Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long Learning
  • Family
    Dear ParentsEarly childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily Psychology
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
Character building
26 January 2023

โลกโกลาหล (BANI World) Ep3 Nonlinear: ยิ่งพลิกแพลงได้ ยิ่งมั่นคง ในโลกที่ไร้เหตุผลและคาดเดาได้ยาก

เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • ในบรรดากรอบคิดหรือชุดคำศัพท์ที่ใช้อธิบายปรากฎการณ์ทางสังคม เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น BANI World เป็นคำที่กำลังได้รับความสนใจในวงวิชาการ
  • BANI เป็นผลงานของนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน Jamais Cascio เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของตัวอักษรหน้าคำศัพท์ 4 คำ ได้แก่ Brittle ความเปราะบาง, Anxious ความกังวล, Nonlinear การคาดเดายาก,  Incomprehensible ความเข้าใจได้ยาก
  • ‘Nonlinear’ แปลว่า ‘ไม่เป็นเส้นตรง’ ซึ่งหากขยายภาพให้ชัดขึ้น Nonlinear เป็นนิยามของ ‘โลกที่คาดเดาได้ยาก’ และ ‘ไม่มีความแน่นอน’ แต่สิ่งที่จะช่วยรับมือได้คือ ความสามารถในการพลิกแพลงและความสามารถในการปรับตัว

เปราะบาง (Brittle) เต็มไปด้วยความกังวล (Anxious) คาดเดายาก (Nonlinear) และเข้าใจได้ยาก (Incomprehensible) เป็นนิยามสั้นๆ ของโลกโกลาหลที่ จาไมส์ คาสซิโอ (Jamais Cascio) นักมานุษยวิทยาและนักเขียนด้านอนาคต พยายามอธิบายให้เห็นถึงโลกในยุคปัจจุบัน หรือที่เรียกสั้นๆ ตามตัวอักษรขึ้นต้นเมื่อนำมารวมกันว่า ‘BANI World’

หากแปลตรงตัว ‘Nonlinear’ แปลว่า ‘ไม่เป็นเส้นตรง’ ซึ่งหากขยายภาพให้ชัดขึ้น Nonlinear เป็นนิยามของ ‘โลกที่คาดเดาได้ยาก’ ‘ไม่คงเส้นคงวา’ และ ‘ไม่มีความแน่นอน’ 

ความไม่แน่นอนและคาดเดาได้ยากอันที่จริงเป็นเรื่องธรรมดาตามธรรมชาติ เพียงแต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน ความไม่แน่นอนและคาดเดาได้ยากนั้นไม่ได้เป็นแค่เรื่องส่วนตัวที่ส่งผลกระทบเฉพาะบุคคล แต่ขยายวงกว้างไปยังครอบครัวและสังคม หรือบางเหตุการณ์สะเทือนไปทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลก 

กลับตาลปัตร ขาดการเชื่อมโยงและไม่สมเหตุสมผล

ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นใน BANI World หลายๆ เหตุการณ์ขาดการเชื่อมโยงกันและดูไม่สมเหตุสมผลจนจับต้นชนปลายไม่ถูก คาสซิโอ อธิบายความคาดเดาได้ยากนี้ว่า หลายครั้งเกิดจากการเข้ามาแทรกแซงหรือรบกวนจากระบบอื่นๆ หรืออาจมีเหตุการณ์ซึ่งเป็นสาเหตุที่แท้จริงอยู่เบื้องหลัง ทำให้ไม่สามารถหาเหตุและผลได้อย่างชัดเจนจากเหตุการณ์ที่ปรากฎตรงหน้าได้ ในโลกแบบ Nonlinear เหตุและผลที่แท้จริงมักปรากฏหรือคลี่คลายช้ากว่าที่ควรจะเป็น 

ยิ่งกว่านั้น อีกหนึ่งตัวอย่างที่มักพบได้อยู่บ่อยครั้งในโลกแห่งความไม่เป็นเหตุเป็นผลนี้คือ การตัดสินใจที่เราอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ กลับส่งผลกระทบที่ลงเอยด้วยผลลัพธ์ที่ไม่น้อย ทั้งในแง่ดีและแง่ร้าย หรือขณะที่บางอย่างที่เราทุ่มเทแรงกายแรงใจอย่างมหาศาล ทั้งผลักทั้งดันกลับแทบมองไม่เห็นผลลัพธ์และไม่ได้ผลตอบแทนอะไรกลับมาอย่างที่ควรจะเป็น

การแพร่ระบาดและการกลายพันธุ์ของโคโรนาไวรัสเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงโลกที่คาดเดาได้ยากนี้ได้เป็นอย่างดี หรืออิทธิพลของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทำให้การวางแผนงานและกลยุทธ์ต่างๆ ในแวดวงธุรกิจที่ตายตัว จะไม่สามารถพาองค์กรไปสู่เป้าหมายได้อีกแล้ว หรือแม้แต่วัฒธรรมองค์กรแบบเก่าที่อาศัยการสั่งงานจากผู้บังคับบัญชา จะกลายเป็นภาระที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถคิดพลิกแพลงได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงรอบตัวที่เกิดขึ้นรอบตัว

ยิ่งยืดหยุ่น ยิ่งมั่นคง

“ท้ายที่สุดแล้ว คงไม่ใช่สายพันธุ์ที่แข็งแกร่งหรือฉลาดที่สุดที่จะอยู่รอด แต่เป็นสายพันธุ์ที่ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด” คำกล่าวของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษยังคงใช้ได้กับ BANI World

ในเมื่อการเผชิญหน้ากับความคาดเดาได้ยากเป็นเรื่องปกติของโลก สิ่งที่จะช่วยรับมือและต่อกรกับความไม่มั่นคงและไม่แน่นอนนี้ คือ ความสามารถในการพลิกแพลง (Flexibility) ในที่นี้รวมถึง ความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการตอบสนองต่อแนวโน้มความเปลี่ยนแปลง นวัตกรรม วิทยาการและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์เฉพาะหน้า รวมทั้งการมองภาพรวมได้ระยะยาว ยกตัวอย่างเช่น องค์กร/ สถาบันต่างๆ ไม่สามารถดำเนินงานหรือมีแบบแผนการทำงานที่เข้มงวดมากเกินไป แต่ควรปรับโครงสร้างให้มีความสามารถในการพลิกแพลงและคล่องตัวขึ้น เช่น การทำงานจากที่บ้านควบคู่ไปกับการเข้าทำงานในออฟฟิศ 

พนักงานก็จำเป็นต้องพัฒนาตัวเองให้ก้าวไปพร้อมหรือล้ำหน้าความเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม ขณะที่ AI หรือหุ่นยนต์และระบบทำงานอัตโนมัติได้เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรม กิจการและธุรกิจต่างๆ มากขึ้น ซึ่งช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการในระยะยาวโดยไม่จำเป็นต้องจ้างคนทำงานอีกต่อไป  เป็นต้น

ในแง่มุมด้านการศึกษา การเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เด็กและเยาวชนมีความสามารถในการพลิกแพลงและมีความสามารถในการปรับตัวจึงเป็นเรื่องจำเป็น 

เพราะเป็นคุณสมบัตินี้นอกจากจะเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการมองหา และสำคัญต่อการทำงานในอนาคต ยังช่วยให้เด็กใช้ชีวิตในโลกที่ผันผวนได้มั่นคงมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ปกครองและโรงเรียนสามารถเข้ามามีส่วนช่วยสร้างความมั่นคงทางกายและใจในโลกที่ไม่แน่นอนนี้ให้กับเด็กและเยาวชนได้ 

บทความเรื่อง ‘4 วิธีการพัฒนาความสามารถในการพลิกแพลงและความสามารถในการปรับตัว’ นำเสนอโดยมหาวิทยาลัยดรีเซล (Drexel University) มหาวิทยาลัยเอกชน รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา กล่าวถึงการพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในการพลิกแพลงไว้ ดังนี้

1. เปลี่ยนวิธี/ กระบวนการคิด

2. ผลักดันตัวเองให้ทำเรื่องที่ท้าทาย/ มีความเสี่ยง

3. สนับสนุนหรือเปิดพื้นที่ให้ผู้อื่นเปิดใจ

4. เปิดรับการเรียนรู้

4 วิธีการที่ดูเหมือนไม่มีอะไรมากมาย แต่จำเป็นต้องอาศัยเวลาและการฝึกฝนจากการลงมือทำ

1. เปลี่ยนวิธี/ กระบวนการคิด

ปล่อยวางความคิดที่ว่า “นี่เป็นวิธีการที่ฉันทำมาตลอด!” แล้วไม่ยอมปรับเปลี่ยน

แม้ความเปลี่ยนแปลงจะเป็นเรื่องน่ากลัวและน่าวิตก จงยอมรับและมองความเปลี่ยนแปลงนี้เป็นโอกาสในการพัฒนาตัวเอง เรียนรู้ ปรับปรุงและเติบโต 

แน่นอนว่าการเอาชนะความกลัวและความกังวลไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปไม่ได้ ผู้ปกครองและโรงเรียนสามารถช่วยส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนคลายความกลัวและความกังวลได้ ด้วยการสนับสนุนการลงมือทำด้วยวิธีการใหม่ๆ โดยไม่โฟกัสไปที่ผลลัพธ์เพียงอย่างเดียว ท้ายที่สุดความสามารถในการพลิกแพลงและการปรับตัวนี้จะเปิดประตูไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งคุณลักษณะที่สำคัญในโลกโกลาหล นอกจากนี้ การเปลี่ยนวิธี/กระบวนการคิด ยังรวมไปถึงการเปิดรับความคิดและความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างรอบด้านด้วย

2. ผลักดันตัวเองให้ทำเรื่องที่ท้าทาย/มีความเสี่ยง

จากวิธีการแรกเชื่อมโยงมาสู่วิธีการที่สอง สำหรับบางคนความเสี่ยงหรือความท้าทายเป็นพื้นที่ต้องห้าม ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่อยากเข้าไปเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติการเปิดรับความเสี่ยงและความท้าทายเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับตัว ซึ่งสามารถเริ่มต้นจากเรื่องเล็กๆ ง่ายๆ เช่น ในห้องเรียนการทำขนม ลองเรียนรู้การทำขนม ด้วยการปรับเปลี่ยนสูตรให้ต่างออกไปจากเดิม เป็นต้น

3. สนับสนุนหรือเปิดพื้นที่ให้ผู้อื่นเปิดใจ

เป็นการสร้างบรรยากาศ ‘เปิดกว้าง’ และ ‘ปลอดภัย’ ให้เกิดขึ้นรอบตัว วิธีการนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเปิดใจผู้อื่นเท่านั้น แต่ส่งผลกระทบต่อตัวเองด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อผู้คนรอบตัวอยู่ในสภาวะที่เปิดกว้างเปิดใจ การแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือความคิดเห็นต่างๆ จะดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก และลดความอึดอัดหรือความกังวลลงไปได้

การสร้างบรรยากาศที่เปิดกว้างและเปิดใจในที่บ้านและที่โรงเรียน ทำได้ด้วยการเปิดพื้นที่แสดงความคิดเห็น ทั้งในรูปแบบของการพูดคุยหรือการเขียน โดยปราศจากการประเมินหรือให้คะแนน และไม่มีการเปรียบเทียบว่าความคิดหรือผลงานของใครดีกว่าของใคร

4. โอบกอดการเรียนรู้

คนที่มีความสงสัยใคร่รู้ เช่น ติดตามข่าวสารต่างๆ อย่างรอบด้านอยู่เสมอจะปรับตัวได้ดี นั่นหมายความว่า การเรียนรู้ไม่จำกัดขอบเขต เวลาหรืออายุ ไม่มีคำว่าเป็นไปไม่ได้ในเรื่องที่ยังไม่รู้ กระบวนการเรียนรู้อย่างเปิดกว้างและรอบด้าน จะช่วยเปิดมุมมองความคิด ทำให้ผู้เรียนมองเห็นทางเลือกหรือคำตอบในสิ่งที่กำลังค้นหาว่าไม่ได้มีคำตอบเพียงคำตอบเดียวเสมอไป

ทั้งนี้ เมลิซซา คอรี (Melissa Cory) ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและการศึกษาวิชาชีพ โรงเรียนธุรกิจเมล์นเดอร์ส (Meinders School of Business) มหาวิทยาลัยโอคลาโฮมาซิตี้ (Oklahoma City University) กล่าวว่า “ผู้ที่มีความสามารถในการพลิกแพลงและมีความสามารถในการปรับตัว ทั้งมุมมองความคิดและพฤติกรรมให้เข้ากับสถานการณ์รอบตัวเป็นผู้ที่ครอบครองคุณสมบัติที่สำคัญและจำเป็นสำหรับอนาคต…เพราะพวกเขาจะสามารถปรับช่วงเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงให้เป็นโอกาส การปรับเปลี่ยนนี้ไม่เฉพาะแค่ตัวเองเท่านั้นแต่รวมถึงการสร้างระบบ เครือข่ายหรือเครื่องมือที่จะช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงด้วย” 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ADAPTABILITY: ปรับตัว ยืดหยุ่น ไม่หนีปัญหา ทักษะสำคัญของโลกที่เปลี่ยนทุกวันhttps://thepotential.org/knowledge/adaptability-character-building/

โลกโกลาหล (BANI World) Ep1 Brittle: ในโลกที่เปราะบาง เด็กต้องไม่แตกหักด้วยทักษะความยืดหยุ่น https://thepotential.org/knowledge/bani-world-ep1-brittle/

โลกโกลาหล (BANI World) Ep2 Anxious: ความวิตกกังวลที่หายขาดได้ด้วยความเข้าอกเข้าใจhttps://thepotential.org/knowledge/bani-world-ep2-anxious/

อ้างอิง

https://medium.com/@cascio/facing-the-age-of-chaos-b00687b1f51d

https://drexel.edu/graduatecollege/professional-development/blog/2019/September/4-ways-to-boost-your-adaptability-skills/

https://www.roberthalf.co.nz/career-advice/career-development/adaptability-skills

https://www.betterup.com/blog/how-to-increase-adaptability

Tags:


Author:

illustrator

วิภาวี เธียรลีลา

นักเขียนอิสระที่อยากเข้าใจวิถีชีวิตผู้คน เลยพาตัวเองไปใช้ชีวิตในลอนดอน ปักกิ่ง เซินเจิ้นและอเมริกา กินมังสวิรัติ อินกับโภชนาการ กำลังเรียนเป็นนักปรับพฤติกรรมสุนัขและชอบกินกาแฟใส่ฟองนม

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Character building
    ‘เด็กโกหก’ อาจไม่ได้เลวร้ายเสมอไป เข้าใจธรรมชาติการโกหกจากงานวิจัย

    เรื่อง ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Character building
    โลกโกลาหล (BANI World) Ep4 Incomprehensible: คลายความไม่เข้าใจ ด้วยความโปร่งใสและสัญชาตญาณ

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Transformative learning
    เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 10. โยงสู่บริบทการศึกษาไทย

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Transformative learning
    4 ไอเท็มที่ครูอาจจำเป็นต้องมี ในห้องเรียนพหุวัฒนธรรม

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Transformative learning
    เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 9. เกื้อกูลความเป็นผู้ก่อการของครู

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel