Skip to content
โฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brain
  • Creative Learning
    Creative learningLife Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique Teacher
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Character building21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learning
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
โฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brain

Year: 2019

ดนตรีบำบัด: ไม่ใช่แค่ฟังแต่ร้องมันออกมา ให้ท่วงทำนองเยียวยา เสียงเพลงสร้างพัฒนาการชีวิต
Family Psychology
19 November 2019

ดนตรีบำบัด: ไม่ใช่แค่ฟังแต่ร้องมันออกมา ให้ท่วงทำนองเยียวยา เสียงเพลงสร้างพัฒนาการชีวิต

เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา ภาพ สิทธิกร ขุนนราศัย

  • ณภัทร ชัยสุบรรณ์กนก หรือ ครูมัย เป็นนักดนตรีบำบัดในแนวทางมนุษยปรัชญาและเป็นครูสอนดนตรีในโรงเรียนวอลดอร์ฟ 
  • ดนตรีบำบัดในแนวทางมนุษยปรัชญาทำงานได้สองแบบคือ 1. พัฒนาการ 2. เยียวยา โดยนักดนตรีบำบัดจะต้องเข้าใจที่มาของปัญหาที่เกิดขึ้น จากนั้นนำไปสู่การออกแบบดีไซน์กิจกรรมที่จะไปเยียวยาและพัฒนา โดยใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือ
  • ในทางมนุษยปรัชญา (anthroposophy) จะแบ่งความเป็นเด็กเป็น 3 ช่วงย่อยได้อีก คือช่วงอายุ 0-7 ปี, 7-14 ปี, 14-21 ปี ซึ่งดนตรีและเสียงเพลงจะเข้าไปทำงานกับเด็กแต่ละช่วงวัยต่างกัน

คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์บอกว่าดนตรีส่งผลให้สมองสองซีก ทำงานเชื่อมโยงกันได้ดี เพราะเสียงเพลงและจังหวะที่เหมาะสมจะกระตุ้นให้เกิดคลื่นสมองที่ช่วยเรียบเรียงความคิด การใช้เหตุผล ความคิดสร้างสรรค์ และการทบทวนความจำต่างๆ ได้ 

ยิ่งมองให้ลึกไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับเด็ก เราจะยิ่งพบความเชื่อมโยงหลายด้าน เพราะดนตรีมีอิทธิพลต่อการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม หรือสติปัญญา หากเลือกใช้ดนตรีที่เหมาะสมก็จะช่วยพัฒนาระบบต่างๆ ภายในสมองของลูกให้มีประสิทธิภาพได้มากขึ้น 

นี่จึงเป็นเหตุผลที่ศาสตร์แห่งดนตรีบำบัดใช้ยึดพิงหลังและบอกทุกคนว่า ดนตรีไม่ได้ให้แค่ความเพลิดเพลินและบันเทิงอารมณ์เท่านั้น แต่แฝงไปด้วยประโยชน์มหาศาล

The Potential สนทนากับ ณภัทร ชัยสุบรรณ์กนก หรือ ครูมัย นักดนตรีบำบัดตามแนวมนุษยปรัชญา (anthroposophy) เพื่อทำความเข้าใจถึงการใช้ดนตรีและเสียงเพลงเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้เหมาะสมตามวัยต่างๆ รวมถึงทำความเข้าใจ ‘ปรัชญาแห่งดนตรีบำบัด’ ว่า มีวิธีการทำงานอย่างไร ต่างจากวิชาดนตรีในห้องเรียนตรงไหน และใครบ้างที่เหมาะกับดนตรีบำบัด

ครูมัย-ณภัทร ชัยสุบรรณ์กนก

ครูมัยเข้ามาเป็นนักดนตรีบำบัดได้อย่างไร

เราชอบดนตรี และมีแพชชั่นตั้งแต่เด็กมัธยมว่าอยากเป็นนักเปียโน เพราะว่าเราเห็นครูที่โรงเรียนเล่นดนตรีมาตลอด ในขณะเดียวกันเรายังมีโอกาสได้ร้องเพลง ได้สัมผัสกับดนตรีเยอะมาก จนถึงช่วง ม.2 เราจึงตัดสินใจอยากจะเรียนดนตรีจริงจัง จังหวะเดียวกันกับที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเป็นปีแรกพอดี เราจึงอยากจะเข้าไปเรียน ตอนนั้นตัดสินใจเรียน คิดแค่เพราะชอบดนตรีเพียวๆ ไม่ได้คิดอยากจะเป็นครู ไม่ได้อยากเป็นนักบำบัด 

พอเรียนจบจากจุฬาฯ มา อาชีพแรกที่เราทำคือการเป็นครูสอนเปียโนตามโรงเรียนหรือสอนส่วนตัวทั่วไปธรรมดาๆ เป็นจังหวะเดียวกันกับในช่วงนั้นทางโรงเรียนอนุบาลบ้านรัก กำลังหาคนมาเล่นเปียโนประกอบในวิชายูริธมี (Eurythmy) ให้เด็กอยู่พอดี ซึ่งวิชานี้ว่าด้วยการเคลื่อนไหวให้เข้ากับภาษาและดนตรีอย่างสวยงาม เราก็ไปเล่นโดยที่ยังไม่รู้จักว่าอะไรคือยูริธมี แต่พอได้ลอง เราเห็นถึงการเคลื่อนไหวที่มันไปกับเสียงจริงๆ มันไม่ใช่การเต้น ไม่ใช่บัลเล่ต์ มันคือการเคลื่อนไหวที่ผูกเนื่องกับจิตวิญญาณ และนั่นเป็นครั้งแรกที่ทำให้รู้จักดนตรีในแนวมนุษยปรัชญา (anthroposophy)

เราเริ่มจากการเป็นนักดนตรี เล่นเปียโนตามงานต่างๆ ขยับมาเป็นครูสอนดนตรี และได้เริ่มมีอาชีพใหม่ โดยเป็นครูเปียโนประกอบวิชายูริธมี เราทำมาเรื่อยๆ จนกระทั่ง ‘โรงเรียนแสนสนุกไตรทักษะ’ ซึ่งเป็นโรงเรียนแนวทางเลือกแนววอลดอร์ฟ กำลังเปิดสอน ‘วิชาดนตรีบำบัด’ โดยครูนักดนตรีบำบัดชาวเยอรมันอยู่ เราถูกชักชวนจากรุ่นพี่จึงตัดสินใจเข้าไปเรียนศาสตร์นี้เพิ่มเติม

ตอนนั้นที่ตัดสินใจไปเรียนเราคิดแค่ว่า ถ้าความรู้ด้านดนตรีที่เรามีติดตัว มันสามารถช่วยคนได้ เราก็อยากจะทำ จึงเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เข้าไปเรียนรู้ดนตรีบำบัดเพิ่มเติมกับครูสเตฟาน (Stephan kühne) นักดนตรีบำบัดแนวมนุษยปรัชญาชาวเยอรมัน นับจากวันนั้นถึงวันนี้ก็ประมาณ 15-16 ปีแล้ว 

‘ดนตรีบำบัด’ ในแนวมนุษยปรัชญาคืออะไร

ขออธิบายให้เข้าใจถึงแนวทางมนุษยปรัชญาก่อน​ มนุษยปรัชญา คือ ปรัชญาที่มาจากเยอรมนี โดย รูดอร์ฟ สไตเนอร์ มีสาขาสำคัญที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทั้งสิ้น 3 สาขา 

หนึ่ง – การแพทย์ 

สอง – การศึกษา 

สาม – การเกษตรแบบพลวัต​ 

โดย ‘ดนตรีบำบัด’ จะทำงานอยู่ตรงกลางระหว่างการแพทย์และการศึกษา เพราะด้วยตัวบทบาทหน้าที่ของดนตรีเองแล้ว สามารถทำงานได้สองแบบคือ 1.ช่วยเรื่องพัฒนาการ 2. เยียวยา ในฐานะครูดนตรีที่ทำงานอยู่กับเด็กตลอด ​สิ่งที่สำคัญคือการเข้าใจธรรมชาติแต่ละช่วงวัยของเขา เพื่อคิดต่อไปว่าเราจะออกแบบกิจกรรมโดยใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือเชื่อมไปถึงเขา เพื่อไปพัฒนาและใช้เยียวยาตัวเขาอย่างไร 

ดนตรีใช้ช่วยเยียวยาอย่างไร และใครเหมาะกับการใช้ดนตรีในการเยียวยา

ถ้าพูดถึงคำว่าเยียวยา เราต้องดูก่อนว่าเบื้องหลังของเขาเป็นอะไร ดนตรีบำบัดมีเป้าหมายเสมอ คุณต้องการอะไร ต้องการรักษาอาการไหน ดนตรีไม่ได้ให้แค่ความเพลิดเพลินอย่างเดียว เช่น เด็กพิเศษที่มีอาการน้ำลายไหลตลอดเวลา สิ่งที่นักดนตรีบำบัดทำคือการให้เด็กเป่าทรัมเป็ต หรือเครื่องดนตรีอื่นๆ ที่ต้องใช้ mouth piece ที่เขาต้องใช้การบังคับกล้ามเนื้อหรือรูปปาก ประเด็นสำคัญคือเราไม่ได้สอนให้เด็กเป่าทรัมเป็ตให้เป็น ให้ไพเราะ แค่ให้เขาได้เล่น แค่ฝึกเป่าให้มีเสียงออกมา ไม่จำเป็นต้องถูกตัวโน้ตหรือตรงจังหวะ แต่การเป่าจะไปช่วยกระตุ้นให้เขาควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณปากได้ และอาจจะส่งผลให้น้ำลายหยุดไหลได้ในที่สุด

ส่วนคนที่จะใช้ดนตรีเยียวยาได้นั้น ไม่ว่าใครก็ใช้ได้ ขึ้นอยู่กับตัวคนไข้ว่าเขาจะมั่นใจในดนตรีแค่ไหน การที่เราจะพาดนตรีกลับไปสู่ตัวคนไข้ มันก็ไม่ยากและมันก็ไม่ได้ง่าย ดนตรีอาจจะเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับใครหลายคน หลายคนปฏิเสธ ‘ไม่เอา ฉันเล่นดนตรีไม่เป็น’ แต่จริงๆ แล้วมันไม่เกี่ยวเลย

แล้วดนตรีทำงานด้านพัฒนาการอย่างไร

ถ้าโฟกัสในวัยเด็ก เราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า​ในสถานการณ์ปัจจุบัน​ เด็กๆ ​หลายคนต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องพัฒนาการ​ เราเคยสังเกตท่าทางเด็ก 9 ขวบคนหนึ่งซึ่งตามปกติแล้วเด็กอายุเท่านี้ควรจะเดินเต็มเท้าได้แล้ว แต่เด็กคนนี้เดินเงอะๆ งะๆ การเดินของเด็กไม่เฟิร์ม ไม่ฟอร์ม เราต้องกลับไปมองว่าเกิดอะไรขึ้นกับเด็กคนนี้ พอเจอปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว นำไปสู่การออกแบบกิจกรรมที่จะไปเสริมและพัฒนาเขา ซึ่งเราสามารถสังเกต​เด็กผ่านการนั่งคุยกับเขา​ ไปจนถึงการเล่นดนตรีและร้องเพลง​ ซึ่งบางครั้ง​เราจะสามารถ​มองเห็นปัญหา​ของเขาได้จากกิจกรรมต่างๆ อย่างชัดเจน

ยกตัวอย่าง เด็กคนหนึ่งเขามีปัญหาทางครอบครัว พ่อแม่แยกทางกัน ต่างคนต่างพยายามดึงลูกให้ไปอีกทาง เด็กจึงโตมาด้วยความรู้สึกไม่มั่นคง​ปลอดภัย​ ลักษณะท่าทางของเขา​ ก็จะไม่มั่นคง​ ไม่เฟิร์ม ตัวตนด้านในไม่แข็งแรง แตกสลาย เราจึงให้เด็กตีกลอง เพราะกลองมีความหนักแน่น มีจังหวะที่ดี คุณภาพเสียงของกลองจะให้ความรู้สึกหนัก มั่นคง ในการตีกลองกัน​ จะให้เด็กเริ่มจับจังหวะของกลองให้ได้  และพัฒนาไปจนถึงรูปแบบจังหวะต่างๆ​ ที่ยากและซับซ้อนมากขึ้น​ ซึ่งมันจะส่งผลไปถึงจังหวะชีวิตของเขา ความแน่วแน่มั่นคงของกลองจะทำให้เด็กรู้สึกเฟิร์มขึ้น และสร้างฟอร์มที่ดีขึ้นมาใหม่ได้

เวลาทำงานแต่ละเคส ครูมัยทำงานร่วมกับใครบ้าง

ถ้าเป็นการบำบัดรักษา เราต้องคุยกับแพทย์เสมอ เพื่อพิจารณาร่วมกันว่าแต่ละเคสมีปัญหาอะไรและเราจะแก้อย่างไร เช่น ผู้หญิงคนหนึ่งเป็นนักบัญชี มีความเครียดสะสม จนกล้ามเนื้อเกร็งไปทั้งตัว ส่งผลให้ปวดหัว จนกระดูกบริเวณคอมีอาการคดงอ เขาได้รับการรักษาโดยการฝังเข็มมาตลอด จนถึงจุดที่​ลึกเกินกว่าฝังเข็มได้แล้ว​ คุณหมอเลยส่งมาร้องเพลงกับเรา ปรากฏว่าอาการดีขึ้น กระดูกคอที่เคยคดเริ่มกลับคืนรูปเดิม และอาการเกร็ง ตึง เริ่มดีขึ้น เพียงแค่เขาร้องเพลง

การร้องเพลงจะช่วยบำบัดเยียวยาได้อย่างไร

ก่อนการร้องเพลงมันต้องวอร์มก่อน ซึ่งการวอร์มเสียงเป็นจุดสำคัญ เราไม่ได้วอร์มแค่เสียงเพื่อร้องเพลงเพราะ แต่เมื่อไรที่เราร้องเพลงร่างกายของเราจะกลายเป็นเครื่องดนตรี ดังนั้นการวอร์มก็เหมือนให้เรารู้จัก​การจัดการร่างกายคอ ไหล่ ท้อง จนไปถึงการเปล่งเสียงต่างๆ

ซึ่งเราจะรู้ได้เลยว่าคนไข้มีปัญหาอะไรจากการฟังเสียงของเขา คุณภาพของเสียงที่ออกมาจะฟ้องได้ทันที บางคนออกเสียงไม่ได้ บางคนออกเสียงตรงเกินไป กระแทก เสียงแข็ง นั่นเป็นเพราะเขาไม่ผ่อนคลาย ชีวิตเขาเกร็งสะสม อันเนื่องมาจากการใช้ชีวิตการงานแบบเป๊ะมากเกิน ไม่รู้จักหย่อน ถ้าปล่อยให้เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ อาจทำให้เขาป่วยได้

สำหรับครูมัย เราใช้ดนตรีทำงานกับอินเนอร์ของเขา ทำงานกับจิตวิญญาณ เสียงจึงเป็นตัวที่บ่งบอกตัวตนของคนไข้ชัดที่สุด ไม่มีใครในโลกที่เสียงเหมือนกันร้อยเปอร์เซ็นต์ เสียงเกิดข้างในผ่านกระบวนการของร่างกายทำงานร่วมกับสมองและเปล่งออกมาเป็นคำพูด ฉะนั้นคุณอาจจะไม่รู้ แต่เสียงที่เปล่งออกมานั้น มันบอกอะไรได้เยอะ บอกถึงข้างใน บอกได้ถึงใจ ครูมัยเคยมีประสบการณ์ตอนที่น้องสาวเสียชีวิต เราร้องเพลงไม่ได้นานถึง 3-4 เดือน เพราะใจมันไม่เปิด ข้างในมันเศร้า จนเราร้องเพลงไม่ได้ ดังนั้นเสียงแต่ละเสียงที่เปล่งออกมามันมีเรื่องของภาวะทางจิตใจเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งหมด

ครูมัยเคยพูดว่าถ้าจังหวะชีวิตดี เราก็จะเติบโตมาอย่างมั่นคง หมายความว่าอย่างไร

เด็กๆ เขาไม่รู้จังหวะตัวเองหรอก ถ้าเป็นสมัยก่อนเวลาแม่ทำงานบ้าน ลูกอยู่ที่ไหน ลูกอยู่กับอก หรือไม่ก็บนหลังแม่ การที่แม่ถูบ้าน ลูกจะสัมผัสจังหวะถูบ้าน​พร้อมกับเสียงร้องเพลงของแม่ 

จังหวะชีวิตของเด็ก ขึ้นอยู่กับคนที่อยู่กับเด็ก เด็กตื่นเป็นเวลาไหม กินข้าวตรงเวลาหรือเปล่า ไปโรงเรียน อาบน้ำ ถ้าทุกอย่างถูกทำให้เป็นจังหวะซ้ำๆ เป็น step เหมือนกันทุกวัน เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นคงมากๆ 

มีอีกตัวอย่าง เราเคยเจอเด็กที่ใช้ชีวิตแบบรวดเร็วฉึบฉับ พอเลิกเรียนแล้วไปนู่น ไปนี่ ไปกินข้าว ไปเรียนต่อ ไม่มีวันไหนที่เขาเลิกแล้วได้กลับบ้านได้พัก​ ได้เล่น เขาก็จะ​กลายเป็นเด็กที่ตื่นเต้นกับสิ่งรอบๆ ที่เปลี่ยนตลอด​เวลา​ ซึ่งอาจส่งผลให้เป็นสมาธิสั้น พอเรารู้ว่าเขามีพฤติกรรมแบบนี้ เราจะพาเขาร้องเพลง เล่นดนตรี​ แต่เรารู้สึกว่าปัญหาเหล่านี้มันต้องถูกแก้ร่วมกันกับที่บ้าน เราคุยกับคุณแม่เขาว่ามันเกิดอะไรขึ้น ครอบครัวสามารถสร้างจังหวะชีวิตให้ลูกได้ ให้เขาลองมีตารางเวลาที่ชัดเจน​ ได้เล่น​ ได้พักผ่อนตามสมควร​ คุณแม่ก็ต้องนิ่ง หนักแน่น ปรับจังหวะให้เขา​

พอพ่อแม่ร่วมสร้างจังหวะให้เขาแล้ว ดนตรีจะเข้าไปช่วยพัฒนาอย่างไรต่อ

เรากำลังพูดถึงจังหวะชีวิต ในทางมนุษยปรัชญาจะแบ่งความเป็นเด็กเริ่มตั้งแต่อายุ 0-21 ปี โดยสามารถแบ่งเป็น 3 ช่วงย่อยได้อีก คือช่วงอายุ 0-7 ปี, 7-14 ปี, 14-21 ปี ซึ่งถ้าเราดูพัฒนาการตั้งแต่แรกเกิด เด็กปฐมวัย (0-7 ปี)  เขาจะสามารถ คลาน นั่ง ยืน เดิน เป็นตามลำดับ ซึ่งพัฒนาการเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่เด็กเล็กต้องคิด เขาสามารถทำได้ด้วยความมุ่งมั่น (willing) ของตัวเอง 

ซึ่งเสียงที่ดีที่สุดสำหรับลูกวัยช่วงนี้ไม่ใช่อะไรอื่นไกล เพราะมันคือ ‘เสียงของแม่’/ ‘เสียงของครู’ การที่แม่ร้องเพลงหรือกล่อมลูกด้วยเสียงเพลงที่พ่อแม่ร้องเองด้วยจังหวะแบบนุ่มนวลอ่อนหวาน จะทำให้ลูกเกิดความคุ้นเคยและรู้สึกอบอุ่นมาก เสียงเพลงที่เด็กๆ ได้รับนั้น ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในแบบที่เหมาะสมกับวัยของตัวเอง

ช่วงเริ่มเข้าวัยรุ่น (7-14 ปี) เด็กช่วงนี้เขาจะเติบโตไปกับเรื่องของความรู้สึก (feeling) ซึ่งช่วงเวลาที่เด็กตื่นตัวเต็มที่คือช่วงอายุ 9 ขวบ เป็นช่วงที่ร่างกายผลิตโดพามีน (Dopamine) ออกมาตามธรรมชาติ​ ส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลให้มีความตื่นตัว ทำให้เด็กวัยนี้มีความรู้สึก​ไวต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวมาก

คุณเคยเจอเด็กๆ ในช่วงวัยนี้ที่ทำบางอย่างผิด​ จำนนต่อหลักฐาน​ แต่ใจ​ไม่​ยอมรับว่าผิดไหม นั่นเพราะเขารู้สึกว่าตัวเองไม่ได้ผิด เขาจึงปฏิเสธ นี่เป็นลักษณะเฉพาะของเด็กในวัยนี้ การยกเหตุผลขึ้นมาจึงไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่เราจะพูดคุยกับเด็กวัยนี้ ถ้าเราจะดีลกับเขา แนะนำให้โยงไปเรื่องความรู้สึกให้หมด เช่น ประโยคที่ว่า “หนูทำผิด หนูทำแบบนี้ไม่ได้!” อาจไม่สำคัญเท่า “หนูทำแบบนี้แล้วแม่รู้สึกเสียใจนะ” เด็กวัยนี้เขาจะสัมผัส จะเข้าใจ จะมีเซนส์เรื่องความรู้สึกมากกว่า นี่จึงเป็นเหตุผล​ที่โรงเรียนวอลดอร์ฟที่​เปิดสอนเด็กระหว่าง 7-14  ปี จึงเน้นเรื่องศิลปะเยอะมาก เพราะศิลปะช่วยหล่อเลี้ยงความรู้สึกของเขา ส่งผลให้มีความเข้าใจเรื่องต่างๆ​ ด้วยหัวใจจริงๆ​

ดังนั้นโรงเรียนที่ครูมัยสอนจะดูแลเด็กช่วงนี้ด้วยการให้เขาเริ่มเล่นเครื่องสาย เด็กๆ จะได้เริ่มเล่นไวโอลิน หรือ เชลโล ในช่วงแรกเครื่องสายสามารถทำให้เกิดความสมดุลได้ เด็กจะต้องนิ่ง​ฟัง​อย่างละเอียด​ และเล่นให้ได้เสียงที่แม่นยำจากการฟังนั้น

ช่วง 9-12 ปี เป็นการเริ่มเล่นดนตรีจริงจังในกลุ่มเครื่องสาย เช่น ไวโอลิน หรือเชลโล หลังจากนั้น​ เด็กๆ ​จะเริ่มเลือกเครื่องดนตรีที่อยากเล่นด้วยตัวเอง

ส่วนช่วงสุดท้าย (14-21 ปี) เป็นช่วงแห่งการคิด (thinking) ถ้าเด็กมีจังหวะชีวิตที่ดี และรู้จักการจัดการความรู้สึกของตัวเอง จะนำไปสู่การ ‘คิด’ ได้ด้วยตัวเอง สังเกตได้ว่าเด็กในช่วงอายุ 14-21 ปี จะเรียนในแบบการให้ฝึกคิดวิเคราะห์และมีเหตุผล 

หากต้องการจะใช้ดนตรีในการเลี้ยงลูก ต้องใช้ดนตรีประเภทไหนให้เหมาะกับลูกแต่ละวัย และดนตรีเหล่านั้นไปทำงานกับเซนส์ของลูกอย่างไร

อายุ 0-7 ปี: เด็กเล็ก ก่อน ป.1 สิ่งที่ดีที่สุดคือเสียงพ่อแม่เขา ถ้าพ่อแม่ร้องเพลงกับลูก​ นั่นคือดีที่สุด เพราะเขาไม่ได้ฟังแค่เสียง เขาไม่ได้สนใจว่าพ่อแม่ร้องเพลงเพี้ยนไหม แต่เสียงเหล่านั้นมันเป็นเสียงที่มีความรัก ความอบอุ่น เด็กจะรับสิ่งนั้นได้

พ่อแม่หลายคนบอกว่าอยากให้ลูกรักดนตรี แต่ไม่เคยร้องเพลงกับลูก​ อย่าหวังว่าลูกจะรักดนตรี ลูกจะรักดนตรีเมื่อพ่อแม่รักดนตรีและใช้ดนตรีและเสียงร้องเพลงเลี้ยงเขา โดยไม่จำเป็นต้องใช้เพลงเด็ก เพลงอะไรก็ได้ แต่ไม่ใช่จังหวะหนักๆ เพราะจังหวะที่เร้ามากเกินไปจะส่งผลให้เด็กตื่นก่อนวัย คาแรคเตอร์ของเด็กเล็กคือเขาจะอยู่ในห้วงภวังค์ฝัน อ่อนหวาน เบลอๆ ไม่มีความฝันไหนที่มีลักษณะเป็นเสียงกลองหนักๆ ฉะนั้นเพลงที่เหมาะกับเด็กวัยนี้คือเพลงที่มีเสียงและจังหวะที่อ่อนโยน ดีที่สุดเมื่อพ่อแม่ร้องเพลงให้ลูกฟัง

อายุ 7-14 ปี: เด็กช่วงนี้มาพร้อมกับความรู้สึกเต็มเปี่ยม เขาจะชอบเพลงที่ตรงกับความรู้สึกตัวเอง โดยเฉพาะช่วงหลังอายุ ​12​ เด็กๆ จะเริ่มเลือกฟังเพลงต่างๆ ด้วยตัวเอง​ พ่อแม่อาจแนะนำเพลงดีๆ ให้ลูกได้​ แต่เด็กก็จะชอบเพลงที่เขาเลือกฟังด้วยตัวเองมากกว่า​ ลูกจะชอบเพลงที่มีทำนองเพราะๆ​ ใช้ภาษาสวยๆ จังหวะดีๆ​ ​ไม่ว่าจะเป็น เพลงเกาหลี เพลงไทย ทุกอย่างจะเป็นไปตาม feeling ของเขา 

อายุ 14-21 ปี: เด็กช่วงนี้จะเลือกฟังดนตรีด้วยตัวเอง​ ในฐานะพ่อแม่เราสามารถเตรียมสิ่งที่คิดว่าดีไว้ให้เขาได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงช่วงระยะหนึ่งเท่านั้น จากนั้นเขาจะกลายเป็นผู้เลือกเอง พ่อแม่ควรเคารพการเลือกของเขา

ส่วนเด็กทารกที่อยู่ในท้อง ส่วนตัวครูมัยไม่เชื่อวิธีการเอา ear pod จ่อท้องให้ลูกฟัง แต่เราเชื่อว่าเขาจะฟังเพลงไปพร้อมแม่ ด้วยประสบการณ์​ส่วนตัว​ ตอนที่กำลังอุ้มท้อง​ ได้ไปชมการแสดงของวงดุริยางค์ขนาดใหญ่ ช่วง​ที่วงบรรเลงจังหวะหนักแน่น​ ฮึกเหิม​ปรากฏว่าลูกดิ้นแรงทีเดียว พอเพลงหยุด ลูกก็หยุด​ไปด้วย​ พอดนตรีเริ่มอีกครั้ง​ ลูกก็เริ่มดิ้นอีกครั้ง​​ เด็กที่อยู่ในท้อง เขารับรู้ถึงเสียงได้แต่ไม่ถึงขั้นแยกแยะรายละเอียดออก ดังนั้นเสียงของแม่จึงสำคัญมากๆ เพราะอยู่ใกล้เขาที่สุด ลูกคุ้นเคยที่สุด  

สังเกตได้จากเด็กเล็กๆ เวลาเขาตื่นมาแล้วไม่เจอใคร ร้องไห้งอแง แค่แม่ตะโกนกลับมาว่า ‘แม่อยู่นี่ลูก’ โดยที่ลูกไม่ต้องเห็นหน้าพ่อแม่ แค่เสียงก็ทำให้เขาสงบลงได้

แล้วในกรณีเด็กพิเศษต่างๆ ดนตรีเข้าไปช่วยบำบัดอย่างไร

ครูจะตอบแบบใช้ประสบการณ์ตัวเอง เด็กออทิสติกหลายคนพูดไม่ได้แต่ร้องเพลงได้ ทำไมเขาส่งเสียงเป็นทำนองได้ เพราะเดิมทีการเป็นออทิสติกมันคือการบกพร่องเรื่องการสื่อสาร พวกเขาจึงไม่สามารถปั้นคำออกมาให้เป็นคำพูดได้ แต่อย่างที่บอกเขาพัฒนาได้แต่ช้าและต้องใช้เวลา ซึ่งเวลา 10 ปีที่สอนมา เราพบว่า การที่เราพูดนำ-เด็กเห็น-เด็กทำตาม เราพูดนำ-เด็กเห็น-เด็กทำตาม ไปเรื่อยๆ เป็นเวลานาน เช่น เราร้องเพลง เราอ่านนิทาน เราท่องกลอน เมื่อเราทำซ้ำๆ ให้เด็กดูก่อนจากนั้นให้เขาลองทำด้วยตัวเอง ท้ายที่สุดจะทำให้เขาสื่อสารออกมาได้ ซึ่งธงของครูในการบำบัด ไม่ใช่แค่การสื่อสารได้ เรามองไปถึงเรื่องมูฟเมนท์ การเคลื่อนไหว การขยับ ทุกอย่างมันจะ devolope ขึ้นมาได้เรื่อยๆ ด้วยดนตรี

เด็กที่มีภาวะนี้ เขาจะอึดอัดในตัวเองอยู่แล้วที่เขาสื่อสารไม่ได้ แต่พอเขาได้ร้องเพลง ได้เอาพลังออก ปัญหาการกรีดร้องก็ลดลง ความโกรธในตัวเองก็ลดลง เริ่มฟังคนอื่นมากขึ้นเพราะเขาต้องฟังดนตรี ได้ฝึกการรอคอย ทุกอย่างมันจะค่อยๆ พัฒนาตามลำดับ

ไม่ต่างจากคนที่เป็นภาวะซึมเศร้า ดนตรีจะช่วยบำบัดให้เขาได้เอาบางอย่างออกมา เพราะภาวะซึมเศร้าคือการเก็บ การซ่อนอะไรบางอย่างในตัว การร้องเพลงจะช่วยให้เขาปล่อยมันออกมา

อยากให้ครูยกตัวอย่างในคลาส ใช้ดนตรีบำบัดอย่างไร

ครูมัยมีคลาสที่ดูแลออทิสซึมที่อยู่ในวัย 30 ปี ขออธิบายก่อนว่าภาวะนี้เขามีพัฒนาการนะ แต่แค่พัฒนาการช้า มีเคสหนึ่งที่เคยดูแล เขาพูดไม่ได้ เหม่อลอย เราใช้กิจกรรมตีกลอง เพื่อให้เขาเดินตามเสียงที่เราตี หรือบางครั้งเราก็ให้เขาตีแล้วเราเดินตามเสียงที่เขาตี แต่เมื่อเขาเหม่อลอย ไม่เดินตาม เราก็ไม่รู้จะทำอย่างไร เลยเอากลองไปไว้ตรงหน้าเขาสักพัก เขายกมือขึ้นตีกลอง เราก็ประหลาดใจ นี่คือสัญญาณอย่างหนึ่งที่บอกว่า เขารู้ว่าเมื่อเจอกลอง เขาต้องตี แสดงว่าทุกครั้งที่เราบำบัดกับเขา เขาเข้าใจนะ ถึงแม้อาจจะรับได้ไม่ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างน้อยมันทำให้เขาเริ่มรู้ตัว มันช่วยทำให้เขารู้จักมือของตัวเอง ให้รู้ว่าเขามีมือนะ มือทำกิจกรรมอื่นๆ ได้ มือใช้ตีกลองได้นะ ไม่ใช่แค่หยิบอาหารเข้าปาก นี่คือสิ่งสำคัญมาก

เด็กที่คลุกคลีกับดนตรี กับเด็กที่ไม่ได้โตมาพร้อมดนตรี คาแรคเตอร์จะต่างกันอย่างไร

ครูมัยเองก็โตมาในครอบครัวที่พี่น้องเรียนสายวิทยาศาสตร์​ ในความเห็นครูมัยคิดว่าเด็กทุกคนรักดนตรี เด็กที่ห่างเหินจากดนตรีเราต้องมองและตั้งคำถามไปว่าเป็นเพราะอะไร เขาเรียนอย่างเดียวหรือเปล่า พ่อแม่ไม่ให้ทำอะไรอย่างอื่นเลยหรือเปล่า จริงๆ เขาอาจจะมีเพลงที่เขาชอบซ่อนอยู่ลึกๆ ก็ได้ แต่ว่าพ่อแม่เห็นหรือเปล่า หรือคนอื่นมองว่ามันสำคัญกับเขาหรือเปล่าเท่านั้นเอง

ปัจจุบันศาสตร์ต่างๆ เพื่อใช้ในการบำบัดเยอะมาก ทั้งการเล่น ศิลปะ ซึ่งแต่ละศาสตร์ก็มีจุดเด่นเป็นของตัวเอง แล้วดนตรีบำบัดเป็นอย่างไร

จุดแข็งคือ มีมนุษย์น้อยคนที่จะเกลียดดนตรี มันเป็นสิ่งที่ทำให้ทุกคนเปิดใจได้ง่าย เพราะดนตรีส่งผลถึงความรู้สึกโดยตรง คนจะมีความรู้สึกกับดนตรีที่เกิดขึ้นกับเขาเสมอ ฉะนั้นนี่จึงเป็นเหตุผลที่ดนตรีเปิดความรู้สึกคนได้ง่าย และเมื่อเขาเปิดใจแล้ว ในแง่ของการบำบัดรักษาก็จะง่ายขึ้น

ในทาง anthroposophy บอกว่ามีศิลปะอยู่ 7 แขนงที่ให้ผลต่อการเปลี่ยนแปลงและสามารถเยียวยามนุษย์ได้ โดยที่ไม่ได้เซ็ตว่าเป็นการบำบัด นั่นคือ architecture / molding / painting / music / speech and drama / eurythmy ดนตรีทำให้เราสบายใจ

สำหรับครูการบำบัดไม่ใช่การฟังดนตรีอย่างเดียว เพราะการฟังมันคือการนำเข้า ยิ่งถ้ารับมากไป มันจะไม่มีทางออก ทุกอย่างมันจะเต็มแน่นอยู่ในตัว มันก็ป่วยได้ ฉะนั้นสิ่งที่จะช่วยเขาคือการร้องเพลง จุดประสงค์ไม่ใช่การสำรวจว่าเขาร้องผิดคีย์ไหม เพี้ยนไหม แต่เพื่อให้เขาเอาออกมาบ้าง

ครูขอเล่าตัวอย่าง มีนักเรียนคนหนึ่งเป็นนักเรียนเปียโน เวลาเขาเล่นผิดเขาจะเริ่มใหม่ ผิดเริ่มใหม่ ผิดเริ่มใหม่ ผิดอยู่นั่นแหละ ที่เดิมซ้ำๆ จนเครียดสะสม ครูถามว่างานอดิเรกของเขาคืออะไร เขาชอบอ่านหนังสือ ฟังเพลง มีแต่กิจกรรมรับเข้าทั้งนั้น ไม่มีการเอาออกเลย มันอัดเข้า อัดเข้า จนมันเต็มตัว ครูจึงแนะนำให้เขาไปหากิจกรรมอย่างอื่นทำที่เอาพลังแข็งๆ ออกจากตัวบ้าง เช่น ตีเทนนิส กระโดดเต้น เมื่อสลัดให้หลุดแล้วเขาจะมีสุขภาพกายและใจที่ดีขึ้น

ถ้าเช่นนั้น การร้องคาราโอเกะก็ได้เหมือนกัน?

ก็ได้นะ แต่การร้องคาราโอเกะหมายถึงคุณร้องกับเครื่อง มันไม่มีชีวิต ซึ่งแนวทางดนตรีบำบัดจะไม่ใช้การบำบัดกับเครื่อง เพราะเราเชื่อว่าคนให้พลังมากกว่าอุปกรณ์ต่างๆ เพราะมนุษย์เรามีความสด ความไม่เป๊ะ ผิดก็ได้ มันคือพลังอย่างหนึ่ง เพราะพอยท์ของเราไม่ใช่การร้องเพลงอย่างถูกต้อง พอยท์ของเราคือการช่วยให้เขาได้เปล่งเสียงออกมา และในความเป็นการบำบัด เมื่อเสียงที่ถูกปล่อยออกไปมากพอ กระแสของมันจะม้วนกลับมาหาต้นทาง​ และพลังที่กลับมานี่เอง​ ที่มีคุณภาพในการเยียวยา

ที่ครูมัยบอกว่า “ดนตรีทำงานกับคน” มันดูนามธรรมมากๆ เราจะตรวจสอบได้อย่างไรว่ามันทำงานได้จริงหรือเปล่า

ประเด็นนี้มันเป็นที่สงสัยอยู่แล้ว ​คนที่จะบอกได้ก็คือ​ คุณหมอ​ที่ตรวจคนไข้​ ดูผลเลือด​ หรือผลตรวจจากเครื่องตรวจต่างๆ​ แต่เท่าที่เห็นและเราทำงานกับมันมา มันได้ผลดีมาก มีบางคนที่มาบำบัดแล้วเขารู้สึกว่าทางนี้ไม่ตอบโจทย์ แม้เราตั้งใจมากๆ เพราะอยากช่วยเขา แต่ก็เข้าใจได้ แล้วแต่ destiny ระหว่างกัน​ (หัวเราะ) เพราะก็มีหลายๆ เคสที่ได้ผล เช่น ผู้หญิงที่เคยกระดูกคอคด ที่คุณหมอส่งมาร้องเพลงกับเรา ทำให้อาการเกร็ง ตึง จากความเครียดเริ่มดีขึ้น คุณหมอพอใจมาก

ภาพรวมของดนตรีบำบัดในประเทศไทยเป็นอย่างไร

ภาพรวมของดนตรีบำบัดดีขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดมีภาควิชาเปิดให้เรียนในมหาวิทยาลัยมหิดล เรียนเพื่อเป็นนักดนตรีบำบัดโดยเฉพาะ แต่ไม่แน่ใจเรื่องข้อมูล เพราะครูมัยโตมากับแนวทาง anthroposophy โดยเฉพาะ เรามองมนุษย์และดนตรีในแบบที่เรามอง เราดีไซน์เนื้อหาและครีเอทกิจกรรม วิธีการบำบัดกับคนไข้ให้เหมาะสมที่สุด เลยไม่แน่ใจพวกหลักสูตรกระแสหลักเท่าไร แต่สะท้อนว่าประเทศไทยเริ่มให้ความสำคัญกับศาสตร์นี้แล้ว

Tags:

จิตวิทยาดนตรีการศึกษาแนววอลดอร์ฟ(Waldorf)ณภัทร ชัยสุบรรณ์กนกพ่อแม่

Author:

illustrator

รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

หลงใหลถุงผ้ากับกระบอกน้ำ เริ่มต้นอาชีพด้วยการฝึกปรือและอยู่กับผู้คนในประเด็นการศึกษา สนุกจะคุยกับเด็ก ชอบฟังเรื่องเล่าในห้องเรียน ที่สนใจการเรียนรู้ก็เพราะเชื่อว่านี่เป็นใบเบิกทางให้ขยายขอบขีดความสามารถตัวเอง ฝันสูงสุดคืออยากเห็นตัวเองทำงานสื่อสารที่มีคุณภาพและคุณค่าต่อไป

Photographer:

illustrator

สิทธิกร ขุนนราศัย

Related Posts

  • Family Psychology
    ดนตรีบำบัดสร้างจังหวะของลูกให้ตรงกับจังหวะของโลก

    เรื่อง The Potential

  • Family Psychology
    ดนตรีแบบไหน เหมาะกับวัยลูก

    เรื่องและภาพ The Potential

  • BookFamily Psychology
    การแบ่งปันอารมณ์ความรู้สึกในครอบครัวคือขุมพลังชีวิตของลูก

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Family Psychology
    เล่าเรื่องอย่างใส่ใจใคร่ครวญ: พ่อแม่เข้าใจตัวเองมากเท่าไหร่ ยิ่งเข้าใจลูกมากเท่านั้น

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Family Psychology
    ไม่ผิดหรอกหากพ่อแม่จะกอดตัวเองบ้าง

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

ง่ายเกินไปก็ไม่เรียนรู้ ‘ความยากลำบาก’ จึงเป็นหนึ่งในวิชาที่เราต้องเรียน
Growth & Fixed Mindset
18 November 2019

ง่ายเกินไปก็ไม่เรียนรู้ ‘ความยากลำบาก’ จึงเป็นหนึ่งในวิชาที่เราต้องเรียน

เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา ภาพ บัว คำดี

  • สาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กท้อแท้กับการเรียน อาจไม่ใช่ความยาก ความซับซ้อนของการบ้านหรือโครงงาน อย่างที่ครูเข้าใจผิดจนมอบหมายงานที่ง่ายเกินไปให้
  • จากการวิจัย หนึ่งในสามของเด็ก ม.2 ในสหรัฐ บอกว่างานที่ได้รับมอบหมายนั้นง่ายเกินไป จนไม่ได้เรียนรู้อะไร
  • ประโยชน์ของงานยาก คือ เหลาความคิด เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้จิตใจ แต่ควรอยู่ในระดับ ‘ยากเพียงพอ’ 

ความยากลำบากในห้องเรียนที่มาในรูปของการบ้าน โครงงาน หรือเนื้อหาโจทย์ซับซ้อนมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กท้อแท้กับการเรียน บางครั้งคุณครูจึงรู้สึกว่านักเรียนน่าจะโอเคมากกว่าถ้าให้งานที่ไม่ยากเกินไปนัก เด็กจะได้ทำสำเร็จด้วยตนเอง

แต่เมื่อปี 2012 ทีมวิจัยแห่งสถาบัน Center for American Progress วัดผลการประเมินประสิทธิภาพด้านการศึกษาแห่งสหรัฐ กลับพบว่า กว่าหนึ่งในสามของนักเรียนในระดับเกรด 8 (ชั้น ม. 2 บ้านเรา) มีความเห็นว่าเนื้อหาการสอนและการบ้านที่พวกเขาได้รับมอบหมายนั้นง่ายเกินไป ทำให้พวกเขาไม่ได้อะไรในการเรียนรู้

รายงานนี้บ่งบอกว่าการศึกษากำลังสวนทางกับนโยบายที่มุ่งเน้นให้พัฒนาทักษะการคิดด้วย Growth Mindset ที่ต้องการดึงพลังศักยภาพผู้เรียนผ่านการขับเคี่ยวฝึกฝนให้เขาทำสิ่งใหม่ที่ไม่เคยทำหรือไม่ใช่ความถนัดเพื่อสร้างและขยายทักษะที่มีให้หลากหลาย กับทั้งฝึกให้พวกเขาเข้าใจว่าความผิดหวัง และข้อผิดพลาดเป็นส่วนหนึ่งในความยากลำบากที่ทุกคนต้องเจอะเจอก่อนประสบความสำเร็จ

แอนนี บร็อค (Annie Brock) และ ฮีเธอร์ ฮันด์ลีย์ (Heather Hundley) ผู้เขียน The Growth Mindset Coach ย้ำว่าหากเด็กไม่เคยเจอความลำบากก็ยากที่จะเติบโตทางปัญญา คนเราถ้าไม่เคยเสี่ยงก้าวไปข้างหน้าด้วยตนเอง ไม่เคยล้มแล้วลุกขึ้นเอง แล้วจะซาบซึ้งกับระยะทางที่ตนเองเดินมาได้อย่างไร

ส่วนผสมของสูตรสร้างเสริมการเติบโตทางปัญญาคือการหยิบยื่นงานยากๆ ท้าทายทักษะความสามารถของเด็กๆ เพื่อเหลาความคิดให้เฉียบคมและเสริมเกราะใจให้กล้าแกร่งกับอุปสรรคขวากหนามในชีวิตจริง มากกว่าให้เขาสมหวังเพียงแค่รู้สึกเก่งสมบูรณ์แบบในชั้นเรียน

นอกจากบรรยากาศในชั้นที่ควรเอื้อให้กล้าคิดกล้าตอบ แผนการสอน รวมถึงการบ้านที่มอบหมายให้เด็กๆ ในชั้นควรออกแบบให้ ‘ยากเพียงพอ’ รวมทั้งต้องคาดหวังว่านักเรียนแต่ละคนจะมีพัฒนาการและประสบความสำเร็จเอาไว้ให้สูง ใน the Growth Mindset Coach สรุปสูตรสร้างการเติบโต หรือ A Formula for Growth ไว้ง่ายๆ อย่างนี้ 

บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ + งานที่ท้าทาย + ความเชื่อว่าเด็กจะทำได้ = การเติบโต

สอนคุณค่าและความหมายของความยากลำบาก

ไม่มีเด็กคนไหนอยากทำงานยากๆ โดยไม่รู้ว่าเขาจะได้อะไรกลับไป คุณค่าและความหมายไม่อาจถูกจับต้องมองเห็นได้ หากครูไม่ได้สื่อสารเป้าหมายให้เขาประจักษ์ตั้งแต่แรก ลองตั้งคำถามตามด้านล่างระหว่างเตรียมการสอนเพื่อเช็คตนเองดูว่าเราได้สอดแทรกความยากลำบากที่ท้าทายศักยภาพผู้เรียนเพียงพอแล้วหรือยัง 

  • เราเป็นครูที่เชื่อว่าเด็กๆ เรียนรู้ และพัฒนาได้ใช่ไหม
  • เด็กๆ มีเป้าหมายการเรียนรู้อย่างไรบ้าง และฉันจะทำอย่างไรให้พวกเขาบรรลุเป้าหมาย
  • ฉันคาดหวังให้เด็กเรียนรู้อะไรจากบทเรียนนี้ และจะรู้ได้อย่างไรว่าเขาเข้าใจมันดีแล้ว 
  • ฉันจะสนับสนุนหรือไกด์อย่างไรที่จะช่วยกระตุ้นพวกเขาให้ตั้งคำถาม กล้าคิด และกล้าลงมือ 
  • นักเรียนกล้าหรือกลัวกับความยากลำบาก และเราจะกระตุ้นหรือส่งเสริมให้พวกเขากล้าอย่างไร
  • เด็กๆ เข้าใจคุณค่าและความหมายจากกระบวนการเรียนรู้หรือไม่ 
  • ฉันจะปรับการบ้านและโจทย์ให้ยากง่ายเหมาะสมกับแต่ละคนได้อย่างไร 
  • ทำอย่างไรให้นักเรียนในชั้นแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกันและกันอย่างเกื้อกูล
  • นักเรียนมีตัวช่วยหรือแหล่งข้อมูลเสริมอื่นใดบ้างที่สามารถพึ่งพาเมื่อเจออุปสรรคปัญหา ฉันควรแนะนำแค่ไหนจึงจะพอดี
  • ฉันแสดงให้พวกเขาเห็นว่าฉันมีความคาดหวังในงานของพวกเขาแล้วหรือยัง 

คำถามเหล่านี้อาจช่วยร่างภาพของชั้นเรียนในหัวได้บ้างว่าจะวางทิศทางการสอนแบบใด โดยเฉพาะถ้าพิจารณาถึงระดับการเรียนรู้ของแต่ละคนซึ่งถนัดเร็วช้าหนักเบาไม่เท่ากัน ความยากง่ายของงานที่ให้แต่ละคนรวมทั้งความคาดหวังที่มีก็ควรต้องปรับให้เหมาะสมกับแต่ละคนตามไปด้วย  

หากเอ่ยกันตามตรงแล้ว เด็กๆ ควรหลุดพ้นจากห้องเรียนที่คาดหวังให้เขามีทักษะการเรียนรู้ระดับเดียวกันเสียที เป็นไปไม่ได้ที่พวกเขาจะตอบหรือมีวิธีทำความเข้าใจแบบฝึกหัดหรือโจทย์ปัญหาได้เหมือนกันทั้งห้อง ที่เป็นไปได้คือครูควรสร้างพื้นที่เรียนรู้ที่ช่วยกระตุ้นศักยภาพที่ทุกคนมีต่างกันได้อย่างเป็นธรรมสมเหตุสมผลกับแต่ละคน (equity) โดยเคี่ยวเข็ญผลักดันทักษะจำเป็นที่แตกต่างในแต่ละคนแทนที่จะใช้วิธีเดียวกันเหมือนกันกับทุกคน (equality) แล้วคาดหวังให้พวกเขาพัฒนาอย่างทัดเทียม

สอน Equality vs Equity ในห้องเรียน

Interaction Institute for Social Change | Artist: Angus Maguire, ‘Illustrating Equality vs Equity’, Jan 13, 2016

ความเท่าเทียม (equality) คือ การได้รับโอกาสทุกอย่างเหมือนกัน (sameness)

ความยุติธรรม (equity) คือ การได้รับโอกาสตามที่ต้องการอย่างเป็นธรรมสมเหตุสมผล (fairness) 

ภาพข้างต้นนี้นิยามความแตกต่างระหว่างความเท่าเทียมและความยุติธรรมได้อย่างหมดจดที่สุดว่า การได้รับความช่วยเหลืออย่างเท่าเทียมกันทั้งหมดไม่อาจแก้ปัญหามากน้อยที่แต่ละคนมีได้เท่ากับการหยิบยื่นความช่วยเหลือให้กับ ‘ผู้ที่ต้องการอย่างแท้จริง’ 

ในชั้นเรียนก็เช่นกัน จุดอ่อนจุดแข็งของเด็กแต่ละคนควรถูกนำมาพิจารณาประกอบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เป็นไปอย่างสมเหตุสมผลและเป็นธรรมกับเด็กทุกคน เพราะความถนัดและทักษะความสามารถของแต่ละคนแตกต่างกัน คงจะดีกว่าถ้าพวกเขาได้รับการสนับสนุนที่ตรงกับความต้องการอันหลากหลายและท้าทายมากพอจะให้ทักษะความสามารถของเขากระเตื้องขึ้นจากเดิม

วิธีที่จะรู้ว่าแต่ละคนต้องการการสนับสนุนด้านไหนนั้นไม่มีอะไรซับซ้อนไปกว่าการถามตรงๆ ดังนั้น การเปิดชั้นเรียนโดยสร้างความเข้าใจเรื่องความเท่าเทียมและความยุติธรรมจะช่วยให้พวกเขาเปิดใจมองเห็นความหลากหลายของทักษะและกระบวนการทำความเข้าใจระหว่างเพื่อนในชั้นและตนเอง ผลที่ตามมาคือเขาจะไม่อายที่จะยกมือบอกครูว่าต้องการความช่วยเหลือด้านไหนเพิ่มเติม 

เรามีตัวอย่างแผนการสอนเชิงปฏิบัติแบบง่ายๆ ให้เด็กๆ รู้จักแยกแยะความแตกต่างระหว่างความยุติธรรมและความเท่าเทียมในห้องเรียนซึ่งคัดมาจาก The Growth Mindset Coach ดังนี้

จุดประสงค์การเรียนรู้: นักเรียนเข้าใจความแตกต่างของความเท่าเทียมและความยุติธรรม

อุปกรณ์ที่ต้องใช้: ลูกอม ปากกา กระดาษ ภาพประกอบ Equality vs Equity

ขั้นตอน    

  1.  แจกลูกอมให้นักเรียนคนละเม็ดจนครบทุกคน หลังจากนั้นอธิบายว่า 

“วันนี้เราจะมาเรียนรู้กันเรื่องความเท่าเทียมกับความยุติธรรมกัน เด็กๆ ได้รับลูกอมคนละหนึ่งเม็ดเหมือนกันหมด นี่เรียกว่าความเท่าเทียมกันจ้ะ ความเท่าเทียมหมายถึงทุกคนได้รับการปฏิบัติเหมือนกันทุกอย่าง เช่นในตอนนี้ที่ทุกคนได้รับลูกอม 1 เม็ดเท่ากัน ” 

  1. แบ่งนักเรียนเป็นสองกลุ่ม ให้กลุ่มแรกเขียนบนกระดาษถึงเหตุผลที่ไม่อยากได้ลูกอม เช่น ‘กลัวฟันผุ’ ‘ไม่ชอบกินลูกอม’ อีกกลุ่มเขียนเหตุผลที่อยากได้ลูกอม เช่น ‘ถ้าเป็นของกิน ได้หมด!’ ‘ที่บ้านไม่ให้กิน นี่เป็นโอกาสดีที่ได้กินฟรีที่โรงเรียน’ ปล่อยให้เขารู้สึกสนุกกับการคิดสร้างสรรค์เหตุผล
  2. รวบรวมกระดาษที่ทุกคนเขียนแล้วแจกให้นักเรียนแบบคละกันไป ไล่ถามนักเรียนโดยให้ตอบครูตามโน้ตในมือว่าอยากได้ลูกอมหรือไม่เพราะอะไร รับฟังคนที่ปฏิเสธลูกอมตามปกติ เมื่อถึงนักเรียนที่ถือโน้ตว่าอยากได้ลูกอมพร้อมกับบอกเหตุผล ให้ครูถามเพื่อนในห้องให้ช่วยกันตัดสินใจว่าควรให้ลูกอมเพื่อนคนนี้กี่เม็ดจึงจะเหมาะสม เช่น ‘ถ้าเป็นของกิน ได้หมด!’ ทั้งชั้นเห็นว่าควรให้เพิ่มอีกหนึ่งเม็ด ส่วนเหตุผลที่บอกว่าที่บ้านไม่อนุญาตให้กินลูกอม วันนี้ได้กินลูกอมเป็นเรื่องราวดีๆ สำหรับเขา เพื่อนๆ ตกลงให้ลูกอมเพิ่มหลายเม็ดหน่อย
  3. เมื่อครบทุกคนแล้ว อธิบายว่า 

“รู้ไหมคะว่าการหยิบยื่นโอกาสให้กับผู้ที่ต้องการมันจริงๆ เหมือนที่เมื่อสักครู่บางคนบ้างก็อยากได้และบ้างก็ไม่อยากได้ลูกอม และพวกเราช่วยกันคิดว่าคนที่ต้องการควรได้ไปกี่เม็ดดีถึงจะเหมาะกับความต้องการของเขา นี่แหละจ้ะเรียกว่าความยุติธรรม ครูอยากให้ห้องเรียนของเรามีความยุติธรรมแบบนี้ คนไหนที่ต้องการให้ครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมตรงไหนเป็นพิเศษหรือมีบางอย่างที่พวกหนูยังไม่เก่ง ครูก็จะหาทางให้พวกเธอพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น

อย่างบางคนอ่านหนังสือแล้วไม่เข้าใจแต่ดูคลิปในยูทูบแล้วเข้าใจมากกว่า บางคนอาจรู้สึกว่าแบบฝึกหัดในหนังสือง่ายไป ครูก็จะหาอะไรที่ท้าทายใหม่ๆ มาให้ลอง ทั้งหมดนี้ขอให้เข้าใจว่าเพื่อนทุกคนในห้องหลากหลายแตกต่างและมีจุดที่อยากให้ครูช่วยไม่เหมือนกัน ดูอย่างสามคนนี้ที่อยากดูการแข่งขัน (ชี้ไปที่รูปประกอบ) เห็นไหมว่าทั้งสามสูงไม่เท่ากัน สำหรับคนที่สูงอยู่แล้วกล่องอาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับเขาเลยถ้าเทียบกับคนที่ตัวเล็กกว่า ในห้องเรียนก็เช่นกัน อย่าลังเลที่จะบอกครูว่าพวกหนูต้องการกล่องหรือไม่ อยากให้ครูช่วยด้านไหนบอกกันได้เสมอ” 

ความต้องการที่แตกต่างและระดับความยากง่ายที่เหมาะกับแต่ละคน

ผู้เรียนแต่ละคนมีวิธีเรียนรู้กันคนละแบบ อีกทั้งระดับความเข้าใจก็ไม่เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้ผู้สอนต้องยืดหยุ่นในการถ่ายทอดความรู้และใช้สื่อการสอนที่เข้ากับความต้องการของแต่ละคน โดยยึด 3 องค์ประกอบมาพิจารณาในการถ่ายทอดความรู้ คือ 

เนื้อหา (content): เด็กต้องเรียนรู้อะไร 

กระบวนวิธี (process): ทำอย่างไรให้เด็กเรียนรู้

ผลงาน (product): พวกเขาจะอธิบายความเข้าใจให้เป็นรูปธรรมได้อย่างไร 

เด็กบางคนทักษะเขาไปไกลกว่าเพื่อนร่วมชั้นจึงต้องการความท้าทายที่ยากไปจากเดิมอีกขั้น ไม่อย่างนั้นการนั่งในชั้นเรียนที่รู้ดีอยู่แล้วจะกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ เราขอแนะนำวิธีที่สามารถนำมาใช้พัฒนาเด็กกลุ่มนี้โดยเฉพาะ

ในอีกมุมหนึ่งของชั้นเรียน แน่นอนว่าเรายังมีเด็กที่ตามไม่ทันเพื่อนและเก็บงำความวิตกกังวลไว้กับตัวเงียบๆ รูปแบบการอธิบายที่ครูควรทำคือแบ่งเนื้อหาและความท้าทายออกเป็นช่วงๆ ให้สั้นกระชับขึ้น ด้านล่างนี้คือวิธีที่สามารถช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ได้

ถ้าได้เรียนในสิ่งที่อยากรู้ ถึงยากก็อยากลอง

เซอร์เคน โรบินสัน (Sir Ken Robinson) นักวิจัยด้านการศึกษาได้กล่าวไว้เมื่อครั้งเป็นวิทยากรแห่ง TED Talk ปี 2006 ว่าจุดบอดของการศึกษาในปัจจุบันอยู่ที่การสอนแบบ ‘โรงงานอุตสาหกรรม’ ที่ผลิตทุกคนให้ออกมาเป็นพิมพ์เดียวกัน แทนที่จะให้ “เยาวชนเป็นตัวของตัวเองอย่างสร้างสรรค์ และแสดงความสามารถที่เป็นตัวเองให้โลกเห็นอย่างเสรี”

เพราะเด็กต่างมีแนวทางการเรียนรู้ ความชอบ passion ที่แตกต่าง กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่จะตอบโจทย์อิสระการเรียนรู้ที่มีในเด็กทุกคนได้จึงต้องสะท้อนจากเสียง และการเลือกที่จะเรียนรู้ของเด็กโดยตรงเป็นสำคัญ

นี่จึงเป็นที่มาของการเพิ่ม personalized learning และ student-led learning หรือการเรียนรู้ตามอัธยาศัยเพื่อสร้างแรงจูงใจเพิ่มเข้าไปในหลักสูตร โดยประเด็นนี้เคยถูกกล่าวถึงโดย เดเนียล พิงค์ (Daniel Pink) นักคิดและนักเขียนชื่อดังระหว่างการบรรยายเรื่อง ‘The Puzzle of Motivation’ ใน TED Talk ปี 2010 ว่าอิสรภาพที่ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ (autonomy) คือแรงขับที่นำไปสู่การเรียนรู้สร้างสรรค์สิ่งใหม่และกล้าเผชิญกับความท้าทาย

แม้แต่ แครอล ดเวค (Carol Dweck) ผู้คิดค้นทฤษฎี Growth Mindset เองก็เห็นด้วยว่าแนวทางนี้เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เข้าท่าในแง่ที่เด็กๆ สามารถตระหนักถึงคุณค่าความหมายของความรู้ และกระตือรือร้นกับความท้าทายที่มาจากความต้องการของเขาเอง

ว่าแล้วโรงเรียนต่างๆ ก็เริ่มนำหลักการนี้มาผสมผสานในชั้นเรียนเป็นรูปแบบของวิธีการเหล่านี้

เรียนตามอัธยาศัย 20 เปอร์เซ็นต์ (20% time) สำหรับนักเรียนแล้ว 1-2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่โรงเรียนให้เขาใช้มันเพื่อเรียนรู้ตามความชอบอย่างเสรี นอกจากช่วยเขาหลุดจากกรอบไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ ยังต่อยอดให้การเรียนรู้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องนอกห้องเรียน 

โปรเจ็คท์ตามใจฉัน (passion project) เปิดโอกาสให้เด็กๆ ตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ด้วยตัวของเขาเอง โดยเริ่มจากสำรวจว่าตนเองรู้อะไรแล้วบ้าง และต้องการศึกษาเพิ่มเติมตรงไหนจากนั้นร่วมกันวางแผนค้นหาคำตอบ ตั้งแต่ลงมือกำหนดทิศทางโครงงานที่จะศึกษา ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ไปจนถึงทบทวนแลกเปลี่ยนอุปสรรคปัญหาที่เจอระหว่างกันเอง

ชั่วโมงสร้างอัจฉริยะ (genius hour) กันหนึ่งชั่วโมงต่อสัปดาห์ให้เด็กๆ เอาไปเรียนรู้สิ่งที่ตนต้องการอย่างเสรี เช่น เลี้ยงลูกนกที่เก็บได้ หรือทำขนมที่ชอบ เมื่อจบเทอมก็มาแบ่งปันประสบการณ์การเรียนรู้ โดยออกมาเล่าเรื่องหรือทำคลิปวิดีโอเป็นเรื่องราว ครูมีหน้าที่แนะแนวหรือกระตุ้นตั้งคำถามให้เด็กสังเกตและค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม

การเรียนรู้แบบสืบเสาะ (inquiry-based learning) ทิศทางการเรียนรู้อยู่ในมือเด็กๆ โดยปราศจากการชี้นำใดๆ จากผู้สอนนอกจากกระตุ้นให้พวกเขาสงสัยใคร่รู้ ตั้งคำถามและหาคำตอบสิ่งที่อยากรู้นั้นด้วยตัวเอง ครูขานรับคำตอบที่ได้จากการเรียนรู้นั้นด้วยคำถามต่อไปอีก การเรียนรู้จะเกิดจากกระบวนการเชื่อมโยงจนตกผลึกเป็นคำตอบและความกระจ่างใจ

นอกจากวัตถุประสงค์ด้านแรงจูงใจ การเรียนรู้ตามอัธยาศัยยังช่วยขับเน้นศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวเด็กๆ ทั้งหลายให้ปรากฏชัดขึ้น อีกทั้งปลดล็อคมาตรฐานการสอนแบบเดิมที่ครูมักใช้บรรทัดฐานเดียวกันขีดเส้นวัดทักษะความสามารถที่ต่างกันของนักเรียน เด็กไม่รู้สึกถูกทิ้งไว้ข้างหลังเพราะไม่เข้าพวกกับกลุ่มหัวกะทิแล้วเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างทั่วถึง 

พลังความคาดหวังของครูผู้สอน

งานวิจัย Pygmalion Effect อันเลื่องชื่อของ โรเบิร์ต โรเซนธัล (Robert Rosenthal) อาจารย์ภาควิชาจิตวิทยาแห่ง University of California, Riverside บอกไว้ว่า ความคาดหวังของครูยิ่งตั้งไว้สูงเท่าไหร่ นักเรียนยิ่งพัฒนาทักษะและทำคะแนนได้ดีเท่านั้น เนื่องจากครูที่มีความคาดหวังในตัวนักเรียนมีปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการของนักเรียนอยู่ 4 ประการคือ 

  1. บรรยากาศการสอน (climate) อากัปกิริยาของครูที่มีต่อนักเรียนที่ตนคาดหวังจะอบอุ่น เป็นกันเองมากกว่า เช่น สบตา พยักหน้ารับ ยิ้ม ตบหลัง
  2. ความตั้งใจ (input) ครูจะทุ่มเทเวลาและตั้งใจสอนนักเรียนที่ตนคาดหวังอย่างเต็มที่
  3. เรียกให้ตอบ (output) ครูมักเรียกให้นักเรียนที่ตนคาดหวังตอบ โดยมั่นใจว่าเขาจะตอบได้
  4. ปฏิกิริยาตอบรับ (feedback) ครูมีปฏิกิริยาตอบรับนักเรียนที่ตนคาดหวังไว้ในทางที่ดี เช่น เอ่ยชมเชยมากกว่าแจกแจงจุดบกพร่อง 

ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้สอนอาจไม่รู้ตัวว่าอากัปกิริยาท่าทางที่ส่งผ่านไปยังเด็กแต่ละคนในชั้นเรียนบอกหมดว่ามีความคาดหวังในตัวนักเรียนเหล่านั้นหรือไม่ หรือไม่เคยมองเห็นแววในตัวพวกเขาเลย และการสื่อนัยยะอย่างหลังนี้เองที่บั่นทอนความพยายามและความกระตือรือร้นในชั้นเรียนให้หมดลง ดังนั้น การจะขับเคี่ยวให้ทุกคนเติบโตไปด้วยกัน ครูต้องสร้างมวลพลังความคาดหวังให้สูงพอและส่งตรงไปให้นักเรียนทุกคนรับรู้อย่างทั่วถึง 

ลองนำวิธีกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยการตั้งความคาดหวังผ่านปัจจัยทั้ง 4 ข้อของอาจารย์โรเซนธัล ด้านล่างนี้ไปใช้ในห้องเรียนดู 

การปลูกฝัง Growth Mindset กำลังใจมีส่วนสำคัญ เด็กๆ ทุกคนย่อมอยากเป็นคนเก่งของพ่อแม่และเฝ้ารอให้ผู้ใหญ่มองเห็นเวลาเขาทำบางอย่างได้ดี การเอ่ยคำชื่นชมเป็นสิ่งจำเป็น แต่ก็ควรต้องเน้นที่ความมานะพยายามมากกว่าใช้พร่ำเพรื่อมันทุกสถานการณ์จนเขาไม่รู้สึกพิเศษกับมันอีกต่อไป

ต้นกล้าจะเติบใหญ่ขึ้นได้ก็ด้วยส่วนผสมของบทเรียนที่ท้าทายความสามารถ บวกกับพลังความเชื่อมั่นคาดหวังอย่างแรงกล้า และเสียงสะท้อนจากครูที่จะช่วยชี้ให้พวกเขาเห็นว่ามีจุดบกพร่องตรงไหนสามารถสร้างเสริมเติมแก้ให้ดีขึ้นอย่างไรบ้าง

เด็กทุกคนรอคอยโอกาสเปิดเผยอัจฉริยภาพที่ซ่อนอยู่ให้โลกรู้ ขอเพียงครูกล้าหยิบยื่นโอกาสให้เขาก้าวออกจากคอมฟอร์ตโซน ได้ลองฝึก ลองทำ ลองผิดพลั้ง ลองฮึดสู้ และไม่กลบฝังศักยภาพเขาด้วยความสำเร็จลวงตาที่ได้มาง่ายๆ ไปเสียก่อน

หมายเหตุ: เรียบเรียงจาก
Hundley, A. B. (2016). We Love a Challenge! In The Growth Mindset Coach (pp. 95-116). Berkeley,CA: Ulysses Press. 

Tags:

ครูเทคนิคการสอนGrowth mindset

Author:

illustrator

บุญชนก ธรรมวงศา

จบภาษาและการสื่อสาร เคยผ่านงานบริษัทออแกไนซ์ เปิดคลินิก ไปจนเป็นเลขาซีอีโอ หลังค้นพบและติดใจโลกนอกระบบตอกบัตร จึงแปลงร่างเป็นนักเขียน นักแปลและนักพยากรณ์ไพ่ ขี้โวยวายเป็นนิสัยที่อยากแก้ไขแต่ทำยังไงก็ไม่หาย ปัจจุบันกำลังเข้าใกล้ Midlife Crisis และหวังจะข้ามผ่านได้ด้วยวิถี “ช่างแม่ง”

Illustrator:

illustrator

บัว คำดี

เติบโตมากับเพลงป็อปแดนซ์ยุค 2000 เริ่มเป็นติ่งวงการ k-pop ในวัยมัธยม มีเพลงการ์ตูนดิสนีย์เป็นพลังใจในทุกช่วงวัยของชีวิต

Related Posts

  • Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)
    EF-GRIT-GROWTH MINDSET 3 บทความ ชวนพรินท์ให้ลูกและศิษย์อ่าน

    เรื่อง The Potential

  • Growth & Fixed Mindset
    ครูกับครู ครูกับพ่อแม่ ครูกับนักเรียน: สามพลังสร้าง GROWTH MINDSET

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา ภาพ บัว คำดี

  • Learning Theory
    ลงมือทำ-ใคร่ครวญ-วิเคราะห์-ลงมือทำซ้ำ สร้างวงจรการเรียนรู้ไม่รู้จบ

    เรื่องและภาพ The Potential

  • Learning Theory
    สร้างวงจรการเรียนรู้ไม่รู้จบ จากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง

    เรื่องและภาพ The Potential

  • Growth & Fixed Mindset
    สอนให้เด็กรู้ศักยภาพของสมอง: ลบความเชื่อเรื่องโง่หรือฉลาดแต่กำเนิด เขาจะพัฒนาได้ด้วยตัวเอง

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา ภาพ บัว คำดี

EF-GRIT-GROWTH MINDSET 3 บทความ ชวนพรินท์ให้ลูกและศิษย์อ่าน
Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)
15 November 2019

EF-GRIT-GROWTH MINDSET 3 บทความ ชวนพรินท์ให้ลูกและศิษย์อ่าน

เรื่อง The Potential

  • ความจำใช้งาน การเปลี่ยนหรือยืดหยุ่นความคิด และ การหยุดยับยั้ง เมื่อทั้งสามส่วนนี้ทำงานร่วมกัน จะกลายเป็นเสียงในหัว คอยบอก วิเคราะห์ ทบทวน ตัดสินใจด้วยตัวเอง นี่คือ EF
  • คีย์เวิร์ดของ Grit คือความอดทน ยืนกราน และไม่ยอมแพ้ที่จะทำอะไรสักอย่างด้วย ‘ความหลงใหล’ และ ‘ในระยะยาว’
  • ส่วน Growth Mindset “ทักษะที่ฝึกให้เกิดได้” เป็นความคิดที่เชื่อว่า ‘ปัญญา’ ของตัวเองพัฒนาได้ ยืดหยุ่น เพียงพอจะแก้ปัญหาให้ลุล่วงได้เสมอ
ภาพประกอบ: นันท์ณิชา ศรีวุฒิ

EF, Grit และ Growth Mindset คือสามเรื่องสำคัญ ที่ไม่ใช่แค่คนใกล้ตัวเด็ก อย่าง พ่อแม่ ครู ผู้ปกครอง ฯลฯ เท่านั้นที่ควรรู้ แต่เด็กเองถ้าได้รู้ถึงพลังอันแท้จริงของสมอง ก็น่าจะไม่ต่างอะไรกับการให้เครื่องมือการทำงานที่ถูกชิ้น ถูกที่และถูกทาง

จนนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

EF: เราเป็นคนโง่ หรือคนที่กำลังรอการบ่มเพาะ?

“ทำอะไรไม่เคยเข้าที่เข้าทาง”
“จัดการตัวเองหน่อยได้ไหม ทำไมต้องคอยให้ฉันมาตามแก้ไขตลอดเลย”

ถ้าตอนเด็กๆ เมื่อถูกต่อว่าด้วยถ้อยคำเช่นนี้ อย่างมากเราคงนอนร้องไห้ เก็บความทุกข์ไว้ในใจและโทษว่าเป็นความผิดของตัวเอง แต่พออายุแตะเข้าเลข ‘วัยรุ่น’ จากที่เคยยอมก็กลายเป็นการปะทะและใช้อารมณ์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดทั้งมวลนี้มีคำอธิบาย และเป็นคำอธิบายที่ไม่ใช่การบอกว่า “เธอมันโง่และเลือดร้อน” หรือกล่าวหาว่า “เธอมันเป็นคนผิด” แต่คือคำอธิบายที่ว่า พฤติกรรมเหล่านี้เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดกับมนุษย์ทุกคน เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตและเป็นพัฒนาการทั่วไปของมนุษย์

ชวนพ่อแม่ ครู หรือวัยรุ่นทั้งหลาย หายใจเข้าลึกๆ และไปทำความเข้าใจกระบวนการเติบโต ทำความรู้จักกับสมองของเรา ไม่ว่าจะส่วน ความจำใช้งาน, การเปลี่ยนหรือยืดหยุ่นความคิด และ การหยุดยับยั้ง เพราะเมื่อทั้งสามส่วนนี้ทำงานร่วมกันแล้วจะกลายเป็นเสียงในหัวเรา คอยบอก วิเคราะห์ ทบทวน ตัดสินใจ ‘ด้วยตัวเอง’ ฟังดูแล้วเหมือนไม่มีอะไร แต่เหล่านักวิทยาศาสตร์และนักการศึกษาบอกว่านี่คือระบบปฏิบัติการทางสมองขั้นเทพ

คลิกอ่านและดาวน์โหลดบทความได้ที่นี่: EF

Grit: เส้นบางๆ ระหว่างความอดทนระยะสั้น กับ ความเพียรในระยะยาว

หลายครั้งเราสงสัยว่าทำไมคนที่ประสบความสำเร็จในด้านใดด้านหนึ่งถึงทำมันได้อย่างง่ายดายราวกับมีคนหยิบมอบพรสวรรค์ให้ แต่ไม่ว่าคุณจะคิดว่า ‘พรสวรรค์’ คืออะไร ไม่ว่าคุณเป็นคนเรียนรู้ได้ง่ายและเร็วขนาดไหน อย่างไรก็ตามก็ต้องเข้าไปอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ ต้องใช้ความพยายามในการเรียนรู้ และการทำแบบนี้ไม่เคยมีทางลัด

แต่คีย์เวิร์ดของ Grit ไม่ใช่ความอดทนกับโปรเจ็คต์ระยะสั้นราวเดือน สอง หรือสามเดือน แต่คือความอดทน ยืนกราน และไม่ยอมแพ้ที่จะทำอะไรสักอย่างด้วย ‘ความหลงใหล’ และ ‘ในระยะยาว’ สิ่งนั้นอาจใช้เวลาเป็นปีหรือหลายปี พูดให้ชัดคือ Grit ไม่ใช่พรสวรรค์ ไม่ใช่ทุกคนเกิดมาแล้วมีความมานะพยายามมาตั้งแต่เกิด แต่คือ ‘ทักษะ’ และ ‘คาแรคเตอร์’ ซึ่งพอพูดว่าเป็นทักษะ นั่นหมายถึงมันไม่ได้เกิดได้เพียงเพราะรู้จักว่ามันคืออะไร แค่คือการฝึกให้ปรากฏขึ้นในเนื้อตัวและหยิบใช้มันโดยอัตโนมัติ

ชวนพ่อแม่ ครู หรือวัยรุ่นกำลังจะยกธงขาวยอมแพ้ให้กับความล้มเหลวที่เจอ ลุกขึ้นทำความเข้าใจ Grit และพูดกับตัวเองว่า “ได้สิ ไม่เป็นไร ความล้มเหลวเป็นแค่หนึ่งในกระบวนการ”

คลิกอ่านและดาวน์โหลดบทความได้ที่นี่: Grit

Growth Mindset: รู้สึกไหม ว่าตัวเองโชคดี?

คุณเคยตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ไม่รู้จะผ่านสิ่งที่อยู่ตรงหน้าไปยังไงไหม หากจังหวะนั้นมีใครสักคนเดินมาบอกคุณด้วยน้ำเสียงและสายตาเชื่อมั่นจริงๆ ว่า “เฮ้ย ไม่เอานะ เราเชื่อว่าแกทำได้” แม้ปัญหายังไม่คลี่คลาย แต่คุณก็รู้สึกแล้วใช่ไหมว่า มันต้องมีบางอย่างดีขึ้น อย่างน้อยก็คือความรู้สึกของคุณ…ซึ่งนี่คือพลังแห่งความเชื่อมั่น

การมองสถานการณ์ตรงหน้าอย่าง ‘ผู้โชคดี’ คล้ายกับการสวมแว่นตาแห่งความคิดสร้างสรรค์ ช่างสังเกต และ ลงมือทำทันทีเมื่อโอกาสมาถึง หรือกล่าวได้ว่า คนเหล่านี้มักมีทัศนคติที่มักมองเรื่องต่างๆ ว่าเป็น ‘โชคดี’ คอยเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสได้เสมอ — การอยู่ใกล้คนแบบนี้มากๆ เราเองก็รู้สึกได้รับการแบ่งปันพลังงานบวกไว้ด้วย ต่างกับอยู่กับ ‘ผู้โชคร้าย’ ที่จะทำให้โลกของเราคล้ายเหี่ยวเฉา

ทั้งที่เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ ‘ผู้โชคร้าย’ กับ ‘ผู้โชคดี’ มองต่างกัน การเลือกกระทำการเพื่อแก้ปัญหาต่อสถานการณ์ตรงหน้าต่างกัน ผลลัพธ์จึงต่าง สำคัญที่สุด ความรู้สึกภายในต่อทั้งตัวเองและต่อคนอื่น ก็หม่นหมองลงไปด้วยแต่หากใครที่เป็นคนมองโลกในแง่ลบ หรือเข้าข่าย Fixed Mindset อยู่เสมอ

ทั้งหมดทั้งมวลเพื่อปูเข้าความหมายของ Growth Mindset หรือ กรอบคิดเติบโต Growth Mindset ไม่ใช่แค่คำศัพท์ แต่คือ “ทักษะที่ฝึกให้เกิดได้” เป็นความคิดที่เชื่อว่า ‘ปัญญา’ ของตัวเองพัฒนาได้ ยืดหยุ่น เพียงพอจะแก้ปัญหาให้ลุล่วงได้เสมอ

ดังนั้นจากที่เคยถามว่า หากเรากำลังอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก แล้วมีสักคนที่เดินมาบอกกับเราว่า ‘ฉันทำได้’ ‘ฉันไปถึงจุดนั้นได้’ แค่นี้ก็ทำให้เราชนะไปครึ่งทางแล้ว

คลิกอ่านและดาวน์โหลดบทความได้ที่นี่: Growth Mindset

Tags:

เทคนิคการสอนGrowth mindsetGritEFครู

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Related Posts

  • Learning Theory
    Achievement mindset: เสริมสร้างทักษะ Grit ให้อยู่กับนักเรียน

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชครูใหม่ วิมลศรี ศุษิลวรณ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Growth & Fixed Mindset
    ง่ายเกินไปก็ไม่เรียนรู้ ‘ความยากลำบาก’ จึงเป็นหนึ่งในวิชาที่เราต้องเรียน

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา ภาพ บัว คำดี

  • Learning Theory
    ลงมือทำ-ใคร่ครวญ-วิเคราะห์-ลงมือทำซ้ำ สร้างวงจรการเรียนรู้ไม่รู้จบ

    เรื่องและภาพ The Potential

  • Growth & Fixed Mindset
    สอนให้เด็กรู้ศักยภาพของสมอง: ลบความเชื่อเรื่องโง่หรือฉลาดแต่กำเนิด เขาจะพัฒนาได้ด้วยตัวเอง

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา ภาพ บัว คำดี

  • Growth & Fixed Mindset
    ครูไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ ก็สอน GROWTH MINDSET เด็กๆ ได้

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

อานันท์ นาคคง: เรียนมานุษยวิทยาดนตรีผ่านงานวัด งานประเพณี ถกเพลงประเทศกูมีในห้องเรียน
Unique Teacher
14 November 2019

อานันท์ นาคคง: เรียนมานุษยวิทยาดนตรีผ่านงานวัด งานประเพณี ถกเพลงประเทศกูมีในห้องเรียน

เรื่องและภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • เป็นเวลา 3 ปี ที่ อานันท์ นาคคง ศิลปินศิลปาธร สาขาดนตรีประจำปี 2562 เรียนรู้ดนตรีในพื้นที่แห่งความขัดแย้งเพราะอาศัยกับครอบครัวนักดนตรีเขมรอพยพกลับบ้านไม่ได้ ผู้อพยพชาติอื่นๆ เช่น ลาว เวียดนาม ก็ปะปนอยู่ด้วย
  • เป็นแรงขับเคลื่อนที่ทำให้เขาอยากสอนวิชา World Music ให้กับเด็กๆ หรือเปิดพื้นที่ให้กับดนตรีชาติพันธุ์ และความสนุกสร้างสรรค์รายรอบดนตรีเพื่อเรียนรู้มนุษย์และสังคม 
  • ในคลาสของอาจารย์มีทั้งการศึกษาเรื่องกะเทยผ่านเพลงลูกทุ่ง ดนตรีชาตินิยมที่สร้างมายาคติเพื่อเป็นเครื่องมือในการควบคุมประชาชน ไปจนถึงการสำรวจเวทีลิเกในงานวัด
  • หนึ่งในการวัดผลนักศึกษาคือการเปิดคำตอบแล้วบอกให้นักศึกษาช่วยเขียนคำถามให้ได้เยอะที่สุด เพราะชีวิตนี้นักศึกษาตอบกันมาเยอะแล้ว

ชั้นเรียนที่มีครูพาเด็กนักเรียนออกนอกห้อง ไปเที่ยวงานวัด งานบุญ เวทีลิเก วันดีคืนดีก็เลคเชอร์เรื่องเพลงสาวดอยคอยปี้ และ พระรถเมรี ของ กระแต อาร์สยาม หรือจัดทอล์คโชว์จากปรากฏการณ์เพลงประเทศกูมี ชวนให้ตั้งคำถามว่าเจ้าของคาบคนนี้สอน ‘ดนตรี’ ในสไตล์ไหนกันแน่

อานันท์ นาคคง หรือ ครูหน่อง มีผลงานทางดนตรีหลากหลายรูปแบบทั้งในประเทศและระดับโลก เขาเป็นอาจารย์สอนหนังสืออยู่ที่คณะดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สอนวิชามานุษยวิทยาดนตรีเบื้องต้น ดนตรีโลก ดนตรีอาเซียน การศึกษาภาคสนามทางมานุษยวิทยาดนตรี และดนตรีวิจารณ์ เขาเป็นศิลปินศิลปาธร สาขาดนตรีประจำปี 2562 เป็นกรรมการบริหารวงดุริยางค์อาเซียน-เกาหลี (ASIA Traditional Orchestra) เป็นผู้อำนวยการดนตรีของวง C Asean Consonant (วงดนตรีอาเซียนที่รวบรวมเยาวชนในภูมิภาคมาทดลองเล่นดนตรีเพื่อการอยู่ร่วมกันในอนาคต) ที่ปรึกษางานสร้างภาพยนตร์โหมโรง, From Bangkok to Mandalay และเป็นผู้ผลิตงานดนตรีสารพัดรูปแบบ ตั้งแต่เพลงประกอบละครเวที ประกอบภาพยนตร์ งานวิจัยมานุษยวิทยาดนตรี งานนาฏกรรมร่วมสมัย สื่อผสมหรือศิลปะการจัดวางเสียง (sound installation)

ครูหน่อง-อานันท์ นาคคง

ยกตัวอย่างคร่าวๆ ว่างานศิลปะการจัดวางเสียงของเขาชื่อ ‘สินบนกรุงเทพ’ (Bangkok Bribe) เคยจัดแสดงที่หอศิลปฯ กรุงเทพมหานคร อานันท์นำเครื่องอัดเสียงไปวางที่มุมสี่มุมของพระพรหมเอราวัณแถบสี่แยกราชประสงค์ เพราะต้องการบันทึกว่าพระพรหมได้ยินเสียงอะไรบ้าง

“ข้างบนพระพรหมมีรถไฟฟ้าวิ่งฉิว ได้ยินเสียงจากเซ็นทรัลเวิลด์ ได้ยินเสียงของโรงพยาบาลตำรวจที่มีคนตายวิ่งผ่านไป จริงๆ แล้วหูของพระพรหมละเอียดมาก แต่ทำไมเลือกที่จะช่วยแต่พวกที่มาติดสินบน เราเลยตีความว่าพระพรหมคือเทพเจ้าแห่งคอร์รัปชัน สังคมติดสินบนไม่ได้อยู่แค่ในหน่วยงานราชการ อำนาจหน่วยงานในกรมกอง เพราะแม้แต่เทวดาก็ยังเป็นเลย แล้วคุณจะมาหวังอะไรกับสังคมจริงๆ”

หลังจากที่จบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาดุริยางคศิลป์ไทยด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง (เหรียญทอง) เขาได้รับทุนการศึกษาปริญญาขั้นสูงจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2535 เพื่อศึกษาต่อที่ School of Oriental and African Studies (SOAS) สำนักบูรพาคดีและแอฟริกันศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน ด้านมานุษยวิทยาดนตรี (Ethnomusicology) เป็นเวลา 3 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เขาได้เรียนและรู้จักดนตรีที่กว้างขวางออกไป โดยเฉพาะดนตรีที่ถูกผลกระทบจากสงคราม

เขาไปเป็นหนึ่งในสตาฟขององค์กรที่ดูแลผู้อพยพชาวเวียดนาม ลาว กัมพูชา พลัดถิ่น และพักอาศัยอยู่กับครอบครัวของครูดนตรีกัมพูชาที่กลับแผ่นดินเกิดไม่ได้ เขาใช้ชีวิตคลุกคลีกับคนดำ คนจีน คนอินเดีย คนมุสลิม และพังค์ ตกตะกอนเป็นแรงขับเคลื่อนที่ทำให้อานันท์กลับมาเปิดวิชา ‘ดนตรีโลก’ World Music ขึ้นในสถาบันต่างๆ ที่เขาไปใช้ชีวิตครู เพื่อให้นิสิตนักศึกษาได้เรียนรู้จักความแตกต่างของมนุษย์ด้วยดนตรี ทำกิจกรรมเปิดพื้นที่ให้เด็กได้สัมผัสความพิเศษของดนตรีชาติพันธุ์ ทำงานวิจัยและสร้างงานวิชาการดนตรีเพื่อเรียนรู้มนุษย์และสังคม

“กลับมาจากอังกฤษ แล้วเป็นครู ก็สามารถช่วยให้เราสื่อสารความรู้ทางมานุษยวิทยาดนตรีที่เป็นเรื่องแตกต่างไปจากวิชาการแสดงดนตรีหรือดนตรีศึกษา ช่วยทำหน้าที่บันทึกดนตรีชนเผ่า พูดเรื่องดนตรีอะไรบางอย่างที่มหาวิทยาลัยอาจมองข้าม ที่ผมทำกิจกรรมดนตรีชาติพันธุ์แบบจริงจัง ส่วนหนึ่งก็เป็นแรงขับมาจากการใช้ชีวิตอยู่กับผู้อพยพหลังสงคราม อยู่กับพวกชาติพันธุ์ที่เป็นคนแปลกแยกในสังคมอังกฤษ ผมเปิดห้องเรียนเถื่อนในเฟซบุ๊ค (ห้องเรียนเพลงดนตรีอาเซียน) ให้ความรู้แก่คนอ่านหน้าจอทุกวัน ผมจัดรายการวิทยุดนตรีโลก สร้างเวทีดนตรีออนไลน์ให้คนมาเสพบ่อยๆ มีพื้นที่ให้เสียงแคน เสียงฆ้อง ถึงคนจะไม่ฟังในทันที ไม่ติดหูในทันที แต่อย่างน้อยในบางขณะเขาอาจจะรับรู้คุณค่าบางอย่างจากมันได้”

แม้จะออกตัวว่าเขาอาจจะไม่ใช่ครูสอนดนตรีที่ดีด้วยซ้ำ เพราะทำงานดนตรีหลากหลายมากกว่าชีวิตครูในห้องเรียน ไม่เคยเรียนเกี่ยวกับการสอนดนตรีมาโดยตรง หรือไม่มีวุฒิครูตามระบบที่ควรจะเป็น แต่วิธีการมองโลกและการใช้ศาสตร์มานุษยวิทยาดนตรีเข้ามาสอนและสร้างสรรค์ดนตรีในรูปแบบที่ deconstruct นั้นน่าสนใจ นำไปสู่คำถามใหม่ว่าเราสอนดนตรีกันไปเพื่ออะไรกันแน่ มันสามารถไปไกลถึงการทำความเข้าใจมนุษย์และวิถีการอยู่ร่วมกันในสังคมได้หรือเปล่า

 เรียนดนตรีผ่านสิ่งที่ไม่ใช่ดนตรี

อาจารย์เติบโตมากับการเรียนดนตรีแบบไหน

ผมรู้จักดนตรีไทยตั้งแต่เด็ก แต่ไม่ได้เรียนดนตรีไทยในห้องเรียน กว่าจะอ่านโน้ตเป็นคือตอนเข้ามหาวิทยาลัย ที่ผ่านมาคือเราเก็บความรู้ด้วยหู พ่อแม่เป็นครูช่าง มีลูกศิษย์มาตั้งวงเล่นเครื่องสายกัน ซึ่งไม่มีใครเล่นเก่งเลย เพี้ยนมาก แต่เรารู้สึกแฮปปี้ ผมมีครูที่เป็นช่างเหมือนกัน ชื่อครูวัน อ่อนจันทร์ เป็นช่างไม้ ช่างทำเครื่องดนตรี บ้านอยู่ในสวนบางขุนศรี ต้องเดินลุยท้องร่องไปหาครูที่บ้าน เป็นคนที่ทำให้ผมสัมผัสดนตรีที่ไม่เหมือนกับเด็กคนอื่นๆ คือเราได้เล่นดนตรีจากงานช่าง เมื่อเช้านี้มันยังเป็นท่อนไม้อยู่เลย แล้วครูก็เอาไม้เข้าเครื่องกลึง แล้วฉับพลันก็เนรมิตรซอขึ้นมาได้ เหมือนเล่นกล ถึงครูเขาจะสอนดนตรีตามระบบไม่เป็น แต่สอนให้เรารู้จักสิ่งที่มันงดงามกว่านั้นคือ ซอคันนี้ จะเข้ตัวนี้ โทนใบนี้ทำมาจากต้นไม้ชื่ออะไร เติบโตที่ป่าแถวไหน ไม้อายุกี่ปี เราเห็นไม้โดนตัดมา โดนเลื่อย โดนขุด โดนกลึงจนกลายร่าง แล้วเราก็ได้ลองเสียงจากท่อนไม้ท่อนนี้ 

ครูผมไม่มียูนิฟอร์มเพราะเป็นช่าง ถอดเสื้อทำงาน แต่งตัวเขรอะๆ แล้วก็สีซอแบบกระโชกโฮกฮากอย่างที่เรียกว่าพูดภาษาชาวบ้าน ไม่ได้มีจริตเหมือนนักดนตรีราชสำนัก แต่เราสนุกกับการติดตามครูไปในสถานที่ต่างๆ ไปเล่นในวัด ในตลาด ในสวน ผมรู้จักความเป็นวงดนตรีที่อบอุ่นจากเพื่อนครู ลุง ป้า น้า อา ที่มาซ้อมกัน การเล่นดนตรี 5 นาที ก็คือ 5 นาทีที่ผู้ฟังกับผู้เล่นอยู่ด้วยกัน ดนตรีมีหลายๆ มือมาช่วยกันตีฉิ่ง ตีกลอง สีซอ ตีระนาด เล่นคนละลีลา แต่ทุกคนแคร์กัน แล้วมันเป็นครอบครัว อบอุ่นมาก

เราเรียนรู้ว่าดนตรีมันเป็นพื้นที่จำลองของสังคมสันติสุข ที่คนแตกต่างมาอยู่ด้วยกันได้ คนแก่หรือเด็กเล่นด้วยกันได้ มันเป็นสวรรค์เล็กๆ ที่ไม่จำเป็นต้องมีคอนเสิร์ตฮอลล์ เราอยู่ในบ้านครูที่รกๆ มีขี้เลื่อยเต็มไปหมด แต่มันทำให้เราลืมทุกข์โศก ขจัดความกังวลต่างๆ ไปได้

จากนั้นมีการต่อยอดการเรียนรู้ดนตรีนอกห้องเรียนอย่างไร

หลังจากเรียนเครื่องสายกับครูวัน ช่วงมัธยมปลายผมไปเรียนปี่พาทย์กับครูเป๋ สมหมาย สุวรรณวัฒน์ บ้านอยู่ในสลัมหลังวัดกัลยาณมิตาวาส ครูสอนไปเรื่อยๆ ในวิถีทางของปี่พาทย์ เริ่มจากเพลงสาธุการไปเป็นโหมโรงเช้า โหมโรงเย็น ผมเดินเข้าไปในสลัมฯ ทุกเย็นหลังเลิกเรียน อยู่จนดึกแล้วก็กลับบ้าน เคยถูกรีดไถ แต่ก็ไม่ใช่อุปสรรคที่เราจะเลิกเรียนปี่พาทย์ ผมกลับเห็นเสน่ห์อีกหลายอย่างที่เสียงดนตรีไทยอยู่ในชุมชนแบบนี้ ที่มันต่างจากคตินิยมว่าดนตรีจะต้องเป็นสมบัติของราชสำนักหรือคนชั้นสูง

ครูพาผมไปออกงานเยอะ ไปงานศพ งานบวช งานแห่นาค ทำขวัญนาค จนถึงไปช่วยเล่นดนตรีแก้บน ไปเล่นให้สำนักทรงเจ้า เห็นเจ้าร่ายรำกับเพลงปี่พาทย์ เห็นคนเมาคนบ้ามาร้องรำทำเพลงอย่างสนุก ได้เห็นความหลากหลายของคนที่มาสัมผัสโลกดนตรีที่ไม่ใช่แค่นั่งเรียบร้อยฟังกันในโรงคอนเสิร์ตเท่านั้น

ทุกคืน ผมกลับบ้าน ไม่ใช่ว่าจะหยุดเรียนรู้ดนตรี ผมเปิดวิทยุ ฟังรายการดนตรีไทยตอนดึกๆ ฟังสถานีวิทยุแห่งประเทศไทยที่มีรายการบรรเลงสดจากวงดนตรีไทยสมัครเล่นมากมาย ผมคิดว่ามันคือการขยายโลกทัศน์ในการเรียนด้วยหูที่สำคัญมาก ไม่แพ้การเล่น การฝึกซ้อม หรือออกงานแสดง ทักษะการฟัง เป็นสิ่งที่ผมฝึกมากไม่แพ้การเล่นดนตรี

ต่อมาผมเดินทางไกลมากขึ้น ไปดูเขาเล่นเพลงพื้นบ้านต่างจังหวัดที่มี พี่เอนก นาวิกมูล ตั้งกลุ่มศึกษาเพลงพื้นบ้าน ผมก็เข้าไปร่วมด้วย ไปช่วยงานบันทึกเสียงเพลงพื้นบ้านในหลายจังหวัดมาก ได้ยินกลอนเพลงจากพ่อเพลงแม่เพลงชั้นยอดที่เป็นกวีชาวบ้านร้องโต้กันสดๆ 

การเรียนดนตรีในสมัยปัจจุบันดูเหมือนจะแตกต่างจากสิ่งที่เล่ามา?

ผมโตมาแบบนักดนตรีสมัครเล่น เล่นเพราะสนุกที่จะเล่น ไม่ได้คิดว่าจะต้องเป็นมืออาชีพ ครูก็ให้อิสระ พ่อแม่ก็ไม่ได้บังคับ และไม่ได้เข้าไปเรียนดนตรีในหลักสูตรอะไร แต่ทุกวันนี้ ตามโรงเรียนเขามีหลักสูตรดนตรีจริงจัง มีห้องเรียนดนตรี มีเครื่องดนตรีดีๆ ซื้อมาตามงบประมาณ ต้องเรียนทุกอย่างเลยซึ่งไม่รู้ว่ามันจะหนักเกินไปหรือเปล่า

ดนตรีก็มีทั้งสอนทางตรงกับสอนแบบแฝง ทางตรงคือต้องเข้าใจว่าเล่นดนตรียังไง ไม่ใช่แค่เอาดนตรีไปใส่ในหลักสูตรการศึกษาแล้วจะประสบผลสำเร็จ แต่พออยู่ในระบบการศึกษาแล้วก็ต้องมีนโยบายของชาติมากำกับมากมาย เช่น บังคับว่าเด็กนักเรียนต้องเล่นดนตรีไทย 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมันเป็นความวิบัติที่สุดแล้วเพราะดนตรีเป็นทางเลือกของมนุษย์ ไม่ได้ถูกสร้างให้มาเล่นแบบเกณฑ์ทหาร ให้ครบกองร้อยกองพัน ต้องนับจำนวนเพื่อทำยอดให้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ได้สนใจว่าคุณภาพดนตรีมันจะสัมพันธ์กับปริมาณไหม แล้วดนตรีที่คุณเล่นมันไทยจริงหรือเปล่า หรือการเล่นดนตรีไทย 100 เปอร์เซ็นต์ มันพิสูจน์ความรักในดนตรีได้จริงแท้แค่ไหน

บริบทของสังคมมีผลต่อสถานะและบทบาทของดนตรีอย่างไร

สังคมเปลี่ยนแปลงไป ใครบางคนคิดมายากลใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อทำให้ดนตรีกลายเป็นสิ่งน่าเคารพ น่าเกรงขาม ต้องไปฟังดนตรีบริสุทธิ์ในคอนเสิร์ตฮอลล์เท่านั้นถึงจะเรียกว่ามีรสนิยมทางดนตรี การที่จะมีสิทธิในการเดินเข้าไปในพื้นที่นั้น คุณต้องยอมรับในจารีตอะไรบางอย่างก่อน เช่น ยอมรับในประวัติศาสตร์ทางดนตรีที่พวกนักวิชาการสร้างขึ้น ต้องมีศรัทธาในบารมีของวงดนตรีวงนี้และจงรักภักดีต่อวาทยากรท่านนี้ ต้องมีกิริยามารยาทที่วางท่าเป็นผู้ดี ต้องแต่งตัวไปดูคอนเสิร์ตอย่างประณีต และมีค่าใช้จ่ายแพง ทำไปทำมา การศึกษาของคนกับเรื่องดนตรี กลายเป็นการปลูกฝังความฟุ้งเฟ้อ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับดนตรีเหล่านี้ และการคิดอยู่แต่เพียงดนตรีคลาสสิกเท่านั้น ก็คือการจำกัดให้ดนตรีอยู่ในมือของคนเพียงไม่กี่คน

ซึ่งนั่นคือการปลูกฝังที่แคบด้วย เพราะคนที่เรียนดนตรีส่วนใหญ่เขาไม่ออกมาเล่นที่ข้างถนนหรอก เขาก็จะเล่นในห้องที่ปิด มีรั้วรอบขอบชิด อาจมีที่เก็บเสียงด้วย เครื่องดนตรีที่เล่นก็ต้องมีราคาแพงเพราะว่าต้องเล่นให้ได้โน้ตที่ดีที่สุด และเล่นตามคำสั่ง โน้ตนี้ คีย์นี้ ไม่ต่างอะไรกับคนกินยา เพราะเขาต้องมีทักษะและความรู้ความเข้าใจดนตรีที่ค่อนข้างจะลึกซึ้งและโดดเด่นมากพอที่จะแยกระหว่างตัวเขากับคนอื่นที่ร้องได้ไม่เพราะเท่าเขา เพี้ยนกว่าเขา หรือจิ้มเครื่องดนตรีแล้วไม่จับใจเท่าเขา ต้องใช้ดนตรีทำมาหากินซึ่งคำว่าทำมาหากินเป็นคำที่โหดร้ายในโลกปัจจุบัน

ปัญหาของการสอนดนตรีไทยตามห้องเรียนคือมีครูคนเดียว แล้วนักเรียนต้องอยู่ในทิศทางเดียวกันเหมือนกับทหาร อยู่ในระเบียบ ต้องซ้อม ถ้าคนที่ทำงานศิลปะต้องอยู่ในกติกาแบบนี้ก็เหมือนกับการล้างความเป็นคนไปเรื่อยๆ

ถ้าอย่างนั้นการเรียนการสอนดนตรีควรจะเป็นแบบไหน

ไม่ต้องสอน (หัวเราะ) สอนมั่งไม่สอนมั่ง แต่อย่าบังคับให้เด็กเรียน เราต้องมาทบทวนกันก่อนว่าเรียนไปเพื่ออะไร เราเข้าใจว่าการเรียนดนตรีคือต้องเป็นครูดนตรีที่สอนๆๆ เท่านั้น 

แต่จริงๆ ครูพละก็สอนดนตรีได้จากการวิ่งที่มันมีสเต็ป หรือแค่การอ่านวรรณกรรมก็มีเสียงดนตรีอยู่ในตัวแล้ว ครูภาษาไทยก็สอนได้ แต่สิ่งที่คุณสอนในคาบเรียนดนตรี ให้ท่อง เพลงลาวดวงเดือนเนี่ย มันมีศิลปะและจินตนาการอยู่ในนั้นจริงๆ หรือเปล่า 

ถ้าวิธีการสอนดนตรีคือการโยนโน้ตให้ เราก็จะเล่นแค่โดเรมีไปเรื่อยๆ โดยที่เราไม่รู้ความหมายของพระจันทร์ ไม่รู้ว่าไอ้หนุ่มที่กล้ามาร้องเพลงจีบสาวตอนดึกนี่มันกล้ามากเลย มันต้องจินตนาการได้ แต่โน้ตเพลงมันไม่ได้บอกอย่างนั้น

และเราปลูกฝังให้ฟังน้อยมาก ลองเอาเครื่องดนตรีออกจากมือแล้วฟังทุกอย่างได้ไหม ฟังเสียงรอบๆ หรือเสียงสังคมภายนอก การฟังดนตรีมันเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการฟังทุกอย่างในโลก สอนให้เราสัมผัสคุณค่าในโลกนี้อย่างละเอียดอ่อน ฟังสิ่งที่เป็นรายละเอียดที่ประดับอยู่ เหมือนกับที่เราฟังคนพูดแล้วเราก็สามารถใช้ข้อเท็จจริงหรือจินตนาการต่อยอดได้

การฟังเป็นประสาทขั้นละเอียด แต่สถาบันสอนเรื่องวิชาความรู้ทั้งหลายให้ความสำคัญกับการฟังน้อย หรือบังคับให้ฟังเฉพาะเรื่องบางเรื่อง ซึ่งมันไม่ได้สอนให้ฟังความงดงามหรือความละเอียดลึกซึ้ง ดังนั้นผลผลิตที่ออกมาจากสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ก็จะเป็นเด็กที่มีทักษะการฟังต่ำ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเหมือนกัน

เพราะมันวัดผลได้สะดวกด้วยหรือเปล่า

อาจจะใช่ เราไม่มีกระบวนการสร้างความรู้สึกในสิ่งที่เรียน เรามีแต่ความรู้ที่จะรู้สึก ซึ่งมันเป็นคนละเรื่องกันแต่ว่ามันอยู่ภายในกันและกัน รู้สึกโดยที่ไม่รู้ก็เป็นอันตราย รู้โดยที่ไม่รู้สึกก็เป็นอันตราย เช่น การผสานการทำงานดนตรีเข้ากับงานละคร เราไม่ได้ทำงานกับแค่นักดนตรีกับผู้แสดง แต่ทำงานกับวรรณกรรม แสง คอสตูม เล่นเพลงที่คอสตูมเคลื่อนไหวไม่สะดวกแล้วจะเล่นทำไม หรือคอสตูมสวยๆ เล่นเพลงแป๊บเดียวจบแล้ว ให้เวลาเขาดูสิ่งที่มันอยู่บนเรือนร่างคน การกรายนิ้วมือหน่อยสิ มันจะมีคุณค่าต่อเมื่อเสียงดนตรีมันเลี้ยวไปด้วยกัน เพราะฉะนั้นเราควรจะเรียนรู้สิ่งที่เป็นศาสตร์ร่วม แล้วเอาพลังมาใส่ในเด็กรุ่นใหม่

ตอนนี้ผมสอนวิชามานุษยวิทยาดนตรี ได้ไปเรียนรู้ดนตรีชาวบ้านตามป่าเขาลำเนาไพร จากนั้นก็เอาความรู้เหล่านี้มาส่งต่อให้เด็กในมหาวิทยาลัย หรือคนนอกที่ไม่ได้เข้าไปฟังเลคเชอร์ เราไม่เคยมีตำราสอนจริงจังแต่เน้นให้ในมิตินอกห้องเรียน เช่น สอนว่าทำไมต้องมีการแห่นางแมว มานั่งคุยกันแล้วไปดูกันหน่อยว่าฝนมันตกจริงหรือเปล่า เราไม่ได้ลงภาคสนามแบบไปเดินเล่น แต่สอนให้ใช้หู ใช้ตา ใช้วิธีการจด พูดคุยซักถาม สิ่งที่เราสามารถถ่ายทอดให้เขาได้ ก็มีคุณค่าไม่น้อยไปกว่าการสอนดนตรีตรงๆ แบบครูในสถาบันดนตรี

มานุษยวิทยาดนตรีเพื่อเมโลดี้แห่งความหลากหลาย

มานุษยวิทยาดนตรีคืออะไร

มานุษยวิทยาคือการทำความรู้จักมนุษย์ แต่เราใช้ประตูที่เป็นดนตรีเปิดเข้าไป แล้วไปเจอมนุษย์ที่เป็นเจ้าของดนตรีนั้น อาจจะเป็นคนที่เล่น ร้อง ปฏิบัติ หรือคนฟัง แล้วเราก็ทำความรู้จักกับเขาต่อว่าคุณเป็นใคร มาจากไหน เช่น เรารู้จักกับมนุษย์ที่เป็นคนดำ เราอยากรู้ไหมว่าข้างในหัวใจเขาเต้นบีทส์เท่าไหร่ มีอะไรในหู ทำไมหูเขามีเพลงแจ๊ส เพลงบลูส์ ไม่มีเสียงแบบอื่นล่ะ มันมาจากบางส่วนของประวัติศาสตร์หรือความขมขื่นในชีวิตหรือเปล่า

มานุษยวิทยาดนตรี ethnomusicology เป็นกระบวนการศึกษาตอนประมาณศตวรรษที่ 20 ก่อนหน้านี้ดนตรีถูกมองเป็นดนตรีวิทยา musicology ที่ต้องมีประวัติศาสตร์ มีระบบ ตัวโน้ตให้วิเคราะห์เยอะแยะไปหมด แล้วมันก็อยู่ในกระดาษ แต่ชีวิตของคนที่อยู่กับดนตรีมาเรียนรู้กันมากขึ้นเรื่อยๆ ตอนที่โลกไร้พรมแดนขึ้นไปทุกทีๆ แล้วยุโรปไม่ใช่ศูนย์กลางของดนตรีอีกต่อไป

นอกจากการตระหนักในคน มานุษยวิทยาสอนให้เราคิดว่าประวัติศาสตร์มีหลายด้าน แล้วเราจะเรียนรู้จากปรากฏการณ์ดนตรีกับสังคมในแง่มุมเหล่านี้ได้ยังไง เช่น รัฐใช้ดนตรีอย่างไร ศาสนาใช้ดนตรีอย่างไร สถาบันกษัตริย์เอาดนตรีไปทำอะไร หรือในทางกลับกัน ดนตรีแบบไหนที่พึ่งพิงอำนาจกษัตริย์ อำนาจศาสนา อำนาจรัฐ ตกลงว่ามนุษย์ใช้ดนตรีเป็นดนตรีเพื่อบันเทิงหรือเพื่อเป็นเงื่อนไขในสิ่งอื่น มานุษยวิทยาดนตรีสนใจสิ่งที่มันอยู่รอบๆ ด้านของสังคม

การเรียนสิ่งที่อยู่รอบๆ ด้านของสังคมผ่านดนตรีน่าสนใจอย่างไร

มันสามารถสร้างการยอมรับในความเป็นมนุษย์ด้วยกันได้ เช่น เราอาจจะมีอคติบางอย่างต่อแขก มองว่าสกปรก อ้วน ดำ ขี้โกง แต่ดนตรีที่เขาเล่น มันมีความวิเศษ และดำรงอยู่มายาวนาน 5,000 ปีแล้ว เขาอ่านโน้ตไม่ออกหรอก แต่ดีดซีตาร์ (sitar) เล่นราก้ากันได้เป็น 2-3 ชั่วโมง โดยโน้ตไม่ซ้ำกันสักตัวหนึ่ง มันสืบต่อมาได้ยังไงโดยที่ไม่มีโรงเรียนดนตรี ไม่มีปริญญา

เราไม่ได้ทำงานดนตรีแต่กับคนที่มีทักษะสูงๆ ทักษะไม่ดีอย่างเด็กดาวน์ซินโดรมเราก็เคยสอนเขา เขามีความสุข หัวเราะกันเอิ๊กอ๊าก เล่นโน้ตถูกหรือผิดไม่เป็นไร ในขณะที่เราพยายามจะบอกว่าดนตรีทำให้คนเป็นอัจฉริยะ ถ้าลองนับหนึ่งจากคนบกพร่องล่ะ คุณจะให้เขาเดินต่อไหม ถ้าเขาเกิดพูดไม่ชัด มองไม่เห็น หรือประสาทสัมผัสไม่ว่องไวเหมือนเรา แต่เขาคือคนเหมือนกัน คุณยอมที่จะอยู่กับเขาไหม

ใช้มานุษยวิทยาดนตรีสอนนักเรียนอย่างไร

เรามีวิชา fieldwork ที่พาเด็กไปอยู่ในงานวัด ชุมชนต่างๆ กว่าจะเดินไปถึงเวทีดนตรี เราเดินผ่านหมึกปิ้ง คนขายชุดชั้นใน หลวงพ่อที่กำลังเรียกเราให้ไปทำบุญ ฉะนั้นก่อนที่เขาจะไปถึงเวทีรำวง เขาได้เรียนรู้สังคม เสียง และรู้ว่าเวทีรำวงมันต้องอยู่กับงานวัดแบบไหน เรียนรู้สิ่งที่มันเป็นประวัติศาสตร์ร่วม วัฒนธรรมที่ซ่อนอยู่หรือวัฒนธรรมที่จะทำให้เวทีรำวงมันเปลี่ยนไป 

ข้างๆ เป็นหนังจอใหญ่ซึ่งต้องการพาวเวอร์มาก ฉะนั้นเวทีรำวงก็รำแบบชนิดที่ลำบากใจมาก หรือเวทีลิเกยิ่งลำบากใจใหญ่ เพราะคนไปดูอย่างอื่นกันหมด เงินก็น้อย ระนาดที่ตีเก่งๆ ก็ต้องเล่นเพลงลูกทุ่งหรือเพลงป๊อปถึงจะอยู่ได้ พระเอกนางเอกลิเกพอรำได้สักพักก็ต้องถือขันขอเรี่ยไร ไม่มีคนไปให้พวงมาลัยติดแบงก์อย่างในอุดมคติอีกต่อไปแล้ว เราเห็นความจริงของสิ่งเหล่านี้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่คุณสอนเด็กน่ะ คุณแยกโลกของดนตรีไทยออกไปจากโลกของลูกทุ่ง ป๊อปและความเป็นจริง ต้องลองไปดูหัวใจของคนตีระนาดในเวทีลิเก ลองไปเก็บข้อมูลว่าดนตรีอยู่กับสังคมหรือผู้คนยังไง

วิธีการที่จะไปสู่ความรู้ แค่เดินไปบอกให้เขาเล่นให้ฟังมันไม่พอ มันต้องรู้จักภาษาของเขา มีวิธีการปฏิบัติต่อเขา เราควรเรียนรู้และฝึกคนรุ่นต่อๆ ไปที่จะมาเป็นอะไรสักอย่างที่ขุดเจอคุณค่าของดนตรีตรงนั้นตรงนี้ แชร์กับชาวบ้านหรือทำความเข้าใจกับมัน คนที่จะตีความได้ต้องมีเซนส์ของความเข้าใจมนุษย์ ความหลากหลาย หรือสิ่งที่เป็นเบื้องหลังชุดความคิดของเขา

บรรยากาศในห้องเรียนเป็นแบบไหน

คุยกันยกใหญ่ แล้วก็คุยกันนอกห้องเรียนด้วย เช่น เราเลคเชอร์กันเรื่องวันชาติจีนฉลอง 70 ปี จับประเด็นเรื่อง carnival culture เขียนบอกล่วงหน้าในเฟซบุ๊คว่า state theatre หรือเวทีนาฏกรรมที่รัฐเป็นผู้จัดการเป็นยังไง เด็กจะเอาข้อมูลเหล่านี้มาถกเถียงกันในห้องเรียน แล้วต่อกันได้อย่างสนุกนอกห้องว่าเราดูปรากฏการณ์สังคมที่จีนมาเหนือมากเลยเพราะจัดละครใหญ่ให้คนทั้งโลกดู ทุกอย่างต้องเตรียม ต้องมีวินัยในการซ้อม ต้องเป๊ะ มุมกล้องที่เห็นนี่คือมุมกล้องละคร ทุกมุมเป็นภาพจำได้หมดเลย เราใช้การวิพากษ์เปรียบเทียบและเชื่อมโยงว่าตกลง เชื่อไหมว่าคอมมิวนิสต์มีจริง มันคืออะไรกันแน่ ฉากของทหารที่เดิน มีประชาชน และมณฑลต่างๆ มาเต้นร่วมกัน ชวนเด็กๆ ดูว่าเขาหยิบอะไรมาอยู่ในริ้วขบวนเหล่านั้น จีนใช้องค์ประกอบเหล่านี้เป็นโค้ด สัญญาณ และเป็นโชว์ด้วย

นักศึกษามีพัฒนาการอะไรที่น่าสนใจอะไรในการเรียน รู้ได้อย่างไรว่าเขาเรียนได้ดีแล้ว

ถ้าตามฟอร์แมตการศึกษาคือการวัดผล บางทีก็สอบโดยให้คำช่วยเขียนคำถามให้หน่อย ชีวิตนี้นักศึกษาตอบกันมาเยอะแล้ว

เราเลยลองเปิดมิวสิควิดีโอหนึ่งแล้วบอกเด็กว่านี่คือคำตอบ ให้คุณตั้งคำถามให้เยอะที่สุด ปรากฏว่ามีคำถามที่น่าสนใจจากเด็กเยอะมาก เขาไม่ได้หยุดอยู่แค่ว่าเพลงนี้แปลว่าอะไร ที่ผ่านมาเขาต้องตอบตามสูตรสำเร็จ และเจ็บปวดกับเรื่องนี้มาตั้งแต่อนุบาล ประถม พอมาอยู่มหาวิทยาลัยแล้วยังต้องเขียนคำตอบที่ถูกต้องอีกหรือ เราจะไม่มีการสอบแบบนี้อีกต่อไป

แต่ถ้าไม่ตามฟอร์แมตก็คือเราถกนอกรอบกับเด็กทุกเย็น เลยรู้ว่าบทสนทนาที่คุยกันมันไม่ได้จำกัดอยู่แค่ดนตรีแบบใดแบบหนึ่ง แต่กว้างมาก อัพเดทกันได้ตลอดเวลา ไปค้นอะไรได้ก็มาแบ่งกัน ตั้งประเด็น แล้วเราก็เห็นเขาเป็นผู้ชมที่ดี นักศึกษาไปนั่งดูปี่พาทย์ประชันกันแต่เช้าในงานวัด แล้วคนคนเดียวกันวันรุ่งขึ้นเขาก็ไปอยู่ในเวทีดนตรีแจ๊ส เพราะเขาชื่นชมทั้งคู่ เขาอาจจะเป็นผู้ดูแลคุ้มครองดนตรีแบบไหนก็ได้ในอนาคต เมื่อก่อนนี้เราอาจจะต้องบังคับให้คนจงรักภักดีกับดนตรีบางประเภทเท่านั้น แต่เด็กพวกนี้ใจกว้างมากกว่าและมีเซนส์ในการสังเกตความเคลื่อนไหวของโลก

มีนักเรียนแบบอื่นไหมที่ต้องใช้การสอนที่แตกต่างออกไป

เคยไปเป็นพ่อแม่ให้เด็กในมูลนิธิเด็ก (Foundation for Children (FFC)) อยู่เป็นปีเลย เอาอังกะลุงใส่กระสอบเหมือนซานตาคลอสไปสอน เด็กพวกนี้คือเด็กที่ถูกทิ้งมาจากสลัมบ้าง โดนข่มขืนบ้าง เราเลยให้พวกเขาเล่นอังกะลุงกัน เพราะมันเล่นคนเดียวไม่ได้ เสน่ห์ของมันคือต้องรอกัน ให้เกียรติกัน แล้วก็ต้องมีสเปซ ผมเลือกอังกะลุงเพราะต้องการดึงเด็กที่เคยต่อยกัน จับกดน้ำกันมาก่อนมาเล่นดนตรีด้วยกัน พอเล่นซ้ำไปซ้ำมาจะเริ่มรู้แล้วว่าบทบาทหน้าที่ของตัวเองคืออะไร โน้ตกับเพลงชุดเดียวกัน พอไปอยู่ในตำแหน่งที่แตกต่าง เราสัมผัสถึงหัวใจของคนอื่นได้ แลกบทบาทเป็นคนนำและตามได้ แต่เราไม่ได้สอนเขานะว่า ‘นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า….’ อะไร จากโน้ตกะพร่องกะแพร่ง มันจบลงด้วยเพลงที่ดีที่สุดที่เราเคยได้ยินมา แล้วเราคิดว่ามันคือรางวัลชีวิต เพลงที่เขาเล่นไม่ได้แสดงในคอนเสิร์ตที่เล่นให้ผู้ใหญ่ดู แต่เล่นหน้าแม่น้ำแควที่เคยจับกดน้ำกันมานี่แหละ

นอกจากงานสอน อาจารย์ยังทำวงดนตรีและงานคอนเสิร์ตด้วย?

โปรเจ็คต์ล่าสุดคือ ฟอร์มวงดนตรีเล็กๆ จาก 10 ประเทศในภูมิภาคอาเซียนมาอยู่ด้วยกัน ชื่อวง C asean Consonant เกิดขึ้นมาได้จากประชาคมอาเซียน ที่เราวาดฝันว่าเราจะได้อยู่ด้วยกันอย่างมั่นคง มั่งคั่ง มันเป็นไปได้จริงหรือ เสาทางด้านสังคมวัฒนธรรมมันท่องด้วยปากอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องมีการเรียนรู้ที่ผู้ใหญ่ต้องเรียนกับเด็กด้วย ผมชวนเพื่อนที่เป็นครูดนตรีรุ่นเดียวกัน 10 ชาติจาก 10 ประเทศมาคุยกันว่าเราจะทำอย่างไรให้ดนตรีอาเซียนไปปรากฏอยู่ในโลกสมัยใหม่ได้ มีเยาวชนจาก 10 ชาติ ทั้งชายหญิง มีต่างศาสนา พุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู มาอยู่ในวงเดียว การแสดงดนตรีมีความยืดหยุ่นมาก ไม่จำเป็นต้องโชว์ออฟความเป็นชาติอยู่ตลอดเวลา เราปรับเปลี่ยนเสียงเพลงไปเป็นหลากสไตล์ ตั้งแต่พื้นบ้าน ไปจนป๊อป ร็อค บลูส์ จนถึง contemporary music ก็ทดลองกันมากมาย 

โปรเจ็คต์ทดลองนี้นำไปสู่อะไร

โปรเจ็คต์นี้ผ่านมาแล้ว 3 ปี ย่างเข้าสู่ปีที่ 4 แต่เดิมมีครูเพลงเรียบเรียงดนตรีให้เด็กเล่น ปีนี้เราทดลองให้เขาเขียนเพลงกันเอง และรู้สึกว่าเขาโตพอที่จะสอนเราแล้ว เราเรียนจากการที่เด็กกัมพูชามีบทสนทนากับเด็กไทย เขายอมรับนับถือกันได้ไหม 

เราบอกเด็กๆ ว่าผมโตมาจากรุ่นที่สอนให้เกลียดเขมร เกลียดญวน โดยเฉพาะเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ แล้วเราก็เรียนเรื่องพม่าเผากรุงศรีฯ เรียนเกี่ยวกับเรื่องความขัดแย้งทั้งนั้นเลย เราลบประวัติศาสตร์เหล่านั้นไม่ได้ แต่เราสามารถที่จะ deconstruct มันได้ แล้วใช้วงดนตรีของเราพิสูจน์ว่าเพลงของพม่า ไม่ใช่เพลงแห่งความโหดร้ายรุนแรง เพลงของกัมพูชาก็อาจจะมีซาวด์ที่งามกว่าดนตรีไทยอีก

เราใช้กระบวนการเยอะมากที่จะทำให้เด็กในวงเข้าอกเข้าใจกัน ไม่ใช่แค่เล่นดนตรี เราช่วยกันระหว่างการเดินทาง กิน เล่น คุย ไปดูงานศิลปะด้วยกัน สร้างครอบครัวใหม่ซึ่งเป็นครอบครัวที่มีนักดนตรีที่มาจากภาษาที่ไม่เหมือนกัน แต่ว่าภาษาดนตรีมันคุยกันได้

เราใช้นักดนตรีเยาวชนเพราะจะไม่ค่อยมีม่านกั้นกัน ดีใจที่เห็นภาพคนดูรุ่นใหม่กับเด็กอาเซียนรุ่นใหม่เป็นเพื่อนกัน บางที่ที่ไปมี FC ซึ่งเราต้องสร้าง FC ไปพร้อมๆ กับการสร้างคุณภาพดนตรี และมีนิทรรศการทุกที่ที่ไป เครื่องดนตรีพวกนี้สามารถเล่าความเป็นประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์และเปิดโอกาสให้ศิลปะหลายแขนงมามีส่วนร่วม บางที่เราก็แจกสีแจกกระดาษให้ผู้ชมให้มีส่วนร่วมทางสังคม (social engagement) งานพวกนี้จึงกลายเป็นงานสดที่มีความทรงจำของผู้คน ดนตรีสามารถเป็นสิ่งที่ดึงคนมาทำกิจกรรมร่วมกันได้ตั้งหลายแบบ แต่เรามักจะคิดว่าการเรียนดนตรี ดนตรีต้องเป็นใหญ่เท่านั้น

อาจารย์คลุกคลีกับดนตรีพื้นบ้านมานาน แล้วมีความคิดเห็นในด้านของดนตรีป๊อปอย่างไร

ผมแฮปปี้และชื่นชมมาก อย่างดนตรีป๊อปเกาหลีคือดนตรีที่มีคุณภาพของการทำงานสูง นักร้องต้องมีวินัยสูงและต้องเสียสละเรือนร่างเพื่อที่จะต้องสวย การศัลยกรรมเข้ามามีบทบาท มีการสร้างคุณค่าความงามในลักษณะใหม่ มีอะไรให้เราเรียนรู้จากดนตรีป๊อปเกาหลีได้เยอะ เราไม่เคยคิดว่ามันจะทำให้วัฒนธรรมไทยอันแสนจะแข็งแรงมีความเสื่อมทราม ถ้าเห็นข้อดีของเขา มันจะพัฒนาสังคมการเรียนรู้ดนตรี ขับร้องเต้นรำของเราได้อีกเยอะ

สอนดนตรีป๊อปให้เด็กบ้างไหม

เยอะมาก ไม่ใช่แค่ตัวดนตรีป็อป แต่เป็นปรากฏการณ์ เช่น ล่าสุดผมเพิ่งจะเลคเชอร์เรื่องเพลงเลิกคุยทั้งอําเภอเพื่อเธอคนเดียว ในประเด็นลูกทุ่งในโลกที่เปลี่ยนแปลง ตอนนี้เขาพบรักกันที่เซเว่นอีเลฟเว่นแทนทุ่งนาแล้ว มีการใช้ดนตรี EDM เข้ามา นักร้องลูกทุ่งอย่างน้องกระแต อาร์สยาม ก็เป็นสาวชนบท และทำได้ดีไม่แพ้การเต้นเกาหลี เพลงของเขามีความประณีต สนุกมากและมีกราฟิกดี เมื่อวานนี้ผมพึ่งพูดถึงปรากฏการณ์ของเพลงสาวดอยคอยปี้ ซึ่งผมมองว่ามันคือดนตรีป๊อป แต่คนพยายามจะบอกว่ามันคือสิ่งที่ทำลายมาตรฐานเพลงลูกทุ่ง เพลงนี้เล่าเรื่องสาวเหนือที่แฟนจากไปไกล เมื่อไหร่จะกลับมาหาน้อง แต่พอคำว่าพี่ มันถูกร้องว่าปี้ โอ้โห วงการลูกทุ่งก็เดือดดาล

ผมจะมีตัวอย่างปรากฏการณ์ป๊อปคัลเจอร์ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมมาคุยกัน เช่น จัดทอล์คเรื่องเพลงประเทศกูมี แล้วเชิญ Liberate P (หนึ่งในศิลปินจากวง Rap Against Dictatorship) ถนอม ชาภักดี ที่เป็นนักวิจารณ์ศิลปะ และนักกฎหมาย มาถกกันว่าเนื้อหาในเพลงนี้ผิดกฎหมายข้อไหน (หัวเราะ)

เราเอาประเด็นสังคมมาเป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ เพลงประเทศกูมีเป็นป๊อปคัลเจอร์ ลูกทุ่งก็เป็นป๊อปคัลเจอร์ แล้วมันก็เกิดมาเพื่อที่จะเป็นป๊อปคัลเจอร์นานแล้ว เพียงแต่ว่าเราเอาเขาไปขังไว้ในมนต์รักลูกทุ่ง แล้วไม่ให้เขาหายใจหรือเติบโตต่อ ปรากฏการณ์ของเพลงหรือดนตรีทำให้เราเรียนรู้ศิลปะของการต่อต้าน ถ้ามันดี มันแฮปปี้ก็ไม่ต้องต่อต้าน แล้วมันไม่ได้ต่อต้านด้วยตัวดนตรีอย่างเดียว แต่ด้วยการสนับสนุนดนตรีด้วย คือพอมีคนบอกว่าเพลงนี้ต้องถูกกำจัด ก็กลายเป็นว่าคนกดไลค์และแชร์ไป 40 ล้านวิว แบบนี้มันมหัศจรรย์เพราะเป็นพลังบริสุทธิ์ของผู้คน

การใช้ดนตรีเพื่อสอนแง่มุมทางสังคมกับเด็กสามารถนำไปสู่การเป็นมนุษย์ที่อยากทำความเข้าใจมนุษย์ได้ดีขึ้นไหม

ต้องสอนให้เห็นว่าภาษาดนตรีมันล้างกำแพงของภาษาที่คนใช้สื่อสารกัน และดนตรีไม่ได้มีความหมายแบบเดียว มันไม่ใช่แค่ภาษาสากล แต่เป็นภาษาของประวัติศาสตร์ที่สื่อสารเรื่องอารมณ์ความรู้สึกได้ ใช้เป็นเสียงแสดงอำนาจก็ได้ 

เช่น ระฆังเป็นเสียงบอกพื้นที่ของศาสนจักร จึงต้องสร้างระฆังให้สูงเพื่อให้รัศมีของเสียงไปไกลที่สุด หรือ ถ้าเรารู้เรื่องของฉิ่งดีพอ เราจะรู้ว่ามันผ่านยุคสัมฤทธิ์มา บ่งบอกได้ว่าเป็นภาษาของมนุษย์เก่าแก่ที่มีอารยธรรมย้อนไปถึง 2500 ปีเป็นอย่างน้อย ภาษาของความงดงาม ของการรัก โลภ โกรธ หลง ก็บอกได้ด้วยโน้ตเหล่านี้ ตีฉิ่งฉับบอกว่า ‘ฉันรักเธอ’ นี่ตีด้วยความรักก็ได้ หรือตีด้วยความโกรธ เกลียดก็ได้เหมือนกัน แล้วก็เข้าใจกันได้โดยที่ไม่ต้องเอ่ยคำว่ารักหรือคำว่าโกรธออกมา

เมื่อดนตรียังมีหลายความหมาย เพราะฉะนั้นการเสพและการทำความรู้จักมันก็เปิดพื้นที่ให้กับความแตกต่างได้ด้วย เราสามารถหยิบจับอะไรขึ้นมาเป็นตัวอธิบายก็ได้ในโลกของมานุษยวิทยาดนตรี เช่น ในยุคปัจจุบัน ผมเลคเชอร์เรื่องงานเพลงของ ปอยฝ้าย มาลัยพร เพราะมันเท่มากที่เขาเรียกร้องความเป็นกะเทยของอีสานผ่านบทเพลง หรือนักร้องที่อยู่ในแก๊ง sexy stars เราก็พยายามไปศึกษาดูว่าทำไมเขาถึงกลายเป็นเครื่องมือในโลกสมัยใหม่ เขาไม่ใช่แค่วัตถุทางเพศอย่างเดียวแต่มีอะไรที่น่าสนใจอีกเยอะ

ดนตรีที่คุยกันมาก็มีส่วนที่ยึดโยงกับคุณค่าของความเป็นดนตรี เราควรจะสอนเด็กให้เห็นคุณค่าของดนตรีไหม

เราควรให้ทางเลือกเยอะๆ ว่าเขาเข้าใจแบบไหน เข้าใจว่าครูในห้องเรียนอาจจะมีเวลาน้อยที่จะทำให้ 50-60 ชีวิตเข้าใจ เขาเลยต้องมีสรุป วัดผล และให้คะแนน แต่มันก็ช่วยให้คนทำมาหากินได้ ให้การเรียนการสอนดนตรีเป็นสิ่งที่เขาหมกมุ่นก็ดีเหมือนกันเพราะว่าใครจะมานั่งปั้นโน้ตให้ถูกต้องเป๊ะๆ ถ้าไม่ได้เรียนหรือทำวิจัย หรือคนที่ศึกษาประวัติศาสตร์ของมันอย่างจริงจัง ถ้าไม่มีเขา ตำนานต่างๆ ของวงการดนตรีคลาสสิก แจ๊ส ร็อค ก็ไม่มีคุณค่า

ต้องอย่าลืมว่าดนตรีหรือเพลงเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เนี่ย (ตบมือ) มันเกิดขึ้นแล้วก็หายไป บอกได้ไหมว่าเมื่อกี้นี้โน้ตตัวอะไร แล้วเชื่อไหมว่าเมื่อกี้ผมเล่นดนตรี เห็นไหมว่ามันไม่มีหลักฐานเพราะมันหายไปแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าจะทำให้มันมีประวัติศาสตร์เกิดขึ้น ก็ต้องมีความพยายามทุกอย่างที่จะเล่าถึงมัน เช่น ได้ปรบมือเป็นบันไดเสียง C Major เมื่อปีนี้ วันนี้ สถานที่นี้ ทำให้การปรบมือมีคุณค่าขึ้นมา เหล่านี้ก็เป็นการสร้างคุณค่าหรือความทรงจำของสังคมผ่านการศึกษาค้นคว้าหรือการบันทึกถึง

ดนตรีจะสามารถสร้างความเข้าใจเรื่องความหลากหลายในสังคมได้อย่างไร

มันเป็นเสียงและพื้นที่ทางความคิดของความหลากหลาย แล้วก็มันอาจจะเป็นการทดลองว่าการส่งเสียงไม่ใช่แค่ชุดของภาษาปาก ชุดของตัวหนังสือมันยังมีความหมายอยู่ไหมในโลกสมัยใหม่ โลกในอดีต ตัวหนังสือมาทีหลังเสียง แล้วเราก็ไปคิดว่ามันคือสิ่งสำคัญจนกระทั่งคิดว่าประวัติศาสตร์จะเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์สร้างตัวอักษร แล้วก่อนหน้านั้นเราอยู่กันมายังไงล่ะ เสียงมันมาก่อน เราให้ความสำคัญกับชนชั้นที่มีรสนิยม บอกว่าคุณค่าของดนตรีคลาสสิกเป็นดนตรีที่งดงามบริสุทธิ์ เราเลือกเล่นดนตรีให้คนที่ใส่สูททักซิโด้ ซื้อตั๋วแพงๆ เท่านั้นหรือ เราจะเลือกปฏิบัติต่อมนุษย์บางจำพวกที่มีรสนิยมที่เราต้องการเท่านั้นหรือ

เบสิคของดนตรีคือมันอยู่ร่วมกันกับสังคมมาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว แต่บางยุคที่เราพัฒนาไปสู่ความเป็นศิลปิน อัตตาพรั่งพรูขึ้น กลายเป็นว่านักดนตรีกลายเป็นพระเจ้าที่อยู่กลางเวที แล้วเราก็ลืมไปว่าดนตรีมันมีความหลากหลายเหมือนชาติพันธ์ุ ภาษา ผู้คน มานุษยวิทยาทำให้เราเห็นว่าความหลากหลายของดนตรีเหมือนความหลากหลายของผู้คน และสอนให้เรายอมรับความหลากหลายเหล่านั้น

 Fact Box

– อานันท์เป็นผู้ก่อตั้งและสมาชิกวงกอไผ่ วงดนตรีร่วมสมัยที่เล่นตั้งแต่ดนตรีแนวแบบแผนไปจนถึงดนตรีโฟลค์-ป๊อป, ฟิวชั่นแจ๊ส และดนตรีทดลอง เดินทางไปเล่นในหลายประเทศ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่น อิหร่าน กัมพูชา มาเลเซีย ฯลฯ และเป็นสมาชิกวงฟองน้ำเพื่อส่งต่อดนตรีร่วมสมัยในแบบของอาจารย์บรูซ แกสตัน

– เขาเป็นคนไทยคนเดียวที่เป็นสมาชิกกลุ่มศิลปะสร้างสรรค์ชื่อ I-Picnic ที่มีส่วนประกอบของนักแต่งเพลง ศิลปินวิดีโออาร์ตชาวญี่ปุ่น นักดนตรีด้นสด ผ่านการสนับสนุนจากมูลนิธิญี่ปุ่นให้ทัวร์สร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยทั่วเอเชียและยุโรป

– อานันท์บันทึกและเผยแพร่ดนตรีชาติพันธุ์ ดนตรีกะเหรี่ยง ดนตรีวณิพกทั่วไทย ช่างทำเครื่องดนตรี และวัฒนธรรมดนตรีที่น่าสนใจทั่วโลกผ่านหลายช่องทางทั้งการจัดรายการวิทยุ ห้องเรียนเพลงดนตรีอาเซียนในเฟซบุ๊ค หรือบทความวิจัยทางวิชาการด้านดนตรี เช่น บทความ The Central Region, The Tuning System of Folk Music in Thailand, Sonic Orders in ASEAN Musics (A Field and Laboratory Study of Musical Cultures and Systems in Southeast Asia) ที่สนับสนุนโดยทุนวิจัยอาเซียน ประเทศสิงคโปร์ อีกทั้งเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย 14 โครงการที่หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 โครงการอัครดุริยะศิลปินราชสดุดี 84 พรรษา

– ตำแหน่งอาจารย์ก่อนหน้านี้คืออาจารย์สอนวิชาดนตรีที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และยังคงเดินทางศึกษาดนตรีทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง

Tags:

นักมานุษยวิทยาประชาธิปไตยดนตรีศิลปะการแสดงอานันท์ นาคคงชาติพันธุ์

Author & Photographer:

illustrator

ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

ศิลปศาสตร์บัณฑิต และมนุษย์ฟรีแลนซ์ที่ทำงานเขียน ถ่ายรูป สัมภาษณ์ แปลงาน ล่าม ไปจนถึงครูสอนพิเศษเด็กชั้นประถม ของสะสมที่ชอบมากๆ คือถุงเท้าและผ้าลายดอก เขียนเรื่องเหนือจริงด้วยความรู้สึกจริงๆ ออกเป็นหนังสือ 'Sad at first sight' ซึ่งขายหมดแล้ว ผลงานล่าสุดคือ I Eat You Up Inside My Head รับประทานสารตกค้างในกลีบดอกปอกเปิก

Related Posts

  • Creative learning
    สืบสานพิธีกรรมนางออ มนต์ขลังเสียงแคนที่เชื่อว่าช่วยขจัดปัดเป่าโรคได้

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ The Potential

  • Creative learning
    ตามรอย “มโนราห์” เบื้องหลังศิลปะและศรัทธาที่เป็นได้มากกว่าการร่ายรำ

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ The Potential

  • Creative learning
    สวนสายรุ้งแห่งวัฒนธรรม: มหกรรมเยาวชนชาติพันธ์ุตากที่เชื่อว่าทุกคนมี ‘สี’ เป็นของตัวเอง

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Voice of New Gen
    คุณวุฒิ บุญฤกษ์: เด็กชายผู้ล้มเหลวในวิชาวิทย์ สู่นักวิจัยสายสังคมศาสตร์

    เรื่องและภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Character buildingCreative learning
    นาฏลีลาผสานกลองปูจา เล่าเรื่องผ่านเสียงกลองและการร่ายรำ

    เรื่อง

นิศาชล คำลือ: ถึงอวกาศจะไม่มีอากาศ แต่ทำให้อยากหายใจเพื่อค้นหาดาวดวงต่อไป
Life classroomVoice of New Gen
13 November 2019

นิศาชล คำลือ: ถึงอวกาศจะไม่มีอากาศ แต่ทำให้อยากหายใจเพื่อค้นหาดาวดวงต่อไป

เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

  • ‘กิ๊ก’ นิศาชล คำลือ คือ เด็กสาวอายุ 18 ปีที่ลาออกจากโรงเรียนตอน ม.5 เพราะตัดสินใจเด็ดขาดว่าจะไม่ยอมให้ใครหรืออะไรพรากเวลาไปจากตัวเองอีกแล้ว 
  • กิ๊ก เป็นเด็กสาวที่เอาคาบการโคจรของบริวารดาวยูเรนัสมาเป็นเสียงดนตรีเมื่อตอนอายุ 17 ปี
  • กิ๊กยอมรับว่าเป็นโรคซึมเศร้า ย่างเข้าปีที่สอง และกิ๊กมาพร้อมรอยแผลจากการกรีดบริเวณข้อมือ…จำนวนนับไม่ถ้วน
ภาพ: เฉลิมพล ปัณณานวาสกุล

“เพราะมีเหตุจึงมีผล เพราะมีผลจึงเข้าใจ เพราะเข้าใจจึงอภัย”

เพราะประโยคนี้ของเธอ ทำให้เราตัดสินใจนัดหมาย ‘กิ๊ก’ นิศาชล คำลือ หนึ่งในกำลังสำคัญของทีม SPACETH.CO เพื่อทำความรู้จักให้มากกว่านี้ 

นี่คือโปรไฟล์คร่าวๆ ของกิ๊กที่เรารู้ล่วงหน้า ก่อนได้เจอหน้ากันจริงๆ 

  • เป็นเด็กสาวอายุ 18 ปีที่ลาออกจากโรงเรียนตอน ม.5 เพราะตัดสินใจเด็ดขาดว่าจะไม่ยอมให้ใครหรืออะไรพรากเวลาไปจากตัวเองอีกแล้ว 
  • เป็นเด็กสาวที่เอาคาบการโคจรของบริวารดาวยูเรนัสมาเป็นเสียงดนตรีเมื่อตอนอายุ 17 ปี
  • เจ้าตัวกำลังซ้อมเข้มเพื่อขึ้นเวที TED xYOUTH@Bangkok 2019 กลางเดือนนี้

และนี่คือข้อมูลระหว่างการสนทนา ที่ทำให้เราคิดว่าต้องเดินหน้าคุยต่อ ซึ่งเป็นการตัดสินใจไม่ผิด

  • กิ๊กยอมรับว่าเป็นโรคซึมเศร้า ย่างเข้าปีที่สอง
  • พร้อมรอยแผลจากการกรีดบริเวณข้อมือ…จำนวนนับไม่ถ้วน

“เพราะมีเหตุจึงมีผล เพราะมีผลจึงเข้าใจ เพราะเข้าใจจึงอภัย” กิ๊กยังยืนยันเช่นนั้น

‘กิ๊ก’ นิศาชล คำลือ

ตั้งแต่เล็ก กิ๊กเป็นเด็กอย่างไร 

แก้ผ้าวิ่งเล่นน้ำ ตอนเด็กเราอยู่กับย่า ย่าเลี้ยงแบบใช้ความรุนแรง เราโดนทั้งรองเท้าตบหน้า สายยางฟาดเข้าที่ลำตัว ตอนนั้นเราเจ็ดขวบเองนะ ก็จะหนีไปหลังบ้านที่คนไม่ค่อยไป แต่ตรงนั้นมันจะมองเห็นท้องฟ้าชัดมาก 

ทุกครั้งเวลาหนูร้องไห้หนูก็จะมองขึ้นท้องฟ้า เหมือนมันเป็นแค่สิ่งสวยงามเดียวในชีวิต ณ ช่วงนั้น หนูก็เลยชอบท้องฟ้ามาก ชอบสีท้องฟ้า ชอบมาตลอด มันก็เลยเป็นความสุข ที่ทำให้เรารู้สึก peaceful 

มันปลอบเราหรือเปล่า

น่าจะ ด้วยสี ด้วยอะไร มันก็เลยทำให้เรารู้สึกได้รับการปลอบประโลม เพราะว่าตอนนั้นมันก็ไม่มีใครปลอบเราด้วยไง เราเองก็ไม่ได้รับการปกป้องจากใคร

แล้วความชอบในวิทยาศาสตร์ อวกาศ มันมาตอนไหน

วันหนึ่งไปเริ่มอ่านหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ตอนนั้นจำอะไรไม่ได้หรอก จำได้แค่เซอร์ไอแซค นิวตัน เราประหลาดใจตรงการค้นพบสิ่งที่ยิ่งใหญ่มาจากแค่แอปเปิลหล่นใส่หัวเนี่ยนะ แต่เราก็ยังไม่ได้ศึกษาลงลึกอะไร 

แต่ถ้ามาชอบจริงๆ เริ่มจากคณิตศาสตร์ก่อน มันเป็นวิชาของเหตุและผล แล้วเราก็เป็นคนที่ค่อนข้างมีเหตุผลในระดับหนึ่ง เราเลยทำมันออกมาได้ดี แต่เริ่มชอบแบบ crazy จริงๆ คือช่วง ม.ปลาย เพราะว่าเราไม่อยากเรียนวิชาอื่นเลย เวลาครูวิชาอื่นเข้ามาสอนก็จะนั่งเมื่อย บางทีลงไปนอนกับพื้น หลับด้วย เรารอเรียนอยู่สองวิชาคือคณิตกับฟิสิกส์ 

เราชอบฟิสิกส์ เพราะมันเป็นเหตุเป็นผล เช่น เรามีแรงเท่านี้ กระทบไปกับผนังเท่านี้ ผนังจึงสะท้อนแรงออกมาเท่านี้ มันไม่มีคำว่าซับซ้อน มันมี process ของมัน แต่ตอนนั้นเรายังเป็นเด็กหลังห้องอยู่นะ เราเริ่มทิ้งคำว่าเกรดไปแล้ว เพราะรู้สึกว่าเกรดมันตัดสินเราไม่ได้ เราเกินกว่าเกรดจะมาวัด กูแม่งเจ๋งกว่านั้น 

แล้วครูไม่ว่าเหรอ

ว่าค่ะ แต่หนึ่ง ด้วยความเป็นเด็กห้อง gifted ครูเขาจะไม่ค่อยกล้าว่า สอง ด้วยความที่เป็นเรา ครูก็ไม่ค่อยกล้าว่าอีก ว่าหลายรอบแล้วมันก็ยังเป็นแบบเดิม เขาเลยปล่อย

ความเป็นเรามันเป็นอย่างไร

ผู้ใหญ่จะพูดว่าเถียง แต่เราใช้คำว่า discuss ด้วยเหตุผล อ้าวแล้วทำไมต้องเป็นแบบนี้ ถ้าครูตอบไม่ได้ว่าทำไม แปลว่าครูไม่มีเหตุผลที่จะมาบังคับเรา ฉะนั้นมันก็เป็นการบังคับที่ไม่สมเหตุสมผล แล้วทำไมฉันต้องทำตามคำสั่งของคุณ 

คำถามอะไรที่เราถามครูไปแล้ว ครูตอบไม่ได้

“อะไรอยู่นอกเอกภพ” ซึ่งมันมีทฤษฎีอยู่ว่าอาจจะมีเอกภพในเอกภพ หรือพวกสสารมืด หรือมิติคู่ขนาน แต่ครูเขามองว่าเราคงไม่สามารถเข้าใจอะไรพวกนั้นได้ เขาก็ตอบว่าไม่มี ยังไม่มีใครค้นพบ เขาก็ยังให้คำตอบไม่ได้ แล้วเราแบบ มันต้องมีดิวะ ในเมื่อน้ำมันอยู่ในแก้ว แก้วมันอยู่บนโต๊ะ โต๊ะมันอยู่ในร้าน เราก็เลยรู้สึกไม่เข้าใจ ตอนนั้น (ม.1) เราจึงไม่เอาดาราศาสตร์เลยนะ ทำไมมันย้อนแย้งจัง แต่พอโตมาเราก็เข้าใจนะทำไมมันย้อนแย้ง เพราะว่าทฤษฎีหลายๆ อย่างมันยังรอการพิสูจน์ 

พอเรามีโอกาสได้ไปทำงานกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ให้เด็กทำโปรเจ็คต์ดาราศาสตร์ออกมา ด้วยความที่เราทิ้งดาราศาสตร์ไปตั้งแต่ ม.1 ตอนนั้นเรารู้ตัวว่า ถ้าเราไม่เข้าใจ แล้วเราไม่ชอบ ไม่เสร็จแน่นอน เราก็เลยหาอะไรบางอย่างที่เราชอบ เลยไปเจอแนวคิดหนึ่งในยุคเรอเนส์ซองส์ (Renaissance) คือการทำให้คาบบริวารของดาวยูเรนัสเป็นเสียงดนตรี โดยเอาคาบการโคจรมาเป็นเสียงดนตรี เอาโน้ตมาเล่นตามความถี่ของมันเท่านั้นเอง

คนอื่นบอก “เจ๋งจังเลย” แต่เราว่าไม่เจ๋งนะ คนเขาคิดได้ตั้งแต่ยุคเรอเนส์ซองส์แล้ว มันแค่ไม่มีคนทำ แต่คนก็สนใจ ได้ออกสื่อ กลายเป็นที่รู้จักในแวดวงวิทยาศาสตร์ เราก็เลยได้มีโอกาสไปต่อ

ตอนที่ทำโปรเจ็คต์ เราได้รู้จักคน อย่าง อาจารย์มติพล ตั้งมติธรรม (นักวิชาการ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) ซึ่งเรารักมากเลย เรารู้สึกว่า พระเจ้า! ครูบนโลกนี้มันไม่ได้น่าเบื่อไปทุกคนนี่หว่า เราก็เลยเปิดใจรับฟังคำพูดของผู้ใหญ่มากขึ้น เขาทำให้เรารู้ว่า โลกนี้ไม่ได้มีแค่นั้น เราเริ่มรู้ว่าเราชอบอะไร อยากทำอะไร 

แล้วเราเจอคำถามหนึ่งของพี่หวาย พิสิฏฐ นิธิยานันท์ (แฟนพันธ์ุแท้ดวงดาว) เขาถามเราว่า โตไปอยากทำอะไร เป็นคนแรกที่ถามเลย เพราะว่าคนอื่นเขาจะถามว่าโตไปอยากเป็นอะไร เราไม่รู้ แต่อันนี้เรามีคำตอบให้ทันทีเลยว่า

ในวงการดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อวกาศ มันกำลังโตเร็วมาก เราค้นพบและเรียนรู้อะไรใหม่ๆ แทบทุกวัน มันเหมือนน้ำหลาก นี่เป็นครั้งแรกที่เราอยากจะกระโดดลงไปในน้ำแล้วไหลไปกับมันเลย ทั้งที่เมื่อก่อนเราชอบเซฟโซน แต่เราอยากเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตของวิทยาศาสตร์อวกาศ ไม่ว่าจะเป็นส่วนไหนก็ตาม  

 ย้อนถาม ทำไมถึงตัดสินใจลาออกจากโรงเรียนกลางคัน (ม.5)

เราเริ่มคิดมาสักพักว่า คุ้มไหมวะ ค่าเทอม มันก็ไม่ได้แพงอะไร เรามองว่า เงินน่ะ ไม่ตายก็หาใหม่ได้ แต่เราก็รู้สึกว่ามันมีบางอย่างที่เราจ่ายไป จู่ๆ เราก็นึกออกว่า เฮ้ย เวลาชีวิตนี่หว่า ที่หายไป ชิบหายแล้ว คิดคำนวณเลยว่าเสียไปกี่ปี เอาเวลาชีวิตไปลงทุน คุ้มไหม ไม่คุ้มแล้ว ทำยังไง เอาคืนไม่ได้ ทีนี้ก็เลยไม่ไป เวลาชีวิตต้องไม่พรากจากเราไปอีกแล้ว เลยส่งไลน์ไปบอกครูที่ปรึกษา

วันที่ตัดสินใจไปโรงเรียนวันสุดท้าย ก็คือบอกเพื่อน มึง กูลาออกแล้วนะ บอกทั้งห้องเลย พวกมันก็ยังเล่นกันอยู่ มีคนเชื่อแค่คนเดียว เพื่อนบางคนก็อยากออกกับเรา เราก็ว่าถามว่า มึงเจอหรือยังว่ามึงจะไปทางไหน ถ้าทางที่มึงจะไปมันอยู่ในระบบมึงก็เดินไป อยู่ในระบบนี่แหละ มันไม่ได้ผิดอะไร แต่ถ้าทางที่มึงเจอมันไม่ได้อยู่ในระบบ มึงก็ออก

มีมาตรการยับยั้งมากน้อยแค่ไหน ทั้งจากโรงเรียน พ่อแม่

พ่อแม่ก็โวยวาย เข้ามาดึงผ้าห่ม บอกว่าไปโรงเรียนเถอะลูก เราก็แบบ ก็บอกว่าไม่ไปแล้วไง จะสอบเทียบเอา เขาไม่เข้าใจแต่เขาทำอะไรไม่ได้ เราเอาแต่ใจมาก ทางโรงเรียนก็จะมีครูที่ปรึกษาที่เป็นครูที่เรารักและเคารพมาก เขาก็บอกให้ใจเย็นๆ แต่ครูคนนี้เขามีความเชื่อในตัวเราว่าเราจะทำได้ ตอนที่เข้าไปคุยกับรองผู้อำนวยการ ก็ถามว่าหนูจะดร็อปไว้ก่อนไหม แล้วปีหน้ามาเรียน ให้พักจิตพักใจให้สงบก่อนก็ได้

เราก็ปฏิเสธ เขาก็ถามต่อ ถ้าหนูสอบ (มหาวิทยาลัย) ไม่ได้ล่ะ? หนูคิดว่าหนูสอบได้ หนูจะสอบให้ได้ 

ครูที่ปรึกษาเราเขาเคยบอกว่านี่เป็นข้อดีของเธอ ตรงที่เธอมั่นใจว่าเธอจะทำได้แล้วเธอก็จะตั้งใจทำมันจนได้ 

การที่เรามีใครสักคน ที่เขาเชื่อมั่นใจตัวเราว่าเราทำได้ มันสำคัญกับเรามากน้อยแค่ไหน

จริงๆ เขาคุยกับเราในเชิงที่ไม่ได้เป็นครูที่สอนอย่างเดียว เขาถามว่าเราคิดยังไง เราก็ไม่ได้เห็นตรงกันไปทั้งหมด แต่โชคดีตรงที่เขารับฟังแล้วเคารพในการตัดสินใจของผู้อื่น มันก็เลยทำให้เรารู้สึกดีกับเขา 

พอรู้ว่าเวลาเราเอากลับคืนมาไม่ได้  รู้ว่าตัวเองอยากทำอะไร กิ๊กทำอะไรต่อหลังจากออกจากโรงเรียน

ตอนนั้นคิดว่า ถ้าจะสอบเทียบเข้ามหาวิทยาลัยเลยคงไม่ทัน ฉะนั้นเราเลยคิดว่า งั้นเราจะเข้าปีหน้า แล้วหนึ่งปีจะเอาเวลาไปทำอะไรวะ คืออยากหาประสบการณ์ แต่ก็ยังอยากอยู่ในแวดวงอวกาศ วิทยาศาสตร์ เราก็รู้จักกับพี่เติ้ล (ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน-บรรณาธิการ SPACETH.CO) เลยทักไปของานทำ แล้วก็ได้งานมาทำแบบงงๆ 

จริงๆ การเรียนก็สำคัญ แต่เรายังไม่แน่ใจว่ามันโอเคกับเราไหม คิดว่าลองทำงานดูก่อน ถ้าไม่ได้ยังไงเดี๋ยวว่ากัน เพราะตั้งแต่เด็กหนูไม่เคยมีเป้าหมายแบบเพื่อนเลย อยากเข้าจุฬาฯ อยากเข้าธรรมศาสตร์ หนูไม่เคยอยากเข้าที่ไหน เท่ากับอยากเรียนอะไร 

เราอยากเรียนวิศวะแอโร (วิศวกรรมการบินและอวกาศ) จริงๆ แอบคิดไว้หลายอย่าง กฎหมาย จิตวิทยา โน่นนี่นั่น เราอยากเรียนหลายอย่าง เพราะเราเองก็ชอบหลายอย่าง เราก็ทำได้ดีหลายอย่างด้วย เราก็เลย สัส เรียนทีเดียวหลายอย่างไม่ได้เหรอวะ (หัวเราะ) ก็เดี๋ยวลองดู

แต่ช่วงเวลานี้คือ ทำงาน เก็บเงิน แล้วก็หาประสบการณ์ ชีวิตประจำวันตอนนี้คือ เขียนงาน

ตอนนี้หนูทำให้ตัวเองเป็นเครื่องผลิตคอนเทนต์ เราจะต้องได้วันละคอนเทนต์ แล้วให้บรรณาธิการสี่คนตรวจงานเรา ไม่ผ่านส่งมาแก้ ทำ ส่งอีก แล้วมันจะทำให้เราได้ความรู้ใหม่ๆ ด้วย 

ที่บอกว่าเป็นเครื่องจักรผลิตงานเขียน วินัยสำคัญกับเรามากน้อยแค่ไหน

สำคัญมาก (ลากเสียง)

แล้วกิ๊กมีวินัยยังไงบ้าง

ไม่มีค่ะ (หัวเราะ) มันเป็นอะไรที่สำคัญมากๆ เราต้องมีความกระเตื้องในตัวเอง แล้วด้วยความที่เราอยู่บ้าน ไม่มีคนบังคับ เราจะทำเมื่อไรก็ได้ 

วินัยเราไม่ค่อยมี แต่เราพยายามจะมีความรับผิดชอบต่อมัน โอเค อาจจะไม่ได้วันละคอนเทนต์อย่างที่ตั้งใจ แต่ว่าเราจะใส่ใจเรื่องคุณภาพคอนเทนต์มากกว่า หนึ่ง เราอยากจะให้งานมีลายเซ็นเรา คนอ่านจะรู้แล้วว่านี่ของกิ๊กแน่เลย แล้วเราอยากนำเสนอสื่อที่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง ไม่ยุยงใครไปทางใดทางหนึ่ง เพราะว่าวิทยาศาสตร์ก็คือวิทยาศาสตร์ นำเสนอข้อเท็จจริง

วันไหนที่เราไม่อยากเขียนงาน เราก็จะแอบเล่นเกม แอบอ่านหนังสือ บางครั้งก็เป็นหนังสือที่เป็นหนังสือวิชาการ เราอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็ก หนูอ่านฟิสิกส์ ม.ปลาย ตั้งแต่ ป.4

ใครเป็นคนบอกให้อ่าน หรืออยากอ่านเอง

อยากอ่านเอง เราไปเห็นหนังสือพี่สาวที่เขาไม่ได้ใช้แล้ว เป็นฟิสิกส์ มันเป็นฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เราหยิบฟิสิกส์มาอ่านก่อน เราก็พอจะเข้าใจสมการง่ายๆ มันก็จะมีรูปอธิบาย ที่คือ f นี่คือ m นี่คือ a อ๋อมันเป็นอย่างนี้เหรอ เราก็เริ่มอ่าน แต่มันก็ไม่ได้เข้าใจอะไรขนาดนั้น

ส่วนตัวกิ๊กคิดว่า ทักษะอะไรที่กิ๊กยังขาดและยังต้องพัฒนาเรื่อยๆ

ความรับผิดชอบ โดนด่าตลอด เรารู้นะว่าเรายังไม่ได้เขียนงาน แต่ว่าเราก็ยังผลัดไปเรื่อยๆ ดูหนังอีกสักเรื่องแล้วกันน้า อีกสักเรื่องแล้วกันน้า เราจะติดเอาแต่ใจตัวเอง ว่าอยากทำอะไรทำ ซึ่งมันมีทั้งทางที่ดีและไม่ดี พอเราไม่มีความรับผิดชอบเราก็จะโดนว่าบ่อย ว่างานนี้มึงพูดแล้วว่ามึงจะไป มึงต้องไปนะ ไม่ใช่ว่า ไม่ไปแล้วได้ไหม อันนี้เป็นสิ่งที่อยากพัฒนามากๆ เลย ซึ่งเราคิดว่าเราจะสามารถทำได้ดีกว่านี้มากขึ้นไปเรื่อยๆ ก็หวังว่าจะเป็นอย่างนั้น

ความรู้สึกของคนอื่น สำคัญต่อเรามากน้อยแค่ไหน

เมื่อก่อนแทบจะไม่เลย ตอนนี้ก็คือคิดเยอะขึ้นมากๆ เพราะว่า ไม่ว่าจะเป็นข่าวในสังคม หรือตัวเราเอง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเรา มันทำให้เรารู้สึกว่าการแสดงความคิดเห็นทางลบ แค่คุณพิมพ์เสร็จ คุณลืมด้วยซ้ำว่าคุณเคยมาเมนท์ แต่มันอาจจะฆ่าคนคนหนึ่ง หลอนคนคนหนึ่งไปตลอด

ความรู้สึกคนที่เรารู้จัก คนที่เราเจอในชีวิต ค่อนข้างสำคัญมาก แต่ถ้าเป็นความรู้สึกของใครก็ไม่รู้เราก็จะไม่ค่อยแคร์เท่าไหร่ เขาไม่ใช่คนที่เรา communicate ด้วยตลอด 

ถามเรื่องรอยแผลที่ข้อมือได้ไหม

หนูเคยมีแฟนคนหนึ่ง ความสัมพันธ์มันคือ toxic relationship ตอนนั้นเราเป็นโรคซึมเศร้าจน…พยาบาลฉุกเฉินก็จำหน้าได้หมดแล้ว กรอกยานอนหลับเข้าไป ยามันก็ยัดอยู่ในคอ จนเรารู้สึกว่า สิ่งที่รักษาเราได้ มีสองอย่าง คือยากับสภาพแวดล้อม เขาเรียกพ่อกับแม่ไปคุยเลยนะ ว่าเนี่ย อย่าไปว่าลูกนะ เพราะว่ามันก็เป็นโรคที่ลูกเองก็ไม่ได้ตั้งใจเป็น 

ในสภาพแวดล้อมหนูก็มีเขา (อดีตแฟน) ซึ่งเขาเป็น toxic เราก็ยังคงอดทน จนเรารู้สึกว่า ไม่ไหวแล้ว พอดีกว่า เราก็บอกเขา แล้วก็มีเหตุการณ์ภาพหลุดที่โพสต์ลงในไอจีเราเอง ซึ่งเราโดนเพื่อนหลายๆ คนเอาไปพูด ขุดคุ้ยรูปต่างๆ ที่เขา (อดีตแฟน) โกหกว่ามีและบอกว่าเป็นคนปล่อยไป

เรื่องภาพ เราเป็นคน self esteem ต่ำ ก็เลยยอมแลกทุกอย่างเพื่อความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นความไว้ใจในความไม่รู้ของเรา ยังคงหลอกหลอนเราอยู่ เหตุการณ์หลังจากนั้นมันคือ victim blaming และ cyber bully จากเพื่อนเราเอง 

เรารู้สึกว่า มันแทบจะฆ่าคนคนนึงได้เลย ตอนนั้นหนูก็แทบจะตาย แต่มันก็ผ่านมาได้ เพราะมีหลายคนช่วย เพื่อนที่เป็นเพื่อนจริงๆ เขาก็ยังอยู่กับเรา เราก็เลยมองว่า เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าทำไมถึงมีรูปรูปนั้นขึ้นมา เราก็เลยไม่ได้สนใจ เราให้อภัยนะ แต่ที่เราให้อภัย เราเข้าใจ เพราะคุณเป็นอย่างนี้ไง คุณถึงทำแบบนี้กับเรา แต่ว่าสิ่งที่ผิดก็คือสิ่งที่ผิด ทุกอย่างที่ผิดเราดำเนินตามกฎหมายหมดนะ เราแค่เข้าใจ เราจะไม่แบกก้อนหินแห่งความโกรธแค้นให้ปวดหลังต่อไป

อีกส่วนสำคัญที่ทำให้เราผ่านมาได้ คือจิตแพทย์ ซึ่งหลังจากเหตุการณ์นี้เราให้อภัยก็จริง แต่เราฝันร้ายเดิมๆ ซ้ำๆ เราฝันว่าเราตาย นั่งแท็กซี่อยู่แล้วป้ายบอกทางหล่นมาทับ หรือในฝันเราโดนข่มขืนโดยเพื่อน โดยคนใกล้ชิด แล้วมันจะสลับกันอยู่อย่างนี้ เราก็จะฝันอะไรอย่างนี้ซ้ำๆ ทุกคืน

แล้วเราก็ไปขอยานอนหลับกับหมอ ขอให้กินแล้วหลับไม่รู้เรื่องเลย เขาก็ถามว่ามีอะไร ปกติเราเป็นคนไม่ค่อยเล่าอะไรให้หมอฟัง แต่ครั้งนั้นมันรู้สึกว่า มันต้องเล่า เราบอกว่า เราตื่นมาทุกครั้งกับความรู้สึกรังเกียจร่างกายตัวเอง รังเกียจผิวหนัง รังเกียจรูปร่าง เขาเป็นคนฟังคนแรกที่ไม่ตัดสิน แต่ตั้งคำถามแทนว่า แล้วเราให้อภัยตัวเองหรือยัง น้ำตาเราก็ไหลเลย เออว่ะ ยัง 

เราให้อภัยทุกคนเลย แต่ลืมคนคนเดียวคือตัวเอง เราเลยรู้สึกเศร้าที่ให้ความสำคัญกับตัวเองเป็นคนสุดท้ายทุกทีเลย ทำไมวะ เลยตั้งต้นใหม่ ฉันก็ยังเป็นคนหาเหตุผลเหมือนเดิม พยายามเข้าใจและให้อภัยคนอื่นเหมือนเดิม แต่จะรักและเคารพตัวเองให้มากกว่านี้ ถ้าเกิดว่ามันผิด มันมีทั้งเขาผิด เราผิด ไม่ว่าเราจะผิดยังไง เราก็ต้องให้อภัยตัวเองให้ได้ 

อย่างกิ๊กนี่เป็นภาวะซึมเศร้าหรือเป็นโรคซึมเศร้า

เป็นโรคซึมเศร้าค่ะ จะสองปีแล้ว

ยังคงไปหาจิตแพทย์อยู่เป็นระยะๆ?

ใช่ค่ะ ต้องอัพเดตยา แต่เราก็ยังโอเค คือช่วงนี้มันดีขึ้นมาก แต่ก็มีดาวน์ๆ บ้างนิดหน่อย แต่ก็ปกติ เราเลิกฆ่าตัวตายแล้ว เพราะมันไม่ตายสักที

เราเหนื่อยเหลือเกินจากการฆ่าตัวตาย อยู่ก็ได้ ก็อยู่ไปเรื่อยๆ จริงๆ เราไม่รู้หรอกว่า เราจะตายวันพรุ่งนี้หรือเปล่า เราก็เลยคิดว่าเราอยากทำสิ่งที่เราอยากทำ เราก็เลยปล่อยตัวเองให้ทำสิ่งที่อยากทำ เพราะว่ามันคือความสุขเบื้องต้นในจิตใจเรา 

มีทั้งสิ่งที่เราอยากทำระยะสั้น เพื่อที่จะรู้สึกว่า ตื่นมาฉันต้องทำอันนี้ แต่เราก็แอบวางแผนระยะยาวไว้ มีแผนให้กับชีวิตในหลายๆ ทาง

เคยหันกลับไปมองหรือสาเหตุตอนเด็กไหม ว่าทำไมเราโตมากับแผลแบบนี้

ตลอด มันก็คือความเจ็บปวดของครอบครัวที่ไม่พร้อม เราต้องพูดตรงๆ ว่ามันเกิดจากทั้งพ่อและแม่ มันเกิดจากการที่พ่อใช้ความรุนแรง เกิดจากแม่ที่เอาแต่นอนร้องไห้ เกิดจากการที่ทั้งคู่ปล่อยให้ toxic relationship มันดำเนินมาจนถึงสิบสามปี ทั้งหมดนี้มันก็หล่อหลอมเด็กคนนึง แล้วมันก็เกิดขึ้นอีกเมื่อเราไปส่งต่อ แผลมันเกิดขึ้นตลอด เราทำบ้าง เขาทำบ้าง 

ที่บอกว่าชอบมองบนท้องฟ้า เหมือนว่าท้องฟ้ามันทำหน้าที่ปลอบเราอยู่ เคยคิดเชื่อมโยงไหมว่าท้องฟ้าในวันนั้นมันส่งผลที่ทำให้เราสนใจอวกาศในวันนี้หรือเปล่า

 เราว่าไม่ใช่ ท้องฟ้าในวันนั้นเรามองมันแค่ความสวยงาม เป็นความสวยที่ส่งต่อความรู้สึกให้กับเรา

แต่ที่เรามาสนใจท้องฟ้า อวกาศ เพราะเรารู้สึกว่า ยิ่งเรารู้เยอะ เรายิ่งเป็นส่วนหนึ่งของอวกาศ เราทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน และเราต่างเป็นส่วนหนึ่งของอวกาศ เรารู้สึกว่า มันช่างยิ่งใหญ่เหลือเกิน เราไม่เคารพในศาสนา แต่เราเคารพในธรรมชาติ เคารพในฟิสิกส์ อวกาศ

ที่บอกว่า อวกาศมันแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวของทุกสิ่ง เพราะว่าสิ่งอื่นมันแตกแยกหรือเปล่า เราเลยรู้สึกว่า อวกาศนี่แหละ มัน Unique มันเป็นหนึ่งเดียว

ทุกอย่างมันคือก้อนๆ หนึ่ง เพียงแต่ว่าคนนี้อาจจะมองในมุมนี้ อีกคนมองในมุมนี้ ซึ่งมันก็ไม่ผิดนะที่ทุกคนจะมองก้อนพวกนี้ต่างกันออกไป แต่ในทางวิทยาศาสตร์ โลก ดวงอาทิตย์ ทุกอย่างมันเคยเป็นก้อนเดียวกัน มนุษย์ก็เคยเป็นก้อนเดียวกันอยู่ในน้ำ ก่อนที่มันจะแตกวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ เราอยากรู้ทำไมมันถึงเป็นแบบนี้ เลยมองหาจุดเริ่มต้นของอวกาศ โลก มนุษย์ ฯลฯ มองย้อนกลับไปเรื่อยๆ มันมีเหตุผล หนูชอบที่มันอธิบายได้ด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านการทดสอบมาแล้ว มันน่าเชื่อถือ เราเลยชอบมัน 

คำว่า ‘อวกาศ’ ของเรามันไม่ใช่แค่วิชาดาราศาสตร์ วิชาฟิสิกส์ วิชาคณิตศาสตร์ แต่มันเป็นทุกอย่างอยู่ในคำว่าอวกาศ

มนุษย์แบบกิ๊ก เกิดมาเพื่ออะไร

สำหรับหนู หนูเกิดมาเพื่อตาย คนเราเกิดมาก็ต้องตายกันทุกคนแหละ แต่ความสำคัญมันอยู่ที่ว่า ระหว่างทาง เกิดไปจนถึงก่อนตาย เราทำอะไรบ้าง

ในระหว่างทาง สิ่งที่เราตั้งใจไว้คือ เราจะทำอะไรก็ได้ให้ตัวเรามีความสุขมากที่สุด โดยที่ไม่ต้องไปเบียดเบียนเพราะการเบียดเบียนคนอื่นมันก็ไม่ใช่ความสุขสำหรับเราเหมือนกัน 

เราอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้วงการอวกาศมันเติบโตไปได้ เพื่อหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อคนรุ่นหลังนั่นแหละ ทุกวันนี้เรากำลังหาดาวที่มันคล้ายโลก จุดประสงค์ก็คือการอพยพมนุษยชาติ เพราะว่าทุกสิ่งมันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ดวงอาทิตย์ก็เหมือนกัน จากการศึกษาวิวัฒนาการดาวฤกษ์แล้ว ถ้ามันเกิดซูเปอร์โนวาจริงๆ เราอาจจะสูญพันธุ์ จึงต้องย้ายไปดาราจักรอื่นๆ ที่เราสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ นี่คือหนึ่งในภารกิจการค้นหา มันจะทำให้มนุษย์มีชีวิตต่อไปได้เรื่อยๆ ดำรงพันธุ์กันไปได้เรื่อยๆ

เราอยู่ไม่ถึงดวงอาทิตย์ระเบิดหรอก แต่เราก็อยากเป็นส่วนหนึ่งในการค้นหา (ยิ้ม) 

Tags:

ซึมเศร้าความรุนแรงการจัดการอารมณ์วิทยาศาสตร์นิศาชล คำลือ

Author:

illustrator

ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

อดีตนักข่าวที่ผันตัวมาทำงานด้านการเรียนรู้(อย่างรื่นรมย์) ด้วยอินเนอร์คุณแม่ลูกหนึ่ง(ที่เป็นวัยรุ่นและขายาวมาก) รักการทำงานก็จริงแต่ชอบหนีไปออกกำลังกายตามคำบอกของคุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เพื่อให้ชีวิตการงานสมดุลอยู่

Related Posts

  • Early childhoodFamily Psychology
    ภาวะซึมเศร้า กับ โรคปั้นลูกให้เก่ง ผลลัพธ์ข้างเคียงที่เกิดจากความรักที่มากไปของผู้ปกครอง

    เรื่อง อังคณา มาศรังสรรค์ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to get along with teenager
    เปิดใจ-รับฟัง ช่วยวัยรุ่นแก้ปัญหาอย่างนักจิตวิทยาโรงเรียน

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • Healing the trauma
    ไม่หนี ไม่สู้ สมองถูกแช่แข็ง จากความเครียดท่วมท้นในสมองเด็ก

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ บัว คำดี

  • Education trend
    เพราะผู้ใหญ่กลั่นแกล้งและไม่เคารพกัน เด็กๆ จึง BULLY ตาม

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • Life classroom
    เปลี่ยนโรค เปลี่ยว เหงา ซึมเซา เป็นโลกใหม่: 5 วิธีช่วยให้วัยรุ่นรู้สึกดีกับตัวเอง

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

“วันวัน ทำอะไร? เมื่อไม่ส่งลูกเข้าโรงเรียน” จากคุณแม่โฮมสคูล
อ่านความรู้จากบ้านอื่น
12 November 2019

“วันวัน ทำอะไร? เมื่อไม่ส่งลูกเข้าโรงเรียน” จากคุณแม่โฮมสคูล

เรื่องและภาพ สุมณฑา ปลื้มสูงเนิน

  • บทความนี้เป็นการเล่าสู่กันฟัง จากประสบการณ์เฉพาะครอบครัวของผู้เขียน ช่วยขยายความเข้าใจว่าเมื่อพ่อแม่ไม่ส่งลูกเข้าโรงเรียนเรียน พวกเขามีการเรียนรู้อย่างไร เพราะการไม่ไปโรงเรียนไม่ได้แปลว่าไม่เรียนรู้
  • การเล่นกับนิทานเป็นสองอย่างที่สำคัญกับวัยอนุบาล เพราะการได้เล่นอย่างเต็มที่คือการเตรียมพร้อม ของสมอง ของกล้ามเนื้อ ของอารมณ์ ของการเข้าสังคม เพื่อเข้าสู่การเรียนรู้ในวัยประถม
  • “12 ปีที่เลี้ยงลูกโดยไม่ส่งไปโรงเรียนทำให้แต่ละวันของทั้งเราและลูกหมดไปอย่างรวดเร็ว มีกิจกรรมทำมากมาย สำคัญที่สุดคือทุกกิจกรรมเป็นกิจกรรมที่ทำให้ลูกมีความสุข เป็นกิจกรรมที่ลูกสนใจ”

สารพัดคำถามจะประเดประดังเข้ามา เมื่อตัดสินใจเด็ดขาดว่า “จะไม่ส่งลูกเข้าโรงเรียน” หรือ ถ้าจะเรียกอีกอย่างคือ ให้ลูกเรียนแบบ Home School นั่นเอง นอกจากคำถามข้างบนแล้ว พ่อแม่ที่ไม่ส่งลูกไปโรงเรียนมักจะถูกตั้งคำถามบ่อยๆ คือ

ไม่ไปโรงเรียนแล้วจะไม่โง่เหรอ

ไม่ไปโรงเรียนแล้วจะมีสังคมได้อย่างไร

ไม่ไปโรงเรียนแล้ว วันวัน จะทำอะไร

ฯลฯ

ตลอด 12 ปีที่เลี้ยงลูกเอง นอกจากไม่เอาไปฝากย่ายายแล้ว ก็ยังไม่เอาไปฝากเนิร์สเซอรี ไม่เอาไปฝากอนุบาล และไม่เอาไปฝากครูที่โรงเรียนด้วย ซึ่งพบว่า “วันวันหนึ่ง เด็กมีอะไรทำมากมาย” มากจนเวลาทั้งวันก็แทบจะไม่พอ งั้นลองมาดูกันก่อนว่า เมื่อเด็กไม่ไปโรงเรียนแล้ว… วันวัน ทำอะไร?

สิ่งที่จะเล่าสู่กันฟังนี้ต้องบอกก่อนว่า เป็นประสบการณ์เฉพาะครอบครัวล้วนๆ สิ่งที่ครอบครัวเราทำไม่ได้แปลว่าจะดีที่สุด และไม่ได้หมายความว่าจะเหมาะกับอีกครอบครัวหนึ่ง และยังไม่ได้เท่ากับว่าถ้าเราทำได้แล้วคนอื่นต้องทำได้ด้วย ไม่ใช่และไม่จริง เพราะแต่ละครอบครัวมีปัจจัยและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน

เรามีโอกาสได้พูดคุยกับพ่อแม่หลายคนที่ไม่อยากให้ลูกไปโรงเรียน แต่เงื่อนไขหลายอย่างก็ทำให้ทำ Home School ไม่ได้ เราเข้าใจเงื่อนไขเหล่านั้นดี ไม่ว่ากัน แต่การเรียนรู้แบ่งปันกันจะทำให้เรานำบางอย่างไปปรับ นำไปประยุกต์ให้เข้ากับเงื่อนไขของตัวเองได้ ถ้าคิดว่าสิ่งนี้มันดี

เราเป็นครอบครัวนักกิจกรรมและทำกิจกรรมสำหรับเด็กอยู่แล้ว งานของเราคือการคิด สร้างสรรค์กิจกรรมสารพัดแบบมาให้ลูกหลานของใครก็ได้ ได้มาสนุกด้วยกัน ได้เรียนรู้และมีพัฒนาการตามวัย เพราะฉะนั้นเมื่อตัดสินใจทำ Home School กับลูก สำหรับเราจึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะหากิจกรรมให้ลูกทำ เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น เราขอแยกช่วงวัยของลูกออกเป็น 3 ช่วง แบบนี้นะคะ เพราะแต่ละช่วงไม่เหมือนกัน คือ

  • ช่วง 4-6 ขวบ คือช่วงที่ส่งไปเข้าอนุบาล  

ช่วงแรกเกิดจนถึงช่วงอนุบาล เป็นช่วงที่พ่อแม่ทุกคนทราบดีว่าเป็นช่วงวัยทองของสมอง ช่วงนี้เป็นช่วงวางพื้นฐานสำคัญให้ลูก อยากให้ลูกเติบโตมาอย่างไรช่วงนี้  มีส่วนสำคัญมาก การเล่นกับลูก การใช้เวลาคุณภาพกับลูกจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

  • ช่วง 7-9 ขวบ ช่วงประถมต้น

ช่วงวัยนี้เป็นวัยที่เริ่มต้องเรียนรู้การเข้าสังคม เริ่มต้องมีเพื่อนบ้างแล้ว การเล่น หรือกิจกรรมต่างๆ กับลูกก็สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่วิชาการต่างๆ ได้ ทั้ง บวก ลบ อ่าน เขียน เพื่อเป็นฐานทางวิชาการให้ลูก แต่จะมากน้อยขนาดไหนขึ้นอยู่กับแต่ละครอบครัว แต่ยังไงก็ยังต้องผ่านกิจกรรมที่ลูกสนใจ

  • ช่วง 10-12 ขวบ ช่วงประถมปลายที่พวกเขาเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น

ช่วงวัยนี้ การจัดการเรียนรู้เริ่มมาจากลูกมากกว่าครึ่ง เพราะเขาจะมีความเป็นตัวเองชัดขึ้น เขาจะบอกเองว่าสนใจอะไร อยากเรียนรู้อะไร บางเรื่องก็สนใจแนวลึก ใช้เวลานาน บางเรื่องก็สนใจแป๊บๆ พ่อแม่ทำหน้าคอยกำกับทิศทาง อย่าให้หลุด อย่าให้หลงทางมากเกินไป

4-6 ขวบ ส่งไปเข้าเรียนอนุบาล

สำหรับช่วงวัยอนุบาล ในทางกฎหมายแล้วเป็นช่วงวัยที่ไม่ได้บังคับให้ต้องเข้าโรงเรียน ความจริงแล้วจะไม่ส่งเข้าอนุบาลก็ไม่ผิดกฎหมาย หากเป็นบ้านเรียนยังไม่ต้องจดทะเบียนก็ได้ ไม่เป็นไร แต่ที่ต้องมีห้องเรียนอนุบาลนั่นเพราะว่าเป็นเงื่อนไขของครอบครัวมากกว่า คือ หนึ่ง-ครอบครัวต้องทำมาหากิน ไม่มีเวลาเลี้ยงลูก กับ สอง-ไม่รู้จะเล่นอะไรกับลูก ไม่รู้จะเลี้ยงดูอย่างไร

แต่ความจริงแล้ว ช่วงนี้เป็นช่วงที่เด็กต้องการพ่อแม่มากที่สุด การที่ได้อยู่กับคนที่รัก ลูกจะรู้สึกมั่นคง รู้สึกปลอดภัย การรู้สึกปลอดภัยจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการส่งผลต่อชีวิตในอนาคตข้างหน้า ต่างกับการต้องรีบปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมแปลกหน้าในห้องเรียนอนุบาลทั้งที่ยังไม่พร้อม

สำหรับเราแล้ว ช่วงนี้เป็นช่วงที่พ่อแม่ควรใช้เวลากับลูก เล่นกับลูกให้มากที่สุด เล่น เล่น เล่น ให้เต็มที่ เพื่อให้พร้อมทั้งจิตใจ และร่างกาย

แล้ววันวัน เล่นอะไรบ้าง?

วัยนี้เป็นวัยที่เล่นด้วยง่ายมาก อะไรก็ได้ขอแค่มีเวลาเล่นกับเขา การเล่นของเด็กวัยนี้คือการเล่นเพื่อให้เกิดจินตนาการ เด็กต่างมีวิธีเล่นของตัวเอง ยังไม่ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมากนัก เราจึงมักเห็นเด็กวัยนี้เล่นบนกองทรายเดียวกัน แต่เล่นกันคนละเรื่องไม่เกี่ยวกัน

พ่อแม่จึงทำหน้าที่แค่เป็นผู้อำนวยการเล่นให้มีพื้นที่เล่นที่ปลอดภัย อยู่ข้างๆ เขา บางครั้งก็ร่วมเล่น บางครั้งก็ถอยห่าง

สำหรับครอบครัวเราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เราจึงสรรหาของเล่นกันสารพัด และโดยส่วนใหญ่การเล่นเหล่านั้นก็อยู่ในงานของเราอยู่แล้ว จึงไม่ใช่เรื่องยาก

เล่น และ เล่านิทาน

เล่น กับ นิทาน เป็น 2 อย่างที่สำคัญกับวัยนี้มาก เราอ่านนิทานกันทุกวัน (จริงๆ อ่านตั้งแต่ 4 เดือนในท้อง) อ่านอะไร อ่านอย่างไร ค่อยว่ากันอีกตอน แต่อ่านทุกวันและถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในการส่งเสริมพัฒนาการของลูกในวัยนี้ จะอ่านก่อนนอน อ่านตอนเช้า ตอนบ่ายแล้วแต่สะดวก ของเราอ่านเรื่อยๆ แต่ที่เป็นประจำคือ ก่อนนอนทั้งตอนหัวค่ำและตอนกลางวัน ให้ลูกนั่งตักเปิดทีละหน้าอ่านให้ฟัง หรือจะนอนด้วยกัน เปิดทีละหน้าและอ่านเสียงดังฟังชัด แต่แฝงความรักอยู่ในนั้น รับรองคุ้มค่า

แต่เวลาที่สำคัญสำหรับวัยนี้คือ ช่วงเช้าที่เราจะได้เล่นด้วยกัน เล่นในชีวิตประจำวัน เช่น ทำกับข้าวง่ายๆ ด้วยกัน ด้วยการช่วยหยิบจับส่งของให้ เล่นกับหน้าที่การงานของพ่อแม่ เราทำอะไรลูกก็อยู่ด้วย เรากวาดบ้านก็ต้องมีไม้กวาดอันเล็กให้ลูกด้วย ระบายสีด้วยกัน หากระดาษแผ่นใหญ่ๆ สีแท่งใหญ่ๆ ละเลงสีกันโดยไม่ต้องตีกรอบ ทำไมต้องใหญ่? เพราะกล้ามเนื้อมือยังไม่แข็งแรงพอที่จะจับสีแท่งปกติ และยังไม่สามารถบังคับให้อยู่ในกรอบได้ จึงต้องให้เขาละเลงอย่างอิสระเพื่อฝึกกล้ามเนื้อ

นอกจากนี้งานของเราสามารถเลี้ยงลูกไปด้วยได้ ไปทำกิจกรรมกับเด็ก ลูกก็เป็นเด็กคนหนึ่งที่ร่วมกิจกรรม เล่นกับของรอบตัว เล่นน้ำ เล่นฟอง เล่นดิน เล่นทราย บ้านใครทำสวนก็เอาลูกเข้าสวนไปด้วยได้ นั่นคือโลกใหม่ของลูกทั้งหมด หรือจะซื้อของเล่นส่งเสริมพัฒนาการมาเล่นกับลูกก็ไม่ผิด นี่เป็นเพียงแค่ครึ่งวัน พอตกบ่ายก็นอน เราต้องสร้างนิสัยการนอนให้ลูกให้ได้ด้วยนะ เพราะนั่นคือช่วงเวลาที่ดีของสมองลูก (และของเราด้วย ฮ่าๆ)

สิ่งที่เราจะเห็นได้ชัดเจนมากเมื่อเราให้เวลาในการอ่านนิทานกับลูก เล่นกับลูก และทำโน่นนี่กับลูกในช่วงวัยนี้มากพอ อย่างแรกคือ การปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างไม่เป็นปัญหา ลูกสามารถเล่นสนุกได้กับคนทุกวัย ไม่มีอาการตื่นคน เมื่อเล่นกับน้องก็ดูแลได้ พอเล่นกับพี่ก็มีอาการอ้อนพี่ เพราะรู้ว่าทำได้ เมื่อไปร่วมกิจกรรมต่างๆ ลูกไม่เคยที่จะไม่เข้าร่วม ไปร่วมกิจกรรมกับพี่ๆ ได้สบายๆ โดยไม่งอแงติดพ่อแม่ โดยไม่ต้องดันหลัง เพราะเขารู้ว่าเมื่อเขาเลิกเล่นกลับมาเขาก็เจอเราเสมอ

การอ่านนิทานช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่านได้เป็นอย่างดี อันนี้เห็นผลชัดเจนจนวัยรุ่นเลย และน่าจะตลอดชีวิต นอกจากนี้การอ่านยังช่วยเพิ่มทักษะการอ่านออกได้อย่างเป็นธรรมชาติ ลูกสามารถอ่านหนังสือออกตั้งแต่ 7 ขวบกว่า โดยไม่เคยฝึกสะกดคำแบบในโรงเรียน แต่อ่านออกจากการจดจำ จนวันหนึ่งความอยากอ่านที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เขาขอให้เราฝึกเขาสะกดคำให้มากขึ้น เพื่อจะได้อ่านหนังสือเล่มที่ยากขึ้นได้ด้วยตัวเอง เขาอ่านออกเร็วเพราะความอยากอ่าน ไม่ใช่ถูกบังคับให้อ่านออกเร็ว อันนี้เป็นสิ่งที่เห็นชัดเจน อีกอย่างคือพัฒนาการทางร่างกาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมือที่พร้อมจะจับดินสอเขียนหนังสือโดยไม่ต้องบังคับให้ฝึกเขียนทั้งที่กล้ามเนื้อยังไม่พร้อม

การได้เล่นอย่างเต็มที่ในช่วงวัยนี้ คือภาระหน้าที่สำคัญของเด็ก การได้เล่นอย่างเต็มที่ในวัยนี้คือการเตรียมพร้อม ของสมอง ของกล้ามเนื้อ ของอารมณ์ ของการเข้าสังคม เพื่อเข้าสู่การเรียนรู้ในวัยประถม

ถ้าลูกต้องเข้าโรงเรียนเขาก็จะเข้าเรียนประถมอย่างคนที่มีความพร้อม และสำหรับเด็กที่ไม่ไปโรงเรียน ก็เป็นช่วงวัยที่เขาก็พร้อมที่จะเรียนรู้มากขึ้นกว่าเดิมแล้ว วัยนี้จึงไม่ใช่วัยที่จะเอาเขาไปจับดินสอเขียนตามเส้นประ เพราะกล้ามเนื้อมือเขายังไม่แข็งแรง ยังไม่ถึงเวลา ฉะนั้นการสนับสนุนให้เด็กได้เล่น ได้ทำหน้าที่ของเขา ก็คือภาระของผู้ใหญ่ด้วย

วัยประถมต้น 7-9 ขวบ

วัยประถมต้น 7-9 ขวบ เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยประถม จริงๆ กิจกรรมที่เราทำกับลูกแต่ละวันก็ยังเหมือนเดิม คืออ่านนิทาน หาของเล่นมาเล่นกัน แต่การเล่นของเด็กวัยนี้เริ่มต่างจากเดิม เริ่มสนใจที่จะเล่นกับเพื่อน รอเพื่อนกลับมา เล่นสร้างบ้าน เล่นบทบาทสมมุติ เราสามารถสอนคณิตศาสตร์กับลูกผ่านการเล่นได้ เช่น การเอาจิ๊กซอว์ (อย่างอื่นก็ได้ที่เป็นของเล่น) มานับ นับเป็นกองเท่ากัน เอามารวมกัน แยกออกจากกอง อะไรแบบนี้ก็ช่วยให้ลูกเข้าใจความหมายของการบวก ลบ คูณ หารได้ไม่ยากเลย เล่นเทถั่ว เททราย เข้าใจเรื่องน้ำหนัก เล่นแบบทำจริง เช่นการทำอาหารด้วยกัน คำนวณปริมาณวัตถุดิบง่ายๆ ก็ได้คณิตศาสตร์แล้ว

เราให้ลูกเรียนภาษาไทยผ่านการอ่านนิทาน เรียนคณิตศาสตร์ผ่านการเล่น เรียนศิลปะในงานของพ่อแม่ และเริ่มไปเรียนกับครูในสิ่งที่เขาสนใจเพิ่มขึ้น ซึ่งการไปเรียนกับครูก็แค่สัปดาห์ละ 3-4 ชั่วโมงเท่านั้นและมักเป็นช่วงบ่าย เพราะช่วงเช้าเป็นเวลาที่เขาต้องทำกิจรรมกับครอบครัวเหมือนเดิม สำหรับครอบครัวเราเรียนแค่ 3 อย่างคือ เปียโน ศิลปะ และภาษาอังกฤษ แต่หากบ้านไหนพ่อแม่เก่งภาษาอังกฤษอยู่แล้วก็คุยภาษาอังกฤษกับลูกไปได้เลย ไม่ต้องไปเรียนก็ได้ แต่ถ้าเราไม่เก่งพอก็ให้ครูช่วยได้

เมื่อลูกเริ่มอ่านคล่อง เขียนได้ (สำหรับลูกเรานั้นอ่านคล่องตั้งแต่ 7 ขวบกว่าๆ แต่เป็นความคล่องที่มาจากการอ่านเยอะ ไม่ได้มาจากการผสมสระแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นเขาจะยังเขียนไม่คล่อง) วิถีชีวิตของลูกก็จะขลุกอยู่กับการอ่านมากขึ้น ขยับจากการอ่านนิทานมาเป็นวรรณกรรม ช่วงนี้แหละที่ลูกจะเริ่มขอให้สอนผสมสระ เพราะอยากอ่านคำยากๆ ในวรรณกรรมได้ด้วยตัวเอง ช่วงนี้สิ่งที่เราทำคือการกำหนดให้เขามีกิจวัตรประจำ

เช่น เมื่อจัดการชีวิตประจำวันเสร็จแล้วต้องเขียนบันทึกทุกวัน ทำแบบฝึกหัด ซึ่งก็เป็นแบบฝึกหัดที่หาซื้อจากร้านหนังสือทั่วไป เพียงแต่เลือกความยากง่ายให้เหมาะกับลูกของเรา ไม่ง่ายเกินไปจนลูกรู้สึกไม่ท้าทาย หรือยากเกินไปจนท้อ แบบฝึกหัดพวกนี้จะช่วยเสริมวิชาการบางอย่างที่กระทรวงต้องการ แต่อาจไม่ได้จำเป็นในชีวิตมากนัก ซ้อมดนตรี หรือจะวาดภาพก็ได้ กิจกรรมเหล่านี้ทำในช่วงเช้า

ช่วงบ่ายเป็นช่วงไปเรียนกับครูหรือไปว่ายน้ำ แต่ถ้าวันไหนไม่เรียนกับครูก็เป็นช่วง free time ซึ่งเขาจะเล่นกับเพื่อน (ตอนเย็นเพื่อนๆ กลับจากโรงเรียน) หรือจะดูหนังก็ได้ ช่วงนี้เริ่มทำตารางกิจวัตรประจำวันให้เขาทำได้แล้ว แม้จะเป็นเด็กไม่ไปโรงเรียนแต่ก็ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบที่ต้องทำประจำด้วยเช่นกัน อ๋อ… หากแบ่งงานบ้านง่ายๆ ให้เขาทำเป็นกิจวัตรด้วยจะดีมาก เช่น กวาดระเบียงบ้านทุกเช้า เก็บห้องเล่นของตัวเอง ให้อาหารแมว เป็นต้น แค่นี้ก็หมดวันแล้ว บางวันเวลาไม่พอด้วยซ้ำ มีอะไรให้ทำอีกมาก

ช่วงนี้จะเริ่มเห็นตัวตนบางอย่างของลูกชัดเจนขึ้น เช่น เป็นคนประนีประนอม หรือเป็นคนชน ยอมหัก ไม่ยอมงอ เป็นต้น ลูกจะเรียนรู้ว่าถ้าเจอเพื่อนแบบนี้ต้องมีปฏิสัมพันธ์แบบไหนถึงจะเล่นกันได้โดยไม่ทะเลาะกัน วิเคราะห์ประเมินเพื่อนที่เล่นด้วยให้ฟังบ่อยๆ เราก็แค่ฟังและถามต่อเพื่อให้เห็นวิธีคิดของลูก สนุกดี

ส่วนเรื่องทักษะการอ่านจะยิ่งชัดเจนขึ้น เปลี่ยนจากการฟังหรืออ่านนิทานมาเป็นวรรณกรรมเด็ก ไม่ติดรูปภาพแล้ว แต่สนใจเนื้อเรื่อง ฟังได้ยาวๆ ช่วงที่อ่านเองได้ก็อ่านวรรณกรรมไทยเรื่องยาวๆได้ อยู่กับหนังสือได้ทีละหลายชั่วโมง จนต้องให้พักมาทำอย่างอื่นบ้าง การอ่านทำให้มีสมาธิ ส่งผลให้เวลาเรียนศิลปะ หรือดนตรี ซึ่งต้องใช้สมาธิเช่นกันจึงไม่ใช่ปัญหาสำหรับเขา

ส่วนผลจากการเล่นจากการทำกิจกรรมด้วยกันก็จะเห็นชัดขึ้น เมื่อลูกขอไปเรียนคณิตศาสตร์กับครู

“คุณแม่ทำยังไงลูกถึงเข้าใจคอนเซ็ปต์คณิตศาสตร์ครับ ผมสอนเด็กๆ สิ่งที่ยากคือ เด็กไม่เข้าใจคอนเซ็ปต์ แต่น้องเข้าใจ ที่เหลือคือทักษะ แค่ทำแบบฝึกหัดบ่อยๆ ก็เพียงพอแล้วครับ” สิ่งที่ครูสะท้อน ย้ำภาพการเล่นเทถั่ว การเล่นแบ่งจิ๊กซอว์เป็นกอง กองละเท่าๆ กัน เหล่านี้เป็นการทำความเข้าใจคอนเซ็ปต์คณิตศาตร์แบบไม่รู้ตัว

วัยประถมปลาย 10-12 ขวบ

ช่วงนี้จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก

วัยประถมปลาย 10-12 ขวบ ช่วงนี้จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก เพราะเป็นช่วงที่ตารางเวลาต่างๆ ต้องมาจากความสนใจของเขาเป็นหลัก เราอยากให้ทำก็ไม่ได้หมายความเขาจะสนใจ จึงเป็นช่วงที่เราต้องพูดคุยกันเยอะ เพราะเขาก็มีความเป็นตัวเองชัดเจนขึ้น กิจวัตรในแต่ละวันสำหรับเด็กที่ไม่ไปโรงเรียนก็ยังคงไว้ที่ช่วงเช้าเหมือนเดิม คือดูแลตัวเอง ทำงานบ้าน แล้วทำงานตัวเอง ทำแบบฝึกหัดมากขึ้น แบบฝึกหัดก็ต้องยากขึ้นตามช่วงวัย บันทึกสิ่งที่เรียนรู้มา หรือกำหนดหัวข้อในการเรียนรู้ หากมีการบ้าน เช่น ซ้อมดนตรี วาดภาพ หรือภาษาอังกฤษ ก็ทำในช่วงนี้

ช่วงบ่ายไปเรียนกับครู กลับมาเล่นกับเพื่อนตอนเย็น ช่วงค่ำต้องอ่านหนังสือ อ่านภาษาอังกฤษกันก่อนนอน หรือบางวันเด็กก็จะมีเรื่องที่ตัวเองสนใจอยากทำก็ใช้เวลาทั้งวันในการหาข้อมูลลงมือทำสิ่งเหล่านั้นได้ ใช้อินเทอร์เน็ตได้ เพราะช่วงนี้เขาก็เริ่มใช้เทคโนโลยีเพื่อความบันเทิงเป็นแล้ว นี่ก็เป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งที่เราต้องเหน็ดเหนื่อยกับการให้เขาจัดการเวลาให้ลงตัว ลงตัวบ้าง ไม่ลงตัวบ้าง แต่ละครอบครัวก็หาสารพัดวิธีเพื่อสิ่งนี้

ช่วงวัยนี้เขาก็เริ่มไปทำงานกับพ่อแม่แบบรับผิดชอบงานเต็มตัวได้แล้ว เพราะฉะนั้นบางช่วงที่เขาไปทำงานด้วยได้ก็ใช้โอกาสแบบนี้ให้ลูกเรียนรู้และฝึกความรับผิดชอบฝึกความอดทนได้เลย วัยนี้พ่อแม่จึงไม่ใช่ผู้ออกแบบกิจกรรมแล้ว ลูกจะเป็นคนกำหนดกิจกรรม แต่พ่อแม่ทำหน้าที่ช่วยดู เติมและเตือนให้ทำตามกิจกรรมที่วางไว้ ที่ว่าง่ายก็ตรงนี้ และยากก็ตรงนี้อีกเช่นกัน

เมื่อถึงช่วงวัยนี้ เราจะเห็นชัดแล้วว่าลูกเป็นคนแบบไหน ชอบอะไร สำหรับลูก เราเห็นชัดว่าถ้าเป็นเรื่องที่ชอบจะสู้ไม่ถอย มีทักษะในการหาข้อมูลที่หลากหลาย และมีความกล้ามาก เช่น กล้าเดินทางด้วยรถไฟฟ้าคนเดียวตอนอายุ 12 กล้าที่จะไปใช้ชีวิตที่ต่างประเทศระยะสั้นๆ กับเพื่อน โดยผ่านความคิดถึงบ้านได้ สิ่งเหล่านี้น่าจะมีผลจากที่เราทำให้เขามั่นใจมาตลอดว่าเราอยู่กับเขาเสมอ ไม่เคยผลักดันให้ทำในสิ่งที่ไม่ชอบหรืออึดอัดใจ

ไม่ไปโรงเรียนไม่ได้แปลว่า ไม่เรียนรู้

ส่วนคำถามอื่นๆ “ไม่ไปโรงเรียนจะโง่ไหม” เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้คงได้คำตอบแล้วว่า โง่ หรือ ไม่โง่ การไม่เข้าไปนั่งเรียนในห้องสี่เหลี่ยมวันละ 8 ชั่วโมงไม่ได้แปลว่าไม่ได้เรียนรู้อะไร ไม่ได้แปลว่าอยู่เฉยๆ ในทางกลับกันการไปนั่งอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ก็ไม่ใช่ตัวชี้วัดความรู้หรือไม่รู้ โง่หรือฉลาดของเด็ก

เด็กบางคนฝึกอ่านฝึกเขียนตั้งแต่ 4 ขวบ อ่านคล่องตั้งแต่ไม่เข้าประถม 1 แต่ไม่มีทักษะสนใจใฝ่รู้ที่จะอ่าน ที่จะเขียน แล้วจะอ่านออกเร็วไปเพื่ออะไร เด็กบางคนอ่านออกช้ามากแต่พออ่านได้กลายเป็นหนอนหนังสือ สนใจใคร่รู้ อยากอ่าน อยากลงมือทำ เพราะเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกันเลย เราจะเอาความเก่งของอีกคนมาเปรียบเทียบกับอีกคนไม่ได้เลย การเรียนรู้แบบ Home School จึงเป็นการจัดการเรียนรู้เฉพาะบุคคล เฉพาะครอบครัวจริงๆ

โง่ หรือ ฉลาด ใครกันแน่เป็นคนถือมาตรวัด?

คำถามสุดท้าย “ไม่ไปโรงเรียนแล้วจะมีสังคมได้อย่างไร” อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับครอบครัวว่าจัดการเรียนรู้อย่างไร ถ้าเก็บลูกไม่ให้สุงสิงกับใครก็ไม่มีสังคมไม่ว่าจะไปโรงเรียนหรือไม่ก็ตาม แต่ถ้าฝึกให้เขาเข้าสังคมเป็น เด็กทุกคนก็สามารถสร้างเพื่อนได้ ถ้าเพื่อนหรือสังคมที่ไม่ใช่แค่คนวัยเดียวกัน เพื่อนของเด็กไม่ไปโรงเรียนจึงมีหลากหลายวัยมาก และในชีวิตจริงในสังคมเราก็ไม่สามารถคบแต่คนวัยเดียวกันเท่านั้น เราต้องอยู่ร่วมกับคนหลายวัย และนั่นคือความจริง

12 ปีที่เลี้ยงลูกโดยไม่ส่งไปโรงเรียนทำให้แต่ละวันของทั้งเราและลูกหมดไปอย่างรวดเร็ว เพราะมีกิจกรรมทำมากมาย สำคัญที่สุดคือทุกกิจกรรมเป็นกิจกรรมที่ทำให้ลูกมีความสุข เป็นกิจกรรมที่ลูกสนใจ

เขาอ่านหนังสือเพราะอยากอ่าน เขาฝึกเขียนเพราะอยากบันทึก เขาเล่นดนตรีเพราะอยากเล่น เขาเล่นกับเพื่อนก็เพราะเขาอยากเล่นเช่นกัน ความอยากจึงเป็นแรงผลักให้เขาพร้อมกระโจนเข้าหาสิ่งที่เขาอยากเรียนรู้อย่างเต็มกำลัง

เหมือนที่นักการศึกษาชาวเยอรมันเคยกล่าวไว้ว่า ลูกธนูที่ถูกเหนี่ยวอย่างเต็มแรงก่อนปล่อยออกจากคันธนู ย่อมจะไปได้ไกลกว่าและแรงกว่าลูกธนูที่มีแรงเหนี่ยวไม่มากพอ

สุมณฑา  ปลื้มสูงเนิน  คุณแม่นักกิจกรรม ที่ทำงานกับเด็กมาตลอด  นำวิชาความรู้ทั้งหมดที่ทำมาใช้ในการเลี้ยงลูกแบบ Home School  เพราะเชื่อมั่นว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพต่างกันและห้องเรียนของเด็กคือโลกทั้งใบไม่ใช่ห้องสี่เหลี่ยม

Tags:

คาแรกเตอร์(character building)โฮมสคูลพ่อแม่

Author & Photographer:

illustrator

สุมณฑา ปลื้มสูงเนิน

คุณแม่นักกิจกรรม ที่ทำงานกับเด็กมาตลอด นำวิชาความรู้ทั้งหมดที่ทำมาใช้ในการเลี้ยงลูกแบบ Home School เพราะเชื่อมั่นว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพต่างกันและห้องเรียนของเด็กคือโลกทั้งใบไม่ใช่ห้องสี่เหลี่ยม

Related Posts

  • BookFamily Psychology
    การแบ่งปันอารมณ์ความรู้สึกในครอบครัวคือขุมพลังชีวิตของลูก

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Creative learning
    CODERDOJO : โปรแกรมเมอร์ตัวน้อยที่สนุกกับคำว่า ‘ERROR’

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่าง

  • Early childhoodCharacter building
    อนุบาลบ้านรัก : ตื่นเช้าไป ‘บ้าน’ ไม่ใช่โรงเรียน

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • อ่านความรู้จากบ้านอื่น
    มิรา ชัยมหาวงศ์: ขีดเส้นใต้การเป็นแม่ ‘ตัวตนเป็นของลูก ไม่ใช่ของแม่’

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่าง

  • Character building
    คาแรคเตอร์ดีๆ ที่สร้างได้ ถ้าพ่อแม่ไม่รังแกฉัน

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

วิจารณ์ พานิช: เป้าหมายของการเรียนรู้คือเปลี่ยนแปลงสมอง
Learning TheoryBook
11 November 2019

วิจารณ์ พานิช: เป้าหมายของการเรียนรู้คือเปลี่ยนแปลงสมอง

เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ บัว คำดี

บันทึกชุด สอนเข้ม เพื่อศิษย์ขาดแคลน นี้ ตีความจากหนังสือ ‘Poor Students, Rich Teaching: Seven High-Impact Mindsets for Students from Poverty’ (Revised Edition, 2019) เขียนโดย อีริค เจนเซน (Eric Jensen) ผู้ที่ในวัยเด็กมีประสบการณ์การเป็นเด็กขาดแคลนอย่างรุนแรง มีปัญหาการเรียน และเคยเป็นครูมาก่อน เวลานี้เป็นวิทยากรพัฒนาครู ผมคิดว่าสาระในหนังสือเล่มนี้ เป็นชุดความรู้ที่เหมาะสมต่อ ครูเพื่อศิษย์ ที่สอนนักเรียนที่มีพื้นฐานขาดแคลน ผมเข้าใจว่าในประเทศไทยนักเรียนกลุ่มนี้เป็นนักเรียนส่วนใหญ่ของประเทศ

บันทึกที่ 24 สร้างการเรียนอย่างเห็นคุณค่านี้ เป็นบันทึกที่ 3 ใน 4 บันทึก ภายใต้ชุดความคิดสร้างความเอาใจใส่ของนักเรียน (engagement mindset) ตีความจาก Chapter 17: Engage Students for a Deeper Buy-In

สาระหลักของบันทึกนี้คือ เป้าหมายของการเรียนรู้คือเปลี่ยนแปลงสมอง หากนักเรียนเข้าเรียนด้วยสมองที่อยู่กับกิจกรรมเพียงครึ่งๆ กลางๆ ผลการเรียนรู้ก็จะครึ่งๆ กลางๆ ด้วย โดยที่สมองมีการเปลี่ยนแปลงน้อย สภาพที่สมองอยู่กับการเรียนเต็มร้อย เป็นสภาพที่นักเรียนเรียนเพราะเห็นคุณค่า ครูจึงต้องเริ่มต้นการสอนด้วยการทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการเรียนนั้น นักเรียนต้องตอบคำถาม “ทำไม” ได้ ทำไมจึงต้องเรียนบทเรียนนี้

เปลี่ยนจากเรียนตามครู (Compliance Learning) เป็นเรียนตามที่ตนต้องการ (Choice Learning)

การเรียนรู้ในห้องเรียนมี 2 แบบ คือ เรียนแบบจำใจ (compliance learning) กับเรียนเพราะชอบ เพราะอยากเรียน (choice learning) นักเรียนจำนวนไม่น้อย ตกอยู่ในกลุ่มแรก เป็นหน้าที่ของครู ที่จะต้องย้ายกลุ่มนักเรียน ไปไว้ในกลุ่มหลังให้หมด เพื่อให้เกิดการเรียนที่ทรงพลัง และจารึกเข้าไปในสมองของนักเรียน รวมทั้งเพื่อให้บรรยากาศในห้องเรียนมีชีวิตชีวา มีความสุข

การเรียนแบบจำใจเรียนของนักเรียน เป็นตัวบั่นทอนชีวิตครู เพราะเมื่อนักเรียนไม่เข้าใจ ครูก็ต้องสอนซ้ำ สมมุติว่า ครูต้องสอนซ้ำวันละ 10 นาที ก็เท่ากับปีละกว่า 25 ชั่วโมงที่ครูต้องทำงานเพิ่มโดยไม่จำเป็น

ครูที่เริ่มคาบเรียนด้วยการกระตุ้นความตื่นตัว (arousal) โดยให้แก้ปัญหา ให้เล่นเกม หรือเล่าโจ๊ก ช่วยให้สมองตื่นตัวพร้อมเรียน คือสมองตื่น ว่องไว และอยู่ในสภาพที่มีฮอร์โมนเพื่อการเรียนรู้หลั่งออกมา แต่ยังไม่ใช่สภาพสมองที่หิวการเรียน ที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า buy-in และเห็นคุณค่าของการเรียน (relevance) ที่สมองตอบคำถาม “ทำไม” ได้ ทำไมจึงต้องเรียนบทเรียนนี้

ผมขอเพิ่มเติมว่า สมองมนุษย์มีความฉลาดอยู่ในตัว คือรู้จักผ่อนพัก เพื่อให้สมองไม่เหนื่อยเกินไป หากตอบคำถาม “ทำไม” ไม่ได้ หรือตอบได้ไม่ชัดเจน สมองจะเข้าสู่สภาพ ‘เกียร์ว่าง’ และจะไม่จำบทเรียนนั้น

เพื่อให้ครูนำนักเรียนเข้าสู่สภาพพร้อมเรียน มีแรงบันดาลใจต่อการเรียน ครูต้องเข้าใจ 3 ขั้นตอนของการเตรียมพร้อม คือ ขั้นเริ่มต้น (set up) ขั้นอยากเรียน (buy-in) และขั้นเห็นคุณค่า (relevance)

เตรียมความพร้อม 3 ขั้นตอน: เริ่มต้น อยากเรียน และเห็นคุณค่า

จะเห็นว่า ผู้เขียนแยกแยะการเตรียมความพร้อมต่อการเรียนของนักเรียน ละเอียดออกไปถึง 3 ขั้นตอน โดยที่ต้องไม่สับสน หรือปนขั้นตอนดังกล่าว เครื่องมือ 3 ขั้นตอนนี้จะได้ผลดีต้องการ ‘ตัวช่วย’ 4 ประการคือ (1) ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน (2) บรรยากาศในห้องเรียน (3) ความคาดหวังของนักเรียนต่อผลสำเร็จในการเรียน และ (4) ความสัมพันธ์ของครู กับตัวช่วยทั้ง 3 ประการข้างต้น ทั้งหมดนี้ก็เพื่อสร้างสภาพจิตใจ หรือสภาพสมองของนักเรียน ที่พร้อมเรียนสูงสุด

เริ่มต้น (setup)

อาจเริ่มต้นด้วยเครื่องมือปลุกเร้าความตื่นตัว (arousal) เช่นใช้คำถามกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น “นักเรียนอยากทำการทดลองที่สนุกสุดๆ ไหม” หรือ ปลุกเร้าด้วยท่าทีกระตือรือร้นของครู “ว้าว ครูรู้สึกตื่นเต้นที่จะสอนตอนนี้มาก ทุกคนกรุณายืนขึ้น…”

เขาแนะนำประโยคต่อไปนี้

“ครูมีเรื่องสำคัญให้นักเรียนทำ กรุณายืนขึ้น” แรงดึงดูดคือ ความอยากรู้อยากเห็น (curiosity)

“ครูกำลังจะบอกบางเรื่องที่จะทำให้นักเรียนแปลกใจ” แรงดึงดูดคือ ความคาดหวัง (anticipation)

“ทุกคนกรุณายืนขึ้น เรากำลังจะทำการทดลอง เมื่อเสียงดนตรีเริ่มขึ้น ให้เดินไปแตะโต๊ะที่ไม่ใช่โต๊ะของตัวเอง 5 โต๊ะแล้วยืนรอคำสั่งต่อไป”

การปลุกเร้าขั้นเริ่มต้นนี้สำคัญมาก หากนักเรียนยังคงง่วงเหงาหาวนอน กระบวนการเตรียมความพร้อมอีก 2 ขั้นตอนต่อไป จะไม่ได้ผล ในขั้นตอนแรกนี้ หวังผลให้การไหลเวียนเลือดเพิ่มขึ้น และเพิ่มสารเคมีเพื่อการเรียนรู้ในสมอง

อยากเรียน (buy-in)

เป้าหมายของขั้นตอนนี้ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจความหมายของสิ่งที่กำลังจะเรียน คือตอบคำถาม “ทำไม” ได้ ทำไมจึงต้องเรียนบทเรียนนี้ เป็นการดึงความสนใจเข้าสู่บทเรียน และพร้อมเข้าสู่การเตรียมความพร้อมขั้นตอนต่อไป เครื่องมือของขั้นตอนนี้ คือคำพูดของครูต่อไปนี้

“ขอให้ทุกคนหายใจเข้าออกยาวๆ ถ้านักเรียนพร้อมที่จะเรียนสิ่งที่น่าพิศวง จงกระทืบเท้าสองครั้ง” แรงดึงดูดคือการเรียนรู้

“นี่คือปัญหาธรรมดาๆ ที่ไม่เคยมีลูกศิษย์ของครูคนใดเคยแก้ปัญหาได้ภายใน 3 นาที ครูให้เวลา 3 นาที ให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนที่นั่งติดกัน ช่วยกันทำโจทย์ พร้อม? เริ่ม!” แรงดึงดูดคือ การทำงานเป็นทีม เพื่อแก้โจทย์อย่างรวดเร็ว ซึ่งนักเรียนคนก่อนๆ ไม่เคยทำได้

“ต่อไปนี้คือความรู้ที่จะช่วยให้นักเรียนได้เกรดที่อยากได้” แรงดึงดูดคือเกรดที่สูงขึ้น

“ครูมีงานให้ทำที่จะช่วยให้นักเรียนไม่ต้องใช้เวลาอ่านหนังสือนานๆ เป็นงานที่ใช้เวลาไม่กี่นาที พร้อมหรือยัง” แรงดึงดูดคือ จะมีเวลาเล่นกับเพื่อนมากขึ้น

“เรามาเรียนรู้วิธีที่จะช่วยให้นักเรียนจำเรื่องราวได้ดีขึ้นในช่วงสอบ โดยใช้เวลาเรียนลดลง ดีไหม” แรงดึงดูดคือ ทำข้อสอบได้ง่ายขึ้น และลดเวลาเรียนลง

หลักการคือ ให้นักเรียนได้ชิมเรื่องราวการเรียนรู้ส่วนหนึ่ง ก่อนจะเรียนบทเรียนทั้งหมด

เห็นคุณค่า (relevance)

ในสองขั้นตอนแรก เป็นการปลุกสมองและร่างกายให้ตื่น ตามด้วยการกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น ความคาดหวัง และความท้าทาย ต้องตามด้วยขั้นตอนที่สาม คือการเห็นคุณค่าหรือความหมายของบทเรียน ซึ่งจะทำให้การเตรียมความพร้อมมีผลระยะยาว

คุณค่าที่ดึงดูดนั้นเรียนเปลี่ยนไปตามวัย เด็กอายุ 5 ขวบ เน้นที่ความรู้สึกมั่นคง และสนุก สำหรับนักเรียนอายุ 15 ปี เน้นที่การได้รับการยอมรับจากเพื่อน และรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง

เขาแนะนำแรงขับเคลื่อนความรู้สึกเห็นคุณค่า 10 ตัว เป็นแรงขับเคลื่อนจากภายในตัวเอง 5 ตัว และแรงขับเคลื่อนผ่านปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 5 ตัว ดังต่อไปนี้

แรงขับเคลื่อนภายใน

  1. สร้างความมั่นคงปลอดภัย (security)
  2. ให้ความเป็นอิสระ (autonomy)
  3. สร้างอัตลักษณ์ (identity)
  4. ให้ความรู้สึกว่าทำได้ดี (mastery)
  5. เชื่อมโยงกับเป้าหมายชีวิตในมิติที่ลึก (deep meaning)

แรงขับเคลื่อนผ่านปฏิสัมพันธ์

  1. สถานะทางสังคม
  2. ผูกมิตร
  3. มีคุณค่า
  4. เชื่อมโยงสู่เป้าหมายยิ่งใหญ่
  5. พิสูจน์ตัวเอง

หลักการคือ เราอาจสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากการมีตัวกระตุ้น แต่หากจะให้สนใจระยะยาว เราต้องเห็นคุณค่าหรือความหมายต่อตัวเรา

ใช้ตัวช่วยดึงดูด

การสร้างความสนใจเรียนของนักเรียน ในเบื้องต้น เน้นการสร้างพลัง (energy) และสร้างแรงส่ง (momentum) แต่จะให้นักเรียนรักเรียนต่อเนื่อง ต้องให้นักเรียนเห็นคุณค่าอย่างชัดเจน ของการเรียน ต่อชีวิตของตนเองในขณะนั้น และตามช่วงอายุของนักเรียน

ตัวช่วยดึงดูดนักเรียนสู่การเห็นคุณค่าของการเรียนต่อชีวิตของตนเอง มีมากมายหลากหลายกลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม การเคลื่อนไหว (kinesthetic-ช่วยให้นักเรียนได้จับ คลำ โยน เล่น สิ่งของนั้น), กลุ่มวัสดุสิ่งของ (สำหรับเอามาโชว์), กลุ่มการท่องเที่ยว (ออกไปนอกห้องเรียน ไปยังบางสถานที่ เพื่อเรียนรู้), กลุ่มดนตรี (ใช้ดนตรีแสดงประเด็นการเรียนรู้), กลุ่มทัศนศิลป์ (สร้างโปสเตอร์เพื่อบอกเป้าหมายการเรียนรู้ หรือบอกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น), กลุ่มการละคร (แสดงท่าทางที่สะท้อนความคิดหรือเหตุการณ์), กลุ่มงานอดิเรก (ให้นักเรียนแชร์งานอดิเรกของตน เมื่อเรียนมาถึงเรื่องนั้น), กลุ่มเสรี (autonomy-อนุญาตให้นักเรียนแสดงความเชื่อมโยงของเรื่องที่เรียนกับชีวิตของตนได้โดยอิสระ), กลุ่มกิจกรรมตามเทศกาล (เชื่อมโยงกับเรื่องราวตามข่าว), กลุ่มสร้างกล่องลับ (ภายในกล่องมีสาระการเรียนรู้ที่กำลังเรียน), กลุ่มออกแบบภายใน (ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการจัดห้องให้เหมาะต่อการเรียนรู้สาระนั้นๆ), กลุ่มเครื่องแต่งกาย (แต่งตัวตามตัวละครในเรื่องที่เรียน)

ตัวช่วยดึงดูดให้เห็นว่าการเรียนมีคุณค่าเชื่อมโยงกับชีวิตจริงในนักเรียนระดับอนุบาลถึง ม.6 มีมากกว่า 50 อย่าง และมีบอกไว้ในหนังสือ ‘Teach Like a Pirate’ (Burgess, 2012) และ ‘How to Motivate Reluctant Learners’ (R. Jackson, 2011) โดยมีตัวอย่างตัวดึงดูดทางสังคมในนักเรียนระดับประถมและมัธยม ดังในตารางข้างล่าง

มีครูมัธยมในสหรัฐอเมริกา ผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ใช้การบรรลุระดับคะแนนสำหรับการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยที่ได้รับการยกเว้นค่าเล่าเรียน เป็นแรงดึงดูดคุณค่า นอกจากนั้น ครูท่านนี้ยังใช้คะแนนคณิตศาสตร์ของโรงเรียนใกล้ๆ ที่มีผลการเรียนดีกว่า มาเป็นตัวเปรียบเทียบและกระตุ้นให้นักเรียนช่วยกันเอาชนะโรงเรียนที่สมมุติว่าเป็นคู่แข่งนั้น ครูท่านนี้ได้ชื่อว่าเป็นครูคณิตศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จสูง

ใช้คำถาม

เขาแบ่งระดับคำถามเป็น good questions กับ great questions และบอกว่า good questions ช่วยกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น การเห็นคุณค่า และการใคร่ครวญสะท้อนคิด ส่วน great questions ช่วยเปลี่ยนบรรยากาศของห้องเรียน และอาจถึงกับเปลี่ยนชีวิตของนักเรียน การใช้คำถาม หรือการถาม-ตอบ ในชั้นเรียน ที่ทำอย่างถูกต้อง ช่วยเพิ่ม effect size ของผลการเรียนสูงถึง 0.81 โดยที่กิจกรรมนี้ต้องการ การมีส่วนร่วม ความรู้สึกปลอดภัยที่จะถาม การมีเป้าหมายที่ความเข้าใจที่ลึก และการดำรงสัมพันธภาพที่ดี ตรงนี้ผมขอขยายความว่า ในส่วนของครู ต้องไม่ตั้งคำถามแบบไล่ต้อนให้จนมุม ต้องตั้งคำถามแบบหนุนการเรียนรู้ ในส่วนของนักเรียน นักเรียนต้องรู้สึกสบายใจที่จะถาม โดยไม่กลัวถูกเยาะเย้ยว่าโง่

เขาแนะนำว่า คำถามมี 5 ประเภท ได้แก่

  • คำถามเพื่อตรวจสอบความรู้เดิม (discovery questions) ใช้เมื่อพบว่ามีนักเรียนบางคนไม่เข้าใจ หรือเรียนล้าหลังเพื่อนๆ อาจตั้งคำถามในทำนอง “อธิบายให้ครูและเพื่อนๆ ฟังหน่อย ว่าเธอมีความรู้เกี่ยวกับน้ำขึ้นน้ำลงอย่างไรบ้าง”
  • คำถามที่ช่วยยกระดับการเรียนรู้ (essential questions) มี 2 แบบ (1) ช่วยให้เข้าใจกว้างขึ้น เช่น “ปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงมีผลอย่างไรต่อชีวิตมนุษย์” (2) ช่วยให้เข้าใจสาระที่เรียนอย่างถูกต้องชัดเจน
  • คำถามที่ช่วยการสรุปสาระการเรียนรู้ เช่น “สาระการเรียนรู้สำคัญในคาบนี้มีอะไรบ้าง”
  • คำถามที่ช่วยการขยายความ ก่อนใช้คำถามชนิดนี้ควรถามคำถามเชิงสรุปสาระการเรียนรู้ และได้คำตอบที่ชัดเจนเสียก่อน ตัวอย่างคำถามเช่น “ความรู้ที่เรียนในวันนี้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไรบ้าง”
  • คำถามเพื่อรวบรวมข้อมูลหลักฐาน (evidence-gathering questions) ใช้ในกรณีที่นักเรียนกำลังถกเถียงกัน หรือแบ่งจุดยืนออกเป็นหลายฝ่าย “บอกครูได้ไหมว่าหลักฐานที่แสดงว่าข้อโต้แย้งของเธอถูกต้องมีอะไรบ้าง” “ฝ่ายตรงข้ามจะโต้แย้งว่าอย่างไร ทำไม” “เธอมีข้อเท็จจริงอะไร ที่ฝ่ายตรงข้ามไม่มี”

วิธีสร้างบรรยากาศตั้งคำถามและตอบคำถามอย่างคึกคักสนุกสนานทำได้หลายแบบ เช่นเขียนคำถามไว้บนกระดานหน้าชั้น เขียนชื่อนักเรียนแต่ละคนลงกระดาษม้วนใส่ลงในกล่อง ให้นักเรียนอาสาสมัครเป็นผู้จับชื่อนักเรียนที่จะเป็นผู้ตอบ (หากจับได้ตัวเอง ให้จับใหม่) หากนักเรียนที่ถูกขานชื่อตอบไม่ได้ ครูบอกว่าให้เวลาคิดอีกสองสามนาที แล้วจับชื่อนักเรียนคนอื่นต่อไป หลังจากนั้นจึงกลับมาให้นักเรียนคนเดิมตอบ

เมื่อนักเรียนตอบ ครูควรตั้งคำถามต่อ “รู้ได้อย่างไรว่าคำตอบที่ให้เป็นคำตอบที่ถูกต้อง” เมื่อนักเรียนตอบ ครูกล่าวคำขอบคุณ และบอกว่า “ครูชื่นชมที่เธอช่วยทำให้การเรียนรู้มีชีวิตชีวา ช่วยบอกครูอีกนิดได้ไหมว่า …”

ครูต้องตั้งคำถามด้วยความรัก ให้เกียรตินักเรียนในด้านที่เขาต้องการการยอมรับนับถือจากเพื่อนๆ ห้ามทำให้นักเรียนเสียหน้าหรืออับอายเป็นอันขาด หลักการสำคัญคือ ‘ค้นหาให้พบ’ ‘ค้นหาเพิ่ม’ และผลักดันต่อ ด้วยท่าทีให้เกียรติ และให้คุณค่าต่อสิ่งที่นักเรียนรู้ และความเจริญก้าวหน้าของนักเรียนแต่ละคน

วิจารณ์ พานิช

11 พ.ค. 62

อ่านบทความ วิจารณ์ พานิช สอนเข้ม เพื่อศิษย์ขาดแคลน เพิ่มเติมได้ ที่นี่

Tags:

ครูคาแรกเตอร์(character building)เทคนิคการสอนการฟังและตั้งคำถามสอนเข้มเพื่อศิษย์ขาดแคลน

Author:

illustrator

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

รองประธานกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล ผู้อำนวยการคนแรกของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) และได้ดำรงตำแหน่ง 2 สมัย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส.) ดำรงตำแหน่งกรรมการของหน่วยงานและมูลนิธิหลายแห่ง

Illustrator:

illustrator

บัว คำดี

เติบโตมากับเพลงป็อปแดนซ์ยุค 2000 เริ่มเป็นติ่งวงการ k-pop ในวัยมัธยม มีเพลงการ์ตูนดิสนีย์เป็นพลังใจในทุกช่วงวัยของชีวิต

Related Posts

  • Unique Teacher
    จุฑา พิชิตลำเค็ญ อาจารย์ที่ตั้งหลักว่า “You Teach Who You Are” จัดการตัวเองก่อน จากนั้นค่อยไปสอนคนอื่น

    เรื่อง คณพล วงศ์วิเศษไพบูลย์ ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Character building
    ‘LEARNING HOW TO LEARN’ เรียนเพื่อเรียนรู้: คอร์สเรียนออนไลน์ที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลก

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Character building
    ENTREPRENEURSHIP: ไม่ใช่พ่อรวยสอนลูก แต่คือหลักสูตรผู้ประกอบการที่สอนให้ทำได้ ทำเป็น

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • 21st Century skills
    4 คำถามเปลี่ยนทีมไม่เวิร์ค ให้กลายเป็นทีมเวิร์ค

    เรื่อง The Potential ภาพ BONALISA SMILE

  • Character building
    ที่ปรึกษาให้ตัวละครในนิยาย : วิธีระบายความเจ็บปวดโดยไม่ต้องเล่าแต่เข้าใจ

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ antizeptic

จักรยาน นิทาน โต๊ะกินข้าว บ้าน รถ เวลาทองของลูกอยู่ได้ทุกที่ แค่มีพ่อแม่
อ่านความรู้จากบ้านอื่น
8 November 2019

จักรยาน นิทาน โต๊ะกินข้าว บ้าน รถ เวลาทองของลูกอยู่ได้ทุกที่ แค่มีพ่อแม่

เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะรชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • ในยุคที่พ่อแม่ทุกคนต้องทำงานเช้าจรดเย็น การเลี้ยงลูกโดยผ่านการมีกิจกรรมร่วมกันสม่ำเสมอ บางครั้งก็ทำไม่ได้
  • บทความนี้ช่วยให้เห็นความแตกต่างในการเลี้ยงลูกของ 4 ครอบครัวหลากหลาย พ่อที่เป็นหมอ พ่อที่เป็นนักร้อง แม่นักเขียนสารคดี และพ่อแม่ที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย รวมถึงถอดวิธีการออกแบบ ‘เวลาทอง’ ตามสไตล์แต่ละครอบครัว
  • เพราะเวลาทองของลูกเกิดขึ้นได้ทุกที บนโต๊ะกินข้าว ในบ้าน บนรถ ใช้หน่วยวัดเป็นความรู้สึกระหว่างกัน ไม่ใช่ปริมาณมากหรือน้อย
ภาพ: เฉลิมพล ปัณณานวาสกุล, ณขวัญ ศรีอรุโณทัย

เลี้ยงลูก 1 คน พ่อแม่ต้องใช้เวลามากเท่าไร?

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เคยบอกไว้ว่าคำแนะนำประเภท ‘พ่อแม่ที่ดี คือพ่อแม่ที่มีเวลาให้ลูกมากๆ เป็นคำแนะนำประเภทน่ารำคาญ’ ยิ่งในยุคที่พ่อแม่ต้องทำงานเช้าจรดเย็น ชีวิตเต็มไปด้วยความหนัก เหนื่อย เจอปัญหาต่างๆ ที่ยุ่งยากเกินกว่าจะควบคุม คำแนะนำนี้จึงใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป

แล้วพ่อแม่จะอยู่อย่างไร จะเลี้ยงลูกอย่างไร ในภาวะปากกัดตีนถีบเช่นนี้

The Potential คุยกับ 4 ครอบครัวหลากหลาย พ่อที่เป็นหมอ พ่อที่เป็นนักร้อง แม่นักเขียนสารคดี และพ่อแม่อาจารย์มหาวิทยาลัย เพื่อค้นหาความแตกต่างในการเลี้ยงลูก และถอดวิธีการออกแบบ ‘เวลาทอง’ ตามสไตล์แต่ละครอบครัว

เพราะคำว่า ‘เวลาทอง’ หมายถึงคุณภาพ ไม่ใช่ปริมาณ 

พ่อหมอ

‘เวลาทอง’ ของครอบครัว คุณหมอแป๊ะ หรือ ผศ.นพ.ธนพันธ์ ชูบุญ อาจารย์แพทย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไม่ได้วัดด้วยหน่วยเวลาหรือนาที แต่ใช้ความรู้สึก สีหน้า กับความพอใจ

เมื่ออาชีพการงานคือการดูแลคนไข้ รักษาความเจ็บป่วย เวลาของคุณพ่อลูก (สาว) สอง อาจไม่แน่นอน แต่ที่แน่นอนกว่าคือเวลา ‘คุณภาพ’ แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย 

ผศ.นพ.ธนพันธ์ ชูบุญ

“มันไม่ต้องเป็นตัวเลข เอาความรู้สึกพอ เมื่อไรที่ลูกต้องการเรา เราก็…ลูกรอได้ไหมอีกสองชั่วโมง จะเสร็จแล้ว ถ้าหากเขายังแฮปปี้อยู่ก็โอเค เขาโตมากับการที่เราต้องตรวจคนไข้นอกเวลา มีคลินิก ตอนเช้าเราก็ตื่นมาไปเดินเล่นกับเขา ไปส่งที่โรงเรียน แล้วก็ไปทำงาน จากนั้นรับลูกไปส่งที่บ้าน แล้วก็ไปคลินิก คลินิกเปิดสี่โมงครึ่งถึงสองทุ่ม หมอเจ้าของร้านไปถึงคลินิกเกือบหกโมง ก็ต้องบอกกันก่อนว่า ช่วงเวลานี้ผมต้องไปรับไปส่งลูก เป็นต้น ฉะนั้นมันก็ยังมีเวลาของมันอยู่ คือ แบบว่า คลินิกผมมีคนไข้นิดเดียว (หัวเราะ)”

ช่วงลูกๆ ยังเล็ก คุณหมอใช้เวลานั้นสร้างฐานะไปด้วย คุณหมอเรียกสถานการณ์ช่วงนั้นว่าปากกัดตีนถีบ

“ทุกช่วงฐานะมันก็มีความรู้สึกปากกัดตีนถีบทั้งนั้น ผมก็ปากกัดตีนถีบในเลเวลผม ถ้าคิดว่ามันเป็นปัญหา มันเป็นปัญหาทั้งหมดเลยนะ ก็แก้ๆ กันไป คนเป็นหมอถึงจะยุ่งมาก แต่เราก็กลับบ้าน ถูกไหม เราก็กินข้าว มีเวลาอาบน้ำกับลูก เล่นกับลูก อ่านหนังสือกับลูก สอนการบ้าน”

คุณหมอยืนยันว่ายุ่งจริง แต่ไม่ทุกวัน อาจมีบางคนเป็นอย่างนั้น แต่คุณหมอแป๊ะเลือกที่จะไม่เป็นอย่างนั้น ด้วยการส่งต่อเวร

“หมอที่ทำงานทั้งวันทั้งคืน อาจจะดีต่อคนไข้หรืออาจจะไม่ดีก็ได้นะ เพราะหมอที่ไม่ได้พักผ่อน คุณภาพของการดูแลและการคิดอะไรต่างๆ ก็ด้อยกว่าหมอที่พักผ่อนดีๆ”

เดือนๆ หนึ่ง วันที่ยุ่ง 24 ชั่วโมงอาจมี 2-3 วัน แต่ครอบครัวก็รู้ว่านี่คืองาน

“ผมไปทำงาน ลูกก็ต้องรู้แล้ว นี่คือเวลาทำงาน อ้อ เวลานี้พ่อไปคลินิก แล้วเดี๋ยวสองทุ่มพ่อจะกลับมา แล้วพ่อก็อยู่บ้านจนถึงเช้า วันนี้พ่ออยู่เวร หายไปทั้งคืนเลย ตื่นเช้าก็ตื่นไม่รอด ส่งลูกไปโรงเรียนก็หน้าเหมือนศพ ก็ต้องรู้ว่า เมื่อคืนพ่ออยู่เวร เป็นต้น เด็กๆ ก็ต้องเรียนรู้บทบาทอันนี้นะครับ“

“แต่เวลาไม่อยู่เวร โรงพยาบาลก็ต้องรู้ว่า นี่คือเวลาของเรา” คุณหมอย้ำ

ชั่วโมงทำการของคุณพ่อจึงไม่แน่นอน แต่พอจะสรุปได้คร่าวๆ ดังนี้

ช่วงที่ลูกยังเป็นเด็กเล็กๆ – หกโมงเช้า คุณพ่อรับหน้าที่พาลูกสาวไปเดินรอบอ่างเก็บน้ำใกล้บ้านพัก เมื่อโตหน่อยก็พาไปซ้อนท้ายจักรยาน คุยกันสัพเพเหระ ไม่มี topic ใดๆ ทั้งสิ้น ชวนดูนก ดูกิ้งก่า ดูต้นไม้ ดูดอกไม้ เรียกว่าอะไรอยู่รอบตัวก็ดูได้ทั้งนั้น 

“เมื่อไรที่เราต้องคิดว่าจะคุยอะไรกับลูกนะ ผมว่ามันเป็นสิ่งที่เฟลมากเลยอะ ยกเว้นเรื่องบางเรื่องที่เราอยากจะให้เขารู้จริงๆ และเป็นทักษะที่จำเป็น เช่น เรื่องเซ็กส์ แต่เราไม่ได้ตั้งเป็น topic ว่าต้องพูดแบบไหน เราก็ต้องรอโอกาสสวยๆ เช่น ปั่นจักรยานอยู่ เห็นหมามันติดเป้งกัน มันขึ้นขี่กัน เราก็บอก ลูกดูเร็ว มันกำลังจะมีลูก เริ่มต้นก่อน แล้วเดี๋ยวมันก็จะต่อยอดไปเอง”

เช่นเดียวกัน เวลาอ่านนิทาน งานนี้ต้องถึงมือคุณพ่อ พ่อผู้ไม่เคยเล่านิทานอย่างปกติเลยสักครั้ง เพราะลูกเล่นของครอบครัวอยู่ที่พ่อหมด

“ไม่เคยอ่านนิทานปกติ อ่านแล้วต้องใส่อารมณ์ของนิทาน อารมณ์ของการเล่าเรื่อง ฉะนั้นช่วงเวลาที่ลูกนอนจะเป็นช่วงเวลาที่มีค่ามาก”

“เรามีหนังสือนิทานในบ้านเยอะมาก บางคืนก่อนนอนอาจจะอ่านกันถึงสามเรื่อง ถ้าเรื่องไหนเป็นสัตว์ พ่ออาจจะเป็นสัตว์ หรือมาเป็นสัตว์ในนิทานกันทั้งพ่อทั้งลูก พูดคุยกันประสาสัตว์ อย่างเช่นเรื่อง ‘กุริกุระ’ พ่อจะเป็นหนู และเมื่อถึงเวลาที่เป็นเหมือนท่อนฮุคในนิทาน กร๊อบแกร๊บกรุ๊บกรั๊บ กุริกุระ ถึงเวลานี้ ลูกจะช่วยเรา หรืออีกเรื่องหนึ่ง ‘ยักษ์อุฮิอะฮะกับแมวสิบเอ็ดตัว’ เอิ่ม…กี่ตัวก็ชักไม่แน่ใจ มันหลายปีมาแล้ว ผมจะเป็นยักษ์ ลูกเป็นแมว อะไรอย่างนี้ คืออยากจะบอกว่า นี่มันคือเวลาทองมาก หลับตานึกภาพออกไหม พ่อนอน ลูกคนโตหนุนแขนขวา ลูกคนเล็กหนุนแขนซ้าย แล้วอ่านหนังสือไปด้วยกัน เวลาเปลี่ยนหน้าหนังสือ ก็จะมีมือยื่นมาเปลี่ยนให้ เพราะพ่อทำไม่ได้”

แต่ระหว่างที่อ่านๆ อยู่ ก็จะมี ‘คิวแทรก’ ที่เรียกว่า “คนไข้มาห้องคลอด” เป็นระยะๆ คุณพ่อก็ต้องกัดฟันไปเพราะตอนนั้นอยู่ในช่วงรับฝากครรภ์พิเศษเพื่อสร้างฐานะ

“รู้สึกหงุดหงิดใจเหมือนกัน เริ่มรู้สึกแล้วว่าการไปทำคลอด ฝากพิเศษ มันน่าจะไม่ใช่ชีวิตที่เราชอบเท่าไร แต่มันต้องทำ เพราะมันคือรายได้ที่จะมาซัพพอร์ตครอบครัว จนวันหนึ่งมันถึงจุดแตกหักของการรับฝากพิเศษ ผมต้องไปทำคลอด ตอนนั้นลูกคนโตสามขวบกว่าบอกว่า พ่อไปอีกแล้วเหรอ มันเจ็บมากเลย เลยบอกว่าจากนี้ไป พ่อจะไม่รับฝากพิเศษอีกแล้ว เลิกเลย”

ถามคุณหมออีกรอบ ‘เวลาทอง’ ของครอบครัวคือตอนไหน

“มันทองตลอดเลย (ตอบทันที) หลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นในรถ คุยกัน คุยได้ทั้งวัน แต่พอมันโตขึ้น มันก็พยายามที่จะไม่คุยกับเรา ฉะนั้นคุยกันให้เรียบร้อย คุยกันให้เยอะๆ ไปก่อน จะได้ไม่ขาดอะไร เขาจะรู้ว่าเรามีเวลาให้เขาเมื่อไร เท่าไร”

ไม่ใช่แต่ในบ้าน เวลามีงานนอกสถานที่ ครอบครัวชูบุญจะไปกันเป็นแพ็คเกจตลอดเวลา

“เวลาผมมีประชุมที่ไหน จะต้องมีลูกและเมียปรากฏตัวเสมอ เมียผมไม่ไปประชุมที่ไหนเลยนะตอนลูกผมเล็กๆ หรือเมื่อไรที่เขามีประชุมเราก็จะไป ไม่มีอะไรสำคัญกว่าการได้ไปด้วยกัน ร้อนหนาวแค่ไหนไปตลอด เวลาหนาว เราเอาลูกมาอยู่ในเสื้อแล้วก็รูดปิด คอมันโผล่มาเหมือนลูกจิงโจ้เลย (ยิ้ม) ฉะนั้นทั้งชีวิต พ่อให้ลูกหมดเลย หมายความว่าช่วงเวลานอกการทำงานนะ”

ทำไมถึงเชื่อพลังของการให้และพลังของการใช้เวลาร่วมกัน?

“ก็เราให้เขาเกิดมาแล้วไหมล่ะ เราก็ต้องรับผิดชอบชีวิตของเขา เท่านั้นเองครับ”

แม่นักเขียนสารคดี

ก้อย-จันทร์เคียว รัตนโยธา นักเขียนสารคดี เป็นคุณแม่ของน้องยินดีวัย 11 ปีที่เลี้ยงลูกเองตั้งแต่วันแรกที่ออกจากโรงพยาบาล และเป็นแม่บ้านที่ลาออกจากงานมาเลี้ยงลูกเองเต็มเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่มีพี่เลี้ยงผลัดเปลี่ยน ลูกกินนมแม่ตั้งแต่เกิดจนถึง 3 ขวบ ปราศจากขวดนมใดๆ 

ก้อย-จันทร์เคียว รัตนโยธา 

“ดังนั้นในช่วง 3 ปีแรกแม่และลูกจะตัวติดกันเกือบตลอดเวลา เรารู้ว่าเขาต้องการอะไร คิดอย่างไร จนถึงวันที่เขาเริ่มไปโรงเรียน หลังจากกลับจากโรงเรียนลูกมักจะเล่าเรื่องที่โรงเรียนหรือเรื่องที่เขารู้หรือสงสัยให้ฟังเสมอ” 

ทุกๆ เช้า น้องยินดี-ลูกชาย จะตื่นนอนเข้าห้องน้ำอาบน้ำแต่งตัวเองโดยแม่เตรียมชุดให้ และเตรียมอาหารเช้า ก่อนจะส่งไม้ต่อให้คุณพ่อเป็นสารถีไปส่งที่โรงเรียน 

มื้อเช้าคุณแม่เตรียมจะเป็นอาหารง่ายๆ อาจเป็นกับข้าวที่แบ่งมาจากมื้อเย็นเมื่อวาน ข้าวปั้น หรือซีเรียลใส่นม 

กลางวันแม่อยู่บ้านทำงาน ราวบ่ายสามโมงก็จะเตรียมตัวออกไปรับลูกที่โรงเรียน แล้วกลับมาทำอาหารค่ำ 

“หน้าที่ประจำวันของลูกที่ต้องรับผิดชอบคือเติมน้ำจากเครื่องกรองน้ำลงขวดน้ำดื่ม บางครั้งอาจช่วยล้างจาน หรือมีส่วนร่วมในการทำเมนูที่เขาคิดสูตรเอง อย่างไข่ม้วนแฮมชีส” 

วันธรรมดาที่ต้องไปโรงเรียนยินดีจะมีเวลาเล่นเกมคอมพิวเตอร์ 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะเป็นการอ่านหนังสือส่วนใหญ่เป็นหนังสือสารคดีเกี่ยวกับรถชนิดต่างๆ หรือเล่นของเล่นเลโก้รถหรือเลโก้แบบกลไกฟันเฟือง บางครั้งก็ต่อช่วยกันจิ๊กซอว์ ระหว่างนั้นพ่อแม่ดูข่าวทีวี บางทีลูกก็ชอบดูคลิปต่างๆ บนแทบเล็ตภายใต้สายตาและการควบคุมเวลาอยู่ห่างๆ ของแม่

“เวลามีประเด็นทางสังคมเรามักจะคุยกันดูทิศทางความคิดและทัศนคติที่เขาแสดงความคิดเห็นกับเรื่องต่างๆ เพราะคิดว่าการที่เด็กจะเติบโตไปเป็นมนุษย์คนหนึ่งนั้น ทัศนคติสำคัญที่สุด สำคัญกว่าความเก่งทางวิชาการหรือความสามารถพิเศษอื่นๆ” 

นอกจากเวลาแล้ว เนื้อหาที่พ่อแม่ลูกคุยกันก็สำคัญ 

“ก่อนนอนจะชวนคุยเรื่องทั่วไป วันนี้เรียนเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อนที่โรงเรียนเป็นอย่างไร อาหารกลางวันกินอะไร อร่อยไหม ให้เขารู้สึกว่าสนใจเรื่องราวรอบตัวเขา หลายครั้งลูกเล่าถึงการบูลลี่การแกล้งกันในโรงเรียนรวมถึงการแก้ปัญหาของเขา และเล่าประเด็นอื่นๆ ที่เราเองก็นึกไม่ถึง” 

ท่าทีในการคุยทุกเรื่อง บ้านนี้ปฏิบัติกับลูกอย่างเพื่อน ไม่ซักไซ้จ้ำจี้จ้ำไชหรืออยากรู้อยากเห็นไปทุกเรื่อง คุยด้วยน้ำเสียงบรรยากาศสบายๆ ให้ลูกวางใจและอยากเล่าเอง 

“ให้เขารู้ว่าไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นเขาสามารถเล่าให้พ่อแม่ฟังได้ทุกเรื่อง” 

ทั้งหมดนี้คือ เวลาทองของบ้านยินดี ที่ไม่ได้หมายความแค่ชั่วโมงแห่งความสุข

“เวลาทองอาจจะไม่ได้หน้าตายิ้มแย้มตลอดเวลา เวลาทองคือช่วงเวลาที่ลูกรู้สึกปลอดภัย ได้พูดคุยกันถึงเรื่องต่างๆ บางครั้งอาจไม่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของเราเลยก็ได้ แต่เราจะรู้ถึงทัศนคติของเขาที่จะเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่แบบไหน”

ส่วนเวลาทองแบบจับต้องได้คือครอบครัวมักหาโอกาสไปเที่ยวต่างประเทศ หรือเที่ยวธรรมชาติ เที่ยวทะเล เดินภูเขากางเต็นท์นอนปีหนึ่งราว 3-4 ทริป ได้เหนื่อยด้วยกันหัวเราะด้วยกัน ช่วยกันกางเต็นท์ทำอาหาร นั่นคือเวลาทอง

แต่พ่อแม่บ้านนี้ก็มีช่วงที่ไม่มีเวลาเหมือนกัน 

“อย่างน้อยที่สุดได้กอดลูก ถามไถ่ถึงเรื่องที่เขาพบเจอระหว่างวัน เรื่องราวดีหรือไม่ดี รู้สึกอย่างไร ต้องการให้แม่ช่วยจุดไหน ได้บอกราตรีสวัสดิ์ส่งลูกเข้านอน เขาจะรู้สึกปลอดภัย นอนหลับอย่างมีความสุข” 

ให้เวลาทองกับลูกแล้ว คุณแม่บ้านนี้ก็ไม่ลืมที่จะมีนาทีทองของตัวเอง 

“ช่วงเวลาที่ผ่อนคลายมากที่สุดคือช่วงเตรียมอาหารค่ำให้สมาชิกในบ้าน เรารู้ว่าแต่ละคนชอบกินอะไร เวลาลูกได้กินอาหารฝีมือแม่รสชาติอร่อย เขาจะพูดขอบคุณทุกครั้งและให้คะแนน 5 ดาว จานชามที่ลูกกินจนเกลี้ยงก็ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ” 

ด้วยความเป็นนักเขียนสารคดี บางครั้งคุณแม่ก็ลากิจชั่วคราวไปเที่ยวต่างประเทศบ้าง เพราะแม่ย่อมมีชีวิตเป็นของตัวเองด้วย โดยเฉพาะช่วงปิดเทอม ยินดีจะเดินทางไปหาปู่ย่า และจะกลับมาพร้อมความเปลี่ยนแปลงแทบทุกครั้ง

“หนึ่ง ปู่ย่าไม่เหงา สอง เด็กได้ช่วยปู่ย่าทำงานอื่นๆ สาม พ่อแม่มีเวลาเป็นของตัวเอง สี่ ทุกครั้งที่ลูกกลับมาบ้านหลังจากช่วงปิดเทอมแค่สั้นๆ เราจะพบว่าเขาโตขึ้นกว่าเดิมเสมอ” 

พ่อนักร้อง

โป้-ปิยะ ศาสตรวาหา หรือ โป้ Yokee Playboy เบื้องหน้าเขาคือนักร้องหนุ่มที่ใช้ผลงานเพลงครองใจใครหลายคน เมื่อเวลาหมุนไปได้พาให้เขาเติบโตจากนักร้องหนุ่มกลายเป็นมนุษย์พ่อของลูกสาววัย 7 ขวบอย่างเต็มตัว แต่การสวมบทบาทที่เพิ่มขึ้น ไม่ได้ทำให้เขารู้สึกเหนื่อยหรือท้อเลยสักครั้ง

เขายืนยันเสมอว่าลูกคือสิ่งที่ทำให้มีความสุข และเขาคือคุณพ่อที่ให้ความสำคัญกับเวลา เพราะเวลาทำให้เขารู้จักลูก เวลาคือสิ่งที่ช่วยให้พ่อสามารถสร้างประสบการณ์ให้กับลูกได้ 

โป้-ปิยะ ศาสตรวาหา

“ตลอดชีวิตของผมทำงานมาตลอด วันหนึ่งเราเริ่มรู้สึกว่าทำไมเราไม่เติมเต็มสักที หาเงินมาได้ก็ไม่รู้สึกสุขเหมือนที่เราอยากเป็น เราเริ่มตั้งคำถาม จากนั้นก็หาคำตอบ แต่ไหวตัวช้าไปนิดนึง มาเจอคำตอบใกล้ๆ อายุขึ้นหลักสี่แล้วพบว่า เราต้องการมีครอบครัว

“ในความทรงจำ ไม่รู้ทำไมผมไม่เคยจินตนาการเลยว่าตัวเองจะมีลูกชาย ผมอยากมีลูกสาวมาตลอด ตอนที่เล่นโชว์เพลงในช่วงนั้น อยู่ดีๆ บางครั้งก็บ้าบอถึงขั้นตะโกนบนเวทีว่า “ผมอยากมีลูกสาวววว” ในเมื่ออยากมีลูกเราก็ต้องหาแม่พันธุ์ ตอนที่ผมเจอภรรยา ผมคุยกับเขาเลยว่าตอนนี้ผมกำลังหาแม่พันธุ์อยู่นะ คงเป็นความโชคดีที่ภรรยาเขาคงงงๆ ว่านี่เรากำลังจีบเขาอยู่หรืออะไร จนในที่สุดเราได้คบกันสร้างครอบครัวและมีลูกด้วยกัน”

กิจกรรมแต่ละวันของพ่อโป้และน้องชินา-ลูกสาว ดูคล้ายกับครอบครัวอื่นๆ เริ่มจากการตื่นนอน ไปโรงเรียน กลับจากโรงเรียน วิ่งเล่น กินข้าว แล้วเข้านอน แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้แต่ละวันไม่ซ้ำกันคือลีลาและน้ำเสียงในการเล่านิทานของ ‘คุณพ่อ’

“ผมขอไล่จากช่วงเวลาเข้านอนก่อน ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา ผมจะมีหน้าที่อุ้มน้องจากรถขึ้นไปที่ห้องนอนชั้นสองแล้วพาลูกนอน ถ้าเขาไม่หลับระหว่างทางกลับบ้าน เราก็จะเป็นคนอาบน้ำให้เขาด้วย ช่วงเวลาก่อนนอนทุกคืน ผมจะเป็นคนเล่านิทานให้เขาฟังก่อนหนึ่งเรื่อง ซึ่งนิทานเหล่านั้นจะเป็นนิทานที่ผมแต่งเองทั้งหมด โดยแต่งจากความสนใจของลูก เช่น ตอนนั้นเขากำลังสนใจเกี่ยวกับการ์ตูนฮีโร่ เช่น แบทแมนแแอนด์โรบิ้น เราก็หยิบจับเอาตรงนั้นมาเล่าเป็นเรื่องราวที่เข้าใกล้ตัวเขาได้ง่าย เช่น ลูกรู้ไหม จริงๆ แล้วพ่อเป็นเพื่อนกับแบทแมนนะ แต่พ่อไม่เคยบอกใคร เราสร้างเรื่องราวไปเรื่อย พอเขาฟังเขารู้สึกสนุก มันกระตุ้นจินตนาการ

“ผมเริ่มเล่านิทานให้เขาฟังตั้งแต่เล็กๆ ในช่วงแรกคุณแม่จะเป็นคนพาเล่า แต่หลังๆ ไม่รู้ทำไม น้องอาจจะชอบความตื่นเต้นเลยมาให้คุณพ่อเล่าให้ฟังแทน ซึ่งพ่อก็จะเล่าในสไตล์ exotic พ่อเป็นเพื่อนกับแบทแมน แบทแมนมาเยี่ยมพ่อตอนนี้ที่ลูกยังแบเบาะอยู่ จริงๆ แบทแมนไม่ถูกกับซูเปอร์แมน เพราะซูเปอร์แมนงาบไอศกรีมของแบทแมนไป ซึ่งพอเราเล่าแบบนี้ ลูกดูจะชอบมากๆ (หัวเราะ)

“พอเราส่งลูกเข้านอนแล้ว ตื่นเช้ามาจะเป็นหน้าที่ของแม่ คุณแม่จะพาไปส่งโรงเรียน เพราะพ่อตื่นสาย (ต้องขอขอบคุณภรรยาด้วยครับ-หัวเราะ) แต่ก็มีบ้างที่พ่อไปด้วย พอถึงช่วงเวลาบ่ายๆ เป็นเวลาเลิกเรียน พ่อแม่จะไปรับเขาจากโรงเรียนมาที่นี่ (ร้านอาหารที่เป็นกิจการของครอบครัว) จากนั้นเป็นช่วงเวลาที่ลูกจะได้เล่นหรือทำการบ้าน โดยพ่อจะใช้เวลานี้ทำงานเพลงไปด้วย จากนั้นในช่วงเย็นก็จะเข้าสู่ลูปเดิม” 

หากถามถึงระดับความสนิทของสองพ่อลูก โป้ตอบอย่างหนักแน่นไว้ว่า เราทั้งคู่เรียกได้ว่าคุยภาษาเดียวกันเลย

“ด้วยความที่เราหน้าตาแบบนี้ ภรรยาบอกว่าผมเป็นผู้ช้าย ผู้ชาย คนป่ามากๆ เรามีความกังวลที่จะเล่นกับลูก ไม่รู้ว่าจะสื่อสารกับเด็กผู้หญิงอย่างไร ไอ้เราก็เริ่มน้อยใจลูก เราจึงต้องหาทางเข้าหาเขา เริ่มจากสังเกตสิ่งที่เขาทำก่อน ตอนนั้นเขาสนใจตุ๊กตา ผมเลยเอาตุ๊กตาของเขามาเล่นสวมตัวเองเข้าไป ทำให้ตุ๊กตามีชีวิตแล้วบีบเสียงให้เล็กๆ คุยกับเขา ‘สวัสดีค่ะ ทำอะไรคะเนี่ย’ (หัวเราะ)”

โป้พาย้อนไปตอนที่น้องชินาอายุ 2 ขวบ “จำได้ว่าน้องชอบทำหน้าตาตามผม เวลาเรามองหน้ากันผมคิดว่าเขาเป็นเด็กที่รู้เรื่องแล้ว แต่ไม่มีใครเชื่อผมสักคนแม้กระทั่งแม่เขา แววตาของลูกทำให้ผมรู้สึกประหลาด อาจจะเป็นเรื่องที่ฟุ้งซ่านก็ได้ แต่รู้สึกแบบนั้นจริงๆ” 

การเป็นมนุษย์พ่อช่วยเติมเต็มให้โป้อ่อนโยนมากขึ้น 

“ตั้งแต่มีลูกผมรู้สึกมีฮอร์โมนผู้หญิงเพิ่มขึ้นนะ (หัวเราะ) ผมมีความสุขทุกวันตั้งแต่เขาเกิดมาเป็นลูก (ยิ้ม)” นี่จึงเป็นเหตุผลให้เขากลายเป็นคุณพ่อที่ค่อนข้างไหวตัวกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูกมากๆ 

“เวลาผมมองลูกเหมือนผมได้นั่งมองตัวเองในร่างเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง ย้อนไปในตอนนั้น คุณเคยอยากรู้อย่างไร อยากจะเจออะไร ไม่ชอบอะไร คุณจะพยายามพาเด็กคนนี้ (ซึ่งก็คือตัวคุณเอง) ไปทิศทางไหน ในแบบฉบับไหน

“ผมตั้งใจตั้งแต่จะมีลูก ผมจะเลี้ยงลูกให้โตขึ้นเป็นคนอารมณ์ดี 7 ปีที่ผ่านมา น้องโตขึ้นเป็นเด็กอารมณ์ดีจริงๆ ข้อนี้ถูกใจพ่อมาก เขาทะเล้นเหมือนพ่อ เขาเป็นเด็กอ่อนโยน จิตใจดี” 

“เราสองพ่อลูกจะจอยเวลาด้วยกันมักเป็นตอนเช้าในวันหยุด อาจเป็นเพราะเขาเห็นพ่อทำงานก๊องแก๊งๆ อยู่ใน(ห้องซ้อม)บ้านตลอด เขาเลยสนใจอยากรู้ว่าพ่อทำอะไร พ่อทำอาชีพอะไร เขาจะมาเล่นนู้นนี้เล่นนี้อยู่บ่อยๆ ซึ่งบ้านเราโตมากับเสียงเพลงอยู่แล้ว เพราะพ่อเป็นนักร้อง ตอนเล็กๆ เราก็จะร้องเพลงเสริมทักษะภาษาให้เขา ส่วนนี้มันจึงบ่มเป็นนิสัยของการฟังเพลง ทำให้ชินากลายเป็นเด็กที่มีเซนส์ในดนตรี”

การที่เด็กคนหนึ่งจะเติบโตขึ้นมาแล้วเขาเป็นอย่างไร นอกจากอัตลักษณ์ที่ติดตัวมาแล้ว สิ่งหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ชัดเจนขึ้น นั่นก็น่าจะเป็นเวลาของพ่อแม่ที่อยู่กับเขา ความสุขของครอบครัวที่สุดคือการได้ใช้เวลาด้วยกัน – พ่อโป้เชื่อแบบนั้น

“การสร้างประสบการณ์ให้ลูกเป็นสิ่งดี ฉะนั้นคุณอย่าไปปิดกั้นมันเลย ปล่อยไปตามธรรมชาติ บางครั้งก็ปล่อยให้เจอปัญหาคุณจะได้สอนเขา มหาอาณาจักรสังคมทั้งหลาย ทุกสิ่งทุกอย่างเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ คือ บ้าน ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นในบ้าน สุดท้ายจะส่งผ่านออกไปมีผลกระทบต่อตัวเขาทุกอย่าง

“สำหรับบ้านผม ผมไม่มีข้ออ้างสำหรับการเลี้ยงลูก ต่อให้ชีวิตหนัก เหนื่อย แค่ไหนก็ตาม บางครั้งผมบ้างานมากๆ ทำงานติดกันนานๆ มันจะมีช่วงเวลาที่สะดุ้งแล้วรู้สึกว่าเราใช้เวลานานเกินไปแล้ว ไปอยู่กับลูกบ้างดีกว่า”

ฉะนั้นเมื่อถามถึงหน้าตาของเวลาทอง – พ่อโป้ตอบเต็มคำเลยว่า เวลาทองคือทุกเวลาที่เขาได้ใกล้ชิดกับลูก

“เวลาที่เราได้อาบน้ำให้เขา ล้างก้นให้เขา มันสั้นมากๆ ผมอยากให้คุณพ่อทุกคนไหวตัวทันเหมือนผม อยากให้รีบกันหน่อย เพราะช่วงเวลานี้มันผ่านไปแล้วคือผ่านไปเลย เงินทองที่คุณหามาได้มากเท่าไร มันซื้อช่วงเวลาตรงนี้ไม่ได้ ผ่านไปแล้วผ่านไปเลย หมดแล้วหมดเลย ตอนนี้ผมพยายามแง้มประตูบานนี้กับลูกสาวอยู่ ไม่อยากให้มันปิดเร็ว”

พ่อแม่อาจารย์มหาวิทยาลัย

“ครอบครัวเราให้ความสำคัญกับลูกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต หลังจากมีลูกแล้วมันไม่ใช่ชีวิตคู่ มันคือชีวิตคี่ (หัวเราะ) คือเราไม่เคยฝากลูกไว้กับใครแล้วไปเดทกัน 2 คน ไม่ได้ว่าครอบครัวอื่นนะคะ แต่เรามีความสุขมากกว่าที่จะได้อยู่พร้อมหน้ากัน 3 คน”

แม่มะเหมี่ยว-วราลี ยอดสุรางค์ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ่อแทน-ปฏิพล ยอดสุรางค์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ทั้งคู่เป็นพ่อแม่ของน้องทามะ ลูกสาววัย 5 ขวบ ที่ร่าเริง สดใส และคุยเก่ง

ภาพจำเดิมของวิชาชีพอาจารย์ ดูเหมือนจะมีชีวิตที่ยุ่งยาก ไม่มีเวลา เพราะต้องง่วนอยู่กับตำราและเตรียมการสอน แต่ชีวิตของพ่อแทนและแม่มะเหมี่ยวไม่ได้เป็นเช่นนั้น

แม่มะเหมี่ยว-วราลี ยอดสุรางค์ และ พ่อแทน-ปฏิพล ยอดสุรางค์

“ทุกอาชีพก็มีความหนัก เหนื่อยต่างกันไป จริงๆ แล้วการเป็นอาจารย์ ถ้าวางแผนดีๆ เราจัดสรรเวลาได้แน่นอน เพราะเราทำงานราชการมีเวลาชัดเจนอยู่แล้ว เพื่อนๆ หลายคนบอกว่า เราโชคดีที่บ้านกับที่ทำงานใกล้กัน และโรงเรียนลูกอยู่ใกล้กัน อย่างน้อยก็ไม่ต้องเครียดกับรถติด” พ่อแทนบอก

พ่อแทนเล่าย้อนไปตอนน้องเด็กๆ ทามะเป็นเด็กที่เติบโตที่ประเทศญี่ปุ่น เพราะช่วงเวลานั้นทั้งพ่อและแม่มีภารกิจเรียนต่อที่นั่น น้องมีโอกาสได้อยู่ในเนิร์สเซอรีในญี่ปุ่น ซึ่งการอยู่ที่นั่นทำให้พ่อแทนและแม่มะเหมี่ยวเห็นความแตกต่างด้านเวลาอย่างชัดเจน 

“จริงๆ เราสามารถทำงานต่อที่นั่นได้เลยแต่มันต้องเหนื่อยแน่ๆ ด้วยวัฒนธรรม ธรรมเนียม ญี่ปุ่นจะเข้มงวดเรื่องวินัย แต่ก็อาจจะตามด้วยความเครียด ทุกอย่าง strict ไปหมด เขาไม่ได้ยืดหยุ่นมากพอ ถึงแม้ญี่ปุ่นจะมีสวนสาธารณะมากมายแต่พ่อแม่ต้องทำงานหนัก ลูกก็ไม่มีโอกาสได้ไปเล่นอยู่ดี” จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ย้ายกลับมาที่ประเทศไทย และเข้าเรียนอนุบาลในโรงเรียนไทย 

โดยกิจวัตรประจำวันแต่ละวันตั้งแต่ตื่นจนเข้านอนของสามชีวิต เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงเช้า พ่อแทนจะตื่นก่อนเพื่อลุกขึ้นมาเตรียมอาหาร ทำกับข้าวให้ลูก และเตรียมตัวออกจากบ้านไปโรงเรียนและไปทำงานกันพร้อมหน้าพร้อมตา โดย ‘จักรยาน’

“ด้วยความที่โรงเรียนห่างจากหน้าบ้านไม่ไกล เราก็จะขี่จักรยาน หรือจะขี่สกู๊ตเตอร์ หรือจะติดรถแม่ไปก็ได้ แล้วแต่ลูกจะเลือก” 

ระหว่างทางไปรับไปส่ง พ่อแทนใช้ช่วงเวลานี้พูดคุยและรับฟังเรื่องเล่าจากน้องทามะทุกเรื่อง 

“อย่างที่บอกเขาอยู่ในวัยชอบพูด เขาเป็นเด็กพูดเก่ง มันไม่มีแพทเทิร์นขนาดว่าวันนี้พ่อแม่จะต้องถามอะไร คุยอะไร หรือต้องเล่าเรื่องอะไรกัน แต่พื้นฐานน้องเป็นเด็กช่างคุย เขาจะมีเรื่องมาเล่า เรื่องโม้ของเขา เช่น เรื่องกลุ่มเพื่อนในห้องของเขา หรือวันนี้คุณครูดุ วันนี้เจอตุ๊กแกของครู ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าเรื่องไหนจริงไม่จริง แต่ก็ฟังไป ปล่อยให้เขาเล่าตามจินตนาการของตัวเอง”

พอในช่วงเย็น หลังเลิกเรียนคุณพ่อจะไปรับน้องและปล่อยให้เขาวิ่งเล่นที่สวนในโรงเรียนก่อน จากนั้นก็พากันกลับเข้าบ้าน เตรียมตัวทำกับข้าว รอคุณแม่กลับบ้าน ระหว่างที่พ่อทำกับข้าว ลูกก็จะใช้เวลาเล่นอะไรของเขาไปเรื่อยเปื่อย จากนั้นก็กินข้าวด้วยกัน พูดคุยกัน และก็ถึงช่วงเข้านอน

“ตามปกติไม่รู้ว่าบ้านอื่นใช้เวลากินข้าวนานแค่ไหน แต่บ้านเรากินข้าวนานประมาณ 1 ชั่วโมง เพราะช่วงเวลานี้คือที่เวลาที่เราอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน”

ดังนั้นเมื่อถามว่าเวลาทองของครอบครัวนี้คือช่วงเวลาไหน พ่อแทนตอบว่า

“สำหรับผมมันไม่ได้ซีเรียส ครอบครัวของเราไม่ได้กำหนดเวลาเป๊ะๆ ว่าคือเวลานี้ ต้องทำอะไร แค่เราคุยกัน อยู่พร้อมหน้า เราใช้เวลาอยู่บนโต๊ะอาหารด้วยกันนาน เรากินข้าวเป็นชั่วโมง เพราะเป็นช่วงเวลาที่กินไปคุยไป”

เช่นเดียวกับแม่มะเหมี่ยวที่บอกว่า “เวลาทองคือเวลาที่เราทำกิจกรรมร่วมกับลูก ไม่จำเป็นต้องเป็นการเล่นอย่างเดียว”

เพราะบ้านไม่มีลูกจ้าง เวลาทำงานบ้าน ลูกก็จะมาช่วยทำด้วย นี่คือหลักการที่ช่วยให้ลูกสนุกไปพร้อมพ่อแม่ หรือเวลาที่คุณพ่อคุณแม่นัดเจอกับเพื่อนตัวเอง แม่มะเหมี่ยวก็จะให้ลูกตามไปด้วย เพราะนั่นคือวิธีที่ทำให้ลูกรู้สึกว่า ‘เขาสนิทกับเรานะ’ พอเขาไปเล่นตามสนามเด็กเล่นกับเพื่อนเขา เขาก็อยากให้เราไปเล่นด้วย อยากให้เราเป็นส่วนหนึ่งของเขา ให้เราวิ่งไล่พวกเขาเป็นผีบ้าง ยักษ์บ้าง แค่เรามีเวลาที่ได้อยู่ร่วมกับลูก มีช่วงเวลาที่สนุกด้วยกัน ลูกมีเวลาเล่นอย่างเต็มที่ในวัยเขา 

นี่แหละคือเวลาทอง

อ่านบทความ เวลาทอง โดย นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ได้ ที่นี่

Tags:

คาแรกเตอร์(character building)ธนพันธ์ ชูบุญปิยะ ศาสตรวาหาวราลี ยอดสุรางค์จันทร์เคียว รัตนโยธาปฏิพล ยอดสุรางค์

Author:

illustrator

ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

อดีตนักข่าวที่ผันตัวมาทำงานด้านการเรียนรู้(อย่างรื่นรมย์) ด้วยอินเนอร์คุณแม่ลูกหนึ่ง(ที่เป็นวัยรุ่นและขายาวมาก) รักการทำงานก็จริงแต่ชอบหนีไปออกกำลังกายตามคำบอกของคุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เพื่อให้ชีวิตการงานสมดุลอยู่

illustrator

รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

หลงใหลถุงผ้ากับกระบอกน้ำ เริ่มต้นอาชีพด้วยการฝึกปรือและอยู่กับผู้คนในประเด็นการศึกษา สนุกจะคุยกับเด็ก ชอบฟังเรื่องเล่าในห้องเรียน ที่สนใจการเรียนรู้ก็เพราะเชื่อว่านี่เป็นใบเบิกทางให้ขยายขอบขีดความสามารถตัวเอง ฝันสูงสุดคืออยากเห็นตัวเองทำงานสื่อสารที่มีคุณภาพและคุณค่าต่อไป

Related Posts

  • Voice of New Gen
    ฟิอนน์ เฟอร์เรรา: เจ้าของ GOOGLE SCIENCE FAIR 2019 กำจัดไมโครพลาสติกออกจากสายน้ำ

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • 21st Century skills
    คิดอย่างสร้างสรรค์ด้วยการทำงานของสมอง 2 ซีก

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • Early childhoodLearning Theory
    EP.2: THE TWELVE SENSES ปรัชญาการเติบโตของมนุษย์ตั้งแต่ระดับ ‘เซลล์’ และ ‘โซล’

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่างบัว คำดี

  • Character building
    สุภาวดี หาญเมธี: สันดานดี สร้างได้ ด้วย CHARACTER BUILDING

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

  • Character building
    ออกนอกห้องเรียน ไปตามติดชีวิตหอยแครง

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

MIND-BODY MEDICINE ปรับใจเยียวยากาย: ศาสตร์การบำบัดที่ทำให้คนกลับมาเข้าใจตัวเอง
How to enjoy lifeBook
7 November 2019

MIND-BODY MEDICINE ปรับใจเยียวยากาย: ศาสตร์การบำบัดที่ทำให้คนกลับมาเข้าใจตัวเอง

เรื่อง ภาพ บัว คำดี

  • หนังสือ ‘Mind-Body Medicine ปรับใจเยียวยากาย’ โดย นายแพทย์วิโรจน์ ตระการวิจิตร นำเสนอทางเลือกใหม่ในการกลับมาดูแลกายและใจของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง โยคะ ดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด ละครบำบัด รวมถึงการเขียนด้วย แต่นอกเหนือกิจกรรมทั้งมวล ต้องการให้ทุกคนกลับมาตระหนักรู้ในตนเองว่าอะไรคือสิ่งที่ยังกวนใจเราอยู่ทุกวัน เพื่อที่จะดูแลใจของเราให้แข็งแรงอยู่เสมอ
  • สอดคล้องกับความเป็นเหตุเป็นผลทางวิทยาศาสตร์ที่บอกว่า ศิลปะบำบัดจะเป็นการสร้างงานศิลป์ที่เน้นไปที่การเยียวยาจิตใจของคน โดยไม่เกี่ยวกับเรื่องความสวยงาม หรือความเหมือนในตัวแบบ การวาดภาพก็คือภาพสะท้อนสภาวะของใจเรา
เรื่อง: วีระวัชร์ มงคลโชติ

ลจากการสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยจากกรมสุขภาพจิต ซึ่งสำรวจทุก 5 ปี ในปี พ.ศ. 2551 พบว่าคนส่วนใหญ่มีสุขภาพจิตอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่เกือบ 1 ใน 5 เสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิต และกว่าแสนรายต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล  ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2556 พบว่าคนไทยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีปัญหาสุขภาพจิตประมาณ 7 ล้านคน

สถิติข้างต้นชวนให้ผมนึกถึงวันรวมรุ่นคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผมได้นั่งพูดคุยกับรุ่นพี่คนหนึ่งซึ่งทำงานเป็นนักจิตวิทยาการปรึกษา เขาบอกว่าการนัดคิวปรึกษากับนักจิตวิทยาต้องรออย่างน้อย 2 สัปดาห์หรือบางทีก็เป็นเดือน

“เดี๋ยวนี้เด็กปีหนึ่งหลายคน พอเข้ามหาวิทยาลัยได้ ก็มารับบริการเต็มไปหมด” พี่คนนี้ย้ำกับผมเช่นนั้น

บทสนทนาวันนั้นกับสถิติจากท้ายเล่มของหนังสือ ‘Mind-Body Medicine ปรับใจเยียวยากาย’ โดย นายแพทย์วิโรจน์ ตระการวิจิตร หรือ หมอคิม ตอกย้ำถึงความเร่งด่วนของปัญหาสุขภาพจิตที่ต้องได้รับการแก้ไข

หากร่างกายของเราเสื่อมสภาพลงจนเกิดเป็นโรคต่างๆ ได้ จิตใจก็ย่อมไม่แตกต่างกัน และหากจิตใจของเราสามารถ ‘เจ็บป่วย’ ได้เช่นเดียวกับร่างกาย การรักษาให้หายก็ย่อมเป็นไปได้เช่นเดียวกัน หลังจากวันที่ได้คุยกับรุ่นพี่คนนั้น ผมยังมีคำถามที่ค้างคาอยู่ในใจว่า…

ในเมื่อผู้เชี่ยวชาญอย่างนักจิตวิทยาการปรึกษาที่มีอยู่นี้ไม่เพียงพอต่อการช่วยเหลือกลุ่มคนที่มีปัญหา เราพอจะมีทางจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตอย่างไรได้อีกบ้าง? 

ผมใช้เวลาหลังเรียนจบออกตามหาเครื่องมืออื่นๆ โดยส่วนใหญ่หมดเวลากับการศึกษาและปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนาเป็นหลัก สิ่งหนึ่งที่ผมได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตัวเองคือ ‘ความสมดุล’ เป็นสิ่งที่ศาสตร์ตะวันออกให้ความสำคัญอย่างมาก เส้นทางชีวิตจากการศึกษาตามหลักสูตรที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดความเชื่อทางตะวันตกก็สอดรับกับเส้นทางชีวิตของผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ คล้ายผมเดินทางมาพบกับ ‘ทางเลือก’ ในการดูแลกายและใจของตัวเองนอกเหนือไปจากวิธีทางการแพทย์แผนปัจจุบัน

เนื้อหาภายในเล่มเรียบเรียงผ่านประสบการณ์ของนายแพทย์วิโรจน์ ที่ต้องเผชิญกับอาการปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบที่เป็นตั้งแต่วัยเด็กและสืบเนื่องยาวนานมากว่า 20 ปี ความรู้ทางการแพทย์ที่เขามียังไม่เพียงพอจะทำให้รอดพ้นจากความทุกข์ทรมานที่ต้องเผชิญ สุดท้ายคุณหมอพบว่าหนึ่งในสาเหตุที่เป็นตัวปัญหาที่สุดแท้จริงแล้วคือ ‘ความเครียด’ ของเขาเอง

การเดินทางค้นหาวิธีเยียวยารักษาตัวเองได้นำพาคุณหมอมาพบกับศาสตร์ ‘ศิลปะบำบัด (Art Therapy)’ หนึ่งในสาขาของการแพทย์สายจิต (Mind-Body Medicine) ซึ่งเน้นการดูแลสุขภาพโดยผ่านกลไกทางด้านจิตใจ ร่างกาย และสังคมสิ่งแวดล้อม คุณหมอนำเสนอ 5 วิธี โดยแบ่งเป็น 5 บทในหนังสือ ได้แก่ 

  1. วาดภาพ วาดใจ 
  2. ดนตรีบำบัดสร้างสมดุลชีวิต 
  3. ศิลปะการเคลื่อนไหวร่างกาย 
  4. เขียนเยียวยาชีวิต 
  5. ละครบำบัดรักษาจิต ซึ่งได้คุณสุภัฏ สิกขชาติ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายความคิดสร้างสรรค์ ผู้เรียนรู้ชีวิตจริงผ่านกระบวนการละครบำบัด มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์

ก่อนเริ่มต้นพูดถึงวิธีการบำบัดในแต่ละข้อ คุณหมอได้พูดถึงกลุ่มบุคคล 6 กลุ่ม ที่เหมาะกับการใช้ศิลปะบำบัด ได้แก่ ผู้ป่วยเด็ก, ผู้ป่วยสูงอายุ, ผู้ป่วยโรคเอดส์, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, ผู้ป่วยระยะสุดท้าย และบุคลากรทางการแพทย์

นอกจากนี้ เนื้อหาในหนังสือยังมีการอ้างอิงตามหลักวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะการกล่าวถึงกระบวนการทำงานของสมองและฮอร์โมนในร่างกาย ทั้งยังมีการอ้างอิงถึงนักจิตวิทยาและจิตแพทย์หลายคนที่ทำงานวิจัยเพื่อสร้างกระบวนการในการบำบัดเยียวยาที่คุณหมอได้หยิบยกกระบวนการบำบัดที่ผ่านประสบการณ์มาด้วยตัวเองเพื่อให้ผู้อ่านทำความเข้าใจเนื้อหาภายในหนังสือเล่มนี้ โดยมีการรับรองอย่างเป็นเหตุเป็นผลทางวิทยาศาสตร์ สืบค้นเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่สนใจต่อยอดในการเรียนรู้หรือนำมาประยุกต์ใช้ช่วยเหลือเยียวยาต่อไป

ความแตกต่างของศิลปะบำบัดกับการสร้างงานศิลปะทั่วไปก็คือ ศิลปะบำบัดจะเป็นการสร้างงานศิลป์ที่เน้นไปที่การเยียวยาจิตใจของคนคนนั้น ซึ่งจะไม่เกี่ยวกับเรื่องความสวยงาม หรือความเหมือนในตัวแบบ การวาดภาพก็คือภาพสะท้อนสภาวะของใจเรา

คุณหมอบอกเล่าถึงประสบการณ์การเรียนวาดภาพในคอร์ส ‘สีน้ำวิปัสสนา’ ที่ โรงเรียนธรรมชาติ บ้านริมน้ำ จังหวัดนครปฐม โดยเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่แสง การมองเห็น ความเข้ม การลงสี การผสมสี เป็นต้น และนอกเหนือจากขั้นตอนการฝึกฝนดังกล่าว คุณหมอยังได้มีโอกาสสำรวจความคิดและความรู้สึกของตนเองผ่านการวาด และภาพที่ถูกวาดได้แสดงอุปนิสัยและความรู้สึกนึกคิดของผู้วาด ณ ขณะนั้นอีกด้วย

เช่นเดียวกับการวาดภาพที่เราไม่จำเป็นต้องเป็นศิลปินผู้ช่ำชอง ดนตรีบำบัด ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเยียวยาโดยปรับใช้ให้ผู้บำบัดได้ฝึกเล่นดนตรีอย่างง่ายเพื่อเป็นการผ่อนคลาย และปรับสมดุลของสารสื่อประสาทในสมองซึ่งส่งผลดีต่อทั้งร่างกาย และจิตใจ คุณหมอได้นำเสนอหนังสือ ‘มหัศจรรย์ one to five ไม่มีใครในโลก เล่นเปียโนไม่ได้’ ซึ่งเป็นวิธีการอย่างง่ายในการฝึกฝนการเล่นเปียโนที่คุณหมอเลือกเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ในการเยียวยาตัวเอง

ในส่วนของศิลปะการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่เน้นการเคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอและด้วยท่วงท่าที่ถูกต้องเหมาะสม จะสามารถพัฒนาสมรรถนะทางร่างกายอันจะส่งผลต่อการหลั่งสารเคมีที่ทำให้สมองตื่นตัว และสร้างเส้นใยประสาทเพิ่มขึ้น โดยคุณหมอได้เลือกนำเสนอการออกกำลังกายด้วยการ ‘วิ่ง’ ที่ทำได้ง่าย ได้ทั้งความทนทาน, ความแข็งแรง และการทรงตัวยืดหยุ่น ตามด้วย ‘ชี่กง’ ศาสตร์การแพทย์ของจีนในการบริหารพลังงานในร่างกายให้เกิดความสมดุล และ ‘โยคะ’ หนึ่งในศาสตร์การแพทย์จากอินเดียที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

อีกหนึ่งวิธีที่ต้นทุนต่ำ ใช้เวลาน้อย ยืดหยุ่น ทำเป็นส่วนตัวหรือแบ่งปันคนอื่น รวมถึงทำที่ไหนก็ได้คือ การเขียน ที่ใช้ในการเยียวยา เพื่อสร้างการตระหนักรู้ในตัวเอง แก้ปัญหาชีวิต พัฒนาเติบโต และส่งเสริมสุขภาวะทางกาย และใจอีกด้วย คุณหมอได้ยกตัวอย่างวิธีการเขียนบางส่วน เช่น การเขียนระบายความทุกข์ ความเศร้า อารมณ์ด้านลบออกมา (expressive writing), การเขียนตามแนว Personality and Human Relations (PRH) และการเขียนตามแนวทางของเวอร์จิเนีย ซาเทียร์ (Satir Model)

สุดท้ายหนึ่งในเครื่องมือที่ผมชื่นชอบคือ ละครบำบัด ที่รวบรวมเอาองค์ความรู้หลายสาขาเข้าด้วยกัน และเน้นไปที่การให้ผู้บำบัดได้มีโอกาสแสดงออกด้วยตัวตนผ่านบทบาทที่หลากหลายโดยไม่จำเป็นต้องมีทักษะการแสดงมาก่อน และสามารถจัดกระบวนการได้ทั้งในแบบเดี่ยวและกลุ่มอีกด้วย คุณสุภัฏได้ถ่ายทอดมุมมองที่น่าสนใจที่บอกเล่าถึงเหตุการณ์ในชีวิตของตัวเองที่แสดงถึง ‘การสวมบทบาทในชีวิตประจำวัน’ เหมือนกับการที่เราเป็นนักแสดงในโรงละครที่ชื่อว่าชีวิตมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กทารก เพื่อเรียกร้องให้ตนได้รับการดูแลเอาใจใส่ด้วยรูปแบบวิธีการที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ภูมิหลังประสบการณ์ของแต่ละคน ทั้งนี้คุณสุภัฏได้ยกตัวอย่างครูละครบำบัด 3 ท่าน ได้แก่ ครูกิล (Gil Alon), โจเอล กลัค (Joel Gluck) และ อมิต รอน (Amit Ron)

บทบาทของหนังสือเล่มนี้คือ การนำเสนอทางเลือกใหม่ในการกลับมาดูแลกาย และใจของตนเอง ซึ่งมีวิธีการหลากหลายให้ผู้อ่านได้เลือกหยิบนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้อย่างเหมาะสม

ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การกลับมาตระหนักรู้ในตนเองว่าอะไรคือความไม่สมดุลที่กำลังเกิดขึ้นในชีวิตของเรา มีอะไรที่ยังกวนใจเราอยู่ทุกวัน อะไรบางอย่างที่มากเกินไป หรือน้อยเกินไปในชีวิต เพื่อที่จะดูแลใจของเราให้แข็งแรงอยู่เสมอ

และอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ การมีใครสักคนที่พร้อมจะอยู่เคียงข้าง และคอยรับฟังเราในวันที่เราต้องการกำลังใจ และการสนับสนุน 

เอิธ-วีระวัชร์ มงคลโชติ คนรุ่นใหม่ที่สนใจศาสตร์การค้นหาตัวเอง ศึกษาธรรมะทุกรูปแบบคู่ไปกับศาสตร์จิตวิทยาและวิทยาศาสตร์สมอง แม้เรียกตัวเองว่าเป็นนักศึกษาธรรมะ แต่ระหว่างการศึกษาทางธรรมเขาก็พาตัวเองไปเรียนรู้ทุกศาสตร์ที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นอาสาสมัคร Teach for Thailand, เข้าร่วมโครงการด้านธุรกิจเพื่อสังคมและได้ไปดูงานเรื่อง Design Thinking ที่ซิลิคอนวัลเลย์ ควบคู่ไปกับการสร้างเครือข่ายให้คนรุ่นใหม่มีเครื่องมือในการเข้าใจตัวเอง ปัจจุบันเอิธเป็นฟรีแลนซ์ที่มักสร้างโปรเจ็คท์ให้คนรุ่นใหม่มารวมตัวกันทำประเด็นทางสังคม โดยใช้การตระหนักรู้ในตัวเองเป็นเครื่องมือทำงานทั้งภายในและส่งออกไปภายนอก

Tags:

ซึมเศร้าหนังสือศิลปะบำบัด

Author:

Illustrator:

illustrator

บัว คำดี

เติบโตมากับเพลงป็อปแดนซ์ยุค 2000 เริ่มเป็นติ่งวงการ k-pop ในวัยมัธยม มีเพลงการ์ตูนดิสนีย์เป็นพลังใจในทุกช่วงวัยของชีวิต

Related Posts

  • Book
    หากวันใดคุณหลงทาง จงฟังเสียงที่อยู่ในหัวใจ

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Education trendTransformative learning
    เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 4. ความเชื่อและปณิธานความมุ่งมั่นของครู

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Early childhoodFamily Psychology
    ภาวะซึมเศร้า กับ โรคปั้นลูกให้เก่ง ผลลัพธ์ข้างเคียงที่เกิดจากความรักที่มากไปของผู้ปกครอง

    เรื่อง อังคณา มาศรังสรรค์ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Voice of New GenBook
    SISU เลือกทางยากแทนทางง่าย ฝึกหัวใจและร่างกายไม่ให้ชินกับความสำเร็จรูป

    เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Voice of New Gen
    รักที่จะรักหลากหลาย: นักเขียนรางวัลซีไรต์กับนิยายYของเธอ

    เรื่อง ชลิตา สุนันทาภรณ์

พันธุกรรมไม่สำคัญเท่าการเลี้ยงดู ความเอาใจใส่ของพ่อแม่กำหนดบุคลิกของลูกได้
Family Psychology
6 November 2019

พันธุกรรมไม่สำคัญเท่าการเลี้ยงดู ความเอาใจใส่ของพ่อแม่กำหนดบุคลิกของลูกได้

เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา ภาพ บัว คำดี

  • นักวิจัยสัตว์สังเกตพฤติกรรมของลิงที่มีความใกล้เคียงกับมนุษย์ พบว่า ถ้าลิงถูกเลี้ยงแบบขาดแม่ (peer-raised) โดยเฉพาะตัวที่สืบต่อพันธุกรรมไม่ดีบางอย่างมา มักแสดงลักษณะพันธุกรรมนั้นพร้อมกับพฤติกรรมผิดปกติ แต่เมื่อนำแม่ลิงเข้ามาดูแลลิงกลุ่มนี้ ปรากฏว่าลักษณะทางพันธุกรรมนั้นสงบลงและลิงมีพฤติกรรมดีขึ้น 
  • สอดคล้องกับผลวิจัยของผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กแห่งมหาวิทยาลัยมินเนโซตา พบว่า เด็กที่มีความผูกพันแบบไม่มั่นคง-ครึ่งๆ กลางๆ เมื่อโตขึ้นจะกลายเป็นเด็กที่ลังเลและวิตกกังวล ขาดความเด็ดเดี่ยว 
  • โจทย์สำคัญของพ่อแม่ คือ เราจะมีวิธีเลี้ยงลูกอย่างไรให้เขามีพัฒนาการทางกายใจที่ดี หลังจากรับพันธุกรรมบางอย่างที่ติดตัวหลังจากเขาเกิดมา

ตามธรรมชาติแล้วทารกจำเป็นต้องพึ่งพาใครสักคนที่จะมอบความรัก ความอบอุ่น ดูแลเอาใส่ใจเขาเพื่อความอยู่รอด พ่อแม่ผู้ให้กำเนิดอาจเป็นตัวเลือกแรกสุด หรืออาจเป็นญาติพี่น้องซึ่งเป็นผู้ใหญ่ใจดีสักคนเข้ามาทำหน้าที่ผู้เลี้ยงดู สุดแล้วแต่เหตุผลของชีวิต อย่างน้อยที่สุดเจ้าหนูต้องได้รับความรักความอบอุ่นเพื่อสร้างความรู้สึกปลอดภัยเป็นสุขหรือมีสิ่งที่เรียกว่า ‘ฐานที่มั่น’ (secure base) เพื่อให้เขากล้าออกไปเรียนรู้อย่างอุ่นใจและมีที่พักพิงอันปลอดภัยซึ่งเขาสามารถกลับไปหาได้เสมอ

นี่คือสาระสำคัญจาก ทฤษฎีความผูกพัน (Attachment Theory) ของ จอห์น โบวล์บี (John Bowlby) นักจิตวิทยาและนักจิตวิเคราะห์ ซึ่งอธิบายหลักการเอาไว้ว่า สมองของทารกถูกตั้งโปรแกรมอัตโนมัติให้เรียกร้องถวิลหาความรู้สึกปลอดภัยเป็นสุข ผ่านการดูแลเอาใส่ใจ เข้าใจและตอบสนองความต้องการอย่างรวดเร็วฉับไวจากผู้เลี้ยงดูหลัก (primary caregiver -ซึ่งอาจไม่ใช่พ่อแม่ก็ได้) ตามที่เขาคาดหวังอย่างเสมอต้นเสมอปลาย 

แนวทางของโบวล์บี ทำให้โรงพยาบาลและสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าเปลี่ยนวิธีปฏิบัติต่อผู้ป่วยเด็ก จากเดิมที่เคยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนผู้ดูแลเด็กเพื่อไม่ให้เกิดความเศร้าหมองเมื่อต้องกลับบ้านหลังเสร็จสิ้นการรักษา เปลี่ยนเป็นจัดให้มี ‘ผู้ดูแลหลัก’ ดูแลเด็กเป็นคนๆ ไปเพื่อพัฒนาความใกล้ชิดและผูกพัน ผลคือเด็กมีอัตราการรอดชีวิตและหายป่วยมากขึ้นกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด

งานศึกษาอื่นๆ ที่อิงทฤษฎีนี้ยังระบุด้วยว่า เด็กควรต้องได้รับการตอบสนอง ดูแลใกล้ชิดจากผู้เลี้ยงดู เขาจึงจะเกิดความผูกพันอันเป็นก้าวแรกสู่พัฒนาการที่ดีด้านสังคม อารมณ์ และความสามารถในการเรียนรู้ และยิ่งสำคัญมากในความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก เพราะมันจะเป็นต้นแบบของปฏิสัมพันธ์ที่เขานำไปใช้กับเพื่อนๆ และสั่งสมความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยที่จะออกไปเรียนรู้สำรวจโลกรอบตัว เขาจึงจะสามารถรับมือกับความเครียดและอารมณ์อย่างสมดุล เข้าใจและยอมรับตนเอง ตลอดจนสร้างสัมพันธภาพที่มีคุณค่าความหมายในอนาคตได้

พันธุกรรมไม่สำคัญเท่าการเลี้ยงดู

นักวิจัยสัตว์ชื่อ สตีเฟน ซูโอมี (Stephen Suomi) สังเกตพฤติกรรมของลิงพันธุ์ rhesus ที่มีความใกล้เคียงกับมนุษย์ที่สุดสายพันธุ์หนึ่งแล้วพบว่า ถ้าลิงถูกเลี้ยงแบบขาดแม่ (peer-raised) โดยเฉพาะตัวที่สืบต่อพันธุกรรมไม่ดีบางอย่างมา มักแสดงลักษณะพันธุกรรมนั้นพร้อมกับพฤติกรรมผิดปกติ แต่เมื่อนำแม่ลิงเข้ามาดูแลลิงกลุ่มนี้ปรากฏว่าลักษณะทางพันธุกรรมนั้นสงบลงและลิงมีพฤติกรรมดีขึ้น แต่เมื่อแยกแม่ลิงออกมาอีกครั้ง ลักษณะพันธุกรรมเดิมก็กลับมา ปฏิกิริยาทางเคมีของสารสื่อประสาทเปลี่ยนแปลงไป จนสุดท้ายลิงมีความผิดปกติทางอารมณ์และเข้าสังคมไม่ได้

ผลการศึกษานี้เป็นเครื่องยืนยันว่าการเลี้ยงดูมีผลต่อการปรากฏลักษณะทางพันธุกรรมว่าจะแสดงออกมาหรือไม่และอย่างไร กล่าวคือการเลี้ยงดูเอาใจใส่จากพ่อแม่ช่วยระงับการแสดงออกของพันธุกรรมลบและการขาดการเอาใจใส่กระตุ้นให้มันแสดงออกมา

นับเป็นการทบทวนข้อถกเถียงของงานศึกษาที่แล้วมาเสียใหม่ ซึ่งผู้วิจัยมักศึกษาอิทธิพลของพันธุกรรมกับประสบการณ์แบบเดี่ยวๆ แล้วโต้กันไปมาว่า เหตุผลอย่างหนึ่งอย่างใดมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของบุคคลมากกว่ากัน (Nature vs Nurture) ทั้งที่ทั้งสองต่างเป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันสำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาบุคลิกลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคน

แม้พันธุกรรมมีส่วนกำหนดการทำงานของสมองและควบคุมกลไกระดับโมเลกุลเซลล์โดยสั่งการให้ยีนทำงานหรือไม่ก็ได้ หรือจะเปิดปิดตอนไหนเมื่อไหร่ก็ได้ ทั้งยังสะท้อนไปถึงพฤติกรรมที่แสดงออก แต่ในขณะเดียวกันประสบการณ์ก็เป็นเบ้าหลอมให้คนคนหนึ่งปรับตัวเข้ากับสิ่งที่เขาพบผ่านด้วยเหมือนกัน ซึ่งหากมองตามตรงแล้ว พันธุกรรมและประสบการณ์ต่างมีผลกระทบซึ่งกันและกัน เช่น กระบวนการปรับโครงสร้างสมองในช่วงวัยรุ่นจะมีการลดจำนวนเซลล์ประสาทลง (pruning) ตามธรรมชาติ แต่กระบวนการนี้อาจเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดมากเกินไปด้วยเช่นกัน

สำหรับพ่อแม่ สรุปง่ายๆ ได้ว่า สมองถูกออกแบบมาให้พัฒนาตนเองอย่างสมบูรณ์แข็งแรงอยู่แล้ว อยู่ที่เราจะเลี้ยงเขาอย่างไรให้มีพัฒนาการทางกายใจที่ดีโดยสิ่งที่อาจรับช่วงต่อทางพันธุกรรม (เช่น นิสัยที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เป็นคนอ่อนไหว เจ้าอารมณ์ หรือขี้หงุดหงิด) จะไม่เป็นอุปสรรคกับการเติบโตผลิบานของชีวิต

ความรักความผูกพันอันมั่นคงจึงเป็นคำตอบสุดท้ายที่ครอบคลุมนิยามการเลี้ยงลูกอย่างมีคุณภาพได้ตรงไปตรงมาที่สุด

เลี้ยงลูกผูกพัน

เพราะธรรมชาติของสมองจำเป็นต้องมีการเรียนรู้เพื่อเติบโตและปรับตัว การเลี้ยงลูกให้เกิดความผูกพันจึงเป็นตัวแปรหนึ่งของพัฒนาการ เพราะเหตุผลข้างต้นที่เด็กจำเป็นต้องรู้สึกมั่นคงปลอดภัยจากฐานที่มั่นภายในตนเองเสียก่อนจึงจะกล้าก้าวไปสู่โลกกว้าง 

มาดูกันดีกว่าว่าในสมองของเด็กๆ นั้นเขาพัฒนาความผูกพันป็นลำดับขั้นจากการสื่อสารปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ได้อย่างไร

ขั้นที่หนึ่ง ปรับจูน (Attunement) คือ กระบวนการที่สมองฝั่งขวาของลูกเรียกร้องการเชื่อมต่อกับพ่อแม่ผ่านการรับส่งภาษากายซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอารมณ์ความรู้สึกให้รู้ และรอคอยว่าพ่อแม่จะตอบสนองเขาอย่างไร เขาจะรู้สึกว่าได้รับการตอบสนองก็ต่อเมื่อพ่อแม่เข้าใจสิ่งที่ตนต้องการและตอบสนองทางการสบตา สีหน้า น้ำเสียง สัมผัส สอดคล้องในจังหวะเวลาที่เหมาะเจาะพอดี (contingent communication) 

ขั้นที่สอง ภาวะสมดุล (Balance) เด็กเกิดความรู้สึกสมดุลกายใจจากการได้รับการตอบสนองและถูกเข้าถึง สังเกตได้จากวงจรการตื่นและนอนหลับที่เหมาะสม ปฏิกิริยาที่มีต่อความเครียด อัตราการเต้นของหัวใจ การย่อยและการหายใจ นักประสาทวิทยาอธิบายว่าตัวชี้วัดเหล่านี้เกี่ยวพันกับการมองเห็นแม่ในสายตาด้วย สมองเด็กเล็กจะตึงเครียดเมื่อไม่เห็นแม่อยู่ในสายตาเป็นเวลานาน และมีผลให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ บกพร่อง

ขั้นสุดท้าย ภาวะเชื่อมโยงสอดประสาน (Coherence) เด็กรู้สึกเป็นปึกแผ่นจากการเชื่อมโยงต่อติดกับผู้เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ สมองมีเสถียรภาพในการรับรู้และเข้าใจประสบการณ์พร้อมกับปรับตัวตามสิ่งแวดล้อมได้อย่างปกติสุข 

แมรี เอนสเวิร์ธ (Mary Ainsworth) ศิษย์คนใกล้ชิดของ จอห์น โบวล์บี ต่อยอดทฤษฎีความผูกพันโดยจำแนกลักษณะความผูกพันที่เด็กจะมีต่อพ่อแม่ที่มีวิธีเลี้ยงดูแตกต่างกันดังนี้ 

ลักษณะของความผูกพันที่เป็นผลจากการเลี้ยงดู

ลักษณะความผูกพันที่ลูกมีต่อพ่อแม่
การเลี้ยงดูที่ได้รับ
ความผูกพันแบบมั่นคง (secure)ได้รับการเอาใจใส่และตอบสนองความรู้สึกอย่างเข้าใจและถูกจังหวะเวลาสม่ำเสมอต่อเนื่อง 
ความผูกพันแบบไม่มั่นคง – ห่างเหิน (avoidant)ถูกเลี้ยงดูแบบทิ้งขว้าง ไม่ใส่ใจอารมณ์ความรู้สึกและถูกเมินเฉยเมื่อเรียกร้องต้องการ
ความผูกพันแบบไม่มั่นคง – ครึ่งๆ กลางๆ (ambivalent)เลี้ยงดูแบบเอาแน่เอานอนไม่ได้ บางครั้งสนใจ บางครั้งละเลย หรือตอบสนองแต่ไม่ตรงกับที่ต้องการ
ความผูกพันแบบไม่มั่นคง – สับสน (disorganized) เลี้ยงดูด้วยความรุนแรงหรือใช้อารมณ์เกรี้ยวกราด ข่มขู่ให้กลัว

ในงานศึกษาดังกล่าว เอนสเวิร์ธให้ชื่อว่า ‘ทารกกับสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย’ โดยนำเด็กวัยหนึ่งขวบกับแม่เข้ามาในห้องซึ่งมีของเล่นมากมายกับคนแปลกหน้าคนหนึ่ง จากนั้นให้แม่เด็กเดินออกไป ปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังกับคนแปลกหน้าสักพักแล้วค่อยให้แม่เด็กกลับเข้ามาเพื่อสังเกตพฤติกรรม

เด็กที่มีความผูกพันแบบมั่นคง 

เด็กที่มีความผูกพันแบบมั่นคงรู้สึกกลัวตอนที่แม่ไม่อยู่ แต่เมื่อแม่กลับมาก็รีบวิ่งไปหาแสดงความใกล้ชิด สงบลงในชั่วเวลาสั้นๆ และกลับไปเล่นสนุกได้ใหม่ เพราะได้รับความเอาใจใส่จากผู้ใหญ่แบบคงเส้นคงวาและเสมอต้นเสมอปลาย การมีแม่อยู่ใกล้ๆ เป็นตัวการันตีเพียงพอแล้วว่าเขาจะปลอดภัย

เด็กที่มีความผูกพันแบบห่างเหิน 

เชื่อหรือไม่ว่าเด็กที่มีความผูกพันแบบหมางเมินห่างเหิน ไม่แสดงอาการร้อนหนาวใดๆ เมื่อแม่เดินออกจากห้อง เขายังเล่นของเล่นต่อจนเมื่อแม่กลับมาก็ไม่ยี่หระ เหมือนกับจะบอกเป็นนัยๆ ว่า “ที่ผ่านมาจะอยู่หรือไม่อยู่ก็ไม่ต่างกันนี่” แต่อย่างไร ผลจากการวัดอัตราการเต้นของหัวใจพบว่า แม้แสดงออกว่าไม่แคร์ แต่ภายในเต็มไปด้วยความเครียดและการกลับมาของแม่ช่วยให้สงบลง 

เด็กที่มีความผูกพันแบบครึ่งๆ กลางๆ

เมื่อแม่เดินออกไปจากห้อง เด็กที่ถูกเลี้ยงดูด้วยพ่อแม่ที่เดี๋ยวก็สนใจ เดี๋ยวก็ปล่อยปละจนเกิดความไม่มั่นใจว่าเขาพึ่งพาพ่อแม่ได้จริงไหม เมื่อแม่กลับเข้ามาในห้องจะรีบวิ่งถลาเข้าหาอย่างขวัญเสีย ปลอบเท่าไหร่ก็ไม่หยุดร้องและเกาะแม่แจจนไม่กลับไปเล่นต่อ 

เด็กที่มีความผูกพันแบบสับสน

เด็กกลุ่มสุดท้ายในงานศึกษาของเอนสเวิร์ธ คือกลุ่มที่แสดงพฤติกรรมพลุ่งพล่านปั่นป่วน เมื่อแม่กลับมาก็รีบเข้าไปหาแต่แล้วก็ผลักแม่แล้ววิ่งหนี บางคนนอนกลิ้งไปกับพื้น หรือเข้าทุบตีแม่ พฤติกรรมส่วนใหญ่คือแวบแรกที่เห็นแม่กลับมาจะแสดงความดีใจ แต่เมื่อแม่เข้าใกล้ก็เกิดความกลัว

เด็กกลุ่มนี้ถูกขยายความในการศึกษาของ แมรี เมน (Mary Main) กับ อีริค เฮสเส (Erik Hesse) อาจารย์ด้านจิตวิทยาแห่ง University of California, Berkeley ต่อมาว่าพฤติกรรมที่แสดงออกลักษณะนี้เกิดจากการได้รับการตอบสนองที่ข่มขู่คุกคามหรือถูกพ่อแม่ฟาดงวงฟาดงาใส่เมื่อเขาเรียกร้องต้องการ เด็กสับสนทั้งในตัวเองและกับพ่อแม่เพราะที่พักพิงเดียวของเขากลับกลายเป็นที่มาของมหันตภัยเลวร้ายด้วยเช่นกัน

เด็กแสดงออกกับผู้อื่นโดยอิงจากความผูกพันในครอบครัว

เด็กที่เติบโตจากการเลี้ยงดูแบบหมางเมินห่างเหินหรือเอาแน่เอานอนไม่ได้ จะปรับวิธีปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ให้กลมกลืนกับสิ่งที่ตนได้รับ แล้วสร้างรูปแบบความสัมพันธ์กับคนอื่นโดยอิงจากความผูกพันกับครอบครัวนั่นเอง กับที่บ้านเป็นอย่างไร กับครู เพื่อน หรือคนรัก ก็เอาแพทเทิร์นเดียวกันไปใช้ เมื่อความเชื่อฝังรากลึกเกินหยั่ง เขาก็จะเอาแต่อยู่กับโลกที่มันแห้งแล้ง ปราศจากความรู้สึกและเหมาว่าผู้คนไม่อาจเปิดเผยอารมณ์ระหว่างกันได้ (ผูกพันแบบห่างเหิน) หรือโลกนี้เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนจนไว้วางใจใครไม่ได้เลย (ผูกพันแบบครึ่งๆ กลางๆ)

ส่วนเด็กที่พัฒนาความผูกพันแบบสับสน พ่อแม่นอกจากไม่ตอบสนองความต้องการเขา ยังแสดงปฏิกิริยาที่ทำให้เขาหวาดกลัวแบบไร้ทางออก (fright without solution) ความผูกพันประเภทนี้มักพบในเด็กที่ถูกพ่อแม่ทำทารุณทุบตี หรือครอบครัวที่ใช้ยาเสพติดและขว้างปาอารมณ์ฉุนเฉียวใส่ลูกเป็นประจำ

อย่าว่าแต่ความรู้สึกปลอดภัยไม่มี เด็กไม่อาจแม้แต่จะสร้างคุณค่าในตัวตนได้เพราะไม่สามารถยึดโยงสายสัมพันธ์กับพ่อแม่ เกิดภาวะย้อนแย้ง สับสนที่รู้สึกกลัวพ่อแม่ทั้งที่ใจใฝ่หาความอบอุ่นปลอดภัยจากพวกเขา

งานวิจัยที่ศึกษาพัฒนาการทางสมองของเด็กกลุ่มนี้ พบว่าพวกเขามีพัฒนาการสมองบกพร่อง บ้างมีขนาดเล็กกว่ามาตรฐานในช่วงวัยเดียวกัน บ้างพบว่าเซลล์ที่เป็นสะพานเชื่อมสมองฝั่งซ้ายขวาไม่สมบูรณ์ทำให้สมองทั้งสองฝั่งไม่ประสานงานกัน บางคนไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ ดีใจก็จะดีใจสุดกู่จนกลายเป็นล้นเพราะสารสื่อประสาทตัวหนึ่งที่ชื่อ GABA ไม่ทำงาน

ทั้งหมดนี้มีสาเหตุจากฮอร์โมนความเครียดซึ่งเด็กหลั่งออกมาเวลาตื่นกลัว ปัญหาที่ตามมาคือเด็กมีปัญหาในการเรียนและเข้าสังคมไม่ได้ และที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือมีแนวโน้มในการใช้ความรุนแรงกับผู้อื่นด้วย 

ซึ่งเมื่อสืบสาวต่อไปแล้วก็พบว่า พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกแบบนี้มักมี ปมปัญหาค้างคา (unresolved trauma) ที่สืบต่อมาจากรุ่นพ่อแม่ตนเองเช่นกัน แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ทุกคนที่มีปมปัญหาจะสร้างความผูกพันแบบสับสนกับลูกไปเสียหมด ตราบใดที่เขายังแสดงความรักและเมตตาให้ตนเองและลูกมากพอ 

อาจารย์อลัน ซรูเฟ (Alan Sroufe) ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กแห่งมหาวิทยาลัยมินเนโซตาทำการศึกษาผลกระทบระยะยาวว่าลักษณะความผูกพันในเด็กที่เข้าร่วมงานวิจัยของเอนสเวิร์ธ ส่งผลให้เขาเติบโตไปเป็นอย่างไร โดยเก็บข้อมูลการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กวัยเดียวกัน เพื่อนๆ มองเด็กเหล่านี้เช่นไร และพวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ที่ไม่ใช่คนในบ้านอย่างไรบ้าง ผลออกมาว่า 

  • เด็กที่มีความผูกพันแบบมั่นคง โตไปแล้วมีความเป็นผู้นำสูง
  • เด็กที่มีความผูกพันไม่มั่นคง-แบบห่างเหิน เพื่อนที่โรงเรียนไม่อยากคบหาผูกมิตร
  • เด็กที่มีความผูกพันไม่มั่นคง-แบบครึ่งๆ กลางๆ กลายเป็นเด็กที่ลังเลและวิตกกังวล ขาดความเด็ดเดี่ยว
  • เด็กที่มีความผูกพันไม่มั่นคง-แบบสับสน เข้ากับคนอื่นไม่ได้และควบคุมอารมณ์ไม่เป็น 

ลักษณะความผูกพันที่เด็กพัฒนาขึ้นจะส่งผลถึงชุดพฤติกรรมที่เด็กใช้โต้ตอบกับพ่อแม่และฝังจำจนเป็นบุคลิกลักษณะเฉพาะตัว เมื่อเติบโตขึ้นมาเขาก็จะส่งต่อแพทเทิร์นความสัมพันธ์นั้นไปยังคนรอบตัวและแม้แต่ครอบครัวที่เขาสร้างเองด้วย

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อเท็จจริงจากงานศึกษาที่น่าสนใจ อยากแบ่งปันคุณแม่คุณพ่อและผู้ใหญ่ที่มีเด็กๆ ในบ้านลองทบทวนอยู่สองประเด็น 

หนึ่ง แม้เราจะสามารถเยียวยาบาดแผลทางความรู้สึกที่เด็กได้รับจากการเลี้ยงดูที่เลวร้ายได้ แต่ยังไม่มีงานใดรับรองว่าความเสียหายที่เกิดกับเซลล์สมองจากภาวะความเครียดจะฟื้นคืนกลับมาดีได้ดังเดิม หรือมีวงจรการเชื่อมต่อใหม่ที่ทดแทนหน้าที่เดิมได้หรือไม่ 

สอง ลักษณะความผูกพันที่เด็กพัฒนาขึ้นกับพ่อหรือแม่นั้นอาจไม่เหมือนกัน พ่อแบบหนึ่ง แม่แบบหนึ่ง และลักษณะนั้นๆ ก็ไม่ได้ถาวรยืนยาวไปตลอดชีวิต เพราะคนเราทุกคนมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันไปตามช่วงเวลา ดังนั้นลักษณะของความผูกพันที่เกิดขึ้นแล้วสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าเรากับลูกผูกพันแบบมั่นคงอยู่แล้วจงรักษาความสัมพันธ์ไว้ให้เสมอต้นเสมอปลาย แต่ถ้าที่ผ่านมายังทำได้ไม่ดีพอ ก็ไม่มีคำว่าสายที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีให้เกิดขึ้น

Tags:

Parenting from the Inside Outทฤษฎีความผูกพัน(Attachment Theory)พ่อแม่คาแรกเตอร์(character building)

Author:

illustrator

บุญชนก ธรรมวงศา

จบภาษาและการสื่อสาร เคยผ่านงานบริษัทออแกไนซ์ เปิดคลินิก ไปจนเป็นเลขาซีอีโอ หลังค้นพบและติดใจโลกนอกระบบตอกบัตร จึงแปลงร่างเป็นนักเขียน นักแปลและนักพยากรณ์ไพ่ ขี้โวยวายเป็นนิสัยที่อยากแก้ไขแต่ทำยังไงก็ไม่หาย ปัจจุบันกำลังเข้าใกล้ Midlife Crisis และหวังจะข้ามผ่านได้ด้วยวิถี “ช่างแม่ง”

Illustrator:

illustrator

บัว คำดี

เติบโตมากับเพลงป็อปแดนซ์ยุค 2000 เริ่มเป็นติ่งวงการ k-pop ในวัยมัธยม มีเพลงการ์ตูนดิสนีย์เป็นพลังใจในทุกช่วงวัยของชีวิต

Related Posts

  • Learning Theory
    พลังเคลื่อนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ที่ปรากฎใน DNA ของเด็กทุกคน

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • BookFamily Psychology
    การแบ่งปันอารมณ์ความรู้สึกในครอบครัวคือขุมพลังชีวิตของลูก

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Creative learning
    เจ้าหญิงคาราเต้: ศิลปะเป็นเรื่องของทุกคน และต้องมีไว้เพื่อหล่อเลี้ยงหัวใจ

    เรื่อง ขวัญชนก พีระปกรณ์

  • Family Psychology
    ‘วิชาแพ้’ พ่อกับแม่แค่ปล่อยและคอยนั่งอยู่ข้างๆ

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • Early childhood
    ปล่อยให้ลูก โกรธ เศร้า เหงา กลัว เขาจะได้เติบโตทั้งตัวและหัวใจ

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

Posts navigation

Older posts
Newer posts

Recent Posts

  • โหมโรง: ชีวิตก็เหมือนเสียงระนาด เรียนรู้จังหวะและเรียงร้อยให้ไพเราะในทางของตัวเอง
  • Toxic Masculinity: เมื่อ ‘ชายแทร่’ คือผลไม้พิษ สังคม-ครอบครัวต้องสร้างการเรียนรู้ใหม่…ไม่มีใครเหนือใครในความเป็นมนุษย์
  • ระลอกคลื่นยามค่ำคืน : อยู่อย่างไรในวันที่ส่วนหนึ่งของชีวิตล้มตายจาก
  • ‘เปลี่ยนความพิเศษเป็นพลัง’ ลบคำว่า ‘สงเคราะห์’ ออกจากการศึกษาของเด็กพิเศษ: ผศ.ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม
  • เพราะ ‘ข่าวร้าย’ มักดึงดูดใจกว่า ‘ข่าวดี’: Doomscrolling พฤติกรรมเสพข่าวร้ายไม่หยุด ที่ต้องหยุดตัวเองก่อนเสียสุขภาพจิต

Recent Comments

  • Existential crisis: วิกฤตชีวิตที่มาพร้อมกับคำถาม “แล้วฉันอยู่เพื่ออะไร” – EducationNet on Midlife Crisis: เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ทำไมใจถึงวิกฤต
  • The Psychological Wounds of Winnie the Pooh and His Friends: Exploring Characters from a Classic Literary Work - World Today News on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • Exploring the Psychological Wounds of Winnie the Pooh and Friends: A Fascinating Analysis - Archyde on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • 6 วิธีฝึกสอนให้ลูกเป็นเด็กมี Critical Thinking ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต – โรงเรียนมารีวิทยา ป on CRITICAL THINKING: สอนเด็กให้รู้คิด ผิดหรือถูกก็ใช้วิจารณญาณเป็น
  • Best รูป พลเมือง ดี Update New – Haiduongcompany.com on สอนและสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เรื่องไม่ง่ายที่ครูทำได้

Archives

  • May 2025
  • April 2025
  • March 2025
  • February 2025
  • January 2025
  • December 2024
  • November 2024
  • October 2024
  • September 2024
  • August 2024
  • July 2024
  • June 2024
  • May 2024
  • April 2024
  • March 2024
  • February 2024
  • January 2024
  • December 2023
  • November 2023
  • October 2023
  • September 2023
  • August 2023
  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • October 2021
  • September 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • April 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • November 2019
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017

Categories

  • Uncategorized
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel