สตีเฟน สก็อต (Stephen Scott) ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและพฤติกรรมเด็ก จาก King’s College London และหัวหน้าแผนกวิจัย National Academy of Parenting Practitioners บอกว่า ‘ความขาดแคลน’ หรือ ‘Poverty’ แม้ไม่ใช่ปัจจัยหลักแต่ก็มีผลต่อการสร้างลักษณะนิสัยของเด็ก ความขาดแคลนที่ว่าไม่ใช่ความขาดแคลนทางการเงินหรือทางวัตถุ ที่มักทำให้นึกถึงความยากดีมีจน แต่หมายถึงการขาดประสบการณ์หรือความไม่พร้อมในการเลี้ยงดูบุตรหลานของพ่อแม่ผู้ปกครอง
การอ่านหนังสือ It’s Complicated: the social lives of networked teens อาจช่วยให้เราพบว่าจริงๆ แล้วปัญหาวัยรุ่นแต่ละวัยแต่ละยุคสมัยแทบจะเหมือนกันหมด ต่างกันแค่เครื่องมือที่อยู่รอบๆ ตัว
วัยรุ่นกับอินเทอร์เน็ตแทบจะแยกออกจากกันไม่ได้แล้ว ผู้ใหญ่หลายคนต่างเป็นห่วงว่าอินเทอร์เน็ตจะทำให้เด็กและเยาวชนมีปัญหา ด้วยโจทย์แบบนี้ ทางสำนักพิมพ์ Bookscape และ dtac BOOK TALK จึงจัดเสวนาในหัวข้อ ‘เข้าใจโลกใหม่ของวัยรุ่นยุควุ่นเน็ต’ พร้อมเปิดตัวหนังสือ It’s Complicated: the social lives of networked teens ผลงานของ ดานาห์ บอยด์ (Danah Boyd) นักวิจัยของไมโครซอฟท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและวัฒนธรรมวัยรุ่น
หนังสือเรื่อง It’s Complicated มุ่งให้ผู้อ่านเข้าใจและย้อนกลับถามตัวเองว่า ความ (ที่คิดว่า) เข้าใจต่อปัญหาเหล่านี้ เอาเข้าจริงแล้ว มันถูกต้องหรือเปล่า ทำไมวัยรุ่นถึงใช้ social media มากยิ่งกว่ากิจกรรมใดๆ ในชีวิต และยังสะท้อนการใช้ social media ของเด็กและวัยรุ่นผ่านสายตาของเด็กเอง ไม่ใช่ผู้ใหญ่
ผู้เขียนเป็นหัวหน้านักวิจัยอยู่ที่บริษัทไมโครซอฟท์ และเป็นนักมานุษยวิทยาที่ศึกษาภาคสนามเกี่ยวกับสื่อออนไลน์ของเด็กมากว่า 10 ปี เล่มนี้จึงเป็นการกลั่นกรองข้อมูลภาคสนามของผู้ที่พยายามเข้าใจการใช้ social media ผ่านสายตาของเด็กจริงๆ
ดานาห์ บอยด์ มองเด็กในฐานะ social agency หรือผู้กระทำการทางสังคม คือเด็กไม่ได้เป็นผู้ถูกกระทำหรือถูกกำหนดโดยเทคโนโลยี แต่เขาพยายามตามไปดูว่าเด็กไปมีปฏิสัมพันธ์กับมันอย่างไร แล้วสร้างความหมายให้กับชีวิตพวกเขาได้อย่างไร
ถ้าให้เลือก Joy กับ Sadness ในหนังเรื่อง Inside Out เชื่อว่าพ่อแม่คงเลือกข้าง Joy เลือกเสียงหัวเราะ เสียงออดอ้อนจากลูก มากกว่าน้ำตา ความเศร้า และเสียงหวีดร้อง
พูดได้ว่า social media เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งของพ่อแม่ เท่าที่สังเกต คิดว่าข้อมูลที่ผ่าน social media เกี่ยวกับการเลี้ยงลูก ไม่ค่อยมีอะไรบกพร่อง คนที่ตั้ง Facebook มักเป็นกลุ่ม ‘แม่ช่วยแม่เลี้ยงลูก’ เนื้อหาส่วนใหญ่สนใจเรื่องพัฒนาการที่ดีของลูก
แต่สำหรับ Jen Lexmond (เจน เลกซ์มอนด์) และ Richard Reeves (ริชาร์ด รีฟส์) ผู้เขียนหนังสือ Parents are the principal architects of a fairer society… หรือ พ่อแม่คือสถาปนิกคนสำคัญต่อการสร้างสังคมที่เป็นธรรม (มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน) เผยแพร่โดย DEMOS ประเทศอังกฤษ เชื่อว่า เราสามารถสร้างคุณลักษณะนิสัย (ที่ดี) ให้กลายเป็น ความสามารถหรือเป็นความเชี่ยวชาญได้โดยไม่จำเป็นต้องแยกทั้งสองสิ่งออกจากกัน
Character Capabilities คืออะไร?
“character” ที่เลกซ์มอนด์และรีฟส์ กล่าวถึง ไม่ใช่แค่เรื่องบุคลิกภาพที่สื่อสารให้เห็นภายนอก แต่เป็นคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับความดีงามและคุณธรรมจริยธรรม เป็นทักษะการใช้ชีวิตที่เป็นความสามารถส่วนบุคคล (a set of personal capabilities) อย่างที่อริสโตเติล นักปรัชญากรีกโบราณ กล่าวว่า การดำรงอยู่ในความดีเป็นทักษะการใช้ชีวิตอย่างหนึ่ง (Being good was a skill.)
แอพพลิเคชั่นที่ว่านี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับแอพบนมือถือเลยสักนิดเดียว แต่เป็นคุณลักษณะเกี่ยวกับ “ความขยันหมั่นเพียร” ของบุคคลล้วน ๆ คำนี้ใช้อธิบายถึง ความสามารถในการจดจ่อ ความมีวินัย และความสามารถในการกระตุ้นตัวเองให้มีความมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเรามีความสามารถในการควบคุมตัวเอง หรือที่นักจิตวิทยาเรียกว่า Locus of Control (LOC) – “ลักษณะควบคุมตน มุ่งอนาคต” เป็นทัศนคติที่บุคคลหนึ่งมีต่อความสามารถของตัวเองในการควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงอนาคตของตัวเองและคนรอบข้าง สิ่งนี้จะเป็นตัวผลักดันหรือหักห้ามให้เราทำหรือไม่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทั่วไปในชีวิตประจำวัน งาน หรือโปรเจ็คท์ต่างๆ
เกณฑ์การวัด Locus of Control มีขอบเขตตั้งแต่ระดับ internal ถึง external คนที่มี LOC สูง (Internal LOC) มักคิดว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตไม่ว่าจะดีหรือร้ายเกิดขึ้นจาก “การกระทำ” ของตัวเอง ส่วนคนที่มี LOC ต่ำ (External LOC) มักคิดว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตไม่ว่าจะดีหรือร้ายมี “โชคชะตา” เป็นตัวกำหนด ด้วยเหตุนี้ คนที่มี Internal LOC จะมีความพยายาม มีความขยันหมั่นเพียรมากกว่าคนที่มี External LOC แม้จะมีความสามารถไม่ต่างกันก็ตาม
“put yourself in another person’s shoes” เป็นสำนวนเปรียบเทียบถึงความสามารถในการเข้าอกเข้าใจผู้อื่นจากมุมมองของเขาโดยไม่ใช้มุมมองของเราตัดสิน เหมือนเราเป็นตัวเขา กำลังสวมใส่รองเท้าของเขาอยู่