สิ่งที่เราพบก็คือ การเปลี่ยนแปลงคุณครูมันเปลี่ยนยากค่ะ เพราะว่าปกติคุณครูจะมีสองอย่างคือ power over กับ power sharing ซึ่งคุณครูจะใช้ power over ซะส่วนใหญ่ เมื่อเราเปลี่ยนให้คุณครูมาใช้ power sharing ให้เด็กๆ ช่วยกัน มีสิทธิในการตอบคำถาม ไม่ชี้ถูกชี้ผิด พอคุณครูเปลี่ยนเราก็สร้างให้เด็กเปลี่ยน เด็กที่เราเห็นก็คือเด็กจะรู้จักเวลา กำกับตัวเองเป็น รู้จักการรอคอย รู้ว่าเขากำลังทำอะไรอยู่ มีสติ มีสมาธิอยู่กับสิ่งที่ทำ”
ความหมายที่มีร่วมกันของ Active learning ก็คือการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การคิด และการปฏิบัติ
ในแง่หนึ่ง Active learning เป็นการเมืองของการศึกษา ที่ทำให้ความหมายของการศึกษาและการสอนแคบลง ทำให้เรามีวิธีคิดและการมองโลก มองนักเรียนของเราแบบหนึ่งขึ้นมาด้วยเช่นกัน
นับตั้งแต่แนวคิดการศึกษาในศตรวรรษที่ 21 เข้ามาเป็นแนวคิดกระแสหลักในแวดวงการศึกษาไทย การปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ต่างไปจากเดิมได้ถูกพูดถึงอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในประเด็นบทบาทของครูที่ต้องกลายเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ (teacher as facilitator) หรือครูเป็นโค้ช มากกว่าเป็นผู้สอนที่ยืนอยู่หน้าชั้นเรียนเพื่อบรรยายและส่งต่อความรู้ไปยังนักเรียน แนวคิดดังกล่าวทำให้กระแสการเรียนรู้เชิงรุก ‘Active Learning’ หรือ AL กลายเป็นทั้งเป้าหมายและแนวทางที่ทั้งกระทรวงศึกษาธิการและสถาบันผลิตครูต่างนำไปตีความและปรับใช้กันอย่างแข็งขัน เพื่อหวังจะสร้างและพัฒนาครูให้มีทักษะและความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดนี้
จากกระแสดังกล่าว การอบรม โครงการ การประชาสัมพันธ์ คู่มือต่างๆ จำนวนมากที่มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ AL อย่างจริงจังถูกสร้างสรรค์และนำเสนอตลอดช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าไม่ว่าจะหันหน้าไปทางใด คำว่า Active Learning ก็ปรากฏอยู่ให้เห็นอยู่ตลอดเวลา ราวกับว่าผู้คนในวงการการศึกษาต่างพยักหน้ายอมรับไปในตัวว่า AL นี่แหละคือทางออกสำคัญของปัญหาการศึกษาที่เป็นอยู่ จนดูเหมือนว่ามันกลายเป็นยุค ‘อะไรอะไรก็ต้องเป็น Active Learning’ ไปเสียแล้ว
แน่นอนว่า เมื่อ ‘Active Learning’ เข้ามามีอิทธิพลอย่างมาก ย่อมเกิดข้อถกเถียงที่ว่าอะไรคือความหมายที่แท้จริงหรือที่ควรจะเป็นของ Active Learning กันแน่
ในมุมมองหนึ่ง AL ถูกนิยามความหมายผ่านการนิยามสิ่งที่เป็นขั้วตรงข้าม การสอนแบบบรรยายจึงถูกประเมินว่าไม่ active เพราะเด็กฟังอย่างเดียวทำให้เกิดการเรียนรู้แบบ passive ในขณะที่กระบวนการและกิจกรรมในรูปแบบอื่นๆ ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม Active Learning เพราะผู้เรียนไม่ได้ถูกสอนแต่ได้เรียนรู้เอง แต่ในบางแง่มุมก็มีความพยายามโต้แย้งว่าการสอนแบบบรรยายก็เป็น AL โดยไม่จำเป็นต้องมีกิจกรรมการเรียนรู้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการให้นักเรียน active ไปกับส่วนไหน อาทิ ร่างกาย สมอง ความรู้สึก เป็นต้น แต่ท้ายที่สุด ความหมายที่มีร่วมกันของ AL ก็คือการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การคิด และการปฏิบัติ
ความเป็นการเมืองของ Active Learning
ข้อเขียนนี้ไม่ได้ต้องการนำเสนอความหมายและหลักการว่า AL ควรเป็นอย่างไร แต่ต้องการเสนอข้อสังเกตบางประการถึง Active Learning ในฐานะ ‘ประดิฐกรรมการเรียนรู้’ (learnification) ที่ตัวมันเองได้ซ่อนนัยยะบางอย่างเอาไว้
ประการแรก การทำให้ AL ดูเสมือนเป็นคำตอบหลักของการศึกษาในช่วงเวลานี้ อาจนำมาสู่ปัญหาใหญ่นั่นคือ การทำให้ความหมายของการสอนหรือการคิดเรื่องการศึกษาแคบลง พูดให้ชัด AL ทำให้เราติดอยู่กับการคิดว่าวิธีสอนแบบไหนเป็น active หรือ passive อยู่ตลอดเวลา เราจะเห็นว่าครูมักจะมีคำถามเกี่ยวกับการสอนของตัวเองเสมอๆ ว่า “นี่เป็น Active Learning หรือยัง?” หรือพยายามค้นหาเทคนิควิธีการว่าจะทำให้ห้องเรียนตัวเองเกิด Active Learning ได้อย่างไร คำถามของครูจึงวนเวียนอยู่เพียงเรื่องจำพวกเทคนิควิธีการ action และ reaction ว่าจะทำอย่างไรให้เกิด active และลดความเป็น passive ให้มากที่สุด ยังปรากฏชัดในแผนการสอนที่นักศึกษาครูมักจะถูกสอนว่า ต้องเขียนแผนการสอนที่นักเรียนต้องขึ้นต้นเป็นประธานของการเรียนรู้ เพื่อที่จะบอกว่าแผนการสอนของตนเป็นไปตาม AL แล้ว เหล่านี้ได้พาให้เราติดอยู่กับคำถามที่ว่า แบบไหน active และ active กว่า active ที่แท้จริง และ active ที่แท้จริงกว่า
จะเห็นได้ว่า AL สามารถกำหนดทิศทางของการพูดคุยเรื่องการสอนและการศึกษาให้อยู่ในกรอบของ ‘ประสิทธิภาพ’ ได้อย่างแข็งขัน สอดรับกับการวิจัยที่มีอยู่อย่างมากมายในสถาบันผลิตครูที่มักจะมุ่งหาวิธีการ…เพื่อเพิ่ม/พัฒนา/ส่งเสริมทักษะ…ของนักเรียน ที่ท้ายสุดเราก็จะตกอยู่ในกรอบของการคุยกันเพียงเพื่อจะทำอย่างไรให้บทเรียนมีประสิทธิภาพได้มากที่สุด ส่วนนิยามการสอนถูกมองเป็นแค่สองความหมาย คือ active และ passive จนดูเหมือนว่าการสอนเป็นเพียงเรื่องของการควบคุมและอำนาจในการบงการการเรียนรู้เท่านั้น
ประการที่สอง AL ทำให้เราติดอยู่กับแค่เรื่องการปรับแต่งเทคนิควิธีการ เหมือนเราเป็นเพียงช่างเทคนิคที่ต้องพยายามปรับแต่งและค้นหาวิธีการ AL ที่ดีกว่า มาใช้กับนักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เมื่อนักเรียนไม่ได้มีส่วนร่วมในบทเรียน พวกเขาส่ายหน้าหนีจากการเรียน สมมติฐานที่จะถูกมองเห็นก็คือการปรับแต่ง AL ของครูยังไม่ดีพอ แก้ได้ด้วยการหาวิธีการที่ต้อง active มากขึ้น มากไปกว่านั้น ผลลัพธ์ที่ไม่คาดฝันก็คือครูจำนวนหนึ่งเลือกชี้นิ้วไปยังนักเรียนว่าทำให้ AL ไม่บรรลุผลเพราะเป็นวัตถุดิบที่ยังไม่ดีพอ แม้ตัวครูเองจะพยายามปรับเปลี่ยนวิธีการตระเตรียมวัตถุดิบแล้วก็ตามที
นี่คือความเป็น AL ที่ได้สร้างวิธีคิดซ้ำๆ ให้เรามองชั้นเรียนเป็นเสมือนโรงงาน ที่เมื่อนำเข้าเครื่องจักรการผลิตแบบใหม่เข้ามาแล้ว ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนในฐานะผลผลิตก็ควรจะออกมาดีด้วย แต่หากไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดี เจ้าของโรงงานก็ต้องปรับแต่งวิธีการเสียใหม่ แต่หากไม่ได้ตามที่หวังอีก นั่นก็อาจเป็นเพราะวัตถุดิบต้นทางไม่ดีนั่นเอง
การมองเช่นนี้ ยังทำให้เราจมอยู่กับคำถามซ้ำๆ ที่ว่า ต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถ ‘ควบคุม’ ให้เป็น AL มากที่สุดในชั้นเรียน ไปพร้อมกับควบคุมให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ (ซึ่งก็คือนักเรียน) ให้ได้มากที่สุด เราอาจคุ้นเคยกับประสบการณ์ที่เพื่อนครูแชร์ให้ฟัง เช่นว่า “อยากจัดการเรียนรู้แบบ AL แต่กลัวเด็กจะไม่ให้ความร่วมมือ ควรมีวิธีการอย่างไรดี” หรือ “ทำอย่างไรดี พอจะจัด AL แล้วนักเรียนวิ่งเล่นเสียงดังตลอด” คำถามเหล่านี้สะท้อนถึงความพยายามควบคุมให้นักเรียนอยู่ในร่องรอยของ AL ให้ได้มากที่สุด นักเรียนจะต้องไม่เดินแตกแถวไปจากมัน แล้วก็ต้องได้ผลลัพธ์ที่ดีด้วยเช่นกัน
พูดแบบบ้านๆ ดูเหมือนว่า AL ได้กลายเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดหรือวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของแต่ละวิชา ที่ครูต้องหาวิธีการที่จะทำให้ตัวเองและเด็กอยู่ในเส้นทางแนวคิดวิธีการ AL อีกที
มิหนำซ้ำ AL โดยเฉพาะในการศึกษาแบบไทยๆ ที่ดูเหมือนส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเต็มที่ ทำให้หลายคนเห็นว่า AL เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะสร้างการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดไม่ให้คนถูกครอบงำ คิดเป็นอิสระ แต่ทว่าตัวมันเองกลับเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำหน้าที่รับใช้อุดมการณ์ทางการเมืองของชนชั้นนำได้อย่างแนบเนียนมากขึ้นกว่าเดิม (อ่านต่อได้ที่ Active Learning กับ การสอนสังคมฯ ที่ (ไม่) ได้รับอนุญาตให้ศึกษา)
ออกจากภาษาและวิธีคิดแบบ ‘Active Learning’
ข้อเสนอของเขียนนี้ก็คือการคิดถึงเรื่องการศึกษาและการสอนนั้นไม่จำเป็นต้องอยู่บนกรอบภาษาของ ‘Active Learning’ก็ได้ ไม่จำเป็นที่เราต้องวนเวียนอยู่กับการคิดหาและควบคุม ‘เทคนิควิธีการ’ (ที่ active และ active กว่า) ว่าจะทำอย่างไรให้ได้ ‘ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ’ และการจมติดกับภาษาของ AL กำลังทำให้เรามองไม่เห็นความความหมายและแนวคิดทางการศึกษาอื่นๆ และเชื่อว่ามันคือสัจธรรมของการศึกษาไปแล้ว
เทศกาลเล่นอิสระ : Let ‘s Play Festival จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-19. พย. 2566 ณ อุทยาน 100 ปีจุฬาลงกรณ์ โดยเครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก ร่วมกับ กทม. สำนักทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) (สำหรับผู้ที่สนใจอบรม play worker ติดต่อที่เพจ Let’s play more เล่นเปลี่ยนโลก)
คุณแม่นักกิจกรรม ที่ทำงานกับเด็กมาตลอด นำวิชาความรู้ทั้งหมดที่ทำมาใช้ในการเลี้ยงลูกแบบ Home School เพราะเชื่อมั่นว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพต่างกันและห้องเรียนของเด็กคือโลกทั้งใบไม่ใช่ห้องสี่เหลี่ยม