Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long Learning
  • Family
    Dear ParentsEarly childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily Psychology
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
Education trend
22 March 2018

สอบแบบไหนให้ได้ดี VS สอบแบบไหนยังไงก็ไม่ดี

เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • ท้อหรือยังกับการสอบแบบท่องจำ ที่เปลี่ยนห้องเรียนให้กลายเป็นห้องติวสอบแสนเครียด
  • ถ้าจัดสอบให้เป็นและถูกวิธี ความรู้ที่มีก็จะไม่ต้องถูกโยนทิ้งหน้าห้องสอบแต่จะอยู่ไปอย่างคงทนถาวร พร้อมใช้เสมอเมื่อต้องการ
  • นั่นเพราะสมองมีความพิเศษเกินกว่าจะใช้งานแค่การสอบ

ไม่เฉพาะในประเทศไทยที่มีกระแสต่อต้านและตั้งคำถามกับ การสอบวัดความรู้ระดับชาติ ว่าเป็นตัวชี้วัดความรู้และศักยภาพการใช้ชีวิตของนักเรียนได้จริงหรือ ที่สหรัฐอเมริกากระแสต่อต้านในหมู่ผู้ปกครองและครูต่อเรื่องนี้เกิดขึ้นหลังการตรากฎหมาย No Child Left Behind ปี ค.ศ. 2002 ที่บังคับให้นักเรียนเกรด 3 ถึงเกรด 8 (ป.3 ถึง ม.2) ต้องสอบวัดระดับอย่างเข้มข้นทุกปี จนเปลี่ยนห้องเรียนให้กลายเป็นห้องติวเตรียมการสอบ สร้างความเครียดและน่าเบื่อหน่ายมากกว่าสร้างแรงบันดาลใจในการค้นคว้าหาความรู้

นึกภาพแล้วก็ไม่ต่างจากสถานการณ์ในเมืองไทยที่สถาบันกวดวิชาหรือการติวเพื่อสอบต่างๆ ยังคงมีความสำคัญอยู่มาก… มากกว่าการเรียนในห้องเรียนด้วยซ้ำไป

อย่างไรก็ตาม การสอบก็ไม่ได้เป็นเรื่องแย่เสียทีเดียว หากจัดสอบให้เป็นและถูกวิธีจะช่วยให้สมองดึงความรู้เดิมจาก ความจำระยะยาว (Longterm Memory) ออกมาสู่ ความจำใช้งาน (Working Memory) ในสถานการณ์ใหม่ เพื่อสร้างการเรียนรู้ระดับลึก (Deep Learning) ที่จะอยู่ไปอย่างคงทนถาวรมากกว่าการท่องจำได้

กระบวนการนี้ เรียกว่า ‘Transfer’ ที่เป็นเหมือนการกระตุ้นเตือนให้สมองรับรู้ว่า ความรู้ส่วนที่กำลังดึงออกมาใช้นี้มีความสำคัญ หลังจากนั้นสมองจะจดจำความรู้นั้นอย่างอัตโนมัติโดยที่เราไม่รู้ตัว นั่นเป็นเพราะสมองคนเรามีความพิเศษ มีกลไกช่วยเลือกทำงานเฉพาะเท่าที่จำเป็นหรือเลือกเฉพาะสิ่งที่สำคัญ ดังนั้นในแง่ของการเรียนรู้ สมองจะเลือกจำความรู้ส่วนที่ดึงออกมาใช้งานบ่อยๆ งานวิจัยเรียกวิธีพัฒนาทักษะการเรียนรู้ (Learning Skills) แบบนี้ว่า การฝึกทบทวนความจำ (Retrieval Practice) ไม่ใช่การสอบ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าข้อสอบวัดความรู้ระดับชาติทุกวันนี้ ส่วนใหญ่เป็นข้อสอบวัดความรู้จากการท่องจำ มากกว่าการวัดความเข้าใจระดับลึกด้วยคำถามที่เชิญชวนให้ต้องคิด การฝึกทบทวนความจำ (Retrieval Practice) คือ การใช้ข้อสอบที่ถามความรู้ลึกและถามแบบปลายเปิด ตามด้วยการเฉลยและให้คำแนะนำในทันทีที่สอบเสร็จ (Immediate Feedback) ซึ่งจะช่วยให้เกิดทักษะการทำความเข้าใจและพัฒนาวิธีการเรียนของตนเอง (Metacognition)

เมื่อฝึกฝนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ นักเรียนจะสามารถดึงความรู้มาใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว เนื่องจากสมองจะทำหน้าที่จัดความรู้เป็นชุดๆ (Schema) อย่างเหมาะสมต่อการดึงความรู้แต่ละชุดออกมาใช้งาน เมื่อถึงจุดนั้นนักเรียนจะมีความสามารถตรวจสอบกระบวนการเรียนรู้ของตนเองได้ และกลายเป็นคนที่กำกับการเรียนของตนเอง (Self-regulated Learner) ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างลึกซึ้งเชื่อมโยงได้ในที่สุด

ตรงข้ามกับการสอบวัดระดับโดยทั่วไปในประเทศไทยอย่างสิ้นเชิง ปัจจุบันผู้สอบยังคงต้องตะบี้ตะบันท่องตำราเรียนเพื่อเข้าสอบแข่งขันอย่างดุเดือด ทำข้อสอบเสร็จให้ทันเวลา วางดินสอวางปากกา แล้วเดินออกจากห้องสอบโดยไม่ได้รับคำแนะนำป้อนกลับในทันทีที่สอบเสร็จ แถมยังต้องรอผลการสอบไปอีกหลายสัปดาห์ การสอบทุกวันนี้จึงเป็นเพียงการวัดความรู้ (Assessment) ที่ไม่ส่งผลต่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน

คำถามคือ นักเรียนไทยยังคงต้องอยู่ท่ามกลางสมรภูมิสอบที่ไม่ได้เสริมการเรียนรู้แบบนี้ไปถึงเมื่อไหร่…?

อ้างอิง: หนังสือ ‘เลี้ยงลูกยิ่งใหญ่’ โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช, บทที่ 6 มุมมองใหม่ต่อการสอบ

Tags:

ครูซึมเศร้าระบบการศึกษาเทคนิคการสอนการสอบ

Author:

illustrator

วิภาวี เธียรลีลา

นักเขียนอิสระที่อยากเข้าใจวิถีชีวิตผู้คน เลยพาตัวเองไปใช้ชีวิตในลอนดอน ปักกิ่ง เซินเจิ้นและอเมริกา กินมังสวิรัติ อินกับโภชนาการ กำลังเรียนเป็นนักปรับพฤติกรรมสุนัขและชอบกินกาแฟใส่ฟองนม

Related Posts

  • Unique Teacher
    “เรารักนักเรียนนะ แต่เราแสดงออกไม่เป็น” เปลือยชีวิตที่เต็มไปด้วยข้อผิดพลาดราวบทหนังสือของครูเฮง

    เรื่อง คณพล วงศ์วิเศษไพบูลย์ ภาพ ณัฐสุชา เลิศวัฒนนนท์

  • Character building
    ปั้น ‘คาแรคเตอร์’ ที่ดีให้เด็ก: โรงเรียน พ่อแม่ ชุมชน ต้องร่วมมือกัน

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Character building
    PROJECT-BASED LEARNING ทักษะมาก่อน คะแนนจะตามไป

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Unique Teacher
    ครูสอญอ: ผู้อำนวยการสร้างเยาวชนแห่งโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่าง

  • Education trend
    มหกรรมสอบในเด็ก: ความเครียดและความล้มเหลวก่อนวัยอันควร

    เรื่อง The Potential

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel