Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long Learning
  • Family
    Dear ParentsEarly childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily Psychology
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
Family Psychology
20 September 2018

‘วิชาแพ้’ พ่อกับแม่แค่ปล่อยและคอยนั่งอยู่ข้างๆ

เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • ความจริงคือ ความล้มเหลวสามารถให้บทเรียนที่ยิ่งใหญ่กว่าความสำเร็จ
  • การแพ้หรือความผิดพลาดจะเป็นโอกาสให้เด็กๆ วางแผนว่าจะทำอย่างไรในครั้งต่อไป เป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยเขาได้ตลอดชีวิต
  • พ่อแม่ทำได้แค่ชวนลูกนั่งลงด้วยกัน ปล่อยให้พวกเขาทบทวนและรับรู้อารมณ์ในขณะนั้น โดยไม่ต้องพยายามสอนเพื่อหวังให้พวกเขารู้สึกดีขึ้น

เพราะแรงกระแทกจากความล้มเหลวของแต่ละคนไม่เท่ากัน แม้ไม่มีใครชอบความล้มเหลว แต่สำหรับวัยรุ่น ล้มครั้งเดียวก็เป็นเหมือนการทำลายล้างครั้งยิ่งใหญ่เลยทีเดียว

สิ่งที่อาจเป็นความล้มเหลวเล็กๆ สำหรับคนอื่นสามารถส่งผลให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดและการต่อว่าด่าทอตัวเองของวัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นการถูกปฏิเสธจากคนที่พวกเขาแอบปิ๊ง คะแนนสอบต่ำเตี้ยเรี่ยดิน หรือเล่นกีฬาแพ้ – วัยรุ่นจัดหนักกับความล้มเหลวเสมอ

อย่างไรก็ตาม ความจริงคือ ความล้มเหลวสามารถให้บทเรียนที่ยิ่งใหญ่กว่าความสำเร็จ แต่อันดับแรก เหล่าวัยรุ่นต้องเรียนรู้ที่จะเผชิญหน้ากับความล้มเหลวเสียก่อน

ของขวัญจากความล้มเหลว

พ่อแม่หลายคนกลัวว่าลูกๆ จะ ‘ทำไม่ถูกตลอดเวลา’ และต้องการกระตุ้นความมั่นใจให้เด็กๆ เสมอ แต่ เจสสิกา เลฮีย์ (Jessica Lahey) ผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Gift of Failure: How the Best Parents Learn to Let Go So Their Children Can Succeed บอกว่า บางครั้งอะไรที่มากไปก็ส่งผลเสียมากกว่าดี เช่นเดียวกับการกระตุ้นให้เด็กๆ เอาชนะไปเสียทุกอย่าง

ก่อนหน้านี้ เลฮีย์ ผู้ใช้เวลากว่าสิบปีในการเป็นครูมัธยมทั้งต้นและปลาย คอลัมนิสต์ของเดอะนิวยอร์คไทม์ส ได้เขียนบทความเรื่อง Why Parents Need to Let Their Children Fail ในปี 2013 และกลายเป็นบทความที่ถูกพูดถึงอย่างมาก

“ทุกครั้งที่เราหันหลังกลับไปบอกว่า ‘เดี๋ยวพ่อ/แม่ทำให้’ หรือ ‘ให้พ่อ/แม่ช่วยนะ’ มันเหมือนเรากำลังบอกพวกเขาว่า ‘พ่อ/แม่ไม่คิดว่าลูกจะทำเองได้หรอก’ และนั่นเป็นการทำลายพวกเขาล่วงหน้า เราทำให้พวกเขาช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เมื่อโตขึ้นเขาก็จะกลายเป็นคนหนุ่มสาวที่ไม่สามารถรับมือหรือจัดการอะไรเองได้เลย”

ผลการศึกษาในปี 2013 จากวารสารการศึกษาเด็กและครอบครัว (Journal of Child and Family Studies) พบว่า พ่อแม่แบบเฮลิคอปเตอร์สามารถทำให้วัยรุ่นรู้สึกวิตกกังวลและซึมเศร้าได้ รวมถึงลดความสามารถ ความเชื่อมั่น และความรู้สึกอิสระในตัวเอง

นอกจากนี้ ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยแอริโซนายังพบว่า ผู้ใหญ่ที่ได้รับการประคบประหงมเกินไปเมื่อตอนเป็นเด็กจะไม่มั่นใจว่าตัวเองจะแก้ปัญหาใดๆ ในชีวิตได้

5 เหตุผลที่ควรปล่อยให้ลูกแพ้

  1. พัฒนาทักษะการเผชิญความเครียด (coping skills) ทักษะการรับมือความพ่ายแพ้ในโลกความจริงควรเริ่มตั้งแต่ที่บ้าน เช่น เล่นเกมกระดานด้วยกันและปล่อยให้เขาแพ้คุณบ้าง
  2. สอนให้รู้จักความสุขง่ายๆ ที่ไม่เกี่ยวกับแพ้ชนะ เด็กที่รับมือกับการแพ้เป็นก็สามารถสนุกกับการแข่งขันได้ไม่ว่าเขาจะได้ที่หนึ่ง สอง หรือที่สุดท้าย
  3. สอนความเห็นอกเห็นใจ หากจะให้เด็กๆ เข้าใจความรู้สึกคนอื่นได้ ก็ควรให้พวกเขาได้ลองสัมผัสประสบการณ์ที่คล้ายกันก่อน
  4. พัฒนาการควบคุมตนเองและสร้างความมั่นใจ เรียนรู้ที่จะยอมรับความล้มเหลวให้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิต เขาจะได้เรียนรู้ว่าผลลัพธ์ที่ออกมาดีไม่ใช่เพราะใครหยิบยื่น แต่มาจากความพยายามของตัวเอง
  5. ปล่อยให้เขาเรียนรู้จากความผิดพลาด ไม่ว่าจะเกมหรือการสอบก็ต้องใช้ทักษะและการวางแผนเฉพาะตัว ความผิดพลาดจะเป็นโอกาสให้เด็กๆ วางแผนว่าจะทำอย่างไรในครั้งต่อไป เป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยเขาได้ตลอดชีวิต

วิธีรับมือเมื่อลูกล้ม

เอาล่ะ…ถ้าลูกวัยรุ่นของคุณเพิ่งเจอความล้มเหลว ทำผิดพลาด หรือเผชิญกับอะไรบางที่น่าอึดอัดใจ นี่เป็นวิธีบางส่วนที่คนเป็นพ่อแม่อาจช่วยพวกเขาให้เรียนรู้และก้าวต่อไปได้

ชวนเขานั่งลงด้วยกัน และทบทวนความรู้สึกตัวเอง ปล่อยให้พวกเขารับรู้อารมณ์ในขณะนั้น โดยไม่ต้องพยายามสอนเพื่อหวังให้พวกเขารู้สึกดีขึ้น

ชวนเขาคิดถึงจุดแข็งของตัวเอง และสิ่งที่เขาสามารถทำได้ในครั้งต่อไป เพราะแค่แพ้ไม่ได้แปลว่าจบเกม

ใช้เวลาพูดถึงเรื่องการทบทวนความรู้สึก ลองถามเขาว่ารู้สึกดีอย่างไรระหว่างลองทำสิ่งใหม่ๆ แม้ว่าจะไม่สำเร็จก็ตาม เขาได้เรียนรู้อะไรบ้าง แล้วเป้าหมายต่อไปของเขาคืออะไร

อ้างอิง:
Brutally Honest: Is it OK to let your child fail?
The importance of letting your children lose
Why Failure is Healthy for Teens

Tags:

EFพ่อแม่คาแรกเตอร์(character building)overprotective parentการเติบโต

Author:

illustrator

ลีน่าร์ กาซอ

ประชากรชาวฟรีแลนซ์ที่เพลิดเพลินกับเรื่องสยองกับของเผ็ด และเป็นมนุษย์แม่ที่ศึกษาจิตวิทยาเด็กอย่างเอาเป็นเอาตาย

Related Posts

  • Healing the traumaFamily Psychology
    ไม่ได้ที่ 1 ไม่เห็นเป็นไร สร้างพื้นที่ปลอดภัยในการเผชิญหน้าความผิดพลาด

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Character building
    สังคมแบบนี้ เด็กๆ ถึงจะ ‘อยู่ดีและมีความสุข’

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Learning Theory
    งานบ้าน กับ การบ้าน ทำอะไรดี?

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Family Psychology
    พี่หนูเท่สุดๆ : ตัวตนเติบโตผ่านการเป็นพี่ใหญ่

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • Transformative learning
    เดชรัต สุขกำเนิด: วาร์ปไปเข้าใจโลกที่ต่างโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ ด้วยบอร์ดเกม

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel