Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long Learning
  • Family
    Dear ParentsEarly childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily Psychology
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
Education trend
26 September 2018

ทักทายด้วยรอยยิ้มก่อนเริ่มคาบ เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนให้ดีขึ้น

เรื่อง ชลิตา สุนันทาภรณ์

  • เริ่มต้นคาบเรียนด้วยการทักทายและรอยยิ้มแจ่มใส ช่วยสนับสนุนการมีส่วนร่วมเชิงวิชาการของเด็ก สร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมในห้องเรียนนักเรียน ทั้งยังช่วยลดความตึงเครียดของครูได้อีกด้วย
  • การสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรในห้องเรียนจะช่วยให้นักเรียนรู้สึกว่าพวกเขามีส่วนร่วม และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของคาบเรียน
  • การใช้อวัจนภาษาในการทักทาย เช่น โบกมือ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างบรรยากาศให้น่าเรียน

งานวิจัยล่าสุดเผย เริ่มต้นคาบเรียนด้วยการทักทายและรอยยิ้มแจ่มใส ปล่อยพลังเชิงบวกให้กัน ไม่ว่าจะเป็นคาบแรกของวันหรือคาบแรกหลังจากพักเบรก ช่วยสนับสนุนการมีส่วนร่วมเชิงวิชาการของเด็ก สร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมในห้องเรียนนักเรียน ลดปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ทั้งยังช่วยลดความตึงเครียดของครูได้อีกด้วย

ก่อนเริ่มต้นคาบเรียนเป็นช่วงเวลาที่สมองกำลังปรับตัว นักเรียนที่เพิ่งวิ่งหน้าตาตื่นมาจากสนามเด็กเล่นหรือรีบวิ่งมาเข้าเรียนให้ทันก่อนครูจะเช็คชื่อ – ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านสภาวะอารมณ์

แน่นอนว่าการเจอหน้ากัน ทักทายด้วยการตำหนิติเตียนถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น “เสื้อหลุดลุ่ยออกนอกกางเกง” หรือ “ส่งการบ้านหรือยัง?” งานวิจัยระบุว่า การปล่อยผ่านพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ แล้วปรับเปลี่ยนเป็นทักทายด้วยท่าทีเป็นมิตร สาดพลังเชิงบวกใส่กัน ช่วยลดพฤติกรรมและกระตุ้นให้เด็กสนใจการเรียนมากกว่า

จากการสำรวจพบว่าครูที่ทักทายนักเรียนด้วยท่าทีอย่างเป็นมิตรให้กับนักเรียนก่อนเริ่มต้นคาบ ตั้งแต่หน้าประตู เพียงยิ้มให้หรือโบกมือทักทาย เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการมีส่วนร่วมด้านวิชาการให้กับนักเรียนมากถึง 20 เปอร์เซ็นต์และอีก 9 เปอร์เซ็นต์สามารถลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในห้องเรียนได้อีกด้วย

ทำไมการสาดพลังสดใสถึงเวิร์ค?

เพราะการสร้างความรู้สึกเป็นมิตรกับนักเรียนคือการสร้างความเชื่อใจระหว่างครูและนักเรียนอย่างหนึ่ง เมื่อพวกเขารู้สึกเชื่อมั่น สิ่งที่แตกหน่อออกผลต่อมาคือความรู้สึกมีส่วนร่วมในห้องเรียนซึ่งกระตุ้นให้พวกเขาอยากเรียนรู้ตามมา

“การสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรในห้องเรียนจะช่วยให้นักเรียนรู้สึกว่าพวกเขามีส่วนร่วมและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของคาบเรียนดังกล่าว สิ่งนี้สำคัญมากในการช่วยให้งานวิจัยของเราค้นพบแรงจูงใจในการสร้างความรู้สึกการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของสังคม (social belonging) ของตัวเอง ในอีกแง่หนึ่ง เมื่อนักเรียนรู้สึกดีกับห้องเรียน พวกเขาก็จะกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เองไปในตัว” หนึ่งในทีมวิจัยอธิบาย

สำคัญกว่านั้น ทีมวิจัยมองว่า ‘อวัจนภาษา’ นี่ล่ะดีที่สุดในการสร้างบรรยากาศดังกล่าวในห้องเรียน พร้อมแนะนำวิธีเริ่มต้นง่ายๆ ได้แก่

– ยืนทักทายอยู่หน้าห้องเรียน

– เรียกชื่อพวกเขา

– ประสานสายตากับพวกเขา

– ใช้อวัจนภาษาในการทักทาย เช่น โบกมือ เชคแฮนด์หรือไฮไฟว์ เป็นต้น

แล้วการทักทายไปลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในห้องเรียนอย่างไร?

จุดนี้ ทีมวิจัยแนะนำว่า ให้ปรับมุมมองของตัวเอง จากที่ให้ความสนใจกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเล็กๆ น้อยๆ ของนักเรียน ให้เปลี่ยนเป็นมองด้านดีของเขาและพูดสิ่งเหล่านั้นออกมา จะช่วยทำให้เขามีพฤติกรรมที่ดีขึ้นตามมา

อธิบายง่ายๆ คือ ให้เปลี่ยนวิธีคิดจาก “ฉันจะจัดการพฤติกรรมของพวกเขาอย่างไร?” เป็น “ฉันจะสร้างบรรยากาศที่ไม่ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้อย่างไร?”

ไม่ใช่ดีแค่กับนักเรียนแต่กับครูด้วยเช่นกัน

การสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรในห้องเรียนนอกจากจะช่วยกระตุ้นให้เด็กสนใจเรียน ลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมแล้ว ยังสามารถลดสภาวะความป่วยไข้ทางใจของครูด้วย

จากการสำรวจพบว่า ครูมากถึง 53 เปอร์เซ็นต์ รู้สึกตึงเครียดที่นักเรียนไม่มีส่วนร่วมในห้องเรียนหรือก่อกวนระหว่างการเรียนการสอน – เป็นปัญหาสำคัญที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของครูเมื่อถูกถามถึงว่าอะไรคือข้อกังวลใจในการสอนมากที่สุดของปี 2014

แน่นอนว่า ยิ่งปัญหาในห้องเรียนเยอะ ครูก็ยิ่งต้องใช้พลังในการสอนมากขึ้น ทั้งการกระตุ้นให้เด็กสนใจและหันไปตำหนินักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมหรือก่อกวนเพื่อนๆ และครูระหว่างเรียน

จริงอยู่ที่การหันไปตำหนิหรือทำโทษนักเรียนอาจช่วยให้ห้องเรียนสงบขึ้นแต่เป็นเพียงผลระยะสั้นเท่านั้น ในงานวิจัยชิ้นเดียวกันอธิบายว่า การสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรในห้องเรียนจะช่วยลดปัญหาดังกล่าวในระยะยาวได้ดีกว่า

รู้แบบนี้แล้ว วันนี้คุณยิ้มให้นักเรียนของคุณหรือยัง?

อ้างอิง:
Welcoming Students With a Smile

Tags:

ครูระบบการศึกษาเทคนิคการสอน

Author:

illustrator

ชลิตา สุนันทาภรณ์

นักเขียนที่ปรากฎตัวพร้อมกระเป๋าเล็กสะพายข้างเป็นหลักหนึ่งใบคู่กระเป๋าผ้าใบใหญ่ไว้ใส่ของจริงๆ อาจเพราะจบรัฐศาสตร์สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจึงเป็นเหตุให้ไปเกาหลีกับญี่ปุ่นบ่อยราวเป็นบ้านหลังที่สอง ตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่พร้อมจะอธิบายทุกแฮชแทกในทวิตเตอร์ในประเด็นการเมืองระหว่างประเทศและวัฒนธรรมประชาชนสมัยนิยมได้

Related Posts

  • Character building
    ปั้น ‘คาแรคเตอร์’ ที่ดีให้เด็ก: โรงเรียน พ่อแม่ ชุมชน ต้องร่วมมือกัน

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Creative learningBook
    FINNISH LESSONS 2.0 : การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่อยู่นอกห้องเรียน

    เรื่อง The Potential

  • Adolescent Brain
    ห้องเรียนเพื่อพัฒนาการสมอง: เมื่อความรู้นอกห้องสนุกกว่า ห้องเรียนสี่เหลี่ยมจะอยู่อย่างไร?

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Education trend
    สอบแบบไหนให้ได้ดี VS สอบแบบไหนยังไงก็ไม่ดี

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Unique Teacher
    ‘ครูภาคิน’ ครูไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผิดได้ และเป็นมนุษย์แบบพวกเอ็งนั่นแหละ

    เรื่องและภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel