Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย

Month: September 2020

การเมือง เรื่องที่ควรเริ่มคุยจากในครอบครัว : ทีปกร วุฒิพิทยามงคล
Dear Parents
10 September 2020

การเมือง เรื่องที่ควรเริ่มคุยจากในครอบครัว : ทีปกร วุฒิพิทยามงคล

เรื่อง ภาพพิมพ์ พิมมะรัตน์

  • คุยกับแชมป์- ทีปกร วุฒิพิทยามงคล จากเด็กชายตัวเล็กที่โดนรุมจากอำนาจของรุ่นพี่ในโรงเรียน เขาค้นพบพลังที่ช่วยกระจายเสียงเล็กๆให้ดังขึ้น และวิธีใช้พลังนั้นเรียกร้องความเป็นธรรมให้ทั้งตัวเองและคนอื่น
  • เสียงจากครอบครัวเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้เสียงเล็กๆ ของเขาดังขึ้น และหล่อหลอมให้เขาเป็นเขาในวันนี้
  • “ประสบการณ์พวกนี้มัน imprint เรา ทำให้เรารู้ว่าการเรียกร้องในสิ่งที่เราควรจะได้มันโอเค ซึ่งพ่อแม่ก็รู้เรื่องนี้ และบอกว่าดี ทำถูกแล้ว ถ้าเป็นพ่อแม่บางคนอาจจะรู้สึกว่าลูกถูกเรียกไปห้องปกครองเป็นเด็กเกเรก้าวร้าว แต่พ่อแม่เราได้อ่านการ์ตูนก็บอกว่าสนุกดี ซึ่งตรงนี้มันช่วย shape เราเยอะมากเลย ถ้าสมมติวันนั้นเขารีแอคเป็นอีกแบบ เราอาจไม่ได้มาทำสื่ออย่างทุกวันนี้”
  • “แค่ผู้ใหญ่ยอมรับกับตัวเองได้ว่าเราไม่ได้รู้ทุกอย่าง ไม่ได้เป็นโพยของเด็กและต้องไม่อายที่จะบอกลูกว่าไม่รู้ หรือบอกเด็กว่า เราไปหา Google ด้วยกันมั้ย มารู้ไปพร้อมกัน ผู้ใหญ่ต้องเลิกอำนาจนิยมก่อน เราว่าตรงนี้จะช่วยปลดล็อคได้”

หากย้อนกลับไปในยุคที่ยังไม่มีเฟซบุ๊ค วัยรุ่นส่วนใหญ่ในยุคนั้นไม่มีใครไม่รู้จัก เว็บบล็อค Exteen (และถ้าคุณรู้จัก ตอนนี้ก็ยังนับตัวเองว่าเป็นวัยรุ่นได้อยู่เหมือนกันนะ) พื้นที่บันทึกความคิด แสดงความเห็นและตัวตน และเป็นเวทีแจ้งเกิดให้กับนักเขียนหลายราย แชมป์-ทีปกร วุฒิพิทยามงคล คือผู้สร้างเว็บไซต์แห่งนั้นขึ้นมาตอนเขาเรียนอยู่ปี 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ เพราะอยากให้เพื่อนมีที่เขียนเรื่องออนไลน์ หลังเรียนจบแชมป์เข้าทำงานประจำที่ Reuters แผนกซอฟแวร์สำหรับดูหุ้น ที่ที่เปิดการเรียนรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ของเขา จังหวะเดียวกับที่ exteen กลายมาเป็นเว็บไซต์ยอดนิยมอันดับต้นของประเทศ และทำให้ตัวเขาเป็นที่รู้จักมากขึ้น 

แชมป์เริ่มเขียนหนังสือ และเข้าสู่วงการนักเขียนอย่างเต็มตัว ผ่านการชักชวนของ บิ๊ก- ภูมิชาย บุญสินสุข แห่งสำนักพิมพ์ a book ในขณะนั้น เขาสั่งสมทักษะการสื่อสารหลายรูปแบบ ทั้งวาดการ์ตูน เขียนบทความ ทำเว็บไซต์ ทำเพจ จัดรายการวิทยุเรื่องข่าวสารเทคโนโลยี จนได้รับคำชวนจากอาจารย์ ปกป้อง จันวิทย์ มาทำกราฟฟิกให้รายการวัฒนธรรมชุบแป้งทอด ของ 101 (วันโอวัน) จนทักษะการพูดฉายแววและยื่นหมวกอีกใบให้กับเขา นั่นคือการเป็นพิธีกรรายการ วัฒนธรรมชุปแป้งทอดร่วมกับ นิ้วกลม (สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์) และ โตมร ศุขปรีชา ที่ที่เปิดโลกเรื่องนิติรัฐ โครงสร้างในประเทศไทย และสร้างฐานให้เขามองทุกอย่างรอบด้านมากขึ้น ก่อนตกผลึกออกมาเป็น The Matter สื่อออนไลน์ปัจจุบันแชมป์เป็น คอลัมนิสท์ให้กับ เว็บไซท์ Momentum, The 101.world, a day bulletin, เจ้าของลายเส้น #หมีเขี่ย และเจ้าแมว #ทีมขี้เกียจในเฟซบุคเพจ Champ Teepagorn และปัจจุบันทำงานที่ NETFLIX ประเทศสิงคโปร์

ตลอดเส้นทาง หลากรูปแบบหลายบทบาทในวงการสื่อ โอกาสทั้งหมดเกิดจากการสั่งสมทักษะและการเห็นพลังของสื่อ ที่แชมป์พูดได้อย่างมั่นใจมาเสมอว่า “สิ่งที่ตัวเองชอบคือ Communication” 

เขาหาความชอบและพลังนี้เจอได้อย่างไร แล้วเสียงแบบไหน ที่ทำให้เด็กชายตัวเล็กที่เคยโดนอัดร่วงที่โรงเรียน กลายมาเป็นอีกหนึ่งเสียงของคนรุ่นใหม่ที่กำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมในวันนี้ คอลัมน์ Dear Parents ขอเสนออีกหนึ่งเสียงที่อยากส่งถึงผู้ใหญ่และผู้ปกครองทุกท่าน

ย้อนกลับไปเด็กชายทีปกร คือเด็กชายตัวเล็ก ที่เป็นเป้าของการโดนรังแกจากรุ่นพี่ในโรงเรียน ที่เจ้าตัวเล่าว่าสมัยนั้นไม่ใช่ Social bullying ที่ทำให้อับอาย แต่เป็นการทำร้ายร่างกาย ที่โดนอัดร่วงลงไปกองกับพื้นแบบโนบิตะ จนกระทั่งขึ้นมัธยม การค้นพบพลังโดเรมอนในตัวเองทำให้ฐานันดรในโรงเรียนของเขาเปลี่ยนไป

ชีวิตในโรงเรียนของเด็กชายทีปกรเป็นอย่างไร

ตอนเด็กผมเป็นคนสายตาสั้นก็จะถูกหักแว่น คือโหดมากจริงๆ ครับ โดยเฉพาะพ่อก็จะไม่ค่อยแฮปปี้ที่เราเป็นคนไม่สู้คน เขาก็จะบอกให้สู้คนสิ แต่เราไม่มีต้นทุนทางด้านร่างกายจะให้เราไปต่อยกับเขา เราคงแย่กว่าเดิม ส่วนแม่จะเป็นฝ่าย support คอยปลอบ เขาจะทำหน้าที่คนละอย่างกัน แต่ความรู้สึกว่าเราต้องต่อกรกับอำนาจอะไรบางอย่างน่าจะเกิดขึ้นตอนนั้น เพราะเรารู้สึกว่าเราเป็นคนตัวเล็กตัวน้อย ตัวเล็กในที่นี้คือตามตัวอักษรจริงๆ ที่โดนแกล้ง โดนรังแก โดนกระทำ เรารู้สึกว่ามันไม่มีวิธีใดแล้วที่จะสามารถต่อกรกับอำนาจพวกนี้ได้ เราเคยพยายามที่จะพึ่ง authorities เช่น ไปฟ้องครู แต่ครูก็ไม่ค่อยช่วย อาจเพราะครูเห็นว่าเป็นเรื่องปกติ เด็กเล่นกันทะเลาะกันไม่ควรเข้าไปยุ่ง พอจบป.6 ปุ๊บ ผมคิดเลยว่าต้องเปลี่ยน มัธยมจะเป็นอย่างนี้ไม่ได้แล้ว

ข้อดีของเราคือ เป็นเด็กที่เรียนเก่ง หัวดี ดังนั้นเราเลยพยายามสอบให้ได้ห้อง 1 (ห้องเด็กเก่ง) ของโรงเรียนในจังหวัดเพื่อที่จะได้หนีไปจากการโดนแกล้ง ตอนนั้นคิดในใจว่า ไม่ได้ละ เราจะไม่มีชื่อเสียงด้านนี้อีก พอม.1 เราคิดว่าในเมื่อเราเป็นเด็กที่ไม่ได้มีต้นทุนทางด้านร่างกาย เด็กห้อง 1 ก็เรียนเก่งเหมือนกันหมด แล้วอะไรเป็นจุดเด่นของเรา? ตอนนั้นโชคดีที่พอเราสอบเข้าม.1 ได้ พ่อแม่ซื้อคอมพิวเตอร์ให้ ซึ่งเป็นการลงทุนครั้งใหญ่มากเมื่อ 20 ปีก่อน ทำให้เราพบกับโลกของ programming /coding ซึ่งตอนนั้นก็ไม่รู้ว่ามันจะคลิกกับเรานะ แต่เราสามารถอ่านและเขียนได้เอง อันนี้เป็นอันหนึ่งที่เรารู้สึกว่า “โอ้ว อันนี้เราเก่งว่ะ

อีกอันที่ทำได้ดีคือภาษาอังกฤษ คงไม่ดีเท่ากับคนไปเรียนต่างประเทศแต่ถือว่าดีในระดับที่ซึมซับเหมือนฟองน้ำ พอมีคอมพิวเตอร์อยู่ที่บ้าน เริ่มใช้โปรแกรมนู่นนี่เป็น เรารู้สึกว่าอันนี้แหละจะสร้างความแตกต่างให้เรา แต่ตอนนั้นคงไม่ได้คิดเป็นระบบอย่างนี้หรอกนะ แค่คิดว่าจะทำอะไรดีให้เพื่อนสนุก ให้เพื่อนยอมรับ ก็เลยทำหนังสือพิมพ์ห้อง ใช้โปรแกรม Word พอทำหนังสือพิมพ์ห้องแล้วไม่มีใครแกล้งเราเลย เราเริ่มรู้จักพลังของสื่อ นี่คือพลังของฐานันดรที่มี เพราะทุกคนอยากอ่าน แซวนู่นนี่ เราไม่ได้รังแกคนอื่นนะ ก็มีเขียนคนนี้จีบกัน มันก็ตลก คาบนี้เรียนอย่างนี้ อะไรไปเรื่อยเปื่อย เป็นหนังสือพิมพ์ที่เวียนกันอ่าน ปริ๊นท์ออกมาแล้วเวียนกันอ่านในห้องจนครบ 30 คน”

พอเขียนโปรแกรมเป็น ก็เริ่มทำเกมส์ให้เพื่อนเล่น เริ่มรู้ว่า เรามีข้อดีด้านการสื่อสาร เราชอบเวลาที่สื่อสารอะไรไปแล้วเห็นผลลัพธ์ อย่างทำเกมแล้วเพื่อนเล่นก็เห็นผลลัพธ์ว่าเพื่อนทำหน้าอย่างนี้ เพื่อนชอบเกมนี้ เพื่อนรู้สึกว่าเกมนี้ห่วย ชอบประดิษฐ์เกมให้เพื่อนเล่นในห้อง มีโมเดลการคิดแบบนั้นในตัว เรื่อยมาจนม.ปลาย ก็ทำเวปไซต์ห้อง ซึ่งพอมองย้อนกลับไปการที่เราเก่งคอมพิวเตอร์ ส่วนหนึ่งเพราะเราได้ภาษาอังกฤษ ทำให้เราอ่านศึกษาได้เอง

ก่อนที่จะเจอว่าสื่อคือเครื่องมือช่วยเลื่อนฐานันดรในโรงเรียน ย้อนกลับไปตอนที่ลูกโดนรังแก ครอบครัวมีรีแอคชั่นกับเรื่องนี้อย่างไร 

พ่อไม่ชอบครับ แกบอกต้องต่อสู้นะ ส่วนแม่จะเป็นสายโอ๋ มันมีครั้งหนึ่งเราทะเลาะกับครูในชั่วโมงงานประดิษฐ์ เพราะครูอยากให้เราทำงานประดิษฐ์ที่เราคิดว่ามันไม่เมคเซนส์ ครูให้ร้อยด้ายเป็น pattern ทำมาสามอาทิตย์แล้วต้องทำอีกเหรอ เราก็ตั้งคำถามว่าทำไมต้องทำวะ ทำเพื่ออะไร ตอนนั้นไม่ได้พูดอย่างนี้กับครูนะ แต่เราคงดื้อแพ่งไม่ทำ ครูเลยไม่พอใจเรียกพ่อแม่เราไปพบ  

พอพ่อแม่เราไปพบครู เขากลับมา เขาไม่ได้ผิดหวังในตัวเราเลย เขาบอกว่าดีแล้วที่ตั้งคำถาม แม่ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าครูให้ทำไปทำไม ซึ่งอันนี้เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้เรารู้วิธีคิดของตัวเองว่ามาจากไหนและกล้าที่จะตั้งคำถามนะ

เราว่ากว่าที่พ่อแม่จะกล้าตั้งคำถามกับครูอย่างทุกวันนี้ ย้อนกลับไปในตอนนั้นมันยากมากเลยนะ ที่พ่อแม่จะบอกว่าครูไม่ถูก ลูกฉันถูกนะ แล้วงานที่ครูสั่งมันไม่เมคเซนส์

อีกครั้งหนึ่งคือเราต่อสู้กับครูมัธยมตอนม. 2 คือมีครูภาษาอังกฤษคนหนึ่งเขาจะบอกข้อสอบนักเรียนที่ไปเรียนพิเศษกับเขา แล้วเรารู้สึกไม่แฮปปี้มากๆ จำได้เลยว่าข้อสอบเป็นเรื่อง linking verb วิธีการของเราไม่ใช่ด่าครู แต่เราเขียนการ์ตูน 32 หน้า เพื่อบอกว่ามันไม่โอเคยังไง คล้ายๆ ทำให้ครูเป็นฝ่ายร้าย คนที่เหลือในห้องเป็นฝ่ายดี เหมือนคนที่เหลือต้องรวมพลังกันเพื่อต่อสู้กรกับฝ่ายร้ายตัวนี้ ทำเป็นการ์ตูนเวียนกันอ่าน ทีนี้พอเวียนกันอ่าน ก็มีคนเอากลับไปที่หอ คนที่หอพักมีรุ่นพี่ที่เขาคุยกับครูคนนี้อยู่ รุ่นพี่ก็เลยเอาไปให้ครูคนนี้อ่าน เราเลยโดนเรียกไปห้องปกครองว่า “ทำไมทำอย่างนี้ เธอโดนไล่ออกได้เลยนะ เธอทำอย่างนี้กับครู ครูไม่เข้าใจว่าทำไมถึงก้าวร้าวขนาดนี้” 

แต่มันดันกลายเป็นอีกครั้งที่เราซาบซึ้งใจ เพราะเพื่อนทั้งห้องมานั่งกันหน้าห้องปกครอง แล้วบอกว่าจะลงโทษเราไม่ได้ มาช่วยซัพพอร์ตเราว่าครูทำผิดจริงๆ ผลลัพธ์คือครูคนนั้นไม่ได้ถูกไล่ออกแต่ต้องย้ายไปสอนห้องอื่น ในขณะที่เราได้ครูคนใหม่มาซึ่งดีมาก 

ประสบการณ์พวกนี้มัน imprint (ประทับตราในใจ) เรา ทำให้เรารู้ว่าการเรียกร้องในสิ่งที่เราควรจะได้มันโอเค ซึ่งพ่อแม่ก็รู้เรื่องนี้ และบอกว่าดี ทำถูกแล้ว ถ้าเป็นพ่อแม่บางคนอาจจะรู้สึกว่าลูกถูกเรียกไปห้องปกครองเป็นเด็กเกเรก้าวร้าว แต่พ่อแม่เราได้อ่านการ์ตูนก็บอกว่าสนุกดี ซึ่งตรงนี้มันช่วย shape เราเยอะมากเลย ถ้าสมมติวันนั้นเขารีแอคเป็นอีกแบบ เราอาจไม่ได้มาทำสื่ออย่างทุกวันนี้ 

คุณพูดถึงว่า พ่อแม่สมัยนี้กล้าที่จะมีคำถามกับครูมากขึ้น ‘ลูกฉันถูกนะ’ แต่ก็มีพ่อแม่แบบที่ ‘ลูกฉันถูกเสมอ’ ปกป้องลูกไว้ก่อนแต่ไม่ได้เกิดบทสนทนาเพื่อคุยกันว่าความจริงอยู่ตรงไหน แล้วเส้นแบ่งของ ‘ลูกฉันถูก’ กับ ‘ลูกฉันถูกเสมอ’ มันอยู่ตรงไหน 

เราว่าต้องดูเป็นเรื่องๆ ไป เช่น ครูสั่งให้เด็กกราบ แต่ที่บ้านเราไม่ได้เลี้ยงมาแบบนี้ แล้วเด็กไปตั้งคำถามครูว่าทำไมต้องกราบครู ถ้าพ่อแม่จะไปปกป้องลูกก็อาจจะเป็นเรื่องถูก แต่ถ้าลูกไปต่อยเพื่อนที่เขาไม่มีทางสู้ แล้วพ่อแม่มาปกป้อง อันนี้คงไม่ใช่ ก็ต้องดูเป็นเรื่องๆ ไป

สำหรับเรา สถาบันครอบครัวและโรงเรียนเป็นสิ่งที่ปลูกฝังเรามาเยอะเหมือนกัน เพราะมันคือโมเดลสังคมย่อส่วน เวลาเรามองบ้านที่มีพ่อแม่ลูก โครงสร้างอำนาจของบ้านหลังนั้นมันฝังเข้าไปในใจคน อย่างในบ้าน พ่อแม่มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร ลูกสามารถทวนกระแสอำนาจขึ้นไปได้บ้างรึเปล่า อย่างการตั้งคำถาม ทำไมต้องกินข้าวตอนนี้ ทำไมต้องพูดลงท้ายว่าครับ สมมตินะ มันได้รึเปล่า แล้วถ้าได้ พ่อแม่มีรีแอคชั่นกลับมายังไง เราว่ามันฝังไปในใจเด็ก แล้วมันจะค่อยๆ ทำให้เขาเติบโตมาเป็นคนแบบนึง ในโรงเรียนก็เหมือนกัน ครูมีอำนาจเหนือนักเรียนมาก วิธีการสอนของครู มันเป็นวิธีบอกหรือพานักเรียนไปด้วยกันไหม เราคิดว่าพวกนี้มันส่งผลต่อโมเดลความคิดเด็กให้กลายมาเป็นอาชีพ กลายมาเป็น active citizen ในอนาคต 

ถ้าตอนนั้นเราบอกว่าการบอกข้อสอบไม่ถูก แล้วเพื่อนทั้งห้องบอกว่าถูก ให้ไปเรียนกับเขาสิ จ่ายเงินไปก็จบแล้ว เราคงเป็นคนอีกแบบหนึ่ง ซึ่งมันคงไม่ใช่เหตุการณ์เดียวแต่มันสะสมกันมา โชคดีที่ตอนนั้นทั้งเพื่อน ทั้งพ่อแม่เป็นแบบนี้ กระทั่งเรื่องที่ครูบอกข้อสอบเด็ก เราก็คิดว่าเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้เราเป็นคนแบบทุกวันนี้

เราเห็นคนรุ่นใหม่ออกมาเรียกร้อง เห็นเกรียต้า ธุนเบิร์ก เห็น Black Lives Matter เห็นวัยรุ่นฮ่องกง เห็นกลุ่มนักเรียนนักศึกษาไทย เขามีเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือคล้ายกัน แต่เเรงกระเพื่อมต่อสังคมต่างกัน คุณคิดว่า สังคมความเป็นเอเชียนกับสังคมแบบตะวันตก มีผลต่อการแสดงออกต่อปัญหาสังคมไหม

คิดว่ามีนะ คือความเป็นเอเชียนมีทั้งข้อดีข้อเสีย ข้อดีคือเป็นครอบครัวใหญ่ คนเอเชียมักจะมีจุดร่วมกันคือเป็น Collectivism คือยูเป็นส่วนหนึ่งของผิวน้ำ น้ำหยดหนึ่งรวมกันเป็นทะเลใหญ่ และยูไม่ควร make waves ให้กับมัน จะสอนกันประมาณนี้ ในแง่ของความสงบเรียบร้อยมันก็ดี แต่ว่า ถ้าประเทศชาติอยู่ในสถานะที่ไม่ดีและควรจะเกิดการเปลี่ยนแปลง การสอนลูกว่ายูไม่ควรสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรเลย มันจะทำให้เขาแย่ในอนาคตเพราะบ้านเมืองก็จะไหลไปสู่ที่ที่มันไม่ควรจะไปมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นถามว่าการบอกให้ fit in กับคนอื่น พวกนี้มันมีผลหมดแหละ

เราชอบพูดกันว่าชอบเด็กที่ตั้งคำถาม สอนให้เด็กคิดเป็น ไม่จริงอะ! ยังบอกให้เด็กดูการเรียนการสอนทางไกลผ่านทีวีอยู่เลย ในบางโรงเรียนแค่จะไปเรียนผ่านคอมพิวเตอร์ยังไม่ได้ การสอนให้เด็กคิด มันกลายเป็นแค่สโลแกนที่ทำให้ทุกคนรู้สึกดี ใช้คำว่า Child Center แต่บางทีครูมีคำตอบอยู่แล้ว

ส่วนหนึ่งมันเกิดจากการที่ครูเองเขาโตมาแบบนี้ เขาก็เลยสอนต่อไปอย่างนี้ หรือเปล่า

มันก็ได้นะ แต่ว่าตัวครูเองต้องตระหนักด้วยว่าในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะยุคที่มีเทคโนโลยี มีอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ ความเปลี่ยนแปลงมันเกิดขึ้นแบบ exponential ซึ่งครูบางคนที่มีชีวิตเติบโตมาแบบเส้นตรง เขาไม่ควรเอาประสบการณ์ของตัวเองทั้งหมดมาตัดสินการเติบโตแบบ exponential นี้ เพราะมันจะกลายเป็นการทำให้เด็กไม่ได้ถูกฝึกให้มีทักษะเพื่อตลาดแรงงานในอนาคต หรือสังคมในอนาคต

ซึ่งถ้าครูมีความตระหนักว่าจริงๆ ฉันไม่รู้ รวมถึงพ่อแม่ด้วยนะ ขอแค่นี้เลย แค่ผู้ใหญ่ยอมรับกับตัวเองได้ว่าเราไม่ได้รู้ทุกอย่าง ไม่ได้เป็นโพยของเด็กและต้องไม่อายที่จะบอกลูกว่าไม่รู้ หรือบอกเด็กว่า เราไปหา Google ด้วยกันมั้ย มารู้ไปพร้อมกัน ผู้ใหญ่ต้องเลิกอำนาจนิยมก่อน เราว่าตรงนี้จะช่วยปลดล็อคได้

ทุกวันนี้เทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ซึ่งมันมีช่องว่างของความที่ผู้ใหญ่อาจจะไม่เข้าใจว่าเทคโนโลยีคืออะไร เขาเลยมีความกลัวต่อการเข้ามาของสิ่งนี้ เลยใช้วิธีจำกัดการใช้ของเด็ก ๆ 

จริงๆ เรื่องนี้เป็นปัญหาทั่วโลกเนอะ กระทั่งว่าเจ้าของแพลตฟอร์ม YouTube เขาก็ต้องพยายามที่จะมีฟังก์ชั่นมาเพื่อจำกัด เช่น YouTube Kids เพราะไม่อยากให้เด็กหลงไปดูคลิปที่ไม่ควร เราคิดว่าคำตอบมันจะตามสูตรมากเลย คือถ้าพ่อแม่ไม่รู้ พ่อแม่ก็ต้องใช้ไปกับลูก ถ้าไม่รู้ว่านี่คืออะไร ก็ศึกษาไปด้วยกัน ใช้ไปด้วยกัน เราว่าบางเรื่อง อย่างลูกมาบอกว่าสมัคร Tiktok มา พ่อแม่ก็เข้าไปดูหน่อยก็ได้ว่า Tiktok คืออะไร ถ้าปัดไปทั้งหมดว่าเรื่องคนรุ่นใหม่เป็นเรื่องไร้สาระ มันไม่ถูกต้อง

โซเชียลมีเดียเข้ามาช่วยเปิดพื้นที่ให้แสดงออก ช่วยให้เด็กพูด กล้าตั้งคำถามมากขึ้น แล้วแง่ลบที่เราควรรู้ทันและระวังล่ะ

algorithm ของ social network ต่างๆ พื้นฐานคือเสิร์ฟสิ่งที่เราชอบ ซึ่งการเสิร์ฟสิ่งที่เราชอบ ก็จะพาเราไปสู่ หนึ่ง echo chamber (ห้องแห่งเสียงสะท้อน) สอง ไปสู่ความคิดที่รุนแรงขึ้น (radical thinking) ได้ง่าย เช่น YouTube สมมติว่าเราคลิกวิดีโอประหลาดที่เสนอมาซักอัน สมมติเป็นวิดีโอตัดหัวตุ๊กตา YouTube ก็จะจำว่าเราชอบอย่างนี้ แล้วก็จะพาเราเข้าไปสู่หลุมดำของการตัดหัวตุ๊กตาและมันก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เรารู้สึกว่ามันไม่ได้มี เครื่องป้องกันให้เด็กขนาดนั้น สมมุติว่าเด็กอายุเกิน 10 ขวบใช้ YouTube เวอร์ชั่นผู้ใหญ่ แล้วเด็กเผลอเข้าไปในหลุมดำนั้น มันก็น่ากลัวนะว่าเขาจะสามารถตัดสินใจได้ไหมว่าอันนี้เป็นสิ่งที่ดีกับเขาหรือไม่ อันนี้อาจจะเป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องรู้ทัน ครูเองก็ต้องรู้ทัน

มันก็จะกลับไปที่พ่อแม่และครูเองก็ต้องรู้ ต้องมี Media Literacy

ซึ่งผู้ใหญ่เองเขาก็อาจจะไม่รู้ เด็กอาจจะรู้มากกว่าพ่อแม่ก็ได้นะ อย่าคลิกเข้าไปแบบนี้เยอะเพราะมันจะแนะนำมาอีกเยอะ ผมก็เคยเห็นเด็กที่เตือนพ่อแม่แบบนี้ หรือมีกระทั่งว่า ลูกของครอบครัวที่เป็นเพื่อนกัน แล้วพ่อแม่เขาชอบดูอะไรที่รุนแรง ลูกก็แอบเข้าคอมพ์พ่อแม่แล้วไปคลิกอะไรที่มันซอฟท์ๆ เพื่อไปถ่วงดุลไม่ให้มันแนะนำอะไรที่รุนแรงขึ้นมาเยอะ คือเขาก็มีวิธีการจัดการแบบของเขาซึ่งเรารู้สึกว่าน่ารักดี และเป็นมุมกลับว่าแทนที่พ่อแม่ต้องสอน Media Literacy ใส่ลูก แต่ลูกนี่แหละที่อาจจะเป็นคนสอนพ่อแม่ ยิ่งในยุคนี้เรายิ่งเห็นลูกสอนพ่อแม่ใช้เทคโนโลยีเยอะมาก สุดท้ายเราว่าคือการเปิดใจว่าตัวเราเองไม่ได้รู้มากที่สุดนะ

เริ่มจากยอมรับว่าเราไม่รู้ในบางเรื่อง เพื่อให้เกิดบทสนทนา แล้วเรียนรู้ไปพร้อมกัน ซึ่งมันก็มักจะหนีไม่พ้นความเห็นต่าง ยิ่งประเด็นร้อนอย่างการเมือง เราจะเริ่มสร้างบทสนทนาที่ดีได้อย่างไร 

เราคิดว่ามันต้องกลับมาเริ่มต้นที่การตั้งคำถามกันว่าทำไมถึงคิดอย่างนี้ เป็นเพราะอะไร ทำไมถึงคิดว่านาย A ดี เป็นเพราะว่านาย A เขามีประวัติอย่างนี้เหรอ 

การคุยที่ดีมันต้องอยู่ในโหมดที่ไม่ต่อสู้กัน ซึ่งการคุยแบบนี้ควรเริ่มได้ง่ายในสถาบันครอบครัวนะ เพราะโดยมากพ่อแม่ก็หวังดีกับลูก ลูกก็หวังดีกับพ่อแม่ ในครอบครัวไม่มีใครเป็นศัตรูกัน ไม่มีเจตนาแอบแฝง ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน คือมันเป็นสถาบันที่ถ้าฝ่ายหนึ่งดีอีกฝ่ายก็ดีใจตามไปด้วยโดยพื้นฐาน ดังนั้นเราคิดว่าควรใช้พื้นที่ตรงนี้เป็นจุดเริ่มในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน สุดท้ายแล้วเรากับพ่อแม่ก็เป็นหน่วยสังคมเดียวกัน

แต่ก็มีหลายเคสต์ที่ครอบครัวกลายเป็นพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัย มีหลายคนไม่คุยกับพ่อแม่เรื่องการเมืองเพราะว่ามีความเชื่อไม่ตรงกัน คุยแล้วทะเลาะเลยหลีกเลี่ยงดีกว่า เราจะเริ่มสร้างบทสนทนาการเมืองในบ้านได้อย่างไร

ปัญหาคือเมื่อทะเลาะกับพ่อแม่เนี่ย มันกระทบใจเยอะที่สุด มากกว่าทะเลาะกับคนในเน็ตเยอะ

เริ่มคุยจากเรื่องปัญหาเฉพาะหน้าของลูกก็ได้ เช่น ไปทำงานไม่ทันรถติด ทำไมถึงรถติด เพราะวางผังเมืองไม่ดีเหรอ รถไฟฟ้าสายนี้ไหนบอกจะเสร็จนานแล้ว อะไรอย่างนี้ มันเริ่มจากอะไรใกล้ตัวได้ รถไฟฟ้าสายนี้ไม่เสร็จเพราะว่าเขาไม่ต้องแคร์เราเหรอ ผลักศัตรูให้มันไกลจากคนที่พ่อแม่แคร์ไปหน่อย หาทางลงนิ่มๆ ให้เขา ถ้าไปหักที่โคนเขาเลย ไม่มีทาง เพราะเขาสั่งสมสิ่งนี้มา 50-60 ปี จะไปหวังโมเมนต์เหมือนในละครที่พูดประโยคเดียวแล้วน้ำตาไหล ไม่มีหรอก เอาเท่าที่ได้ก่อน ตั้งเป้าหมายต่ำหน่อย แล้วก็พยายามดึงให้มันเป็นเรื่องของความเป็นอยู่ เรื่องปากท้อง ทำไมไข่ถึงแพง ช่วงนี้คนลำบากเนอะป๊า ช่วงนี้ขายของไม่ดีเนอะ อะไรอย่างนี้ พยายามตั้งพื้นฐานด้วยความจริงบางอย่างให้ที่บ้านยอมรับก่อน มีเรื่องที่เห็นด้วยตรงกันก่อน เช่น ตอนนี้เศรษฐกิจไม่ดี แล้วเพราะอะไร ก็ค่อยไปแกะทีละปม

แต่หลายครั้งการตั้งคำถาม กลายเป็นผู้ใหญ่มองว่าเถียง หรือไปท้าทายความเชื่อของเขา

บางครั้งอาจจะต้องรอจังหวะที่เขาพูดขึ้นมาเอง จังหวะที่อีกนิดนึงจะไปสู่เรื่องนั้นได้แล้ว ลองใช้จังหวะนั้นโน้มเขามา ซึ่งมันก็ทำยากแหละ บางทีไม่พูดละกัน เบื่อ ก็ต้องค่อยๆ โน้มมาทีละนิดๆ ค่อยๆ เคลื่อน แล้วก็ตั้งความหวังไว้ในใจว่า ต้นไม้เป็นไม้ยืนต้นแล้ว อย่างมากได้แค่เคลื่อนกิ่งโน้นกิ่งนี้นิดหน่อย แต่จะไปเคลื่อนโคนคงไม่ได้ ต้องตั้งโจทย์นี้ไว้ในใจด้วย โดยเฉพาะลูกๆ ต้องรู้จักชื่นชมยินดีกับชัยชนะเล็กๆ

คุณคิดว่า Generation gap มีผลแค่ไหน ณ วันนี้ เรามีความเห็นไม่ตรงกับพ่อแม่ แต่ ณ วันข้างหน้าที่เราเติบโตขึ้น เราอาจกลายเป็นคนแบบที่ทะเลาะกับลูก

ผมคิดเรื่องนี้ตลอดเวลา คือเราเคยคิดว่าเราไม่สามารถอยู่ในด้านที่ถูกของประวัติศาสตร์ได้ ไม่สามารถมั่นใจในเรื่องนี้ได้ง่ายๆ อย่างเช่น สิทธิของคนข้ามเพศ (trans) คนที่เกิดมาก่อนหน้านี้เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีสิ่งนี้อยู่ในโลก trans เป็นสิ่งที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้แปลงเพศได้ระดับนี้ เพราะฉะนั้นมันเลยย้อนกลับไปที่ เราต้องสร้างพื้นที่ในการตั้งคำถามได้ ตอนนี้บางที่มันร้อนมากจนกระทั่งแค่การตั้งคำถามก็โดนด่า เพราะงั้นเหมือนกันกับเรื่องพวกนี้ ในอนาคต มันมี norm บางอย่างที่เราอาจจะไม่รู้เลยตอนนี้ อย่างสิทธิของหุ่นยนต์ เราไม่รู้ว่ามันควรจะทำอย่างไรในอนาคต เพราะตอนนี้เราก็ไม่มีฐานด้วยซ้ำว่าคนจะปฏิบัติอย่างไรกับหุ่นยนต์หรือแรงงานบางอย่างที่มนุษย์เป็นส่วนประกอบ 10% เป็นสิ่งที่เทคโนโลยียังมาไม่ถึง แต่ในอนาคตถ้ามันมาถึงแล้ว เราจะเอาอะไรเป็นฐานคิดเราก็ต้องกลับไปสู่ฐานคิดแบบที่เราเคยมี ซึ่งตอนนั้นมันอาจจะใช้ไม่ได้แล้ว ดังนั้นผมคิดเรื่องนี้ตลอดเวลาว่า อย่ามั่นใจนักว่าเราถูกต้องในเมื่ออีก 100 ปีข้างหน้าการที่เราจะถูกต้องไม่น่าจะเป็นไปได้

สรุปคือ เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ยังคงเปิดใจรับข้อมูลใหม่ๆ เสมอ

ใช่ และบางเรื่องก็ต้องรู้ว่าไม่รู้ สำคัญที่สุดคือต้องยอมรับว่าบางเรื่องก็ไม่รู้ คนที่สร้างปัญหาคือคนที่บอกว่าตัวเองรู้ทุกอย่าง และพยายามที่จะยัดเยียดความรู้ของตัวเองเข้าสู่คนอื่น ซึ่งถ้าคนที่บอกว่าตัวเองรู้ทุกอย่างอยู่ในตำแหน่งที่อำนาจไม่เยอะมากก็อาจจะไม่เป็นไร แต่ถ้าอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจมาก เช่น เป็นพ่อ เป็นครู เป็นข้าราชการ มันก็อาจจะแย่ไง

วันนี้ ครอบครัวในมุมของคุณหมายถึงอะไร

เราคิดว่าสุดท้ายแล้วครอบครัวในนิยามใหม่ คือหน่วยของสังคมที่เล็กที่สุด ดังนั้นมันคืออะไรก็ได้ใช่ไหมฮะ ผมคิดว่าต่อไปเราจะเห็นครอบครัวที่มีลักษณะเป็นเพื่อนกันที่อาศัยอยู่ด้วยกันเฉยๆ มากขึ้นแล้วก็เรียกว่า อันนี้คือครอบครัว ในอนาคตอันนี้จะกลับไปเชื่อมกับเรื่องเดิมที่พูดเมื่อกี้คือเราไม่มีทางรู้ว่า เราอยู่ในจุดที่ถูกต้องของประวัติศาสตร์ เพราะว่าถ้าต่อไปในอนาคตมันมีกฎหมายที่ recognize ว่าการที่เพื่อนที่อยู่กันสองคน ไม่ได้เป็นแฟนกัน ถือว่าเป็นครอบครัวแล้ว สิทธิของอันนี้คืออะไร มันจะเท่าคู่แต่งงานไหม เราก็ไม่รู้ใช่ไหม คู่แต่งงานอาจจะศักดิ์สิทธิ์มากไม่สามารถไปแตะได้เลย แต่เพื่อน 2 คนอยู่กันเป็นครอบครัวทำไมถึงไม่ไป recognize เขา หรือเพื่อนอยู่กับหมาทำไมไม่ recognize ว่านี่คือครอบครัว แล้วหมาถือว่าเป็นคนในครอบครัวไหม ถ้าหมาป่วยต้องลางานได้ไหม 

ซึ่งเราไม่รู้ว่าถูกต้องหรือเปล่า ดังนั้นมันก็กลับมาที่ว่าครอบครัวคือหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคม ซึ่งหน้าตาจะเป็นยังไงก็ได้ เรารู้สึกอย่างนี้ แต่คงไม่ไปถึงขนาดว่า 1 คนคือครอบครัวได้ แต่อย่างน้อย 2 หน่วยของสิ่งมีชีวิตขึ้นไปอาจเรียกว่าครอบครัวได้ อันนี้ก็คงต้องคิดกันต่อไป แต่อย่างไรก็ตามเรารู้สึกว่า ด้วยความที่มันเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในสังคมและมันเป็นหน่วยที่เชื่อมโยงกันอย่างแนบแน่นที่สุด มันก็สามารถ shape คนคนนึงได้เยอะที่สุดเหมือนกัน ดังนั้นก็เลยผูกกลับมาว่าการที่จะบอกว่าให้สังคมมันก้าวหน้า สังคมบูรณาการซึ่งกันและกัน ก็ต้องเริ่มที่หน่วยเล็กที่สุดก็คือครอบครัว และก็ต้องทำให้ทุกหน่วยในครอบครัวเห็นว่ามันมีโครงสร้างอำนาจยังไง คือเวลาบอกว่าคนเราเท่ากัน เริ่มจากครอบครัวก่อนได้ไหม

ถ้าผู้ปกครองรุ่นใหม่ อยากสนับสนุนลูกให้เติบโตมากล้าคิดกล้าทำ ประสบความสำเร็จ (แบบคุณ) มันมีปัจจัยอะไรบ้างที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กๆ เติบโต 

การเปิดประตูให้ลูกเยอะๆ บ้านผมค่อนข้างผลักผมเรื่องนี้ อย่างเช่นตอนเด็กซื้อเลโก้มาให้ ซื้อคอมพิวเตอร์ให้ ให้เรียนเปียโน เรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งเรื่องพวกนี้ยิ่งเปิดประตูให้ลูกมากเท่าไหร่ ลูกจะยิ่งเห็นว่าอะไรที่เขาชอบอะไรที่เขาไม่ชอบ และมันจะติดตัวไปในอนาคต อาจจะไม่ต้องไปเสียเงินเปิดประตูขนาดนั้นก็ได้นะ แต่ชี้ชวนให้ลูกดูวีดีโอ ดูรายการนี้ไหม ลองสำรวจลูกเยอะๆว่าจริงๆแล้วเขามี preference ไปทางด้านไหนบ้าง แล้วก็ถ้าเขาเจอสิ่งที่ชอบก็ encourage ซึ่งเรื่องนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่พ่อแม่สมัยใหม่ทำได้ดีมากๆอยู่แล้ว

ซึ่งประตูไม่ควรมาพร้อมความคาดหวังนะ อย่างเราเล่นเปียโนพ่อแม่ไม่เคยให้เราไปสอบใบเซอร์ฯหรือประกวดอะไรทั้งสิ้น คือเล่นเพื่อเล่น แต่ถ้าลูกอยากแข่งขันเองนั่นแหละจึงให้ไป เปิดใจและโอบอุ้มบทสนทนาของลูกในเรื่องนั้นโดยที่ไม่ไปบอกว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

สุดท้าย อยากฝากอะไรถึงผู้ปกครอง

ผมคิดว่าตอนนี้สภาพสังคมไทยเป็นสภาพที่ร้อน ร้อนแบบระอุ คือเอาแค่จากโลกทวิตเตอร์ก็ได้ เราจะเห็นว่า มันมีคำถามที่แหลมคมออกมาตลอดเวลา เราคิดว่าถ้าข้างนอกร้อนมากแล้ว ในครอบครัวพยายามทำในบ้านให้ไม่ต้องร้อน พยายามอุ่น แค่อุ่นก็พอแล้ว อันนี้คงฝากไปถึงทุกคนในครอบครัวที่ไม่ใช่พ่อแม่อย่างเดียว ในบ้านคือเป็นที่พักจากข้างนอกบ้างเถอะ

ส่วนถ้าฝากไปถึงผู้มีอำนาจก็จะฝากว่า เริ่มยอมรับว่าไม่รู้ก่อน

Tags:

ประชาธิปไตยกลั่นแกล้ง(bully)โซเชียลมีเดียMedia literacyประเด็นทางสังคม

Author:

illustrator

ภาพพิมพ์ พิมมะรัตน์

เพิ่งค้นพบว่าเป็นคนชอบแมวแบบที่ชอบคนที่ชอบแมวมากกว่าชอบแมว (เอ๊ะ) มีความฝันว่าอยากเป็นแมวที่ได้อยู่ใกล้ๆคนที่ชอบ (จริงๆ ก็แค่อยากมีมนุดเป็นทาสและนอนทั้งวันได้แบบไม่รู้สึกผิดน่ะแหละ)

Related Posts

  • Voice of New Gen
    การมีบ้านเมืองที่มองเห็นอนาคต : โลกใบใหม่ที่คนรุ่นใหม่วาดฝัน

    เรื่อง กุลธิดา ติระพันธ์อำไพ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Voice of New Gen
    ชวนฟังเสียงจากคนรุ่นใหม่ Voice of new gen

    เรื่อง The Potential

  • Social Issues
    65 ปี คำขวัญวันเด็ก คำท่องจำที่สะท้อนความคาดหวังต่อเด็กจากรัฐ แต่ไม่เคยสะท้อนเสียงของเด็กเลยสักครั้ง

    เรื่อง The Potential

  • Education trend
    เพราะผู้ใหญ่กลั่นแกล้งและไม่เคารพกัน เด็กๆ จึง BULLY ตาม

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • Social Issues
    ในโลกแห่งความจริง เราต่างเคย BULLY ซึ่งกันและกัน

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊ ภาพ บัว คำดี

รดิศ ค้าไม้: จากเด็กติดเกมสู่นักออกแบบเกม เกมเป็นครู เป็นความฝัน และผู้สอนทักษะการบริหาร
Voice of New Gen
9 September 2020

รดิศ ค้าไม้: จากเด็กติดเกมสู่นักออกแบบเกม เกมเป็นครู เป็นความฝัน และผู้สอนทักษะการบริหาร

เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • เมื่อเกมไม่ใช่แค่สื่อบันเทิงผ่อนคลายอารมณ์ แต่เป็นครูคนหนึ่งของ รดิศ ค้าไม้ หรือ ภูมิ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ภูมิ เป็นเด็กเจเนอเรชัน Z ที่โตมากับการเล่นเกม เขาชอบมันจนถึงขั้นคลั่งไคล้ จากแค่ชอบเล่นเกม ปัจจุบันภูมิออกแบบเกมที่ชื่อว่า Kings of Dungeon เกมคอมพิวเตอร์ตะลุยด่านทั่วไปแต่มีทีเด็ดที่การใช้สมาร์ทโฟนเป็นตัวควบคุม (controller)
  • ในวันที่โลกเปลี่ยนเร็วและแรง อาชีพใหม่และแปลกเกิดขึ้นอย่างไม่อาจจับตาทัน The Potential ชวนภูมิคุยถึงชีวิตที่เกิดและเติบโตมากับการเล่มเกมจนวันนี้กลายเป็นความฝันและอาชีพของเขา ทั้งหมดนี้มันให้อะไรกับเขาบ้าง

เวลาพูดถึง ‘เด็กติดเกม’ ภาพในหัวเป็นเด็กใส่แว่นหน้ามันผมเหนียว วันๆ คลุกอยู่หน้าจอไม่ออกนอกห้องและไม่กินข้าวกินปลา พ่อแม่หนักใจต้องสรรหาทุกวิธีมาต่อรองให้ลูกเล่นน้อยลง ภาพนี้เป็นจริงในบางบ้านและผู้ปกครองหลายคนก็หนักใจอยู่

พูดอย่างไม่ให้กำลังใจ เกมในปัจจุบันยังแตกแขนงไปหลายหลายรุ่น หลายเรื่องราว หลากวิธีเล่น ทั้งซึมซาบไปอยู่ในสมาร์ทโฟนของคนแทบทุกวัย เกมออนไลน์หลายประเภทกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารของกลุ่มเพื่อนที่รู้จักในชีวิตประจำวันและไม่เคยเห็นหน้าแต่รู้จักกันดีในโลกออนไลน์

เกมกลายเป็นอีกหนึ่งความบันเทิงชีวิตที่ใครๆ ก็เล่นกัน บางช่วงเวลา …หากคุณไม่รู้จักเกมบางตัวที่ฮิตติดลมบนก็อาจถูกมองเป็นคนตกยุคไปเลยก็มี เกมยังกลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่และเป็นอาชีพของคนจริงๆ ในยุคปัจจุบันไปแล้ว 

รดิศ ค้าไม้ หรือ ภูมิ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือหนึ่งในเด็กติดเกม โตมากับเกม ขนาดเคยกล่าวว่าเกมเปรียบเป็นครูคนหนึ่งของเขา วันนี้ภูมิกลายเป็นนักพัฒนาเกมมืออาชีพและมือรางวัลตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ

ในวันที่โลกเปลี่ยนเร็วและแรง อาชีพใหม่และแปลกเกิดขึ้นอย่างไม่อาจจับตาทัน The Potential ชวนภูมิคุยถึงชีวิตที่เกิดและเติบโตมากับการเล่มเกมจนวันนี้กลายเป็นความฝันและอาชีพของเขา ทั้งหมดนี้มันให้อะไรกับเขาบ้าง

เด็กชายภูมิที่โตมากับเกม เกมเป็นทุกอย่างและเป็นครูของเขา

ที่จริงแล้วภูมิเหมือนเด็กเจเนอเรชัน Z ทั่วไป (อันที่จริงก็เริ่มตั้งแต่เจเนอเรชัน Y ตอนกลาง) ที่เติบโตมากับการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ เกมจอย เกมในสมาร์ทโฟน เพียงแต่เขาอาจจะคลั่งไคล้และให้เวลากับมันมากหน่อย การเล่นเกมของภูมิก็ไม่ได้กระทบการเรียน นั่นจึงเป็นเหตุให้เขาไม่กระทบกระทั่งกับคนในครอบครัว

อีกด้านของเหรียญเดียวกัน เกมกลายเป็นความชอบ ความฝัน และมีผลต่อระบบวิธีคิดในสมองของเขาโดยไม่รู้ตัว

“ผมเล่นตั้งแต่ตอนที่ผมอายุประมาณ 7-8 ขวบ คิดดูแล้วเกมออนไลน์สอนการใช้ชีวิตให้ผมนะ เกมนึงที่ผมเล่นตอนเด็กๆ มันเป็นเกมเกี่ยวกับระบบค้าขาย เราต้องหาของมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน ทำให้เราเข้าใจระบบเศรษฐกิจอย่างง่ายว่าถ้าของมีปริมาณน้อยราคาจะแพง ส่วนของที่หาได้ง่ายและขายได้ไม่เยอะก็จะราคาถูก มันยังมีระบบปาร์ตี้ให้เรากับเพื่อนไปสู้กับมอนสเตอร์ พูดไปแล้วมันสอนการเข้าสังคมนะ รู้จักบทบาทหน้าที่ของตัวเอง สอนเรื่องสัมพันธ์ของกลุ่มเพื่อให้เราจัดการกับมอนสเตอร์ได้ หมายถึงว่า เกมมันให้ประสบการณ์หลายๆ อย่างที่ใกล้เคียงกับโลกจริง แต่ในโลกจริงอาจไม่เคยได้ทำหรือทำไม่ได้

“ด้วยความที่โตมากับเกม เล่นมาเยอะมากและเล่นหลายแพลตฟอร์ม ผมก็อยากจะสร้างมันขึ้นมาเองบ้าง เวลาเห็นอะไรเราก็จะนึกโดยอัตโนมัติว่าถ้าอยู่ในรูปแบบเกม เราจะทำให้มันสนุกได้ยังไง จะถ่ายทอดให้คนอื่นเล่นได้ยังไง จะสร้างมันขึ้นมาได้ยังไงนะ” ภูมิกล่าว

จุดเปลี่ยนที่ทำให้จากนักเล่นเกมกลายเป็นนักสร้าง คือวันที่ภูมิอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ เพราะด้วยความที่เรียนหลักสูตรวิทย์-คณิต ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่านักเรียนที่ชอบสายเทคโนโลยีมักอยากฝึกมือด้วยการทำโครงงานเข้าประกวด โดยเวทีการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (National Software Contest) หรือ NSC เป็นหนึ่งในนั้น

ภูมิได้รับการชักชวนจากครูที่โรงเรียนประกอบกับเพื่อนคนอื่นๆ ในรุ่นเดียวกันก็ตบเท้ากันคิดและเขียนโครงการเข้าประกวดด้วย

“ผมส่งเกมของผมเข้าประกวดในเวที NSC ตอนอยู่ม.4 แต่ด้วยความที่ไม่ได้อยู่ห้อง gifted computer (โครงการห้องเรียนพิเศษคอมพิวเตอร์) ไม่มีเรียนมาทางคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมโดยตรง เลยลำบากกว่าทีมที่เรียนด้านนี้มาโดยตรง และเพื่อนในห้องผมก็ไม่ได้สนใจโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขนาดนั้น เลยมีแค่เราคนเดียวในห้องที่สนใจและทำเกมเข้าประกวด

“อาจารย์บอกว่าไหนๆ เราก็ต้องทำโครงงานส่งในห้องเรียนอยู่แล้ว ทำไมไม่ลองส่งงานอันนี้เข้าประกวดดู ตอนนั้นผมไม่มั่นใจในผลงานตัวเองนะ แต่อาจารย์บอกว่ามันโอเคนะ ก็เลย อะ… ลองส่งดู แต่ผลลัพธ์ออกมาเลยไม่ค่อยดีเท่าไรฮะ คือผ่านเข้ารอบแต่ไม่ได้เข้ารอบระดับประเทศ

“แต่พอได้ลองทำแล้วชอบ หลังจากนั้นเลยทำงานส่งประกวดทุกปี ค้นคว้าเอง ฝึกเองไปเรื่อยๆ จนพอเข้ามหา’  ลัย ผลงานของเพื่อนสนิทคนหนึ่งเค้าได้รับคัดเลือกเข้าโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่เพื่อไปพัฒนางานต่อ แต่เนื่องจากเขาเคยเข้าโครงการต่อกล้าฯ มาแล้ว อยากให้เพื่อนคนอื่นได้เข้าไปเวิร์กช็อปในค่ายต่อกล้าฯ บ้าง เขาเลยสละงานชิ้นนี้ให้ผมมาทำต่อ”

ผลงานที่ว่าก็คือเกม Kings of Dungeon เกมคอมพิวเตอร์ตะลุยด่านทั่วไปแต่มีทีเด็ดที่การใช้สมาร์ทโฟนเป็นตัวควบคุม (controller) ที่กรรมการในเวที NSC เห็นว่าสร้างสรรค์และน่าสนใจจนได้รับรางวัลเข้ารอบลึก แม้ภูมิไม่ได้เป็นคนคิดค้นเกมนี้ขึ้น แต่การถูกเพื่อนทาบทามให้เป็นผู้พัฒนาต่อ ก็ถือเป็นความท้าทายและก้าวสำคัญการเป็นนักพัฒนาเกม

จากเด็กติดเกมสู่นักพัฒนาเกม ที่ต้องใช้ทักษะการบริหารบุคคลเข้ามาสร้างอาณาจักรตัวเองด้วย

การเล่นเกมคือเรื่องนึง แต่การเป็นนักพัฒนาเกมเป็นอีกเรื่อง การเข้าค่ายต่อกล้าฯ ครั้งนี้ทำให้ภูมิต้องทำให้ Kings of Dungeon เป็นรูปเป็นร่าง เล่นได้จริง รวมทั้งต้องทำงานกับผู้คนมากมายเพื่อก่องานให้เกิดขึ้น

โครงการต่อกล้าฯ มีกำหนดว่าทุกทีมต้องเข้าไปพัฒนาทักษะกับโคชจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เป็นเวลา 8 เดือน เพื่อเรียนรู้ทักษะการออกแบบพื้นฐานอย่าง UI (User Interfere) หรือ หน้าตาความยากงานของการใช้งานแอพพลิเคชัน UX (User eXperience) ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน ทักษะการตลาด ทักษะการสื่อสารเพื่อขายงาน เป็นต้น

โดยในช่วงแรกนั้น ภูมิหาเพื่อนร่วมทีมมาร่วมทีม เช่น มือเขียนโค้ด คนทำกราฟฟิก ทีมประสานงาน ซึ่งระหว่างทางการเข้าไปพัฒนาเกมในค่ายต่อกล้าฯ ร่วม 8 เดือน สมาชิกในทีมมีเข้าและออกหลายครั้งระหว่างทาง แต่คนที่อยู่พัฒนาเป็นหลักคู่กันคือ นักพัฒนาโปรแกรม (developer) มือโค้ดดิ้งอย่าง ทัช-ศรันย์ เสือสุวรรณ

“ตอนแรกผมไม่รู้เลยว่าโครงการต่อกล้าฯ คืออะไร แต่ภูมิมาชวนให้พัฒนาเกมด้วยกันก็รู้สึกสนใจมาก เพราะการเรียนในห้องไม่ได้มีโปรเจกต์ให้ได้ทดลองมากนักโดยเฉพาะการทำโปรแกรม ส่วนตัวผมเองตอนนั้นก็ยังไม่รู้ตัวมากว่าเราอยากจะเป็นหรือทำอะไรจริงๆ การเข้ามาเวิร์กช็อปและพัฒนาเกมกับภูมิ น่าจะเป็นประสบการณ์ที่ดี อย่างน้อยให้ได้ค้นหาตัวเองและทดลองอะไรบางอย่าง” ทัชกล่าว

นอกจากทัชที่ถือเป็นมือขวาในการเขียนโค้ด ยังมี ไอซ์-มือโค้ดดิ้งอีกคน, ทิว-กราฟฟิกดีไซน์เนอร์, และฟลุ๊ก ประสานงานและหน่วยสนับสนุนการทำงานของทีม ทั้งสามคนเล่าให้ฟังคล้ายกันว่าการเข้ามาพัฒนาเกม แม้ไม่ได้เป็นโปรเจคต์ยิ่งใหญ่ แต่มันเป็นพื้นที่ทดลองให้ทั้งสามได้มาทำงานที่มีปัญหาให้แก้จริง มีโคชที่คอยให้คำแนะนำ สำคัญที่สุด คือการทำงานเป็นทีมที่ยากกว่างานกลุ่มอื่นๆ

“หน้างานของผมจะสร้างตัวละคร เช่น Monster แต่ละตัวทำอะไรได้บ้าง จะใช้ท่าทางการต่อสู้ยังไง ทัชจะเป็นคนดูเรื่องลูกเล่นว่าจะมีอะไร ถ้าทำให้ส่วนประกอบนี้มันจาง ซ่อน หรือซ้อนกันต้องทำยังไง ไอซ์จะเป็นคนดูพวกระบบการเชื่อมต่อของสมาร์ทโฟนว่าจะควบคุมยังไง ส่วนใหญ่แล้วผมจะกระจายงานให้ทุกคนทำพร้อมกันไปได้เลยจะได้ไม่ต้องมานั่งคอยกัน ทุกคนก็ทำกันไปไม่มีปัญหา

“ความยากคือเราจะมีมาตรฐานในหัวว่าเราอยากได้งานคุณภาพไหน แต่บางครั้งไม่ได้ตามนั้น หรือได้แต่ช้ามาก ก็ต้องคอยดูมาตรฐานและพยายามให้ทันเวลา เช่น อย่างทิวก็จะเป็นคนที่ตามตัวยากมาก (หัวเราะ) ต้องคอยตามว่าเขาทำถึงไหนแล้ว แต่เรารู้ว่าแม้งานมาช้าแต่มีประสิทธิภาพ คือได้งานมาแล้วทำต่อได้เลย อันนี้ก็เป็นข้อดีของเขา” ภูมิเล่าให้ฟัง

“มันไม่ใช่แค่งานกลุ่ม แต่มันเหมือนงานจริงๆ” ทัชเสริมและว่า พอเข้าโครงการต่อกล้าฯ ทำให้เขาและเพื่อนถูกชวนไปเขียนโค้ดให้กับโปรเจกต์นอกห้องเรียนอื่นๆ ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ที่ดี แต่ถ้าถามว่า การทำ Kings of Dungeon ให้อะไรทัชที่สุด ทัชตอบว่า…

“ได้รู้ว่าไม่ชอบทำเกมฮะ (หัวเราะ) แต่รู้ว่าผมชอบเขียนโค้ดนะ แต่อยากเขียนโค้ดให้กับเว็บไซต์ที่ต้องใช้เทคนิคเยอะหน่อย เช่น เขียนเว็บไซต์ขายของที่ต้องกรอกรายละเอียดแล้วประมวลผล อะไรเทือกนั้นมากกว่า” ทัชกล่าว

ขณะที่ภูมิ ในฐานะหัวหน้าทีมและมีแพชชันกับโครงการนี้ที่สุดบอกว่า สิ่งที่ได้คือได้รู้ว่าเขาชอบเกมจริงๆ และฝันอยากจะเป็นนักพัฒนาเกมหลายๆ อย่าง

“สิ่งที่อยากทำในฐานะนักพัฒนาเกมคือ ผู้เล่นต้องได้รับรู้ความในใจของเรา เช่น เราต้องการให้ผู้เล่นรู้สึกแบบเดียวกับที่เรารู้สึกเวลาเล่นเกมสนุกๆ สักตัว อยากให้เค้าอิน ให้เค้าสนุก รู้สึกอยากเล่นต่อ”

นี่คือความในใจของอดีตนักติดเกม ที่วันนี้กลายเป็นคนที่มีแพชชันในการพัฒนาต่อยอดสิ่งที่ตัวเองรัก และกลายเป็นอาชีพได้จริงๆ

Tags:

วัยรุ่นโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่นวัตกรเกมNational Software ContestGeneration of Innovator

Author:

illustrator

ณิชากร ศรีเพชรดี

แอดมิชชันเข้าคณะการเขียนและสิ่งพิมพ์เพราะคิดว่าเขาจะสอนให้เขียนนิยาย แทนที่จะได้เขียนจากจินตนาการ อาจารย์และทุกอย่างที่นั่นเคี่ยวกรำให้ทำ-คิด-เขียน-รู้สึกกับประเด็นสังคม ยังคงสนุก(มาก)กับงานสื่อสาร ฝันสูงสุดคือยังเข้มแข็งเขียนงานได้อย่างมีคุณภาพและฐานะดี

Related Posts

  • Voice of New Gen
    ปิยะธิดา อินทะนัย: จากนักเรียนสู่นักวิจัยรุ่นเยาว์ ผ่านโครงการทำอาหารกุ้งฝอยจากเบต้ากลูแคน

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ The Potential

  • Voice of New Gen
    ‘ภูมิ’ เด็กสร้างค่าย เปลี่ยนเด็กธรรมดาให้กลายเป็น ‘นักสร้างสรรค์’ ภายใน 3 วัน

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • Voice of New Gen21st Century skills
    ‘ภูมิ’ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ผู้หยุดการศึกษาไว้ที่ ม.4 เพื่อเริ่มการเรียนรู้ตลอดชีวิต

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Growth & Fixed Mindset
    ‘กล้า’ เด็กหนุ่มที่เติบโตและอีโก้หายไปในโรงเพาะเห็ด

    เรื่อง

  • Voice of New Gen
    OUR DARKEST NIGHT เกมสายดาร์คของเด็กมัธยม บ่มจาก PASSION

    เรื่อง

‘เราจะก้าวสู่จุดที่เด็กทำวิจัยกับนักวิจัยเพื่อส่งของขึ้นอวกาศอย่างเป็นเรื่องปกติ’ ภูมิปรินทร์ มะโน
Voice of New Gen
8 September 2020

‘เราจะก้าวสู่จุดที่เด็กทำวิจัยกับนักวิจัยเพื่อส่งของขึ้นอวกาศอย่างเป็นเรื่องปกติ’ ภูมิปรินทร์ มะโน

เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษาณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ ธีระพงษ์ สีทาโส

  • “เส้นทางยังอีกยาวไกลครับ ผมในฐานะเด็กคนหนึ่งที่อีก 60 ปีก็อาจจะตายแล้ว สิ่งที่เราต้องทำตอนนี้ คือ เราต้องสร้างฐานให้คนจำนวน 2.5% ในวันนี้สามารถก้าวไปสู่ 13.5% สู่ 34% แล้วเราจะก้าวไปสู่จุดที่คนทั่วไปมองว่าเป็นเรื่องปกติที่เด็กมัธยมจะลุกขึ้นมาแก้ปัญหา จุดที่คน 34% ในกราฟบอกว่าปกติมากที่เด็กทำวิจัยกับนักวิจัยเพื่อส่งของขึ้นอวกาศ”

“เราอยากให้คนที่เขียนโปรแกรมได้ เป็นมากกว่าคนที่เขียนโปรแกรมตามคนอื่น แต่เป็นคนที่สามารถเสกสิ่งต่างๆ ขึ้นมา เราอยากให้เขาเป็นนวัตกรจริงๆ ไม่ใช่แค่คนเขียนโปรแกรมเป็น“

นี่คงเป็นประโยคที่อธิบายเป้าหมายของ ภูมิ – ภูมิปรินทร์ มะโน ในวัย 19 ปี

เราเชื่อว่าผู้อ่านหลายคนคงคุ้นชื่อของภูมิเป็นอย่างดีจากข่าวการลาออกจากโรงเรียนตั้งแต่ชั้นม.4 แล้วเข้าไปคลุกคลีในแวดวงนวัตกรตั้งแต่อายุ 15 ปี พออายุ 17 ปีภูมิก็ได้ทำงานเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) ที่อายุน้อยที่สุดของบริษัท OmniVirt สตาร์ทอัพสัญชาติไทยในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และสร้างค่าย YCC (Young Creator’s Camp) เพื่อเป็นพื้นที่ให้เด็กคนอื่นๆ ค้นหาและพัฒนาตัวเอง 

ธีมใหม่ที่ The Potential กำลังขับเคลื่อน คือ Generation of Innovators ยุคที่คนรุ่นใหม่จะลุกขึ้นมาสร้างสรรค์นวัตกรรมในสังคม นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เราชวนภูมิกลับมาคุยอีกครั้งในวาระนี้ เริ่มตั้งแต่เรื่องดั้งเดิมอย่างการสร้างค่าย YCC กระบวนการมอบความรู้ การสร้างนวัตกรและสภาพแวดล้อมที่เหมาะให้เด็กๆ ได้ค้นหาตัวเองระหว่างเติบโต ไปจนถึงการเข้าสู่ Generation of Innovators ประเทศไทย 

ก่อร่างสร้างค่าย

จุดเริ่มต้นของการสร้างค่าย YCC (Young Creator’s Camp)

ผมรู้สึกว่าสังคมโปรแกรมเมอร์ไทยมีปัญหาหนึ่ง คือ เด็กไทยหลายคนอยากเป็นโปรแกรมเมอร์เพราะอยากหาเงิน อยากได้อาชีพที่มั่นคง ซึ่งผมรู้สึกว่าคนที่มีทักษะเหล่านี้เขาสามารถทำอะไรได้มากมาย ไม่ใช่แค่ทำเป็นอาชีพ อย่างเช่น เราสามารถแก้ไขปัญหาบางอย่างผ่านการเขียนโปรแกรมได้

จุดประสงค์ที่ผมสร้างค่าย YCC มีหลักๆ 3 ข้อ คือ หนึ่ง – เราอยากให้คนที่เขียนโปรแกรมได้เป็นมากกว่าคนที่เขียนโปรแกรมตามคนอื่น เป็นคนที่สามารถเสกสิ่งต่างๆ ขึ้นมา เราอยากให้เขาเป็นนวัตกรจริงๆ ไม่ใช่แค่คนเขียนโปรแกรมเป็น

สอง – เราอยากฝึกเด็กผ่านการเป็นสตาฟ คือที่ค่ายเราให้ความสำคัญมากกว่าการเป็นแค่ ‘สตาฟ’ ทุกคนสามารถทำอะไรแล้วล้มเหลวได้ เราไม่ซีเรียส เพราะเราโฟกัสแค่ว่า ‘เขาได้เรียนรู้อะไรกลับไป’ ช่วงแรกๆ สตาฟจะเป็นคนรู้จักที่ผมชวนมา แล้วเขาก็ชวนต่อกันไปเรื่อยๆ ตอนนี้มีสตาฟ 100 กว่าคนแล้ว 

สาม – ให้เสียง (Voice) กับพวกเขา ที่ค่าย YCC เรามีคติหนึ่งคือ ‘เสียงของทุกคนสำคัญ’ เราให้ทุกคนได้มีสิทธิ์พูด แล้วเราก็จะสอนเรื่อง reasoning หรืออะไรที่เป็นอัตวิสัย เช่น ความคิดเห็น และ อะไรที่เป็นวัตถุวิสัย เช่น ข้อเท็จจริง พอเราสอนเรื่อง voice เขาจะรู้สึกว่าสิ่งที่กำลังทำมันจริงจัง เขาก็จะตั้งใจสร้างสรรค์ผลงานที่สามารถแก้ปัญหาให้ตัวเองและคนอื่นได้จริง และเราจะไม่สอนให้เขาเชื่อใครง่ายๆ ไม่เชื่อสตาฟ ไม่เชื่อโค้ช เพราะคนเดียวที่เขาจะเชื่อคือ ผู้ใช้งานจริง 

ที่ MIT (Massachusetts Institute of Technology หรือ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์) เขาจะมีคติอยู่อันหนึ่ง คือ ‘Mind and Hands: ใจและมือ’ เขาเชื่อว่าการเป็นนักสร้างต้องไม่เพียงแค่สร้างอย่างเดียว แต่ต้องใช้เสียงตัวเองให้เป็นประโยชน์ด้วย ซึ่งผมก็เอาคตินี้มาใช้ในค่ายด้วย 

เราบอกคนในค่ายเสมอว่า เราไม่ใช่คนเขียนโปรแกรมอย่างเดียว แล้วก็ไม่ใช่คนคิดไอเดียอย่างเดียวด้วย แต่มันเป็น Hacker Culture คือ เราเข้าใจว่าโลกนี้มีอะไรที่เราอยากเห็น มีอะไรที่เราอยากให้เป็น แล้วถอยหลังมาก้าวหนึ่ง

แต่ภาพจำของคนส่วนใหญ่ที่มีต่อ Hacker ไปทางแง่ลบ ทำไมถึงกลายมาเป็นวัฒนธรรมของการสร้างโปรแกรมเมอร์

Hacker Culture มันคือการที่เราอยากสร้างอะไรทำเลย อยากให้โลกเป็นแบบไหนทำมันออกมา ปกติคนมักคิดว่าแฮคเกอร์คือคนน่ากลัว นั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ แต่นิยามที่แท้จริงของแฮคเกอร์ คือ คนที่หลงใหลในคอมพิวเตอร์มากๆ ในระดับที่เข้าใจทุกอย่าง จนสามารถทำสิ่งที่คนคิดระบบนึกไม่ถึง ผมว่ามันเป็นวัฒนธรรมหนึ่งที่ทำให้โลกก้าวหน้าขึ้น

ผมขอยกตัวอย่างงานตัวเองที่ชื่อว่า Stupid Hackathon เป็นจุดเริ่มต้นของ Hacker Culture ในประเทศไทย คืองาน Hackathon จะเป็นงานที่คนมารวมกลุ่มกันเพื่อโยนไอเดียต่างๆ แล้วแข่งกันเสนอไอเดียนั้น แต่ Stupid Hackathon ของเรามีเป้าหมายที่ไกลออกไป คือ เราอยากเห็นผลงานที่เป็นรูปร่างจริงๆ อยากผลักดันความคิดนี้ให้กลายเป็น mindset ของโปรแกรมเมอร์ในไทย

ส่วนตัวผมไปงาน Hackathon มาเยอะ เห็นบ่อยมากว่าทีมที่เขียนโปรแกรม เขาแทบไม่ได้ดูโปรแกรมของตัวเองเลย เขาสนใจแค่โมเดลธุรกิจเท่านั้น ทั้งๆ ที่โปรแกรมเมอร์สามารถเนรมิตผลงานขึ้นมาได้ แต่กลับให้เขาอยู่เฉยๆ หลายคนอาจคิดว่าโปรแกรมเมอร์ทำงานตามคำสั่ง แต่ผมมองว่า Hacker Culture ทำให้โปรแกรมเมอร์ไม่มองโลกอยู่แค่ในกรอบ ทำให้เขามองข้ามศาสตร์ความรู้หรือสายการเรียนไปเลย เคยมีคนเล่าให้ผมฟังเรื่อง Anti – Disciplinary ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้าง Hacker Culture

นิยามของคำว่า Anti – Disciplinary

เด็กไทยส่วนใหญ่จะมองว่า การเรียนแบ่งเป็นวิชา มีวิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาศิลปศาสตร์ใช่ไหมครับ แล้วจะมีคำว่า Interdisciplinary แปลเป็นไทยก็คือบูรณาการ เช่น คุณครูให้นักเรียนดูภาพๆ หนึ่ง เป็นภาพน้ำที่กำลังไหลอยู่ นักเรียนแต่ละคนมองแล้วก็คิดไม่เหมือนกัน บางคนมองเป็นเรื่องศิลปะหรือมองเป็นเรื่องฟิสิกส์เรื่องการไหลของน้ำก็ได้ ส่วน Anti – disciplinary มันเป็นสิ่งที่เจ๋งกว่า Interdisciplinary คือ การลบกรอบของวิชาต่างๆ ออกไป เราแค่มองว่า ‘นี่เป็นสิ่งที่เราอยากสร้าง’ 

ยกตัวอย่างที่ MIT Media Lab (แล็บสำหรับสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโลก ตั้งอยู่ในสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์) สิ่งหนึ่งที่เราเห็น คือ สิ่งประดิษฐ์ในแล็บจะหลุดโลกมากๆ เช่น เครื่องควบคุมความฝันของมนุษย์ ที่เมื่อสวมเครื่องเข้าไปที่ศีรษะเครื่องจะกระตุ้นให้เราฝันแบบต่างๆ

ถ้าเป็นที่ไทย เราไปหาครูแล้วบอกว่า ‘ครูครับ ผมอยากออกแบบเครื่องที่ทำให้ฝันเป็นจริง’ คงเจอคำตอบว่า ‘เป็นไปไม่ได้หรอก ไปทำโครงงานอื่นเถอะ’ แต่พี่ที่ผมรู้จักทำงานอยู่ที่ MIT เขาบอกกับผมว่า ‘อะไรที่ทำไม่ได้เรายิ่งต้องทำ เพราะมันเป็นจุดประสงค์ของการวิจัย’ เช่นเดียวกับที่สตีฟจ๊อบส์บอกว่า ‘Make a dent in the universe เราไม่ต้องครองโลกหรอก แค่ทิ้งร่องรอยบางอย่างไว้กับโลก’

กลับมาที่การสร้างค่าย เรารู้สึกว่ามันไม่ใช่งานง่ายเลยสำหรับคนๆ หนึ่ง อยากรู้ว่าระหว่างทางการสร้างค่าย ภูมิมีแรงสนับสนุนที่ช่วยไหม?

แรงสนับสนุนของผมมาจากหลายทาง หนึ่ง – คน ด้วยความที่เราเคยเข้าค่ายมาก่อน ส่วนใหญ่ 60% ของคนที่มาทำค่ายนี้เคยเป็นเด็กค่ายด้วยกัน แล้วก็มีไปชวนคนที่เราเห็นว่าเขามีศักยภาพพอทำค่ายได้ หรือเวลาที่ผมไปพูดเรื่องค่าย YCC ที่ไหนก็จะมีคนสนใจอยากมาทำค่าย นอกจากนี้ก็มีวิทยากรที่เรารู้จักอยู่ในวงการนี้มาช่วย ซึ่งถ้าเราไม่รู้จักพวกเขาเลยอาจจะติดต่อยากครับ ฉะนั้น จุดเริ่มต้นที่ดีคือเราควรเอาตัวเองเข้ามาอยู่ในสังคมนี้ก่อนครับ

สอง – เงิน น่าจะเป็นเรื่องที่ยากที่สุด เพราะการขอทุนต่างๆ รายละเอียดค่อนข้างเยอะ แต่โชคดีที่ผมได้ไปคุยกับ SCBF (มูลนิธิสยามกัมมาจล) เขาก็ช่วยให้เราโฟกัสที่เป้าหมายของเรา คือ การให้พื้นที่เด็กได้ทำงานร่วมกัน เมื่อมันไม่ใช่ค่ายมหาวิทยาลัยเราจึงไม่มีผู้จัดการค่ายเหมือนค่ายอื่นๆ ไม่มีผู้ใหญ่ช่วยจัดการ เด็กๆ ในค่ายก็เลยได้ลงมือทำเอง 100% 

การขอสปอนเซอร์ หลายๆ ครั้งเราจะต้องรู้ว่าสปอนเซอร์ให้ความสำคัญกับอะไร อยากเห็นภาพอะไร แต่ไม่ใช่ว่าเราจะจัดค่ายตามใจเขานะครับ เพราะผมในฐานะประธานค่ายจะไม่ทำแบบนั้นเด็ดขาด เราไม่อยากให้ใครมาควบคุมวิสัยทัศน์ของเด็กๆ อยากให้เขาได้ทำในสิ่งที่เขาอยากทำ เราจะดีลกันว่าพวกเราให้คุณค่ากับอะไร ถ้าสปอนเซอร์สนใจเขาก็จะตอบรับเอง เราบอกเขาก่อนว่า อาจจะให้อะไรเขาไม่ได้เยอะ แต่เขาจะได้เห็นว่าเด็กที่เติบโตจากความช่วยเหลือพวกเขาเป็นยังไง

สาม – สถานที่ ปีแรกผมโชคดีหน่อยที่สามารถขอยืมสถานที่ที่คุณพ่อคุณแม่ทำงานมาใช้จัดค่ายได้

เมื่อสร้างค่ายได้แล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อมาคือคนที่จะมาเข้าค่าย ภูมิมีภาพกลุ่มเป้าหมายของคนที่จะมาเข้าค่าย YCC แบบไหน 

เด็กมัธยมปลายที่มีทักษะด้านเทคโนโลยี เป็นคนที่มีมากกว่าไอเดีย คือ มีความสามารถที่จะสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมาได้ เข้าใจความเป็นไปของโลก 

มีประโยคหนึ่งที่อยู่บนกระดานดำในห้องเรียนของริชาร์ด ไฟน์แมน (Richard Feynman) นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เขียนว่า ‘What I cannot create, I do not understand’ การที่เราจะทำความเข้าใจฟิสิกส์สักเรื่องหนึ่ง เราต้องจำลองมันขึ้นมาก่อน อาจจะไม่ต้องถึงขั้นทดลองแต่เป็นการเขียนสมการก็ได้

แต่ตอนนี้เราเพิ่มคุณลักษณะคนของค่าย YCC ปี 2 เพราะเรามีสาขาใหม่ คือ ฝ่ายครีเอทีฟ ฝ่ายคิดคอนเทนต์ ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเป็น หรือวาดรูปได้ ขอแค่มีใจรักในการเล่าเรื่องก็พอ สตีฟจ็อบส์ยังบอกเลยครับว่า เทคโนโลยีที่ไม่มีความเป็นมนุษย์มันก็แก้ปัญหาอะไรไม่ได้ เราเชื่อว่าน้องที่เป็นโปรแกรมเมอร์เขามีไอเดียสร้างของ ส่วนน้องที่เป็นนักเล่าเขาก็สามารถนำเสนอของที่ดีอยู่แล้วให้คนสามารถจดจำได้

ทำไมภูมิถึงเลือกคนกลุ่มนี้? ภูมิมองเห็นอะไรในตัวพวกเขา

ผมเคยพูดประโยคหนึ่งตอนเป็น TA (Teacher Assistant ผู้ช่วยอาจารย์) ของโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ ‘ไม่มีเด็กคนไหนไม่เก่ง มีแต่เด็กที่ไม่เห็นค่าในตัวเขา’ เพราะมีพี่คนหนึ่งเดินมาบอกผมว่า ‘น้องกลุ่มนี้ยังเด็ก ยังไม่เก่งมาก’ ฟังเสร็จแล้วมีคำหนึ่งที่แว๊บขึ้นมาในตัวเราเลย ‘รู้ได้ไงว่าไม่เก่ง?’ ตอนนั้นเราหยิบไอแพดขึ้นมา สอนน้องด้วยทุกสิ่งทุกอย่างที่มีในหัวเรา สรุปว่าน้องเข้าใจแทบทุกอย่าง ผมก็งงว่า นี่หรอเด็กที่ไม่เก่ง? พวกเขาเป็นแค่เด็กที่ผู้ใหญ่ไม่ได้ให้โอกาส

เพราะฉะนั้นค่าย YCC เราไม่ได้โฟกัสที่เด็กเก่ง สิ่งที่ผมสนใจคือความเป็นนักสู้ในตัวเขา เพราะทุกครั้งที่เราสร้างผลิตภัณฑ์ สิ่งที่เราต้องเจอ คือความล้มเหลวครับ 

น้องอาจโดนลูกค้าบอกว่า ‘ไม่เวิร์ค’ แล้วเหลือเวลาแค่ 15 นาทีที่จะแก้งาน น้องจะมานั่งท้อไม่ได้ ต้องคิดให้ออก เด็กบางคนไม่เก่งแต่เขาเป็นนักสู้ เขาสู้จนวินาทีสุดท้าย กลายว่าเด็กพวกนี้เขากลับเก่งกว่าเด็กทั่วไป

ตอนสัมภาษณ์คนที่เข้าค่าย เราจะจดไว้เลยว่าคนไหนที่โดนระบบการศึกษาทำร้าย (Schooling) ลักษณะของคนกลุ่มนี้เวลาตอบคำถาม เขาจะตอบเป็นแบบแผนมากครับ เราจะรู้สึกเลยว่าเขาไม่เป็นตัวเอง เหมือนมีกรอบบางอย่างจำกัดอยู่ เป้าหมายของค่าย YCC อีกอย่าง คือ การถอดกรอบการศึกษาแบบในโรงเรียนทิ้งไป (Deschooling) แล้วเปลี่ยนเขาเป็นนักผจญภัย

กระบวนการเรียนรู้ภายในค่าย

เมื่อเข้ามาอยู่ในค่าย กระบวนการมอบความรู้ที่แต่ละคนจะได้รับเป็นอย่างไร?

ผมขอเล่าเป็น 2 พาร์ทนะครับ ค่ายปีที่แล้วกับค่ายปีนี้

ค่าย YCC ปีที่ 1 เราเรียกค่ายนี้ว่า เด็กกล้าสร้าง เพราะเราเชื่อว่าเด็กที่มีคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง เขาสามารถเสกทุกอย่างในโลกที่มนุษย์จะคิดขึ้นมาได้ แล้วเรายึดคติหนึ่ง คือ ‘Show Don’t Tell’ (ไม่ต้องบอก แต่ทำให้ดู)น้องที่มาเข้าค่ายเขาจะมี ‘ขอบฟ้าแห่งการคาดหวัง Horizon of Expectation’ คาดหวังว่ามาแล้วจะต้องมีเต้นสันทนาการสนุกๆ เหมือนค่ายที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยแน่เลย สิ่งแรกที่เราต้องทำ คือ ทำลายความคาดหวังนั้นทิ้งไป ไม่อย่างนั้นเราจะปลูกฝังวัฒนธรรมอะไรไม่ได้เลย ถ้าเรายังลบภาพจำทิ้งไปไม่ได้

ก่อนวันเข้าค่ายเราจะมีกิจกรรมให้น้องเข้าร่วม พวกเขาจะได้เห็นภาพพี่ๆ สตาฟเล่นกิจกรรมอย่างสนุก และเฟรนด์ลี่มากๆ แต่พอถึงเวลาเข้าค่ายจริง ช่วงที่พี่ๆ เขาสอนถ่ายทอดความรู้ คนมาค่ายจะได้เห็นว่าพี่ที่เคยเฮฮาชิลๆ อีกมุมหนึ่งเขาสามารถให้ความรู้เยอะมากๆ เพราะในจิตวิทยาการแสดง การสร้างซีน scene คือการที่เราสร้างฉากละครแล้ววางต่อว่าเราจะให้ซีนใครบ้าง ที่ค่ายพวกเราให้ซีนสตาฟครับ เราจะให้โอกาสคนที่ถนัดเรื่องต่างๆ ได้แสดงความสามารถ แล้วทำให้น้องเขาได้ซึมซับโดยตรงว่า ‘พี่ๆ เขาไม่เถียงนี่นา’ ‘พี่ๆ เขาคิดแล้วเขียนเลย ทำโปรโตไทป์ แล้วไปสัมภาษณ์ผู้ใช้จริงเลย’ นี่ก็คือคติที่ว่า Show Don’t Tell

ค่าย YCC ปีที่ 2 อยู่ในขั้นตอนกำลังสร้าง เพิ่งมีการจัดทอล์กหนึ่งไปชื่อว่า YCC102 Welcome Tomorrow’s เป็นทอล์กที่เราตั้งใจทำเพื่อปูพื้นฐานให้คนมาค่ายตั้งแต่เรื่องบรรทัดฐานสังคมครับ เพราะมันเป็นเส้นแบ่งที่บอกว่าอะไรดีหรือไม่ดี การที่เราจะบอกว่าคนๆ หนึ่งมีปัญหา มันแปลว่าปัญหาเขาเกิดจากบรรทัดฐานสังคมของเขา เช่น เราบอกว่าการศึกษาไทยมีปัญหา แต่คนที่เขายังกินไม่อิ่มนอนไม่หลับ เขาก็จะบอกว่า ‘ขอเรากินอิ่มนอนหลับก่อนได้ไหม’ เราต้องทำให้เขาเข้าใจก่อนว่าคนที่มีปัญหาคือใคร จากนั้นโยงมาที่เรื่องของทฤษฎีเกม (Game Theory) มนุษย์ทุกคนไม่ได้เป็นคนเลวแต่สังคมเป็นตัวกำหนดว่าเขาเป็นคนยังไง คุณแม่ที่มีลูกกำลังจะหนาวตาย เขาก็ต้องไปขโมยเสื้อผ้าจากคนอื่นทั้งๆ ที่เขาอาจจะไม่ทำแบบนี้ก็ได้ถ้าเขาอยู่ในสังคมที่มีเสื้อผ้าให้อบอุ่นร่างกาย 

จากนั้นโยงไปที่วัฒนธรรมว่ามันมีความสำคัญมาก เราเห็นว่าเด็กไทยไม่ชอบเรียนออนไลน์ แต่ทำไมคนที่เรียนออนไลน์ในเว็บต่างประเทศเขาดูสนุกกับการเรียนออนไลน์ ทำไมถึงมองว่าการทำงานออนไลน์เป็นเรื่องทรมานแต่ที่บริษัท GitLab ที่ผมทำงานออนไลน์มา 3 ปี พนักงานก็ยังทำงานได้อย่างสบาย เพราะวัฒนธรรมเราต่างกันครับ แล้วก็ยกตัวอย่างวัฒนธรรมการสื่อสารของ GitLab ที่ช่วยให้การการทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น วัฒนธรรมของ MIT Media Lab วัฒนธรรมของการเป็นแฮคเกอร์ วัฒนธรรม Lifelong Kindergarten (อนุบาลตลอดชีวิต) มันทำให้เราสามารถปูภาพให้น้องเห็นได้ 

แล้วเราจะไม่ให้ข้อมูลแบบเลคเชอร์ แต่ให้เขาถกเถียงกันแทนเรื่องปัญหาสังคม เขาจะเห็นว่าความคิดคนต่างกันเพราะบรรทัดฐานต่างกันและสภาพสังคมต่างกัน เราไม่อาจนำโมเดลการศึกษาของฟินแลนด์ หรือโมเดลเรือนจำของนอร์เวย์มาใช้ในไทยได้ แต่จะทำยังไงให้สามารถปลูกฝังวัฒนธรรมใหม่ให้กับประเทศของเราได้ 

การทำให้เด็กที่เข้าค่ายเข้าใจบรรทัดฐานสังคม หรือการถกเถียงปัญหาสังคม เกี่ยวพันยังไงกับการสร้าง Hacker Culture?

ปัญหาหนึ่งที่ผมเห็นจากค่ายหลายที่ คือ ผู้เข้าร่วมมีเพดานความคิดที่ค่อนข้างแคบ เพราะเขาไม่ได้เห็นโลกที่มันกว้างขึ้น ไม่ได้เห็นโลกของประกันภัย ไม่ได้เห็นโลกของการแพทย์ ไม่ได้เห็นโลกของวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง ยังไม่รวมโลกของการวิจัย มันยังมีอีกล้านอย่างเลยที่เขายังคิดไม่ถึง สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของการเป็นแฮคเกอร์ คือ การมองโลกที่กว้างขึ้น ลองดูงานประชุมของแฮคเกอร์ อย่างงาน DEFCON (งานรวมตัวของกลุ่มคนที่สนใจเรื่องเทคโนโลยี) จะเห็นว่าเขาแทบรู้ทุกอย่างในโลก แถมยังเชี่ยวชาญในความรู้ของตัวเองอีก 

แล้วการที่แฮคเกอร์คนหนึ่งได้เห็นโลกกว้างๆ มันเป็นโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ อย่างนั้นหรือ?

ใช่ครับ ผมมองเป็น 2 เรื่อง คือ เราได้เห็นปัญหาในโลกที่กว้างขึ้นนอกเหนือไปจากปัญหาในชีวิตประจำวัน และเรายังมองเห็นบางสิ่งที่หลายคนมองข้ามไป ผมเคยเห็นเคสที่ลูกโดนครอบครัวทำร้าย แล้วเขายังทนอยู่ แต่ถ้าเป็นผม ผมจะไม่ทน ผมเลยชวนเขามาทำโปรเจกต์ร่วมกับ UNICEF เพราะผมเชื่อว่ามีเด็กไทยอีกหลายแสน หรืออีกหลายล้านคนที่กำลังถูกพ่อแม่ทำร้ายอยู่ ผมเขียนโน้ตภายใน 2 นาทีว่า ผมต้องโทรไปติดต่อใครบ้างภายใน 30 นาที นักจิตวิทยา คนที่เคยทำงาน UNICEF คนที่เขียนโปรแกรมได้ 

อันนี้คือสปิริตของแฮคเกอร์ เราไม่มองข้ามปัญหา เราไม่ซุกมันไว้ใต้พรม

หลังจากศึกษาวัฒนธรรม ปรับมุมมองให้มองเห็นโลกมากขึ้น กระบวนการต่อจากนั้นคืออะไร

การศึกษาเรื่องวัฒนธรรมเป็นจุดเริ่มต้นของความเข้าใจ เริ่มจากเข้าใจบรรทัดฐาน เข้าใจทฤษฎีเกม แล้วเราถึงมาเข้าใจว่าวัฒนธรรมแบบไหนที่เหมาะกับสังคมของเรา แล้วค่อยไปที่กระบวนการและเทคโนโลยี แต่หลายคนให้ความสำคัญกับกระบวนการและเทคโนโลยีมากกว่า เช่น การเรียนออนไลน์ ถ้าเราสนใจแค่กระบวนการและเทคโนโลยี ก็เหมือนให้คุณครูย้ายมาใช้โปรแกรม zoom แต่เขายังเปิดสไลด์อ่านและสอนเหมือนเรียนในห้องเรียนปกติ เพราะวัฒนธรรมมันยังไม่เปลี่ยน

เมื่อเข้าใจเรื่องวัฒนธรรม เราถึงจะสอนเรื่องกระบวนการและลงมือทำ แต่ก่อนที่จะไปถึงขั้นนั้นเขาต้องเข้าใจก่อนว่ามันมีเครื่องมืออะไรบ้างที่ช่วยในการทำงาน เช่น design thinking, user experience, startup ต้องการวาดอะไรขึ้นมาเร็วๆ ใช้ในขั้นตอนโปรโตไทป์ของ ก็ลองใช้โปรแกรม Figma (โปรแกรมสำหรับออกแบบงานต่างๆ) หรือใช้วิธี Crazy 8s ในการระดมสมอง ด้วยการแบ่งกระดาษเป็น 8 ช่อง แล้วใส่ไอเดียที่เราคิดลงไปในแต่ละช่อง ภายในเวลา 8 นาที เป็นต้น จะเห็นว่ากระบวนการและเทคโนโลยีก็สำคัญ เพียงแต่มันไม่ใช่จุดเริ่มต้น ต้องให้เขารู้ว่าวัฒนธรรมและบรรทัดฐานเป็นยังไงก่อน จากนั้นค่อยสอนเขาว่ากระบวนการเป็นอย่างไร และควรใช้เทคโนโลยีใด

สภาพแวดล้อมกับเส้นทางการเติบโตของเด็กไทย

เท่าที่ฟังภูมิเล่ามาจะเห็นว่า การที่คนคนหนึ่งจะเติบโตขึ้นมาเป็นนวัตกรได้ ส่วนหนึ่งคือเขาต้องพาตัวเองเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เขาสามารถทำความรู้จัก – เรียนรู้ ไปพร้อมๆ กันได้ เราเชื่อว่ายังมีเด็กอีกส่วนหนึ่งที่อยากโตเป็นนวัตกร แต่ไม่มีโอกาสได้เข้าร่วมค่ายของภูมิ หรือไม่มีโอกาสได้เข้ามาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ช่วย shape เขาให้เดินไปตามความฝันได้ ภูมิพอจะมีคำแนะนำไหมว่าพวกเขาควรเริ่มต้นจากอะไร

อย่างแรกเลยครับ ก่อนที่เราจะเรียนรู้อะไรต้องตั้งเป้าหมายให้ตัวเองซะก่อน ยกตัวอย่างเช่น วันนี้เราสร้างแอปพลิเคชันจับคู่ครูที่อยากสอนกับนักเรียนที่อยากเรียน หรือวันนี้เราจะสร้างแอปพลิเคชันตารางปฏิทินการเข้าค่าย เมื่อเรารู้เป้าหมายก็สามารถไปต่อได้ เราจะรู้เองว่าเราต้องรู้เรื่องอะไรเพิ่ม ต้องไปศึกษาลงลึกเรื่องอะไรต่อ

ถ้าเคยดูหนังที่นำเสนอเรื่องราวของแฮคเกอร์ พวกเขามีแรงจูงใจว่าทำไมถึงอยากแฮค เหมือนเด็กใน MIT Media Lab ที่มีความฝัน หลายครั้งเกิดมาจากการดูหนัง อย่างเช่นพี่ที่ผมรู้จักทำ Voice Assistant ที่เราสามารถเปลี่ยน DNA ได้ พี่เขาได้ไอเดียมาจากตะเกียงวิเศษที่ โอมจงเปลี่ยนแมวเป็นสีฟ้า พี่เขาบอกจะเป็นยังไงถ้าเราเปลี่ยน DNA แมว เหมือนบอก Google Home/Siri ให้เปลี่ยน DNA แมวเป็นสีฟ้า แล้วระบบก็จะไปสังเคราะห์ DNA สีฟ้ามาให้ เริ่มตั้งเป้าหมายจากปัญหาที่ตัวเองเจอหรือการช่วยเหลือคนรอบข้าง หรือหยิบนวัตกรรมในหนังมาลองทำในชีวิตจริง

จะเป็นไปได้ไหม ที่คนคนหนึ่งสามารถเป็นนวัตกรได้ แม้ไม่ได้อยู่ในโลกนวัตกร หรือไม่ได้เข้าค่ายแบบภูมิ

ผมอยากแนะนำเรื่อง community เพราะการเรียนรู้คนเดียวมันยากครับ คือเราจะไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ช่วงไหนของกราฟความฉลาด การที่เราอยู่ใน community จะทำให้เรารู้ว่า มีคนที่เก่งกว่าเราเยอะมากๆ และเมื่อเราเข้ามาจะมีคนที่พร้อมให้คำแนะนำเราเป็นร้อยเป็นพันคนเลยครับ

อย่างแรกผมอยากให้ทุกคนตั้งเป้าหมายก่อน แล้วก็กระโดดเข้ามาในกลุ่ม ต่อจากนั้นมันจะง่ายขึ้นครับ

ในฐานะที่ภูมิเองเป็นคนหนึ่งที่รู้ตัวค่อนข้างเร็วว่าอยากเป็นอะไร อยากรู้ว่าสภาพแวดล้อมแบบไหนที่ช่วยให้มนุษย์คนหนึ่งค้นหาตัวเองเจอเร็วๆ แบบภูมิ

ผมว่าหลักๆ มาจากที่พ่อแม่ให้ลูกได้ทดลองทำหลายๆ อย่าง ผมเห็นพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกเก่งๆ หลายคนเขาพยายามหากิจกรรมไปทำกับลูก ผมว่าพ่อแม่ควรจะมีความขี้สงสัยในสิ่งต่างๆ แล้วพาลูกผจญภัยไปด้วยกัน ผมว่าการผจญภัยมันเป็นอะไรที่ช่วยได้เยอะจริงๆ สำหรับการค้นหาตัวเอง

แล้วมีอีกอย่างหนึ่งที่อาจขัดกับที่ผมพูดไป คือ พ่อแม่อาจต้องมีช่องว่าง เว้นระยะจากลูก คอยช่วยอยู่ห่างๆ  ด้วยความที่ผมชอบทำอะไรด้วยตัวเอง เราจะรู้สึกว่าทุกการตัดสินใจของเรามันเกิดจากความชอบของตัวเองจริงๆ ไม่ได้ถูกแทรกแซง 

เราเห็นพ่อแม่หลายคนบอกให้ลูกเรียนอย่างนู้นอย่างนี้ ผมมองว่ามันเป็นการทำร้ายลูกอย่างหนึ่ง และอาจทำให้ลูกเกลียดสิ่งๆ นั้นไปเลย ตอนแรกเขาอาจจะไม่ได้เกลียดที่ตัววิชา แต่เขาเกลียดการที่หลักสูตรนั้นมันเป็นการยัดเยียดให้เขา

การที่พ่อแม่ต้องผจญภัยไปกับลูก แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเว้นระยะห่างด้วย พวกเขาจะรู้ได้อย่างไรว่าเวลาไหนควรห่าง หรือเวลาไหนควรเข้าใกล้?

คุณครูหลายคนชอบคิดว่า เวลาจะเด็กไปผจญภัย เขาจะพาเด็กเดินไปตามถนนเส้นที่ครูรู้ทางอยู่แล้ว แต่ในความเป็นจริงถนนเส้นนี้ไม่ได้มีอยู่ นั่นหมายถึงคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่รู้ว่าทางมันเป็นยังไง สิ่งสำคัญจริงๆ คือพ่อแม่เรียนรู้ไปกับลูก เรื่องที่ผมเห็นแล้วรู้สึกว่ามันน่ารัก คือเหมือนพ่อแม่เห็นว่าลูกสนใจเรื่องการทำเพลง ก็ให้ลูกสอน นอกจากจะเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวแล้วยังลด power dynamic ด้วย คือทำให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่เป็นเพื่อน เป็นคนที่ผจญภัยไปด้วยกัน ไม่ใช่เป็นคนที่นำทางพาเขาไปในเส้นทางที่พ่อแม่อยากให้ไป

แล้วนอกจากพ่อแม่แล้วยังมีปัจจัยไหนที่ช่วยให้การค้นหาตัวเองหรือพัฒนาอัตลักษณ์ของตัวเองง่ายขึ้น

ผมว่าต้องเริ่มจากพื้นฐานนะครับ ตาม Maslow’s Hierarchy ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ ถ้าเรายังกินไม่อิ่ม นอนไม่หลับ เราก็อาจไม่เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ 

ขั้นแรก Physiological needs: ต้องกินอิ่มนอนหลับก่อน จากนั้นไปต่อขั้นที่ 2 Safety needs: เด็กรู้ว่าเขามีความปลอดภัยด้านการเงิน ด้านการใช้ชีวิต นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ต่างประเทศเขาทุ่มเงินให้กับการวิจัยเยอะมาก ต่อมาขั้นที่ 3 Love and belonging: ได้รับความรับความอบอุ่น อย่างเด็กที่มาอยู่ในค่าย YCC เขาจะสนิทกันมาก มีน้องบอกว่าเขาสนิทกับเพื่อนในค่ายที่รู้จักกันไม่กี่วันมากกว่าเพื่อนในโรงเรียนที่อยู่ด้วยกันมาทั้งชีวิต ขั้นที่ 4 Self–Esteem: ความเชื่อมั่นในตัวเอง ก่อนที่เขาจะมี passion เขาต้องเชื่อก่อนว่าเขาจะทำได้ อยู่ในโลกที่มีคนยอมรับในตัวเขา ต่อให้เป็นสิ่งที่เขาชอบมาก แต่ถ้ามีคนมาบอกว่า ‘แกไปไม่รอดหรอก’ ผมว่าเขาจะไปไม่รอดเพราะถูกทำลายความมั่นใจนี่แหละ และขั้นสุดท้าย Self-actualization: ต้องมีทุกข้อที่ผ่านมาแล้วเด็กจะไต่ขึ้นมาถึงบันไดขั้นสุดท้าย คือการค้นพบ

ถ้ากายภาพยังไม่พร้อมก็เป็นไปได้ยากที่จะเกิด passion เพราะ passion นี่คือ Self Actualization ซึ่งเป็นยอดสูงสุดของพีระมิดลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์เลยนะครับ ผมไม่ได้ตั้งใจจะบอกว่าทุกคนต้องรวยนะครับ ขอแค่กินอิ่มนอนหลับและมีพื้นที่ให้เด็กได้ค้นหาตัวเองและทดลองในสิ่งที่อยากทำ

การสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้เด็กได้ทดลองอะไรเยอะๆ ให้เด็กเขาได้มีอิสระในสิ่งที่เขาอยากเล่น ผมขอยกตัวอย่างลานขยะที่อังกฤษ อันนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งเลยว่าการสร้างสภาพแวดล้อมไม่จำเป็นต้องใช้เงินเยอะ คือ สมัยก่อนสนามเด็กเล่นที่อังกฤษเป็นเหมือนลานขยะเลยครับ จะมีค้อน มีตะปู มีมีด มีอะไรที่อันตรายมากๆ แต่มีเด็ก 8 ขวบที่เล่นอยู่ในลานขยะ แต่เด็กพวกนี้จะเกิดอุบัติเหตุน้อยกว่าเด็กที่เล่นอยู่ในสนามเด็กเล่นตัวซะอีก 

เหตุผลก็คือเวลาเด็กอยู่ในลานขยะ การที่เขาได้จับค้อน จับมีด เขาจะรู้สึกได้รับความไว้วางใจจากผู้ใหญ่ รู้สึกมั่นใจในตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ใหญ่แล้ว แปลว่าเด็กจะเชื่อฟังผู้ใหญ่มากขึ้น เล่นกันระวังมากขึ้นเพราะเขารู้สึกว่าเขาเป็นผู้ใหญ่แล้ว เทียบกับสนามเด็กเล่นทั่วไปที่มันปลอดภัย เด็กก็ปีนแทนที่จะเล่นอย่างระวัง เพราะเขาไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ใหญ่มากพอที่เขาก็จะกล้าเล่น กล้าแหกกฎ

ภูมิคิดว่าสภาพแวดล้อมในประเทศไทย เราสามารถก้าวเข้าสู่ยุค Generation of Innovators ได้ไหม?

ผมว่ามีโอกาส เพราะสภาพแวดล้อมเราดี มีทรัพยากรธรรมชาติ แถมบ้านเรามีคนเก่งๆ เยอะมาก เวลาเขาจ้างโปรแกรมเมอร์เขาจ้างคนไทยกัน แต่มันเกิดปรากฏการณ์สมองไหล คือพอคนเก่งๆ เขาไม่ได้รับทรัพยากร ไม่ได้เงินตามที่เขาต้องการ เขาก็ย้ายไปทำงานที่ต่างประเทศ ซึ่งบ้านเราสูญเสียเรื่องพวกนี้ไปเยอะมาก

เวลาที่เราพูดว่า New Gen ผมอยากให้โฟกัสที่ 3 คำนี้ Ownership, Value และ Impact

เด็กยุค millennial ยุค gen-z เขาอยากเป็นเจ้าของงานที่ตัวเองทำ ฉะนั้น ถ้าเราสามารถสร้างระบบที่ให้ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน เด็กๆ จะตั้งใจอยากทำงานมากขึ้น เพราะเขารู้สึกถึงคุณค่าของสิ่งที่ทำ ช่วงที่ผมทำ Startup ทุกเดือนจะมีอัปเดตว่าฟีเจอร์ที่เราทำแก้ปัญหาให้ใครได้บ้าง หรือที่ค่าย YCC เด็กรู้ว่าผลงานตัวเองแก้ปัญหาให้ใครได้บ้าง คือเด็กต้องการความเป็นเจ้าของในงานที่ตัวเองทำ ได้รับคุณค่าของตัวเอง และสุดท้ายเขาต้องการเห็นว่างานที่เขาทำส่งผลกระทบต่อใครได้บ้าง คนที่พูดประโยคนี้เป็นเจ้าของบริษัท The Zero Publishing พูดที่งาน CTC เขาทำบริษัทสื่อ Mango Zero ถ้าสังเกตดูทุกท้ายวิดีโอจะมีชื่อผู้จัดทำแม้ว่าจะเป็นงานลูกค้าเขาก็จะไม่ลบเครดิตทิ้ง ซึ่ง Generation of Innovators เป็นไปได้ถ้าเราให้คุณค่ากับเด็กๆ 

ย้อนไปเรื่องบรรทัดฐาน ทฤษฎีเกม วัฒนธรรม อย่างที่ผมบอกในทฤษฎีเกม ไม่มีใครอยากเป็นคนไม่ดี ทุกคนทำตามเกม ซึ่งจะดีกว่าไหมถ้าเราทำเกมที่ให้คุณค่ากับผู้สร้าง จะดีกว่าไหมถ้าสร้างโลกที่ให้คุณค่า ให้เงินสนับสนุน ให้ทรัพยากรกับคนที่คิดไอเดีย เกมมี 2 ประเภทตามทฤษฎีคณิตศาสตร์ Zero Sum Game เกมที่มีผู้แพ้ผู้ชนะ กับ Non Zero Sum Game ที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน การที่ความเชื่อใจจะเกิดขึ้นได้มันต้องไม่มีผู้แพ้ผู้ชนะ มันต้องไม่มีผู้ที่ขึ้นมามีอำนาจในขณะที่อีกฝ่ายสูญเสียอำนาจ มันต้องมีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ 

ถ้าเราอยากสร้างยุคสมัยของนวัตกร เราต้องเปลี่ยนที่บรรทัดฐาน เกม และวัฒนธรรม ต้องเปลี่ยนบรรทัดฐานว่าเด็กไม่ใช่แค่นักเรียน เด็กไม่ใช่อนาคต เด็กคือตอนนี้ เด็กคือปัจจุบัน ผู้ใหญ่ต้องคิดว่าจะช่วยเขาได้อย่างไรบ้าง และเชื่อว่าเด็กเป็นนักสร้างได้ เด็กที่อยากลุกขึ้นมาสร้างของเขาไม่ใช่ตัวประหลาด เปลี่ยนเกมเป็น Non Zero Sum Game คือ เด็กทุกคนได้ประโยชน์ในการสร้างร่วมกัน ให้ Ownership และ Value แก่เขา

หลังจากนั้นก็มาเปลี่ยนวัฒนธรรมว่า เราคือแฮคเกอร์ วัฒนธรรมที่จะปลูกฝังคือ Hacker Culture น้องอยากสร้างอะไรสร้างเลย สร้างโปรโตไทป์มาให้พี่ดู เอาไปให้ผู้ใช้ทดสอบ ไม่ต้องคิดว่าเราเก่งหรือไม่เก่ง ลบความเป็นศาสตร์ทิ้ง แล้วมองว่าทุกอย่างเป็นการเรียนรู้ธรรมชาติไม่ใช่วิชา Lifelong Kindergarten เราไม่มองวิชาว่าเป็นกรอบ แต่มองว่าทุกครั้งที่สร้างผลิตภัณฑ์มันคือการเรียนรู้ มันคือการทดลอง 

ถ้าทำ 3 อย่างนี้ได้ ผมจะไม่พูดว่ามันเป็นไปได้ เพราะมันเป็นไปแล้วครับ ยุคแห่งนวัตกรเกิดขึ้นแล้ว 

วินาทีที่ผมกำลังพูดมีเด็กอายุ 18 คนหนึ่งเขียนโปรแกรมประกอบ DNA ส่งขึ้นอวกาศอยู่ วินาทีนี้มีเด็ก 17 ปีคนหนึ่งกำลังทำโปรเจกต์ระดมทุน 3 ล้านบาทเพื่อช่วยผู้ได้รับผลกระทบจากโควิดอยู่ วินาทีนี้มีเด็กที่กำลังช่วยให้คนที่อยากเป็นครูแต่สอนไม่เก่งได้มีโอกาสสอน ทุกอย่างมันเกิดขึ้นไปแล้ว 

ตอนนี้ประเทศเรามีนวัตกรอยู่ประมาณ 2.5% ของทั้งประเทศ แต่ก็เริ่มมีเด็กหลายๆ คนที่อยากเป็นนักสร้าง แต่ระวังหุบเขาให้ดีนะครับ เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งเขามีสิ่งที่อยากทำ แต่ไม่มีคนสนับสนุน สุดท้ายเขาก็จะล้มเลิกไป

เส้นทางยังอีกยาวไกลครับ ผมในฐานะเด็กคนหนึ่งที่อีก 60 ปีก็อาจจะตายแล้ว สิ่งที่เราต้องทำตอนนี้ คือ เราต้องสร้างฐานให้เด็ก 2.5% ในวันนี้สามารถก้าวไปสู่ 13.5% สู่ 34% แล้วเราจะก้าวไปสู่จุดที่คนทั่วไปมองว่าเป็นเรื่องปกติที่เด็กมัธยมจะลุกขึ้นมาแก้ปัญหา จุดที่คน 34% ในกราฟบอกว่าปกติมากที่เด็กทำวิจัยกับนักวิจัยเพื่อส่งของขึ้นอวกาศ

Tags:

วัยรุ่นนวัตกรภูมิปรินทร์ มะโนทักษะการร่วมงานกับผู้อื่น(collaborative skill)Generation of Innovator

Author:

illustrator

เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

เพิ่งพ้นรั้วมหาวิทยาลัยจากคณะแห่งการเขียนและสื่อมวลชน แม้ทำงานแรกในฐานะกองบรรณาธิการ The Potential หากขอบเขตความสนใจขยายไปเรื่องเพศ สิ่งแวดล้อม และผู้ลี้ภัย แต่ที่เป็นแหล่งความรู้วัยเด็กจริงๆ คือซีรีส์แวมไพร์, ฟิฟตี้เชดส์ ออฟ จุดจุดจุด และ ยังมุฟอรจาก Queer as folk ไม่ได้

illustrator

ณิชากร ศรีเพชรดี

แอดมิชชันเข้าคณะการเขียนและสิ่งพิมพ์เพราะคิดว่าเขาจะสอนให้เขียนนิยาย แทนที่จะได้เขียนจากจินตนาการ อาจารย์และทุกอย่างที่นั่นเคี่ยวกรำให้ทำ-คิด-เขียน-รู้สึกกับประเด็นสังคม ยังคงสนุก(มาก)กับงานสื่อสาร ฝันสูงสุดคือยังเข้มแข็งเขียนงานได้อย่างมีคุณภาพและฐานะดี

Photographer:

illustrator

ธีระพงษ์ สีทาโส

คนถ่ายภาพ คนทำละครเร่ กระบวนกร คนทำงานสื่อสารที่เลือกข้างแล้ว ชอบมองหาการเมืองในชีวิตประจำวัน เสพติดนิโคตินและแอกอฮอล์ ไม่มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ยกเว้นจำเป็นเพื่อความอยู่รอด ความฝันคือได้เป็นคนเท่ๆ ตอนอายุ 50 ที่นั่งจิบเบียร์เย็นๆ รสชาติหลากหลายในราคาเอื้อมถึงได้ทุกวันบนประเทศที่มีรัฐสวัสดิการดี ตอนนี้กำลังมีส่วนร่วมดันกลุ่มช่างภาพ REALFRAME ที่ตัวเองเข้าไปเป็นสมาชิกให้แมส

Related Posts

  • Voice of New Gen
    Nexplore กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อยากให้ทุกคนคิดแบบ Superhero Thinking ปลดปล่อยไอเดียบ้าๆ เพื่อสร้างนวัตกรรม

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Voice of New Gen
    รดิศ ค้าไม้: จากเด็กติดเกมสู่นักออกแบบเกม เกมเป็นครู เป็นความฝัน และผู้สอนทักษะการบริหาร

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Voice of New Gen
    นวัตกรตัวน้อย: ไม้ยืนต้น รากลึกและแข็งแรงจาก ‘ต่อกล้าให้เติบใหญ่’

    เรื่อง The Potential

  • Voice of New Gen
    ‘ภูมิ’ เด็กสร้างค่าย เปลี่ยนเด็กธรรมดาให้กลายเป็น ‘นักสร้างสรรค์’ ภายใน 3 วัน

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • Voice of New Gen21st Century skills
    ‘ภูมิ’ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ผู้หยุดการศึกษาไว้ที่ ม.4 เพื่อเริ่มการเรียนรู้ตลอดชีวิต

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

ชิมช็อปอาหารชาติพันธุ์ ปล่อยลูกเล่นอิสระ เปลือยหัวใจไปกับงานคราฟท์ ณ เทศกาลรสชาติแห่งท้องถิ่น อุทัยธานี
Creative learning
8 September 2020

ชิมช็อปอาหารชาติพันธุ์ ปล่อยลูกเล่นอิสระ เปลือยหัวใจไปกับงานคราฟท์ ณ เทศกาลรสชาติแห่งท้องถิ่น อุทัยธานี

เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • ไปเรียนรู้รากเหง้าของคนลาว คนขมุ คนกะเหรี่ยง ผ่านจานอาหารท้องถิ่นในงาน ‘เทศกาลรสชาติแห่งท้องถิ่น’ เทศกาลอาหารครั้งใหญ่ประจำอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ทั้งเป็นงานที่เด็กๆ จะได้เล่นอิสระด้วยของเล่นเสริมพัฒนาการที่ไม่ได้มาจากของเล่นพลาสติกด้วย
  • ระหว่างที่ชิมอาหารก็ไปคุยกับ ป้าโก้ – สิริวรรณ ศรีเพ็ญจันทร์ แม่งานสำคัญที่ทำให้เกิดเทศกาลครั้งนี้ เพราะเธอเชื่อว่า ‘อาหารสร้างการเรียนรู้ เป็นชุมชน และเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในชุมชน’
  • ‘อยากรู้จักชุมชน’ จุดเริ่มต้นที่ทำให้ป้าโก้ไปจัดการกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กๆ ในชุมชน เพื่อพวกเขา (รวมถึงตัวป้าโก้) จะได้รู้จักพื้นที่ๆ ตัวเองอาศัยอยู่มากขึ้น ใช้เวลาศึกษาเก็บข้อมมูลอยู่ 12 ปีก็แตกใบอ่อนมาเป็นเทศกาลครั้งนี้

ขนมตาควาย หลามไก่ แจ่วผีโพง ยำหมากอ้งกา

หลายคนได้ยินชื่อคงเริ่มสงสัยละว่ามันคืออาหารอะไร? หน้าตา รสชาติจะเป็นยังไง? ขอบอกว่าเราเป็นคนหนึ่งที่เกิดคำถามนี้ เพียงแค่เดินเข้ามาในงาน ‘เทศกาลรสชาติแห่งท้องถิ่น’ งานเทศกาลอาหารครั้งใหญ่ประจำอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ถือเป็นจุดเด่นของงานเทศกาลอาหารที่จะไม่ได้เจอเมนูที่เรามักเจอตามงานอาหารพวกลูกชิ้นปิ้ง ข้าวมันไก่ ก๋วยเตี๋ยวเรือ ข้าวแต๋น แต่เป็นอาหารท้องถิ่นจากประชากรหลักของบ้านไร่ ซึ่งก็คือคนลาว คนขมุ (ชนพื้นเมืองดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในลาวและตอนเหนือของไทย) คนกะเหรี่ยง ฯลฯ  ถือเป็นหัวใจของเทศกาลนี้ที่เราจะได้กินอาหารท้องถิ่นพร้อมๆ กับเรื่องรู้รากเหง้าของพวกเขาผ่านจานอาหาร

สิริวรรณ ศรีเพ็ญจันทร์ หรือนิคเนมที่ทุกคนเรียกกันว่า ‘ป้าโก้’ แม่งานสำคัญที่ทำให้เกิดเทศกาลครั้งนี้ เพราะเธอเชื่อว่า ‘อาหารสร้างการเรียนรู้ เป็นชุมชน และเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในชุมชน’ 

เทศกาลอาหารที่ชาวบ้านเป็นเจ้าของ และมีความภูมิใจในท้องถิ่นเป็นเครื่องชูรส อาหารในงานเป็นอาหารชาติพันธ์ของคนในท้องที่ ไม่ว่าจะลาว กะเหรี่ยง และชาติพันธ์อื่นที่อพยพมาตั้งรกรากในพื้นที่ เทศกาลอาหารที่คนส่วนใหญ่แต่งกายด้วยผ้าซิ่นตีนแดง และเสื้อผ้าสีคราม

เราต่างรู้ว่าอาหารไม่ใช่แค่รสชาติ แต่คือรสนิยม ชาติพันธ์ุสัญชาติที่มาพร้อมหน้าตาอาหาร ความหลังวัยเด็กว่าเราเคยกินอาหารนี้ครั้งแรกที่ไหน เมื่อไร กับใคร กินแล้วเรารู้สึกอย่างไร บรรยากาศในการกินครั้งนั้นเป็นอย่างไร (ถ้าความทรงจำกับอาหารมันดีนะ ฮึ่ย… เราคงจำได้ไม่เลือน) และอื่นๆ ที่ทำให้อาหาร ไม่ใช่แค่อาหารเลย 

บทความชิ้นนี้ไม่ได้พาไปชิมอาหาร (เพราะเราชิมไปจนเต็มคราบแล้ว! อิอิ) แต่อยากชวนดูวิธีคิดและการเดินทางของคนจัดงานอย่าง ป้าโก้ และ ป้าโก้เป็นนักพัฒนา นักจัดกระบวนกร ที่เมื่อสิบปีก่อนเธอและลุงเบ้ – ปุณพจน์ ศรีเพ็ญจันทร์ คู่ชีวิต ทั้งคู่ทำงานเป็นนักพัฒนา นักอนุรักษ์ กระบวนกร ผู้อยู่เบื้องหลังหลายอย่าง หรือที่ทุกคนจะเก็ตได้เร็วๆ ก็คือโครงการใบไม้เปลี่ยนเมือง (โครงการแปรรูปวัสดุจากธรรมชาติให้กลายเป็นภาชนะสำหรับใส่อาหาร) สองสามีภรรยาคู่นี้คือผู้อยู่เบื้องหลัง

ลุงเบ้ กับ ป้าโก้

ชิม-ช็อป-เด็ก(เล่นอิสระ)-ทำมือ: เครื่องปรุงหลากรสใน ‘เทศกาลรสชาติแห่งท้องถิ่น’

ณ ลานวัดบ้านไร่ยามเย็นหากเป็นวันเสาร์ธรรมดาคงเงียบสงัดไร้ผู้คน แต่วันนี้กลับเต็มไปด้วยซุ้มไม้เรียงรายต่อแถวยาวล้อมรอบกลางลานวัด เพื่อขายอาหารและสิ่งของต่างๆ บรรดาต้นไม้ต่างประดับประดาไปด้วยไฟและตุง (เครื่องที่ใช้ประดับหรือประกอบในพิธีกรรมของคนภาคเหนือ) ผู้ร่วมงานต่างพากันนุ่งซิ่น สวมชุดพื้นเมืองของตัวเอง

งานเทศกาลรสชาติแห่งท้องถิ่นปีนี้ถือเป็นปีที่สอง ป้าโก้เล่าว่า งานเทศกาลท้องถิ่นปีแรก (ปี 2562) เริ่มต้นจากอยากให้คนได้รู้จักอาหารท้องถิ่นในหมู่บ้านสะนำ (ตั้งอยู่ในอำเภอบ้านไร่) อย่างยำหมากอ้งกาอาหารขึ้นชื่อของคนหมู่บ้านสะนำ (หรือยำเพกา นำเพกามาล้างด้วยโซดาให้หายขม แล้วปิ้งด้วยเตาถ่านให้สุก จากนั้นปรุงรสด้วยน้ำปลา มะขามเปียก น้ำตาลปี๊บ และกะทิสด เสร็จแล้วโรยหอมซอยและผักชี) หลามไก่ของคนลาว น้ำพริกจากคนกะเหรี่ยง เป็นต้น จึงจัดเป็นงานชิมฟรี แต่ปีนี้ป้าโก้ต้องการต่อยอดสร้างพื้นที่ตรงนี้ให้กลายเป็นตลาดวัฒนธรรมทุกๆ วันเสาร์ ทำให้คนที่มาจัดงานครั้งนี้ไม่ได้มีแค่ชาวบ้านสะนำ แต่มีคนอื่นๆ ในอำเภอบ้านไร่มาร่วมด้วย

“ที่ใช้คำว่าจัดเทศกาลรสชาติอาหารท้องถิ่น เพราะเราเห็นว่าอาหารที่นี่มีความหลากหลาย มันเป็นอาหารที่สร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชน สมมติเราจะทำอาหารขึ้นมาสักหนึ่งอย่าง บ้านนั่นปลูกหน่อไม้ บ้านนี้มีไก่ ไปขอเขามาได้ หรือถ้าอยากกินหน่อไม้คุณต้องไปกินที่บ้านนี้ ถ้าอยากกินหลามไก่ต้องไปบ้านหินตุ้มของชาติพันธุ์ขมุ ถ้าอยากกินน้ำพริกกะเหรี่ยงก็ต้องขึ้นไปกินข้างบน การไปกินอาหารที่ถิ่นเขาเราจะได้รสชาติที่แท้จริง รสชาติชีวิตพวกเขา”

ตัวงานออกแบบเป็น 4 โซน โซนที่หนึ่ง – ชิม เป็นโซนให้ทุกคนได้ชิมอาหารท้องถิ่น เช่น แจ่ว 10 อย่าง หลามบอน หลามไก่ กบหน่อไม้ ฯลฯ เป็นอาหารท้องถิ่นที่ทำกินในครัวเรือน โซนที่สอง – ซื้อขาย เป็นร้านขายจากคนบ้านไร่ที่มาตั้งให้ทุกคนได้ชิมช้อป ป้าโก้เล่าต่อว่า ทุกร้านถูกคัดสรรด้วยเกณฑ์ว่า ‘สามารถเล่าเรื่องราวในชุมชนได้’ ตัวอาหาร หรือสิ่งของที่ขายต้องบ่งบอกความเป็น ‘วิถีบ้านไร่’ เช่น มาที่บ้านไร่จะต้องได้กินก๋วยเตี๋ยวหน่อไม้หรือต้องได้กินยำหมากอ้งกาอาหารพื้นบ้านของคนสะนำ

“เราขอให้เขาทำแบบโบราณย้อนอดีตเลยนะ ตอนเด็กเขาเคยกิน เคยทำยังไง ก็ให้เขาทำแบบเดียวกันเลย คนร่วมงานจะได้รู้ว่าบ้านไร่เรามีรสชาติเป็นยังไง” 

จานซ้าย – ขนมตาควาย จานขวา – ขนมแป้งจี่ จานบน – ไส้ขนมตาความ
ก๋วยเตี๋ยวหน่อไม้ น้ำแกงสีส้มรสหวานอมเปรี้ยว

โซนที่สาม – เด็ก อีกหนึ่งโซนที่ดึงดูดความสนใจผู้ร่วมงาน (รวมถึงเรา) สนามเด็กเล่นจากของเล่นโบราณ ไม่ว่าจะเป็นกังโก๊ะ หรือกังโกะ (การนำกะลามะพร้าวมาผ่าครึ่ง แล้วเจาะรูที่ก้นกะลา 1 รู จากนั้นร้อยเชือกและมัดเป็นปม ทำเหมือนกันอีกข้างหนึ่ง ส่วนวิธีการเล่นคือผู้เล่นจะต้องเดินโดยใช้กะลา 2 ชิ้น เหยียบบนกะลาแล้วใช้นิ้วเท้าหนีบเชือกเหมือนใส่รองเท้าแตะ จากนั้นเดินแข่งกันว่าใครจะถึงเส้นชัยก่อน หากระหว่างเดินเท้าใครตกจากกะลาเป็นอันแพ้) กังกะ หรือไม้โถกเถก (เป็นไม้ไผ่ 2 ท่อน ยาว 1.5 – 2 เมตร เจาะรูสำหรับทำที่วางขาด้านละอัน วิธีเล่นให้ขึ้นไปเหยียบบนที่วางขา แล้วมือจับไม้ให้แน่นก่อนจะวิ่งหรือเดินแข่งกัน เดิมสันนิฐานว่าเคยเป็นเครื่องมือสำหรับเดินข้ามแม่น้ำ เข้าป่า เพื่อป้องกันอันตรายเนื่องจากไม่ได้สวมรองเท้า ต่อมาถูกดัดแปลงให้กลายเป็นของเล่นสำหรับเด็กๆ) รถล้อโบราณ รถไม้ลาก ธนู ฯลฯ ป้าโก้บอกว่าของเล่นพวกนี้ล้วนแต่เป็นของเล่นที่เด็กสมัยก่อนเล่นกัน นอกจากนี้มีอภินันทนาการของเล่นเสริมพัฒนาการโดย กลุ่มไม้ขีดไฟ (หรือ The Matches Group กลุ่มที่ทำงานจัดกระบวนการ ส่งเสริมให้เด็กๆ เกิดการเรียนรู้) อีกด้วย

เด็กๆ กำลังเล่น กังกะ หรือ ไม้โถกเกถ

และโซนที่สี่ – งานคราฟท์ พื้นที่สำหรับงานศิลปะทำมือ มีสอนวาดผ้าสีครามที่คนวาดทุกคนจะได้ผ้าเช็ดหน้าที่ตัวเองวาดกลับไปคนละ 1 ผืน 

ส่วนบริเวณตรงกลางลาน คือ เวทีจัดแสดงดนตรีและกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น วงดนตรี acoustic ที่บรรเลงเพลงขับกล่อมคนในงาน หรือการแสดงของคนท้องถิ่นอย่างการรำกะลาจากเด็กๆ ชาวกะเหรี่ยง ฟ้อนผีนางด้งจากชาวบ้านสะนำ 

จุดหนึ่งที่ดึงดูดความสนใจเรา คือบริเวณหน้าเวทีจะมีกลุ่มคนทั้งเด็กนักเรียนและผู้ใหญ่นั่งกระจัดกระจาย บนตักทุกคนวางสมุดวาดภาพ ส่วนอาวุธในมือก็แตกต่างกัน บ้างดินสอ บ้างพู่กันจุ่มสีน้ำ ทำให้ภาพออกมาตามสไตล์ใครสไตล์มัน ด้วยความสงสัยเราเดินเข้าไปดูว่าพวกเขากำลังวาดภาพอะไร ปรากฎว่าเป็นภาพของศาลาร้อยปีที่อยู่หลังเวที อันเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ป้าโก้ตัดสินใจเลือกลานวัดเป็นที่จัดงาน

“เรานึกถึงตอนไปปีนัง ที่นั่นเขาจะมีเด็กมานั่งวาดรูปตามที่ต่างๆ เลยนะ ที่งานเราก็อยากทำแบบนั้นบ้าง ก็ชวนเด็กๆ ผู้ใหญ่มาวาดรูปกัน

“ครั้งนี้เรามีหมุดหมายเรื่องศาลาร้อยปีเพราะมันถูกทิ้งจนจะล้มล่ะ แต่ความงามของมันยังมหัศจรรย์อยู่เลย สมัยก่อนศาลาไม้นี้ถูกใช้เป็นโรงเรียนแห่งแรกของอำเภอบ้านไร่ ข้อมูลพวกนี้เราก็ได้จากการไปชวนคนแก่ที่อยู่ในยุคนั้นมาเล่าให้ฟัง ซึ่งเราต้องการให้คนอื่นๆ เห็นความงามนี้เหมือนกัน เลยชวนคนในชุมชนมาช่วยกันทำให้ศาลาฟื้นคืนชีวิตอีกครั้งผ่านการจัดงาน หมายความว่าศรัทธาชุมชนจะกลับมา ศาลาจะไม่โดดเดียวจะมีผู้คนมาสร้างชีวิตชีวาให้ ถ้าเรามีกิจกรรมต่อจากนี้”

ขึ้นต้นเป็นกระบวนการเรียนรู้ของเด็กๆ ในชุมชน ที่แตกใบอ่อนเป็นงานเทศกาล

“มันเริ่มตั้งแต่ป้าย้ายมาอยู่ที่นี่เลยนะ ใช้เวลาศึกษาเก็บข้อมูลมาประมาณ 12 ปี ก็เริ่มรู้ทีละอย่างสองอย่าง ไม่ใช่อยู่ๆ จะมาเจอนะ ครั้งแรกที่มาเราก็รู้ว่าคนที่นี่เขาเป็นคนลาว แต่ไม่รู้วิถีชีวิตเขาเป็นยังไง

“แล้วเรามองเห็นว่าพื้นที่นี้มันมีของเยอะมาก ทั้งความมั่นคงทางทรัพยากร เพราะอำเภอบ้านไร่อยู่ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มีทรัพยากรเยอะ หรือประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาที่มาจากความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของคนในพื้นที่ที่มีทั้งคนลาว ขมุ กะเหรี่ยง ฯลฯ การหาอยู่หากินของเขาพึ่งพากับธรรมชาติ เรียกว่าถ้าปิดเมืองคืออยู่ได้เป็นเดือนเป็นปี ไม่เดือนร้อนอะไร”

ถ้าพูดถึงจุดเริ่มต้นของงานเทศกาล ป้าโก้บอกว่า คงต้องย้อนกลับไปช่วง 12 ปีที่แล้ว ครอบครัวของป้าโก้เพิ่งย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่หมู่บ้านสะนำ ด้วยเหตุผลเดียวคืออยากให้ ‘ลูกโตเติบโตในชุมชนที่มีรากของตัวเอง’ แม้จะไม่ใช่บ้านเกิด แต่ป้าโก้เคยทำงานในพื้นที่นี้ ทำให้พอรู้จักว่าบ้านสะนำเต็มไปด้วยเรื่องราว ประเพณี วัฒนธรรม ที่เป็นรากของชุมชน

การแสดงฟ้อนผีนางด้ง

“ตอนแรกป้าวางแผนว่าจะมาทำเกษตร แล้วก็เขียนหนังสือเป็นของตัวเองสักเล่ม แต่อยู่ไปเรื่อยๆ เรารู้สึกว่าต้องทำความรู้จักพื้นที่แล้วล่ะ เราต้องรู้จักหมู่บ้านสะนำ ต้องรู้จักคนในชุมชน รู้จักเด็กๆ เพราะถ้าคนในชุมชนรู้จักเรารู้จักลูกเรา ครอบครัวเราก็อยู่ได้ปลอดภัย ดูแลกันและกัน”

แต่คนต่างถิ่นอย่างป้าโก้จะเข้าไปทำความรู้จักกับคนในชุมชนได้อย่างไร? ป้าโก้เล่าว่า เธอเริ่มโดยใช้ความสามารถที่ติดตัวมา คือ กระบวนการเรียนรู้ นำมาถ่ายทอดให้เด็กๆ บ้านสะนำ ถือเป็นประตูบานแรกที่ทำให้เธอได้รู้จักกับหมู่บ้านสะนำ ป้าโก้เข้าไปหาครูที่รู้จักกันในโรงเรียนวัดสะนำ ขอเวลา 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์สำหรับวิชา ‘ทักษะชีวิต’ ที่ป้าโก้ตั้งใจอยากให้เด็กๆ ในชุมชน (รวมถึงป้าโก้) ได้รู้จักบ้านเกิดของตัวเอง แต่ก่อนจะรู้จักชุมชนได้ เด็กๆ ต้องรู้จักตัวเองซะก่อน กระบวนการเรียนของป้าโก้จึงเริ่มจากทำให้เด็กรู้จักตัวเอง แล้วค่อยกลับไปรู้จักชุมชน ผ่านการค้นเรื่องราวว่าหมู่บ้านสะนำมีอะไรที่พวกเขาไม่รู้ มีอะไรที่พวกเขาอยากเล่า 

“พอเข้าไปทำกระบวนการกับเด็ก เด็กก็จะพาเราไปหาพ่อแม่พวกเขา พาไปบ้าน เราก็ไม่เข้าใจวิถีชีวิตเขาหรอก ‘แบบนี้มันกินยังไง’ เด็กเลยคอยสอนเรา กระบวนการเรียนของป้าอันดับแรกให้เด็กไปค้นก่อนนะว่า ‘ไอ้ที่เอ็งกินอยู่ทุกวันมันทำยังไง’ มันทำไม่เป็นหรอกตอนแรก ยกเว้นบางคนนะที่รู้ว่าส่วนประกอบอาหารมีอะไร เราก็เอาสูตรที่เด็กค้นมาทดลองทำที่โรงเรียนแบ่งกันกิน การทำงานเราให้เด็กเป็นคน เราเป็นแค่คนจัดตั้งกระบวนการความคิดให้เขาเอาไปทำงานต่อ

“มีครั้งหนึ่งเราไปเจอป่าหมาก คือที่บ้านสะนำมีต้นหมากเยอะมากจนชาวบ้านตั้งชื่อป่านี้ว่า ‘ป่าหมากล้านต้น’ เราก็สนใจว่าทำไมปลูกต้นไม้เยอะจังก็กลับไปค้นว่าป่าหมากล้านต้นคืออะไร เจอว่าคนลาวที่สะนำเขากินหมาก ก็เลยหาพื้นที่ใกล้น้ำปลูกต้นหมาก เพราะงั้นบ้านไร่มีความสมบูรณ์เรื่องนี้”

จากจุดเริ่มต้นตามรอยป่าหมาก กลับทำให้ป้าโก้และเด็กๆ ได้ค้นพบต้นไม้ยักษ์ 300 ปี ซึ่งปัจจุบันเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาบ้านไร่ต้องแวะมาที่นี่ ป้าโก้เล่าต่อว่า พอเห็นพื้นที่นี้ครั้งแรกความรู้สึกมันบอกว่า ‘ที่ตรงนี้ควรเป็นพื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กๆ’ ป้าโก้ตัดสินใจไปจัดกระบวนการเรียนรู้ใต้ต้นไม้ยักษ์ ใช้พื้นที่รอบๆ ต้นไม้ยักษ์เป็นห้องเรียนสิ่งแวดล้อมของเด็กๆ พาพวกเขาไปกอด ไปหอมดิน ไปทำความรู้จักต้นไม้ยักษ์

“แล้วที่โรงเรียนไม่มีห้องประชุม ไม่มีห้องให้เรารวมเด็ก แล้วป้าก็ไปเห็นกองขยะหน้าโรงเรียน คือมันเป็นพื้นที่ๆ เขาใช้ทิ้งขยะ เราเห็นก็เกิดไอเดียชวนเด็กๆ ว่า ‘เราทำบ้านดินกันเถอะ’ เด็กมันก็เอาเว้ย (เสียงตื่นเต้น) แต่เด็กก็ไม่รู้หรอกว่าบ้านดินคืออะไร เราก็ให้ความรู้ เรียนรู้ไปกับเด็ก เพราะตัวเราเองก็ไม่ใช่คนรู้เยอะ แต่เราใช้พื้นที่ตรงนี้เรียนรู้ไปกับเด็ก ประสบการณ์ที่เรามีตอนอยู่กรุงเทพฯ เก็บวางเลยนะ มันเอามาใช้ที่นี่ไม่ได้ ก็มาเริ่มต้นใหม่เรียนรู้ไปกับเขา

“สร้างบ้านดินเราอยากให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมด้วย เด็กๆ เป็นคนไปสื่อสารว่าบ้านใครมีดินก็ขอหน่อยจะมาสร้างบ้านดิน ถ้ามีก็วางไว้หน้าบ้านนะ เดี๋ยวตอนเย็นขับรถไปรับ ตอนแรกได้กองเล็กๆ มากองหนึ่ง ทีนี้เราเลยทำผ้าป่าดิน เพื่อบอกให้ชุมชนรู้ว่าเรากำลังจะทำสิ่งดีๆ นะ พระก็งงว่าต้องสวดบทไหน (หัวเราะ) เราเชิญผู้นำชุมชนมาร่วมด้วยให้เขาป้ั้นดินก้อนแรก พอเขาทำเสร็จก็เดินไปสั่งดินให้เราสองคันรถเลย

“เด็กๆ ก็ช่วยกันทำทั้งหลัง ใช้เวลาประมาณปีหนึ่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนก็งงนะว่าทำไมเราไม่จ้างช่างทำแปปเดียวเสร็จ เราก็บอกว่าคุณจะไม่ได้อะไรเลย สร้างบ้านดินเราได้เด็กที่เคยเอาแต่ขี่มอเตอร์ไซค์เล่นในชุมชน กินแต่เหล้า ไม่เคยสนใจอะไร เด็กกลุ่มนี้เขาพากันมาช่วยสร้างบ้านดินหลังนี้ หลังจากนั้นเด็กกลุ่มนี้เป็นกำลังหลักสำคัญของชุมชน เวลาชุมชนมีงานก็จะมาช่วยตลอด”

คนนอกแบบเราแค่ฟังกิจกรรมที่ป้าโก้เล่าก็รู้สึกสนุกละ แม้จะไม่ได้ลงไปสัมผัสด้วยตัวเอง ทำให้พอถามว่าการตอบรับของเด็กๆ เป็นอย่างไร ป้าโก้จึงตอบกลับมาด้วยรอยยิ้ม เพราะความสุขของคนสอน คือ ภาพเด็กๆ ที่ต่างรอคอยจะได้เรียนวิชาของเธอ 

“เพราะมันสนุกไง เราใช้กระบวนการเรียนรู้ที่ให้เด็กเป็นคนทำเอง เขาอยากรู้อะไรก็ต้องไปค้น ไปลงมือทำ สร้างการมีส่วนร่วม ตัวเราเองไม่ได้เป็นครูที่สอนเด็ก แต่เด็กเป็นครูที่สอนเรา เพราะอย่างที่บอกเราเองก็ไม่ใช่คนรู้เยอะ เด็กๆ พาเราไปรู้จักบ้านเขา เพียงแต่เราให้เครื่องมือบางอย่างกับเขา เช่น ไปเก็บข้อมูลต้องทำยังไง วิธีการสัมภาษณ์ การตั้งคำถาม การเก็บข้อมูลด้วยการวาดภาพเป็น visual thinking การเล่าเรื่องด้วยตัวเอง”

อาหารทุกจาน สิ่งของทุกอย่าง เบื้องหลังคือวิถีชีวิตพวกเขา

‘หลาม’ เป็นอาหารที่เราได้ยินชื่อในงานบ่อยมาก คนในงานต่างก็พูดกันว่าต้องไปกินหลามไก่! ขออนุมานว่ามันคงเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของชาวบ้านสะนำ ถ้าถามว่าเราพอจะมีไอเดียอะไรไหมกับอาหารจานนี้ บอกเลยว่าเป็นศูนย์ (เอาจริงๆ ก็อาหารทุกจานในงานแหละ) เราสามารถเชื่อมโยงได้แค่ว่า หลามไก่นี้จะเหมือนข้าวหลามหนองมลที่เราเคยกินไหมนะ? (ก็มีคำว่าหลามเหมือนกัน ต้องเป็นพี่น้องแน่ๆ) 

เพื่อทำความรู้จักอาหารชนิดนี้ให้ลึกซึ้งขึ้น เราเดินไปยังซุ้มที่ทำอาหารดังกล่าว ตัวซุ้มนั้นเปิดโล่ง มีเพียงเสื่อผื่นใหญ่ที่ปูไว้ โต๊ะไม้สำหรับวางวัตถุดิบ และด้านหน้ามีเตาเผากระบอกไม้ไผ่ที่วางเรียงต่อกัน โดยมีชายคนหนึ่งเป็นคนคอยนั่งเช็คว่ากระบอกไหนสุกได้ที่แล้ว ก่อนจะหยิบให้หญิงคนหนึ่งนำอาหารในกระบอกเทลงถาดและแจกจ่ายให้คนที่ต่อแถวรอชิม

ร้อง แห้วเพชร หญิงคนดังกล่าวเล่าให้เราฟังว่า หลาม เป็นวิธีการทำอาหารอย่างหนึ่งของชาวขมุ โดยใช้ ‘กระบอกไม้ไผ่’ ซึ่งเป็นวัสดุที่หาง่ายตามป่า เพราะสมัยก่อนเวลาคนเข้าป่าจะไม่ได้พกภาชนะไปประกอบอาหาร ไม้ไผ่จึงกลายมาเป็นอุปกรณ์ครัวที่หาได้ง่ายและสะดวกที่สุด

วิธีการทำหลามก็ไม่ยุ่งยาก เพียงใช้เนื้อสัตว์หรือผักอะไรก็ได้ผสมกับเครื่องแกงที่หาได้ตามท้องถิ่นอย่างเช่น ข่า ตะไคร้ พริก และอย่าลืมใส่วัตถุดิบที่เป็นหัวใจจานอาหารชาวลาวอย่าง ‘ปลาร้า’ พอผสมกันเสร็จก็เทใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วนำไปเผาจนสุกก็สามารถรับประทานได้ เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นเธอยกตัวอย่างการทำหลามบอน ซึ่งจะมีวัตถุดิบก็คือมะเขือส้ม ปลาร้า พริก ข่า ตะไคร้ หมูสด น้ำตาล และต้นบอน (ผักพื้นบ้านดั้งเดิมของคนไทย นิยมนำก้านใบของต้นบอนมาประกอบอาหาร) ผสมส่วนประกอบให้เข้ากันเสร็จแล้วเทใส่กระบอกไม้ก่อนนำไปเผาให้สุก

คำอธิบายจบก็พอดีกับที่แถวคนต่อชิมหลามหมดลง เราเลยได้มีโอกาสชิมหลามจานนี้เป็นหลามไก่ หน้าตาของมันคือไก่ติดกระดูกผัดสีเข้มๆ ค่อนไปทางดำ เป็นสีที่น่าจะได้จากการใส่ปลาร้า ส่วนรสชาติของมันเค็มๆ เผ็ดๆ ตามวัตถุดิบที่ใส่

ถัดมาที่ซุ้มข้างๆ ที่ดึงความสนใจเราด้วย setting ที่เรียกว่าอลังการ เพราะพวกเขายกเอาห้องครัวมาตั้งในลานวัดแห่งนี้ เป็นห้องครัวแบบที่เรามักเห็นตามละครพีเรียด ด้านหน้ามีแคร่ตั้งอยู่ บนนั้นเต็มไปด้วยหม้อดิน 5 – 6 ใบ ภายในบรรจุน้ำข้นๆ สีเทาดำแตกต่างกันไป ป้ายผ้าสีขาวเป็นตัวบอกเราว่าอาหารพวกนี้คือ ‘แจ่ว’ อาหารของคนลาว มีทั้งแจ่วที่ชื่อคุ้นอย่างแจ่วมะเขือด้าน ไปจนถึงแจ่วที่ชื่อฟังไม่คุ้นหูอย่างแจ่วผีโพง 

กันยา ชาวป่า หญิงประจำซุ้มอธิบายให้ฟังว่า แจ่วคือเครื่องจิ้มชนิดหนึ่งของชาวภาคอีสาน ถือเป็นเมนูประจำบ้าน เพราะวิธีการทำไม่ยุ่งยากสามารถเอาวัตถุดิบที่อยู่รอบตัวมาทำได้ เธอยกตัวอย่างแจ่วผีโพง ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้เป็นของสดทั้งหมด ประกอบด้วยปลาร้าสด มะเขือเทศสด พริกสด และกระเทียมสด ผสมให้เข้ากันจนได้แจ่วผีโพง ส่วนที่ว่าทำไมต้องชื่อแจ่วผีโพง (เป็นผีตามความเชื่อของคนภาคเหนือ) เพราะผีโพงชอบกินของสดเหมือนกัน

ส่วนแจ่วที่เราตักมา คือแจ่วมะเขือด้าน หน้าตาของอาหารจานนี้เหมือนแกงข้นๆ สีเทาที่ได้มาจากวัตถุดิบอย่างมะเขือ ส่วนรสชาตินั้นเพื่อนร่วมทางที่ไปกับเราได้ลองชิมบอกว่า ‘เหมือนกินลาบมะเขือ’

อาหารทุกชนิดล้วนมีที่มาจากสิ่งที่อยู่รอบๆ หมู่บ้าน ทำให้เราทึ่งมาก เหมือนกับดูรายการมาสเตอร์เชฟที่ผู้เข้าร่วมรายกายต้องดัดแปลงวัตถุดิบให้เป็นอาหารต่างๆ และทำให้เรานึกถึงคำพูดของป้าโก้ว่า ‘อาหารสร้างการเรียนรู้และความสัมพันธ์ในชุมชน’ จานอาหารสะท้อนให้เราเห็นวิถีชีวิตคนบ้านไร่ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หยิบจับวัตถุดิบรอบตัวมาดำรงชีวิต 

ป้าโก้เล่าว่า คนที่นี่ส่วนใหญ่จะยังรักษารากเก่าไว้ค่อนข้างเหนียวแน่น พวกเขาใช้ชีวิตตามวิถีเดิม อย่างวิธีการทำอาหารที่นี่ส่วนใหญ่จะเป็น หลาม หมก (นำเนื้อสัตว์หรือผักมาคลุกกับเครื่องปรุงรส ปลาร้า แล้วห่อด้วยใบตองก่อนจะนำไปเผาให้สุก) และจี่ (การทอดโดยใช้น้ำมันปริมาณน้อยๆ) หรือวิถีชีวิตของคนลาวที่จะต้องทำพิธีปิดบ้านทุกแรมหนึ่งค่ำเดือนหก ถือเป็นช่วงที่จะเปิดฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ โดยพวกเขาจะไหว้เจ้าบ้านที่นับถือ ในการไหว้จะต้องมีขนมและอาหารสำหรับใช้ในพิธีกรรม เช่น ข้าวต้มแร่ เหมือนขนมกล้วยเพียงแต่ใช้กล้วยตากทำ โดยเอากล้วยตากมาตำ จากนั้นนึ่งแล้วใส่ข้าวใส่กาบมะพร้าว กลายเป็นข้าวต้มแร่

“อย่างส้มกล้วย เกิดจากคนไปไร่แล้วมันร้อน ที่นี้ในไร่มีต้นกล้วยที่เขาปลูกไว้รอบๆ ก็เอากล้วยดิบใส่เกลือเม็ดหนึ่ง ปลาร้าชิ้นหนึ่ง พริกขี้หนูเม็ดหนึ่ง แล้วมะนาวนิดหนึ่ง ตอนเรากินครั้งแรกมันแบบ ‘โอ้โห้ นัวอยู่ในปากอ่ะแก’ เรียกน้ำลายมากเลย นี่ถือเป็นความมหัศจรรย์ของภูมิปัญญาที่เขามีอยู่ ลุงเบ้แกเห็นก็ถามเหมือนกันว่าทำไมมันมีหลากหลายมากเลย ก็โอเค เราเห็นอยู่แหละว่าที่นี่มีต้นทุนทรัพยากรเยอะ แต่ภูมิปัญญาที่มาสรรค์สร้างเป็นอาหารเขา ทำได้อย่างไร?

“คำพูดเดียวเลยคือ ‘จน’ เพราะว่าจนเลยต้องหากินอยู่รอบป่ารอบบ้าน แปรรูปให้ไม่ดูน่าเบื่อ ให้มันสนุก”

  • ส้มกล้วย หนึ่งคำ ประกอบด้วย กล้วยดิบ ปลาร้า มะนาว พริก ตะไคร้
  • ส้มกล้วย

ปลายทางของถนนเส้นนี้คือการที่ทุกคนเห็นคุณค่าในสิ่งที่ตัวเองมี

ถึงแม้ท้องฟ้าจะเริ่มมืดลงแต่คนมางานกับเพิ่มขึ้น สร้างบรรยากาศครื้นเครงกว่าเดิม รอยยิ้มที่ปรากฎอยู่บนใบหน้าป้าโก้ตลอดทั้งงานคงเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงความประสบสำเร็จงานนี้ได้เป็นอย่างดี ทุกคนที่มางานไม่ได้เพียงอิ่มท้อง หรือได้ของฝากกลับไป แต่พวกเขาได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนบ้านไร่ด้วย

ตลอด 10 ปีที่ทำงานในหมู่บ้านสะนำ ป้าโก้เล่าว่าได้พบเจอคนที่มีต้นทุนความรู้เยอะมาก ซึ่งป้าโก้ไม่อยากให้ความรู้พวกนั้นถูกเก็บเอาไว้ จึงชวนพวกเขามาทำบ้านให้เป็นพิพิธภัณฑ์เล่าเรื่องโชว์ความรู้ความสามารถที่ตัวเองมี ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็กๆ ในหมู่บ้านและคนภายนอก

“อย่างบ้านป้าจำปีเขาเก่งเรื่องผ้ามาก ก็ชวนเขาทำบ้านให้เป็นพิพิธภัณฑ์ผ้าลาวลายโบราณ ให้ความรู้เรื่องผ้าโบราณ เพราะลายผ้าส่วนใหญ่มันจะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนลาว เช่น ลายอ้อแอ้ เป็นเสียงของล้อเกวียนที่ดังขึ้นระหว่างอพยพ ลายอ้อแอ้จะแสดงเส้นทางที่คนลาวใช้เดินทางมาประเทศไทยตอนถูกกวาดต้อน เลยทำให้ลายเป็นแบบลดเลี้ยวเคี้ยวคด หรือลายขอขื่อ แรงบันดาลใจมาจากการไกวเปลเลี้ยงลูก ลายผ้าพวกนี้มีเรื่องเล่ามากมาย เราเลยจัดพื้นที่ให้เขาได้แสดงศักยภาพ ทั้งหมดจึงเริ่มจากเล็กๆ มาเรื่อยๆ

“ผู้ใหญ่ก็สนุกนะ เพราะเขาได้ฟื้นวิชาที่มีอยู่ในตัวมาเล่าให้ลูกหลานฟัง อย่างการทำควายมะพร้าว มันหายไปนานแล้วนะจากความทรงจำของคนในหมู่บ้าน เป็นของเล่นคนในท้องถิ่น โดยเอาก้านมะพร้าวมาเสียบกับกะลามะพร้าวที่เหลาให้เป็นเขาควาย ตอนเรากับเด็กๆ ไปเห็นก็ถามว่าคืออะไร คนทำก็เล่าให้เราให้เด็กฟัง เราได้ความรู้ ตัวเขาก็ได้ฟื้นวิชาในตัว

“เราอยากให้เขาเห็นว่าของที่พวกเขามีในตัวมันสร้างคุณค่าให้พวกเขาได้นะ การทำกิจกรรมหรือแม้แต่การจัดงานครั้งนี้มันก็ทำให้รากของชุมชนแข็งแรงขึ้น ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนเชื่อมร้อยกันแน่น คนในชุมชนเองภูมิใจที่อาหารของเขามีคนสนใจ ชีวิตของเขามีคนสนใจ จริงๆ เราอยากให้พื้นที่นี้เป็นต้นแบบให้พื้นที่อื่นๆ ในอุทัยธานีได้ทำแบบนี้บ้าง เพราะเอาเข้าจริงอุทัยธานีมีพื้นที่แบบนี้เยอะมากนะ กำลังรอที่จะส่งเสียง เปล่งประกายอยู่” ป้าโก้กล่าวทิ้งท้าย

อ้างอิง
ขมุ

Tags:

ปุณพจน์ ศรีเพ็ญจันทร์อาหารประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์สิริวรรณ ศรีเพ็ญจันทร์

Author:

illustrator

เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

เพิ่งพ้นรั้วมหาวิทยาลัยจากคณะแห่งการเขียนและสื่อมวลชน แม้ทำงานแรกในฐานะกองบรรณาธิการ The Potential หากขอบเขตความสนใจขยายไปเรื่องเพศ สิ่งแวดล้อม และผู้ลี้ภัย แต่ที่เป็นแหล่งความรู้วัยเด็กจริงๆ คือซีรีส์แวมไพร์, ฟิฟตี้เชดส์ ออฟ จุดจุดจุด และ ยังมุฟอรจาก Queer as folk ไม่ได้

Related Posts

  • Transformative learningSocial Issues
    ห้องเรียนที่ ‘เห็น’ นักเรียนตรงหน้ามากกว่าชื่อที่ปักบนอกเสื้อ

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล

  • Creative learning
    ตามรอย “มโนราห์” เบื้องหลังศิลปะและศรัทธาที่เป็นได้มากกว่าการร่ายรำ

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ The Potential

  • Voice of New Gen
    TEDXYOUTH 2019 #NOW PLAYING: ตัวแทนเสียงเด็กไทยที่ไม่ถูก PAUSE

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Unique Teacher
    อานันท์ นาคคง: เรียนมานุษยวิทยาดนตรีผ่านงานวัด งานประเพณี ถกเพลงประเทศกูมีในห้องเรียน

    เรื่องและภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Creative learning
    เก็บบ๊วยหมักเหล้า เข้าสวนคนขี้เกียจ: เถื่อนทัวร์แบบรื่นรมย์ของคนบ้านหนองเต่า

    เรื่อง กิตติรัตน์ ปลื้มจิตรอุบลวรรณ ปลื้มจิตร

Midlife crisis: วิกฤตวัยกลางคน โอกาสที่จะลอกคราบ เติบโต และ “ตื่น” กับชีวิตอีกครั้ง
Life classroom
4 September 2020

Midlife crisis: วิกฤตวัยกลางคน โอกาสที่จะลอกคราบ เติบโต และ “ตื่น” กับชีวิตอีกครั้ง

เรื่อง ญาดา สันติสุขสกุล ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • “ช่วงวิกฤตวัยกลางคน” เป็นเหมือนแรงพายุที่ปะทะตรงกับตัวเรา เช่น การพลัดพรากจากสิ่งสำคัญ การเกิด การตายจาก ความทุพพลภาพ อุบัติเหตุ การเจ็บป่วยที่รุนแรง หรือการปะทุของบาดแผลในวัยเด็กที่ฝังลึก
  • เป็นบทเรียนภาคต่อจากบทเรียนรู้ครึ่งแรกของชีวิต ที่กำลังดำเนินสู่การเปลี่ยนแปลงให้ชีวิตเราสมบูรณ์ขึ้นคือการอนุญาตให้เราเป็นตัวของเราเอง ใช้ศักยภาพที่เคยมีมา “เปิดเผยในแบบของเรา”
  • ถึงแม้ช่วงวัยกลางคนจะเป็นการเริ่มต้นของวิกฤต หากมองลึกลงไปเราจะรับรู้ได้ว่ามันคือ การท้าทายตัวตนต่างๆ ที่เรายึดไว้ว่าเป็นเรา

ในหลายๆ คนที่กำลังค้นหาความหมายของชีวิตแต่ละช่วงวัย และยังสนุกกับการแสวงหาศักยภาพต่างๆ เพื่อเติมเต็มความต้องการภายใน แต่สำหรับคนที่เริ่มมีอายุมากขึ้นอย่างช่วงวัยกลางคน อาจจะพบว่า กำลังมีวิกฤตทางสภาวะอารมณ์ที่ก่อตัวขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพลังชีวิตที่ดูเฉื่อยและช้าลง หรือเริ่มมีสิ่งรบกวนจิตใจที่จัดการได้ยาก หรือแม้แต่อาจเกิดเหตุการณ์ที่พลิกผันจนตั้งตัวไม่ติด เช่น ความสัมพันธ์ที่ขัดแย้ง อุบัติเหตุเล็กๆ จนถึงร้ายแรง หรือโรคภัยไข้เจ็บ

เป็นความรู้สึกถึงการเจอความพังทลาย ส่งผลให้หมดกำลังใจไปเรื่อยๆ เหมือนเรากำลังเจอสิ่งกีดขวาง มองเห็นแต่ความตีบตัน บางคนเลือกจะไปต่อ แต่กลับเจอแต่ความสับสนว่าจะไปทิศทางไหนดี เพราะความทุกข์ของเราที่พบเจอ มันไม่แสดงตัวชัดเจนว่าต้องการอะไรจากเรา มีแต่คำถามว่า ทำไมต้องเกิดขึ้นกับฉันด้วย..? เป็นความเคลือบแคลงสงสัยที่ปกคลุมไปด้วยเมฆหมอกสีเทาดำ 

“วิกฤตวัยกลางคน” อีกหนึ่งฤดูกาลของชีวิต

ช่วงชีวิตครึ่งแรกของวัยผู้ใหญ่มาจนวัยกลางคนนั้น อาจจะมีเหตุการณ์นำพาให้เราพบเจอโอกาสและอุปสรรคที่ไม่ได้คาดคิดไว้ และในช่วงเริ่มต้นครึ่งแรกของวัยผู้ใหญ่เรามักจะมีสิ่งเหนี่ยวนำ หรือจะเรียกว่า คำโฆษณาเชิญชวนจากระบบความเชื่อในสังคมทั้งระบบครอบครัว และวัฒนธรรมที่เราเรียนรู้มา ชักชวนให้เราตามหาคุณค่าทางกายภาพและคุณค่าทางจิตใจมาครอบครอง ไม่ว่าจะเป็นการงานที่มีรายได้งามๆ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ รถคันสวย หน้าที่ตำแหน่งที่ถูกยอมรับว่าดูเหมาะสมกับการศึกษา การได้รับการยอมรับถึงความสามารถต่างๆ ของเรา “ชื่อเสียงบารมี” และอีกมากมายเท่าที่คุณค่าเหล่านั้นจะเรียกร้องให้คุณมีมัน แต่ในอีกทิศทางหนึ่งของคำเชิญชวนเหล่านี้ อาจจะกำลังแยกคุณให้ห่างจาก “ความต้องการที่จะใช้ชีวิตอย่างแท้จริง” เราจะเรียกมันว่า หนทางแห่งการค้นพบการดำรงอยู่ที่ลึกซึ้งขึ้น เป็นที่ทางของตัวคุณเองในส่วนลึกที่คอยส่งเสียงเพรียกและส่งสัญญาณถึงจิตใจคุณ และหนทางนี้อาจจะกำลังเผยตัวผ่านวิกฤตการณ์ต่างๆ ที่คุณเรียกว่ามันว่า “วิกฤตวัยกลางคน” 

ลองย้อนกลับไปทบทวนชีวิตในช่วงเริ่มต้นว่าหลายๆ สิ่งที่เคยเกิดขึ้นกับคุณ สิ่งที่เป็นต้นทุนของชีวิต ได้มอบประสบการณ์ต่างๆ ก่อเกิดเป็นรากฐานทางจิตใจ สั่งสมให้คุณเดินทางชีวิตต่อไปได้ ทั้งเอื้อให้คุณทำอะไรต่อมิอะไรได้ง่ายขึ้นหรือยากมากขึ้น ซึ่งบทบาทชีวิตเป็นไปเพื่อให้เราได้ทดลอง เป็นทั้งบททดสอบให้เดินผ่านเข้าไปในอุโมงค์ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้ เช่น บางคนมีต้นทุนจากพ่อแม่ช่วยให้เราเรียนในระบบการศึกษาที่สูงที่สุดเท่าที่เราต้องการเพื่อหางานทำได้อย่างที่ตั้งใจ แต่ในหลายคนต้นทุนมาจากความบากบั่นของตนเองกว่าจะเจอหนทางที่ใช่

แต่เราอยากจะพูดถึงการเข้าถึง วิกฤตวัยกลางคน ในแง่ของการค้นพบการมีชีวิตที่สลับซับซ้อนขึ้น มีความหลากหลายมากขึ้น เราจึงขอเชิญชวนให้คุณเริ่มทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กัน อย่างค่อยเป็นค่อยไป ช้าลง เพื่อจะยอมแพ้ต่อมุมมองในช่วงครึ่งแรกของชีวิต ที่เคยกำหนดคุณไว้อย่างชัดเจนว่าคุณควรมี ควรได้อะไร

จาก “วิกฤตของชีวิต” มาสู่การทำความเข้าใจความเว้าแหว่งภายใต้เปลือกภายนอกที่ดูเหมือนจะดูดีเพียบพร้อม 

หากเราได้มีโอกาสทำความเข้าใจกระบวนการทางจิตใจที่กำลังส่งข้อความถึงเราให้กลับเข้ามาย้อนมองส่วนลึกของชีวิตตน “วิกฤตวัยกลางคน” นี้ก็จะดูมีความหวังมากกว่าเป็นเพียง “ภาพแห่งการพังทลาย” มันคือบทเรียนภาคต่อจากบทเรียนรู้ครึ่งแรกของชีวิต ที่กำลังดำเนินสู่การเปลี่ยนแปลงให้ชีวิตเราสมบูรณ์ขึ้นด้วยมุมมองขยาย 

วิกฤตวัยกลางคนจะกล่าวถึงวาระการจบลงของตัวตนต่างๆ ในเรา หรือบุคลิกภาพต่างๆ ที่เราเคยเป็นมา หากเรามองเห็นว่าวัยกลางคนคือการเกิดใหม่ของตัวตนต่างๆ ที่รอการเผยปรากฏตัว เสมือนเป็นการค้นพบพรแห่งชีวิตที่รอเราอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง 

การเกิดใหม่คงจะไม่ใช่เรื่องง่ายดาย บางทีเราแทบจะไม่มีอำนาจต่อกรใดๆ เมื่อวิกฤตชีวิตเกิดขึ้น เมื่อเราศิโรราบกับปริศนาที่กำลังท้าทายเราต่อการเปลี่ยนแปลง เมื่อเรายอมจำนนต่อความไม่แน่นอน ซึ่งบางคนอาจจะมองว่าเป็นหายนะของการทำร้ายใจด้วยซ้ำไป เพราะความไม่แน่นอนคือความน่ากลัวของคนยุคนี้ที่พยายามจะหลีกหนีอยู่ให้ห่างเอาไว้ หลายคนโศกเศร้าเมื่อต้องพบเจอความไม่แน่นอนในชีวิต ควบคุมไม่ได้ และโดยส่วนใหญ่การเปลี่ยนแปลงนี้มักจะมาโดยที่เราไม่ได้เต็มใจนัก คอยผลักไสเราให้ออกจากขอบเขตความปลอดภัย และความสะดวกสบายที่คุ้นชิน แถมผู้คนที่อยู่รอบข้างเราคอยจะหวาดหวั่น กลัวหายนะของวิกฤตชีวิตแทนเราด้วยช้ำไป

ด้วยความสับสนที่เกิดจากการถูกผลักออกนอกเส้นทางแห่งความคุ้นชินเดิม ถ้าเรายอมรับมันอย่างชื่อๆ ตรงๆ เราอาจจะพบว่า เหมือนเรากำลังหลงทางอยู่ในป่ามืด ดันเต เคยกล่าวไว้ว่า “หากเรามีความตั้งใจจะเขย่ารากลึกของเราเอง มันควรจะรู้สึกถึงความยาก เราควรสงสัยว่าทำไมเราถึงมาที่นี่ และไม่ว่าเราจะมาถูกทางไหม เรากำลังได้รับประสบการณ์ที่น่าเบื่อและปนไปด้วยความไม่พอใจ ความกลัว แม้แต่ความสิ้นหวังในชีวิต และอาจรวมถึงความสับสนในสิ่งที่เราต้องทำเกี่ยวกับวิกฤตนี้”

ช่วงครึ่งแรกของชีวิตอาจจะมีแรงขับดันมาจากรอบทิศ โดยที่เราเองอาจจะไม่จำเป็นต้องตั้งคำถามให้มากมาย เหมือนรถยนต์คันใหม่ที่มีน้ำมัน พร้อมออกเดินทาง แต่แล้วการเดินทางของรถยนต์คันนี้ได้มาถึงครึ่งทาง ไม่ว่าเราจะพิชิตความสำเร็จในเส้นทางการมีชีวิตมามากน้อยเพียงใด เราแทบไม่เคยจินตนาการไว้ว่าชีวิตจะไปถึงตรงจุดใดได้ จนเราเริ่มรู้สึกได้ว่า สภาพของล้อรถเริ่มสึก และเริ่มตระหนักว่า การเดินทางครึ่งแรกกำลังจะจบลง ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ อารมณ์ จิตใจ และชีวิตใหม่รอเราอยู่อีกด้านหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง ชีวิตใหม่นั้นมักจะไม่ได้วางแผนภาพอย่างสมบูรณ์ ซึ่งมันอาจแตกต่างจากที่เราเคยใช้ชีวิตมา 

“วิกฤตวัยกลางคน” การเปลี่ยนแปลงในแนวดิ่ง

หากสาส์นที่กำลังเชื้อเชิญเราให้เดินทางต่อ จากนี้ไป คือการบอกให้เราเปลี่ยนจุดศูนย์ถ่วง จากเป้าหมายภายนอกไปสู่เป้าหมายที่แก่นกลางจิตใจ ดึงเราให้เข้าหาแกนกลางที่แท้จริงและไถ่ถามตัวเองว่า “เราคือใคร?”, “เราปรารถนาสิ่งใดกันแน่?” และในที่สุดเราแต่ละคนจำเป็นต้องหาทางของตัวเองเพื่อเดินทางผ่านช่วงกึ่งกลางชีวิตนี้ต่อไปด้วยความสร้างสรรค์ ค้นหา “พรที่ซุกซ่อนภายใน”  ฉะนั้น การใช้ชีวิตจากฐานครึ่งแรกนั้น คือ บทเรียนก้าวแรกที่ลงสู่สนามชีวิต เพื่อตอบสนองให้แก่กฎกติกาทางสังคมที่เห็นพ้องร่วมกัน เช่น เราเรียนรู้ความโกรธในตนเอง ฝึกควบคุมอารมณ์ เพื่อที่เราจะไม่ไปทำร้ายคนอื่นๆ เราเรียนรู้วิธีรับมือกับการเผชิญหน้าในรูปแบบต่างๆ เพราะเราจะสามารถรับใช้สังคม และพร้อมเอื้อประโยชน์ต่อคนอื่นได้นอกเหนือจากคนในครอบครัวเรา 

ในจุดกึ่งกลางของชีวิตนั้นจะต่างออกไป ไม่จำเป็นต้องปรับตัว เพราะจุดนี้มักจะพ้นไปจากการเป็นผู้ใหญ่ที่ต้องการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของผู้อื่นหรือสังคม 

แต่ความเป็นผู้ใหญ่ในวัยกลางคนนั้นเกี่ยวกับการเดินทางเพื่อค้นพบตนเองและกลายเป็นคนที่แตกต่างไปจากคนอื่นๆ  ซึ่งไม่ผูกพันกับกฎกติกาที่เป็น “พันธะทางสังคม” ณ ช่วงวัยกลางคนนี้เรามักจะมีบุคลิกภาพที่เอื้อให้เกิดการตระหนักรู้ถึงความลี้ลับของจิตใจ ทั้งทัศนคติที่เรามองโลก ภาระผูกพัน ซึ่งมันจะทำให้เรามีโอกาสปรับตัว และตั้งคำถามต่อชีวิตของเราอย่างตรงไปตรงมามากขึ้น 

และช่วงวัยกลางคนไม่ได้หมายถึงการละเลยผู้คนหรือสังคมไป ตรงกันข้าม ยิ่งเราก้าวข้ามผ่านความขัดแย้งทางจิตใจในช่วงวัยกลางคนไปได้ เรากลับจะมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นคุณภาพที่สูงขึ้นไปด้วยซ้ำ และเป็นช่วงเวลาแห่งการเติมเต็มการมีชีวิตที่มีความหมายลึกซึ้งกว่าที่เคยเป็นมา เอื้อตนเองสู่ประโยชน์ของผู้อื่นมากกว่าการปฏิบัติไปตามภาระผูกพัน เมื่อเราก้าวข้ามวิกฤตได้ เราจะไม่พยายามหลีกเลี่ยงผลที่ตามมาจากการกระทำของเรา หรือพยายามหาความปลอดภัยเพื่อกันตัวเองออกจากการเผชิญความเสี่ยง ซึ่งจะแตกต่างจากที่เราเคยทำมาในครึ่งแรกของชีวิต ซึ่งความปลอดภัยนั้นก็ถือเป็นมิติทางธรรมชาติของวัยเยาว์ที่จำเป็น

ในการเติบโตช่วงครึ่งแรกของชีวิต ตัวตนของเรามักมีแนวโน้มที่ไม่ตระหนักถึงความโหดร้ายของชีวิตนัก เพราะเราต้องการพิชิตเป้าหมายต่างๆ ให้บรรลุตามความคาดหมาย แต่ในช่วงวัยกลางคน เป็นช่วงเวลาของการแยกอารมณ์ความรู้สึกออกจากแรงขับต่างๆ ที่อยู่ภายในเรา และในช่วงแรกของกระบวนการเปลี่ยนแปลงในวัยกลางคนคือ การค่อยๆ ปลดตัวเองออกจากภาระผูกพันที่เคยรัดเราไว้อย่างเหนี่ยวแน่น เป็นการแยกแยะทางความนึกคิด เพื่อทบทวนปัจจัยต่างๆ ต่อความต้องการต่างๆ เช่น เราทำความเข้าใจว่าการที่เราเคยอยู่ในครอบครัวที่ยากจนมามันคือความลำเค็ญ พอเราเริ่มทำงานก็พยายามสร้างฐานะเพื่อจะไม่ลำบากอย่างเช่นในอดีต  

แม้จุดเริ่มต้นในการทำความเข้าใจสาระและการต้อนรับวิกฤตวัยกลางคนนั้น ที่ผ่านมาแม้วิกฤตจะดูซับซ้อนและลี้ลับ แต่มีข่าวดี คือ เมื่อตัวตนที่เรายึดว่าเป็นเรากำลังพังทลายลงในช่วงนี้อย่างกระทันหัน  แต่สภาวะพังทลายนี่เองจะช่วยเราให้ตระหนักถึงความสำคัญในชีวิต และธรรมชาติที่แท้จริงของเราได้ ซึ่งหมายถึงโอกาสที่เราจะเดินเข้าไปพบพื้นที่ส่วนลึกของจิตใจนั่นเอง 

ซึ่งในความเข้าใจของคนโดยส่วนใหญ่ที่มีต่อ “วิกฤตวัยกลางคน” นั้นกลับเป็นเรื่องยากต่อความเข้าใจ เป็นเรื่องร้ายมากกว่าจะเป็นมุมมองอย่างสร้างสรรค์ เราสามารถเลือกการใช้วิกฤตนี้ เพื่อเรียนรู้ทำความเข้าใจเส้นทางการพัฒนาภายในได้ แต่การมีมุมมองไปเชิงลบนั้น กลับสร้างการเพิกเฉยละเลยที่จะใช้ชีวิตครึ่งหลังอย่างมีความหมาย และเลือกไปพึ่งสิ่งเสพติดต่างๆ เพื่อหวังบรรเทาทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นการเสพติดในรูปแบบต่างๆ เสพติดงาน การเที่ยว ช้อบปิ้ง ติดเซ็กส์ ติดเกม สารเสพติด รวมถึงสิ่งบันเทิงใจต่างๆ หลอกล่อเราให้หวังพึ่งการลดความถาโถมปั่นป่วนในจิตใจ  ร่วมถึงระยะเวลาที่วิกฤตวัยกลางคนจะเผยตัวออกมานั้น ยังทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจผิด คิดว่าเป็นเพียงช่วงสั้นๆ แต่ส่วนใหญ่แล้วในคนทั่วไปนั้น วิกฤตวัยกลางคนอาจมีระยะเวลายาวนาน ตั้งแต่ 12 ปี จนลากยาวถึงช่วงท้ายชีวิต และไม่ว่าระยะเวลาจะสั้นหรือยาว มันทำให้เรามีช่องทางแห่งการทบทวนเพื่อระบุรูปแบบชีวิตที่เหลืออยู่ของเรานั่นเอง 

“ช่วงวิกฤตวัยกลางคน” สำหรับหลายคนคือ แรงพายุที่ปะทะตรงกับตัวเรา เช่น การพลัดพรากจากสิ่งสำคัญ การเกิด การตายจาก ความทุพพลภาพ อุบัติเหตุ การเจ็บป่วยที่รุนแรง หรือการปะทุของบาดแผลในวัยเด็กที่ฝังลึก ถือเป็นการบังเกิดขึ้นของสภาวะแกนกลางจิตใจ ซึ่งไม่ว่าเป็นเหตุการณ์รุนแรงขนาดไหนก็ตาม เหล่านี้ล้วนเป็นประตูด่านสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านอยู่ดี และภาวะวิกฤตนี้ช่วยผลักเราให้ออกห่างจากตัวตนที่เราเคยยึดถือว่าเป็นเราที่เกิดจากการบ่มเพาะในช่วงครึ่งแรกของชีวิต เช่น ฉันเป็นคนขยัน ฉันเป็นคนจริงจัง ฉันเป็นคนพูดน้อย ฯลฯ 

เคน วิลเบอร์ (Kenneth Earl Wilber Jr.) นักคิดแนวทฤษฎีบูรณาการ ซึ่งศึกษาเงื่อนไขแห่งการเปลี่ยนแปลง เขาอธิบายประเภทการเปลี่ยนแปลงไว้สองแบบ คือ “การเปลี่ยนแปลงในแนวดิ่ง” เป็นการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงในระดับจิตสำนึก หากคุณลองนึกภาพอาคาร 10 ชั้น และการเปลี่ยนแปลงคือการโยกย้ายข้าวของจากชั้น 1 ไปยังชั้นที่สูงกว่า  ซึ่งในทางตรงกันข้าม “การเปลี่ยนแปลงในแนวนอน” ซึ่งหมายถึงการเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ในชั้นเดียวกัน 

เคน วิลเบอร์ กล่าวว่า น้อยคนนักที่อยากกระโจนสู่การเปลี่ยนแปลงในแนวดิ่ง จริงอยู่ว่าในช่วงชีวิตครึ่งแรกนั้น เรามีโอกาสได้เผชิญกับปัญหาหรือวิกฤตต่างๆ บ้างแล้ว แต่เราส่วนใหญ่มักจะเลือกตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในแบบแนวนอน ตัวตนของเราเลือกที่จะเปลี่ยนงาน เปลี่ยนอาชีพ หรือเลือกจบความสัมพันธ์กับใครสักคนแล้วหาคู่ครองคนใหม่ เลือกการย้ายถิ่นฐาน ฯลฯ ถึงแม้ว่าการเลือกเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ดูมีความสำคัญก็ตาม แต่มองลึกซึ้งไปกว่านั้น เราสามารถมีประสบการณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงชีวิตในทุกช่วงอายุที่ผลักดันเราให้เข้าสู่กระบวนการของการเกิดใหม่อยู่เสมอ 

การเปลี่ยนมุมมองต่อโลกหรือต่อตัวเราเองนั้น มีคุณค่าต่อการสร้างสำนึกใหม่ที่กว้างขวางขึ้น มันอาจเกิดขึ้นได้เลยหลังเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่ได้เข้ามาปะทะเราจนถึงช่วงวัยกลางคน เพื่อจะก้าวเดินไปข้างหน้าด้วยตัวตนของเราที่ยังไม่บุบสลาย 

แต่ในช่วงวัยกลางคนนั้น ตัวตนของเราไม่สามารถยึดเหนี่ยวความมั่นคงด้วยกำลังที่เคยมีได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะมันคือกระบวนการบังคับให้เราจำต้องเข้าสู่การเกิดใหม่ในแนวดิ่งอย่างแท้จริงนั่นเอง แต่โดยทั่วไปแล้ว เราไม่สามารถเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อจะเกิดใหม่ได้โดยยังไม่มีประสบการณ์ตรงที่สร้างขึ้นจากตัวตนของเราก่อนในชีวิตครึ่งแรก และนี่คือความย้อนแย้งที่มีอยู่ในระบบธรรมชาติ เราจำเป็นต้องมีตัวตนที่แข็งแกร่งก่อนในชีวิตครึ่งแรก เพื่อจะเปลี่ยนผ่านไปสู่การสลายตัวตนที่เรายึดถือไว้  

จอร์จ เอเลียต (George Eliot)  กล่าวว่า “หลายคนอาจจะใช้ชีวิตเหมือนผีตายซาก พออายุย่างเข้า 50 ปี ชีวิตเริ่มไร้สีสัน เริ่มปล่อยให้เวลาดำเนินไปอย่างช้าๆ จนล่วงเลยเข้า 70 ปี 80 ปี อย่างไร้ความหมาย ถึงแม้ร่างกายของพวกเขายังคง กิน เดิน นั่ง นอน ได้อย่างเป็นปกติ แต่พวกเขาไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ในช่วงวัยกลางคน ขาดโอกาสที่ได้ค้นพบศักยภาพและการตระหนักรู้ในตนเอง รวมถึงผู้คนเหล่านี้พยายามหลีกเลี่ยงกระบวนการแตกสลายของตัวตนในช่วงวิกฤตวัยกลางคน หรือในอีกกรณีหนึ่งคือ พวกเขาไม่สามารถก้าวข้ามวิกฤตนี้ไปได้ ซึ่งในสองแบบนี้มักพบเจอชีวิตช่วงวัยชราที่มีความทุกข์ยาก  ขมขื่นใจ ไม่สามารถปกปิดความเคียดแค้นต่างๆ ในอดีตได้ ทำให้พวกเขากลายเป็นคนชราที่เรียกร้อง ไม่ค่อยเห็นอกเห็นใจคนรอบข้าง บ่นไม่รู้จบ ทักษะความสามารถที่เคยมีลดลงไปพร้อมกับชีวิตที่แห้งเหี่ยวลงทุกปี…. แต่ถึงที่สุดแล้วไม่เคยมีคำว่าสายไปหรอกนะ” 

บนเส้นทางแห่งก้าวย่างนี้ เราพบว่าเมื่อพยายามจะหลบเลี่ยงจุดวิกฤต  เรากำลังย่างเท้าลงไปด้วยความหวาดหวั่นใจ รู้สึกไม่มั่นคง เพราะภาวะความกลัวแทรกนี้เองที่อาจขัดขวางเราไม่ให้มีความปรารถนาจะเป็นสุขในชีวิต เราเลยยึดมั่นกับชีวิตเดิมของเรา แต่ในขณะเดียวกันเรามองหาหลักรับประกันว่าบนเส้นทางชีวิตใหม่นี้จะไปได้ดีขึ้น 

ถ้าเราลองให้เวลามองย้อนกลับเข้าสังเกตและเฝ้ามองความไม่มั่นคงที่ฝังรากอยู่ในคำสอนของสถาบันต่างๆ ที่พร่ำบอกให้เราจำต้องมีคุณค่าต่างๆ เราจึงจะถูกมองเห็นและได้รับการยอมรับ ถ้าเราทำหรือเป็นแบบนั้นแบบนี้ ฯลฯ เช่น ผู้หญิงหลายคนพยายามรักษาหุ่นและความเยาว์วัยเพื่อเอาชนะธรรมชาติแห่งการร่วงโรย ด้วยการหาวิตามิน การเสริมฮอร์โมน เพราะสังคมยุคปัจจุบันให้คุณค่ากับคนหนุ่มสาวมากกว่าคนแก่ หรือ ผู้ชายที่ต้องการยากระตุ้นสมรรถภาพทางเพศที่มากเกินไป ก็มาจากความเชื่อว่า ชายที่สมความเป็นชายชาตรีควรมีพลังที่แข็งแกร่ง หรือเราอาจจะกลายเป็นนักรบสายพลังพร้อมการปลุกปล้ำกับเครื่องเล่นเพาะกล้ามเนื้อให้งามโต หรือพยายามสร้างรายได้สะสมตัวเลขในบัญชีธนาคาร ซึ่งอาจนำพาเราให้ต้องเผชิญกับภาวะความเครียด การกดดันตัวเองในความพยายามต่างๆ ที่มากเกินไป และความพยายามท้าทายในช่วงวิกฤตวัยกลางคนนี้ เราจึงต้องเผชิญกับความรู้สึกที่ไม่สบายใจและรู้สึกขาดความปลอดภัยที่แท้จริง บางคนเลือกการเสพติดเสื้อผ้าอาภรณ์ที่ดูดี ติดการกิน ติดงาน ติดเซ็กส์ แอลกอฮอล์ การพนัน สื่อลามก หรือแม้แต่การออกกำลังกายที่มากเกินไป การอ่านที่มากเกินไป หรือการมีเวลาให้กับสังคมที่มากเกินไป 

ประเด็นความสำคัญของช่วง “วิกฤตวัยกลางคน” นั้นคือการอนุญาตให้เราเป็นตัวของเราเอง ใช้ศักยภาพที่เคยมีมา “เปิดเผยในแบบของเรา” และปล่อยให้ความเป็นตัวเราซึ่งก็อาจนำไปสู่ความล้มเหลวได้ด้วย แม้เราจะพยายามหาวิธีรับมือกับสภาพอารมณ์หรือจัดการกับความต้องการในแบบเดิมก็ตามที มันอาจจะไม่ได้ผลอย่างที่เคยเป็นมา และนี่คือโอกาสที่เราจะได้ใช้ชีวิตที่แท้จริงเสียที 

เรามีตัวอย่างมากมายให้เห็น เช่น ผู้หญิงหลายคนลงทุนมอบร่างกายและเงินทองกับการถวายแด่มีดหมอศัลยกรรมเพื่อแลกกับความอ่อนวัย แต่ในเวลาเดียวกันเธอเหล่านั้นก็ต้องการใครสักคนที่จะมองเห็นตัวเธออย่างแท้จริงภายใต้เปลือกอันงดงาม หรือกับชายคนหนึ่งที่ต้องการจะเป็นสามีที่ดีให้ภรรยา และต้องการเป็นพ่อที่เพียบพร้อมให้ลูกน้อย แต่แล้วเขาก็ต้องการมีพื้นที่เงียบๆ อยู่คนเดียวสักชั่วครู่หนึ่งเพื่อหายใจหายคอจากความพยายามต่างๆ 

เรารู้ดีว่าความพยายามที่อยากตอบสนองทั้งสองด้านดังตัวอย่างด้านบนมันดูจะไม่ค่อยมีความมั่นคงนักแต่มันก็เกิดขึ้นได้เสมอกับพวกเราทุกคน เพราะเราต้องการตอบรับคุณค่าในบทบาทต่างๆ ที่เราหามาแต่งเติมในชีวิต และเพราะเราก็มีความเป็นตัวเราที่แทบไม่เข้าเกณฑ์บทบาทต่างๆ เหล่านั้นเลย “ด้านหนึ่งเป็นตัวตนเรา” ส่วนอีก “ด้านหนึ่งคือสิ่งที่เราอยากจะเป็น” ซึ่งมักจะชัดเจนขึ้นในช่วงวัยกลางคนที่เราพบว่าเรากำลังถูกแรงดึงจากสองขั้ว นั่นคือ ด้านที่เรารู้จักดี กับ ด้านที่เราไม่รู้อะไรเลย และมันก็หลีกเลี่ยงได้ยากจากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้ ในจุดนี้เองสิ่งที่เราทำได้ในเชิงอุดมคติคือ พยายามสร้างสมดุลให้กับเท้าข้างเดียวที่เหยียบลงบนผืนโลก

เมื่อเราเดินทางมาถึงวัยกลางคน และกำลังเจอความสับสน ความรู้สึกเหมือนถูกฉีกแยกให้ออกจากสิ่งที่เคยโยงใย เราจึงรู้สึกโดดเดี่ยว หมดพลังชีวิต รู้สึกได้เพียงว่าไร้สัมผัสการดูแลเอาใจใส่ และเราเริ่มหวาดกลัวต่อสิ่งที่เราไม่เข้าใจ รู้สึกไม่หลงเหลือพลังชีวิต ตัวตนที่เราเคยเป็นมา นิสัยด้านต่างๆ ที่เคยโดดเด่นดูเหมือนจะไม่มีอีกต่อไป เพราะว่าเราได้ใช้มันไปหมดแล้วในครึ่งแรกของชีวิต และจุดนี้เอง คือ “จุดเริ่มต้นใหม่” ที่ต้องการทิศทางใหม่ จุดกึ่งกลางชีวิตนี้เราจะได้รับสาส์นจากการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงพอ ซึ่งเราจะไม่สามารถใช้มุมมองเดิมที่เราเคยแก้ไขมาปรับแต่งสิ่งต่างๆ ในวิกฤตนี้ได้ เราต้องเริ่มต้นใหม่จากซากปรักหักพังที่กองเราอยู่ตรงพื้นดิน เพื่อลุกขึ้นยืนอีกครั้ง นี่ไม่ใช่โอกาสในการเริ่มต้นใหม่ แต่คือ “การเปลี่ยนผ่านที่ไร้เงื่อนไข”

คาร์ล จุง (Carl Gustav Jung) นักจิตบำบัดและจิตแพทย์ กล่าวไว้ว่า “เราก้าวเดินด้วยรองเท้าที่เล็กไปสำหรับเรา” ถ้าหากเราต่อต้านการเปลี่ยนผ่านนี้ด้วยการแต่งองค์ทรงเครื่อง เงินทอง หรือใช้ยาบรรเทาความกังวลต่างๆ ที่มีทั้งหมดในโลกนี้ ก็จะไม่ทำให้เราเศร้าโศกได้ แต่มันกลับจะฝังกลบความเป็นไปได้ที่จะใช้ชีวิตอย่างแท้จริง และมีแก่นกลางจิตใจที่ช่วยเอื้อให้เราค้นพบ เจอเอกลักษณ์ของเราเอง  

หากเราไม่เพิกเฉยต่อความจริงที่ว่า คนส่วนใหญ่มักมีชีวิตที่โดดเด่นก่อนวัยกลางคน แต่ในอีกมุมมองหนึ่ง ช่วงชีวิตวัยกลางคนนั้นเรามีโอกาสมากขึ้นที่จะ “ใช้ชีวิตที่มีเงื่อนไขน้อยลง” เมื่อเราเข้าถึงกระบวนการวิกฤตวัยกลางคนเสร็จสมบูรณ์ เราจะสามารถเผยด้านความคิดสร้างสรรค์ที่เคยถูกซุกซ่อนไว้ด้วยเปลือกของตัวตนเดิมๆ นี่คือพรจากธรรมชาติที่เอื้อเราสู่การเปลี่ยนแปลงและเป็นการเติมเต็มโชคชะตาครั้งแรกของชีวิต 

ส่วนผู้ที่ประสบความสำเร็จจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ และในช่วงวัยกลางคนก็ยังตระหนักได้ถึงการพัฒนาบุคลิกลักษณะต่างๆ ให้ดำเนินไปตลอดชีวิต สิ่งนี้ทำให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตบนความเป็นจริงได้ และสอดคล้องกับจิตใจส่วนลึกได้มากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเราสำรวจช่วงวัยกลางคนได้สำเร็จเราจะมีสติ มีชีวิตชีวา รักเป็น และปราศจากความตึงเครียดเมื่อเราปรับเปรียบทิศทางไปเป็นใครคนหนึ่งที่ต่างไปจากเดิม 

ช็อค!! เมื่อเราไม่สามารถคว้าจับอะไรไว้ได้

การเริ่มต้นของเส้นทางวัยกลางคนนั้นเปรียบเหมือนเรายืนอยู่ที่ขอบของแม่น้ำสายใหญ่ และเริ่มเห็นว่า ยานพาหนะที่พาเรามาถึงจุดนี้ไม่สามารถนำเราข้ามผืนน้ำนี้ไปได้ ตัวตนเดิมที่เราเป็น มาถึงจุดที่ไม่สามารถพาเราเดินทางชีวิตต่อไปได้ เราได้มาถึงจุดสิ้นสุดของการเป็นผู้ใหญ่คนแรก 

เพราะตัวตนต่างๆ ที่เราเคยสร้างขึ้นมาจนเป็นตัวเรา “นี่แหละฉัน/ผม” “ฉันเป็นคนที่ใช้เหตุผล…” ฯลฯ ในช่วงชีวิตครึ่งแรกนั้นจะเน้นที่การตอบสนองความต้องการให้กับตัวเราเองและเพื่อการปรับตัวให้เข้ากับสังคมรอบข้าง นานเท่าไรแล้วที่เรายึดว่า นี่แหละคือเรา นี่แหละคือตัวฉัน ฉันเป็นคนแบบนี้ แบบนั้น ถึงแม้เราจะได้รับคุณประโยชน์มากมายทั้งประสบการณ์ความรู้ต่างๆ ของนิสัยต่างๆ ในเราที่ได้เผยแสดงศักยภาพออกมา ทำให้เราเดินทางมาถึงวันนี้ได้ ทำให้เราถูกมองเห็น ได้รับการยอมรับ และเป็นส่วนหนึ่งของการอยู่ร่วมกับกฎเกณฑ์ทางสังคม ซึ่งหลายคนสัมผัสผลลัพธ์ที่สั่งสมมาผ่านความรู้สึกที่ว่านี่แหละเป็น “ชีวิตที่ดี”  

ตอนนี้เรากำลังเข้าสู่ “วิกฤตวัยกลางคนด้วยความไม่รู้” แต่อีกส่วนหนึ่งของเรานั้นพร้อมออกเดินทางท่องไปในมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ พาเราเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของการเป็นผู้ใหญ่อีกแบบหนึ่ง  ส่วนใหญ่แล้วสิ่งที่เราเคยสั่งสมมาไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง การงานที่มั่นคง ชื่อเสียงและอื่นๆ นั้นล้วนแล้วเป็นสิ่งที่น่าพอใจ ซึ่งจะไม่ถูกทำลายจนแหลกสลายในคราวเดียว แต่เมื่อเวลาผ่านไปเราจะค่อยๆ มองเห็นจุดวิกฤตของแต่ละด้านได้เอง 

คนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยได้เจอหายนะครั้งเดียว มันอาจจะมาในรูปแบบเป็นเเพ็กเกจ ในเรื่องเล็กเรื่องน้อย และวัตถุประสงค์ของวิกฤตเหล่านี้ เขามาเพื่อช่วยขยายมุมมองและการรับรู้ของเราให้กว้างและครอบคลุมมากขึ้น  แต่ในช่วงแรกที่เราเจอวิกฤตเหล่านี้ มักทำให้เราถอยหลังเพื่อตั้งหลักเสมอ เพราะไม่มีใครสนุกนักหรอกกับการต้องเผชิญกับความเจ็บปวด ความสับสน ความทุกข์ที่แสนจะทนทาน ที่เหมือนมาล้วงพลังชีวิตของเราไป และมันก็ขึ้นอยู่กับมุมมองที่เราพอจะเห็นโจทย์ในอนาคตได้ชัดเจนระดับหนึ่ง และมองเห็นว่าโจทย์คราวนี้ครอบคลุมชีวิตตัวเราและคนรอบข้างเรา  

คำถามที่ชวนถามตัวเอง

  • คุณกำลังประสบปัญหาอะไรในชีวิตที่เป็นเสมือนวิกฤตบ้าง มันเป็นยังไง และมันท้าทายคุณอย่างไร ? 
  • วิกฤตชีวิตหรือการดิ้นรนแต่ละครั้งสามารถนำคุณสู่การขยายการรับรู้ได้มากขึ้นไหม หรือเป็นอุปสรรค์ต่อชีวิตมากกว่า ?

คุณสามารถจินตนาการถึงการเพิ่มศักยภาพ และมีความเข้าใจซึ่งเป็นมุมมองเปิดกว้างต่อประสบการณ์ที่ท้าทายข้างต้น แต่คุณไม่ต้องเป็นกังวลนะ หากคุณยังไม่สามารถรับรู้ถึงความรู้ที่ซุกซ่อนอยู่นี้อย่างชัดแจ้ง เพียงแค่อยากชวนคุณลองขยายกรอบการมองเข้าไปที่ตัววิกฤตซึ่งคุณอาจจะค้นพบเบาะแสที่อยู่นอกเหนือขอบเขตที่คุณกำลังใส่ใจอยู่

เมื่อเรายังเป็นเด็กทารกที่ยังไม่สามารถดูแลตนเองได้ ยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ด้วยตนเอง ความต้องการการพึ่งพิง ต้องการความปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็น เรายังอลหม่านกับความสับสนในภาวะอารมณ์ต่างๆ รวมถึงความกลัวที่อยู่ภายในเด็กเล็กที่เราเคยเป็น นับวันยิ่งเราโตขึ้นอารมณ์ความรู้สึกก็ยิ่งซับซ้อนมากขึ้นในเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความผิดหวัง ความอิจฉา หรือความรู้สึกละอายใจ

และหน้าที่ของการสร้างตัวตนหรือบุคลิกภาพต่างๆ ในช่วงวัยพัฒนาการนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่วยให้เราอยู่รอด อยู่ร่วม มาจนถึงวัยผู้ใหญ่ เราจึงมีแนวโน้มที่จะยึดถือว่า ที่ผ่านมานั้นคือเราเป็นแบบนั้น แบบนี้ ซึ่งหากเรามองย้อนกลับไป ในช่วงวัยเด็กเรามีกระบวนการ “เล่น” หรือการสวมบทบาท (Role) ต่างๆ เป็นการซักซ้อมอย่างไม่รู้ตัวนัก เช่น เป็นบทลูกสาวที่น่ารักให้กับพ่อ หรือไม่ก็เป็นลูกชายที่สวมบทฮีโร่ให้แม่ชื่นชม เป็นบทตัวตลกสร้างเสียงหัวเราะให้กับเพื่อนฝูง หรือพอเริ่มเป็นหนุ่มเราสวมบทคนห่วงใยแก่คนรักคนแรกของเรา และถึงแม้เราจะเคยเป็นเด็กที่มีความดื้อดึง เป็นบทบาทของกบฎตัวน้อย นั่นเพราะเราถูกกระตุ้นให้มีปฎิกิริยาต่อระบบครอบครัวแรกของเรา หาใช่เป็นแรงขับของตัวตนที่แท้จริงภายใน แต่บท (Role) ต่างๆ ที่เราเคยเล่นมาในช่วงเป็นเด็ก ซึ่งบทบาทเหล่านั้นอาจย้อนกลับมาให้เราทำซ้ำๆ ต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งมันจำเป็นต่อการระบุว่าเราเคยเป็นใครมาก่อน เพราะในที่สุดเราจะไม่เห็นว่าเราเป็นใครถ้าไม่มีบทบาทเหล่านั้น 

เราน้อมรับบทบาท (Role) ต่างๆ เพราะเราต้องการได้รับการตอบสนองจากคนรอบข้าง และเราเชื่อว่าจำเป็นต้องมีบทบาทเหล่านั้นเพื่อทำให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เราต้องการ ในฐานะเด็ก เขาต่างต้องการได้รับการมองเห็นและหลีกเลี่ยงการถูกเพิกเฉย ทุกสิ่งที่เด็กต้องการคือ “ความรัก” แต่เมื่อเราเติบโตขึ้น เราพยายามล้มเลิกการเรียกร้องความรัก และเริ่มหา “ตัวแทนแห่งความรัก” แทน เช่น การถูกยอมรับ เป็นคนที่ถูกรัก การมีชื่อเสียง ต้องการความเคารพ ดูเป็นคนที่มีพลัง ต้องการคำชื่นชม ฯลฯ ทั้งหมดนี้เพื่อทำให้เรารู้สึกปลอดภัย ได้รับการมองเห็น และถูกเห็นว่าเป็นคนที่มีคุณค่า หากความสามารถในการเล่นบทบาทหนึ่งใดลดประสิทธิภาพลง เมื่อนั้นอัตตาของเราก็เริ่มพังทลายลงนั้นเอง 

เราได้อาศัยตัวตนของเราเพื่อจัดการสิ่งต่างๆ ให้ราบรื่น แต่เมื่อกลไกการทำงานเหล่านั้นพังลง หรือลดประสิทธิภาพลง เมื่อมีใครทำให้เราผิดหวัง ในประสบการณ์หนแรกนั้นเราจึงตกตะลึง!! ยิ่งอัตลักษณ์ตัวตนของเรามีความยึดติดสูง เรายิ่งเกิดความรู้สึกตกใจมากยิ่งขึ้น 

ถึงแม้ช่วงวัยกลางคนจะเป็นการเริ่มต้นของวิกฤต หากมองลึกลงไปเราจะรับรู้ได้ว่ามันคือ การท้าทายตัวตนต่างๆ ที่เรายึดไว้ว่าเป็นเรา 

เช่น การที่เรามีความมั่นคงทางสังคม มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อครอบครัวที่เราสร้างขึ้นหรือกับการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเพื่อนฝูง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกปลอดภัย แต่เมื่อเข้าสู่วัยกลางคน วิกฤตชีวิตอาจจะมาในรูปแบบของการหย่าร้าง ทำให้ครอบครัวแตกแยกออกจากกัน มันคือการท้าทายตัวตนที่เธอคิดว่าเธอเป็น จะเป็นอย่างไรต่อจากนี้ เธอจะคือใคร? ถ้าเธอไม่ได้ทำหน้าที่ของแม่ได้อย่างเดิมเมื่อเธอจำต้องแยกออกจากลูก หรือเธอไม่ได้ทำบทบาทพ่อที่สมบูรณ์ดังที่เคยเป็น หรือเมื่อเธอไม่ได้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเพื่อนฝูงแล้ว เธอจะกลายเป็นใครต่อล่ะ? หรืออีกตัวอย่าง จากหญิงสาวพราวเสน่ห์ดูโดดเด่นต่อหน้าชายที่พบเจอ แต่กลับต้องมาเผชิญวิกฤตด้วยโรคมะเร็งเต้านม

หลายคนเมื่อเจอวิกฤตจะมีปฎิกิริยาตอบโต้ด้วยการหาคำตอบ และยังคงพยายามหาทางออกจากปัญหาด้วยวิธีการเดิม เติมความรู้ในสิ่งที่เราพร่อง ไปหาที่ปรึกษาเพื่อให้ได้คำตอบต่อความสงสัย เพื่อที่เราจะกลับคืนสู่ความปลอดภัยอีกครั้ง เรามักอึดอัดเมื่อต้องอยู่ในความไม่รู้นานๆ แต่แล้วมันอาจไม่ได้ช่วยให้เกิดการกู้คืนอะไรเลย เพราะสาระสำคัญของการพังทลายนั้นมาเพื่อจะให้เราตระหนักถึงการเปิดทางใหม่ หาใช่แก้ไขหรือซ่อมแซม สิ่งที่เราจะได้พบเจอคือ แต่ละจุดของความสูญเสีย ความยากต่ออุปสรรค แต่เมื่อเวลาผ่านไปเมื่อเราย้อนกลับมามอง เราจะพบคำตอบถึงคุณประโยชน์ของวิกฤตว่ามาเพื่อตอบสนองเป้าหมายที่มีคุณค่ากว่าเดิม เสมือนเป็นพลังงานของการทำให้เราหยุดชะงัก หรือไม่ก็เข้ามาช่วยชะลอให้เราช้าลง เพราะเรามีโอกาสที่จะเพลิดเพลินไปกับเสียงของสังคมที่คอยป้อนเป้าหมายที่ไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการภายในด้านลึกของเรา 

แต่เมื่อเราสามารถข้ามผ่านจุดที่มืดหม่นไปได้ จุดนั้นจะนำพาเราไปสู่การเป็นแรงบันดาลใจให้ตนเอง ซึ่งช่วยเราให้เกิดความมั่นคงในการดำเนินชีวิตช่วงที่เหลือ เพียงแค่เราให้คุณค่ากับจุดวิกฤตนี้ว่าเป็นดั่งเข็มทิศนำทางเราให้ผ่านช่วงเวลาที่ทุกข์ยาก และหลอมรวมกับการเติมเต็มชีวิต ให้ชีวิตที่เหลือเป็นความอุดมสมบรูณ์ของวัยผู้ใหญ่เต็มตัว เป็น “กระบวนการรอการเกิดใหม่นั่นเอง”

“หนทางที่ค่อยๆ เผยตัวออกมา”

หลายคนอาจไม่เจอกับเหตุการณ์ใหญ่ๆ ที่ทำให้รู้สึกถึงการล้มครืนอย่างกะทันหัน แต่เป็นรูปแบบของการคืบคลานเข้าสู่ช่วงนี้อย่างช้าๆ ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เป็นปัญหาที่วนเข้ามาอย่างซ้ำซาก แบบค่อยเป็นค่อยไป และพัฒนาสู่ความรู้สึก “อยู่สุดปลายขอบ” กลายเป็นข้อจำกัดที่เราไม่สามารถจะก้าวข้ามได้ง่ายนัก และสัมผัสถึงความเบื่อหน่าย ผู้คนมักจะบ่นออกมาในความรู้สึกที่เหมือนถูกขังอยู่ในกล่องแคบๆ ถึงแม้พวกเขาต้องการกระโดดออก แต่กลับทำได้ยาก รู้สึกว่าตนเองไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้กับเหตุการณ์หรือปัจจัยภายนอก และรู้สึกไม่พอใจกับสภาพที่เป็นอยู่ คุณลองคิดถึงสัตว์ป่าที่นำมากักอยู่ในคอกแคบๆ กลางใจเมืองใหญ่สิ พลังงานภายในที่เหมือนกำลังจะระเบิดออกมา มันถูกจำกัดและยับยั้ง หลายคนที่รู้สึกแบบนี้เหมือนคนที่อึดอัดหายใจไม่ออก ติดอยู๋ในข้อจำกัดต่างๆ ยกตัวอย่าง เช่น การวางแผนมีลูกทั้งๆ ที่ต้องทำงานเต็มเวลา แผนการตระเตรียมในหลายปีก่อนเพื่อจะเป็นนักกีฬาทีมชาติ 

ในจุดนี้เองที่สาระสำคัญกำลังเผยตัวต่อเราอย่างช้าๆ ซึ่งอาจมาช่วยเราถึงการตระหนักรู้กับ “ทางเลือกใหม่ของชีวิต” และสิ่งที่เคยมีมาก่อนด้วย ไม่ว่าจะเป็นความฝันเดิม สิ่งที่เราเคยสนใจ ทักษะต่างๆ ที่เราเคยทำได้ดี ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพียงพอที่จะกระตุ้นความกลัว มันทำให้เราสัมผัสถึงการสูญเปล่า โดยลึกๆ เราได้กล่าวโทษตัวเองที่ทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้น โอกาสเดิมที่หายไปได้กระตุ้นความกลัวภายใน เมื่อเราคาดเดาว่าทางเลือกของเราสำหรับอนาคตอาจจะแคบลงเรื่อยๆ และเราเริ่มไม่แน่ใจว่าทางเลือกใหม่นั้นจะเป็นไปอย่างที่เราคาดหวังไว้ไหม หลายคนก่อนแต่งงานจึงเริ่มหวาดหวั่นที่จะสูญเสียอิสรภาพ เมื่อต้องเดินเข้าไปอยู่ร่วมในครอบครัวใหญ่ของคู่ครอง หรือหญิงสาวที่ทำงานเก่งมีอนาคตในบริษัทใหญ่ที่กำลังคิดวางแผนเรื่องการมีลูก

ไมเคิล อายุ 44 ปี (ตัวอย่างจากในหนังสือ) ได้เล่าถึงความรู้สึกของการเจอข้อจำกัด “ผมคิดว่าผมก็ใช้ชีวิตในแบบของผมไปได้เรื่อยๆ จนแก่ตายนะ มันก็ไม่ได้เลวร้ายอะไร แต่ก็มีบางสิ่งที่ขาดหายไป คล้ายเวลาเราดื่มรสชาติความเปรี้ยวของผลไม้แล้วรู้สึกซาบซ่านไปทั่วร่างกาย ผมเคยมีช่วงเวลาที่รู้สึกถึงความมีชีวิตชีวา ผมแสดงออกถึงความรู้สึกต่างๆ ได้ง่ายดาย หรือเวลาที่ผมกำลังตีกลองจะรู้สึกได้ถึงความเข้มแข็งและดื่มด่ำกับเสียงกลอง ผมสัมผัสถึงความรักในขณะที่ขี่จักรยานเสือภูเขาไปตามทาง แต่ในภาพรวมของชีวิต ผมยังรู้สึกถึงความขาดแคลนเหมือนผมทำมันหล่นหายไป และส่วนใหญ่ผมมักจะถอยห่างจากความมีชีวิตชีวา ผมปล่อยให้เวลาไหลผ่านไปอย่างเฉื่อยชา รู้สึกถึงความเบื่อหน่าย ผมรู้สึกติดพันกับชีวิตเปลือกๆ ภายนอก และความมีชีวิตชีวาภายในเหมือนมันถูกปิดลง” 

ไมเคิลกับนิสัยเดิมๆ ของเขากำลังแห้งเหี่ยวลงช้าๆ เขาเจอภาวะเงินฝืดเคืองซึ่งมันทำให้เขาคิดเกี่ยวกับชีวิตของเขาที่จะต้องดำเนินต่อไปอย่างเดิมๆ แบบนี้ พลังชีวิตส่วนใหญ่ก็หมดไปจากการจมอยู่ในข้อจำกัดของอดีต มันทำให้เขาขาดแรงบันดาลใจและขาดความสุข ในชีวิตถัดไปจากนี้ก็ยังไม่เปิดทางให้เขาเห็นอะไรใหม่ๆ เสียด้วย  ไมเคิลยึดติดกับวิถีชีวิตแบบเดิมของเขา ถึงแม้ว่าเขาจะรู้สึกหายใจไม่ออกเหมือนคนพิกลพิการก็ตาม 

ในสังคมยุคปัจจุบัน เราได้รับการบ่มเพาะให้ก้าวไปข้างหน้า สู่การพัฒนาและประสบความสำเร็จ ฉะนั้น เราจำเป็นต้อง “ทำและทำมันไปเรื่อยๆ ห้ามหยุด” และหลายคนเมื่อเข้าสู่ช่วงวิกฤตวัยกลางคนจึงมีแนวโน้มที่จะชะลอตัว ชะงักงัน และเลือกไม่ทำอะไรต่อ ซึ่งแน่นอนว่าการบ่มเพาะของยุคนี้ไม่สนับสนุนให้เราหันกลับไปมองภาพชีวิตเบื้องหลัง เราเข้าใจว่าหากเราหยุดทำเงิน หยุดสร้างชื่อเสียง หยุดผลิตผลงานทางอาชีพ มันอาจแปลว่าเรากำลังซบเซาหรือกำลังถอยหลังลงคลอง แต่เมื่อเรากลับมาสังเกตที่ร่างกาย กลับบอกเราได้ชัดเจนว่าเรากำลังหมดพลังชีวิต ความปลอดภัยเดิมๆ เริ่มปิดฉากลงทีละนิด มันเป็นสภาพทางจิตใจที่กำลังแย่ลงไปตามสภาพร่างกาย จากที่เคยใช้กำลังเดินหน้าอย่างมากมาย หากเรายังคงคิดว่าจุดความเสียหายที่กำลังเกิดขึ้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือรื้อสร้างต่อไปได้ พวกเราส่วนใหญ่ที่เพิ่งเจอวิกฤตในครั้งแรกๆ มักจะเริ่มต้นที่ “การปล่อยวางความหนักใจ” นี้ก่อน ซึ่งการปล่อยวางก็เป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่สิ่งใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้ เพียงแต่จุดนี้ปราศจากการรับรองภาวะการก่อกำเนิดสิ่งใหม่ 

สรุปคือ การเริ่มต้นของวิกฤตวัยกลางคนนั้น มีได้หลายรูปแบบ บ้างเป็นแบบช้า แบบเร็ว หรือเป็นระลอกรัวๆ ถี่ๆ หรือนานๆ ที แต่เป็นเรื่องที่หนักหนาเอาการ ซึ่งเราก็อาจรับรู้ความรู้สึกได้แตกต่างกันไป เช่น ตระหนก ตกใจ เบื่อเซ็ง เศร้าโศก แต่ทุกประเภทที่กล่าวมานั้น เรารู้สึกคล้ายๆ กันคือ ความรู้สึกหมดหนทางที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา แม้ว่าหลายคนยังคงพยายามจัดการแก้ไขให้สิ่งต่างๆ กลับมาเข้าที่เข้าทางดังเดิมก็ตามที แต่ถึงที่สุดแล้วมันก็ไม่เป็นไปในแบบเดิม 

การตอบสนองของเราบางคนต่อวิฤกตการณ์ที่เกิดขึ้น อาจทำให้เลือกการเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้ว เพราะตัดสินว่าชีวิตทั้งหมดที่ผ่านมานั้นเป็นเรื่องโกหก และอาจตัดสินใจกระทำการบางอย่างที่พลิกชะตากรรม เช่น เมื่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยเขาเลือกเทขายกิจการไปเลย บางคนกลายเป็นศิลปินไปเลย บางคนเลือกย้ายไปอยู่ต่างประเทศ หย่าร้างและแต่งงานใหม่กับคนที่มีอายุน้อยๆ หรือบางคนใช้กีฬาผาดโผน โดดร่ม แข่งรถ เป็นความสุดขั้วเพื่อหวังบรรเทาความตระหนกต่อวิกฤต ซึ่งการเลือกทำแบบนี้ร่างกายจะหลั่งสารแห่งความสุขให้กระจายไปทั่วร่างกายได้ชั่วคราวเท่านั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะใช้วิธีการกระโดดออกไปจากชีวิตเดิมได้อย่างเฉียบพลันและง่ายดายนัก ในบางจุดเราจำเป็นต้องเผชิญหน้ากับความไร้ระเบียบ และมันอาจไร้ประโยชน์ด้วยถ้าเรามัวแต่ปฏิเสธความเป็นจริงของวิกฤตนี้เพื่อหวังเพียงให้มันผ่านเลยไปจากเราเร็วๆ 

เราส่วนใหญ่ที่จำเลือกวิธีการงัดข้อต่อสู้กับกระบวนการของวิฤกตวัยกลางคน เพราะเข้าใจว่าวิกฤตเหล่านี้ต้องการมาขัดขวางเรา หรือวิกฤตนี้ได้เข้ามามีส่วนร่วมที่จะช่วยเราปลดปล่อยบางส่วนของด้านลึกที่เราไม่ต้องการออกไป ซึ่งเรามักไม่รับรู้ว่ามันเป็นกระบวนการที่คอยชี้ทางให้เราเห็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าสิ่งที่เราเคยมีชีวิตอยู่ มันจะง่ายกว่ามากถ้าเราได้มีเวลาเสียใจกับการเสียขวัญที่เกิดจากวิกฤตการณ์ที่กระชากเราให้หวั่นไหวไม่มั่นคง แต่สิ่งที่เรามักจะทำต่อความสูญเสียคือการที่เราใช้ตัวตนที่เราเป็นเพื่อต่อสู้ทุกหนทาง

เป็นเรื่องน่าเศร้ากับการรับรู้ของสังคมวงกว้างที่ประสบการณ์ของวิกฤตวัยกลางคนมักถูกตีความในเชิงอุบัติการณ์ ไม่ใช่การเปลี่ยนผ่านของการเติบโตทางศักยภาพที่ซ่อนเร้น โครงสร้างทางสังคมจึงจัดการด้วยวิธีการสั่งจ่ายฮอร์โมนเสริม ยาชูกำลัง ยาต้านความซึมเศร้า และการรักษาด้วยวิธีต่างๆ เพื่อปรับระดับอาการที่เกิดขึ้น หรือเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเรา และแถมคนรอบตัวเราทั้งเพื่อนฝูงและครอบครัวพยายามดึงเราให้กลับไปเป็นคนที่พวกเขารู้จัก พวกเขาจะพยายามทำให้เรารู้สึกดีขึ้นแทนที่จะกระตุ้นให้เรารู้สึกถึงสิ่งที่เรารู้สึก และในความเป็นจริงการรู้สึกถึงสิ่งที่เรากำลังรู้สึก (แทนที่จะ “เอาชนะ” และเดินหน้าต่อไป) จะส่งเสริมประสบการณ์ที่ลึกล้ำของเรา ซึ่งจำเป็นสำหรับการเปลี่ยนแปลงของเรา 

คงเพราะยุคสมัยของการหลีกหนีความจริงของชีวิต แม้กระทั่งหลีกหนีการเปลี่ยนแปลงทางจิตวิญญาณ เราเชื่อสิ่งที่ตาเห็น เงินทอง ความสำเร็จ ความเยาว์วัย บ้าน รถ บริวาร ฯลฯ แต่ความล่มสลายเสื่อมถอยเป็นสิ่งที่ยากจะยอมรับ เช่น ความตาย ความป่วยไข้ เพราะเราอยู่ในระบบความเชื่อที่ว่า ความเป็นหนุ่มสาวคือความมีประสิทธิภาพ เราถูกตัวตนต่างๆ ที่เราหล่อหลอมขึ้นมาบิดเบือนภาพความเป็นจริงของชีวิต เราถูกป้อนความเชื่อว่า “ความสุขต้องเกิดจากการกระทำแห่งการสร้างและพยายามตามหาสิ่งที่จับต้องได้แต่กลับไม่ใช่ความสุขจากการที่เราได้เป็น” แต่แล้วภาพลวงตาจะถูกเปิดเผยในช่วงวิกฤตวัยกลางคนนั่นเอง เป็นความจริงของชีวิตที่ไม่สามารถปกปิดได้อีกต่อไป 

“ฉากหลังของความชรา” 

ในแง่ของการแสวงหาวัตถุทางโลก ทุกสิ่งเกิดขึ้นได้ตามที่เราพยายามทำให้เกิด เราจำเป็นต้องจำกัดขีดความสามารถของตนเอง แต่ในฉากหลังของชีวิตวัยกลางคนจนถึงจุดสุดท้ายของชีวิต เรามีเวลาจำกัดมากขึ้น รวมถึงข้อจำกัดทางกายภาพ เราจะมาทุ่มเทกับการแก้ไขหรือพยายามทำให้มากขึ้นอย่างในช่วงอายุ 20 ไม่ได้เพราะเราไม่ได้เป็นแบบนั้นแล้ว แต่เราเพิ่งเริ่มต้นชีวิตอีกช่วงด้วยความเป็นไปได้ที่ไร้ขีดจำกัด

จุดเริ่มต้นของชีวิตวัยกลางคนที่เกิดขึ้นทุกจุดนั้นจะมีเบื้องหลังของความชราที่ส่งผลกระทบด้านจิตใจ อารมณ์ และร่างกาย ความจริงที่ว่าเรากำลังแก่ลงนั้นเป็นเรื่องที่น่าตกใจ และอาจจะทบทวีความรุนแรงมากขึ้น หรืออาจทำให้ปัญหาแย่ลง ยกตัวอย่างเช่น หากจะต้องหย่าร้างในวัย 50 ปี การสูญเสียความสัมพันธ์อาจทำให้รู้สึกถึงการถูกทำลายลง ภายใต้ภาพในจินตนาการถึงความโดดเดี่ยว สิ่งนี้อาจจะรบกวนจิตใจผู้หญิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยความคาดหวังทางวัฒนธรรมของชายสูงอายุที่กำลังมองหาผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า หรือแม้การถูกเลิกจ้างงานเมื่อเข้าสู่วัยกลางคน ก็อาจก่อความสับสนและความวิตกกังวลจากการสูญเสียสิ่งที่เคยเป็นตัวตนในหน้าที่การงานไป “ใครล่ะจะจ้างฉันเมื่ออายุ 55 ปีแล้ว และถ้าหากฉันพบงานใหม่ฉันจะตามคนรุ่นใหม่ทันไหม”

ช่วงวัยกลางคนนั้นเราจำเป็นต้องเปลี่ยนความสนใจของเราให้เป็นสิ่งที่ลุ่มลึกกว่าที่เคย ในที่สุดเราจะพบความจริงและความน่าพึงพอใจมากกว่าความหลงใหลอย่างตอนที่เราเป็นหนุ่มสาว และความทะเยอทะยานที่คอยบังคับเราในอดีต 

พื้นฐานของการมีศรัทธา

“ฝูงปลาที่ถูกอวนขนาดใหญ่ลากเป็นระยะทางหลายไมล์ อวนจากเรือต้องการจับปลาทูน่า บางครั้งปลาโลมาก็ถูกพันอยู่ในอวนและถูกลากไปพร้อมปลาทูน่า แม่ปลาโลมาสามารถกระโดดออกจากตาข่ายได้อย่างง่ายดาย แต่พวกลูกโลมาไม่สามารถกระโดดออกได้ ลูกโลมาที่ยังอ่อนด้อยจะเริ่มรู้สึกสับสนและหมดหนทางที่จะหลบหนี แต่เมื่อแม่ปลาโลมาเห็นว่าลูกของพวกมันไม่สามารถเอาตัวรอดได้ด้วยตัวเอง แม่ปลาโลมาจึงกระโดดกลับเข้าไปในตาข่ายเพื่อเป็นเพื่อนร่วมชะตากรรมไปพร้อมกับลูกโลมาของมัน”

ความตกใจที่เราพบเมื่อเราถูกดึงออกไปจากชีวิตเดิมของเรา เราติดอยู่ในตาข่ายโดยไร้ทางหลีกหนี เราควบคุมมันไม่ได้ ไม่มีทางออกที่เป็นไปได้เลย เหมือนเราถูกขังไว้ในที่แคบๆ เราเริ่มสับสนและถูกลากเข้าไปในสิ่งที่เราไม่ได้เลือก เมื่อเผชิญกับแรงกระแทกขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก ในช่วงเริ่มต้นทางเข้าของวัยกลางคนเราก็เหมือนลูกปลาโลมา ความสับสนทำให้เรารู้สึกแย่เพราะสิ่งที่เราเคยทำได้ กลับสูญกำลังไป เราได้ออกไปจากพื้นที่ที่เคยเป็นความปลอดภัย 

ส่วนโลมาตัวแม่เลือกกระโดดกลับไปพร้อมยอมที่จะพ่ายแพ้ต่อตาข่าย เพื่ออนาคตที่ไม่แน่นอนซึ่งอาจหมายรวมถึงการเสียชีวิต ทั้งตัวมันและลูกของมันด้วย พวกมันอนุญาตให้ตัวเองเคลื่อนเข้าไปในสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดตามมา 

ถึงแม้ตัวตนของเรารู้สึกติดขัดกับวิฤกตที่เกิดขึ้นก็ตาม แต่เสียงภายในอีกส่วนหนึ่งของเราก็กำลังส่งสัญญาณเรียกร้องให้เราเปลี่ยนแปลงตัวตนด้วยสติปัญญาและความรัก คล้ายกับการแสดงออกของแม่โลมา และส่วนนี้คือสัญลักษณ์ที่สื่อให้เราลองวางชีวิตของเราลงแทนที่จะพยายามเข้าไปจัดการในแบบเดิมที่เราเคยทำๆ มา  นั่นคือการยึดติดในตัวตนเดิม และการตระหนักอย่างลึกซึ้งขึ้นได้ถึงเสียงของชีวิตในอนาคตซึ่งกำลังเรียกร้องให้เราออกจากสิ่งที่คุ้นชินเดิม  ถึงแม้ในความเป็นจริงเราจะตระหนักได้อย่างสุดใจ แต่เราก็ต้องการบทเรียนแห่งความทุกข์หรือความกลัวที่มากเพียงพอให้ส่งแรงผลักมาสู่เรา คล้ายเป็นเครื่องมือตัวทำละลายและทำการสลายวิธีการต่างๆ ที่เราเคยใช้มาก่อน เพื่อไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง ซึ่งเมื่อกาลเวลาผ่านไปพร้อมกับขีดการพัฒนาศักยภาพที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ เราจะมีพลังงานเพียงพอจะแหวกว่ายเข้าไปในตาข่าย เราจะตระหนักรู้ทันถึงการมาของประสบการณ์ใหม่ๆ โดยที่เราไม่รีบหลบหนี หลีกเลี่ยงอย่างลนลาน แต่ให้สิ่งต่างๆ ดำเนินไปและดำรงอยู่มากกว่าการพยายามที่จะอยู่ให้รอด

ในการเลือกเคลื่อนตัวเองเข้าไปในตาข่าย เราจำต้องเผชิญกับภาวะที่ตกตะลึง เราจำเป็นต้องพัฒนาศรัทธาพื้นฐานที่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ผลลัพธ์ที่เกิดก็จะเป็นประโยชน์ต่อเราเสมอ ศรัทธาแบบนี้มาจากความเชื่อมั่นลึกซึ้งว่าชีวิตเป็นสิ่งที่ดีงาม วางใจในสิ่งที่จะเกิดขึ้น เพราะสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นไม่ว่าเราจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตามมันไม่สำคัญเลย ขอให้เรามีศรัทธาพื้นฐานของสรรพสิ่งที่พร้อมจะมอบความอบอุ่นและมีเมตตาต่อมนุษย์ และในส่วนลึกของเราก็รู้ดีว่าภารกิจของการเติมเต็มชีวิตนั้น คือประสบการณ์ที่ปนเปไปด้วยการผสมผสานที่หลากหลาย 

หากการเริ่มต้นของการเดินทางครั้งนี้จะถูกประคับประคองด้วยความเชื่อที่ไม่มีความสงสัยในความดีงาม มันจะกลายเป็นปัญญาและความเมตตากรุณาของชีวิตทุกคน และในทิศทางตรงกันข้าม วิกฤตวัยกลางคนก็ได้มาเปิดเผยให้เราเห็นว่าเราขาดพร่องศรัทธาและกรอบของข้อจำกัดต่างๆ ที่เรามี ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นภาพชีวิตที่ใหญ่กว่าได้ ตัวตนที่เรายึดถึอไว้คือเปลือกนอกที่ปิดบังแกนกลางของชีวิต และความเป็นไปของแรงขับตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นแรงขับที่ไม่สามารถควบคุมได้ มันเพียงนำเราไปสู่ความเป็นทั้งหมด พร้อมเผยตัวผ่านวิฤกตการณ์และผลักดันให้เราไตร่ตรอง แทนที่จะตอบสนองต่อสถานการณ์ 

ตลอดเส้นทางการทำงานของวิกฤตวัยกลางคนรวมทั้งภายหลังการจบวิกฤตนั้นแล้ว เราจะได้เรียนรู้การเปลี่ยนผ่าน จากการลอกคราบเปลือกนอกไปสู่ใจกลางของเราที่บริสุทธิ์ขึ้น และหากเรามีความจริงใจและกล้าหาญ “ในความตั้งใจที่จะยอมแพ้พ่าย ศิโรราบต่อสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าเรา” เราจะกลับคืนสู่การมีชีวิตตามที่แสงพระทิตย์จะดับแสงลงในยามค่ำคืนและมีรุ่งเช้าของวันใหม่รอเราเสมอ

ล้อมกรอบ
จับความโดย ญาดา สันติสุขสกุล (ผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับจิตวิทยาตัวตน)
ถอดความจากหนังสือ Hidden Blessings (Midlife Crisis as a spiritual awakening) โดย Jett Psaris, PhD 

Tags:

จิตวิทยาการตั้งแกน (Centering)Midlife crisisการตั้งเป้าหมายการก้าวข้าม

Author:

illustrator

ญาดา สันติสุขสกุล

Illustrator:

illustrator

กรองพร ทององอาจ

Graphic Designer & Illustrator Instagram: @monkrongpin

Related Posts

  • How to enjoy life
    ฮุกกะ (Hygge): สุขแบบไม่หิวแสง จริตชีวิตในแบบฉบับคนเดนมาร์ก

    เรื่อง ปริพนธ์ นำพบสันติ ภาพ ninaiscat

  • Learning Theory
    สร้างบรรยากาศแห่งความหวังในห้องเรียน ให้นักเรียนกล้าตั้งเป้าหมายและพยายามไปให้ถึง เชื่อมั่นว่าตนเรียนสำเร็จได้

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชครูใหม่ วิมลศรี ศุษิลวรณ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Myth/Life/Crisis
    ปลาบู่ทอง: การรับมือกับความสูญเสียคนที่รักและผูกพัน และหนทางเยียวยาตนเอง

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Movie
    A BEAUTIFUL DAY IN THE NEIGHBORHOOD: วางสัมภาระในใจออกเดินทางใหม่เพื่อให้เข้าใจชีวิต

    เรื่อง กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร

  • Early childhoodLearning Theory
    EP.1: THE TWELVE SENSES ปรัชญาการเติบโตของมนุษย์ตั้งแต่ระดับ ‘เซลล์’ และ ‘โซล’

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่างบัว คำดี

ผลกระทบของโควิด-19 ต่อครัวเรือนที่มีเด็กเล็ก
Social Issues
3 September 2020

ผลกระทบของโควิด-19 ต่อครัวเรือนที่มีเด็กเล็ก

เรื่อง

  • สถานการณ์โควิด-19 ล้วนส่งผลกระทบคนทุกคน จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสถานะของแต่ละคน หนึ่งในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดก็คือกลุ่มเปราะบาง เพราะพวกเขามีทุนทางสังคมน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ
  • ในบทความนี้จะเน้นไปที่ผลกระทบของโควิด-19 ต่อกลุ่มเปราะบางที่เป็นครอบครัวที่มีเด็กเล็ก ในด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งแสดงความคิดเห็นว่าควรมีนโยบายสำหรับกลุ่มเปราะบางนี้อย่างไรบ้าง
เรื่อง จิราภรณ์ แผลงประพันธ์, ดร.สมชัย จิตสุชน

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง และครอบคลุมผู้คนมากกว่าวิกฤตการณ์ใดๆ ที่เคยเกิดขึ้น  แต่กลุ่มเปราะบางซึ่งเป็นกลุ่มที่มีทุนทางสังคมน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ ย่อมได้รับผลกระทบที่รุนแรงกว่า ซึ่งเป็นข้อค้นพบจากการสำรวจหลายครั้งที่ผ่านมา (อ่านบทความ ความเปราะบางของประชากรกลุ่มเปราะบางภายใต้โควิด-19) นอกจากนี้ความสามารถในการปรับตัวของกลุ่มนี้ก็น้อยกว่าหากปราศจากความช่วยเหลือจากภายนอก 

ในบทความนี้จะเน้นไปที่ผลกระทบของโควิด-19 ต่อกลุ่มเปราะบางที่เป็นครอบครัวที่มีเด็กเล็ก รวมทั้งแสดงความคิดเห็นว่าเราควรมีนโยบายสำหรับกลุ่มเปราะบางนี้อย่างไรบ้าง

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ

ความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจของครัวเรือนที่มีเด็กเล็กในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เกิดจากหลายช่องทาง เช่น มีรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากสถานเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของรัฐ หรือโรงเรียนปิดตามมาตรการควบคุมการระบาดของรัฐ บางครัวเรือนที่มีเด็กเล็กและขาดผู้ดูแล จึงต้องมีค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้ดูแลเด็ก และเมื่อเด็กไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อาหารกลางวันและนมจากศูนย์ฯ ทำให้ครอบครัวมีรายจ่ายด้านอาหารเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีรายจ่ายในการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันไวรัสให้แก่เด็กด้วย

ทางด้านรายได้ ก็พบว่ารายได้ของครอบครัวลดลง เนื่องจากสถานประกอบการปิดหรือหยุดดำเนินการ ห้างร้าน ตลาดนัดปิดตามมาตรการของรัฐ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น หาบเร่แผงลอย แท็กซี่ วินมอเตอร์ไซค์ มีจำนวนลูกค้าลดลง เกษตรกรรายได้ลดลงเพราะผู้ซื้อน้อยลง (ห้างร้านปิด ผู้บริโภคลดลง) บางครอบครัวที่เด็กยังเล็กมาก และไม่สามารถหาผู้ดูแลที่สามารถไว้ใจได้ คนในครอบครัวจำเป็นต้องออกจากงาน ทำให้ครอบครัวต้องสูญเสียรายได้ไปอีกหนึ่งช่องทาง 

ยิ่งไปกว่านั้น พบว่าครอบครัวที่มีเด็กเล็กได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจในสัดส่วนที่สูงกว่าครอบครัวที่ไม่มีเด็กเล็ก โดยผลการสำรวจออนไลน์ที่เป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยและสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 27 เมษายนถึงวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 (จำนวนตัวอย่าง 27,986 มีผู้ตอบแบบสอบถามจากทุกจังหวัดในประเทศไทย) พบว่า ครอบครัวที่มีเด็กเล็กถูกกระทบจากโควิด-19 มากกว่าครอบครัวที่ไม่มีเด็กเล็กในเกือบทุกด้าน (ตัวเลขเทียบระหว่างสัดส่วนในครอบครัวมีเด็กกับสัดส่วนในครอบครัวไม่มีเด็ก)

  • รายได้ลดมากกว่า (81% ในกลุ่มครัวเรือนที่มีเด็กเล็ก เทียบกับ 70% ในกลุ่มครัวเรือนที่ไม่มีเด็กเล็ก) เพราะมีสัดส่วนที่เป็นคนทำงานไม่ประจำ หรือธุรกิจนอกระบบมากกว่า
  • รายจ่ายเพิ่มกว่า 50% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด และคิดเป็นสัดส่วนครัวเรือนมากกว่า (13% เทียบกับ 10%)
  • หนี้ในระบบเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่มากกว่า (18% เทียบกับ 13%) และหนี้นอกระบบก็เพิ่มในสัดส่วนมากกว่า (13% เทียบกับ 9%)
  • สายป่านสั้นกว่า คือสามารถอยู่ในภาวะปิดเมืองแบบที่ผ่านมาได้ในระยะเวลาสั้นกว่า เช่น ตอบว่าอยู่ได้ไม่เกิน 1 เดือนมีสัดส่วนสูงกว่า (21% เทียบกับ 18.5%)
  • ถูกกระทบในช่องทางต่างๆ จากโควิดในสัดส่วนที่สูงกว่า (77% เทียบกับ 68%) และเมื่อแยกตามมาตรการปิดเมือง เช่น เคอร์ฟิว ปิดร้านค้า จำกัดร้านอาหาร ห้ามเดินทาง ก็ถูกกระทบมากกว่า
  • ความสามารถในการแก้ปัญหาน้อยกว่า (27-31% ตอบว่าแก้ปัญหาไม่ได้ ส่วนครอบครัวที่ไม่มีเด็กมี 24-26% ตอบว่าแก้ปัญหาไม่ได้)

ผลกระทบด้านสังคม

ด้านการเลี้ยงดู เด็กขาดผู้ดูแลทำให้บางครอบครัวต้องพาเด็กออกไปทำงานด้วย ซึ่งบางครั้งสถานที่ทำงานก็ไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับเด็กเล็ก เช่น งานเก็บขยะ งานตัดต้นไม้ งานก่อสร้าง เป็นต้น หรือบางครอบครัวต้องทิ้งเด็กเล็กไว้ตามลำพัง

ด้านโภชนาการ เด็กที่อยู่ศูนย์เด็กเล็กจะได้รับอาหารและนมตามเวลา แต่เมื่อเด็กต้องอยู่บ้าน บางครั้งต้องทานอาหารเหมือนของผู้ใหญ่หรือต้องกินข้าวกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรือไข่ หลายครอบครัวต้องเปลี่ยนมาซื้อนมกล่องแทนนมผงซึ่งมีราคาแพง ทำให้เด็กได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน กินข้าวได้น้อยลงเพราะเมนูเดิมซ้ำ ๆ

ด้านพัฒนาการ แม้ว่าการที่ศูนย์เด็กเล็กปิดจะทำให้พ่อแม่มีเวลาอยู่กับลูกมากขึ้น แต่เด็กก็ขาดกิจกรรมหรือของเล่นที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ และการที่ผู้ปกครองเกรงว่าเด็กจะติดโควิดจึงไม่ค่อยให้ออกไปข้างนอก เด็กจึงต้องอยู่ในห้องแคบ ๆ ดูโทรทัศน์หรือเล่นมือถือมากขึ้น ทำให้มีพฤติกรรมก้าวร้าว เอาแต่ใจตัวเอง ขาดระเบียบวินัย

ด้านสุขภาพและการเดินทาง การที่เด็กต้องอยู่ในห้องแคบๆ ประกอบกับอากาศที่ร้อน เด็กบางคนก็เป็นผดผื่นส่งผลให้อารมณ์หงุดหงิด ไม่เชื่อฟัง แต่ในส่วนของการต้องพาเด็กไปรับวัคซีนตามนัดพบว่า ส่วนใหญ่ยังสามารถพาเด็กไปรับวัคซีนได้ตามกำหนด แต่หากต้องเดินทางด้วยรถสาธารณะก็จะอาจต้องรอรถนานขึ้น นอกจากนี้จากสถิติการให้บริการตรวจคัดกรองและกระตุ้นพัฒนาการของกรมอนามัย พบว่าเด็กได้รับการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการตามช่วงวัยลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 (ร้อยละ 63.7 เทียบกับร้อยละ 91.2) หากเด็กมีพัฒนาการล่าช้าก็จะเสียโอกาสในการได้รับการกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม

โอกาสในการเข้าถึงความช่วยเหลือและสวัสดิการจากรัฐ

ความช่วยเหลือหรือสวัสดิการที่ครัวเรือนเด็กเล็กได้รับ มีทั้งสวัสดิการที่มีอยู่ก่อนโควิด-19 แต่ถูกกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และความช่วยเหลือเมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19

เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดครอบครัวยากจนอายุไม่เกิน 6 ปี แม้ว่าจะมีโครงการนี้อยู่แล้วก่อนโควิด-19 แต่ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาก็พบว่ายังมีเด็กยากจนตกหล่นไม่ได้รับเงินอุดหนุนอยู่จำนวนหนึ่ง ปัญหาการตกหล่นนี้เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น ความสับสนในขั้นตอนการลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ ความซับซ้อนของกระบวนการรับรองสถานะความยากจน ครอบครัวยากจนบางครอบครัวไม่มีบัญชีธนาคารหรือไม่มีเงินในการเปิดบัญชี บางครอบครัวอยู่ในพื้นที่ห่างไกลเดินทางไม่สะดวก เป็นต้น

เมื่อเกิดโควิดแล้วเกิดปัญหาความยากลำบากในการจดทะเบียนเนื่องจากมีการเว้นระยะห่างทางสังคม ที่สำคัญครอบครัวที่ก่อนหน้านี้ไม่จัดว่ามีฐานะยากจนเนื่องจากมีเกณฑ์รายได้สูงกว่าที่โครงการฯ กำหนดไว้ แต่ตอนนี้รายได้ลดลงและกลายเป็นครัวเรือนยากจนใหม่ หากนับกลุ่มนี้ด้วยอัตราการตกหล่น ‘เด็กยากจน’ จะยิ่งสูงมากขึ้น คนกลุ่มนี้มีจำนวนไม่น้อยซึ่งจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากรัฐอย่างเร่งด่วน เพื่อให้แน่ใจว่าครอบครัวจะมีเงินเพียงพอในการจัดหาอาหารและของใช้ที่จำเป็นสำหรับเด็กเล็กได้ 

เงินชดเชยการว่างงานจากประกันสังคม จากการสนทนา กลุ่มครอบครัวเด็กเล็กในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่าส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับเงินจากประกันสังคม โดยไม่ทราบเหตุผลว่าทำไมจึงยังไม่ได้รับเงิน ทำให้คนกลุ่มนี้ไม่ได้รับความช่วยเหลือใด ๆ เลย เพราะไม่มีสิทธิ์ในโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” เนื่องจากมีประกันสังคมอยู่แล้ว

เงินเยียวยาตามโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” ครอบครัวส่วนใหญ่ที่ไม่มีประกันสังคมได้รับเงินเยียวยาแล้ว แต่บางครอบครัวต้องเสียเงินจ้างให้คนช่วยลงทะเบียนให้ บางพื้นที่ต้องเสียค่าจ้างสูงถึง 2,000 บาท นอกจากนี้การสำรวจออนไลน์ที่กล่าวถึงข้างต้น พบว่าครัวเรือนที่มีเด็กเล็กยื่นขอเงินเยียวยา 5,000 บาทน้อยกว่าครอบครัวที่ไม่มีเด็กเล็ก (63% เทียบกับ 49%) แต่มีสัดส่วนผู้ที่ยื่นแล้วไม่ได้เงินมากกว่า (25.8% เทียบกับ 20.2%) สำหรับสาเหตุที่ไม่ได้เงิน พบว่าเป็นเพราะได้รับแจ้งว่าไม่มีสิทธิ์ 21.7% ยื่นแล้วไม่ได้รับการติดต่อ 18.7% ไม่ทราบรายละเอียดเลยไม่ได้ยื่น 9.1% (อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้ต้องใช้อย่างระมัดระวังเพราะช่วงการสัมภาษณ์โครงการเราไม่ทิ้งกันยังอยู่ระหว่างดำเนินการ) ในขณะที่ครอบครัวเด็กเล็กมีความต้องการใช้เงินส่วนนี้มากกว่า คือมีความเห็นว่าการได้เงินเป็นสิ่งที่ช่วยมากหรือมากที่สุด (47% เทียบกับ 40%)

สินเชื่อฉุกเฉิน ที่ให้กู้ 10,000 บาท ส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงสินเชื่อดังกล่าว

ถุงยังชีพ  ถุงยังชีพจะได้รับเฉพาะคนที่มีทะเบียนบ้าน และผู้นำชุมชนไปประสานกับทางเขต ส่วนใหญ่คนที่อยู่บ้านเช่าจะไม่ได้รับถุงยังชีพจากเขตแต่ได้รับถุงยังชีพจากมูลนิธิหรือบริษัทเอกชนมากกว่า ที่สำคัญสิ่งของที่อยู่ในถุงยังชีพไม่มีของใช้หรือสิ่งของจำเป็นสำหรับเด็กเล็กเลย

สถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงความไม่ครอบคลุมและไม่เพียงพอของระบบสวัสดิการในปัจจุบัน รวมถึงการมี ‘คนจนกลุ่มใหม่’ อันแสดงถึงปัญหาการตกหล่นของผู้สมควรได้รับความช่วยเหลือมีความรุนแรงขึ้นกว่าในภาวะปกติ ทางออกในเรื่องนี้คือการมีระบบสวัสดิการเด็กเล็กแบบถ้วนหน้าที่จะสามารถเป็นตาข่ายรองรับไม่ให้ครัวเรือนที่มีเด็กเล็กตกอยู่ในสภาวะที่ยากลำบาก  นอกจากนี้ การออกมาตรการใดๆ ที่จะกระทบชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวที่เปราะบาง เช่น การปิดศูนย์ดูแลเด็กเล็ก รัฐควรมีการวางแผนรับมือหรือช่วยเหลือชดเชยให้กับครัวเรือนเหล่านี้ควบคู่ไปด้วย เพื่อเป็นหลักประกันว่ากลุ่มคนเหล่านี้จะไม่ถูกปล่อยให้เผชิญชะตากรรมเพียงลำพัง

ล้อมกรอบ

แหล่งข้อมูล: มาจากการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม (face to face interview) จำนวน 100 ตัวอย่าง และการจัดสนทนากลุ่ม (focus group) 4 ครั้งในชุมชนแออัด 4 พื้นที่ ได้แก่ คลองเตย เสือใหญ่ อ่อนนุช และหนองแขม โดยได้รับความร่วมมือในการเก็บข้อมูลและจัดการสนทนากลุ่มจากมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม และข้อมูลการสำรวจผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นการสำรวจออนไลน์ในช่วงระหว่างวันที่ 27 เมษายนถึงวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ

หมายเหตุ: บทความนี้เป็นหนึ่งในผลงานโครงการศึกษาผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19: กลไกการรับมือและมาตรการช่วยเหลือ โดยการสนับสนุนของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้แผนงาน economic and social monitor เพื่อการจัดทำรายงานสถานการณ์และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และการสนับสนุนจาก UNICEF ประเทศไทย

Tags:

ปฐมวัยไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ความเหลื่อมล้ำ

Author:

Related Posts

  • Early childhood
    วัยเยาว์ที่ถูกพรากไป ในโลกที่ไม่ปลอดภัยดังเดิม : EP.3 แนวทางในการเตรียมความพร้อมให้กับลูกก่อนเข้าสู่สังคม (โรงเรียน)

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Early childhood
    วัยเยาว์ที่ถูกพรากไป ในโลกที่ไม่ปลอดภัยดังเดิม : EP.2 แนวทางการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับลูกปฐมวัย

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Creative learning
    ‘บ้านรัก’ สู่บ้านแห่งการเรียนรู้ ชวนพ่อแม่เป็นครู เรียนผ่านงานบ้าน งานสวน งานครัว : ครูอุ้ย – อภิสิรี จรัลชวนะเพท อนุบาลบ้านรัก

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • Voice of New GenSocial Issues
    เข้าไม่ถึงการศึกษาและปัญหาสุขภาพจิตที่เพิ่มขึ้น สิ่งที่คนวัยเรียนต้องเจอ คุยกับ เฟลอ – สิรินทร์ มุ่งเจริญ

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • Voice of New Gen
    ผู้เรียนต้องการทักษะสมัยใหม่ ไม่ใช่หลักสูตรเก่า: 1 ใน 4 แนวทางพัฒนาการศึกษายุคใหม่

    เรื่อง ปรียานุช ปรีชามาตย์

จากติ่งเกาหลีสู่ Active Citizen: ลำโพงขนาดใหญ่ผู้ขับเคลื่อนประเด็นสังคมและการเมือง
Voice of New Gen
3 September 2020

จากติ่งเกาหลีสู่ Active Citizen: ลำโพงขนาดใหญ่ผู้ขับเคลื่อนประเด็นสังคมและการเมือง

เรื่อง ณัฐธนีย์ ลิ้มวัฒนาพันธ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • ข่าวการเมืองร้อนแรงช่วงปีและโดยเฉพาะขวบเดือนที่ผ่านมา เราเห็นตรงกันว่าขยับ (ขยี้) ประเด็นจากชาวทวิตเตอร์(ในโลกทวิตภพ) ความน่าสนใจอย่างหนึ่งคือมันถูกขับเคลื่อนโดย ติ่งเกาหลี ที่ครั้งหนึ่งคำนี้เคยเป็นคำต่อว่าเชิงเดียดฉันท์
  • บทความนี้ (และในฐานะติ่งเกาหลีคนหนึ่ง) ชวนตั้งคำถาม หาคำตอบ วิจารณ์ถกเถียงไปพร้อมกันว่า จริงๆ เเล้วติ่งเกาหลีในตอนนี้คือใคร การตามศิลปินส่งผลต่อความคิดของพวกเขาอย่างไรบ้าง จนกลายเป็นชุมชนที่เรียกได้ว่ามีอิทธิพลต่อความคิดของคนในสังคม เป็นกำลังหลักช่วยผลักประเด็นทางสังคม (Social Movement) ไปในวงกว้างได้ในเวลาไม่กี่นาที

ท่ามกลางสถานการณ์ที่ประเทศไทยมีการพูดคุยเเละถกเถียงประเด็นทางการเมืองเเละสังคมที่หลากหลายโดยเฉพาะในช่วงเดือนที่ผ่านมาบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องประชาธิปไตยของกลุ่มเยาวชนปลดเเอก และอีกหลายกลุ่มในประเด็นการเมือง, การออกมาเเสดงจุดยืนของเหล่าดารา, การคัดค้านการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP หรือเรื่อง Black live Matter การเรียกร้องสิทธิของคนผิวดำและการเหยียดเชื้อชาติ 

สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะการเปลี่ยนเเปลงของเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวดเร็วทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูล ภาพข่าว และความเห็นของผู้คนต่อกรณีดังกล่าวได้อย่างรอบด้านและง่ายดายเพียงปลายนิ้ว …ใช่ มันร้อนแรงจากปฏิบัติการของหนูนิ้วโป้ง (ขออ้างอิงคำเรียกของ มิแช็ล แซรส์ นักปรัชญาอายุกว่าแปดสิบ จากหนังสือ Petite Poucette: หนูนิ้วโป้ง วัฒนธรรมและเทคโนโลยีของมนุษย์มิลเลเนียล แซรส์เขียนหนังสือเพื่อชูธงสนับสนุนคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่โตมาในโลกที่แตกต่างจากเขา เขาเรียกตัวเองว่า ‘คุณปู่’ ด้วย) 

ข่าวสารหรือความคิดเห็นที่เกิดขึ้นบนสื่อออนไลน์ ‘ส่วนใหญ่’ จะมาจากคนรุ่นใหม่ (ในที่นี้หมายความว่าผลิตขึ้น ผลักให้โด่งดังขึ้น ถูก ‘ขุดให้ตามต่อ) ข้อมูลจากสื่อที่หลากหลายผ่านสื่อออนไลน์ ทั้งบทความ บทวิเคราะห์ ภาพ วิดิโอ เสียง และสื่อรูปแบบอื่นๆ ก่อให้เกิดความคิดและการตีความข้อมูล จนคนรุ่นใหม่พร้อมเปิดรับความคิดเห็นของคนอื่นในมุมมองที่เเตกต่าง และเป็นกระบอกเสียงในการขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม – โดยเฉพาะทวิตเตอร์ (โลกที่เราสามารถสร้างตัวเองขึ้นมาได้มากกว่าหนึ่งคนโดยที่ไม่มีใครรู้ เพราะหนึ่งคนมีหลายเเอคเคาท์เหลือเกิน เรื่องนี้โลกรู้ ทุกคนรู้ ชั้นจะไม่ยอมมีตัวตนเดียวหรอกค่ะ) 

น่าสนใจว่าคนรุ่นใหม่ในตอนนี้ถือว่าเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเด็นทางสังคมและกล้าที่จะแสดงจุดยืนของตนเองในเหตุการณ์ต่างๆ ผ่านสื่อออนไลน์ โดยพวกเขาส่วนหนึ่ง (เเละอาจจะเป็นส่วนใหญ่) คือคนที่เรียกตัวเองว่า ติ่งเกาหลี หรือ กลุ่มเเฟนคลับศิลปินเกาหลี หากคุณสงสัยว่าเขาคือใคร ให้สังเกตชื่อเเละรูปโปรไฟล์ของเเอคเคาท์นั้นจะเป็นรูปที่เกี่ยวข้องกับศิลปินเกาหลี คนที่พร้อมจะเเท็กทีมในเเต่ละโอกาสเพื่อซัพพอร์ตศิลปินที่เขาชอบ เกิดเป็นชุมชนเเฟนคลับที่เริ่มขยายใหญ่ขึ้น มีความหลากหลายด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม เเละภาษา เเม้ไม่เคยเจอกันมาก่อน เเต่คนในชุมชนนี้รู้สึกสนิทกัน (เข้าอกเข้าใจกันมาก) มานานหลายปี

บทความนี้ (และในฐานะติ่งเกาหลีคนหนึ่ง) จึงอยากชวนตั้งคำถาม หาคำตอบ และวิจารณ์ถกเถียงไปพร้อมกันว่า จริงๆ เเล้วติ่งเกาหลีในตอนนี้คือใคร การตามศิลปินส่งผลต่อความคิดของพวกเขาอย่างไรบ้าง จนกลายเป็นชุมชนที่เรียกได้ว่ามีอิทธิพลต่อความคิดของคนในสังคมเเละช่วยผลักประเด็นทางสังคมไปในวงกว้างได้ในเวลาไม่กี่นาที

การติดตามข่าวสารของศิลปิน นำไปสู่ความสนใจประเด็นสังคม

ถึงจะถูกเรียกว่าติ่ง เเต่พลังของพวกเขาไม่สั้นเท่าติ่งหูเเน่นอน เพราะความติ่งเกิดจากความชอบในตัวศิลปินเกาหลีที่ทำให้พวกเขารู้สึกใกล้ชิดเเละเกิดจินตนาการ เเต่ความจริงเเล้วนี่คือพลังของ ‘Soft Power’ ที่เรารู้จักกันในนามของ Korean Wave หรือคลื่นวัฒนธรรมเกาหลี ซึ่งซ่อนอยู่ในสื่อ ทั้งละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ อาหาร รวมถึงเพลงเเละดนตรี (K-pop)

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกริก เล่าถึงสื่อบันเทิงเกาหลีไว้ว่า ค่านิยมเเละวัฒนธรรมเกาหลีมีการเเพร่กระจายมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการกระจายข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วในสื่อโซเชียลมีเดีย ทำให้คนรับสารเรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ๆ เเละมีประสบการณ์ผ่านสิ่งที่สื่อมวลชนนำเสนอ หรือ ประสบการณ์ผ่านสื่อ เมื่อสื่อนำเสนอวัฒนธรรมซ้ำเเล้วซ้ำเล่า จะทำให้คนดูเข้าใจ ยอมรับ เเละติดตามวัฒนธรรม นำไปสู่การเกิดประสบการณ์ร่วมเเละรับวัฒนธรรมนั้นมาเป็นเเนวทางในการดำเนินชีวิต

สอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มเเฟนคลับเกาหลี หากพวกเขามีโอกาสชื่นชอบศิลปินเเล้ว สิ่งที่เขาต้องเจอ คือ การต่อสู้กับการตลาดของค่ายศิลปิน เพราะเเต่ละค่ายจะหยิบศิลปินมาเป็นเเรงจูงใจในการซื้อสินค้าต่างๆ พร้อมสิทธิพิเศษที่จะทำให้เหล่าเเฟนคลับมีโอกาสใกล้ชิดกับศิลปินที่ชื่นชอบ เช่น การกดบัตรคอนเสิร์ตที่ราคามากกว่าครึ่งหมื่นเเถมสิทธิพิเศษในการจับมือเเละพูดคุยกับศิลปิน (Hi-touch เเละงาน Sign) เเต่พวกเขาก็ยอมจ่ายเพราะมันคือ ความสุข เพราะขอเเค่มีโอกาสได้คุยหรือมองตาพวกเขาเเค่เสี้ยววินาที ก็ทำให้มีความสุข เก็บไปฝันรอวันที่ศิลปินมาไทยได้อีกรอบเลยทีเดียว ถึงโอกาสนั้นจะริบหรี่ก็ตาม (คอนเสิร์ตบางวง เช่น Exo, BTS เเละ GOT7 บัตรหมดโดยใช้เวลาไม่ถึง10 นาทีหลังจากที่มีการเปิดจอง)

ความชื่นชอบศิลปินเกาหลีที่หลายคนบอกว่า “เข้าวงการติ่งแล้วออกยาก” หรือทางจิตวิทยาเรียกความรู้สึกนี้ว่าเป็นความรักที่สมบูรณ์แบบ ถ้าอธิบายตามทฤษฎี Triangle of Love ของ ศ.ดร.Robert Sternberg แห่งภาคจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเยลล์ ที่พูดถึงองค์ประกอบความรักที่สมบูรณ์แบบว่า มีทั้งหมด 3 องค์ประกอบ ได้แก่

  • ความหลงใหล (Passion) – ความหลงในรูปลักษณ์หน้าตาของศิลปินที่สวยหล่อ เพอร์เฟกต์ไปหมดทุกอย่างที่ชวนดึงดูดใจและทำให้เราคิดถึงเขาตลอดเวลา และทำให้เรามองเห็นชื่อเสียงและความสามารถของศิลปิน
  • ความใกล้ชิด (Intimacy) – การติดตามความเคลื่อนไหวของศิลปินในแต่ละวันผ่านไลฟ์สดและรายการต่างๆ มีประสบการณ์ร่วมผ่านสื่อนั้นเหมือนเราเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม
  • การผูกมัด (Commitment) – ศิลปินและแฟนคลับมีเป้าหมายเดียวกัน เช่น เชียร์ศิลปินให้ได้รางวัลประจำปีผ่านการโหวตและติดแฮชแท็กในทวิตเตอร์

ไม่รวมถึงการตลาดของไอดอลเกาหลีที่ขายไอดอลให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต คือ การที่แฟนคลับได้เห็นมุมมองการใช้ชีวิตของไอดอลที่เหมือนคนธรรมดาคนหนึ่งนอกจากการแสดงบนเวที เพื่อให้แฟนคลับเรียนรู้ ติดตาม สัมผัส และตีความในแบบพวกเขาเอง ตัวอย่างเช่น รายการเรียลลิตี้ Survival ตระกูล Produce ค้นหาบอยแบนด์ที่จะเติมเต็มวงการเพลงเกาหลีผ่านการโหวตของกลุ่มแฟนคลับ ที่ทำให้เห็นความยากลำบาก การฝึกฝน และการแข่งขันบนเส้นทางกว่าจะมาเป็นไอดอล แล้วยังนำเสนอชีวิตนอกเวทีของเด็กฝึกแต่ละคน เช่น ทัศนคติ มุมมอง และการพัฒนาตนเอง ให้ผู้ชมเรียนรู้นิสัยและธรรมชาติของแต่ละคนประกอบการตัดสินใจการโหวต 

เพราะความชื่นชอบเเละติดตามผลงานของศิลปิน ทำให้เมื่อศิลปินที่เขาชื่นชอบมีโอกาสขึ้นไปเเสดงอยู่บนเวทีระดับโลก อย่างเวที Bill Board ของสหรัฐอเมริกา ชาวติ่งจะเตรียมตัวดูสตรีมมิ่งถึงเเม้ว่าจะต้องตื่นเเต่เช้ามาดู เขาก็ยอม ไม่ต่างจากเเฟนบอลที่ต้องรอเเมทช์ไฮไลท์ เเล้วก็คงจะไม่ใช่เรื่องใหม่ถ้าเขาจะพร้อมใจซัพพอร์ทกันอีกครั้งเมื่อศิลปินเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางสังคมเเละหลายเป็นเเรงหนึ่งในการขับเคลื่อนประเด็นที่ยังไม่ได้เป็นที่สนใจสังคมหรือถูกมองข้ามไป ผ่านสิ่งที่เขามี ก็คือสื่อโซเชียลมีเดีย

ยกตัวอย่างเช่น การกล่าวสุนทรพจน์ของคิม นัม จุน หัวหน้าวง BTS บอยเเบนด์สัญชาติเกาหลีใต้ที่โด่งดังระดับโลกบนเวที UN เมื่อ 2 ปีที่เเล้ว หลังจากที่พวกเขาได้ร่วมทำเเคมเปญ Love Myself ตามชื่ออัลบั้มของพวกเขากับ UNICEF เขาพูดว่า เราควรจะเรียนรู้ตัวเอง หาเสียงของตัวเองให้เจอเพื่อที่เราจะได้เข้าใจตนเอง เพราะไม่ว่าคุณจะเคยทำผิดพลาดในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต ตัวคุณก็คือตัวคุณอยู่ดี

สปีชนี้ทำให้เเฟนคลับต่างชื่นชมการกล่าวสุนทรพจน์ที่ทำให้พวกเขารู้สึกว่า การเป็นตัวเองคือสิ่งที่สำคัญ สิ่งที่คิม นัม จุน พูดเป็นเหมือนตัวเเทนเสียงของคนรุ่นใหม่เเละสร้างเเรงบันดาลใจให้พวกเขากล้าที่จะเป็นตัวเอง

สอดคล้องกับผลการศึกษาในงานวิจัยของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มเเฟนคลับศิลปินเกาหลีจะเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับศิลปินทุกวันผ่านสื่อออนไลน์เนื่องจากมีความสะดวกเเละเข้าถึงง่าย โดยรับชมได้ผ่านรูปแบบภาพเเละเสียงพร้อมกับเเลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้อื่น

นอกจากนี้ บทความจากสำนักข่าว Time ยังพูดถึงติ่งเกาหลีว่า กลุ่มเเฟนคลับเกาหลีรู้ว่าเขาจะนำอิทธิพลของเเฟนคลับที่มีมานานหลายปีมาปรับใช้กับเเคมเปญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนไปจนถึงระบบการศึกษา โดยใช้ชื่อของศิลปินที่เขาชอบ

ยกตัวอย่างเช่น การระดมเงินทุนบริจาคเงินให้กับองค์กรการกุศล 26 แห่งทั่วโลกจาก 5 ทวีปในวันเกิดของ แจ็คสัน GOT7 โดยเป็นการระดมเงินผ่านออนไลน์ โดยกลุ่มแฟนคลับต้องการมอบให้กับแจ็คสันที่สร้างเรงบันดาลใจที่อยากให้ทุกคนมีชีวิตที่ดีขึ้น

กิจกรรมและการบริจาคเงินที่เกิดขึ้นอาจมาจากความชื่นชอบในตัวศิลปินคนนั้นที่เขาเริ่มเป็นกระบอกเสียงและในบางครั้งก็มีการทำแคมเปญและบริจาคเงิน ทำให้สร้างแรงบันดาลใจและความสนใจเรื่องประเด็นทางสังคมมากขึ้นให้กับแฟนคลับ โดยใช้ทวิตเตอร์เป็นสื่อกลางในการพูดคุยเรื่องราวเหล่านี้และวางแผนกิจกรรมโดยไม่ต้องมองว่าแต่ละคนอยู่ประเทศอะไร เชื้อชาติไหน ใช้ภาษาอะไร แต่ร่วมทำกิจกรรมที่จะแสดงให้เห็นว่า ศิลปินสามารถจุดประกายความรู้สึกอยากสื่อสารเรื่องราวเหล่านี้ออกมา 

การติดตามข่าวสารของศิลปิน นำไปสู่ความสนใจประเด็นสังคม2: การเรียนรู้เรื่องเพศ สัญญาทาส ซึมเศร้า การกลั่นแกล้งออนไลน์ 

อีกหนึ่งการเรียนรู้ประเด็นทางสังคม การใช้เครื่องมือเพื่อขับประเด็นทางสังคมที่น่าสนใจและเฉียบคมของชาวติ่ง คือ ประเด็นเรื่องเพศ การกลั่นแกล้งออนไลน์ มุมมองเรื่องชายเป็นใหญ่ ที่เกิดขึ้นกับศิลปินที่พวกเขารัก 

ย้อนกลับไปในปี 2017 ข่าวที่สร้างความสะเทือนใจให้กับกลุ่มแฟนคลับเเละวงการเพลงของเกาหลี คือข่าวการเสียชีวิตของคิม จง ฮยอน วง Shinee จากค่าย S.M. Entertainment ซึ่งเสียชีวิตจากการรมควันฆ่าตัวตาย ทำให้เเฟนเพลงของคิม จง ฮยอน ร่วมกันติดเเฮชเเท็ก #RIPjonghyun ในทวิตเตอร์บอกเล่าเรื่องราวประทับใจเเละขอให้ศิลปินที่พวกเขารักไปสู่สุคติ 

ภายหลังมีการจัดตั้งมูลนิธิ Shiny Foundation ที่ครอบครัวของจงฮยอนจัดตั้งขึ้นจากเงินค่าลิขสิทธิ์ผลงานของลูกชาย เพื่อส่งต่อความรักในงานดนตรีของเขาให้กับเด็กรุ่นใหม่ เเละในวันครบรอบ 1 ปีของการจากไปของนักร้องในดวงใจของเเฟนคลับ ทางมูลนิธิฯ ก็จัดกิจกรรมเทศกาลศิลปะ โดยมีกลุ่มเเฟนๆ เข้าร่วมด้วยการนำสิ่งของเครื่องใช้เเละผลงานของจงฮยอนมาจัดเเสดงเพื่อเป็นการรำลึกถึงเขา

อีกหนึ่งศิลปินที่จากไป เเต่ผลงานเเละความสามารถของเขายังคงอยู่ในใจของเเฟนคลับไม่ต่างจากการสูญเสียคิม จง ฮยอนไป คือ ซอลลี่ (Sulli) อดีตสมาชิกวง f(x) หนึ่งในศิลปินค่ายเดียวกับจงฮยอนเมื่อปีที่เเล้ว เเละยังเป็นนักเเสดงในภาพยนตร์เเละละครโทรทัศน์ เช่น ภาพยนตร์เรื่อง The Pirates, Fashion King, Real เเละละครเรื่อง To the Beautiful You เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่างมีคำถามมากมายว่า อะไรที่ทำให้ศิลปินวัย 25 ปีคนนี้ตัดสินใจจากไป ทำให้เเฟนคลับช่วยกันติดเเฮชเเท็ก #Sulli และ #ซอลลี่ ในทวิตเตอร์ เพื่อไว้อาลัยให้กับซอลลี่ จนครองเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับ 1 ของประเทศไทยในช่วงเวลานั้น

ความคิดเห็นที่กลุ่มแฟนคลับตั้งคำถามจากการจากไปของซอลลี่มากที่สุด คือ เธอมักจะถูกวิจารณ์เรื่องภาพลักษณ์ของเธอบนโลกออนไลน์ บทความจากนิตยสาร Vogue Thailand ระบุว่า เเม้ชีวิตการเดินบนเส้นทางบันเทิงของซอลลี่จะก้าวต่อไปเรื่อยๆ เเต่ชีวิตของเธอกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเธอคือเหยื่อของการไร้ความคิด จนทำให้ในปี 2014 เธอหยุดพักงานจากความเหนื่อยล้าทางจิตใจ เพราะชีวิตของซอลลี่เหมือนเป็นกระดานลูกดอกที่ไม่มีสิทธิ์ออกปากออกเสียง ผู้คนชมความสวยงาม ความสามารถและต้องการครอบครองกันทั้งนั้น แต่ทุกคนก็กลับปาลูกดอก (การบูลลี่) ใส่เธอแบบไม่ยั้งมือ ซึ่งเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับเธออาจเป็นจุดเริ่มต้นของการตัดสินใจจากไป 

ตัวอย่างเพียง 2 กรณีนี้อาจสะท้อนว่า ติ่งเกาหลีไม่ได้เคลื่อนไหวประเด็นผิวเผิน การแสดงความเห็นที่ค่อนข้างขุดลงไปยังโครงสร้างรอบตัว โดยเฉพาะเรื่องการเหยียดเพศ การกลั่นแกล้งออนไลน์ ประเด็นซึมเศร้า ประเด็นเหล่านี้กลายเป็นประเด็นที่ถูก educate กันเองในกลุ่มติ่งมากกว่าโลกในห้องเรียนเสียอีก 

เสียงจากคอมมูนิตี้ติ่ง มีผลต่อความสนใจเรื่องสังคมของติ่งด้วยกันเอง 

ทวิตเตอร์จึงไม่ใช่แค่เครื่องมือในการติดตามข่าวสารของศิลปินเท่านั้น แต่เป็นสื่อกลางในการพูดคุยประเด็นทางสังคมในความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ร่วมกันระดมเงินและกิจกรรมที่จะช่วยเหลือคนในสังคมของแต่ละประเทศได้

เหมือนกับเเพร นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่พึ่งหันมาสนใจประเด็นทางสังคมมากขึ้นหลังจากการเป็นติ่งเกาหลีมานานกว่า 8 ปี การเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเเฟนคลับวง BTS ผ่านทวิตเตอร์ ทำให้เธอเห็นความหลากหลายทางภาษา วัฒนธรรม เเละความคิด บอกกับเราว่า

“เราคิดว่าการติ่งมีผลตรงที่ พอเราเห็นว่าศิลปินที่เราชอบให้ความสำคัญกับอะไรเราก็อยากทำได้บ้าง เรารู้สึกชื่นชม แต่สิ่งที่กระตุ้นเราในฐานะคนที่สนใจประเด็นทางสังคมจริงๆ คือตัวแฟนคลับกันเองมากกว่า การอยู่รวมกันด้วยคำว่า ‘แฟนคลับ’ มันทำให้เรารู้จักคนเยอะขึ้น ซึ่งมันพาเราไปเจอคนที่สนใจประเด็นการเมือง เศรษฐกิจเเละสังคม แล้วการกระทำของพวกเขาก็กลับมาส่งผลต่อความคิดของเราอีกทีหนึ่ง”

เเพรคือคนที่เคยมองว่าการเมือง เศรษฐกิจ เเละสังคมเป็นเรื่องเข้าใจยาก ไม่ว่าเธอจะพยายามเท่าไหร่ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี เเต่กลุ่มเเฟนคลับคือคนที่จุดประกายความรู้สึกของเธอซึ่งอยากจะเป็นมากกว่าติ่งที่ชื่นชอบศิลปิน จากที่เคยคิดว่าการติดตามข่าวสารบ้านเมืองเป็นเรื่องยาก เเต่ในตอนนี้เธออยากเป็นเสียงหนึ่งในการบอกเล่าประเด็กทางสังคม แล้วหวังว่าเสียงนั้นจะสามารถช่วยคนได้อีกหลายคน เช่น เรื่องการเมือง การอุ้มหาย เเละเรื่องกฎหมาย

การรวมเป็นหนึ่งของกลุ่มแฟนคลับที่ชอบศิลปินเดียวกัน โดยมีเครื่องมือคู่ใจอย่างทวิตเตอร์ ที่จะทำให้พวกเขารับข้อมูลข่าวสารของศิลปินอย่างทันเหตุการณ์เเละยังมองเห็นความคิดรวมถึงความเเตกต่างของเเต่ละคนได้ แล้วยังพร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อซัพพอร์ทศิลปินที่เขาชื่นชอบ ทั้งการอวยพรวันเกิด การปล่อยเอ็มวีใหม่ (คัมเเบค) การเป็นพรีเซนเตอร์เเบรนด์ต่างๆ หรือความต้องการที่อยากจะบอกว่าคิดถึงศิลปินของพวกเขา เเม้เเต่บอกปัญหาของศิลปินที่พวกเขาต้องเจอ ทั้งเรื่องความเครียด เเรงกดดัน การเเข่งขัน เเละการบูลลี่ที่อยู่เบื้องหลังความสวยงามของวงการ K-pop

กองทัพติ่งในทวิตเตอร์ ความเชี่ยวชาญการใช้แฮชแท็ก ในฐานะอาวุธเคลื่อนข่าวในสังคม 

ติ่งเกาหลีคือคนที่ใช้โซเชียลมีเดียเก่งเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของศิลปิน จากรางวัลของ Soompi ที่จะมีการโหวตผ่านแฮชแท็ก

ทวิตเตอร์ #TwitterBestFandom และ #Team ศิลปินที่เขาชอบ ที่มีการทวิตมากถึง 42 ล้านครั้งใน 24 ชั่วโมง ในปี 2018 และ #SoompiAwards แฮชแท็กของรางวัลอยู่บนการสนทนามากกว่า 14 ล้านบทสนทนาทั่วโลก

หากย้อนรอยดูประวัติศาสตร์ความนิยมการใช้ทวิตเตอร์ในประเทศไทย รายงานจากผู้ให้บริการวิเคราะห์โซเชียล Thoth Social ระบุว่า ทวิตเตอร์เป็นที่รู้จักในประเทศไทยมากขึ้นในคนยุคมิลเลเนียล (เกิดปี 1989-2000) หลังจากรายการเกาหลีถ่ายทอดสดรายการผ่านทวิตเตอร์ และเปิดให้แฟนคลับโหวตศิลปินที่ชื่นชอบผ่านการใส่ # ตามด้วยชื่อศิลปินเกาหลี 

นอกจากนี้เหตุผลที่แฟนคลับหันมาเล่นทวิตเตอร์มากขึ้น เป็นเพราะศิลปินเกาหลีส่วนใหญ่ก็นิยมใช้ทวิตเตอร์เพื่อการสื่อสารกับแฟนคลับมากกว่าโซเชียลมีเดียอื่นๆ ทำให้แฟนคลับรู้สึกใกล้ชิดและเข้าถึงศิลปินได้มากขึ้น เหมือนแฟนคลับสามารถจับต้องหรือพูดคุยศิลปินที่ชื่นชอบได้โดยไม่ต้องบินไปไกลถึงเกาหลี

ข้อมูลนี้ไปในทิศทางเดียวกับข้อมูลจากทวิตเตอร์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปี 2562 ที่พูดถึงการใช้งานทวิตเตอร์ของคนไทยที่มีจำนวนมากขึ้น 35% ในปี 2560 -2562 นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเพิ่มเติมว่า คนรุ่นใหม่ (อายุ 16 – 24 ปี) เลือกที่จะเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านทวิตเตอร์เกือบครึ่ง สอดคล้องกับผลสำรวจการเป็นเเฟนคลับศิลปินเกาหลี เมื่อปี 2562 พบว่า ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีอายุ 15 – 25 ปี สูงถึง 78.3% เเละเป็นกลุ่มนักเรียน-นักศึกษา 66.7% 

ทวิตเตอร์ยังชี้ให้เห็นว่าพลังของเเฟน K-pop พูดถึงเรื่องราวของเหล่าศิลปินในทวิตเตอร์อย่างมากด้วยการติดแฮชแท็ก รวม 5,200 ล้านครั้ง โดยจำนวน 800 ล้านครั้ง มาจากผู้ใช้ในประเทศไทย ตอกย้ำภาพการกล้าแสดงออกของแฟนคลับ

ไม่ต่างจากมายด์ อายุ 21 ปี หนึ่งในแฟนเกาหลีที่ติดตามข่าวสารของศิลปินเเละข่าวอื่นๆ ในทวิตเตอร์ รวมถึงยังเป็นคนที่เข้าใจการทำงานของกลุ่มเเฟนคลับศิลปินเกาหลี ยอมรับว่าเข้าทวิตเตอร์มากกว่า 20 ครั้งต่อวัน

เธอบอกว่าติ่งเกาหลีใช้โซเชียลมีเดียเก่ง สามารถใช้โซเชียลมีเดียติดต่อหรือส่งข้อความข้ามโลกได้ การผลักดันประเด็นทางสังคมหรือข้อมูลของศิลปินเกาหลีเป็นเรื่องปกติของติ่ง เช่น การโหวตเเข่งกันเพื่อให้ศิลปินได้รางวัลด้วยการใช้เทรนด์ทวิตเตอร์เป็นเหมือนลำโพงขนาดใหญ่ มีการเเปลข้อมูลส่งกันหลายภาษา ดังนั้นเมื่อเป็นเรื่องสังคมในประเทศ ก็มีความรู้สึกว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว ติ่งเกาหลีก็จะนำประโยชน์นี้มาใช้เเล้วเเสดงออกมา

“ติ่งเกาหลี คือ กระบอกเสียงหรือคลื่นลูกหนึ่งที่ช่วยกระจายเสียงเรื่องการเมืองในตอนนี้ออกไปเป็นวงกว้าง พวกเขาสามารถทำให้ติดเทรนด์ทวิตได้ภายในไม่ถึงชั่วโมง หรือเรียกว่ากองทัพโลกออนไลน์ เพราะไม่ได้กระจายแค่ในไทยนะ เเต่รวมถึงประเทศอื่นด้วย จากคอมมูนิตี้ติ่งเกาหลีด้วยกัน แปลภาษาข้อมูลส่งต่อๆกันเหมือนตอนส่งข้อมูลศิลปิน เป็นไมค์เป็นลำโพงขนาดใหญ่ในรูปแบบติ่งเกาหลี”

ส่วนหนึ่งที่ทำให้การดันเเฮชเเท็กของเรื่องราวต่างๆ ให้เป็นที่สนใจของสังคมเป็นเพราะในโลกของทวิตเตอร์ เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า คนที่ทวิตคือใคร หนึ่งคนอาจจะมี 10 เเอคเคาท์หรือที่เรียกว่า “เเอคหลุม” ก็ไม่มีใครรู้ เเล้วเมื่อ 1 คนรีทวิต follower ของเเอคเคาท์นั้นก็จะรับรู้ในเรื่องราวนั้นๆ ไปด้วย ก็ไม่ต่างจากการที่เราพูดบนเวทีสาธารณะที่มีคนดูเป็นร้อยเป็นพันหรือเป็นหมื่นคน เพียงเเต่ย้ายมาพูดในทวิตเตอร์เท่านั้นเอง

ภาพจำของติ่งเกาหลีของใครหลายคน คือ คนที่ตามศิลปินเกาหลีเเล้วไม่สนใจเรื่องอื่น เเต่วันนี้พวกเขาคือหนึ่งเสียงในการขับเคลื่อนประเด็นทางสังคม เอาจุดเด่นเเละเครื่องมือที่เขาถนัดมาใช้ เพราะพวกเขามองเห็นเรื่องราวในประเทศอื่นๆ ทั้งเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม หรือประเด็นทางสังคม ทำให้กลุ่มเเฟนคลับกลุ่มนี้จะปรากฏตัวขึ้นในโซเชียลมีเดียที่กำลังเป็นที่สนใจของสังคม

อ้างอิง
เปิดมุมมอง ‘แฟนคลับเกาหลี’ กับความรู้สึกที่สังคมไม่เคยเข้าใจ
ทำไม ‘ติ่ง’?: ประวัติย่อของความ ‘ติ่ง’
ทำไม ‘ติ่ง’?: มอง ‘ความติ่ง’ จากมุมจิตวิทยา
แฮชแทค #TWITTERBESTFANDOM ทวิตสูงเกือบ 42 ล้านครั้ง จาการประกาศรางวัล #SOOMPIAWARDS ประจำปีครั้งที่ 13
อากาเซ่บริจาคการกุศลให้กับ 26 องค์กรทั่วโลก เพื่อฉลองวันเกิดให้กับ แจ็คสัน GOT7
คนไทยใช้ Twitter เก่ง! 2 ปี เติบโตสุดในภูมิภาค กลายเป็น “Entertainment Hub” ครองใจวัยมิลเลนเนียล
แฟนเพลงทั่วโลก ร่วมรำลึก 1 ปี การจากไปของ จงฮยอน ‘SHINee’
แฟนคลับร่วมอาลัย จงฮยอน ‘SHINee’
ช็อกสะเทือนเลื่อนโลก ! “ซอลลี่ f(x)” เสียชีวิตอย่างเดียวดายในวัย 25

Tags:

ประชาธิปไตยโซเชียลมีเดียแฟนคลับsocial movementวัยรุ่น

Author:

illustrator

ณัฐธนีย์ ลิ้มวัฒนาพันธ์

นักศึกษาปีสุดท้ายที่ชอบดูซีรีส์เกาหลี เชื่อว่าซีรีส์คือพื้นที่การเรียนรู้ที่ทำให้เราพัฒนาตัวเองได้ สนใจเรื่องระบบการศึกษา อยากเล่าเรื่องให้สนุกเเบบฉบับของตัวเอง

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Voice of New Gen
    การมีบ้านเมืองที่มองเห็นอนาคต : โลกใบใหม่ที่คนรุ่นใหม่วาดฝัน

    เรื่อง กุลธิดา ติระพันธ์อำไพ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Adolescent Brain
    หน้าจอกับสภาพจิต วัยรุ่นกับอาการซึมเศร้า ความเชื่อมโยงที่อธิบายได้ด้วยงานวิจัย

    เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ อัคคเดช ดลสุข

  • Dear Parents
    การเมือง เรื่องที่ควรเริ่มคุยจากในครอบครัว : ทีปกร วุฒิพิทยามงคล

    เรื่อง ภาพพิมพ์ พิมมะรัตน์

  • Learning Theory
    พื้นที่ที่ 5 (THE 5TH SPACE) สำหรับคนรุ่นใหม่ เพื่อค้นพบศักยภาพและเปลี่ยนแปลงสังคม

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ มานิตา บุญยงค์

  • Social Issues
    เมื่อสังคมก้มหน้าฆ่าคนที่เรารักให้กลายเป็นอากาศ : นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์

    เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่าง

The Umbrella Academy: ความรู้สึกเป็นคนนอกครอบครัว เพราะตัวเองไม่(มีพลัง)พิเศษ
Dear ParentsMovie
3 September 2020

The Umbrella Academy: ความรู้สึกเป็นคนนอกครอบครัว เพราะตัวเองไม่(มีพลัง)พิเศษ

เรื่องและภาพ พิมพ์พาพ์

หมายเหตุ: มีการสปอยด์เนื้อหา

Tags:

พ่อแม่ภาพยนตร์การสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)พิมพ์พาพ์

Author & Illustrator:

illustrator

พิมพ์พาพ์

เป็นลูกคนเดียวจากแม่เลี้ยงเดี่ยว เรียกตัวเองว่านักวาดภาพประกอบที่ชอบวาดคนหน้าแมว เผลอเสียน้ำตาให้กับหนังครอบครัวอยู่บ่อยๆ

Related Posts

  • Movie
    Eighth Grade: เมื่อเด็กมองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ความรักจากพ่อแม่คือแสงสว่างท่ามกลางความพร่ามัวและจอมปลอม

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Movie
    The Holdovers: ในวันที่ไม่มีใครเหลียวแล ขอแค่ใครสักคนที่มอบไออุ่นและเยียวยาหัวใจกัน

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Movie
    Precious: แม้พ่อแม่จะสร้างแผลใจที่ไม่อาจลบเลือน แต่เราเติบโตและงดงามได้ในแบบของตัวเอง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Movie
    Queer as Folk: คำถามที่ลูกอยากรู้ ถ้าเราเปลี่ยนไปไม่ใช่เพศเดิม พ่อแม่จะยังรักหรือปล่อยมือ

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • Dear ParentsMovie
    Whisper of the heart : เมื่อลูกมีความฝันต่างจากคนอื่น อยากให้ครอบครัวถามไถ่ รับฟัง และเชื่อใจ

    เรื่องและภาพ พิมพ์พาพ์

11 ชุดคำถาม ชวนนั่งไทม์แมชชีนกลับไปคุยกับอดีตเพื่อรู้จักและเข้าใจตัวเอง
How to enjoy lifeAdolescent Brain
2 September 2020

11 ชุดคำถาม ชวนนั่งไทม์แมชชีนกลับไปคุยกับอดีตเพื่อรู้จักและเข้าใจตัวเอง

เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • ชวนไปรู้จักเครื่องมือที่จะทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น ‘การสนทนาแบบไตร่ตรอง (Reflective Conversation)‘ พาเรานั่งไทม์แมชชีนกลับไปคุยกับตัวเอง ผ่านชุดคำถาม ที่จะช่วยเชื่อมต่อความทรงจำในอดีตกับปัจจุบัน แล้วแนะนำให้เราทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นเสียใหม่ กระบวนการที่เกิดขึ้นจะช่วยคลี่คลายปมบางอย่างที่ไม่ได้ถูกสะสาง หรือบาดแผลจากบางเรื่องราวที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตในปัจจุบันโดยที่เราไม่รู้ตัว
  • ผ่าน ชุดคำถามสะท้อนความผูกพัน ที่มีหลากหลายหมวดหมู่ ไม่ว่าจะเป็น ภูมิหลัง ความสัมพันธ์ การพลัดพราก ระเบียบวินัย ความกลัวและการถูกคุกคาม การสูญเสีย การสื่อสารทางอารมณ์ พื้นที่ปลอดภัย ความท้าทาย ปัจจุบันและอนาคต คำถามทำให้เราได้ทบทวนเรื่องราวในชีวิต ได้เห็นความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ

วิทยาศาสตร์สมองพาเราย้อนกลับไปทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งมีผลต่อการประกอบร่างตัวตนของเราในปัจจุบัน ระหว่างที่อ่านบทความนี้ คุณจะได้จินตนาการถึงตัวเองในเหตุการณ์ต่างๆ แม้เรื่องบางเรื่องอาจไม่ใช่เรื่องที่น่าจดจำ บางเรื่องเคยเกิดขึ้นแต่เรากลับมีความทรงจำแค่ลางๆ เพราะสมองได้แอบซ่อนเรื่องราวเอาไว้ การทำงานของสมองจึงเป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่ศึกษาได้ไม่รู้จบ

The Potential ยังคงอยู่กับข้อค้นพบของ แดเนียล เจ. ซีเกล (Daniel J. Siegel) ผู้อำนวยการสถาบัน และศาสตราจารย์คลินิกจิตเวชศาสตร์และทีมงาน ที่ศึกษาด้านประสาทชีววิทยาระหว่างบุคคลมาเป็นเวลากว่า 25 ปี ซีเกลใช้ การสนทนาแบบไตร่ตรอง (Reflective Conversation) เป็นเครื่องมือพาเรานั่งไทม์แมชชีนกลับไปคุยกับตัวเอง ผ่านชุดคำถาม ที่จะช่วยเชื่อมต่อความทรงจำในอดีตกับปัจจุบัน แล้วแนะนำให้เราทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นเสียใหม่ กระบวนการที่เกิดขึ้นจะช่วยคลี่คลายปมบางอย่างที่ไม่ได้ถูกสะสาง หรือบาดแผลจากบางเรื่องราวที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตในปัจจุบันโดยที่เราไม่รู้ตัว เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต และความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว ได้สร้างบาดแผลหรือเงื่อนปมอะไรไว้บ้าง หากเรามองข้ามเรื่องราวเหล่านั้น

การสนทนาแบบไตร่ตรองเป็นการพูดคุยกับตัวเองผ่าน ชุดคำถามสะท้อนความผูกพัน ที่มีหลากหลายหมวดหมู่ ไม่ว่าจะเป็น ภูมิหลัง ความสัมพันธ์ การพลัดพราก ระเบียบวินัย ความกลัวและการถูกคุกคาม การสูญเสีย การสื่อสารทางอารมณ์ พื้นที่ปลอดภัย ความท้าทาย ปัจจุบันและอนาคต คำถามทำให้เราได้ทบทวนเรื่องราวในชีวิต ได้เห็นความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ โดยเน้นไปที่ความผูกพันในครอบครัว แต่ลึกลงไป คือ การเสาะหาสาเหตุและที่มาของความเป็นตัวเราในปัจจุบัน ซีเกล บอกว่า หากเราทำความเข้าใจแล้วยกระดับความสัมพันธ์กับผู้คนรอบตัวให้อยู่ในจุดที่สร้างความอบอุ่นใจและวางใจได้ เราจะสร้างความรู้สึกมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตของตัวเองได้

ภูมิหลัง

  • คุณเติบโตมาจากครอบครัวแบบไหน?
  • ครอบครัวของคุณมีใครบ้าง?
  • พ่อแม่มีวิธีการ/ แนวทางการเลี้ยงลูกอย่างไรบ้าง?
  • วิธีการ/ แนวทางการเลี้ยงลูกในครอบครัวของคุณ มีเรื่องไหนที่คุณชอบหรือไม่ชอบ?
  • ถ้าคุณมีลูก คุณจะเลี้ยงลูกแบบเดียวกันหรือต่างออกไป?

ความสัมพันธ์

  • คุณมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพ่อแม่และคนในครอบครัวหรือเปล่า?
  • แล้วความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวเป็นอย่างไรบ้าง?
  • ความสัมพันธ์ของคุณกับคนในครอบครัวเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างในแต่ละช่วงอายุ?
  • คำจำกัดความสั้นๆ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับพ่อและแม่สมัยที่คุณอายุน้อยกว่านี้
  • นอกจากพ่อกับแม่แล้ว คุณสนิทหรือไว้ใจใครอีกบ้าง?

การพลัดพราก

  • คุณจำครั้งแรกที่คุณต้องแยกจากพ่อหรือแม่ของคุณได้ไหม?
  • สถานการณ์เป็นอย่างไร? พ่อแม่ของคุณทำอย่างไร?
  • ช่วงวัยเด็กคุณมีประสบการณ์ต้องแยกจากพ่อแม่นานๆ บ้างไหม? คุณรู้สึกอย่างไร?

ระเบียบวินัย

  • พ่อแม่มีวิธีการสอนเกี่ยวกับพฤติกรรมการแสดงออกของคุณอย่างไร?
  • พ่อแม่ใช้วิธีการลงโทษกับคุณหรือไม่?
  • เรื่องระเบียบวินัยที่วางไว้ มีผลต่อการพัฒนาตัวเองของคุณอย่างไรบ้าง?

ความกลัวและการถูกคุกคาม

  • เคยรู้สึกว่าโดนพ่อแม่ข่มขู่หรือเปล่า?
  • เคยรู้สึกว่าโดนปฏิเสธจากพ่อแม่หรือเปล่า?
  • คุณมีประสบการณ์ในชีวิตที่รู้สึกว่าเกินจะรับไหวบ้างหรือไม่ แล้วเหตุการณ์เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อชีวิตคุณอย่างไรบ้าง?
  • คุณยังรู้สึกกับเหตุการณ์เหล่านั้น คล้ายว่าเพิ่งเคยเกิดขึ้นไหม?

การสูญเสีย

  • คุณเคยมีประสบการณ์สูญเสียคนสำคัญในชีวิตบ้างไหม?
  • คุณเคยมีประสบการณ์ที่คนสำคัญในชีวิตทอดทิ้งคุณไปบ้างไหม?
  • ที่ผ่านมาการสูญเสียเหล่านั้นส่งผลต่อตัวคุณและครอบครัวอย่างไรบ้าง?
  • ความสูญเสียเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อตัวคุณอย่างไรในปัจจุบัน?

การสื่อสารทางอารมณ์

  • เวลาคุณมีความสุขหรือตื่นเต้นกับอะไรบ้างอย่าง พ่อแม่สื่อสารกับคุณยังไง?
  • จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากคุณรู้สึกเศร้า ไม่มีความสุข ได้รับบาดเจ็บ หรือป่วยขึ้นมา?
  • พ่อแม่รับมือกับอารมณ์ของคุณอย่างไร แตกต่างกันไหม?
  • เวลาคุณอยู่ในภาวะที่ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ตอนนี้คุณแสดงออก/ สื่อสารอย่างไรกับคนรอบข้าง?

พื้นที่ปลอดภัย

  • มีใครหรือสถานที่ไหนที่คุณสามารถหันหน้าเข้าหา เมื่อต้องการความช่วยเหลือหรือกำลังเจอเรื่องยากๆ ในชีวิต? คุณมีพื้นที่ปลอดภัยแบบนี้บางไหมในวัยเด็ก?
  • พื้นที่ปลอดภัยที่ว่ามีความสำคัญกับคุณมากขนาดไหน?
  • ตลอดเวลาที่ผ่านมา คุณรู้สึกว่าพ่อแม่เข้าใจคุณ อยู่เคียงข้างคอยปกป้องและให้กำลังใจคุณบ้างไหม?

ความท้าทาย

  • พ่อแม่สนับสนุนให้คุณออกไปค้นหาหรือผจญกับชีวิตมากแค่ไหน?
  • คุณรู้สึกปลอดภัยหรือไม่ เมื่อต้องออกไปทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองตั้งแต่เด็กๆ?

ปัจจุบัน

  • ความสัมพันธ์ของคุณกับพ่อแม่เป็นอย่างไรบ้างในปัจจุบัน?
  • คุณคิดว่าเพราะอะไรพ่อแม่ถึงแสดงออกแบบที่เขาทำอยู่?
  • คุณตัดสินใจไม่ทำอะไรบางอย่างเพราะพ่อแม่ไม่อยากให้ทำไหม?
  • คุณคิดว่าประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตของคุณที่ผ่านมา มีอิทธิพลต่อการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับคนรอบข้างหรือเปล่า?
  • คุณรู้สึกอย่างไรบ้าง เมื่อค้นพบว่าเรื่องราวต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในชีวิต หล่อหลอมตัวตนของคุณในปัจจุบัน?

และอนาคต

  • คุณอยากเห็นความสัมพันธ์ในอนาคตของคุณเป็นแบบไหน?
  • ความผูกพันรูปแบบต่างๆ ในชีวิตของคุณและประสบการณ์ในวัยเด็ก สามารถหล่อหลอมความเป็นตัวตนของคุณไปเป็นแบบไหนได้บ้าง?
  • ประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาเรื่องใดบ้างที่คุณคิดว่าเป็นข้อจำกัดและเป็นอุปสรรคต่อชีวิตของคุณในอนาคต?
  • คุณอยากเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างไรบ้างเพื่อเป็นตัวเองในแบบที่อยากเป็น?

         ชุดคำถามเหล่านี้พาคุณกลับไปเจออะไรบ้าง?

หลายคำถามเป็นคำถามที่ตอบได้ง่ายดาย แต่บางคำถามอาจทำให้เราหยุดชะงัก ต้องทบทวนและใช้เวลารื้อฟื้นความทรงจำ ภาพความทรงจำที่ย้อนกลับเข้ามาฉายให้เห็นการเดินทางของตัวเอง รูปแบบความผูกพันที่สร้างขึ้นระหว่างทางกับผู้คนที่เกี่ยวข้อง คำถามเหล่านี้ไม่ได้ต้องการตอกย้ำบางเรื่องราวที่แสนเจ็บปวด แต่เพื่อให้เรามองเห็นและยอมรับสิ่งที่หล่อหลอมความเป็นตัวตนของเราในปัจจุบัน ส่วนอนาคตที่ให้ความรู้สึกมั่นคงและปลอดภัยสามารถเกิดขึ้นได้จากการตั้งคำถามข้อต่อไปให้ชีวิตก้าวเดินต่อ

อ้างอิง
หนังสือ Brainstorm: The Power and Purpose of the teenage brain โดย แดเนียล เจ. ซีเกล (Daniel J. Siegel)

Tags:

ปม(trauma)การจัดการอารมณ์พื้นที่ปลอดภัยความกลัว (Fear)การสนทนาแบบไตร่ตรอง (Reflective Conversation)

Author:

illustrator

วิภาวี เธียรลีลา

นักเขียนอิสระที่อยากเข้าใจวิถีชีวิตผู้คน เลยพาตัวเองไปใช้ชีวิตในลอนดอน ปักกิ่ง เซินเจิ้นและอเมริกา กินมังสวิรัติ อินกับโภชนาการ กำลังเรียนเป็นนักปรับพฤติกรรมสุนัขและชอบกินกาแฟใส่ฟองนม

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • How to enjoy life
    การทำร้ายร่างกายตัวเอง (self-injury) ที่ไม่ใช่แค่การกดดัน ตำหนิตัวเอง

    เรื่อง ชัค ชัชพงศ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Myth/Life/Crisis
    กุลา: ด้อยค่าคนที่ตนอิจฉาในขณะที่เลียนแบบไปด้วย

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • How to enjoy life
    สู้กับความกลัว: เปลี่ยนจากแพนิก อยู่กับตัวเอง เป็นแบ่งปัน เชื่อมโยงกับคนอื่น

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศากิตติรัตน์ ปลื้มจิตร ภาพ ภาพพิมพ์ พิมมะรัตน์

  • Education trend
    เพราะผู้ใหญ่กลั่นแกล้งและไม่เคารพกัน เด็กๆ จึง BULLY ตาม

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • Early childhood
    5 วิธีฝึกลูกให้รู้จัก โกรธ เศร้า เหงา กลัว

    เรื่อง ภาพ บัว คำดี

ห้องเรียนที่เท่ากัน กับ ความจริงใจที่ไม่ต้องเอาอะไรมาแลก ของครูโปเต้ ธนา เอี่ยมบำรุงทรัพย์
Unique Teacher
2 September 2020

ห้องเรียนที่เท่ากัน กับ ความจริงใจที่ไม่ต้องเอาอะไรมาแลก ของครูโปเต้ ธนา เอี่ยมบำรุงทรัพย์

เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ ธีระพงษ์ สีทาโส

  • เบื้องหลังชีวิตครูสอนฟิสิกส์กับบรรยากาศห้องเรียนที่แสนสนุก ปลอดภัย และสบายใจ แม้ในวันที่ยากลำบากที่สุดกับการต้องยอมรับตัวเองในฐานะผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ครูโปเต้ – ธนา เอี่ยมบำรุงทรัพย์ โรงเรียนสุวรรณพลับพลาพิทยาคม ก็สามารถกลับมาสร้างการมีส่วนร่วมในห้องเรียนตามความเชื่อและความฝันของตัวเอง
  • “ทุกวันนี้เรามองเด็กมากขึ้น เราถึงรู้ว่าเด็กผ่านห้องเรียนที่อาจไม่ได้อย่างใจมาก่อน เขามีประสบการณ์แย่ๆ กับการเรียน ต่อให้เราสอนดีแค่ไหนเขาก็อาจจะไม่เปิดใจรับ เพราะฉะนั้นโจทย์คือ จะทำอย่างไรให้เปิดใจเขาได้ก่อน ยิ่งเด็กเรียนยิ่งเนียนเลยนะ เขาทำดูเหมือนตั้งใจ เหมือนเราควบคุมได้ แต่จริงๆ อาจจะผ่านหูซ้ายทะลุหูขวาไปเลย เขาอาจแค่ทำท่าให้ครูสบายใจว่าเขาเรียน เพราะฉะนั้น ครูต้องทำให้นักเรียนรู้สึกให้ได้ว่าเรามาเพื่อที่จะเข้าใจเขา อยากส่งเสริมและพัฒนาเขาจริงๆ”

ตามไปดูวิธีคิดและวิธีสอนของครูฟิสิกส์ที่ทำให้ห้องเรียนหมองๆ ฉายแสงสดใส ขณะที่บางครั้งครูเองก็ต่อสู้กับความดำดิ่งภายใน แต่ความจริงใจทำให้ทุกอย่างคลี่คลายและกำลังไปได้ดี

เบื้องหลังชีวิตครูสอนฟิสิกส์กับบรรยากาศห้องเรียนที่แสนสนุก ปลอดภัย และสบายใจ แม้ในวันที่ยากลำบากที่สุดกับการต้องยอมรับตัวเองในฐานะผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ครูโปเต้ – ธนา เอี่ยมบำรุงทรัพย์ โรงเรียนสุวรรณพลับพลาพิทยาคม ก็สามารถกลับมาสร้างการมีส่วนร่วมในห้องเรียนตามความเชื่อและความฝันของตัวเอง

ครูโปเต้ บอกว่า เพราะภายในตัวครูแต่ละคนมีพลังวิเศษ แล้วสิ่งนี้ก็ทำให้เขารับมือและอยู่กับความเครียด ความกดดัน ความกลัว และความวิตกกังวล ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ

ถึงวันนี้ โปเต้ก้าวเข้ามาเป็นครูอย่างเต็มตัวได้เข้าปีที่ 4 แล้ว เขายอมรับว่า อาชีพครูไม่ใช่ความฝันที่มีมาตั้งแต่ต้น แต่ระหว่างเส้นทางการเรียนรู้ของตัวเอง เขาได้พบว่าการออกแบบห้องเรียนให้ดีและมีคุณภาพ มีความท้าทายพอๆ กับอาชีพนักออกแบบที่เคยฝันถึง

ครูกับนักเรียนเท่ากัน

ปัจจุบัน โปเต้รับผิดชอบสอนวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 นับเป็นเทอมแรกตั้งแต่เริ่มเข้าทำงานที่เขาได้พักมือจากวิชาฟิสิกส์ แม้ว่าแต่ละปีการศึกษา ครูจะได้รับมอบหมายให้ดูแลการสอนนักเรียนต่างระดับกันออกไป แต่สิ่งหนึ่งที่โปเต้ยึดถือและเชื่อมั่นอยู่เสมอ คือ สมการในห้องเรียนที่ว่า “ครู = นักเรียน”

 “จะเรียนยังไงดี ทำอะไรดี?” โปเต้ ถามนักเรียนอย่างตรงไปตรงมา

ตึกภายในโรงเรียนสุวรรณพลับพลาพิทยาคมเป็นสีลูกกวาด ทาด้วยสีสันจัดจ้าน ตึกทั้ง 4 ด้านล้อมรอบสนามหญ้าซึ่งเป็นใจกลางของโรงเรียน วันที่เราแวะเข้าไปหาครูโปเต้ เป็นวันแข่งขันกีฬาสี เด็กๆ แต่งกายด้วยสีสันสดใส บ้างใส่ชุดกีฬา บ้างแต่งองค์ทรงเครื่องเตรียมการแสดง ระหว่างทางเราเห็นนักเรียนทักทายโปเต้อย่างให้ความเคารพ แต่ก็พูดคุยกันด้วยความใกล้ชิด 

โปเต้ บอกว่า แต่ละชั้นเรียนมีนักเรียนราว 20-25 คน เป็นตัวเลขที่กำลังดี แต่จะเป็นเรื่องน่าหนักใจมากทันที หากนักเรียนทั้งห้องพร้อมใจกันไม่อยากเรียนหนังสือ เหตุผลหลักๆ มีไม่มาก เพราะเด็กไม่อยากเรียนในสิ่งที่ไม่ชอบและตอบไม่ได้ว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร 

นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมครูกับนักเรียนถึงต้องเท่ากัน นั่นเพราะครูต้องรู้จักนักเรียนให้ได้มากที่สุดว่า นักเรียนชอบ / ไม่ชอบเรียนแบบไหน? ชอบ / ไม่ชอบทำอะไร? แล้วอยากเรียนอะไร? ซึ่งครูจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อรับฟังความคิดเห็นและสร้างการมีส่วนร่วมในห้องเรียน หรือที่เรียกว่า ประชาธิปไตยในห้องเรียน

“วิธีการสอนของเราไม่ตายตัว แต่เน้นที่บรรยากาศ ครูกับนักเรียนเท่ากัน ทำอย่างไรให้เมื่อเข้ามาในห้องเรียนแล้ว นักเรียนรู้สึกว่าเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัย ทำให้สบายใจ และสนุกกับการเรียนรู้ เมื่อมาเรียนนักเรียนต้องได้กลับไปมากกว่าความรู้”

“ตัวเราเป็นคนที่ชอบทำอะไรสนุกๆ ไม่ชอบเรียนเครียดๆ และชอบทำกิจกรรมอยู่แล้ว เมื่อมีประสบการณ์การสอนเพิ่มขึ้น และจากการไปอบรมต่างๆ  เราเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของตัวเอง คือ ไม่เอาความคิดของตัวเองเป็นหลัก ไม่คิดแค่ว่าเราชอบแบบนี้เลยจะทำอย่างนี้ แต่สนใจคนที่อยู่ตรงหน้ามากขึ้น สนใจความรู้สึกของเด็ก ถ้าเด็กไม่พร้อมเรียน เราจะทำอย่างไรให้เด็กพร้อม ถ้าเด็กเบื่อ เราต้องตั้งคำถามและสังเกตว่าจุดไหนที่ทำให้เด็กเบื่อ”

โปเต้ ยกตัวอย่างประสบการณ์การสอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังอยู่ในช่วงวัย “บ้าพลัง” ว่า

“เด็กวัยนี้พลังงานเยอะมาก ก่อนเข้าบทเรียนต้องชวนให้เขาเคลื่อนไหวร่างกายเยอะๆ เพราะเขาไม่อยากอยู่เฉยๆ แล้วค่อยกระตุกคอนเซปต์เนื้อหาบทเรียนเข้าไป ถ้าทำแบบนี้เด็กจะรับเข้าหัวและเข้าใจ”

“ทุกวันนี้เรามองเด็กมากขึ้น เราถึงรู้ว่าเด็กผ่านห้องเรียนที่อาจไม่ได้อย่างใจมาก่อน เขามีประสบการณ์แย่ๆ กับการเรียน ต่อให้เราสอนดีแค่ไหนเขาก็อาจจะไม่เปิดใจรับ เพราะฉะนั้นโจทย์คือ จะทำอย่างไรให้เปิดใจเขาได้ก่อน ยิ่งเด็กเรียนยิ่งเนียนเลยนะ เขาทำดูเหมือนตั้งใจ เหมือนเราควบคุมได้ แต่จริงๆ อาจจะผ่านหูซ้ายทะลุหูขวาไปเลย เขาอาจแค่ทำท่าให้ครูสบายใจว่าเขาเรียน เพราะฉะนั้น ครูต้องทำให้นักเรียนรู้สึกให้ได้ว่าเรามาเพื่อที่จะเข้าใจเขา อยากส่งเสริมและพัฒนาเขาจริงๆ”

ครูโปเต้ เล่าว่า เขาก็เคยผ่านความรู้สึกแย่ๆ กับการเรียนมาเช่นเดียวกัน เพราะไม่ได้เรียนในสิ่งที่อยากเรียนและใฝ่ฝัน แต่ทุกอย่างคลี่คลายเมื่อได้พบกับความท้าทายใหม่ที่ซ่อนตัวอยู่ภายใต้สิ่งที่กำลังเรียนรู้ ซึ่งถูกจริตกับความชอบของเขา

“ตอนเรียนชั้นปีที่ 3 มีวิชาที่ต้องเขียนแผน แล้วก็สอบสอน เรารู้สึกตื่นเต้นมาก ไม่ใช่พราะความกลัว แต่เพราะอยากทำและรู้สึกท้าทาย ยิ่งพอได้เรียนวิชาการออกแบบการสอนรูปแบบต่างๆ ยิ่งค้นพบว่าวิธีคิดของการออกแบบการสอน เชื่อมโยงกับอุดมการณ์ประชาธิปไตย เช่น การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทำอย่างไรให้ผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้ การสร้างการศึกษาที่ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วม จุดนั้นทำให้เรารู้สึกสนุกกับการเรียนมากขึ้น ก่อนหน้านี้เราสนใจเรื่องการเมืองอยู่แล้วแต่ไม่เคยมองว่าการศึกษาเป็นเรื่องการเมืองด้วยเหมือนกัน

“อีกอย่างการศึกษาก็มาเชื่อมโยงกับความอยากเป็นดีไซเนอร์ซึ่งเป็นความฝันของตัวเอง เราค้นพบอีกเหมือนกันว่าการเป็นครูต้องมีความเป็นนักออกแบบสูงมาก ไม่ใช่แค่ออกแบบสื่อการสอน ใบงาน หรือพาวเวอร์พอยท์ แต่คือการออกแบบกระบวนการและการออกแบบคน สุดท้ายแล้วถ้าครูเข้าใจความสำคัญของกระบวนออกแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาอะไรครูก็สอนได้”

ละลายพฤติกรรม เช็คความรู้สึก ดูพลังงานภาพรวมในห้องว่านักเรียนพร้อมเรียนหรือไม่ เป็นสิ่งที่ครูโปเต้นำมาใช้ในห้องเรียนก่อนเริ่มต้นเนื้อหาหลักแต่ละคาบเพื่อให้ห้องเรียนของเขาเป็นห้องเรียนที่สัมผัสได้ถึงความสบาย ปราศจากภาวะกดดัน ถึงแม้หลายครั้งในบางวัน เขาต้องรับมือกับความกดดันภายในตัวเอง  

“เราถามและสื่อสารกับเด็กอย่างตรงไปตรงมา ถามว่าวันนี้พวกเธอมีการบ้านเยอะหรือยังถ้าครูจะให้การบ้านอีก เราเข้าใจมากขึ้นว่าเป้าหมายของกิจกรรมที่นำมาใช้กับนักเรียนทั้งหมด เราทำเพื่ออะไร แล้วนักเรียนเองก็รู้ว่าเขาทำสิ่งนี้เป้าหมายที่ทำคืออะไร เพราะอะไร  เมื่อชัดและเข้าใจตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย ระหว่างนักเรียนกับครู สิ่งนี้ช่วยหนุนให้เด็กโฟกัสกับการเรียนในห้องเรียนได้ สังเกตว่าเด็กจะไม่ค่อยเล่นมือถือระหว่างที่เรียนอยู่”

“ชีวิตของเด็กไม่ได้มีแค่สอบ เด็กต้องเติบโตไปเป็นพลเมืองในสังคม ไปเป็นมนุษย์ในแบบที่เขาอยากจะเป็น เด็กเรียนกับเราควรได้อะไรมากกว่าแค่ได้ความรู้ไปสอบ ถ้าอยากสอบผ่าน ทำข้อสอบได้ แค่อ่านหนังสือ ฝึกทำโจทย์ คุณก็ทำข้อสอบได้ แต่ทุกวันนี้เด็กแทบไม่มีใจหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านแล้ว เพราะเด็กไม่มีความรู้สึกอยากเรียน ไม่รู้จะเรียนไปทำไม มีข้อสอบมาก็ไม่อ่าน ต่อให้บอกว่าจะออกข้อสอบข้อนี้ อยู่หน้านี้ เขาก็ไม่กา ไม่อ่าน ไม่สนใจ”

ครูโปเต้ บอกว่า การเรียนวิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ คือ การศึกษาธรรมชาติ ความเท่ากันระหว่างครูกับนักเรียนเป็นการสร้างสมดุลธรรมชาติในห้องเรียน ทำให้เด็กเปิดใจกับครู ครูจึงรู้จักเด็กดีขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็กจึงไม่ใช่แค่การเดินเข้ามาในห้องเรียนเพื่อเริ่มต้นการสอน แต่ห้องเรียนกลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่ทำให้เด็กมีความสนใจและตั้งใจเรียนมากขึ้น เมื่อเด็กกล้าแสดงความคิดเห็น กล้าถาม และปราศจากความกลัว จึงไม่มีอะไรเป็นอุปสรรคต่อการเรียนอีกต่อไป

แผลที่ไม่อยากจำ

มีภาวะเสี่ยงฆ่าตัวตาย ควบคุมสติอารมณ์ไม่ได้ คล้ายทุกอย่างมันพังอยู่ข้างใน!!

ปีก่อนโปเต้ถูกนำตัวส่งเข้าโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยจิตเวช เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายของเขาไม่สามารถรับมือกับการปรับยาให้เข้ากับอาการของโรคที่เผชิญอยู่ – เวียนหัว ลุกไม่ไหว ล้มทั้งยืน อยากตัดขาดจากโลกภายนอก กระทั่งอยากจบชีวิตตัวเอง เป็นภาวะที่เขาต้องเผชิญ

โปเต้ เล่าย้อนความว่า หลังบรรจุเข้ามาเป็นครูได้ปีเดียว เขาต้องเผชิญหน้ากับความสูญเสียเมื่อคุณย่าผู้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจเสียชีวิต ประกอบกับความกดดันที่ต้องอยู่ในระบบราชการการศึกษาไทยอย่างที่เป็นอยู่ ความเครียด ความวิตกกังวล และความกดดันทั้งหมด ทำให้เขาต้องต่อสู้ตัวต่อตัวกับ “โรคซึมเศร้า” อย่างไม่เคยคาดคิดมาก่อน

“อยู่คนเดียว นอนไม่หลับเป็นเดือน ตาค้างทั้งคืน คิดอยู่ในหัววนไปวนมาว่าทำไมเราไม่ทำแบบนี้ ทำไมเราต้องเจออย่างนี้….อยากตาย อยากตาย อยากตาย แต่ยังคิดกับตัวเองว่าคงเป็นแค่โรคเครียด พอไปหาหมอจิตเวช คุยกับหมอ 2 ชั่วโมง ร้องไห้ชนิดที่ไม่เคยร้องมาก่อนในชีวิต สรุปแล้วหมอบอกว่า…เป็นโรคซึมเศร้า”

“ตอนนั้นรับตัวเองไม่ได้เลยว่าป่วยเป็นโรคจิตเวช เราเคยมีทัศนคติลบต่อคนที่เป็นด้วยว่า ทำไมคิดเแบบนี้ ทำไมไม่ปรับความคิด แต่พอมาป่วยเอง รู้สึกเจ็บและอึ้งไปเลย”

ตอนเด็กๆ อยากอยู่โรงเรียนนานๆ ไม่อยากกลับบ้าน เพราะกลับบ้านไปต้องเจอพ่อแม่ทะเลาะกัน ครูโปเต้ เปิดเผยถึงชีวิตวัยเรียนซึ่งเป็นปมบาดแผลที่ถูกฉีกออก จนทำให้เขาหันมารับมือกับความดำดิ่งที่เกิดอย่างเข้าอกเข้าใจมากขึ้น

“บางครั้งเราเห็นแม่ร้องไห้อย่างไม่ได้สติ บางครั้งลากเราให้ไปอยู่ต่อหน้าพ่อ เพื่อรับฟังว่าพ่อเป็นแบบนี้ทุกครั้งที่ทะเลาะกัน ต่อให้เราเข้าห้องไปก็ถูกลากให้ออกมาฟัง มีความรุนแรงเกิดขึ้นในครอบครัว สถานการณ์แบบนี้สั่งสมมาตั้งแต่สมัยเป็นเด็กๆ แต่เรารับรู้ได้ชัดเจนตอนเรียนชั้นมัธยมปลาย เวลาเกิดปัญหาบางทีเราหนีมาหาย่าที่ท่าน้ำนนท์ เลยทำให้สนิทกับย่ามาก ”

นอกจากนี้ ตัวตนเรื่องเพศที่ไม่สามารถเปิดเผยกับพ่อแม่ได้ เป็นอีกเรื่องที่อึดอัดอยู่ข้างในมาตลอด ความอึดอัดสร้างความกลัวขึ้นมาครอบงำ แต่ในที่สุดเมื่อรู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคซึมเศร้า โปเต้จึงตัดสินใจบอกพ่อกับแม่ ถึงความเป็นตัวตนของเขา

“เรากลัว…กลัวพ่อแม่เสียใจ แต่พอเค้ารู้จริงๆ เค้าไม่ช็อค ไม่ตกใจอะไรเลย (หัวเราะ) เหมือนเราได้ยกภูเขาออกจากอก รู้สึกดีมาก สบายใจขึ้นเยอะมาก เรารู้สึกได้ว่าเรามีบ้าน มีครอบครัว จากที่เมื่อก่อนรู้สึกว่าต้องฝ่าฟันกับชีวิตของตัวเอง ตอนนี้สนิทกับพ่อแม่มากขึ้น กลับบ้านบ่อยขึ้น จากที่ไม่เคยโทรหาพ่อแม่ ก็โทรหากันเป็นเรื่องปกติ”

“ถ้าเป็นเมื่อก่อนเจออะไรเข้ามากระทบนิดนึง เราจะเซ็งไม่อยากทำอะไรเลย คุดคู้นั่งก้มหน้า หน้างออยู่หลังห้อง หรือหลบไปอยู่ที่อื่น ไม่อยากเจอใคร”

ถึงตอนนี้นอกจากการเรียนการสอนที่สร้างความสนุกสนานให้กับนักเรียนแล้ว โปเต้ยังเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในเวทีต่างๆ และร่วมจัดเวิร์คชอปเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ป่วย คนรอบข้าง และผู้คนในสังคม

“ต้องเข้าใจว่าคนป่วยเป็นโรคนี้ไม่ได้อยากป่วย บาดแผลมันมีที่มาจากการอยู่ในสภาพแวดล้อมแย่ๆ กับเรื่องบางเรื่องนานๆ แล้วมันก็สะสม จนทำให้สมองหลั่งสารที่เป็นปัญหาออกมา ทั้งหมดนี้เป็นทั้งแผล ทั้งพลังที่ผลักดัน ทำให้เรามุ่งมั่นว่าจะไม่ให้คนอื่นต้องโดนอย่างที่เราเคยโดนอีก ทุกครั้งที่ได้ทำมันเป็นการทบทวนกับตัวเองว่า อะไรพาให้เรามาถึงจุดนี้ จริงๆ แล้วเราควรแก้ตรงไหน พอเราได้เห็นด้วยตัวเองก็เอาประสบการณ์ที่เรียนรู้มาแบ่งปันคนอื่น ชวนคนอื่นมาเรียนรู้ไปกับเรา เพราะยังมีอีกหลายคนมากเลยที่ยังไม่เข้าใจโรคนี้จริงๆ”

“ถ้าอยากช่วยคนเป็นโรคซึมเศร้า ต้องอย่าทำแค่ให้เขารู้สึกว่าเขาต้องพยายามช่วยตัวเองเท่านั้น แต่ต้องทำให้เขารู้สึกว่ามีคนซัพพอร์ต คำพูดทำนองว่า สู้ๆ นะ มันตอกย้ำ ทำให้รู้สึกแย่กว่าเดิม…เพราะเราสู้จะตายอยู่แล้ว (ลากเสียงยาว) แต่ทำไมไม่มาสู้กับเราล่ะ มาช่วยเราหน่อย”

“มีอะไรให้ช่วยมั้ย มีอะไรอยากเล่าให้ฟังมั้ย…บอกได้นะ”  โปเต้ บอกว่า เป็นประโยคที่คนเป็นโรคซึมเศร้าอยากได้ยิน

แม้ยังคงรักษาอาการป่วยอย่างต่อเนื่อง แต่ครูโปเต้ก็ได้เรียนรู้การอยู่กับปัจจุบันขณะและรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง การรู้เท่าทันทำให้เขาสามารถตั้งรับและรับมือกับสภาวะอารมณ์ได้ดีขึ้น ไม่ต้องปลอบใจตัวเองเหมือนที่ผ่านมาว่า ไม่นะ…ฉันไม่ได้เศร้า! แต่ยอมรับกับตัวเองว่า…ฉันเศร้า แล้วฉันจะทำยังไงต่อ นอกจากนี้ เขายังใช้การสอนเป็นตัวตั้ง เป็นหลักวัดความสำเร็จในแต่ละวัน ความสุขและความเพลิดเพลินในห้องเรียนกลายเป็นตัวทดความเศร้าเมื่อเขาต้องกลับไปอยู่ห้องพักคนเดียวหลังเลิกงาน

“อย่างถ้าเริ่มรู้สึกอึดอัด มีเรื่องไม่สบายใจ กลับเข้าห้องมาเราก็พยายามหาเรื่องออกไปข้างนอก หาอะไรทำเพื่อให้ไม่คิดฟุ้งซ่าน แต่สำหรับการสอน เราวางบทบาทไม่ให้นักเรียนรู้ว่าเราเศร้า เพราะ การเรียนรู้ต้องอาศัยพลังงานเชิงบวก เรารู้ว่าอารมณ์ของเราส่งผลต่อการเรียนของเด็ก ถ้าเราไม่มีพลังงานที่ดี เด็กก็ไม่มีให้เราเหมือนกัน บางครั้งก็ต้องฝืนตัวเองหน่อยเพื่อส่งพลังงานและสร้างบรรยากาศที่ดีในห้องเรียน แต่กับเพื่อนร่วมงานเราเปิดเผยตัวเองได้ เพราะหลังจากเข้าโรงพยาบาลออกมาเมื่อเทอมที่แล้ว หลายคนเข้าใจในสิ่งที่เราเป็นมากขึ้น สัมผัสได้ว่าเขาห่วงเราด้วยความจริงใจ ถามตลอดว่าเป็นยังไงบ้าง มันช่วยให้การทำงานราบรื่นและไม่ต้องเป็นกังวล” 

‘จริงใจ’ (Sincerity)      

เราให้ครูโปเต้เลือกบัตรคำที่อธิบายถึงความเป็นตัวเองขึ้นมา 1 ใบ จากบัตรคำทั้งหมด 24 ใบ “จริงใจ” เป็นคำที่โปเต้เลือก

การมองเห็นคุณค่าความรู้สึกของนักเรียน ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน ซึ่งส่งผลทางตรงต่อการเรียนรู้ ครูโปเต้ บอกว่า ความจริงใจทำให้การเรียนรู้ ‘ฟู’ ขึ้นมาได้เยอะมาก

“เราอยากให้เด็กจริงใจกับเรา เราเลยจริงใจกับเด็ก พยายามเปิดพื้นที่ เปิดรับความรู้สึกของเด็กๆ ที่เข้ามาในห้องเรียนของเรา อยากให้เขาเห็นว่าความรู้สึกของเขามีความหมาย บางครั้งเห็นเด็กมาเรียนหน้าตาไม่โอเค เราก็ถามเขาว่าเป็นอะไรหรือเปล่า

ความสัมพันธ์ที่ดี ทำให้บรรยากาศการเรียนดี เอื้อให้การเรียนรู้เดินหน้าไปได้ ยิ่งเด็กได้ช่วย ได้มีส่วนร่วมมากเท่าไร เด็กจะยิ่งรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของการเรียนรู้ การเรียนรู้นี้จะติดตัวเขาไปตลอด ดีกว่าการที่ครูควบคุมอยู่คนเดียว คุมเกมอยู่คนเดียวในชั้นเรียน”

แต่ไม่ใช่แค่ ‘ความจริงใจ’ ที่มีต่อนักเรียนเท่านั้น ครูต้องมีความจริงใจต่อตัวเองด้วย

“ครูทุกคนมีความพิเศษในตัวเอง มีความเป็นตัวของตัวเองด้วยกันทั้งนั้น เพียงแต่มีข้อจำกัดอะไรหรือเปล่าที่ทำให้ครูไม่ได้เป็นตัวของตัวเองอย่างเต็มที่ อยากให้ครูสอนอย่างที่ตัวเองเชื่อ ถ้าความเชื่อนั้นมีเป้าหมายเพื่ออนาคตที่ดีของนักเรียน เชื่ออย่างไรสอนอย่างนั้นแล้วให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ผลลัพธ์ในสิ่งที่ทำ

“ถ้าคิดไม่ออกว่าจะสอนแบบไหน ออกแบบการสอนยังไง ให้อ่าน The Potential (หัวเราะ) จริงๆ นะ อ่านหนังสือเยอะๆ มูลนิธิสยามกัมมาจลมีหนังสือหลายเล่มมากที่เป็นไอเดียให้ครูได้ หนังสือของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช หรือ นพ.ประเสิรฐ ผลิตผลการพิมพ์ ก็ได้ หลายๆ เล่มช่วยให้เราออกแบบหลักสูตรได้เร็วขึ้น”

Tags:

unique teacherพื้นที่ปลอดภัยเทคนิคการสอน

Author:

illustrator

วิภาวี เธียรลีลา

นักเขียนอิสระที่อยากเข้าใจวิถีชีวิตผู้คน เลยพาตัวเองไปใช้ชีวิตในลอนดอน ปักกิ่ง เซินเจิ้นและอเมริกา กินมังสวิรัติ อินกับโภชนาการ กำลังเรียนเป็นนักปรับพฤติกรรมสุนัขและชอบกินกาแฟใส่ฟองนม

Photographer:

illustrator

ธีระพงษ์ สีทาโส

คนถ่ายภาพ คนทำละครเร่ กระบวนกร คนทำงานสื่อสารที่เลือกข้างแล้ว ชอบมองหาการเมืองในชีวิตประจำวัน เสพติดนิโคตินและแอกอฮอล์ ไม่มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ยกเว้นจำเป็นเพื่อความอยู่รอด ความฝันคือได้เป็นคนเท่ๆ ตอนอายุ 50 ที่นั่งจิบเบียร์เย็นๆ รสชาติหลากหลายในราคาเอื้อมถึงได้ทุกวันบนประเทศที่มีรัฐสวัสดิการดี ตอนนี้กำลังมีส่วนร่วมดันกลุ่มช่างภาพ REALFRAME ที่ตัวเองเข้าไปเป็นสมาชิกให้แมส

Related Posts

  • Unique Teacher
    เด็กผู้ชายชอบสีชมพู นักเรียนติครู ความปกติในห้องเรียนอนุบาลของ ‘ครูนกยูง’ ปานตา ปัสสา

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • Unique Teacher
    ‘จงทำให้เด็กรู้สึกโชคดีที่มีเราเป็นครู’ ครูคณิตที่นิยามตัวเองเป็น ‘นักการศึกษา’ ของครูร่มเกล้า ช้างน้อย (2)

    เรื่อง สัญญา มัครินทร์ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Voice of New Gen
    Deschooling Game ถอดวิธีคิดคนสร้างเกม ออกแบบประสบการณ์อย่างไรให้รู้สึกรู้สมจนอยากเปลี่ยนแปลง

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษาณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ ธีระพงษ์ สีทาโส

  • Unique Teacher
    ห้องแนะแนวที่เต็มไปด้วยเรื่องเล่า อารมณ์ น้ำตา และคนรับฟัง ของครูต้น-เบญจวรรณ บุญคลี่

    เรื่อง The Potential ภาพ ศรุตยา ทองขะโชค

  • Learning Theory
    ชวนครูสร้างพื้นที่ปลอดภัย ช่วยให้นักเรียนกล้าเสี่ยงที่ผิดพลาด แล้วเขาจะเติบโต

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชครูใหม่ วิมลศรี ศุษิลวรณ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

Posts navigation

Older posts
Newer posts

Recent Posts

  • ‘นิทานปากเปล่า’ เล่าความรักให้ลูกฟัง สร้างจินตนาการ สานสัมพันธ์ในครอบครัว: แม่จาว – วัชราวรรณ เพชรบุล
  • ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP4: การซึมซับและปรับตัว 
  • เปลี่ยนระบบนิเวศโรงเรียนเป็นสนามพลังบวก ยกระดับเด็กด้อยโอกาสสู่เด็กได้โอกาส: ผอ.วรรณรักษ์ หงษ์ทอง
  • F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง
  • Myth Universe : จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์สู่ Edutainment ความรู้นอกห้องเรียนที่เริ่มต้นจากคำถามและการเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง

Recent Comments

  • Existential crisis: วิกฤตชีวิตที่มาพร้อมกับคำถาม “แล้วฉันอยู่เพื่ออะไร” – EducationNet on Midlife Crisis: เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ทำไมใจถึงวิกฤต
  • The Psychological Wounds of Winnie the Pooh and His Friends: Exploring Characters from a Classic Literary Work - World Today News on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • Exploring the Psychological Wounds of Winnie the Pooh and Friends: A Fascinating Analysis - Archyde on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • 6 วิธีฝึกสอนให้ลูกเป็นเด็กมี Critical Thinking ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต – โรงเรียนมารีวิทยา ป on CRITICAL THINKING: สอนเด็กให้รู้คิด ผิดหรือถูกก็ใช้วิจารณญาณเป็น
  • Best รูป พลเมือง ดี Update New – Haiduongcompany.com on สอนและสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เรื่องไม่ง่ายที่ครูทำได้

Archives

  • July 2025
  • June 2025
  • May 2025
  • April 2025
  • March 2025
  • February 2025
  • January 2025
  • December 2024
  • November 2024
  • October 2024
  • September 2024
  • August 2024
  • July 2024
  • June 2024
  • May 2024
  • April 2024
  • March 2024
  • February 2024
  • January 2024
  • December 2023
  • November 2023
  • October 2023
  • September 2023
  • August 2023
  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • October 2021
  • September 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • April 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • November 2019
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017

Categories

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Uncategorized
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel