Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย

Month: June 2025

ไม่ว่าจะมีนิสัยที่เป็นภัยหรือไม่ เราทุกคนต่างก็เป็นที่รักได้ : Things No One Taught Us About Love
PlaygroundBook
26 June 2025

ไม่ว่าจะมีนิสัยที่เป็นภัยหรือไม่ เราทุกคนต่างก็เป็นที่รักได้ : Things No One Taught Us About Love

เรื่อง อัฒภาค

  • Things No One Taught Us About Love เรื่องที่ไม่มีใครสอนเราเกี่ยวกับความรัก เขียนโดย เว็กซ์ คิงส์ (Vex King) นักเขียนชื่อดังชาวอังกฤษเชื้อสายอินเดีย แปลไทยโดย กิษรา รัตนาภิรัต คุโด สำนักพิมพ์อมรินทร์ How to
  • ในบทที่ว่าด้วย เราทุกคนต่างก็มีนิสัย ‘ที่เป็นภัย’ คิงกล่าวว่า มนุษย์คนทุกคนต่างมี ‘ธงแดง’ หรือนิสัยที่เป็นภัยไม่มากก็น้อย ซึ่งนิสัยดังกล่าวถือเป็นกลไกของเราในการป้องกันตัวจากแผลใจในอดีต
  • คำแนะนำคือ การฝึกรู้เท่าทันตัวเอง ซึ่งตามความเข้าใจของผมคือการมี ‘สติ’ ทบทวนไตร่ตรองสิ่งที่เกิดขึ้นแทนที่จะตอบโต้สิ่งนั้นด้วยสัญชาตญาณซึ่งอาจทำร้ายคนอื่นโดยไม่ตั้งใจ

มีคำกล่าวว่า แม้มนุษย์จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในทางกายภาพ แต่เมื่อเผชิญกับบาดแผลในอดีตที่ยังไม่ได้รับการเยียวยา จิตใจของเราก็จะกลับไปเป็น ‘เด็ก’ อีกครั้ง

ผมเองก็เช่นกัน ชายวัยกลางคนที่มีบาดแผลทางใจเต็มไปหมด บางแผลอาจกลายเป็นรอยแผลเป็น แต่บางแผลยังเจ็บทุกครั้งที่ถูกสะกิด โดยเฉพาะร่องรอยของบาดแผลจากการเลี้ยงดูในวัยเด็กที่เต็มไปด้วยความคาดหวังและเงื่อนไขของการเป็น ‘เด็กดี’ ตามนิยามที่พ่อแม่กำหนด ซึ่งไม่ใช่ความดีแบบที่คุณครูในห้องเรียนพูดถึง และไม่ใช่แบบที่ผมเข้าใจเอง แต่เป็นความดีที่ถูกตีกรอบไว้อย่างเคร่งครัด และมักมีบทลงโทษอย่างรุนแรงสำหรับการไม่เชื่อฟัง   

กระทั่งเดินออกจากรั้วมหาวิทยาลัย ผมพบว่าตัวเองกลายเป็นคนที่มองโลกในแง่ร้าย ไม่ได้ยินเสียงความต้องการของตัวเอง และยังคงชีวิตเพื่อเอาอกเอาใจคนอื่น เพราะลึกๆ ผมกลัวจะถูกมองว่าไม่ดีพอ 

ที่น่าเจ็บปวดคือในความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด ผมไม่แน่ใจว่าตัวเองเริ่มกลายเป็นคนร้ายกาจตั้งแต่เมื่อไหร่  มารู้ตัวอีกที ผมก็สร้างความเจ็บปวดให้กับคนที่ผมรักผ่านคำพูดหรือการกระทำของผมซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยเฉพาะเมื่อใครสักคนเริ่มจะสนิทสนมและใกล้ชิดผมมากขึ้น ผมเองกลับเป็นฝ่ายถอยหนี แถมยังปาก้อนหินใส่พวกเขาเสียอย่างนั้น ทั้งที่ลึกๆ ผมไม่เคยอยากเป็นคนที่ดู Toxic เป็นแบบนั้นเลย  

ไม่นานนี้ ผมได้อ่านหนังสือเรื่อง ‘Things No One Taught Us About Love’ ของ เว็กซ์ คิงส์ ตอนหนึ่งเขาได้พูดถึงแนวคิดเกี่ยวกับนิสัยที่เป็นภัย (Red-Flag) พร้อมอธิบายว่า มนุษย์คนทุกคนต่างมี ‘ธงแดง’ หรือนิสัยที่เป็นภัยไม่มากก็น้อย ซึ่งนิสัยดังกล่าวถือเป็นกลไกของเราในการป้องกันตัวจากแผลใจในอดีต 

“ทุกคนมีนิสัยแย่เป็นบางอย่าง เพราะพวกเราทุกคนเคยถูกทำให้เจ็บมาก่อน แต่ถึงอย่างนั้นก็ขอให้สังเกตคนที่พร้อมจะเรียนรู้และเติบโตกับคนที่ยินดีต่อการโทษคนอื่น บางคนมีความรับผิดชอบและพร้อมจะรับผิด ในขณะที่คนอื่นเชื่อว่าตัวเองเป็นอย่างนี้ก็ดีอยู่แล้ว”

เมื่อเราตระหนักว่าพฤติกรรมที่ไม่ดีอาจเกิดจากบาดแผลที่ไม่ได้รับการเยียวยา คิงส์ได้แนะนำให้เราฝึกรู้เท่าทันตัวเอง ซึ่งตามความเข้าใจของผมคือการมีสติ เพราะสติจะเป็นเหมือน ‘เบรกทางความคิด’ ไว้ให้เราได้มีช่วงเวลาสั้นๆ สำหรับการทบทวนไตร่ตรองสิ่งที่เกิดขึ้นแทนที่จะตอบโต้สิ่งนั้นด้วยสัญชาตญาณซึ่งอาจทำร้ายคนอื่นโดยไม่ตั้งใจ

“การรู้ตัวว่ามีนิสัยเหล่านั้นก็ทำให้เราเห็นตัวเองชัดขึ้น และเปิดโอกาสให้เราใส่ใจและเยียวยาความเชื่อและพฤติกรรมที่ไม่ดี 

รู้ตัวที่ว่านี้หมายถึงการทราบดีถึงปฏิกิริยาอัตโนมัติที่มีรากมาจากบาดแผลเก่า แม้สัญชาตญาณจะเกิดก่อนที่เราคิด แต่การรู้ตัวทำให้มีช่องว่างมาคั่นระหว่างแรงกระตุ้นและการตอบโต้ ช่องว่างนี้ทำให้เราสามารถเลือกได้ และเราก็ไม่ต้องใช้วิธีปกป้องตัวเองลูกเดียวอย่างที่ผ่านมา”

เมื่อมีสติรู้ตัวแล้ว สิ่งสำคัญไม่แพ้กันคือการใจดีกับตัวเองก่อนจะไปใจดีกับคนอื่น ผมชอบที่คิงส์ยกตัวอย่างเรื่องความรักว่า ถ้าใครสักคนรู้สึกว่าตัวเองไม่คู่ควรกับความรักดีๆ เขาก็มักปฏิเสธมันด้วยวิธีต่างๆ อย่างไม่รู้ตัว ดังนั้นวิธีที่จะแก้ไขคือการเยียวยาตัวเองผ่านความเข้าใจและไม่ทอดทิ้งตัวเอง

“ไม่ว่าจะมีนิสัยที่เป็นภัยหรือไม่ก็ตาม เราทุกคนต่างก็เป็นที่รักได้ อีกทั้งควรจะได้รับความเห็นใจและเข้าใจด้วย 

ไม่มีความจำเป็นที่จะตัดสินคนอื่นเลย ไม่ว่าเขาจะรู้ตัวและรู้จักตัวเองมากน้อยแค่ไหนก็ตาม เราไม่อาจโน้มน้าวกันและกันให้เห็นความสำคัญของการเติบโตได้ เราได้แต่รักคนอื่นเพื่อให้เขาเห็นว่าเขาเองก็สมควรได้รับสันติสุขและพลังที่มาคู่กัน

เมื่อเรามีความอดทน ความรัก และความเข้าอกเข้าใจ เราจะเข้าใจว่าทำไมเราถึงเป็นอย่างที่เราเป็น สุดท้ายแล้วเราก็รู้ว่าตัวเองดีขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่กระนั้นก็ดูเหมือนว่าการเผื่อแผ่ความอ่อนโยนในปริมาณเดียวกันนี้ไปสู่ผู้อื่นทำได้ยากกว่า เรื่องนิสัยที่เป็นภัยช่วยเตือนคุณได้ว่าคนอื่นก็เป็นคน พวกเขาเองก็มีศักยภาพอย่างเหลือล้นที่จะไม่สมบูรณ์แบบ”

ในช่วงท้าย คิงส์ได้แนะนำแบบฝึกหัดสั้นๆ สำหรับคนที่อยากเริ่มต้นเยียวยาตัวเอง ผ่านการเขียนบันทึกเพื่อสะท้อนคิด ผ่านคำถาม 3 ข้อสำคัญ 

“ขอให้คุณเขียนบันทึกหรือพิจารณาว่า คุณจะสร้างความเชื่อใหม่ในเรื่องของนิสัยที่เป็นภัยได้อย่างไร  โดยใช้สิ่งกระตุ้นเตือนดังต่อไปนี้

  • นึกถึงใครบางคนในชีวิตคุณซึ่งอาจมีนิสัยที่เป็นภัย คุณสามารถยินดีรับฟังและเข้าใจความยากลำบากของเขาได้หรือไม่ โดยไม่รีบด่วนสรุป
  • พิจารณามุมมองที่ว่า “ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเขาเจตนาดี” เวลาคุณเห็นนิสัยที่เป็นภัยของคนอื่น ถ้าคุณยอมรับว่าทุกคนเพียงแค่พยายามทำดีที่สุดแล้วเท่าที่เขาทำได้ คุณจะมีปฏิสัมพันธ์กับเขาอย่างมีเมตตากว่าเดิมไหม
  • พิจารณามุมมองที่ว่าทุกคนเป็นคนนำการเดินทางของตัวเอง ซึ่งมีทั้งความผิดพลาดและแผลเป็น คุณจะยอมรับความ คุณจะยอมรับความไม่สมบูรณ์แบบในตัวคนอื่นด้วยใจที่เปิดกว้างได้อย่างไร”

หลังอ่านหัวข้อดังกล่าวจบ แม้ว่าแผลใจของผมจะยังไม่ได้รับการสมาน และยังเจ็บทุกครั้งที่ถูกกระทบ แต่อย่างน้อยผมก็เริ่มใจดีและเห็นอกเห็นใจตัวเองมากขึ้น โทษคนอื่นน้อยลง และยอมเปิดพื้นที่ให้ตัวเองได้ซ่อมแซมความสัมพันธ์แทนที่จะเลือกถอยหนีหรือปิดประตูใจแบบที่เคยเป็น เหมือนกับที่คิงส์เคยกล่าวเมื่อครั้งมาเมืองไทย

“ถ้าคุณเยียวยาและรักตัวเองอย่างแท้จริง คุณก็สามารถสร้างชีวิตที่คุณรักได้อย่างแท้จริงเช่นกัน”

Tags:

ความรักThings No One Taught Us About Loveเรื่องที่ไม่มีใครสอนเราเกี่ยวกับความรักหนังสือ

Author:

illustrator

อัฒภาค

Related Posts

  • Book
    Normal People: จะรวยหรือจน…ทุกคนล้วนเป็นคนธรรมดา

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Book
    ในโมงยามแห่งความรัก เราทุกคนล้วนบ้า…และมาจากดวงจันทร์

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Book
    รถไฟขนเด็ก – เพราะรักจึงยอมปล่อยมือ

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Book
    Olive Kitteridge : อาจใช้เวลาทั้งชีวิตกว่าจะยอมรับ เราไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบอารมณ์ร้ายๆ ของแม่

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Book
    หนทางเดียวที่จะเป็นปรมาจารย์แห่งรัก คือ ฝึกรัก

    เรื่อง ภัทรอนงค์ สิรีพิพัฒน์ขนิษฐา ธรรมปัญญา ภาพ ภาพพิมพ์ พิมมะรัตน์

‘ไม่สอนสูตร ไม่บอกวิธี’ ห้องเรียนคณิตฯ Pro-Active ของ ‘ครูบอย – มานะ คำจันทร์’ ที่เน้นกระบวนการคิด ติดตั้งทักษะการแก้ปัญหา
Creative learning
24 June 2025

‘ไม่สอนสูตร ไม่บอกวิธี’ ห้องเรียนคณิตฯ Pro-Active ของ ‘ครูบอย – มานะ คำจันทร์’ ที่เน้นกระบวนการคิด ติดตั้งทักษะการแก้ปัญหา

เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ปริสุทธิ์

  • ห้องเรียนคณิตศาสตร์ชั้นป.1 ของ ครูบอย – มานะ คำจันทร์ โรงเรียนบ้านโก จังหวัดศรีสะเกษ ใช้นวัตกรรม Pro-Active ที่เน้นการสร้างโจทย์และออกแบบสถานการณ์ที่ท้าทาย แก้โจทย์ด้วยวิธีที่หลากหลาย ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหา และพบข้อสรุปด้วยตนเอง
  • ผลลัพธ์คือเด็กๆ มีส่วนร่วมและสนุกกับการเรียนมากขึ้น มีอิสระในการคิดโดยไม่จำกัดรูปแบบการหาคำตอบ แต่ได้ผลลัพธ์เป็นกระบวนการคิดที่เด็กๆ ค้นพบด้วยตัวเอง กระตุ้นความกระหายอยากเรียนรู้ เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
  • ในฐานะครูผู้สอนครูบอยอยากจะสร้างห้องเรียนที่เป็นพื้นที่ปลอดภัย ในการแสดงความคิดเห็นโดยไม่ถูกจำกัดความคิด หรือตัดสินจนเด็กกลัว สร้างบรรยากาศที่อบอุ่น มีกิจกรรมให้เด็กได้สนุกกับการเรียนและเรียนอย่างมีความสุข

“ผมจะเน้นการสอนคณิตศาสตร์โดยไม่เริ่มต้นจากตัวเลข แต่จะเน้นกระบวนการคิดของนักเรียนเป็นหลัก” 

ครูบอย – มานะ คำจันทร์ โรงเรียนบ้านโก จังหวัดศรีสะเกษ นำเสนอห้องเรียนที่เปลี่ยนไปสู่ผลลัพธ์นักเรียนที่เปลี่ยนแปลง ในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดประสบการณ์การขับเคลื่อนโครงการ TSQM-A จ.ศรีสะเกษและภูเก็ต โดยยกกรณีตัวอย่างการออกแบบการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้นวัตกรรม Pro-Active เรื่องการบวกลบตัวเลขหนึ่งหลักและสองหลัก

“คณิตศาสตร์แบบเดิมสอนเน้นเนื้อหา การจำ การท่องสูตร และเน้นนิยามมุ่งสู่คำตอบ แต่การสอนคณิตศาสตร์ Pro-Active ไม่เริ่มด้วยตัวเลขแต่เป็นการสร้างโจทย์และออกแบบสถานการณ์ที่ท้าทาย แก้โจทย์ด้วยวิธีที่หลากหลาย ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหา และพบข้อสรุปด้วยตนเอง โดยจะไม่สอนวิธี แต่จะสร้างกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ค้นพบวิธีการแก้ปัญหา มุ่งให้เข้าใจคณิตศาสตร์และให้เกิดทักษะทางคณิตศาสตร์”

นี่คือหลักการของคณิตศาสตร์ Pro-Active ที่ครูบอยนำไปในห้องเรียนคณิตศาสตร์ของตนเอง ทำให้เด็กๆ มีส่วนร่วมและสนุกกับการเรียนมากขึ้น มีอิสระในการคิดโดยไม่จำกัดรูปแบบการหาคำตอบ แต่ได้ผลลัพธ์เป็นกระบวนการคิดที่เด็กๆ ค้นพบด้วยตัวเอง กระตุ้นความกระหายอยากเรียนรู้ เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ 

ครูบอย – มานะ คำจันทร์ โรงเรียนบ้านโก จังหวัดศรีสะเกษ

สอนคณิตศาสตร์ Pro-Active ด้วยกระบวนการชง-เชื่อม-ใช้ 

ห้องเรียนคณิตศาสตร์ที่หลายคนคุ้นเคยอาจจะเป็นแค่การนั่งแก้โจทย์ที่ครูโยนให้ แล้วรอฟังเฉลยท้ายคาบ แต่ห้องเรียนคณิตศาสตร์ของครูบอยต่างออกไป มีเกมที่ชวนคิดก่อนเข้าบทเรียน มีบทสนทนาที่ชวนให้แสดงความเห็นโดยไม่ถูกตัดสินว่าถูกหรือผิด เน้นกระบวนการทำงานกลุ่ม ที่สำคัญเด็กๆ มีความกระตือรื้อร้นที่จะมีส่วนร่วมในห้องเรียน

ครูบอยเล่าถึงเบื้องหลังกระบวนการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ว่า เริ่มจากการวิเคราะห์ภูเขาน้ำแข็งก่อน ว่าสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้มีอะไรบ้าง เช่น นักเรียนแก้ไขปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์ได้ แต่ไม่เข้าใจ เพราะเป็นการท่องจำเพื่อนำไปสอบ จากนั้นจึงกำหนดสิ่งที่อยากให้เป็น เช่น ทักษะการคิด การแก้ปัญหา เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาในชีวิตจริงได้ และที่สำคัญครูจะต้องกระตุ้นให้เกิดการแชร์ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ มีความกระตือรือร้น อีกทั้งสอดแทรกความสนุก นักเรียนจึงจะค้นพบข้อสรุปหลักการของตนเองได้

“กระบวนการคณิตศาสตร์ Pro-Active ของผมจะมีอยู่ 3 กระบวนการหลักๆ ขั้นแรกคือ ขั้นเตรียมผู้เรียน ขั้นที่สองคือ ขั้นสอน และสุดท้ายคือ ขั้นสรุป หรือ AAR”

ในขั้นสอน จะใช้กระบวนการชง-เชื่อม-ใช้ เป็นหลัก ซึ่งข้อมูลจากเว็บไซต์โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ระบุว่า การสอนคณิศาสตร์แบบ Pro-Active ด้วยกระบวนการชง-เชื่อม-ใช้  สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ Creative Thinking ได้อย่างดี เพราะทุกคนจะถูกท้าทายด้วยโจทย์ ได้แสดงความคิดของตน ได้ฟังความคิดของคนอื่น ทุกคนรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของการค้นพบคำตอบ

ครูบอยนำกระบวนการชง-เชื่อม-ใช้ มาออกแบบหน่วยการเรียนรู้ของตนเอง โดยกำหนดไว้ว่า

  • ขั้นชง: ครูให้โจทย์ ซักถามหรือชวนสนทนา เพื่อทำความเข้าใจโจทย์ร่วมกัน โดยนั่งล้อมวงกัน 
  • ขั้นเชื่อม: ให้เด็กแต่ละคนคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยทำกระบวนการกลุ่ม สามารถใช้สื่อและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้หลากหลาย และสามารถอธิบายวิธีการคิดนั้นได้
  • ขั้นใช้: เด็กได้มีค้นพบวิธีคิดและแก้โจทย์ปัญหาด้วยตนเอง และใช้วิธีคิดของตนเองแก้โจทย์ใหม่ได้

“เมื่อถึงคาบคณิตศาสตร์ เด็กๆ มีความอยากเรียน ยกตัวอย่างในขั้นชง ครูจะให้สถานการณ์เด็ก ให้ตั้งตาราง 9 ช่อง โดยใช้แท่งไม้หรือหลอดที่มีความยาวเท่ากัน และมีสี่เหลี่ยมเล็กๆ แทนหน่วยจิ๋ว โจทย์คือให้เอาหน่วยจิ๋วมาวางในช่องแนวตั้งและแนวนอน โดยจำนวนจิ๋ว ต้องไม่ซ้ำกัน และผลรวมต้องเท่ากันทั้งแนวตั้ง แนวนอน แต่ละคนก็จะค้นหาคำตอบกัน และนำเสนอให้กับเพื่อน”

เด็กสนุกและท้าทายกับการคิดแก้โจทย์ปัญหา 

ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่ครูบอยเห็นได้ชัด แน่นอนว่าเด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น และมีความกระหายอยากที่จะเรียนรู้และท้าทายตนเอง ในการค้นหาวิธีคิดใหม่ๆ 

“เด็กๆ ได้มีกระบวนการกลุ่ม ได้ลองสร้างโจทย์เอง อย่างในสถานการณ์การบวกและลบ ครูให้เด็กคิดโจทย์มากลุ่มละ 2 ข้อ และให้เด็กๆ เลือกแก้โจทย์ โดยที่ก็ไม่ได้บอกว่าจะต้องทำทุกข้อ แต่ผลลัพธ์คือเด็กๆ มีความกระหายอยากที่จะแก้โจทย์เองทุกข้อ 

ทำให้ครูได้มองเห็นว่าเด็กเขามีแพทเทิร์นของเขา มีกระบวนการคิดของเขา ซึ่งกระบวนการคิดของเขาได้มาซึ่งคำตอบเดียวกัน ซึ่งผมก็ไม่ได้บอกว่าคำตอบนี้ถูก แต่ให้เขาได้ลองพิสูจน์เอง แล้วเด็กๆ ก็ท้าทายกันเอง อยู่ในขั้นใช้ อยากให้เพื่อนได้แสดงวิธีการคิด แข่งกันว่าใครจะมีวิธีการคิดที่หลากหลาย ใครจะได้กี่วิธี เขาก็สนุกสนานกัน เป็นบรรยากาศการเรียนที่ดี” 

“คนอาจจะมองว่าที่เด็กคิดมันเป็นเส้นทางการคิดที่ซับซ้อน แต่ครูได้มองเห็นว่าเด็กๆ เขาได้มีเส้นทางการคิด ซึ่งไม่มีถูกผิด แต่เขาสร้างข้อสรุปเชิงหลักการของเขาเองได้ 

หลังจากนั้นก็จะมาขั้นสรุป AAR กัน ให้เขาเขียนว่า เขาได้เรียนรู้อะไรบ้าง เช่น เขาก็จะบอกว่าได้เรียนรู้การบวกการลบ แล้วได้มีความรู้ใหม่อะไรบ้าง เขาก็บอกว่า ได้เรียนรู้วิธีคิดการบวกการลบและตั้งโจทย์เองในกลุ่ม”

สุดท้ายนี้ ครูบอยมองว่า ในฐานะครูผู้สอนอยากจะสร้างห้องเรียนที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยในการเรียน ในการแสดงความคิดเห็นโดยไม่ถูกจำกัดความคิด หรือตัดสินจนเด็กกลัว ไม่กล้าที่จะแสดงวิธีที่หลากหลายของตนเอง อีกทั้งอยากสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น มีกิจกรรมให้เด็กได้สนุกกับการเรียนและเรียนอย่างมีความสุข 

Tags:

Active Learningทักษะการแก้ปัญหานวัตกรรม Pro-Activeครูบอย - มานะ คำจันทร์โรงเรียนบ้านโกกระบวนการชง-เชื่อม-ใช้ความคิดสร้างสรรค์(Creativity)พื้นที่ปลอดภัยวิชาคณิตศาสตร์

Author:

illustrator

นฤมล ทับปาน

Photographer:

illustrator

ปริสุทธิ์

Related Posts

  • School of future-building-2
    tranformative learning
    โรงเรียนต้องเป็น ‘โรงสร้าง’ ไม่ใช่ ‘โรงสอน’ สร้างนิเวศการเรียนรู้ หนุนเด็กปล่อยพลัง สร้างสมรรถนะใส่ตัว

    เรื่อง The Potential

  • Creative learningSocial Issues
    ‘อยู่รอดปลอดภัย’ วิชาที่ช่วยให้เด็กคิดได้-ทำเป็น เพราะภัยพิบัติไม่ใช่เรื่องไกลตัว

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ปริสุทธิ์

  • เรียนเมตริกซ์จาก KFC เรียนตรีโกณฯ จากคดีฆาตกรรม: ห้องเรียนคณิตของ ‘ครูนัน’ ที่พาเด็กเชื่อมใช้ได้จริง

    เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง

  • Everyone can be an Educator
    ครูไก่แจ้ – สิทธิพงษ์ ติยเวศย์ : ครูอาสาวิชาคณิตศาสตร์ ที่เปิดพื้นที่ปลอดภัยให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าในตัวเองมากกว่าท่องสูตร

    เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ปริสุทธิ์

  • Unique Teacher
    ‘จงทำให้เด็กรู้สึกโชคดีที่มีเราเป็นครู’ ครูคณิตที่นิยามตัวเองเป็น ‘นักการศึกษา’ ของครูร่มเกล้า ช้างน้อย (2)

    เรื่อง สัญญา มัครินทร์ณิชากร ศรีเพชรดี

ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP3: คุณค่าของความไม่สบายใจ
Transformative learning
23 June 2025

ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP3: คุณค่าของความไม่สบายใจ

เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • บันทึกชุด ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ นี้ ได้แรงบันดาลใจจากหนังสือ Hidden Potential : The Science of Achieving Greater Things นำสู่การตีความหนังสือออกเป็นบันทึกชุดนี้ แต่เป็นการตีความที่ต่างจากบันทึกชุดก่อนๆ คือ ผมได้เสริมข้อคิดเห็นของตนเอง จากความรู้เดิมที่มีและจากความรู้ที่ขอให้ปัญญาประดิษฐ์หลายสำนักช่วยค้นและให้ข้อสรุปด้วย

ตอนที่ 3 เสนอปัจจัยสำคัญที่คนไทยมักเข้าใจผิด ว่าการศึกษาต้องเน้นให้ความสุขแก่ผู้เรียนเป็นหลัก ซึ่งที่จริงก็ถูกต้อง ว่าการศึกษาต้องทำให้ผู้เรียนเกิดความสุขจากการได้เรียนรู้ เพราะจะเป็นตัวช่วยให้อารมณ์ดี สมองแจ่มใส เรียนรู้ได้ดีขึ้น แต่หนังสือ Hidden Potential ชี้ให้เห็นว่า

เหตุการณ์ที่ยากลำบาก ก่อความไม่สบายใจ อึดอัดขัดข้อง จะช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ฟันฝ่า ช่วยปลดปล่อยศักยภาพที่ซ่อนเร้นของผู้เรียนออกมา

เด็กที่คุ้นเคยแต่ความสุข ความราบรื่นในชีวิต จะไม่แกร่ง และสร้างนิสัยเป็นคนที่คุ้นอยู่กับพื้นที่สบายใจ (Comfort Zone) ไม่กล้าเสี่ยง ไม่กล้าออกจากพื้นที่สบายใจ

ทักษะเชิงลักษณะนิสัย ไม่สามารถสร้างได้ง่ายๆ เงียบๆ แต่ต้องการประสบการณ์ที่เป็นการทดลองและฟันฝ่าความยากลำบาก ที่นำสู่จิตใจที่แข็งแกร่ง มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน มีแรงบันดาลใจที่ลุกโชน และบรรลุความสำเร็จในระดับที่ไม่ธรรมดา ที่พลังซ่อนเร้นของความเป็นมนุษย์ถูกปลุกออกมากระทำการ

หน้าที่ของการศึกษาคือ ช่วยให้ผู้เรียนค้นพบพลังซ่อนเร้นที่อยู่ภายในตน และการค้นพบนี้จะต้องผ่านการพัฒนาตนเองให้เป็น มนุษย์ที่ “สบายใจที่จะอยู่กับความไม่สบายใจ” (Comfortable to be Uncomfortable) หรือเป็น “มนุษย์แห่งความอึดอัดขัดข้อง” (Creature of Discomfort) หรือเป็นคนที่ไม่กลัว ไม่หลบหลีก ความยากลำบาก นั่นเอง

การศึกษาต้องส่งเสริมให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้หลากหลายแบบ รูปแบบหนึ่งของทักษะเชิงลักษณะนิสัยคือการรวบรวมความกล้าในการเผชิญความยากลำบาก เป็นรูปแบบหนึ่งของความมุ่งมั่น (Determination) ที่มีองค์ประกอบเป็นความกล้า 3 ประการคือ (1) กล้าออกจากวิธีการที่เคยลองแล้วพบว่าใช้ได้ดี (2) กล้าขี้นเวทีก่อนที่จะมั่นใจว่าตนเองชกได้ดี (3) กล้าที่จะทำผิดพลาด หรือไม่สำเร็จ ความกล้าทั้ง 3 ประการนี้ คือกล้าอยู่กับความไม่สบายใจ

ครูต้องปฏิบัติอย่างไร จึงจะไม่เป็นตัวขัดขวางการเรียนรู้แบบนี้ของเด็กบางคน หรือถามใหม่ว่า ครูต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะเปิดโอกาสให้เด็กทุกคนได้เรียนรู้และปลุกพลังที่ซ่อนเร้นของตนจากการเผชิญความไม่สบายใจ

ออกจากการศึกษาแบบสายพานผลิต

สภาพโรงเรียนที่เราคุ้นเคยมาหลายสิบปี หรือเป็นร้อยปี คือเป็นเสมือนสายพานการผลิตในโรงงาน มีนักเรียนเข้าเรียนแล้วจบออกไปตามที่กำหนดในหลักสูตร เป็นรุ่นๆ ภายใต้สมมติฐานว่านักเรียนทุกคนได้พัฒนาตาม “มาตรฐานการศึกษา” มองนักเรียนเป็นผลผลิตของ “สายพานการผลิต” ที่เหมือนๆ กัน

ในขณะที่ความเป็นจริง มนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตน หรือกล่าวใหม่ว่า มีศักยภาพพิเศษเฉพาะตน การศึกษาต้องช่วยหนุนให้นักเรียนค้นพบตัวเอง ค้นพบตัวตนหรือลักษณะพิเศษที่จำเพาะของตนเอง ตามที่เสนอไว้ใน Chickering’s Seven Vectors of Identity Development

ในโลกยุคปัจจุบัน การศึกษาที่เน้นหลักสูตรมาตรฐาน สอนเพื่อสอบผ่านการสอบหรือวัดผลมาตรฐาน (Standardized Testing) เป็นตัวปัญหา เป็นตัวปิดกั้นการหนุนให้เด็กพัฒนาตัวตน ค้นพบตัวตนที่แท้จริง รวมทั้งศักยภาพที่ซ่อนเร้นของตน ประเทศที่ระบบการศึกษาก้าวหน้า ได้ข้ามพ้นมายาคตินี้ไปแล้ว แต่ระบบการศึกษาไทยยังย่ำเท้าอยู่กับความล้าสมัยนี้ ประมาณได้ว่า เราล้าสมัยอยู่ประมาณครึ่งศตวรรษ

ที่จริงการมีหลักสูตรมาตรฐานไม่ใช่ของผิด มีความจำเป็น แต่การกำหนดให้ยึดถือปฏิบัติตามอย่างตายตัว ไม่มีความยืดหยุ่นเพื่อเอื้อนักเรียนเป็นรายคน เป็นสิ่งผิด ความยืดหยุ่นในที่นี้ไม่ใช่ยืดหยุ่นให้แก่ความอ่อนแอ แต่เป็นการยืดหยุ่นให้แก่ความแข็งแรง ได้แก่ ความชอบ ความถนัด และศักยภาพพิเศษ ของนักเรียนแต่ละคน เป็นการยืดหยุ่นเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนบางคนได้มีโอกาสเผชิญสิ่งยาก หรือความท้าทายที่เหมาะสมสำหรับเขาเป็นการเฉพาะตัว เพื่อเปิดโอกาสให้พลังซ่อนเร้นของนักเรียนแต่ละคนเผยออกมาทำประโยชน์แก่ตัวเขาเอง แก่สังคม และแก่โลก

ในการเปิดโอกาสนี้ ผลลัพธ์ที่มีค่าต่อเด็กนอกจากเรื่องความรู้หรือทักษะด้านใดด้านหนึ่ง แล้วผลลัพธ์ที่มีค่าสูงสุดเป็นการหนุนให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะเชิงลักษณะนิสัย (Character Skills) ทั้ง 4 ตัวตามที่ระบุในตอนที่แล้ว ใส่ตัวเป็นทุนสำหรับหนุนการปลุกพลังซ่อนเร้นของแต่ละคนตลอดชีวิต ผ่านการฝึกฝนเคี่ยวกรำฟันฝ่าความล้มเหลวยากลำบากยาวนานสู่ความสำเร็จในชีวิต                          

เริ่มเมื่อไม่พร้อม

หลักการของการเรียนรู้ที่ถูกต้องคือเรียนจากการกระทำ หรือการผลิต ไม่ใช่เรียนจากการรับถ่ายทอดจากครูหรือจากหนังสือ หรือกล่าวใหม่ว่า ทันทีที่ได้รับความรู้หรือทักษะใหม่ ผู้เรียนต้องรีบนำมาทดลองใช้ เพื่อเปลี่ยนการเรียนเชิงรับ (Passive Learning) มาเป็นการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) หรือการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning) ทันที

โปรดสังเกตว่า แนวทางในย่อหน้าบน เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติหรือลงมือทำโดย “ยังไม่พร้อม” ยังเข้าใจเรื่องไม่ตรงกัน ยังไม่สบายใจที่จะเอาความรู้ไปลองใช้ สภาพนี้เป็นความขัดแย้งทางการศึกษา ที่มองมุมหนึ่งต้องการนักเรียนมีความสุขความสบายใจ แต่มองอีกมุมหนึ่ง นักเรียนต้องเอาชนะความไม่สบายใจในชีวิตประจำวันของการเรียนรู้เชิงรุก ซึ่งนอกจากนักเรียนได้ฝึกตีความความรู้ใหม่สำหรับนำไปทดลองใช้ แล้วนักเรียนยังได้ฝึกความกล้าที่จะลองในสภาพที่ตนเองไม่พร้อม หรือกล่าวใหม่ว่า กล้าที่จะผิดพลาด นี้คือการฝึกทักษะเชิงลักษณะนิสัยแบบไม่รู้ตัว ผมตีความเช่นนี้จะถูกหรือผิดก็ไม่ทราบ

หากการตีความในย่อหน้าบนถูกต้อง การเรียนรู้แบบเรียนรู้เชิงรุก และเรียนรู้จากประสบการณ์ ที่ครู (และผู้ใหญ่) หนุนให้เด็กกล้าลอง จึงเป็นการวางพื้นฐานหนุนให้นักเรียนพัฒนาทักษะเชิงลักษณะนิสัยให้แก่ตนเอง เอาไว้เป็นทุนหนุนการปลุกพลังซ่อนเร้นของตนเอง

เงองะอย่างจงใจ

เขาอ้างผลงานวิจัยของนักจิตวิทยาชื่อ Kaitlin Wooley และ Ayelet Fishbach (1) ที่สรุปว่า ผู้เรียนที่เชื่อว่าความไม่สบายใจ (Discomfort) ตอนเรียนรู้เป็นสัญญาณของการพัฒนา จะเป็นคนที่มีแรงบันดาลใจต่อการเรียนรู้ โดยช่วยให้ผู้เรียนพาตนเองออกจากพื้นที่สบายใจ (Comfort Zone)

หนังสือเล่าตัวอย่างคนสองคนที่ตั้งหน้าฝึกภาษาต่างประเทศ แบบกล้าลองสื่อสารอย่างเงอะงะตั้งแต่แรกโดยไม่กลัวผิด จะเป็นคนที่เรียนได้ผลดีในที่สุด คนเหล่านี้สนใจที่การเรียนรู้มากกว่าสนใจความยากลำบากและความผิดพลาด และในความเป็นจริงแล้ว การฝึกฝนบ่อยๆ ทำผิดบ่อยๆ จะนำสู่สมรรถนะในการพูดภาษาต่างประเทศได้อย่างสมบูรณ์ในที่สุด

ใช้ความไม่สบายใจให้เกิดผลเชิงบวกต่อการเรียนรู้

หนังสือ Hidden Potential แนะนำให้ใช้ความไม่สบายใจ (Discomfort) ให้เกิดผลเชิงบวกต่อการเรียนรู้ โดยตระหนักว่าการออกจากพื้นที่สบายใจ (Comfort Zone) เป็นเส้นทางสู่การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ คนที่หลบซ่อนตัวอยู่ในพื้นที่สบายใจ เป็นผู้ลงโทษตนเองให้ไม่มีโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

ความไม่สบายใจ หรือความรู้สึกอึดอัดขัดข้อง นำสู่การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) ตามที่ระบุไว้ในหนังสือ เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง รวมทั้งนำสู่การพัฒนาทักษะเชิงลักษณะนิสัย ดังกล่าวแล้ว   

ครูใช้หลักการนี้อย่างไร

ผมลองถาม Generative AI Gemini ว่าสิ่งที่ครูควรทำและไม่ควรทำ ในการช่วยหนุนให้นักเรียนเผยพลังซ่อนเร้นของตนออกมา ได้คำตอบที่ดีมากว่า 

สิ่งที่ครูควรทำ

  • สร้างพื้นที่ปลอดภัยและส่งเสริมให้นักเรียนกล้าเสี่ยง และกล้าทำผิด
  • ส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็น ความรักเรียน และการค้นหา
  • ให้โอกาสได้เผชิญความท้าทาย
  • เฉลิมฉลองความสำเร็จที่มาจากความมานะพยายาม การฟันฝ่าความล้มเหลว
  • ทำตัวเป็นตัวอย่างของพฤติกรรมเชิงบวก ได้แก่ ความยืดหยุ่นปรับตัว (Resilience), ความมานะพยายาม (Perseverance), การมีกระบวนทัศน์พัฒนา (Growth Mindset) 
  • ส่งเสริมความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม
  • ให้การสนับสนุนเป็นรายคน
  • ส่งเสริมให้นักเรียนสะท้อนคิดตนเอง (self-reflection) ด้านการเรียนรู้และเติบโต
  • ส่งเสริมกระบวนทัศน์พัฒนา
  • ส่งเสริมให้กล้าเสี่ยง กล้าออกจากพื้นที่สบายใจ   

สิ่งที่ครูไม่ควรทำ

  • หลีกเลี่ยงการให้คำแนะนำป้อนกลับเชิงลบ (Negative Feedback) ที่จะทำให้นักเรียนไม่กล้าลองผิดลองถูก
  • เปรียบเทียบนักเรียน อันจะทำลายความมั่นใจของนักเรียน
  • จำกัดความสร้างสรรค์ อันจะทำให้นักเรียนไม่มีโอกาสลองคิดแปลกๆ และวิธีการใหม่ๆ
  • มองความล้มเหลวในแง่ลบ
  • ให้ความท้าทายมากเกินไปจนนักเรียนรู้สึกว่าเกินกำลัง ประเด็นนี้ผมเถียง ว่าครูให้ความท้าทายมากได้ โดยต้องแสดงท่าทีว่าครูพร้อมให้ความช่วยเหลืออยู่เคียงข้าง
  • ละเลยต่อการให้ความช่วยเหลือที่นักเรียนต้องการ

โดยสรุป เส้นทางเผชิญความไม่สบายใจ เป็นเส้นทางของการปลุกพลังที่ซ้อนเร้นของแต่ละคนออกมากระทำการ คนที่พอใจซ่อนตัวอยู่ในพื้นที่สบายใจ ไม่ยอมออกสู่พื้นที่เสี่ยงหรือท้าทาย ย่อมขาดโอกาสได้เผยพลังซ่อนเร้นของตนออกมากระทำการ

สามารถอ่านบทความ ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP1 และ EP2 ได้ที่นี่

ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP1: บทนำ ‘มนุษย์ทุกคนมีพลังซ่อนเร้น’

ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP2: พัฒนาทักษะเชิงลักษณะนิสัย

Tags:

ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์หนังสือ Hidden Potential : The Science of Achieving Greater Things (2023)คุณค่าของความไม่สบายใจการเผชิญหน้ากับความยากลำบากความมุ่งมั่นการศึกษา

Author:

illustrator

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

รองประธานกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล ผู้อำนวยการคนแรกของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) และได้ดำรงตำแหน่ง 2 สมัย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส.) ดำรงตำแหน่งกรรมการของหน่วยงานและมูลนิธิหลายแห่ง

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Transformative learning
    ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP4: การซึมซับและปรับตัว 

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Transformative learning
    ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP2: พัฒนาทักษะเชิงลักษณะนิสัย

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Transformative learning
    ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP1: บทนำ ‘มนุษย์ทุกคนมีพลังซ่อนเร้น’

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Movie
    OMG2: ‘เพศศึกษา’ เรื่องที่ครูไม่ได้สอน แต่กลับคอยซ้ำเติมความเชื่อผิดๆ

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Social Issues
    ‘เปิดเทอมที่ไม่ได้เรียนต่อ’ ทางออกอยู่ที่ไหน เมื่อเด็กตกอยู่ในการวนซ้ำของการหลุดจากระบบการศึกษา

    เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง

‘ครูอ้อย-สุธิวา บุญวัง’ ครูที่ไม่มีห้องเรียน แต่มี ‘ห้องสมุด’ ไว้ให้เด็กเปิดใจเลือกเส้นทางเดินใหม่โดยไม่ถูกตัดสิน
Everyone can be an Educator
19 June 2025

‘ครูอ้อย-สุธิวา บุญวัง’ ครูที่ไม่มีห้องเรียน แต่มี ‘ห้องสมุด’ ไว้ให้เด็กเปิดใจเลือกเส้นทางเดินใหม่โดยไม่ถูกตัดสิน

เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง

  • ครูอ้อย- สุธิวา บุญวัง เริ่มต้นจากการเป็นคนธรรมดาในชุมชนตำบลช่องเม็ก ที่ไม่มีตำแหน่งหรือบทบาทใดๆ แต่เมื่อเห็นเด็กๆ ในพื้นที่ชายแดนเติบโตท่ามกลางยาเสพติดและความรุนแรง เธอเลือกลงมือทำจากจุดที่ยืนอยู่ ด้วยหัวใจที่ไม่ตัดสิน
  • ครูอ้อยเปลี่ยนบ้านของตัวเองให้กลายเป็นห้องสมุดและพื้นที่เรียนรู้ ที่ไม่ใช่แค่สำหรับอ่านหนังสือ แต่เป็นพื้นที่ปลอดภัยที่เด็กๆ เข้ามาใช้เวลา และส่งเสริมการทำกิจกรรมรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เด็กค่อยๆ ถอยห่างจากวงจรเสี่ยง
  • การอยู่ข้างเด็ก ไม่ใช่ภารกิจของใครคนใดคนหนึ่ง แต่คือความรับผิดชอบของผู้ใหญ่ทุกคนที่เชื่อว่า ‘เด็กคือปัจจุบันของชาติ’ และทุกพื้นที่ในสังคมควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการเติบโตของพวกเขา

“เด็กไม่ได้เกิดมาพร้อมปัญหา เขาไม่ได้แบกกัญชา บุหรี่ไฟฟ้า หรือยาเสพติดออกมาจากท้องแม่… แล้วใครล่ะที่เติมสิ่งเหล่านี้ให้เขา”

นี่คือคำถามปลายเปิดที่ ครูอ้อย–สุธิวา บุญวัง โยนกลับไปยังสังคม เมื่อถูกถามว่าทำไมเธอถึงลุกขึ้นมาทำงานกับเด็กและเยาวชนในชุมชนที่รายล้อมด้วยปัญหายาเสพติด ความรุนแรง และความเหลื่อมล้ำ

‘ครูอ้อย’ หรือที่เด็กๆ เรียกติดปากกันว่า ‘แม่อ้อย’ ไม่ได้เป็นครูที่โรงเรียนไหน หากเป็นเพียงคนธรรมดาวัย 52 ปี ที่เติบโตในชุมชนตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี และอยากเห็นชุมชนของตนเองปลอดภัยและน่าอยู่ เธอเป็นหนึ่งในวิทยากรช่วง HEAD (เฮ็ด) TALK ‘เพราะเราทำ เราจึงพูด’ ในงานเปิดตัวแคมเปญ ‘เพราะทุกที่คือโรงเรียน’ โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2568

พื้นที่ที่ครูอ้อยอาศัยอยู่เป็นชุมชนติดชายแดน ซึ่งต้องเผชิญกับปัญหาหลากหลาย โดยเฉพาะเรื่องยาเสพติด ทำให้เด็กหลายๆ คนในชุมชนเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่มีโอกาสเข้าถึงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ได้ง่าย

แต่ครูอ้อยไม่เคยมองปัญหาเหล่านี้ว่าเป็นเพียง ‘เรื่องของคนอื่น’ เพราะทั้งหมดนั้นคือสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว ในบ้าน ในชุมชน ในชีวิตที่มองเห็นแทบทุกวัน เธอจึงเลือกลงมือทำจากจุดที่ยืนอยู่ เริ่มจากการเข้าไปพูดคุยกับเด็กที่ถูกมองว่าเป็นปัญหา ด้วยหัวใจที่ไม่ตัดสิน และสองมือเปล่าที่พร้อมจะอยู่เคียงข้าง ค่อยๆ ดึงพวกเขาออกจากอบายมุขและความเสี่ยง ด้วยการสร้าง ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ที่พวกเขาจะได้เป็นตัวเอง โดยไม่ต้องป้องกันตัวจากใคร

เพราะครูอ้อยมองว่า เด็กคือมนุษย์คนหนึ่งที่ยังอยู่ระหว่างการเรียนรู้ ไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กที่ควรเข้าใจทุกอย่าง หน้าที่ของผู้ใหญ่จึงไม่ใช่การควบคุมหรือสั่งสอน แต่คือการสร้างทางเลือกใหม่ที่ปลอดภัยกว่า ทางที่มีความหวัง และไม่มีคำตัดสินรออยู่ เธอทำงานกับเด็กผ่านกิจกรรมหลากหลาย ทั้งในและนอกพื้นที่ โดยมีเป้าหมายให้เด็กได้เปิดโลกกว้าง รู้จักตัวเอง และค่อยๆ ขยับห่างจากสิ่งแวดล้อมเดิมในจังหวะของตัวเอง

เริ่มจากหนึ่งคน บนพื้นที่ที่ไม่มีใครเริ่ม

ครูอ้อยเล่าถึงจุดเริ่มต้นในการทำงานกับเด็กว่าเกิดขึ้นเมื่อราวปี 2554 โดยเริ่มต้นจากการทำงานกับกลุ่มเด็กและเยาวชนในชุมชนหนองเม็ก ซึ่งเป็นพื้นที่ชายแดนที่เธออาศัยและเติบโตขึ้นมา

“ตอนเริ่มต้น เราทำอยู่คนเดียวเลย เราเองก็เป็นคนในชุมชนธรรมดา ไม่ได้มีตำแหน่งหรือบทบาทอะไรเป็นพิเศษ เป็นแค่คนที่ชอบใช้ชีวิตอยู่ในชุมชน และอยากเห็นชุมชนของเราน่าอยู่”

ครูอ้อยบอกว่า ปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไปในพื้นที่ เด็กหลายคนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติดตั้งแต่อายุยังน้อย บางคนเผชิญกับปัญหาภายในครอบครัว หรือเติบโตท่ามกลางความรุนแรงและความเครียดที่ไม่มีทางออก เมื่อไม่มีพื้นที่หรือคนรับฟัง ทางเลือกที่อยู่ใกล้มือที่สุดจึงกลายเป็นทางเดียวที่พวกเขาเห็น

“การที่เขาเลือกแบบนั้นเราไม่ได้มองว่าเขาผิดนะ เพราะอย่าลืมว่าเขาเป็นแค่เด็ก เขาไม่รู้หรอกว่าทางเลือกที่เขาเลือกมันจะนำไปสู่อะไรบ้าง เขาไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นแบบนั้น ไม่ได้เกิดมาพร้อมกับยาบ้าหรือแว้นรถตั้งแต่แรก แต่เขาเป็นเด็กคนหนึ่งที่สามารถเติบโตและพัฒนาได้”

ก่อนจะเริ่มต้นทำงานกับเด็กอย่างจริงจัง ครูอ้อยเคยมีโอกาสเข้าไปช่วยงานอาจารย์ท่านหนึ่งที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชน ทำให้ได้เห็นมิติใหม่ของการทำงานกับเด็กในเชิงพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์ที่ติดอยู่ในใจครูอ้อยมาตลอดจากการไปร่วมงานเวทีหนึ่ง ซึ่งมีการพาเด็กมาเข้าทำกิจกรรม แต่เด็กเหล่านั้นไม่ได้มีส่วนร่วมจริงๆ เมื่อถึงเวลาที่ต้องออกมาพูด เด็กกลับพูดไม่ออก น้ำตาคลอด้วยความอึดอัด อีกทั้งยังถูกตำหนิจากพี่เลี้ยง

“ถ้าเป็นเรา เราจะไม่ทำร้ายเด็กแบบนั้น เพราะผู้ใหญ่ไม่ควรทำร้ายเด็ก และจากเหตุการณ์ที่เราเห็น ทำให้เราเชื่อว่ามีเด็กอีกมากมายที่ต้องการการปกป้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนของเรา”

เหตุการณ์นั้นกลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ครูอ้อยลุกขึ้นมาทำงานกับเด็กอย่างจริงจัง เริ่มจากสิ่งเล็กๆ ที่ทำได้ในพื้นที่ของตัวเอง ค่อยๆ เปิดพื้นที่ให้เด็กได้เข้ามาใช้เวลา ค่อยๆ สร้างกิจกรรมที่เหมาะกับแต่ละคน และค่อยๆ เรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กที่ไม่มีใครเชื่อว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงได้

ไม่ใช่แค่ห้องสมุด แต่คือพื้นที่ปลอดภัยที่เด็กกลับมาได้เสมอ

การทำงานของครูอ้อยไม่เคยเริ่มจากคำว่า ‘สั่งสอน’ แต่เริ่มจากหัวใจที่ไม่ตัดสิน เธอเชื่อว่าทุกพฤติกรรมของเด็กมีที่มา และผู้ใหญ่ไม่มีหน้าที่ไปชี้ผิดชี้ถูก แต่ควรอยู่ข้างๆ เพื่อให้เขาค่อยๆ มองเห็นทางเลือกใหม่ที่ดีกว่าในจังหวะของตัวเอง

โดยครูอ้อยได้เปิด ‘ห้องสมุด’ เล็กๆ ในบ้านของตัวเองขึ้นมา เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้าง ‘พื้นที่ปลอดภัย’ ให้กับเด็กทุกคนที่เข้ามา ที่แห่งนี้จึงไม่ใช่แค่พื้นที่อ่านหนังสือ แต่คือพื้นที่ที่ทุกคนสามารถมาใช้เวลา มาเล่น ปรึกษา พูดคุย หรือแม้แต่ระบายความรู้สึกของตัวเองกับครูอ้อยได้อย่างเต็มที่

“ตอนแรกเราเริ่มจากการเปิดห้องสมุด เป็นพื้นที่ให้กลุ่มเด็กและเยาวชน จากนั้นก็มีการจดทะเบียนกับพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะองค์กรสาธารณประโยชน์ และได้ทำกิจกรรมกับเด็กมาอย่างต่อเนื่อง เพราะส่วนตัวเราเป็นคนที่ชอบหนังสือ ชอบอ่านหนังสือตั้งแต่เด็ก เลยรู้สึกผูกพันกับหนังสือ และสะสมหนังสือไว้เยอะมาก”

เด็กที่เข้ามาในห้องสมุดไม่เคยถูกบังคับให้อ่าน แต่ครูอ้อยใช้วิธีออกแบบกิจกรรมเล็กๆ และการตั้งกติกา เช่น เมื่อมาถึงต้องอ่านหนังสือ 15 นาที ไม่มากและน้อยไปกว่านี้ เพื่อสร้างวินัยการใช้เวลา พร้อมทั้งเสริมความรู้สึกสนุกด้วยรางวัลเล็กๆ อย่างขนมหรือการได้โชว์อ่านนิทานให้แขกฟัง ยิ่งไปกว่านั้น ห้องสมุดนี้ยังกลายเป็นศูนย์กลางที่เด็ก ๆ อยากเข้ามาเอง

“เรามองว่าเด็กต้องการพื้นที่ พอเรามีพื้นที่นี้ขึ้นมา ขนาดเวลาที่เราไม่อยู่บ้าน หรือปิดช่วงเสาร์อาทิตย์เราไม่ได้เปิด เด็กๆ ก็จะมาถามว่า เมื่อไหร่จะได้ไปห้องสมุด”

กิจกรรมต่างๆ ที่ครูอ้อยใช้กับเด็กไม่ได้มีแค่การอ่าน แต่ยังรวมถึงการพาไปเปิดหูเปิดตานอกสถานที่ เล่นกีฬา และการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะชีวิต เช่น ให้เด็กช่วยกันวางแผนจัดแข่งฟุตซอล ทั้งประสานขอใช้สนาม แบ่งสายการแข่งขัน หรือแม้กระทั่งเป็นพิธีกรบรรยายระหว่างการแข่งขัน

“ตอนที่เริ่มทำกิจกรรมกับเขา เราไม่เคยไปบอกเขาตรงๆ เลยว่าสิ่งที่เขาเคยทำ หรือทำอยู่มันไม่ดี เพราะจริงๆ แล้วทุกคนก็รู้กันอยู่แล้ว แต่การที่เขายังเลือกเส้นทางนั้น เป็นเพราะทุกคนมีเหตุผลของตัวเองทั้งนั้น เราก็จะไม่ไปแตะจุดนั้น 

สิ่งที่เราทำคือค่อยๆ ใส่กระบวนการความคิดให้กับเขา เช่น เรื่องการรักตัวเอง แนวคิดเกี่ยวกับการเติบโต การทำงาน การเคารพตัวเอง

มีครั้งหนึ่งที่เราพาเขาไปเปิดหูเปิดตานอกสถานที่ แต่โดนตำรวจเรียก เราก็ใช้เหตุการณ์นั้นเป็นบทเรียนให้เขาเห็นว่า ถ้าเราไม่ได้ทำอะไรผิด เราก็ไม่ต้องมาโดนจับแบบนี้ คอยชี้ให้เขาเห็น แล้วเขาก็จะค่อยๆ เรียนรู้ ค่อยๆ ซึมซับไป”

ในสายตาของครูอ้อย เด็กหลายคนที่เคยพัวพันกับยาเสพติดมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เช่น กีฬา หรือกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้ใช้เวลาอย่างมีเป้าหมายและรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า

เธอยกตัวอย่างว่า เด็กในรุ่นแรกที่เธอเริ่มต้นทำกิจกรรมด้วยนั้น เคยมีปัญหาเรื่องสารเสพติดเกือบทั้งหมด แต่เมื่อได้เข้าร่วมกิจกรรม ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สนับสนุน และมีพื้นที่ปลอดภัยให้เติบโต จำนวนเด็กที่ยังคงเกี่ยวข้องกับยาเสพติดก็ลดลงอย่างมาก จนเหลือเพียงไม่กี่คนเท่านั้น

“รุ่นแรกที่เราทำกิจกรรมด้วย สำเร็จไปกว่า 97–98% เลย เหลือแค่เพียงประมาณ 2 คนเท่านั้น ที่ยังเลิกไม่ได้ แต่ถึงอย่างนั้น เวลาพวกเขาเข้ามาหาเรา ก็ยังเรียกเราว่า ‘แม่’ ตามปกติ ยังมีความรักและความผูกพันอยู่เสมอ แต่เราไม่เคยซ้ำเติม เพราะเขาอาจจะยังไม่พร้อมที่จะหลุดออกมาได้จริงๆ”

หัวใจสำคัญในการทำงานของครูอ้อย คือ ‘อยู่กับเด็กโดยไม่ตัดสิน’ แม้บางคนจะเคยพัวพันกับยาเสพติดหรือพฤติกรรมเสี่ยง เธอก็เลือกจะไม่ตำหนิ แต่ค่อยๆ ใช้สถานการณ์รอบตัวเป็นบทเรียน และใส่กระบวนการคิดใหม่ๆ ให้พวกเขาค่อยๆ เติบโตในทางที่ดีขึ้น ทำให้เด็กหลายคนที่เคยอยู่ในวงจรเสี่ยง เริ่มค่อยๆ ถอยห่างจากมันด้วยตัวเอง เพราะพวกเขารู้ว่าอย่างน้อยในบ้านหลังนี้ พวกเขามีที่ให้กลับมา และมีใครบางคนที่ยังมองเห็นคุณค่าของเขาเสมอ

เด็กไม่ใช่อนาคตของชาติ แต่คือปัจจุบันของเรา

จากประสบการณ์ที่คลุกคลีกับเด็กมานับสิบปี ครูอ้อยเชื่อว่า ไม่มีใคร “เกิดมาพร้อมปัญหา” เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับโอกาสเหมือนกัน แต่บ่อยครั้งสังคมกลับเลือกที่จะตีตรา โดยลืมไปว่าปัญหาหลายอย่างไม่ได้เริ่มจากตัวเด็กเลยแม้แต่น้อย

“ทุกคนก็มักจะถามเราว่า ‘ทำไมถึงทำล่ะ? ทำไปทำไม?’ แต่จริง ๆ แล้ว เรามองว่าคำถามนี้ควรจะถูกย้อนกลับไปถามมากกว่าว่า ‘ทำไมคุณไม่ทำล่ะ’ มีเหตุผลอะไรที่คุณจะไม่รักเด็ก ไม่ปกป้องเด็ก หรือไม่ทำอะไรเพื่อเด็กในชุมชนของคุณเอง 

เพราะทุกวันนี้ มันไม่ใช่ว่า ‘เด็กคืออนาคตของชาติ’ อีกต่อไปแล้ว แต่ ‘เด็กคือปัจจุบันของชาติ’ ต่างหาก

การที่เราช่วยเด็กควรถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ ทุกคนควรมองว่าเด็กเป็นทรัพยากรบุคคลของประเทศชาติที่เขาควรได้รับการพัฒนา ได้รับการปกป้อง และควรได้รับการใส่กระบวนการต่างๆ ให้เด็กเราพร้อมเติบโตขึ้นเป็นอย่างดีได้”

ครูอ้อยจึงยืนยันเสมอว่า การทำงานกับเด็กไม่ใช่เรื่องของคนคนเดียว หรือปล่อยเป็นภาระของครูหรือโรงเรียน แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ใหญ่ทุกคนในสังคม โดยเฉพาะผู้ปกครอง ที่ต้องพร้อมทั้งในแง่ของความเข้าใจ การเลี้ยงดู และความรู้เรื่องพัฒนาการเด็ก

“ผู้ปกครองหลายคนมักจะคาดหวังให้ครูรับผิดชอบทุกอย่าง ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้หรอกค่ะ ขนาดผู้ปกครองที่มีลูกแค่คนเดียว ยังบอกเลยว่าดูแลไม่ไหว แล้วครูคนหนึ่งต้องดูเด็ก 20–30 คน จะให้เขาดูแลได้เท่ากันหมด มันก็ไม่แฟร์ การจะเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตได้ดี มันไม่ใช่หน้าที่ของครูคนเดียว ต้องเริ่มจากผู้ปกครองก่อนด้วย”

ในสายตาของครูอ้อย การมองเห็นเด็กในฐานะทรัพยากรมนุษย์ของสังคม หมายถึงการให้คุณค่าและการลงทุนระยะยาว ไม่ใช่แค่สั่งสอนเมื่อทำผิด แต่ต้องสร้างโอกาส สนับสนุน และให้พื้นที่ปลอดภัยอย่างจริงจัง โดยไม่มีใครถูกละเลยเพียงเพราะพื้นฐานไม่เท่ากัน

เสียงจากคนธรรมดา ที่ลุกขึ้นมายืนหยัดเพื่อสังคม

สำหรับครูอ้อยแล้ว การลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่างเพื่อเด็ก ไม่ได้เริ่มจากความมั่นใจหรือความพร้อมร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เริ่มจากความรู้สึกง่ายๆ ว่า ‘ถ้าเราไม่ทำ แล้วใครจะทำ’ จุดยืนเรียบง่ายนี้เองที่ทำให้เธอกล้าก้าวออกมาทำในสิ่งที่เชื่อ แม้จะเริ่มต้นเพียงลำพัง และยังคงเดินหน้าต่อ แม้จะมีเสียงห้าม เสียงคัดค้าน หรือคำดูแคลน

“บางคนอาจมองว่าเราดื้อ แต่จริงๆ แล้ว เราแค่อยากอยู่ในสังคมที่ดีและปลอดภัยสำหรับทุกคน 

เพียงแต่บางคนเขาอาจจะไม่ได้มองเห็นในมุมเดียวกับเรา หลายคนอาจคิดว่าเราทำสิ่งที่เสียเวลา แต่สำหรับเรามันคุ้มค่านะ เพราะเราเชื่อว่าสิ่งที่เราทำนั้นมีประโยชน์ต่อชุมชน เราแค่เลือกเดินหน้าทำให้เห็น มากกว่าจะพูดเยอะ

อาจจะเรียกว่าเราเป็นคนรั้นก็ได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราไม่ฟังใครเลยนะ ทุกวันนี้เราก็ยังฟัง ยังเปิดใจ เพียงแต่เราฟังเพื่อระมัดระวัง ไม่ใช่เพื่อหยุดเดิน เพราะเราเชื่อว่าทางที่เราเดิน มันมีความหมาย”

และแม้ว่าบางเสียงในชุมชนจะยังตั้งคำถาม เช่น “เด็กที่ดูแลทำไมบางคนยังเป็นแบบนี้อยู่ล่ะ ไม่เห็นจะดีขึ้นเลย” หรือ “ก็ยังมีเด็กที่หลุดอยู่นะ” แต่ครูอ้อยมองว่านั่นคือโอกาสในการอธิบาย เพื่อให้ผู้ใหญ่เข้าใจเด็กมากขึ้น

“เวลาเจอแบบนี้เราก็จะเปรียบเทียบให้เขาเห็นภาพ เช่นว่า สมมติคุณปลูกพริกสวนนึง รดน้ำเท่ากัน ใส่ปุ๋ยเท่ากัน ดูแลเหมือนกันหมด คุณคิดว่าพริกทุกต้นจะออกดอกออกผลเท่ากันไหม? มันก็ไม่ใช่ มันไม่มีทางเท่ากันได้ เด็กก็เหมือนกัน เขามีพื้นฐานต่างกัน ศักยภาพในการเรียนรู้และรับรู้ไม่เท่ากัน สิ่งที่เราทำคือพยายามให้เขาเติบโตในทางที่ดีที่สุดเท่าที่เขาจะเป็นได้ นั่นแหละคือสิ่งที่เราพยายามสื่อสารกับคนในชุมชน”

พร้อมกันนี้ครูอ้อยฝากไปถึงคนที่มองว่าตัวเอง ‘ไม่เก่งพอ’ หรือ ‘ไม่มีต้นทุนพอจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้’ อยากให้มั่นใจว่า สิ่งสำคัญที่สุดไม่ใช่ทุนหรือตำแหน่ง แต่คือการลงมือทำ

“เราเป็นคนที่มีความเชื่อตลอดนะ ว่าอะไรที่คนอื่นทำได้ เราก็ทำได้ ถ้าคุณคิดว่าคุณทำไม่ได้ แสดงว่าคุณยังไม่ได้ลงมือทำไง”

ในวันนี้ ครูอ้อยยังคงเดินหน้าร่วมกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ มูลนิธิส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน (CYF) เพื่อแก้ไขปัญหาเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา และในอนาคต เธอวางแผนจะขยายความร่วมมือให้กว้างขึ้น โดยเฉพาะกับหน่วยงานท้องถิ่น

“เราพยายามประสานกับ อบต. กับเทศบาล เพราะเขามีศักยภาพ มีทรัพยากร มีเครื่องมือมากกว่าเรา ส่วนเรามีแค่ใจ แต่ก็อยากจะพยายามร่วมมือกับเขาเพื่อขับเคลื่อนเรื่องนี้ให้ได้”เพราะสำหรับครูอ้อย การอยู่ข้างเด็ก ไม่ใช่ภารกิจของใครคนใดคนหนึ่ง แต่คือความรับผิดชอบของผู้ใหญ่ทุกคนที่เชื่อว่า ‘เด็กคือปัจจุบันของชาติ’ และทุกพื้นที่ในสังคมควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการเติบโตของพวกเขา

Tags:

ยาเสพติดเด็กปัญหาสังคมเยาวชนThailand Zero Dropout

Author:

illustrator

กนกพิชญ์ อุ่นคง

A girl who aspires to live like a yacht floating on the ocean, a dandelion fluttering over the heather, a champagne bursting in party.

Related Posts

  • Early childhoodFamily Psychology
    เติบโตไปด้วยกัน Alpha Generation EP.8 ‘ความเบื่อและการเล่นอิสระ’ ส่วนประกอบสำคัญของวัยเยาว์

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Social Issues
    Tambon Zero Dropout เราจะไม่ทิ้ง ‘เด็กนอกระบบ’ ไว้ข้างหลัง: หมอตุ้ย-สันติพงษ์ ศิลปสมบูรณ์

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ปริสุทธิ์

  • Movie
    ลบมายาคติ ‘เด็กดี’ โอบรับความใจดีของ ‘เด็กดื้อ’: That Christmas

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • Education trend
    ความผิดพลาดของการสอนวิทยาศาสตร์ที่อาจพาประเทศชาติหลงทาง

    เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์

  • Book
    The Catcher in the Rye : ไม่ต้องมีใครโอบรับใคร ถ้าไม่มีผู้ใดร่วงหล่นจากท้องทุ่ง

    เรื่อง ฌานันท์ อุรุวาทิน

วางความคาดหวังของคนอื่นลง แล้วกลับมาฟังเสียงหัวใจตัวเอง: เธอก็ออกมาได้นะจากบึงโคลนแห่งความเศร้าและไม่เข้าใจตนเอง
Book
19 June 2025

วางความคาดหวังของคนอื่นลง แล้วกลับมาฟังเสียงหัวใจตัวเอง: เธอก็ออกมาได้นะจากบึงโคลนแห่งความเศร้าและไม่เข้าใจตนเอง

เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • หนังสือ ‘เธอก็ออกมาได้นะจากบึงโคลนแห่งความเศร้าและไม่เข้าใจตนเอง’ เขียนโดย ทานากะ โยชิโกะ ผู้ฝึกอบรมการพัฒนาจิตใจชาวญี่ปุ่น แปลไทยโดย กีรติ ชินโด สำนักพิมพ์ Be(ing)
  • โยชิโกะ เปรียบเปรยภาวะที่ไม่เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองว่าไม่ต่างจากการจมอยู่ในบึงโคลนแห่งอารมณ์ ที่ยิ่งดิ้นมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดูดให้เราจมลึกลงไป
  • การหลุดพ้นจากบึงโคลนแห่งความเศร้า ต้องอาศัยความตระหนักรู้และเท่าทันตัวเอง โยชิโกะแนะนำเทคนิคง่ายๆ ที่ทุกคนทำตามได้โดยเริ่มต้นจากรับฟังสัญญาณของร่างกาย

ทั้งที่อยากยินดีกับข่าวดีของเพื่อน แต่กลับโมโห

ทั้งที่ควรจะดีใจที่การงานผ่านไปได้ด้วยดี แต่กลับรู้สึกว่างเปล่า

ทั้งที่อยากสนิทกับครอบครัว แต่ก็เกลียดตัวเองที่เหวี่ยงวีน

ทั้งที่อยากเป็นคนนิสัยดี แต่กลับหงุดหงุดกับเรื่องเล็กๆ น้อย

บทนำของหนังสือ ‘เธอก็ออกมาได้นะจากบึงโคลนแห่งความเศร้าและไม่เข้าใจตนเอง’ เขียนโดย ทานากะ โยชิโกะ ผู้ฝึกอบรมการพัฒนาจิตใจชาวญี่ปุ่น น่าจะสะท้อนภาพความย้อนแย้งในใจของใครหลายคน โดยเฉพาะคนที่พยายามใช้ชีวิตให้ดี แต่อารมณ์ความรู้สึกข้างในกลับไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เราควรจะรู้สึก จนพาลโทษตัวเองว่า “เราเป็นคนไม่ดี” และติดอยู่กับอารมณ์ที่เราไม่อยากมี…ทั้งที่รู้ว่ามันไม่ดีกับเราสักนิด  

โยชิโกะ เปรียบเปรยภาวะที่ไม่เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองว่าไม่ต่างจากการจมอยู่ในบึงโคลนแห่งอารมณ์ ที่ยิ่งดิ้นมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดูดให้เราจมลึกลงไป ซึ่งการจะหลุดพ้นจากบึงโคลนนี้ไปได้จะต้องอาศัยความกล้าหาญที่จะหันมาเผชิญหน้ากับตัวเองอย่างซื่อสัตย์ และตั้งใจฟังอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองอย่างแท้จริง 

หนึ่งในต้นเหตุสำคัญของการจมอยู่ในบึงโคลนแห่งความเศร้าและความสับสน คือการพยายามเป็นคนที่ดีพอสำหรับคนอื่นตลอดเวลา โดยเฉพาะผู้ที่มีแนวโน้มของการเป็น Perfectionist (ผู้ที่ยึดติดความสมบูรณ์แบบ) ที่นิยามตัวเองผ่านสายตาของคนอื่นว่าเราควรประพฤติตัวแบบไหนถึงจะดูมีคุณค่า…กระทั่งหลงลืมและละเลยความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเอง

เมื่อเราละเลยความรู้สึกของตัวเองอย่างต่อเนื่องจนมันกลายเป็น ‘นิสัย’ เราก็จะค่อยๆ สูญเสียตัวตนที่แท้จริง และใช้ชีวิตอย่างเหน็ดเหนื่อยผ่านการเป็นใครสักคนที่พยายามปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อเอาใจคนอื่นอยู่เสมอ จนสุดท้ายอาจรู้สึกว่างเปล่าแม้ในวันที่ควรจะมีความสุข 

ดังนั้นคำถามสำคัญคือ เราจะหันมาใส่ใจอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองมากขึ้นเพื่อหลุดพ้นจากวงจรหรือบึงโคลนนี้ได้อย่างไร โยชิโกะแนะนำให้เริ่มต้นจากการรับฟังสัญญาณของร่างกาย เพราะร่างกายจะส่งสัญญาณเตือนเราถึงความผิดปกติอยู่เสมอ

“แม้ยากที่จะเข้าใจความรู้สึกตัวเอง แต่อย่างไรก็ต้องรู้สึกถึงสัญญาณจากร่างกายแน่นอน เรามาเริ่มจากการใส่ใจร่างกายของตัวเองกัน หายใจไม่สะดวก ร่างกายหนักอึ้ง รู้สึกอึดอัด ไม่สบายใจ หากรู้ตัวว่ารู้สึกแบบนี้ละก็ เรามาตรวจสอบก่อนว่าตอนนี้ตัวคุณเองคิดอะไรและรู้สึกอย่างไร จะเป็นความคิดหรือความรู้สึกอะไรก็ได้ ประเด็นสำคัญคือต้องหาให้พบว่าตัวเองกำลังกังวลเรื่องอะไร ตรวจสอบแล้วพบว่า พยายามคิดแล้ว แต่กลับรู้สึกว่ามันยุ่งยาก แบบนี้ก็ได้เช่นกัน”

ต่อมาคือการ ‘ปลดปล่อยอารมณ์ของตัวเอง’ อย่างตรงไปตรงมา โดยไม่จำเป็นว่าต้องเข้มแข็ง หรือสร้างภาพว่าฉันโอเคอยู่ตลอดเวลา โยชิโกะบอกว่าการตระหนักรู้เท่าทันตัวเองเป็นสิ่งที่ช่วยเยียวยาใจอย่างเงียบๆ เพราะการรับรู้และยอมรับนั้น เพียงพอที่จะช่วยให้เรามองเห็นตัวเองใหม่อีกครั้ง

“ช่วงเวลานั้นไม่จำเป็นต้องมีแต่รอยยิ้มหรือทำแต่เรื่องสนุกสนาน ทั้งไม่ต้องอดทนกับอารมณ์ด้านลบหรือความรู้สึกเป็นทุกข์ ขอเพียงตรวจสอบอารมณ์ของคุณด้วยความรู้สึก “อยากรู้ว่าตัวเองกำลังคิดอะไรอยู่” แล้วใช้เวลาปลดปล่อยมันอย่างจริงจัง “เราฝืนตัวเองอยู่เรื่อยเลยสินะ”  “เรากดอารมณ์ของตัวเองเอาไว้โดยที่ไม่รู้ตัวสินะ” น่าแปลกที่เพียงแค่เราค้นพบความรู้สึกแบบที่ว่ามาเรื่อยๆ ก็สบายใจขึ้นมาได้แล้ว เพราะที่ผ่านมาคุณเพิกเฉยต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น ถึงได้มองข้ามตัวเองไปก็เท่านั้นเอง”

อย่างไรก็ตาม ถ้าพบว่าตัวเรามีสัญญาณของความหดหู่ติดต่อกันหรือมีความเครียดสะสมจนนอนไม่หลับ โยชิโกะไม่ได้บอกให้เราต้องค้นหาเหตุผลและที่มาของมัน แต่ให้เริ่มจากการผ่อนคลายร่างกายที่เกร็งด้วยความเครียดและฝึกหายใจเข้าออกลึกๆ  ผ่านเทคนิคง่ายๆ ที่สามารถทำได้ทุกวัน

“หากร่างกายของคุณกำลังเกร็ง คุณจะหายใจได้สั้นลง ฉันอยากให้คุณฝึกการหายใจที่ทำให้ปอดพองโตจนเป็นนิสัย วิธีการหายใจเข้าลึกๆ นั้นง่ายมาก 

  1. ดื่มน้ำ 1 แก้ว 
  2. นั่งริมหน้าต่างที่แสงส่องถึงแล้วหลับตา
  3. สูดลมหายใจเข้า 3 วินาที จากนั้นปล่อยลมหายใจออก 7 วินาที 

ให้คุณลองทำแบบนี้จำนวน 5 เซตหลังตื่นนอนและก่อนนอน ร่างกายจะผ่อนคลายในช่วงที่คุณหลับอย่างแน่นอน”

ในฐานะของคนที่ติดอยู่ในกับดักของความเป็น Perfectionist ผมพบว่าเมื่อได้ลองอยู่กับลมหายใจเข้าออกตามคำแนะนำที่เรียบง่ายของโยชิโกะ แม้จะยังไม่เข้าใจทุกอย่าง แต่การได้กลับมารับฟังความรู้สึกของตัวเองทีละน้อยก็ทำให้ใจเบาลงอย่างน่าประหลาด และอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการออกจากบึงโคลนโดยไม่รู้ตัว 

ผมรู้สึกว่าเมื่อเราเริ่มยอมรับตัวเองในแบบที่เป็น เราก็จะค่อยๆ ปล่อยวางความคาดหวังหรือสิ่งที่กดความรู้สึกเราไว้จนแน่น และสามารถอยู่กับตัวเองได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่เพียบพร้อม 

เพราะที่สุดแล้วการเติบโตไม่ได้เกิดจากการพยายามเป็นคนที่ดีพร้อม แต่เกิดจากการกล้ายอมรับตัวเองในแบบที่เป็น และก้าวต่อไปข้างหน้าด้วยคุณค่าในแบบที่เรากำหนด 

Tags:

หนังสืออารมณ์จิตใจI Want to Get Out of the Swamp of Not Knowing How I Feelเธอก็ออกมาได้นะจากบึงโคลนแห่งความเศร้าและไม่เข้าใจตนเอง

Author:

illustrator

อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

เจ้าของเพจ The Last Bogie ผู้ตัดสินใจขึ้นรถไฟขบวนสุดท้าย โดยมีปลายทางอยู่ที่สถานี 'ยูโทเปีย'

Related Posts

  • Book
    อ้าแขนรับความรู้สึกไม่สบายใจ ต้อนรับความรู้สึกที่จำเป็นต้องรู้สึก: หยุดเลี้ยงลิงในสมองคุณ Ep2

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • Book
    ‘ขอโทษ’ คำพูดติดปากจากบาดแผลที่พ่อแม่ทำให้รู้สึกผิดเสมอ: คุณคางคกไปพบนักจิตบำบัด

    เรื่อง อัฒภาค

  • Book
    ปิราเนซิ: โลกแสนงดงามเมื่อถูกสะกดด้วยตัวพิมพ์ใหญ่

    เรื่อง ฌานันท์ อุรุวาทิน

  • How to enjoy life
    Emotional Projection: ในโลกวุ่นวาย ใครใจร้ายรอด?

    เรื่อง จณิสตา ธนาธรชัย ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to enjoy lifeBook
    ชีวิตช่วงนี้อ่านอะไรดี? ให้ Fathom Bookspace เลือกหนังสือให้คุณ

    เรื่อง ขนิษฐา ธรรมปัญญาภัทรอนงค์ สิรีพิพัฒน์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

เติบโตไปด้วยกัน Alpha Generation EP.7 ‘การสื่อสารที่ส่งไปถึงใจลูก’
Early childhoodFamily Psychology
18 June 2025

เติบโตไปด้วยกัน Alpha Generation EP.7 ‘การสื่อสารที่ส่งไปถึงใจลูก’

เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • การสื่อสารไม่ใช่แค่คำพูด แต่รวมถึงการสัมผัส สายตา ท่าทาง และการรับฟังอย่างตั้งใจ พ่อแม่ควรเริ่มต้นสื่อสารกับลูกตั้งแต่วัยเยาว์ เพื่อให้ลูกกล้าพูดคุยและรู้สึกปลอดภัยเมื่อต้องเผชิญปัญหาในอนาคต
  • ความหมายของคำหรือพฤติกรรม อาจตีความต่างกันระหว่างพ่อแม่กับลูกวัยรุ่น พ่อแม่ควรเปิดใจ ไม่รีบตัดสิน รับฟังจนจบ และสื่อสารด้วยความเข้าใจ โดยใช้ภาษากายและคำพูดที่ชัดเจน ซื่อตรง และอ่อนโยน
  • ในวันที่ลูกยังพูดคุยกับเรา ขอให้เราดีใจ เพราะลูกรักและนึกถึงเราเสมอ และในวันที่ลูกมีปัญหา แล้วเขามาเล่าให้เราฟังเป็นคนแรก ขอให้เราภูมิใจ เพราะสำหรับลูก เราเป็นพื้นที่ปลอดภัยของเขา

‘การสื่อสารที่ส่งสารไปไม่ถึง’

ยุคปัจจุบันมีเครื่องมือสื่อสารเข้ามาแทรกแซงคั่นกลางระหว่างบุคคลกับบุคคล โดยเฉพาะระหว่างคนในครอบครัว พ่อแม่ลูกที่ใช้เครื่องมือเหล่านี้สื่อสารแทนการเข้ามาพูดคุยกันจริงๆ ตัวต่อตัว สายตาที่มองผ่านจอนั้นต่างกับการได้มองตากันในชีวิตจริง น้ำเสียงที่ส่งผ่านเครื่องมือเหล่านั้น บางครั้งไม่อาจส่งต่อความรู้สึกไปถึงอีกฝ่ายได้ ทำให้ความเข้าใจคลาดเคลื่อน สารบางอย่างถูกมองข้ามไป โดยเฉพาะสารที่แทรกความรู้สึกภายในใจเข้าไป

ยกตัวอย่างการเข้าใจที่คลาดเคลื่อนระหว่างวัย

อีโมจิต่างๆ ไม่อาจจะส่งต่อความหมายที่แท้จริง เพราะพ่อแม่ลูกเข้าใจคนละแบบ

  • ‘อีโมจิหน้ายิ้ม’ สำหรับพ่อแม่อาจจะหมายถึง ‘ยิ้ม’ อย่างมีความสุข แต่สำหรับลูกวัยรุ่นอาจจะหมายถึง ‘การฝืนยิ้ม’ และเป็นยิ้มที่ไม่จริงใจเอาเสียเลย

คำที่ถูกย่อกระชับจนไม่อาจแปลความหมายได้ตรง และคำแปลกๆ ที่ถูกนำมาใช้แทนที่คำปกติที่ใช้กัน

  • เสียงหัวเราะจาก ‘5555’ ก็ได้แปรเปลี่ยนเป็น ‘555971835’ เพราะลูกวัยรุ่นมองว่าการหัวเราะที่ใช้เลขห้าล้วนๆ ดูไม่ใช่การหัวเราะอย่างแท้จริง ดูฝืนหัวเราะเกินไป
  • เหล่าคำย่อที่คาดไม่ถึง ‘คถ.’ ที่มาจากคำว่า ‘คิดถึง และ ‘มปร.’ ที่มาจากคำว่า ‘ไม่เป็นไร’

และการใช้สติกเกอร์แทนความรู้สึก และอีกมากมายที่พ่อแม่ต้องใช้เวลาปรับตัวเรียนรู้ลูกวัยรุ่น 

แต่สุดท้ายแม้จะมีการพูดคุยกันซึ่งๆ หน้า บางครั้งพ่อแม่เองก็ไม่กล้าแสดงความรู้สึกที่แท้จริง หรือพูดไม่ตรงกับใจ เพราะอาจจะเคยชินกับการเก็บความรู้สึก เมื่อต้องพูดความรู้สึกออกไป กลับไม่สามารถพูดตรงไปตรงมาได้

ยกตัวอย่างการเก็บความรู้สึกของพ่อแม่

  •  อยากบอกรักลูก แต่ใช้คำถามหรือคำพูดอื่นแทน เช่น “หิวยัง มากินข้าวสิ แม่ทำกับข้าวไว้” “นอนให้มันเร็วๆ หน่อย”
  • เมื่อลูกบอกรักและพยายามเข้ามากอด กลับตอบลูกกลับด้วยการพยักหน้า หรือ ทำตัวแข็งแล้วเดินหนีด้วยความเขินอาย ทั้งๆ ที่ก็อยากกอดและบอกรักกลับ
  • เมื่อลูกทำอะไรให้ กลับไม่กล้า ‘ขอบคุณ’ เพราะคิดว่าลูกเด็กกว่า การขอบคุณจะทำให้เสียการควบคุม
  • เมื่อลูกทำได้ดี กลับไม่กล้า ‘ชม’ เพราะเคยได้รับการสอนมาว่า ‘ชมมากเดี๋ยวลูกจะเหลิง’
  • เมื่อทำผิดต่อลูก กลับไม่กล้า ‘ขอโทษ’ แล้วใช้การง้อด้วยวิธีเบี่ยงความสนใจแทน เช่น “กินข้าวยัง” “นอนยัง” และอื่นๆ 

ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้เราสื่อสารถึงกันอย่างเข้าใจกัน ไม่ใช่แค่เพียงแค่ลูกที่ต้องปรับตัว แต่พ่อแม่เองก็ต้องปรับตัวเช่นกัน ต่างฝ่ายต่างปรับเข้าหามาเจอกันตรงกลาง

การสื่อสารควรเริ่มต้นตั้งแต่ลูกยังเด็ก

พ่อแม่คือบุคคลแรกที่ลูกสื่อสารด้วย และเขาควรกล้าสื่อสารกับพ่อแม่ตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อที่เขาจะกล้าสื่อสารในวันที่เติบโตเป็นวัยรุ่น และเป็นผู้ใหญ่ต่อไป

ในวันที่ลูกอยู่ในท้อง และยังพูดไม่ได้ พ่อแม่เป็นฝ่ายสื่อสารกับเขาก่อน คุยกับเขา เล่านิทาน ร้องเพลง และโอบกอด การสื่อสารไม่ได้จำกัดไว้เพียงแค่ ‘คำพูด’ แต่ ‘ท่าทาง’ ก็เป็นภาษากายที่ทำให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่กำลังสื่อสารกับเขา 

ในวันที่ลูกเริ่มพูดสื่อสารได้ ขอให้พ่อแม่รับฟังลูกไม่ว่าเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆ เพราะลูกจะรับรู้ว่าพ่อแม่รับฟังเขาไหม จากวันนี้ที่เขาคุยกับเราแล้วเรายังรับฟังเขา

ภาษากายที่สามารถช่วยให้พ่อแม่จะสื่อสารให้เข้าถึงหัวใจของลูก

(1) การวางทุกอย่างตรงหน้าลงเพื่อสื่อสารกับลูกเพื่อให้ความสำคัญกับอีกฝ่าย

การทำเช่นนั้นทำให้ลูกรับรู้ว่าพ่อแม่พร้อมที่จะตั้งใจฟังในสิ่งที่เขาพูด และสิ่งที่เขาพูดเป็นเรื่องสำคัญสำหรับพ่อแม่

รับฟังเสียงของลูกที่เปล่งออกมาและเสียงที่อยู่ข้างใน 

มองเข้าไปในตาของเขารับรู้ความรู้สึกและสิ่งที่เขาต้องการจะบอก

ในกรณีที่เราไม่สามารถหยุดที่สิ่งที่ทำอยู่ตรงหน้าได้ทันที 

ควรบอกลูกให้ชัดเจนว่า “ขอเวลา….นาทีแล้วจะฟังลูก ลูกช่วยรอก่อนนะ พ่อแม่อยากฟังลูกมากจริง”

ลูกรับรู้ว่าพ่อแม่ให้ความสำคัญกับเขาไหม จากการที่เราใส่ใจมากพอที่จะรับฟังและจดจำเรื่องที่เขาคุยกับเราได้

‘เมื่อเราให้ความสำคัญกับสิ่งใดมากพอ เราจะสามารถหาเวลาให้กับสิ่งนั้นได้เอง’

(2) การสัมผัสเพื่อสื่อสารความรู้สึกเพื่อให้ความรักส่งถึงกัน 

เมื่อต้องการบอกรักลูกหรือให้กำลังใจเขา การสัมผัสที่ตัวเด็กโดยตรง อย่างการกอดแน่นๆ ลูบหัว บีบที่ไหล่เบาๆ อาจจะทำให้เด็กรับรู้ถึงความรู้สึกได้ดีกว่าการแค่พูดบอกเขา

ยกตัวอย่างเช่น

  • การกอดแน่นๆ เพื่อส่งกำลังใจให้ลูกก่อนส่งเข้านอน ไปโรงเรียน หรือ ไปแข่งขัน
  • เวลาทำสัญญาอะไรกับลูกหากเราลองใช้การเกี่ยวก้อยสัญญา ลูกจะรู้สึกว่า ‘เราให้ความสำคัญกับ

สิ่งที่เราสัญญามากจริงๆ’  แม้นั่นจะเป็นแค่สัญลักษณ์เท่านั้น แต่สำหรับลูกคำสัญญาที่เกี่ยวก้อยกันนั้นมีความพิเศษมาก เพราะนั่นคือความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างเรากับเขา

นอกจากนี้การชื่นชมลูกก็สามารถใช้ภาษากายง่ายๆ เช่น ‘Hi-five (แปะมือ)’ ‘ชูนิ้วโมงเพื่อบอกลูกว่า เยี่ยมมาก’ หรือ ‘การปรบมือให้ลูกเมื่อทำได้ดี’

(3) การย่อตัวลงมาเพื่อให้สายตาของเราอยู่ในระดับเดียวกันกับสายตาของเด็ก เพื่อให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่กดดันหรือควบคุม

เมื่อเราอยู่ในระดับเดียวกับลูก เขาจะไม่รู้สึกถูกกดดันและรู้สึกปลอดภัย เพราะเวลาที่เราอยู่ในระดับเดียวกัน การพูดคุยกันจะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่า ไม่ว่าเรื่องราวเหล่านั้นจะเป็นเรื่องแบบไหนก็ตาม ที่สำคัญการทำเช่นนั้นเป็นการให้เกียรติลูก เมื่อลูกได้เรียนรู้ว่าพ่อแม่ให้เกียรติเขาเป็นเช่นไร เขาจะให้เกียรติเช่นนั้นกลับมาหาเรา และแผ่ขยายไปสู่การให้เกียรติผู้อื่นอีกด้วย

(4) การมองหน้าสบตากันเพื่อให้ความรู้สึกส่งถึงอีกฝ่าย 

เมื่อเราต้องการสื่อสารสิ่งสำคัญกับลูก เราควรมองตาเขา แล้วพูดกับเขาให้ชัดเจน เพราะการมองตา ทำให้ลูกเข้าใจว่าเราต้องการคุยกับเขาและสิ่งนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่เขาควรตั้งใจฟัง ในทางกลับกันเมื่อลูกพยายามสื่อสารกับเรา ให้เรามองเข้าไปในตาเขา เพราะแววตาที่แสดงออกมา มักจะสื่อความรู้สึกของผู้พูดออกมากด้วย 

แววตามักไม่เคยโกหกใคร ด้วยเหตุนี้การที่เรามองตากัน ทำให้เราสามารถรับรู้ถึงความรู้สึกของอีกฝ่ายได้ดีขึ้น พ่อแม่จะเข้าใจลูกมากขึ้นว่าตอนนี้เขารู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่เรากำลังพูดกับเขา

(5) การสัมผัสตัวเพื่อให้การสอนและทำให้อีกฝ่ายเข้าใจอย่างแท้จริงว่าต้องทำอย่างไร

เวลาที่เราจะสอนสิ่งใหม่ๆ ให้กับลูก โดยเฉพาะลูกปฐมวัย การสัมผัสร่างกายและพาร่างกายของเขาเคลื่อนไหวไปตามเรา ร่างกายของลูกจะเรียนรู้และจดจำการเคลื่อนไหวนั้น แรงและน้ำหนักที่ใช้ก็กะได้ดีขึ้น ทำให้การทำตามได้ง่ายขึ้น

ในขณะเดียวกันเวลาที่ลูกทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม การพูดห้ามหรือเตือนอย่างเดียว อาจจะไม่สามารถหยุดลูกได้  ดังนั้นเราควรเข้าไปห้ามเขาด้วยการเข้าถึงตัว จับมือเขา พร้อมมองหน้าสบตา และบอกชัดเจนว่า ‘ไม่ทำ’ ก่อนที่จะสอนเขาว่าอะไรควรทำและทำอย่างไรต่อไป

เมื่อสื่อสารกับลูกโดยใช้ภาษากายเหล่านี้ร่วมด้วย ลูกจะกล้าพูดคุยกับเราทั้งเรื่องที่ดีและเรื่องที่เขาลำบากใจมากขึ้น เพราะเมื่อเขารู้สึกว่า พ่อแม่รับฟัง และเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับเขา การสื่อสารกับพ่อแม่จึงเป็นเรื่องทำได้ง่ายขึ้น

การสื่อสารกับลูกวัยรุ่นเริ่มต้นจาก พูดให้ชัด บ่นให้น้อย และรับฟังให้มาก

การรับฟังที่ดีไม่ใช่เพียงแค่หูได้ยินเสียง แต่หมายถึงการนั่งลงข้างๆ ลูก แล้วหันไปมองให้เห็นนัยน์ตาของเขา จากนั้นเปิดใจรับฟังให้ได้ยินเสียงหัวใจของลูกด้วย ซึ่งการรับฟังที่ดีประกอบไปด้วย

(1) ‘รับฟังด้วยใจที่เป็นกลาง’  

อย่าเพิ่งตัดสินเขา บางครั้งเราอาจจะรู้จักลูกระดับหนึ่ง ทำให้เราใช้ความคุ้นเคยนั้นมาตัดสินตัวเขาในวันนี้ 

(2) ‘รับฟังจนจบ’

รับฟังสิ่งที่ลูกกำลังจะเล่า และอย่าเพิ่งรีบสอนหรือตัดสินเขา เพราะถ้าเราทำเช่นนั้น ลูกจะหยุดเล่าทันที และครั้งต่อไปเราอาจจะไม่ได้มีโอกาสรับฟังเขาอีก

(3) ‘รับฟังเพื่อเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาที่แท้จริง’

แม้ว่าเราจะอยากจะไปสู่บทสรุปและลงมือแก้ปัญหาให้ลูกมากเพียงใด แต่บ่อยครั้งการแก้ปัญหาทันที อาจจะทำให้เราพลาดบางสิ่งที่สำคัญไป และบางครั้งปัญหาที่เรานึกว่าแก้ได้แล้ว อาจจะไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริงด้วยซ้ำ

บางครั้งลูกแค่ต้องการระบายความในใจและปรึกษาถึงแนวทางแก้ปัญหาของเขา ลูกมีวิธีในใจอยู่แล้ว และการที่พ่อแม่พยายามบอกวิธีแก้ปัญหาให้ ลูกอาจจะลำบากใจ หรือรู้สึกไม่ได้รับการรับฟังมากกว่า แต่ถ้าพ่อแม่คิดว่าวิธีของลูกดูไม่เหมาะสม เราสามารถให้ความเห็นโดยไม่ตัดสินลูกได้ ผ่านการตั้งคำถามและพูดในมุมของเราได้

เช่น “ถ้าลูกทำแบบนั้น ลูกคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง แล้วจะรับมืออย่างไร” และ “ถ้าเป็นพ่อแม่จะทำแบบไหน”

(4) ‘รับฟังสิ่งที่ซ่อนอยู่’

สิ่งที่ซ่อนอยู่ภายใต้คำพูดของลูกคือ ‘ความรู้สึก’ ที่เขาไม่สามารถบอกออกมาได้ แต่ถ้าหากเราใช้เวลาอยู่กับเขามากพอเราจะมองเห็นความรู้สึกเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ‘ความกลัว’ ‘ความเศร้า’ ‘ความกังวล’ ‘ความโกรธ’ และความรู้สึกที่เขาไม่สามารถอธิบายออกมาเป็นคำพูดได้ชัดเจน แต่เราสามารถรับรู้ได้หากเรารับฟังลูกจากใจจริง

(5) ‘รับฟังเพื่อรับฟัง’

พ่อแม่คือบุคคลแรกที่สามารถเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับลูกได้ผ่านการเป็นผู้ฟังที่ดี และเปิดรับลูกด้วยหัวใจ เมื่อลูกรับรู้ว่าตัวเองได้รับการรับฟัง เขารู้สึกเป็นที่รักและเป็นที่ต้องการ การเยียวยาจิตใจได้เกิดขึ้นแล้ว แม้ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไขทันทีก็ตาม 

เมื่อลูกมีพลังใจที่ดีจากพ่อแม่ เขาจะมีแรงไปเผชิญปัญหาต่อไป ขอให้เรารับฟังลูกในวันนั้น วันที่เขาต้องการเรามากที่สุด

หากวันนี้ที่ลูกเริ่มกลายเป็น ‘วัยรุ่น’ มีภาษาแปลกๆ มากมายที่สื่อสารมาถึงเรา ขอให้พ่อแม่อย่าลืมว่า ‘ไม่ว่าลูกจะสื่อสารกับเราแบบใด ภาษารักเรียบง่ายและเข้าใจง่ายเสมอ’ การพูดสื่อสารตรงไปตรงมาที่ง่ายที่สุด

  • เมื่อรู้สึกอย่างไรก็สื่อไปเช่นนั้น ‘บอกรัก’ ‘ขอบคุณ’ ‘ขอโทษ’ ‘คิดถึง’ และ ‘ไม่เป็นไร’ 
  • เมื่อสงสัยอะไรให้เราถามออกไป “เป็นอะไรหรือเปล่า” “อยากให้ช่วยอะไรไหม” 
  • เมื่อโกรธและไม่พอใจ เราสามารถบอกได้เช่นกัน “รู้สึกโกรธที่ลูกทำแบบนี้” “เสียใจนะ” จากนั้นให้บอกลูกด้วยว่าต้องการอะไรจากเขา ‘อยากให้ลูกเข้าใจและปรับยังไง’
  • เมื่อต้องการสอนอะไร งดการบ่น ประชัดประชัน และสอนตรงไปตรงมา “ลูกควรทำแบบนี้” สั้นๆ กระชับ และถ้าลูกทำไม่ได้ให้เราสอนเขาด้วย

สุดท้าย หากไม่พร้อมรับฟังกันและกัน หรือพูดดีๆ ต่อกัน ให้ ‘ขอเวลานอก’ เพื่อสงบอารมณ์และทบทวนตัวเอง ก่อนจะกลับมาสื่อสารกันใหม่

ในวันที่ลูกยังพูดคุยกับเรา เล่าเรื่องราวมากมาย จนเราแทบจะทนฟังไม่ไหวอีกต่อไปแล้ว ขอให้เราดีใจ เพราะลูกรักและนึกถึงเราเสมอ และในวันที่ลูกมีปัญหา แล้วเขามาเล่าให้เราฟังเป็นคนแรก ขอให้เราภูมิใจ เพราะสำหรับลูก เราเป็นพื้นที่ปลอดภัยของเขา

การสื่อสารที่ส่งความรักไปถึงลูกที่ง่ายที่สุดคือ ‘กอดแน่น บอกรัก และรับฟัง’

Tags:

Alpha Genaerationการสื่อสารด้วยหัวใจพ่อแม่ครอบครัวลูกการสื่อสารพลังบวกในครอบครัว

Author:

illustrator

เมริษา ยอดมณฑป

นักจิตวิทยาเจ้าของเพจ ‘ตามใจนักจิตวิทยา’ เพจที่อยากให้ทุกคนเข้าถึง ‘นักจิตวิทยา’ ได้มากขึ้นในฐานะเพื่อนแปลกหน้าผู้เคียงข้าง ปัจจุบันเป็นนักจิตวิทยาที่ห้องเรียนครอบครัว เป็น "ครูเม" ของเด็กๆ และคุณพ่อคุณแม่ ความฝันต่อไปคือการเป็นนักเล่นบำบัด วิทยากร นักเขียน และการเปิดร้านหนังสือเล็กๆ เป็นของตัวเอง

Illustrator:

illustrator

ninaiscat

ทิพยา ทิพย์พันธ์ (ninaiscat) เป็นนักวาดภาพประกอบและนักออกแบบกราฟิกอิสระ ชอบแมว (เป็นชีวิตจิตใจ) ชอบทำกับข้าว กินกาแฟทุกวันและมีความฝันว่าอยากมีบ้านสักหลังที่เชียงใหม่

Related Posts

  • Movie
    After the storm: เผชิญหน้าเพื่อลาจาก

    เรื่อง พิมพ์พาพ์ ภาพ พิมพ์พาพ์

  • Dear ParentsBook
    โปรดโอบกอดมนุษย์ลูก: โลกร้ายกาจอาจไม่ทำลายคน ความเดียวดายต่างหาก

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Dear ParentsMovie
    We’re here: แดร็กควีนที่ไม่ใช่แค่ความสนุก แต่เพื่อความรู้สึกมีอำนาจ

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Dear ParentsBook
    Toxic Parents: ยังไม่ต้องให้อภัยพ่อแม่ก็ได้ เผชิญหน้ากับความรู้สึกตัวเองก่อน

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Dear ParentsMovie
    Ted Lasso: โค้ชทีมฟุตบอลก็เหมือนการเลี้ยงลูก ในวันแข่งจริง เราแค่ภาวนาให้เค้าทำอย่างที่เราสอนไป

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

Lilo & Stitch: ‘โอฮาน่า’ ไม่ใช่แค่ครอบครัว แต่หมายถึงใครสักคนที่เห็นคุณค่าและยอมรับตัวตนในแบบที่เราเป็น
Movie
13 June 2025

Lilo & Stitch: ‘โอฮาน่า’ ไม่ใช่แค่ครอบครัว แต่หมายถึงใครสักคนที่เห็นคุณค่าและยอมรับตัวตนในแบบที่เราเป็น

เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • ลีโล & สติทช์ เป็นภาพยนตร์ไลฟ์แอ็กชันจากดิสนีย์ที่สร้างจากแอนิเมชันชื่อเดียวกัน บอกเล่าเรื่องราวอันอบอุ่นหัวใจบนเกาะฮาวายของเด็กหญิงขี้เหงาและเอเลี่ยนสีฟ้า
  • หนึ่งในสารสำคัญคือการสื่อว่า ‘โอฮาน่า’ หรือ ‘ครอบครัว’ ไม่ได้จำกัดแค่คนที่มีสายเลือดเดียวกันเท่านั้น แต่ยังขยายขอบเขตไปถึงผู้คนที่มอบความรักและเห็นคุณค่าในตัวเราอย่างแท้จริง
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย ดีน เฟลชเชอร์ แคมป์ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ เบื้องหลังภาพยนตร์แอนิเมชัน Marcel the Shell with Shoes On

“โอฮาน่า แปลว่าครอบครัว 

ครอบครัวแปลว่า เราจะไม่ทอดทิ้งใครเด็ดขาด”

ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา หลายคนคงเห็นข้อความนี้จากภาพยนตร์ไลฟ์แอ็กชันเรื่องล่าสุดของดิสนีย์ Lilo & Stitch ในสื่อสังคมออนไลน์หลากหลายช่องทาง นั่นเป็นเพราะประโยคดังกล่าวพูดถึงนิยามของครอบครัวได้อย่างกินใจ

Lilo & Stitch บอกเล่าเรื่องราวอันอบอุ่นหัวใจบนเกาะฮาวายของ ‘ลีโล’ เด็กหญิงกำพร้าวัย 6 ขวบ และ ‘สติทช์’ เอเลี่ยนสีฟ้าที่ถูกสร้างมาเพื่อทำลายล้าง แต่กลับได้เรียนรู้ความหมายของความรักและการอยู่ร่วมกันในฐานะ ‘โอฮาน่า’ หรือครอบครัว จากการได้มาอยู่กับลีโล และพี่สาวของเธอ

© Disney | Lilo & Stitch | Image from disney.co.th

[บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาภาพยนตร์]

เดิมที สติทช์ หรือ สิ่งมีชีวิตทดลองหมายเลข 626  ถูกนักวิทยาศาสตร์ต่างดาวสร้างขึ้นเพื่อเป็นอาวุธชีวภาพอันทรงพลัง แต่เมื่อสหพันธ์กาแล็คติกรู้เข้า จึงเข้ามายับยั้งแผนร้ายและจับตัวสติทช์ไว้เพื่อความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ด้วยสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดเหนือซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สติทช์สามารถขโมยยานตำรวจและหลบหนีมายังโลกมนุษย์ จนเกิดเป็นจุดเริ่มต้นของความวุ่นวายที่อบอวลไปด้วยความสนุกสนานและอบอุ่นตามสไตล์ถนัดของดิสนีย์

สิ่งที่ผมสนใจเป็นพิเศษ คือพัฒนาการทางจิตใจของสติทช์ สิ่งมีชีวิตที่เกิดมาเพื่อทำลายล้าง แต่กลับค่อยๆ เปลี่ยนแปลงหัวใจที่แข็งกร้าวของตัวเองให้อ่อนโยน เพราะได้รับความรักความห่วงใยจากลีโล ซึ่งเป็นประเด็นที่ช่วยให้ผมตระหนักว่า ความรักและสายใยความผูกพันในครอบครัวนั้นมีพลังในการเยียวยาและเปลี่ยนแปลงแม้กระทั่งสิ่งที่แข็งกระด้างที่สุด

ในช่วงแรก สติทช์ได้แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวชอบทำลายล้างตามสัญชาตญาณของมัน ไม่ว่าจะเป็นการก่อกวนหรือสร้างเรื่องวุ่นวายเสมอ กระทั่งครั้งหนึ่ง ความซุกซนของสติทช์ทำให้พี่สาวของลีโลถูกไล่ออกจากงาน จนเธอถึงกับยื่นคำขาดให้ลีโลนำสติทช์ไปส่งคืนที่ศูนย์กักกันสัตว์เพื่อความปลอดภัยและหยุดปัญหาทั้งหมด แน่นอนว่าสติทช์เองก็รู้สึกผิดอย่างมาก และหนีไปที่ศูนย์กักกันสัตว์ด้วยตัวเอง

เมื่อลีโลมาตามหา สติทช์กลับประหลาดใจที่ได้รับอ้อมกอดและคำปลอบใจ แทนการดุด่าอย่างที่มันเคยชินจากคนอื่นๆ

 “มันเป็นอุบัติเหตุน่ะ ใครๆ ก็เคยพลาด แกไม่ได้ไม่ดี บางครั้งแกแค่ทำเรื่องแย่ๆ ไปบ้าง โอฮาน่าแปลว่าครอบครัว และบางทีครอบครัวก็ไม่ได้เพอร์เฟ็กต์…แต่ก็ไม่ได้แปลว่ามันไม่ดีนะ”

สำหรับผม คำพูดนี้ถือเป็นหัวใจของภาพยนตร์ที่บอกกับเราว่า ครอบครัวไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ แต่คือพื้นที่ปลอดภัยที่พร้อมโอบกอดเราด้วยความรัก ความเข้าใจ และไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง 

นอกจากการให้กำลังใจ ลีโลยังแสดงให้สติทช์เห็นว่าเธอยอมรับมันในฐานะสมาชิกในครอบครัวคนหนึ่ง ซึ่งสิ่งนี้เองเป็นกุญแจสำคัญที่ปลดล็อกให้สติทช์รู้สึกถึงคุณค่าในตัวเอง พร้อมกับเรียนรู้ว่ามันก็สามารถเป็นที่รัก และรักคนอื่นได้เช่นกัน 

© Disney | Lilo & Stitch | Image from disney.co.th

มากไปกว่านั้น ผมยังเห็นถึงพัฒนาการทางความรู้สึกของสติทช์อย่างชัดเจนในฉากจมน้ำ 2 ฉาก ซึ่งเหมือนเป็นความจงใจที่จะใช้สถานการณ์ความเป็นความตายมาวัดใจ วัดระดับความรักความผูกพันของทั้งสติทช์และลีโล 

การจมน้ำครั้งแรกเกิดขึ้นตอนที่สติทช์ถูกเอเลี่ยนไล่ล่าระหว่างเล่นเซิร์ฟบอร์ดกับลีโล เมื่อทั้งคู่ตกลงไปในน้ำ ลีโลสามารถลอยตัวขึ้นมาได้ แต่สติทช์กลับตะเกียกตะกายด้วยความตื่นตระหนกจนดึงลีโลจมลงไปด้วยกัน 

ทว่าหลังจากที่ทั้งคู่มีความผูกพันกันมากขึ้น ในฉากจมน้ำท้ายเรื่อง ผมได้เห็นสติทช์เลือกที่จะ ‘เสียสละตัวเอง’ ยอมจมน้ำเพื่อให้ลีโลรอดชีวิต ซึ่งถือเป็นพัฒนาการสำคัญจากสิ่งมีชีวิตที่เห็นแก่ตัวสู่การเป็นเพื่อนแท้ หรือครอบครัวที่พร้อมปกป้องคนที่รักด้วยชีวิต

“นี่คือครอบครัวของผม ผมได้เจอครอบครัวด้วยตัวผมเอง ถึงจะเล็กและแตกแยก แต่ก็ยังดีอยู่ ใช่…ยังดีอยู่” 

สติทช์กล่าวกับประธานสหพันธ์กาแล็คติก และทำให้ผมฉุกคิดว่าครอบครัวไม่จำเป็นต้องมีสายเลือดเดียวกัน แต่ยังขยายขอบเขตไปถึงผู้คนที่ให้ความรักและเห็นคุณค่าในตัวเราได้เช่นกัน เหมือนลีโลกับสติทช์ที่ทำให้เห็นว่าบางครั้งเพื่อนคือครอบครัวที่เราเลือก และครอบครัวจะอยู่เคียงข้างกันเสมอ

© Disney | Lilo & Stitch | Image from disney.co.th

ในขณะเดียวกัน ลีโลเองก็เติบโตขึ้น เธอได้เรียนรู้ว่าความรักในครอบครัวไม่ได้หมายถึงการอยู่ด้วยกันตลอดเวลา แต่คือการสนับสนุนให้คนที่เรารักได้เดินไปตามความฝันของตัวเอง เธอจึงเลือกที่จะอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์เพื่อให้พี่สาวได้ไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยตามที่หวังไว้ เพราะเธอรู้ดีว่าตลอดมาพี่สาวได้เสียสละความสุขของตัวเองเพื่อเธอเสมอ

ดังนั้นสำหรับผม ‘โอฮาน่า’ ไม่ใช่แค่คำพูดสวยหรูในภาพยนตร์ แต่คือภาพสะท้อนว่า แม้โลกใบนี้จะไม่สมบูรณ์แบบ 

หากเรามีครอบครัว หรือคนที่โอบกอดเราด้วยความรัก ยอมรับความไม่สมบูรณ์แบบของกันและกัน อยู่ข้างกันในวันที่ผิดพลาด และคอยประคับประคองกันในวันที่ล้ม ท้ายสุด…สายสัมพันธ์เหล่านี้จะช่วยเยียวยาและเติมเต็มหัวใจที่บอบช้ำ 

และเมื่อความสัมพันธ์เหล่านี้ได้รับการทะนุถนอม มันก็จะหล่อเลี้ยงให้เราก้าวผ่านเรื่องยากๆ ได้อย่างแข็งแรงขึ้น และกลายเป็นพลังให้เราเติบโตทั้งในด้านจิตใจและจิตวิญญาณได้อย่างดงาม

Tags:

Lilo&Stitchลีโล & สติทช์Disneyภาพยนตร์ครอบครัว

Author:

illustrator

อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

เจ้าของเพจ The Last Bogie ผู้ตัดสินใจขึ้นรถไฟขบวนสุดท้าย โดยมีปลายทางอยู่ที่สถานี 'ยูโทเปีย'

Related Posts

  • Movie
    The Edge of Seventeen: เราต่างต้องการเป็นที่รักและมีค่าเสมอสำหรับใครบางคน

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Movie
    Ghostlight: การสูญเสียจะตามหลอกหลอนจนกว่าจะถึงเวลาเผชิญหน้ากับมัน

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Movie
    The Holdovers: ในวันที่ไม่มีใครเหลียวแล ขอแค่ใครสักคนที่มอบไออุ่นและเยียวยาหัวใจกัน

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Movie
    All The Bright Places: พ่อไม่รู้หรอกว่าผลลัพธ์ของการใช้กำลังวันนั้นมันแย่แค่ไหน 

    เรื่อง อัฒภาค ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Matilda The Musical: เมื่อโลกไม่เข้าข้าง เราต้องยืนหยัดเพื่อตัวเอง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

ขับเคลื่อนการศึกษาคุณภาพ ปั้นสมรรถนะ ‘เด็กตงห่อ’ สานต่ออนาคตของภูเก็ต
Transformative learningSocial Issues
10 June 2025

ขับเคลื่อนการศึกษาคุณภาพ ปั้นสมรรถนะ ‘เด็กตงห่อ’ สานต่ออนาคตของภูเก็ต

เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง

  • ‘เด็กตงห่อ’ (忠厚) คุณลักษณะของเยาวชนที่คนภูเก็ตภูมิใจ ซึ่งในภาษาจีนหมายถึง ‘คนดีรอบด้าน’ ที่ครอบคลุมทั้งในมิติของความดี ความเก่ง และความสุข โดยมีบริบทของวิถีชีวิต วัฒนธรรม และความหลากหลายทางอัตลักษณ์เป็นจุดตั้งต้นของการเรียนรู้
  • ภาพรวมของคำนิยาม ‘เด็กตงห่อ’ คือต้องการให้เด็กๆ มีทักษะที่จำเป็นต่อโลกยุคใหม่ เป็นทั้งคนดีรอบด้าน เป็นพลเมืองและพลโลกที่มีสมรรถนะ สามารถสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและธรรมชาติได้ 
  • ในการพัฒนา ‘เด็กตงห่อ’ ให้มีทั้งความรู้ ทักษะ และคุณธรรมที่เหมาะสมกับโลกยุคใหม่ การดำเนินงานไม่เพียงแต่เน้นการจัดการเรียนรู้ภายในโรงเรียน แต่ยังครอบคลุมถึงการสร้างพื้นที่ที่เปิดกว้างสำหรับภาคีเครือข่ายทุกฝ่าย เพื่อหนุนเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ชีวิตจริงภายใต้บริบทพื้นที่

“จุดเริ่มต้นคือ อยากให้เด็กทุกคนในพื้นที่ได้รับการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ”

อาจารย์แบงค์-สิทธิชัย อินทรมณเฑียร มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต กล่าวในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดประสบการณ์โครงการ TSQM-A จังหวัดศรีสะเกษและภูเก็ต เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2568 สะท้อนหลักคิดสำคัญของโครงการขับเคลื่อนโรงเรียนพัฒนาตนเองเชิงพื้นที่ TSQM-A (Transformative Self-Quality Management for Area-based Education) 

สำหรับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ภูเก็ต เริ่มจากการระดมความคิดร่วมกันของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อหาคำตอบว่าเด็กแบบไหนที่ภูเก็ตต้องการ และการศึกษาแบบใดที่จะเหมาะสมกับภูเก็ตในปัจจุบันและอนาคต

กระบวนการนี้นำไปสู่การออกแบบแนวทางการพัฒนาเยาวชนที่เชื่อมโยงกับรากเหง้าทางวัฒนธรรมและค่านิยมดั้งเดิมของพื้นที่ กำหนดออกมาเป็นคุณลักษณะของเยาวชนที่คนภูเก็ตภูมิใจ นั่นคือ ‘เด็กตงห่อ’ (忠厚) ซึ่งในภาษาจีนหมายถึง ‘คนดีรอบด้าน’ ที่ครอบคลุมทั้งในมิติของความดี ความเก่ง และความสุข โดยมีบริบทของวิถีชีวิต วัฒนธรรม และความหลากหลายทางอัตลักษณ์เป็นจุดตั้งต้นของการเรียนรู้

ความคาดหวังนี้เป็นแกนกลางที่เชื่อมโยงกระบวนการออกแบบหลักสูตร พัฒนาสมรรถนะ และสร้างการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อชีวิต สะท้อนถึงความพยายามของภูเก็ตในการปรับการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมทั้งเผชิญกับความท้าทายที่มาจากความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและปัญหาการโยกย้ายบุคลากร เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา และสร้างคนที่สามารถรับมือกับโลกยุคใหม่ได้อย่างมั่นคง

อาจารย์แบงค์-สิทธิชัย อินทรมณเฑียร มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

‘เด็กตงห่อ’ ความคาดหวังและอนาคตของภูเก็ต

เนื่องจากภูเก็ตเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ทั้งในภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ภายใต้โครงการ TSQM-A จังหวัดจึงให้ความสำคัญกับการรักษาอัตลักษณ์ดั้งเดิมควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพเยาวชนเพื่อตอบโจทย์พื้นที่ โดยเลือกหยิบยกคาแรกเตอร์ ‘เด็กตงห่อ’ มาใช้ในการกำหนดทิศทางการออกแบบการเรียนรู้และขับเคลื่อนการศึกษาของจังหวัด

คำว่า ‘ตงห่อ’ มาจากภาษาจีน หมายถึง ‘คนดีรอบด้าน’ โดยคุณลักษณะของเด็กตงห่อสัมพันธ์กับคุณค่าหลักที่คนเชื้อสายจีนในภูเก็ตยึดถือมาตั้งแต่อดีต นั่นคือความกตัญญู รับผิดชอบ และซื่อสัตย์ ซึ่งเด็กตงห่อที่ถูกปัดฝุ่นมาเป็นภาพฝันของคนภูเก็ต คือเด็กที่เติบโตขึ้นมาเป็นคนดีรอบด้าน และยังสามารถรักษาอัตลักษณ์ดั้งเดิมไว้ได้แม้อยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง

“ด้วยสภาพสิ่งแวดล้อมและสังคมรอบตัวที่เปลี่ยนแปลงไป เป้าหมายของจังหวัดเราจึงอยู่ที่การทำอย่างไรให้เด็กๆ สามารถปรับตัวและอยู่รอดได้ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้

โดยภาพรวมของคำนิยาม ‘เด็กตงห่อ’ คือเราต้องการให้เด็กๆ มีทักษะที่จำเป็นต่อโลกยุคใหม่ เป็นทั้งคนดีรอบด้าน เป็นพลเมืองและพลโลกที่มีสมรรถนะ สามารถสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและธรรมชาติได้ ทำอย่างไรให้เด็กไม่หลงลืมอันตรายรอบตัว

และเราก็มีความเชื่อว่าหากภูเก็ตเติบโตงอกงามขึ้นในอนาคต และมีการลงทุนจากต่างชาติ เด็กๆ เหล่านี้ก็จะสามารถอยู่ได้ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง แต่ยังคงไม่ลืมรากเหง้าและวิถีชีวิตเดิม ที่สำคัญคือ ไม่หลงลืมพื้นที่หรือถิ่นกำเนิดของตนเอง

ดังนั้น ในฐานะของคุณครูหรือผู้นำการศึกษาของจังหวัด เราจึงต้องกำหนดทิศทางอย่างชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่การสร้าง ‘กรอบสมรรถนะ’ สำหรับเด็กภูเก็ต ซึ่งเป็นแนวทางในระดับสากล (worldwide) และเป็นสมรรถนะที่เชื่อมั่นได้ว่า หากเด็กๆ คนหนึ่งสามารถสร้างและพัฒนาจิตใจตนเองได้ พวกเขาก็จะสามารถอยู่รอดได้ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และจังหวัดภูเก็ตเราเลยพยายามที่จะเอาคาแรกเตอร์เหล่านั้นมาใส่ให้เด็ก เพื่อให้เด็กสร้างสมรรถนะขึ้นมาครับ” อาจารย์แบงค์อธิบาย

กำหนดตัวชี้วัด ติดตั้งสมรรถนะ พัฒนาเด็กภูเก็ตเต็มศักยภาพ

จากโจทย์การสร้าง ‘เด็กตงห่อ’ จังหวัดภูเก็ตได้ระดมความคิดจากหลายภาคส่วน ทั้งบุคลากรทางการศึกษา ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ในการกำหนดตัวชี้วัดสมรรถนะอย่างชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางให้ครูสามารถนำไปใช้ขยายความ ออกแบบ และกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน เพื่อพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการของพื้นที่

“โจทย์แรกมาจากภาคเอกชน ที่ตั้งคำถามว่า เอกชนต้องการเด็กลักษณะแบบไหนบ้าง ซึ่งเราก็ได้นำความต้องการเหล่านี้มาผ่านกระบวนการ เพื่อให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้นจากความต้องการของคนในจังหวัด เพราะเรามีความเชื่อว่า หากเด็กๆ ได้รับการติดตั้งสมรรถนะเหล่านี้ พวกเขาจะสามารถอยู่รอดและประสบความสำเร็จได้”

โดยสมรรถนะในการเป็นเด็กตงห่อ มี 7 ประการ ได้แก่ สมรรถนะการคิดและการเรียนรู้, สมรรถนะทางวัฒนธรรม มีปฏิสัมพันธ์และการแสดงตัวตน, สมรรถนะการจัดการตนเองและดูแลผู้อื่น, ทักษะการสื่อสารรอบด้าน, สมรรถนะดิจิทัล, สมรรถนะการมีส่วนร่วม การมีบทบาทผลักดัน และการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน,ทักษะชีวิตการทำงานและทักษะผู้ประกอบการ

จากนั้นจึงลงลึกให้กลายเป็นบุคลิกที่สำคัญ 12 เรื่องของ ‘เด็กตงห่อ’ ที่ทุกคนอยากให้เด็กมี ได้แก่

  1. Active Citizen + Self Directed การรู้ตัวว่าต้องทำอะไร รับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น สังคม และสิ่งแวดล้อม
  2. Teamwork การทำงานเป็นทีมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
  3. เข้าใจรากเหง้าของจังหวัดภูเก็ต (สังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญา) มีความกตัญญู สามารถสื่อสารได้อย่างภาคภูมิใจและสืบทอดให้คงอยู่ต่อไปได้อย่างยั่งยืน
  4. Multiliteracy ความสามารถในการใช้ภาษาในการสื่อสาร และทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้ โดยสามารถเลือกใช้วิธีการสื่อสารได้เหมาะสม ผู้รับสาร (เช่น ภาษา วิธีการ แพลตฟอร์ม)
  5. ความสามารถในการปรับตัว ให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่หลากหลาย พร้อมกับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทาย
  6. Empathy เข้าใจมุมมอง หรือความรู้สึกผู้อื่น เอาใจใส่เพื่อช่วยเหลือหรือมีส่วนร่วม
  7. การเคารพ ยอมรับในความแตกต่าง และรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างของผู้อื่น
  8. Self Esteem มีความเชื่อมั่นในตัวเอง เห็นคุณค่าของตัวเอง มีความกล้าในการคิดและแสดงออกได้อย่างเหมาะสม (กล้าคิด กล้าทำ)
  9. Higher Order Thinking สมรรถนะการคิดขั้นสูง การคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา และคิดสร้างสรรค์
  10. Digital Literacy มีทักษะการเป็นผู้นำและการสามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่สำคัญเชิงประจักษ์ในการวางแผน
  11. Learning How to Learn ทักษะการเรียนรู้ที่จะเรียนรู้ สามารถประเมินตัวเองได้ว่าอะไรไม่รู้ และรู้ว่าจะไปหาความรู้ได้อย่างไร
  12. Self-heart Honest มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น

โดยกลไกหรือกระบวนการทำงานของภูเก็ต พยายามที่จะฝังระบบและกลไกเหล่านี้เข้าไปในการพัฒนาเด็ก หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเน้นผู้เรียนควบคู่ไปกับการพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

“เราจึงเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ฐานทุน ซึ่งจุดเด่นของภูเก็ตคือทรัพยากรที่มีความอุดมสมบูรณ์ หน่วยงานสนับสนุนที่เข้มแข็ง และทีมงาน core team ด้านวิชาการที่มีความแข็งแกร่ง ดังนั้น เราจึงพยายามนำแผนของทุกหน่วยงานต้นสังกัดมาคลี่ออกและบูรณาการเข้าด้วยกัน โดยมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่ตัวเด็ก หรือการพัฒนาตัวเด็กเป็นเป้าหมายหลัก ส่วนการพัฒนาพื้นที่จะตามมาเอง” อาจารย์แบงค์ เล่า

กลไกขับเคลื่อน บูรณาการความร่วมมือ สู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

เพื่อพัฒนาเด็กในจังหวัดภูเก็ตให้เป็นคนดีรอบด้าน ภูเก็ตได้พัฒนากลไกและนวัตกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนกระบวนการทำงานของภาคการศึกษา โดยการขับเคลื่อนนี้ได้รับการสนับสนุนจาก คณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดภูเก็ต โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ

“เรามีโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น TSQP, TSQM หรือแม้กระทั่ง Core team ที่เกิดขึ้น รวมถึง บพท. (หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่) เอง ต่างก็ถือเป็นกลไกสำคัญที่ใช้กรอบวิจัยในการขับเคลื่อนหรือพัฒนาพื้นที่ 

ภูเก็ตมี ‘Phuket Education Sandbox’ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่พยายามขับเคลื่อนไปข้างหน้า ซึ่งโครงการและหน่วยงานต้นสังกัดต่างๆ ที่เราเชื่อมโยงกันนี้ ล้วนมุ่งเป้าหมายเดียวกัน นั่นก็คือ ‘เด็ก’ 

และนอกจากนี้ยังมี โครงการครูรักษ์ถิ่น ซึ่งเป็นทรัพยากรคนหรือครูในพื้นที่ที่ถูกนำมาเชื่อมโยงกัน ถือเป็นทุนเดิมของจังหวัดภูเก็ตที่เราพยายามขับเคลื่อนให้เกิดความเข้มแข็ง และต่อเนื่องไปยังการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมครับ”

การดำเนินงานเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในพื้นที่ภูเก็ต ถูกออกแบบและขับเคลื่อนในหลายระดับ โดยเฉพาะในระดับ Meso ซึ่งเป็นระดับที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการมีส่วนร่วม เครื่องมือหลักที่ใช้ในการขับเคลื่อนคือ Developmental Evaluation (DE)

“เรามีการทบทวนแผน การวางแผน หรือการเชื่อมโยงวงของการปฏิบัติ กระบวนการนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้คนในพื้นที่ เกิดเครือข่ายต่างๆ และความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งเวทีการสะท้อนความคิดเห็นและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดโจทย์หรือเจ้าของโจทย์ร่วมกันในการพัฒนาเด็ก หรือจังหวัดในด้านการศึกษา และที่สำคัญที่สุดคือ การเกิดขึ้นของ Core Team ซึ่งทำหน้าที่หลักในการขับเคลื่อนกระบวนการทั้งหมด นี่คือบรรยากาศหรือองค์ประกอบที่เกิดขึ้นในวง DE ทั้งในระดับจังหวัดและโรงเรียน

อีกประเด็นหนึ่งคือ Education Forum ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยดึงการมีส่วนร่วมจากทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ และผู้ปกครองที่เข้ามาร่วมดูแลบุตรหลานหรือเข้ามาช่วยเหลือและสนับสนุน ซึ่งการมีส่วนร่วมนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ เป็นการบูรณาการกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

นอกจากนี้ยังมี Online PLC Coaching ซึ่งเป็นการพัฒนาผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมแบบออนไลน์ ทำให้เราได้เห็นมุมมองว่าพื้นที่ของเรามีความสามารถและทำอะไรได้ดีในมิติที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เป็นการถอดบทเรียนร่วมกัน ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ ดังนั้นเราจะเห็นว่าในวงรอบนี้ กิจกรรมที่ดึงการมีส่วนร่วมของคนเกิดขึ้นได้เพราะเราอาศัยทั้งเครื่องมือสนับสนุน กิจกรรมจากโครงการต่างๆ รวมถึงการทำงานของ Core Team หรือบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ ทำให้เกิดกลไกการทำงานร่วมกันที่ขยับไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง”

ในขณะที่ ระดับ Micro ได้มีการดำเนินงานโดยเริ่มต้นจากการใช้ TSQP ที่มุ่งเข้าไปทำงานภายในโรงเรียน พร้อมทั้งพยายามลดช่องว่างระหว่างโรงเรียนกับพื้นที่โดยรอบ กระบวนการในระดับนี้มุ่งเน้นการใช้เครื่องมือและแนวคิดที่ชัดเจนเพื่อพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ ตามหลักการ Whole School Approach ซึ่งครอบคลุมทั้งการพัฒนาโครงสร้างและกระบวนการเรียนรู้ รวมไปถึงการพัฒนาผู้เรียนให้เห็นคุณค่าในชีวิตจริง โรงเรียนในพื้นที่จึงไม่เพียงแค่เป็นสถานที่เรียนรู้ตามหลักสูตร แต่ยังเชื่อมโยงกับชุมชน ภาคีเครือข่าย และผู้ปกครอง

เครื่องมือหลักที่นำมาใช้ในระดับนี้ ได้แก่ Online PLC และ PLC-LS ซึ่งมุ่งเน้นการออกแบบบทเรียนที่ตอบโจทย์ชีวิตจริงของผู้เรียน เปลี่ยนบทเรียนแบบเดิมให้กลายเป็น ‘ห้องเรียนมีชีวิต’ ตัวอย่างเช่น VASK-PBL ที่นำธีมของชุมชนเข้ามาออกแบบโจทย์การเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนได้เห็นคุณค่าในตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบตัว พร้อมทั้งพัฒนาทักษะและสมรรถนะชีวิตที่จำเป็นสำหรับอนาคต นอกจากนี้ ยังมีการใช้ระบบ Q-Info เป็นกลไกสำคัญในการดูแลและช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ได้แก่ Q-Goal, Q-PLC, Q-Info, Q-Classroom, และ Q-Network ซึ่งทำงานร่วมกันเพื่อสนับสนุนการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

ถอดบทเรียนที่ผ่านมา เดินหน้าต่อสู่การวัดประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ

การพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ในจังหวัดภูเก็ตมุ่งเน้นไปที่การสร้างผลลัพธ์ที่สำคัญที่สุดคือการพัฒนา ‘เด็กตงห่อ’ ให้มีทั้งความรู้ ทักษะ และคุณธรรมที่เหมาะสมกับโลกยุคใหม่ การดำเนินงานไม่เพียงแต่เน้นการจัดการเรียนรู้ภายในโรงเรียน แต่ยังครอบคลุมถึงการสร้างพื้นที่ที่เปิดกว้างสำหรับภาคีเครือข่ายทุกฝ่าย เพื่อหนุนเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ชีวิตจริงภายใต้บริบทพื้นที่

“สิ่งที่เรากำลังพยายามขับเคลื่อน และจะเดินหน้าต่อไปนั้น เกิดขึ้นจากการถอดบทเรียนและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสร้างการมีส่วนร่วม การร่วมกันออกแบบบทเรียน ที่ส่งผลให้เกิดการแบ่งปันทรัพยากรในพื้นที่ หรือแม้กระทั่งการเปิดพื้นที่ให้เด็กได้มีพื้นที่ในการแสดงออกและเรียนรู้อย่างแท้จริง รวมถึงการเรียนรู้ในลักษณะของวงจรปฏิบัติที่เกิดขึ้นผ่านเวทีการสะท้อนบทเรียนร่วมกันในพื้นที่

สิ่งสำคัญก็คือ เราเชื่อมั่นเหลือเกินว่ากระบวนการทั้งหมดที่เราใส่เข้าไปนั้น เด็กได้เปลี่ยนไปแล้ว แต่สิ่งที่เรากำลังทำต่อ และอยู่ในกระบวนการก็คือ การวัดและประเมินผลลัพธ์ของผู้เรียนในตอนนี้ จังหวัดของเราได้เริ่มออกแบบเครื่องมือวัดและประเมินสมรรถนะของเด็กตงห่อ โดยตอนนี้อยู่ในขั้นตอนของการออกแบบต้นแบบ และต่อไปคุณครูหรือโรงเรียนจะได้สามารถนำไปปรับใช้และออกแบบให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละโรงเรียนครับ” อาจารย์แบงค์ กล่าวถึงก้าวต่อไปของโครงการ

Tags:

โรงเรียนพัฒนาตนเองเชิงพื้นที่ (TSQM-A)การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กตงห่อคนดีรอบด้านสมรรถนะ

Author:

illustrator

กนกพิชญ์ อุ่นคง

A girl who aspires to live like a yacht floating on the ocean, a dandelion fluttering over the heather, a champagne bursting in party.

Related Posts

  • Adolescent BrainSocial Issues
    The Anxious Generation EP 1: เลี้ยงลูกด้วย ‘หน้าจอ’ สัญญาณร้ายสู่คนรุ่นใหม่วัยวิตก

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ พิมพ์พาพ์

  • Creative learning
    ห้องเรียนฐานชุมชน (Social Lab) เมื่อครูไม่ได้เป็นผู้ให้คำตอบ แต่เปิดพื้นที่ ให้นักเรียนสร้างคำตอบเอง: ครูภัทร – ภัทฑริก เอียดเกลี้ยง

    เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง ภาพ ปริสุทธิ์

  • Dek-Hoo-Jak-Kuam_nologo
    Transformative learningSocial Issues
    ‘เด็กฮู้จักควม’ คิดเป็น ทำเป็น เห็นคุณค่าในตัวเอง เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเชิงพื้นที่ จังหวัดศรีสะเกษ    

    เรื่อง นฤมล ทับปาน

  • Competency cover
    Social Issues
    เรียนรู้อย่างมีความหมาย-ไร้รอยต่อ สร้างสมรรถนะเด็กไทยพร้อมรับความท้าทายแห่งอนาคต

    เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ปริสุทธิ์

  • Social Issue
    ‘4 เรื่องต้องลงทุน’ กับ ‘7 นโยบาย’ สร้างสมรรถนะคนไทยให้เรียนรู้อย่างไร้รอยต่อ: ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์

    เรื่อง The Potential ภาพ ปริสุทธิ์

ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP2: พัฒนาทักษะเชิงลักษณะนิสัย
Transformative learning
9 June 2025

ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP2: พัฒนาทักษะเชิงลักษณะนิสัย

เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • บันทึกชุด ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ นี้ ได้แรงบันดาลใจจากหนังสือ Hidden Potential : The Science Of Achieving Greater Things นำสู่การตีความหนังสือออกเป็นบันทึกชุดนี้ แต่เป็นการตีความที่ต่างจากบันทึกชุดก่อนๆ คือ ผมได้เสริมข้อคิดเห็นของตนเอง จากความรู้เดิมที่มีและจากความรู้ที่ขอให้ปัญญาประดิษฐ์หลายสำนักช่วยค้นและให้ข้อสรุปด้วย โดยที่อาจมีหลากหลายส่วนที่ไม่มีในหนังสือ หรือแตกต่างจากในหนังสือ

ตอนที่ 2 เสนอหลักการและแนวทางพัฒนาปัจจัยสำคัญที่สุดที่เป็นพลังซ่อนเร้นสู่ความสำเร็จในชีวิตของมนุษย์ คือ ทักษะเชิงลักษณะนิสัย (Character Skills) ที่ต้องแยกแยะออกจากเรื่องบุคลิกประจำตัว (Personality) ที่เป็นลักษณะภายใน ส่วนทักษะเชิงลักษณะนิสัย เป็นทักษะหรือการแสดงออกทางพฤติกรรม ที่ผมตีความว่าเป็นเรื่องเชื่อมโยงกับค่านิยม (Values) และค่านิยมศึกษา (Values-Based Education – VbE) มีส่วนหนุนการพัฒนาทักษะเชิงลักษณะนิสัยนี้    

หนังสือ Hidden Potential บอกว่า บุคลิกประจำตัว (Personality) แสดงออกในชีวิตประจำวันทั่วๆ ไป ส่วนทักษะเชิงลักษณะนิสัย (Character Skills) จะแสดงออกในยามยากลำบากหรือมีความท้าทาย ชวนให้ผมคิดต่อว่า ทักษะเชิงลักษณะนิสัยมีมิติเรื่องความมั่นคงในคุณธรรม (Integrity) ปนอยู่ด้วย และชวนให้คิดว่า มีมิติของทักษะแห่งอนาคต (Future Skills) อยู่ด้วย 

หนังสือบอกว่า ทักษะเชิงลักษณะนิสัย ที่นำสู่ชีวิตที่ดี มีความสำเร็จในชีวิต ผ่านการปลุกพลังซ่อนเร้นในตัว ที่ระบบการศึกษา ระบบเลี้ยงดูในครอบครัว และระบบการหล่อหลอมในสังคม พึงเอาใจใส่หนุนให้เด็กและเยาวชนสร้างใส่ตัว มีองค์ประกอบย่อย 4 ประการ คือ

  • พฤติกรรมเชิงรุก (Proactive)   
  • เห็นแก่ส่วนรวม (Prosocial)
  • มีวินัย (Disciplined)
  • ตั้งจิตมั่น (Determined)

การฝึกปฏิบัติและพัฒนาองค์ประกอบย่อยทั้ง 4 ของทักษะเชิงลักษณะนิสัย จะช่วยปลดปล่อยและเพิ่มพูนพลังซ่อนเร้นในตัวเด็กอย่างเป็นอัตโนมัติ โดยครูและพ่อแม่ทำหน้าที่ “นั่งร้าน” (scaffolding) ให้     

พฤติกรรมเชิงรุก

คนที่มีพฤติกรรมเชิงรุก (Proactivity) เป็นนักริเริ่ม แสวงหาทรัพยากร นำมาสร้างโอกาสก้าวหน้าและโอกาสเรียนรู้ต่อเนื่อง โปรดสังเกตว่า คนแบบนี้ไม่รอโอกาส แต่หาทางสร้างโอกาส

พฤติกรรมเชิงรุก นำสู่คุณลักษณะอื่นๆ ได้แก่

  • เกิดการริเริ่มกิจกรรม ที่นำสู่การค้นพบความสามารถที่ซ่อนอยู่ของตนเอง
  • การสำรวจและลองสิ่งใหม่ๆ นำสู่การค้นพบวิธีการที่เป็นนวัตกรรม ช่วยสร้างกระบวนทัศน์พัฒนา (Growth Mindset) และจริตของการเรียนรู้จากความล้มเหลว
  • การคาดการณ์ว่าจะมีความท้าทายและเตรียมเผชิญ ช่วยให้คนมีพฤติกรรมเชิงรุกมีโอกาสสูงที่จะเอาชนะความท้าทายได้ นำสู่คุณสมบัติ ความยืดหยุ่น (Resilience) และสมรรถนะในการเผชิญความยากลำบาก
  • การแสวงหาที่ปรึกษา และคำแนะนำป้อนกลับ (Feedback) ช่วยให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา เกิดความเข้าใจจุดแข็ง และจุดที่ต้องพัฒนาของตนเอง นำสู่ความเข้าใจพลังซ่อนเร้นของตนเอง
  • การสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้อื่น ด้วยพฤติกรรมเชิงรุก นำสู่แรงกระเพื่อมของพฤติกรรมเชิงรุก ที่ส่งผลกลับไปกลับมา ทำให้คนอื่นๆ ที่ใกล้ชิดพลอยมีพฤติกรรมเชิงรุกไปด้วย
  • เชื่อมโยงสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ (Purpose) การกระทำการของคนมีพฤติกรรมเชิงรุก มักเชื่อมโยงกับค่านิยม และเป้าหมายชีวิตที่ยึดถือ นำสู่การบังเกิดเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ เกิดการพัฒนาพลังที่เร้นลับในการทำเพื่อประโยชน์ของชุมชนหรือสังคม     

ครูและพ่อแม่พึงส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาพฤติกรรมเชิงรุกโดย  

  • ส่งเสริมให้นักเรียนริเริ่มกิจกรรมเอง สร้างวัฒนธรรมของโรงเรียนที่ส่งเสริมให้นักเรียนร่วมกันริเริ่มกระบวนการเรียนรู้ของตน เป็นผู้เสนอโครงการ เป็นผู้นำการเสวนา มีกิจกรรมเรียนรู้ด้วยตนเอง (Independent Study) ที่จะช่วยหนุนให้นักเรียนพัฒนาพฤติกรรมเชิงรุกใส่ตน
  • การเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning – PBL) ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมในโลกแห่งความเป็นจริง (Real-World Activity) ได้มีโอกาสออกแบบกิจกรรม และตัดสินใจแก้ปัญหา รวมทั้งได้เป็นเจ้าของกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง เป็นตัวช่วยสร้างพฤติกรรมเชิงรุกได้ดี 
  • โปรแกรมที่ปรึกษา (Mentorship) และให้คำแนะนำป้อนกลับ (Feedback) ที่มีที่ปรึกษาที่เป็นครู และที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจากสถานประกอบการ ให้นักเรียนเลือกขอคำปรึกษาได้อย่างอิสระ จะช่วยหนุนให้นักเรียนสร้างพฤติกรรมเชิงรุกใส่ตัว  
  • เรียนรู้จากการให้บริการชุมชน (Service Learning) จัดให้มีวิชาเรียนรู้จากการให้บริการชุมชน ไว้ในหลักสูตร เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ หาความต้องการของชุมชน ออกแบบกิจกรรม และดำเนินการ ที่นอกจากนักเรียนได้เรียนรู้และสร้างพฤติกรรมเชิงรุกใส่ตัวแล้ว ชุมชนยังได้รับประโยชน์ด้วย และนักเรียนยังได้พัฒนาจิตสาธารณะใส่ตัวด้วย
  • ฝึกการตั้งเป้าส่วนตัวและวางแผนดำเนินการ แล้วลงมือปฏิบัติจริง เพื่อเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning)
  • สร้างบรรยากาศความร่วมมือและเรียนเป็นทีม เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกพฤติกรรมเชิงรุก ในปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน
  • สร้างกระบวนทัศน์พัฒนา (Growth Mindset) ในโรงเรียน โดยส่งเสริมการเรียนรู้จากความผิดพลาดหรือล้มเหลว
  • บูรณาการการพัฒนาทักษะชีวิต และ Soft Skills เข้าในหลักสูตร เน้นการทำงานเป็นทีม การสื่อสาร การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ซึ่งจะช่วยเสริมพฤติกรรมเชิงรุก

เห็นแก่ส่วนรวม

พฤติกรรมเห็นแก่ส่วนรวม (Prosocial Behavior) หมายถึงการกระทำที่มีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น หรือของส่วนรวม โดยไม่หวังผลตอบแทน พฤติกรรมนี้ส่งผลให้เกิดการปลุกพลังซ่อนเร้นด้านดีในมนุษย์ต่อไปนี้ เป็นอย่างน้อย

  • สร้างความสัมพันธ์ทางสังคม เกิดความไว้วางใจกันในชุมชนหรือสังคม ส่งผลให้บุคคล (นักเรียน) กล้าเสี่ยง หรือกล้าลอง นำสู่การพัฒนาศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่
  • สร้างสุขภาวะ พฤติกรรมช่วยเหลือผู้อื่นสร้างความรู้สึกที่ดีในตัวผู้ให้ เกิดความสุขความเคารพในตนเอง และแรงบันดาลใจ   กล้าลองสิ่งใหม่ๆ เพื่อทดสอบความสามารถของตนเอง
  • เกิดวัฒนธรรมสนับสนุนซึ่งกันและกัน ในวัฒนธรรมเห็นแก่ผู้อื่นและส่วนรวม นักเรียนจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นำสู่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การให้คำแนะนำป้อนกลับแก่กัน การให้คำแนะนำป้อนกลับแก่เพื่อน เป็นกลไกเรียนรู้ และเผยสมรรถนะซ่อนเร้นของตัวนักเรียนโดยไม่รู้ตัว
  • กระตุ้นให้เกิดพันธกิจสัมพันธ์ (Engagement) ระหว่างนักเรียนกันเอง และกิจกรรมเชิงหุ้นส่วนกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Engagement Partners) อื่น เมื่อนักเรียนเห็นผลดีจากพันธกิจสัมพันธ์นี้ ก็จะเกิดแรงบันดาลใจในการคิดกิจกรรมใหม่ๆ เป็นเส้นทางสู่การค้นพบความสามารถที่ซ่อนอยู่ของตนเอง
  • บ่มเพาะความเข้าใจผู้อื่น (Empathy) ซึ่งจะนำสู่ความเข้าใจมุมมอง และความท้าทาย ที่แตกต่างหลากหลาย เปิดโอกาสให้ได้พัฒนาทักษะความสร้างสรรค์ (Creativity) และทักษะแก้ปัญหา (Problem-Solving Skills)
  • สร้างความแข็งแกร่งแก่ค่านิยม (Values) และเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ (Purpose) การเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคม จะช่วยให้นักเรียนได้ฝึกตีความหรือทำความเข้าใจความเชื่อ (Believes) ค่านิยม และเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ของตนในชีวิตจริง นำสู่ความเข้าใจตนเองในมิติที่ลึกยิ่งขึ้น สร้างแรงบันดาลใจต่อการแสดงพฤติกรรมเชิงรุกที่มีความหมายยิ่งใหญ่        

ครูและพ่อแม่พึงส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาพฤติกรรมเห็นแก่ส่วนรวม โดย

  • บรรจุวิชาเรียนจากการรับใช้สังคม (Service Learning) ในหลักสูตร โดยให้นักเรียนได้ร่วมกันออกแบบกิจกรรมเอง จากกิจกรรมสำรวจชุมชน (ใช้เครื่องมือ 7 ชิ้นในการสำรวจชุมชน โดย นพ. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์) นำมาเป็นข้อมูลประกอบการออกแบบ และดำเนินการ นอกจากได้เรียนรู้ฝึกฝนสมรรถนะอย่างครบด้านแล้ว นักเรียนจะได้พัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) ใส่ตน 
  • ให้นักเรียนเรียนวิชา PBL (Project-Based Learning) ในประเด็นของชุมชน เช่น ขยะในชุมชน สิ่งมอมเมาหรือชักจูงเยาวชนไปในทางเสื่อมเสีย การลด Carbon Footprint ในชุมชน เป็นต้น โดยนักเรียนเรียนเป็นทีม ซึ่งจะช่วยหนุนให้นักเรียนได้ฝึกเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง (Experiential Learning) และยกระดับทักษะความร่วมมือ (Collaborative Skills) ที่สำคัญยิ่งคือ นักเรียนเกิดความเข้าใจชุมชนที่ตนมีชีวิตอยู่ และเกิดแรงบันดาลใจเพิ่มขึ้นที่จะทำเพื่อชุมชน เป็นการเปิดทางให้ศักยภาพที่ซ่อนเร้นออกมากระทำการ
  • ให้นักเรียนเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำปรึกษาแก่เพื่อนหรือรุ่นน้อง (Peer Mentorship) กิจกรรมนี้จะสร้างความผูกพันรักใคร่ระหว่างกันที่แน่นแฟ้น กระตุ้นพฤติกรรมเห็นแก่ส่วนรวม และความผูกพันทางสังคม (Social Bond) ตัวนักเรียนที่เป็นพี่เลี้ยงได้ฝึกภาวะผู้นำ และทักษะการสื่อสาร 
  • กิจกรรมนอกหลักสูตร จัดชมรมนักเรียน ที่ร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อฝึกความเสียสละ การบริการชุมชน และการช่วยเหลือผู้อื่น   เช่นชมรมรัก(ษ์)ผู้ป่วยติดเตียง ชมรมติดตามช่วยเหลือผู้ป่วยเบาหวาน ชมรมดนตรีงานศพ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยหนุนให้นักเรียนพัฒนากระบวนทัศน์เห็นแก่สังคม (Prosocial Mindset) และค้นพบความสนใจและจุดแข็งใหม่ๆ ของตนเอง
  • บูรณาการคาบเรียนความเข้าใจผู้อื่น (Empathy) และเข้าใจมุมมอง (Perspectives) ที่แตกต่างหลากหลาย โดยใช้กิจกรรม อ่านและตีความวรรณกรรม (โปรดดูเว็บไซต์ของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา) การหยิบยกเอาปัญหาสังคมมาอภิปรายร่วมกัน หรือการแสดงละคร (Role Play) ความเข้าใจสองประการนี้ จะช่วยให้นักเรียนมีความมั่นใจในการแสดงพฤติกรรมเห็นแก่สังคม 
  • ยกย่องพฤติกรรมเห็นแก่สังคม โปรดดู “กิจกรรมจับถูก” ในหนังสือ เพื่อครูและนักเรียนเป็นนักพัฒนาตนเอง หน้า 32   
  • สร้างระบบนิเวศของโรงเรียนที่อบอวลไปด้วยความร่วมมือช่วยเหลือกัน ทั้งระหว่างนักเรียนกับนักเรียน นักเรียนกับครู  และครูกับครูด้วยกัน จะกระตุ้นพฤติกรรมเห็นแก่ส่วนรวม และกระตุ้นการพัฒนาศักยภาพที่ซ่อนเร้น ออกมากระทำการ
  • ให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนการแสดงพฤติกรรมเห็นแก่สังคม เพื่อให้นักเรียนเห็นความเชื่อมโยงกับชีวิตจริง และเห็นผลกระทบจริงของพฤติกรรมเห็นแก่สังคม    รวมทั้งเกิดความผูกพันกับชุมชนยิ่งขึ้น   

โปรดสังเกตว่า หากนักเรียนแสดงพฤติกรรมในทางตรงกันข้าม คือมุ่งทำเพื่อประโยชน์ตนเป็นหลัก เท่ากับนักเรียนปิดโอกาสพัฒนาตนเองในมิติที่ลึกตามที่ระบุในบันทึกตอนที่ 2 นี้ นี่คือความซับซ้อนของการเรียนรู้ ที่มีการค้นพบใน(คริสต)ศตวรรษที่ 21      

มีวินัย

ความมีวินัยในตนเอง (Self-Discipline) เป็นทักษะเชิงลักษณะนิสัย ที่ช่วยการฟันฝ่าอุปสรรคขวากหนามในชีวิต สู่การบรรลุเป้าหมายระยาวของชีวิต ซึ่งในกรณีนี้ ลักษณะนิสัยหรือ Soft Skills มีความสำคัญยิ่งกว่าทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills) ที่เป็น Hard Skills   

ความมีวินัยประกอบด้วย 3 ทักษะย่อยคือ การควบคุมตนเอง (self-Control), ความสม่ำเสมอ (Consistency), และความอดทนมานะพยายาม (Perseverance) พฤติกรรมนี้ส่งผลให้เกิดการปลุกพลังซ่อนเร้นด้านดีในมนุษย์ต่อไปนี้ เป็นอย่างน้อย

  • การใช้ความพยายามอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง นำสู่การพัฒนาขีดความสามารถเพิ่มขึ้นทีละน้อย พร้อมกับการค้นพบความสามารถใหม่ของตนเอง
  • การมีเป้าหมายระยะยาวและเป็นเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ (คือทำเพื่อชุมชนหรือสังคม) นำสู่การค้นพบและใช้ศักยภาพของตนเอง เพื่อการบรรลุเป้าหมายนั้น
  • ความยืดหยุ่นในการเผชิญความท้าทาย ที่หนุนโดยความมีวินัย ช่วยให้ดำเนินการเพื่อเอาชนะอุปสรรคและความล้มเหลวอย่างต่อเนื่อง เกิดการเผยความสามารถที่ซ่อนอยู่ออกมากระทำการ และสร้างความมั่นใจแก่ตนเอง 
  • การจัดการเวลา ความมีวินัย นำสู่การจัดการทรัพยากร (รวมทั้งเวลา) อย่างระมัดระวัง ซึ่งรวมการจัดลำดับความสำคัญของงานหรือกิจกรรม ที่จะช่วยหนุนการพัฒนาตนเอง
  • โฟกัสความสนใจ คนมีวินัยจะมีสมาธิจดจ่ออยู่กับเรื่องสำคัญ มีความช่างสังเกต และการฟังอย่างลึก ช่วยส่งเสริมผลการเรียน และความสร้างสรรค์
  • นิสัยแห่งความเป็นเลิศ (Habit Of Excellence) การมีวินัยจะช่วยบ่มเพาะนิสัยเชิงบวก เช่น การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ การใคร่ครวญสะท้อนคิด การประเมินและให้คำแนะนำป้อนกลับแก่ตนเอง ซึ่งจะยิ่งส่งเสริมสมรรถนะของนักเรียน
  • การใคร่ครวญสะท้อนคิดต่อตนเอง (Self-Reflection) เพื่อเรียนรู้ระดับลึกและเชื่อมโยงหลากหลายมิติจากประสบการณ์ (Experiential Learning) อันจะนำสู่ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต     

ครูและพ่อแม่พึงส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาพฤติกรรมมีวินัย โดย  

  • จัดระบบนิเวศการเรียนรู้ที่มีโครงสร้างประจำ เพื่อให้นักเรียนทำซ้ำๆ และเกิดการพัฒนาวินัยในตนเอง รูปธรรมของเรื่องนี้ในประเทศไทยอยู่ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา    
  • นักเรียนได้เข้าประชุมปฏิบัติการฝึกตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ โดยเป็นเป้าหมายที่ SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, Time-bound) อันจะนำสู่การมีวินัยในตนเอง
  • บูรณาการการพัฒนาทักษะจัดการเวลา (Time Management) เข้าในหลักสูตร การมีทักษะจัดการเวลา เป็นรูปแบบหนึ่งของการมีวินัยในตนเอง
  • ส่งเสริมการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง (Persistence) ที่เป็นความต่อเนื่องที่ต้องใช้ความอดทนมานะพยายาม (Perseverance) จะช่วยให้นักเรียนพัฒนาความมีวินัยใส่ตนได้เป็นอย่างดี
  • กิจกรรมนอกหลักสูตร ที่เมื่อนักเรียนเข้าเป็นสมาชิกของชมรม จะได้ฝึกความมีวินัย
  • การสะท้อนคิดและเขียนบันทึก เป็นการสะท้อนคิดจากประสบการณ์ตรงของการเรียน เมื่อสะท้อนคิดแล้วเขียนเป็น Reflective Journal อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เป็นการฝึกความมีวินัย
  • ที่ปรึกษาและต้นแบบ ที่ปรึกษา (Mentor) อาจเป็นครูหรือนักเรียนรุ่นพี่ การใช้นักเรียนรุ่นพี่เป็น Mentor ได้ประโยชน์สองต่อ คือทั้ง Mentor และ Mentee ได้พัฒนาวินัยไปด้วยกัน วิธีการ “จับถูก” ที่กล่าวแล้ว เป็นการสร้างต้นแบบที่เป็นตัวนักเรียนเอง 
  • กลไกให้คำแนะนำป้อนกลับ (Feedback Mechanism) ที่เป็นคำแนะนำป้อนกลับเชิงสร้างสรรค์ จะช่วยให้นักเรียนแต่ละคนได้เรียนรู้และปรับตัว ในทุกเรื่อง โดยในตอนนี้เน้นที่ความมีวินัย

ตั้งจิตมั่น

การตั้งจิตมั่น (Determination) หมายถึง การมีพฤติกรรมมุมานะพยายามอย่างต่อเนื่อง (Persistent Effort) เพื่อบรรลุเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นเป้าหมายระยะสั้นเพียงชั่วโมงเดียวก็ได้ หรือจะเป็นเป้าหมายระยะยาวที่ต้องทำต่อเนื่องเป็นระยะๆ ในช่วงเวลาเป็นปี หรือหลายปี ก็ได้

พฤติกรรมนี้ส่งผลให้เกิดการปลุกพลังซ่อนเร้นด้านดีในมนุษย์ต่อไปนี้ เป็นอย่างน้อย

  • พยายามต่อเนื่องโดยฟันฝ่าความท้าทายหรือความยากลำบาก นำสู่การค้นพบทางออก และการพัฒนาความยืดหยุ่น (Resilience) ช่วยให้ค้นพบพลังแฝงของตนเอง
  • รับผิดชอบ (Commitment) ต่อเป้าหมาย นำสู่การเป็นคนมีเส้นทางชีวิตที่มีเป้าหมายยิ่งใหญ่ (Sense Of Purpose) ไม่กลัวความยากลำบาก
  • เพิ่มความพยายามทุ่มเท ทั้งเวลาและพลังเพื่อการบรรลุเป้าหมาย นำสู่การพัฒนาทักษะที่ต้องการในการบรรลุเป้าหมายนั้น
  • เรียนรู้จากความล้มเหลว การตั้งจิตมั่นช่วยให้มองความล้มเหลวเป็นปัจจัยสู่การเรียนรู้ นำสู่การพัฒนาทักษะสำคัญๆ ในชีวิต  
  • สร้างอิทธิบาท 4 (Grit) Grit ประกอบด้วย Passion (ฉันทะ) กับ Perseverance (วิริยะ + จิตตะ + วิมังสา) ที่เป็นคุณสมบัติที่นำสู่ความสำเร็จในชีวิต
  • สร้างความมั่นใจและเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-Esteem) จิตที่ตั้งมั่น นำสู่การบรรลุเป้าหมาย การบรรลุเป้าหมายเล็กๆ ทีละน้อย ค่อยๆ สร้างความมั่นใจในตนเอง ต่อการเผชิญความท้าทายสู่เป้าหมายที่ใหญ่ละยากขึ้น เป็นเส้นทางชีวิตที่ค่อยๆ ปลดปล่อยพลังซ่อนเร้นของตนเองออกมา
  • สร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้อื่น ผู้มีจิตตั้งมั่น และบรรลุเป้าหมายทีละน้อย จะสร้างแรงบันดาลใจแก่คนรอบข้าง การที่โรงเรียนเป็นชุมชนของการแบ่งปันแรงบันดาลใจ จะเป็นลมส่งให้ทั้งนักเรียนและครูได้ดึงศักยภาพที่ซ่อนเร้นของตนออกมาทำคุณประโยชน์ทั้งแก่ตน แก่เพื่อนนักเรียน แก่เพื่อนครู แก่โรงเรียน และแก่ชุมชน สังคม และโลก

ครูและพ่อแม่พึงส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาพฤติกรรมตั้งจิตมั่น โดย  

  • ส่งเสริมกระบวนทัศน์จิตตั้งมั่น โดยการอภิปรายหรือสะท้อนคิดร่วมกัน การประชุมปฏิบัติการ หรือการเชิญผู้มีประสบการณ์มาเล่าเรื่องเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
  • บรรจุกิจกรรมกำหนดเป้าหมายไว้ในหลักสูตร โดยน่าจะประยุกต์ใช้วิธีการ Design Thinking
  • บูรณาการความยืดหยุ่น (Resilience) ไว้ในหลักสูตร เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้จากการมีความเสี่ยง และประสบการณ์ความล้มเหลว เพื่อนำสู่การพัฒนาจิตตั้งมั่น และความยืดหยุ่น
  • เฉลิมฉลองความพยายามและความก้าวหน้า ครูและพ่อแม่คอยหมั่นสำรวจความพยายาม และความก้าวหน้าของนักเรียน และกล่าวชม หรือจัดกิจกรรมฉลองเพื่อทำความเข้าใจคุณค่าของความพยายามหรือความก้าวหน้านั้น
  • ที่ปรึกษา (Mentorship) โดยจัดให้นักเรียนรุ่นพี่เป็นที่ปรึกษาแก่รุ่นน้อง หรือแก่เพื่อน อันจะก่อการเรียนรู้และพัฒนาทั้งต่อผู้รับและผู้ให้คำแนะนำปรึกษา
  • กิจกรรมนอกหลักสูตร ที่นักเรียนได้ฝึกพัฒนาจิตตั้งมั่นผ่านการเข้าร่วมชมรมกิจกรรมที่ตนชอบ   
  • สร้างระบบนิเวศในโรงเรียนให้เป็นชุมชนช่วยเหลือส่งเสริมกัน   อันจะเอื้อต่อการพัฒนาจิตตั้งมั่นของสมาชิก
  • ส่งเสริมกระบวนทัศน์พัฒนา (Growth Mindset) ที่ช่วยกระตุ้นความมุมานะพยายาม และจิตตั้งมั่น

โปรดสังเกตว่า มาตรการหนุนนักเรียนและเยาวชนให้พัฒนาทักษะเชิงลักษณะนิสัยที่ดี 4 มิติข้างต้น เป็นกิจกรรมเชิงซ้อน ที่เมื่อดำเนินการแล้วเกิดผลต่อหลากหลายทักษะย่อย ดังนั้น จะเห็นว่า ข้อแนะนำวิธีพัฒนาทักษะย่อย 4 ทักษะจึงมีข้อที่ซ้ำกัน 

ขอย้ำว่า หลักการใหญ่คือ มาตรการหนุนให้นักเรียนร่วมกันเป็นเจ้าของกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง ที่เรียกว่า การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) นั่นเอง

ยิ่งกว่านั้น การเรียนแบบสบายๆ จะไม่หนุนการพัฒนาทักษะชุดนี้ ต้องจัดบรรยากาศและกระบวนการเรียนรู้ที่ท้าทาย (Challenging) หรือมีความยากลำบาก (Adversity) ปนอยู่ด้วย การพัฒนาทักษะเชิงลักษณะนิสัยจึงจะเกิดขึ้น

สามารถอ่านบทความ ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP1 ได้ที่นี่

ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP1: บทนำ ‘มนุษย์ทุกคนมีพลังซ่อนเร้น’

Tags:

ค่านิยมวินัย (Discipline)ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ทักษะเชิงลักษณะนิสัยพฤติกรรมเชิงรุก (Proactive)เห็นแก่ส่วนรวม (Prosocial)ตั้งจิตมั่น (Determined)

Author:

illustrator

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

รองประธานกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล ผู้อำนวยการคนแรกของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) และได้ดำรงตำแหน่ง 2 สมัย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส.) ดำรงตำแหน่งกรรมการของหน่วยงานและมูลนิธิหลายแห่ง

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Transformative learning
    ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP4: การซึมซับและปรับตัว 

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Transformative learning
    ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP3: คุณค่าของความไม่สบายใจ

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Transformative learning
    ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP1: บทนำ ‘มนุษย์ทุกคนมีพลังซ่อนเร้น’

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Dr.Tong The Filter
    Life classroomHow to enjoy life
    ‘เราต่างเป็น Expert ของชีวิตตัวเอง’ ค้นพบศักยภาพที่จะมีความสุข กับ ดร.พงษ์รพี บูรณสมภพ

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ปริสุทธิ์

  • How to enjoy life
    เมื่อคำว่า ‘แพ้’ รุนแรงต่อชีวิต ความพ่ายแพ้จึงไม่ใช่เรื่องเล็ก และผู้แพ้ไม่ควรถูกละเลย

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

The Edge of Seventeen: เราต่างต้องการเป็นที่รักและมีค่าเสมอสำหรับใครบางคน
Movie
6 June 2025

The Edge of Seventeen: เราต่างต้องการเป็นที่รักและมีค่าเสมอสำหรับใครบางคน

เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • The Edge of Seventeen เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนว Coming Of Age  ในปี 2016 บอกเล่าเรื่องราวของเนดีน นักเรียนชั้นม.5 ที่มีนิสัยแข็งกระด้าง และไม่มีใครอยากคบ
  • เนดีนกำลังเผชิญหน้ากับความรู้สึกเคว้งคว้าง ว่างเปล่า และไร้ที่พึ่ง เธอรู้สึกว่าไม่มีใครในครอบครัวที่เป็นพื้นที่ปลอดภัย ส่วนเพื่อนสนิทเพียงคนเดียวก็ไปคบกับพี่ชายที่เธออิจฉามาตลอดชีวิต
  • ภาพยนตร์เรื่องนี้บอกผมว่า การเติบโตจึงไม่ใช่แค่การฝ่าฟันเพื่อให้ผ่านพ้นเรื่องร้าย แต่ยังเป็นการได้หันกลับมาทบทวนสิ่งต่างๆ อย่างซื่อสัตย์ เพื่อจะได้เยียวยาบาดแผลให้ถูกที่ และให้โอกาสตัวเองก้าวต่อไปข้างหน้าอย่างเข้มแข็งกว่าเดิม

“ตอนประมาณ ป.2 ฉันตระหนักได้ว่าในโลกนี้มีคนอยู่สองประเภท ประเภทแรกคือคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตโดยธรรมชาติ และประเภทที่หวังว่าคนเหล่านั้นจะตายในระเบิดครั้งใหญ่”

คำพูดของ ‘เนดีน’ นางเอกวัย 17 ปีใน The Edge of Seventeen เปิดเผยตั้งแต่ต้นเรื่องให้ผมเห็นตัวตนของเธอในฐานะวัยรุ่นที่เปราะบาง เต็มไปด้วยการประชดประชัน และความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจในสังคมที่เต็มไปด้วยการเปรียบเทียบ

ตั้งแต่เด็ก เนดีนต้องอยู่ใต้เงาของ ‘เดเรี่ยน’ ผู้เป็นพี่ชายมาตลอด เธอมักถูกเปรียบเปรยว่า “พี่ชายคือคนที่ได้รับส่วนที่ดีที่สุดจากพ่อแม่ ต่างกับเธอที่ได้แค่เศษเหลือ” และไม่ว่าจะอยู่บ้านหรือที่โรงเรียน พี่ชายของเธอดูจะเป็นศูนย์กลางความใส่ใจของทุกคน ดังนั้นการที่เนดีนจะรู้สึกอิจฉาเขาจึงไม่แปลกอะไร

ความเปราะบางของเนดีนยิ่งถูกตอกย้ำ เมื่อเธอต้องเผชิญกับการกลั่นแกล้งรังแกจากเพื่อนๆ ตั้งแต่เรียนประถม ทำให้เธอค่อยๆ ถอยห่างจากสังคม แต่โชคยังดีที่เธอมี พ่อ และ คริสต้า เพื่อนสนิทเพียงคนเดียวที่อยู่เคียงข้างเธอมาตลอด

ในฐานะภาพยนตร์ Coming of Age เนดีนต้องเผชิญหน้ากับความจริงอันเจ็บปวด โดยเฉพาะเมื่อหลักใจที่บ้านอย่างพ่อจากไปตอนเธออายุ 13 ปี เหตุการณ์นั้นนำเธอเข้าสู่ภาวะซึมเศร้าจนต้องพึ่งยารักษาเรื่อยมา และหลังจากนั้น 4 ปี  คริสต้าก็ดันไปคบกับเดเรี่ยน ทำให้เนดีนในวัย 17 ปี รู้สึกเคว้างคว้าง ว่างเปล่า และไร้ที่พึ่ง

สำหรับวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ที่เคยผ่านวัยนั้นมา ย่อมตระหนักว่านี่คือช่วงชีวิตที่เราต่างโหยหาการยอมรับและให้ความสำคัญกับเพื่อนที่สุด ดังนั้นเนดีนที่มีเพื่อนสนิทเพียงคนเดียวจึงเสียศูนย์ได้ง่าย ซึ่งในมุมนี้อาจมีคนที่มองว่าเนดีนนั่นแหละคือตัวปัญหา เพราะเธอทำตัวเป็นพวกชอบบงการราวกับเป็นเจ้าข้าวเจ้าของคริสต้า ทั้งที่คริสต้าเองก็ต้องเติบโตขึ้นและมีสังคมใหม่ๆ เพื่อเปิดประสบการณ์ให้กับชีวิต 

แต่หากมองลึกลงไป เราจะเห็นว่ามันคือวิธีการที่เนดีนยึดโยงตัวเองเข้ากับความสัมพันธ์เพื่อยืนยันว่าตนเองยังมีคุณค่าบางอย่างหรือเป็นที่รักของใครสักคนอยู่

เมื่อมองผ่านสายตาของเนดีน มันก็พอเข้าใจได้ว่าคนเรามักผูกใจไว้กับสิ่งที่เราทุ่มเทลงไป โดยเฉพาะเนดีนที่คิดว่าเธอได้ทุ่มเทความจริงใจทั้งหมดให้กับคริสต้า เธอจึงคาดหวังว่าเพื่อนจะซื่อสัตย์และตอบแทนเธอในแบบเดียวกัน ซึ่งประสบการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร เพราะตัวผมเองก็เคยมีประสบการณ์คล้ายกัน คือการทำดีต่อเพื่อนทุกอย่างด้วยความจริงใจ แต่สุดท้ายกลับถูกนินทาลับหลังราวกับผมเป็นตัวร้ายอันดับหนึ่ง 

สิ่งสำคัญในกรณีนี้ ไม่ใช่การค้นหาความจริงว่าใครถูก-ใครผิด เพราะสารหลักที่ผู้กำกับต้องการสื่อผ่านภาพยนตร์ นั่นคือบทเรียนชีวิตที่พี่ชายและแม่มักบอกกับเนดีนว่า “แกต้องผ่านเหตุการณ์นี้ไปด้วยตัวเอง” แน่นอนว่าคำพูดเรียบง่ายนี้ อาจฟังดูแล้วโหดร้าย ไร้ความรับผิดชอบ และงี่เง่าสิ้นดี เพราะมันเหมือนกับการบอกว่าแม้โลกจะไม่ยุติธรรมและคนอื่นอาจทำร้ายเราได้ทุกเมื่อ แต่สุดท้ายเราต่างมีหน้าที่ที่ต้องดูแลและเยียวยาตัวเองอยู่ดี

ในความเป็นจริง หัวใจสำคัญของการเติบโตคือการเยียวยาบาดแผลในใจด้วยตัวเอง ไม่ว่าใครจะเป็นคนทำให้เกิดขึ้น

การเยียวยาแผลใจนี้อาจเริ่มต้นด้วยการยอมรับว่ามันมีอยู่จริงและเราต้องอยู่กับมันให้ได้ ไม่ใช่กลบทับหรือซุกมันไว้ และถ้าเราไม่สามารถพาตัวเองก้าวผ่านความเจ็บปวดนั้นได้  การหาใครสักคนที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยของเรา หรือแม้แต่การพบจิตแพทย์ นักจิตบำบัด ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง

ถึงอย่างนั้นก็ต้องยอมรับว่าวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยยังไม่พร้อมสำหรับกระบวนการเยียวยาเหล่านี้ และมักเลือกทางออกชั่วคราวที่ให้ผลลัพธ์รวดเร็วและสะใจกว่า เช่น การรวมกลุ่มเป็นอันธพาลบนท้องถนนเพื่อเรียกร้องความสนใจ การเสพยาเสพติด หรือแม้แต่ในกรณีของเนดีนคือการหาแบดบอยสักคนมามีความสัมพันธ์ด้วย ซึ่งทั้งหมดมักจะสร้างปัญหาใหม่มากกว่าที่จะมุ่งแก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหา

ผมยังจำฉากที่เนดีนหนีออกจากบ้านกลางดึกเพื่อไปหาหนุ่มแบดบอยตามนัด จนแม่เป็นกังวลแทบตาย รวมถึงพี่ชายที่ต้องขับรถออกตามหาเธอทั้งคืน ซึ่งผู้กำกับก็ไม่ได้ใจร้ายเกินไป เพราะเขายังเปิดพื้นที่ให้เนดีนค้นพบว่า แม้โลกใบนี้จะไม่ยุติธรรม หรือครอบครัวของเธอจะไม่สมบูรณ์แบบ แต่พวกเขาก็ยังรักและห่วงใยเธอที่สุด และมันทรงพลังยิ่งขึ้น เมื่อพี่ชายเผยความในใจหลังถูกเนดีนก่นด่าว่าเขาตามหาเธอเพราะอยากสร้างภาพเป็นฮีโร่ของครอบครัว

“ใช่ แกพูดถูกทุกอย่าง ฉันไม่ได้สนใจอะไรแกเลย ฉันมาที่นี่เพื่อตัวฉัน และชีวิตฉันมันก็โคตรเหลือเชื่อ ฉันชอบมาก ไม่สิ ฉันชอบที่ได้ใช้เวลาคืนอื่นๆ คุยกับแม่ถึงเรื่องเจ๋งๆ ฉันชอบที่ได้สมัครอยู่โรงเรียนใกล้ๆ เพราะว่าใครจะรู้ล่ะว่าอะไรจะเกิดขึ้นในบ้าน ถ้าฉันไม่อยู่ใกล้ๆ แล้วแก้ไขมัน และฉันชอบที่มีคนๆ นึงทำให้ฉันรู้สึกเหมือนฉันได้หายใจบ้าง ฉันก็มีไม่ได้โดยที่ไม่ได้ทำลายแกอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นแกพูดถูก มันคือระเบิด และฉันเป็นผู้ชนะ”

หลังจากเนดีนได้ยินความในใจของพี่ชาย เธอก็เริ่มสำนึกผิดถึงการกระทำที่ผ่านมา พร้อมกับตัดสินใจขอโทษพี่ชายในคืนเดียวกัน ซึ่งพี่ชายไม่ได้ทำอะไรนอกจากตั้งใจรับฟังและดึงน้องเข้าไปในอ้อมกอดของเขา

“ฉันแค่อยากจะบอกว่า ฉันขอโทษที่ทำตัวเป็นอีบ้าคืนนี้ ในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา และก็ 17 ปีก่อนหน้านั้น ฉันว่ารู้นี่ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับพี่ ฉันรู้แล้ว ฉันคิดว่ามันเป็นความบ้าของฉันที่ชอบคิดว่า ฉันเป็นคนเดียวที่มีปัญหาจริงๆ เหมือนว่านั่นทำให้ฉันพิเศษ 

รู้ไหมตั้งแต่เรายังเด็ก  ฉันจะมีความรู้สึกเหมือนว่า ฉันลอยอยู่นอกร่างของฉัน กำลังมองตัวเองอยู่ และฉันเกลียดสิ่งที่ฉันเห็น ฉันแสดงออกแบบที่ฉันเห็นได้ยังไง และฉันไม่รู้วิธีที่จะเปลี่ยนแปลง และฉันก็กลัวมากที่ความรู้สึกนั้นไม่เคยหายไป ฉันขอโทษจริงๆ” 

เมื่อชมภาพยนตร์เรื่องนี้จบ ผมรู้สึกว่าทั้งเนดีน คริสต้า หรือแม้แต่ตัวผมเอง ต่างก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มีความทุกข์ พร้อมกับพยายามประคับประคองชีวิตและหัวใจในโลกที่ดูไม่ยุติธรรมและสู้กลับอยู่เสมอ ดังนั้นการเติบโตจึงไม่ใช่แค่การฝ่าฟันเพื่อให้ผ่านพ้นเรื่องร้าย แต่ยังเป็นการได้หันกลับมาทบทวนสิ่งต่างๆ อย่างซื่อสัตย์ เพื่อจะได้เยียวยาบาดแผลให้ถูกที่ และให้โอกาสตัวเองก้าวต่อไปข้างหน้าอย่างเข้มแข็งกว่าเดิม

Tags:

ภาพยนตร์การเติบโตครอบครัวThe Edge of Seventeen

Author:

illustrator

อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

เจ้าของเพจ The Last Bogie ผู้ตัดสินใจขึ้นรถไฟขบวนสุดท้าย โดยมีปลายทางอยู่ที่สถานี 'ยูโทเปีย'

Illustrator:

illustrator

ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

Related Posts

  • Movie
    The Unbreakable Boy: เพราะชีวิตคือสิ่งล้ำค่า ไม่ว่ามันจะแตกต่าง หรือแตกสลาย

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Movie
    Monster: เรื่องโกหกที่เริ่มต้นจากความกลัวเพราะไม่อยากเป็นตัวประหลาด

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Matilda The Musical: เมื่อโลกไม่เข้าข้าง เราต้องยืนหยัดเพื่อตัวเอง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Movie
    Lady Bird : ด้วยรักและเอาชนะ ระหว่างมนุษย์ลูกผู้อยากโผบินกับมนุษย์แม่ขี้โมโห

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Dear ParentsBook
    Toxic Parents: ยังไม่ต้องให้อภัยพ่อแม่ก็ได้ เผชิญหน้ากับความรู้สึกตัวเองก่อน

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

Posts navigation

Older posts

Recent Posts

  • ‘นิทานปากเปล่า’ เล่าความรักให้ลูกฟัง สร้างจินตนาการ สานสัมพันธ์ในครอบครัว: แม่จาว – วัชราวรรณ เพชรบุล
  • ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP4: การซึมซับและปรับตัว 
  • เปลี่ยนระบบนิเวศโรงเรียนเป็นสนามพลังบวก ยกระดับเด็กด้อยโอกาสสู่เด็กได้โอกาส: ผอ.วรรณรักษ์ หงษ์ทอง
  • F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง
  • Myth Universe : จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์สู่ Edutainment ความรู้นอกห้องเรียนที่เริ่มต้นจากคำถามและการเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง

Recent Comments

  • Existential crisis: วิกฤตชีวิตที่มาพร้อมกับคำถาม “แล้วฉันอยู่เพื่ออะไร” – EducationNet on Midlife Crisis: เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ทำไมใจถึงวิกฤต
  • The Psychological Wounds of Winnie the Pooh and His Friends: Exploring Characters from a Classic Literary Work - World Today News on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • Exploring the Psychological Wounds of Winnie the Pooh and Friends: A Fascinating Analysis - Archyde on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • 6 วิธีฝึกสอนให้ลูกเป็นเด็กมี Critical Thinking ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต – โรงเรียนมารีวิทยา ป on CRITICAL THINKING: สอนเด็กให้รู้คิด ผิดหรือถูกก็ใช้วิจารณญาณเป็น
  • Best รูป พลเมือง ดี Update New – Haiduongcompany.com on สอนและสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เรื่องไม่ง่ายที่ครูทำได้

Archives

  • July 2025
  • June 2025
  • May 2025
  • April 2025
  • March 2025
  • February 2025
  • January 2025
  • December 2024
  • November 2024
  • October 2024
  • September 2024
  • August 2024
  • July 2024
  • June 2024
  • May 2024
  • April 2024
  • March 2024
  • February 2024
  • January 2024
  • December 2023
  • November 2023
  • October 2023
  • September 2023
  • August 2023
  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • October 2021
  • September 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • April 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • November 2019
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017

Categories

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Uncategorized
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel