Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย

Month: May 2020

สวนกง…เพราะหาดคือชีวิต
Voice of New Gen
13 May 2020

สวนกง…เพราะหาดคือชีวิต

เรื่องและภาพ The Potential

  • เพราะความรักและความผูกพันที่มีต่อหาดสวนกง ทำให้เยาวชนกลุ่มเด็กรักษ์หาดสวนกง จังหวัดสงขลา ลุกขึ้นมาปกป้องชายหาดของพวกเขาผ่านการทำโครงการค้นหาภูมิปัญญาบ้านสวนกง
  • นอกจากจะปกป้องชายหาด เด็กๆ ยังได้สืบสานภูมิปัญญาชุมชน ผ่านการเรียนรู้ รวบรวมข้อมูลภูมิปัญหาที่มีในชุมชน ลงพื้นที่สัมภาษณ์ครูภูมิปัญหา เก็บข้อมูลแล้วนำมาเสนอในรูปแบบ ‘เวทีคืนข้อมูลชุมชน’ พร้อมกับชวนคนข้างนอกมาเรียนรู้ไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นดูหลำ ขุดบ่อน้ำจืด ปลาเค็มฝังดิน ปลาเส้น
  • ยิ่งได้ลงมือทำ ได้เห็น ได้สัมผัส จากแค่รู้สึก ‘รักหาด’ ค่อยๆ พัฒนาเป็น ‘หวงแหน’ นอกจากชุดความรู้เรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านในชุมชนชวนสวนกงแล้ว สิ่งที่เด็กๆ สัมผัสได้มากกว่านั้น คือ ความรักความผูกพันของพวกเขาและคนในชุมชนที่มีต่อหาดบ้านสวนกง หากเปรียบเยาวชนกลุ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของทะเล อาจเปรียบเสมือนเม็ดทรายเม็ดเล็ก ๆ ที่รวมตัวทับถมกันจนเต็มหาดบ้านสวนกง เม็ดทรายที่พร้อมจะปกป้องชายหาดของตัวเองให้คงอยู่คู่กับชุมชน

เพราะชีวิตผูกพันกับทะเลมาตั้งแต่เด็ก หน้าหาดเปรียบเสมือนหน้าบ้าน และยังเป็นลานวิ่งเล่นช่วงเย็นๆ หลังเลิกเรียน ในขณะที่ทะเลที่เห็นตรงหน้า เปรียบเสมือนครัวขนาดใหญ่ที่ใช้หาเลี้ยงคนทั้งชุมชนบ้านสวนกง ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

“ตอนเด็กๆ หนูจะตามพ่อไปไปไหนมาไหนด้วยตลอด เพราะพ่อเป็นนายกสมาคมรักษ์ทะเลจะนะ เวลาสงสัยอะไรก็จะถามพ่อ ทำให้เราค่อยๆ ซึมซับความรู้เรื่องเกี่ยวกับทะล และผูกพันกับชายหาดและทะเลมาตั้งแต่เด็กค่ะ” และเพราะหาดคือชีวิต ทะเลคือลมหายใจของยะห์-ไครีย๊ะห์ ระหมันยะ เมื่อมีโอกาสแม้เพียงน้อยนิดที่จะปกป้องทะเล เธอจึงไม่รอช้า โดยเฉพาะกับการเข้าร่วมกิจกรรมวัดหาดสวนกงกับพี่น้ำนิ่ง-อภิศักดิ์ ทัศนี อดีตเยาวชนโครงการเยาวชนพลเมืองสงขลาและยังทำหน้าทีเป็นพี่เลี้ยงโครงการในปัจจุบัน

ยะห์-ไครีย๊ะห์ ระหมันยะ

“หนูเข้าร่วมกิจกรรมวัดหาดกับพี่น้ำนิ่งอยู่ก่อนแล้ว และพอมีโครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลาเปิดรับสมัคร พี่น้ำนิ่งก็ชวนให้ทำโครงการฯ ตอนนั้นยังลังเลเพราะกลัวจะเสียเวลา แต่พี่น้ำนิ่งแนะนำว่าสามารถทำควบคู่กันไปได้เลยทั้งวัดหาดและทำโครงการ เราเห็นว่าน่าสนใจประกอบกับตอนนั้นเรามีหน้าที่แค่วัดหาดอย่างเดียว ก็เลยตัดสินใจเข้าร่วมโครงการค่ะ”

ไม่เฉพาะยะห์เท่านั้น กลุ่มเด็กรักษ์หาดสวนกงที่อาสาเข้ามาทำโครงการค้นหาภูมิปัญญาบ้านสวนกงในครั้งนี้ ยังประกอบด้วย นี-ณัฐกฤต หมัดเหล็ม, ฟี่-กฤษณา หมัดเหล็ม และ ซิกดิก-พายพัด หลำเจริญ

จากซ้ายไปขวา ซิกดิก-พายพัด หลำเจริญ, นี-ณัฐกฤต หมัดเหล็ม, ฟี่-กฤษณา หมัดเหล็ม และยะห์-ไครีย๊ะห์ ระหมันยะ

แปลง “ความผูกพัน” เป็น “พลัง”

ลำพัง ‘ความรัก ความผูกพัน’ มันไม่ส่งผลอะไรต่อการปกป้องดูแลหาดสวนกง น้องๆ กลุ่มนี้จึงพยายามแปลงความผูกพันให้เป็น ‘พลัง’ เพื่อที่จะส่งต่อความรัก และความผูกพันที่พวกเขามีให้กับคนอื่นๆ นี่คือเหตุผลของการเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลาในปีนี้

และอีกเหตุผลสำคัญของการเลือกมาทำโครงการนี้ ยะห์ บอกว่า เพราะเห็นความสำคัญของหาดที่เกี่ยวโยงกับการดำเนินชีวิต วิถีชีวิต การทำมาหากินของคนในสวนกง

“พี่น้ำนิ่งชวนเราวางแผนกันว่าเราจะทำอะไร พวกเราเลยตกลงกันว่าจะเอาภูมิปัญญาเกี่ยวกับทะเลและชายหาด เพราะอยากให้คนในชุมชนเขาเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาในหมู่บ้านสืบสานภูมิปัญญาเหล่านี้ต่อไป ถ้าเรากลุ่มเด็กรักษ์หาดสวนกงไม่ลุกขึ้นมาสืบสาน ภูมิปัญญาเหล่านี้ก็จะหายไป” ยะห์ เล่าที่มาของการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ

หลังจากที่โจทย์และเป้าหมายชัด ลำดับต่อมาคือ การระดมความคิดเพื่อวางแผนการทำงาน

“กิจกรรมแรก คือ จัดเวทีพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจกับชาวบ้าน เพื่อเป็นการบอกเล่าที่มาของการทำโครงการในครั้งนี้” ทีมงาน เล่ากระบวนการทำงาน

และนอกจากการชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการที่ทำ น้องๆ ยังใช้โอกาสที่ชุมชนมาร่วมประชุม สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาของบ้านสวนกง เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการทำโครงการของตัวเอง

“เรานัดชาวบ้านประมาณบ่ายโมงแต่ชาวบ้านก็จะมาสามโมงกว่า เป็นปัญหาแรกที่เราเจอเลย เป็นปัญหาที่เราแก้ไม่ได้เพราะชาวบ้านมีหน้างานของตัวเอง พวกเราเลยปรับใหม่ว่าถ้านัดครั้งต่อไปเราจะก่อนเวลา เผื่อเวลาให้ชาวบ้านได้จัดการธุระของเขาก่อนแล้วเราค่อยเริ่มการประชุมไปพร้อมๆ กัน” ยะห์ เล่าให้ฟังต่อว่า พวกเธอเจอปัญหากันตั้งแต่ครั้งแรกที่เริ่มวางแผนที่จะทำ แต่ถึงกระนั้นก็ตาม น้องๆ ไม่ได้มองว่านั่นคือปัญหา แต่คือสิ่งที่เขาได้เรียนรู้จากการติดต่อประสานงาน เมื่อเข้าใจธรรมชาติของชาวบ้าน และปรับเปลี่ยนยุทธวิธีใหม่ก็ทำให้พวกเธอสามารถเคลื่อนงานต่อได้

หลังชี้แจงสร้างความเข้าใจกับคนในชุมชนเรียบร้อยแล้ว น้องๆ เปิดรับสมัครชาวบ้านและเยาวชนที่สนใจเพื่อมาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเก็บข้อมูลภูมิปัญญาในชุมชน ซึ่งมีชาวบ้านอาสาสมัครมาจำนวน 12 คน โดยทุกครั้งก่อนลงพื้นที่ทีมงานจะประชุมกันอยู่เสมอ เพื่อหาข้อสรุปในการตั้งคำถามสำหรับใช้ลงพื้นที่

“คำถามที่พวกเราช่วยกันคิด จะถามเกี่ยวกับวิธีการ/ขั้นตอนการทำ ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง รายได้ และความสำคัญที่เชื่อมโยงกับทะเลและหาด เห็นความสำคัญของภูมิปัญญานั้นมากแค่ไหน ที่เลือกถามคำถามเหล่านี้เพราะต้องการสื่อสารให้รู้ว่า สิ่งที่เรากำลังทำคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร ถ้าไม่มีหาดทรายจะอยู่กันอย่างไรค่ะ” ยะห์ บอกเล่าขั้นตอนการทำงานและเหตุผลของการตั้งคำถามเพื่อให้ได้ข้อมูลมา

หลังจากตกลงหัวข้อคำถามได้แล้ว ทีมงานจัดแจงลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์ข้อมูลภูมิปัญญาชาวบ้าน “เราแบ่งบทบาทหน้าที่ ถามว่าใครถนัดเรื่องอะไรมากที่สุดให้รับหน้าที่นั้นไป อย่างยะห์พ่อเป็น ดูหลำ (เป็นคำเรียกคนที่ทำประมงด้วยการฟังเสียงสัตว์ทะเล พวกเขาจะฝึกฝนจนสามารถจับเสียงหายใจจากปลาและสัตว์น้ำใต้ทะเลได้) ก็จะรับอาสาทำเรื่องนี้ ส่วนฟีจะรับผิดชอบเรื่องปลากระบอกกับหาหอยเสียบ ซิกดิกจะดูแลเรื่องการทำไซปลากับดูหลำค่ะ เราจะแบ่งว่าใครจะเป็นสัมภาษณ์ ใครจะถ่ายรูป จดบันทึก เราอัดเสียงไว้ด้วยค่ะ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาถอดเทปและทำเป็นชุดข้อมูลสำหรับภูมิปัญญาสวนกงต่อค่ะ” ยะห์ ยกตัวอย่างวิธีการแบ่งงานเพื่อให้น้องๆ และตัวเองทำงานได้ง่ายในการเก็บข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์ข้อมูล

จับคู่…สืบค้นภูมิปัญญา

พวกเธอเล่าบรรยากาศและความรู้สึกในตอนนั้นให้ฟังว่า “ตอนแรกเราคิดว่าเราจะได้แค่ที่เราตั้งคำถามไว้ แต่เอาเข้าจริงเกินกว่าที่เราตั้งคำถามไว้มาก บางครั้งเวลาเขาเล่าแล้วเราจะถามเขาต่อเพราะสงสัย พวกเราใช้เวลาสัมภาษณ์ประมาณ 1 ชั่วโมงต่อครูภูมิปัญญาหนึ่งคน ในหนึ่งวันเราจะได้ประมาณ 2 ภูมิปัญญาค่ะ แต่ที่ทำกันเป็นเดือนเพราะว่าไม่ค่อยมีเวลา แล้วต้องเรียนด้วยเลยค่อนข้างใช้เวลานานกว่าจะครบทุกภูมิปัญญา”

จากการลงพื้นที่สอบถามพูดคุยทีมงานรวบรวมได้ว่า ในชุมชนบ้านสวนกงมีภูมิปัญญากว่า 17 ภูมิปัญญา เช่น ดูหลำ ปลาเค็มฝังดิน เรือเกยหาด ปลาเค็มตากแห้ง ปลาเส้น ดูหลำเป็นภูมิปัญญาที่มีคนทำอยู่เพียงคนเดียว

ทีมงาน สะท้อนให้ฟังว่า จากการลงสัมภาษณ์ข้อมูลในครั้งนั้น ครูภูมิปัญญาบางท่านไม่ค่อยทราบความเปลี่ยนแปลงของหาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นโอกาสให้ทีมงานได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างการสนทนา   

“เรามีข้อมูลเรื่องหาดกัดเซาะ เราก็ไปเล่าให้เขาฟัง จากที่เขาไม่ค่อยสนใจ เขาก็มาคิดว่าถ้าเขามาสร้างท่าเรือน้ำลึกแล้วจะไปหาหอยเสียบที่ไหน ทำให้เขาเริ่มมองเห็นความสำคัญของหาดมากขึ้นค่ะ” ยะห์เล่า

ด้านฟีและนี เล่าบรรยากาศการลงพื้นที่ที่ต้องฝืนตัวเอง ไม่ค่อยกล้าพูด แต่เพื่องาน เพื่อโครงการทำให้พวกเธอต้องกล้าที่จะเอ่ยถามข้อมูลออกมา “ไปครั้งแรกไม่กล้าเลย กลัวแต่พอเข้าไปพูด ไปถามเขาแล้วเขาเอ็นดูเรา แล้วก็เป็นคนอยู่ในหมู่บ้าน ก็ไม่เขินอะไรมาก ก่อนหน้านี้พวกเราไม่ค่อยสนิทกับผู้ใหญ่ เดี๋ยวนี้ไปไหนก็ทักเรา ‘ยะห์ นี ทำอะไรวัดหาดอีกเหรอ’ จากที่ไม่พูดกันระหว่างชาวบ้านกับเด็ก กลับกลายเป็นว่าเราทำงานควบคู่ไปด้วยกันค่ะ”

นอกจากความรู้และข้อมูลเรื่องภูมิปัญญาที่พวกเขาได้กลับมาเป็นกอบเป็นกำแล้วสิ่งที่หนึ่งที่ไม่พูดไม่ได้นั่นคือความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาและคนในชุมชนที่ค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นผ่านการสนทนานั่นเอง

คืนความรู้…คนรักสวนกง

กิจกรรมต่อไปที่ถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายทีมงานมากที่สุดนั่นคือ ‘เวทีคืนข้อมูลชุมชน’ พวกเธอบอกว่ากลุ่มเป้าหมายของการคืนข้อมูลในครั้งนี้ไม่ได้มีเพียงแค่คนในชุมชนบ้านสวนกงเท่านั้น แต่ทีมงานเชิญคนภายนอกที่มีชีวิตเกี่ยวโยงกับทะเลด้วยที่ควรได้รับข้อมูลที่พวกเธอทำการลงพื้นที่รวบรวมข้อมูลมาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย

“เรายกตัวอย่างแค่ 4 ภูมิปัญญา คือ ปลาเค็มฝังดิน ดูหลำ ขุดบ่อน้ำจืดและปลาเส้น เพราะเป็นภูมิปัญญาที่พ่อกับแม่ของทีมงานเป็น และเราก็มีข้อมูลมากที่สุดค่ะ เราแบ่งเป็น 2 ห้องเรียน คือดูหลำจับคู่ขุดบ่อน้ำจืด ปลาเค็มฝังดินคู่กับปลาเส้น ดูหลำก็จะเรียนที่บ้านยะห์ ปลาเส้นจะเรียนที่บ้านนี โดยเราจะพาผู้เข้าร่วมลงพื้นที่ปฏิบัติไปพร้อมๆ กับบอกวิธีการและสาธิตให้ดู” ยะห์ อธิบายรูปแบบกิจกรรมในวันคืนข้อมูลที่เธอและน้องๆ ในทีมร่วมกันออกแบบ

ถึงจะวางแผนไว้ดีเท่าไหร่ แต่ก็ไม่วายที่จะประสบปัญหาอยู่ดี เพราะช่วงเวลาที่จัดไม่ตรงกับฤดูของการทำปลาเส้นทำให้ขาดวัตถุดิบในการทำปลาเส้น ทีมงานแก้ไขปัญหาด้วยการสาธิตกรรมวิธีในการทำปลาเส้นแทน

“วันนั้นเพราะเวลาที่จำกัดประกอบกับวัตถุดิบไม่เพียงพอเพราะเป็นฤดูมรสุม เราเลยแก้ปัญหาด้วยการสาธิตกรรมวิธีให้เขาเห็นแบบคร่าวๆ แทนค่ะ ทำไปพรางก็เล่าให้เขาฟังด้วยว่า จากนี้แล้วจะต้องนำไปทำอะไรต่อถึงจะได้ออกมาเป็นปลาเส้นที่ขึ้นชื่อของชุมชนเราค่ะ” ฟีและนีช่วยกันปัญหาและวิธีการแก้ไปปัญหาเฉพาะหน้าในฐานที่ตัวเองอยู่ประจำให้ฟัง

ในขณะที่ซิกดิกอยู่ฐานขุดบ่อน้ำจืด รับบทเป็นวิทยากรสาธิตวิธีการขุดน้ำจืดให้กับผู้เข้าร่วมได้ช่วยกันทำ ซิกดิกเล่าว่า “ตอนเขาจัดกิจกรรมมีคนที่เขาพาลูกๆ มาเรียนด้วย สนุกที่เด็กได้มาขุดริมหาด เด็กชอบ ตอนที่อธิบายก็มีเกร็งบ้าง พูดไม่ค่อยออกเหมือนกัน” แม้จะเขินอายบ้าง แต่ซิกดิกก็แก้ไขด้วยการเน้นทำมากกว่าเน้นพูด และกลายเป็นความสนุกทั้งผู้ร่วมและเจ้าของกิจกรรม

หลังเสร็จงานเวทีคืนข้อมูลทีมงานร่วมกัน ถอดบทเรียนการทำงานของตัวเอง เพื่อช่วยกันทบทวนกิจกรรมที่ทำมา ผ่านหัวข้อชวนคุยที่ว่า วันนี้เราเห็นอะไรบ้างที่เป็นข้อดี อะไรบ้างที่ควรปรับปรุง แล้วมาสะท้อนกันเอง ทำอะไรไปบ้างทำให้ได้นำเรื่องเหล่านั้นมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน

“เราเห็นความอบอุ่นมากกว่า ถึงจะมีจุดผิดหลายจุด แต่ว่าคนกลับมองไม่เห็นว่าเรามีจุดผิด เค้ากลับรู้สึกสนุกแล้วก็อบอุ่นไปกับข้อมูลที่เรามอบให้ แต่ว่าเรายอมรับว่าวันนั้น จุดพลาดของเราเยอะมาก แต่เป็นปัญหาเล็กๆ จุกจิกมากกว่าเช่น เรื่องเวลา มาสายกัน แต่ส่วนใหญ่ปัญหาเป็นปัญหาเล็กๆ น้อยที่เราให้อภัยได้” ทีมงาน ช่วยกันเล่าภาพรวมวันงานให้ฟัง

แต่สิ่งที่พวกเขาคิดว่าทำได้ดีทีสุดตอนนั้นคือ การนำเสนอข้อมูลที่ทีมงานและข้อมูลที่ได้รวบรวมให้คนในงานได้รับฟัง ยะห์ในฐานะพี่โตให้เหตุผลว่า ที่คิดว่าทำกิจกรรมนี้ได้ดีสุดเพราะ น้องๆ ทั้ง 3 คน ฟี นี และซิกดิกกล้าพูด กล้านำเสนอจากเดิมตนยอมรับว่าแบบกังวลมากเพราะกลัวน้องๆ จะไม่กล้าพูดแต่สุดท้ายน้องๆ ก็ไม่ทำให้เธอผิดหวัง และรู้สึกภูมิใจในตัวน้องๆ ที่มากกว่านั้น นั่นคือการสร้างการรับรู้ให้กับคนในงานได้เห็นความเกี่ยวโยงของวิถีชีวิตกับหาดที่บ้านสวนกงที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ

ผูกพัน หวงแหน ดินแดนสวนกง

หลังจากผ่านการลงมือปฏิบัติมานานหลายเดือน ตั้งแต่เริ่มคิดโครงการ ลงพื้นที่สอบถามข้อมูล มาจนถึงเวทีคืนข้อมูล ทุกสถานการณ์ล้วนกดดัน และสร้างการเรียนรู้ให้กับพวกเขาทุกอย่าง เมื่อให้ลองทบทวนความเปลี่ยนแปลงของตัวเองกับการทำโครงการนี้ ทีมงานส่วนใหญ่ต่างสะท้อนว่า สิ่งที่พวกเขาพบว่าเปลี่ยนแปลงมากที่สุดนั่นคือความกล้า ทั้งกล้าแสดงออก กล้าพูด กล้าคิดและกล้าที่จะลงมือทำ

ซิกดิก เล่าแบบเขินอายว่า “ตอนแรกที่เข้าร่วมกิจกรรมรู้สึกไม่อยากจะทำ ไม่ชอบเพราะเหนื่อย แต่ตอนนี้ความคิดเปลี่ยนไป ก่อนหน้านี้มองว่าหาดทรายก็คือหาด ไม่มองเห็นความสำคัญของหาดว่ามีประโยชน์อะไรกับเรา กับคนในชุมชนสวนกง แต่พอได้มีลงไปพูดคุยเรื่องภูมิปัญญาขุดน้ำจืดทำให้เราเห็นว่าถ้าเราเล่นน้ำทะเล หลายๆ ชั่วโมงแล้วมาขุดบ่อริมทะเลเราก็ได้น้ำดื่ม เป็นความรู้ใหม่ที่เราได้จากการลงพื้นที่”

ยะห์ เสริมต่อว่า การเปลี่ยนแปลงของซิกดิก คือ ถ้าแต่ก่อนพี่มาถามอย่างนี้ ซิกดิกจะไม่พูดกับใครเลย เวลาออกจากพื้นที่ซิกดิกจะพยักหน้าอย่างเดียว แต่ตอนนี้เริ่มพูดบ้างแล้ว ถึงแม้จะเป็นภาษาใต้ แต่ซิกดิกก็กล้าพูดแล้วตอนนี้ แล้วซิกดดิกตอนนี้รู้จักคิดวิเคราะห์ได้แล้ว อย่างเช่นในกรณีของชายหาด ถ้าไม่มีหาดก็ขุดบ่อน้ำจืดไม่ได้

ส่วนนีและฟี่ สะท้อนว่า สิ่งที่พวกเธอได้มากที่สุดคือ เรื่องการกล้าพูดเหมือนกัน ทุกคนมีข้อมูลของตัวเองอยู่แล้วเพียงแต่ทุกคนไม่ค่อยกล้าพูด ทำให้พวกเธอได้เข้าใจและเห็นความสำคัญต่ออาชีพที่ครอบครัวตัวเองทำอยู่ ก่อนหน้านี้เห็นแม่ทำปลาเส้นแต่ก็ไม่ได้สนใจหรือให้ความสำคัญ แต่เมื่อได้ทำโครงการนี้ทำให้เธอเห็นคุณค่าของอาชีพมากขึ้น เห็นความสำคัญของหาดสวนกงมากขึ้นอยากที่รักษาไว้

ยะห์พี่คนโตสุดและเป็นคนที่รับผิดชอบมากสุด สะท้อนว่า ก่อนหน้านี้เธอไม่ชอบเป็นผู้นำคน แต่ต้องทำเพราะเป็นเรื่องบ้านตัวเอง ต้องการบันทึกเรื่องภูมิปัญญานี้ไว้ให้กับชุมชนได้มีข้อมูลเก็บไว้บ้าง เก็บไว้ให้อ่านก็ยังดี นี่ก็คือเหตุผลที่มาทำโครงการ 

ยะห์เผยให้ฟังอีกว่า ที่เห็นราบเรียบแบบนี้แต่บางทีก็มีช่วงขรุขระพอสมควร “มีช่วงหนึ่งที่รู้สึกท้อ และเหนื่อยมากเพราะคิดว่าเหมือนเราทำงานอยู่คนเดียว เราตั้งความหวังของเรากับน้องๆ มากไปอยากให้เขาได้ประสบการณ์เหมือนกับเรา อยากให้เขาทำได้เหมือนเรา แต่เหมือนเรารู้อยู่คนเดียวเรามุ่งแต่จะเอาข้อมูลจนลืมมองน้องๆ ว่าเขามีความสุขไหม เขาอยากทำกับเราหรือเปล่า

“พอเราเริ่มคิดได้ก็เริ่มมาปรับตัวเองใหม่ วางท่าทีใหม่ วางรูปแบบวิธีการทำงานใหม่ ที่ไม่ใช่การทำงานแค่เราคนเดียว แต่ต้องทำงานกันเป็นทีม รู้ทั้งทีม ทำทั้งทีมงานเราถึงจะมีคุณภาพ” แต่เพราะได้ที่ปรึกษาดีอย่าง รุ่งเรือง ระหมันยะ พ่อของยะห์ที่คอยให้กำลังใจอยู่ข้าง ๆ ทำให้เธอสามารถผ่านปัญหานั้นมาได้ และเป็นบทเรียนให้เธอได้เรียนรู้บทบาทของการเป็นผู้นำ รวมถึงขั้นตอนการทำงานที่เป็นขั้นตอนขึ้น

จากแค่รู้สึกรัก ค่อยๆ พัฒนาเป็นหวงแหน ยิ่งได้ลงมือทำ ได้เห็น ได้สัมผัสยิ่งกลายเป็นความผูกพัน นอกจากชุดความรู้เรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านในชุมชนชวนสวนกงแล้ว สิ่งที่สัมผัสได้มากกว่านั้น คือความรักความผูกพันของเด็กและคนในชุมชนที่มีต่อหาดบ้านสวนกง หากเปรียบเยาวชนกลุ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของทะเล อาจเปรียบเสมือนเม็ดทรายเม็ดเล็กๆ ที่รวมตัวทับถมกันจนเต็มหาดบ้านสวนกง เม็ดทรายที่พร้อมจะปกป้องชายหาดของตัวเองให้คงอยู่คู่กับชุมชน

โครงการค้นหาภูมิปัญญาบ้านสวนกงที่ปรึกษาโครงการอภิศักดิ์ ทัศนี
ทีมงานไครีย๊ะ ระหมันยะ, ณัฏฐณิชา เส้นเลาะ, ณัฐกฤตา หมัดเหล็ม, พายฟัด หมัดเจริญ, กุลณัฐ ระหมันยะ และ กฤษณา หมัดเหล็ม

Tags:

วัยรุ่นสงขลาฟอรั่มactive citizenproject based learningอาหารสิ่งแวดล้อมประมง

Author & Photographer:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Related Posts

  • Voice of New GenSocial Issues
    บ้านสวนกง หมู่บ้านเล็กๆ ที่ปกป้องทะเลมากว่า 24 ปี: หลักฐานว่าทำไม ‘ไครียะห์’ ต้องยื่นหนังสือถึงนายกฯ

    เรื่อง The Potential

  • Creative learningCharacter building
    ‘ขยะวิทยา’ ตลอดชีวิต ของเด็กๆ คลองโต๊ะเหล็ม จังหวัดสตูล

    เรื่องและภาพ The Potential

  • Creative learningCharacter building
    ‘น้ำตกสายใจ’ ห้องเรียนหน้าร้อน สอนให้เด็กๆ บ้านเขาไครรู้ว่าตัวเองเป็นใคร

    เรื่องและภาพ The Potential

  • Creative learning
    หาดหายไปไหน?: เมื่อความสงสัยอัพเกรดไปสู่การเรียนรู้

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Character building
    เรื่องของเด็กขี้สงสัย ณ บ้านห้วยสงสัย

    เรื่อง The Potential

Whisper of the heart : เมื่อลูกมีความฝันต่างจากคนอื่น อยากให้ครอบครัวถามไถ่ รับฟัง และเชื่อใจ
MovieDear Parents
11 May 2020

Whisper of the heart : เมื่อลูกมีความฝันต่างจากคนอื่น อยากให้ครอบครัวถามไถ่ รับฟัง และเชื่อใจ

เรื่องและภาพ พิมพ์พาพ์

  • พ่อแม่ของชิซูกุเชื่อในสิ่งที่ลูกกำลังทำอยู่ ด้วยความที่พ่อก็เห็นว่าชิซูกุ (จาก Whisper of the heart (1995) โดย ทีม Studio Ghibli) ดูตั้งใจจริง ประโยคที่เราชอบมาก (แบบมากๆๆๆๆ) คือพ่อพูดว่า ‘ไม่ใช่ว่าทุกคนต้องเป็นเหมือนกัน’ พร้อมกับบอกว่า ‘ลูกเชื่ออะไรก็ทำไปเลย แต่มันไม่ง่ายนะกับทางที่เลือกเอง’
  • ตอนเด็กเราไม่เข้าใจเรื่องความแตกต่างของแต่ละคน คือเราพอจะรู้ตัวว่าเป็นคนที่ชอบศิลปะ แต่เราเติบโตมาในครอบครัวที่แม่อยากให้ลูกเรียนจบ มีงานทำ มีเงินเดือนเยอะๆ มาเลี้ยงครอบครัว ต้องทำอาชีพที่ดูมีรายได้สูง อย่างหมอ สถาปนิก วิศวะ บัญชี บลาๆๆ เราจะรู้สึกว่าการไม่เก่งเลขของเรานี่มันแย่มาก
  • พอผ่านมาหลายปีเราก็มองเห็นข้อดีของการที่แม่ไม่สนับสนุนเราอยู่บ้างนะ แต่ก็แอบคิดเล่นๆ ว่าถ้าเราโตมาในครอบครัวที่พ่อแม่เข้าใจความแตกต่างของลูก ลูกชอบอะไร สนใจอะไร แล้วสนับสนุนสิ่งที่ลูกเป็นจริงๆ ให้โอกาสลูกได้ลองผิดลองถูกไปให้สุดทางมันคงจะดีมากๆ เลย ป่านนี้เราคงไม่ใช่พิมพ์พาพ์แต่เป็น ฟรีด้า คาห์โล่(Frida Kahlo) คนที่สองแล้วก็ได้! (หัวเราะสะใจ)

Tags:

พิมพ์พาพ์พ่อแม่ภาพยนตร์ศิลปินแบบแผนทางความสัมพันธ์

Author & Illustrator:

illustrator

พิมพ์พาพ์

เป็นลูกคนเดียวจากแม่เลี้ยงเดี่ยว เรียกตัวเองว่านักวาดภาพประกอบที่ชอบวาดคนหน้าแมว เผลอเสียน้ำตาให้กับหนังครอบครัวอยู่บ่อยๆ

Related Posts

  • Dear ParentsMovie
    The Umbrella Academy: ความรู้สึกเป็นคนนอกครอบครัว เพราะตัวเองไม่(มีพลัง)พิเศษ

    เรื่องและภาพ พิมพ์พาพ์

  • Family Psychology
    พ่อแม่ห้ามด้วยความเป็นห่วงแต่ลูกตีความว่าถูกตำหนิ และอีกหลายความขัดแย้งในบ้าน อ่านวิธีคลี่คลายที่นี่

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา ภาพ เพชรลัดดา แก้วจีน

  • MovieDear Parents
    Gilmore girls – ซีรีส์ที่ทำให้อยากมีแม่แบบเพื่อน ให้อิสระ อยู่ตรงนั้นเพื่อให้คำปรึกษาและพึ่งพิง

    เรื่องและภาพ พิมพ์พาพ์

  • Healing the traumaMovie
    HONEY BOY: ใครๆ ก็อยากเป็นพ่อที่ดี แต่พ่อก็เป็นคนหนึ่งที่ยังเจ็บปวดเหมือนกัน

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Family Psychology
    มั่นคง วิตกกังวล เพิกเฉย ควบคุมตัวเองไม่ได้ เราเป็นแม่แบบไหนกัน ?

    เรื่อง The Potential ภาพ BONALISA SMILE

พ่อแม่ห้ามด้วยความเป็นห่วงแต่ลูกตีความว่าถูกตำหนิ และอีกหลายความขัดแย้งในบ้าน อ่านวิธีคลี่คลายที่นี่
Family Psychology
8 May 2020

พ่อแม่ห้ามด้วยความเป็นห่วงแต่ลูกตีความว่าถูกตำหนิ และอีกหลายความขัดแย้งในบ้าน อ่านวิธีคลี่คลายที่นี่

เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา ภาพ เพชรลัดดา แก้วจีน

  • พ่อแม่ที่มีปมบาดแผลและถูกครอบงำด้วย Shame Dynamic (กลไกทำงานในจิตใจที่ฝังจำความบาดหมางต่อพ่อแม่(ปูย่าตายาย)ในวัยเด็ก โดยการสร้างเกราะป้องกันไม่ให้ตัวเองรู้สึกอับอายที่ตนเองบกพร่องลึกๆ) มักรู้สึกขายหน้า เสียเซลฟ์ คิดว่าตนเป็นพ่อแม่บกพร่องที่มีปากเสียงกับลูกหรือโดนลูกดื้อใส่ ชอบฟังเสียงคนรอบข้างมากเกินไปเพราะกลัวคนอื่นจะติงว่าเลี้ยงลูกผิด เวลาลูกร้องโยเยในห้างจะอับอายและแคร์สายตาคนอื่นว่าคิดกับตัวเองอย่างไร แทนที่จะพยายามทำความเข้าใจว่าลูกต้องการอะไร
  • ยิ่งพ่อแม่ใช้อารมณ์บีบคั้นรุนแรง ความคับข้องใจจากความบาดหมางอาจพัฒนาสู่ภาวะเข้าสังคมไม่ได้เพราะคิดว่าตัวเองด้อยกว่าเพื่อนและปรับตัวยืดหยุ่นไม่เป็น นอกจากจะกลายเป็นบุคลิกติดตัวแล้ว การอยู่ในครอบครัวที่บาดหมางกันเป็นเวลานาน พัฒนาการทางจิตใจอาจพลอยได้รับความเสียหายไปด้วย
  • บทความว่าด้วยเรื่องการรับมือกับความขัดแย้ง โดยอธิบายการทำงานของสมองและจิตใจที่มีผลจากความขัดแย้งไว้อย่างน่าสนใจ พร้อมนำเทคนิคไปปรับใช้เพื่อคลี่คลายปัญหากระทบกระทั่งในชีวิตประจำวันกับลูกรักได้เลย

เชื่อว่าความขัดแย้งของพ่อแม่กับลูกหรือการทะเลาะผิดใจกันคงเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นในครอบครัว ยิ่งพ่อแม่เป็นผู้มีประสบการณ์และวัยวุฒิมากกว่าจึงทำให้มีความเป็นห่วง คาดหวัง อยากชี้แนะจัดการ ขณะที่ลูกเองแม้ต้องการความรักความเอาใจใส่ แต่บางคราวก็อยากมีอิสระเสรี 

เรื่องโต้แย้งหยุมหยิมบางเรื่องยังพอทำเนา เช่น ลูกอยากเล่นเกมหามรุ่งหามค่ำแต่พ่อแม่ห้ามเพราะห่วงสุขภาพเขา แต่หากความขัดแย้งผิดใจบานปลายใหญ่โตจนต่างคนต่างใช้อารมณ์ ต่างคนต่างเพิกเฉยความต้องการของคนตรงข้ามและไม่แก้ไขให้ทันการ ทั้งหมดนี้อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนในบ้านและความสัมพันธ์ระยะยาวได้

ในหนังสือ Parenting from the Inside Out ตำราเลี้ยงลูกจากภายในถึงภายนอกโดยจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านแม่และเด็ก ดร. แดเนียล เจ. ซีเกล และอาจารย์แม่รี ฮาร์ทเซล กูรูด้านพฤติกรรมและการเลี้ยงเด็ก กล่าวถึงรูปแบบความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่กับลูกที่พบได้เสมอๆ ได้แก่ 

  1. ความขัดแย้งเรื่องพื้นที่ส่วนตัว 
  2. การสื่อสารที่ไม่เข้าใจกัน  
  3. ความขัดแย้งเมื่อลูกถูกวางกฎระเบียบ 
  4. ความขัดแย้งขั้นรุนแรง 

นอกจากทั้งสองจะให้คำแนะนำเรื่องการรับมือกับความขัดแย้งแล้ว ยังอธิบายการทำงานของสมองและจิตใจที่มีผลจากความขัดแย้งไว้อย่างน่าสนใจ พร้อมนำเทคนิคไปปรับใช้เพื่อคลี่คลายปัญหากระทบกระทั่งในชีวิตประจำวันกับลูกรักได้เลย

ความขัดแย้งหยุมหยิมเรื่องพื้นที่ส่วนตัว และสื่อสารไม่เข้าใจกัน

ในการอยู่ร่วมกัน ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกอาจ ‘เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย’ ได้ตลอดเวลา เพราะไม่ว่าผู้ใหญ่หรือเด็กต่างต้องการคิดอ่านและทำอะไรลำพังในพื้นที่ส่วนตัว พ่อแม่ต้องละเอียดอ่อนพอตัวในการอ่านความต้องการเล็กๆ น้อยๆ ของลูกให้ออก ว่าเมื่อไหร่เขาต้องการให้สนใจเต็มที่หรือเมื่อไหร่ที่เขาไม่อยากให้พ่อแม่เข้าไปวุ่นวาย 

สำหรับโลกใบเล็กของเด็กทารก เขาจะยังไม่รู้จักพื้นที่ส่วนตัวนี้และโลกทั้งใบของเขาคือพ่อแม่เท่านั้น พ่อแม่ต้องระวังและไม่ควรมีพื้นที่ส่วนตัวแยกออกจากเขา โดยเฉพาะไม่ใช่ช่วงวัยและเวลาที่ควรสอนให้รอ เคารพ หรืออดทน 

แต่ถ้าลูกโตพอ สิ่งที่พ่อแม่ต้องทำนอกจากเคารพพื้นที่ส่วนตัวของเขาแล้ว ต้องสอนให้เขารู้จักเคารพพื้นที่ของคนอื่นควบคู่ไปด้วยเช่นกัน สำหรับลูกวัยรุ่น ทำใจไว้แต่เนิ่นๆ เสียก่อนว่าเขาจะหวงแหนพื้นที่ส่วนตัวของเขาไว้เฉพาะเพื่อนเท่านั้น 

พื้นที่ส่วนตัวที่เรากำลังพูดถึงคือ ภาวะจำเป็นชั่วคราวที่ต่างคนต่างจำเป็นต้องขอเวลานอกเพื่อสะสางปัญหาหรือขบคิดเพียงลำพัง สำหรับพ่อแม่ก็เช่นเดียวกัน การเอ่ยปากบอกลูกตรงๆ ว่าขอเวลาส่วนตัวสักครู่ เป็นเรื่องควรทำมากกว่าหลบมุมหนีไปเฉยๆ ปล่อยให้เขาตีความว่าที่แม่หน้าบึ้งเมินเฉยและปลีกตัวจากเขา เป็นเพราะเขาทำอะไรผิดไปรึเปล่า แบบนี้จะยิ่งทำให้ลูกเรียกร้องต้องการมากขึ้น ทางที่ดีควรบอกไปตามตรงว่า “แม่ขอเวลาไปคิดแก้ปัญหาสำคัญสักสิบห้านาทีคนเดียวในห้องทำงาน เสร็จแล้วแม่จะกลับมาอ่านนิทานเรื่องที่หนูชอบให้ฟังนะ” 

เรื่องหยุมหยิมที่มักเกิดอีกอย่างคือ การเข้าใจผิดระหว่างกัน หรือเวลาพ่อแม่ “ไม่เข้าใจ” ความต้องการสิ่งที่ลูกสื่อออกมาเพราะกำลังคิดเรื่องงานอยู่ หรือ ตีความสิ่งที่ลูกบอกไปเป็นอย่างอื่น แต่เพราะเด็กคาดหวังให้พ่อแม่เข้าใจและตอบสนองเขาได้ทุกเรื่องเสมอ แม้การนิ่งเงียบของพ่อแม่นั้นเพราะอยากให้ลูกรู้ว่ากำลังน้อยใจ หรือที่ออกปากห้ามก็ด้วยความเป็นห่วง แต่เขาอาจตีความว่าพ่อแม่กำลังตำหนิเขาเพราะเขาทำผิด 

พ่อแม่ต้องหมั่นสังเกตอากัปกิริยาและเข้าถึงความรู้สึกที่แท้จริงของเขาว่ากำลังสุข เศร้า น้อยใจ โมโห หรือตื่นเต้น แล้วสะท้อนกลับไปให้ถูกจังหวะและสอดคล้องกับอารมณ์และความต้องการของเขา เพราะถึงจะเป็นความขัดแย้งเล็กน้อย แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ใส่ใจดูแลและปรับความเข้าใจกัน ก็อาจลุกลามเป็นแผลใหญ่จนยากเกินแก้ไขเช่นกัน 

ครอบครัวว่าเป็นระบบซับซ้อน (Complex System) 

เรื่องความต้องการพื้นที่ส่วนตัวของบุคคลและการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกในครอบครัวนั้น คุณหมอซีเกล ยกทฤษฎีความซับซ้อน (Complexity Theory) มาอธิบายไว้สองประเด็น 

ข้อแรก คือ ภาวะความซับซ้อนของจิตใจมนุษย์ที่ตัดสลับไปมาระหว่างความต้องการเป็นส่วนหนึ่งกับผู้อื่น กับ การมีอิสระเป็นตัวของตัวเองอยู่ตลอดเวลา 

ข้อสอง คุณหมอเปรียบเทียบครอบครัวว่าเป็นระบบซับซ้อน (Complex System) มีองค์ประกอบภายในยิบย่อยมากมายและแต่ละส่วนมีคุณสมบัติต่างกัน  สาระสำคัญของทฤษฎีนี้ที่ทับซ้อนกับการทำงานของจิตใจและความเป็นไปในการอยู่ร่วมกันในครอบครัว อยู่ที่การเป็นส่วนหนึ่งในระบบ ซึ่งแม้ว่าแต่ละองค์ประกอบจะแตกต่างและอยู่อย่างตัวใครตัวมัน แต่ทุกส่วนจำเป็นต้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันกับส่วนอื่น ขณะเดียวกัน ก็ต้องยังคงไว้ซึ่งอิสระแบบที่ตัวเองเป็นและสอดผสานจนเป็นหนึ่งเดียวกัน (Harmony) ในที่สุด (ทฤษฎีนี้ยังถูกใช้เทียบเคียงการทำงานในสมองหรือหลักการทางคณิตศาสตร์ต่างๆอีกด้วย) ทุกระบบซับซ้อนจะมีกลไกจัดระเบียบตัวเองเพื่อรับมือกับความวุ่นวาย จิตใจจะจัดระเบียบตัวเองได้ก็ต้องได้รับการปลูกฝังติดตั้งเรื่องความยับยั้งชั่งใจ อย่างที่เราเรียกสิ่งนี้ในบ้านว่า ‘กฎระเบียบ’ หรือ ขอบเขตการปฏิบัติตัวที่ทุกคนต้องเข้าใจตรงกัน สมาชิกในครอบครัวต่างมีความต้องการ นิสัยใจคอ ไลฟ์สไตล์ เป้าหมายไม่เหมือนกัน (ซึ่งบางครั้งเราก็ต้องการอยู่ด้วยกัน ต้องการพวกพ้อง แต่บางครั้งก็อยากอยู่เงียบๆ คนเดียว) การเคารพซึ่งกันและกันคืออีกหนึ่งการจัดระเบียบสมดุลทางความสัมพันธ์ ปรับตัวยืดหยุ่นให้ยังรักษาความเป็นตัวเองแต่ก็ผนวกรวมเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวไปพร้อมกันได้

ความขัดแย้งเมื่อลูกถูกจำกัดขอบเขต

พ่อแม่มีบทบาททำให้ลูกรู้จักขอบเขตทั้งในบ้านและสังคมนอกบ้านว่าเขาทำอะไรได้และไม่ได้  รวมถึงการถูกขัดใจไม่ได้ทำตามใจอยากเสมอไป เช่น กินขนมแทนข้าว ไปเดินห้างแล้วต้องได้ของเล่น เอาเท้าวางบนโต๊ะ ความขัดแย้งที่เกิดจากการสอนให้ลูกมีขอบเขตเป็นเรื่องธรมดา พ่อแม่ไม่ควรหลีกเลี่ยงละเลยเพียงเพราะไม่อยากทะเลาะกับเขา เพราะมารยาทและการเคารพสิทธิของคนอื่นในสังคมต้องปลูกฝังให้เป็นนิสัยติดตัวจากที่บ้าน

การปฏิเสธอย่างสร้างสรรค์และได้ผลที่สุดคือ ไม่พูดคำว่า “ไม่ได้”  “อย่า..” “ห้าม…” ออกไปตรงๆ เพราะยิ่งห้าม เขาจะตีความว่ากำลังถูกตำหนิและจะต่อต้านทันที ทางที่ดีควรสังเกตว่าเวลาเขาเรียกร้องต้องการ เขากำลัง ‘รู้สึกอะไร’ แล้วสะท้อนอารมณ์นั้นกลับไปอย่างเข้าอกเข้าใจ ตรงนี้จะช่วยให้เขาเข้าใจและรู้จักอารมณ์ตัวเอง

เช่น “พ่อรู้ว่าหนูอยากกินขนมร้านนี้ หูย… ก็มันหอมน่ากินซะขนาดนี้ ดูสิ หอมออกมาข้างนอกเลย พ่อก็อยากกินนะ แต่นี่ได้เวลามื้อเย็นแล้วละ เราต้องกินข้าวก่อนค่อยมากินขนมกัน ตกลงไหม” 

นี่คือการวางขอบเขตหรือข้อกำหนดให้ชัดเจนและหนักแน่น ถ้าเขางอแง ทางแก้ไม่ใช่การขู่ให้เงียบ ทำโทษ หรือโอ๋ปลอบ แต่ควรให้เวลาเขาร้องไห้เสียใจและ ‘เรียนรู้อารมณ์ตัวเอง’ สักพัก (การช่วยสะท้อนอารมณ์เขากลับยิ่งช่วยให้เขาเข้าใจอารมณ์ตัวเองมากขึ้น)  แล้วค่อยพูดให้เขายอมรับว่าเขาจะไม่ได้สิ่งที่ต้องการทุกครั้งด้วยความเข้าใจ มั่นคง และชัดเจนว่าขอบเขตที่วางไว้นี้จะไม่เปลี่ยนแปลง เช่น “พ่อเข้าใจความรู้สึกหนูที่ไม่ได้อย่างใจนะ อยากร้องก็ร้องนะลูกจะได้สบายใจขึ้น ถ้าหายเสียใจแล้วเราค่อยไปล้างหน้าล้างตากัน” 

ทำความรู้จักกับคันเร่งและเบรกในสมอง

ในการสอนเรื่องขอบเขตหรือวางกฎข้อจำกัด พ่อแม่ต้องเข้าใจกลไกและเรียนรู้ที่จะจัดการอารมณ์ของลูกให้ได้ เป็นต้นว่า สมองส่วนหน้าคือศูนย์บัญชาการของอารมณ์และความรู้สึก ซึ่งนอกจากควบคุมอารมณ์โดยเชื่อมต่อกับสมองส่วนนีโอคอร์เทกซ์ที่คิดวิเคราะห์เหตุผลซับซ้อน, ส่วนลิมบิกที่รับสิ่งกระตุ้นแล้วแปลงเป็นอารมณ์ความรู้สึก และก้านสมองที่ประมวลผลจากเส้นประสาททั่วตัวเป็นวงจรการตื่นนอน, สัญชาตญาณ ภาวะตื่นตกใจ แล้ว มันยังควบคุมไปถึงอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ด้วย เช่น หัวใจ ปอด ลำไส้ ถ้าอารมณ์สมดุลก็หมายถึงสุขภาพจิตที่สมบูรณ์แข็งแรง เวลาตื่นเต้นสมองจะมีกลไกเสมือน “คันเร่ง” สั่งให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ปอดหายใจหอบ ลำไส้ปั่นป่วน ออกอาการลิงโลด และเมื่อสงบลงหรือควบคุมอารมณ์ได้สมองจะค่อยๆ “เบรก” ให้หัวใจกลับมาเต้นปกติ ลมหายใจสม่ำเสมอและลำไส้คลายตัว 

การอนุญาตหรือตอบรับลูกว่า “ทำได้” “เอาเลย” “โอเค” เปรียบได้กับการเหยียบคันเร่งในสมองของเขา แต่การปฏิเสธว่า “ไม่ได้” สมองเขาจะถูกแตะเบรก ร่างกายจะหนักอึ้ง ใจหาย หดหู่ จะให้ดี ทั้งกลไกคันเร่งและเบรคในสมองของลูกจำเป็นต้องได้รับการจัดระเบียบจากพ่อแม่ โดยสอนให้เขารู้จักผ่อนหนักเบาถูกจังหวะ ซึ่งหมายความว่าควบคู่กับการวางกฎระเบียบให้เขา ผู้ใหญ่ต้องสอนให้เขารู้จักการควบคุมอารมณ์ตนเองหรือมีการยับยั้งชั่งใจ (Self-Regulation) พร้อมกันไปด้วย

การยับยั้งชั่งใจทำหน้าที่เหมือน “คลัทช์” คอยผ่อนพลังที่เกิดจากคันเร่ง (เมื่อเรียกร้องต้องการบางอย่าง) และลดแรงปะทะจากการเหยียบเบรค (เมื่อถูกห้ามหรือปฏิเสธ) ให้เบาบางลง การสอนให้ลูกควบคุมความต้องการได้ พ่อแม่ต้องเริ่มจากค่อยๆ เบนความอยากอันผิดที่ผิดทางของเขาไปยังสิ่งสร้างสรรค์อื่นแทน เช่น เวลาปีนขึ้นโต๊ะกินข้าวหรือขว้างปาข้าวของทั่วบ้าน  “โต๊ะไม่ได้มีไว้สำหรับปีนนะลูก ถ้าหนูอยากปีน เก็บแรงไว้ ไว้เสาร์นี้เราไปเล่นปีนตาข่ายในวันเดอร์แลนด์กันดีกว่า” หรือ “กระแทกพื้นแบบนั้นตะกร้าจะพังเอา แม่ต้องการตะกร้าไว้ใส่ของ ถ้าลูกแรงเหลืออยากเล่นสนุก ออกไปเล่นปาบอลกับดุ๊กดิ๊กที่สนามสิจ๊ะ มันกระดิกหางรอให้ลูกไปเล่นด้วยแหนะ”  วิธีนี้สะท้อนว่าพ่อแม่ยอมรับอารมณ์สนุกตื่นเต้นของเขาได้โดยต้องมีขอบเขตในเวลาและสถานที่ที่เหมาะสม 

การสอนให้รู้จักขอบเขตไปพร้อมๆ กับการยับยั้งชั่งใจ เป็นการปูทางให้เขาเรียนรู้จะรับฟังคำปฏิเสธให้เป็น ไม่ทำตามใจอยากได้โดยไม่รู้สึกขาดตกบกพร่อง (สร้าง EQ ที่ดี) ถ้าเขาไม่เคยถูกสอนให้ยับยั้งชั่งใจ อยากได้อะไรต้องได้ ก็จะกลายเป็นเด็กงี่เง่าเอาแต่ใจสุดโต่ง

แต่หากลูกต่อรอง ต่อต้าน ยอกย้อนไม่รู้จบ นอกจากต้องมีน้ำอดน้ำทนให้สูง พ่อแม่ต้องควบคุมอารมณ์ วางตัวสุขุม และกล่าวให้ชัดเจนหนักแน่น ไม่พูดทีเล่นทีจริงหรือฟิวส์ขาดโดยเด็ดขาด เพราะนั่นจะทำให้เขาเรียนรู้ว่าขนาดผู้ใหญ่ยังควบคุมตัวเองไม่ได้เลย เขาก็ทำกลับไปได้เช่นกัน ป่วยการจะอธิบายต่อคำขอเซ้าซี้โยเยไม่รู้จบ เพราะเขาอาจหวังว่าจะโดนตามใจในที่สุด ไม้ตายสั้นๆ คือตัดบทว่า “ไม่ได้ค่ะ แม่ไม่โอเคที่หนูทำอย่างนี้” หรือ “พ่อรู้ว่าหนูไม่พอใจ แต่พ่อไม่ตามใจเรื่องนี้นะ” 

การตอบโต้ด้วยอารมณ์ใส่ลูกเพื่อเอาชนะเวลาเขาต่อต้านหรือเถียงไม่เลิกรา เป็นการสร้างความคับข้องใจให้เขารู้สึกเสียหน้าว่าตัวเองผิด เขาจะหันหลังใส่คำแนะนำหรือทางเลือกอื่นทันที โทสะจากพ่อแม่จะไปเหยียบเบรคในสมองลูกแบบกระแทกกระทั้นในขณะที่เขากำลังเหยียบคันเร่งเตรียมพุ่งทะยาน ผลคือคลัทช์ไม่ทำงาน รถเสียความควบคุม อารมณ์ที่ถูกเหยียบเบรคจนหัวทิ่มจะยิ่งผลักให้เขาจงใจเหยียบคันเร่งให้แรงขึ้นเพื่อเอาชนะ อารมณ์เตลิดเปิดเปิงนี้จะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมงี่เง่าหนักข้อขึ้นกว่าเดิม

ความขัดแย้งขั้นรุนแรง

การทะเลาะผิดใจกับลูกอาจกลายเป็นความขัดแย้งรุนแรงได้ หากพ่อแม่ระเบิดอารมณ์ ตะคอก ใช้วาจาหรือกำลังด้วยความรุนแรงหยาบคายจนเขาหวาดกลัวและรู้สึกไม่มีคุณค่าในตัวเองจนรู้สึกถึงขนาดขาดที่พึ่ง 

สาเหตุหลักของความขัดแย้งขั้นรุนแรง มักมาจากพ่อแม่ที่มีปมเลวร้ายตอนเด็กแล้วมาลงกับลูกโดยไม่รู้ตัว เช่น เคยถูกทิ้งขว้าง ใช้ความรุนแรง เปรียบเทียบกับคนอื่น เลี้ยงอย่างลำเอียง เป็นต้น ครั้นโตมาเป็นพ่อแม่ก็ส่งต่อพฤติกรรมที่เคยได้รับเพราะติดกับปมเดิมจนมองไม่เห็นความต้องการที่ลูกมี หรือ เก็บกดไว้จากการถูกจิตปิดกั้นไม่รับรู้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดซ้ำรอยเดิมกับตอนเด็ก 

ในหนังสือเรียกกลไกปิดกั้นทางจิตนี้ว่า Shame Dynamic ซึ่งกลไกจะทำงานในจิตใจที่ฝังจำความบาดหมางที่มีต่อพ่อแม่ในวัยเด็กโดยการสร้างเกราะป้องกันไม่ให้ตัวเองรู้สึกอับอายที่ตนเองบกพร่อง จิตจะปิดกั้นเหตุการณ์ที่พ้องกับความบาดหมางในอดีต ทำให้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้วเกิดปัญหากระทบกระทั่งกับลูก พ่อแม่ก็จะหนีหรือเมินปัญหาที่มีกับลูกโดยอัตโนมัติ 

พ่อแม่ที่มีปมบาดแผลและถูกครอบงำด้วย Shame Dynamic ลึกๆ มักรู้สึกขายหน้า เสียเซลฟ์ คิดว่าตนเป็นพ่อแม่บกพร่องที่มีปากเสียงทะเลาะเบาะแว้งกับลูกหรือโดนลูกดื้อใส่ ชอบฟังเสียงคนรอบข้างมากเกินไปเพราะกลัวคนอื่นจะติงว่าเลี้ยงลูกผิด เวลาลูกร้องโยเยในห้างจะอับอายและแคร์สายตาคนอื่นว่าคิดกับตัวเองอย่างไร แทนที่จะพยายามทำความเข้าใจว่าลูกต้องการอะไร 

พ่อแม่กลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะดุลูกรุนแรงทันทีเพราะรู้สึกอาย ในกรณีที่ลูกดื้อรั้นมากๆ พ่อแม่บางบ้านอาจเกิดความรู้สึกกับตัวเองว่าเป็นพ่อแม่ไม่เอาไหนได้เช่นกัน ซึ่งต้องระวังว่าความคิดทำนองนี้อาจไปสะกิดแผลในวัยเด็กจนเกิดภาวะหมางเมินลูกจากกลไกปิดกั้นตนเองอย่างที่กล่าวมาได้

ปมบาดแผลของพ่อแม่ส่งผลอย่างไรถึงลูก

เมื่อผิดใจอย่างรุนแรงกับผู้ใหญ่ ลูกอาจรู้สึกคับข้องใจไปจนถึงรู้สึกหมดคุณค่าในตัวเองได้เลยทีเดียว

ยิ่งพ่อแม่ใช้อารมณ์บีบคั้นรุนแรง ความคับข้องใจจากความบาดหมางอาจพัฒนาสู่ภาวะเข้าสังคมไม่ได้เพราะคิดว่าตัวเองด้อยกว่าเพื่อนและปรับตัวยืดหยุ่นไม่เป็น นอกจากจะกลายเป็นบุคลิกติดตัวแล้ว การอยู่ในครอบครัวที่บาดหมางกันเป็นเวลานาน พัฒนาการทางจิตใจอาจพลอยได้รับความเสียหายไปด้วย

สถานะความสัมพันธ์กับลูกสังเกตดูได้ไม่ยาก ถ้าผิดปกติ สัญญาณมีให้เห็นตั้งแต่การปลีกตัวจากพ่อแม่ ไม่ปฏิสัมพันธ์ หลบสายตา หน้าบึ้งใส่ ไปจนถึงอาการก้าวร้าวไม่เคารพ บางกรณีอาจพูดคุยปกติแต่ทิ้งระยะห่างเหิน คุยแต่เรื่องจิปาถะไม่ลงลึกถึงความรู้สึกภายในระหว่างกันเลย ต่างฝ่ายต่างฟังแต่เสียงตัวเอง ยิ่งถ้าพ่อแม่มีปมเก่าแล้วไม่เคยทบทวนทำความเข้าใจกับตัวเองอย่างหมดจด ปล่อยให้ความห่างเหินกับลูกลุกลามเป็นความบาดหมางขั้นรุนแรง ความแตกแยกก็ยิ่งยากจะเยียวยา

กลไก Shame Dynamic จะถูกจิตใต้สำนึกสะกิดให้ทำงานทันทีที่สัมผัสถึงบรรยากาศคับข้องใจแบบเดิมๆ หรือเมื่อไหร่ก็ตามที่ตกอยู่ในสถานะที่รู้สึกไร้ค่าและถูกลิดรอนอำนาจ ถ้าลูกมีความขัดแย้งรุนแรงกับพ่อแม่โดยไม่ได้รับการคลี่คลาย ในอนาคตเขาจะเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่พร้อมทำซ้ำความบาดหมางเดิมอยู่ตลอดเพราะกลไกปิดกั้นนี้จะติดตัวไป การทบทวนตัวเองและคลี่คลายความบาดหมางที่มีกับเขาคือการตัดไฟแต่ต้นลม พ่อแม่จำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะสังเกตและหา Shame Dynamic ของตัวเองให้เจอเพื่อสร้างเส้นทางใหม่ไม่ซ้ำแผลเดิมและเพื่อทำความเข้าใจตัวเองมากขึ้น

เตรียมพร้อมก่อนสงบศึก

จะสงบศึกได้ พ่อแม่ต้องเป็นฝ่ายริเริ่มเปิดใจและปล่อยวางอารมณ์ที่มีลงเพื่อหันหน้าเข้าหาลูกแล้วปรับความเข้าใจกัน จุดเริ่มต้นคือการทำใจให้เป็นกลางที่สุด ถ้ายังบูดบึ้งแผ่รังสีมืดหม่นให้ลูกกลัวก็คงยากที่จะประสานรอยบาดหมางได้สนิท อุปสรรคส่วนใหญ่ที่ทำให้ปัญหาคาราคาซัง คือทิฐิที่คิดหมกมุ่นถึงต้นตอความผิดใจกันและโมเมนท์ที่โดนอีกฝ่ายสาดอารมณ์เข้าใส่ ยิ่งแล้วใหญ่ถ้าพ่อแม่บางคนทำแค่ “ปรับอารมณ์”  ทะเลาะกันรุนแรงแล้วทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เด็กจะยิ่งทับถมความรู้สึกห่างเหินไปเรื่อยๆ 

ทำใจให้เป็นกลางทำอย่างไร?

อันดับแรก ถอยกลับไปพิจารณาประเด็นปัญหาด้วยมุมมองของคนนอก ปลีกตัวมาใคร่ครวญเพียงลำพัง ปลงใจเสียก่อนว่าข้อพิพาทบางเรื่องต้องใช้เวลา อย่ากดดันว่าจะแก้ได้ทันที  ทั้งลูกและเราต่างต้องใช้เวลาจัดการความรู้สึก อย่าหมกมุ่นครุ่นคิดจนอ่อนล้า ทำใจให้สบายด้วยการหายใจให้ลึกๆ และหากิจกรรมผ่อนคลายตัวเอง วางทิฐิหรือความคิดเล็กคิดน้อยต่างๆ ลง

เมื่อจิตใจสงบและไตร่ตรองสถานการณ์รอบด้านดีแล้ว ค่อยคิดหาวิธีเข้าหาลูกและจังหวะเวลาที่เหมาะๆ ใช้ความสุขุมเยือกเย็นเป็นกำลัง อย่าใจร้อนเข้าหาลูกหรือแม้แต่สัมผัสเขาขณะพลุ่งพล่านถ้าไม่แน่ใจว่าจะคุมอารมณ์ได้  ถ้าโมโหและทะเลาะกันอีกระหว่างปรับความเข้าใจ ปัญหาจะยิ่งบานปลายซับซ้อนเกินแก้ไขกว่าเดิม 

คำถามที่พ่อแม่ต้องใคร่ครวญและตอบให้ได้คือ

  • เรารู้สึกคับข้องใจกับการเลี้ยงดูของพ่อแม่ในอดีตหรือมีความบาดหมางใดติดค้างอยู่บ้างหรือเปล่า
  • ความสัมพันธ์ที่มีกับลูกในตอนนี้สะท้อนปมในใจอย่างไร 
  • การกระทำใดของลูกที่กระตุ้นให้เราตอบโต้ด้วยความรุนแรงอย่างขาดสติ

พิจารณาความรู้สึกทั้งของตัวเองและจากมุมมองของลูกว่าเขาต้องเผชิญกับอะไรระหว่างความบาดหมางนี้ อย่าลืมว่าเขาอ่อนแอและเปราะบางมากแค่ไหน ความรู้สึกที่ลูกกำลังประสบอาจน่ากลัวและหนักหนากว่าที่เราคิด ยิ่งเด็กเล็ก แรงทนทานต่อความอ้างว้างและการถูกเมินเฉยจากผู้ใหญ่ยิ่งไม่มี พ่อแม่จึงไม่ควรปล่อยให้ภาวะมึนตึงกินเวลานานเด็ดขาด

How to ง้อ: วิธีคลี่คลายความขัดแย้งที่พ่อแม่เป็นคนเริ่มก่อน 

ระลึกเสมอว่าเด็กไม่สามารถฟื้นความสัมพันธ์เองได้ถ้าพ่อแม่ไม่เป็นฝ่ายเริ่ม หนทางประสานรอยบาดหมางที่ดีที่สุดคือ ความเข้าใจทั้งตนเองและความรู้สึกนึกคิดของลูก อาจารย์ฮาร์ทเซลแนะนำไว้คร่าวๆ ดังนี้

1.  เริ่มด้วยการพูดเปิดอกกับลูก “ตอนเราทะเลาะกันมีแต่ความอึดอัดใจ พ่อกับแม่อยากปรับความเข้าใจกับลูกนะ มานั่งคุยให้เข้าใจกันเถอะ”  ระหว่างปรับความเข้าใจให้เลือกนั่งในระดับเดียวกับเขาเพื่อสบตาและส่งผ่านความใกล้ชิด (เด็กโตอาจต้องให้ระยะห่างสักเล็กน้อยก่อน) 

2. ใช้โอกาสนี้สังเกตเรียนรู้ลักษณะนิสัยที่เขาเป็นระหว่างปรับความเข้าใจ มีเมตตาให้เยอะ ให้เวลาเขาจัดการความรู้สึกถ้าเขายังไม่พร้อม เลี่ยงคำพูดทำร้ายจิตใจ การบีบคั้นให้พูด ตัดสินคำตอบ ไม่กล่าวโทษแม้เขาจะกวนโมโห ไม่ตอบโต้แม้ลูกจะกล่าวโทษ รับฟังอย่างเข้าอกเข้าใจแล้วพูดทวนมุมมองและสิ่งที่เขารู้สึก

3. พูดถึงเหตุการณ์ต้นตอความผิดใจกันโดยเอ่ยถึงอารมณ์ของกันและกัน พูดถึงคำต่อว่าต่อขานที่เกิดขึ้น และอธิบายให้เขารู้ว่าบางครั้งผู้ใหญ่ก็อาจเผลอฟิวส์ขาดได้ ให้ลูกรู้ว่าการทะเลาะมีปากเสียงกันเป็นเรื่องปกติธรรมดาของการอยู่ร่วมกัน เราสามารถแก้ไขปรับจูนความสัมพันธ์กันได้เสมอ

วัยและพื้นนิสัยของเด็กมีผลต่อวิธีที่เขาใช้รับมือกับความบาดหมาง เด็กเล็กจะยังไม่สามารถรับมือความสัมพันธ์ลบได้เลย โตมาหน่อยเป็นวัยก่อนเข้าเรียนจะตอบโต้ความขัดแย้งกับพ่อแม่ด้วยการเรียกร้องยิ่งกว่าเดิม เพราะสิ่งที่วัยนี้ต้องการมากที่สุดคือสัมผัสอ่อนโยนทางกายและภาษาสัญญาณจากพ่อแม่ว่าแคร์เขาเต็มที่ ในขณะที่เด็กโตจะรับมือความขัดแย้งและเปิดรับคำอธิบายได้มากกว่า 

ถ้าลูกอยู่ในวัยอนุบาล พ่อแม่อาจใช้วิธีเล่นติ๊ต่างด้วยตุ๊กตา ทำเป็นตัวละครสมมติ เล่านิทานหรือวาดรูปมาง้อลูกให้เปิดใจ เด็กโตจำเป็นต้องมีการพูดคุยปรับความเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและทบทวนความรู้สึกที่เขามีต่อพ่อแม่เป็นกิจจะลักษณะเพื่อหาจุดแก้ไขที่เหมาะสมร่วมกัน

ประสบการณ์สติขาดผึงใส่ลูกและการคลี่คลายความบาดหมาง

คุณหมอซีเกลเองก็มีประสบการณ์การทะเลาะผิดใจกับลูกชายวัยรุ่นในร้านขายของเล่นครั้งหนึ่งเพราะเผลอฟิวส์ขาดจากคำพูดของลูก คุณหมอแชร์เรื่องราวและวิธีปรับความเข้าใจไว้ตอนหนึ่งในหนังสือว่า…


ผมเคยสัญญากับลูกชายว่าจะพาเขาไปซื้ออุปกรณ์เล่นเกมชิ้นใหม่ ปรากฏว่าช่วงเวลาที่ว่างเพียงช่วงเดียวในสัปดาห์ที่พาเขาไปนั้น ดันมีนัดประชุมสำคัญพอดี แปลว่าผมกับลูกต้องซื้อของให้เสร็จภายในครึ่งชั่วโมง กระชั้นชิดมาก แต่ผมคิดว่ายังไงก็ดีกว่าผิดสัญญากับลูก ด้วยความรีบ เราจึงงดมื้อเที่ยงเพื่อไปที่ร้านเลย ลูกหยิบของที่ต้องการราคายี่สิบเหรียญได้แล้วแต่ช่วงคิดเงิน เขาดันหันไปเจอเกมเบสบอลราคาแพงที่เพิ่งออกใหม่แล้วเกิดอยากได้ ผมไม่ได้เตรียมใจและเงินมาซื้อของชิ้นที่สองจึงปฏิเสธเขาทันที แต่ลูกก็เถียงว่าเขามีเงินเก็บอยู่หกสิบห้าเหรียญอยู่ที่บ้าน เขาแค่ขอให้ผมออกเงินให้เขาก่อนแล้วจะคืนให้ทีหลัง ผมปรามเขาให้เลือกเกมส์ที่ราคาถูกกว่า 

สุดท้ายเราทุ่มเถียงกันเรื่องค่าของเงินจนเลยเถิดไปเทศนาเขาว่าอย่าเอาตามอย่างเพื่อนมากนัก ตอนนั้นหงุดหงิดอยู่เป็นทุนเพราะทั้งหิวและห่วงนัดสำคัญ  คิดว่าเขาได้คืบจะเอาศอกจึงบ่นว่าอเมริกันชนเป็นพวกบ้าวัตถุไปกันหมดจนเด็กเสียคน

“เกมสี่สิบเหรียญไม่ใช่ถูกนะ ลูกควรวางแผนก่อนที่จะปุบปับซื้อ พอใจสิ่งที่ตัวเองมีสิ จะซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้าไม่ได้หรอก กลับไปคิดดูก่อนถ้าอยากซื้อ อาทิตย์หน้ากำเงินกลับมายังทัน ไว้พ่อพามา” 

“ตอนนี้ผมก็มีเงินอยู่แล้วแค่ไม่ได้เอามา นี่ก็คิดมาแล้ว เงินเก็บผมเองนะ พ่อจะมาห้ามไม่ได้”

“พ่อไม่ซื้อให้ เราต้องไปกันแล้ว”

“ได้ ไว้เดี๋ยวถึงบ้านผมจะบอกให้แม่พามานี่แล้วซื้อให้” 

“แม่เค้าไม่พามาหรอก”

“พามาแน่ แม่เป็นใหญ่ในบ้าน ไม่ใช่พ่อ แม่พาผมมาแน่”

“หยุดเลย ไม่ต้องไปบอกแม่ให้เขาวุ่นวายพามา”

“ผมจะบอก แม่พาผมมาแน่”

“เลิกเถียง ไม่งั้นลูกก็จะไม่ได้ไอ้ที่เราตั้งใจถ่อมาซื้อด้วยกัน”

“ผมจะบอกแม่ว่าพ่อใจร้าย แม่เค้าไม่ทำแบบพ่อหรอก”

“ถ้ายังไม่หยุด อย่าหวังว่าจะได้ไอ้นี่กลับบ้านเลย”

“เอาเลย ผมให้แม่ซื้อให้ก็ได้”

ผมหมดความอดทน โยนกล่องอุปกรณ์ลงเคาน์เตอร์ดังโครมก่อนจะลากลูกชายขึ้นรถ ระหว่างทางลูกร้องไห้พร้อมต่อว่าต่อขานว่าผมเป็นพ่อที่เอาแต่อารมณ์ ขู่ว่าวันหน้าเขาจะเอาคืนผมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ได้ยินแบบนั้นผมฉุดอารมณ์ไม่อยู่ จึงด่าว่าเขารุนแรงและสั่งให้เขางดเล่นเกมสิบเดือน

พอถึงบ้าน อย่างแรกเลย เขาวิ่งไปฟ้องแม่ว่าผมดุด่าเขายังไงบ้าง พอผมเสร็จธุระในเย็นนั้น จึงได้สงบสติอารมณ์ในห้องและใช้เวลาพักใหญ่ใคร่ครวญถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ผมทะเลาะกับลูกครั้งใหญ่ทั้งที่เมื่อเช้าเรายังหยอกล้อกันสนุกสนานและวางแผนจะไปซื้อเกมที่ร้านของเล่นด้วยกัน สีหน้าตอนลูกบอกว่าอยากได้เกมเบสบอลออกใหม่นั้น ตาเขาเป็นประกายด้วยความตื่นเต้น เขาบอกผมว่าจะสอนให้ผมเล่นกับเขาด้วย แต่ตอนนั้นผมมัวแต่กังวลเรื่องประชุมและคิดว่าแค่พาเขาไปที่ร้านได้ทันเวลาก็ดีถมแล้ว ส่วนที่เขาบอกว่าจะซื้อเกมด้วยเงินของเขาเอง ผมก็ไม่เข้าใจตัวเองว่าทำไมถึงต้องห้ามปรามเขาเสียขนาดนั้น ผมระลึกได้ในที่สุดว่าตัวเองฟิวส์ขาดตอนที่เขาพาดพิงถึงแม่เพื่อเอาชนะผม ตอนนั้นผมไม่สนใจว่าลูกรู้สึกยังไงอีกต่อไป เห็นเขาเป็นเด็กอวดดีได้คืบจะเอาศอก ซึ่งถ้าอธิบายด้วยหลักข้างต้นคือ ผมกับลูกเสียความควบคุมเพราะคันเร่งกับเบรกในหัวทำงานพร้อมกัน (อารมณ์เตลิดเพราะถูกอีกฝ่ายต่อต้าน) 

เมื่อผมนั่งทบทวนจนเข้าใจตัวเองและสถานการณ์อย่างรอบด้านแล้ว ผมก็ไปเคาะห้องเขาแล้วเข้าไปนั่งลงข้างเตียงที่เขากำลังร้องไห้ ผมเริ่มเป็นฝ่ายเอ่ยขอโทษเขา เขาเมินหน้าหนีในตอนแรก ผมจึงบอกเขาว่าพ่ออยากปรับความเข้าใจกับเขา บอกว่าเรื่องที่ร้านนั้นพ่อเป็นฝ่ายผิดเอง เขาบอกว่าเขาอยากได้เกมเบสบอลมานานแล้วเพียงแต่ผมไม่รู้ เขาโกรธที่ผมห้ามไม่ให้เขาซื้อทั้งที่เป็นเงินเขา ผมจึงเล่าความกังวลเรื่องประชุมให้เขาฟังและเรื่องที่ว่าผมเองก็โมโหหิวด้วย ตอนนี้ผมเข้าใจแล้วว่าเขาอยากได้เกมและวางแผนไว้มาตลอด แต่ผมหมกมุ่นกับตัวเองจนมองไม่เห็นความตื่นเต้นของเขา 

ผมกอดและขอโทษที่พูดจาแย่ๆ และขาดสติ ผมเข้าใจและจะเคารพสิทธิเรื่องการใช้เงินของเขาต่อจากนี้ จากนั้นผมอธิบายว่าการที่เขาอ้างถึงแม่ นี่คือการล้ำเส้นที่ทำให้ผมฟิวส์ขาด เรากอดกัน หลังจากนั้นผมกับภรรยาหารือกันว่าเราจะพาเขาไปซื้อเกมอาทิตย์หน้าแล้วเราก็พูดคุยเรื่องที่ทะเลาะกันพร้อมหน้าอีกครั้งทั้งครอบครัว ผมกับลูกเล่าความรู้สึกในวันนั้นกันอย่างออกรสชาติให้ได้เสียน้ำตาอีกเล็กน้อย แล้วเราก็หัวเราะใส่กันเพราะต่างฝ่ายต่างเลียนแบบท่าทางของอีกฝ่ายตอนโกรธกันสนุกสนาน 


คุณหมอซีเกลและอาจารย์ฮาร์ทเซลย้ำว่าสิ่งสำคัญอันดับหนึ่งที่พ่อแม่ทุกคนจำเป็นต้องมีอยู่เสมอคือ “สติ” และ “ความรับผิดชอบในหน้าที่พ่อแม่” ซึ่งหมายถึงการรู้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึกและการกระทำตนเองให้ได้ เห็นสาเหตุปัจจัยที่นำไปสู่เรื่องผิดใจกับลูกอย่างรอบด้านให้ได้ และพร้อมไตร่ตรองหาวิธีแก้ไขโดยไม่มีทิฐิว่าใครเป็นคนผิดหรือเริ่มความขัดแย้ง พ่อแม่ต้องเป็นฝ่ายหันหน้าเข้าหาลูกโดยไม่มีข้อแม้เพื่อประสานข้อบาดหมางให้แล้วแก่ใจกันทั้งสองฝ่าย ไม่ปล่อยผ่านจนรอยร้าวลุกลามสู่ความแตกแยกในอนาคต 

รองลงมาคือ ต้องมีเมตตาต่อตัวเองและพร้อมเข้าใจทุกความรู้สึกลบที่เกิดขึ้นระหว่างการเลี้ยงลูก เช่น เครียด ท้อแท้ที่เขาดื้อไม่หยุด โทษตัวเองที่รู้สึกแย่กับเขาหรือรู้สึกผิดที่เผลอตวาด ทุบตีใช้อารมณ์ลงไป เพราะหากไร้ซึ่งความเมตตาต่อตนเอง จมกับความรู้สึกผิดหรือโทษตัวเองว่าเป็นพ่อแม่ที่ไม่ดีตลอดเวลา สิ่งที่ตามมาคือจิตใจจะถอยห่างจากความสัมพันธ์โดยอัตโนมัติ ผู้ใหญ่จะยิ่งมีช่องว่างในใจกับลูกมากขึ้น ความห่างเหินจะยิ่งทำให้สายสัมพันธ์ย่ำแย่ลงไปอีก 

จงปล่อยวางในการเลี้ยงลูกและรักตัวเองให้เป็นด้วย ทบทวนทำความเข้าใจและยอมรับในตัวเองให้ได้ก่อน จากนั้นค่อยๆ เรียนรู้และก้าวไปพร้อมกับเขาด้วยการหันหน้าเข้าหากัน พยายามเข้าใจเขาในแบบที่เขาเป็น หมั่นใช้อารมณ์ขันกับเสียงหัวเราะเป็นยาใจ อย่าปล่อยให้การทะเลาะผิดใจกันหยุมหยิมธรรมดาล่วงเลยและทับถมเป็นชนวนให้เกิดความห่างเหินกับลูก พ่อแม่ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบเยียวยาสมานความสัมพันธ์ให้กลับมาดีดังเดิม ทบทวนตัวเองและความรู้สึกของลูกควบคู่กันเสมอ เปิดใจยอมรับผิดให้ได้เมื่อทำพลาด และหมั่นแบ่งปันความคิด อารมณ์ความรู้สึกระหว่างกันในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ คือหนทางช่วยกระชับความสัมพันธ์และสร้างความอบอุ่นไว้ใจขึ้นดังเดิม

อ้างอิงจาก
Daniel J. Siegel, M. a. (2004). How We Disconnect and Reconnect: Rupture and Repair. In Parenting from the Inside Out (pp. 213-253). New York: tarcherperigee.

Tags:

แบบแผนทางความสัมพันธ์Parenting from the Inside OutAdolescent Brainวิทยาศาสตร์สมองสุขภาพจิตพ่อแม่จิตวิทยา

Author:

illustrator

บุญชนก ธรรมวงศา

จบภาษาและการสื่อสาร เคยผ่านงานบริษัทออแกไนซ์ เปิดคลินิก ไปจนเป็นเลขาซีอีโอ หลังค้นพบและติดใจโลกนอกระบบตอกบัตร จึงแปลงร่างเป็นนักเขียน นักแปลและนักพยากรณ์ไพ่ ขี้โวยวายเป็นนิสัยที่อยากแก้ไขแต่ทำยังไงก็ไม่หาย ปัจจุบันกำลังเข้าใกล้ Midlife Crisis และหวังจะข้ามผ่านได้ด้วยวิถี “ช่างแม่ง”

Illustrator:

illustrator

เพชรลัดดา แก้วจีน

นักวาดภาพประกอบอิสระ มีความสนใจปรากฏการณ์ต่างๆในสังคม ชอบสังเกตผู้คน เขียนบันทึก และอ่านหนังสือ ยามว่างมักใช้เวลาไปกับการดริปกาแฟและเล่นกับแมว

Related Posts

  • Family Psychology
    ความขัดแย้ง และวิธีสงบศึกกับลูกด้วยดี ตอน 2

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา ภาพ เพชรลัดดา แก้วจีน

  • Family Psychology
    ความขัดแย้ง และวิธีสงบศึกกับลูกด้วยดี ตอน 1

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา ภาพ เพชรลัดดา แก้วจีน

  • Healing the traumaFamily Psychology
    ไม่เป็นไรถ้าจะมีวัยเด็กที่เจ็บช้ำ เรียนรู้จากมันเพื่อเป็นพ่อแม่ที่มั่นคงทางใจได้

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา ภาพ บัว คำดี

  • Family Psychology
    เล่าเรื่องอย่างใส่ใจใคร่ครวญ: พ่อแม่เข้าใจตัวเองมากเท่าไหร่ ยิ่งเข้าใจลูกมากเท่านั้น

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Healing the traumaFamily Psychology
    เปิดลิ้นชักความทรงจำพ่อแม่ สะสางปมเลวร้าย เลี้ยงลูกด้วยหัวใจที่เป็นมนุษย์

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา ภาพ บัว คำดี

การศึกษาพื้นฐานในยุคโควิด-19: จะเปิด-ปิดโรงเรียนอย่างไร?
Social Issues
8 May 2020

การศึกษาพื้นฐานในยุคโควิด-19: จะเปิด-ปิดโรงเรียนอย่างไร?

เรื่อง ภาพ เพชรลัดดา แก้วจีน

  • มาตรการที่หลายประเทศใช้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโควิด-19 คือ มาตรการกึ่งปิดเมืองและการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้โรงเรียนต้องถูกปิดไปด้วย แต่มีงานวิจัยที่ศึกษาผลของการปิดโรงเรียนเมื่อครั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส SARs รายงานว่า การปิดโรงเรียนอย่างเดียวส่งผลน้อยมากต่อการลดจำนวนของผู้ติดเชื้อ เมื่อเทียบกับมาตรการอื่น
  • ในสถานการณ์เช่นนี้ การเรียนทางไกลเป็นมาตรการหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ แต่เพื่อป้องกันไม่ให้มีเด็กเสียโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา รัฐบาลควรสำรวจความพร้อมของครัวเรือนเด็ก และมีมาตรการที่หลากหลายเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าถึงการเรียนทางไกลของเด็กที่มีสภาพความขาดแคลนแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีมาตรการอื่นๆ ที่รัฐบาลสามารถทำได้ เช่น พิจารณาเปิดโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ๆ ไม่มีผู้ติดเชื้อมาแล้ว 2 สัปดาห์ จัดห้องเรียนให้ปลอดภัยด้วยการเว้นระยะห่างระหว่างนักเรียนและครู
  • บทความโดย พงศ์ทัศ วนิชานันท์ นักวิจัยด้านนโยบายด้านการปฏิรูปการศึกษา หนึ่งในบทความชุด TDRI Policy Series on Fighting Covid-19
เรื่อง: พงศ์ทัศ วนิชานันท์

การระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ส่งผลต่อระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เชื้อไวรัสเริ่มระบาดในประเทศจีนปลายปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน UNESCO รายงานว่ารัฐบาล 191 ประเทศทั่วโลก ประกาศปิดสถานศึกษาทั้งประเทศ มีผู้เรียนได้รับผลกระทบกว่า 1.5 พันล้านคน (มากกว่าร้อยละ 90 ของผู้เรียนทั้งหมด)

สำหรับประเทศไทยสถานการณ์การระบาดเกิดขึ้นในช่วงสถานศึกษาขั้นพื้นฐานปิดภาคเรียน โดยในช่วงต้นเดือนเมษายน  คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เลื่อนวันเปิดเทอมภาคเรียนที่ 1 ไปเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ไทยจึงมีโอกาสทบทวนบทเรียนจากต่างประเทศเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่สอดรับกับมาตรการป้องกันการระบาด พร้อมกับเตรียมมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เรียนได้รับผลกระทบจากรูปแบบการเรียนที่เปลี่ยนไป

บทความโดย พงศ์ทัศ วนิชานันท์ นักวิจัยด้านนโยบายด้านการปฏิรูปการศึกษา หนึ่งในบทความชุด TDRI Policy Series on Fighting Covid-19

สิ่งแรกที่รัฐต้องตัดสินใจ คือ การเปิด-ปิดโรงเรียน แต่ผลของการปิดโรงเรียนอาจได้ไม่คุ้มเสีย

มาตรการเร่งด่วนที่รัฐบาลหลายประเทศใช้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสคือ มาตรการกึ่งปิดเมือง (Semi-lockdown) และมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)  โรงเรียนจึงจำเป็นต้องถูกปิดไปด้วยเพื่อลดช่องทางการแพร่เชื้อไวรัส  อย่างไรก็ตามงานวิจัยศึกษาผลของการปิดโรงเรียนในประเทศจีน ฮ่องกง และสิงคโปร์ ประกอบกับบทเรียนในอดีตจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส SARs บ่งชี้ว่า การปิดโรงเรียนอย่างเดียวส่งผลน้อยมากต่อการลดจำนวนของผู้ติดเชื้อ เมื่อเทียบกับมาตรการอื่น

นอกจากนี้ธนาคารโลกยังแสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ปิดโรงเรียนว่า จะส่งผลให้นักเรียนส่วนใหญ่เสียโอกาสในการเรียนรู้ โดยเฉพาะนักเรียนในครอบครัวที่มีฐานะยากจน  เนื่องจากไม่มีรายได้มากพอที่จะนำมาใช้สนับสนุนการเรียนของบุตรหลานเพิ่มเติม ที่ร้ายแรงที่สุดการปิดโรงเรียนอาจผลักให้นักเรียนกลุ่มนี้หลุดออกจากระบบการศึกษา ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียต่อชีวิตเด็กในระยะยาว ดังนั้น สิ่งที่จำเป็นคือการวางแนวทางเปิดโรงเรียนเพื่อให้เด็กได้ไปโรงเรียนอีกครั้ง โดยให้สอดคล้องกับความรุนแรงของสถานการณ์ ควบคู่กับการใช้มาตรการทางด้านสาธารณสุขและมาตรการทางสังคมอย่างเคร่งครัดในโรงเรียน

หากต้องปิดโรงเรียน เรียนทางไกลแก้ปัญหาได้ แต่รัฐควรดูแลเด็กยากจนเป็นพิเศษ

ช่วงการระบาดของโควิด-19 หลายประเทศใช้วิธีการสอนทางไกล ไม่ว่าจะเป็นการสอนออนไลน์ผ่าน Massive Open Online Courseware (MOOC) หรือแอปพลิเคชันที่ช่วยให้ครูสอนในห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หรือใช้การถ่ายทอดการสอนผ่านสัญญาณโทรทัศน์ เพื่อให้เด็กเรียนต่อที่บ้านได้ขณะปิดโรงเรียน แต่การใช้วิธีดังกล่าวทำให้เด็กบางกลุ่มโดยเฉพาะเด็กในครอบครัวที่มีฐานะยากจนเสียเปรียบ เพราะไม่มีอุปกรณ์ดิจิทัลที่บ้าน นอกจากนี้ ในการเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เด็กจำเป็นต้องได้รับการเอาใจใส่ การเรียนที่บ้านจึงเป็นการผลักภาระให้ผู้ปกครอง อาจทำให้เหลื่อมล้ำทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้นหากผู้ปกครองไม่มีความพร้อมในการช่วยเหลือบุตรหลานของตนในการเรียน

เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กที่ไม่มีความพร้อมเสียโอกาส รัฐบาลของหลายประเทศได้จัดหาอุปกรณ์การเรียนให้แก่เด็กกลุ่มดังกล่าว เช่น รัฐบาลฮ่องกงให้โรงเรียนสำรวจความพร้อมนักเรียน และจัดหาคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนยืมเรียน รัฐนิวยอร์กเตรียม iPad พร้อมอินเทอร์เน็ตให้นักเรียนยืมกว่า 3 แสนเครื่อง และรัฐแคลิฟอร์เนียร่วมมือกับบริษัท Google จัดหา Chromebooks และ Mobile Hotspot ให้นักเรียน รวมทั้งออกคู่มือให้ผู้ปกครองสามารถช่วยเหลือเด็กในการใช้อุปกรณ์

ประเทศไทยยังมีข้อจำกัดในการเรียนทางไกลค่อนข้างสูง ข้อมูลของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) บ่งชี้ว่า สัดส่วนของครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้ว นอกจากนี้ การสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติยังสะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้ำสูงในการเข้าถึงอุปกรณ์ดิจิทัล โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีฐานะยากจน และครัวเรือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีนักเรียนกว่า 8 หมื่นคน อยู่ในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง  ดังนั้น รัฐบาลต้องสำรวจความพร้อมของครัวเรือนเด็ก และมีมาตรการที่หลากหลายเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าถึงการเรียนทางไกลของเด็กที่มีสภาพความขาดแคลนแตกต่างกัน

มาตรการรับมือโควิด-19 ฉบับภาคการศึกษา

จากบทเรียนข้างต้น รัฐบาลไทยควรมีมาตรการเปิด-ปิดโรงเรียนให้สอดรับกับความรุนแรงของการระบาดของโรค มีความยืดหยุ่นในแต่ละพื้นที่ และใช้มาตรการด้านอื่นควบคู่ในกรณีเปิดโรงเรียน นอกจากนี้ ควรเร่งสำรวจความพร้อมในการเข้าถึงการเรียนทางไกลของเด็ก เพื่อเตรียมอุปกรณ์หรือสื่อการเรียนให้เหมาะสมกับบริบทของครอบครัวเด็กที่แตกต่างกัน โดยดำเนินการ 6 ประการ ดังนี้

1.กำหนดมาตรการเปิด-ปิดโรงเรียนให้สอดคล้อง และยืดหยุ่นตามความรุนแรงของการระบาดของไวรัส โควิด-19

โดยวางแนวทางให้ พื้นที่ที่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่อย่างต่อเนื่องในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ต้องปิดโรงเรียน และให้เด็กเรียนทางไกลที่บ้านจนสถานการณ์ลดความรุนแรงลงจนสามารถกลับมาเปิดโรงเรียนได้   

ในกรณีพื้นที่ที่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ประปราย หรือไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ให้พิจารณาเปิดโรงเรียนได้ภายใต้ข้อจำกัดความพร้อมของห้องเรียน และความพร้อมในการเรียนทางไกลของเด็ก ทั้งนี้ควรกำหนดให้แนวทางการเปิด-ปิดโรงเรียนยืดหยุ่นตามสถานการณ์ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทั้งในกรณีที่สถานการณ์ระบาดรุนแรงขึ้น และสถานการณ์ผ่อนคลายลง

2.ปรับปรุงห้องเรียนให้เป็น “ห้องเรียนปลอดภัย ห่างไกล โควิด-19” โดยกำหนดแนวทางให้โรงเรียนทุกแห่งสำรวจความพร้อมของห้องเรียน

โดยกระทรวงศึกษาธิการ ควรประสานงานกับหน่วยงานที่เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยากำหนดลักษณะของห้องเรียนที่เหมาะสม เช่น จัดระยะห่างระหว่างนักเรียนอย่างน้อย 1 เมตร และมีอากาศหมุนเวียนอย่างน้อย 10 เท่าของปริมาณอากาศในห้องเรียน เป็นต้น เพื่อให้โรงเรียนทุกแห่งประเมินความพร้อมด้านกายภายของตน ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการควรสื่อสารอย่างชัดเจน โดยกำหนดแนวทางที่อิงกับแบบแปลนอาคารเรียนมาตรฐาน หรือในกรณีที่โรงเรียนไม่ได้ใช้แบบแปลนมาตรฐาน ควรแจ้งให้โรงเรียนทราบถึงมาตรฐานของการระบายอากาศอย่างชัดเจน

3.สำรวจความพร้อมการเรียนทางไกลของเด็ก เพื่อประเมินความเสี่ยง

กระทรวงศึกษาธิการ หรือหน่วยงานต้นสังกัดโรงเรียน ควรประสานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลพื้นฐานครัวเรือนนักเรียนมาบูรณาการร่วมกันเพื่อจัดกลุ่มตามระดับความเสี่ยงในการเข้าถึงการเรียนทางไกล โดยแบ่งเด็กเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีความพร้อม ได้แก่ เด็กมีอุปกรณ์ดิจิทัลพร้อมอินเทอร์เน็ตที่บ้าน กลุ่มที่มีความเสี่ยง ได้แก่ เด็กที่ไม่มีอุปกรณ์ดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตที่บ้าน แต่เข้าถึงไฟฟ้าได้ และกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ เด็กที่ไม่มีอุปกรณ์ดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตที่บ้าน และไม่มีไฟฟ้าใช้  ทั้งนี้ ควรใช้ข้อมูลเพื่อประเมินความพร้อมของผู้ปกครองด้วย เช่น เป็นเด็กอยู่กับพ่อแม่หรือไม่ เพื่อวางแผนให้การสนับสนุนเพิ่มเติมแก่ครอบครัวที่ผู้ปกครองไม่พร้อมสนับสนุนบุตรหลานในกรณีที่ต้องเรียนที่บ้าน

ในกรณีพื้นที่ที่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ประปราย และพื้นที่ที่ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา โรงเรียนควรเปิดการเรียนการสอนตามปกติ หากมีห้องเรียนพร้อมรองรับนักเรียนทุกคน โดยยังสามารถรักษาระยะห่างได้  ส่วนโรงเรียนที่ไม่สามารถจัดชั้นเรียนตามมาตรฐานรักษาระยะห่างที่ปลอดภัยได้ ควรใช้วิธีการสอนในโรงเรียนตามปกติผสมกับการสอนทางไกล เช่น โรงเรียนประถมศึกษาหรือขยายโอกาส ให้นักเรียนอนุบาลหรือในช่วงชั้นที่ 1 (ป.1 ถึง ป.3) มาเรียนที่โรงเรียนตามปกติ  แต่ให้นักเรียนระดับ ป.4 ขึ้นไปเรียนที่บ้าน   ส่วนโรงเรียนมัธยม ครูอาจประเมินนักเรียนตามผลการเรียน (เช่น คะแนนสอบ หรือพฤติกรรม เป็นต้น) แล้วให้เด็กที่จำเป็นต้องดูแลใกล้ชิดมาเรียนตามปกติ นอกจากนั้นให้เรียนที่บ้าน เป็นต้น

4.จัดเตรียมอุปกรณ์ให้แก่นักเรียนที่มีความเสี่ยงที่จะเสียโอกาสจากการเรียนทางไกล

ในกรณีโรงเรียนต้องปิดเพราะพื้นที่มีการระบาดรุนแรง หรือโรงเรียนที่ไม่สามารถจัดชั้นเรียนในห้องเรียนแก่เด็กทุกคนได้ กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานต้นสังกัดควรจัดเตรียมอุปกรณ์ รวมทั้งสื่อการเรียนการสอนแก่เด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น จัดเตรียมแท็บเล็ต (Tablet) พร้อมเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ให้ยืมเรียน แก่เด็กที่ขาดแคลนอุปกรณ์ที่บ้าน แต่สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้ เพื่อให้เด็กสามารถเรียนออนไลน์ได้ และจัดเตรียม “สื่อแห้ง” ในรูปชุดสื่อการเรียนรู้ (Learning Packages) สำหรับเด็กที่บ้านไม่มีไฟฟ้าใช้ เป็นต้น

5.ใช้มาตรการทางสาธารณสุข และมาตรการทางสังคมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ในโรงเรียนที่เปิดการเรียนการสอน

ในกรณีที่โรงเรียนสามารถจัดการสอนได้ หรือใช้การสอนแบบผสม ควรบังคับใช้มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดตาม “แนวทางปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (Covid-19)” ที่กำหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับองค์กร UNICEF อย่างเคร่งครัด เช่น ไม่ให้นักเรียน ครู หรือเจ้าหน้าที่ที่เจ็บป่วยมาโรงเรียน กำหนดให้มีการล้างมือด้วยสบู่เป็นประจำ และรณรงค์ส่งเสริมให้สวมใส่หน้ากากอนามัย เป็นต้น

6.สื่อสารให้ผู้ปกครองทราบความจำเป็นของมาตรการเปิด-ปิดโรงเรียน รวมทั้งให้คู่มือสนับสนุนเด็กสำหรับการเรียนทางไกล

โดยให้ผู้ปกครองทราบว่ารัฐบาลมีแนวทางการเปิด-ปิดโรงเรียน อย่างไร เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถประเมินสถานการณ์ในอนาคตได้  นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการควรจัดทำคู่มือสำหรับผู้ปกครองสำหรับสนับสนุนบุตรหลานในกรณีเรียนที่บ้าน เช่น วิธีการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลเพื่อเรียนออนไลน์ แนวทางแก้ปัญหาเบื้องต้น หรือ คู่มือการใช้สื่อการเรียนรู้ เป็นต้น

การเปิด-ปิดโรงเรียนเป็นเพียงมาตรการหนึ่งเพื่อตอบโจทย์ “การศึกษาต้องปรับตัวอย่างไรในช่วงสถานการณ์ โควิด-19” เพื่อให้เด็กกลับมาเรียนตามปกติให้ได้เร็วที่สุดเท่านั้น  แต่จะทำอย่างไรให้เด็กสามารถเรียนได้อย่างต่อเนื่องในสถานการณ์ที่อาจต้องเรียนที่บ้านช่วงหนึ่ง แล้วสลับกลับมาเรียนตามปกติภายหลังสถานการณ์ระบาดลดความรุนแรงลง  รวมทั้งระบบการศึกษาทั้งระบบจำเป็นต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับรูปแบบที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะกระบวนการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะกล่าวถึงใน “TDRI Policy Series on Fighting Covid-19” สำหรับการศึกษาไทยในบทความต่อไป

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ “TDRI Policy Series on Fighting Covid-19” สามารถอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ตารางด้านล่าง

ลำดับบทความ / บทวิเคราะห์
1รัฐต้องทุ่มเททรัพยากรเพื่อแก้วิกฤตการณ์โควิด-19 และลดความเดือดร้อนของประชาชนให้ครอบคลุมและตรงจุด
2Fit-to-fly ไม่ช่วยกันโควิด-19 ซ้ำเพิ่มภาระคนไทยในต่างแดน
3ระวังความรุนแรงในโรคระบาด เมื่อ “บ้าน” อาจไม่ใช่ที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
4เราไม่ทิ้งกัน แต่มาตรการช่วยเหลือแรงงานนอกระบบรอบแรก รัฐทิ้งใครไว้เบื้องหลังหรือไม่?
5เปิดเมืองอย่างไรให้เศรษฐกิจขยับและคุมการระบาดได้
6แลไปข้างหน้า: ชีวิต (ใหม่?) ของคนไทยหลัง 30 เมษา 63
7ครัวเรือนเกษตร เมื่อไรจะได้รับการเยียวยา? ฝ่ามรสุมราคาพืชผลตกต่ำ ภัยแล้งและโควิด-19
8วิกฤตโควิด-19 รัฐต้องเร่งลดช่องว่างดิจิทัล เพื่อความเท่าเทียมในห้องเรียนออนไลน์
9ประสบการณ์ต่างประเทศของการระบาดและมาตรการคุมการระบาดไวรัสโควิด-19: 5 ข้อสังเกต 4 บทเรียน 3 ความสำเร็จ 2 จุดเปลี่ยน 1 เปิดเมือง
10ฮาวทูทิ้ง: ทิ้งหน้ากากอนามัยอย่างไรให้ปลอดภัยกับสังคมและสิ่งแวดล้อม
11ทำอย่างไรให้แรงงานต่างด้าวกว่า 2 ล้านคนในไทยปลอดภัยจากโควิด-19
125 คำถามและ  โจทย์ว่าด้วยการสนทนาเรื่อง “ความปกติใหม่” ใน “โลกหลังโควิด”

Tags:

ระบบการศึกษาโรงเรียนไวรัสโคโรนา(โควิด-19)TDRI

Author:

Illustrator:

illustrator

เพชรลัดดา แก้วจีน

นักวาดภาพประกอบอิสระ มีความสนใจปรากฏการณ์ต่างๆในสังคม ชอบสังเกตผู้คน เขียนบันทึก และอ่านหนังสือ ยามว่างมักใช้เวลาไปกับการดริปกาแฟและเล่นกับแมว

Related Posts

  • Social Issues
    ระบบการศึกษาที่ “อะไรอะไรก็ครู” ไว้ก่อน

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Voice of New GenSocial Issues
    เข้าไม่ถึงการศึกษาและปัญหาสุขภาพจิตที่เพิ่มขึ้น สิ่งที่คนวัยเรียนต้องเจอ คุยกับ เฟลอ – สิรินทร์ มุ่งเจริญ

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • Social Issues
    จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19: จากบทเรียนต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย

    เรื่อง ภาพ เพชรลัดดา แก้วจีน

  • Social Issues
    NEW NORMAL ของการศึกษาไทยคืออะไร เมื่อการเรียนทางไกลไม่ใช่คำตอบ

    เรื่อง ภาพ เพชรลัดดา แก้วจีน

  • Creative learning
    โรงเรียนเล็กในทุ่งกว้าง เปลี่ยนเด็กด้วยลานกว้างและดนตรี

    เรื่อง The Potential

Gilmore girls – ซีรีส์ที่ทำให้อยากมีแม่แบบเพื่อน ให้อิสระ อยู่ตรงนั้นเพื่อให้คำปรึกษาและพึ่งพิง
MovieDear Parents
6 May 2020

Gilmore girls – ซีรีส์ที่ทำให้อยากมีแม่แบบเพื่อน ให้อิสระ อยู่ตรงนั้นเพื่อให้คำปรึกษาและพึ่งพิง

เรื่องและภาพ พิมพ์พาพ์

  • พิมพ์พาพ์ เขียนถึงซีรีส์ Gilmore girls ฉากที่ ‘ลอเรไล’ คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวที่มีลูกตั้งแต่อายุ 16 ชวนแฟนลูกเข้าบ้านและเปิดทางให้ทั่งคู่นั่งดูหนังด้วยกันในห้องสองคน ขณะที่ลูกสาว ‘รอรี่’ เดินตามหาแม่แล้วบอกว่า ‘กลับไปนั่งดูด้วยกันเถอะ เขากลิ่นตัวหอมมาก แถมยังหล่อเป๊ะ หนูไม่ไหว!’
  • ในฐานะลูกสาวของซิงเกิลมัมที่แม่ไม่อนุญาตให้พูดถึงหรือมีเซ็กส์ก่อนวัยอันควร พิมพ์พาพ์เขียนถึง ‘รอรี่’ อย่างน่าอิจฉาว่า อยากมีแม่ที่อนุญาตให้เติบโต ขณะเดียวกันก็อยู่ตรงนั้นให้ปรึกษาพึ่งพิงได้ และยังพูดแทนคนรุ่นเดียวกันว่า ‘เรื่องนี้มันห้ามกันได้เหรอ แม่!!!’

Tags:

แบบแผนทางความสัมพันธ์เพศวัยพรีทีน (Preadolescence)ซีรีส์พิมพ์พาพ์พ่อแม่วัยรุ่น

Author & Illustrator:

illustrator

พิมพ์พาพ์

เป็นลูกคนเดียวจากแม่เลี้ยงเดี่ยว เรียกตัวเองว่านักวาดภาพประกอบที่ชอบวาดคนหน้าแมว เผลอเสียน้ำตาให้กับหนังครอบครัวอยู่บ่อยๆ

Related Posts

  • Dear ParentsMovie
    Sex Education: ความเข้าใจเรื่องสิทธิ์เนื้อตัวไม่ได้มาเพราะโชคช่วย ครอบครัวต้องหยุดสร้างทัศนคติ Victim blaming

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Dear ParentsMovie
    How I met your mother: เมื่อต้องตกลงกันว่าจะส่งต่อความเชื่อของตัวเองสู่ลูก ดีรึเปล่า?

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • How to get along with teenager
    พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร เมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่น

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • MovieDear Parents
    Whisper of the heart : เมื่อลูกมีความฝันต่างจากคนอื่น อยากให้ครอบครัวถามไถ่ รับฟัง และเชื่อใจ

    เรื่องและภาพ พิมพ์พาพ์

  • How to get along with teenager
    รับมือวัยรุ่นยุค SEXTING: สื่อสารให้เข้าใจเรื่องความปลอดภัยของตัวลูกเอง

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

“เรารักนักเรียนนะ แต่เราแสดงออกไม่เป็น” เปลือยชีวิตที่เต็มไปด้วยข้อผิดพลาดราวบทหนังสือของครูเฮง
Unique Teacher
6 May 2020

“เรารักนักเรียนนะ แต่เราแสดงออกไม่เป็น” เปลือยชีวิตที่เต็มไปด้วยข้อผิดพลาดราวบทหนังสือของครูเฮง

เรื่อง คณพล วงศ์วิเศษไพบูลย์ ภาพ ณัฐสุชา เลิศวัฒนนนท์

  • “แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะไม่ทำพลาดอีกเลยนะ มีคลาสนึงที่เราเข้าไปแล้วนักศึกษาคุยกันเสียงดัง เราก็พยายามพูดบอกทุกคนว่า ‘ครูเข้ามาแล้วนะ’ ก็ไม่มีใครฟัง ‘ทุกคนครูเข้ามาแล้วนะครับ’ ก็ยังไม่มีคนสนใจ ทีนี้เราเลยตวาดเลย ‘ทุกคนฟัง!’ ซึ่งทุกคนก็หันมาฟังจริงๆ แต่เหตุการณ์นี้ทำให้ความสัมพันธ์ของเรากับนักศึกษาเหมือนแก้วที่ร้าวไปแล้ว เพราะทุกคนฟังเราด้วยความกลัว จากคลาสนั้น บางคนก็แสดงออกให้เห็นเลยว่าเขาไม่ชอบเรา”
  • รัชนิกร ชลไชยะ หรือ ครูเฮง คืออาจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ครูผู้สอนเลขผ่านสื่อหลากหลาย ทั้งบทเพลง บทกลอน และการใช้ภาพที่เขาได้ออกแบบขึ้นมาเพื่อทำให้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่ายขึ้น เขาสอนนักเรียนมาหลากหลายแบบ ตั้งแต่เด็กมัธยมต้น มัธยมปลาย เด็กออทิสติก หรือเตรียมทหารก็ยังเคย กิตติศัพท์ด้านความสนุกในวิชาที่เขาสอนนี่แหละ ที่ทำให้เราอยากมานั่งคุยกับเขา
  • ตลอดสองชั่วโมงที่คุยกัน เรื่องเล่าของเขาเต็มไปด้วยข้อผิดพลาดและผิดหวังในชีวิต จนแทบจะไม่มีเรื่องของความสำเร็จและรอยยิ้มอยู่เลย เขาเผยเอาสิ่งที่อยู่ข้างในซึ่งเป็นบทเรียนที่สั่งสอนเขาอย่างเจ็บปวดให้เราได้สัมผัส

รัชนิกร ชลไชยะ หรือ ‘ครูเฮง’ เริ่มต้นประโยคแรกกับเราด้วยคำว่า ‘ไม่เคยให้สัมภาษณ์มาก่อนเลยนะ ไม่รู้จะไหวหรือเปล่า’ …

จากนั้นเวลาก็ผ่านไปอย่างรวดเร็วจนเกือบสองชั่วโมง ‘ยิ่งกว่าไหวอีก’ เรารีบบอกเขาทันทีที่กดหยุดเครื่องบันทึกเสียง

สิ่งที่น่าสนใจระหว่างการพูดคุยสัมภาษณ์กับครูเฮงก็คือ เรื่องเล่าของเขาที่เต็มไปด้วยข้อผิดพลาดและผิดหวังในชีวิต จนแทบจะไม่มีเรื่องของความสำเร็จและรอยยิ้มอยู่เลย เขาเผยเอาสิ่งที่อยู่ข้างในซึ่งเป็นบทเรียนที่สั่งสอนเขาอย่างเจ็บปวดให้เราได้สัมผัส

ครูเฮง คืออาจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์ ที่มีรูปแบบการสอนที่สนุกสนาน เขาเป็นครูที่นำวิชาเลขซึ่งเป็นวิชาที่หลายคนอยากจะหลีกหนี มาสอนผ่านการใช้สื่อที่หลากหลาย ทั้งบทเพลง บทกลอน และการใช้ภาพที่เขาได้ออกแบบขึ้นมาเพื่อทำให้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น เขาเคยได้รับเชิญไปสอนนักเรียนมาหลากหลายแบบ ตั้งแต่เด็กมัธยมต้น มัธยมปลาย เด็กออทิสติก หรือเตรียมทหารก็ยังเคย กิตติศัพท์ด้านความสนุกในวิชาที่เขาสอนนี่แหละ ที่ทำให้เราอยากมานั่งคุยกับเขา

เรานัดพบครูเฮงที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ซึ่งเป็นที่ทำงานแห่งใหม่ที่เขาเพิ่งมาอยู่ได้เพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น โดยเขานิยามว่าถ้าชีวิตเป็นบทในหนังสือ การมาสอนที่มจธ. ก็นับว่าเป็น Chapter ที่ 4 แล้ว บทสนทนาของเราจึงเป็นเรื่องราวตั้งแต่คำนำของหนังสือ เนื้อหาใน Chapter ที่ 1-3 เพื่อสำรวจว่า ก่อนจะมาเป็นครูเฮงนักสร้างสรรค์ห้องเรียนคณิตศาสตร์ในวันนี้ได้ เขาได้ผ่านบทเรียนอันสำคัญในชีวิตแบบไหนมาบ้าง

คุณรู้ตัวว่าอยากเป็นครูตั้งแต่เมื่อไร

ตั้งแต่ตอนอยู่ป.2

โอ้โห ทำไมรู้จักตัวเองได้เร็วจัง

เหตุผลมันจะตลกหน่อยนะ คือเราอยากใส่ชุดสีกากีมาก จะอาชีพอะไรก็ได้ที่ใส่ชุดกากี แต่คุณแม่ขอไว้อย่างนึงว่าอย่าไปเป็นตำรวจ เราก็เลยมาเลือกๆ ดูแล้วก็จิ้มไปที่ครู พอเราตั้งเป้าได้แล้ว เราก็เดินไปถามอาจารย์เลยว่าถ้าอยากเป็นครูต้องทำยังไง เขาก็ตอบมาว่า ถ้าจะเป็นครูต้องเรียนให้เก่งๆ

จากนั้นเราก็ตั้งใจเรียน นั่งหน้าห้อง ทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองเรียนเก่ง พอถึง ป.6 เราก็กลับไปหาอาจารย์คนเดิม ถามเขาอีกว่า เรียนเก่งแล้วต้องทำอะไรต่อ เขาตอบว่าเรียนเก่งแล้ว เธอพูดรู้เรื่องหรือยัง เธอสอนเพื่อนได้ไหม? พอถึงช่วงมัธยมเราก็เลยเริ่มลองติวให้เพื่อนดู ซึ่งทุกครั้งที่เราติวก็จะได้รับคำชมจากเพื่อนว่าเธอพูดให้เข้าใจได้ง่ายจัง จากนั้นเราก็เลยคิดว่าการเป็นครูนี่แหละคงใช่ตัวเราจริงๆ

ในยุคนั้น ความฝันในการเป็นครู ต้องเจออุปสรรคบ้างไหม

การเป็นครูมันค่อนข้างไม่ตรงกับความคิดของคนสมัยก่อนที่อยากจะให้คนเก่งไปเป็นหมอหรือวิศวะ มันเลยทำให้เราโดน ‘กักฝัน’ เพราะทุกครั้งที่บอกว่าจะไปเป็นครู ก็มักจะมีคนพูดว่าเสียดายความรู้ของเรา แต่ในหัวของเรามักจะมีเสียงที่ตอบโต้เสมอว่าจะเสียดายไปทำไมวะ เป็นครูก็ต้องเก่งสิไม่เห็นน่าเสียดายเลย

ช่วงมัธยมปลายมีหลากหลายเสียงมากที่แนะนำให้เราสอบเข้าคณะต่างๆ ทั้งวิศวะฯ เภสัชฯ หมอ พวกคณะที่เด็กเก่งๆ เขาเรียนกัน แต่สำหรับเรา เราเรียกสิ่งนี้ว่า ‘นรกของคนเรียนเก่ง’ เพราะมันทำให้เราโฟกัสกับสิ่งที่เราอยากจะเป็นจริงๆ อย่างอาชีพครูได้น้อยลง

ตอนจบม.6 เราสอบติดทั้งหมด 7 คณะ ตามที่เคยได้รับคำแนะนำว่าให้ลองไปสอบดู ซึ่งมีทั้งแพทย์พระมงกุฎฯ วิศวกรรม ม.ขอนแก่น เภสัชฯ มศว. ทุนก.พ. ไปอเมริกาก็ติด เราติดทุกอย่างที่เคยได้รับคำแนะนำมาให้ลองไปสอบ แต่สุดท้ายเราก็สละสิทธิ์ทั้งหมด แล้วเลือกคณะวิทยาศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์ จุฬาฯ

เสียดายคณะดังๆ ที่สละสิทธิ์ไปไหม

ไม่เสียดายนะ ตอนนั้นเรามานั่งพิจารณาทีละคณะเลยว่าเราจะตัดอะไรออกบ้าง เราไม่เอาหมอเพราะกลัวเลือด ไม่เอาเภสัชฯ เพราะไม่ถนัดวิชาชีววิทยา ตัดคณะวิศวกรรม เพราะช่วงนั้น (ปี 2541) มีวิศวกรตกงานเยอะ มันก็เหลือคณะอีกไม่กี่ที่ ซึ่งสองตัวเลือกสุดท้ายในตอนนั้นมีคณะศึกษาศาสตร์ เคมี ของม.เกษตร กับ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์ จุฬาฯ ด้วยความที่เราชอบเรียนคณิตศาสตร์มากกว่า รวมถึงจุฬาฯ ให้ทุนด้วยก็เลยเลือกที่จุฬาฯ
ภาพ

การสอบให้ติดทุกคณะนี่ไม่ง่ายเลยนะ คุณมีเคล็ดลับในการเรียนยังไง

สมัยเราเรียนอยู่มัธยมมันก็มีโรงเรียนกวดวิชาแล้วนะ เราว่าเราเรียนเก่งจากการเรียนกวดวิชานี่แหละ ต้องยอมรับว่าเนื้อหาวิชาที่เรียนในโรงเรียนมันเยอะมาก ถ้าให้อ่านเองเราคงไม่ไหว แต่จริงๆ ตอนนั้นเราก็ไม่ได้มีตังไปเรียนหรอก พอดีเรามีเพื่อนที่ลงเรียนไว้ แล้วเขาไม่ค่อยได้เข้าเรียน เขาก็ขอให้เราเข้าไปแทนแล้วกลับมาติวให้หน่อย เราก็ชอบเลยเอาบัตรของเพื่อนไปเรียน เรียนตั้งแต่ 6 โมงเช้า ถึง 2 ทุ่ม

สิ่งที่ดีคือนอกจากจะเหมือนได้เรียนฟรีแล้ว เรายังได้โอกาสในการติวให้เพื่อนด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสุขมาก มันเป็นหน้าที่ที่เพื่อนฝากฝังให้กับเราในการไปเรียน แล้วสอนให้เขาเข้าใจ มันเป็นความรู้สึกเหมือนนักเรียนทุนเลย เพียงแต่เป็นทุนจากเพื่อน

พอเข้าเรียนมหาลัยในคณะที่ไม่ใช่ครุศาสตร์ ความอยากเป็นครูยังอยู่ไหม

100 เปอร์เซ็นต์ยังอยู่ ถึงจะไม่ได้เรียนครู แต่ระหว่างที่เรียนเราทำคะแนนได้ดีในหลายวิชา เพื่อนก็เลยมาขอให้ช่วยติวให้ เราก็เลยมีโอกาสได้ติวใต้หอ ได้ไปร่วมโครงการพี่จุฬาฯ พาน้องติว แล้วก็ค่อยๆ สั่งสมชื่อเสียงด้านการสอน ซึ่งตอนนั้นเป็นการติิวฟรีด้วยนะ คือเรารู้สึกว่าเราเป็นทั้งนักเรียนทุน ได้ทั้งเงินทุนประจำเดือนและได้เรียนฟรี ก็เลยอยากจะแบ่งปันอะไรให้กับคนอื่นบ้าง

แต่ความอยากเป็นครูของเรามันก็เปลี่ยนรูปแบบไปตามเวลา ตอนเรียนอยู่ป.ตรี เราอยากสอนเด็กประถมหรือมัธยมต้น เพราะรู้สึกว่าปัญหาของนักเรียนมันมีจุดเริ่มต้นมาจากช่วงวัยนั้น ตอนเราเรียนป.โท เราก็เริ่มเปลี่ยนไปอยากสอนเด็กมัธยมปลาย อาจเพราะเริ่มมั่นใจในความรู้ของตัวเองมากขึ้น แล้วพออยู่ป.เอก เราก็เริ่มรู้สึกอยากสอนนักศึกษามหาวิทยาลัย ตอนกลับมาจากอังกฤษเราเลยวางแผนไว้เลยว่าเราจะสอนในมหาวิทยาลัยก่อน จากนั้นจะค่อยๆ ถอยลงไปสอนมัธยมปลาย-ต้น และประถม

ทำไมมันกลับหัวกลับหางกันแบบนี้

เพราะเราต้องค่อยๆ ปรับ mindset ของตัวเอง การลงไปที่นักเรียนประถมหลังจากการจบป.เอก ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะการสอนเด็กวัยนี้จะต้องใช้ความรักและทะนุถนอมมากกว่าเด็กวัยอื่นๆ ซึ่งเรารู้ตัวว่าวันที่เราจบด็อกเตอร์มา เรายังเต็มไปด้วยอีโก้และความคาดหวังต่อนักเรียนของเราในระดับที่สูง

สมัยที่เราสอนนักศึกษาช่วงแรกๆ เราคาดหวังให้เขาเข้าใจเนื้อหาบทเรียนโดยไม่ค่อยแคร์ความรู้สึกของเขา ถ้าทำข้อสอบไม่ได้ หรือส่งงานมาไม่ดี เราก็จะพูดจาที่ไม่ค่อยไพเราะนัก ซึ่งมันทำให้นักเรียนของเราเสียใจ บางทีร้องไห้ต่อหน้าเราก็ยังมี

กำลังอยากทราบพอดีว่าจากนักเรียนอังกฤษสู่อาจารย์มหาวิทยาลัยบูรพา คุณต้องปรับตัวยังไง

ช่วงแรกๆ เราช็อกเลย นอกจากจะเป็นการสอนจริงจังครั้งแรกแล้ว เรายังพบว่าทัศนคติเรื่องการเรียนของนักศึกษาก็ไม่เหมือนกับของเราในวันที่เป็นนักเรียนด้วย คือเราเป็นคนที่ถ้าเห็นคนอื่นในห้องเก่งกว่าเรา เราจะพยายามฝึกฝนเพื่อให้เก่งทัดเทียมกับเขา แต่สังคมของนักศึกษาที่ม.บูรพาคือ ถ้าในห้องมีคนเก่ง คนอื่นๆ จะชื่นชมและภูมิใจว่าเพื่อนคนนั้นเก่ง ซึ่งปัญหาคือเขาชื่นชมยกยอเพื่อนที่เก่ง แต่ตัวเขากลับไม่ได้พัฒนาให้มีทักษะที่ดีขึ้นตามด้วย

ตอนนั้นก็เลยคิดในใจว่าจะยอมให้เป็นแบบนี้ไมไ่ด้ เราเลยพยายามผลักดันพวกเขาหนักมาก เรารักนักเรียนของเรานะ แต่เราแสดงออกไม่เป็น สิ่งที่ออกมาคือความเข้มงวด เราคิดว่าการตำหนิแรงๆ คือการแสดงความรัก เราถึงกับเคยหลุดคำว่า ‘ห่วย’ ใส่นักศึกษา ไม่รู้เหมือนกันว่ามันออกจากปากไปได้ยังไง เราไม่ชอบตัวเองตอนนั้นเอามากๆ มันเป็นช่วงเวลาที่เรารู้จักตัวเองน้อยเกินไป มีประสบการณ์น้อยเกินไป

ที่คุณดุ นั่นเพราะความคาดหวังที่คุณมีต่อนักศึกษา

ตลอดเวลาหลังจากกลับมาจากอังกฤษแล้วมาสอนอยู่ที่ม.บูรพา เราไม่มีความสุขเลย ไม่มีความสุขเพราะความคาดหวัง ทั้งคาดหวังความตั้งใจจากเด็ก คาดหวังงานที่ดี คาดหวังว่าเขาจะชอบเรา ซึ่งอันหลังนี่คือสิ่งที่โครตจะเจ็บปวด เพราะว่าตอนที่เราอ่านประเมินของนักศึกษา เราเคยเจอคอมเมนต์ที่บอกว่าเราไม่มีความเป็นครู ประโยคนี้ทำร้ายจิตใจเรามาก เราร้องไห้กับตัวเอง แต่ก็ไม่รู้ว่าจะแก้ไขมันยังไง

เรารู้แค่ว่าเรายังอยากเป็นอาจารย์อยู่ แต่ยิ่งสอนลูกศิษย์ยิ่งออกห่างจากเรา จริงๆ สมัยจบป.โท เราก็เคยมาสอนที่นี่ช่วงสั้นๆ ก่อนจะไปเรียนที่อังกฤษ ตอนนั้นเรามีความสุขกว่านี้มาก ทั้งที่เราก็รู้สึกว่าเราสอนดีเหมือนเดิม ก็เลยพยายามหาสาเหตุว่าทำไมนักศึกษาถึงถอยห่างจากเรา หรือว่าเป็นที่ช่วงอายุ? ก็ไม่น่าใช่ เพราะอาจารย์ที่แก่กว่าเรายังมีลูกศิษย์มาปรึกษาเหมือนเดิม

จนได้คำตอบว่าทุกคนกลัวเรา กลัวเพราะเขาบอกว่าเราเป็นคนเป๊ะ คือสมัยนั้นทัศนคติที่เรามีต่อห้องเรียนยังเป็นแบบโบราณอยู่ พอเข้าไปสอนปุ๊ปทุกคนต้องเงียบ มีอยู่วันหนึ่งสอนเด็กแล้วมีคนคุยกัน เราจับชอล์คที่สอนอยู่ปาใส่เลย แล้วแม่นมากคือไปลงหัวเขาพอดี ตอนนั้นเราไม่ได้คิดอะไร แต่เหตุการณ์นี้มันมาสะเทือนตอนที่มีคนเขียนในใบประเมินอาจารย์ว่า “ในวันนั้น ถ้ามันเข้าตาหนูล่ะคะ” ซึ่งเราก็รับรู้ได้เลยว่าเป็นนักเรียนคนนี้

แล้วคุณแก้ปัญหาความคาดหวังนี้อย่างไร

ความอยากปรับปรุงตัวเองมันมีมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันสถานการณ์มันก็มาถึงจุดที่ว่า ถ้าเรายังสอนอยู่ที่ม.บูรพาต่อไป เราจะไม่มีโอกาสได้เปลี่ยนตัวเองเลย เพราะว่าคนที่เรียนจบไปเขาก็จะบอกต่อรุ่นน้องว่าอาจารย์เฮงโหด ซึ่งสิ่งนี้มันส่งผลต่อห้องเรียน นักศึกษาก็จะกลัวเราตั้งแต่วันแรกจนไม่กล้ามีปฏิสัมพันธ์อะไรเลย เราเลยคิดว่ามันคงถึงเวลาที่ต้องไปแล้ว ต้องเปลี่ยนสถานที่แล้ว เราก็เลยลาออกจากมหาวิทยาลัยบูรพา

จากนั้นคุณไปไหนต่อ

เราสมัครเข้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา แต่ครั้งนี้สมัครเข้าไปสอนในคณะครุศาสตร์ ซึ่งเป็นความฝันสูงสุดของเรา เพราะจริงๆ เราอยากเป็นอาจารย์ที่ทำหน้าที่สอนคนเรียนครูมานานแล้ว พอได้มาสอนที่ม. นี้ เราก็พยายามเรียนเพิ่มเติม เราไปลงปริญาโทในวิชาการสอนคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง นอกจากนี้ก็ได้ไปเข้าร่วมอบรมหลักสูตรหนึ่งที่ทำให้ได้เจอจุดเปลี่ยนในชีวิตการสอนครั้งสำคัญ

ในปีแรกของการสอนที่ราชภัฏฯ ก็มีเพื่อนอาจารย์มาแนะนำโครงการหนึ่งชื่อว่า ‘ครูกล้าสอน’ มันเป็นโครงการอบรมที่ช่วยพัฒนาแนวคิดของครูช่วยให้ครูตามหาตัวตน เราเห็นว่าน่าสนใจและตรงกับปัญหาที่เราเจออยู่ก็เลยลองสมัครเข้าไปดู

พอเข้าเรียนไปเท่านั้นแหละ เราร้องไห้ตั้งแต่คลาสแรกเลย คือมันเป็นคลาสที่ทำให้เราได้ตั้งคำถามกับตัวเองว่าทำไมเราถึงอยากเป็นครู ความเป็นครูมีความหมายกับเรายังไง หลังจากนั้นหลักสูตรก็ค่อยๆ เผยให้เราได้รู้จักกับตัวเองมากขึ้น แล้วมันก็เจ็บปวดมาก เพราะเราได้เห็นว่าตัวเองเคยเป็นครูที่แย่ขนาดไหน เป็นครูที่ไม่เคยฟังเด็กเลย ไม่เคยสนใจความรู้สึกของเขาเลย มันเลยยิ่งทำให้เราตั้งมั่นกับตัวเองว่าเราจะเป็นครูที่ดีกว่านี้ให้ได้

คุณเรียนรู้อะไรจากโครงการครูกล้าสอนบ้าง

ได้เยอะเลย อย่างแรกคือเขาสอนให้เราได้รู้จักตัวเอง ได้เห็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงอยากเป็นครู จากนั้นเขาก็สอนให้เราได้รู้จักการฟังที่ดี ซึ่งการฟังที่ดีช่วยให้เราไม่ตัดสินใคร เคยมีลูกศิษย์มาบอกเราว่าอาจารย์เป็นคนแรกที่ตั้งใจฟังผมอย่างนี้ ซึ่งมันก็ทำให้รู้สึกดีใจนะ แต่ขณะเดียวกันก็ได้สะท้อนคิดว่า ถ้าเราเป็นคนแรกที่ได้ฟังเขาตอนอายุ 18 ปี แล้วก่อนหน้านี้ไม่เคยมีใครฟังเขาเลยใช่ไหม

พอฟังเป็น เขาก็สอนให้เราถาม การเป็นครูบางครั้งก็ไม่ต้องให้คำแนะนำกับลูกศิษย์ก็ได้ แค่ถามให้ตรงจุด แล้วพาให้เขาคิดด้วยตัวเอง ถามไปเรื่อยๆ แต่ไม่ตัดสินใจแทนเขา สลับกับการถามถึงความรู้สึกเขาเป็นระยะๆ ซึ่งเรามีความสุขกับการถามสิ่งเหล่านี้มาก ตลอดเวลาที่อยู่ม.บูรพา เราไม่เคยถามลูกศิษย์เลยว่าเขารู้สึกอะไรอยู่ ซึ่งบางทีคำถามนี้คำถามเดียวมันก็ไปสะกิดอารมณ์ความรู้สึกของเขาได้แล้ว บางคนร้องไห้เลย มันเลยเป็นคำถามที่เรารู้สึกจริงใจทุกครั้งที่ได้ถาม ไม่ว่าคำตอบจะเศร้าหรือสุขก็ตาม

จากนั้นเราก็ค่อยๆ ได้รู้จักการสอนโดยใช้กระบวนการ เริ่มไม่สอนแบบเลคเชอร์ เปลี่ยนรูปแบบจากการเป็นคนหน้าห้องมาอยู่หลังห้องบ้าง ข้างห้องบ้าง โดยคนที่เป็นคนดำเนินการคือตัวนักเรียนเอง ซึ่งก่อนเริ่มคลาสเราก็จะมาคุยกับเด็กก่อนว่าเขาอยากให้มีการเรียนการสอนแบบไหน กิจกรรมแบบไหน แล้วก็มานั่งสร้างเงื่อนไขกัน ออกแบบห้องเรียนร่วมกัน
ภาพ

การนำสิ่งที่คุณได้จากการเรียนมาใช้ในคลาส ทำให้มีผลตอบรับที่ดีขึ้นไหม

เราอบรบหลักสูตรครูกล้าสอน พร้อมๆ กับการสอนที่ม.ราชภัฏเทอมแรก เราก็เลยพยายามเอาสิ่งที่เรียนมามาใช้กับห้องเรียน พยามเป็นครูที่ใจดี ใจเย็นขึ้น คลาสแรกที่เราได้สอนคือได้สอนวิชาแคลคูลัสให้กับเด็กที่เรียนไม่ผ่านมาก่อน ซึ่งเด็กพวกนี้คือกลุ่มที่เคยไปเจออาจารย์ชนิดที่ด่าเด็กว่าโง่ เราเลยอยากจะเยียวยาพวกขา เป็นโอกาสในการแก้มือของเรา

เราประกาศตั้งแต่คลาสแรกเลยว่าห้องเรียนนี้จะไม่มีการด่า ไม่มีการลงโทษ ถ้ามาสายเข้ามาเรียนได้เลย บอกเขาว่า “ครูรู้ว่าความรู้สึกของคนที่เข้าห้องสายมันมีความกลัว แต่ถึงจะสายหนึ่งชั่วโมงก็เข้ามาเถอะ ดีกว่าไม่ได้เรียนเลย” ห้องเรียนมันก็ยืดหยุ่นขึ้น เรามีความสุข เด็กก็มีความสุขทั้งกับเราและตัววิชา

แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะไม่ทำพลาดอีกเลยนะ มีคลาสนึงที่เราเข้าไปแล้วนักศึกษา คุยกันเสียงดัง เราก็พยายามพูดบอกทุกคนว่า “ครูเข้ามาแล้วนะ” ก็ไม่มีใครฟัง “ทุกคนครูเข้ามาแล้วนะครับ” ก็ยังไม่มีคนสนใจ ทีนี้เราก็เลยตวลาดเลย “ทุกคนฟัง!” ซึ่งทุกคนก็หันมาฟังจริงๆ แต่เหตุการณ์นี้มันทำให้ความสัมพันธ์ของเรากับนักศึกษาเหมือนแก้วที่ร้าวไปแล้ว เพราะทุกคนก็จะฟังเราด้วยความกลัว บางคนจากคลาสนั้นก็แสดงออกให้เห็นเลยว่าเขาไม่ชอบเรา

คะแนนประเมินในวิชานี้ของเราต่ำมาก ชีวิตนี้ไม่เคยได้ต่ำขนาดนี้มาก่อน เต็ม 5 ได้ 3.8 เองมั้ง เราก็ปล่อยโฮอีกแล้ว มันเป็นความรู้สึกที่ว่า เรามาเริ่มต้นใหม่กับที่นี่แต่เราก็ดันทำผิดซ้ำเดิมอีกแล้วเหรอ

คุณได้เรียนรู้อะไรจากทั้งสองคลาสที่แตกต่างนี้บ้าง

เราได้เห็นว่าห้องเรียนที่ยืดหยุ่นและสนุก มันดึงศักยภาพเด็กออกมาได้มากกว่า และทุกคนก็มีความสุขกว่าด้วยรวมถึงผู้สอน ซึ่งบทเรียนจากเหตุการณ์ทั้งสองอันนี้ที่เราได้มาคือ First Impression เป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าเราเริ่มคลาสได้ไม่ดีมันก็จะร้าวแบบนั้นไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเริ่มต้นดีมันก็จะง่ายไปตลอด

หลังจากนั้นคุณเจอจุดเปลี่ยนอะไรที่ทำให้ต้องออกจากม.ราชภัฏฯ มาที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

การได้สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาทำให้เราเข้าใจและมีความสุขกับตัวเองในฐานะครูมากขึ้น เราสอนอยู่ที่ราชภัฏฯ ได้ประมาณ 3 ปี แต่พอถึงจุดหนึ่งความจำเป็นทางเศรษฐกิจที่ทำให้เราต้องเริ่มคิดหาโอกาสใหม่ๆ

จุดเปลี่ยนอันนี้มีที่มาจากเรื่องของครอบครัว เราอยากที่จะมีความสามารถในการดูแลพ่อกับแม่ให้ได้ดีกว่านี้ แต่จุดเปลี่ยนอันนี้มันก็ทำให้ต้องเลือกระหว่างความฝันในการเป็นครูที่สอนนักศึกษาครู กับการย้ายมาที่มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี แล้วได้เงินเดือนเยอะขึ้น ซึ่งก็เป็นงานสอนที่เราชอบเหมือนกัน คือสอนในคณะวิิทยาศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์ เพียงแต่ไม่ใช่ความฝันในการสร้างครู

มันคือการเลือกระหว่างเงินเดือนสูงกว่า ความกดดันมากกว่า กับ เงินเดือนไม่พอใช้ แต่โครตมีความสุข สุดท้ายด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจเราก็เลือกที่จะลองเปลี่ยนและย้ายมาสอนที่มจธ.

คุณบอกว่าเพิ่งมาอยู่ได้ 2 อาทิตย์

ใช่ แต่เป็น 2 อาทิตย์ที่แฮปปี้มากเลยนะ เรารู้สึกว่าที่นี่มีความพร้อมทั้งด้านเงินทุนและการสนับสนุนอาจารย์ ซึ่งทำให้เราตื่นเต้นกับทุกอย่าง เราจะมีเงินเดือนที่สามารถดูแลพ่อแม่ได้ มีเงินทุนในการพัฒนาไอเดียสำหรับสร้างนวัตกรรมร่วมกับนักศึกษา แถมมีทีมอาจารย์ที่เข้าอกเข้าใจในประเด็นที่เราสื่อสารด้วย

โจทย์ของการสอนที่นี่จึงเปลี่ยนไปจากที่เราเคยเจอ มันคือการที่เราได้มาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความพร้อมในหลายๆ ด้าน แล้วตัวเราเรียนรู้และสร้างสรรค์อะไรจากสภาพแวดล้อมแบบนี้ได้บ้าง

15 ปีที่ผ่านมาในอาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัย ถ้าให้คุณลองแบ่งเป็นบทในหนังสือ มันจะได้สักกี่ Chapter แล้วแต่ละช่วงควรนิยามว่าด้วยคำว่าอะไร

จุดเปลี่ยนจริงๆ มีทั้งหมด 4 ครั้ง ครั้งแรกคือช่วงสั้นๆ หลังจากจบป.โท ครั้งที่สองคือการกลับมาจากเรียนป.เอกที่อังกฤษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายมาก จากนั้นก็เริ่มมีความสุขในจุดเปลี่ยนที่สามคือช่วงที่สอนในม.ราชภัฏฯ และความเปลี่ยนแปลงล่าสุดคือการย้ายมาอยู่มจธ.

ถ้าจะให้ลองนิยามสนุกๆ เราว่า Chapter แรกของเรามันคือ ‘พจมานในบ้านทรายทอง’ เราไร้เดียงสา เข้าไปสอนพร้อมกับความฝัน แต่ด้วยความที่เราใหม่มากก็ยังทำอะไรไม่ค่อยถูก เจอปัญหานิดหน่อยก็ร้องไห้ จากนั้นเราบินไปเรียนที่อังกฤษ 4 ปี กลับมาทีนี้เรากลายเป็น ‘จอมมารบู(รพา)’ ดูอ้วนๆ กลมๆ ดูน่ารัก แต่โหด 

พอรู้ตัวว่าโหด เราก็พยายามเปลี่ยนแปลงตัวเองจนได้ไปอยู่ที่ม.ราชภัฏฯ ชีวิตตอนนี้เราว่าเราเหมือน ‘โดเรมอนในดินแดนมหัศจรรย์’ คือเราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ที่ช่วยเปลี่ยนชีวิต ครูกล้าสอนหยิบยื่นเครื่องมือให้กับเรามากมาย เป็นเหมือนอุปกรณ์วิเศษที่เราต้องเรียนรู้การใช้ในจังหวะที่ถูกต้อง

ส่วนการเปลี่ยนครั้งล่าสุดคือการมาสอนที่มจธ. มันอาจจะยังนานไม่พอที่จะนิยาม แต่ถ้าให้ลองจินตนาการว่าเราอยากให้มันเป็น Chapter แบบไหน เราคิดว่าเราอยากจะให้มันเป็นแบบ ‘แม็คไกเวอร์ (MacGyver)’ เพราะเขาคืออิจฉริยะที่สามารถสร้างนวัตกรรมขึ้นมาจากสิ่งรอบตัว เราเองก็อยากหยิบอะไรแล้วออกมาเป็นความรู้ที่นำมาสอนได้ เราอยากสอนให้ได้ในทุกสถานการณ์

15 ปี คุณคงสอนอะไรให้นักศึกษามาแล้วมากมาย ในทางกลับกันนักศึกษาได้ให้บทเรียนอะไรที่สำคัญกับคุณบ้าง

หลายเรื่องเลย อย่างแรกคือสอนว่า First Impression สำคัญ การฟังคือสิ่งที่ขาดไม่ได้ และอีกอย่างคือเขาสอนให้เรารู้จักการควบคุมอารมณ์ตัวเอง เราโกรธคนน้อยลง ไม่เห็นความสำคัญของความโกรธอีกแล้ว เราสามารถแยกความไม่พอใจกับความโกรธออกจากกันได้ เช่น ถ้านักศึกษา บางทีมาเสียมารยาทกับเราอย่างการมารบกวนเราตอนกำลังสอน เรามีสิทธิ์ที่ไม่พอใจ แต่เราจะไม่โกรธ

อีกอย่างหนึ่งที่เราเรียนรู้มาตลอด 15 ปีนี้คือ เราต้องเปิดโอกาสให้ตัวเองสามารถทำผิดได้ด้วย สมัยก่อนถ้าเราทำอะไรผิดปุ๊ปเราจะกระทืบๆ ก่นด่าตัวเอง เฆี่ยน โบยตีตัวเอง จนเราไม่ไหว ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องจำเป็นเลย จริงๆ มันก็แค่ เราทำผิดไป ลุกขึ้นมาใหม่ ทำให้ดีกว่าเดิมเท่านั้นเอง

นอกจากตัวเองแล้ว เราก็เปิดโอกาสให้นักศึกษาในการทำผิดมากขึ้นด้วยเช่นกัน ความคาดหวังจากที่เคยมีสูงๆ เราก็ลดมันลงมา เพราะความคาดหวังเนี่ยมันทำลายเราทุกอย่าง ซึ่งพอเป็นแบบนี้คลาสมันก็ผ่อนคลายขึ้น สนุกขึ้น ความผิดพลาดทั้งหลายทั้งปวงที่เคยเกิดขึ้นกับเรา วันนี้มันกลายเป็นบทเรียนที่อุดมสมบูรณ์พร้อมที่จะส่งต่อสิ่งเราได้เรียนรู้มาแก่คนอื่น มันเลยทำให้ตอนนี้เรารู้สึกตื่นเต้นมากๆ กับที่นี่

UNIQUE TEACHER


คุณมองว่าความ Unique อะไรที่ทำให้คุณเป็นครูที่แตกต่างจากคนอื่น

เราว่าเราเป็นครูนักฟังที่อารมณ์ดี ประโยคนี้ประกอบไปด้วยคำ 3 คำ คือ 1.ครู ซึ่งเป็นคนที่สามารถสอนหนังสือให้กับคนอื่นได้ 2.นักฟัง คือการมีเวลามากพอที่จะฟังเรื่องราวของลูกศิษย์ 3.อารมณ์ดี คือการที่เราจับความรู้สึกและควบคุมมันไว้ได้ ซึ่งอารมณ์ดีนี่ไม่ใช่แค่ความเฮฮานะ แต่มันคือการรู้จักที่จะจัดอารมณ์ตัวเองให้ไม่เครียดและอารมณ์ดีจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่แค่ดูแฮปปี้จากภายนอกแต่ภายในผุพังด้วย

อยากให้คุณเลือกคำมาหนึ่งคำ แล้วสะท้อนตัวตนผ่านคำนั้น

เราขอเลือกคำว่ากล้าหาญละกัน เพราะในวันที่เราอยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง ถ้าเราได้แต่คิดกับอ่านหนังสือว่าการเป็นครูที่ดีต้องทำยังไง แต่ไม่มีความกล้าที่จะลงมือทำ มันจะไม่มีอะไรเปลี่ยนเลย ทุกครั้งที่เราได้ไปเรียนรู้อะไรใหม่ๆ จากครูกล้าสอน เราก็จะใช้ความกล้านั้นมาใช้กับเด็ก เรากล้าที่จะเรียนรู้และยอมรับความผิดพลาดของเรา เราไม่อายนะที่มานั่งเล่าให้ The Potential ฟังว่าเราได้ล้มเหลวในเรื่องอะไรมาบ้าง แต่นี่แหละมันคือความกล้าอย่างหนึ่งที่เป็นตัวตนของเรา

ความกล้านี่แหละที่พาเราข้าม Chapter ของชีวิตมาจนถึง Chapter ที่ 4 แล้วมันก็จะพาเราไปต่อด้วย เพราะเราค่อยๆ เติบโตผ่านคำคำนี้เสมอ

Tags:

ครูเทคนิคการสอนชีวิตการทำงานการสอบการเติบโตการฟังและตั้งคำถามรัชนิกร ชลไชยะ

Author:

illustrator

คณพล วงศ์วิเศษไพบูลย์

นักเขียนอิสระ ที่กำลังสนใจเรื่องเกษตรอินทรีย์และการใช้ชีวิตที่ยั่งยืน

Photographer:

illustrator

ณัฐสุชา เลิศวัฒนนนท์

Related Posts

  • BookLearning Theory
    วิจารณ์ พานิช: เป้าหมายของการเรียนรู้คือเปลี่ยนแปลงสมอง

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ บัว คำดี

  • 21st Century skills
    3 คำยอดฮิตที่คุณครูใช้กระทุ้งบรรยากาศการคิดของนักเรียนได้ตลอดกาล

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • Character building
    PROJECT-BASED LEARNING ทักษะมาก่อน คะแนนจะตามไป

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Character building
    ที่ปรึกษาให้ตัวละครในนิยาย : วิธีระบายความเจ็บปวดโดยไม่ต้องเล่าแต่เข้าใจ

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ antizeptic

  • Education trend
    สอบแบบไหนให้ได้ดี VS สอบแบบไหนยังไงก็ไม่ดี

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

จุฑา พิชิตลำเค็ญ อาจารย์ที่ตั้งหลักว่า “You Teach Who You Are” จัดการตัวเองก่อน จากนั้นค่อยไปสอนคนอื่น
Unique Teacher
5 May 2020

จุฑา พิชิตลำเค็ญ อาจารย์ที่ตั้งหลักว่า “You Teach Who You Are” จัดการตัวเองก่อน จากนั้นค่อยไปสอนคนอื่น

เรื่อง คณพล วงศ์วิเศษไพบูลย์ ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • อาจารย์หญิง จุฑา พิชิตลำเค็ญ เจ้าของวิชา Communication and Leadership แห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่เปิดขึ้นมาได้ราว 2 ปีแล้ว ใช่… คุณฟังไม่ผิดหรอก เธอบรรจุวิชา Soft Skills เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวิชาเลือกเรียนในคณะที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องอะไรกับ Soft Skill เหล่านี้นัก แต่เธอยืนกรานว่าวิศวกรยุคใหม่ จำเป็นต้องรู้สิ่งนี้
  • “คาบแรกเชิญวิทยากรที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับละคร มาสอนเรื่อง Team Building ให้เด็กสร้างทีมและได้ทบทวนตัวเอง จากนั้นก็จะมีกิจกรรมอาบป่า มีวิชาเล่าเรื่อง Storytelling มีวิชา Nonviolence Communication มีวิชา Coaching ที่จะช่วยให้เขารู้จักการรับมือกับการมีคนเข้ามาปรึกษา แล้วก็มีวิชาการเท่าทันสื่อด้วย โดยทุกๆ คาบเราจะให้นักศึกษาเขียน Reflection เพื่อให้เขาได้คุยกับตัวเองและสะท้อนมันออกมา”

โลกของเราทุกวันนี้เปลี่ยนเร็วจนตามแทบไม่ทัน

ความรู้ใหม่เกิดขึ้นเสมอ และความรู้ก็มีอายุสั้นลง หากลองมองไปที่หลักสูตรวิชาเรียนในหลายๆ มหาวิทยาลัยจึงเป็นไปได้ว่าหลักสูตรเหล่านั้น ‘เก่า’ หรือ ‘ล้าสมัย’ ไปเสียแล้ว แม้หลักสูตรเหล่านั้นจะเพิ่งปรับปรุงไปเมื่อสองปีก่อนหรือปีกลาย ความล้าสมัยที่เกิดขึ้นนั้นหลายครั้งก็ไม่ใช่ความผิดของคนออกแบบหลักสูตร เพียงแต่โลกของเรามันหมุนและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วสมยุค disruption จนเนื้อหาของวิชาเรียนบางคาบหรือทักษะบางแบบไม่เพียงพอต่อการทำงานในยุคนี้อีกแล้ว

อีกทั้งทุกวันนี้ตลาดแรงงานโลกให้ความสำคัญเรื่องทักษะการทำงานที่เรียกว่า Hard Skills หรือทักษะเชิงฝีมือน้อยลง แต่ให้ความสนใจเรื่องของ Soft Skills หรือทักษะเชิงอารมณ์ และทักษะการสื่อสารเป็นอย่างมาก เมื่อโลกเปลี่ยนไป มหาวิทยาลัยที่เคยมุ่งสอนแต่ Hard Skills จะใช้วิธีไหนในการก้าวให้ทัน เพื่อผลิตคนที่ตรงกับความต้องการของยุคสมัยออกมา

อาจารย์หญิง-รศ.ดร.จุฑา พิชิตลำเค็ญ ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้คำตอบว่า “ก็สร้างวิชาเรียนขึ้นมาใหม่เลยสิ”

อาจารย์หญิง-รศ.ดร.จุฑา พิชิตลำเค็ญ

แม้โลกจะหมุนเร็วจนตามแทบไม่ทัน แต่โลกของการศึกษาไม่สามารถมีข้ออ้างหรือข้อแม้ในเรื่องนี้ได้ เพราะการผลิตนักศึกษาที่พร้อมออกไปทำงานกับโลกที่หมุนเร็วคือหน้าที่หลักของมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนเร็วแค่ไหน ก็ต้องตามให้ทัน

ปัจจุบันอาจารย์หญิง จุฑา เป็นเจ้าของวิชา Communication and Leadership แห่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่เปิดขึ้นมาได้ราว 2 ปีแล้ว ใช่ คุณฟังไม่ผิดหรอก เธอบรรจุวิชา Soft Skills เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวิชาเลือกเรียนในคณะที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องอะไรกับ Soft Skill เหล่านี้นัก แต่เธอยืนกรานว่าวิศวกรยุคใหม่จำเป็นต้องรู้สิ่งนี้ 

เราจึงอยากพาผู้อ่านไปรู้จักกับอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้ที่พยายามผลักดันให้มหาวิทยาลัยก้าวตามโลกให้ทันคนนี้ ผ่านบทสัมภาษณ์ที่จะทำให้คุณได้เห็นว่าทำไมเธอถึงได้กลายมาเป็นอาจารย์ไม่กี่คนในประเทศที่เป็นเจ้าของวิชา Soft Skills ในมหาวิทยาลัย

จากนักเรียนทุน ก.พ. ตรี โท เอก สู่การเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย

ด้วยโชคชะตาแบบไหน ที่ทำให้คุณกลายมาเป็นอาจารย์

การเป็นอาจารย์ไม่เคยอยู่ในหัวเลย แต่บางอย่างถ้ามันเป็นโชคชะตา ยังไงเราก็ต้องมาทำ สมัยเรียนมหาวิทยาลัยเราเป็น นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ได้ทุนก.พ.ไปเรียนที่อเมริกาตั้งแต่ปริญญาตรีจนถึงเอก พอกลับไทยมาก็ต้องไปใช้ทุนโดยเข้าบรรจุในหน่วยงานรัฐสักแห่งหนึ่ง

ตอนใกล้จบเขาก็ให้เรากรอกว่าจะไปสังกัดที่หน่วยงานไหน เราจำได้เลย เราเลือกทำที่สภาพัฒน์ไป แต่ด้วยเหตุอะไรก็ไม่รู้ พี่ที่ก.พ.ดันโทรมาแนะนำเราว่าคุณสมบัติแบบเราที่จบปริญญาเอกในสาขานี้ น่าจะไปเป็นอาจารย์มากกว่านะ ด้วยความที่เราไม่รู้อะไรเลย ก็เลยเชื่อพี่เขาแล้วลองไปสมัครเป็นอาจารย์ดู

ตอนนั้นรู้แค่ว่าเราเรียนจบวิศวกรรมอุตสาหการมา เราก็ควรจะเป็นอาจารย์คณะนี้นี่แหละ จากนั้นก็ต้องเลือกมหาวิทยาลัยที่จะไปสอน อาจารย์ทุกคนในยุคนั้นอยากไปจุฬาฯ แต่เราอยากไปในที่ที่คนไม่ได้ชอบไปกัน ก็เลยเลือกมหาวิทยาลัยเกษตรเป็นอันดับแรก แล้วเขาก็รับเข้ามาทำงานจนถึงตอนนี้

จากนักศึกษาปริญญาเอกในสหรัฐอเมริกาสู่การเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยรัฐ มันง่ายไหม

ยากมาก คือเราไปอยู่อเมริกามานาน ขาไปเราเจอ culture shock ทั้งเรื่องภาษา อาหาร และสิ่งแวดล้อม แต่พอเราอยู่มานานเราก็กลายเป็นอเมริกันคนหนึ่งไปโดยปริยาย ซึ่งพอขากลับมามันคือการกลับมาอยู่ในประเทศโลกที่สามอ่ะ เมื่อ 20 ปีก่อน มันไม่มีแม้แต่ Wifi หรืออินเทอร์เน็ตในห้องส่วนตัว อาจารย์ต้องเดินเข้าไปใช้คอมพิวเตอร์ในห้องแลป

นอกจากเทคโนโลยี เรารู้สึกว่าการที่เราเรียนที่อเมริกามามันหล่อหลอมให้เราไม่เหมือนคนอื่น บางอย่างที่เขาทำกันเป็นปกติในอเมริกา ในมหาวิทยาลัยไทยเราก็จะไม่ทำ ยกตัวอย่างเช่น ที่อเมริกา เวลาเขาตรวจข้อสอบเสร็จเขาจะแจกข้อสอบคืนให้กับนักศึกษาแต่ที่ไทยเขาไม่ให้นักศึกษาดู เราก็จะเป็นอาจารย์ที่ให้เด็กดูข้อสอบและเอาเฉลยให้ดูด้วย เพราะรู้สึกว่ามันโปร่งใส ทุกคะแนนมันมีที่มาที่ไป การทำแบบนี้มันแฟร์กับเด็กมากกว่า

อีกเรื่องที่ยากสำหรับเราคือการสอน เรารู้สึกว่าความกระตือรือร้นในการมาเรียนของเด็กไทยมีน้อย พลังงานในห้องเรียนที่เราเคยประสบมาจากอเมริกามันไม่มีที่นี่ ประกอบกับตอนนั้นเราเป็นอาจารย์ที่ไม่แคร์เด็ก เพราะเราติดมาจากอเมริกาว่าอาจารย์ก็จะพูดๆๆ แจกสิ่งที่ต้องให้กลับไปอ่าน แล้วให้นักเรียนทำการบ้านมาเอง อันไหนไม่เข้าใจให้มาถามครู แต่เด็กไทยถ้าไม่เข้าใจเขาจะไปถามเพื่อน อีกอย่างคือเด็กที่นี่ลอกการบ้านกัน ตอนสอบก็ต้องคอยคุมไม่ให้มีการลอก นี่คือความต่างที่เราเห็น ซึ่งตอนนั้นเราไม่เข้าใจสิ่งนี้เลย

เราสอนได้แค่เทอมเดียวก็รู้สึกไม่อยากอยู่แล้ว เลยหาช่องทางกลับไปทำ Postdoc (นักวิจัยหลังปริญญาเอก) ที่แคนาดา บอกตัวเองว่าฉันไม่อยู่แล้วประเทศนี้

หนีเลยเหรอ

ตอนนั้นเราไม่มีความสุขเลย เราเครียด เบื่อ ไม่อยากสอน โทษเด็กว่าเด็กไทยไม่กระตือรือร้น ไม่อยากเรียน แต่ช่วงระหว่างที่เราทำ Postdoc เราก็เหงามาก คือมันเป็นการไปทำงานเลยไม่ได้มีสังคมเพื่อนอย่างตอนเรียนมหาวิทยาลัย แต่ไอ้ช่วงนี้นี่แหละที่ทำให้เราได้ค้นพบว่าปัญหาที่แท้จริงมันไม่ได้อยู่ที่สถานที่หรือคนอื่น ปัญหามันอยู่ที่ตัวฉันเอง ฉันต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง เราก็เลยคิดว่าต้องกลับมาที่ไทยแล้วจัดการกับตัวเองให้ได้ ไม่อย่างนั้นฉันก็อยู่ที่ไหนไม่ได้หรอก

จัดการยังไง

เราเป็นคนที่ชีวิตต้องมีเป้าหมายตลอด ตอนอายุ 17 เป้าหมายของเราคือปริญญาเอก ชีวิตมันมีเส้นทางที่ชัดเจน แต่พอเราได้ปริญญาเอกมาแล้ว ชีวิตกลับไม่ได้มีความสุขขนาดนั้น เราก็พยายามหาเป้าหมายใหม่ๆ เพื่อมาเติมเต็ม 

ตอนเรากลับไทยครั้งแรก เราก็ทำตามเป้าของการเป็นอาจารย์ทั่วไปคือ ขอทุนวิจัย ตีพิมพ์บทความวิชาการ ซึ่งเราก็ทำได้แต่มันก็ยังไม่ได้มีความสุข หนึ่งในตัวชี้วัดที่ดีมากของปัญหานี้คือเรามีอาการนอนไม่หลับ ตลอดเวลาที่อยู่อเมริกาตั้งแต่สมัยเรียน เรานอนไม่หลับมาเป็นสิบปี

ตอนกลับไทยครั้งที่สองหลังจาก Postdoc เราก็มุ่งว่าจะจัดการกับตัวเอง พอดีได้ไปเจอบทสัมภาษณ์ของใครสักคนที่พูดถึงการปฏิบัติธรรมที่สวนโมกข์ เราก็เลยลองไปดู สิ่งที่สวนโมกข์ให้คือการบอกว่า จงมีสติอยู่กับปัจจุบัน แล้วหันกลับมาดูข้างในตัวเองบ้าง ซึ่งเราไม่เคยทำมาก่อน ตอนที่อยู่อเมริกา สังคมมันมีความทะเยอทะยานและมุ่งเป้าอยู่ตลอดเวลา เราที่เป็นคนมุ่งมั่นอยู่แล้วพอไปอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนั้นเลยไปกันใหญ่ มันทำให้เรามองเห็นแต่เป้าหมายโดยไม่เคยมองเข้ามาข้างในตัวเราเองเลย

เชื่อไหมว่าตอนอยู่สวนโมกข์ เรานอนหลับได้ลึกที่สุดในรอบสิบปี สิ่งนี้มันทำให้เรารู้สึกว่าเรามาถูกทาง ซึ่งเรื่องของสติมันก็ยังช่วยเราในหลายๆ ด้านจนถึงทุกวันนี้

นอกจากชีวิตส่วนตัวแล้ว สวนโมกข์มีอิทธิพลกับการสอนของคุณบ้างไหม

ประโยคนึงที่ขึ้นมาพร้อมคำถามนี้เลยคือ “You Teach Who You Are” คือถ้าคุณแก้ปัญหาในชีวิตส่วนตัวไม่ได้ สุดท้ายคุณก็จะเอาสิ่งนั้นเข้ามาในห้องเรียนและสาดมันใส่เด็กนักเรียนของคุณ เราเลยรู้สึกว่าเราต้องแก้ปัญหาในเรื่องความรู้สึกส่วนตัวบางอย่างก่อน เราถึงจะสามารถมีฟังก์ชันของการเป็นคนที่สมบูรณ์ จากนั้นค่อยไปสอนคนอื่น

พอเราเริ่มมีความสุขกับตัวเอง เราก็พยายามปรับทัศนคติของตัวเองที่มีกับการสอน พยายามมีความสุขกับมันมากขึ้น พยามหามุมมองที่เราจะคลิกกับมัน

เราพบว่าตัวเองเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับอิมแพค และ ความมีประสิทธิภาพ ซึ่งการจะสร้างอิมแพคให้กับสังคมนี้ได้มากที่สุดคือการสร้างเยาวชนที่มีคุณภาพออกมา เราทำวิจัยให้ตายยังไง โอกาสที่ paper จะเปลี่ยนแปลงคนหรือสังคมมันมีน้อยมาก ฉะนั้นการสร้างอิมแพคที่มีประสิทธิภาพและคุ้มกับการลงแรงของเรามากที่สุดคือการสอนเด็ก พอเราเจอทัศนคตินี้ มันก็เลยเหมือนพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ

ทัศนคติเปลี่ยน พฤติกรรมเปลี่ยนไปด้วยไหม

เปลี่ยน เราพยายามไปเรียนนู่นนี่นั่นมากมายเกี่ยวกับเทคนิคการสอน หาเรื่องจิตวิทยาต่างๆ อ่านเพื่อมาพัฒนาตัวเอง ซึ่งพอไปเรียน เราก็จะได้รับเครื่องมือในการเรียนการสอนมาด้วย ช่วงแรกเราเลยเป็นพวกหมกมุ่นกับเครื่องมือ แต่พอถึงจุดหนึ่งเราก็พบว่าเทคนิคหรือเครื่องมือต่างๆ มันไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น

แล้วอะไรที่จำเป็น

เราเคยทำเซอร์เวย์กับนักศึกษาปี 4 โดยมีคำถามว่า “สิ่งที่คุณประทับใจและไม่ประทับใจที่สุดในตัวอาจารย์คืออะไร” พอได้อ่านคำตอบของนักศึกษา หลายคำตอบทำเราช็อค เช่น เด็กบอกว่าโมเมนต์ที่ประทับใจที่สุดคือ “ตอนที่ผมนั่งอยู่หลังห้อง แล้วอาจารย์มาถามผมว่าเข้าใจไหม” ส่วนโมเมนต์ที่ไม่ชอบที่สุดคือ “การสอนแบบที่อาจารย์อยากสอน โดยไม่สนใจว่าผมเข้าใจหรือเปล่า” 

จากทั้งสองคำตอบนี้มันทำให้เราเข้าใจว่าหัวใจของการสอนมันอยู่ที่ความใส่ใจ แค่นั้นเลย เทคนิคต่างๆ ไม่ได้จำเป็นมากหรอก จะ Active learning หรือจะเลคเชอร์ก็ดี สิ่งสำคัญคือเราต้องเชื่อมกับนักเรียนให้ได้

Soft Skills ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

วิชา Communication and Leadership มีที่มาที่ไปยังไง

ระหว่างที่เราไปเรียนเพื่อพัฒนาการสอนของตัวเอง เราก็ได้ยินสิ่งที่คนเขาพูดกันอย่างเรื่อง 21st Century Skills หรือทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นเรื่องของ Soft Skills ต่างๆ แล้วเราก็หันกลับมามองเด็กของเรา เฮ้ย หลักสูตรที่มีอยู่มันไม่ได้ช่วยบ่มเพาะทักษะเหล่านี้เลยนี่ ช่วงปี 2561 ก็เลยเกิดความคิดที่จะเปิดสาขาวิชาใหม่เพื่อสอนเรื่องนี้โดยเฉพาะ

นักศึกษาวิศวะฯ จำเป็นต้องเรียน Soft Skill ด้วยเหรอ

ต้องสิ วิศวกรยุคปัจจุบันยิ่งต้อง คือแต่ก่อนเมื่อนักศึกษาเรียนจบไปแล้วก็มักจะไปเป็นวิศวกรในโรงงาน แต่เดี๋ยวนี้งานสายการผลิตมันย้ายฐานไปอยู่ในประเทศที่ค่าแรงต่ำกว่า รวมถึงมีเครื่องจักรมาช่วยในการผลิต ทำให้ความต้องการจ้างวิศวกรสายนี้มีน้อยลง วิศวกรจำนวนมากจึงขยับเข้าไปอยู่ในอุตสาหกรรมการบริการ เช่น Data Analyst โลจิสติก หรือ โรงพยาบาล จากที่เคยทำงานกับเครื่องจักร ก็ถูกบีบให้มาทำงานกับมนุษย์มากขึ้น ทักษะที่เป็น Soft Skill ต่างๆ จึงจำเป็น

นอกจากนี้เราว่าวิชาของเราให้พื้นที่ในการพูดคุยกับพวกเขา ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในยุคนี้ขาด การคุยกับมนุษย์ตัวเป็นๆ มันไม่เหมือนกับการแชทกัน แล้วก็ไม่ใช่แค่คุยในเรื่องทั่วไป บางคลาสเขาต้องคุยในเรื่องละเอียดอ่อนหรือเปราะบาง ซึ่งสิ่งนี้มันสามารถเชื่อมคนถึงกันได้ในทันทีเลยในฐานะมนุษย์ ซึ่งเราว่ามันเป็นสายสัมพันธ์ที่แข็งแรงกว่าการไปกินเหล้าด้วยกันอีก

คลาสแรกที่สอนเป็นยังไงบ้าง

มันผิดจากที่เราคาดไว้เยอะเลย ปรากฎว่าคอร์สที่สอน Soft Skill มันกลายเป็นคอร์สเยียวยานักศึกษาไปด้วย คืออย่างที่เราเห็นว่ายุคนี้มันมีเด็กที่เป็นโรคทางจิตเวช ป่วยซึมเศร้า ซึ่งบางคนก็เข้ามาเรียนในวิชาของเรา มันก็เลยได้มีการพูดคุยเพื่อแนะนำ รับฟัง และเยียวยาพวกเขา

คลาสของคุณหน้าตาเป็นแบบไหน

ทุกๆ อาทิตย์เราจะมาเจอกัน 3 ชั่วโมง เป็นเวลา 10 ครั้ง มีคลาสที่เราสอนเองประมาณ 2 ครั้ง นอกจากนั้นจะเป็นการเชิญวิทยากรเข้ามาสอนในวิชาต่างๆ เช่น คาบแรกเชิญวิทยากรที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับละครมาสอนเรื่อง Team Building ให้เด็กสร้างทีมและได้ทบทวนตัวเอง จากนั้นก็จะมีกิจกรรมอาบป่า มีวิชาเล่าเรื่อง Storytelling มีวิชา Nonviolence Communication มีวิชา Coaching ที่จะช่วยให้เขารู้จักการรับมือกับการมีคนเข้ามาปรึกษา แล้วก็มีวิชาการเท่าทันสื่อด้วย โดยทุกๆ คาบเราจะให้เขาเขียน Reflection เพื่อให้เขาได้คุยกับตัวเองและสะท้อนมันออกมา

นอกจากนี้บางคาบเราก็จะพานักศึกษาออกนอกสถานที่ ปีก่อนเราพาเขาไปศึกษาชีวิตคนไร้บ้านที่คลองหลอด ปีนี้เราพาไปศูนย์เด็กเล็กที่คลองเตย แล้วก็จะมีพาร์ทที่เป็นฟินาเล่ของวิชาคือการพาเด็กไปเข้าป่าเป็นเวลา 3 วัน 2 คืน 

วิชานี้ไม่มีสอบ แต่ต้องทำโปรเจ็กต์เรื่องการออกแบบชีวิต เราจะให้เขาไปวางแผนชีวิตในอีก 5 ปีข้างหน้ามา 3 แผน จากนั้นจะต้องออกไปสัมภาษณ์คนที่อยู่ในอาชีพที่เขาอยากทำมา 3 คน แล้วมาพรีเซนต์ให้คลาสฟัง ซึ่งการทำแบบนี้มันจะช่วยเปิดโลกทัศน์ให้กับนักศึกษา และทำให้เขาเห็นภาพสิ่งที่อยากเป็นด้วย

วิชานี้ดูเหมือนจะพานักศึกษา ออกนอกห้องบ่อย

เราอยากสอนให้เด็กมีความเข้าอกเข้าใจคนที่แตกต่างออกไป อยากให้เขาได้เจอคนที่เขาไม่ค่อยเจอในชีวิตประจำวัน เด็กบางคนใช้ชีวิตอยู่ใน Bubble มาตลอด เขาไม่รู้จักโลกเลย เราเลยอยากให้เขาได้เรียนรู้ ส่วนเรื่องป่า มันมาจากที่เราเคยไปทำนิเวศภาวนากับพี่ณัฐฬส วังวิญญู ในป่า แล้วเรารู้สึกว่าได้เรียนรู้จากตรงนั้น ก็เลยอยากเอาสิ่งนี้มาให้เด็กได้เรียน อีกส่วนหนึ่งคืออยากให้เขาได้สัมผัสกับธรรมชาติด้วย

แต่ละคาบของวิชานี้มันหลากหลายมาก จนเด็กเคยเดินมาบอกว่า หนูตื่นเต้นทุกครั้งที่จะเข้าเรียน ปกติหนูไม่เคยเปิด Syllabus แต่วิชานี้หนูต้องเปิดดูก่อนว่าอาทิตย์นี้หนูจะเจอกับอะไร

คุณสอนวิชานี้มา 2 ปีแล้ว ปีแรกกับปีนี้แตกต่างกันไหม

ต่างนะ ต่างทั้งเนื้อหา ลำดับคาบเรียน รวมถึงตัวเราก็เปลี่ยนไป ในปีแรกที่เราทำ เรายังไม่ค่อยรู้อะไร เราเป็นแค่คนประสานงานให้วิทยากรเข้ามาสอน แต่พอเราทำหลายๆ ครั้ง เรารู้สึกว่าเราสามารถจัดการกับห้องเรียนได้ดีขึ้น ควบคุมบรรยากาศของห้องได้ดีขึ้น อาจเป็นเพราะว่าคลาสในปีแรกเราได้ฟังเรื่องราวของนักศึกษามาหลากหลาย ทำให้เรามีประสบการณ์ในการจัดการกับคำถามหรือคำพูดของเขา มันเหมือนเป็นความหยั่งรู้เล็กๆ ว่าถ้ามาแบบนี้ 1 2 3 4 มันจะเป็นยังไงต่อ

คุณในโหมดวิชา Communication and Leadership กับคุณในโหมดวิชาด้านวิศวกรรม เป็นคนเดียวกันไหม

คนเดียวกันนะ แถมมันช่วยเสริมกันและกันด้วย 

วิชา Communication and Leadership เปิดโอกาสให้เราได้รู้จักเด็กมากขึ้น รู้จักชีวิตและพื้นเพของเขา มันทำให้เราเข้าใจเด็กมากขึ้น ตัดสินเขาน้อยลง ซึ่งสิ่งนี้มันก็ติดตัวเราไปยังวิชาอื่นๆ ด้วย จากที่แต่ก่อนเราอาจจะบ่นว่าทำไมขี้เกียจจัง ทำไมไม่ใส่ใจเรียนเลย ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเขาอาจจะมีเรื่องเครียดในใจ หรือมีปัญหาที่บ้านอยู่ก็ได้ เราคิดว่าเรามีความเป็นมนุษย์มากขึ้นและปฏิบัติกับเด็กอย่างเป็นมนุษย์มากขึ้นด้วย

มันแปลว่าคุณใจดีขึ้นใช่ไหม

เราไม่ชอบคำว่าใจดีเลย เพราะคำนี้สำหรับเรามันพ่วงมาด้วยความไม่มีวินัย แต่เรามีขอบเขตที่ชัดเจน มีความคาดหวังที่ชัดเจน เราไม่ใช่คนที่อะไรก็ได้ ยังมีมาตรฐานอยู่เหมือนเดิม แต่บางเรื่องก็เปลี่ยนวิธีการลงโทษ เช่น ถ้าเด็กเข้าห้องช้า แทนที่เราจะตำหนิ เราก็เปลี่ยนมาเป็นปรับเงินแทน ซึ่งมันเวิร์ค ด่าเด็กไม่มีประโยชน์ ปรับเงินเนี่ยเห็นผลสุด


Unique Teacher

ความ Unique ของคุณคืออะไร

คำตอบแรกที่ขึ้นมาคือเรากล้าที่จะเป็นตัวเอง เราไม่เคยทำตัวเป็นคนทรงภูมิหรือทำตัวเหนือกว่านักศึกษา เราเป็นคนธรรมดาที่ผิดพลาดได้ เพราะพลังงานที่เราอยากให้กับนักศึกษาคืออยากให้เขารู้สึกว่าเราเป็นเพื่อน ซึ่งอันนี้มันอาจจะมาจากที่เราเคยอยู่อเมริกามาด้วย ที่นู่นอาจารย์ก็เป็นแค่มนุษย์คนหนึ่ง เราเรียกชื่ออาจารย์ด้วยชื่อต้น ไม่ต้องมีคำว่าคุณหรือต้องสุภาพมากจนเกินไป

การให้ความเป็นเพื่อนกับนักศึกษา ทำให้เขามีความเกรงใจน้อยลงไหม

ไม่นะ ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาหรือเพื่อนของเรา เราก็จะมีขอบเขตที่ชัดเจนอยู่ดี ซึ่งขอบเขตนี้มันทำให้เรามีความสัมพันธ์ที่มั่นคงและยืนยาวกว่าการไม่มีขอบเขต เราคิดว่าการให้ความเป็นเพื่อนทำให้เราเชื่อมกับนักศึกษาได้ง่ายขึ้น สิ่งที่เราเคยเรียนรู้มาคือเด็กจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อเขารู้สึกผ่อนคลาย แล้วการที่เขาจะผ่อนคลายได้ เขาจะต้องรู้สึกเชื่อมโยงกับเรา มันจึงกลับมาสู่ข้อสรุปที่ว่า ฉันอยากให้พวกแกเกิดการเรียนรู้ในห้อง เพราะฉะนั้นฉันจะคอนเนคกับแกด้วยความเป็นเพื่อนนี่แหละ

ถ้าให้ลองนึกคำมา 1 คำ คุณอยากเลือกคำไหนมาใช้เพื่ออธิบายตัวตนของคุณ

เราเลือก “มั่นใจ” ละกัน เรารู้สึกว่าความมั่นใจของเรามันทำให้เกิดผลที่จับต้องได้ คือคนทุกคนมีไอเดียแหละ แต่คนที่จะทำให้มันเกิดผลออกมาคือคนที่ต้องมั่นใจในศักยภาพของตัวเอง ซึ่งฉันมั่นใจในศักยภาพของตัวเอง ว่าถ้าฉันตั้งใจ ฉันต้องทำได้แน่นอน 

Tags:

ครูคาแรกเตอร์(character building)21st Century skillsการฟังและตั้งคำถามทักษะการสื่อสาร(Communication Skill)การสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)จุฑา พิชิตลำเค็ญ

Author:

illustrator

คณพล วงศ์วิเศษไพบูลย์

นักเขียนอิสระ ที่กำลังสนใจเรื่องเกษตรอินทรีย์และการใช้ชีวิตที่ยั่งยืน

Photographer:

illustrator

ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

ศิลปศาสตร์บัณฑิต และมนุษย์ฟรีแลนซ์ที่ทำงานเขียน ถ่ายรูป สัมภาษณ์ แปลงาน ล่าม ไปจนถึงครูสอนพิเศษเด็กชั้นประถม ของสะสมที่ชอบมากๆ คือถุงเท้าและผ้าลายดอก เขียนเรื่องเหนือจริงด้วยความรู้สึกจริงๆ ออกเป็นหนังสือ 'Sad at first sight' ซึ่งขายหมดแล้ว ผลงานล่าสุดคือ I Eat You Up Inside My Head รับประทานสารตกค้างในกลีบดอกปอกเปิก

Related Posts

  • BookLearning Theory
    วิจารณ์ พานิช: เป้าหมายของการเรียนรู้คือเปลี่ยนแปลงสมอง

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ บัว คำดี

  • Character building
    ENTREPRENEURSHIP: ไม่ใช่พ่อรวยสอนลูก แต่คือหลักสูตรผู้ประกอบการที่สอนให้ทำได้ ทำเป็น

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • 21st Century skills
    FIVE MINDS FOR THE FUTURE: ปลูกฝังจิต 5 แบบ เพื่อโลกศตวรรษที่ 21

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • 21st Century skills
    3 คำยอดฮิตที่คุณครูใช้กระทุ้งบรรยากาศการคิดของนักเรียนได้ตลอดกาล

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • 21st Century skills
    กระตุ้นให้เด็กคิดวิเคราะห์ ครูต้องเลิกถามว่าเข้าใจไหมและไม่รีบเฉลยคำตอบ

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

Relational mindset: ‘ครูแสดงความเอาใจใส่ต่อศิษย์’ เทคนิคที่จะช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ได้ดีขึ้น
Learning Theory
4 May 2020

Relational mindset: ‘ครูแสดงความเอาใจใส่ต่อศิษย์’ เทคนิคที่จะช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ได้ดีขึ้น

เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชครูใหม่ วิมลศรี ศุษิลวรณ์ ภาพ เพชรลัดดา แก้วจีน

  • การที่ครูเอาใจใส่ ห่วงใย และพยายามเข้าใจความรู้สึกความคิดของนักเรียน ทำให้พวกเขารู้สึกอบอุ่นปลอดภัย ช่วยให้นักเรียนมีความมั่นคงทางอารมณ์ อันเป็นพื้นฐานทำให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น
  • โดยเฉพาะนักเรียนที่มาจากครอบครัวที่ขาดแคลน ยิ่งมีความต้องการดังกล่าวเป็นพิเศษ เพราะพวกเขาต้องเผชิญกับความเครียดและขาดทักษะที่จะใช้จัดการกับมัน มีผลวิจัยรายงานว่า ประสบการณ์ด้านบวกในเรื่องปฏิสัมพันธ์ สามารถลดฮอร์โมนเครียด (คอร์ติซอล Cortisol) เพิ่มฮอร์โมนความสุขคือ ซีโรโทนิน (Serotonin)
  • “ครูเสียใจมากที่ได้ยินเรื่องนี้” “เธอเรียบร้อยดีไหม” “เยี่ยมมาก หากครูต้องเผชิญปัญหานี้ ครูไม่แน่ใจว่าจะแก้ไขได้ดีเท่าเธอ” เริ่มต้นความสัมพันธ์ด้วยประโยคง่ายๆ ที่ช่วยให้เด็กรับรู้ว่าครูใส่ใจพวกเขา

บทความนี้มาจากหนังสือสอนเข้มเพื่อศิษย์ขาดแคลน ซึ่งได้รับความกรุณาจากผู้เขียนทั้งสองท่านให้นำมาเผยแพร่ เป็นบทความที่ตีความจากหนังสือ ‘Poor Students, Rich Teaching: Seven High-Impact Mindsets for Students from Poverty’ (Revised Edition, 2019) เขียนโดย อีริค เจนเซน (Eric Jensen) โดยผู้เขียนตีความให้เหมาะกับบริบทประเทศไทย พร้อมทั้งเรื่องเล่าจากห้องเรียนในประเทศไทยที่นำสาระของบทความนี้ไปใช้

บันทึกนี้เป็นบันทึกสุดท้ายใน 3 บันทึกภายใต้ชุดความคิดว่าด้วยความสัมพันธ์กับศิษย์ (relational mindset) (อ่านบันทึกที่ 2 ได้ที่นี่) ตีความจาก Chapter 3 Show Empathy เขียนโดย อีริค เจนเซน (Eric Jensen) ผู้ที่ในวัยเด็กมีประสบการณ์การเป็นเด็กขาดแคลนอย่างรุนแรง และมีปัญหาการเรียนและเคยเป็นครูมาก่อน เวลานี้เป็นวิทยากรพัฒนาครู

ความเห็นอกเห็นใจ (sympathy) กับการเข้าใจความรู้สึก (empathy) 2 ความรู้สึกนี้แตกต่างกัน ครูควรมีวิธีที่ทำให้นักเรียนรู้สึกว่า ครูเอาใจใส่ หรือห่วงใยตัวเขา และพยายามเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของเขาจริงๆ โดยครูต้องเข้าใจว่านักเรียนที่ขาดแคลน พวกเขาขาดแคลนทั้งทักษะการเรียนรู้ การควบคุมอารมณ์ และการรับมือต่อความยากลำบาก

การที่ครูเอาใจใส่ ทำความเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของศิษย์นี้ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่วิเศษสุดอย่างหนึ่งของตัวครูเอง ช่วยให้ครูได้เติบโตทั้งในด้านความเป็นมนุษย์ และด้านความเป็นครู

ตระหนักว่าเด็กต้องการให้คนอื่นเข้าใจความรู้สึกของตน

เป็นเรื่องปกติที่นักเรียนต้องการอยู่ใกล้กับผู้ใหญ่ที่ทำให้เขารู้สึกอบอุ่นปลอดภัย ช่วยให้เขามีความมั่นคงทางอารมณ์ อันเป็นพื้นฐานช่วยให้เขาเรียนรู้ได้ดีขึ้น ยิ่งเป็นนักเรียนที่มาจากครอบครัวที่ขาดแคลน พวกเขายิ่งมีความต้องการดังกล่าวเป็นพิเศษ เพราะพวกเขาต้องเผชิญกับความเครียดและขาดทักษะที่ใช้จัดการกับความเครียดนั้น

ผลงานวิจัยด้านประสาทวิทยาศาสตร์ (neuroscience) รายงานว่า ความยากจนขาดแคลนส่งผลต่อสมองใน 3 ด้าน คือ ด้านความคิด อารมณ์ และกายภาพของสมอง ทำให้เด็กที่มาจากครอบครัวยากจนขาดแคลน จะมีสมองส่วนสีขาว (white matter) และส่วนสีเทา (gray matter) รวมทั้งสมองที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ ความจำ และอารมณ์ (hippocampus) เล็กกว่าเด็กปกติ นอกจากนี้ผลงานวิจัยยังบอกอีกว่า การถูกทำร้ายด้วยถ้อยคำในครอบครัว หรือถูกรังแกด้วยการเยาะเย้ยถากถางจากเพื่อนที่โรงเรียน มีผลต่อการเจริญเติบโตของสมองและการเชื่อมต่อใยประสาท นั่นคือข่าวร้าย

ข่าวดีคือ สมองมีความยืดหยุ่นปรับตัวได้ (brain plasticity) ประสบการณ์ด้านบวกในเรื่องปฏิสัมพันธ์ สามารถเปลี่ยนแปลงสมองให้กลับสู่เส้นทางปกติได้ เมื่อได้รับความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ สมองจะรับรู้และส่งผลไปลดฮอร์โมนเครียด (คอร์ติซอล Cortisol) เพิ่มฮอร์โมนสุขคือ ซีโรโทนิน (Serotonin) และสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) โตขึ้น

ใช้เครื่องมือแสดงว่าเข้าใจความรู้สึกของนักเรียน

การมาโรงเรียน นักเรียนต้องการผู้ใหญ่ที่คอยทำหน้าที่ปกป้องไม่ใช่เป็นผู้ตัดสิน หรือผู้ลงทัณฑ์ เมื่อนักเรียนแจ้งว่ามีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น อย่าเอะอะโวยวาย หรือด่วนตัดสิน ให้เริ่มจากทำความเข้าใจความรู้สึกของเขา ครูควรแสดงความใส่ใจของตัวเองออกมาอย่างชัดเจน ไม่ใช่แค่แสดงออกทางภาษากายเท่านั้น เจนเซน แนะนำ 5 ประโยคที่ครูสามารถนำไปใช้ เพื่อทำให้นักเรียนรับรู้ความรู้สึกที่ครูเอาใส่ใจพวกเขา

  1. “ครูเสียใจมากที่ได้ยินเรื่องนี้” (พูดด้วยนํ้าเสียงและสีหน้าเศร้า เพื่อแสดงความเห็นอกเห็นใจ)
  2. “เรื่องนี้ทำให้ครูไม่สบายใจ” (แสดงความรู้สึกเศร้าและห่วงใย)
  3.  “เราเป็นห่วงเธอ” พร้อมกับเอ่ยชื่อนักเรียน (บอกว่า มีคนจำนวนมากเป็นห่วงเป็นใยต่อนักเรียนคนนั้น)
  4. “เธอเรียบร้อยดีไหม” (ถามพร้อมกับตรวจสอบความปลอดภัย และสุขภาวะของนักเรียน)
  5. “เยี่ยมมาก หากครูต้องเผชิญปัญหานี้ ครูไม่แน่ใจว่าจะแก้ไขได้ดีเท่าเธอ” (บอกเด็กว่า สิ่งที่เขาเผชิญมามีความยาก ครูแสดงความชื่นชม และเข้าใจความรู้สึกของเขา)

ในขั้นตอนนี้ครูอย่าเพิ่งให้คำแนะนำวิธีแก้ไขปัญหา เน้นลดอาการตื่นตระหนกหรือความรู้สึกโดดเดี่ยวของเด็กก่อน ทำให้เขารู้สึกว่า มีผู้ใหญ่ที่หวังดีอยู่เคียงข้างและพร้อมช่วยเหลือพวกเขา

ในกรณีที่นักเรียนเพิ่งเผชิญกับปัญหาครอบครัว เช่น พ่อแม่หย่าร้างกัน หรือมีคนในครอบครัวถูกยิงเสียชีวิต เป็นต้น ครูสามารถเริ่มด้วยประโยคว่า “ครูเสียใจด้วย หากต้องการความช่วยเหลืออะไรขอให้บอกครู เราพร้อมช่วยเสมอ” จากนั้นก็แจ้งครูแนะแนว (counselor) เพื่อให้ความช่วยเหลือเด็กต่อไป ในสหรัฐอเมริกามีผลการวิจัยรายงานว่า การเพิ่มครูแนะแนว 1 คนในโรงเรียน (และเป็นครูแนะแนวที่ทำงานดี) มีผลทำให้ลดจำนวนเด็กออกจากโรงเรียนกลางคันได้ร้อยละ 10

ไม่ว่าเด็กจะแสดงพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง หน้าที่แรก (และสำคัญที่สุด) ของครู คือ ต้องทำความเข้าใจเด็ก หาทางทำความเข้าใจและแสดงให้เด็กเห็นว่า ครูพร้อมที่จะทำความเข้าใจและเห็นใจ

ตัวอย่างเช่น เมื่อนักเรียนไม่ทำการบ้านมาส่ง ครูไม่ควรดุหรือไม่ลงโทษ แต่ควรพูดกับเด็ก (และให้ทั้งชั้นได้ยิน) ว่า “ครูเสียใจที่เธอไม่ได้ทำการบ้าน บอกครูได้ไหมว่าเกิดอะไรขึ้น” หรือถ้าเด็กมาโรงเรียนสาย ครูลองทักเด็กก่อนว่า “สมชาย ครูดีใจที่เธอมาโรงเรียน เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มได้เลย เพื่อนๆ จะช่วยให้เธอตามบทเรียนได้ทัน” เมื่อมีโอกาสคุยกัน 2 คนค่อยถามว่า “เธอไม่เคยมาโรงเรียนสายเลย วันนี้เกิดอะไรขึ้น เธอสบายดีหรือเปล่า”

ไม่มีจำเป็นต้องพรํ่าสอนเรื่องความตรงต่อเวลาให้เด็ก แต่ครูควรแสดงให้เขาเห็นว่า ครูคิดถึงเขา และต้องการให้เขาเข้าร่วมกิจกรรมที่สนุกสนานและทรงคุณค่าในห้องเรียน จะช่วยส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็กมากกว่า ผ่านความสัมพันธ์ความรู้สึกผูกพันไว้เนื้อเชื่อใจกัน

ใช้เครื่องมือเชื่อมสัมพันธ์อย่างเร็ว

ในวันแรกของปีการศึกษา หรือภาคการศึกษา เป็นช่วงเวลาที่สำคัญของครู เด็กจะมีความอยากรู้อยากเห็นว่า ครูของพวกเขาเป็นอย่างไร ห่วงใยและให้เกียรติเด็กหรือไม่ ครูควรใช้ช่วงเวลานี้ในการแสดงออกถึงความเอาใจใส่ และเข้าใจความรู้สึกของนักเรียน เจนเซน แนะนำ 3 เครื่องมือง่ายๆ ที่ครูลองเอาไปใช้ได้

ครั้งเดียวจบ

ในช่วง 30 วันแรกของชั้นเรียน ครูลองทำสิ่งที่แสดงถึงความเอาใจใส่ต่อศิษย์ ที่ทำครั้งเดียวแล้วเขาจดจำได้ ไม่ลืม เช่น ให้นักเรียนแต่ละคนแชร์ความสนใจส่วนตัวของตัวเอง สมมติว่า นักเรียนคนหนึ่งชอบนกมาก ชอบดูและศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับนก ครูลองกลับไปค้นเรื่องของนกในละแวกโรงเรียนและแถวบ้าน นำมาเล่าในชั้นเรียน เป็นการสนับสนุนความชอบของนักเรียน ในอนาคตเด็กอาจพัฒนาความชอบตัวเองไปสู่สิ่งอื่น เช่น การจัดตั้งชมรมดูนก

สองคนในสิบวัน

เมื่อเริ่มชั้นเรียนครูลองสำรวจนักเรียนประมาณ 1 – 2 คน เป็นคนที่น่าจะต้องการความเอาใจใส่เป็นพิเศษ อาจสังเกตจากเป็นคนที่ขี้อายมาก ซุกซนมากนั่งนิ่งไม่ได้ ชอบมาป้วนเปี้ยนกับครู หรือขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง เมื่อได้นักเรียนครบแล้ว ครูลองจัดเวลาวันละ 2 นาทีทุกวันเป็นเวลา 10 วัน เพื่อพูดคุยกับเด็กสองคนนี้ทีละคน จะคุยเรื่องอะไรก็ได้ เป้าหมายเพื่อสร้างความคุ้นเคยที่จะช่วยให้เด็ก 2 คนนี้มีสัมพันธภาพที่ดีต่อครูไปตลอดทั้งปี

สามอย่างในสามสิบวัน

ครูลองใช้ช่วงเวลา 30 วันแรกของชั้นเรียน ในการตั้งคำถาม 3 คำถามเกี่ยวกับนักเรียนแต่ละคน และหาคำตอบให้ครบ ตัวอย่างคำถามเช่น สมาชิกในครอบครัวเด็กมีใครบ้าง? เด็กสนใจเรื่องอะไรเมื่ออยู่นอกโรงเรียน เมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่นักเรียนต้องการเป็นอะไร?

ทั้ง 3 เครื่องมือข้างต้น ครูสามารถใช้ตอนเริ่มต้นภาคเรียน แล้วต่อด้วยเครื่องมืออีก 3 ชิ้น ต่อไปนี้

เชื่อมสัมพันธ์ช่วงเริ่มต้น

ครูลองใช้เวลา 3 – 7 นาทีแรกของชั้นเรียน (หรือก่อนชั้นเรียน) ด้วยการเดินไปรอบๆ ห้อง ทักทายและคุยกับนักเรียน สำรวจอารมณ์ของนักเรียนทั้งชั้น รวมถึงสำรวจว่า มีนักเรียนคนไหนต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เรื่องที่ชวนคุยอาจเลือกเป็นเรื่องที่เด็กสนใจ เช่น ผลการแข่งฟุตบอล ทรงผมใหม่ หรือรองเท้าคู่ใหม่ของนักเรียน

เชื่อมสัมพันธ์ช่วงปลาย

ก่อนที่นักเรียนจะออกจากห้องเรียนหลังเลิกเรียน หรือท้ายคาบเรียน ครูลองสังเกตภาษากายของเด็ก ซึ่งจะเป็นตัวสะท้อนอารมณ์ที่เด็กมี ถ้าเด็กไหนที่ส่อแววว่ามีความกังวลในใจ ครูลองเข้าไปคุยกับเขาแบบสองต่อสอง เช่น “เธอ (เอ่ยชื่อนักเรียน) มีอะไรกังวลใจไหม” “มีอะไรให้ครูช่วยเหลือไหม” เป็นต้น ไม่ว่านักเรียนจะเปิดใจกับครูหรือไม่ ครูได้ทำหน้าที่หยิบยื่นความสัมพันธ์ที่ดีให้แก่ศิษย์แล้ว

เชื่อมสัมพันธ์กับชีวิตที่บ้านของนักเรียน

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่แค่ในชั้นเรียนหรือในโรงเรียน สามารถขยายไปสู่ที่บ้าน และในชุมชน เจนเซน แนะนำ ให้ครูทำความรู้จักชีวิตในครอบครัวของเด็ก โดยไม่ตัดสิน ครูอาจไปร่วมกิจกรรมที่เด็กชอบ เช่น ดูกีฬา เดินเที่ยวศูนย์การค้า ชมภาพยนตร์ ดูคอนเสิร์ต ร่วมกิจกรรมในสวนสาธารณะ เป็นต้น เพื่อทำความรู้จักและแสดงความเอาใจใส่ต่อนักเรียน เป็นการลงทุนไม่กี่ชั่วโมง แต่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนไปตลอดทั้งปี หรือตลอดชีวิตของนักเรียน

ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างศิษย์กับครู เป็นตัวเร่ง (catalyst) ให้เด็กเอาใจใส่การเรียน ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่มีคุณภาพและรอบด้าน

เปลี่ยนวาทกรรม เปลี่ยนการสอน

วาทกรรม คือ ชุดความคิดที่อยู่ในเบื้องลึกของหัวใจ เป็นทั้งตัวกำหนดพฤติกรรมของครู และพฤติกรรมของศิษย์ ครูเป็นแบบอย่าง (role model) ของศิษย์ วาทกรรมจะวนกลับมาเปลี่ยนครูอีกรอบหนึ่ง

ครูควรมีพฤติกรรมที่กำหนดโดย ชุดความคิดว่าด้วยความสัมพันธ์กับศิษย์ (relational mindset) วาทกรรมที่ควรเปลี่ยน “เขาจ้างฉันมาเป็นครูเพราะฉันมีความรู้วิชาการ ฉันไม่มีเวลาพอที่จะเอาใจใส่ทักษะด้านสังคม นั่นมันเรื่องของพ่อแม่” ควรเปลี่ยนไปเป็น “นักเรียนและครูต่างก็มีชีวิตที่เชื่อมโยงกัน เป้าหมายแรกของการเชื่อมโยงระหว่างฉันกับศิษย์คือ ความสัมพันธ์ในฐานะเป็นเพื่อนมนุษย์ ความสัมพันธ์ในฐานะครูกับศิษย์เป็นเป้าหมายรอง” เจนเซน แนะนำ ให้ครูเขียนคำแถลงอุดมการณ์นี้ไว้ในกระดาษ เอามาทบทวนทุกวัน เพื่อให้พฤติกรรมต่อศิษย์ของตนดำเนินไปตามนี้อย่างเป็นอัตโนมัติ

ใคร่ครวญสะท้อนคิด และตัดสินใจ

การเปลี่ยนแปลงเริ่มขึ้นที่ “กระจก” กระจกที่สะท้อนพฤติกรรมครูคือ “การใคร่ครวญสะท้อนความคิด (reflection)” ครูอาจจะลองตั้งคำถามกับตัวเอง “สิ่งที่ฉันทำสะท้อนความเชื่อว่า ‘นักเรียนและครูต่างก็มีชีวิตที่เชื่อมโยงกัน เป้าหมายแรกของการเชื่อมโยงระหว่างฉันกับศิษย์คือความสัมพันธ์ในฐานะเป็นเพื่อนมนุษย์ ความสัมพันธ์ในฐานะครูกับศิษย์เป็นเป้าหมายรอง’ หรือไม่” ตามด้วยคำถาม “ฉันจะเปลี่ยนแปลงเป้าหมายการเป็นครู สู่การเอื้อให้ศิษย์เรียนจบออกไปพร้อมที่จะทำงาน หรือพร้อมที่จะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยหรือไม่”

เรื่องเล่าจากห้องเรียน

ณ วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2562 ฉัน ภัคณิจ ชาครบัณฑิต เริ่มทำงานในฐานะครูสอนวิชาภาษาอังกฤษที่โรงเรียนเพลินพัฒนา หรือที่เรียกกันว่า ESL teacher โรงเรียนแห่งนี้มีเรื่องที่ทำให้ฉันประหลาดใจมากมาย ตั้งแต่วิธีการคัดเลือกครูเข้าทำงาน ครูท่านอื่นๆ ชื่อแผนกต่างๆ นักเรียน รูปแบบการทำงาน การเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง…ความใส่ใจของครูที่มีต่อนักเรียน

วิธีการคัดเลือกครูเข้าทำงานของที่นี่ ไม่ใช่เพียงแค่สอบสัมภาษณ์กับฝ่ายบุคคล หรือผู้บริหารเท่านั้น แต่เริ่มจากการคัดกรองคุณภาพของครูด้วยข้อสอบภาษาอังกฤษ ซึ่งยากกว่าข้อสอบ TOEIC หลายเท่าตัว ข้อสอบวัดความเป็นครู สัมภาษณ์กับหัวหน้าฝ่ายประถมปลาย ซึ่งที่โรงเรียนเพลินพัฒนาเรียกกันว่า หัวหน้าช่วงชั้นที่ 2 จากนั้นยังมีสัมภาษณ์อีกหนึ่งรอบกับหัวหน้าฝ่าย ESL และแม้ว่าจะผ่านการสอบข้อเขียน ผ่านการสัมภาษณ์ไปแล้ว ฉันยังต้องเข้ามาเรียนรู้วัฒนธรรม ระบบระเบียบเบื้องต้น สัมผัสประสบการณ์จริงของการทำงานก่อนเป็นเวลา 3 วัน โดยช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ทางโรงเรียนใช้ประเมินครูเบื้องต้น และเปิดโอกาสให้ครูได้มีโอกาสไตร่ตรอง ก่อนจะตัดสินใจว่าตัวเองเหมาะกับงานนี้หรือไม่ ยินดีรับวัฒนธรรมการเรียนรู้ในแบบของโรงเรียนนี้ได้หรือไม่

หลังจากผ่านไป 3 วัน ครูที่ผ่านจะได้เข้ารับการทดสอบขั้นสุดท้าย ซึ่งก็คือการทดลองสอนนักเรียนจริงๆ นั่นเอง จากวิธีการคัดเลือกครูนี้ ทำให้ฉันรับรู้ถึงความใส่ใจของโรงเรียนที่มีต่อนักเรียน ในการเฟ้นหาครูที่มีคุณภาพ ไม่ใช่แค่ความสามารถในด้านความรู้ หรือการสอนเท่านั้น ยังรวมไปถึงความสามารถในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น และความเป็นครูของผู้ที่มาสมัครด้วย ความใส่ใจที่โรงเรียนมียังรวมไปถึงความใส่ใจต่อบุคลากร ด้วยการให้ครูมีโอกาสทำความเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่างออกไป ผ่านการทดลองใช้ชีวิตอยู่ที่โรงเรียนก่อน ทำให้ครูได้มีโอกาสเตรียมตัว หรือประเมินตัวเองได้ว่า เหมาะกับแนวทางของโรงเรียนหรือไม่ และจะมีความสุขกับการได้ทำงานเป็นครูที่นี่หรือไม่

ฉันพบว่า ครูและบุคลากรในแผนกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบุคคล ฝ่ายวิชาการ ตลอดจนแม่บ้าน หรือพี่ยามที่ประตูทางเข้า ทุกคนล้วนมีความเป็นมิตรต่อกัน ยิ้มแย้มให้แก่กัน เป็นสังคมที่อยู่ร่วมกัน เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง ฉันรู้สึกได้ถึงความปรารถนาดี และความเป็นมิตรจากคนรอบข้างได้อย่างชัดเจน คำแนะนำต่างๆ ช่วยให้ฉันพัฒนาตนเอง สร้างความคุ้นเคย และปรับตัวเข้ากับที่แห่งนี้ได้อย่างรวดเร็ว กัลยาณมิตรที่ได้พบถือเป็นความสุขที่สำคัญอย่างหนึ่ง กับโอกาสที่ได้มาใช้ชีวิต ณ โรงเรียนแห่งนี้

“ขออนุญาตเข้าห้องพักครูค่ะ” เสียงนี้ดึงความสนใจของฉันที่นั่งทำงานอยู่ในห้องพักครู ฉันหันไปดูด้วยความสนใจ เสียงนี้มาจากนักเรียนที่มีจำเป็นต้องเดินเข้ามาในห้องพักครู ฉันรู้สึกประหลาดใจมาก เพราะโดยทั่วไปแล้ว เด็กๆ มักจะแค่ยกมือไหว้และกล่าวจุดประสงค์ของตนเองเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กนักเรียนที่มีความสนิทสนมกับครูมากดังเช่นที่นี่ จากนั้นฉันก็สังเกตเห็นว่า นักเรียนทุกคน ไม่ใช่แค่นักเรียนคนนั้น กล่าวเช่นเดียวกันทุกครั้งที่พวกเขาต้องการ หรือมีความจำเป็นต้องเข้ามาในห้องพักครู ฉันชื่นชมเด็กเหล่านี้เป็นอย่างยิ่ง และชื่นชมครูท่านอื่นที่เป็นผู้อบรมเด็กๆ มากยิ่งกว่า… ที่สามารถทำให้เด็กมีความเป็นระเบียบ มีความเกรงใจในฐานะศิษย์กับครู โดยที่ยังมีความสุข

ความสบายใจเหมือนโรงเรียนเป็นบ้านหลังที่สอง สนิทกับครูราวกับว่าเป็นคนในครอบครัว เห็นได้จากการที่เด็กยิ้มแย้มอย่างมีความสุข และพูดคุยกับครูอย่างเปิดใจ ฉันรู้สึกมีความสุขมาก ความสัมพันธ์เช่นนี้ระหว่างครูกับนักเรียน เป็นความสัมพันธ์ในอุดมคติของฉัน ฉันดีใจที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวนี้

รูปแบบการทำงานของโรงเรียนแห่งนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ฉันประหลาดใจมากที่สุด ฉันไม่เคยรู้ว่ามีวิธีการทำงานเช่นนี้ในโรงเรียนอื่นมาก่อน ชั้นที่ฉันสอน เป็นชั้น ป.6 หรือที่นี่เรียกว่า ชั้น 6 นั้น มีทั้งหมด 4 ห้องๆ ละ 24 คน มีครู ESL 2 คน โดยที่แต่ละคนสอนเพียง 2 ห้องเท่านั้น เพราะโรงเรียนเน้นคุณภาพการสอนของครู ที่มอบให้เด็กได้อย่างเข้มข้นในแต่ละคาบเรียน ครูที่สอนคู่วิชากันในชั้น 6 จะต้องใช้เวลาที่เหลืออยู่ ช่วยกันคิดแผนการสอนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดให้แก่นักเรียน ซึ่งจะผ่านการตรวจสอบ ปรับปรุงหลายครั้งจากทางคุณครูวิชาการที่ดูแลเฉพาะหน่วยวิชา ESL เพื่อให้ได้แผนการสอนที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่นักเรียนในแต่ละคาบ

นอกจากนี้ครูต้องเข้าสังเกตการสอนของกันและกันเพื่อประเมิน ปรับปรุงแก้ไข และช่วยกันพัฒนาให้แผนการสอนเหมาะสมแก่นักเรียนทุกคนมากที่สุด อีกทั้งต้องคอยดูเด็กแต่ละคนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เด็กแต่ละคนบรรลุศักยภาพของเขาซึ่งมีความแตกต่างกันให้ได้มากที่สุดด้วย ในการทำงานจึงมีทั้งการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนในระดับชั้น และการประชุมในทีม ESL เพื่อแก้ไขปัญหา หรือพัฒนา ปรับเปลี่ยน ปรับปรุงสิ่งต่างๆ อย่างสมํ่าเสมอ วัฒนธรรมเหล่านี้เป็นเครื่องสะท้อนอย่างชัดเจนแก่ฉันว่า โรงเรียนนี้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพครูและนักเรียนอย่างยิ่งยวด

การเรียนการสอน ESL* ที่โรงเรียนแห่งนี้ ใช้แนวทางที่เรียกกันว่า HFOA ซึ่งย่อมาจาก High Function Open Approach มีเป้าหมายหลักเพื่อลดบทบาทของครูลง และเพิ่มบทบาทของนักเรียนให้มากขึ้น เพื่อให้นักเรียนเข้าถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง ไม่ใช่แค่เพียงรอรับข้อมูลไปเรื่อยๆ เท่านั้น การเรียนรู้ในแต่ละครั้งใช้เวลา 90 นาที โดยเริ่มจากครูทบทวนหรือเกริ่นเข้าเนื้อหา และอธิบายถึงเป้าหมายในแต่ละครั้ง ส่วนนี้ใช้เวลาประมาณ 25 นาที จากนั้นนักเรียนจะได้ลงมือคิด ลงมือทำ หรือปรึกษาหารือกันเพื่อบรรลุเป้าหมาย ใช้เวลาประมาณ 25 นาที ส่วนเวลาที่เหลืออีก 40 นาที เป็นเวลาที่ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อปรับปรุงผลงานที่ทำในคาบ รวมถึงใช้เวลาช่วงนี้ให้นักเรียนได้สรุปสิ่งที่ตนเองเรียนรู้ในคาบนั้นๆ ด้วย

*โรงเรียนเพลินพัฒนาวางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง (ESL- English as a Second Language) ที่ใช้ทักษะการอ่านเป็นเครื่องมือหลักในการเรียนรู้ และมีการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนในรูปแบบที่เรียกว่า High Function Open Approach ที่เน้นในเรื่อง task-based learning เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ และการสื่อสารความคิดความเข้าใจระหว่างกันเป็นสำคัญ

ฉันรู้สึกประทับใจรูปแบบการเรียนการสอนนี้เป็นอย่างมาก เพราะฉันรู้ดีว่าเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กไทย ที่จะมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะพวกเขาต่างเคยชินกับการถูกป้อนข้อมูลให้ตลอดเวลา จากทั้งที่โรงเรียน และที่บ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนกวดวิชาต่างๆ ที่มุ่งเน้นแค่ให้เด็กสอบได้คะแนนดีๆ เท่านั้น แต่โรงเรียนแห่งนี้กำลังสอนให้เด็กคิดเป็น ทำเป็น วิเคราะห์เป็น และต่อยอดความรู้เองได้ ฉันรู้สึกยินดีกับเด็กที่มีโอกาสได้เรียนที่นี่ และรู้สึกยินดีที่ตัวเองจะได้มีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างเด็กที่มีคุณภาพออกสู่สังคม

ความใส่ใจของครูที่มีต่อนักเรียนของโรงเรียนแห่งนี้ เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ฉันรู้สึกดีมากที่สุด ฉันเลือกที่จะเป็นครู เพราะฉันรักและเป็นห่วงเด็กๆ ฉันจึงอยากเป็นครูที่ไม่ได้สนใจแค่ว่าเด็กต้องเก่งทุกวิชา ต้องทำคะแนนให้ดีให้ได้ทุกวิชา โดยไม่สนว่าเด็กจะเป็นอย่างไร ฉันอยากเป็นครูที่รู้และใส่ใจว่า ตอนนี้เด็กรู้สึกอย่างไร มีความสุขดีไหม มีความชอบ สนใจหรือถนัดเรื่องอะไร ซึ่งโรงเรียนแห่งนี้มีแนวคิดไม่ต่างไปจากฉันเลย

วันหนึ่ง คุณครูใหม่ – วิมลศรี ศุษิลวรณ์ ได้ยื่นกระดาษจำนวน 4 แผ่นให้ฉัน ในกระดาษเหล่านั้นไม่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องที่ฉันต้องสอนเลย มีเพียงเนื้อหาเกี่ยวกับการเชื่อมสัมพันธ์ และการเข้าถึงจิตใจของเด็กเท่านั้น ภายในใจของฉันรู้สึกปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง ในที่สุดฉันก็พบกับคนที่ให้ความสำคัญในสิ่งเดียวกันกับฉันแล้ว ฉันลองนำเนื้อหาของบทความไปทดลองปรับใช้กับนักเรียน เพิ่มเติมขึ้นไปจากแผนการสอนที่ฉันทำอยู่เป็นปกติ ฉันถามพวกเขาถึงสิ่งที่พวกเขาสนใจ โดยสอดแทรกเข้ากับเนื้อหาที่ฉันสอน ฉันนำมันมาปรับใช้เวลาให้งานพวกเขา ผลลัพธ์ที่ได้เป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่ง เพราะโจทย์นี้ทำให้พวกเขาเกิดพลังในการอ่านและแปลข่าวภาษาอังกฤษ มีความตื่นเต้น สนุกสนาน เมื่อได้เห็นว่าข่าวเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งที่พวกเขาสนใจ เช่น ข่าวเกี่ยวกับสัตว์ หรือนักร้อง นักกีฬาที่พวกเขาชื่นชอบ

นอกจากนี้ฉันยังได้พูดคุยเพิ่มเติมนอกเวลาเรียนอย่างสบายๆ กับเด็กๆ โดยเฉพาะเด็กที่มักจะไม่สนใจเรียน พูดคุยกับเพื่อน หรือวาดรูปเล่นตลอดเวลา ถามไถ่ความรู้สึกพวกเขาในแต่ละวัน ถามถึงปัญหาที่รบกวนจิตใจพวกเขา ถามถึงครอบครัว สัตว์ที่ชอบ หรือเรื่องรอบตัวธรรมดาๆ ให้กำลังใจ แนะนำสิ่งที่จะช่วยให้พวกเขาพัฒนาขึ้นได้อีก ด้วยความหวังดีอย่างจริงใจ สิ่งเหล่านี้แม้จะดูไม่เกี่ยวข้องอะไรเลยกับการสอนของฉัน แต่มันได้ผลอย่างไม่น่าเชื่อ…

เด็กๆ ตั้งใจฟังสิ่งที่ฉันสอนมากขึ้น ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามอย่างกระตือรือร้นยิ่งขึ้น ฟังคำแนะนำ คำตักเตือนของฉันอย่างเปิดใจมากขึ้น มีเด็กคนหนึ่งที่ปกติแล้วไม่ชอบภาษาอังกฤษเอามากๆ เพราะรู้สึกว่าไม่เข้าใจเนื้อหาเอาเสียเลย เธอมักจะเอาแต่วาดรูปในคาบวิชา ESL อยู่เสมอ จากนั้นเธอค่อยๆ เปลี่ยนไป ยกมือ ตอบคำถามมากขึ้น ฟังฉันสอนมากขึ้น ยิ้มแย้มมากขึ้น วันหนึ่งเธอเดินเข้ามาพูดกับฉัน “สุดยอดเลย Teacher หนูไม่เคยเข้าใจภาษาอังกฤษมากขนาดนี้เลยในรอบสามปีที่ผ่านมา!!!” เธอพูดอย่างยิ้มแย้ม มีความสุข ฉันก็มีความสุข ความเหน็ดเหนื่อยทั้งหมดสลายหายไปราวกับไม่เคยมีมาก่อน

หนังสือสอนเข้มเพื่อศิษย์ขาดแคลน จัดพิมพ์โดย มูลนิธิสยามกัมมาจล ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และกองทุนจิตตปัญญาเพื่อครูเพลินพัฒนา

Tags:

เทคนิคการสอนความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้สอนเข้มเพื่อศิษย์ขาดแคลนRelational mindsetศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

Author:

illustrator

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

รองประธานกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล ผู้อำนวยการคนแรกของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) และได้ดำรงตำแหน่ง 2 สมัย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส.) ดำรงตำแหน่งกรรมการของหน่วยงานและมูลนิธิหลายแห่ง

illustrator

ครูใหม่ วิมลศรี ศุษิลวรณ์

Illustrator:

illustrator

เพชรลัดดา แก้วจีน

นักวาดภาพประกอบอิสระ มีความสนใจปรากฏการณ์ต่างๆในสังคม ชอบสังเกตผู้คน เขียนบันทึก และอ่านหนังสือ ยามว่างมักใช้เวลาไปกับการดริปกาแฟและเล่นกับแมว

Related Posts

  • Learning Theory
    Achievement mindset: เสริมสร้างทักษะ Grit ให้อยู่กับนักเรียน

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชครูใหม่ วิมลศรี ศุษิลวรณ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Learning Theory
    Achievement mindset: ชวนนักเรียนตั้งเป้าหมายสูง เคล็ดลับผลักดันให้นักเรียนประสบความสำเร็จ

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชครูใหม่ วิมลศรี ศุษิลวรณ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Learning Theory
    ชวนครูสร้างพื้นที่ปลอดภัย ช่วยให้นักเรียนกล้าเสี่ยงที่ผิดพลาด แล้วเขาจะเติบโต

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชครูใหม่ วิมลศรี ศุษิลวรณ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Learning Theory
    RELATIONAL MINDSET: ความสัมพันธ์ครูกับศิษย์ในฐานะมนุษย์ เพราะสัมพันธ์ที่ดีมีผลต่อการเรียนรู้

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชครูใหม่ วิมลศรี ศุษิลวรณ์ ภาพ เพชรลัดดา แก้วจีน

  • Learning Theory
    วิจารณ์ พานิช: เตรียมนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัย เข้าสู่อาชีพที่ชอบ ใช่ และเหมาะกับตัวเอง

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ บัว คำดี

พ่อแม่ควรตั้งรับอย่างไร เมื่อต้องทำงานที่บ้านและลูกไม่ได้ไปโรงเรียน
อ่านความรู้จากบ้านอื่น
1 May 2020

พ่อแม่ควรตั้งรับอย่างไร เมื่อต้องทำงานที่บ้านและลูกไม่ได้ไปโรงเรียน

เรื่อง วิรตี ทะพิงค์แก

  • พูดคุยกับคุณผู้ปกครองและเด็กที่มีประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง (บ้านเรียน) และถอดบทเรียนมาเป็นแนวทางสำหรับพ่อแม่ว่าเราอาจมีตัวช่วยในสถานการณ์ “Learn From Home” นี้ได้อย่างไร ด้วยมุมมองที่ว่า “การเรียนรู้ไม่ได้จำกัดแค่เพียงการไปโรงเรียน” 
  • เริ่มตั้งแต่ ‘การเล่น’ การเรียนรู้ของเด็กเล็ก การออกแบบวิถีชีวิตร่วมกันของวัยรุ่นที่โตขึ้นมาหน่อย สำรวจทรัพยากรที่มีแล้วลงมือทำกิจกรรมร่วมกัน สุดท้าย การตั้งหลักของผู้ปกครองที่ว่า ลดความคาดหวัง พลาดพลั้งคือก้าวสำคัญของการเรียนรู้
  • “การกลับมาเรียนรู้ที่บ้านเป็นไปได้ว่าเราอาจต้องนิยามความหมายของ Space&Time คำว่า ‘บ้าน’ เสียใหม่ ต้องยกระดับขึ้นเป็น ‘พื้นที่เรียนรู้’ ได้ด้วยแนวคิดการออกแบบ 3 กิจกรรม 3 พื้นที่ คือ การทำกิจกรรมในบ้าน (งานบ้าน) กิจกรรมนอกบ้าน (การเชื่อมโยงการเรียนรู้กับปรากฏการณ์ทางสังคม) และกิจกรรมตามความสนใจส่วนตัว จะช่วยให้การอยู่ร่วมกันผ่อนคลายลง ทุกคนเป็นเจ้าของเวลาของตัวเอง ในพื้นที่ของตัวเอง” ป้อมปืน–วรวัส สบายใจ ผู้ที่มีประสบการณ์การเรียนรู้แบบบ้านเรียนมาก่อน

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตดั้งเดิมเป็นวงกว้าง หากพิจารณาในภาพย่อยๆ ระดับครอบครัว พ่อแม่จำนวนไม่น้อยกลายเป็นผู้ประสบภัยกันถ้วนหน้า ทั้งมิติการทำงาน เศรษฐกิจ วิถีชีวิต และสำคัญที่สุดคือการศึกษาของลูกซึ่งพ่อแม่อาจต้องเป็นผู้รับผิดชอบเป็นหลักไปก่อน

แม้นโยบายล่าสุด กระทรวงศึกษาธิการจะประกาศว่าให้เลื่อนเปิดภาคเรียนของโรงเรียนทั่วประเทศออกไปเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่อาจยืนยันได้ด้วยซ้ำว่าเมื่อถึงเวลานั้น การเรียนการสอนจะเป็นไปได้ตามปกติจริงไหม เพราะการเรียนออนไลน์มีองค์ประกอบและปัจจัยสนับสนุนหลายประการเหลือเกิน ยังไม่นับความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ทำให้ปัญหายิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นไปอีก และคนที่ได้รับผลกระทบหนักหนาที่สุดก็คือครอบครัวและพ่อแม่นั่นเอง  

The Potential ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่และเด็กที่มีประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง(บ้านเรียน)มาก่อน ได้แก่ พ่อปุ๊-วีรวัฒน์ กังวานนวกุล, แม่เช็ง-ศุภรัตน์ ศุภชัยศิริกุล, แม่จิ๊บ-ธัญชนก สีหาพล,  ป้อมปืน-วรวัส สบายใจ และถอดบทเรียนมาเป็นแนวทางสำหรับพ่อแม่ว่าเราอาจมีตัวช่วยในสถานการณ์ “Learn From Home” นี้ได้อย่างไรบ้าง

โอกาสการเรียนรู้อยู่ทุกที่ของชีวิต

การศึกษาในความคุ้นเคยของพ่อแม่อาจหมายถึงการส่งลูกไปโรงเรียน เรียนเป็นวิชา วัดผลได้จากเกณฑ์การประเมินที่มี แต่อันที่จริงแล้วการศึกษาเป็นเพียงส่วนย่อยที่เล็กมากของคำว่า “การเรียนรู้” ในวิกฤติครั้งนี้ ก่อให้เกิดการล่มสลายของหลายอย่าง แต่สิ่งหนึ่งที่ช่วยให้คนรอดได้คือการมีทักษะชีวิต บางคนตกงาน แต่ยังอยู่รอดได้เพราะทำอาหารได้ ค้าขายออนไลน์เก่ง นำเอางานอดิเรกมาทำเป็นอาชีพเป็นรายได้หลักในช่วงเวลานี้ คนจำนวนมาก ใช้โอกาสนี้สร้างแหล่งอาหารประจำบ้านของตัวเอง ด้วยการปลูกผักสวนครัว รื้อฟื้นทักษะการถนอมอาหาร แปรรูปอาหาร  เป็นความรู้ที่ช่วยชีวิตได้จริง 

ดังนั้นพ่อแม่อาจต้องมีมุมมองใหม่ว่า “การเรียนรู้ไม่ได้จำกัดแค่เพียงการไปโรงเรียนเท่านั้น” และเกิดขึ้นได้จากทุกสิ่งที่ลูกสนใจ

การเล่นเป็นงานของเด็ก(เล็ก)

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ กล่าวว่า เด็กเรียนรู้ในทุกวันอยู่แล้วนับตั้งแต่เกิดโดยมีแม่หรือผู้เลี้ยงดูหลักเป็นของเล่นที่ดีที่สุด เป้าหมายการเรียนรู้ของเด็กเล็กในช่วง 0-7 ปี คือ “การเล่น” เล่นดิน เล่นทราย สำรวจธรรมชาติ ต่อบล็อคไม้ ให้เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อขาและนิ้วมือมากๆ และ “การฟังนิทาน” ทุกวัน เพื่อทำให้เด็กมีความมั่นคงภายใน(แม่มีอยู่จริง)และส่งเสริมพัฒนาการสมองทางอ้อมด้วย

คุณหมอยืนยันว่าเด็กเล็กช่วงปฐมวัยจึงไม่ต้องไปโรงเรียน(ในวิกฤติ)ก็ได้ สามารถเรียนรู้จากการเล่น ฟังนิทาน และการทำงานบ้านง่ายๆได้อย่างไม่มีปัญหาใดเลย

แม่จิ๊บ-ธัญชนก สีหาพล

แม่จิ๊บ-ธัญชนก สีหาพล เป็นคุณแม่ของลูกวัย 5 ปี และ 3 ปี เป็นเจ้าของเพจเลี้ยงลูกให้โตไปกับหนังสือ แบ่งปันการดูแลลูกผ่านการเล่นและอาชีพของพ่อแม่ว่า

“ที่บ้านคุณพ่อปลูกผัก เราจึงปล่อยให้ลูกเล่นดินเล่นทรายเต็มที่ ชวนลูกคุยถ้าปลูกผักต้องใช้อุปกรณ์อะไร ต้องรดน้ำแบบไหน ผักหน้าตาเป็นอย่างไร เขาอาจแค่คุ้ยเขี่ยดิน แต่ได้ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือ ได้อยู่กับธรรมชาติ เป็นโอกาสที่พ่อแม่ได้พักด้วย เด็กอยู่นิ่งไม่ได้ ต้องหากิจกรรมเล่นให้เขาได้ใช้พลังและไม่เบื่อ แค่ได้โหนตัวกับต้นไม้ บางทีเขาก็สนุกมากแล้ว ที่บ้านเราอ่านนิทานก่อนนอนทุกคืน แล้วชวนลูกคิดว่าพรุ่งนี้อยากทำอะไร เช่น ทำแคมป์ไฟ เล่นทราย ทำอาหาร ตื่นเช้ามาคนโตจะวาดรูปนำเสนอความคิดว่าที่เขาอยากได้คือแบบนี้ มีอะไรบ้าง แม่จะเตรียมของให้ เช่น ปิ้งลูกชิ้น มาชเมลโล ชวนลูกคุยว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง หรือมีสิ่งไหนที่เราอยากทำให้ดีขึ้น เราขายหนังสือเด็กมือสองมาได้สองสามปีแล้วเพราะทำห้องสมุดที่บ้าน ลูกๆ มีโอกาสไปช่วยขายหนังสือด้วย เขาได้พบบรรยากาศที่เด็กๆ มาอ่านหนังสือ คนมาซื้อของ ได้ซึมซับสิ่งเหล่านี้ จนวันหนึ่งเขาก็พูดว่า ‘โตขึ้นภูจะช่วยแม่ขายหนังสือนะ’ ทุกอย่างที่เราทำจึงช่วยการเรียนรู้ของลูกเสมอ”

ออกแบบวิถีชีวิต(ใหม่)ร่วมกัน

เป้าหมายการเรียนรู้ของเด็กระดับประถมศึกษา (7-12ปี) คือการฝึกฝนความตื่นตัว ตั้งใจ คัดกรอง คัดเลือกข้อมูลเพื่อลงมือทำให้สำเร็จ ผู้ปกครองทำหน้าที่เพียงออกแบบโจทย์ปัญหาร่วมกับลูกเพื่อนำไปคิดวิเคราะห์ และลงมือทำเพื่อแก้ไขปัญหาให้ได้ตามเป้าหมาย เด็กที่เริ่มโตขึ้นจำเป็นต้องทำตามหน้าที่ ขณะเดียวกันก็เริ่มต้องการพื้นที่และเวลาของตัวเอง

ป้อมปืน-วรวัส สบายใจ อายุ 27 ปี เป็นผู้ที่มีประสบการณ์การเรียนรู้แบบบ้านเรียนมาก่อน และทุกวันนี้ยังคงเรียนรู้และทำงานเกี่ยวข้องการกับวิเคราะห์และพัฒนาการเรียนรู้อยู่เสมอ เขาแบ่งปันแนวทางการจัดสรรเวลาสำหรับพ่อแม่ในช่วงการเรียนที่บ้านว่า 

ป้อมปืน-วรวัส สบายใจ

“การกลับมาเรียนรู้ที่บ้าน(สำหรับคนที่ไม่เคยทำบ้านเรียน) เป็นไปได้ว่าเราอาจต้องนิยามความหมายของ Space&Time คำว่า ‘บ้าน’ เสียใหม่ ต้องยกระดับขึ้นเป็น ‘พื้นที่เรียนรู้’ ได้ด้วยแนวคิดการออกแบบ 3 กิจกรรม 3 พื้นที่ คือ การทำกิจกรรมในบ้าน (งานบ้าน) กิจกรรมนอกบ้าน (การเชื่อมโยงการเรียนรู้กับปรากฏการณ์ทางสังคม) และกิจกรรมตามความสนใจส่วนตัว จะช่วยให้การอยู่ร่วมกันของคนในบ้านผ่อนคลายลง ทุกคนมีโอกาสเป็นเจ้าของเวลาของตัวเอง ในพื้นที่ของตัวเองได้ด้วย”

“ไม่อยากให้พ่อแม่คิดว่าลูกต้องเรียนรู้ตลอดเวลา การปล่อยให้ได้เรียนรู้ด้วยตัวเองหรือทำสิ่งที่สนใจด้วยความสนุก ความอยากรู้ ก็ช่วยเพิ่มทักษะได้เหมือนกัน การออกแบบการศึกษาที่บ้านเราสามารถใช้ทรัพยากรที่เรามีอยู่อย่างจำกัดในบ้าน สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้สนุกได้”

1. ออกแบบตารางเวลาร่วม 

เมื่อพ่อแม่และลูกจำเป็นต้องใช้เวลาอยู่ร่วมกันมากขึ้น ในขณะพ่อแม่หลายคนจำเป็นต้องทำงานที่บ้าน การออกแบบตารางเวลาร่วมกันเป็นเครื่องมือช่วยให้สมาชิกในบ้านเห็นภาพรวมที่ร่วมกันมากขึ้น  โดยระบุเวลาที่ตายตัวของแต่ละคน เช่น พ่อแม่ต้องทำงาน ลูกต้องเข้าชั้นเรียน แล้วมาบริหารเวลาว่างที่เหลือที่มีร่วมกัน ว่าสามารถทำอะไรในช่วงไหนได้บ้าง หรือ บริหารเวลาระหว่างพ่อกับแม่ว่าเวลาไหน ใครต้องทำอะไร พ่อแม่ที่มีลูกเล็กอาจต้องแบ่งกันดูแลลูก หรือนั่งเรียนออนไลน์พร้อมกับลูก เป็นต้น

2. ออกแบบกิจกรรมร่วม 

   1) ใช้งานบ้านและวิถีชีวิตเป็นการเรียนรู้ในบ้าน โดยแบ่งกิจกรรมงานบ้านมอบหมายให้ทุกคนร่วมกันทำ ครอบครัวของ แม่เช็ง-ศุภรัตน์ ศุภชัยศิริกุล ใช้งานบ้านช่วยออกแบบการใช้ชีวิตร่วมกันกับลูกสาวทั้งสามคนวัย 13,18 และ 20 ปี  

แม่เช็ง-ศุภรัตน์ ศุภชัยศิริกุล และลูกๆ

“ลูกทุกคนมีหน้าที่ทำงานบ้านโดยเลือกจากที่ชอบ อย่างพิกซี่ (ลูกคนเล็ก) ชอบเรื่องสัตว์ จึงมอบหมายให้มีหน้าที่ดูแลสัตว์ทั้งหมดในบ้าน แต่ไม่ชอบซักผ้าตากผ้า แฟรี่ (ลูกคนที่สอง) ก็เป็นคนทำ คนน้องจะรู้หน้าที่ตัวเอง ตื่นมาให้อาหารไก่ ปล่อยสัตว์ไปเดิน  ปีนี้เขาได้รับมอบหมายโปรเจคที่ซับซ้อนขึ้น โดยมีหน้าที่สำรวจธรรมชาติทุกอย่างในรั้วบ้าน เช่น นกอพยพ แมลง สัตว์เลื้อยคลานต่างๆ  แล้วตรวจสอบข้อมูล นำถ่ายภาพมาวิเคราะห์เทียบเคียง ตรวจสอบอ้างอิงกับกลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม ถ้ายังไม่ได้คำตอบให้สอบถามผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น

“งานบ้านเป็นกิจกรรมที่เชื่อมโยงการเรียนรู้ได้เยอะมาก ทั้งศิลปะ วิทยาศาสตร์ การทดลอง เราใช้เวลาช่วงกินข้าวโยนคำถามให้กัน เช่น กินแกงเทโพ แล้วสงสัยว่าผักบุ้งมีกี่แบบ ที่ใส่เย็นตาโฟ กินกับส้มตำ ที่ทำผัดผักบุ้งต่างกันไหม แค่นี้ก็เป็นคำถามให้ค้นคว้าได้แล้ว สายพันธุ์ผักบุ้งมีอะไรบ้าง อะไรคือพันธุ์พื้นบ้าน อะไรคือพันธุ์ต่างถิ่น แล้วเต้าเจี้ยวที่ใส่ผัดผักบุ้ง ทำยังไง ใช้อะไรหมัก ถ้าพ่อแม่เคารพลูกนะ เราจะเห็นเลยว่าลูกโดยเฉพาะเด็กโตมีความสามารถในการหาข้อมูลที่ลึกมากเลย บางทีเค้าตีข้อมูลเรากระจายเลย(หัวเราะ) นี่แหละคือการเรียนรู้ที่เราทำให้มันเกิดขึ้น ไม่ใช่แค่การเรียนแบบที่เราคุ้นชินเป็นวิชาๆ” 

   2) ใช้ปรากฏการณ์ทางสังคมเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ เช่น ตั้งคำถามว่าเราจะช่วยผู้อื่นในสถานการณ์โรคระบาดนี้ได้อย่างไร อาจชวนกันแบ่งปันอาหาร สิ่งของให้ผู้ได้รับผลกระทบ การออกแบบวิถีชีวิตใหม่หลังผ่านพ้นสถานการณ์โควิด เพื่อฝึกฝนการคิดวิเคราะห์ ฝึกการเชื่อมโยงตัวเองเข้ากับสังคม ฝึกความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในยุค AI ทำงานแทนคนได้มากขึ้น บางครอบครัวใช้สถานการณ์ไฟไหม้ป่าภาคเหนือเป็นจุดเริ่มต้นในการสอนลูกเรื่องการแบ่งปัน การทำเพื่อผู้อื่น เช่น การร่วมบริจาคสิ่งของให้เจ้าหน้าที่ดับไฟป่า การช่วยทำแนวกันไฟ และต่อเนื่องถึงการช่วยเหลือดูแลสัตว์ป่าที่ได้รับผลกระทบจากไฟป่า เป็นต้น

3. มีพื้นที่และเวลาส่วนตัวของแต่ละคนด้วย 

การอยู่ร่วมกันไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างด้วยกันไปทั้งหมด ควรมีเวลาอิสระสำหรับแต่ละคนได้ด้วยเพื่อผ่อนคลายและทำสิ่งที่สนใจตามความต้องการของตัวเอง  เด็กๆ อาจใช้เวลาว่างของเขาเล่นเกม ดูทีวี พ่อแม่ก็ต้องเคารพช่วงเวลานี้ของเขาด้วย สิ่งสำคัญที่สมาชิกทุกคนจะได้จากการจัดการเวลาร่วมกัน คือการสร้างจังหวะชีวิตที่สอดคล้องกัน มีทั้งพื้นที่ส่วนรวม พื้นที่ส่วนตัว และเรียนรู้การเคารพเวลาและสิทธิของกันและกันด้วย 

สำรวจทรัพยากรที่มีแล้วลงมือทำเลย  

วิธีการที่ง่ายที่สุดสำหรับพ่อแม่คือการสำรวจทรัพยากรในบ้านและชุมชนแล้วนำมาสร้างการมีส่วนร่วมเรียนรู้และสร้างโจทย์ปัญหาอย่างง่ายๆเพื่อเล่นสนุกไปด้วยกันกับลูก 

พ่อปุ๊-วีรวัฒน์ กังวานนวกุล ผู้จัดการโรงเล่น พิพิธภัณฑ์ของเล่นเพื่อการเรียนรู้ จ.เชียงราย ใช้บรรยากาศชุมชน พ่อครูแม่ครูเป็นต้นทุนให้ลูกชายสองคนเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจ ในกรณีของลูกชายคนโต เขาได้เติบโตจากเด็กที่เล่นของเล่นพื้นบ้าน มาสู่การรื้อซ่อมของเล่น ออกแบบของเล่นด้วยตัวเอง จนปัจจุบันได้พัฒนาความซับซ้อนกลายเป็นการออกแบบรถไฟฟ้าสามล้อที่เคลื่อนที่ใช้ได้ในชีวิตจริงด้วยการลงมือทำเองทั้งหมด ส่วนลูกคนเล็กก็พัฒนาสินค้าเป็นของเล่นและงานฝีมือจากผ้าในแบรนด์ปักด้ายปักดีร่วมกับคุณแม่ โดยยกระดับสู่การขายออนไลน์ร่วมกันทั้งครอบครัว  (The Potential จะนำเสนอบทความในรายละเอียดต่อไป) 

พ่อปุ๊-วีรวัฒน์ กังวานนวกุล

“การเริ่มต้นจากทรัพยากรที่มีในบ้าน ทำให้เราไม่ต้องลงทุนใหม่ ลองดูว่าในชั้นหนังสือ ห้องครัว ในสวน พื้นที่รอบชุมชน เรานำอะไรเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ได้บ้าง เช่น เราชวนลูกคุยว่าถ้าในหนึ่งสัปดาห์นี้เราจะไม่ออกไปตลาดเลย เราควรจะต้องมีวัตถุดิบอาหารอะไรบ้าง หรือถ้าหนึ่งเดือนเราจะไม่ออกไปตลาดเลย เราต้องปลูกผักอะไรไว้บ้าง มีอะไรที่เราจะสร้างเป็นอาหารได้บ้าง ก็เกิดเป็นรูปแบบกิจกรรมอย่างง่ายๆขึ้น ทดลองกันออกแบบเมนูอาหาร เช้ากลางวันเย็น น่าจะมีเมนูอะไรบ้าง  

“การที่เรามาชวนลูกทำเรื่องอาหาร ไม่ได้แค่อาหารที่กินแล้วอิ่มอย่างเดียว แต่ได้เรื่องปฏิสัมพันธ์ การแลกเปลี่ยนสนทนากับลูก อย่างเช่นเมนูกะเพรา เด็กที่ไม่เคยลงมือทำมาก่อนอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องใส่กระเทียม พริก แล้วพริกมีกี่แบบ ไฟอ่อนหรือแรงได้ผลต่างกันไหม ทำไมต้องใส่ใบกะเพรา ถ้าเปลี่ยนเป็นใบอย่างอื่นได้หรือเปล่า เครื่องปรุงต้องใช้อะไร ทุกอย่างเป็นทั้งคำถามและการเรียนรู้การทำอาหารหรือการเรียนรู้ร่วมกับลูกในสถานการณ์แบบนี้ เราไม่ได้หวังผลระยะสั้นทันที แต่เป็นจุดเริ่มต้นของการปรับแนวคิดของทั้งพ่อแม่และเด็กๆว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นทุกที่ทุกเวลา” 

ทรัพยากรในที่นี้ยังอาจหมายรวมถึงความสนใจของเด็ก อุปกรณ์ เครื่องมือที่พ่อแม่จะสนับสนุนให้ได้ เช่น หัดถ่ายภาพ หัดตัดต่อวีดีโอ การลองถ่ายสารคดี การวาดสติกเกอร์ไลน์ หรือความเป็นไปได้ทุกอย่างที่เด็กอยากรู้อยากเห็นที่จะลงมือทำด้วยตัวเอง 

ลดคาดหวัง พลาดพลั้งคือก้าวสำคัญของการเรียนรู้

ความสนุกเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็ก การทดลองริเริ่มทำบางอย่าง ไม่จำเป็นต้องได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดีที่สุดเสมอไป เพราะในระหว่างการทำพลาดนั้น เด็กๆ ก็เกิดการเรียนรู้ด้วยเหมือนกัน พ่อแม่อาจใช้โอกาสของการเรียนที่บ้านเป็นสนามเด็กเล่นหรือเป็นห้องทดลองขนาดใหญ่ที่เราสามารถใช้ความอยากรู้อยากเห็น มาออกแบบสู่การแสวงหาคำตอบอย่างเป็นขั้นเป็นตอนได้เหมือนกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ทุกๆขั้นตอนของการลองผิดลองถูก เราถือว่าเป็นการเรียนรู้ทั้งสิ้น 

แม่เช็ง-ศุภรัตน์ ศุภชัยศิริกุล มองว่าวิกฤตินี้ทำให้ทุกคนตึงเครียดอยู่แล้ว พ่อแม่ต้องลดความคาดหวังลง แล้วหันมายืนอยู่ข้างเดียวกับลูกเพื่อสามารถเปลี่ยนผ่านไปด้วยกัน

“อยากให้พ่อแม่มองว่าเรามีโอกาสเรียนรู้จากทุกๆ อย่าง ถ้าไม่มองเรื่องความสำเร็จ ทุกสิ่งที่เราทำพลาด เราเรียนรู้และพัฒนาอะไรจากมันได้ นี่มีความหมายมากแล้ว เพราะฉะนั้น พ่อแม่ไม่ต้องเก่งที่สุด ดีที่สุด แต่เราก็จะเรียนรู้ไปด้วยกันกับลูกได้ทุกครั้ง”

(พ่อแม่)เหนื่อยนักก็พักก่อน

วิถีชีวิตที่ต้องทั้งทำงานจากบ้านและเลี้ยงลูก (ให้เรียน) ที่บ้าน อาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับหลายคน จำเป็นต้องอาศัยการปรับตัวกันทุกคน ข้อนี้เชื่อมโยงกับข้อก่อนหน้า ถ้าเราลดความคาดหวังลงไปบ้าง ทั้งจากตัวเองในฐานะพ่อแม่และจากลูก ชีวิตจะโปร่งเบาไปได้มาก ให้ยอมรับและเข้าใจว่าในการเริ่มต้นใหม่ ทุกเรื่องต้องใช้เวลาเรียนรู้ด้วยกันทั้งสิ้น

แม่จิ๊บ-ธัญชนก สีหาพล แบ่งปันมุมมองของการเป็นคุณแม่เด็กปฐมวัยว่า “บางทีพ่อแม่แบกคำว่าการเรียนรู้มากเกินไป บางครั้งเราเห็นลูกทำด้วยความสนุกด้วยตัวเอง ไม่แบก ไม่ต้องมาคิดว่าจะเรียนรู้อะไร เขาจึงมีความสุข เราต้องเรียนรู้สิ่งเหล่านี้จากลูกด้วย”

เช่นเดียวกับที่ พ่อปุ๊-วีรวัฒน์ กังวาลนวกุล ส่งพลังให้กำลังใจแก่พ่อแม่ทุกคนว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นการเรียนรู้ได้ทั้งนั้น แม้แต่วิถีชีวิตของพ่อแม่  สิ่งนั้นสอดคล้องกับการศึกษาไหม เราไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ คือทำให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความสุขจึงจะเกิดขึ้นได้จริง ถ้าปล่อยให้ชีวิตรวน ต่อให้ลูกได้การศึกษาที่ดีแค่ไหนมันกลายเป็นปัญหาอยู่ดี ทำให้สมดุล ยืดหยุ่นและเหมาะสมในแบบของเราเอง เราจะมีความสุขในแบบของเราเอง ขอให้เริ่มด้วยความสนุก ถ้าเริ่มต้นจากสิ่งนี้ได้ ทุกอย่างจะไปต่อได้ง่ายมาก”   

หากเหนื่อยหนักนักหนากว่านั้น นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ได้เขียนไว้ในเพจเฟซบุ๊กของท่านเพื่อสื่อสารกับพ่อแม่อย่างเข้าอกเข้าใจต่อสถานการณ์การเปลี่ยนผ่านคราวนี้ว่า 

“เหนื่อยมาก ท้อใจ จนตรอก ที่ควรทำคือกินและนอน ถ้ามีลูก เล่นกับลูกไปวันๆ ก็พอ อย่าพยายามทำอะไร กินและนอน พลังจะคืนมาเอง ไม่ต้องพยายามเรียนอะไร หรือพัฒนาตัวเองอะไรเพิ่มไปอีก”  

ในบริบทเช่นนี้ มีความหมายถึงการลดภาระงานที่ไม่จำเป็นลงให้มากที่สุด ถ้ากลับไปเชื่อมโยงกับสิ่งที่ท่านให้ความสำคัญเสมอ สิ่งสำคัญของเด็กเล็กมีเพียงแค่ กิน นอน เล่น ฟังนิทาน ทำให้แม่มีอยู่จริง ส่วนเด็กโตคืออ่านหนังสือ แก้ปัญหา ทำงานบ้าน หากทำสิ่งเหล่านี้ได้ก็ถือว่าได้ทำมากพอแล้ว 

ในยามวิกฤติ พลังชีวิตของพ่อแม่เป็นเรื่องสำคัญ บางครั้งถ้ารู้สึกว่าชีวิตมัน “แบก” มากเกินไป ลองปล่อยวางและ “มีความสุขกับการไม่ทำอะไร”  หรือปล่อยให้ทุกอย่างไม่สมบูรณ์แบบดูบ้าง อาจเป็นหนทางของการเรียกพลังกลับคืนได้อย่างดีที่สุดเช่นกัน


เรียนรู้ให้พอดีกับแต่ละช่วงวัย
The Illinois State Board of Education ได้เสนอแนะการใช้เวลาเพื่อการเรียนรู้ในช่วงโควิด-19  ซึ่งพ่อแม่อาจใช้เป็นแนวทางทำกิจกรรมที่บ้านได้ ดังนี้

– เด็กอายุ 5 ปี เรียนรู้อย่างน้อย 20 นาทีแต่ไม่เกิน 60 นาทีต่อวัน 
– เด็กอายุ 6 ปี เรียนรู้อย่างน้อย 30 นาทีแต่ไม่เกิน 90 นาทีต่อวัน
– เด็กอายุ 7-8 ปี  เรียนรู้อย่างน้อย 45 นาทีแต่ไม่เกิน 90 นาทีต่อวัน
– เด็กอายุ 9-11ปี เรียนรู้อย่างน้อย 60 นาทีแต่ไม่เกิน 120 นาทีต่อวัน
– เด็กอายุ 12-14 ปี เรียนรู้ในชั้นเรียนครั้งละ 15-30นาที รวมแล้วไม่เกิน 90-180 นาทีต่อวัน
– เด็กอายุ 15-18 ปี เรียนรู้ในชั้นเรียนครั้งละ 20-45นาที รวมแล้วไม่เกิน 120-270 นาทีต่อวัน

(อ้างอิง : Remote Learning Recommendations During Covid-19 Emergency by The Illinois State Board of Education)

Tags:

โฮมสคูลไวรัสโคโรนา(โควิด-19)

Author:

illustrator

วิรตี ทะพิงค์แก

นักเขียน นักเล่าเรื่อง และบรรณาธิการอิสระ ที่ยังคงมีความสุขกับการเดินทางภายนอกเพื่อเรียนรู้โลกภายในของตัวเอง เจ้าของผลงานนิทานชุดดอยสุเทพเรื่อง ‘ป่าดอยบ้านของเรา’ หนังสือเรื่อง ‘เตรียมหนูให้พร้อมก่อนเข้าอนุบาล’ และ ‘ของขวัญจากวัยเยาว์’ คู่มือสังเกตความถนัดของลูกช่วงปฐมวัย เคยทำนิทานร่วมกับลูกชายเมื่อครั้งอายุ 6 ปี เรื่อง ‘รถถังนักปลูกต้นไม้’

Related Posts

  • Beyond Schooling : 3 รูปแบบการเรียนรู้ที่ไม่หยุดแค่รั้วโรงเรียน

    เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง

  • How to get along with teenager
    Teenage Burnout : ภาวะหมดไฟในวัยรุ่นวัย (หมด) ฝัน

    เรื่อง จณิสตา ธนาธรชัย ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Social Issues
    ‘เด็กยุคโควิด’ ดูแลไม่ให้ป่วยกายและใจ คุยกับ ‘หมอมินบานเย็น’ พญ.เบญจพร ตันตสูติ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

    เรื่อง ปริสุทธิ์

  • Social Issues
    พรเพ็ญ เธียรไพศาล หันหลังให้ความกลัว ทำงานอาสาสู้ความเดือดร้อนของคนคลองเตยจากโควิด-19

    เรื่อง นฤมล ทิพย์รักษ์

  • Social Issues
    ห้องเรียนที่บ้าน: 5 วิชาจากโคโรน่าไวรัส เปลี่ยนวิกฤตเป็นสนามการเรียนรู้ของเด็กๆ

    เรื่อง วิรตี ทะพิงค์แก ภาพ เพชรลัดดา แก้วจีน

Posts navigation

Newer posts

Recent Posts

  • ‘นิทานปากเปล่า’ เล่าความรักให้ลูกฟัง สร้างจินตนาการ สานสัมพันธ์ในครอบครัว: แม่จาว – วัชราวรรณ เพชรบุล
  • ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP4: การซึมซับและปรับตัว 
  • เปลี่ยนระบบนิเวศโรงเรียนเป็นสนามพลังบวก ยกระดับเด็กด้อยโอกาสสู่เด็กได้โอกาส: ผอ.วรรณรักษ์ หงษ์ทอง
  • F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง
  • Myth Universe : จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์สู่ Edutainment ความรู้นอกห้องเรียนที่เริ่มต้นจากคำถามและการเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง

Recent Comments

  • Existential crisis: วิกฤตชีวิตที่มาพร้อมกับคำถาม “แล้วฉันอยู่เพื่ออะไร” – EducationNet on Midlife Crisis: เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ทำไมใจถึงวิกฤต
  • The Psychological Wounds of Winnie the Pooh and His Friends: Exploring Characters from a Classic Literary Work - World Today News on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • Exploring the Psychological Wounds of Winnie the Pooh and Friends: A Fascinating Analysis - Archyde on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • 6 วิธีฝึกสอนให้ลูกเป็นเด็กมี Critical Thinking ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต – โรงเรียนมารีวิทยา ป on CRITICAL THINKING: สอนเด็กให้รู้คิด ผิดหรือถูกก็ใช้วิจารณญาณเป็น
  • Best รูป พลเมือง ดี Update New – Haiduongcompany.com on สอนและสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เรื่องไม่ง่ายที่ครูทำได้

Archives

  • July 2025
  • June 2025
  • May 2025
  • April 2025
  • March 2025
  • February 2025
  • January 2025
  • December 2024
  • November 2024
  • October 2024
  • September 2024
  • August 2024
  • July 2024
  • June 2024
  • May 2024
  • April 2024
  • March 2024
  • February 2024
  • January 2024
  • December 2023
  • November 2023
  • October 2023
  • September 2023
  • August 2023
  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • October 2021
  • September 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • April 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • November 2019
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017

Categories

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Uncategorized
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel