตโดยปราศจากความฝันและแผนการใดๆ ในอนาคต 

ชิซูกุเป็นเด็กม.3 ที่จะต้องสอบเข้าโรงเรียนมัธยมปลายในไม่ช้า แต่ดูเหมือนว่าสิ่งสำคัญที่สุดของเธอคือการอ่านหนังสือจากห้องสมุดให้ครบ 20 เล่ม นอกจากนี้ชิซูกุยังดูสนุกสนานกับการแต่งกลอนไฮกุ รวมถึงเนื้อเพลง Take Me Home, Country Roads เวอร์ชันญี่ปุ่นให้เหล่าเพื่อนๆ น้องๆ นำไปแสดงบนเวที 

ชีวิตของชิซูกุดำเนินต่อไปเช่นนี้ เธอไม่ได้ไปเรียนพิเศษเพื่อสอบเข้าม.ปลายอย่างเพื่อนคนอื่น ทั้งยังไม่รู้สึกว่าตัวเองจะต้องรีบอ่านหนังสือสำหรับการสอบคัดเลือกที่นับถอยหลังเข้ามาเรื่อยๆ

แต่แล้วใครจะรู้ว่าไลฟ์สไตล์แบบเรื่อยเปื่อย อย่างการเดินตามแมวจรจัดจะนำพาชิซูกุไปพบกับร้านขายของเก่าของคุณตาคนหนึ่ง ซึ่งในภายหลังชิซูกุก็พบว่าหลานของคุณตาคนนั้นคือ ‘เซย์จิ อามาซาวะ’ เพื่อนร่วมชั้นของเธอ

ด้วยความที่ร้านขายของเก่ามีของน่าตื่นตาตื่นใจมากมาย ทำให้ชิซูกุมักแวะมาพูดคุยกับคุณตาและเซย์จิอยู่บ่อยครั้ง ไม่นานนักชิซูกุก็ทราบว่าเซย์จิหลงใหลในการทำไวโอลิน เธอจึงรู้สึกยินดีที่เขาได้พบกับความฝันของตัวเอง

“ฉันอยากทำไวโอลินมาก มีโรงเรียนสอนทำไวโอลินที่เมืองเครโมนาในอิตาลี ฉันอยากไปเรียนที่นั่น แต่พ่อแม่ฉันค้านหัวชนฝา มีแค่คุณตาที่อยู่ข้างฉัน ไม่รู้ว่าฉันจะได้ไปไหม ฉันทะเลาะกับพ่อแม่ทุกวัน แล้วถึงจะได้ไปก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองมีพรสววรค์ไหมถ้ายังไม่ได้ลอง”

สิ้นเสียงของเซย์จิ ผมมองว่าตัวเองก็ไม่ต่างกับชิซูกุที่ค่อนข้างตื่นเต้นตาลุกวาวไปกับแพสชันและสกิลการทำไวโอลินของเซย์จิ เหมือนกับว่าใจหนึ่งก็เอาใจช่วยให้เขาได้ไปเรียนอิตาลีตามความฝัน เพราะพ่อแม่ของเซย์จิก็คล้ายๆ กับพ่อแม่รุ่นเก่าหลายคนที่ให้ค่ากับอาชีพแค่ไม่กี่อาชีพตามค่านิยมในสังคม

ผมมองว่าคนที่ค้นพบแพสชันหรือหาตัวเองเจอตั้งแต่เด็ก (มีข้อแม้ว่าพ่อแม่ต้องสนับสนุนและไม่ขัดขวาง) ถือว่าโชคดีมากๆ ที่จะได้ทุ่มเทเวลากับสิ่งที่ตัวเองรักและมีความสุขไปกับมันอย่างเต็มที่ เหมือนกับเซย์จิที่ภายหลังพ่อแม่อนุญาตให้เขาออกไปไล่ล่าความฝัน

ส่วนอีกใจก็รู้สึก ‘กลัว’ เหมือนกับชิซูกุ ซึ่งกลัวในที่นี้คือ การได้เห็นเพื่อนมีแพสชันที่แน่วแน่ ต่างกับเราที่ดูอนาคตมืดมนเพราะยังไม่รู้ว่าจะเอายังไงกับชีวิตมากกว่าการอยู่ไปวันๆ   

อย่างไรก็ตาม หากมองในมุมของผมในวัยเลข 3 นำหน้า ผมกลับคิดว่าการไม่มีแพสชันก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลหรือกดดันให้ตัวเองรู้สึกแย่ เพราะบางครั้งแพสชันไม่ใช่เรื่องการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ แต่อาจเป็นการค้นพบเรื่องราวแสนธรรมดาที่เรา ‘มองข้าม’ มาโดยตลอด 

อย่างกรณีของชิซูกุ เธอมักแต่งกลอนและเขียนเนื้อเพลงอย่างสนุกสนาน ทั้งยังดูภูมิใจในยามที่ผลงานตัวเองถูกชื่นชม แต่เธอกลับไม่เคยมองว่าสิ่งนี้คือแพสชัน ดังนั้นฉากที่เซย์จิบอกชิซูกุว่าเธอมีพรสวรรค์ในการแต่งกลอนจึงคล้ายกับการปลดล็อกความคิดให้ชิซูกุได้ค้นพบแพสชันด้านการเขียนที่เธอมีอยู่แล้วในตัวเอง  

“เขา (เซย์จิ) จะไปค้นหาว่าตัวเองมีพรสวรรค์พอไหม งั้นฉันก็จะทำด้วย (เขียนนิยาย) ถ้าเขาทำได้ฉันก็ต้องทำได้” ชิซูกุสัญญากับตัวเอง

หลังจากค้นพบแพสชันของตัวเอง ใจของชิซูกุก็ลุกโชนไปด้วยไฟแห่งความมุ่งมั่นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เธอตั้งเป้าหมายว่าระหว่างที่เซย์จิไปฝึกงานที่อิตาลีสองเดือน เธอจะต้องเขียนนิยายเรื่องแรกให้สำเร็จเช่นกัน 

ระหว่างที่เขียนนิยาย ชิซูกุแทบจะทุ่มเทเวลาทั้งหมดไปกับตัวละครและเรื่องราวแฟนตาซีต่างๆ จนทำให้ผลการเรียนร่วงลงไปอย่างเห็นได้ชัด แต่โชคดีที่พ่อของเธอไม่เพียงไม่ร้อนรนเหมือนกับครูหรือพ่อแม่คนอื่นที่ต่างเข้มงวดให้ลูกเตรียมสอบเข้าม.ปลาย พ่อทำแค่เพียงเรียกเธอมาคุย ทั้งยังสนับสนุนให้เธอได้ลองทำตามสิ่งที่ใจของเธอปรารถนา

“ไม่ว่าลูกจะไปห้องสมุดทำไม พ่อก็ชื่นชมที่ลูกตั้งใจนะ (พ่อหันไปหาแม่แล้วบอกว่าปล่อยให้ลูกได้ทำตามความต้องการเถอะ) เอาล่ะชิซูกุ เชื่ออะไรก็ทำไปเลย แต่มันไม่ง่ายนะที่จะเลือกทางเดินเอง ลูกต้องยอมรับผลของมันด้วย” พ่อกล่าว  

ขณะเดียวกันเวลาว่าง ชิซูกุก็จะแวะไปหาคุณตาของเซย์จิที่ร้านขายของเก่า ซึ่งคุณตาบอกชิซูกุว่าถ้าชิซูกุเขียนนิยายเสร็จขอให้เขาได้อ่านมันเป็นคนแรก ทำให้ชิซูกุรู้สึกซาบซึ้งใจแต่เธอก็ไม่มั่นใจนักว่านิยายเรื่องนี้จะออกมาดีอย่างที่เธอต้องการ

“มันก็เหมือนช่างฝีมือนั่นแหละ อย่าคิดว่าจะออกมาดีตั้งแต่ครั้งแรก เอาล่ะ! ตาจะให้หนูดูของบางอย่าง มันเรียกว่า ‘หินไมก้า’ ดูตรงรอยแยกนะ มันเรียกว่า ‘เบริล’ พบมากในมรกต หนูกับเซย์จิก็เหมือนหินก้อนนี้ ขรุขระ ไม่ได้เจียระไน ยังดิบ ซึ่งตาชอบอัญมณีแบบนี้ 

แต่การทำไวโอลินหรือเขียนนิยายมันต่างออกไป อัญมณีอยู่ในตัวหนู หนูต้องหาให้เจอแล้วเจียระไนมันออกมา ต้องใช้ทั้งเวลาและความพยายาม เห็นหินก้อนใหญ่ๆ ข้างนอกไหม ถ้าเอามาเจียระไนจะรู้ว่ามันไม่มีค่าเลย ชิ้นเล็กกว่าที่อยู่ข้างในมันบริสุทธิ์กว่า อาจจะมีอัญมณีที่ดีกว่าข้างในตรงที่เราไม่เห็นก็ได้” คุณตากล่าว

ผมค่อนข้างประทับใจกับประโยคนี้ของคุณตา เพราะเขาได้แนะนำชิซูกุทางอ้อมว่าการมีแพสชันโดยปราศจาก Grit (ความพากเพียรไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค) ย่อมไม่เพียงพอที่จะนำเราไปสู่จุดหมายที่หวังได้ ดังนั้นหากมีความหลงใหลแต่ไม่อดทนพากเพียรก็ยากจะประสบความสำเร็จ

เมื่อได้พลังใจจากพ่อและคำแนะนำจากคุณตา ชิซูกุจึงมุ่งมั่นเขียนนิยายชนิดหามรุ่งหามค่ำ ก่อนแล้วเสร็จภายในสองเดือนตามตั้งใจ ทว่าพอนำไปให้คุณตาอ่านตามสัญญา ชิซูกุกลับตัดพ้อตัวเองว่านิยายของเธอไม่ดีเท่าไหร่โดยเฉพาะครึ่งหลังของเรื่องที่ดูไม่ค่อยสมเหตุสมผล

“ขอบใจนะ หนูเขียนได้ดีมาก ใช่มันอาจไม่ไหลลื่น มีจุดที่ทื่อ และยังไม่ได้เจียระไน แต่มันก็เหมือนกับไวโอลินของเซย์จิ หนูให้ตาได้ดูอัญมณีที่เพิ่งตัดออกมาจากก้อนหิน หนูทำอย่างตั้งใจ หนูยอดเยี่ยมมาก ไม่ต้องรีบนะ ค่อยๆ เจียระไนเถอะ”

สิ่งสำคัญที่ผมชื่นชมแอนิเมชันของจิบลิเรื่องนี้ คือการไม่ยัดเยียดให้ชิซูกุเก่งหรือประสบความสำเร็จในการเขียนนิยายครั้งแรก แถมยังใช้นิยายมาเป็นบทเรียนที่สอนให้เธอรู้ว่า การจะไปถึงจุดหมายปลายทางหรือเก่งในสิ่งที่ชอบนั้น ไม่สามารถเนรมิตได้ชั่วข้ามคืน แต่เกิดจากการทุ่มเทฝึกฝนอย่างต่อเนื่องและไม่ย่อท้อ (Grit) เหมือนกับที่คุณตาแนะนำให้ชิซูกุค่อยๆ เจียระไนอัญมณี (พัฒนาทักษะด้านการเขียน) ของเธอ 

Whisper of the heart เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันแนว Coming of Age ในปีค.ศ.1995 ดัดแปลงจากมังงะชื่อเดียวกันของ อาโออิ ฮิอิรางิ กวาดรายได้ทั่วญี่ปุ่นเป็นอันดับหนึ่งในปีนั้น ทั้งยังได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ใน 10 แอนิเมชันที่ดีที่สุดตลอดกาลของสตูดิโอจิบลิ (Ghibli Studio)

Tags:

แอนิเมชันGritความฝันความหลงใหล (passion)ภาพยนตร์ญี่ปุ่นWhisper of the heart

Author:

illustrator

อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

เจ้าของเพจ The Last Bogie ผู้ตัดสินใจขึ้นรถไฟขบวนสุดท้าย โดยมีปลายทางอยู่ที่สถานี 'ยูโทเปีย'

Illustrator:

illustrator

ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

Related Posts

  • Movie
    Blue Giant: ในวันที่ก้าวสู่ฝัน…หวังว่าเราจะเป็นลมใต้ปีกที่คอยพยุงกันและกันไปให้ถึงจุดหมาย

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • Dear ParentsMovie
    The Makanai: cooking for the maiko house ประเทศที่คนจะทำอาชีพอะไรก็ได้

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • 21st Century skills
    พลังแห่ง Soft Skill ทักษะที่จะช่วยให้เด็กเข้าใกล้ความสำเร็จในชีวิตได้มากขึ้น

    เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Character building
    Grit : ส่วนผสมของ ‘หลงใหล’ และ ‘พากเพียร’ ความสำเร็จที่ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to get along with teenager
    การยอมรับ คำชื่นชม และค้นพบความคลั่งไคล้ของตัวเอง: 3 พลังที่ควรได้รับเมื่ออยู่ในช่วงวัยรุ่น

    เรื่อง กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

โลกโกลาหล (BANI World) Ep3 Nonlinear: ยิ่งพลิกแพลงได้ ยิ่งมั่นคง ในโลกที่ไร้เหตุผลและคาดเดาได้ยาก
Character building
26 January 2023

โลกโกลาหล (BANI World) Ep3 Nonlinear: ยิ่งพลิกแพลงได้ ยิ่งมั่นคง ในโลกที่ไร้เหตุผลและคาดเดาได้ยาก

เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • ในบรรดากรอบคิดหรือชุดคำศัพท์ที่ใช้อธิบายปรากฎการณ์ทางสังคม เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น BANI World เป็นคำที่กำลังได้รับความสนใจในวงวิชาการ
  • BANI เป็นผลงานของนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน Jamais Cascio เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของตัวอักษรหน้าคำศัพท์ 4 คำ ได้แก่ Brittle ความเปราะบาง, Anxious ความกังวล, Nonlinear การคาดเดายาก,  Incomprehensible ความเข้าใจได้ยาก
  • ‘Nonlinear’ แปลว่า ‘ไม่เป็นเส้นตรง’ ซึ่งหากขยายภาพให้ชัดขึ้น Nonlinear เป็นนิยามของ ‘โลกที่คาดเดาได้ยาก’ และ ‘ไม่มีความแน่นอน’ แต่สิ่งที่จะช่วยรับมือได้คือ ความสามารถในการพลิกแพลงและความสามารถในการปรับตัว

เปราะบาง (Brittle) เต็มไปด้วยความกังวล (Anxious) คาดเดายาก (Nonlinear) และเข้าใจได้ยาก (Incomprehensible) เป็นนิยามสั้นๆ ของโลกโกลาหลที่ จาไมส์ คาสซิโอ (Jamais Cascio) นักมานุษยวิทยาและนักเขียนด้านอนาคต พยายามอธิบายให้เห็นถึงโลกในยุคปัจจุบัน หรือที่เรียกสั้นๆ ตามตัวอักษรขึ้นต้นเมื่อนำมารวมกันว่า ‘BANI World’

หากแปลตรงตัว ‘Nonlinear’ แปลว่า ‘ไม่เป็นเส้นตรง’ ซึ่งหากขยายภาพให้ชัดขึ้น Nonlinear เป็นนิยามของ ‘โลกที่คาดเดาได้ยาก’ ‘ไม่คงเส้นคงวา’ และ ‘ไม่มีความแน่นอน’ 

ความไม่แน่นอนและคาดเดาได้ยากอันที่จริงเป็นเรื่องธรรมดาตามธรรมชาติ เพียงแต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน ความไม่แน่นอนและคาดเดาได้ยากนั้นไม่ได้เป็นแค่เรื่องส่วนตัวที่ส่งผลกระทบเฉพาะบุคคล แต่ขยายวงกว้างไปยังครอบครัวและสังคม หรือบางเหตุการณ์สะเทือนไปทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลก 

กลับตาลปัตร ขาดการเชื่อมโยงและไม่สมเหตุสมผล

ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นใน BANI World หลายๆ เหตุการณ์ขาดการเชื่อมโยงกันและดูไม่สมเหตุสมผลจนจับต้นชนปลายไม่ถูก คาสซิโอ อธิบายความคาดเดาได้ยากนี้ว่า หลายครั้งเกิดจากการเข้ามาแทรกแซงหรือรบกวนจากระบบอื่นๆ หรืออาจมีเหตุการณ์ซึ่งเป็นสาเหตุที่แท้จริงอยู่เบื้องหลัง ทำให้ไม่สามารถหาเหตุและผลได้อย่างชัดเจนจากเหตุการณ์ที่ปรากฎตรงหน้าได้ ในโลกแบบ Nonlinear เหตุและผลที่แท้จริงมักปรากฏหรือคลี่คลายช้ากว่าที่ควรจะเป็น 

ยิ่งกว่านั้น อีกหนึ่งตัวอย่างที่มักพบได้อยู่บ่อยครั้งในโลกแห่งความไม่เป็นเหตุเป็นผลนี้คือ การตัดสินใจที่เราอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ กลับส่งผลกระทบที่ลงเอยด้วยผลลัพธ์ที่ไม่น้อย ทั้งในแง่ดีและแง่ร้าย หรือขณะที่บางอย่างที่เราทุ่มเทแรงกายแรงใจอย่างมหาศาล ทั้งผลักทั้งดันกลับแทบมองไม่เห็นผลลัพธ์และไม่ได้ผลตอบแทนอะไรกลับมาอย่างที่ควรจะเป็น

การแพร่ระบาดและการกลายพันธุ์ของโคโรนาไวรัสเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงโลกที่คาดเดาได้ยากนี้ได้เป็นอย่างดี หรืออิทธิพลของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทำให้การวางแผนงานและกลยุทธ์ต่างๆ ในแวดวงธุรกิจที่ตายตัว จะไม่สามารถพาองค์กรไปสู่เป้าหมายได้อีกแล้ว หรือแม้แต่วัฒธรรมองค์กรแบบเก่าที่อาศัยการสั่งงานจากผู้บังคับบัญชา จะกลายเป็นภาระที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถคิดพลิกแพลงได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงรอบตัวที่เกิดขึ้นรอบตัว

ยิ่งยืดหยุ่น ยิ่งมั่นคง

“ท้ายที่สุดแล้ว คงไม่ใช่สายพันธุ์ที่แข็งแกร่งหรือฉลาดที่สุดที่จะอยู่รอด แต่เป็นสายพันธุ์ที่ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด” คำกล่าวของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษยังคงใช้ได้กับ BANI World

ในเมื่อการเผชิญหน้ากับความคาดเดาได้ยากเป็นเรื่องปกติของโลก สิ่งที่จะช่วยรับมือและต่อกรกับความไม่มั่นคงและไม่แน่นอนนี้ คือ ความสามารถในการพลิกแพลง (Flexibility) ในที่นี้รวมถึง ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการตอบสนองต่อแนวโน้มความเปลี่ยนแปลง นวัตกรรม วิทยาการและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์เฉพาะหน้า รวมทั้งการมองภาพรวมได้ระยะยาว ยกตัวอย่างเช่น องค์กร/ สถาบันต่างๆ ไม่สามารถดำเนินงานหรือมีแบบแผนการทำงานที่เข้มงวดมากเกินไป แต่ควรปรับโครงสร้างให้มีความสามารถในการพลิกแพลงและคล่องตัวขึ้น เช่น การทำงานจากที่บ้านควบคู่ไปกับการเข้าทำงานในออฟฟิศ 

พนักงานก็จำเป็นต้องพัฒนาตัวเองให้ก้าวไปพร้อมหรือล้ำหน้าความเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม ขณะที่ AI หรือหุ่นยนต์และระบบทำงานอัตโนมัติได้เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรม กิจการและธุรกิจต่างๆ มากขึ้น ซึ่งช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการในระยะยาวโดยไม่จำเป็นต้องจ้างคนทำงานอีกต่อไป  เป็นต้น

ในแง่มุมด้านการศึกษา การเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เด็กและเยาวชนมีความสามารถในการพลิกแพลงและมีความสามารถในการปรับตัวจึงเป็นเรื่องจำเป็น 

เพราะเป็นคุณสมบัตินี้นอกจากจะเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการมองหา และสำคัญต่อการทำงานในอนาคต ยังช่วยให้เด็กใช้ชีวิตในโลกที่ผันผวนได้มั่นคงมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ปกครองและโรงเรียนสามารถเข้ามามีส่วนช่วยสร้างความมั่นคงทางกายและใจในโลกที่ไม่แน่นอนนี้ให้กับเด็กและเยาวชนได้ 

บทความเรื่อง ‘4 วิธีการพัฒนาความสามารถในการพลิกแพลงและความสามารถในการปรับตัว’ นำเสนอโดยมหาวิทยาลัยดรีเซล (Drexel University) มหาวิทยาลัยเอกชน รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา กล่าวถึงการพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในการพลิกแพลงไว้ ดังนี้

1. เปลี่ยนวิธี/ กระบวนการคิด

2. ผลักดันตัวเองให้ทำเรื่องที่ท้าทาย/ มีความเสี่ยง

3. สนับสนุนหรือเปิดพื้นที่ให้ผู้อื่นเปิดใจ

4. เปิดรับการเรียนรู้

4 วิธีการที่ดูเหมือนไม่มีอะไรมากมาย แต่จำเป็นต้องอาศัยเวลาและการฝึกฝนจากการลงมือทำ

1. เปลี่ยนวิธี/ กระบวนการคิด

ปล่อยวางความคิดที่ว่า “นี่เป็นวิธีการที่ฉันทำมาตลอด!” แล้วไม่ยอมปรับเปลี่ยน

แม้ความเปลี่ยนแปลงจะเป็นเรื่องน่ากลัวและน่าวิตก จงยอมรับและมองความเปลี่ยนแปลงนี้เป็นโอกาสในการพัฒนาตัวเอง เรียนรู้ ปรับปรุงและเติบโต 

แน่นอนว่าการเอาชนะความกลัวและความกังวลไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปไม่ได้ ผู้ปกครองและโรงเรียนสามารถช่วยส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนคลายความกลัวและความกังวลได้ ด้วยการสนับสนุนการลงมือทำด้วยวิธีการใหม่ๆ โดยไม่โฟกัสไปที่ผลลัพธ์เพียงอย่างเดียว ท้ายที่สุดความสามารถในการพลิกแพลงและการปรับตัวนี้จะเปิดประตูไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งคุณลักษณะที่สำคัญในโลกโกลาหล นอกจากนี้ การเปลี่ยนวิธี/กระบวนการคิด ยังรวมไปถึงการเปิดรับความคิดและความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างรอบด้านด้วย

2. ผลักดันตัวเองให้ทำเรื่องที่ท้าทาย/มีความเสี่ยง

จากวิธีการแรกเชื่อมโยงมาสู่วิธีการที่สอง สำหรับบางคนความเสี่ยงหรือความท้าทายเป็นพื้นที่ต้องห้าม ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่อยากเข้าไปเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติการเปิดรับความเสี่ยงและความท้าทายเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับตัว ซึ่งสามารถเริ่มต้นจากเรื่องเล็กๆ ง่ายๆ เช่น ในห้องเรียนการทำขนม ลองเรียนรู้การทำขนม ด้วยการปรับเปลี่ยนสูตรให้ต่างออกไปจากเดิม เป็นต้น

3. สนับสนุนหรือเปิดพื้นที่ให้ผู้อื่นเปิดใจ

เป็นการสร้างบรรยากาศ ‘เปิดกว้าง’ และ ‘ปลอดภัย’ ให้เกิดขึ้นรอบตัว วิธีการนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเปิดใจผู้อื่นเท่านั้น แต่ส่งผลกระทบต่อตัวเองด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อผู้คนรอบตัวอยู่ในสภาวะที่เปิดกว้างเปิดใจ การแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือความคิดเห็นต่างๆ จะดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก และลดความอึดอัดหรือความกังวลลงไปได้

การสร้างบรรยากาศที่เปิดกว้างและเปิดใจในที่บ้านและที่โรงเรียน ทำได้ด้วยการเปิดพื้นที่แสดงความคิดเห็น ทั้งในรูปแบบของการพูดคุยหรือการเขียน โดยปราศจากการประเมินหรือให้คะแนน และไม่มีการเปรียบเทียบว่าความคิดหรือผลงานของใครดีกว่าของใคร

4. โอบกอดการเรียนรู้

คนที่มีความสงสัยใคร่รู้ เช่น ติดตามข่าวสารต่างๆ อย่างรอบด้านอยู่เสมอจะปรับตัวได้ดี นั่นหมายความว่า การเรียนรู้ไม่จำกัดขอบเขต เวลาหรืออายุ ไม่มีคำว่าเป็นไปไม่ได้ในเรื่องที่ยังไม่รู้ กระบวนการเรียนรู้อย่างเปิดกว้างและรอบด้าน จะช่วยเปิดมุมมองความคิด ทำให้ผู้เรียนมองเห็นทางเลือกหรือคำตอบในสิ่งที่กำลังค้นหาว่าไม่ได้มีคำตอบเพียงคำตอบเดียวเสมอไป

ทั้งนี้ เมลิซซา คอรี (Melissa Cory) ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและการศึกษาวิชาชีพ โรงเรียนธุรกิจเมล์นเดอร์ส (Meinders School of Business) มหาวิทยาลัยโอคลาโฮมาซิตี้ (Oklahoma City University) กล่าวว่า “ผู้ที่มีความสามารถในการพลิกแพลงและมีความสามารถในการปรับตัว ทั้งมุมมองความคิดและพฤติกรรมให้เข้ากับสถานการณ์รอบตัวเป็นผู้ที่ครอบครองคุณสมบัติที่สำคัญและจำเป็นสำหรับอนาคต…เพราะพวกเขาจะสามารถปรับช่วงเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงให้เป็นโอกาส การปรับเปลี่ยนนี้ไม่เฉพาะแค่ตัวเองเท่านั้นแต่รวมถึงการสร้างระบบ เครือข่ายหรือเครื่องมือที่จะช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงด้วย” 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ADAPTABILITY: ปรับตัว ยืดหยุ่น ไม่หนีปัญหา ทักษะสำคัญของโลกที่เปลี่ยนทุกวันhttps://thepotential.org/knowledge/adaptability-character-building/

โลกโกลาหล (BANI World) Ep1 Brittle: ในโลกที่เปราะบาง เด็กต้องไม่แตกหักด้วยทักษะความยืดหยุ่น https://thepotential.org/knowledge/bani-world-ep1-brittle/

โลกโกลาหล (BANI World) Ep2 Anxious: ความวิตกกังวลที่หายขาดได้ด้วยความเข้าอกเข้าใจhttps://thepotential.org/knowledge/bani-world-ep2-anxious/

อ้างอิง

https://medium.com/@cascio/facing-the-age-of-chaos-b00687b1f51d

https://drexel.edu/graduatecollege/professional-development/blog/2019/September/4-ways-to-boost-your-adaptability-skills/

https://www.roberthalf.co.nz/career-advice/career-development/adaptability-skills

https://www.betterup.com/blog/how-to-increase-adaptability

Tags:


Author:

illustrator

วิภาวี เธียรลีลา

นักเขียนอิสระที่อยากเข้าใจวิถีชีวิตผู้คน เลยพาตัวเองไปใช้ชีวิตในลอนดอน ปักกิ่ง เซินเจิ้นและอเมริกา กินมังสวิรัติ อินกับโภชนาการ กำลังเรียนเป็นนักปรับพฤติกรรมสุนัขและชอบกินกาแฟใส่ฟองนม

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Transformative learning
    ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP4: การซึมซับและปรับตัว 

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Transformative learning
    เปลี่ยนระบบนิเวศโรงเรียนเป็นสนามพลังบวก ยกระดับเด็กด้อยโอกาสสู่เด็กได้โอกาส: ผอ.วรรณรักษ์ หงษ์ทอง

    เรื่อง นิภาพร ทับหุ่น

  • Adolescent BrainSocial Issues
    The Anxious Generation EP 1: เลี้ยงลูกด้วย ‘หน้าจอ’ สัญญาณร้ายสู่คนรุ่นใหม่วัยวิตก

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ พิมพ์พาพ์

  • Life Long LearningTransformative learning
    ‘Lifelong Learning’ เรียนรู้จากประสบการณ์ รากฐานสู่ความงอกงามของชีวิต: ศ. นพ.วิจารณ์ พานิช

    เรื่อง บุญญิสา รัตนมณี

  • Transformative learning
    ‘ข้อมูลที่ตรงจริง กับคุณครูที่มีหัวใจ’ โรงเรียนเปลี่ยนได้ด้วย Data Driven: ผอ.ปัฐน์ศรัญย์ จิตต์ประยูร

    เรื่อง นิภาพร ทับหุ่น

เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 7. ลัทธิบูชาผลงาน
Transformative learning
25 January 2023

เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 7. ลัทธิบูชาผลงาน

เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ ‘เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ’ ตอนที่ ๗. ลัทธิบูชาผลงาน โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
  • ลัทธิบูชาผลงาน ผลักดันให้ครูกลายเป็นผู้ส่งมอบผลงานตามหลักสูตร และผลิตสถิติแสดงผลงาน แทนที่จะทำหน้าที่เป็นผู้พัฒนาหลักสูตร เป็นครูที่รับผิดชอบ และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เท่ากับลัทธิบูชาผลงานสร้างความเสื่อมให้แก่วิชาชีพครู
  • ระบบการศึกษารับเอาลัทธิบูชาผลงาน (performativity) ไปจากการบริหารงานภาครัฐ ซึ่งรับไปจากวงการธุรกิจอีกต่อหนึ่ง ตามแนวทางการจัดการสมัยใหม่ ของลัทธิเสรีนิยมใหม่ (neo-liberalism) หรือทุนนิยม

บันทึกชุด เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ นี้ ตีความ (ไม่ใช่แปล) จากหนังสือ Teacher Agency : An Ecological Approach (2015) เพื่อหนุนการดำเนินการหลักสูตรฐานสมรรถนะของไทย ให้เป็นหลักสูตรที่มีครูเป็น “ผู้ร่วมสร้าง” (co-creator) โดยขอย้ำว่า ผมเขียนบันทึกชุดนี้แบบตีความสุดๆ ในหลายส่วนได้เสนอมุมมองของตนเองลงไปด้วย ท่านผู้อ่านจึงพึงอ่านอย่างมีวิจารณญาณ อย่าเชื่อโดยง่าย

บันทึกที่ ๗ นี้ ตีความจากบทที่ 5 Performativity and Teacher Agency 

ระบบการศึกษารับเอาลัทธิบูชาผลงาน (performativity) ไปจากการบริหารงานภาครัฐ ซึ่งรับไปจากวงการธุรกิจอีกต่อหนึ่ง ตามแนวทางการจัดการสมัยใหม่ ของลัทธิเสรีนิยมใหม่ (neo-liberalism) หรือทุนนิยม ที่เน้นผลประกอบการเหนือสิ่งอื่นใด ลัทธินี้ให้คุณค่าต่อเรื่อง ความคุ้มค่าเงิน กลไกตลาด ความรับผิดรับชอบ (accountability) และความเป็นอิสระของโรงเรียน เท่ากับเกิดการเปลี่ยนพลังอำนาจจากโรงเรียนมีอำนาจภายในตน ไปสู่หน่วยงานภายนอกมีอำนาจเหนือโรงเรียน โรงเรียนต้องทำตามแนวทางที่หน่วยงานภายนอกกำหนด 

บันทึกตอนนี้มุ่งทำความเข้าใจว่าลัทธิบูชาผลงานส่งผลต่อความเป็นผู้ก่อการของครูอย่างไร โดยศาสตราจารย์ Mark Priestley ผู้เขียนหนังสือ Teacher Agency อธิบายว่า ลัทธิบูชาผลงานน่าจะมีผลต่อ พลังที่มีอิทธิพลต่อความเป็นผู้ก่อการของครูทั้ง ๓ มิติ คือ (๑) พลังแห่งอดีต หรือการสั่งสมประสบการณ์และการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานที่ผ่านมาของครู (iterational dimension) ดังผลงานวิจัยที่บอกว่าครูที่คุ้นเคยกับระบบหลักสูตรเก่า (หลักสูตรแห่งชาติ ๕ – ๑๔ ที่เน้นการทดสอบผลลัพธ์การเรียนรู้ด้วยการทดสอบมาตรฐาน เมื่อเปลี่ยนมาใช้หลักสูตรใหม่ – Curriculum for Excellence – ที่ให้ความเป็นอิสระมากกว่า ครูเหล่านั้นยังคงปฏิบัติตามแบบเดิม) (๒) พลังแห่งปัจจุบัน หรือการตัดสินใจลงมือปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติของครู ณ จุดของการดำเนินการ (practical – evaluative dimension) ในสภาพที่โรงเรียนถูกกำหนดผลงานจากภายนอก การตัดสินใจขึ้นกับปัจจัยภายนอก ไม่ขึ้นอยู่กับครู และ (๓) พลังจากอนาคต หรือการมองหรือคาดการณ์ไปในอนาคตของครู (projective dimension) ซึ่งหมายถึงความหมายของโรงเรียน ว่าโรงเรียนมีไว้เพื่ออะไร คือถูกลดทอนลงเป็นเพียงเพื่อทำงานให้ได้ผลงานตามที่มีผู้กำหนดให้ทำ ทำให้ครูเพียงแค่สอนเพื่อสอบ และบางครั้งครูก็โกงผลงานเอาดื้อๆ 

เท่ากับลัทธิบูชาผลงาน สร้างนิสัยขี้โกง หรือไม่สุจริตให้แก่ครู ยิ่งมีการตรวจสอบติดตามผลมาก ครูยิ่งเชี่ยวชาญการโกง 

เขาบอกว่าลัทธิบูชาผลงานของอังกฤษกับของสก็อตแลนด์ต่างกัน ของอังกฤษเน้นกลไกตลาดและการกระจายอำนาจ ส่วนของสก็อตแลนด์เน้นโครงสร้างบังคับบัญชาเป็นชั้นๆ แต่ไม่เคร่งครัดเรื่องความรับผิดรับชอบ แปลกมากที่ลัทธิบูชาผลงานถูกวิพากษ์วิจารณ์มากในวงการวิชาการของต่างประเทศ แต่ไม่มีการยกขึ้นมาถกเถียงเลยในประเทศไทย วงการวิชาการไทยยอมสยบต่ออำนาจเหนืออย่างไม่ตั้งข้อสงสัยในเรื่องผลดีหรือผลร้ายต่อสังคมภาพรวม 

ลัทธิบูชาผลงาน, วิชาชีพ, และความเป็นผู้ก่อการ

มีผู้เขียนรายงานทางวิชาการตีพิมพ์ไว้ตั้ง ๒๐ ปีมาแล้ว (Michael Apple, 2001) ว่า ระบบโรงเรียนทั่วโลกได้เปลี่ยนจุดเน้น จากมุ่งสนองความจำเป็นของเด็ก ไปมุ่งสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้ และจากการที่โรงเรียนทำเพื่อเด็ก กลายเป็นเด็กทำเพื่อโรงเรียน สะท้อนวัฒนธรรมหรือลัทธิบูชาผลงาน ผมอ่านหนังสือตอนนี้แล้วสะท้อนคิดว่า สภาพนี้เป็นจริงสำหรับระบบการศึกษาไทยด้วย สภาพดังกล่าวบีบบังคับให้ครูต้องหาทางทำให้นักเรียนทำเกรดให้สูงเพื่อรักษาชื่อเสียงของโรงเรียน ซึ่งในสภาพไทยผมคิดว่า โรงเรียนที่ผลการเรียนต่ำ ใช้วิธีสร้างชื่อเสียงโดยฝึกให้นักเรียนเก่งๆ สองสามคน ไปแข่งขันชิงรางวัลชนะเลิศในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เอาไว้ประชาสัมพันธ์ 

ลัทธิบูชาผลงาน ผลักดันให้ครูกลายเป็นผู้ส่งมอบผลงานตามหลักสูตร และผลิตสถิติแสดงผลงาน แทนที่จะทำหน้าที่เป็นผู้พัฒนาหลักสูตร เป็นครูที่รับผิดชอบ และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เท่ากับลัทธิบูชาผลงานสร้างความเสื่อมให้แก่วิชาชีพครู มีส่วนผลักดันให้ครูจำนวนหนึ่งเป็นนักเล่นเกม คือเล่นเกมผลงาน ที่เป็นผลงานหลอกๆ ไม่ใช่ผลงานที่เป็นคุณค่าแท้จริงของครูและการศึกษา ส่งผลต่อเนื่องให้ครูรู้สึกไม่มั่นใจตนเอง หวั่นไหวในคุณค่าของตนเอง และเล่นเกมคุณค่าหลอกๆ ของตนเองและการศึกษา และที่ร้ายคือในบางกรณีนำไปสู่ความไม่ซื่อสัตย์ในการแสดงผลงานของตน 

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาที่หนังสือ Teacher Agency ออกเผยแพร่ มีกระแสใหม่เกิดขึ้น คือกระแสวิชาชีพนิยม (professionalism) ในวงการนโยบายสาธารณะ เน้นบทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพในการดำเนินการนโยบายสาธารณะ ดังกรณีที่หลักสูตร Curriculum for Excellence ต้องการให้ครูทำหน้าที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร 

ลัทธิบูชาผลงานเน้นควบคุมผลลัพธ์ (output regulation) ของการปฏิบัติงาน โดยที่หลักสูตร National Curriculum (1989) ของอังกฤษเน้นควบคุมปัจจัยนำเข้า (input regulation) เขาบอกว่าการควบคุมผลลัพธ์มีผลลดทอนความเป็นอิสระของครูมากกว่าการควบคุมปัจจัยนำเข้า จึงน่าสนใจมากว่าเมื่อลัทธิบูชาผลงานบรรจบกับนโยบายให้ครูแสดงความเป็นผู้ก่อการ จะเกิดอะไรขึ้น 

วิชาชีพนิยม (professionalism) หมายถึง สภาพที่ผู้ประกอบวิชาชีพควบคุมการปฏิบัติงานของตนเอง มากกว่าควบคุมโดยผู้บริโภคในตลาด หรือโดยหน่วยงานกลางของรัฐหรือบริษัท ซึ่งสภาพจริงในปัจจุบันไม่มีวิชาชีพนิยมแบบสุดขั้วดังกล่าว แต่ต้องมีสมดุลระหว่าง ๔ ฝ่ายคือ วงการวิชาชีพ ผู้ใช้บริการ รัฐ และนายจ้าง โดยที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ๔ ฝ่ายนี้ มีพลวัตอยู่ตลอดเวลา 

ในสก็อตแลนด์ วิชาชีพครูถือเป็นแนวหน้าของการปฏิรูปบริการภาครัฐ โดยรัฐบาลระบุนโยบายว่า “เป็นบริการที่สนองความต้องการของบุคคลและชุมชน เน้นพัฒนาผลลัพธ์ และต้องคำนึงถึงข้อจำกัดของงบประมาณ” สะท้อนว่า ครูต้องทำหน้าที่ตัดสินใจในสถานการณ์ที่ซับซ้อนของมนุษย์ ซึ่งก็คือต้องใช้ความเป็นครูผู้ก่อการนั่นเอง 

ซึ่งหมายความว่า ครูต้องทำหน้าที่ตัดสินใจในสถานการณ์แวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อความเป็นตัวของตัวเองของครู เพราะระบบรัฐดำเนินตามแนวเสรีนิยมใหม่ ผู้ใช้บริการกลายเป็นลูกค้า และรัฐเปลี่ยนบทบาทจากผู้ให้บริการไปเป็นผู้กำกับหรือตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพ รวมทั้งระบบรับผิดรับชอบก็เปลี่ยนไป ครูอยู่ในสภาพที่ถูกกำกับโดยปัจจัยภายนอกหลากหลายมิติ กำกับปัจจัยนำเข้าโดยหลักสูตรที่กำหนดรายละเอียดยิบ กำกับผลลัพธ์โดยมีเป้าให้ต้องบรรลุ มีการตรวจสอบโดยศึกษานิเทศก์ รวมทั้งต้องเข้ารับการพัฒนาทักษะวิชาชีพ 

บรรยากาศเปลี่ยนจาก การทำงานแบบเป็นหุ้นส่วน เป็นเพื่อนร่วมงาน มีสิทธิใช้ดุลยพินิจ และได้รับความไว้วางใจ ไปเป็นระบบการจัดการ ระบบราชการ กำกับมาตรฐาน ประเมิน และทบทวนผลงาน ซึ่งเป็นระบบนิเวศของลัทธิบูชาผลงาน ซึ่งลิดรอนความเป็นตัวของตัวเอง หรือความเป็นผู้ก่อการ ของครู

มีผู้เสนอว่า ลัทธิบูชาผลงานในโรงเรียน ประกอบด้วย ๓ ส่วนที่ถักทอเข้าด้วยกันคือ (๑) วัฒนธรรมกำหนดเป้าและตรวจสอบ โดยใช้ตัวเลขสถิติ (๒) เน้นกลไกตรวจสอบการดำเนินการ (๓) เน้นกลไกตลาด โดยเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ปกครองนักเรียนเลือกโรงเรียนให้บุตรหลานได้ 

ในลัทธิบูชาผลงาน เครื่องมือสำคัญคือตัวชี้วัดผลงาน ซึ่งในที่สุดกลายเป็นเป้าหมายไปโดยปริยาย ทำให้คุณค่าของการศึกษาถูกลดทอนลงไป กลายเป็นครูและโรงเรียนทำงานเพื่อตัวชี้วัด ไม่ได้ทำเพื่อนักเรียน คุณค่าส่วนไหนที่ไม่มีในตัวชี้วัดนักเรียนก็มีแนวโน้มจะไม่ได้รับ ลัทธิบูชาผลงานจึงเป็นมายาที่ทำให้เกิดการหลงผิด หลงยึดสิ่งที่เป็นเครื่องมือ (means) คือตัวชี้วัดผลงาน ว่าเป็นเป้าหมาย (end) โดยที่เป้าหมายแท้จริงมีความซับซ้อน และมีส่วนที่เป็นนามธรรม ตัวชี้วัดลดทอนลงเหลือเฉพาะเป้าหมายรูปธรรมที่วัดได้ง่าย กิจการที่มีคุณค่าสูงส่งอย่างการศึกษา จึงถูกลัทธิบูชาผลงานลดทอนคุณค่าลงไป ครูก็ถูกทำให้กลายเป็นเครื่องจักรผลิตผลงานตามตัวชี้วัด อย่างไร้จิตวิญญาณ 

ผมขอเสนอว่า ข้อวิเคราะห์ด้านลบในย่อหน้าบน น่าจะเป็นเครื่องเตือนสติครูและบุคลากรการศึกษาไทย ให้ไม่หลงถูกครอบงำโดยลัทธิบูชาผลงาน ครูต้องมีสติปัญญาในลักษณะ “เหมือนลิ้นงูอยู่ในปากงูโดยไม่ได้รับอันตรายจากเขี้ยวงูและพิษงู” หากครูรู้เท่าทัน ก็จะสามารถดำรงความเป็นผู้ก่อการได้ แม้ในระบบนิเวศของลัทธิบูชาผลงาน แต่ในภาพรวม ย่อมหนีไม่พ้นที่ลัทธิบูชาผลงานจะลดทอนความเป็นผู้ก่อการของครู 

ที่จริงหนังสือ Teacher Agency ยังสื่อสารความชั่วร้ายของลัทธิบูชาผลงานอีกมาก แต่ผมคิดว่าที่ผมสรุปมาดังข้อความข้างต้นน่าจะเพียงพอแล้ว 

ลัทธิบูชาผลงานในสก็อตแลนด์

ลัทธิบูชาผลงานแพร่เข้าไปในสก็อตแลนด์พร้อมกันกับในอังกฤษ โดยรัฐบาลมีนโยบายเลิกใช้การควบคุมปัจจัยนำเข้า ในปี 1997 หันไปควบคุมปัจจัยขาออกหรือผลลัพธ์แทน โดยใช้นโยบายที่เรียกว่า Quality Improvement Initiative ใช้กลไกของระบบรับผิดรับชอบภายนอก ตามแนวลัทธิบูชาผลงานคือ (๑) ประเมินโรงเรียนด้วยผลการสอบ ที่เรียกว่า summative evaluation (๒) เน้นกลไกตรวจสอบภายนอก และ (๓) กลไกตลาด การแข่งขัน ทั้งหมดนั้น ใช้กลไกราชการเข้าไปควบคุมให้ปฏิบัติตาม นำสู่การสร้างผลงานหลอกๆ และคดโกง 

เพื่อควบคุมปัจจัยขาออก ปัจจัยที่ ๑ คือการวัดผลงาน ในขณะที่ในอังกฤษ มีการจัดทำตารางจัดระดับ (league table) โรงเรียน อย่างเป็นทางการ สก็อตแลนด์ไม่มี แต่ก็มีภาคเอกชนจัดทำ และมีผลต่อพฤติกรรมของโรงเรียนอย่างมาก และมีผลลดทอนความเป็นผู้ก่อการของครู 

การควบคุมปัจจัยขาออกปัจจัยที่ ๒ คือระบบตรวจสอบ (inspection) มีการจัดทำดัชนีวัดความสำเร็จ (performance indicators) และระบบประเมินตนเอง รวมทั้งระบบตรวจสอบเพื่อพัฒนาคุณภาพ (quality improvement audit) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเปลี่ยนแนวทางการทำหน้าที่ จากหน้าที่สนับสนุน มาเป็นทำหน้าที่ตรวจสอบ 

ในสก็อตแลนด์การควบคุมปัจจัยขาออกปัจจัยที่ ๓ คือกลไกตลาด ไม่ค่อยชัด เพราะมีกลไกควบคุมจากส่วนกลางอย่างเข้มงวด ซึ่งก่อผลร้ายต่อการสนองความต้องการของนักเรียนจำนวนหนึ่ง 

ระบบการศึกษาในสก็อตแลนด์มีลักษณะพิเศษ ๓ ประการคือ (๑) การปฏิบัติตามกฎระเบียบ (๒) การควบคุมจากส่วนกลาง และ (๓) การจัดการการเปลี่ยนแปลงแบบเส้นตรง (หมายความว่าไม่คำนึงถึงความซับซ้อนของการศึกษา) มีการกำหนดตัวชี้วัดระดับคุณภาพ และโรงเรียนต้องรายงานข้อมูลหลักฐานแสดงคุณภาพของตน นำไปสู่ความเสี่ยงของการสร้างข้อมูลหลอกๆ ฟังดูคุ้นๆ นะครับ

ลัทธิบูชาผลงานกับความเป็นผู้ก่อการของครู

อุดมการณ์ของการศึกษาและความเป็นครู มีความขัดแย้งกับลัทธิบูชาผลงานอย่างชัดเจน ในอังกฤษและสก็อตแลนด์มีกระแสคัดค้าน หรือเตือนสติ ให้เห็นผลร้ายของลัทธิบูชาผลงานในระบบการศึกษา น่าสนใจมากว่าวงการวิชาการด้านการศึกษาไทยไม่เคยศึกษาเรื่องนี้ในบริบทไทยเลย 

วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพที่ต้องทำงานกับความซับซ้อน หรือทำงานในสภาพที่มีความซับซ้อนสูง ครูต้องทำงานไปใคร่ครวญสะท้อนคิดไป ซึ่งหมายความว่าต้องตั้งคำถามต่อสภาพที่ตนเผชิญ และต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกับการสร้างการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษา ไปสู่การเรียนการสอนแบบสานเสวนา (dialogic pedagogies) เรียนรู้เชิงรุก (active learning) จัดการเรียนรู้เฉพาะคน (individualized learning) และให้ผู้เรียนมีอิสระ หรือเป็นตัวของตัวเอง (student autonomy) ลัทธิบูชาผลงานเป็นตัวปิดกั้นการแสดงบทบาทเหล่านี้ ทีมวิจัยในโครงการ Teacher Agency and Curriculum Change จึงศึกษาเรื่องลัทธิบูชาผลงานใน ๓ โรงเรียนในโครงการวิจัย นำมาเสนอ 

ลัทธิบูชาผลงานในโรงเรียนประถม

ที่จริงโรงเรียนประถมในสก็อตแลนด์ได้ดำเนินการตามอุดมการณ์ของหลักสูตรใหม่ Curriculum for Excellence มาเป็นเวลานาน เป็นที่พูดกันในสก็อตแลนด์ว่า “โรงเรียนประถมสอนเด็ก โรงเรียนมัธยมสอนวิชา” แต่เมื่อหลักสูตรใหม่มาถึงโรงเรียนประถมในเมือง ครูทั้งสองคนในโครงการวิจัยส่ออาการวิตก ไม่มั่นใจตนเอง ว่าจะดำเนินการอย่างไร เพราะจริงๆ แล้วหลักสูตรใหม่ให้อิสระให้ครูคิดหลักสูตรเอง และคิดวิธีประเมินเอง 

ครูทั้งสองคน รวมทั้งผู้บริหาร ยังคงยึดติดอยู่กับหลักสูตรเก่า ที่เน้นการประเมินตรวจสอบระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนอย่างเคร่งครัด ในเมื่อหลักสูตรใหม่ไม่มีเกณฑ์ประเมินมาให้ชัดๆ ครูก็อึดอัด เพราะต้องคิดวิธีประเมินเอง สะท้อนระดับความเป็นผู้ก่อการต่ำ ที่สั่งสมมาจากอิทธิพลของลัทธิบูชาผลงานที่หลักสูตรเก่าบ่มเพาะไว้ 

ที่จริงโรงเรียนแห่งนี้ มีชื่อเสียงว่าเป็นโรงเรียนคุณภาพสูง แม้จะรับเด็กมาจากพื้นที่ที่พ่อแม่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ และครูทั้งสองก็มีความมุ่งมั่นในอาชีพครู เพื่อมุ่งสร้างความเท่าเทียม ความเป็นธรรมในสังคม แก้ปัญหาความด้อยโอกาส และส่งเสริมให้เกิดการยกฐานะในสังคม รวมทั้งครูทั้งสองมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานเพื่อนักเรียนให้ดีที่สุด 

แต่ความเคยชินอยู่กับระบบนิเวศของการทำงานเพื่อสนองหน่วยเหนือ หรือแรงกดดันจากภายนอกโรงเรียน และวัฒนธรรมเน้นผลงาน ทำให้ครูไม่คุ้นเคยกับการทำงานแบบคิดริเริ่มสร้างสรรค์เอง เมื่อหลักสูตรใหม่เปิดทางให้ ก็ทำไม่ถูกและกังวลใจ นี่คือสภาพที่ลัทธิบูชาผลงานได้สร้างความอ่อนแอในมิติการเป็นผู้ก่อการไว้ให้แก่ครูที่เป็นครูดี 

เพราะผู้บริหารโรงเรียนเป็นห่วงเรื่องผลการเรียนของนักเรียน จึงนำเครื่องมือ InCAS มาใช้ ยิ่งมีผลให้ครูต้องเสียเวลาไปกับการจัดการทดสอบ และเป็นสภาพ “สอนเพื่อสอบ” เข้าไปอีก ซึ่งไม่ตรงกับเป้าหมายของหลักสูตรใหม่ 

อิทธิพลของลัทธิบูชาผลงาน ทำให้ฝ่ายบริหารกำกับการทำงานของครูด้วยตารางการทำงาน และการตรวจสอบเข้มงวด แถมสำนักงานพื้นที่การศึกษาก็เข้ามาติดตามตรวจสอบ ในลักษณะของการกำกับผลลัพธ์ (output regulation) ทำให้บรรยากาศการทำงานอยู่ในสภาพที่มีความไว้วางใจต่ำต่อครู ยิ่งลดทอนหรือปิดกั้นความเป็นผู้ก่อการของครู 

ลัทธิบูชาผลงานในโรงเรียนมัธยมสองแห่ง

ได้กล่าวแล้วว่าหลักสูตรใหม่ Curriculum for Excellence มีแนวโน้มจะสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของโรงเรียนระดับประถมศึกษา แต่โรงเรียนประถมในโครงการวิจัย Teacher Agency and Curriculum Change กลับรวนเรจากการเข้ามาของหลักสูตรใหม่ เพราะครูโดนลัทธิบูชาผลงานกระทำ จนความเป็นผู้ก่อการมีระดับต่ำ จึงน่าจะคาดกันว่า โรงเรียนมัธยมทั้งสองแห่งน่าจะยิ่งซวดเซหนักกว่า แต่ผลการวิจัยบอกว่า มีอยู่โรงเรียนหนึ่งที่เป็นข้อยกเว้น เพราะครูในโรงเรียนแห่งนี้มีปฏิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นต่อกัน ทำให้ครูมีระดับความเป็นผู้ก่อการสูงมาก และร่วมกันรับมือหลักสูตรใหม่ได้โดยง่าย 

หมายความว่า ในโรงเรียนแห่งนี้ ปฏิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นต่อกันระหว่างครู และระหว่างครูกับผู้บริหาร ทำให้อิทธิพลของปฏิสัมพันธ์ และความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เอาชนะอิทธิพลของลัทธิผลงานได้ ในเรื่องการส่งผลต่อการเป็นผู้ก่อการของครู 

สภาพของโรงเรียนชั้นมัธยมในสก็อตแลนด์ เน้นการสอนวิชาสำหรับนำไปสอบให้ได้คะแนนสูง ช่วยให้สถิติผลงานของโรงเรียนดี สาระในหนังสือ Teacher Agency สะท้อนภาพการศึกษาของสก็อตแลนด์อย่างหมดเปลือก เขาบอกว่า ในระดับมัธยมศึกษา พฤติกรรมของชั้นสูงกว่าเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของชั้นต่ำกว่า (principle of downward incrementalism) คือการเรียนการสอนในชั้น ม. ต้น (ม. ๑ และ ๒) ถูกกำหนดโดยความต้องการของชั้น ม. ปลาย เพราะเด็กต้องการเอาผลการเรียนไปเลือกสายเรียนต่อในชั้น ม. ปลาย และโรงเรียนมักให้นักเรียนเลือกสายตั้งแต่จบชั้น ม. ๑ ไม่ใช่เลือกตอนจบชั้น ม. ๒ ด้วยเหตุผลว่า ช่วยให้เด็กตั้งใจเรียนและผลการเรียนดีขึ้น จะเห็นว่าลัทธิบูชาผลงานมีอิทธิพลสูงมาก 

ครูเคทแห่งโรงเรียนเชิงเขา กล่าววาทกรรมตอนหนึ่งว่า โรงเรียนไม่น่าจะส่งนักเรียนที่ไม่พร้อมเข้าสอบ เพราะจะทำให้สถิติผลงานของโรงเรียนดูไม่ดี สะท้อนวิธีคิดตามวัฒนธรรมบูชาผลงาน และผลประโยชน์ของโรงเรียนมาก่อนผลประโยชน์ของนักเรียน 

เรื่องที่ก่อความอึดอัดแก่ครูมากคือการตรวจสอบ (inspection) ซึ่งในสก็อตแลนด์ การตรวจสอบโรงเรียนมี ๓ ระดับ คือระดับชาติ ระดับพื้นที่การศึกษา และระดับภายในโรงเรียน ระบบตรวจสอบภายในโรงเรียนเรียกว่า observation และทำโดยฝ่ายบริหาร ในโรงเรียนมัธยมมีการตรวจสอบระดับสาขาวิชา ทำโดยหัวหน้าสาขาวิชา 

ครูของโรงเรียนชายทะเลสาบทั้งสองคนกล่าวตรงกันว่า ครูไม่ควรต้องเตรียมตัวรับการตรวจสอบ คือผู้ตรวจสอบอยากมาตรวจเมื่อไรก็มาได้เลย เพราะห้องเรียนเป็นสถานที่เปิดอยู่แล้ว เป็นท่าทีที่น่าชื่นชมยิ่ง สะท้อนการเป็นครูที่ทำงานจริง จึงไม่คิดเอาผักชีโรยหน้ารับการตรวจสอบ แต่ครูซูซานแห่งโรงเรียนชายทะเลสาบบอกว่าการตรวจสอบของพื้นที่การศึกษาได้เปลี่ยนไป จากเดิมเป็นการตรวจสอบเพื่อสนับสนุนส่งเสริม กลายเป็นตรวจสอบเพื่อควบคุม ไม่มีการให้คำแนะนำป้อนกลับเพื่อการพัฒนา ที่ร้ายคือผู้ตรวจการณ์เหล่านี้ไม่รู้จริง ไม่ได้ทำงานสอนมานานหลายปีแล้ว 

หลักสูตรใหม่ Curriculum for Excellence เน้นให้ความเป็นอิสระแก่ครู จึงขัดแย้งกับวัฒนธรรมบูชาผลงาน (performativity) อย่างจัง ทำให้ครูบอกว่าตนชอบการให้อิสระ แต่ก็กลัวที่จะลงมือดำเนินการเพราะห่วงเรื่องการตรวจสอบที่ยังคงเดิม 

สรุป

เรื่องราวทั้งหมดนี้สะท้อนนโยบายที่ขัดกันระหว่างหลักสูตร Curriculum for Excellence กับลัทธิบูชาผลงานและการตรวจสอบ ก่อสภาพยากลำบากแก่ครู คือครูต้องทำงานอยู่ภายใต้สองนโยบายที่ขัดกันเอง และเนื่องจากครูคุ้นกับสภาพการทำงานแบบควบคุมสั่งการจากส่วนกลางภายใต้ลัทธิผลงานมานาน ๒๐ ปี จึงบั่นทอนความเป็นผู้ก่อการลงไป ทำให้ไม่กล้าดำเนินการตามแนวของหลักสูตรใหม่ สภาพนี้ไม่รุนแรงในโรงเรียนริมทะเลสาบ เพราะความสัมพันธ์แนวราบระหว่างผู้บริหารกับครู ก่อความไว้วางใจระหว่างกันในกลุ่มครูและผู้บริหาร ทำให้ครูในโรงเรียนนี้แสดงพฤติกรรมและวาทกรรมของผู้ก่อการออกมา 

สามารถอ่านบทความ เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ ตอนที่ 1 – 6 ได้ที่นี่ 

เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 1.ปณิธานสู่ระบบการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 ของไทย – The Potential

เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 2. ครูผู้ก่อการคือใคร เกิดขึ้นได้อย่างไร – The Potential

เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 3. ความเป็นครูผู้ก่อการ กับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร – The Potential

เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 4. ความเชื่อและปณิธานความมุ่งมั่นของครู – The Potential

เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 5. คลังคำและวาทกรรมของครู – The Potential

เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 6. คุณค่าของปฏิสัมพันธ์ – The Potential

Tags:

โจทย์วิจัยปฏิสัมพันธ์หนังสือProfessional Learning Community : PLCเอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการTeacher AgencyTeacher Agency : An Ecological ApproachAgentic Teacherครูผู้ก่อการPriestleyหนังสือ-วิจารณ์ครู

Author:

illustrator

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

รองประธานกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล ผู้อำนวยการคนแรกของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) และได้ดำรงตำแหน่ง 2 สมัย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส.) ดำรงตำแหน่งกรรมการของหน่วยงานและมูลนิธิหลายแห่ง

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Transformative learning
    เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 9. เกื้อกูลความเป็นผู้ก่อการของครู

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Transformative learning
    เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 6. คุณค่าของปฏิสัมพันธ์

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Transformative learningEducation trend
    เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 5. คลังคำและวาทกรรมของครู

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Transformative learningEducation trend
    เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 4. ความเชื่อและปณิธานความมุ่งมั่นของครู

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Transformative learningEducation trend
    เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 3. ความเป็นครูผู้ก่อการ กับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

Discipline: ‘วินัย’ ไม่อาจสร้างจากความรุนแรง แต่บ่มเพาะจากความเชื่อใจและรับฟัง
Character building
23 January 2023

Discipline: ‘วินัย’ ไม่อาจสร้างจากความรุนแรง แต่บ่มเพาะจากความเชื่อใจและรับฟัง

เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • การสร้างวินัยด้วยการลงโทษทางกายนำไปสู่การเพิ่มความก้าวร้าวและพฤติกรรมต่อต้านสังคมของเด็ก เรียกว่าความรุนแรงนำไปสู่ความรุนแรงเป็นวงจรอุบาทว์ ก็คงไม่ผิดเสียทีเดียวนัก
  • เครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในการสร้างวินัยในเด็กคือ การรับฟัง และการเอาใจใส่ หากเขาทำตัวดี ต้องชมเชยอย่างสม่ำเสมอ และหากทำตัวไม่เหมาะสมในเรื่องใด ก็ต้องสอนอย่างนุ่มนวล
  • หากเด็กทำตัวไม่ดี เอาแต่ใจ เมื่อเตือนให้หยุดงอแงแล้ว ก็ยังไม่หยุด คุณอาจจะต้องควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ดี พาแกออกออกจากสถานการณ์ตรงหน้า ไปไว้ในสถานที่ปลอดภัยสักแห่ง เช่น ในห้องของแกเอง แล้วปล่อยให้แกสงบใจกับ ‘เวลานอก’

เชื่อว่าคนจำนวนมากคงผ่านหูคำพูดทำนอง “ลูกของคุณไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน” มาบ้าง 

การฝึกลูกหลานให้มี ‘วินัย’ ดูเหมือนจะเป็นปัญหาใหญ่ของหลายครอบครัว (หรืออาจจะในครอบครัวส่วนใหญ่) จึงไม่น่าแปลกใจที่จะเจอเหตุการณ์เด็กเล็กลงไปนอนชักดิ้นชักงออยู่ตามทางเดิน ทั้งในห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์เซ็นเตอร์ โรงภาพยนตร์ สวนสนุก และที่อื่นๆ 

คำว่า ‘วินัย’ ในภาษาใช้ว่า Discipline ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำในภาษาละตินว่า Diciplinare แปลว่า ‘สอนหรือฝึกหัด’ สะท้อนให้เห็นมุมมองว่า วินัยไม่ได้เกิดขึ้นเองหรือมีติดตัวมาแต่กำเนิด แต่เป็นสิ่งที่ต้องสอนสั่งหรือฝึกหัด จึงจะเกิดมีขึ้นในตัว

เอกสารชื่อ ‘วินัยที่มีประสิทธิผลช่วยให้เด็กมีสุขภาพที่ดี (Effective Discipline to Raise Healthy Children)’ ที่สถาบันกุมารเวชศาสตร์อเมริกัน (American Academy of Pediatrics–AAP) เผยแพร่ใน ค.ศ. 2018 [1] ระบุชัดเจนว่า การตะโกนใส่ ดุด่า หรือการตีเด็ก เป็นวิธีการสร้างวินัยที่ไม่ดีและไม่ได้ผล 

นอกจากจะไม่ช่วยสร้างวินัยที่ดีอย่างยั่งยืนแล้ว ยังส่งผลลบในระยะยาวอีกด้วย

ปัญหาการสอนแบบมีการลงไม้ลงมือฝังอยู่ในความคิดของสังคมไทยมาช้านาน เหมือนที่คงเคยได้ยินคำว่า ‘ได้ดีเพราะไม้เรียวครู’ กันมาบ้าง แต่ความเป็นจริงก็คือ เด็กที่โดนทำโทษแบบที่มีการทำร้ายร่างกายบางรูปแบบ เมื่อโตขึ้นอาจมีโอกาสจะเกิดพฤติกรรมความก้าวร้าว มีปัญหาสุขภาพจิต ใช้ความรุนแรงกับคนใกล้ตัว และติดสารเสพติด มากกว่าเด็กที่ได้รับการอบรมสั่งสอนแบบใช้หลักเหตุผลและกำหนดกฎเกณฑ์แบบอื่นอย่างมีนัยสำคัญ 

ที่น่าสนใจคือ แม้จะไม่ได้ลงไม้ลงมือกับร่างกาย แต่การดุด่าว่ากล่าวหรือด่าทอด้วยถ้อยคำรุนแรงก็ส่งผลเสียในลักษณะเดียวกันได้ด้วย 

การเฆี่ยนตีเด็กยังทำลายสายสัมพันธ์อันบอบบางที่เด็กจำเป็นต้องมีกับคนใกล้ตัวที่เขาหรือเธอรักและต้องพึ่งพิงมากที่สุด 

อ่านมาถึงตรงนี้อาจมีคนแย้งว่า แล้วทำไมเด็กเยอะแยะที่โดนตี จึงโตขึ้นมาเป็นคนเก่ง คนประสบความสำเร็จได้? คำตอบคือปัจจัยเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องส่งผลกระทบ ‘รุนแรง’ กับทุกคนในทุกกรณี เด็กบางคนก็อาจปรับตัวเก่ง ปรับตัวได้ โดยการดุด่าเฆี่ยนตีไม่ได้ส่งผลกระทบมากนัก 

แต่ทำไมเราจะต้องไปเสี่ยง ในเมื่อมีหลักฐานชัดเจนว่า ไม่ลงไม้ลงมือดีกว่าแน่ๆ ?

น่าเสียดายว่ารายงานเรื่องความรุนแรงในการสร้างวินัยของยูนิเซฟที่ออกมาใน ค.ศ. 2017 [2] ระบุว่า มีราว 60% ของเด็กอายุ 2–4 ปีทั่วโลกที่ยังโดนลงโทษด้วยการตีอยู่เป็นประจำ และหากนับการตะโกนเรียกชื่อหรือดุด่าด้วยเสียงดังด้วย ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นไปเป็นถึง 75%   

มีงานวิจัย [3] ที่ทำในเด็กมากถึง 11,044 คน ครอบคลุมตั้งแต่เด็กอนุบาลไปจนถึงเด็กระดับประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งพบว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างการตีเด็กเพื่อสอนกับความเสี่ยงทางพฤติกรรมที่เพิ่มมากขึ้นในการโต้เถียง ชกต่อย และทำร้ายร่างกายกันของเด็กกลุ่มนี้ 

โดยไม่มีความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติและชาติพันธุ์มาเกี่ยวข้อง  

มีงานวิจัยทำนองนี้อีกมากซึ่งชี้ให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกันว่า การสร้างวินัยด้วยการลงโทษทางกายนำไปสู่การเพิ่มความก้าวร้าวและพฤติกรรมต่อต้านสังคมของเด็ก เรียกว่าความรุนแรงนำไปสู่ความรุนแรงเป็นวงจรอุบาทว์ ก็คงไม่ผิดเสียทีเดียวนัก 

เรื่องที่ร้ายแรงที่สุดเรื่องหนึ่งที่อาจคาดไม่ถึงกันได้แก่ การลงโทษทางร่างกายอาจส่งผลกระทบกับสมองในทางเลวร้ายได้ด้วย ยกตัวอย่าง นักประสาทวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ พบว่าในวัยรุ่นที่มีประวัติโดนทุบตีอย่างรุนแรงในตอนยังเด็ก มีจำนวนเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนโดพามีน (dopamine) ที่แตกต่างไปจากเด็กทั่วไป [4] 

ฮอร์โมนโดพามีนเกี่ยวข้องกับการควบคุมความเคลื่อนไหว ความจำ และระบบความสุขจากการให้รางวัลและแรงจูงใจ ปริมาณโดพามีนที่มากหรือน้อยเกินไป นำไปสู่ปัญหาทางจิตและโรคของระบบประสาทหลายรูปแบบ ในการทดลองดังกล่าวพบว่าวัยรุ่นที่โดนทุบตีเหล่านั้น มีความเสี่ยงจะติดแอลกอฮอล์หรือสารเสพติดง่ายกว่าวัยรุ่นทั่วไป

ขณะที่งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง [5] ของมหาวิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาดพบว่า วัยรุ่นที่โดนทำร้ายรุนแรงในตอนเด็กจะมีจำนวนเซลล์ในสมองส่วนพรีฟรอนทัลคอร์ติคัล (prefrontal cortical) ลดลง โดยเฉพาะในบริเวณที่สัมพันธ์กับการควบคุมตัวเองและการทำความเข้าใจกับพฤติกรรมหรือการรับรู้ความคิดของคนอื่น 

พูดง่ายๆ ว่า ทำให้เป็นคนที่ทั้งสับสนไม่เข้าใจตัวเอง และไม่เข้าใจคนอื่น 

มีคำแนะนำอะไรดีๆ บ้างไหมในการสร้างวินัยในเด็ก โดยไม่ก่อให้เกิดผลเสีย? 

หันมาใช้พลังแห่งความรัก ความเชื่อใจ และพลังบวกช่วยสร้างเด็กที่มีวินัยและทำตัวน่ารักกันนะครับ ซึ่งการจะทำเช่นนั้นได้ ไม่ได้แปลว่าทำกับตัวเด็กเท่านั้น อาจจะต้องย้อนกลับมาที่ปรับปรุงพฤติกรรมของเราเองด้วย 

AAP ให้กลยุทธ์ไว้ 10 ข้อ สำหรับเป็นแนวทางการสร้างวินัยให้เด็กๆ โดยไม่ทำร้ายตัวเด็กดังนี้ครับ

ข้อแรกคือ เด็กเรียนรู้จากตัวอย่างหรือ ‘คนต้นแบบ’ คุณอยากให้เด็กทำตัวมีเหตุผล คุณก็ต้องมีเหตุผล พูดจาหรือสั่งสอนกับพวกเขาอย่างใจเย็น 

ข้อต่อมาคือ ต้องมีการตั้งกฎที่มีความชัดเจนและเด็กทำตามได้ กฎพวกนั้นต้องเหมาะกับวัยของเด็ก และต้องอธิบายแบบง่ายๆ ให้เด็กเข้าใจ ตามมาด้วยข้อ 3 คือ แสดงให้เห็นว่าหากไม่ทำตามกฎในข้อ 2 จะนำไปสู่ผลลัพธ์คือ โดนลงโทษ เช่น หากเล่นตุ๊กตาแล้วไม่เก็บให้เรียบร้อย คุณจะเก็บตุ๊กตาเหล่านั้นและเขาหรือเธอจะไม่ได้เล่นมันอีกเล่นตลอดทั้งวัน 

ขั้นตอนนี้เรื่องสำคัญที่ต้องตระหนักคือ ห้ามใจอ่อน หย่อนโทษลงปุบปับ เช่น ยึดตุ๊กตามาแค่ไม่กี่นาทีก็สงสาร เลยนำออกมาให้เล่นต่อ และที่สำคัญกว่านั้นก็คือ การลงโทษแบบนี้ต้องไม่ใช่สิ่งสำคัญจริงๆ สำหรับเด็กที่ขาดไม่ได้ เช่น อาหาร 

สำหรับข้อที่ 4 นี่อาจจะยากเป็นพิเศษสำหรับผู้ใหญ่หลายๆ คนคือ ต้องพยายามรับฟังเด็กๆ ด้วย เครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในการสร้างวินัยในเด็กคือ การรับฟัง 

ลองสังเกตว่าเด็กทำตัวไม่ดีในรูปแบบจำเพาะหรือเปล่า เช่น แสดงอาการอิจฉาพี่หรือน้องบางคน ถ้าพบรูปแบบเช่นนั้น ลองคุยสื่อสารกับมนุษย์ตัวจิ๋วดูจะได้ผลกว่าการลงโทษมาก 

ไม่เพียงแต่ต้องรับฟัง แต่ผู้ปกครองควรเอาใจใส่ และแสดงให้เด็กๆ เห็นอย่างชัดเจนว่า พวกเขากำลังได้รับการเอาใจใส่อยู่ หากเขาทำตัวดี ต้องชมเชยอย่างสม่ำเสมอ ในทางตรงกันข้าม หากทำตัวไม่เหมาะสมในเรื่องใด ก็ต้องสอนอย่างนุ่มนวลและด้วยความเอาใจใส่ 

การดุด่าและการลงไม้ลงมือต้องไม่อยู่ในสมการการสร้างวินัย

ประการที่ 6 คือ ต้องแสดงออกอย่างชัดแจ้งว่า รับรู้หากเด็กๆ ทำตัวดี มีพฤติกรรมที่เหมาะสม ต้องมีการชมเชยหรือให้รางวัลอย่างชัดเจน เช่น “วันนี้หนูน่ารักมาก เก็บของเล่นลงกล่องหมดเลย”      

ในบางกรณีถ้าเด็กไม่ได้ทำอะไรนอกคอก สุ่มเสี่ยงจะเกิดอันตราย และโดยปกติแล้วก็ทำตัวดี ก็อาจมองข้ามเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไปได้บ้าง เช่น หากเด็กโยนคุกกี้ทิ้งเล่น แกก็จะไม่มีคุกกี้กินในที่สุด หรือไม่พอใจแล้วโยนหรือขว้างของเล่นทิ้ง ถ้ามันเสียหายจนใช้เล่นต่อไม่ได้ ก็ต้องเรียนรู้เรื่องการได้รับผลลัพธ์จากการกระทำของตัวเอง 

คำแนะนำข้อที่ 8 คือ ตัวคุณเองต้องเตรียมใจรับปัญหาที่ไม่คาดฝันไว้บ้าง ลองสมมุติดูว่าถ้าลูกหลานของคุณทำแบบนั้น คุณจะตอบสนองยังไง 

ข้อต่อไปคือ บางทีต้องสังเกตเหมือนกันว่า บางครั้งการที่เด็กทำตัวคล้ายกับมีปัญหา อาจจะมีที่มาจากแค่ว่าแกเบื่อหรือไม่รู้จะทำอะไรแค่นั้น ลองหาอะไรให้เด็กลองทำดู ก็เป็นการแก้ปัญหาแบบง่ายๆ ที่บางทีเราก็มองข้ามไปไม่รู้ตัว

คำแนะนำสุดท้ายที่น่าจะมีประโยชน์มากคือ ควรตกลงกันเรื่อง ‘เวลานอก’ 

บางครั้งหากเด็กทำตัวไม่ดี เอาแต่ใจ เมื่อเตือนให้หยุดงอแงแล้ว ก็ยังไม่หยุด คุณอาจจะต้องควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ดี พาแกออกออกจากสถานการณ์ตรงหน้า ไปไว้ในสถานที่ปลอดภัยสักแห่ง เช่น ในห้องของแกเอง แล้วปล่อยให้แกสงบใจกับ ‘เวลานอก’ 

หลักการคร่าวๆ คือ เวลานอก 1 นาทีสำหรับเด็ก 1 ขวบ และบวกเพิ่มเข้าไปตามอายุ แต่ไม่ควรนานเกิน 3 นาที หลังจากนั้นจึงกลับมาพูดคุยกับแกอีกครั้ง วิธีนี้จะช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้การควบคุมตัวเองมากขึ้น ที่สำคัญคือ อาจใช้ได้กับเด็กโตหรือแม้แต่วัยรุ่นด้วยเช่นกันในรูปของการกักบริเวณให้สำนึกผิด  

ในทางกลับกัน หากเราเองควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ก็ให้เวลานอกกับตัวเอง เดินไปให้พ้นจากสถานการณ์ตรงหน้าสัก 1–3 นาที เพื่อสงบจิตใจ แล้วกลับมาแก้ไขปัญหาให้เรียบร้อยอีกครั้ง ระหว่างนั้นอาจจะอยู่กับตัวเอง สูดลมหายใจลึกๆ เพื่อผ่อนคลาย หรือแม้แต่ถ้าสถานการณ์ย่ำแย่มาก โทรศัพท์ไปปรึกษาพ่อแม่พี่น้อง เพื่อนสนิท หรือคนที่ไว้ใจก็อาจช่วยได้เช่นกัน

เมื่อกลับมาอีกครั้ง เดินเข้าไปกอดแก แล้วเริ่มต้นคุยอีกครั้ง 

การสร้างวินัยในเด็กไม่ใช่เรื่องง่าย บางคนถึงกับว่าเป็นเรื่องยากที่สุดเรื่องหนึ่งของการเป็นพ่อแม่ด้วยซ้ำไป โดยเฉพาะในกรณีที่ลูกเข้าสู่วัยรุ่นและไม่ค่อยยอมฟังแล้ว นั่นคือสาเหตุที่เราพบ ‘เด็กที่ไม่น่ารัก’ ได้ทั่วไป  

แต่การสร้างวินัยไม่ได้มีประโยชน์เพื่อทำให้คนอื่นมีความสุข แต่ตัววินัยนี่เองที่จะเป็นองค์ประกอบสำคัญทำให้เด็กประสบความสำเร็จและมีความสุขต่อไปได้ในอนาคต    

เอกสารอ้างอิง

[1] pediatrics.aappublications.org/content/early/2018/11/01/peds.2018-3112 

[2] https://data.unicef.org/topic/child-protection/violence/violent-discipline/ 

[3] Child Dev. 2012 May-Jun; 83(3): 838-43. doi: 10.1111/j.1467-8624.2011.01732.x. 

[4] Neuroimage. 2010 Nov 1; 53(2): 10.1016/j.neuroimage.2010.06.043.

[5] Neuroimage. 2009 Mar 12. doi: 10.1016/j.neuroimage.2009.03.005

Tags:

ความรุนแรงเด็กรางวัลและการลงโทษการรับฟังความเชื่อใจวินัย

Author:

illustrator

นำชัย ชีววิวรรธน์

นักอณูชีววิทยา นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ นักเขียน นักแปล และนักอ่าน ผู้มีความสนใจอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาขับเคลื่อนสังคม

Illustrator:

illustrator

ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

Related Posts

  • Book
    บ้านเล็กในป่าใหญ่: ที่พักพิงแสนปลอดภัยในโลกอันน่าหวาดหวั่นคือ ‘ครอบครัว’

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • IMG_0670 2
    Book
    เด็กที่สร้างปัญหาไปวันๆ อาจต้องการแค่ใครสักคนที่เข้าใจ: บรัดเล่ย์ เด็กเกเรหลังห้องเรียน

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Book
    Sunny กับเด็กที่อยู่กับการขาดหาย

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป

  • ‘โรงเรียน = รุนแรง’ สมการนี้สังคมต้องร่วมแก้ …เพราะทุกคนมีสิทธิที่จะไม่ถูกรังแก

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • Character building
    ‘เด็กโกหก’ อาจไม่ได้เลวร้ายเสมอไป เข้าใจธรรมชาติการโกหกจากงานวิจัย

    เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

เรียนรู้นอกกรอบ กับอดีตครูนอกคอก: อาจารย์จำลอง บัวสุวรรณ์ ผู้ก่อตั้ง ‘กลุ่มลูกหว้า’ เยาวชนก่อการดีแห่งเมืองเพชร
Everyone can be an Educator
23 January 2023

เรียนรู้นอกกรอบ กับอดีตครูนอกคอก: อาจารย์จำลอง บัวสุวรรณ์ ผู้ก่อตั้ง ‘กลุ่มลูกหว้า’ เยาวชนก่อการดีแห่งเมืองเพชร

เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง ภาพ สิริเชษฐ์ พรมรอด

  • อาจารย์จำลอง บัวสุวรรณ์ อดีตคุณครูผู้หันหลังให้กับระบบการศึกษา เพื่อมาออกแบบการเรียนรู้นอกกรอบ ปรับผู้เรียนเปลี่ยนผู้สอนในนาม ‘กลุ่มลูกหว้า’
  • การเรียนในระบบนั้นยังไม่ตอบโจทย์ทั้งกับตัวอาจารย์และเด็กๆ เท่าที่ควร จึงริเริ่มเปิดพื้นที่ให้เด็กๆ ได้เป็นเจ้าของการเรียนรู้ เน้นการปฏิบัติจริงแล้วนำไปเผยแพร่ต่อ โดยใช้ศิลปะและงานช่างท้องถิ่นเป็นเครื่องมือสำคัญในการออกแบบการเรียนรู้
  • ความรู้นั้นมีอยู่ในตัวของทุกคนและช่วยกันแบ่งปันออกไป ถ้าเราสร้างสังคมแห่งการแบ่งปันความรู้ได้ ความรู้ก็จะถูกกระจายออกมาเอง

“สำหรับเราหัวใจหลักของการเรียนรู้คือ ทำยังไงก็ได้ให้ได้ปฏิบัติ ให้เข้าถึงง่าย จะเป็นอะไรก็ได้ เรียนรู้อะไรก็ได้ เพราะมันจะกลายเป็นการเรียนรู้วิธีการเรียนรู้อีกที”

The Potential ชวนคุยกับ อาจารย์จำลอง บัวสุวรรณ์ อดีตคุณครูผู้หันหลังให้กับระบบการศึกษา เพื่อมาออกแบบการเรียนรู้นอกกรอบ ปรับผู้เรียนเปลี่ยนผู้สอนในนาม ‘กลุ่มลูกหว้า’ เปิดพื้นที่ปลอดภัยให้เยาวชนได้ทำกิจกรรมสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดเพชรบุรี เพิ่มพูนทักษะชีวิตและแบ่งปันความรู้ให้กับนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจ

ย้อนไปเมื่อกว่า 30 ปีก่อน อาจารย์จำลองเป็นครูสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนเล็กๆ ในจังหวัดเพชรบุรี และอยู่ในบทบาทของครูในระบบเรื่อยมากว่า 20 ปี จนกระทั่งได้มาสอนที่โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ โรงเรียนขนาดใหญ่ในตัวเมืองเพชรบุรีเป็นโรงเรียนสุดท้าย ก่อนผันตัวออกมาทำกิจกรรมกับ ‘กลุ่มลูกหว้า’ อย่างเต็มรูปแบบ

“ก่อนหน้านี้ครูบางคนไม่ได้เรียกเราว่า ‘ครูนอกกรอบ’ นะ เขาเรียกเราว่า ‘ครูนอกคอก’ เราก็บอกเขาว่าเราไม่ชอบอยู่ในคอก เราชอบให้ปล่อยสบายๆ”

ด้วยความที่เป็นคนไม่เคร่งครัดขึงตึงกับกฎระเบียบ และค่อนข้างเข้าใจเด็กที่ต้องการทำอะไรนอกกฎ ครูนอกคอกในวันนั้นจึงกลายเป็นพื้นที่สบายใจให้กับนักเรียนหลายๆ คน 

“มันไม่มีหรอกกฎระเบียบน่ะ มันมีแต่ ‘ความพอดี’ อะไรที่มันพอดีได้มันจะอยู่ได้ ถ้ามันไม่พอดีมันก็ไม่โอเค เพราะเราเชื่อว่าอะไรที่มันพอดีก็จะอยู่ได้นาน อะไรที่ไม่พอดีก็จะอยู่ไม่ได้”

จากประสบการณ์การเป็นครูหลายสิบปีทำให้อาจารย์จำลองตกผลึกว่าอะไรคือการเรียนรู้ที่แท้จริง และพบว่าการเรียนในระบบนั้นยังไม่ตอบโจทย์ทั้งกับตัวเองและเด็กๆ เท่าที่ควร จึงริเริ่มสร้าง ‘กลุ่มลูกหว้า’ เปิดพื้นที่ให้เด็กๆ ได้เป็นเจ้าของการเรียนรู้ เน้นการปฏิบัติจริงแล้วนำไปเผยแพร่ต่อ โดยใช้ศิลปะและงานช่างท้องถิ่นเป็นเครื่องมือสำคัญในการออกแบบการเรียนรู้ 

อดีตครูในระบบ ก่อนค้นพบแนวทางการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ชีวิต

อาจารย์จำลองเล่าว่า จากประสบการณ์การสอนที่ผ่านมานั้น แต่ละโรงเรียนก็มีศักยภาพที่แตกต่างกันไป แต่การได้มาสอนในโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีจำนวนนักเรียนค่อนข้างมาก ก็ยิ่งทำให้อาจารย์ได้เห็นความหลากหลายของนักเรียนมากขึ้น และทำให้ได้ทบทวนตัวเองว่า จริงๆ แล้วโรงเรียนในระบบนั้นยังไม่ตอบโจทย์อะไรหลายๆ อย่างมากกว่าที่คิด

“หลายอย่างในโรงเรียนมันยังไม่ตอบโจทย์ชีวิต ไม่ใช่แค่นักเรียน แต่รวมถึงครูด้วย ก็เลยมีความรู้สึกว่าน่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งช่วงที่มีเรื่องของการปฏิรูปการศึกษาไทยรอบที่ 1  ช่วงนั้นเรามีความหวังนะ

แต่หลังจากมีการปฏิรูปสำเร็จ มันกลับกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงขององค์กร กรมสามัญศึกษาและประถมศึกษาแห่งชาติ รวมกันเป็นสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือเรียกง่ายๆ ว่า มันเกิดการแบ่งเขตพื้นที่ใหม่ มีผู้บริหารเกิดใหม่ แต่ในเสียดายที่ในห้องเรียนยังคงเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงเท่าไหร่” 

“อีกทั้งตลอดชีวิตการเป็นครูของเราและครูหลายท่านก็ได้รับการอบรมไม่จบสิ้น คือถึงแม้ว่าการอบรมครูจะเป็นเรื่องดี แต่ปัญหาคือเรายังไม่ทันนำวิธีการที่อบรมมาใช้กับนักเรียนให้เห็นผลเลย ก็ถูกเปลี่ยนแผนอีกแล้ว สิ่งนี้เลยทำให้เรารู้สึกว่าการศึกษาของโรงเรียนในระบบนั้นยังไม่ค่อยใช่”

นอกเหนือจากความรู้สึกเสียดายที่หลังการปฏิรูปการศึกษา การเรียนในห้องเรียนไม่ถูกเปลี่ยนไปมากเท่าที่ควร เรื่องวิสัยทัศน์ทางการศึกษาในสมัยนั้นก็เป็นอีกประเด็นที่อาจารย์จำลองรู้สึกว่าการเรียนรู้แบบเดิมๆ แค่ในห้องเรียนนั้นคงไม่เพียงพอและไม่เท่าทันกับยุคสมัย

“ช่วงประมาณปี 2537-2538 ตอนนั้นคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในไทย และเป็นของใหม่มาก แต่มันก็แย่หน่อยตรงที่ว่า คนจะเรียนรู้คอมพิวเตอร์ได้ก็จำเป็นต้องรู้ภาษาอังกฤษ ทำให้รู้สึกว่าอุปสรรคค่อนข้างเยอะ และตอนนั้นความสามารถทางภาษาอังกฤษของคนไทยก็ไม่ได้ดีมากขนาดนั้น 

ในอดีตเป็นเรื่องธรรมดามากที่เราจะไม่เก่งภาษาอังกฤษ แต่พอมีเรื่องระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาก็ทำให้เห็นได้ชัดมากขึ้นว่าภาษาอังกฤษนั้นมีความจำเป็นแค่ไหน 

ดังนั้นเหตุการณ์นี้เลยยิ่งทำให้เราเห็นว่าการเรียนอยู่แค่ในห้องเรียน หรือการจัดการเรียนการสอนแบบเดิมๆ คงจะไม่พอแน่ๆ ก็เหมือนกับภาษาอังกฤษ ที่คนส่วนใหญ่ก็ท่องแกรมมาร์กันได้นะ แต่พอจะเอาไปใช้จริงก็ทำไม่ได้”

สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้การเรียนรู้เป็นเรื่องสนุกและมีคุณค่า

แรงบันดาลใจในการหยิบจับภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเปลี่ยนเป็นการเรียนรู้และการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมนั้น มาจากเมื่อครั้งที่อาจารย์จำลองได้ฟัง ‘แม่กิมไล้’ เจ้าของร้านขนมและของฝากชื่อดังของเพชรบุรี เล่าถึงที่มาของร้านแม่กิมไล้ ในวงสนทนาเวทีปฏิรูปการศึกษา 

“เราได้ยินแม่กิมไล้พูด ก็รู้สึกว่าเขาพูดได้ถูกใจเรามากเลย เขาบอกว่าความเป็นมาของการที่มีชื่อเสียงและทำขนมคือตอนที่มีลูกคนแรก เพราะที่เพชรบุรี เวลาที่มีคนคลอดลูกเขาจะนิยมเอากล้วยมาเยี่ยม ที่บ้านแม่กิมไล้เช่นกัน 

แล้วทีนี้กล้วยมันสุกแล้วก็มีเยอะ เลยตัดสินใจเอาไปขายได้หวีละ 50 สตางค์ ก็คิดว่าน่าจะสามารถเพิ่มมูลค่าได้มากกว่านี้ แม่กิมไล้เลยเอากล้วยมาผ่าซีกแล้วห่อข้าวเหนียว มัดละ 50 สตางค์ จากกล้วยที่ขายกันหวีละ 50 สตางค์ ก็กลายมาเป็นข้าวเหนียวห่อ ห่อละ 50 สตางค์ ขายได้ทีเป็น 20 มัด ซึ่งนี่ก็เป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้า

ทำให้เราคิดได้ว่า การเรียนการสอนในโรงเรียนน่าจะนำไปสู่สิ่งเหล่านี้ ทำให้ผู้เรียนสามารถมีกระบวนการคิดแบบนี้ได้ แต่พอเอาเข้าจริงที่ปฏิรูปมาแล้วก็กลายเป็นการแบ่งเขตการศึกษาใหม่ จัดระบบบริหารใหม่ไปเสียแทน”

อีกหนึ่งเหตุการณ์ที่อาจารย์รู้สึกว่าภูมิปัญญาของเมืองเพชร ควรได้รับการเรียนรู้และสานต่อ คือในตอนที่พานักเรียนต่างชาติออกไปทัศนศึกษาในเพชรบุรี โดยให้นักเรียนจับคู่บัดดี้ไปด้วยกันเพื่อศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมภูมิปัญญาของจังหวัด แต่นักเรียนคนไทยที่เป็นคนเพชรกลับไม่รู้จักภูมิปัญญาท้องถิ่น

“พอถึงสถานที่จริงนักเรียนไทยเองกลับไม่รู้จักสิ่งที่จะพาไปเรียนรู้ พาไปบ้านขนม เด็กๆ ก็ไม่รู้ว่าขนมท้องถิ่นของจังหวัดมีอะไรบ้าง ทั้งๆ ที่เด็กของเรามีความรู้ทางภาษาที่สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติเป็นภาษาอังกฤษได้ แต่ในส่วนของความรู้ท้องถิ่นและชุมชนเขากลับไม่รู้เสียอย่างนั้น”

เมื่อไม่รู้ก็ไม่รักและไม่คิดที่จะเรียนรู้ อาจารย์จำลองมองว่าอุปสรรคอย่างหนึ่งคือการเรียนการสอนในระบบมุ่งไปที่การสอบและเป้าหมายด้านอาชีพมากกว่า การเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพบนต้นทุนทางวัฒนธรรมของตนเอง

“เรามองว่าในเพชรบุรีมีองค์ความรู้อยู่ในตัวคนเยอะมาก ไม่ได้จำกัดว่าต้องอยู่แต่ในหนังสือ ผู้คนที่เราเดินสวนเดินผ่านนั้นล้วนแต่เป็นผู้รู้เรื่องสักเรื่องแน่นอน แต่เขาไม่มีโอกาสได้ถ่ายทอดความรู้และตัวเด็กก็ไม่มีโอกาสได้เรียนรู้จากคนเหล่านั้น แล้วมันก็ฝังมาเรื่อยๆ

พออยู่ๆ มาก็รู้สึกว่าต้องทำอะไรบางอย่าง ไม่จำเป็นต้องเหมือนในโรงเรียนก็ได้ ขอแค่วันเสาร์สักวันที่เราเป็นคนออกแบบการเรียนรู้เอง”

ประกอบกับในช่วงนั้นมีปัญหา ‘เด็กติดเกม’ ค่อนข้างมาก ในเมืองมีแต่ร้านเกมเต็มไปหมด อาจารย์เลยอยากหาพื้นที่หนึ่งเพื่อชวนเด็กๆ ออกมาทำกิจกรรม แทนที่จะไปอยู่ในร้านเกม จึงหยิบ ‘งานช่างเมืองเพชร’ มาเป็นตัวชูโรงในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในบรรยากาศที่ผ่อนคลายไม่น่าเบื่อ 

“สถานการณ์ของงานช่างตอนนั้นก็กำลังแย่เหมือนกัน เรียกได้ว่างานช่างบางประเภทเหมือนอยู่ในห้อง ICU ได้เลย บางประเภทก็ลงหลุมไปแล้ว

ส่วนเด็กๆ ก็ถูกมองว่าติดเกมมากไป หรือมั่วสุม เราก็ต้องมาคิดว่าถ้าไม่ให้เด็กเล่นเกม แล้วจะให้เขาทำอะไร จะให้เขาไปรวมกันที่ไหนดี เราก็ต้องหาพื้นที่ปลอดภัยให้เด็ก

แต่จริงๆ เราแค่คิดง่ายๆ ว่าเด็กเรียนในห้องเรียนอย่างเดียวมันไม่พอแล้วก็น่าเบื่อ แต่ถ้าเด็กเบื่อโรงเรียนจะให้เขาไปไหน เพราะถึงแม้ว่าจะมีพื้นที่ แต่ถ้าเด็กไม่รู้จัก ไม่เข้าใจ เขาก็ไม่มา คราวนี้เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ที่ต้องทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง และชวนให้เด็กๆ ออกมา”

‘กลุ่มลูกหว้า’ โมเดลการเรียนรู้ที่เด็กเป็นทั้งผู้เรียนและผู้สอน

ก่อนกลายเป็น ‘กลุ่มลูกหว้า’ อาจารย์จำลองได้ไปพบกับ ‘กลุ่มดินสอสี’ ที่มาจัดกิจกรรม ‘บ้านในฝันสัญจร’ ที่เพชรบุรี เป็นกิจกรรมสำหรับเด็กและครอบครัว และอาจารย์ก็ประทับใจการออกแบบกิจกรรมของกลุ่มดินสอสีเป็นอย่างมาก 

“ตอนที่เขามาจัดงานอีกรอบ เราก็ทักเขาไป เขาเลยเล่าให้ฟังว่าเขามาชวนเด็กๆ ทำกิจกรรม ซึ่งก่อนจะจัดกิจกรรม เราก็ต้องไปเรียนทักษะงานช่างก่อน เลยชวนเด็กนักเรียนของเราไปเรียนรู้งานช่างฉลุลายกระดาษกัน

พอได้ลองจัดกิจกรรมแล้วก็อยากทำอีก ก็ชวนเด็กกลุ่มนั้นให้มาทำกันต่อ เวลาเขามีงานเราก็ไปเข้าร่วมด้วย ระหว่างเวลานั้นเด็กๆ เขาก็เรียนไปด้วยตามปกติ เพราะงานนานๆ จะมีที 

ซึ่งตอนที่ไปทำกับกลุ่มดินสอสีก็ยังไม่ได้เป็นกลุ่มลูกหว้านะ ยังเป็นแค่นักเรียนโรงเรียนเบญจมฯ อย่างเดียว เด็กๆ เขาก็ชวนเพื่อนๆ มา เพราะพอเขาไปทำมาแล้วรู้สึกสนุก ก็จะเอามาบอกเพื่อนๆ ต่อ”

แต่หลังทำกิจกรรมมาราวๆ 2-3 เดือน ทุกคนก็เริ่มคิดว่าอยากจะตั้งชื่อให้คนเรียกกันได้ง่าย และเพื่อสร้างตัวตนให้กับกลุ่ม จนได้ชื่อเป็น ‘กลุ่มลูกหว้า’ ที่มาจากต้นหว้า ซึ่งเป็นต้นไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระราชทานให้เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบุรี

ตลอดเวลาที่ทำงานนี้ อาจารย์มองว่าการจัดกิจกรรมตามงานต่างๆ เป็นการทำงานเชิงรับอย่างเดียว เลยอยากพลิกมาทำเชิงรุกดูบ้าง จึงมาที่ ‘เขาวัง Cable Car’ เพื่อขอใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรมกับเด็กๆ โดยเริ่มต้นด้วยการทำพวงมโหตร ซึ่งเป็นงานต่อกระดาษที่ค่อนข้างทำง่ายและได้ผลงานจริง

“เราทำอยู่หลายปีก็เลยเกิดการถอดบทเรียน ซึ่งนี่คือการปฏิรูปในฝันของเรา ที่ ‘ปรับผู้เรียนเปลี่ยนเป็นผู้สอน’

จากเรียนเพื่อทำงานส่งครู เป็นเรียนเพื่อเอาความรู้ไปถ่ายทอดให้คนอื่นๆ การถ่ายทอดครั้งที่ 1 อาจไม่ดีมากนัก แต่ครั้งที่ 2-3 ต้องดีแน่นอน เพราะถ้ามันเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก มันก็จะกลายเป็นความชำนาญของคนๆ นั้นไป”

โดยตอนนี้ โรงเรียนลูกหว้าเปิดพื้นที่หลักๆ 2 แห่ง คือที่ ‘เขาวัง Cable Car’ หรือที่เรียกว่า ‘สถานีดีจัง’ มีกิจกรรมให้เรียนรู้หลายอย่าง เช่น เวิร์กช็อปทำพวงมโหตร เซรามิก วาดรูปเพื่อเอาไปพิมพ์ลงวัสดุต่างๆ และอีกแห่งคือ ‘หอศิลป์สุวรรณาราม’ ณ วัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี 

“เราขอใช้พื้นที่ของวัดคือกุฏิเรือนไทยหมู่ 7 หลัง ทำกิจกรรมเรื่องฉลุลาย ที่นั่นจะเน้นงานสกุลช่างเมืองเพชร แต่ที่เขาวัง Cable Car จะเน้นศิลปะเชิงประยุกต์ที่อิงกับงานช่างมากกว่า โดยจะอิงกับงานจิตรกรรม ภาพเขียน หรืองานปั้น งานตัดกระดาษ

ที่หอศิลป์สุวรรณารามเราทำงานช่างฉลุลาย เพราะงานช่างฉลุลายของเพชรบุรีก็มีทั้งฉลุกระดาษ ฉลุหยวกกล้วย ฉลุไม้ ฉลุหนัง เนื่องจากวัดใหญ่สุวรรณารามนั้นมีงานปิดทองลายฉลุอยู่ที่ศาลาการเปรียญ ก็เลยอาศัยให้คนไปเรียนรู้การฉลุลาย เพื่อมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ถุงผ้าพิมพ์ลายฉลุ ที่นอกจากสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อขายแล้ว เรายังชวนคนมาเรียนเรื่องนี้อีกด้วย”

การสืบสานที่ทุกคนงอกงามจากการแบ่งปันและลงมือทำ

แม้กิจกรรมการเรียนรู้นี้จะมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ‘ลูกหว้าสืบสานสกุลช่าง’ แต่อาจารย์จำลองย้ำว่า เป้าหมายไม่ใช่การปั้นเด็กให้เป็นช่าง แต่เป็นการออกแบบการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ เพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจและสามารถนำทักษะที่ได้ไปปรับใช้กับชีวิตของตนเอง 

โดยคำว่า ‘สืบสาน’ ในความหมายนี้มีหลากหลายวิธีและหลากหลายเครื่องมือ ซึ่งการสื่อสารหรือเผยแพร่ก็เป็นรูปแบบหนึ่ง 

“ก่อนหน้านี้เราไปเห็นงานพระนครคีรีที่มีงานช่างจัดแสดงทุกวัน ทั้งงานฉลุลายกระดาษ งานลงรักปิดทอง งานปั้นปูน ปั้นด้วยกระดาษ งานเขียนลายรดน้ำ งานเขียนหัวโขน เป็นต้น แต่มันไม่ค่อยมีคนเข้าไปดูเลย เราเลยเข้าไปคุย แล้วเห็นว่านี่แหละคือความรู้ แต่เสียดายที่ไม่มีคนเรียนรู้ 

เราเลยให้เด็กเหล่านี้เข้าไปเรียนรู้ โดยใช้ชื่อว่า ‘ลูกหว้าสืบสานสกุลช่าง’ แต่การเรียนรู้ของเราคือการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Active Learning)

จากงานที่ทำมาทำให้เรารู้ว่ามันไม่ได้เกิดการเรียนรู้ต่อตัวเด็กอย่างเดียว แต่ยังเกิดกับเราที่เป็นครูด้วย เป็นการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน ไม่ใช่ว่าเราไปสอนให้เด็กเรียนรู้อย่างเดียว เพราะถ้าเราไม่ได้มีความรู้มากพอ เราก็ต้องเรียนรู้ๆ ไปพร้อมกันกับเด็ก”

อาจารย์จำลองเล่าว่า เด็กในกลุ่มลูกหว้าส่วนใหญ่เป็นเด็กที่เรียนรู้ได้เร็ว และมีวิธีการเรียนรู้ที่น่าทึ่ง ซึ่งปัจจัยหนึ่งน่าจะมาจากการได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำจริง ซึ่งการที่จะทำให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้นั้นต้องมีเครื่องมือ 1 ต่อ 1 

“ทุกวันนี้เราใช้เครื่องมือ หรือครูในอัตรา 1 ต่อ 40 กันอยู่ มันก็ไม่มีทางที่ครูใช้ประโยคเดียวกัน แล้วนักเรียนทั้ง 40 คน จะเข้าใจตรงกันทั้งหมด เด็กก็ไม่ได้มีโอกาสปฏิบัติ ซึ่งครูก็ควรเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับเด็กด้วย เพราะถ้าเราเป็นฝ่ายสอนแค่อย่างเดียว นั่นก็ไม่ใช่การเรียนรู้ที่แท้จริง”

อีกหนึ่งอุปสรรคสำคัญที่อาจารย์จำลองมองว่าเกิดขึ้นมาโดยตลอดในห้องเรียนคือ ‘เสียงออดหมดเวลา’ เพราะแม้ครูจะรู้ว่านักเรียนยังเรียนไม่เข้าใจ แต่พอเสียงออดดังขึ้น สมาธิทุกคนก็แตกกระจาย ซึ่งการที่เป็นแบบนี้ทำให้เด็กเรียนรู้ได้ไม่ต่อเนื่อง 

“แต่กลับกันถ้าเราเปลี่ยนการเรียนรู้แบบในห้องเรียนมาเป็นการปฏิบัติจริงมันแตกต่างกันเลย เพราะถึงแม้เราจะหยุดพักไว้เราก็มาต่อได้ง่าย เหมือนศิลปินวาดรูปที่วาดค้างทิ้งไว้นานก็สามารถมาวาดต่อได้ เรามองว่าการเรียนรู้ควรเป็นการปฏิบัติจริงมากกว่า

เพราะที่เราบอกว่าเราปฏิรูปการเรียนรู้จากผู้เรียนเป็นผู้สอน เรียนไปไม่ได้เพื่อทำงานส่งครู แต่เรียนเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่น ใช้การคิดแบบกลับหัวกลับหาง”

สารจากครูนอกกรอบ ‘ทุกคนเป็นนักจัดการเรียนรู้ได้’

อาจารย์จำลองทิ้งท้ายถึงการจัดการการเรียนรู้ว่า ไม่ควรจำกัดอยู่ในรูปแบบเดิมๆ แต่ควรมองให้กว้างขึ้น เปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้หลากหลายและเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้โดยไม่จำกัด เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างแท้จริง

“ทุกพื้นที่นั้นสามารถเป็นพื้นที่เรียนรู้ได้หมด การกำหนดว่าที่นั่นที่นี่คือที่เรียนรู้นั้นเป็นการจำกัดการเรียนรู้ อย่างเช่นเราเจอป้ายแหล่งเรียนรู้เพาะเห็ด แต่มองไปเป็นอาคารร้างๆ แล้วมีบ้านข้างๆ แหล่งเรียนรู้นั้นที่ไม่มีป้ายแปะไว้ว่าเป็นแหล่งการเรียนรู้ แต่เขาเพาะเห็ดขาย แบบนี้บ้านข้างๆ นั้นไม่ใช่แหล่งเรียนรู้หรืออย่างไร เพราะทุกคนรับรู้ร่วมกันว่าถ้าอยากรู้เรื่องเพาะเห็ดต้องไปที่แหล่งเรียนรู้เท่านั้น มันเป็นการปักป้ายบอกเลยไม่เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ทุกคนสามารถเป็นนักจัดการเรียนรู้ได้ ตราบใดที่เรามีความรู้อยู่ หรือบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองมีศักยภาพ เราต้องทำให้คนที่เป็นเจ้าของความรู้มั่นใจและอธิบายเกี่ยวกับ ‘ความรู้’ ว่ามันไม่จำเป็นต้องเป็นทฤษฎีหรือในตำราอย่างเดียว  

เพราะความรู้มีอยู่ในตัวของทุกคนและช่วยกันแบ่งปันออกไป ถ้าเราสร้างสังคมแห่งการแบ่งปันความรู้ได้ ความรู้ก็จะถูกกระจายออกมาเอง”

Tags:

ครูระบบการศึกษาการเรียนรู้เด็กนักเรียน

Author:

illustrator

กนกพิชญ์ อุ่นคง

A girl who aspires to live like a yacht floating on the ocean, a dandelion fluttering over the heather, a champagne bursting in party.

Photographer:

illustrator

สิริเชษฐ์ พรมรอด

Related Posts

  • Book
    โสกราตีสสลับขั้ว: มีเพียงการตระหนักว่าตัวเองไม่รู้อะไรเลยเท่านั้นที่จะลดการตัดสินผู้อื่นลงได้

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Education trend
    ความผิดพลาดของการสอนวิทยาศาสตร์ที่อาจพาประเทศชาติหลงทาง

    เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์

  • Learning Theory
    ทำไมเราควรมองพัฒนาการเรียนรู้ผ่าน ‘ม่านวัฒนธรรม’

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Social Issues
    ระบบการศึกษาที่ “อะไรอะไรก็ครู” ไว้ก่อน

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Education trend
    AI กับอนาคตการศึกษา: ตัวช่วยที่ทำให้เด็กเก่งขึ้น หรือตัวการขัดขวางการเรียนรู้ ทำลายอาชีพครู

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

แบดบอยผู้น่ารัก ‘ฮักเกิลเบอร์รี่ ฟินน์’
Book
20 January 2023

แบดบอยผู้น่ารัก ‘ฮักเกิลเบอร์รี่ ฟินน์’

เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • ‘ฮักเกิลเบอร์รี่ ฟินน์’ ตัวเอกในหนังสือเรื่อง ‘การผจญภัยของฮักเกิลเบอร์รี่ ฟินน์’ หรือ The Adventures of Huckleberry Finn ผู้ไม่ได้เฉียดกรายเข้าใกล้มาตรฐานความเป็นเด็กดีเลย ตรงกันข้าม เขาอาจถูกจัดให้อยู่ในหมวดของ ‘เด็กเลว’ เสียด้วยซ้ำ
  • เรื่องนี้เป็นผลงานการเขียนของ มาร์ก ทเวน (Mark Twain) ซึ่งนอกจากจะเป็นวรรณกรรมเยาวชนชั้นเยี่ยมแล้ว ยังได้รับการยกย่องว่า เป็นหนึ่งในหนังสือที่ดีที่สุดของโลก
  • ปัญหาเชิงโครงสร้างทั้งหมดทั้งมวล ถูก มาร์ก ทเวน หยิบมาตีแผ่ผ่านทางคำบอกเล่าของตัวละคร ฮักเกิลเบอร์รี่ ฟินน์ ในรูปแบบของการเสียดสี ที่เต็มไปด้วยอารมณ์ขัน ตลกร้าย ซึ่งกลายเป็นเสน่ห์ของหนังสือเล่มนี้

ไม่ว่าจะใช้เกณฑ์ประเมินความเป็นเด็กดีของไทย, อเมริกา หรือประเทศไหนๆ เด็กชายวัย 13 ปี ผู้มีชื่อว่า ‘ฮักเกิลเบอร์รี่ ฟินน์’ ไม่ได้เฉียดกรายเข้าใกล้มาตรฐานความเป็นเด็กดีเลย ตรงกันข้าม เขาอาจถูกจัดให้อยู่ในหมวดของ ‘เด็กเลว’ เสียด้วยซ้ำ

มาดูกันว่า คุณสมบัติของฮักเกิลเบอร์รี่ ฟินน์ หรือที่คนทั่วไปเรียกเขาว่า ‘ฮัก’ มีอะไรบ้าง

มองจากรูปลักษณ์ภายนอก ฮัก ฟินน์ ไม่ต่างจากคนจรจัด เขาแต่งตัวสกปรกมอมแมม ไม่ชอบใส่รองเท้า สูบยาเส้นเป็นประจำ โกหก-พูดจาหยาบคาย  สบถจนติดปาก ไม่เพียงเท่านั้น เขายังลักเล็กขโมยน้อย (แต่มักอ้างว่าเป็นแค่การหยิบยืม) นิสัยเกียจคร้าน ไม่ชอบไปโรงเรียน ไม่นับถือศาสนา ชอบยิงนกตกปลา ไม่ทำตัวอยู่ในกรอบกฎเกณฑ์และค่านิยมของสังคม

อาจกล่าวได้ว่า คำขวัญวันเด็กประจำปีนี้ที่ว่า ‘รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่ความดี’ คือ คุณสมบัติที่ตรงข้ามกับฮักอย่างสิ้นเชิง

แต่หากมองทะลุลงไปถึงจิตใจข้างใน ฮัก ฟินน์ คือ เด็กชายที่จิตใจดี อ่อนโยน มีความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าคนนั้นจะสีผิวดำหรือขาว ไม่ว่าคนนั้นจะถูกตีตราว่าเป็นแค่ทาส ไม่ใช่คนที่เท่าเทียมกับเหล่าผู้ดีมีอารยะในสังคมยุคค้าทาส

เด็กเลวผู้น่ารักคนนี้ คือ ตัวเอกในหนังสือเรื่อง ‘การผจญภัยของฮักเกิลเบอร์รี่ ฟินน์’ หรือ The Adventures of Huckleberry Finn ซึ่งนอกจากจะเป็นวรรณกรรมเยาวชนชั้นเยี่ยมแล้ว ยังได้รับการยกย่องว่า เป็นหนึ่งในหนังสือที่ดีที่สุดของโลกอีกด้วย

จากวรรณกรรมเด็กสู่นิยายเสียดสีสังคม

การผจญภัยของฮักเกิลเบอร์รี่ ฟินน์ เป็นผลงานของ มาร์ก ทเวน (Mark Twain) นักเขียนชาวอเมริกัน ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1884 โดยในตอนแรก มาร์ก ทเวน ตั้งใจจะเขียนเรื่องราวที่เป็นภาคต่อของ The Adventures of Tom Sawyer หรือ ‘ทอม ซอว์เยอร์ ผจญภัย’ ซึ่งเป็นหนังสือเด็กที่ออกในปี 1876 และประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม

ทว่า ไปๆ มาๆ เรื่องราวการผจญภัยของฮัก ฟินน์ ค่อยๆ เปลี่ยนร่างแปลงรูป กลายเป็นวรรณกรรมว่าด้วยการข้ามผ่านช่วงวัย (coming of age) ของเด็กเสเพลคนหนึ่ง ผ่านประสบการณ์การพบเจอเรื่องราวที่ถือเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมอเมริกาในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นการค้าทาส การเหยียดสีผิว การถือชนชั้นวรรณะ รวมไปถึงค่านิยมแบบลูกผู้ชายชาตรี ที่ยังอ้อยอิ่งตกค้างจากยุคคาวบอยตะวันตกแดนเถื่อน

ปัญหาเชิงโครงสร้างทั้งหมดทั้งมวล ถูก มาร์ก ทเวน หยิบมาตีแผ่ผ่านทางคำบอกเล่าของตัวละคร ฮักเกิลเบอร์รี่ ฟินน์ ในรูปแบบของการเสียดสี ที่เต็มไปด้วยอารมณ์ขัน ตลกร้าย ซึ่งกลายเป็นเสน่ห์ของหนังสือเล่มนี้

ความดีงามของหนังสือเล่มนี้ อาจสะท้อนได้จากคำชื่นชมจากทุกคนที่ได้อ่าน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ นักอ่านทั่วไป นักวิจารณ์ หรือแม้แต่นักเขียนระดับมือรางวัลโนเบลอย่าง เออร์เนสต์ เฮมมิงเวย์ ยังกล่าวไว้ว่า

“วรรณกรรมอเมริกันสมัยใหม่ทุกเล่ม ล้วนสืบเชื้อสายมาจากหนังสือที่มีชื่อว่า การผจญภัยของฮักเกิลเบอร์รี่ ฟินน์ และนี่คือวรรณกรรมชิ้นเอกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศ”

ฮักเกิลเบอร์รี่ ฟินน์ เป็นเด็กข้างถนนที่ได้รับการเลี้ยงดูอุปถัมภ์โดยแม่ม่ายวัตสัน ผู้หมายมั่นจะอบรมบ่มนิสัย ‘ลูกแกะหลงทางผู้น่าสงสาร’ ให้กลายเป็นเด็กดีตามมาตรฐานของผู้ดีมีอารยะ ขณะเดียวกัน พ่อแท้ๆ ของฮัก ซึ่งเป็นตาแก่ใจร้าย ขี้เมาหยำเป ก็ตั้งใจจะทวงลูกชายคืน ไม่ใช่เพราะความรักในตัวผู้สืบสายเลือด หากแต่เพราะหวังทรัพย์สินเงินทองในตัวฮัก (ตรงนี้ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในหนังสือ ทอม ซอว์เยอร์ ผจญภัย ซึ่งเราจะไม่พูดถึงในรายละเอียด)

ในที่สุด ฮักได้หลบหนีออกจากบ้าน โดยจัดฉากว่า ตัวเองถูกโจรฆ่าเพื่อแย่งชิงทรัพย์สิน หลังจากนั้นเขาได้พบกับ จิม ทาสผิวดำ ผู้หลบหนีจากบ้านของมิสวัตสัน น้องสาวของแม่ม่ายวัตสัน เพราะกลัวว่าตัวเองจะถูกขายให้แก่พ่อค้าทาสในราคาแปดร้อยดอลลาร์

เด็กชายทรงอย่างแบด กับทาสผิวดำ ผู้เป็นเหมือนวรรณะล่างสุดของสังคมอเมริกันในยุคนั้น ล่องแพผจญภัยไปด้วยกันในแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ โดยมี ‘อิสระเสรี’ เป็นหางเสือนำทาง

มนุษย์เกิดมาเพื่อเป็น ‘เสรีชน’ มิใช่ ‘ทาส’

สภาพสังคมอเมริกันในยุคของฮัก หรือในยุคของมาร์ค ทเวน เป็นยุคที่การมีทาสในครอบครอง ไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด เพราะคนอเมริกันผิวขาวมองว่า คนแอฟริกันผิวดำที่พวกเขานำมาซื้อขายในฐานะทาส ไม่ได้มีสถานะความเป็น ‘มนุษย์’ เท่าเทียมกับพวกเขา หากแต่เป็นเพียง ‘ทรัพย์สิน’ อย่างหนึ่ง ไม่ต่างจากปศุสัตว์ ที่พวกเขามีไว้ใช้งานในไร่นา

มาร์ก ทเวน ในวัยเด็ก ก็คงคิดเช่นนั้น จนวันหนึ่ง เขาได้เห็นภาพทาสผิวดำหลายสิบคน ทั้งชายและหญิง ถูกล่ามโซ่มัดไว้ด้วยกัน ระหว่างรอถูกนำตัวขึ้นเรือเพื่อไปส่งที่ตลาดค้าทาส และใบหน้าของทุกคน เป็นใบหน้าที่รันทดหดหู่ที่สุดที่เขาเคยเห็น

ภาพความทรงจำครั้งนั้น เปลี่ยนมุมมองของมาร์ก ทเวน อย่างพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ และทำให้เขาเป็นนักเขียนดังคนแรกๆ ที่แสดงจุดยืนต่อต้านการค้าทาสผ่านทางหนังสือหลายเล่ม โดยเฉพาะหนังสือการผจญภัยของฮักเกิลเบอร์รี่ ฟินน์

การอยู่ร่วมกันของตัวละครผิวขาวอย่าง ฮัก และตัวละครผิวดำที่ชื่อ จิม อาจเป็นภาพความแตกต่างทางชนชั้นวรรณะที่เหลือเชื่อในสายตาคนยุคนั้น แต่ในสายตาของมาร์ก ทเวน นี่คือเรื่องราวการผจญภัยของมนุษย์สองคน ที่เป็นเพื่อนกันอย่างเท่าเทียม

การผจญภัยร่วมทุกข์ร่วมสุข ระหว่างล่องแพไปตามลำน้ำที่ทอดยาวหลายร้อยไมล์ ทำให้ฮักค่อยๆมองจิมแตกต่างไปจากเดิม จากที่เป็นแค่ ‘ทรัพย์สิน’ ที่สูญหายของมิสวัตสัน กลายเป็น ‘มนุษย์’ คนหนึ่ง ที่มีอารมณ์ความรู้สึก รู้จักความรัก ความเกลียดชัง ความทุกข์ ความเจ็บปวด และเหนือสิ่งอื่นใด มีความรักในอิสรภาพ ไม่ต่างไปจากคนอเมริกันผิวขาวผู้เป็นนายทาส

จุดไคลแม็กซ์ของเรื่องในช่วงท้ายของหนังสือ คือตอนที่ฮักตัดสินใจเขียนจดหมายไปถึงมิสวัตสัน เพื่อแจ้งเบาะแสทาสที่หลบหนีไปของเธอ ซึ่งในตอนนั้น ฮักเชื่อว่า นี่คือการตัดสินใจที่ถูกต้อง และถูกหลักทำนองคลองธรรม 

“เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมรู้สึกสบายใจและสะอาดหมดจดจากการได้ล้างบาป”

มโนธรรมสำนึกในจิตใจบอกกับฮักอย่างนั้น แต่เมื่อลองคิดดูอีกที นั่นคือมโนธรรมจริงๆหรือ หรือเป็นแค่ความพยายามหลอกตัวเองกันแน่

ฮัก หวนนึกถึงภาพที่เขากับจิม นั่งอยู่บนแพ ร้องเพลง-หัวเราะร่า นึกถึงคำพูดของจิมที่พร่ำบอกว่า เขาเป็นเพื่อนที่ดีที่สุด และเพื่อนเพียงคนเดียวที่ ‘ไอ้แก่จิม’ มีอยู่บนโลกใบนี้ 

“งั้นก็เอาล่ะ เราจะลงนรก” ว่าแล้ว ฮัก ฟินน์ ก็ฉีกจดหมายฉบับนั้นทิ้ง

วินาทีที่ฮักตัดสินใจช่วยจิมให้หลุดพ้นจากความเป็นทาส คือห้วงเวลาที่เขาตระหนักแล้วว่า จิม ไม่ใช่ ‘ทรัพย์สิน’ ของมิสวัตสัน หรือของใครคนใดคนหนึ่ง แม้แต่ของฮัก ฟินน์ หากแต่เป็น ‘มนุษย์’ คนหนึ่ง ซึ่งมีอิสระเสรีที่จะเลือกเส้นทางชีวิตของตัวเอง

หากจะบอกว่า จิม เป็นทรัพย์สิน เขาก็เป็นทรัพย์สินของตัวเองแต่เพียงผู้เดียว

‘ศักดิ์ศรี’ หรือแค่นามธรรมค้ำคอ

สภาพบ้านเมืองอเมริกาในยุคของฮัก ฟินน์ หรือในยุคของ มาร์ก ทเวน เป็นช่วงหลังจากยุคบุกเบิก หรือยุคแรกที่คนผิวขาวเข้าไปตั้งรกรากสร้างบ้านแปงเมืองในดินแดนอเมริกา แต่ถึงกระนั้น อาวุธปืน ยังคงเป็นตัวเลือกแรกๆ ในการใช้แก้ปัญหา หรือสะสางกรณีพิพาทระหว่างผู้คน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีพิพาทที่เกี่ยวข้องกับ ‘ศักดิ์ศรีลูกผู้ชาย’

ระหว่างเส้นทางการผจญภัย ฮักได้เข้าไปข้องแวะในเหตุการณ์ศึกล้างแค้นของสองตระกูล ซึ่งลงเอยด้วยเหตุการณ์นองเลือดอันแสนเศร้า เพราะหลายคนที่ตายก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ต้นเหตุของความเกลียดแค้นชิงชังระหว่างสองตระกูลคือเรื่องอะไร

“นายอยากฆ่าเขาเหรอ บั๊ก”

“แหม ฉันขอพนันเลยว่าฉันอยาก”

“เขาทำอะไรให้นาย”

“เขาเหรอ เขาไม่เคยทำอะไรให้ฉัน”

“อ้าว งั้นนายอยากจะฆ่าเขาไปทำไม”

“ก็ไม่ทำไมหรอก เพียงแค่คนมันผูกพยาบาทกันเท่านั้น”

“ปัญหามันเกี่ยวกับอะไร บั๊ก ที่ดินเหรอ”

“พระเจ้า ฉันจะไปรู้ได้ไง มันนานเหลือเกินแล้ว”

แน่นอนว่า สภาพสังคมในยุคที่เพิ่งผ่านพ้นความป่าเถื่อน และยังไม่เข้าสู่ความศิวิไลซ์เต็มตัว การพกพาอาวุธปืนเพื่อป้องกันตัว ไม่ถือเป็นเรื่องผิดแต่อย่างใด แม้กระทั่งตัวมาร์ก ทเวน ก็ยังพกพาอาวุธปืนติดตัว ด้วยนิสัยรักการผจญภัย แต่เขาก็กล่าวไว้ว่า

“มนุษยชาติ มีอาวุธที่ทรงพลานุภาพที่สุด นั่นคือ เสียงหัวเราะ”

ด้วยเหตุนี้ เสียงหัวเราะและอารมณ์ขัน จึงแทรกอยู่ในแทบทุกตอนของการผจญภัยของฮัก

เสียงหัวเราะที่เป็นเหมือนการเย้ยหยันบรรทัดฐานศีลธรรมจอมปลอม ค่านิยม-ความเชื่อผิดๆ รวมถึงความหยิ่งทะนงของผู้หลงยึดมั่นในเชื้อชาติสีผิว

เสียงหัวเราะที่เป็นเหมือนการปล่อยวางทุกมายาคติ ปล่อยวางเพื่อทำให้ชีวิตเบาลง เพราะมีแต่ชีวิตที่เบาเท่านั้น ที่สามารถล่องลอยไปได้อย่างอิสระเสรี

เฉกเช่นแพที่ลอยไปตามลำน้ำมิสซิสซิปปี้ของเด็กเลวผู้น่ารัก ฮักเกิลเบอร์รี่ ฟินน์

Tags:

The Adventures of Huckleberry FinnเสียดสีสังคมComing ageหนังสือเด็กมนุษย์สังคม

Author:

illustrator

สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

อดีตนักแปล-นักข่าว ปัจจุบันเป็นพ่อค้า พ่อบ้าน และพ่อของลูกชายวัยรุ่น รักหนังสือ ชอบเข้าร้านหนังสือ และชอบซื้อหนังสือมาดองเป็นกองโต

Related Posts

  • Book
    ฤดูร้อนเมื่อครั้งประถม ผมได้เป็นอัศวิน: เด็กชายผู้บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ความกล้าหาญด้วยตัวเอง

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Cover
    Book
    The Wild Robot: ชีวิตที่ลิขิตเอง ไม่ต้องรอโปรแกรมคำสั่ง

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Book
    วันนั้นฉันเจอเพนกวิน: อย่าปิดกั้นจินตนาการของเด็กด้วยคำว่า ‘เพ้อฝัน’

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Book
    รถไฟขนเด็ก – เพราะรักจึงยอมปล่อยมือ

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Book
    The Catcher in the Rye : ไม่ต้องมีใครโอบรับใคร ถ้าไม่มีผู้ใดร่วงหล่นจากท้องทุ่ง

    เรื่อง ฌานันท์ อุรุวาทิน

วิทยาศาสตร์ในนาข้าว ไขปริศนาภูมิปัญญาสู่การเรียนรู้ข้างกองฟาง กับ ลุงจี๊ด ‘นาบุญข้าวหอม’
Creative learning
18 January 2023

วิทยาศาสตร์ในนาข้าว ไขปริศนาภูมิปัญญาสู่การเรียนรู้ข้างกองฟาง กับ ลุงจี๊ด ‘นาบุญข้าวหอม’

เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ปริสุทธิ์

  • พื้นที่การเรียนรู้นอกห้องเรียนที่หยิบภูมิปัญญาการทำนามาร้อยเรียงเป็นองค์ความรู้ให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ภายใต้หลักสูตรที่ให้ชื่อว่า ‘ปรัชญาเศรษฐกิจชุมชน’ 
  • เป้าหมายของการออกแบบกิจกรรมต่างๆ นอกจากการเรียนรู้ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ผ่านการลงมือปฏิบัติแล้ว เด็กๆ จะได้ซึมซับความเคารพซึ่งกันและกัน และเห็นคุณค่าของสรรพสิ่ง รวมถึงเป็นการปลูกฝังคุณธรรมให้เด็กด้วย 
  • วิทยาศาสตร์ในนาข้าว คือกระบวนการเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการหมุนของโลก ลม ข้างขึ้นข้างแรม น้ำขึ้นน้ำลง ฯลฯ

ทำไมก่อนลงเหยียบย่ำในนาข้าวต้องไหว้ขอขมาสิ่งที่มองไม่เห็น?

สิ่งที่มองไม่เห็นคือใคร?

ทำไมต้องมีการดูฤกษ์ยามก่อนดำนา?

คำถามเหล่านี้เกิดขึ้นในห้องเรียนกลางทุ่ง ที่ถ่ายทอดความรู้โดย นริศ เจียมอุย หรือ ลุงจี๊ด เจ้าของแหล่งเรียนรู้ ‘นาบุญข้าวหอม’ ผู้ซึ่งไขปริศนาความเชื่อและภูมิปัญญาในการทำนาแบบดั้งเดิม ด้วยความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์ที่เด็กๆ สามารถเชื่อมโยงไปกับความรู้ในห้องเรียน และสนุกกับการได้ลงมือทำด้วยตัวเอง

The Potential พาทุกคนร่วมเดินทางจากกรุงเทพฯ สู่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เพื่อพูดคุยกับลุงจี๊ด ถึงขั้นตอนการทำนาแบบดั้งเดิมที่แฝงไว้ด้วยกุศโลบายเพื่อให้คนสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน ก่อนจะถูกแปลงมาเป็นหลักสูตรการเรียนรู้นอกห้องเรียนภายใต้ชื่อ ‘หลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจชุมชน’ ที่ต้องการปลูกฝังเรื่องการเคารพซึ่งกันและกัน ผ่านการเรียนรู้ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ 

ในพื้นที่การเรียนรู้ที่กว้างสุดลูกหูลูกตานี้ มีกิจกรรมที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่สามารถมีส่วนร่วมได้ตามปฏิทินการทำนา เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนสิ้นสุดที่เดือนกุมภาพันธ์ของอีกปี ไม่ว่าจะเป็นการตกกล้า ถอนกล้า ดำนา เกี่ยวข้าว นวดข้าวด้วยควาย นอกจากนี้ยังมีพิธีกรรมโบราณที่สอดแทรกอยู่ในแต่ละกิจกรรมด้วย โดยในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จสรรพ จะเป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อน แต่ก็ยังมีกิจกรรมการแปรรูปข้าวให้ได้ทำกัน ใครสนใจกิจกรรมในช่วงไหนมาร่วมเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าอยากทราบแนวคิดดีๆ ที่อยู่เบื้องหลังเขยิบเข้าฟังลุงจี๊ดกันได้เลย

ห้องเรียนกลางทุ่ง ‘นาบุญข้าวหอม’

จากจุดเริ่มต้นเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว นาบุญข้าวหอมค่อยๆ เติบโตสวยงาม ลุงจี๊ดเล่าว่าเป้าหมายแรกคือ การทำข้าวให้ปลอดภัยไร้สารเคมี หลังจากลองผิดลองถูกมาเรื่อยๆ จึงพบว่าแท้จริงแล้ววิธีการผลิตข้าวปลอดภัยต้องพึ่งพาภูมิปัญญาโบราณ 

“ตัวภูมิปัญญาถ้าเราเข้าใจและเข้าถึงมันเมื่อไร มันสามารถเปลี่ยนเป็นมูลค่าได้มหาศาล ขณะเดียวกันตัวภูมิปัญญาก็ทำให้เห็นกุศโลบายต่างๆ ทุกอย่างมันก็สามารถสร้างให้เกิดการเรียนรู้มิติใหม่ในยุคปัจจุบัน” 

จากการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ลุงจี๊ดถอดบทเรียนจากประสบการณ์มาออกแบบกิจกรรมหลายๆ กิจกรรมเพื่อถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้เข้าใจถึงวิถีแห่งภูมิปัญญาที่ไม่ได้มีแต่ความเชื่อ ทว่ามีทักษะและองค์ความรู้มากมายที่แฝงอยู่ในทุกขั้นตอนของการทำนา แล้วเปิดให้คนทั่วไปได้มาเยี่ยมชม โดยเฉพาะผู้ปกครองได้พาลูกหลานมาเรียนรู้ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี บางคนอาจมองว่าเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่ แต่จริงๆ แล้วสิ่งเหล่านี้คือภูมิปัญญาโบราณของคนไทย 

“พอเราได้หลักการพวกนั้นมาเสร็จปุ๊บ มันก็เลยเป็นที่มาของการอนุรักษ์เรื่องของภูมิปัญญาการทำนา เพราะว่ามันไปสัมพันธ์กับตัวผลผลิตที่เราต้องการ แล้วพอไปค้นคว้ากระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่ความเชื่อ พิธีกรรม เรื่องของการดูฤกษ์ยามอะไรต่างๆ มาประกอบกัน จนเป็นคลังความรู้เรื่องของการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทำนา เรามีขั้นตอนทุกอย่างให้เห็นว่าเราไม่ใช้สารเคมี เราลดการใช้ก๊าซคาร์บอนด้วย ทุกอย่างดีต่อสิ่งแวดล้อมหมด มันอาจจะดูช้า แต่มันมีคุณค่า” 

ในเรื่องของพิธีกรรมต่างๆ ลุงจี๊ดอธิบายว่า “มันมีความสัมพันธ์กันลึกซึ้งมากที่มันทำให้เกิดชุดความรู้ขึ้นมาอีกชุดหนึ่งว่า กระบวนการทั้งหมดมันมีกุศโลบายบอกไว้หมดทุกขั้นตอน ตั้งแต่พิธีแรกนาขวัญ การดูฤกษ์ การทำพิธีแรกดำ การมีพิธีแรกเกี่ยว การรับขวัญท้องข้าว สุดท้ายประเพณีบุญลานข้าว หลังจากที่เราเกี่ยวข้าว ตากข้าว นวดข้าวแล้วทั้งหมด พอได้เป็นข้าวเสร็จเรียบร้อยเราก็จะทำพิธีเหมือนกับว่ารับขวัญแม่โพสพ เป็นการบูชาขวัญก่อนที่เราจะเอาข้าวมาเก็บไว้บริโภค ทุกขั้นตอนเราเก็บรวบรวมไว้หมดที่นี่”

หลักสูตรทำนา ฉบับภูมิปัญญา+วิทยาศาสตร์

ตามปฏิทินการทำนาของแต่ละปี บทเรียนแรกจะเริ่มต้นในเดือนมิถุนายน ด้วย ‘พิธีแรกนาขวัญ’ ซึ่งเป็นการทำขวัญเมล็ดพันธุ์ก่อนการเพาะปลูกเพื่อความเป็นสิริมงคล ลุงจี๊ดบอกว่า ที่นี่เป็นที่เดียวในประเทศไทยที่ยังมีพิธีฉบับชาวบ้านอยู่ โดยระหว่างนี้เปิดให้ผู้ปกครองสามารถพาเด็กๆ มาเรียนรู้การทำนา เช่น การตกกล้าหรือการหว่านกล้าลงในแปลงนา ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในช่วงเริ่มต้นทำนาปี และเมื่อต้นกล้าอายุครบ 1 เดือน จะถอนเอามาปักดำในแปลงที่เตรียมไว้สำหรับปลูก

“ตัวหลักสูตรการทำนา เป็นหลักสูตรย่อยที่อยู่ในปรัญชาเศรษฐกิจชุมชน ผู้ปกครองสามารถพาเด็กๆ มาเรียนทักษะชีวิต รวมถึงเรื่องของคุณธรรม

การดำนาเราถอดออกมาเป็นเรื่องของคุณธรรม แบ่งเป็นการเคารพ การช่วยเหลือ การร่วมมือ การเสียสละ ซึ่งเราไม่ได้ให้เด็กๆ เรียนอย่างเดียว ผู้ใหญ่ก็มาเรียนได้”

ที่น่าสนใจคือ ในแต่ละขั้นตอนของการทำนาตามวิถีภูมิปัญญาโบราณนั้น ลุงจี๊ดไม่เพียงอนุรักษ์ไว้ในมิติของการเป็นมรดกทางวัฒนธรรม แต่ยังอธิบายเชื่อมโยงกับความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจถึงเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังอันเป็นกุศโลบายของคนโบราณมากขึ้นด้วย

“เช่น การใช้ฤกษ์งาม ฤกษ์ตามฤดูกาลต่างๆ อย่างที่นาบุญข้าวหอมเราใช้ฤกษ์ตกกล้า ซึ่งมันเป็นความเชื่อที่มีตำรา ทีนี้เราก็ไปค้นคว้าว่า ฤกษ์มันแม่นยำยังไง ก็ไปเจอว่าการทำฤกษ์ตกกล้ามันอธิบายได้ด้วยมิติทางวิทยาศาสตร์  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของลม ข้างขึ้นข้างแรม น้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งเราใช้ฤกษ์ตามตำราที่เขาบันทึกไว้ ทดลองมาทั้งหมด 9 ปี มีความแม่นยำสูงมากในสิ่งที่มันเกิดขึ้น 

ยกตัวอย่างเช่น เวลาเราดูฤกษ์ในการตกกล้าหรือหว่านกล้า เพื่อจะนำกล้าลงในนาข้าว ขณะที่ต้นกล้ามันโตมาระยะหนึ่งแล้ว น้ำในนาจะแห้ง แล้วมันก็จะมีช่วงเวลาการเดินทางของฝน ช่วงที่น้ำแห้งแล้วพืชมันต้องการน้ำ ฝนจะตกพอดี การดูฤกษ์ในการตกกล้าทำให้เราไม่ต้องอาศัยน้ำจากแหล่งน้ำอื่นๆ เข้ามาช่วย

ซึ่งเมื่อเราอธิบายไปลึกๆ จะเห็นว่า ฤกษ์มันไม่ได้เกิดจากการเดา แต่เกิดจากการเก็บข้อมูลซ้ำๆ ไว้ บันทึกไว้ส่งต่อกันมา มันเป็นการตกผลึกเรื่องตารางการหมุนของโลก น้ำขึ้นน้ำลง ข้างขึ้นข้างแรม ทุกอย่างสัมพันธ์กันหมด มีการบันทึกเป็นตำราไว้ และมีความแม่นยำสูง เพราะฉะนั้นตัวฤกษ์มันไม่ใช่เรื่องของความงมงาย แต่มันเป็นวิทยาศาสตร์” 

ทั้งนี้ ลุงจี๊ดบอกว่าฤกษ์ในแต่ละปีจะไม่ตรงกัน แต่สัมพันธ์กับการหมุนของฤดูกาลและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ การทำนาตามฤกษ์นอกจากจะไม่จำเป็นต้องสูบน้ำจากแหล่งอื่นเพื่อมาใช้ในนาข้าวแล้ว ยังได้กระแสลมช่วยเบี่ยงเบนแมลงที่จะมารบกวนต้นข้าวได้ด้วย 

“เหล่านี้เป็นภูมิปัญญาที่เราถอดออกมาไป สัมพันธ์ในเรื่องของการเคารพดิน เราจะมีการบูชาดิน ฟังดูเผินๆ อาจเป็นเรื่องงมงาย แต่ทุกสิ่งทุกอย่างมีกุศโลบายหมด”

ที่สำคัญ หลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจชุมชนฉบับนาบุญข้าวหอมยังให้ความสำคัญกับคุณค่าของทรัพยากรในท้องถิ่น โดยเชื่อมโยงทรัพยากรนั้นเข้ากับความต้องการของตลาด โดยหนึ่งในโครงการดีๆ ที่ลุงจี๊ดภูมิใจนำเสนอคือ ‘คนกินเปลี่ยนคนปลูก’ เป็นการใช้กระแสของผู้บริโภคยุคนี้ที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม มาปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตของเกษตรกร เพื่อให้เกิดการลดใช้สารเคมีอย่างยั่งยืน

“เราใช้วิธีการขายข้าวล่วงหน้า เป็นการจองตั้งแต่แปลงข้าว ซึ่งมีการจองออเดอร์เข้ามาเยอะมาก เพราะว่าเราสื่อสารให้เขาเห็นว่าการทำนาโดยใช้วัฒนธรรมภูมิปัญญาโบราณของเราปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสามารถทำให้ชาวนามีรายได้เพิ่มจากการขายข้าวปกติด้วยเท่าตัว” 

เรียนรู้ที่จะ ‘เคารพ’ และ ‘เห็นคุณค่า’ ของสรรพสิ่ง

นอกจากเป้าหมายแรกเริ่มที่อยากจะปลูกข้าวปลอดภัย จนมาเจอว่าภูมิปัญญาการทำนาโบราณนี่เองที่จะทำให้ได้ข้าวในแบบที่ต้องการ สิ่งที่นาบุญข้าวหอมอยากจะมอบให้ผู้คนที่มาเยือนนั่นคือ การเคารพและเห็นคุณค่าของสรรพสิ่ง

“ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่เราพาเด็กไปดำนาหรือกิจกรรมอื่นๆ ทุกครั้งก่อนที่เราจะเดินลงไปในนา เราจะต้องทำพิธีขอขมาสิ่งที่มองไม่เห็น 

สิ่งที่มองไม่เห็นในความหมายนี้คือ จุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เป็นอาหารของต้นข้าว และเขาคือเจ้าของที่ ก่อนเราจะไปเหยียบย่ำเราต้องไปขอขมา เหล่านี้เราปลูกฝังคุณธรรมให้กับเด็ก ทำให้คนได้เห็นคุณค่าของข้าวมากขึ้น”

และระหว่างที่เราเตรียมพื้นที่ทุกครั้ง เช่นในพิธีแรกนาขวัญ คือการเอาวัวหรือควายไปทำพิธีไถ่เวียนซ้าย 3 รอบ นี่เป็นพิธีชาวบ้าน แต่ถ้าเป็นพิธีหลวงจะเวียนซ้าย 3 ขวา 3 ก่อนที่เราจะลงไปไถเราก็บอกควายวัวที่จะช่วยงานว่า เริ่มต้นฤดูกาลแล้วนะ เดี๋ยวเราจะต้องมาช่วยกันทำนา เป็นการบอกกล่าว ทำขวัญกัน ก่อนที่เราจะเดินลงไปในพื้นดินที่เป็นพระแม่ธรณีเราก็ต้องบอกกล่าวก่อน” 

สำหรับเด็กๆ สมัยนี้ เมื่อพูดถึงแม่ธรณีอาจจะนึกภาพไม่ออก ลุงจี๊ดอธิบายต่อว่า แม่ธรณีในที่นี้เราเชื่อมโยงไปถึงบรรดาไส้เดือน และพวกจุลินทรีย์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในดิน เสมือนเจ้าที่ ทุกครั้งที่มีการเหยียบย่ำลงไปในดินจึงต้องขอขมา เพราะเป็นการบุกรุกพื้นที่ 

“สิ่งเหล่านี้ทำให้เราเข้าใจธรรมชาติมากขึ้น คือคุณธรรมพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับเด็กที่เราอาจจะต้องมาทำความเข้าใจ ต้นข้าวเป็นสิ่งมีชีวิต ทุกครั้งที่เราลงมือกระทำการใดที่ทำให้เขาได้รับผลกระทบ เราต้องขอขมา

เห็นไหมว่าทุกสิ่งมันเป็นคุณธรรมพื้นฐานง่ายๆ ที่เราควรจะอธิบายลงไป แล้วพอถึงการเก็บเกี่ยว สุดท้ายคือการทะนุถนอม เราทะนุถนอมเมล็ดข้าวมันไม่ใช่เรื่องไร้สาระ มันเป็นเรื่องของการขอบคุณเมล็ดข้าวที่ให้ชีวิตเรา” 

ลุงจี๊ดแถมท้ายด้วยเรื่องเล่า ‘ข้าวเมล็ดเดียว’ ซึ่งให้ข้อคิดได้ดีมาก พร้อมบอกว่าถ้าเป็นไปได้อยากจะนำมาเล่าต่อในฉบับการ์ตูนด้วย 

“เล่ากันว่าข้าวเมล็ดเดียวเลี้ยงคนได้ทั้งโลก ฟังดูแล้วไม่มีใครเชื่อ แต่ข้าวหนึ่งกอนั้นโตมาจากข้าวแค่เมล็ดเดียว เมื่อแตกออกมา 1 รวง ก็จะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 150-200 เมล็ด จากข้าวเมล็ดเดียวเราก็จะสามารถได้ข้าวกลับมามากมาย แล้วเราก็เอาข้าวที่ได้ไปปลูกอีกครั้งหนึ่ง ข้าวเมล็ดเดียวมันจึงมีความหมายมาก เพราะฉะนั้นเมื่อเราเข้าใจเรื่องของความหมายและความสำคัญแล้ว ทุกเมล็ดที่เราทำมากับมือมันจึงมีคุณค่าสูงมาก”

กิจกรรมนอกห้องเรียน เสริมทักษะชีวิตให้เด็ก  

การได้ออกมาเรียนรู้หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ได้เลอะเทอะ ได้ทำอะไรที่ไร้กรอบบ้าง นอกจากจะทำให้เด็กๆ ได้สนุกกับการลงมือทำแล้ว ยังได้ตระหนักถึงคุณค่าของข้าว อาหารหลักของเราอีกด้วย ซึ่งลุงจี๊ดเองมองว่า ประสบการณ์จากการเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นสิ่งสำคัญมาก

“การที่เด็กได้มาเรียนรู้เรื่องของวัฒนธรรม ภูมิปัญญา รวมไปถึงทักษะชีวิต ทำให้เข้าใจเรื่องของธรรมชาติ การที่เด็กเรียนรู้ธรรมชาติมันจะช่วยให้สังคมและสิ่งแวดล้อมงดงามอยู่ได้ ถ้าเขาเข้าใจธรรมชาติทุกอย่างมันเป็นเรื่องของการเกื้อกูลกันทั้งหมด สิ่งที่สำคัญคือต้องกลับมาเข้าใจธรรมชาติ เรียนรู้และอยู่กับมัน”

นอกจากกิจกรรมการเรียนรู้การทำนาตามฤดูกาลแล้ว ในทุกๆ เช้าวันเสาร์ที่นาบุญข้าวหอมจะมีกิจกรรมตักบาตรข้าวใหม่พระสงฆ์ และพื้นที่ลานกว้างๆ ก็จะเต็มไปด้วยร้านรวงขายสินค้าจากชุมชนละแวกนี้ ส่วนกิจกรรมการแปรรูปข้าว จะมีการทำขนมครก ข้าวเกรียบงา ข้าวเม่า เป็นต้น 

สำหรับผู้ที่สนใจพาเด็กมาท่องเที่ยวเรียนรู้ ที่นี่ยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีก อาทิ ทริปจักรยานเรียนรู้วิถีชุมชน โดยจะปั่นจักรยานชมทุ่งนาและแวะไปทำกิจกรรมตามฐานในชุมชนที่ถูกจัดไว้ตลอดเส้นทาง 

“กิจกรรมที่มีตอนนี้คือ ไปดื่มน้ำมะพร้าวจากสวน ดื่มน้ำตาลสดจากกระบอก ไปกินกล้วยปิ้ง แล้วก็กลับมาทานข้าวห่อใบบัว เป็นทริปครึ่งวันจริงๆ แต่ต้องจองมาล่วงหน้าก่อน เพื่อที่เราจะได้เตรียมกิจกรรม”

หากใครสนใจอยากจะมาเรียนรู้ที่นาบุญข้าวหอม เข้าไปสอบถามรายละเอียดของกิจกรรม ค่าใช้จ่าย และจองคิวกันได้ที่เพจเฟซบุ๊ก นาบุญข้าวหอม และ เพจ ตาหลาดนาพาเพลิน  

Tags:

นาบุญข้าวหอมนริศ เจียมอุยภูมิปัญญาการเรียนรู้นอกห้องเรียนวิทยาศาสตร์แหล่งการเรียนรู้ความเชื่อ

Author:

illustrator

นฤมล ทับปาน

Photographer:

illustrator

ปริสุทธิ์

Related Posts

  • Education trend
    ความผิดพลาดของการสอนวิทยาศาสตร์ที่อาจพาประเทศชาติหลงทาง

    เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์

  • Social Issues
    วิทย์นอกเวลา การเรียนรู้ที่เด็กออกแบบเอง จากกรุงเทพคริสเตียนสู่เวทีโลก: ครูชนันท์ เกียรติสิริสาสน์

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • Everyone can be an Educator
    ‘เรียนวิทยาศาสตร์ไปทำไม’ บทสนทนาว่าด้วย ควอนตัม ความเชื่อ และการศึกษา กับ ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ 

    เรื่อง The Potential ภาพ ปริสุทธิ์

  • Space
    Space Inspirium:  แหล่งการเรียนรู้ที่ชวนคนทุกวัยท่องอวกาศไปด้วยกัน

    เรื่อง ชุติมา ซุ้นเจริญ ภาพ ปริสุทธิ์

  • Voice of New Gen
    คุณวุฒิ บุญฤกษ์: เด็กชายผู้ล้มเหลวในวิชาวิทย์ สู่นักวิจัยสายสังคมศาสตร์

    เรื่องและภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

Yes Day: ขอให้มีสักวันที่แม่จะไว้ใจและให้พื้นที่อิสระพอที่เราจะใช้ชีวิตในแบบของตนเอง
Movie
12 January 2023

Yes Day: ขอให้มีสักวันที่แม่จะไว้ใจและให้พื้นที่อิสระพอที่เราจะใช้ชีวิตในแบบของตนเอง

เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • แอลลิสัน ทอร์เรส คือตัวละครหลักจากเรื่อง Yes Day และเป็นตัวอย่างของมนุษย์แม่ที่จุกจิก ขี้บ่น และมักปฏิเสธคำขอของลูกเสมอ
  • ในสายตาของแอลลิสัน เธอมองว่าตัวเองรู้จักลูกดีที่สุด และลูกคือเด็กตัวน้อยๆ ที่ไม่ค่อยรู้เดียงสา ทว่าในมุมของลูกๆ แอลลิสันกลับเป็นปีศาจร้ายที่คอยขัดขวางความสุขในวัยเยาว์
  • เมื่อปัญหาระหว่างแม่ลูกดังไปถึงหูของครูที่โรงเรียน ครูจึงแนะนำให้แอลลิสันแก้ปัญหานี้ด้วยวิธี Yes Day หรือการกำหนดวันขึ้นมาหนึ่งวัน โดยมีกฎเหล็กคือวันนั้นเธอจะต้องตอบรับกับทุกคำขอของลูก

ผมเชื่อว่าการเลี้ยงดูของพ่อแม่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกและอุปนิสัยใจคอของลูกอย่างมาก

ถ้าพ่อแม่ใจดีมีเหตุผล…ลูกก็เหมือนถูกล็อตเตอรี่รางวัลใหญ่ แต่ถ้าพ่อแม่ไม่มีเหตุผลใช้แต่อารมณ์เข้าว่า…ก็ถือเป็นความโชคร้ายที่ลูกไม่อาจหลีกเลี่ยง

ด้วยเหตุนี้ ลูกหลายคนจึงมีคำนิยามให้พ่อแม่ในมุมที่ต่างกัน บางคนยกให้พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของบ้าน บางคนบอกว่าพ่อแม่คือเจ้ากรรมนายเวรรายใหญ่ แต่ในรายของเคธี ทอร์เรส สาวน้อยวัย 14 ปีจากภาพยนตร์เรื่อง ‘Yes Day วันนี้ห้ามเซย์โน’ มองว่า “แม่เป็นตัวทำลายความสนุก”

-1-

ก่อนจะมาเป็นตัวทำลายความสนุกของเคธี…ลูกสาวคนโต ‘แอลลิสัน’ เคยเป็นสาวโสดที่สนุกสนานร่าเริง เธอเป็นผู้หญิงประเภทสวย ยิ้มเก่ง และเซย์เยสให้กับความท้าทายต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต  

ทว่าทุกสิ่งทุกอย่างก็เปลี่ยนไป หลังจากเธอตั้งครรภ์ ซึ่งนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของสัญชาตญาณความเป็นแม่ที่ค่อยๆ เปลี่ยนแอลลิสันให้กลายเป็นแม่หน้าบูดจอมบงการ และชัดเจนขึ้นเมื่อเธอมีลูกน้อยถึงสามคนในเวลาไล่เลี่ยกัน

แม้ว่าตอนเด็กๆ หลายคนจะติดพ่อแม่ และถึงจะถูกพ่อแม่ขัดใจยังไง เราก็มักจะยอมแต่โดยดี ทว่าตอนนี้ เคธี ลูกสาวคนโตกำลังอยู่ในช่วงแตกเนื้อสาวในวัย 14 ปี ดังนั้นเวลาที่ถูกแม่ขัดใจ เธอจึงออกอาการฟึดฟัดมากกว่าน้องทั้งสองคน 

นอกจากอาการฟึดฟัด ดูเหมือนว่าความต้องการของเคธีก็โตขึ้นและมากขึ้นตามประสบการณ์ชีวิต วันหนึ่งเธอเข้ามาขออนุญาตแม่ไปงานเทศกาลดนตรี ซึ่งแม่ก็ตอบตกลง ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าเราแม่ลูกจะไปสนุกด้วยกัน ทำให้เคธีระบายความในใจอย่างเหลืออด

“โถ่ ไม่เอาน่า พ่อแม่ของเลย์ลายังอนุญาตเลย…ส่วนพ่อก็บอกว่าหนูไปได้ พ่อเชื่อใจหนู พ่อรู้ว่าหนูจัดการตัวเองได้”

ผมเข้าใจความรู้สึกของเคธี เพราะตอนแตกเนื้อหนุ่ม ผมเองก็รู้สึกโกรธที่พ่อแม่ห้ามไม่ให้ไปไหนดึกๆ (ทั้งที่ผมเป็นผู้ชาย)

อีกทั้งการที่เด็กวัยนี้เอาแต่อยู่ใต้เงาพ่อแม่ ย่อมตกเป็นเป้าให้เพื่อนๆ ล้อเลียนว่า ‘ลูกแหง่’ ซึ่งเป็นคำพูดสุดจี๊ดที่ทำร้ายจิตใจวัยรุ่นอย่างแรง

เมื่อถูกแม่เซย์โน เธอจึงนำความโกรธและไม่พอใจแม่มาแต่งกลอนไฮกุส่งครูในคาบภาษาอังกฤษ

“ฉันเป็นนกในกรง แม่เป็นผู้จองจำฉัน แม่จ๋าปล่อยหนูไปเถอะ”

นอกจากเคธีแล้ว น้องคนรองยังส่งการบ้านวิชาประวัติศาสตร์ด้วยการนำคลิปตอนแม่ด่ามาเปรียบเทียบในทำนองว่า ‘แม่คือผู้นำเผด็จการ’ ไม่ต่างอะไรกับสตาลินและมุโสลินี

-2-

ผลลัพธ์จากการส่งการบ้านในวันนั้น ทำให้ครูที่ปรึกษาของทั้งคู่เรียกแอลลิสันกับสามีมาพบเพื่อแจ้งเรื่องนี้ ทำให้แอลลิสันรู้สึกผิดหวังและเสียใจมากๆ ที่ลูกไม่เห็นความปรารถนาดี ก่อนต่อว่าสามีที่โยนภาระหน้าที่เลี้ยงลูกจนทำให้เธอกลายเป็นจอมเผด็จการในสายตาของลูก

“คุณทำให้ฉันดูแย่ เพราะคุณได้เล่นเป็นคุณพ่อจอมสนุกสนานที่ทุกคนรัก ส่วนฉันต้องเล่นบทเป็นวายร้าย ในวีดีโอคุณก็เห็นว่าไม่มีบทที่คุณเป็นตัวร้ายเลยนี่ 

มันอาจถูกอัพโหลดลงยูทูบ แล้วฉันจะกลายเป็นแม่โรคจิต…ไม่ยุติธรรมเลย ตอนอยู่กับลูกๆ ฉันได้ยินเสียงตัวเองและคิดว่าถ้าเป็นฉันก็คงไม่อยากอยู่กับตัวเอง”

ผมขออนุญาตแทรกเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกสาวเล็กน้อย ด้วยปัญหาเกี่ยวกับสามีที่มักโยนหน้าที่เลี้ยงลูกให้ภรรยา ซึ่งนับเป็นปัญหาคลาสสิกที่เกิดขึ้นทั่วโลก ผมเคยอ่านบทสัมภาษณ์ของนักจิตวิทยาชื่อดัง  Dr. Alaokika Bharwani ที่อธิบายถึงสาเหตุว่าทำไมสามีหลายคนถึงไม่เต็มใจช่วยภรรยาเลี้ยงดูบุตร โดยเธอบอกว่าสามีเหล่านี้มักเรียนรู้พฤติกรรมดังกล่าวมาจากต้นแบบของผู้ปกครองและบทบาททางเพศที่เกิดขึ้นสมัยเป็นเด็ก โดยเฉพาะการเห็นผู้เป็นแม่แสดงบทบาทที่ ‘อ่อนน้อมถ่อมตน’ ต่อพ่อ…ผู้เป็นคนหาเลี้ยงครอบครัวและเปรียบเสมือน ‘ศูนย์กลาง’ ของครอบครัว

อย่างไรก็ตาม นักจิตวิทยาได้แนะนำคุณพ่อยุคใหม่ว่าต้องรับฟังและเข้าใจความต้องการของคู่รัก นอกจากนี้การไม่สนับสนุนภรรยาเรื่องการเลี้ยงดูบุตรยังเป็นสัญญาณว่าความต้องการของเธอไม่สำคัญเท่ากับความต้องการของคุณ

“นั่นถือเป็นการละเลยทางอารมณ์ มีความแตกต่างอย่างมากระหว่างการทำหน้าที่ของตัวเองและความเห็นแก่ตัว ในการทำหน้าที่ของตนเอง ฉันเคารพความต้องการของฉันพอๆ กับความต้องการของคุณ ในขณะที่ความเห็นแก่ตัวคือ ความต้องการของฉันสำคัญกว่าคุณและครอบครัว” Dr. Alaokika Bharwani กล่าว

ในช่วงจังหวะที่แอลลิสันต่อพ้อสามี ปรากฏว่าครูพละได้ยินเข้าจึงเข้ามาให้คำแนะนำกับทั้งคู่ โดยเขาแนะนำให้แอลลิสันนำแผน ‘Yes Day’ มาใช้กับลูกๆ ซึ่งกฎของมันคือการกำหนดวันขึ้นมาหนึ่งวัน และในวันนั้นพ่อกับแม่ต้องตอบรับทุกคำขอของลูก โดยไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรมอันดีงาม

“ผมรู้ว่ามันฟังดูตลก แต่มันคือตัวพลิกเกมที่แท้จริงเลยล่ะ มันจะช่วยปลดปล่อยเด็กๆ ให้เป็นอิสระ และเมื่อเด็กๆ เป็นอิสระ มันก็ช่วยปลดปล่อยเราให้เป็นอิสระด้วย” ครูพละกล่าว

-3-

ในที่สุด แอลลิสันก็ตัดสินใจนำวัน Yes Day มาใช้กับลูกๆ เพราะเธอไม่อยากให้ลูกมองว่าเธอเป็นนางมารที่คอยขัดขวางความสนุก

เมื่อแอลลิสันยอมที่จะเปิดใจยอมรับความต้องการของลูก ผมสังเกตเห็นถึงรอยยิ้มและเสียงหัวเราะดังๆ ที่ไม่เคยได้ยินมาตลอดทั้งเรื่อง นั่นเพราะลูกๆ ต่างต้องการความรักที่มาพร้อมกับความเข้าอกเข้าใจ มากกว่าความรักที่แน่นจนบีบรัด…ภายใต้มายาคติ “พ่อแม่ย่อมเลือกสิ่งที่ดีที่สุด (ในความคิดตัวเอง) ให้กับลูก”

แต่สิ่งที่ผมชื่นชมแอลลิสันที่สุดในตอนอนุญาตให้มี Yes Day ไม่ใช่การเปิดรับข้อเสนอทุกข้อของลูกอย่างไร้สติ แต่เป็นตอนที่เคธีมาคุยกับเธอเรื่องเทศกาลดนตรีเพื่อท้าทายให้เธอพูดคำว่า ‘ไม่’ ซึ่งนับว่าเป็นการละเมิดกฎสูงสุดของวัน Yes Day

สิ่งที่แอลลิสันทำคือการแบ่งรับแบ่งสู้ เธอเรียนรู้ที่จะยอมรับข้อเสนอของเคธี แต่ก็ยังไว้ลายความเป็น ‘มนุษย์แม่’ ด้วยการตั้งเงื่อนไข นั่นก็คือหากเธอชนะชาเลนจ์ทุกข้อในวัน Yes Day …เคธีจะต้องยอมให้เธอไปงานเทศกาลดนตรีด้วยกัน ทำให้เคธีรู้สึกว่าแม่คุยกับเธออย่างมีเหตุมีผลมากกว่าใช้อารมณ์หรือเผด็จการแห่งความเป็นแม่ 

แม้จะผ่านชาเลนจ์สุดพิลึกอย่างทุลักทุเล เช่น การขับรถเข้าเครื่องล้างรถอัตโนมัติและเปิดกระจกจนทุกคนเปียกปอน ฯลฯ แต่แอลลิสันก็ทำให้ลูกๆ เห็นว่าเธอเป็นคนที่ใจดีและสนุกสุดเหวี่ยงแค่ไหน ทว่าระหว่างที่ภารกิจสุดท้ายกำลังจะจบลง แอลลิสันกลับแอบฉวยโอกาสที่เคธีไปเข้าห้องน้ำ เพื่อหยิบโทรศัพท์มือถือของลูกมาเช็ค ทำให้วันดีๆ ทั้งวันพังทลายลงในพริบตา

-4-

ถ้าผมเป็นแอลลิสัน แน่นอนว่าผมย่อมตกใจที่เห็นเพื่อนของเคธีส่งแชทมาว่าคืนนี้จะมีหนุ่มๆ หุ่นล่ำมารวมกลุ่มกับพวกเราในเทศกาลดนตรี เช่นกันถ้าผมเป็นเคธี การสอดแนมของแอลลิสันย่อมถือเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวอย่างแรง

“แม่ดูมือถือหนูทำไม เห็นได้ชัดว่าแม่กำลังทำตัวเวอร์เกินไปเพราะหนูควบคุมสิ่งที่เลย์ลาพิมพ์มาไม่ได้ พอกันทีกับ Yes Day หนูไม่เอาด้วยแล้ว 

ไม่อยากเชื่อว่าหนูยอมโดนแม่หลอกว่าแม่เปลี่ยนไปแล้วจริงๆ แม่ไม่ได้ไว้ใจหนูเลย…แม่เลิกยุ่งกับหนูสักทีเถอะ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือหนูไม่ต้องการแม่อีกต่อไปและแม่ก็แค่รับมันไม่ได้”

เมื่อไม่มีข้อแก้ตัวสำหรับการสอดแนม แอลลิสันจึงรู้สึกเสียใจกับการกระทำของตัวเองและหันไปโอดครวญกับสามี

“มันเป็นกฎที่สำคัญมาก ฉันไม่น่าดูมือถือของลูกเลย ไม่แปลกใจที่ลูกจะโกรธ แต่มันวางอยู่ตรงนั้นและมีรูปเด็กผู้ชาย ฉันไม่ชอบเวลาที่ถูกลูกเกลียด ฉันแค่หวังให้ลูกเข้าใจว่าที่ทำไปทุกอย่างก็เพราะรัก…ลูกยังเป็นเด็กตัวน้อยๆ ของเราเสมอ”

สำหรับประเด็นการรุกล้ำความเป็นส่วนตัวของเคธี โดยที่แอลลิสันอาศัยสิทธิ์ของการเป็นผู้ให้กำเนิดและเช็คโทรศัพท์มือถือของลูกนั้น ผมรู้สึก ‘รับไม่ได้’ เพราะแม้เคธีจะเป็นเพียงเด็กอายุ 14 ปีที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ แต่แม่ก็ไม่ควรอ้างสิทธิ์ความเป็นแม่ที่รักลูกมากกว่าใครในการละเมิดเสรีภาพขั้นพื้นฐานของลูก

อย่างไรก็ตาม หากแม่อยากเช็คมือถือจริงๆ ก็ควรขออนุญาตจากลูกก่อน อย่างในกรณีนี้ สมมติว่าแอลลิสันเปลี่ยนพฤติกรรมมาเป็นการขอลูกเช็คโทรศัพท์มือถือ ซึ่งถ้าเคธีไม่ให้ ผมมองว่าแอลลิสันเองก็มีสิทธิ์โดยชอบธรรมที่จะไม่อนุญาตให้เคธีไปเทศกาลดนตรีเช่นกัน

ส่วนประเด็นสุดท้ายอย่างเรื่องการมองลูกเป็นเด็กตัวน้อยเสมอ ผมเชื่อว่าแม่ๆ หลายคนก็คงคิดไม่ต่างกับแอลลิสัน ซึ่งในตอนท้ายเรื่องเธอก็ได้เข้าไปปรับความเข้าใจกับเคธีว่ามักยากแค่ไหนสำหรับแม่คนหนึ่งที่จะปล่อยให้ลูกโตขึ้นและต้องยอมรับว่าวันหนึ่งลูกจะมีชีวิตของตัวเอง ขณะเดียวกันเคธีก็ได้เรียนรู้ว่าแท้จริงแล้ว เธอไม่ได้รำคาญแม่ หากแต่ต้องการพื้นที่ส่วนตัวในการลองถูกลองผิด โดยมีแม่คอยสนับสนุนเธออยู่ห่างๆ คอยเป็น ‘ฟูกนุ่มๆ’ ในวันที่เธอล้ม

เดิม Yes Day เป็นหนังสือชื่อดังของ Amy Krouse ในปี 2009 ที่ขายดิบขายดีจนติด New York Times Bestseller ด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับครอบครัวที่อบอุ่นน่าสนใจทำให้ Netflix Original ตัดสินใจนำหนังสือเรื่องดังกล่าวมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ชื่อเดียวกันในปี 2021 โดยได้ดาราแม่เหล็กชื่อดังอย่าง ‘เจนนิเฟอร์ การ์เนอร์’ มารับบทเป็นแอลลิสัน…มนุษย์แม่ที่ไม่อยากให้ลูกเติบโตเป็นผู้ใหญ่

Tags:

ครอบครัวความเข้าใจลูกYes Dayมนุษย์แม่การสร้างความเข้าใจภาพยนตร์ความสัมพันธ์

Author:

illustrator

อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

เจ้าของเพจ The Last Bogie ผู้ตัดสินใจขึ้นรถไฟขบวนสุดท้าย โดยมีปลายทางอยู่ที่สถานี 'ยูโทเปีย'

Illustrator:

illustrator

ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

Related Posts

  • Movie
    ชีวิตในมุมอับของคำว่า ‘ครอบครัว’: แฟลตเกิร์ล ชั้นห่างระหว่างเรา

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Movie
    Ghostlight: การสูญเสียจะตามหลอกหลอนจนกว่าจะถึงเวลาเผชิญหน้ากับมัน

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Playground
    หลานม่า: ในความทรงจำแสนดี คือวิถีที่ลูกหลานอาจต้องทน

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Movie
    Love, Simon: หากแม้คนทั้งโลกจะใจร้าย ขอแค่พ่อแม่รักและเข้าใจก็พอ

    เรื่อง อัฒภาค ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Movie
    Billy Elliot: ความฝันนอกกรอบ และความรักของพ่อผู้ยอมหักหลังตัวเองเพื่อลูกชาย

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 6. คุณค่าของปฏิสัมพันธ์
Transformative learning
10 January 2023

เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 6. คุณค่าของปฏิสัมพันธ์

เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ ‘เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ’ ตอนที่ ๖. คุณค่าของปฏิสัมพันธ์ โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
  • มีผลงานวิจัยบอกว่าความสัมพันธ์ของครูกับคนในวิชาชีพอื่น รวมทั้งกับคนโดยทั่วไปในชุมชนที่ครูทำงาน มีผลช่วยเพิ่มความเป็นผู้ก่อการด้านวิชาชีพ (professional agency) ของครูอย่างชัดเจน
  • ผู้เขียนหนังสือ Teacher Agency มอง PLC เป็นเครือข่ายทางสังคมของครู และหวังว่า จะเป็นกลไกสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ที่จะทำหน้าที่ระบบนิเวศที่เอื้อต่อการที่ครูจะพัฒนาตนเองเป็นผู้ก่อการ
  • วง PLC มีประโยชน์ต่อครูในด้านช่วยเอื้อให้ครูพัฒนาความมั่นใจในการประกอบวิชาชีพครูยิ่งขึ้น เพิ่มทักษะการสื่อสาร การต่อรอง เปลี่ยนความเชื่อเก่าๆ ที่ล้าสมัยหรือผิดพลาดไปแล้ว เพิ่มทักษะด้านการสานเสวนาเพื่อสร้างสรรค์

บันทึกชุด เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ นี้ ตีความ (ไม่ใช่แปล) จากหนังสือ Teacher Agency : An Ecological Approach (2015) เพื่อหนุนการดำเนินการหลักสูตรฐานสมรรถนะของไทย ให้เป็นหลักสูตรที่มีครูเป็น “ผู้ร่วมสร้าง” (co-creator) โดยขอย้ำว่า ผมเขียนบันทึกชุดนี้แบบตีความสุดๆ ในหลายส่วนได้เสนอมุมมองของตนเองลงไปด้วย ท่านผู้อ่านจึงพึงอ่านอย่างมีวิจารณญาณ อย่าเชื่อโดยง่าย

บันทึกที่ ๖ นี้ ตีความจากบทที่ 4 The Importance of Relationships 

ในบันทึกที่ ๕ ได้กล่าวถึงโครงสร้างเชิงวัฒนธรรมของระบบนิเวศ ที่มีผลต่อความเป็นผู้ก่อการของครู ในบันทึกที่ ๖ นี้จะว่าด้วยโครงสร้างเชิงสังคมหรือเชิงปฏิสัมพันธ์ โดยขอย้ำว่าสองปัจจัยนี้ในทางความเป็นจริงหรือทางปฏิบัติแยกกันไม่ออก คล้ายเส้นด้ายที่ฟั่นเข้าด้วยกันเป็นเกลียวเชือก หรือเกาะเกี่ยวเป็นเนื้อเดียวกัน ที่เรามักพูดกันติดปากว่าปัจจัยด้านสังคมวัฒนธรรม (socio-cultural)  แต่เพื่อความเข้าใจเชิงทฤษฎีทีมวิจัยในโครงการ Teacher Agency and Curriculum Change ได้แยกออกมาพิจารณาทีละด้าน 

มีผลงานวิจัยบอกว่าความสัมพันธ์ของครูกับคนในวิชาชีพอื่น รวมทั้งกับคนโดยทั่วไปในชุมชนที่ครูทำงาน มีผลช่วยเพิ่มความเป็นผู้ก่อการด้านวิชาชีพ (professional agency) ของครูอย่างชัดเจน 

อีกผลงานวิจัยบอกว่าสมัยที่โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากรัฐน้อยกว่าสมัยนี้มาก แต่โรงเรียนได้รับแรงบีบคั้นให้ต้องมีผลงานมากและดีกว่าเดิม วัฒนธรรมความร่วมมือช่วยให้โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากสังคม ทั้งด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ และการสนับสนุนทรัพยากร  ทำให้ผมหวนระลึกถึงเรื่องคล้ายกันในวงการศึกษาไทยในปัจจุบัน ที่มีการรวมตัวกันสู้วิกฤติโควิด เพื่อให้นักเรียนได้มีการเรียนรู้ที่ดีใกล้เคียงกับยามสถานการณ์ปกติ ที่เล่าในเวทีเสวนา ที่จัดโดยคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วม ในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ใช้ชื่อเวทีว่า ล็อกดาวน์ ไม่ล็อกการเรียนรู้ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ เสนอโดยโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา และโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งชมรายการยาวเกือบสามชั่วโมงครึ่งได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=6WGfSaVXOGQ  

มีผู้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างเชิงสังคมมากมาย ผู้เขียนหนังสือชอบข้อเสนอว่า โครงสร้างเชิงสังคมประกอบด้วย (๑) ส่วนต่างๆ ประกอบเข้าด้วยกัน (๒) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ เหล่านั้น และ (๓) องค์รวมที่ผุดบังเกิด (emerge) ขึ้น และ (๔) คุณสมบัติที่ผุดบังเกิดขึ้นขององค์รวมนั้น  มีข้อสังเกตสำคัญ ๓ ประการเกี่ยวกับโครงสร้างเชิงสังคมตามแนวดังกล่าว คือ 

  1. โครงสร้างเชิงสังคมมีคุณสมบัติที่ผุดบังเกิด เช่น เกิดพลังอำนาจ (power) เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ (trust) ขึ้นภายในระบบ และที่บางจุดหรือบางสมาชิกของเครือข่าย ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างสมาชิก และจุดที่อยู่ของสมาชิกมีผลต่อพฤติกรรม ท่าที และเจตคติของสมาชิกผู้นั้น และของระบบในภาพรวม 
  2. โครงสร้างทางสังคมเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง และมีอยู่ก่อนที่สมาชิกคนใดคนหนึ่งเข้าไปเกี่ยวข้อง มีเครือข่ายความสัมพันธ์ (web of relationship) ที่มีท่าที และผลประโยชน์ของเครือข่าย และส่งอิทธิพลต่อพฤติกรรมของสมาชิก หรือกล่าวได้ว่าเป็นบริบทที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคคล 
  3. ความสัมพันธ์ (relationships) เป็นเสมือนตัวกลางให้ปัจจัยด้านวัฒนธรรมเข้าไปแทรกหรือกำซาบอยู่ในระบบสังคม ที่เรียกว่า การแพร่กระจายเชิงวัฒนธรรม (cultural diffusion) ซึ่งส่งผลได้หลายแนว เช่นในโรงเรียน การที่ครูมีความสัมพันธ์กับภายนอก อาจส่งผลให้ครูเกิดความไม่พอใจสภาพที่เป็นอยู่ในโรงเรียน มีการท้าทายวิธีคิดและวิถีปฏิบัติแบบเดิมๆ หรืออาจเกิดสภาพที่การสานเสวนาอย่างจริงจังในโรงเรียน ช่วยให้ครูทำความเข้าใจความหมายของนโยบายเกี่ยวกับหลักูตรใหม่  หรือในทางตรงกันข้าม ความสัมพันธ์แนวดิ่ง และมีลำดับชั้น ในโรงเรียนอาจปิดกั้นการแพร่กระจายของแนวคิดใหม่ๆ 

สภาพความเป็นผู้ก่อการของครู จึงน่าจะไม่ได้ขึ้นกับตัวครูเองเท่านั้น แต่มีอิทธิพลจากปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมวิชาชีพเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และเราจะทำความเข้าใจในบันทึกที่ ๖ นี้  

เครือข่ายวิชาชีพของครู

นี่คือเรื่อง PLC – Professional Learning Community นั่นเอง แต่เขาตีความสู่ความหมายหรือคุณค่าที่ลึกและกว้างขวางกว่าในบ้านเรามาก โดยคุณค่าที่สำคัญที่สุดคือ การขยายขอบฟ้าของการรับรู้ของครู พูดง่ายๆ ว่า ช่วยให้ครูเป็นคนที่กว้างขึ้น ผ่านโอกาสเข้าถึงความรู้จากแหล่งต่างๆ รวมทั้งช่วยสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (trust) ระหว่างกันในโรงเรียน แต่ผู้เขียนหนังสือ Teacher Agency ก็บ่นว่ารายงานการวิจัยเกี่ยวกับเรื่อง PLC ไม่ค่อยมีคนโยงเข้าหาความเป็นผู้ก่อการของครู ที่โยงก็อ้อมๆ ผ่านเป้าหมายเพื่อให้ครูเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผมไม่เคยได้ทราบว่ามีงานวิจัยเชิงลึก จากกิจกรรมนี้ ที่เกิดขึ้นจริงในวงการศึกษาไทยเลย 

เอกสารงานวิจัยเกี่ยวกับกิจกรรม PLC มองตรงกันว่า PLC มีเป้าหมายเพื่อการสร้างคุณค่าร่วม สร้างความรับผิดชอบร่วมกัน การทบทวนสะท้อนคิดตั้งคำถามเชิงวิชาชีพร่วมกัน ความร่วมมือ และการเรียนรู้รายบุคคลและร่วมกันเป็นกลุ่ม จะเห็นว่า เขามองลึกกว่า หรือมองเลยการใช้ PLC เป็นเครื่องมือยกระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน ไปสู่มิติเชิงลึก แต่ผู้เขียนหนังสือ Teacher Agency ก็ยังบ่นว่ายังมองไม่เชื่อมโยงพอ 

ผู้เขียนหนังสือ Teacher Agency มอง PLC เป็นเครือข่ายทางสังคมของครู และหวังว่า จะเป็นกลไกสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ที่จะทำหน้าที่ระบบนิเวศที่เอื้อต่อการที่ครูจะพัฒนาตนเองเป็นผู้ก่อการ 

แต่ก็มีผู้เตือนว่า ต้องอย่าหลงโมเมว่า PLC จะก่อผลไปทางด้านดี (เกิดการพัฒนาโรงเรียน พัฒนานักเรียน พัฒนาครู) เท่านั้น ในบางกรณีอาจเกิดผลในทางตรงกันข้ามก็ได้ รวมทั้งเคยเกิดกรณีตัวอย่างในอังกฤษ ที่มีวง PLC ของครู ทำให้ครูรวมตัวกันหลีกเลี่ยง ต่อต้าน การปฏิบัติตามข้อกำหนดรายละเอียดบางส่วนในหลักสูตรแห่งชาติ เพราะครูเห็นพ้องกันว่า ข้อกำหนดนั้นก่อผลร้ายต่อการเรียนรู้ของนักเรียน เรื่องแบบนี้ในประเทศไทยก็น่าจะมี แต่เข้าใจว่าครูคงจะทำกันอย่างลับๆ ไม่เปิดเผย เข้าลักษณะไม่ปฏิบัติตาม แต่ไม่โต้แย้ง ตามวัฒนธรรมไทย  

นอกจากนั้น PLC ยังอาจนำไปสู่ความขัดแย้ง ความไม่เห็นพ้อง ในกลุ่มสมาชิก รวมทั้งอาจก่อผลร้ายในลักษณะที่เกิดอาการว่าตามๆ กันหมด เออออตามกันหมด ความเห็นของคนส่วนน้อยไม่ได้รับการรับฟัง ที่เรียกว่า group think ไม่เป็นเครื่องมือให้เกิดปัญญาอย่างแท้จริง 

อีกอันตรายหนึ่งของ PLC คือ นำไปสู่ปรากฏการณ์ “วิชาชีพนิยม” หรือ “พวกพ้องนิยม” (occupational ethnocentrism) คือนำไปสู่การคิดเหมือนๆ กันหมด และมุ่งผลประโยชน์ของกลุ่มตนเท่านั้น ซึ่งจะส่งผลต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ผลด้านลบเหล่านี้เป็นข้อเตือนใจให้ระมัดระวัง ว่าการรวมตัวกันทางสังคมนั้น มีได้ทั้งผลดีและผลร้าย สภาพดังกล่าวเกิดขึ้นในวงการศึกษาไทยในแง่มุมใดบ้าง ท่านผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณเอาเอง  

เขาบอกว่า PLC จะก่อคุณค่าแค่ไหน ขึ้นกับคุณภาพของปฏิสัมพันธ์ภายในเครือข่าย และผมขอเพิ่มว่า ขึ้นกับคุณภาพของคำถาม และข้อมูลจากการปฏิบัติจริง ที่เอามาตีความและใคร่ครวญร่วมกันอย่างประณีตละเอียดลออ โดยมีข้อมูลเชิงทฤษฎีเข้ามาช่วยการใคร่ครวญสะท้อนคิด 

ประเด็นสำคัญยิ่งที่เอ่ยไว้ในหนังสือ Teacher Agency คือ วง PLC ที่มีความไม่เป็นทางการสูง จะประสบความสำเร็จมากกว่าวงที่มีความเป็นทางการสูง  ประเด็นนี้ในประเทศไทยเห็นได้ชัดเจน ว่าวง PLC ที่มุ่งทำตามคำสั่งของหน่วยเหนือจะเป็น PLC แห้งๆ ไร้วิญญาณ ไร้ปัญญา ไร้ผล และไม่ต่อเนื่อง เขาบอกว่า โรงเรียนที่มีบรรยากาศไม่เป็นทางการ หรือความสัมพันธ์แนวราบสูง จะมีโอกาสเกิดเครือข่าย PLC ที่มีคุณภาพสูงกว่า หนังสือ Teacher Agency ไปไกลถึงขนาดสรุปว่า การสื่อสารแบบสั่งการจากเบื้องบน และมีขั้นตอนการบังคับบัญชาสูง เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปเชิงนโยบาย   

โดยสรุป วง PLC มีประโยชน์ต่อครูในด้านช่วยเอื้อให้ครูพัฒนาความมั่นใจในการประกอบวิชาชีพครูยิ่งขึ้น เพิ่มทักษะการสื่อสาร การต่อรอง การบรรลุข้อตกลง ช่วยให้ครูได้เปลี่ยนความเชื่อเก่าๆ ที่ล้าสมัยหรือผิดพลาดไปแล้ว เพิ่มทักษะด้านการสานเสวนาเพื่อสร้างสรรค์ (generative dialogue) ฝึกการตีความหาความหมายหรือคุณค่า และฝึกพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างซับซ้อนเกี่ยวกับงานของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องเผชิญสิ่งที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน 

สำหรับประเทศไทย เรายังต้องการข้อมูลหลักฐาน ว่า PLC ก่อคุณค่าข้างต้นแค่ไหน อย่างไร รวมทั้งคำถามว่าการมี PLC มีผลต่อความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันของครู การทำงานเป็นทีมของครู ความตั้งใจหรือทุ่มเททำงานของครู หรือไม่ แค่ไหน อย่างไร นี่คือโจทย์วิจัยที่สำคัญยิ่งต่อวงการศึกษาไทย  

ความสัมพันธ์กับความเป็นผู้ก่อการของครู

เป็นที่รู้กันว่า ความสัมพันธ์มีส่วนสร้างหรือยับยั้งความเป็นผู้ก่อการของบุคคล ในที่นี้เขาศึกษาครูจาก ๒ โรงเรียนมัธยมในเขตพื้นที่การศึกษาเดียวกันของสก็อตแลนด์ เพื่อได้เห็นจากเรื่องจริง โดยที่ครูในสองโรงเรียนนี้ไม่แตกต่างกันในมิติด้านอดีตหรือประสบการณ์ชีวิต แต่พฤติกรรมด้านความเป็นผู้ก่อการแตกต่างกันมาก ซึ่งหมายถึงพฤติกรรมการตอบสนองต่อสถานการณ์ใหม่ที่ท้าทาย คือการประกาศใช้หลักสูตรใหม่ (Curriculum for Excellence) แตกต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัด โดยที่สภาพทางกายภาพของโรงเรียนคืออาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงานของโรงเรียนทั้งสอง เท่าเทียมกัน แต่ที่แตกต่างกันคือความสัมพันธ์ ทั้งภายในโรงเรียนและความสัมพันธ์กับภายนอกโรงเรียน 

ครูในทั้งสองโรงเรียนได้รับการร้องขอให้ทำแผนที่ความสัมพันธ์ของตนอย่างละเอียด ทั้งด้านทิศทาง (ทางเดียว หรือสองทาง กลับไปกลับมา) ความถี่ และความแนบแน่น หลังจากเอาแผนที่ความสัมพันธ์มาวิเคราะห์ ทีมวิจัยจะตามไปสัมภาษณ์ครูแต่ละคนเพื่อตรวจสอบข้อค้นพบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อตรวจสอบว่ามีผลต่อการแสดงบทผู้ก่อการอย่างไร เช่นช่วยให้เข้าถึงทรัพยากรด้านสังคม และด้านวัฒนธรรม 

  • ความเหมือน (ของครู) 

ครูสามในสี่คน เคยทำงานอื่นก่อนมาเป็นครู ซึ่งช่วยให้สามารถดึงประสบการณ์อื่นมาใช้ในการทำหน้าที่ครู  ครูทุกคนตั้งใจทำหน้าที่ครูสูงมาก ใช้เวลาช่วงเย็น และบางกรณีช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์เตรียมงานและตรวจการบ้านนักเรียน ทุกคนร่วมกิจกรรมอาสาสมัคร ของโรงเรียนอย่างจริงจัง และในหลากหลายบทบาท ทุกคนเคยทำหน้าที่ผู้นำริเริ่มพัฒนาวิธีจัดการเรียนการสอนแนวใหม่ ทุกคนเคยร่วมกิจกรรมการพัฒนาทั้งโรงเรียน เช่นบ้างด้านของหลักสูตร รวมทั้งเคยเข้าร่วมคณะทำงานระดับชาติเพื่อพัฒนาระบบประเมิน และพัฒนาหลักสูตร 

ทุกคนมุ่งมั่นทำหน้าที่เป็นครูสอนในชั้นเรียน ไม่สนใจการเลื่อนไปทำหน้าที่บริหาร ครูคนหนึ่งเคยทำหน้าที่ผู้นำสายวิชาชั่วคราวและพบว่าไม่ชอบ อีกคนหนึ่งอยู่ระหว่างหลีกเลี่ยงการชักชวนให้ไปทำหน้าที่บริหาร ชัดเจนว่าครูทั้งสี่ท่านนี้ชอบปฏิสัมพันธ์กับศิษย์ในชั้นเรียน และสื่อว่าตนชอบทำหน้าที่พัฒนาเด็กอย่างบูรณาการ (whole child) ไม่ใช่แค่ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ 

ครูทุกคนจัดการเรียนการสอนอย่างผสมผสาน นักเรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นการเสวนา และเน้นการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) ใจของครูทุกคนจดจ่อที่ผลการเรียนของศิษย์ โดยที่ไม่ได้เน้นเฉพาะผลสอบ แต่เน้นการพัฒนาคนทั้งคน หรือทุกด้าน โดยเน้นพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน  

ที่จริงยังมีเรื่องราวด้านดีหรือด้านบวกของครูทั้งสี่อีกมาก ที่อ่านแล้วน้ำตาคลอ แต่เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ

ด้านลบที่ครูทั้งสี่มีเหมือนๆ กันคุ้ยยากหน่อย แต่ทีมวิจัยผู้เขียนหนังสือ Teacher Agency ที่นำโดยศาสตราจารย์ Mark Priestley ก็บอกว่าครูทั้งสี่ต่างก็ถูกวัฒนธรรมการศึกษาหล่อหลอมในด้านปณิธานและเป้าหมาย เช่น แม้ว่าครูทั้งสี่จะแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับความรับผิดรับชอบ (accountability) ผ่านผลสอบ แต่วาทกรรมของครูก็ตกอยู่ในวัฒนธรรมนั้น เช่นมีการให้ความเห็นตรงกันในทั้งสองโรงเรียน ว่าไม่ถูกต้องหากให้นักเรียนเข้าสอบโดยไม่มั่นใจว่าเด็กจะสอบผ่าน เป็นวาทกรรมที่สะท้อนว่าการศึกษาได้เปลี่ยนจากเอาใจใส่ความต้องการ (needs) ของนักเรียน หันไปเอาใจใส่ผลการสอบ (performance) ของนักเรียน และเปลี่ยนจากเน้นให้โรงเรียนทำเพื่อนักเรียน เปลี่ยนเป็นเน้นให้นักเรียนทำเพื่อโรงเรียน ฟังให้ดีๆ จะรู้สึกว่าคุ้นๆ 

ผู้เขียนหนังสือ Teacher Agency สรุปว่าการตัดสินใจของครูในสองโรงเรียนนี้มีลักษณะเน้นเพื่อความอยู่รอด มากกว่าเน้นปณิธานความมุ่งมั่นระยะยาว โดยที่คำนี้มาจากคำพูดของตัวครูเอง 

ความเป็นผู้ก่อการของครูมีพลังมาจาก ๓ มิติ ดังระบุไว้ในบันทึกที่ ๑ คือ (๑) การสั่งสมประสบการณ์และการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานที่ผ่านมาของครู (iterational dimension) (๒) การตัดสินใจลงมือปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติของครู ณ จุดของการดำเนินการ (practical – evaluative dimension) และ (๓) การมองหรือคาดการณ์ไปในอนาคตของครู (projective dimension) เห็นได้ชัดเจนว่า ครูทั้งสี่ท่านในสองโรงเรียนนี้ได้รับผลกระทบจากวัฒนธรรมความรับผิดรับชอบ (accountability) และการเน้นผลงาน (performativity) ทำให้มิติด้านการคาดการณ์อนาคตลดทอนความเป็นผู้ก่อการของครู  

ข้อค้นพบของทีมวิจัยคือ ระดับความเป็นผู้ก่อการของครูในสองโรงเรียนนี้แตกต่างกันมาก เราจะได้เรียนรู้สาเหตุจากตอนต่อไปของบันทึกนี้     

  • โรงเรียนมัธยมเชิงเขา

ในตอนที่แล้วได้เสนอว่าครูในสองโรงเรียนนี้มีปณิธานความมุ่งมั่นทั่วไป (general aspiration) ทั้งด้านบวกและด้านลบเหมือนๆ กัน แต่ผลการวิจัยพบว่ามิติด้านการมองหรือคาดการณ์ไปในอนาคตของครู (projective dimension) ซึ่งเป็น ๑ ใน ๓ มิติของความเป็นผู้ก่อการ ทำงานต่างกันในครูของสองโรงเรียนนี้ โดยมีข้อจำกัดในครูของโรงเรียนมัธยมชายเขา เมื่อตีความจากวาทกรรมของครูทั้งสอง 

ข้อมูลจากงานวิจัยบอกว่า ผู้บริหารระดับสูงของทั้งสองโรงเรียนเข้าถึงง่าย และให้การสนับสนุนแก่ครูเป็นอย่างดี และครูทั้งสองก็เป็นคนสู้ความเสี่ยงพอๆ กันกับครูในโรงเรียนมัธยมริมทะเลสาบ และบรรยากาศการทำงานในเรื่องการมีความเสี่ยงก็พอๆ กัน แต่สิ่งที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดคือ ระบบความสัมพันธ์ 

ที่โรงเรียนมัธยมเชิงเขา ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ มีลักษณะเป็นแนวดิ่ง ทั้งโดยผู้บริหารและในสาขาวิชา โครงสร้างที่เป็นทางการจัดสะท้อนอยู่ในการประชุมครู และการประชุมหัวหน้าสาขาวิชาทุกสัปดาห์กับฝ่ายบริหาร การประชุมครูทั้งหมดมีลักษณะเป็นการให้ข้อมูลข่าวสารแบบสื่อสารทางเดียว มีโอกาสเสวนากันน้อยมาก การสื่อสารแนวราบระหว่างสาขาวิชามีน้อยมาก และหัวหน้าสาขาวิชามีการประชุมกับฝ่ายบริหารทุกสัปดาห์ในลักษณะรับข้อมูลข่าวสารมาบอกครูอีกต่อหนึ่ง และมักพูดกันเรื่องปัญหาประจำวัน เช่นเรื่องปัญหาความประพฤติของนักเรียน 

ที่ชัดเจนอีกอย่างหนึ่งคือ กิจกรรมเชิงพัฒนาที่เคยมีในอดีต เช่นการทบทวนงานประจำปี เพื่อหาประเด็นที่ต้องพัฒนา ได้หายไป เพราะไม่มีเวลา โดนงานที่เป็นปัญหาเร่งด่วนเอาเวลาไปหมด ครูทั้งสองคนอึดอัดใจที่ไม่มีโอกาสได้ทำตามปณิธานความมุ่งมั่นส่วนตัวของตน 

เมื่อหลักสูตรใหม่ Curriculum for Excellence เข้ามา ไม่มีการจัดประชุมเสวนาหาคุณค่าของหลักสูตรใหม่นี้ โดยที่ครูบอกว่าหากครูมีแนวคิดใหม่ๆ ก็ต้องเสนอขึ้นไปตามลำดับขั้น มุมมองของครูเรื่องปฏิสัมพันธ์ภายในโรงเรียนนี้ สนับสนุนโดยวาทกรรมของผู้บริหารที่ได้จากการสัมภาษณ์และตีความลึกๆ 

ทีมวิจัยสรุปว่า ครูทั้งสองของโรงเรียนมัธยามเชิงเขามีมิติด้านการสั่งสมประสบการณ์ และด้านการมองหรือคาดการณ์ไปในอนาคต ของความเป็นผู้ก่อการ แต่ไม่สามารถแสดงความเป็นผู้ก่อการได้ เพราะมิติด้านการตัดสินใจลงมือปฏิบัติ ถูกปิดกั้นโดยปฏิสัมพันธ์ที่ไม่เอื้อ 

  • โรงเรียนมัธยมริมทะเลสาบ

บรรยากาศการตอบสนองของครูและผู้บริหารของโรงเรียนมัธยมริมทะเลสาบ แตกต่างจากที่โรงเรียนมัธยมเชิงเขาอย่างสิ้นเชิง ที่นี่ทั้งครูและผู้บริหารมีความกระตือรือร้น และความมั่นใจที่จะนำหลักสูตรใหม่ Curriculum for Excellence มาใช้ประโยชน์  

ที่มาของความเป็นครูผู้ก่อการของครูในโรงเรียนนี้ ตีความได้จากคำบอกเล่าของครูที่สะท้อนวัฒนธรรมส่งเสริมนวัตกรรม และการกล้าเสี่ยงกล้าลอง รวมทั้งวัฒนธรรมของการแลกเปลี่ยน โดยคำบอกเล่าของผู้บริหารก็ช่วยยืนยันว่าเมื่อมีการลองริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ๆ แต่ล้มเหลว ครูไม่ถูกตำหนิหรือลงโทษ แต่ได้รับการสนับสนุนให้ลองใหม่ 

ครูเล่าว่า ผู้บริหารไม่ทำตัวเป็นผู้บังคับบัญชา แต่ทำตัวเป็นเพื่อนร่วมงาน และเป็นครูคนหนึ่ง สะท้อน “วัฒนธรรมเพื่อนร่วมงาน” (collegial culture) ในโรงเรียนนี้ ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจให้ดี เพราะจริงๆ แล้วผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมเชิงเขาก็เป็นคนที่เข้าถึงง่าย และให้การสนับสนุนในฐานะเพื่อนร่วมงาน และมีจิตวิญญาณเห็นแก่นักเรียน  ความแตกต่างอยู่ที่โครงสร้างทางสังคมของโรงเรียน โดยที่จุดเด่นของโรงเรียนมัธยมริมทะเลสาบคือ (๑) ความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการในสาขาวิชา และระหว่างสาขาวิชา ก่อให้เกิดความไว้วางใจต่อกันในระดับสูงมาก (๒) ฝ่ายบริหารจงใจสร้างความสัมพันธ์แบบเอื้อเฟื้อต่อกันระหว่างผู้บริหารกับครู ระหว่างครูกับครู ระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนด้วยกัน  

จุดแข็งอีกอย่างหนึ่งคือระบบเข้าสังเกตชั้นเรียนซึ่งกันและกัน (peer observation) เพื่อช่วยให้ข้อสังเกตป้อนกลับ ให้เพื่อนครูพัฒนาการสอนขึ้นไปเรื่อยๆ ที่มีการริเริ่มกันขึ้นเองในหมู่ครู เมื่อประมาณ ๕ ปีมาแล้ว มีความเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ และผู้บริหารก็เข้าร่วมด้วย ในขณะที่ระบบนี้อ่อนแอลงในโรงเรียนมัธยมเชิงเขา จนแทบไม่มีเลยในช่วงของการวิจัย  

อีกจุดแข็งหนึ่งคือความสัมพันธ์กับภายนอกโรงเรียน การที่มีครูออกไปทำงานเชิงพัฒนาบางเรื่องของการศึกษาร่วมกับองค์กรภายนอก ทำให้ครูเหล่านั้นนำเอาความรู้ความเข้าใจใหม่ๆ กลับมาแลกเปลี่ยนแก่เพื่อนครูในโรงเรียน ผมตีความว่า เป็นการช่วยส่งเสริม growth mindset ภายในโรงเรียนด้วย  

สรุป

สาระในตอนนี้ ชี้ให้เห็นอิทธิพลของความสัมพันธ์กับภาคส่วนต่างๆ ที่มีต่อความเป็นผู้ก่อการของครู โดยที่มิติของความสัมพันธ์ทั้งด้านคุณภาพและความกว้างขวางของความสัมพันธ์มีความสำคัญ เป็นมิติเชิงโครงสร้างของระบบนิเวศ ที่ส่งผลต่อความเป็นผู้ก่อการของครู โดยลักษณะของความสัมพันธ์ที่เอื้อคือความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการ และเป็นแนวราบ ที่ช่วยสร้างความไว้วางใจกัน มีความสัมพันธ์แบบเผื่อแผ่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีการสร้างวงเสวนาเพื่อเปิดช่องให้สมาชิกได้ มีโอกาสฝึกและลองความสร้างสรรค์ของตน สู่ความสร้างสรรค์รวมหมู่ 

สามารถอ่านบทความ เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ ตอนที่ 1 – 5 ได้ที่นี่ 

เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 1.ปณิธานสู่ระบบการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 ของไทย – The Potential

เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 2. ครูผู้ก่อการคือใคร เกิดขึ้นได้อย่างไร – The Potential

เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 3. ความเป็นครูผู้ก่อการ กับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร – The Potential

เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 4. ความเชื่อและปณิธานความมุ่งมั่นของครู – The Potential

เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 5. คลังคำและวาทกรรมของครู – The Potential

Tags:

ครูผู้ก่อการครูผู้กระทำการPriestleyครูหนังสือ-วิจารณ์โจทย์วิจัยหนังสือปฏิสัมพันธ์Professional Learning Community : PLCเอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการTeacher AgencyTeacher Agency : An Ecological ApproachAgentic Teacher

Author:

illustrator

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

รองประธานกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล ผู้อำนวยการคนแรกของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) และได้ดำรงตำแหน่ง 2 สมัย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส.) ดำรงตำแหน่งกรรมการของหน่วยงานและมูลนิธิหลายแห่ง

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Transformative learning
    เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 9. เกื้อกูลความเป็นผู้ก่อการของครู

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Transformative learning
    เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 7. ลัทธิบูชาผลงาน

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Transformative learningEducation trend
    เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 5. คลังคำและวาทกรรมของครู

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Transformative learningEducation trend
    เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 4. ความเชื่อและปณิธานความมุ่งมั่นของครู

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Transformative learningEducation trend
    เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 3. ความเป็นครูผู้ก่อการ กับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

Posts navigation

Older posts

Recent Posts

  • ‘นิทานปากเปล่า’ เล่าความรักให้ลูกฟัง สร้างจินตนาการ สานสัมพันธ์ในครอบครัว: แม่จาว – วัชราวรรณ เพชรบุล
  • ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP4: การซึมซับและปรับตัว 
  • เปลี่ยนระบบนิเวศโรงเรียนเป็นสนามพลังบวก ยกระดับเด็กด้อยโอกาสสู่เด็กได้โอกาส: ผอ.วรรณรักษ์ หงษ์ทอง
  • F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง
  • Myth Universe : จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์สู่ Edutainment ความรู้นอกห้องเรียนที่เริ่มต้นจากคำถามและการเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง

Recent Comments

  • Existential crisis: วิกฤตชีวิตที่มาพร้อมกับคำถาม “แล้วฉันอยู่เพื่ออะไร” – EducationNet on Midlife Crisis: เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ทำไมใจถึงวิกฤต
  • The Psychological Wounds of Winnie the Pooh and His Friends: Exploring Characters from a Classic Literary Work - World Today News on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • Exploring the Psychological Wounds of Winnie the Pooh and Friends: A Fascinating Analysis - Archyde on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • 6 วิธีฝึกสอนให้ลูกเป็นเด็กมี Critical Thinking ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต – โรงเรียนมารีวิทยา ป on CRITICAL THINKING: สอนเด็กให้รู้คิด ผิดหรือถูกก็ใช้วิจารณญาณเป็น
  • Best รูป พลเมือง ดี Update New – Haiduongcompany.com on สอนและสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เรื่องไม่ง่ายที่ครูทำได้

Archives

  • July 2025
  • June 2025
  • May 2025
  • April 2025
  • March 2025
  • February 2025
  • January 2025
  • December 2024
  • November 2024
  • October 2024
  • September 2024
  • August 2024
  • July 2024
  • June 2024
  • May 2024
  • April 2024
  • March 2024
  • February 2024
  • January 2024
  • December 2023
  • November 2023
  • October 2023
  • September 2023
  • August 2023
  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • October 2021
  • September 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • April 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • November 2019
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017

Categories

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Uncategorized
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel