Skip to content
โฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brain
  • Creative Learning
    Creative learningLife Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique Teacher
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Character building21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learning
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
โฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brain

Year: 2019

อมรวิชช์ นาครทรรพ: ใช้ทัพเล็กสู้การศึกษา ซุ่มตีทีละเรื่อง “นี่คือรัศมีที่ผมทำได้ก่อนตาย”
21st Century skills
5 November 2019

อมรวิชช์ นาครทรรพ: ใช้ทัพเล็กสู้การศึกษา ซุ่มตีทีละเรื่อง “นี่คือรัศมีที่ผมทำได้ก่อนตาย”

เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

  • ปาฐกถา Human Wanted:การเรียนรู้ใหม่เพื่อฟื้นคืนความเป็นมนุษย์ โดย ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ช่วยกระตุกพ่อแม่ ครอบครัว ครู โรงเรียน เด็ก ร่วมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการศึกษาหันกลับมาตั้งคำถามกับสิ่งที่เป็นอยู่ว่าตอบโจทย์การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และความเป็นมนุษย์ของผู้เรียนแล้วหรือยัง
  • “คุณต้องเรียนไม่จบ” คือคำสำคัญของปาฐกถา เพราะ ปัจจุบันและอนาคต ความรู้และความเชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียว ไม่พออีกต่อไปในโลกที่เรียกร้องทักษะแบบ multi skill และการเรียนไม่รู้จบแบบน้ำที่ไม่เคยเต็มแก้ว 
  • วัย 59 ปีของอาจารย์ ยังทำงานด้านการศึกษาต่อไป เป้าหมายไม่เปลี่ยนแต่ซอยให้เล็กลง สู้แบบทัพเล็ก ยึดทีละหัวเมือง เพราะนี่คือ “รัศมีที่ผมทำได้ก่อนตาย”
ภาพ: เฉลิมพล ปัณณานวาสกุล

“คุณต้องเรียนไม่จบ” ประโยคสั้นๆ ของ ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ในงาน LSEd Symposium 2019 เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เพื่อเริ่มต้นปาฐกถา Human Wanted: การเรียนรู้ใหม่เพื่อฟื้นคืนความเป็นมนุษย์ อาจทำให้หลายคนงงปนสงสัย

แต่ในงาน LSEd Symposeum 2019 ซึ่งเต็มไปด้วยคนหลากวงการที่สนใจเรื่องการศึกษา คนฟังจำนวนมากจึงไม่ตกใจ ซ้ำยังเข้าใจด้วยว่า คำว่า ‘เรียนไม่จบ’ ของ อ.อมรวิชช์ หมายความว่าอย่างไร 

“เรียนแบบออกนอกลู่นอกทางมันจำเป็น ต้องเปลี่ยน mindset กันหมด ตอนนี้คนเรียนไม่จบแต่รู้มากกว่า ได้เปรียบกว่ามาก ผมพูดในระดับ conceptual ไม่ได้พูดถึงระดับปฏิบัติ คุณจะเอาปริญญาตามระบบ ก็ทำไป แต่คุณต้องเรียนไม่จบ” 

เรียนไม่รู้จบ อ.อมรวิชช์ หมายความว่าอย่างนั้น เพราะปัจจุบันและอนาคต ความรู้และความเชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียว ไม่พออีกต่อไปในโลกที่เรียกร้องทักษะแบบ multi skill 

“อาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัยอย่างผม เด็กๆ ก็ไม่ปลื้มแล้วนะ ทำงานบริษัทเหรอ ขอดูก่อนแล้วกัน จริงๆ เขาอยากเป็นนายตัวเอง หาธุรกิจเหมาะๆ ไม่จำเป็นต้องรีบประสบความสำเร็จแต่เขากำลังคลำโจทย์ในชีวิตเขาอยู่”​

แล้วทำไม ‘เด็กสมัยนี้’ ต้องเรียนต้องรู้อะไรกันนักหนา? ในฐานะนักวิชาการและอาจารย์ที่ทำงานด้านการศึกษามาทุกระดับจนเกษียณ อ.อมรวิชช์ ชี้ว่า เพราะบริบทที่เปลี่ยนไป โลกเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ทำอะไรได้เยอะแยะ แต่การทำอะไรได้ เขาจำเป็นต้องรู้ก่อน 

“เด็กจึงคาดหวังจากการศึกษาเยอะ เขาอยากเรียนอะไรก็ได้ที่มั่นใจว่าจะทำให้บรรลุเป้าหมายในชีวิต มีทางเลือกให้ทำงานได้หลายแบบ”​

และการเรียนรู้เพื่อคืนความเป็นมนุษย์จะตอบโจทย์เด็กและตลาดได้ 

ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ

การเรียนรู้ที่จะคืนความเป็นมนุษย์ได้ต้องมาจากโรงเรียนที่มีความเป็นมนุษย์

โรงเรียนที่มีความเป็นมนุษย์สูงในความเห็นของ อ.อมรวิชช์ แบ่งได้ 4 แบบ คือ 

1. ไม่แข่ง ไม่กดดัน ไม่มีเกรด

2. ไม่มีวิชาแบบเดิม มีแต่ชุดความรู้ ชุดทักษะ 

3. ไม่มีเวลากำกับ ไม่มีภาคการศึกษา เรียนไปเรื่อย แต่ละความรู้ แต่ละทักษะ ไม่ต้องใช้เวลาเท่ากัน วัดที่การทำงานได้ ใช้ความรู้เป็น

4. ไม่มีหลักสูตรตายตัว ไม่ให้จบการเรียนรู้ อยากได้ประกาศหรือปริญญาก็จะให้ แต่อย่าหยุดเรียนรู้ เรียนข้ามศาสตร์เป็นเรื่องปกติ

“เป็นไปได้ไหมที่นิสิต นักศึกษาเข้ามา 2 ปีแรกยังไม่ต้องเลือกคณะ เรียนพื้นฐาน soft skill เหมือนกันหมด มีเวลาหาตัวเองให้เจอ แต่บางคนอาจไปลงวิชาเลือกบางโมดูล ค่อยไปเลือกเอาตอน ปี 3 ปี 4 เพื่อฝึกทักษะวิชาชีพ”

soft skill ของ อ.อมรวิชช์ มีแค่สองอย่างคือ พูดรู้เรื่อง กับ เขียนรู้เรื่อง 

“ทักษะที่ไม่ว่าทำอาชีพอะไร เขาได้ใช้แน่ คือ พูดรู้เรื่อง เขียนรู้เรื่อง นอกจากนั้นก็อยู่กับชาวบ้านได้ ปรับตัวเก่ง กล้าตัดสินใจ แก้ปัญหาเป็น แค่นี้ก็เหลือเฟือแล้ว เพราะการพูดเก่ง เขียนเก่งบอกอะไรหลายอย่าง บอกความช่างคิด การค้นคว้า ความเที่ยงธรรม อคติ กระทั่งสำนึกต่อสังคม” 

ในโลกที่กำกวม เขาต้องคิดเป็น

“คน 6,000 ล้าน ประกาศตัวว่าไม่มีศาสนา แต่พบว่า คนกลุ่มนี้มีพฤติกรรมมที่ดีกว่าคนที่ประกาศว่ามีศาสนา อันนี้ผมอ้างอิงจากงานวิจัย ถ้าจะถามว่าทำไม อาจเพราะศาสนามีพิธีกรรมให้ปฏิบัติยึดถือ แต่สิ่งที่คนไม่มีศาสนายึดถือคือ จริยธรรม เช่น ไม่ชอบให้ใครทำอะไรกับเรา ก็ไม่ควรทำอย่างนั้นกับเขา เป็นต้น” 

ปรากฏการณ์ข้างต้นคือหนึ่งในตัวอย่างที่บอกว่าโลกปัจจุบันและอนาคต ไม่มีขาวจัด ดำจัด ระนาบความถูกผิดไม่ตรงแบบไม้บรรทัดอีกต่อไป 

“เวลาสอนลูกศิษย์ผมจะยกโจทย์กำกวมไว้ก่อน เช่น โจทย์เรื่องการทำแท้ง คิดอย่างไร ปรากฏว่าห้องแตกเป็นสองเสียงเท่าๆ กันด้วย เสียงหนึ่งคือมันบาป ทำให้คนเราสำส่อน นั่นโน่นนี่ คือการทำลายชีวิต ถ้าคุณให้กำเนิดมาแล้วคุณก็ต้องรับผิดชอบ กับอีกซีก เห็นด้วยว่าเป็นการแก้ปัญหาสังคม เด็กเกิดมาไม่มีคนดูแล คุณภาพชีวิตต่ำ” 

แต่สองเสียงนี้ต้องเงียบไปเมื่อมีเสียงสามเข้ามา

“มีอีกกลุ่มหนึ่งมา ทำให้เกิดการชี้ขาดได้ เขาบอกว่าในฐานะที่เป็นผู้หญิง ถ้าเขาจะต้องเริ่มต้นชีวิตความเป็นแม่ เขาอยากจะได้รับเกียรติและสิทธิในการตัดสินใจเองว่าจะเป็นแม่เมื่อไหร่ อย่ามาพรากสิทธินี้ไปจากเขา ถ้าเขายังไม่พร้อม เขาก็มีสิทธิที่จะทำแท้งและควรเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของเขาด้วย ซึ่งเป็นเหตุผลที่ข้างไม่เห็นด้วยเถียงไม่ออก”

อ.อมรวิชช์ เปรียบเทียบกับสังคมที่ปะปนไปด้วยความเป็นจริงที่ฟันธงไม่ได้ 

“ถึงได้บอกว่าโลกมันกำกวมเต็มไปหมด รัฐบาลนี้ก็กำกวม เราจะอยู่กับมันอย่างมีความสุขได้อย่างไร เราก็แค่ยอมรับมันสิ ไม่ต้องรีบตัดสินก็ได้ ไม่โลกสวยนะ แต่อยู่กับสิ่งที่มันมี เช่น ฝนตกคนหนึ่งบอกเย็น แต่อีกคนบอกเปียก”

พ่อแม่ต้องปรับ Mindset

นอกจากโลกใบใหญ่จะกำกวมแล้ว โลกใบเล็กอย่างพ่อแม่ก็ตีเส้นรอบวงจนขยับตัวไปไหนไม่ได้ 

หมวกอีกใบที่สวมคือ ที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อ.อมรวิชช์ ยกตัวอย่างการนับหนึ่งซึ่งแทบจะติดลบด้วยซ้ำของ สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ของสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) 

“ประกาศวันแรกเลยว่าเราเป็นวิศวะที่ไม่มี กว. หรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมนะ เพราะเราจะผลิตวิศวะอีกแบบซึ่งไม่ตรงกับมาตรฐานใดๆ ของ กว. เลย เราจะทำ AI ทำหุ่นยนต์ เพราะนั่นคือแนวโน้มของโลก เราไม่ห่วงเลยว่าลูกคุณจะตกงานเพราะมีความต้องการสูงมาก แต่พ่อแม่ทุกคนต้องการใบประกอบวิชาชีพ เราก็บอกให้ไปทะเลาะกับ กว. เอาเอง แต่เรารับรองได้ว่าลูกคุณจะเรียนอย่างมีความสุข เรียนอย่างท้าทาย เรียนในสิ่งที่เขาชอบ ที่แน่ๆ ลูกคุณไม่ตกงานแน่นอน”  

สิบปีผ่านไป ตอนนี้วิศวกรรมฯ บัณฑิตที่จบจากคณะนี้ก็ยังไม่มีใครได้ กว. แต่ก็ไม่มีพ่อแม่คนไหนตั้งคำถามแล้วเช่นกัน 

“การเปลี่ยนแปลงการศึกษามันต้องใช้เวลา เช่นเดียวกันใครบอกว่าเด็กจะต้องจบปริญญาก่อนถึงจะมีงานทำ มัธยมก็ได้ถ้าคิดว่าพร้อมและมีทุน ถึงเวลาที่เราควรนิยามการศึกษาและการเรียนรู้ใหม่ว่าไม่ใช่บันไดเป็นขั้นๆ อย่างเดิมอีกต่อไป คุณเข้าแล้วออกจากการศึกษาเมื่อไหร่ก็ได้ ถึงใช้คำว่าเรียนไม่จบ แต่เรียนในสิ่งซึ่งออกไปใช้งานได้เลย เรียนในสิ่งที่ทำให้ค้นพบตัวเอง เรียนในสิ่งที่ค้นพบทักษะร่วม เรียนการบริหารจัดการที่ได้ใช้ในชีวิต” 

จัดทัพใหม่ รบกับการศึกษาแบบกองโจร

อ.อมรวิชช์ในวัย 59 ถึงจะเกษียณแล้วแต่ในนามบัตรยังระบุว่าเป็นที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ ที่ปรึกษาวิชาการโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

นั่นหมายความว่าอาจารย์ก็ยังเรียนไม่จบเช่นกัน 

แต่เป้าหมายของอาจารย์ก็ไม่เปลี่ยนไป 

“เป้าหมายไม่เปลี่ยน แต่เป้าหมายเล็กลง ไม่โลภมากแล้ว (ยิ้ม)” 

ด้วยความที่ทำงานด้านการศึกษามาทุกระดับ ถึงได้รู้ว่ามันยาก โดยเฉพาะระดับนโยบาย ทำมาก็หลายครั้ง อาจารย์ยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่าไม่สำเร็จสักครั้ง มีอำนาจและผลประโยชน์เข้ามาขัดขวางทุกครั้งไป 

“เลยมาทำกับสถาบันการศึกษา กับโรงเรียน มันเป็นรัศมีที่ผมพอจะทำได้ก่อนตาย ถึงจะเล็กก็ไม่ได้แปลว่าผลกระทบน้อย แต่ทำแล้วมันเห็นผลจริงๆ” 

จะใช้คำว่าเปลี่ยนยุทธศาสตร์การทำงานก็ได้ ในเมื่อเราเคยเอาทัพใหญ่มาเผชิญหน้า ตีกันเท่าไหร่ก็ต่างคนต่างแพ้ สู้หันมาใช้การรบแบบกองโจรดีกว่า

“ใช้ทัพเล็ก ซุ่มตีทีละเรื่อง ยึดพื้นที่ทีละหน่อย วางเป้าให้เล็กลงแต่ทำให้ลึก ยึดพื้นที่แล้วไม่เสียไปแบบป่าล้อมเมือง อย่างที่ครูไฟแรงทำกันอยู่ ใจสู้และทำได้จริง” 

เหมือนฝนตกอยู่แต่เราจะข้ามถนน จะรอฝนหายค่อยข้ามก็ได้ หรือดูจังหวะรอฝนซาเล็กน้อย 

“ยอมเปียกหน่อย แต่เราก็ข้ามกันได้ใช่ไหม (ยิ้ม)”  

Tags:

อมรวิชช์ นาครทรรพระบบการศึกษา21st Century skillsงานเสวนา

Author:

illustrator

ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

อดีตนักข่าวที่ผันตัวมาทำงานด้านการเรียนรู้(อย่างรื่นรมย์) ด้วยอินเนอร์คุณแม่ลูกหนึ่ง(ที่เป็นวัยรุ่นและขายาวมาก) รักการทำงานก็จริงแต่ชอบหนีไปออกกำลังกายตามคำบอกของคุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เพื่อให้ชีวิตการงานสมดุลอยู่

Related Posts

  • 21st Century skillsSocial Issues
    การเรียนรู้ที่มีค่า การศึกษาที่แตกต่าง: ครบรอบ 5 ปี คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์

    เรื่องและภาพ ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Education trend
    CODING คืออะไร ครูไทยพร้อมไหม ทำไมหนูต้องเรียน

    เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะรชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา ภาพ ศรุตยา ทองขะโชค

  • Social Issues
    CONNECT TO THE FUTURE: “มันต้องไม่เป็นอย่างนี้” เปลี่ยนอนาคตด้วยการไม่ทนอีกต่อไป

    เรื่อง

  • Education trend
    พื้นที่นวัตกรรม: การศึกษาไทยแก้ได้ในชาตินี้ ให้คนในพื้นที่เป็นเจ้าของ

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Education trend
    สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์: ความรู้อายุสั้น คนอายุยาว ภาพใหม่การศึกษายุค DISRUPTION

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านนิทานได้อะไร ฉบับสมบูรณ์ ตอน 2
EF (executive function)
5 November 2019

อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านนิทานได้อะไร ฉบับสมบูรณ์ ตอน 2

เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

เนื้อหาที่จะได้อ่านต่อไปนี้สรุปความจากคำบรรยายให้แก่คณะครูจำนวนประมาณ 500 คนที่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ วันที่ 8 ตุลาคม 2562 ที่เมืองทองธานี จัดโดยสำนักพิมพ์แปลนฟอร์คิดส์ ซึ่งได้กรุณาช่วยทำสไลด์นิทานหลายเรื่องประกอบคำบรรยายทางวิชาการ

อ่านนิทานได้อะไร?

1. สร้างแม่ที่มีอยู่จริง (mother)

เด็ก 1 คนต้องการมนุษย์ 1 คนเพื่อใช้เป็นเสาหลักของพัฒนาการ มิได้ต้องการวานร (เช่น ทาร์ซาน) หรือหมาป่า (เช่น เมาคลี) แต่ต้องการคน คนนั้นควรเป็นแม่เพราะแม่ได้ทำหน้าที่นี้มา 9 เดือนแล้วมีความได้เปรียบทางชีววิทยา

อย่างไรก็ตามหากแม่ทำหน้าที่นี้มิได้เพราะเหตุใดก็ตาม เช่น ตายหรือทิ้งลูก พ่อ 1 คน (ซึ่งมีเพศสภาพและเพศวิถีอะไรก็ได้) หรือพี่เลี้ยงเด็กกำพร้า 1 คนสามารถทำงานนี้ได้ รวมทั้งในกรณีที่ครอบครัวหย่าร้าง พ่อ 1 คนหรือแม่ 1 คนก็พอเพียง อย่ามัวแต่ทนเพียงเพราะกลัวลูกมีปัญหา ทะเลาะและตบตีกันให้ลูกเห็นทุกวันเขาจะมีปัญหามากกว่ามาก หรือในกรณีครอบครัวแตกกระสานซ่านเซ็น (เพราะทั้งพ่อและแม่ไปทำงานหรือหย่าร้างแล้วทั้งสองฝ่ายต่างทิ้งลูกเอาไว้ตรงกลาง) ปู่ย่าตายายเพียง 1 คนก็ทำหน้าที่นี้ได้ สำคัญคือคนคนนั้นต้องมีอยู่จริง

ความมีอยู่จริง (exist) ได้จากการเลี้ยงดูด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ (consistently) และต่อเนื่อง (continuously) แต่เนื่องจากในความเป็นจริงมีพ่อแม่น้อยคนมากที่จะมีเวลาเลี้ยงลูกด้วยตนเองตลอดทั้งวัน พ่อแม่จำนวนมากต้องไปทำงานแล้วฝ่าการจราจรกลับถึงบ้านมืดค่ำ การอ่านนิทานก่อนนอนตรงเวลาทุกคืนจะเท่ากับการประกัน (assurance) ว่าพ่อแม่จะปรากฏตัวที่หน้าห้องนอนและบนเตียงนอนตรงเวลาอย่างแน่นอน เป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี ปีละประมาณ 300-360 วัน เด็กๆ สามารถเรียนรู้ได้จากจังหวะ (rhythm) การปรากฏตัวของท่านว่าท่านมีอยู่จริง

มิใช่มนุษย์ล่องหน

2. สร้างสายสัมพันธ์ (attachment)

เด็กจะพัฒนาได้เมื่อเขาล่ามสายสัมพันธ์เอาไว้กับเสาหลักคือแม่ จากนั้นเขาจะเดินจากไป ในระยะแรกเขาจะหันกลับมาเป็นระยะๆ เพื่อให้มั่นใจว่าเสาหลักไม่หายไปไหน ครั้นเมื่อเวลาผ่านไปเขาจะไว้ใจแม่ซึ่งอยู่ข้างหลังเสมอ ตามด้วยไว้ใจโลก เขาสามารถเดินห่างไปมากขึ้นด้วยความมั่นใจว่าเขาจะไม่ถูกทอดทิ้งอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเกิดสิ่งใดขึ้นในจักรวาลก็ตาม

จักรวาล (universe) อยู่ในหนังสือนิทาน แม้ว่าสภาพทางภูมิศาสตร์จะเป็นห้องนอน ไม่ว่าจะมีแอร์หรือไม่มีแอร์ พ่อรวยหรือแม่จน แต่เด็กมิได้อยู่ในห้องนอนเขาอยู่ในเล่มหนังสือคือจักรวาล อย่างไรก็ตามเขาจะออกมาจากจักรวาลเป็นครั้งๆ เพื่อเงยหน้าดูหน้าแม่ เพื่อให้แน่ใจว่าแม่มีอยู่จริงและยังคงอยู่ มิใช่เปิดเทปแล้วหนีไปไหน เมื่อมั่นใจแล้วเขาจะผลุบลงไปในเล่มหนังสืออีกครั้งหนึ่ง แล้วเข้าๆ ออกๆ อยู่เช่นนั้น

สายใยบางๆ ที่ล่ามลูกไว้กับแม่คือสายสัมพันธ์ วันนี้ผจญภัยในจักรวาลหนังสือ วันหน้าจึงพร้อมเผชิญภัยในโลกแห่งความเป็นจริง (reality)

3. ตัวตน (self)

เด็กสร้างตัวตนเป็นขั้นตอนที่ 3 ต่อเนื่องจากการสร้างแม่และสร้างสายสัมพันธ์

เมื่อตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์คุณภาพอยู่นาน 9 เดือน มีสายรก (placenta) ที่ดีคอยส่งอาหารและวิตามินไปให้แก่ตัวอ่อน (fetus) ตัวอ่อนค่อยๆ เจริญเติบโตเป็นทารก (infant) ซึ่งเชื่อมต่อกับแม่ด้วยสายรกที่จับต้องได้และมองเห็นด้วยตาเปล่า สูติแพทย์ตัดสายรกนี้ทิ้งเมื่อคลอด

กระบวนการทางจิตวิทยาทำซ้ำตนเองอีกครั้งหนึ่ง เมื่อทารกออกมาสู่โลกภายนอกเขาต้องสร้างแม่ที่มีอยู่จริงก่อน (ถ้ามีร่างกายของแม่อยู่ให้สร้าง) แล้วสร้างสายสัมพันธ์ล่ามตนเองไว้กับแม่ (ถ้าแม่จะรู้จักอยู่กับที่ให้ผูก) จากนั้นด้วยแม่ที่ชัดและสายสัมพันธ์ที่แข็งแรง ทารกจึงจะสร้างตนเองเป็นบุคคลใหม่เมื่อ 3 ขวบ แล้วแยกตนเองออกไปเป็นบุคคลอิสระหลังจาก 3 ขวบ (separation-individuation)

ตอนที่แม่อ่านหนังสือนิทานก่อนนอน ทารกนอนแอบอิงข้างๆ เขายังมีอายุไม่ถึงสามขวบ เขามิใช่บุคคลอิสระแต่อยู่ระหว่างการสร้างตัวตน ตัวตนของเขาและตัวตนของแม่เป็นหนึ่งเดียว เวลาเขาดำดิ่งลงไปในจักรวาลซึ่งอยู่ในหนังสือ ส่วนหนึ่งของคุณแม่ตามลงไปด้วย อยู่ด้วยกันเป็นเพื่อนกัน แม้ว่าแม่จะหลับไปแล้วก็ตาม

หน้าที่อ่านนิทานก่อนนอนเป็นเรื่องที่คุณพ่อทำได้ง่ายมาก ก็แค่อ่านหนังสือออก และถึงแม้ท่านจะเหนื่อยจากงานและหลับคาหนังสือ ไม่นับว่าอ่านผืดผืดเถิกเถิก ตามหนังสือก็ตาม ลูกนำบางส่วนของตัวตนของท่านดำดิ่งลงไปในเล่มหนังสือด้วยเสมอ ตัวตนที่ติดกันทั้งในห้องนอนและในจักรวาลหนังสือนั้นเองจะช่วยให้ตัวตนของเขามีความชัดเจนและแข็งแกร่งมากขึ้นทุกวัน

ตัวตนคืออะไร ตัวตนคือประธานของประโยค เอาไว้กิน นอน เดิน วิ่ง แล้วผจญภัยไปในโลกนับจากนี้ ถ้าตัวตนชัดเขาจึงมีตัวตนให้ดูแล ถ้าตัวตนไม่ชัดเขาไม่รู้จะดูอะไร เงยหน้ามองแม่ก็ไม่มีอยู่จริง ก้มหน้าดูร่างกายของตนเองก็ไม่เห็นจะมีเหมือนกัน ดังนั้นจะเหลวแหลกอย่างไรก็ไม่ต่างกันในเมื่อมันไม่มีอยู่แล้วตั้งแต่แรก

4. เป็นตัวเอก (protagonist)

เพราะเด็กเห็นตนเองเป็นศูนย์กลาง (egocentricism) เขาจึงพร้อมที่จะสวมรอย (identify) ตัวเอกในหนังสือนิทาน ไม่ว่าตัวเอกนั้นจะเป็นคนหรือเป็นสัตว์ก็ตาม

ตัวตนจะเป็นประธานของประโยค ตัวเอกก็จะเป็นประธานของประโยคเช่นกัน ตัวเอกผจญภัยเข้าไปในหนังสือ ไม่ว่าจะบนบก ใต้น้ำ ท้องฟ้า อวกาศ นรก หรือสวรรค์ ตัวตนของลูกก็ไปด้วย จึงมีคำกล่าวว่าจะห้องนอนหรือห้องขังก็ขังลูกเรามิได้ถ้าเขารักการอ่านหนังสือ และไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ใดในอนาคตเขาจะหนีลงไปในหนังสือได้เสมอๆ

ยังมีต่ออีกหลายสิบข้อ

หมายเหตุ: ติดตามอ่านบทความ อ่าน เล่น ทำงาน ของคุณหมอเรื่อง ‘การอ่าน’ ได้ที่นี่
อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านนิทาน
อ่าน เล่น ทำงาน: เล็กๆ น้อยๆ แต่สำคัญมากของ ‘นิทานก่อนนอน’
อ่าน เล่น ทำงาน: ความต่างระหว่าง ‘อ่านออก (เร็ว)’ กับ ‘อ่านเอาเรื่อง’
อ่าน เล่น ทำงาน: ‘นิทาน’ สมาธิและความฉลาดเริ่มต้นในห้องนอนยามค่ำคืน
อ่าน เล่น ทำงาน: เด็กทำอะไรช้า มาจาก ‘ความจำใช้งาน’ เด็กๆ จึงต้องได้อ่านนิทานภาพก่อนนอน
อ่าน เล่น ทำงาน: อ่าน ‘อย่างมีความสุข’ เพื่อสร้างระบบความจำใช้งาน
อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านวรรณคดีไทย ลูกจะเผชิญด้านมืดได้ดีกว่าคำพ่อแม่สั่งสอน
อ่าน เล่น ทำงาน: อ่าน–สมองและจิตใจของเด็กสร้างขึ้นมาได้อย่างไร ตอนที่ 1
อ่าน เล่น ทำงาน: อ่าน–สมองและจิตใจของเด็กสร้างขึ้นมาได้อย่างไร ตอนที่ 2 (จบ)
อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านนิทานได้อะไร ฉบับสมบูรณ์ ตอน 1

Tags:

ทฤษฎีความผูกพัน(Attachment Theory)ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์อ่าน เล่น ทำงานการอ่านพัฒนาการEFนิทาน

Author:

illustrator

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

Illustrator:

illustrator

antizeptic

Related Posts

  • EF (executive function)
    อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านนิทานได้อะไร ฉบับสมบูรณ์ ตอนที่ 4

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • EF (executive function)
    อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านนิทานได้อะไร ฉบับสมบูรณ์ ตอน 1

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • EF (executive function)
    อ่าน เล่น ทำงาน: อ่าน-สมองและจิตใจของเด็กสร้างขึ้นมาได้อย่างไร ตอนที่ 2 (จบ)

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • EF (executive function)
    อ่าน เล่น ทำงาน: เด็กทำอะไรช้า มาจาก ‘ความจำใช้งาน’ เด็กๆ จึงต้องได้อ่านนิทานภาพก่อนนอน

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • EF (executive function)
    อ่าน เล่น ทำงาน: ‘นิทาน’ สมาธิและความฉลาดเริ่มต้นในห้องนอนยามค่ำคืน

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

MAYDAY! เราฝันให้คนกรุงเทพฯ รักพื้นที่สาธารณะเหมือนรักห้องนอนตัวเอง
Voice of New Gen
4 November 2019

MAYDAY! เราฝันให้คนกรุงเทพฯ รักพื้นที่สาธารณะเหมือนรักห้องนอนตัวเอง

เรื่อง The Potential

  • เริ่มต้นจากความฝันเล็กๆ อยากให้ผู้คนหันมาสนใจและรักพื้นที่สาธารณะเหมือนห้องของตัวเอง MAYDAY! ผู้สร้างสรรค์ป้ายรถเมล์กว่า 500 ป้าย ที่เต็มไปด้วยฟังก์ชั่นการใช้งาน รูปแบบของงานดีไซน์ที่เน้นสร้างความเข้าใจ ย่อยของยากให้ง่าย และไม่ทำให้ป้ายรถเมล์เป็นเรื่องน่าเบื่อ
  • ความน่าสนใจของกลุ่ม MAYDAY! คือกระบวนการทำงานกับภาครัฐ ที่ขึ้นชื่อว่าหิน เต็มไปด้วยกฏระเบียบยิบย่อย แต่พวกเขาก็ทำจนได้
  • Public space ของ MAYDAY! ต้องมีคนอยู่ในนั้น ระบบขนส่งสาธารณะจึงต้องเป็นมิตรมากที่สุด
เรื่อง: รุ่งรวิน แสงสิงห์, ณขวัญ ศรีอรุโณทัย
ภาพ: เฉลิมพล ปัณณานวาสกุล, Mayday

เมื่อความฝันเล็กๆ นั้นพ่วงมาด้วยภารกิจอันยิ่งใหญ่ การรวมตัวในนาม MAYDAY! เพื่อสานต่อความฝันและผลักดันกิจกรรมต่อสังคมให้เกิดความเปลี่ยนแปลงบนท้องถนนจึงเกิดขึ้น

ถ้าใครที่ผ่านไปผ่านมาบริเวณสถานที่แลนด์มาร์คของกรุงเทพมหานคร แล้วบังเอิญเหลือบไปเห็น ป้ายรถเมล์ดูดีที่มีกราฟิกดีไซน์ที่รสนิยมผิดหูผิดตา แต่ใช้งานได้จริงและมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่มากกว่าป้ายสีน้ำเงินแบบดั้งเดิมที่คุ้นตา นั่นหมายความว่า เหล่านักเดินทาง ผู้ใช้ขนส่งสาธารณะได้พบกับป้ายรถเมล์ของกลุ่ม MAYDAY! เข้าแล้ว

แน่นอนว่ากว่าจะกลายมาเป็นป้ายรถเมล์ที่มีฟังก์ชั่นครบครันทั้งการบอกสายรถ เส้นทาง บอกป้ายต่อๆ ไป บนดีไซน์ที่เน้นการใช้งานและความสวยไม่เหมือนใคร กลุ่ม MAYDAY! จะต้องเจอกับงานหินและโหดหลายแง่มุม

ทีมงาน The Potential จึงบุกไปเยี่ยมกลุ่ม MAYDAY! และพูดคุยกับมันสมองของกลุ่มอย่าง อุ้ม-วิภาวี กิตติเธียร นักออกแบบผังเมืองที่ผันตัวและอาสาทำเรื่องใหญ่อย่างการเปลี่ยนเมืองโดยเริ่มต้นจากความฝันเล็กๆ อย่าง การทำให้ผู้คนหันมารักพื้นที่สาธารณะให้เหมือนกับรักห้องนอนตัวเอง

ไม่แน่ว่าหลังจากอ่านบทสัมภาษณ์นี้จบ หลายๆ คนอาจจะเริ่มอยากสานต่อความฝันเล็กๆ ของตัวเองก็เป็นได้…

คุณอุ้มเล่าที่มาที่ไปของคนในทีมให้ฟังได้ไหม

จริงๆ ในทีมค่อนข้างมีความหลากหลาย มาจากเครือข่ายเดียวกันเลยค่ะ เราเริ่มต้นจากโฮสเทล (Once Again Hostel – ที่ตั้งของออฟฟิศ) ที่เป็นออฟฟิศของทีม ส่วนใหญ่เป็นเพื่อนกัน เรามานั่งคุยๆ กันจนกระทั่งวันหนึ่งรู้สึกว่าเราอยากทำเรื่องรถเมล์ให้มันจริงจัง เลยรวมตัวมาเป็น MAYDAY! อย่างที่เห็น 

อุ้ม-วิภาวี กิตติเธียร

MAYDAY! ก่อตั้งขึ้นมาครั้งแรกในช่วงที่มีงานพระราชพิธีพระบรมศพ รัชกาลที่ 9 โซนนี้ (กรุงเทพฯ ชั้นใน/ที่ตั้งโฮสเทล) มีคนเดินทางมาเยอะมากๆ เราก็เลยพากันคิดว่า เราพอจะช่วยอะไรบางอย่างได้ไหม ก็เลยเกิดเป็นป้ายรถเมล์ขึ้นมาก่อนอย่างแรก ถือว่าเป็นอาสาสมัคร (volunteer) ก็ได้ 

คนที่อยู่ใน MAYDAY! เริ่มต้น เรามีกราฟิกดีไซเนอร์ คนทำคอนเทนต์ วิศวะ และก็ตัวอุ้ม ที่เป็นนักออกแบบผังเมือง ส่วนใหญ่เริ่มจากเรื่องง่ายๆ เลย คือ ‘อิน’ กับประเด็นที่เรากำลังทำ ตอนที่อุ้มเข้ามาทำงานนี้อุ้มก็เพิ่งรู้ว่ามันมีแฟนคลับรถเมล์ไทย เพิ่งรู้ว่ามันมีแฟนคลับรถไฟฟ้า แล้วคนกลุ่มนี้มีจำนวนไม่น้อยเลย อีกกลุ่มก็เป็นสายกราฟิก 

อีกกลุ่มที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นอีกคือ คนที่ทำกราฟิกและอยู่ในบริษัทเอเจนซี เขาบอกว่า โจทย์ของการทำงานบริษัทเอเจนซีคือต้องทำเอาใจลูกค้าในสิ่งที่พวกเขาไม่เชื่อว่ามันดี เขาเบื่อ เขาก็เลยรู้สึกว่าพอมาทำงานตรงนี้มันมีคุณค่า ทำแล้วได้ถ่ายทอดให้สาธารณะเห็นและเป็นสิ่งที่เขาเชื่อ เขาแฮปปี้มากเลย 

เราก็รู้สึกว่าเราโชคดีที่คนทำกราฟิกกับสื่อสารมือดีหลายๆ คนมาอยู่ในทีม

เวลาที่เราเจอปัญหาที่คิดไม่ออก เราก็เอาคนอื่นมาช่วยคิด เราทำงานร่วมสมาคมกราฟิกดีไซเนอร์ (สมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทย – ThaiGa) บ่อยมาก ป้ายมันจัดข้อมูลยากมาก วิธีการทำงานของคนในทีมก็จะคล้ายๆ กับการพัฒนาหน้าตาแอพพลิเคชั่น เช่น ไอโฟนออก ios ใหม่ เราจะทำยังไงให้คนเรียนรู้ได้ภายในห้านาที ดังนั้นการออกแบบ user interface ที่เชื่อมกับ user experience จึงสำคัญมาก เราเลยดึงองค์ความรู้มาใช้กับงานป้ายรถเมล์ เราได้นักออกแบบเก่งๆ เข้ามาทำงานกับเราเยอะมาก เพราะโจทย์มันยากมาก แต่กลายเป็นว่ามีแต่คนอยากทำ

แสดงว่าทางทีมก็เพิ่งจะเริ่มต้นได้ไม่นานนี้เอง?

 3-4 ปี จริงๆ ปัจจุบันเราก็ออกป้ายรถเมล์เวอร์ชั่นที่ 4 แล้ว ตอนนี้ก็กำลังผลิตและติดตั้งทั่วกรุงเทพฯ อีก 500 ป้าย ในสายตาก็ยังมองว่า เราอยู่ในช่วงเริ่มต้นอยู่เพราะยังมีอีกหลายๆ พื้นที่ หลายๆ รูปแบบ ขนส่งสาธารณะที่เราจะทำไม่จบได้ง่ายๆ แต่กระบวนที่ผ่านมาของเราก็เก็บข้อมูลไป มีรูปแบบ โครงสร้างที่เป็นระบบมากขึ้น ก็ถือว่า เราค่อนข้างมาไกลพอสมควรแล้ว ถ้านับจากการเริ่มต้นในฐานะอาสาสมัครจนกลายมาเป็นอาชีพ เป็นองค์กรที่สามารถจ้างคนได้ ก็ถือว่าเริ่มต้นมาหลายก้าวพอสมควร

MAYDAY! ผันตัวจากการเป็นอาสาสมัครไปเป็นพาร์ทเนอร์ที่ทำงานร่วมกับภาครัฐได้อย่างไร

จริงๆ เป็นเพราะเพื่อนกลุ่มปั่นจักรยานที่เคยทำงานร่วมกับ กทม. เขามาเห็นงานที่เราทำ เลยแนะนำว่า ให้ลองไปคุย ไปเสนอดูไหมล่ะ แล้วทาง กทม. เองก็เปิดมากๆ เหมือนกัน เขาก็อนุญาตให้เราเข้าไปคุยไปเสนอไอเดียได้ในช่วงแรก

รอยต่อระหว่างสเกลการทำป้ายรถเมล์ในช่วงที่เป็นอาสาสมัคร จนกระทั่งกลายมาเป็น MAYDAY ที่ทำงานร่วมกับภาครัฐ จัดการอย่างไรกับความท้าทายที่เข้ามา

การขยายสเกลของงานมันคือ การเพิ่มข้อมูลที่ซับซ้อนมากขึ้น ส่วนไหนที่แก้เองไม่ได้ก็ต้องหาคนที่แก้ไขได้มาช่วย เราก็ตามหาคนที่สนใจและทำได้มาช่วย ยิ่งเราออกมาทำแบบนี้ เราก็ค้นพบว่า ยังมีคนอีกมากที่เขามีความสนใจ มี passion ที่อยากช่วยพัฒนาเมือง

คุณอุ้มกับทีมเคยคุยกันไหมว่าอยากเห็นกรุงเทพฯ เป็นแบบไหน

เราก็ไม่ได้ถึงกับคุยกันในทีม แต่เรามีอุดมการณ์ของทีมคือ Small Changes Big Move เพราะพวกเราไม่ใช่นักวิชาการ หรือบริษัทขนาดใหญ่ที่จะคอยบอกว่าโครงสร้างพื้นฐานของเมืองจะต้องเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ เราทำได้ในส่วนของ small change เปลี่ยนแปลงเล็กๆ ง่ายๆ เปลี่ยนแปลงได้เลย

อีกเรื่องหนึ่งที่เราทำกันก็คือ ทุกๆ แอคชั่นจะต้องมีกระบวนการการมีส่วนร่วมของคนอยู่ด้วย เราจะไม่คิดอะไรเอง ทำอะไรเองคนเดียว แล้วก็ไม่ติ๊ต่างเอาเอง ไม่ใช่ไปดูงานจากข้างนอกมาและมองว่าเปลี่ยนแปลงแบบนี้มันจะดี แต่เราต้องถามคนมาช่วยกันคิดช่วยกันครีเอท 

อีกแง่หนึ่ง เราเบื่องานอีเวนท์ประเภท ‘ประเทศชาติจะดีได้อย่างไร’ เราเบื่อ เพราะคุยๆ ไปก็เท่านั้น สุดท้ายก็ไม่เปลี่ยน เราเลยมองว่า ทุกๆ การมีส่วนร่วมที่เราทำ จะต้องมีผลลัพธ์ออกมา แม้ผลลัพธ์จะเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม 

ถ้าเป็นงานที่มันไม่น่าจะมีผลลัพธ์ออกมา เราก็ไม่ทำ สำหรับอุ้ม ประเทศชาติหรือเมืองควรเป็นยังไง ในสายตาอุ้มคือ เราอยากให้คุณค่าพื้นที่ส่วนรวมมากกว่าพื้นที่ส่วนตัว เราไม่ควรที่จะให้อภิสิทธิ์คนมากขึ้นเรื่อยๆ หรือมีที่จอดรถพิเศษๆ เพิ่มมากขึ้น

อุ้มมองว่า พื้นที่ส่วนรวมควรจะมีคุณค่า สวนสาธารณะไม่ควรจะมีรั้วไหม รถเมล์ควรจะได้ไปก่อนรถส่วนตัวไหม คนจำนวนมากควรจะได้สิทธิมากกว่าคนที่ใช้ของคนเดียวไหม มันก็จะทำให้เมืองสามารถขับเคลื่อนไปด้วยกันมากขึ้น 

คำว่าหวงแหนสิทธิมันก็จะไม่ได้อยู่ที่เราแล้ว มันจะกลายเป็นเรื่องสาธารณะ คุณค่าสำหรับอุ้มมองว่า อยากให้เกิดขึ้นและอยากให้เมืองเป็น เรารักพื้นที่สาธารณะเหมือนพื้นที่ห้องนอน

ฝันที่ว่ามา มันจะเป็นความฝันที่ดูยากเกินไปหรือเปล่า เพราะ Public Space ของคนไทยที่ดีพอจะทำให้ผู้คนหันมารักมันเหมือนห้องนอนที่บ้านนั้นไม่ค่อยมี

พอเอาเข้าจริงๆ sense of belonging (ความรู้สึกเป็นเจ้าของ) ของคนไทยสูงมากๆ เลยนะคะ การที่ทุกคนมาเวิร์คช็อปร่วมกับ MAYDAY! นั่นแปลว่าทุกคนรู้ว่าปัญหามันอยู่ตรงไหน เรื่องที่ดีมันคืออะไร เพียงแต่อาจจะไม่มีช่องให้คนร่วมกันแก้ปัญหา หรือเวลาที่สามารถจะทำให้มันเกิดขึ้นได้ เขาถึงได้มาร่วมเวิร์คช็อป มาแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะประเด็นต่างๆ มันอาจจะไม่ต้องถึงกับขนาดว่า ทุกเช้าฉันจะตื่นมากวาดถนนหน้าบ้าน เพียงแค่ทิ้งขยะลงถังง่ายๆ มันส่งผลทั้งนั้น ถ้าพาหมาไปเดิน หมาอึก็เก็บหน่อยไหม มันไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องใหญ่มาก ที่ต้องเปลี่ยนแปลงชีวิตมากมาย

ฟังจากที่เล่า MAYDAY! ทำงานบนพื้นฐานของการพูดคุย นอกจากภาครัฐอย่าง กทม. แล้ว เข้าไปคุยกับใครอีกบ้าง

เราเข้าไปคุยกับผู้ใช้งาน เหมือนเราจัดเวิร์คช็อป ก็จะมีตั้งแต่คุณลุงที่อายุ 65 นั่งรถเมล์มาตั้งแต่เป็นหนุ่ม ไปจนถึง เด็ก ม.3 ชาวต่างชาติ เห็นเราจัดเวิร์คช็อปก็อยากเข้ามาช่วย แต่เราก็เข้าใจว่า การจัดงานสเกลนี้มันยังไม่ครอบคลุมคนทั้งหมด แต่ผลที่ได้จากการเวิร์คช็อปเราก็พยายามจะนำเสนอต่อสาธารณะให้ได้มากที่สุด

ถ้าเราไปทำงานกับระบบขนส่งประเภทหนึ่ง เราต้องกวาดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของเขาให้หมดจริงๆ

เพราะปัญหาหนึ่งของการทำงานประเด็นโครงสร้างพื้นฐานคือ แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เขาไม่ยอมคุยกัน ต่างคนต่างทำ เคยเห็นสะพานลอยกับถนนที่มันไม่เชื่อมกันไหมคะ เราเลยรู้สึกว่าเราควรจะคุยกันก่อนที่เราจะทำอะไร สองคือ แม้ว่าเขาจะไม่ฟัง ไม่ปฏิบัติ อย่างน้อยก็รับรู้หน่อยนะว่าเราจะทำสิ่งนี้ พยายามคุยกันให้ได้มากที่สุด

เราคุยกันตั้งแต่ คนขับรถสองแถว ป้าร้านรถเข็นที่อยู่วินรถสองแถว เพราะเรารู้สึกว่า มันเป็นพื้นที่สาธารณะ ถ้าเราเปลี่ยนอะไรนิดเดียวมันมีผลกระทบทันที การกวาดเอาส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาอยู่ในกระบวนการรับรู้ร่วมกัน อย่างน้อยมันช่วยลดแรงเสียดทานกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น แม้จะช้าไปบ้าง แต่อุ้มก็มองว่าช้าแต่ชัวร์น่าจะดีกว่า

ตอนที่พูดถึงหน่วยงานต่างๆ ว่าเขาไม่ค่อยได้รับรู้ร่วมกัน เราจะแก้ปัญหาตรงนี้อย่างไร

จริงๆ มันยากมาก ถือเป็นเรื่องท้าทายที่มีความเป็นการเมืองอยู่สูง ยกตัวอย่างเช่น ป้ายรถเมล์หนึ่งป้าย มันมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ทั้งหมด 3 หน่วยงาน หนึ่งคือขนส่งทางบก จะเป็นผู้ระบุตำแหน่งป้าย สองคือ กทม. ถ้าอยู่ในพื้นที่ กทม. ตัวป้ายก็จะเป็นสมบัติของ กทม. สามคือ สายสัมปทานรถเมล์ที่วิ่งโดย ขสมก. ปัญหาก็คือ บางจุด กรมขนส่งบอกว่าควรปักป้าย กทม. ปัก แต่ปักผิดจุด ปัญหาหยุมหยิมแบบนี้เกิดเพราะเขาไม่ค่อยได้คุยกัน ประสานงานยากมาก เราจึงพยายามที่จะบอกทุกคนว่าเรากำลังทำอะไร

บางทีมันก็มีความรู้สึกเจ็บช้ำเหมือนกัน เพราะไม่ใช่ทุกหน่วยงานรัฐจะเปิดใจ สมมุติว่าทุกหน่วยงานเปิดใจ แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนในหน่วยงานจะเปิดตาม ของแบบนี้ต้องใช้เวลา ค่อยๆ เริ่มไป แต่เราก็รู้สึกว่าดีกว่าไม่ทำ เราไม่อยากตัดใครออกจากระบบการทำงานของเรา เพราะสุดท้ายแล้ว ถ้ามันไม่เกิดการทำงานร่วมกันจริงๆ การเชื่อมต่อแบบไร้รอยต่อที่หลายคนอยากให้เป็นมันคงไม่เกิดขึ้น

การพยายามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นทักษะคนละแบบกับการแก้ปัญหาแบบพื้นฐานที่เคยเรียนในโรงเรียนด้วยใช่ไหม

ก็เป็นทักษะอีกแบบ เหมือนเราประท้วงแต่ไม่ได้ลงถนน เราค่อยแทรกซึมให้เขาฟังเรา เรามองว่าการแสดงท่าทีแบบต่อต้านไปเลยมันก็ให้ผลลัพธ์อีกอย่าง การที่เราไม่เห็นด้วยนะ คุณมาช่วยเราคิดหน่อยสิ มันก็จะเป็นการทำงานอีกแบบที่ทำให้คนมีส่วนร่วมเข้าไปเปลี่ยนเมืองทำงานร่วมกับรัฐไปเลย

กลยุทธ์ของ Small Change Big Move! ที่เข้าไปแทรกซึมในหน่วยงานของภาครัฐและมีอำนาจต่อรองขึ้นเรื่อยๆ MAYDAY! ทำอย่างไร

จริงๆ งานที่เราทำถ้าดูที่ฐานทักษะของเรา เรามีนักออกแบบกราฟิก มี project-co มีคนทำคอนเทนต์ มี planner ที่ทำงานวิจัย การทำงานเชิงเทคนิคของ MAYDAY! มีลักษณะคล้ายกับบริษัทเอเจนซีบริษัทหนึ่งเลย ซึ่งบริษัทเอเจนซีจะมีคนทำคอนเทนต์ที่ทำประเด็นสื่อสารเก่งมาก เราจึงสร้างข้อต่อรองง่ายๆ คือ ทุกคอนเทนต์ต้องดัง พอมันดังรัฐบาลก็ฟัง เพราะตอนนี้เขากลัวโดนด่า ป้ายรถเมล์ทุกป้ายที่เราทำต้องดัง ต้องมีอิมแพค เราคุยกับน้องในทีมว่า พี่ขอป้ายนี้ให้ดังนะ สังเกตดูจากเพจของเรา เราขายโฆษณาน้อยมาก เราเลือกแล้วเลือกอีก แต่อิมแพคของความดังที่ว่า มีหน้าที่เพื่อต่อรองหน่วยงานภาครัฐเป็นหลัก เราก็จะเอายอด engage ให้เขาดู โพสต์นี้คนดูห้าแสนคนนะคะ (หัวเราะ) เราก็อาศัยมวลชนนี่แหละ

ตอนนี้ MAYDAY! ทำอะไรอยู่บ้าง ได้ยินว่ากำลังจะมีการปฏิรูปรถเมล์ โครงการที่กำลังดำเนินการอย่างการติดตั้งป้ายรถเมล์ 500 ป้ายจะกระทบหรือเปล่า?

ตรงนี้ก็จะเป็นความเจ็บปวดอีกอย่างหนึ่ง เพราะโปรเจ็คท์ 500 ป้ายรถเมล์นั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 4 เดือนที่แล้ว ปรากฏว่าทำไปได้ราวเดือนกว่า กรมขนส่งทางบกบอกจะปฏิรูปสายรถเมล์ กทม. ก็เลยบอกกับเราว่าถ้าอย่างนั้นก็หยุดไปก่อน ค่อยทำใหม่กลางปีหน้า รอมันนิ่งก่อน 

แต่ตอนนี้ก็เปลี่ยนใหม่อีกแล้ว ทาง กทม. ก็เลยกลับมาคุยกับเรา ว่าให้เดินงานต่อเลย ซึ่งเวลามันก็เหลือน้อย เราก็เลยต้องรับคนมหาศาลมากๆ ให้มาช่วย 

การปฏิรูปในครั้งนี้เป็นการกำหนดนโยบายเมืองที่ให้รถเมล์เป็น feeder ของระบบรางเป็นหลัก ต่อไปมันจะไม่มีรถเมล์วิ่งขนานไปกับรถไฟฟ้าแล้ว จะเป็นนั่งรถไฟฟ้าแล้วต่อรถเมล์ให้เข้าไปถึงบ้าน มันพอเข้าใจได้เรื่องการปฏิรูปนะ หลายฝ่ายเขาก็คุยกันมาตั้งนานแล้วว่ามันจะต้องเกิดประโยชน์ แต่ว่าเรื่องของการสื่อสาร เรื่องเลขสายที่พยายามเปลี่ยน มันสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ ถ้าคิดมาดีกว่านี้คนก็จะเข้าใจง่ายกว่านี้ 

แต่ละอย่างไม่ง่ายเลย ทำไมทีม MAYDAY! ถึงยืนหยัดอยู่ได้

เวลาที่คุยกันในทีมมันจะมีหลายฉากนะ เช่น เอ๊ะ อันนี้ใช่งานของเราไหม หรือว่าเป็นงานของภาครัฐ จริงๆ เราไม่ได้เชื่อในกระบวนมากเท่าผลลัพธ์ อย่างเช่น เฮ้ย! สิ่งที่เรากำลังทำอยู่มันเป็นเกมการเมืองของใครรึเปล่า 

เราก็จะคุยกันเสมอว่า ภายใต้เกมการเมืองที่จะมีหรือไม่มีก็ตาม สุดท้ายเราจะสามารถสร้างผลลัพธ์ที่จะอยู่ต่อในระยะยาวให้กับเมืองได้ไหม อุ้มเชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์มันสามารถเปลี่ยนได้จากโครงสร้างต่างๆ เช่นสิ่งก่อสร้างของเมือง อันดับแรกเราต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานของเมืองให้ได้ก่อน

ด้วยตัวงานที่ MAYDAY! ทำ สามารถเลี้ยงตัวเองได้ไหม

ได้นะ เพราะเราผลักดันจนถึงขั้นที่ทาง กทม. เห็นคุณค่าของการออกแบบแล้ว อย่างกลุ่มดีไซเนอร์เขาจะปลื้มมากๆ เพราะว่าหน่วยงานรัฐในช่วงที่ผ่านๆ มามักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญหรือคุณค่ากับงานออกแบบเลย เขาก็จะ… แค่นี้ก็พอ สีสันสดใสก็พอ พอเราดันไปจนถึงมีการเขียน TOR (Team of Reference – เอกสารกำหนดจากผู้ว่าจ้าง) ระบุว่ามันมีค่าออกแบบนะ ทุกคนก็ดีใจมาก เพราะเราก็สามารถจัดการทรัพยากรได้ดีมากขึ้น แต่มันก็ไม่ถึงกับว่าทำให้เรารวยกับสิ่งนี้ได้ อุ้มรู้สึกว่า คนที่ยอมทำงานเพื่อสาธารณะ ก็น่าจะเลี้ยงชีพด้วยงานนั้นได้ เป้าหมายของเราก็คงไม่ได้เป็นบริษัทใหญ่โต แต่จะเป็นบริษัทที่รวมคนที่อยากจะทำงาน มี passion ให้อยู่ได้

จากที่สังเกตเร็วๆ คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยใช้ระบบขนส่งมวลชนเท่าไหร่ เทรนด์การเดินทางก็จะเป็นไปในลักษณะของการใช้บริการบริษัทขนส่งสตาร์ทอัพ อย่างการเรียก Grab Taxi / Grab Bike กันมากขึ้น แล้วความต้องการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมคนผ่านโครงสร้างเมืองมันจะเป็นไปได้ยังไง

จริงๆ มันมีคำศัพท์เฉพาะเรียกด้วยนะ ก็คือ paratransit เป็นระบบกึ่งสาธารณะ ซึ่งระบบกึ่งสาธารณะมักจะเกิดในเมืองที่ระบบขนส่งสาธารณะทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ ถ้าประเทศที่รถเมล์ขนส่งคนได้แบบ door to door แบบนี้คือมีประสิทธิภาพ แต่บ้านเรายังทำไม่ได้ มันก็จะมีระบบรับส่งระหว่างทางเพิ่มขึ้นมา เช่น shuttle bus ระหว่างคอนโดกับรถไฟฟ้า วินมอเตอร์ไซค์ ฯลฯ ตรงนี้ก็เป็นความท้าทายที่พร้อมจะทำให้เรื่องของ public space การใช้ของสาธารณะหายไป

อีกเรื่องคือ คนที่มีรถยนต์ส่วนตัว เพราะทุกวันนี้คนออกรถกันง่ายมากๆ ระบบส่วนตัวมันกำลังดีขึ้นเรื่อยๆ ระบบขนส่งสาธารณะมันก็เริ่มสู้ไม่ได้ ต้นทุนของการเดินทางด้วยระบบสาธารณะมันไม่ใช่แค่ถูกกว่าเร็วกว่า แต่ยังมีเรื่องของความสะดวกสบายรวมอยู่ด้วย เหมือนเรายอมเลือกรถติดมากกว่านั่งรถเมล์เปียกเหงื่อกลับบ้าน

แต่สุดท้าย สิ่งที่เราทำ เรามีอยู่สองอย่าง คือคนที่รู้สึกสะดวกสบายในพื้นที่ส่วนตัว ได้ขยับเข้ามาในพื้นที่สาธารณะมากยิ่งขึ้น สองคือ คนที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะเดิม จะทำอย่างไรให้เขาสะดวกสบายได้มากขึ้น

แม้สถิติคนใช้รถเมล์ลดลงเรื่อยๆ แต่ทุกวันนี้ยังมีคนกว่า 3 ล้านคนที่ใช้รถเมล์ต่อวัน เขาต้องผจญภัยกับความ surreal หลายรูปแบบมากๆ ไม่รู้ว่าวันนี้จะเจออะไร ไม่รู้ว่าคนขับจะตีกันหรือเปล่า บางครั้งบนรถเมล์หนึ่งคันก็เป็นเหมือนครอบครัวหนึ่งหลัง มีพ่อแม่ลูก เลี้ยงลูกอยู่บนนั้น เราก็เลยรู้สึกว่า การทำให้มันดีขึ้นได้ ไม่ใช่มองว่า สักวันฉันรวย ฉันจะขับรถของตัวเอง แต่ทำให้เขารู้สึกว่า ขนส่งสาธารณะมันตอบโจทย์ชีวิตของเขาได้ และทำให้คนที่อยู่ในระบบส่วนตัวรู้สึกขึ้นมาในวันหนึ่งว่า การเดินทางสาธารณะมันตอบโจทย์ได้นะ

Public Space ในความคิดของคุณอุ้มควรเป็นยังไง?

จริงๆ มันก็กลับไปเรื่องที่ว่า หน่วยงานเกี่ยวข้องคุยกับผู้ใช้งานน้อยเกินไป ทุกวันนี้สวนสาธารณะ ห้องสมุด หรือทุกอย่างที่ตั้งขึ้น ตั้งขึ้นเพราะดัชนีชี้วัดว่าเมืองจะต้องมี โอเคเรามีแล้วนะ มีแล้ว แต่ฟังก์ชั่นการใช้งานมันกลับไม่ใช่ public space ของเราไม่เคยมีคนอยู่ในนั้น อย่างเช่นป้อมมหากาฬที่โดนรื้อไปก็เป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดที่บอกว่าเมืองต้องมีพื้นที่สาธารณะ ก็เลยถูกรื้อ แต่คำถามคือ ฟังก์ชั่นของตัวสวนที่สร้างขึ้น คนได้ใช้มากน้อยแค่ไหน แค่จะวิ่งออกกำลังกายก็ยังไม่สามารถทำได้เลย บางครั้งก็ปิดรั้วด้วยซ้ำ

เมืองสร้างมันขึ้นมา เพราะดัชนีต้องการให้มันมี แต่ข้างในมันไม่มีคน

แค่มีสีเขียวมันแปลว่าดีขึ้นแล้วเหรอ เพราะสวนสาธารณะตามที่ดัชนีชี้วัดต้องการจะให้มีก็เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน แต่สิ่งที่ได้… คำถามคือพัฒนาชีวิตของคนหรือเปล่า ถ้าคิดให้ลึกลงไปก็จะเห็นภาพการใช้งานของคน มันสำคัญ ทำไมหอสมุดเมืองกรุงเทพฯ (ห้องสมุดสาธารณะตั้งอยู่บนสี่แยกคอกวัว) มันใช้ยากจัง

แล้ว MAYDAY! กับ Public Space มีความเกี่ยวข้องกันแค่ไหน?

แทบจะเป็นเนื้อเดียวกัน ยกตัวอย่าง ตอนที่เราเริ่มทำโฮสเทล ชาวบ้านรอบๆ เขาก็งงว่าตรงนี้มันเคยเป็นโรงพิมพ์เก่านี่นา แล้วทำไมอยู่ๆ มีคนมาเดินเข้าเดินออก เรามองว่าไหนๆ เราก็สามารถดึงคนมาตรงนี้ได้แล้ว เราก็อยากจะโตไปด้วยกันกับชุมชน ฝาบาตรที่เห็นตรงนี้ (ชี้ไปที่ผนัง) เราก็ไปสั่งชุมชนบ้านบาตรให้ทำให้ เราไม่ได้มองว่าไปอุดหนุนของชุมชนแล้วมาขายต่อนักท่องเที่ยวนะ เพราะทำแบบนี้มันไม่ใช่ฟังก์ชั่นจริงๆ ของการทำงาน

อย่างการซักผ้า ซักรีดของแขกในโฮสเทลเราจะเน้นส่งให้ป้ารอบๆ เป็นคนซักให้ ตอนนี้ทั้งซอยก็กลายเป็น ซอยแห่งการซักผ้าไปแล้ว (หัวเราะ)

เราจะไม่ขายอาหารที่ซ้ำกับบริเวณย่าน ไม่ขายในเรตราคาที่ซ้ำ ถ้าแขกอยากไปกินอาหารที่มัน local หน่อยๆ เราแนะนำไปกินข้างๆ ตลอด ไม่ขายเหล้า ไม่ขายเบียร์ ให้ร้านขายของชำข้างๆ เขาอยู่ได้ เรารู้สึกว่ามันคือการเกื้อหนุนกันและอยากให้คนในชุมชนโตไปพร้อมๆ กัน แม่บ้านทุกคนในโรงแรมก็มาจากชุมชนบริเวณนี้

เราเริ่มต้นจากวิธีคิดแบบนี้ เวลาเราเดินมาทำงาน แค่ถึงปากซอย เราก็รู้สึกว่าเออ…นี่บ้านเรา เราก็อยากจะขยายสเกลไปจนเห็นป้ายรถเมล์แล้วก็รู้สึกว่า ถึงบ้านเราละ (หัวเราะ)

Tags:

นักออกแบบdesign thinkingpublic spaceวิภาวี กิตติเธียร

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Related Posts

  • Everyone can be an Educator
    จุฤทธิ์ กังวานภูมิ: เปลี่ยนย่านตลาดน้อย คนในต้องอยู่สบาย บ้านถึงจะกลายเป็นพื้นที่เรียนรู้

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • Space
    หนึ่งวันที่ฉันเบื่อห้าง ออกไปเรียนรู้โลกกว้าง ใน PUBLIC SPACE

    เรื่อง BONALISA SMILE

  • Voice of New Gen
    CROSSS: นักออกแบบที่สนุกกับการฟัง ‘ความฝัน’ ชวนคนทะเลาะ เพราะทุกคนต้องมีส่วนร่วม

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่าง

  • Voice of New Gen
    ฮอมสุข สตูดิโอ: แค่เห็นปลาว่ายอยู่ในคลองแม่ข่าสักตัว เราก็ดีใจแล้ว

    เรื่องและภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Early childhoodEducation trend
    ทำไมพ่อแม่ญี่ปุ่นถึงไว้ใจ ให้เด็กเล็กเดินทางโดยลำพัง

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

เปิดใจ-รับฟัง ช่วยวัยรุ่นแก้ปัญหาอย่างนักจิตวิทยาโรงเรียน
How to get along with teenager
1 November 2019

เปิดใจ-รับฟัง ช่วยวัยรุ่นแก้ปัญหาอย่างนักจิตวิทยาโรงเรียน

เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

คุณเชื่อไหมว่า วัยรุ่นเป็นวัยที่เต็มไปด้วยสารพัดปัญหาชีวิตมากที่สุด ? – ไม่จริงหรอก เพียงแต่วัยนี้เขามีปัญหาเร็วกว่าตามจังหวะโลกที่เร็วกว่ามาก  ‘นีท’ เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์ นักจิตวิทยาโรงเรียน บอกว่า เราไม่สามารถเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับเด็ก แล้วบอกว่าปัญหามันแค่นี้เอง

“วัย 12-15 คือวัยที่สมองส่วนหน้าหรือสมองส่วนเหตุผล ยังทำงานไม่เต็มที่เท่ากับสมองส่วนกลางที่ทำงานด้านอารมณ์ เมื่อปัญหาเข้ามา เขาอาจยังไม่รู้วิธีแก้ พ่อแม่ ครู และคนใกล้ชิดแค่เริ่มต้นจากความเข้าใจ ไม่พูดว่า “ทำไมแค่นี้ทำไม่ได้” 

“อย่าคิดว่าเขาแก้ปัญหาเองได้ เขาคือเด็กที่แค่เปลี่ยนจากประถมไปมัธยมเท่านั้นเอง” 

และนี่คือ 4 ขั้นตอนเปิดใจ รับฟังวัยรุ่น โดยไม่ตัดสิน – 4 ภูมิคุ้มกันป้องกันซึมเศร้า แบบนักจิตวิทยาโรงเรียน

อ่านสัมภาษณ์เพิ่มเติมนักจิตวิทยาโรงเรียนได้: ที่นี่

Tags:

การจัดการอารมณ์นักจิตวิทยาครูแนะแนวซึมเศร้าวัยรุ่นจิตวิทยาการฟังและตั้งคำถาม

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Illustrator:

illustrator

บัว คำดี

เติบโตมากับเพลงป็อปแดนซ์ยุค 2000 เริ่มเป็นติ่งวงการ k-pop ในวัยมัธยม มีเพลงการ์ตูนดิสนีย์เป็นพลังใจในทุกช่วงวัยของชีวิต

Related Posts

  • Creative learning
    “วิชาทักษะแห่งความสุข” มะขวัญ วิภาดา อาจารย์ที่พาไปเข้าใจความสุขบนโลกที่เศร้าลง

    เรื่อง กรกมล ศรีวัฒน์ ภาพ ณัฐสุชา เลิศวัฒนนนท์

  • Life classroom
    อกหักครั้งนี้ ฉันมีเธอเป็นดั่งครู

    เรื่องและภาพ KHAE

  • EF (executive function)
    ไม่พอใจก็แค่ใส่หูฟังแล้วเปิดเพลงดังๆ ‘การจัดการอารมณ์’ ที่ท้าทายแต่ทำได้ในวัยรุ่น

    เรื่อง

  • Life classroom
    เปลี่ยนโรค เปลี่ยว เหงา ซึมเซา เป็นโลกใหม่: 5 วิธีช่วยให้วัยรุ่นรู้สึกดีกับตัวเอง

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Social Issues
    พี่ลาเต้ DEK-D: มหัศจรรย์การสอบสุดจะเครียด 10 ปี ไม่มีเปลี่ยนแปลง

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดีทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

กลับมาเป็นพ่อแม่ที่มีหัวใจ ฟังเสียงข้างในที่ลูกไม่ได้พูด
Family Psychology
1 November 2019

กลับมาเป็นพ่อแม่ที่มีหัวใจ ฟังเสียงข้างในที่ลูกไม่ได้พูด

เรื่องและภาพ วิรตี ทะพิงค์แก

  • บทความนี้ชวนพ่อแม่กลับมาทบทวนตัวเอง กลับมาเป็นผู้ฟังที่ดี ฟังลูกอย่างลึกซึ้ง ฟังทั้งตัวและหัวใจเพื่อรับรู้ความรู้สึกทั้งมวล โดยไม่ถาม ไม่พูดแทรก ไม่ตัดสิน ไม่สั่งสอน หรือไม่คิดหาทางเสนอแนะ นอกจากพ่อจะได้ยินถ้อยคำที่ลูกเปล่งออกมาแล้ว หากยังทำให้ได้ยิน ‘เสียงที่ลูกไม่ได้พูดออกมา’ อีกด้วย 
  • การฟังแบบ SERACH MODEL คือการฟังลูกอยู่ในรูปแบบการโค้ช (coaching) ไม่เน้นสั่งสอน แต่เน้นการนำพาไปสู่เป้าหมายข้างหน้า โดยพ่อแม่ฟังลูกโดยใช้สัมผัสรับรู้เพื่อเข้าอกเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เห็นอกเห็นใจร่วมรู้สึกรู้สาเหมือนกับนั่งอยู่ในใจของลูกฟังเพื่อกลับมาเข้าใจตนเองว่าต้องการอะไรอย่างแท้จริง ฟังเพื่อให้เกิดการยกระดับทางความคิดและนำไปสู่การแก้ปัญหาแบบใหม่และหาทางออก ฯลฯ

เป็นเราหรือเปล่าที่ฟังคนข้างๆ แต่ไม่เคยได้ยิน

เป็นเราหรือเปล่าที่มองคนตรงหน้า แต่ไม่เคยเห็นอย่างลึกซึ้ง

เป็นเราหรือเปล่าที่สัมผัสคนใกล้ชิด แต่ไม่เคยรับรู้ความรู้สึกภายในอย่างแท้จริง

บางทีคนเราก็หลงลืมไปว่า ก่อนเราจะเป็นพ่อแม่ที่แบกความคาดหวังทั้งต่อตัวเองและต่อลูก เราเองก็เคยเป็นคนธรรมดามาก่อน คนที่มีโอกาสผิดพลาด หลงทาง ไม่สมบูรณ์แบบ ค้นหาตัวเองมาก่อนด้วยกันแทบทั้งสิ้น เราอาจผ่านเหตุการณ์จนลืมห้วงเวลานั้นไปแล้ว หรือเป็นเพราะเรากดข่มความรู้สึกนั้นไว้ภายใน จนคาดหวังให้ใครสักคนมาทำให้มันสำเร็จ เป็นการทดแทน หากเราเป็นพ่อแม่ที่ไม่รู้ตัว ขับเคลื่อนชีวิตด้วยความคาดหวังของตัวเองไม่ใช่จากความต้องการของลูก หรือ สัมพันธ์กับผู้คนตรงหน้าจากมุมมองของตนเองแต่เพียงฝ่ายเดียว ลองมาช้าลงสักนิดเพื่อเป็นพ่อแม่ที่มีหัวใจเป็นสุขต่อตัวเองและลูกๆ ดีไหม

Flock.co คือกลุ่มคนที่เชื่อว่าการเรียนรู้ของเด็กนั้นเป็นไปได้ในขอบเขตกว้างไกลกว่าโรงเรียนและเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลาตลอดชีวิต ได้จัดกิจกรรมเวิร์คช็อป “เติมความเป็นโค้ชให้พ่อแม่” เพื่อรวมพลังสร้างทักษะสำหรับผู้ปกครองทั้งในกรุงเทพฯและอีกสี่เมืองทั่วประเทศ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น ระยอง และภูเก็ต โดยมี ครูฝน-ภัทรภร เกิดจังหวัด ครูร่ม-ฉัตรวรุณ เล้าแสงชัยวัฒน์ และ แม่บี-มิรา ชัยมหาวงศ์ ทีมวิทยากรจาก Flock.co โดยชวนพ่อแม่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมคิดถึงคำถามสำคัญที่ว่า หากในศตวรรษ21ที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป พ่อแม่จะมีบทบาทอย่างไรเพื่อช่วยให้ลูกปรับตัวและเผชิญความเปลี่ยนแปลงได้ ทำอย่างไรจึงช่วยให้ลูกมีแรงจูงใจในการขับเคลื่อนชีวิตของตัวเองอย่างมีความสุข หรือแม้แต่พ่อแม่จะช่วยลูกอย่างไรให้เป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเองได้ตลอดชีวิต

กลับมาเป็นพ่อแม่ที่มีหัวใจ

แค่วิทยากรตั้งคำถามแรกเพียงคำถามเดียว “โค้ชคืออะไร” ก็ทำให้พ่อแม่หลายคนเริ่มระลึกได้แล้วว่า เรา (อาจ) กำลังใช้ชีวิตของลูกมากกว่าที่ลูกใช้ชีวิตตัวเองเสียอีก เพราะโค้ชคือผู้เฝ้ามอง ชี้ชวนให้เกิดการตั้งคำถาม เพื่อให้ผู้ตอบกลับไปสืบค้นเรื่องราวและมองเห็นปัญหารวมถึงทางออกด้วยตัวเอง แต่โค้ชไม่ใช่ผู้ให้ความเห็นหรือผู้ชี้แนะ ซึ่งเรา-พ่อแม่ทั้งหลายมักสวมบทบาทนี้บ่อยครั้งอย่างไม่รู้ตัว

“เด็กทุกคนต้องการความอดทน เวลา และความรัก” ครูฝนกล่าวสั้นๆ บอกพวกเราในตอนเริ่มต้น หากพ่อแม่ต้องการเป็นโค้ชที่ดี จำเป็นต้องฝึกฝนทักษะการโค้ชผ่านเครื่องมือเบื้องต้นอันสำคัญสองประการ คือ การฟังอย่างลึกซึ้ง และการสื่อสารด้วยคำถามอันทรงพลัง

มนุษย์เรามีเครื่องรับสำคัญที่ติดตัวอยู่แล้ว คือ sensing ซึ่งไม่เพียงหมายถึงการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้ขั้นพื้นฐาน หากยังรวมการรับรู้ที่มีพลังสูงสุดคือ “การรับรู้ที่มีหัวใจ” การรับรู้เช่นนี้จะทำให้เราช้าลง ละเอียดขึ้น จนสามารถฟังแล้วได้ยิน มองแล้วเห็น สัมผัสแล้วรับรู้ ทั้งหมดนั้นใช้ความเป็นมนุษย์ที่อยู่กับคนที่รักตรงหน้าอย่างเต็มเปี่ยมทั้งตัวและหัวใจ

โปรดฟัง (กัน) อย่างลึกซึ้ง

การที่เราจะสามารถรับรู้หรือโอบรับความรู้สึกใดๆ ของคนตรงหน้าได้อย่างแท้จริงนั้นเราต้องมีการฟังที่ดี เรียกว่ามีทักษะ ‘การฟังอย่างลึกซึ้ง’ หัวใจสำคัญของการฟังแบบนี้คือ ฟังและอยู่ทั้งตัวและหัวใจเพื่อรับรู้ความรู้สึกทั้งมวลอย่างเต็มที่ โดยไม่ถาม ไม่พูดแทรก ไม่ตัดสิน ไม่สั่งสอน หรือไม่คิดหาทางเสนอแนะ (ในใจ) การฟังเช่นนี้ไม่เพียงทำให้เราได้ยินถ้อยคำที่เขาเปล่งออกมาเท่านั้น หากยังทำให้เราได้ยิน ‘เสียงที่ไม่ได้พูดออกมา’ ด้วย 

ตอนที่เราทดลองฝึกฝนทำกิจกรรมนี้ ฉันได้จับคู่กับพี่ท่านหนึ่ง เธอเป็นคนใจเย็นเมื่อประกอบกับการตั้งใจฝึกฟังอย่างเต็มเปี่ยม ฉันรู้สึกได้ถึงการโอบรับความรู้สึกทั้งมวล รู้สึกถึงการเป็นพื้นที่ปลอดภัย เหมือนเด็กน้อยที่ได้รับการโอบกอดอยู่ในอ้อมแขนของแม่ โดยรู้ในใจชัดเจนว่าเราจะไม่ถูกตัดสินจากคนคนนี้แน่นอน

เมื่อผู้ฟังรับฟังเสร็จ เป็นขั้นตอนของการฝึกสะท้อน (reflecting) สิ่งที่ได้ยินกลับไปให้ผู้พูดฟัง พี่สาวท่านนั้นสะท้อนบางสิ่งที่เป็นความอัดอั้นตันใจเบื้องลึกที่อยู่ภายใต้คำพูดของฉัน (ที่ฉันไม่ได้พูด) เธอสะท้อนออกมาอย่างเข้าใจราวกับว่ารู้สึกรู้สาไปด้วยกัน ทำเอาฉันน้ำตารื้นและประจักษ์ชัดว่าการที่มีใครสักคนรับฟังเราอย่างแท้จริง สามารถได้ยินสิ่งที่อยู่ในใจอย่างแจ่มชัดนั้น ช่างเป็นความรู้สึกอันวิเศษเหลือเกิน การฟังอย่างลึกซึ้งจึงไม่ใช่แค่การฟัง (ด้วยหู) อย่างที่เรามักปฏิบัติต่อกันในชีวิต แต่เป็นการฟังด้วยหัวใจ และสิ่งสำคัญเหนืออื่นใดคือ คุณภาพของการรับฟังนั่นเอง 

แล้วทุกวันนี้เราพ่อแม่ได้เป็น ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ของลูก (หรือคู่ชีวิต) แล้วหรือยัง?

ไว้วางใจได้เพราะไร้การตัดสิน

ตอนที่วิทยากรให้จับคู่ทำกิจกรรม ‘คุณคือใคร’ นั้น สำหรับฉันเป็นกิจกรรมเรียบง่ายอันทรงพลังมาก กติกานั้นง่ายดายคือผู้ถามถามคำถามสั้นๆ แค่ว่า “คุณคือใคร” โดยที่ผู้ตอบจะเลือกตอบสิ่งที่ผุดโผล่ในใจด้วยวลีสั้นๆ และผู้ถามถามคำถามนั้นไปเรื่อยๆ ไม่น่าเชื่อว่าแค่คำถามธรรมดากลับสร้างแรงสั่นสะเทือนให้เรากลับมามองเห็นตัวเองอย่างแท้จริง เห็นความอ่อนไหวภายในโดยไม่ตัดสินตนเอง และได้เรียนรู้ว่ามนุษย์เราทุกคนต่างเป็นเสี้ยวส่วนที่เปราะบาง เราเป็นอย่างหนึ่งในสถานการณ์หนึ่ง และเราก็อาจเป็นอีกอย่างหนึ่งได้เมื่อบริบทเปลี่ยนไป 

เมื่อได้มองอย่างเข้าใจเช่นนี้ ทำให้ตระหนักว่าเราไม่ควรตัดสินใครว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะบางทีเราอาจเห็นเพียง ‘บางเสี้ยวส่วน’ ที่เขาแสดงออกมา เช่นเดียวกับที่เราก็มีส่วนเสี้ยวที่ประกอบขึ้นมาและเลือกใช้ต่างสถานการณ์เช่นเดียวกัน ความรู้สึกเหล่านี้ช่วยให้เรากลับมามีความเป็นมนุษย์ที่แท้ (ที่รู้ว่าตัวเองไม่ได้ดีไปกว่าคนอื่นและเราไม่ควรตัดสินใครทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นลูกหรือคู่ชีวิต) นำมาซึ่งความรู้สึกไว้วางใจต่อกันในฐานะมนุษย์ที่เท่าเทียม ความไว้วางใจคือสิ่งสำคัญสูงสุดที่มนุษย์จะเปิดประตูหัวใจเข้าหากันและกัน เป็นด่านแรกของการสานความสัมพันธ์อันงดงามที่เราต้องข้ามผ่านให้ได้

สื่อสารด้วยคำถามอันทรงพลัง

‘คำถามที่ดีมีชัยเหนือทุกสิ่ง’ สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างเราและคนที่เรารักก็เช่นกัน คำถามเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำพาไปสู่ความสุขหรือทุกข์ทรมานได้ทั้งสิ้น การโค้ชที่ดีจึงไม่ใช่การสั่งสอน ตัดสิน หรือชี้แนะแนวทางจากความคิด มุมมองของเราเอง แต่เป็นการสะท้อน (reflect) บางสิ่งที่ผู้พูด (อันหมายถึงลูกของเราหรือคู่ชีวิตก็ตาม) พูดออกมา เพื่อตั้งคำถามให้เขาพบคำตอบด้วยตัวของเขาเอง จากมุมมอง ความคิด ความต้องการของเขาเอง

ความวางใจคือสะพานอันสำคัญ เมื่อผู้ตั้งคำถามและผู้ตอบคำถามไว้วางใจต่อกัน กระบวนการที่เหลือมักจะเป็นไปอย่างราบรื่นง่ายดาย ในระหว่างการทดลองการฝึกโค้ชนั้น เราได้เรียนรู้ว่า จังหวะเวลาอันสอดประสาน (harmony) คือหนึ่งในสิ่งสำคัญของการโค้ช (สนทนา) เปรียบได้ดั่งการเต้นรำที่แต่ละฝ่ายควรคำนึงถึงอีกคนด้วยว่าเขากำลังอยู่ในความรู้สึกแบบไหน พร้อมแค่ไหน แล้วเคลื่อนไหวไปด้วยท่วงทำนองเดียวกัน

หลายครั้งที่คำถามของโค้ชนำพาให้ผู้ตอบคำถามดำดิ่งลึกลงไปภายใน จนรู้สึกบีบคั้น สั่นไหวและมีน้ำตา ผู้ถามมีหน้าที่เพียงรับรู้ อยู่ตรงนั้นเพื่อเขาอย่างแท้จริง เปิดใจเพื่อรับรู้ถึง ‘สิ่งที่เขาไม่ได้พูดออกมา’ และสัมผัสถึงความรู้สึกเบื้องลึก ด้วยหลัก CURE ได้แก่ C-Connect เชื่อมโยงคือการอยู่กับคนตรงหน้าทั้งตัวและหัวใจ U-Understand เข้าใจ R-Reframe เปลี่ยนกรอบการรับรู้ใหม่หากสิ่งนั้นเป็นอุปสรรคทำให้เขาไปไม่ถึงเป้าหมาย E-Empathy มีความเห็นอกเห็นใจ รู้สึกรู้สาไปกับสถานการณ์ที่เขาเผชิญอยู่

น้องสาวคนหนึ่งกล่าวให้ฟีดแบคว่า เธอรู้สึกโชคดีมากที่ได้โค้ชกับฉัน เพราะฉันได้ใช้คำถามเรียบง่ายที่นำพาให้เธอดำดิ่งลงไปค้นหาทางเลือกของตัวเองได้อย่างจริงจังเสียที หลังจากผัดผ่อนเรื่องการดูแลสุขภาพตัวเองมาตลอดเวลา เพราะการทำงานอย่างหักโหม กินอาหารไม่ดี พักผ่อนไม่พอ และไม่เคยออกกำลังกายเลย จนร่างกายประท้วงด้วยอาการป่วยกระเสาะกระแสะ ทั้งที่ลูกก็ยังเล็กและมีแม่สูงอายุที่ต้องดูแลอีกคน คำถามที่เธอรู้สึกสั่นสะเทือนที่สุดคือการที่ฉันถามว่า “ถ้าสมมุติว่าตอนนี้เรามีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดีอย่างที่ต้องการแล้ว เราจะรู้สึกอย่างไรบ้าง” นั่นเป็นคำถามที่เธอบอกว่าปลดล็อคทุกสิ่ง มันทำให้เธอ ‘ตัดสินใจด้วยตัวเอง’ ที่จะ ‘เลือก’ ว่านับจากนี้เธอจะจัดการตารางเวลาชีวิตเสียใหม่ เพื่อให้ความรู้สึกในจินตนาการนั้นเกิดขึ้นได้ในชีวิตของเธอเสียที

มุ่งสู่เป้าหมายด้วยกันอย่างเป็นสุข

นับเป็นการเรียนรู้ที่ดีมากเมื่อเราได้มีประสบการณ์ตรงที่ว่า การโค้ช (coaching) นั้น แตกต่างจากการให้คำแนะนำ (couselling) อย่างสิ้นเชิง เพราะการให้คำแนะนำผูกพันอยู่กับสถานการณ์ที่ผ่านมาแล้ว เน้นการ (สั่ง) สอนที่มาจากคนอื่นหรือภายนอกตัวเอง ขณะที่การโค้ชนั้น เน้นการนำพาไปสู่เป้าหมายข้างหน้า เน้นการถามเพื่อให้ผู้ตอบ ตอบคำถามจากภายในได้ด้วยตัวเอง คำตอบที่ได้จึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของแต่ละคนจริงๆ  การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกิดขึ้นได้จากการตัดสินใจและเลือกของตัวเอง สิ่งนั้นมักเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนและแก้ปัญหาได้ในที่สุด

แม่บี-มิรา ชัยมหาวงศ์ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Flock.co สรุปการเรียนรู้เกี่ยวกับการฝึกฝนเรื่องการโค้ชในช่วงท้ายให้เราฟังผ่าน SEARCH MODEL ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

S-Sensing การใช้สัมผัสรับรู้เพื่อเข้าอกเข้าใจอย่างลึกซึ้ง

E-Empathy ความเห็นอกเห็นใจร่วมรู้สึกรู้สาในเงื่อนไขสถานการณ์ของเขา เหมือนกับนั่งอยู่ในใจของเขาอย่างแท้จริง

A-Aspiration การตั้งเป้าหมาย การกลับมาเข้าใจตนเองว่าต้องการอะไรอย่างแท้จริง

R-Reconstruct หรือ Reframe การกลับไปมองสถานการณ์เดิมด้วยมุมมองหรือกรอบคิดใหม่ เพื่อให้เกิดการยกระดับทางความคิดและนำไปสู่การแก้ปัญหาแบบใหม่และหาทางออกได้จริง

C-Choice/Chance การสร้างทางเลือกให้แก่ตัวเองและการสร้างโอกาสใหม่ในการลงมือทำบางอย่างเพื่อเข้าใกล้เป้าหมายที่ต้องการมากขึ้น

H-Hearten การเสริมแรงให้เขาแสวงหาทางเลือกเพื่อทำให้ตัวเองไปถึงเป้าหมายและเลือกเป้าหมายเพื่อทำจนสำเร็จด้วยตัวเอง

กล่าวโดยสรุปคือผู้ทำหน้าที่โค้ชจำเป็นต้องฝึกฝนคุณลักษณะของการเป็นผู้รับฟังที่เปิดกว้างไม่ตัดสิน มีความรัก เห็นอกเห็นใจ เข้าใจมากเพียงพอ เช่นเดียวกับที่สามารถยกระดับความคิดให้ผู้รับการโค้ชมองเห็นปัญหา และค้นพบจุดพลิกผันเปลี่ยนแปลงปัญหานั้นได้จากพลังความสามารถของตัวเอง สร้างทางเลือกของความเป็นไปได้ในการกำหนดเป้าหมายเพื่อให้เกิดการตัดสินใจลงมือทำจนสำเร็จด้วยตัวเขาเอง

แม่บีย้ำว่า ความยากที่สุดของการถาม (หรือการสนทนากับลูก) คือ เรามักมีสมุติฐานเอาไว้ก่อนแล้ว พูดง่ายๆ ว่าเรามักตัดสินไปแล้วตั้งแต่ยังไม่เริ่มถาม นั่นเป็นจุดที่ทำให้ความสัมพันธ์เกิดรอยร้าว ความไม่ไว้วางใจและห่างเหิน การที่พ่อแม่สักคนสามารถสร้างความรู้สึกไว้วางใจ การเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่โอบรับทุกสิ่งโดยไม่ตัดสินไปก่อน จึงมีคุณค่าความหมายสำหรับลูกอย่างมาก ความยากนี้ฝึกฝนได้ด้วยการรู้เท่าทันตนเอง ทันทีที่นึกขึ้นได้ว่า ‘นี่เรากำลังตัดสินลูกอีกแล้วนะ’ ให้รีบวางไว้ก่อน เปรียบเหมือนนำรถเข้าช่องจอด (parking lot) เพื่อไม่ให้สิ่งที่เราคิดรู้สึก (ในฐานะพ่อแม่) ไปมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการพูดคุยกับลูก

ในโลกที่หมุนติ้วอย่างรวดเร็ว (VUCA World) ผันผวน (volatility) ไม่แน่นอน (uncertainty) สลับซับซ้อน (complexity) และคลุมเครือ (ambiguity) ชนิดที่อาจไม่มีใครสามารถคาดการณ์อนาคตได้ ลูกต้องเรียนรู้มากกว่าอะไรเป็นอะไร แต่ต้องเรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยน ยืดหยุ่นกับสถานการณ์ที่คาดเดาไม่ได้ในเงื่อนไขและข้อจำกัดที่ตัวเองมี การที่พ่อแม่เปิดพื้นที่ของการคิด (ผ่านการโค้ช) ด้วยการรับฟัง ตั้งคำถามอันสำคัญเพื่อให้ลูกใคร่ครวญ ทบทวน เรียนรู้ และค้นพบทางออกด้วยตัวเอง จึงเป็นการติดอาวุธสำหรับลูกอย่างดีที่สุด

การที่เด็กสักคนหนึ่งได้คิด ย้อนคิด เปลี่ยนแปลง ทำให้เขาได้รู้จักตัวเอง มีอำนาจในการตัดสินเลือกในชีวิตตัวเอง เป็นพื้นฐานของการเสริมพลังแห่งการนับถือตัวเองอย่างแข็งแกร่ง การได้เลือกทำด้วยตัวเอง ได้ยืนยันด้วยตัวเอง ยิ่งทำให้เขาเกิดทักษะการตัดสินใจในชีวิตได้ดีขึ้นเรื่อยๆ  

คำถามที่ทรงพลัง (ของพ่อแม่) จึงนำมาซึ่งคำตอบที่ทรงพลัง (ของลูก) เสมอ ขอเพียงแต่เราจงฝึกฝนการเป็นพ่อแม่ที่รู้ตัว (awareness/mindfulness) อีกนิด ใจกว้าง (open-mind) อีกหน่อย ระลึกรู้และหมั่นสังเกตตนเองเสมอว่าเราถามคำถามนี้เพื่อใคร คำตอบแบบใดที่เราต้องการ เรากำลังทำเพื่อตัวเองหรือเพื่อลูกกันแน่ คำถามที่ดีต้องนำไปสู่การยกระดับทั้งทางความคิดและความรู้สึกทางจิตใจ คำถามที่ดีต้องนำพาให้เราเกิดมุมมองใหม่ และเห็นความไปได้ใหม่ๆ ในสิ่งที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน   

ทุกอย่างดูเหมือนเป็นเรื่องยากเย็นเสมอ เมื่อเริ่มต้นเดินจากก้าวแรก หากจงเป็นพ่อแม่ที่ฝึกฝน (ทักษะการฟังและถาม) พร้อมๆ กับฝึกฝืน (ความเคยชินเดิมๆของตัวเอง) เพื่อยกระดับตัวเองและยกระดับลูกไปพร้อมๆ กัน การได้กลับมาเป็นพ่อแม่ที่มีหัวใจก็เท่ากับเราได้ทำหน้าที่บ่มเพาะมนุษย์ตัวน้อยๆ ให้เป็นคนที่มี ‘หัวใจงดงามของความเป็นมนุษย์’ ด้วยเช่นเดียวกัน

และนั่นอาจเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า เราจะแตกต่างจากหุ่นยนต์อย่างไรนับจากวันนี้

หมายเหตุ : ติดตามกิจกรรมอื่นๆ จาก Flock.co ได้ที่ https://www.facebook.com/Flocklearning/

Tags:

จิตวิทยาการฟังและตั้งคำถามFlock LearningSEARCH MODELพ่อแม่

Author & Photographer:

illustrator

วิรตี ทะพิงค์แก

นักเขียน นักเล่าเรื่อง และบรรณาธิการอิสระ ที่ยังคงมีความสุขกับการเดินทางภายนอกเพื่อเรียนรู้โลกภายในของตัวเอง เจ้าของผลงานนิทานชุดดอยสุเทพเรื่อง ‘ป่าดอยบ้านของเรา’ หนังสือเรื่อง ‘เตรียมหนูให้พร้อมก่อนเข้าอนุบาล’ และ ‘ของขวัญจากวัยเยาว์’ คู่มือสังเกตความถนัดของลูกช่วงปฐมวัย เคยทำนิทานร่วมกับลูกชายเมื่อครั้งอายุ 6 ปี เรื่อง ‘รถถังนักปลูกต้นไม้’

Related Posts

  • Family Psychology
    จิตวิทยาเสี้ยวส่วน: ‘เด็กน้อยอันเปราะบาง’ ผู้สร้างบาดแผล ที่เราหลงลืมไป

    เรื่อง ภาพ บัว คำดี

  • Family Psychology
    ‘ตอนนี้’ และ ‘โตขึ้น’ อยากเป็นอะไร พ่อแม่ช่วยลูกค้นหาได้ด้วย 9 วิธีนี้

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • 21st Century skills
    เป็นเด็กยิ่งต้อง ‘เถียง’ และเถียงอย่างสร้างสรรค์เพื่อเข้าใจตัวเองและคนอื่น

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • How to get along with teenagerLearning Theory
    EP.3: THE TWELVE SENSES ปรัชญาการเติบโตของมนุษย์ตั้งแต่ระดับ ‘เซลล์’ และ ‘โซล’

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่างบัว คำดี

  • Early childhood
    5 วิธี ลบคำพูดร้ายในใจเด็ก

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

ACTIVE CITIZEN: สร้าง EF เปลี่ยนสมองวัยรุ่นด้วยการเรียนรู้นอกห้องเรียน
EF (executive function)
31 October 2019

ACTIVE CITIZEN: สร้าง EF เปลี่ยนสมองวัยรุ่นด้วยการเรียนรู้นอกห้องเรียน

เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • สองงานวิจัยที่ว่าด้วยผลของการเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยการทำโครงการเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาในชุมชน หรือ Project Based Learning (PBL) ในโครงการ active citizen สร้างการเรียนรู้นอกห้องเรียนอย่างไร ด้วยวิธีการแบบไหน และมีผลจริงแง่เปลี่ยนแปลงสมอง (EF) ของเด็กในโครงการอย่างไร
  • งานวิจัยโดยทีมวิจัยจากคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ. และ รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพ: เฉลิมพล ปัณณานวาสกุล

หุนหันพลันแล่น กำกับตัวเองไม่ได้ ขี้เบื่อ ไม่จดจ่อ มักทำตามใจตัวเอง และไวต่อสิ่งเร้าที่ท้าทาย

พฤติกรรมของวัยรุ่นเหล่านี้มักถูกอธิบายว่าเป็นภาวะต่อต้านโลก แต่หากมองเข้าไปให้ลึกเพื่อถอดสมการทางอารมณ์และพฤติกรรมที่เกิดขึ้น คำตอบทั้งหมดอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์เรื่อง ‘พัฒนาการสมอง’ โดยเฉพาะสมองส่วนหน้า ที่ตั้งของกล้ามเนื้อทำงานเรื่องการคิดวิเคราะห์และการกำกับตัวเอง 

ทักษะการคิดวิเคราะห์ กำกับตัวเอง คิดเป็นเหตุเป็นผลเกิดขึ้นจากสมองส่วนหน้า จะเริ่มพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วง 0-8 ปี และจะพัฒนาอย่างเต็มพร้อมในช่วงวัย 25 ปี ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงที่สมองส่วนหน้ายังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ทว่าสมองส่วนอารมณ์ทำงานอย่างเต็มที่ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมวัยรุ่นจึงเป็นวัยแห่งความแก่นเซี้ยวเปรี้ยวซ่า ชอบความท้าทาย และดูจะใช้เหตุผลน้อยกว่าอารมณ์ การพัฒนา (ด้วยความเข้าใจ) วัยรุ่นจึงต้องอาศัยกระบวนการการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการ เพื่อช่วยให้วัยรุ่นได้ลับเหลี่ยมคมหรือประลองสมองมากไปกว่าการท่องจำตำราเรียน หนึ่งในนั้นคือการได้เรียนรู้นอกห้องเรียน ออกมาทำโครงการเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาหรือสถานการณ์ในชุมชนเป็น Project Based Learning (PBL) 

เพราะในศตวรรษที่ 21ความรู้ ไม่ได้ถูกขังไว้ในห้องสี่เหลี่ยมหรือสร้างได้จากการอ่านตำราเรียนอีกต่อไป การสร้างความรู้เป็นสิ่งที่ผู้เรียนทำเองได้ โดยอาจเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อให้รู้โลก หรือกลับมาเรียนรู้เรื่องใกล้ตัวจากชุมชนที่อาศัย จากครอบครัว ก็เป็นสิ่งที่สามารถทำได้

‘การเรียนรู้ผ่านการทำโครงการในชุมชน ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะ สำนึกพลเมือง และการเปลี่ยนแปลงทางสมอง’ ถูกนำเสนอในงาน LSEd Symposium 2019 & TSS Open-house โอกาสครบรอบ 5 ปีของคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โดยรูปแบบเป็นการนำเสนองานวิจัย 2 เรื่อง ที่เข้าไปศึกษาการจัดการเรียนรู้ใน โครงการพัฒนาเยาวชน Active Citizen โดยมูลนิธิสยามกัมมาจลและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 

  • ชิ้นแรกว่าด้วยเรื่องกระบวนการบทบาทและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการโค้ชที่มีต่อเยาวชน โดย อดิศร จันทรสุข ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และรองคณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และทีมวิจัย 
  • ชิ้นที่สอง ว่าด้วยเรื่อง การศึกษาผลลัพธ์และการเปลี่ยนแปลงของทางสมองเยาวชนก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ โดย รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล 

โครงการในพื้นที่ Alternative Space ที่ช่วยพัฒนา (สมอง) วัยรุ่น

เพราะโครงการ Active Citizen เชื่อว่าเยาวชนเป็นวัยที่มีศักยภาพ จึงต้องการพัฒนาบุคลากรที่เป็นเยาวชนให้มีคุณภาพเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมที่ดี จึงเปิดโอกาสให้เรียนรู้จากประสบการณ์ เรียนรู้จากสถานการณ์จริงในชุมชน ลงมือทำงานในฐานะเจ้าของชุมชนเอง (community/project based) ได้เผชิญปัญหาและฝึกแก้ปัญหา นอกจากชุมชนจะได้ประโยชน์แล้ว เด็กก็จะได้เติบโตไปพร้อมกับงานที่เขาทำด้วย โดยเฉพาะทักษะในศตวรรษที่ 21 และการรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน

แต่เพื่อตอบคำถามว่าโครงการพัฒนาเด็กได้จริงหรือไม่ และ โครงการทำให้เยาวชนอยากลุกขึ้นมาทำงานและพัฒนาชุมชนที่เป็นถิ่นฐานบ้านเกิดด้วยตัวเองได้จริงหรือเปล่า และจะยืนระยะนานแค่ไหน? 

จึงเป็นเหตุผลที่ทีมวิจัยจากคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงไปศึกษาการทำงานโครงการพัฒนาเยาวชนและการทำงานของโค้ชโครงการ Active Citizen ใน 4 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดสงขลา น่าน ศรีสะเกษ และกลุ่มจังหวัดภูมิภาคตะวันตก (ราชบุรี กาญจนบุรี สมุทรสงคราม เพชรบุรี) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาทักษะและสร้างสำนึกพลเมืองของเยาวชนผ่านการลงมือทำงานในชุมชน ระบบนิเวศในการพัฒนาเยาวชน (Bio-ecological system) และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการ พร้อมเสนอแนวทางการนำกระบวนการพัฒนาเยาวชนดังกล่าวไปใช้กับการศึกษาในระบบต่อไป

“สิ่งที่มูลนิธิสยามกัมจลพยายามทำคือการเรียนรู้นอกห้องเรียน แล้วในฐานะมหาวิทยาลัย โจทย์คือเราจะพัฒนาหน้าตาหลักสูตรออกมาอย่างไร เราเอาโจทย์การเรียนรู้ไปใช้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 เราจัดกระบวนการให้เขาได้ลงไปทำงานกับชุมชนจริงๆ ไปอยู่กับชาวบ้าน และหาประเด็นที่เขาสนใจแล้วลงมือทำ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา” อดิศร จันทรสุข ย้ำ 

อดิศร จันทรสุข

ผลการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์และจังหวะการทำงานระหว่างเด็กกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรอบตัวเด็ก ทั้งหมดต่างมีความเกี่ยวพันอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ สามารถแบ่งออกได้ 5 ระดับ ซึ่งการแยกย่อยระดับเช่นนี้จะช่วยคลี่ภาพให้เห็นผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งวงจรที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของเยาวชนได้ชัดเจน

  • Chrono System บริบทเชิงเวลา
  • Marco System ระดับสังคมใหญ่ เช่น วัฒนธรรม ความเชื่อ มุมมอง
  • Exo System ระดับที่ไม่ได้เกี่ยวกับเยาวชนโดยตรงแต่มีผลทางอ้อม เช่น กระทรวงศึกษาธิการ ผู้ปกครอง นโยบายโรงเรียน
  • Meso System ระดับที่ขยับเข้าใกล้เด็กมากขึ้น เช่น มูลนิธิสยามกัมมาจล 
  • Micro System คนใกล้ตัวมีอิทธิพลในการทำงานเชิงพัฒนาเด็กมาก เช่น เพื่อน ผู้ปกครอง พี่เลี้ยง ชาวบ้านในชุมชน
  • NANO ระดับข้างในลึกสุด เช่น ความคิด ความอดกลั้น ทัศนคติ ซึ่งเป็นระดับที่ทำงานกับโลกภายในจิตใจของเยาวชน โดยความสัมพันธ์ในระดับนี้จะส่งผลให้เกิดสำนึกพลเมืองมากที่สุด

อดิศร อธิบายว่า สิ่งที่มักถูกมองข้ามไปในงานพัฒนาเยาวชน คือ ‘การมองเห็นว่าเด็กแตกต่างกัน’ เพราะเด็กทุกคนมีตัวตน มีต้นทุนความรู้ความสามารถ ทักษะเดิมติดตัว บุคลิกภาพที่เป็นปัจเจก ฉะนั้นการที่เยาวชนจะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงหรือทำอะไรบางอย่าง ต้องเริ่มต้นจาก ‘ตัวเอง’ ที่สนใจและเห็นความสำคัญกับเรื่องนั้น

ไม่ต่างจากกระบวนการที่นำไปใช้พัฒนาเยาวชนให้เป็น Active Citizen 

เราจำเป็นจะต้องอาศัยองค์ประกอบ 3 ด้าน 

หนึ่ง – Cognitive เด็กจะต้องมีความรู้ เข้าใจประเด็นในชุมชนที่ตัวเองทำ

สอง – Skill ทักษะต่างๆ ที่จำเป็นต่อการทำงาน เช่น การเข้าหาแหล่งข่าวในชุมชน การสัมภาษณ์ วิธีจัดการต่างๆ ที่ทำให้งานของพวกเขาขับเคลื่อนไปถึงธงความสำเร็จให้ได้

สาม – Affective อารมณ์และความรู้สึก โดยเรามักหลงลืมความสำคัญของเรื่องนี้มากที่สุด แต่การทำให้เด็กรู้สึกมีส่วนร่วม รู้สึกอินกับเรื่องราวในชุมชนที่เขาทำงานด้วย จะทำให้ช่วยเขาไปถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น

“ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดเมื่อต้องการสร้างการเรียนรู้ที่พัฒนาไปถึงขั้นสร้างจิตสำนึก เราต้องผลักดันให้เยาวชนได้เรียนในสิ่งที่เขาอยากเรียน และสิ่งนั้นควรเข้าไปทำงานในระดับ NANO เพื่อให้เด็กเชื่อมตัวเองเข้ากับสิ่งนั้นให้ได้ สุดท้ายทักษะที่ติดตัวเด็กออกไปคือการอยู่กับปัญหาให้เป็น ไม่หนี และความอดทนอดกลั้นต่อภาวะท้อแท้ (GRIT)” 

เมื่อระเบิดพลังระดับ NANO แล้ว ขั้นตอนต่อไปในการทำโครงการเพื่อชุมชนคือ ฝึกวิเคราะห์สถานการณ์ชุมชนคิดวิเคราะห์โจทย์เพื่อแก้ปัญหา คิดวางแผน การแก้ปัญหา เรียนรู้การทํางานเป็นทีม ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาของชุมชน โดยลงมือทําด้วยตัวเอง

รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล กล่าวถึง เบื้องหลังพฤติกรรมที่เป็นผลจากการเรียนรู้ของเยาวชนในโครงการ Active Citizen ว่าสามารถเชื่อมโยงกับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ได้ โดยอธิบายผ่านมุมมองของการทำงานของสมองส่วนหน้า หรือ EF (Executive Function) ที่ทำหน้าที่กํากับ ทั้งด้านความคิด อารมณ์และการกระทํา นำไปสู่การจัดการชีวิต เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่มุ่งสู่เป้าหมาย มีผลทำให้ไม่ว่าจะทำสิ่งใดก็เสร็จลุล่วงทั้งกระบวนการ

รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล

ฉายภาพให้เข้าใจชัดๆ อ.นวลจันทร์ อธิบายว่า สมองส่วนหน้า (EF) สามารถเชื่อมโยงการทำงานของเยาวชนในโครงการ Active Citizen ได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะส่วน working memory ดูแลเรื่องความจําขณะทํางาน, inhibit การหยุด การยับยั้ง, shift/cognitive flexibility การยืดหยุ่นความคิด, emotional control การควบคุมอารมณ์, plan/organize การวางแผนจัดการต่างๆ, initiate การเริ่มลงมือทํา, self-monitoring การเฝ้าติดตามดูและสะท้อนผลจากการกระทําของตนเอง, organize of material การจัดการข้าวของเครื่องใช้ และ task completion การทํางานให้เสร็จ

ซึ่งเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการด้านสมองส่วนหน้า (EF) มากน้อยต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดูที่เปิดโอกาสให้เด็กได้คิด ตัดสินใจ ลงมือทำ ได้เผชิญปัญหา ได้คิดวิธีแก้ไขปัญหา ได้เรียนรู้ผลจากการกระทำมากกว่า

ผลการประเมินพัฒนาการทางสมอง เมื่อเยาวชนได้เข้าร่วมโครงการ Active Citizen ผ่านเครื่องมือการวัดคลื่น P300 (คลื่นไฟฟ้าที่แสดงถึงการจดจ่อต่อตัวกระตุ้น) พบว่า เยาวชนในโครงการมีปัญหาความบกพร่องของ EF ลดลง มีความคิดยืดหยุ่นมากขึ้น มีการจดจ่อ ตอบสนองดีขึ้นทั้งในระยะยาวและสั้น เยาวชนสามารถกำกับตัวเอง มีความเพียร ไม่ย่อท้อ ให้ทำงานสำเร็จตามเป้าหมายได้ดีขึ้น ซึ่งผลการเปลี่ยนแปลงในคลื่นสมองแสดงให้เห็นว่า เมื่อเยาวชนต้องจดจ่อ ตัวกระตุ้นในการแยกแยะข้อมูลใหม่ๆ และความจำขณะทำงานจะดีขึ้น หรือมี working memory มากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการจดจำข้อมูลจำนวนมากไว้ในใจและอัปเดตข้อมูลเก่ากับใหม่ได้ดีขึ้น

ฉะนั้นการทำโครงการเพื่อชุมชนจึงมีผลต่อพัฒนาการด้านสมองอย่างมีนัยยะสำคัญและอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์ 

อ.นวลจันทร์ ทิ้งท้ายไว้ว่า การที่เด็กจะทำงานสำเร็จตามเป้าหมายสักชิ้น ควรต้องเริ่มที่ข้างในตัวเด็ก หมายถึง เด็กควรจะได้ทำในสิ่งที่เข้าสนใจเสียก่อน จากนั้นการที่เด็กจะกำกับตัวเองให้ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนให้สำเร็จหรือการทำงานร่วมกับคนอื่น เด็กต้องใช้ทักษะการคิดบริหารจัดการ (EF) เกือบทุกด้าน เพื่อทำให้เขาจดจ่อและควบคุมตัวเองได้ หากเจอปัญหาหรือความท้อแท้ ครู โค้ช หรือพ่อแม่ คอยเป็นผู้เคียงข้าง ผลักดันให้เขามีกรอบคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) และสุดท้ายจะนำไปสู่การมี GRIT หรือความอดทน ไม่ย่อท้อในตัวเด็ก

เมื่อเข้าใจแล้วว่า วัยรุ่นขี้เบื่อ ท้อแล้วไม่อยากไปต่อ ทำงานไม่สำเร็จ คือพฤติกรรมตามธรรมชาติที่เกิดจากพัฒนาการทางสมองของพวกเขา คำถามคือเราจะมีวิธีหยิบฉวยโอกาสนี้ จับเอาพลังนั้นมาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยเพิ่มพื้นที่ให้วัยรุ่นได้มีโอกาสเรียนในสิ่งที่เขาสนใจจริงๆ ผลักดันให้เขาหยิบธงของตัวเองขึ้นมาโบกเอง เพราะเชื่อว่าถ้าวัยรุ่นไปในทางที่เขาชอบ เขาจะไปได้ดี เขาจะคิดและวางแผน ไปถึงเป้าหมาย โดยไม่เบื่อ ไม่ท้อ และล้มเลิกไปเสียก่อน

แม้วัยรุ่นเป็นวัยที่ท้าทายต่อการรับมือ แต่หากมีการออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะกับพัฒนาการของเขา ท้าทายเพียงพอ และให้เขาได้เลือกเอง เป็นเจ้าของการเรียนรู้ โอกาสที่จะพลิกวัยรุ่นเป็นพลังศักยภาพมีมากมาย และทำได้ง่ายเพียงเปิดพื้นที่เรียนรู้ให้เขาได้คิด ได้ทำ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในชุมชน หรือโรงเรียน เพียงแค่นี้เราก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของวัยรุ่นได้

Tags:

วัยรุ่นactive citizenproject based learningเทคนิคการสอนงานเสวนาEF

Author:

illustrator

รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

หลงใหลถุงผ้ากับกระบอกน้ำ เริ่มต้นอาชีพด้วยการฝึกปรือและอยู่กับผู้คนในประเด็นการศึกษา สนุกจะคุยกับเด็ก ชอบฟังเรื่องเล่าในห้องเรียน ที่สนใจการเรียนรู้ก็เพราะเชื่อว่านี่เป็นใบเบิกทางให้ขยายขอบขีดความสามารถตัวเอง ฝันสูงสุดคืออยากเห็นตัวเองทำงานสื่อสารที่มีคุณภาพและคุณค่าต่อไป

Related Posts

  • Creative learningCharacter building
    ‘น้ำตกสายใจ’ ห้องเรียนหน้าร้อน สอนให้เด็กๆ บ้านเขาไครรู้ว่าตัวเองเป็นใคร

    เรื่องและภาพ The Potential

  • EF (executive function)
    ไม่พอใจก็แค่ใส่หูฟังแล้วเปิดเพลงดังๆ ‘การจัดการอารมณ์’ ที่ท้าทายแต่ทำได้ในวัยรุ่น

    เรื่อง

  • Character building
    “ผมอยากจะเป็นชาวสวน” เรื่องเท่ๆ ของเด็กหนุ่มที่หา PASSION เจอ

    เรื่อง

  • Creative learning
    ต้นทุนชีวิต อย่าคิดให้ติดลบ

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Character building
    เรื่องของเด็กขี้สงสัย ณ บ้านห้วยสงสัย

    เรื่อง The Potential

PUPPETOMIME: ศิลปะง่ายกว่าที่คิด หยิบสิ่งของในบ้านนำมาเล่านิทานหรือสร้างงานละครได้
Everyone can be an Educator
30 October 2019

PUPPETOMIME: ศิลปะง่ายกว่าที่คิด หยิบสิ่งของในบ้านนำมาเล่านิทานหรือสร้างงานละครได้

เรื่อง ขวัญชนก พีระปกรณ์

  • ศิลปินไม่ต้องทำเรื่องใหญ่โต รู้ลึก รู้ดีที่สุดคือเรื่องที่เกิดกับตัวเราเอง เท่านี้ก็สั่นสะเทือนโลกได้แล้ว
  • ศิลปะอาจง่ายกว่าที่คิด เพียงเรื่องเล่าในชีวิตจริงหรือแม้แต่สิ่งของในบ้านก็สามารถนำมาเล่านิทานหรือสร้างงานละครได้ เมื่อมีการสร้างงานศิลปะอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ศิลปะก็จะงอกงามเติบโตในใจทุกคน
  • งานศิลปะจำเป็นต้องลงมือทำ ไม่มีโอกาสก็สร้างโอกาสขึ้นมา เพื่อให้ศิลปินและผู้ชมได้ร่วมเติบโตไปพร้อมกัน
ภาพ: ศุภจิต สิงหพงษ์

ศิลปะเป็นเรื่องง่ายกว่าที่คิดและอยู่รอบตัวเรา เช่น สิ่งของในชีวิตประจำวันหรือเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงก็สามารถนำมาเล่านิทานหรือสร้างงานศิลปะได้ พ่อแม่สามารถนำไปเล่นกับลูกที่บ้านได้ นอกจากนี้ศิลปะที่สร้างจากเรื่องราวในชีวิตจริงก็สามารถเยียวยาผู้คนได้

ไฟบนเวทีสลัวราง เห็นภาพพลิ้วไหวของขนนกบางเบาที่ถูกนักเชิดหุ่นขยับเคลื่อนไหวราวกับปลาใต้ทะเลลึก จากนั้นเริ่มขยับลงจากเวทีมาสู่ที่นั่งและในอุ้งมือของผู้ชม และแล้วเวทีก็เปลี่ยนฉากไปเป็นเรื่องราวของท้องฟ้าและผืนน้ำที่รักกันแล้วความรักแตกสลาย ต่อเนื่องกับความสัมพันธ์ของสองพี่น้องที่อยู่กันคนละฝั่งฟ้าและท้องทะเล ต้องผจญกับฉลามร้ายและสัตว์ประหลาดใต้น้ำที่จะต้องฝ่าฟันไปด้วยกัน ผ่านการใช้ข้าวของในชีวิตประจำวันอย่างฟองน้ำขัดตัว มีดพลาสติก ถุงมือกันร้อน แปรงขนาดต่างๆ หรือไม้ขนไก่แสดงเป็นฉากและตัวละครใต้ทะเลให้ผู้ชมได้จินตนาการตามไปด้วย

เมื่อเปลี่ยนฉากอีกครั้ง จากเวทีละครหุ่นก็กลายเป็นเวทีแสดงละครใบ้อีกหลายชุดที่ใช้เทคนิคการแสดงมากมายประกอบกับการมีส่วนร่วมของผู้ชมเคล้าเสียงหัวเราะ สร้างหลากหลายอารมณ์ผสมผสาน ทั้งตลก สนุก เศร้า ซาบซึ้ง ตลอดระยะเวลาการแสดง 1 ชั่วโมงเต็ม

ซ้ายไปขวา แจ๋-สิริกาญจน์ บรรจงทัด, ธา-ณัฐพล คุ้มเมธา และ เอื้อง-อาริยา เทพรังสิมันต์กุล

นี่คือการแสดงชื่อ ‘Puppetomime’ ที่เต็มไปด้วยศิลปะหลากหลาย ชื่อการแสดงมาจากการที่มีศิลปะละครหุ่นและละครใบ้มาแสดงเรียงร้อยต่อกันกลายเป็นคำว่า Puppet – to – mime โดยมีนักแสดง 3 คนที่ต่างความชำนาญ ต่างประสบการณ์ ต่างที่มามาร่วมทำงานร่วมกัน ประกอบด้วย ธา-ณัฐพล คุ้มเมธา หนึ่งในสมาชิกคณะละครใบ้ Babymime ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศไทย และอาชีพหลักตอนนี้เป็นคุณพ่อลูกสอง, แจ๋-สิริกาญจน์ บรรจงทัด นักละครหุ่นมากประสบการณ์กว่า 17 ปี ผู้ก่อตั้งกลุ่มละคร Puppet by JAE มีผลงานการแสดงละครหุ่นทั้งในและต่างประเทศ ล่าสุดเขาได้รับทุนจาก Asian Cultural Council (ACC) ไปเรียนการทำละครหุ่นที่อเมริกา และนำประสบการณ์จากการเรียนมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการแสดงชุดนี้ และ เอื้อง-อาริยา เทพรังสิมันต์กุล บัณฑิตคณะศิลปกรรมศาสตร์สาขาการละคอนจากรั้วเหลืองแดง ปัจจุบันเป็นนักแสดงอิสระและหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มละครเด็กชื่อ ‘Yellow Fox Theatre’

จุดเริ่มต้นของ Puppetomime มาจากละครที่ธาทำร่วมกับลูกชายเรื่อง ‘ความสัมพันธ์ในครอบครัว’ นำมาทดลองและปรับปรุงใหม่ประกอบกับละครหุ่นและชุดการแสดงย่อยๆ อีกหลายชุดของแจ๋และธา ซึ่งเมื่อทดลองซ้อมแล้วพบว่าคนไม่พอ จึงชวนเอื้องที่สนใจเรื่องละครเด็กมาร่วมทำงาน จากนั้นได้เปิดการแสดงครั้งแรกที่ประเทศอินโดนีเซีย ณ เมืองยอร์คจาร์กาตา และเมืองจาการ์ตา โดยบัตรขายหมดเกลี้ยงทั้ง 2 ที่ และคว้ารางวัลละครเด็กยอดเยี่ยมจากเทศกาลละครกรุงเทพในปี 2561 มาครอง

The Potential ชวนทั้งสามคนจับเข่าคุยเรื่องวิธีการสร้างงานศิลปะ และประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้จากการทำงานในครั้งนี้

เบื้องหลังการทำงานท่ามกลางความแตกต่าง

เมื่อศิลปินที่สร้างงานศิลปะต่างแขนง ต่างวัย ต่างที่มามาร่วมทำงานด้วยกัน เป็นเรื่องธรรมดาที่จะไม่เข้ากัน แต่เมื่อดูจากบนเวทีแล้ว การทำงานของ Puppetomime นั้นกลมเกลียวสอดประสานกันกลมกล่อม พวกเขาทำได้อย่างไร

แจ๋-สิริกาญจน์ บรรจงทัด

แจ๋เล่าว่า ด้วยความที่ตัวเองเป็นนักละครหุ่น ธาเป็นนักละครใบ้ มีทักษะและวิธีการสร้างงานที่ต่างกัน ก็จะงงๆ กันนิดหน่อย “อย่าง Babymime เขามีไอเดีย แล้วทำอันนี้กัน แล้วใช้ร่างกาย เปลี่ยนปึ๊บๆ ทำได้เลย แต่อย่างละครหุ่นต้องวางแผนตั้งแต่แรก ต้องคิดไว้ก่อนภาพหนึ่งสองสามสี่ห้าจนจบ บางกลุ่มก็สตอรีบอร์ดชัดเจน ค่อยๆ สร้างของขึ้นมาจากตรงนั้น แล้วลองเล่นดู เป็นทักษะร่างกายกับทักษะสร้างของ ก็จะ เอ๊ะเธอจะเปลี่ยนอีกแล้วเหรอ (หัวเราะ)”

แต่ในความแตกต่างก็มีการส่งเสริมกัน เอื้องสะท้อนการทำงานและจุดเด่นของพี่ๆ ว่า

“พี่แจ๋ข้าวของเยอะ มีไอเดีย เป็นคนที่ทำหลายๆ อย่างดูยากซับซ้อนให้ง่ายขึ้น ส่วนพี่ธาจะเป็นเรื่องการเล่าเรื่อง มีมุมมอง personal ที่สร้างเป็นเรื่องน่าสนใจได้ พอมาอยู่ระหว่างสองคนนี้ก็รู้สึกน่าสนใจ ก็ครูพักลักจำวิธีการทำงานที่ต่างกัน มองเขาถกกันไปกันมา”

แจ๋และธาเพิ่มเติมว่า จุดเด่นเรื่องภาษาและการจัดไฟบนเวทีของเอื้องก็มีส่วนช่วยให้การแสดงที่อินโดนีเซียราบรื่นด้วยเช่นกัน เพราะสถานที่จัดแสดงเป็นสถานที่แสดงงานศิลปะที่มีไฟคนละชนิดกับไฟที่ใช้บนเวที

“ทักษะภาษาอังกฤษเอื้องดีมาก คอยช่วยเหลือที่ต่างประเทศ พาร์ทการประสานงานให้น้องเอื้องช่วย คุยกับสเตจ เทคนิค ส่วนหนึ่งเราก็จน (หัวเราะ)”

เรื่องเพศและวัยก็เป็นอีกความแตกต่างหนึ่งที่อาจจะต้องปรับตัวเข้าหากันพอสมควร แต่ดูเหมือนจะไม่เป็นปัญหาสำหรับ Puppetomime อย่างธาที่เป็นชายเดี่ยวในละครครั้งนี้ก็สะท้อนว่า “ปกติทำงานกับผู้ชาย ง่ายๆ จะทำอะไรก็ทำ ทำงานกับเพื่อนนานๆ จนรู้กัน แต่กับผู้หญิงจะต้องละเอียดอ่อน ต้องมานั่งเรียนรู้ใหม่ น่าสนใจดี”

เอื้อง-อาริยา เทพรังสิมันต์กุล

เอื้องที่เป็นน้องเล็กสุดของทีมก็สะท้อนว่า “การทำงานกับพี่แจ๋พี่ธา ด้วยวัยก็ห่างกันเยอะ แต่พี่เขาให้เกียรติในการออกความคิดเห็น ไม่มี seniority เข้ามา หนูเสนออะไรก็รับฟัง ไม่เห็นด้วยยังไงก็ถก รับฟัง ดีเบต ไม่ได้มองอายุหรือสถานะว่าสำคัญในการทำงาน”

แจ๋เสริม “ที่เป็นแบบนี้เพราะเราไม่อยากแก่ ไม่อยากตั้งกรอบว่าเราเป็นคนยังไง มีกรอบอะไรบางอย่าง ถ้าเขาอายุเยอะกว่าต้องแบบนั้นแบบนี้กับเรา”

“ผมเชื่อว่าเรากำลังสร้างสรรค์อะไรบางอย่าง ถ้าทำให้คนมีความสุข แต่บรรยากาศในการทำงานคุกรุ่น จะเอาพลังงานดีๆ ที่ไหนไปส่งให้คนดู” ธาตบท้าย

ศิลปะง่ายๆ จากสิ่งของและเรื่องราวรอบตัว

แจ๋เล่าวิธีคิดงานใน Puppetomime ให้ฟังว่า เริ่มต้นคือการไป ‘ช็อปปิ้ง’ ก่อน เพื่อนำสิ่งเหล่านั้นมาแสดงแบบ object theatre คือการนำสิ่งของมาสมมุติเป็นตัวละคร ฉาก และสถานการณ์ต่างๆ เพื่อเล่าเรื่อง

“ชวนกันไปดูว่าเรื่องแบบนี้จะใช้อะไรเล่าเรื่องบ้าง อะไรที่เป็นซีนทะเลท้องฟ้าเอาสิ่งของอะไรมาดูได้บ้าง ก็เป็นของในบ้าน ในชีวิตประจำวัน” วิธีนี้เป็นเป้าหมายของแจ๋เองที่อยากทำให้ละครดูเป็นเรื่องง่ายๆ สำหรับพ่อแม่ที่ไม่ต้องใช้เทคนิคทางศิลปะมากมาย เพียงหยิบข้าวของมาเล่นสมมุติกับลูกก็สร้างความสนุกได้แล้ว

ธายืนยันอีกเสียงว่า “ส่วนตัวที่เป็นพ่อ วิธีนี้ creative มากเลยนะครับ การเอาของในบ้านมาเล่นกับลูก ผมว่าเราใช้เป็นทาง connect กับลูก โดยส่วนตัวชอบเอาของใช้ในบ้านมาเล่นกับลูกอยู่แล้ว”

“ที่ทำอยู่ทุกวันนี้เหมือนไม่สร้างกรอบให้ตัวเอง แล้วคำว่า contemporary สำคัญกับชีวิตคนสมัยนี้ ไม่อยากให้มีอะไรมากรอบ ทำอะไรก็ได้ สร้างสรรค์ขนบขึ้นมาเองก็ได้ อันนี้สำคัญ ถ้าไม่มีพื้นที่ให้ทดลองได้ เราก็จะตามในสิ่งที่กรอบไว้อยู่แล้ว กลายเป็นคนที่ไม่มีคำถาม ไม่กล้าลองอะไร คิดว่าทำไม่ได้หรอก ไม่ดีแบบนั้นแบบนี้ ก็เป็นเป้าหมายที่จะพยายามลองรูปแบบใหม่ๆ เอานู่นเอานี่มาผูกกัน” แจ๋บอก

นอกจากข้าวของในชีวิตประจำวันแล้ว การนำเรื่องราวจากชีวิตจริงมาเล่าเป็นงานศิลปะก็เป็นวิธีหนึ่งในการสร้างงานเช่นกัน ธาเล่าให้ฟังเรื่องที่มาของ ‘นิทานเส้นขอบฟ้า’ ละครย่อยเรื่องหลักในชุดการแสดงว่าเป็นเรื่องราวในครอบครัวของเขาเอง ในตอนที่ธาจำเป็นต้องแยกทางกับแม่ของลูกชายและจำเป็นต้องสื่อสารเรื่องความสัมพันธ์ของผู้ใหญ่ที่เด็กๆ อาจไม่เข้าใจ ซึ่งในช่วงแรกธาเลือกใช้นิทานเป็นเครื่องมือ

“นิทานคือสิ่งที่ดีที่สุดที่จะเล่าให้เขาฟัง เพราะเรากันส่วนที่เขายังไม่ถึงวัยควรรู้และเติมจินตนาการบางอย่างให้กับเขา เล่าความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น มันช่วยเชื่อมโยงผมกับลูก จนตอนนี้เขาโตแล้วก็เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น”

เมื่อทั้งสามคนได้มีโอกาสไปแสดงที่อินโดนีเซีย ได้เห็นการแสดงหลายชุดที่มีวัตถุดิบในการสร้างงานเป็นเรื่องจริงของศิลปินที่บางครั้งก็เป็นเรื่องที่เจ็บปวด แต่ก็สามารถเยียวยาหัวใจทั้งศิลปินและผู้ชมได้

“มีเรื่องคนเยอรมันที่ประสบอุบัติเหตุร้ายแรงเฉียดตาย ก็สร้างงานที่เกี่ยวกับความตาย” แจ๋เริ่มเล่า

“เขาสูญเสียตาไปข้างหนึ่ง เลยเล่าเป็นเหมือนเซ็ตวงกลมที่จะสื่อถึงวงจรชีวิตด้วย เจอความตาย ผ่านเวลาชีวิตถูกคนรักทิ้ง เกิดแก่เจ็บตาย มีความสุข เผชิญหน้ากับพ่อตัวเอง คือการดีลกับปัญหาชีวิตตัวเอง ฟีดแบ็คคือทั้งคนดูและศิลปินนั้นเป็นการเยียวยาทางหนึ่ง ตราบใดที่ไม่ไปขยี้แผล การที่ศิลปินทำเรื่องนี้ก็ช่วยเยียวยา” เอื้องเสริม

“คิดว่าศิลปินที่เล่าเรื่องส่วนตัวได้คิดว่าเขาจัดการปัญหาได้ในระดับหนึ่งแล้ว นักร้องไม่สามารถร้องเพลงได้ในขณะที่อกหัก เหมือนการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ดูแล้วอยากให้กำลังใจเขา รู้สึกได้ถึงคำว่าเยียวยา สู้ เราเป็นกำลังใจให้นะ มันสวยงามมากเลยนะครับสิ่งนี้” ธาเติม

ธาเล่าย้อนไปถึงเมื่อครั้งลองแสดงละครจากนิทานที่เล่าให้ลูกฟังสู่สายตาผู้ชม แล้วได้รับคำวิจารณ์จากครูช่าง-ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง (ครูละครผู้ก่อตั้งคณะละครมรดกใหม่) ในประเด็นเดียวกันนี้ว่า

“ศิลปินไม่ต้องทำเรื่องใหญ่โต รู้ลึก รู้ดีที่สุดคือเรื่องที่เกิดกับตัวเราเอง เท่านี้ก็สั่นสะเทือนโลกได้แล้ว ผมจำคำของครูช่างมาจนตอนนี้เลย”

พื้นที่ศิลปะ: ไม่เริ่มสร้างก็ไม่เกิด

หลายคนอาจมองว่างานศิลปะเป็นสิ่งฟุ่มเฟือยและสำคัญน้อยกว่าเรื่องปากท้อง คนที่ทำอาชีพด้านศิลปะก็มักถูกมองว่าเป็นศิลปินไส้แห้ง แล้วพื้นที่ในการแสดงงานศิลปะในประเทศไทยก็ยังมีน้อยอีก ในฐานะที่ทีม Puppetomime เป็นศิลปินมืออาชีพและเคยมีโอกาสไปเห็นพื้นที่ศิลปะในต่างประเทศ เลยอยากรู้ว่าที่ต่างประเทศเขาจัดการกับพื้นที่ศิลปะอย่างไร ศิลปินอยู่ได้ไหม ผู้ชมเป็นอย่างไรบ้าง

แจ๋บอกว่า หลายประเทศที่ไปมาก็มีภาครัฐสนับสนุนศิลปะ เช่น ที่ประเทศอินโดนีเซียทางรัฐบาลสนับสนุนทุนครึ่งหนึ่งในการจัดเทศกาลละครหุ่น หรือในสหรัฐที่มี Center for Puppetry Arts มีการอบรมทำละครหุ่นและพิพิธภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มละครเอกชนในพื้นที่หลายกลุ่มที่ทำงานต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี และที่น่าสนใจที่สุดเห็นจะเป็นกลุ่มละครชาวบ้านที่ยังคงมีการซ้อมการแสดงและรอคอยโอกาสขึ้นแสดงเสมอ

“อย่างอินโดนีเซียมันจะมีเทศกาลห้าขุนเขา ที่แต่ละปีคนที่อยู่ตามหมู่บ้านกันดาร ชาวนาชาวไร่ มาทำเทศกาลเอาการแสดงมาร่วมกัน แล้วคนที่หาเช้ากินค่ำ ในแต่ละปีก็จะมารวมกัน เหมือนตอนเย็นๆ ทำงานเสร็จเหนื่อยมากมาซ้อมละครเพื่อประชันในเทศกาล คือมี appreciate ชื่นชมความงาม ทำงานเหนื่อยๆ ก็ปันเวลามาทำ”

แสดงว่าเรื่องปากท้องก็ไม่เกี่ยวกับเรื่องศิลปะรึเปล่า?

“พี่ว่าเป็น mindset คนไทย หรือไม่ใช่แค่คนไทย แต่มันรู้สึกว่าปากท้องมาก่อน ประเทศบางประเทศลำบากกว่าเรา แต่ไม่คิดว่าศิลปะแยกจากชีวิต ยากจนแค่ไหนก็มีเวลาที่จะอิ่มเอมกับศิลปะได้”

ฟังแล้วก็ชวนให้คิดว่า หากจะเปลี่ยนมุมคิดเดิมๆ ของผู้คนที่มีต่อศิลปะก็ดูจะเป็นเรื่องยาก แต่แจ๋และธามองตรงกันว่า งานศิลปะนั้นจำเป็นต้องลงมือทำ ไม่มีโอกาสก็สร้างโอกาสขึ้นมา เพื่อให้ศิลปินและผู้ชมได้ร่วมเติบโตไปพร้อมกัน

แจ๋เล่าว่า “เพราะไปอเมริกามา บางที่ที่ไปก็ได้ไอเดียว่าถ้าไม่ทำตอนนี้ มันเหนื่อยมาก ยากมาก ถ้าเราไม่เริ่มต้นทำมันก็ไม่เกิด แต่ถ้าทำตอนนี้ก็ยังมีบางโรงละครหรือละครหุ่นบางกลุ่มที่บอกว่าเริ่มตอนนี้ ผลมาอีก 20 ปีข้างหน้า แต่เพราะเขาลงทุนกับ 20 ปีที่แล้วถึงมีผลออกมา แต่ตั้งต้นตอนแรกโคตรยากเลย ท้อใจ จะลงทุนไปทำไมวะ มีคุณค่าจริงเหรอวะ มันเห็นในระยะสั้นไม่ได้เลยอะ”

แจ๋ยกตัวอย่างเพิ่มจากเทศกาลละครหุ่นอินโดนีเซียที่ไปมา “จากปีแรกๆ ที่ไป คนทำหุ่นร่วมสมัยมีน้อยมาก ผ่านมาสามครั้งมีกลุ่มละครหุ่นใหม่ๆ เกิดขึ้น 5-6 กลุ่ม เป็นการเติบโตที่ดี ผู้ชมเขาก็ถูกสร้างมาให้โตพร้อมๆ กับคนสร้างงาน ดังนั้นจะรู้สึกว่าแสดงอะไรไปคนดูจะทึ่งมาก อย่างเรื่อง Invisible Hand (ละครหุ่นในชุดการแสดง) เหมือนเชียร์มวยอะ ก็รู้สึกว่าละครของเราโอเคละ อย่างนิทานเส้นขอบฟ้าใครมีประสบการณ์ร่วมก็จะน้ำตาไหลไป”

การจัดเทศกาลละครกรุงเทพ ทุกปีของ ตั้ว-ประดิษฐ ประสาททอง ก็เช่นเดียวกัน พี่แจ๋บอกว่า “พอคนรู้สึกว่าศิลปะเป็นเรื่องห่างไกลตัว BTF ก็ช่วยดึงให้คนรู้สึกว่าศิลปะอยู่รอบตัวเรา เข้ามาสัมผัสกับศิลปะได้ส่วนหนึ่ง พอเห็นว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจ สร้างแรงบันดาลใจ ก็อาจจะเป็นผู้สนับสนุนหรือผู้สร้างงานเอง”

ธาเสริมต่อ “อย่าง Babymime เล่นฟรีทุกปี พี่ตั้วให้เก็บเงินเพราะมีฐานคนดูเยอะขึ้น ก็เกรงใจ มีปีหนึ่งไม่มีเงินก็เก็บบัตร ตั้งแต่ปีนั้นมาก็เก็บบัตร เราเติบโต คนดูก็เติบโต”

ธา-ณัฐพล คุ้มเมธา

“ผมเชื่อเรื่องหมู่บ้านที่ซ่อนอยู่ มีพ่อแม่ที่คิดแบบเดียวกับเราว่าศิลปะมันดี เพียงแต่อยู่หมู่บ้านที่ห่างไกลกัน ขอบคุณสื่อที่เชื่อมโยงให้หมู่บ้านมาเจอกัน ผมเชื่อว่าเราทำ เขาทำ ทุกคนทำ สักวันมันก็จะมาเจอกันครับ แล้วถ้าเราทำอย่างแข็งแรง เหมือนผมวิ่งมาราธอนหันไปไม่เจอใครมันก็จะเริ่มมีหยอมแหยม อีนี่ (ชี้ไปที่แจ๋) ก็วิ่งเว้ย ก็จะฮึดกัน เอ้ยเอาเว้ย มาสิๆ ฮึดกัน” ธาทิ้งท้ายด้วยรอยยิ้ม

Puppetomime บอกให้เรารู้ว่าแท้จริงแล้วศิลปะอาจง่ายกว่าที่คิด เพียงเรื่องเล่าในชีวิตจริงหรือแม้แต่สิ่งของในบ้านก็สามารถนำมาเล่านิทานหรือสร้างงานละครได้ ศิลปะอาจไม่ใช่เรื่องซับซ้อนเกินกว่าจะเข้าใจ และไม่จำเป็นต้องมีเงินก่อนถึงจะนึกถึงเรื่องศิลปะ เมื่อมีการสร้างงานศิลปะอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ศิลปะก็จะงอกงามเติบโตในใจทุกคน

Tags:

ณัฐพล คุ้มเมธาสิริกาญจน์ บรรจงทัดศิลปินอาชีพศิลปะศิลปะการแสดงละครหุ่นอาริยา เทพรังสิมันต์กุล

Author:

illustrator

ขวัญชนก พีระปกรณ์

Related Posts

  • Voice of New Gen
    เรียนรู้กับครูยูทูบ เปิดตัวในโลกศิลปะผ่าน NFT ชีวิตที่ออกแบบเองของ ‘กิม’ – ฮากีม หมันวาหาบ ในวัย 15 ปี

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • Everyone can be an Educator
    บัว วรรณประภา ตุงคะสมิต: Papercutting Art จากมุมมองของโลกจิ๋วๆ ภายใต้กล้องจุลทรรศน์

    เรื่อง ศิริกร โพธิจักร ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Space
    มนตราการเรียนรู้ที่ ESC-EMPTY SPACE CHIANG MAI ผ่านความ ‘เงียบ’ งามของศิลปะ

    เรื่อง กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร

  • Everyone can be an Educator
    อนาคตทุกคนจะเรียนศิลปะและความผิดพลาดจะกลายเป็นความงาม ‘วิชากู’ ของ พิเชษฐ กลั่นชื่น

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Voice of New Gen
    รักที่จะรักหลากหลาย: นักเขียนรางวัลซีไรต์กับนิยายYของเธอ

    เรื่อง ชลิตา สุนันทาภรณ์

วิจารณ์ พานิช: ใช้ศิลปะและการเล่นกีฬากระตุ้นการเจริญงอกงามของสมองเด็ก
Learning Theory
30 October 2019

วิจารณ์ พานิช: ใช้ศิลปะและการเล่นกีฬากระตุ้นการเจริญงอกงามของสมองเด็ก

เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ บัว คำดี

บันทึกชุด สอนเข้ม เพื่อศิษย์ขาดแคลนนี้ ตีความจากหนังสือ ‘Poor Students, Rich Teaching: Seven High-Impact Mindsets for Students from Poverty’ (Revised Edition, 2019) เขียนโดย อีริค เจนเซน (Eric Jensen) ผู้ที่ในวัยเด็กมีประสบการณ์การเป็นเด็กขาดแคลนอย่างรุนแรง มีปัญหาการเรียน และเคยเป็นครูมาก่อน เวลานี้เป็นวิทยากรพัฒนาครู ผมคิดว่าสาระในหนังสือเล่มนี้ เป็นชุดความรู้ที่เหมาะสมต่อ ครูเพื่อศิษย์ ที่สอนนักเรียนที่มีพื้นฐานขาดแคลน ผมเข้าใจว่าในประเทศไทยนักเรียนกลุ่มนี้เป็นนักเรียนส่วนใหญ่ของประเทศ

บันทึกที่ 24 ‘หนุนด้วยศิลปศึกษาและพลศึกษา’ นี้ เป็นบันทึกที่ 2 ใน 3 บันทึก ภายใต้ชุดความคิด เพื่อความสำเร็จของนักเรียน (graduation mindset) ตีความจาก Chapter 19: Support Alternative Solutions

สาระหลักของบันทึกนี้คือ เพื่อความสำเร็จในชีวิตการเรียนของนักเรียน ครูต้องจัดให้นักเรียนได้เล่นสลับกันไปด้วย เพื่อใช้การเล่นกระตุ้นการเจริญงอกงามของสมองกระตุ้นให้การไหลเวียนเลือดแรงขึ้น และเพื่อสร้างสภาพสมองพร้อมเรียนที่มีสารเคมีเพื่อการเรียนรู้หลั่งออกมาการเล่น ในที่นี้กล่าวถึง 2 อย่าง คือเล่นกีฬาหรือการเคลื่อนไหวร่างกายกับการเล่นด้านศิลปะ

หนุนด้วยศิลปศึกษา

มีหลักฐานจากผลงานวิจัยมากมายที่ยืนยันว่าการให้เวลานักเรียนฝึกซ้อมกิจกรรมด้านศิลปะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีทำให้ผลการเรียนดีขึ้น มีผลการศึกษารวมข้อมูลจากงานวิจัยขนาดใหญ่ 4 ชิ้น

ในนักเรียนยากจน เปรียบเทียบผลระยะยาวต่อนักเรียนยากจนที่โรงเรียนจัดเวลาเรียนด้านศิลปะมากในกลุ่ม 20 เปอร์เซ็นต์บนกับนักเรียนยากจนที่โรงเรียนจัดเวลาเรียนศิลปะต่ำในกลุ่ม 20 เปอร์เซ็นต์ล่าง พบว่านักเรียนในโรงเรียนกลุ่มแรกมีโอกาสเรียนจบชั้นมัธยมสูงกว่าอัตราได้รับอนุปริญญาและปริญญาสูงกว่าตอนเรียนในชั้น ม.ปลาย นักเรียนกลุ่มดังกล่าวได้คะแนนเรียงความ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สูงกว่า รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมนอกหลักสูตรมากกว่า อ่านหนังสือพิมพ์มากกว่า เข้าร่วมบริหารองค์กรนักศึกษามากกว่า และทำกิจกรรมอาสาสมัครในชุมชนมากกว่า

นักวิจัยในโครงการนี้ถึงกับสรุปว่า นักเรียนจากครอบครัวยากจนที่โรงเรียนจัดกิจกรรมศิลปศึกษาจริงจัง มีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตเท่าเทียมกับนักเรียนโดยทั่วไปในประเทศ

ตีความใหม่ได้ว่า การได้เรียนศิลปศึกษาจริงจังในโรงเรียน ช่วยแก้ข้อเสียเปรียบในการเรียนของนักเรียนขาดแคลนได้ เขาบอกว่ากิจกรรมศิลปะช่วยฟื้น ‘ระบบการทำงานด้านวิชาการ’ (academic operating system) ให้กลับคืนมา

ศิลปะช่วยฟื้นระบบการทำงานด้านวิชาการอย่างไร

คำว่า ‘ศิลปะ’ ในที่นี้หมายถึง 4 กลุ่มใหญ่ของศิลปะ ได้แก่

  1. ศิลปะดนตรี (เล่นเครื่องดนตรีชิ้นใดชิ้นหนึ่งหรือหลายชิ้น)
  2. ศิลปะการแสดง (ละคร ร้องเพลงประสานเสียง รำ เต้น และแสดงตลก)
  3. หัตถศิลป์ (เย็บปักถักร้อย แกะสลัก)
  4. ทัศนศิลป์ (วาดภาพ ระบายสี และศิลปะดิจิตัล)

สมองมีส่วนที่เป็น ‘ระบบการทำงานด้านวิชาการ’ (academic operating system) ที่มีการพัฒนาตรงตำแหน่งที่จำเพาะ และเปลี่ยนแปลงถาวร จากการฝึกปฏิบัติศิลปะเป็นเวลานาน

เมื่อให้นักเรียนปฏิบัติศิลปะครั้งละ 30-90 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน ก่อผลดีดังต่อไปนี้

  1. ความมานะพยายาม: แรงจูงใจ และความสามารถยับยั้งชั่งใจ (defer gratification)
  2. ทักษะการจัดการผัสสะ (processing skills): ทางหู ตา และสัมผัส
  3. ทักษะการเอาใจใส่ (attentional skills): สนใจ พุ่งความสนใจ (โฟกัส) และละความสนใจได้ตามที่ต้องการ
  4. ความจำ: ความจำระยะสั้น และความจำใช้งาน
  5. ทักษะจัดลำดับ: รู้ขั้นตอนของกระบวนการ

นอกจากนั้นศิลปะช่วยหนุนชุดความคิดเพื่อความสำเร็จในการเรียน (graduation mindset) ของนักเรียน มีผลงานวิจัยบอกว่าโรงเรียนที่มีการฝึกซ้อมดนตรี นักเรียนมาเรียนในสัดส่วนสูงกว่าโรงเรียนที่ไม่มีการฝึกซ้อมดนตรี (ร้อยละ 93.3 เทียบกับ 84.9) และมีอัตราเรียนจบสูงกว่า (ร้อยละ 90.2 เทียบกับ 72.9) โรงเรียนที่โปรแกรมดนตรีได้รับการประเมินคุณภาพว่าอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม (excellent) หรือดีมาก (very good) อัตราเรียนจบยิ่งสูง (ร้อยละ 90.9)

มีการวิจัย ศึกษานักเรียนชั้นมัธยมในสหรัฐอเมริกา จำนวน 25,000 คน เป็นเวลา 4 ปี พบความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญระหว่างการเรียนศิลปะกับผลการเรียนและเมื่อติดตามไปศึกษานักเรียนกลุ่มเดียวกันเมื่ออายุ 25 ปี ผลยิ่งน่าประทับใจคือนักเรียนกลุ่มที่มาจากครอบครัวรายได้น้อย ที่เรียนศิลปะ มีโอกาสเข้ามหาวิทยาลัยสูงกว่า ได้เกรดดีกว่า มีโอกาสเรียนสูงกว่าปริญญาตรีมากกว่า โอกาสได้งานทำสูงกว่า ร่วมกิจกรรมจิตอาสา และลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสูงกว่า

วิธีใช้ศิลปะในห้องเรียน

ดีที่สุดคือมีครูศิลปะ ให้ครูศิลปะสอนนักเรียนครั้งละ 15-30 นาที 3 วันต่อสัปดาห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมและมัธยม แต่หากไม่มีครูศิลปะ ครูประจำชั้นก็สอนเองได้ โดยเรียนรู้วิธีเอาเอง

หนังสือ ‘Poor Students, Rich Teaching’ ลงรายละเอียดที่การสอนศิลปะดนตรี และศิลปะการแสดง

  • การเรียนศิลปะดนตรี

ดีที่สุดคือ มีครูดนตรี แต่หากไม่มีครูดนตรี นักเรียนอาจเรียนเองจาก App ใน iPad เขาแนะนำ App ชื่อ Tiny Piano, Nota, Musical Touch, Pro Keys, และ Twelve Tones นอกจากนั้นยังมีวิดีทัศน์ใน YouTube สอนดนตรี การแนะนำของครูจะทำให้เด็กจำนวนหนึ่งคลั่งไคล้ในดนตรี

การฝึกดนตรีเป็นการฝึกประสานการทำงานของหลายส่วนในร่างกาย การฝึกประสานกิจกรรมทางสมอง ช่วยการพัฒนาสมองในเชิงโครงสร้าง (ทำให้ IQ สูงขึ้น) และช่วยฝึกการรับรู้ ซึ่งมีผลสืบเนื่องไปยังทักษะด้านภาษา (การจำคำศัพท์ ทักษะการอ่าน) และด้านมิติสัมพันธ์ (spatial relations) นอกจากนั้นยังมีผลงานวิจัยบอกว่า ช่วยเพิ่มความสามารถด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรขาคณิต และระบบจำนวน

ที่น่าแปลกใจคือ ดนตรีช่วยพัฒนาการด้านอารมณ์ในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เนื่องจากการฝึกดนตรีช่วยให้ไวต่อการรับรู้ด้านอารมณ์จากถ้อยคำ และช่วยให้มีความภูมิใจในตนเอง รวมทั้งช่วยเพิ่มบุคลิกที่ดีด้านความร่วมมือ แรงจูงใจ ความรับผิดชอบ และการริเริ่ม ผลดีเหล่านี้เกิดขึ้นในเด็กจากทุกวัฒนธรรม และไม่เกี่ยวกับพันธุกรรม หรือเศรษฐฐานะ แต่จะได้ผลมากหากเริ่มตั้งแต่เด็กอายุน้อย ฝึกบ่อยๆ และฝึกต่อเนื่อง

  • การฝึกศิลปะการแสดง

ทำโดยให้นักเรียนแสดงบท (role-play) เพื่อสะท้อนสาระที่เรียน อาจใช้ในวิชาวิทยาศาสตร์ (เพื่อแสดงผลการทดลอง, แสดงปฏิกิริยาเคมี หรือผลลัพธ์ด้านระบบนิเวศน์), คณิตศาสตร์ (แสดงสูตร, สมการ, หรือวิธีจำสูตร), ภาษา (เพื่อเล่าเรื่อง, อธิบายเรื่องที่ไปค้นคว้ามา)

ศิลปะการแสดงจะช่วยฝึกทักษะหลายด้านที่นำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้ เช่น ศิลปะการแสดง มีส่วนการเคลื่อนไหว ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ในหลายกลไก

ทักษะการเคลื่อนไหว (motor skills) มีผลยกระดับทักษะทางวิชาการ (academic skills) ในหลากหลายมิติ ดังแสดงในรูปข้างล่าง

การฝึกด้านศิลปะ จึงเป็นกลไกสร้างเครือข่ายใยประสาทในสมอง เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ โดยเราไม่รู้ตัว

หนังสือเล่าเรื่องราวของ ครูเรฟ เอสควิธ (Rafe Esquith) แห่งโรงเรียน Hobart ในกลางนคร ลอสแองเจลีส รัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ใช้การเล่นละครเช็คสเปียร์ กระตุ้นพัฒนาการสมองของเด็กนักเรียน ป. 5 ที่ร้อยละ 70 มาจากครอบครัวยากจน เกิดผลมหัศจรรย์ คือค่าเฉลี่ยของนักเรียนในโรงเรียนนี้ที่เรียนจนจบ ม.ปลาย เท่ากับร้อยละ 32 เท่านั้น แต่นักเรียนที่เคยผ่านชั้นของครูเรฟ อัตรานี้เท่ากับ 100 คือนักเรียนทุกคนเรียนจบ ม.ปลาย

ท่านที่สนใจ ดูเรื่องราวการเล่นละครเช็คสเปียร์ ของศิษย์ครูเรฟได้ใน ยูทูบ ด้วยคำค้นว่า ‘Hobart Shakespeareans’ เป็นหลักฐานว่าครูที่ ‘สอนเข้มเพื่อศิษย์ขาดแคลน’ เป็นผู้มีคุณูปการเปลี่ยนชีวิตศิษย์ได้จริงๆ

ผมขอเพิ่มเติมเรื่องราวของครูเรฟ เอสควิธ ว่า ท่านเขียนหนังสือเล่าเรื่องราวการทำงานเป็น “ครูเพื่อศิษย์” ของท่านหลายเล่มมากสองเล่มได้รับการแปลเป็นไทย คือ ครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบ กับ ครูแท้แพ้ไม่เป็น ท่านเคยมาเมืองไทย 2 ครั้ง เพื่อมาเปิดตัวหนังสือแปลทั้งสองเล่ม และผมเคยเขียน บล็อก เล่าไว้ที่ (1)

หนุนด้วยพลศึกษา

คุณค่าของกิจกรรมทางกาย (physical activity) ต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน ได้รับการยืนยันครั้งแล้วครั้งเล่า จากผลงานวิจัยสารพัดแบบในนักเรียนเป็นล้านๆ คน เหตุผลคือกิจกรรมทางกายสร้างสมองที่พร้อมเรียนจากการหลั่งสารเคมีเพื่อการเรียนรู้ ได้แก่ dopamine (เพิ่มความพยายาม, การมองโลกแง่ดีมีความหวัง, และความจำใช้งาน หรือ working memory) และ noradrenaline (เพิ่มการพุ่งเป้าความสนใจ และความจำระยะยาว หรือ long-term memory)

มีผลงานวิจัย พิสูจน์ว่า กิจกรรมทางกายช่วยลดปัญหาความประพฤติของนักเรียน ช่วยเพิ่มความมั่นใจตนเอง เพิ่ม executive functions และลดความเครียด

เคล็ดลับคือ กิจกรรมทางกายทันทีก่อนเรียน ช่วยเพิ่มผลลัพธ์การเรียนรู้ดีกว่ากิจกรรมทางกายก่อนเรียนสองสามชั่วโมง

กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายสร้างเซลล์สมอง

เป็นธรรมชาติของสมอง ที่จะมีการสร้างเซลล์สมองขึ้นใหม่ ตัวปิดกั้นสำคัญคือ ความเครียดเรื้อรัง และภาวะทุพโภชนาการ (ซึ่งนักเรียนขาดแคลนเผชิญ) และนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า (depression) มีผลงานวิจัยบอกว่า ร้อยละ 30 ของนักเรียนยากจนในสหรัฐอเมริกา มีความเครียด และภาวะซึมเศร้า และมีผลงานวิจัยบอกอีกว่า การออกกำลังกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ช่วยป้องกันและบำบัดโรคซึมเศร้า

มีผลงานวิจัยในแม่ที่ยากจน ไร้บ้าน และเป็นโรคซึมเศร้า โดยให้เข้าโปรแกรมบำบัดโดยการเต้นรำครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ได้ผลดีคืออาการซึมเศร้าลดลงโดยเขาบอกว่าผลจากการออกกำลังได้มากกว่า aerobic fitness เมื่อแม่สุขภาพดีขึ้นก็จะดูแลลูกได้ดีขึ้น

ผมขอเพิ่มเติมจากประสบการณ์ส่วนตัวว่า การออกกำลังแบบแอโรบิก (เช่น วิ่งเหยาะ) วันละ 30 นาที ช่วยสร้างสุขภาพในสารพัดด้าน รวมทั้งด้านการมีสมองแจ่มใส พร้อมเรียนรู้และผลนี้เกิดขึ้นในวันนั้น และในระยะยาวตลอดชีวิต

เซลล์ประสาทที่งอกใหม่ช่วยเพิ่มอารมณ์ดี ความจำ การจัดการน้ำหนักตัว และการเรียนรู้มีผลงานวิจัยยืนยันว่า การออกกำลังกายกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ประสาท

นอกจากนั้นยังมีผลงานวิจัยบอกว่า ความแข็งแรงของร่างกาย มีความสัมพันธ์กับผลการเรียนในนักเรียนทุกระดับ

วิธีใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวในห้องเรียน

หลักการง่ายๆ คือ ใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย (physical activities) กับกิจกรรมระหว่างชั้นเรียน (classroom activities)

เขาแนะนำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายวันละครั้ง ครั้งละ 20-30 นาที สำหรับชั้นอนุบาลถึง ป.5 โดยถือเป็นการพักออกกำลังกาย นอกจากนั้นโรงเรียนต้องมีสนามเด็กเล่นและสนามกีฬาให้เด็กได้ออกกำลังกายในช่วงหยุดพักเที่ยง และช่วงก่อนเข้าเรียนและหลังเลิกเรียน

สิ่งที่เขาห้ามคือ ห้ามลงโทษเด็กโดยการกักตัวไว้ในห้องระหว่างพัก เพราะจะเป็นการปิดกั้นโอกาสวิ่งเล่นออกกำลังกาย ซึ่งเป็นผลร้ายต่อการเรียน เขาแนะนำให้ลงโทษเด็กโดยวิธีอื่น เช่นให้เข้าคิวกินอาหารเป็นคนสุดท้าย ถูกตัดสิทธิพิเศษบางอย่าง เป็นต้น

กิจกรรมในห้องเรียนทำง่ายๆ โดยให้นักเรียนได้เคลื่อนไหว 1-2 นาที ทุกๆ 10-20 นาทีของเวลาเรียน เพื่อเผาผลาญพลังงาน และเพิ่มพลังการเรียนรู้ มีครูชั้นอนุบาล-ป.5 คนหนึ่งหัวใส ริเริ่มพานักเรียนออกไป ‘เดินเติมพลัง’ (power walk) ที่ทุ่งหญ้าข้างโรงเรียน 10 นาที ก่อความคึกคัก และทำกันทั้งโรงเรียน

เขาแนะนำให้จัดนักเรียนเป็น ‘ทีมเพิ่มพลัง’ (energizer team) หรือ ‘ทีมครูฝึก’ (personal trainer) ทีมละ 4 คนในชั้นอนุบาล-ป.5 และทีม 5 คน ในชั้นโตกว่านั้น โดยครูจะส่งสัญญาณให้เริ่มทำงานทุกๆ 15-25 นาที กิจกรรมเพิ่มพลังนี้ใช้เวลาครั้งละ 1-2 นาทีเท่านั้น โดยมีกิจกรรมต่อไปนี้

  • ให้นักเรียนวิ่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน 1 นาที เมื่อเริ่มจะสังเกตเห็นว่านักเรียนตื่นเต้น จะยิ่งสนุกหากมีการแข่งขันกันเล่นๆ หรือร่วมมือกัน
  • บูรณาการการเคลื่อนไหวเข้ากับสาระการเรียนรู้ โดยเขาแนะนำวิธีการในเว็บไซต์ Action Based Learning ซึ่งมีหลายเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น (2)
  • จัดกิจกรรมที่ทำร่วมกันทั้งชั้น เช่น ให้นักเรียนคนหนึ่งสอนจังหวะเต้นรำ
  • ให้นักเรียนคนหนึ่ง อาสาสมัครทำหน้าที่ผู้นำ เดิน หรือเต้น ให้คนอื่นๆ ทำตาม เป็นเวลา 45 วินาที
  • จัดนักเรียนเป็นทีม เพื่อเล่นกีฬาสมมุติ ให้ทีมหนึ่งยืนขึ้นและร่วมกันเลือกกีฬาที่ชอบ คนหนึ่งแสดงท่าทางของกีฬานั้น โดยลูกทีมทำตาม เป็นเวลา 30 วินาที แล้วเปลี่ยนทีม

ไม่ว่าในระดับเด็กเล็กหรือเด็กโต ต่างก็ต้องการและชอบการเคลื่อนไหวทั้งสิ้นตามธรรมชาติ เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของสมอง

Tags:

เทคนิคการสอนความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ศิลปะสอนเข้มเพื่อศิษย์ขาดแคลนศ.นพ.วิจารณ์ พานิชกีฬา

Author:

illustrator

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

รองประธานกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล ผู้อำนวยการคนแรกของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) และได้ดำรงตำแหน่ง 2 สมัย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส.) ดำรงตำแหน่งกรรมการของหน่วยงานและมูลนิธิหลายแห่ง

Illustrator:

illustrator

บัว คำดี

เติบโตมากับเพลงป็อปแดนซ์ยุค 2000 เริ่มเป็นติ่งวงการ k-pop ในวัยมัธยม มีเพลงการ์ตูนดิสนีย์เป็นพลังใจในทุกช่วงวัยของชีวิต

Related Posts

  • EF (executive function)
    ‘Process Art’ ศิลปะที่เน้นกระบวนการมากกว่าผลงานชิ้นโบว์แดง เสริมทักษะ EF ในเด็กปฐมวัย: ครูบุญทิพา คุ้มเนตร โรงเรียนวัดเชิงเลน (นครใจราษฏร์)

    เรื่อง นฤมล ทับปาน

  • Learning Theory
    สร้างบรรยากาศแห่งความหวังในห้องเรียน ให้นักเรียนกล้าตั้งเป้าหมายและพยายามไปให้ถึง เชื่อมั่นว่าตนเรียนสำเร็จได้

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชครูใหม่ วิมลศรี ศุษิลวรณ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Learning Theory
    Rich classroom climate mindset สภาพห้องเรียนที่มีบรรยากาศร่ำรวย

    เรื่อง The Potential ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Learning Theory
    Relational mindset: ‘ครูแสดงความเอาใจใส่ต่อศิษย์’ เทคนิคที่จะช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้ได้ดีขึ้น

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชครูใหม่ วิมลศรี ศุษิลวรณ์ ภาพ เพชรลัดดา แก้วจีน

  • Learning Theory
    RELATIONAL MINDSET: ความสัมพันธ์ครูกับศิษย์ในฐานะมนุษย์ เพราะสัมพันธ์ที่ดีมีผลต่อการเรียนรู้

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชครูใหม่ วิมลศรี ศุษิลวรณ์ ภาพ เพชรลัดดา แก้วจีน

VOCABY เกมฝึกและจำคำศัพท์ จากเด็กๆ ที่เกลียดภาษาอังกฤษเข้าไส้
Voice of New Gen
29 October 2019

VOCABY เกมฝึกและจำคำศัพท์ จากเด็กๆ ที่เกลียดภาษาอังกฤษเข้าไส้

เรื่อง กิติคุณ คัมภิรานนท์

  • Vocaby เกมส่งเสริมการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ เป็นเกมแนวปริศนาและผจญภัยโดยผู้เล่นต้องใช้ถอดรหัสคำศัพท์ภาษาอังกฤษเพื่อทำภารกิจในแต่ละด่านให้ผ่าน ผลงานของนวัตกรรมเยาวชนจากโรงเรียนสตรีอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
  • แม้เป็นเกมด้านการพัฒนาภาษาอังกฤษ แต่ทีมงานหลายคนเกลียดภาษาอังกฤษเข้าไส้ อันเนื่องจากความหลังฝังใจจากการถูกบังคับให้เรียน
  • Vocaby จึงไม่ใช่แค่เกมพัฒนาภาษาอังกฤษให้คนอื่น แต่เป็นการท้าทายตัวเองในการทำงานในสิ่งที่ไม่ชอบ เพื่อเป้าหมายใหญ่ที่พวกเขาอยากไปถึงมากกว่า 
เรื่อง: มณฑลี เนื้อทอง
ภาพ: โครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่

ปัจจุบันและต่อไปในอนาคต ภาษาอังกฤษจะยิ่งมีบทบาทมากขึ้นในชีวิตและการทำงานของเรา แต่ในความเป็นจริง ภาษาอังกฤษยังคงเป็นหนึ่งในวิชาที่นักเรียนหลายคนเบือนหน้าหนี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าต้องเรียนรู้จากตำราแกรมม่า

แล้วถ้าเปลี่ยนใหม่ ให้เด็กๆ เรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านเกมล่ะ?

นิดา-สุภนิดา พลอยคำ, มุกกี้-กมลชนก กลิ่นระรวย, ก๊องส์-ศักดิ์ชัย เปาอินทร์, แกน-มงคลากร คิดว่ามันคงสนุกกว่าถ้าน้องๆ จะได้ฝึกภาษาอังกฤษไปพร้อมๆ กับการเล่นเกม พวกเขาทั้งสี่จึงทุ่มสุดตัวกับภารกิจ Vocaby เกมแนวปริศนาและผจญภัยส่งเสริมการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ เปิดโลกการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้น้อง พร้อมทั้งเปิดโลกแห่งโอกาสให้ทั้งสี่ทะยานไปหยิบฝันของพวกเขาเองด้วย…

นิดา-มุกกี้-ก๊องส์-แกน

โอกาสอยู่ตรงหน้า! หยุดไหมหรือไปต่อ?

Vocaby มีต้นกำเนิดมาจากมูลเหตุเหมือนน้องๆ ม.ปลาย หลายทีมต้องพัฒนาโปรเจ็คต์ปลายภาคในชั้นเรียน และไหนๆ ก็ทำมาแล้ว ก็ส่งประกวดด้วยเลยจะได้ไม่เสียเที่ยว

ต่างแต่เพียง Vocaby นั้น เวอร์ชั่นแรกกับเวอร์ชั่นปัจจุบันแทบไม่มีอะไรที่เหมือนกันเลย

“ตอนส่ง NSC ทำเกมแสบซ่าท้าฝัน เป็นเกมเกี่ยวกับการเลือกอาชีพ โดยนำจุดเด่นของแต่ละอาชีพใส่ไปในเกม เช่น ถ้าเป็นเชฟก็จะมีรูปแบบการเล่นแบบหนึ่ง ถ้าเป็นครูก็จะมีรูปแบบการเล่นอีกแบบหนึ่ง” นิดาเล่าถึงผลงานเมื่อครั้งที่เธอยังทำร่วมกับมุกสองคน ซึ่งเกมแสบซ่าท้าฝันของพวกเธอก็สามารถทะลุเข้าไปถึงรอบระดับประเทศของรายการ NSC และเมื่อถูกรุ่นพี่ชักชวนเข้าโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ ปีที่ 6 ทั้งสองก็ไม่รอช้าที่จะคว้าโอกาส สมัครเข้าร่วมพร้อมทั้งดึงรุ่นน้องอย่างก๊องส์เข้ามาร่วมทีมทันที

“คิดว่ามันเป็นโอกาสของเราครับ ต้องเต็มที่กับมัน” ก๊องส์กล่าวอย่างมาดมั่น

และหาก Vocaby คือเกมที่ผู้เล่นต้องใช้ทักษะภาษาอังกฤษในการแก้ปัญหาและฝ่าด่านมากมายเพื่อไปให้ถึงเส้นชัยฉันใด เส้นทางการทำงานของทีมก็แทบไม่ต่างกับตัวเกมเลยแม้แต่น้อย เริ่มตั้งแต่การได้รับคำแนะนำให้รื้อเกมใหม่ทั้งหมด

“ค่ายแรกเราได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการว่า ผลงานเราควรเอาจุดเด่นของอาชีพหนึ่งมาเลย แล้วทำซีรีส์ย่อยให้เด่นทีละอาชีพ คือใช้วิธีทำเกมหลักแล้วเพิ่มด่านเพิ่มเลเวลเอา ซึ่งมันต้องเปลี่ยนระบบ ต้องเขียนโค้ดเพิ่มเยอะมาก เกมเดิมมีทั้งเชฟ จิตรกร ครูภาษาอังกฤษ โค้ชมองเห็นว่าภาษาอังกฤษมันมีประโยชน์และสามารถต่อยอดไปได้ไกลกว่าอาชีพอื่นๆ เลยแนะนำให้เอาครูภาษาอังกฤษมาเป็นเกมหลัก เราก็เลยเปลี่ยนชื่อผลงานเป็น Vocaby มาจากคำว่า vocabulary ที่แปลว่าคำศัพท์” นิดาร่ายยาวถึงจุดเปลี่ยนของผลงาน

ทำกันมาตั้งนาน เมื่อมาถึงจุดหนึ่งที่ต้องทิ้งผลงานกว่าค่อน พวกเขารู้สึกกันอย่างไร?

“ตอนแรกก็ลังเล เพราะแสบซ่าท้าฝันมีไอเดียหลักให้คนที่สับสนในอาชีพได้มาลองเล่น เขาจะได้รู้ว่าเขาชอบอาชีพไหน แต่พอได้คุยกันจริงๆ เราควรก้าวต่อไป เราควรเลือกสิ่งที่พัฒนาต่อยอดไปไกลมากขึ้น เราไม่ควรยึดติดกับความคิดเดิมที่ไม่สามารถพัฒนาต่อยอดได้” นิดากล่าวอย่างมุ่งมั่น

ไม่ต่างกับมุกที่ว่า “เสียดายสิ่งที่ทำมา แต่ถ้าเราไปต่อได้ไกลกว่าเดิมก็ดีกว่า”

เพราะมองเห็นโอกาสที่ผลงานจะสามารถไปได้ไกลกว่าเดิม แม้ว่าจะต้องยอมสละผลงานส่วนหนึ่งทิ้งไว้ก่อน แต่พวกเขาก็เลือกที่จะคว้าโอกาสนั้นไว้ไม่ให้หลุดมือ

“เราต้องเพิ่มด่าน เหมือนเอาเกมย่อยหนึ่งเกมมาเพิ่มเป็นเกมที่มี 3 ด่านใหญ่และมีด่านย่อยในนั้น จำนวนด่านที่ต้องทำมากขึ้น จึงชวนแกนมาช่วยเขียนโค้ดกับก๊องส์ มุกทำกราฟิก ก็ต้องวาดเยอะขึ้น ส่วนหนูดูภาพรวม ประสานทีมโค้ชและอาจารย์ เก็บข้อมูลว่าต้องทำอะไรเพิ่มเติมบ้าง” นิดาเล่าถึงการแบ่งหน้าที่ในทีมอย่างชัดเจน 

กล้าไหม? ถ้าต้องทำในสิ่งที่เกลียด

แม้การเปลี่ยนระบบ เขียนโค้ดใหม่ และทำกราฟิกเพิ่มจะเป็นขอบเขตงานที่ใหญ่ไม่ต่างอะไรกับทำเกมใหม่ขึ้นมาเกมหนึ่ง แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เพียงอย่างเดียวของทีม เพราะสมาชิกในทีมส่วนใหญ่นั้นเกลียดภาษาอังกฤษ!

“ความรู้สึกต่อภาษาอังกฤษของหนูอยู่กลางๆ ค่อนไปทางรังเกียจ (หัวเราะ) เป็นคนที่ไม่เก่งภาษาอังกฤษ มีปัญหามาตั้งแต่ประถมฯ ครูภาษาอังกฤษดุ เวลาเราพูดไม่ได้ครูจะตี เลยไม่ชอบเรียน ไม่ชอบครู ฝังหัวมาตั้งแต่วันนั้น พอพื้นฐานเราไม่ดี มาเรียนต่อยอดก็เป็นปัญหา พอไม่เข้าใจก็ไม่อยากเรียน ตั้งกำแพงว่าไม่ชอบภาษาอังกฤษ” นิดาเล่าพลางขมวดคิ้ว

แต่น่าสนใจว่าแม้นิดาและเพื่อนๆ จะไม่ชอบภาษาอังกฤษ แต่พวกเขาก็กล้าพอที่จะพัฒนาเกมภาษาอังกฤษ ด้วยเหตุผลว่าเกมมีโอกาสที่จะพัฒนาต่อยอดไปได้ไกลกว่าที่เป็นอยู่ดังที่กล่าวไปข้างต้น อย่างไรก็ตาม ความกล้านั้นก็มาพร้อมกับความหวาดหวั่น แต่ด้วยปณิธานแน่วแน่ว่า ‘ต้องไปต่อ’ ทีมจึงต้องดิ้นรนหาทางออก

เพราะทุกอุปสรรคนั้นมีทางออกเสมอ ขึ้นอยู่กับว่าเรามุ่งมั่นที่จะฝ่าฟันอุปสรรค์นั้นอย่างแน่วแน่แค่ไหน และสำหรับทีม Vocaby บอกได้เลยว่าพวกเขามุ่งมั่นเกินร้อย

“เราต้องไปต่อ เลยเอาแกนเข้ามาช่วย เพราะนอกจากเขียนโค้ดแล้วเขาก็เก่งภาษาอังกฤษ แกนกับครูตองก็จะช่วยเรื่องคำศัพท์เป็นหลัก ซึ่งทำไปทำมามันก็ทำให้เราได้ภาษาอังกฤษมากขึ้น แม้จะเป็นระดับประถมฯ แต่ก็มีศัพท์หลายคำที่เราลืมหรือไม่รู้จักเลย” นิดาเล่าด้วยรอยยิ้ม

และนอกจากการตรวจสอบความถูกต้องของคำศัพท์กับพจนานุกรมแล้ว ทีมไม่ลืมที่จะนำผลงานไปตรวจสอบกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นน้องๆ นักเรียนชั้น ป.4-6 ด้วย

“ไปทดลองใช้ที่โรงเรียนเทศบาล 4 ประถมสาธิตเทศบาลเมืองอ่างทอง ได้ทดลองกับเด็ก ป. 4-6 และทดลองเผื่อในเด็กกลุ่ม ป.2-3 ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่น้องเขาขอให้พัฒนาเกมเพิ่ม คือให้เพิ่มด่าน เพิ่มเลเวล เพราะเขาสามารถเล่นได้จนจบเลย” นิดากล่าวถึงการนำผลงานไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริง ซึ่งส่วนใหญ่ให้เสียงสะท้อนไปในทางที่ดี

“น้องบอกว่าภาพน่ารัก แนวภาพเหมาะกับกลุ่มผู้ใช้ คือเป็นภาพตัวละครเล็กๆ น่ารักๆ รู้สึกภูมิใจที่ได้ใช้ความสามารถของตัวเองให้เป็นประโยชน์ ทำให้น้องสนุก” มุกกล่าวอย่างภูมิใจในฐานะมือกราฟิก

“มันจะต่างกับการเทสต์กับเพื่อนหรือคนรู้จัก ถ้าไม่เกรงใจก็แกล้งไปเลย แต่อันนี้เราได้ฟีดแบ็คจริงๆ ได้เห็นว่าคนอื่นจริงๆ เขาก็ชอบนะ ทำให้มีกำลังใจพัฒนาต่อ” แกนสำทับ

“เราเห็นความพยายามเล่นของเด็ก เห็นว่าสิ่งที่เราทำตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เขาสนุก มันทำให้มีกำลังใจในการทำงานต่อไป” นิดาสรุปความอย่างแจ่มใส

ฝ่าพ้นแรงเสียดทาน จักรวาลก็อยู่เบื้องหน้า

หลักการส่งกระสวยขึ้นสู่อวกาศ จำเป็นต้องมีจรวดเชื้อเพลิงแข็งและถังเชื้อเพลิง เพื่อเป็นแรงส่งให้กระสวยฝ่าแรงเสียดทานของชั้นบรรยากาศ พุ่งไปสู่ห้วงอวกาศได้

การทำงานของทีม Vocaby เองก็ไม่ต่างกับการส่งกระสวยขึ้นสู่อวกาศนัก เพราะกว่าที่ผลงานจะสำเร็จได้ ทีมต้องฝ่าฟันแรงเสียดทานมากมาย ทั้งจากภายนอกและภายในทีมเอง

“มันมีความยากมาตลอด จนไม่รู้ว่าตรงไหนเป็นจุดที่ยากที่สุด (หัวเราะ) มันยากตั้งแต่ให้เราเปลี่ยนโจทย์ ดึงอาชีพใดอาชีพหนึ่งมาทำ ต้องออกแบบเพิ่มว่าถ้าเอาอาชีพนี้มาทำมันจะไปต่อยังไง เพิ่มด่านยังไง ทำยังไงให้เรื่องเดียวที่ทำมันไม่น่าเบื่อ ซึ่งคำศัพท์กับเรื่องราวมันต้องเชื่อมโยงกัน ต้องบริหารจัดการใช้วัตถุดิบที่วาดให้มีประโยชน์มากที่สุด ไม่ใช่ใช้แค่ครั้งเดียว” นิดาเปิดหัวถึงความยากที่ทีมประสบ

“และทั้งหมดนั้นเราต้องเร่งทำให้ทันเวลาตามเป้าหมาย” ก๊องส์กล่าวต่อ

ก่อนที่มุกจะยกตัวอย่างจากประสบการณ์ตรง “ความยากคือจำนวนรูปที่ต้องวาดเพิ่มขึ้น และเราต้องส่งต่อให้คนเขียนโค้ด ต้องทำให้ทันเวลา ต้องแบ่งเวลากับงานโรงเรียน ซึ่งบางทีเราพยายามทำงานเต็มที่แล้ว แต่พอเพื่อนมากดดัน ทำให้เราไม่มีไอเดีย ไม่มีกำลังใจทำงานต่อ”

นั่นคือแรงเสียดทานจากภายนอกทีม ซึ่งประเด็นนี้นิดายกมือรับผิดแต่โดยดี

“หนูเป็นคนใจร้อนมาก งานต้องเป๊ะ ต้องตรงเวลา ต้องได้ตามกำหนด ถ้าไม่ได้หนูจะเหวี่ยงหรือวีนเลย (ยิ้ม) ซึ่งด้วยเวลาที่บีบ ด้วยโจทย์ที่มากขึ้น ส่งผลให้เรากดดัน แล้วเราก็เอาความกดดันมาใส่เพื่อน พูดแรงๆ ใส่จนเพื่อนเครียด ยิ่งเขาเครียดงานก็ยิ่งไปช้า มันก็ทำให้หนูได้เรียนรู้ไปเองว่า คำพูดแรงๆ มันส่งผลกระทบในทีม ทุกคนทำงานหนัก เหนื่อยในงานของตัวเองอยู่แล้ว เราควรเห็นใจ เข้าใจกันมากขึ้น” นิดากล่าว

หากทีมเปรียบได้กับกระสวย ถังเชื้อเพลิงก็คงเปรียบได้กับผลงานเวอร์ชั่นเก่าที่ส่งแรงขับเคลื่อนให้พวกเขาพุ่งฝ่าด่านของการประกวดเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโครงการต่อกล้าฯ ก่อนจะปลดตัวเองออกไปเพื่อให้กระสวยพุ่งไปได้ไกลต่อ และความมุ่งมั่นเกินร้อยของทีมก็คงเปรียบได้กับจรวดเชื้อเพลิงแข็งที่ส่งพลังให้ทีมสามารถฝ่าฟันแรงเสียดทานต่างๆ นานา ทั้งปริมาณงานมหาศาล เวลาที่กระชั้น และการบริหารจัดการภายในทีมมาได้อย่างปลอดภัย จนมาถึงห้วงอวกาศ ได้แนบสนิทความฝันที่เปล่งประกายคล้ายดวงดาว

“ผลงานนี้เราตั้งเป้าหมายไว้ที่สามารถลง Android และ iOS ได้ นั่นเป็นความฝันของพวกเรา ซึ่งตอนนี้ก็รันได้แล้วทั้งสองตัว” นิดากล่าวถึงผลงานพร้อมยิ้มกว้าง

และแน่นอนว่าไม่ใช่แค่ตัวผลงานเท่านั้นที่น่าภาคภูมิใจ แต่การเรียนรู้และทุ่มกำลังฝ่าฟันอุปสรรคตลอดการทำงานที่ผ่านมา ก็ทำให้ทั้งสี่เติบโตขึ้นอย่างน่าภาคภูมิใจเช่นกัน

“สิ่งสำคัญคือการมองไปข้างหน้า เราอาจมีไอเดียหลักของเรา แต่บางครั้งอะไรที่เราสามารถพัฒนาต่อยอดได้ อาจไม่ตรงกับความคิดเรา แต่ทำให้งานเราตอบโจทย์มากขึ้น พัฒนาได้มากขึ้น เราก็ควรเรียนรู้เพิ่มเติม หรือยอมเปลี่ยนเพื่อให้สิ่งที่เราทำอยู่ไปไกลมากขึ้น อย่างผลงานนี้มันตอบโจทย์ทั้งโค้ช และตอบโจทย์ผู้เล่น เขาเล่นแล้วมีความสุข เขาสนใจจริงๆ เราก็มีความสุขแล้ว ส่วนตัวหนูเองแม้ตอนนี้จะยังไม่ใช่คนเก่งภาษาอังกฤษ (หัวเราะ) แต่พอได้เรียนรู้จริงๆ มันก็ไม่ได้แย่ มันก็สนุก และมันยังมีวิธีอื่นให้เรียนรู้ ก็พูดได้ว่าภาษาอังกฤษทำให้เรามาไกลถึงจุดนี้” นิดาปิดฉากบทสนทนาอย่างร่าเริง


สำหรับนักเรียนหรือครูท่านใดสนใจโหลด Vocaby เป็นสื่อการสอนให้ชั้นเรียน Vocaby ดาวน์โหลดได้แล้วผ่าน google play http://bit.ly/2lxwqXg 

Tags:

เทคนิคการสอนGrowth mindsetโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่นวัตกรรม

Author:

illustrator

กิติคุณ คัมภิรานนท์

Related Posts

  • Voice of New Gen
    นิทรรศการแสดงผลงานนวัตกรรมเยาวชน โครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ รุ่นที่ 7

    เรื่อง The Potential

  • Voice of New Gen
    E-SACK ถุงเพาะชำจากกากถั่วเหลืองและผักตบชวา ทำไม? ปลูกต้นไม้ยังต้องใช้พลาสติก

    เรื่อง

  • Voice of New Gen
    ALGOLAXY: แอพฯ สอนอัลกอรึทึม เปลี่ยนความงงเป็นโอกาส ฝึกคิดให้เป็นระบบ 1-2-3-4

    เรื่อง

  • Growth & Fixed Mindset
    ‘กล้า’ เด็กหนุ่มที่เติบโตและอีโก้หายไปในโรงเพาะเห็ด

    เรื่อง

  • Unique Teacher
    ‘ครูฝ้าย’ ครูผู้ชักใยและชวนเด็กๆ ออกไปใช้ชีวิตนอกห้องเรียนด้วย PROJECT BASED LEARNING

    เรื่อง

นักจิตวิทยาโรงเรียน “น้องร้องไห้ เราจะนั่งฟัง ลูบหลัง ตบไหล่ ให้เขาไม่ลืมเห็นใจตัวเอง”
How to get along with teenager
28 October 2019

นักจิตวิทยาโรงเรียน “น้องร้องไห้ เราจะนั่งฟัง ลูบหลัง ตบไหล่ ให้เขาไม่ลืมเห็นใจตัวเอง”

เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

  • วัยรุ่นมีปัญหามากขึ้น – ไม่จริงหรอก เพียงแต่วัยนี้เขามีปัญหาเร็วกว่าตามจังหวะโลกที่เร็วกว่ามาก จนทุกคนใกล้จะเป็นโรค
  • “การเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับเด็ก แล้วบอกว่าปัญหามันแค่นี้เอง จึงทำไม่ได้”​
  • เป็นคำพูดของ ‘นีท’ เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์ นักจิตวิทยาโรงเรียน ซึ่งเคยเป็นวัยรุ่นที่มีปัญหามาก่อน
  • “ขนาดเราเป็นผู้ใหญ่เรายังต้องการคนช่วยเลย แล้วเด็กจะไม่ต้องการได้ยังไง” ผู้ใหญ่หลายคนอาจลืมความจริงข้อนี้ 
ภาพ: เฉลิมพล ปัณณานวาสกุล

เข้าปีที่สองแล้วที่ ‘นีท’ เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์ ทำงานเป็นนักจิตวิทยาประจำโรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ โดยรับหน้าที่ดูแลเด็กๆ ชั้นมัธยมเป็นหลัก

“เพราะผู้อำนวยการโรงเรียนมองว่า โรงเรียน ‘จำเป็น’ ต้องมีนักจิตวิทยา” นีทเผยโอกาสในรั้วโรงเรียน

รอยยิ้ม แววตาซุกซนแต่มุ่งมั่น บวกกับน้ำเสียงสดใส แทบไม่เชื่อเลยว่า สมัยก่อน ด.ญ.เบญจรัตน์ จะเป็นคนที่เพื่อนไม่ชอบ 

“นีทมาจากครอบครัวที่เข้มงวดกับการเรียน เราอยากจะเป็นที่หนึ่ง เลยปัดเพื่อนออกไป ไม่คุยกับเพื่อน บอกกับตัวเองว่า เรื่องเพื่อนไม่สำคัญกับชีวิตเท่าไหร่ อยากเด่น ไม่สนใจว่าเพื่อนจะคิดยังไง สนใจแต่แม่ แม่ชมว่าเก่งคือที่สุดของเรา”

จากประถม มัธยม สู่มหาวิทยาลัย หล่อหลอมให้นีทเป็นคนกลัวความสัมพันธ์ จนได้มาเรียนปริญญาตรีและโทคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพบว่าตัวเองสนใจทำงานกับ “วัยเด็กถึงมหาวิทยาลัย”

ปมปัญหาส่วนตัวที่เคยมีก็ได้รับการคลายไปทีละจุด พร้อมกับเข็มทิศในการทำงานที่ค่อยๆ ชี้ว่า “แพชชั่นในการทำงานที่แรงที่สุดคือวัยรุ่น” 

“เราเคยมีปัญหาแบบน้องๆ ประสบการณ์เราที่ผ่านมา มันน่าจะช่วยได้” 

สอดคล้องกับที่ รองศาสตราจารย์ ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เคยอธิบายว่า

“เพราะวัยรุ่นคือช่วงสุดท้ายที่เปลี่ยนแปลงได้”

หน้าที่คร่าวๆ ของนักจิตวิทยาประจำโรงเรียนมีอะไรบ้าง

คือการดูแลเด็ก นีทจะนิยามตัวเองด้วยคำคำเดียวก็คือ ไกด์ ไกด์ในที่นี้มีอยู่สองมิติ หนึ่ง คือเป็นไกด์ทัวร์ เป็นไกด์ที่พาเด็กเข้าใจชีวิต เหมือนไกด์ที่พาไปเที่ยว ไปทำความรู้จักสถานที่ต่างๆ และกลับไปอย่างมีความสุข นีทมองว่าตัวเองเป็นไกด์ที่พาน้องๆ ไปค้นหาและเข้าใจตัวเองในจุดจุดนี้ เมื่อมีปัญหาควรจะแก้ปัญหาอย่างไร 

สอง คือ Guidance คล้ายๆ การโค้ช บางคนมองว่า เด็กวัยนี้น่าจะคิดเองเออเองได้ แต่จริงๆ ไม่ใช่นะ เด็กๆ อาจไม่รู้และไม่สามารถจัดการชีวิตของเขาได้ หน้าที่ของเราคือเข้าไปช่วยโค้ช

ทำไมต้องช่วยโค้ช

ถ้าเป็นวัยเด็ก เกิดหกล้ม ก็จะมีพ่อแม่พี่น้องคนรอบตัวเข้าไปปลอบ แต่กับวัยรุ่น ไม่ใช่ ทั้งๆ ที่วัยก็ไม่ได้ต่างกันมาก ผู้ใหญ่กลับคิดว่า ต้องแก้ปัญหาเองได้ เริ่มตั้งคำถามว่าทำไมแค่นี้ทำไมได้  นีทมองว่า จริงๆ แล้วเขา (วัยรุ่น) อาจไม่จำเป็นต้องแก้ปัญหาเองก็ได้ เพราะบางปัญหาที่เข้ามา น้องๆ อาจจะยังไม่สามารถประเมินและคิดวิธีแก้ไขที่ถูกต้อง มันเกินความสามารถของเขา

นีทเชื่อว่า ถ้าน้องจัดการกับปัญหาได้มันก็จะไม่เรียกว่าปัญหา ปัญหาจริงๆ มันคือ หนึ่ง สถานการณ์เข้ามาแล้วเขาไม่รู้ว่าจะต้องจัดการกับสถานการณ์ตรงหน้ายังไง สอง เขามืดแปดด้าน หน้าที่ของเราคือการไกด์ให้เขาหาทางแก้ปัญหาได้ แล้วคุณจะจัดการยังไงกับโจทย์มากกว่า

ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าให้น้องมัธยมบวกเลข 2+3 เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหา เพราะสิ่งนี้คือทักษะ แต่ถ้าโจทย์ยากขึ้น ตัวแปรมากขึ้น มันเป็นเรื่องปกติที่เขาจะทำไม่ได้ 

ขั้นตอนการโค้ช มีอะไรบ้าง

เวลาที่เราช่วย ฟังดูเหมือนง่ายแต่จริงๆ ขั้นตอนเยอะมาก เราต้องฟังเขาเยอะๆ เด็กวัยนี้จะรู้สึกว่า ไม่ได้ถูกพ่อแม่หรือคุณครูฟัง จริงๆ นีทเชื่อว่า พ่อแม่ คุณครูเขาฟังนะ แต่ปัญหาคือ ฟังแล้วตัดสินเด็กเลย เช่น ถ้าเด็กมีปัญหาเรื่องเพื่อน แล้วไปเล่าให้พ่อแม่ คุณครูฟัง สิ่งแรกที่จะเกิดขึ้นมักจะเป็น พ่อแม่หรือคุณครูฟังไม่จบแล้วขัดขึ้นมาทันที

ขั้นแรกเลย เราต้องเปิดพื้นที่รับฟังเขาเยอะๆ เราจะได้รู้ว่า ปัญหานี้ทำไมเขาคิดแบบนี้ เช่น ปัญหาเรื่องเพื่อน ถ้าผู้ใหญ่ฟังก็จะคิดว่า แค่นี้เอง เอาเวลาไปตั้งใจเรียนดีกว่าไหม มันแสดงให้เห็นว่า พวกเขาไม่เข้าใจเด็กแล้ว เพราะสำหรับเด็ก ทุกปัญหามันใหญ่เสมอ 

ต่อมาคือให้เขาเล่า นีททำอยู่ที่โรงเรียนประจำ เด็กๆ จะต้องอยู่ด้วยกัน 24 ชั่วโมง ปัญหาส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเพื่อน เขาก็จะเริ่ม ‘พี่ เขาไม่ชอบหนูหรือเปล่า’ ‘แล้วทำไมถึงคิดว่าเขาไม่ชอบ?’  เราก็ต้องช่วยเขา เพราะลักษณะของเด็กคือเข้ามาพร้อมอารมณ์ที่พรั่งพรู แต่พวกเขาไม่สามารถแยกว่าตรงไหนเป็นปัญหา ตรงไหนเป็นสิ่งที่คิด ตรงนี้คือหน้าที่เราที่จะช่วยเขาเรียบเรียงปัญหา หาทางเลือกให้เขาเลือก

ขั้นที่สาม อาจจะถามว่า จริงๆ แล้วปัญหาคืออะไร สุดท้ายก็จะได้ว่า เด็กคาดหวังให้เพื่อนอยู่กับตัวเองตลอดเวลา เพราะเราเป็นเพื่อนกัน แต่ถ้าในมุมผู้ใหญ่ที่ได้ฟัง มันไร้สาระ แต่เราฟัง เราเข้าใจว่าสิ่งที่มันเป็นปัญหาคือ ความคิดของเขา เวลาเราฟังเราก็ต้องดูว่าในปัญหามันมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ถ้ารู้แล้วว่าปัญหาที่เกิดมันมาจากความคิด เราก็จะช่วยเคลียร์ความคิดของเขา โดยไม่บอกว่าตรงไหนถูก ตรงไหนผิด

สำหรับเด็ก บางทีเขาคิดว่า ถ้าเรียกร้องให้เพื่อนมาอยู่ด้วย แล้วเพื่อนไม่มา ก็จะแปลว่าไม่รัก เธอไม่ให้เวลากับฉัน นีทจะชอบถามคืนว่า ‘จริงเหรอ’ ค่อยๆ ปรับความคิดเขาว่า จริงเหรอที่เพื่อนไม่รัก ทั้งๆ ที่เวลาเรียนเพื่อนก็คุย กินข้าวเพื่อนก็กินด้วย มันมีนะเวลาที่อยู่ด้วยกัน ตรงนี้คือ การสะท้อนให้เขาเห็นความจริง แล้วสุดท้ายก็ถามเขาว่า จริงไหมที่เพื่อนจะต้องอยู่กับเราตลอด 24 ชั่วโมง 

เข้าใจ ช่วยกันสะท้อนปัญหา หาวิธีการแก้ไขปัญหา ตรงนี้คือขั้นตอน อีกอย่างบางเคสไม่สามารถทำได้แค่ครั้งเดียว เด็กบางคนใช้เวลามากกว่าหนึ่งครั้ง บางคนเขามีความเชื่อ ความคาดหวังที่แรงมากๆ มองว่าจะต้องเป็นแบบนั้น แบบนี้ ถ้าเรารีบไปบีบ มันไม่ได้

เวลาที่ช่วยเด็กๆ ต้องดูด้วยว่าเขาหนักขนาดไหน ถ้าเด็กคนไหนคลายเร็ว ก็ช่วยได้เร็ว ถ้าเด็กคนไหนคลายช้า ก็ค่อยๆ ช่วยไป แต่สำหรับเด็กๆ การที่มีคนฟัง มันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีแล้ว

การที่เด็กเลือกที่จะเข้าไปหานักจิตวิทยา หมายความว่าเด็กพร้อมจะคลายแล้ว?

ไม่เสมอไป เด็กบางคนเขารู้ว่าตัวเองมีปัญหา บางคนก็ไม่รู้ แต่หลักการแก้มันอยู่ที่ตัวเด็กเลย อันดับแรก เขากอดปัญหาไว้แน่นแค่ไหน หรืออยากจะคลายปัญหาออกไปแล้ว แบบสุดๆ ก็มี คือบางคนต้องการให้คำตอบเป็นไปตามใจตัวเอง เขารู้ว่าปัญหาคืออะไร แต่เขาก็ยังเชื่อว่าความคิดเขาถูกต้อง สิ่งที่ต้องทำคือสะท้อนให้เขาเข้าใจ ซึ่งการสะท้อนเราจะเร่งไม่ได้ ไม่อย่างนั้นเขาก็จะ ‘ก็พี่ไม่เข้าใจ พี่ไม่ฟังหนู’ 

บางคนจะมองว่าทำไมกับเด็กบางคนถึงใช้เวลานานจังเลย สิ่งเหล่านี้มันขึ้นอยู่กับการกอดปัญหา

ถ้าเด็กเขายังอยากกอดปัญหาไว้ เราทำได้แค่ไกด์ สุดท้ายแล้วชีวิตก็คือชีวิตของเขา เราไม่ได้มีอำนาจสั่งว่า หนูต้องปล่อยหินนะ ต้องกำหินนะ เราแค่ไกด์ว่ามือเริ่มเจ็บแล้วนะ ปล่อยหินดีไหม ถ้ายังไม่ปล่อย รอไปก่อน

สรุปคือ ฟังปัญหาจากเด็กก่อน สอง คือช่วยกันลิสต์ปัญหาว่ามีอะไรบ้าง สาม เอาสิ่งที่ลิสต์มาสะท้อนและหาคำตอบว่า อะไรจริง อะไรไม่จริงบ้าง แล้วพยายามหารายละเอียด โดยยกตัวอย่างให้เขาเห็น?

ใช่ค่ะ อย่างเรื่องที่ยกตัวอย่างไป มันเป็นการแก้ปัญหาผ่านวิธีคิด เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับทัศนคติ เขาอาจจะไม่ได้มองโลกผ่านความเป็นจริง มีเรื่องที่ยึดติดเยอะ ซึ่งเราก็ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติของเด็กไป

ปัญหาเกิดมาจากอะไร มันก็มีหลายสาเหตุ เช่น ยึดติดกับความคิดตัวเองเยอะมาก เราจะปรับเขาอย่างไรนี่คืองาน ส่วนอย่างที่สอง เป็นเรื่องพฤติกรรม เช่น ชอบยืมของ ฟังดูเหมือนเรื่องเล็ก แต่เด็กที่ถูกยืมบ่อยๆ เขาก็จะรู้สึกเหมือนถูกเอาเปรียบ ทำไมเธอไม่ซื้อปากกา ทำไมเธอไม่ซื้อลิควิด เราก็ต้องมาแก้ ถ้าหนูไม่ทำแบบนี้ ปัญหาก็จะไม่เกิด กรณีพฤติกรรมมันจะใช้เวลาแก้ไขนานกว่าปัญหาที่เกิดจากความคิด

ถ้ากรณีของพฤติกรรม ต้องแก้ที่ความคิดร่วมด้วย เพราะถ้าไม่เปลี่ยนความคิด เขาจะเปลี่ยนพฤติกรรมได้ยังไง ยิ่งเด็กวัยรุ่นเขามีความคิดของตัวเอง แตกต่างกับเด็กตัวเล็กๆ ที่เปลี่ยนได้เลย 

ถ้าเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับบุคลิก เช่น ขวานผ่าซาก กรณีนี้จะยากขึ้น เพราะเขาไม่มีจุดเบรก ที่ทำให้เข้าใจว่ามากน้อยแค่ไหนคือได้ เพราะส่วนใหญ่อยากจะพูดอะไรก็พูด แล้วเราก็เข้าไปสอนเขาไม่ได้ทุกสถานการณ์ กรณีแบบนี้มีปัจจัยหลายอย่างที่ควบคุมไม่ได้ด้วย เช่น เราสอนเขาว่าอย่าไปพูดแรงๆ กับเพื่อน เพราะไม่มีใครที่ชอบถูกว่าแรงๆ หรอก แต่มันก็จะมีบางประโยค เช่น ‘เธอๆ เงียบหน่อย คุณครูพูดเธอไม่ได้ยินเหรอ’ เราก็ต้องคอยบอกเขาว่า ประโยคหลังไม่ต้องพูดก็ได้ ตรงนี้เด็กเขาไม่เข้าใจ ฝั่งเพื่อนก็จะรู้สึกว่า เอ้า เธอมาด่าฉันทำไม

เด็กแบบนี้เขาไม่ผิดเลยนะ เพียงแต่เขาไม่รู้วิธีการสื่อสารที่ถูกต้อง เขาเลือกใช้วิธีสื่อสารที่ไม่ถูกต้อง ถ้าเป็นเคสแบบนี้ ก็ต้อง follow up แล้วก็คอยถามไปเรื่อยๆ แก้ไปเรื่อยๆ ไปเจอเหตุการณ์อะไรก็กลับมาฟีดแบ็คให้ฟัง ช่วยกันหาทางออก

ตั้งเป้าหมายของการทำงานที่โรงเรียนไว้อย่างไรบ้าง แล้วได้ตามเป้าไหม

ก็มีหลายสิ่งที่เกินกว่าที่คิดไว้มาก (หัวเราะ) เราไม่คิดว่าเด็กๆ จะวิ่งเข้ามาคุยกับเราเยอะขนาดนี้ การที่เด็กวิ่งหานักจิตวิทยาเยอะคือเด็กมีปัญหามาก บางปัญหาเราไม่คิดว่ามันควรจะเป็นปัญหา เช่น เรื่องเพื่อน เรารู้สึกว่าเขาเข้าสังคมได้ยากขึ้น ปรับตัวได้ไม่ดี นีทรู้สึกว่า พวกเขามีปัญหาด้านการสื่อสารเยอะมาก

เยอะแค่ไหน

ปัญหาเรื่องเพื่อนมีเข้ามาทุกวัน สมมุติ 10 ครึ่งหนึ่งเป็นปัญหาความสัมพันธ์ เราก็คิดเล่นๆ ว่า พี่ ม.3 อาจจะมาหาเราด้วยเรื่องการเรียน ปรากฏไม่ใช่เลย เรื่องความสัมพันธ์ทั้งนั้น (คือเรื่องอื่น เด็กๆ อาจจะแก้ได้เอง แต่เรื่องนี้อาจไม่ไหวจริงๆ)

เอาเข้าจริงแล้ว เวลาพูดถึงพัฒนาการวัยรุ่น มันจะมีอยู่ 4 ปัญหาที่เด็กๆ น่าจะมี ได้แก่ ร่างกาย ความสัมพันธ์ อารมณ์ และ ปัญญา (เกี่ยวกับการใช้ชีวิต พวกเกรดเฉลี่ย การเรียนต่อ ฯลฯ) เราคิดว่าเด็กจะเข้ามาด้วยเรื่องเหล่านี้อย่างละ 25 เปอร์เซ็นต์ แต่ปรากฏไม่ใช่ เรายึดติดกับตัวเลขเกินไป เพราะบางวันมันคือเรื่องความสัมพันธ์ การสื่อสารล้วนๆ (กับเพื่อน พี่ ครู และครอบครัว) ร้อยเปอร์เซ็นต์ เราก็เลยมานั่งคิดกับตัวเองว่ามันเป็นเพราะอะไร 

สุดท้ายได้คำตอบว่า ไม่ต้องคิดมาก น้องเดินหน้ามาคุยกับพี่เรื่องอะไรก็ได้ พี่พร้อมจะช่วย เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่า จริงๆ แล้ว เขามีปัญหากี่เรื่อง และแก้ได้ไปแล้วกี่เรื่อง

แต่ที่เรารู้แน่ๆ คือ เรื่องไหนเขาแก้ได้ คือ จบแล้ว เรื่องที่แก้ไม่ได้ มาช่วยกัน และที่เรารู้แน่ๆ ตอนนี้คือ เรื่องความสัมพันธ์ เรื่องของการสื่อสาร เด็กต้องการผู้ช่วยเท่านั้นเอง

เป็นเพราะพัฒนาการของวัยเฉพาะวัยนี้หรือเปล่า ที่ทำให้วัยรุ่นไม่ค่อยเก่งในการสื่อสารสร้างความสัมพันธ์

ตอบยาก เพราะหนึ่งเลย เด็กมักจะพูดว่า ไม่รู้จะทำยังไง (เจอเพื่อนใหม่เขาก็ไม่ชิน ทะเลาะกันแล้วทำอย่างไรต่อ ก็ไม่รู้ หรือคุยกับผู้ใหญ่อย่างไรดี ให้เข้าใจกันจริงๆ) นีทก็เริ่มมาคิดว่า หรือเป็นเพราะเขามีทักษะนี้ไม่เพียงพอหรือเปล่า เวลาที่เราดูแลเด็กเล็ก จะมีเรื่องของอีคิว ความสัมพันธ์ แต่พอเรียนได้สักพักโฟกัสมันเปลี่ยนไปอยู่ที่การเรียนเป็นหลัก สกิลที่สอนเด็กๆ ว่าเล่นกับเพื่อนยังไง คุยกับเพื่อนยังไง แก้ไขเวลามีปัญหากันอย่างไร มันก็อาจจะหายไป อันนี้เราลองเดาดูนะ ว่ามันอาจจะเกิดอะไรขึ้นกับเด็ก

เพราะเหมือนเขาบอกเราว่า เขาไม่รู้จะพูดยังไง เขาพูดแบบนี้มันก็สะท้อนแล้วว่าเขาไม่รู้วิธีการ ไม่รู้ทักษะในการเข้าหาจริงๆ หรือจริงๆ มันอาจจะมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามา แล้วทำให้การสร้างความสัมพันธ์มันหายไป ยกตัวอย่างสมัยที่นีทเป็นเด็ก ยุคนั้นจะไม่มีอินเทอร์เน็ต ไม่มีอะไรดึงความสนใจเลย เลยเดาว่าปัจจัยบางอย่างมันเบียดเบียนเวลาที่จะพัฒนาทักษะการสื่อสาร เวลาในโลกเสมือนก็อาจจะไปเบียดเบียนโลกจริง ซึ่งตรงนี้ก็ยังตอบไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็น เพราะยังไม่ได้วิจัย 

ฟังมาเยอะแล้ว ขอย้ำนิดนึงว่า เรื่องที่เล่ามาเป็นเพียงแค่กลุ่มตัวอย่างหนึ่งเท่านั้นนะคะ ที่สะท้อนปัญหานี้ให้เราฟัง ไม่ใช่ทุกคนที่ต้องเจอกับปัญหานี้นะคะ 

แรกๆ ที่มาทำงานที่นี่ เด็กๆ รู้สึกงงบ้างไหม

ปีแรกๆ ที่มาทำ เราต้องเข้าใจก่อนว่า การเริ่มต้นมันไม่เรียบร้อยอยู่แล้ว ก็ต้องมาวางระบบกันว่านักจิตวิทยาควรอยู่ตรงไหน ปีแรกเลย คุณครูจะเป็นคนส่งเด็กที่คิดว่าประสบปัญหามาหาเราโดยตรง ส่วนปีที่สอง มีการจัดการที่ดีขึ้น มีค่ายก่อนเปิดเทอม ให้เด็กๆ ม.1 ปรับตัวและรู้ว่าเปิดเทอมมาเขาจะต้องเจออะไรบ้าง นีทก็ไปสอนวิชาทีมเวิร์ค ฝึกทักษะการสร้างความสัมพันธ์ (โดยเฉพาะเรื่องเพื่อน) ให้เขา

องค์ประกอบที่ทำให้เราอยู่กับเพื่อนได้ดีขึ้นคือ คุณต้องมีทักษะในการทักทายกันก่อน สองคือ ต้องมีความเห็นอกเห็นใจต่อ อีกข้อคือ การกีดกันทางสังคม (bully) วัยนี้คือวัยที่เริ่มมีอัตลักษณ์เป็นของตัวเอง ชอบความเหมือน ไม่ชอบความต่าง ใครไม่เหมือนเราก็คือแปลก

หน้าที่ของเราคือสอนให้เขาเข้าใจโลก แตกต่างก็ได้ เหมือนกันก็ได้ เราก็พยายามหากิจกรรม ลองให้เล่นเกม นี่คือสิ่งที่เริ่มช่วยตั้งแต่ต้น เราต้องช่วยให้เขาเข้าใจวิธีการเข้าสังคม ผลดีอีกข้อคือจะช่วยให้เด็กๆ รู้จักนักจิตวิทยาไปในตัว

เป็นความโชคดีมากที่นีทเรียนและชอบเต้นเพลงเกาหลี (cover dance) มันเลยมีเรื่องให้คุยกับเด็กได้ เป็นการสร้างมิตรภาพอย่างหนึ่ง ถ้าเราเดินเข้าไปแล้วก็ ‘น้องคะ สวัสดีค่ะ พี่เป็นนักจิตวิทยานะคะ’ เด็กๆ เขาก็จะ…แล้วไง จะมาสะกดจิตหนูเหรอ การเข้าไปแบบนี้มันไม่ได้สร้างความสัมพันธ์เท่าไหร่ แต่ถ้าเข้าไปหาเด็ก เอาเรื่องเดียวกันไปคุยกับเขามันจะสร้างสายสัมพันธ์ขึ้นมา

แล้วเวลาเข้าไป ความเป็นคุณครูต้องไม่มี ต้องเป็นอารมณ์พี่สาวเม้ามอย เราก็ต้องอาศัยการสังเกตความชอบของเด็กๆ บ้าง มองดูโต๊ะ อ๋อ ชอบศิลปินเกาหลี เราก็หาเรื่องเข้าไปคุย ช่วงนี้เด็กๆ เขาติดซีรีส์ปรมาจารย์ลัทธิมาร ก็ชวนเด็กๆ คุย ทำให้เราใกล้ชิดกับเด็ก เขาก็จะรู้สึกว่าพี่คนนี้คุยได้ แล้วอยากเข้ามาหามากขึ้น

สถานการณ์ของวัยรุ่นตอนนี้ เป็นแบบไหน ไม่ต้องเป็นห่วงก็ได้ เพราะเป็นเรื่องปกติ หรือถ้าเป็นห่วง ควรเป็นห่วงเรื่องอะไร จะดูแลอย่างไร

เรารู้สึกว่าปัจจุบันเด็กมีภาวะซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้น ความน่าเป็นห่วงคือ บางทีเด็กๆ เขายังไม่มีภูมิคุ้มกัน นีทจะไม่ค่อยชอบคำหนึ่ง ที่ผู้ใหญ่ชอบว่าว่าเด็กเปราะบาง

การเอาตัวเองไปเทียบกับเด็กมันเทียบไม่ได้ เด็กวัยนี้เขามีปัญหาเร็วกว่าเราเพราะว่าโลกมันเร็วมาก จนทุกคนใกล้จะเป็นโรค ปัญหาหนึ่งเข้ามา สองเข้ามา สามเข้ามาทั้งๆ ที่ ปัญหาแรกยังแก้ไม่ได้

ปัญหาของเด็กมันสั่งไม่ได้ เพราะฉะนั้นมันไม่แปลกที่เด็กจะมีสภาวะแบบนี้ แต่คำถามคือเราจะช่วยเด็กๆ แก้ไขปัญหาได้อย่างไรมากกว่า วิธีการที่จะจัดการกับปัญหาเขาทำได้ไหม ตรงนี้สำคัญ งานของเราเป็นการแก้ไขมากกว่าการป้องกัน แต่นีทรู้สึกว่า ถ้าจะให้มันสมบูรณ์แบบจริงๆ ต้องเป็นการป้องกันและแก้ไข เช่น เราสามารถจัดเวิร์คช็อปได้ว่า สถานการณ์แบบนี้เราทำอะไรได้บ้าง ไม่ได้บอกว่าการป้องมันจะไม่มีปัญหา เพียงแต่เราจะหาทางที่ทำให้มันเกิดน้อยลง

สิ่งสำคัญกว่ามากๆ คือ เรื่องการสร้างภูมิให้น้องๆ

ภูมิคุ้มกันที่เด็กควรจะมี คืออะไรบ้าง

อันดับแรกคือเรื่องอารมณ์ เรื่องการรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง ว่าตอนนี้เรากำลังมีอารมณ์อะไร เพราะอะไรถึงมีอารมณ์นี้ และยอมรับตนเองที่เราจะรู้สึกแบบนี้ ข้อนี้สำคัญค่ะ การยอมรับตนเอง บางทีเราไม่อยากทุกข์ บางทีเราไม่อยากเกลียด แต่ถ้ามีอารมณ์เหล่านี้ แค่เข้าใจ ว่า ฉันรู้สึกแบบนี้ได้นะ (มันคือการเห็นใจตนเอง)

อย่างที่สองคือ เป็นการประคับประคองตนเองจนถึงการจัดการอารมณ์ แต่บางทีเด็กขาดทักษะตรงนี้ รับไม่ได้เมื่อตนเองเป็นทุกข์ รับไม่ได้ที่ตนเองล้มเหลว แต่จริงๆ แล้วเราต้องประคับประคองใจและไปต่อ

อย่างที่สาม คือ หรือการจัดการปัญหา ฝึกฟันธงว่าอะไรเป็นปัญหาของฉัน ที่ฟันธงกันไม่ได้ อาจเพราะไม่ได้คุยกับตัวเองเยอะพอ ไม่ได้ฝึกลิสต์ปัญหา มันก็เลยเหมือนมีปัญหา แต่ไม่มีทางแก้ และต้องฝึกการแก้ปัญหา 

และสุดท้ายคือ ฝึกเห็นใจตนเอง เราต้องเมตตาตนเองเยอะๆ อย่ากดดันตนเองเมื่อมีปัญหา แค่รู้ว่ามี เข้มแข็ง และไปต่อ หรือชมตนเองเยอะๆ ให้กำลังใจตนเองบ่อยๆ

เพราะอะไรเด็กๆ จึงเห็นใจตัวเองน้อยลง

บางทีมันคือการลืม ลืมที่จะบอก ชม หรือให้กำลังใจตนเอง ทั้งวันที่ฟ้าสดใส และในวันที่ฟ้าไม่เป็นใจ

แล้วข้างนอกส่งผลต่อการให้เห็นใจตัวเองน้อยลงไหม ก็อาจจะมีส่วน โดยเฉพาะคำพูด เช่น แค่นี้ทำไมแก้ปัญหาไม่ได้ นีทคิดว่ามันมีหลายมิติที่เข้ามาแล้วทำให้เรารู้สึกว่าปัญหามันหนักขึ้น แต่การมีคนฟัง ให้เกำลังใจ และคนช่วยแก้ปัญหา มันจะดีต่อเขา 

ขนาดเราเป็นผู้ใหญ่เรายังต้องการคนช่วยเลย แล้วเด็กจะไม่ได้ต้องการได้ยังไง

แล้วโรงเรียนอื่นที่ไม่มีนักจิตวิทยามันจะแตกต่างกันมากไหม

นักจิตวิทยาไม่ได้ทำงานคนเดียว เด็กๆ มีคุณครูที่คอยให้คำปรึกษาอยู่แล้ว ก่อนหน้าที่จะมีนักจิตวิทยา เด็กๆ เขาจะวิ่งหาคุณครู

นีทไม่ได้บอกว่า นักจิตวิทยาสำคัญจนคุณครูไม่สำคัญ เพราะคุณครูเป็นด่านแรกในการดูแลจิตใจเด็ก แต่เราต้องเข้าใจก่อนว่า คุณครูหนึ่งคนดูแลเด็กได้ไม่หมด ถ้าเด็กวิ่งเข้าหาคุณครูให้ช่วยแก้ปัญหา ครูช่วยอยู่แล้ว ด้วยเรื่องของจำนวนอาจทำให้ตกหล่นไปได้

ในโรงเรียนที่ไม่มีนักจิตวิทยา เด็กๆ ก็อาจจะแก้ปัญหาได้ช้าลง ส่วนโรงเรียนที่มีนักจิตวิทยาเขาจะมีที่พึ่งเยอะขึ้น แก้ปัญหาได้รวดเร็วขึ้น

ทุกโรงเรียนควรมีนักจิตวิทยาประจำไหม

ทุกวันนี้หลักสูตรครูก็มีสอนเรื่องจิตวิทยาเหมือนกัน เพื่อนที่เป็นครูบอกมานะคะ แต่ทุกโรงเรียนต้องมีนักจิตวิทยาไหม มันอุดมคติมากเลย ถ้าได้ก็ดีค่ะ สิ่งที่พูดได้ก็คือถ้าเด็กเจอครูที่เข้าใจ เด็กก็จะแก้ปัญหาได้เร็วขึ้น แต่ถ้าเจอครูที่อาจจะไม่ค่อยเข้าใจ เด็กและคุณครูก็ต้องใช้เวลากันนานหน่อย

ความเห็นส่วนตัว เราจะแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการเปิดคอร์สจิตวิทยาออนไลน์ หรือการรวมทุนกันเพื่อสังคม ถ้าเราบังคับระบบที่เป็นอยู่ไม่ได้ เราก็ต้องสร้างระบบใหม่ที่ช่วยเหลือเด็ก รวมกลุ่มนักจิตวิทยาเล่าเรื่อง หรือเป็นเพจของกลุ่มนักจิตวิทยา ให้เขารู้สึกว่ามันมีคนที่พร้อมช่วยเหลือพวกหนูอยู่ เหมือนกับว่าอยู่ที่ไหนก็มีคนรับฟัง คนที่พร้อมจะช่วยเหลือ แต่ก็ยอมรับว่ามันอาจจะไม่เท่ากับเจอตัวจริงที่ต้องสังเกตหลายอย่างร่วมด้วย แต่มีก็ดีกว่าไม่มี

การเจอตัวจริง มองหน้า มองตากัน มันดีกว่าอย่างไรบ้าง

มันดีกว่ามากเลยค่ะ สิ่งสำคัญของการสื่อสารมันมีสองอย่าง คือ วัจนภาษากับอวัจนภาษา

ถ้าน้องร้องไห้อยู่ แล้วเราคอยนั่งตบไหล่ มันเหมือนกับว่ามีคนหยิบยื่นกระดาษทิชชู่ให้เรา การคุยกันต่อหน้า เราได้เห็นอวัจนภาษาของเขามันสำคัญมาก เหมือนเราพูดว่า สู้ๆ นะ และหน้าตาของการพูดสู้ๆ นะ มันทำให้เรารู้สึกดี เขาจะรับรู้ได้มากกว่าเสียงที่เปล่งออกมา

ประโยคอะไรที่คุณนีทพูดกับเด็กๆ บ่อยที่สุด

“เหรอ” “อือๆ” เป็นคำที่หลุดออกมาบ่อยมาที่สุดพร้อมกับหน้าตาที่เข้าใจเขาด้วยนะ “เหรอ แล้วยังไงต่ออออ”  เพื่อแสดงให้เห็นว่าฉันอยากรู้อารมณ์และความรู้สึกของเธอ เด็กบางคนก็ไม่เหมือนกัน บางทีก็ต้องมีคำคมให้เด็กเหมือนกันนะ บางทีที่เข้ามาก็จะ “พี่ เขาจะชอบหนูรึเปล่า” เราก็จะถามคืนว่า “แล้วคิดว่าเขาจะชอบไหมล่ะ” “ลองดูสิ” เขาก็จะเถียงกลับมา ถ้าไม่ใช่ แล้วจะเป็นยังไง เราก็ตอบไปว่า “ก็แค่นกไหมล่ะ มันจะมีอะไรมาก” 

แล้วคำไหนที่ห้ามพูดเลย

“เธอ มันไม่ใช่” แบบนี้มันเหมือนการปฏิเสธเขา มันไม่ใช่สำหรับเรา แต่มันใช่สำหรับเขา เราไม่สามารถเอาความคิดของเราไปใส่ความคิดของเขา ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราบอกเขาว่า ไม่ใช่ เด็กๆ เขาจะรู้สึกว่าตัวตนของเขาไม่ได้รับการยอมรับ 

จริงๆ เด็กวิ่งหาพื้นที่การยอมรับ การเข้าใจ ถ้าเราทำตัวเองเป็นพื้นที่ที่ไม่เข้าใจเขา แล้วเด็กๆ จะไปพึ่งใคร

เราก็จะ “พี่เข้าใจ พี่เข้าใจน้องที่คิดแบบนี้” ไม่ได้บอกนะว่า มันถูกหรือผิด แค่เราเข้าใจว่าเขาคิดยังไง ถ้ามันถูกเราก็จะโอเค ถ้ามันผิดเราก็จะค่อยๆ ตะล่อมเขา บางทีพูดแล้วไม่สำเร็จ เราก็ให้น้องไปลอง ถ้าเจ็บแล้วก็จะได้รู้ แล้วก็ถามให้ลองเปลี่ยนวิธีคิดไหม

Curative education หรือการสอนไปด้วย ช่วยเหลือนักเรียนไปด้วย ในความเห็นส่วนตัวของคุณนีทเป็นอย่างไร

มันสำคัญมากๆ เลย ที่เด็กมีปัญหาเพราะเขาไม่รู้วิธีแก้ เพราะฉะนั้นวิธีการสอนสำคัญมาก หนึ่งเลยเราไม่ได้อยู่กับเขาตลอดเวลา ถ้าเราไม่ได้สอนวิธีให้เขา เขาก็จะไม่รู้ทางแก้ปัญหา การสอนให้เขาได้คิด มันเหมือนกับการให้อาวุธติดตัว 

การใช้ชีวิตมันเหมือนการเดินป่า บางครั้งเราก็ไม่ได้อยากฆ่าเสือ แต่ถ้าเสือมันพุ่งเข้ามาเราก็ต้องมีอาวุธอยู่ในมือ แน่นอนว่าเราไปเดินป่าด้วยกันตลอดไปไม่ได้  เด็กๆ ต้องโตขึ้น ต้องเดินป่าด้วยตัวเอง เขาก็ต้องมีวิธีจัดการ ถ้าเขามีอาวุธติดตัวไป เขาจะแข็งแรง

นักจิตวิทยาในโรงเรียนควรมีคุณสมบัติอะไรที่ต้องโฟกัสเป็นพิเศษเมื่อเปรียบเทียบกับนักจิตวิทยาอื่นๆ

นักจิตวิทยาก็จะมีศาสตร์คล้ายๆ กัน คือศาสตร์การฟัง และการเป็นผู้ช่วยเหลือ ของนีทที่พิเศษแน่ๆ คือการดูพัฒนาการและหาวิธีสร้างทักษะหรือสร้างอะไรก็ตามที่จำเป็นในการแก้ปัญหา เราจะต้องแอบลงไปช่วยเด็กอยู่เยอะทีเดียว เพราะเด็กวัยนี้ยังแก้ปัญหาไม่ได้ เราเลยต้องมีไกด์ไลน์ แต่สำคัญคือความพอดี ไม่ใช่ปล่อยให้เขาคิดเองจนเกินไป หรือไปช่วยจนเขายืนเองไม่เป็น 

อีกอย่างคือการประเมินสถานการณ์ เราควรจะช่วยเขาขนาดไหน มันสำคัญมาก เพราะเด็กบางคนแค่ยื่นวิธีการก็ทำต่อเองได้ แต่เด็กบางคนพาทำเลย เราต้องดูเด็กให้ออก นอกจากการหาความพอดีของชีวิตในการช่วยเหลือเขาแล้ว เรายังต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็กวัยนี้อย่างมาก ถ้าเราเข้าใจเขาไม่มากพอ เราก็จะดีลกับเขาไม่ได้ นักจิตวิทยาพัฒนาการต้องมีลูกเล่นในการเข้ากับพวกเขา 

มันเหมือนวิธีการเล่นกับเด็กวัยรุ่น มันคือการสร้างความสนิทสนม เป็นนักพัฒนาการที่อยู่กับเขาให้ได้ อิงไปกับเขา ให้เขารู้สึกว่าเราเป็นพี่สาว

ชีวิตส่วนหนึ่งของเด็กๆ คืออยู่กับพ่อแม่ ซึ่งพ่อแม่อาจไม่ได้เข้าใจเหมือนพี่สาวอย่างคุณนีท แล้วพ่อแม่ควรจะมีคาถาหรือวิธีการจัดการกับความปรี๊ดที่จะเกิดขึ้นอย่างไร

นีทเชื่อว่า พ่อแม่ทุกคนเชื่อว่าลูกต้องแก้ไขปัญหาทุกอย่างในชีวิตได้ เราเลยต้องย้อนถามพ่อแม่ว่าเขาเข้มงวดเกินไปหรือเปล่า ถ้าพ่อแม่ปรี๊ด ทำไมถึงปรี๊ด พ่อแม่ต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้ เพราะเขาคิดว่าเด็กวัยรุ่นช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่นะ เราเป็นผู้ใหญ่แล้วบางครั้งเรายังแก้ปัญหาไม่ได้เลย    

พ่อแม่แค่ควรเข้าใจ มองเขาเหมือนเด็กเล็กๆ เราเห็นปัญหาเขา เราเข้าไปช่วยแก้ เขาคือเด็กที่แค่เปลี่ยนจากเด็กประถมไปเป็นวัยรุ่นทำไมถึงไม่ช่วยเขาแก้ปัญหา 

ทั้งที่จริง วัยรุ่นวันนี้กับสมัยก่อน มันก็เหมือนเดิม ห่วงสวยห่วงหล่อ เครียดเรื่องแฟน เรื่องเรียน เข้าสายวิทย์สายศิลป์ มีปัญหากับเพื่อน มันก็เป็นปกตินะ ต่างเพียงแค่ความเข้ม ความเร็วของสิ่งที่เจอ ยุคนี้อาจจะเกิดขึ้นเร็วกว่ายุคเราเอง เหมือนสมัยก่อนไม่มีไลน์ ถ้าไม่ชอบเด็กห้องนึงเราก็จะรอหมดคาบแล้วแอบไปเมาท์ ปัจจุบันนี้คือ พิมพ์ไลน์ เร็วมาก มันก็เลยทำให้เด็กๆ เขาเจอเรื่องเหล่านี้ได้เร็วขึ้น 

เมื่อก่อนเราไม่ชอบคนหนึ่งคน ต้องอาศัยการเล่าต่อ รอหมดคาบ รอพักเที่ยง แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่ ถ้าไม่ชอบเพื่อนคนนี้ เราก็พิมพ์ไปเลย เราไม่ชอบคนนั้นคนนี้ ตรงนี้คือเรื่องความเร็วที่แตกต่างออกไป

โลกโซเชียลก็เป็นอีกความต่าง เพราะโลกโซเชียลก็จะทำให้ดีกรีความรุนแรงมันมากขึ้น สมัยก่อนเราจะนินทาใคร เราก็จะทำกันลับๆ แต่ทุกวันนี้เราก็จะ (bully) บลูลี่กันในโซเชียลเลย 

ปัจจัยเหล่านี้ทำให้พวกเขาเข้าสู่ภาวะซึมเศร้าได้ง่ายมากขึ้นหรือเปล่า

นีทเดาว่าก็มีส่วน การที่มีความเครียดมากๆ มันก็ทำให้เขารู้สึกได้ง่ายมากขึ้น เอาง่ายๆ เรื่องถูกบลูลี่ (bully) ทุกทีเราก็แค่โดนนินทา ซึ่งมันเป็นแค่หนึ่งวิธีที่ทำให้เรารู้สึกเศร้าและไม่เป็นที่รัก แต่ปัจจุบัน เดินมาก็นินทา ในโซเชียลก็ต่อว่า ก็เป็นสองต่อแล้ว ความเข้มหรือความเครียดมันก็จะมาก 

ถ้าวัยรุ่นถูกบุลลี่ (bully) ช่วยเขาอย่างไร

ต้องมีคนเข้าใจ ต้องมีที่พึ่ง อาจจะไม่ใช่นักจิตวิทยา เป็นใครก็ได้เป็นครูก็ได้หรือแม้แต่เพื่อน ที่สามารถจะช่วยให้เขาหาทางแก้ไขได้ ขอแค่มีคนเข้าใจเรา ปัญหาที่หนักก็จะเบาลง

การที่มีคนเข้าใจ มันเหมือนมีคนประคอง นีทว่าจริงๆ แล้ว ความเครียดหรือความเศร้าแต่ละคนประเมินไม่เหมือนกัน มันคือความเข้มที่เรารับรู้และเรานิยามมัน ถ้าเราไม่มีคนซัพพอร์ตเลย เราจะรู้สึกว่าโลกมันมืด แต่ถ้าเรามีคนซัพพอร์ต ปัญหาเดียวกันเราก็อาจจะรู้สึกว่ามันแก้ได้

Tags:

พ่อแม่ซึมเศร้าระบบการศึกษานักจิตวิทยาเบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์

Author:

illustrator

ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

อดีตนักข่าวที่ผันตัวมาทำงานด้านการเรียนรู้(อย่างรื่นรมย์) ด้วยอินเนอร์คุณแม่ลูกหนึ่ง(ที่เป็นวัยรุ่นและขายาวมาก) รักการทำงานก็จริงแต่ชอบหนีไปออกกำลังกายตามคำบอกของคุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เพื่อให้ชีวิตการงานสมดุลอยู่

Related Posts

  • Social Issues
    เมื่อโรงเรียนเป็นพื้นที่แห่งความกดดันและไร้สุข จึงต้องปรับตัวและรับผิดชอบความป่วยไข้นี้

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • 21st Century skills
    CREATIVE PROCESS : 7 นิสัยทำลายความคิดสร้างสรรค์

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • 21st Century skills
    ถึงเวลาปลูก ‘ฟาร์มคิดสร้างสรรค์’ โลกต้องการเด็กตั้งคำถามมากกว่าทำตามคำสั่ง

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Character building
    สุภาวดี หาญเมธี: สันดานดี สร้างได้ ด้วย CHARACTER BUILDING

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

  • Dear Parents
    สงครามกลางบ้าน: อย่าคิดว่าเด็กไม่รู้ว่าผู้ใหญ่ทะเลาะกัน

    เรื่อง The Potential

Posts navigation

Older posts
Newer posts

Recent Posts

  • โหมโรง: ชีวิตก็เหมือนเสียงระนาด เรียนรู้จังหวะและเรียงร้อยให้ไพเราะในทางของตัวเอง
  • Toxic Masculinity: เมื่อ ‘ชายแทร่’ คือผลไม้พิษ สังคม-ครอบครัวต้องสร้างการเรียนรู้ใหม่…ไม่มีใครเหนือใครในความเป็นมนุษย์
  • ระลอกคลื่นยามค่ำคืน : อยู่อย่างไรในวันที่ส่วนหนึ่งของชีวิตล้มตายจาก
  • ‘เปลี่ยนความพิเศษเป็นพลัง’ ลบคำว่า ‘สงเคราะห์’ ออกจากการศึกษาของเด็กพิเศษ: ผศ.ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม
  • เพราะ ‘ข่าวร้าย’ มักดึงดูดใจกว่า ‘ข่าวดี’: Doomscrolling พฤติกรรมเสพข่าวร้ายไม่หยุด ที่ต้องหยุดตัวเองก่อนเสียสุขภาพจิต

Recent Comments

  • Existential crisis: วิกฤตชีวิตที่มาพร้อมกับคำถาม “แล้วฉันอยู่เพื่ออะไร” – EducationNet on Midlife Crisis: เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ทำไมใจถึงวิกฤต
  • The Psychological Wounds of Winnie the Pooh and His Friends: Exploring Characters from a Classic Literary Work - World Today News on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • Exploring the Psychological Wounds of Winnie the Pooh and Friends: A Fascinating Analysis - Archyde on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • 6 วิธีฝึกสอนให้ลูกเป็นเด็กมี Critical Thinking ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต – โรงเรียนมารีวิทยา ป on CRITICAL THINKING: สอนเด็กให้รู้คิด ผิดหรือถูกก็ใช้วิจารณญาณเป็น
  • Best รูป พลเมือง ดี Update New – Haiduongcompany.com on สอนและสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เรื่องไม่ง่ายที่ครูทำได้

Archives

  • May 2025
  • April 2025
  • March 2025
  • February 2025
  • January 2025
  • December 2024
  • November 2024
  • October 2024
  • September 2024
  • August 2024
  • July 2024
  • June 2024
  • May 2024
  • April 2024
  • March 2024
  • February 2024
  • January 2024
  • December 2023
  • November 2023
  • October 2023
  • September 2023
  • August 2023
  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • October 2021
  • September 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • April 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • November 2019
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017

Categories

  • Uncategorized
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel