Skip to content
ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)
  • Creative Learning
    Creative learningLife Long LearningEveryone can be an EducatorUnique Teacher
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Transformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent Brain
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)
How to enjoy lifeAdolescent Brain
2 September 2020

11 ชุดคำถาม ชวนนั่งไทม์แมชชีนกลับไปคุยกับอดีตเพื่อรู้จักและเข้าใจตัวเอง

เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • ชวนไปรู้จักเครื่องมือที่จะทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น ‘การสนทนาแบบไตร่ตรอง (Reflective Conversation)‘ พาเรานั่งไทม์แมชชีนกลับไปคุยกับตัวเอง ผ่านชุดคำถาม ที่จะช่วยเชื่อมต่อความทรงจำในอดีตกับปัจจุบัน แล้วแนะนำให้เราทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นเสียใหม่ กระบวนการที่เกิดขึ้นจะช่วยคลี่คลายปมบางอย่างที่ไม่ได้ถูกสะสาง หรือบาดแผลจากบางเรื่องราวที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตในปัจจุบันโดยที่เราไม่รู้ตัว
  • ผ่าน ชุดคำถามสะท้อนความผูกพัน ที่มีหลากหลายหมวดหมู่ ไม่ว่าจะเป็น ภูมิหลัง ความสัมพันธ์ การพลัดพราก ระเบียบวินัย ความกลัวและการถูกคุกคาม การสูญเสีย การสื่อสารทางอารมณ์ พื้นที่ปลอดภัย ความท้าทาย ปัจจุบันและอนาคต คำถามทำให้เราได้ทบทวนเรื่องราวในชีวิต ได้เห็นความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ

วิทยาศาสตร์สมองพาเราย้อนกลับไปทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งมีผลต่อการประกอบร่างตัวตนของเราในปัจจุบัน ระหว่างที่อ่านบทความนี้ คุณจะได้จินตนาการถึงตัวเองในเหตุการณ์ต่างๆ แม้เรื่องบางเรื่องอาจไม่ใช่เรื่องที่น่าจดจำ บางเรื่องเคยเกิดขึ้นแต่เรากลับมีความทรงจำแค่ลางๆ เพราะสมองได้แอบซ่อนเรื่องราวเอาไว้ การทำงานของสมองจึงเป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่ศึกษาได้ไม่รู้จบ

The Potential ยังคงอยู่กับข้อค้นพบของ แดเนียล เจ. ซีเกล (Daniel J. Siegel) ผู้อำนวยการสถาบัน และศาสตราจารย์คลินิกจิตเวชศาสตร์และทีมงาน ที่ศึกษาด้านประสาทชีววิทยาระหว่างบุคคลมาเป็นเวลากว่า 25 ปี ซีเกลใช้ การสนทนาแบบไตร่ตรอง (Reflective Conversation) เป็นเครื่องมือพาเรานั่งไทม์แมชชีนกลับไปคุยกับตัวเอง ผ่านชุดคำถาม ที่จะช่วยเชื่อมต่อความทรงจำในอดีตกับปัจจุบัน แล้วแนะนำให้เราทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นเสียใหม่ กระบวนการที่เกิดขึ้นจะช่วยคลี่คลายปมบางอย่างที่ไม่ได้ถูกสะสาง หรือบาดแผลจากบางเรื่องราวที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตในปัจจุบันโดยที่เราไม่รู้ตัว เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต และความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว ได้สร้างบาดแผลหรือเงื่อนปมอะไรไว้บ้าง หากเรามองข้ามเรื่องราวเหล่านั้น

การสนทนาแบบไตร่ตรองเป็นการพูดคุยกับตัวเองผ่าน ชุดคำถามสะท้อนความผูกพัน ที่มีหลากหลายหมวดหมู่ ไม่ว่าจะเป็น ภูมิหลัง ความสัมพันธ์ การพลัดพราก ระเบียบวินัย ความกลัวและการถูกคุกคาม การสูญเสีย การสื่อสารทางอารมณ์ พื้นที่ปลอดภัย ความท้าทาย ปัจจุบันและอนาคต คำถามทำให้เราได้ทบทวนเรื่องราวในชีวิต ได้เห็นความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ โดยเน้นไปที่ความผูกพันในครอบครัว แต่ลึกลงไป คือ การเสาะหาสาเหตุและที่มาของความเป็นตัวเราในปัจจุบัน ซีเกล บอกว่า หากเราทำความเข้าใจแล้วยกระดับความสัมพันธ์กับผู้คนรอบตัวให้อยู่ในจุดที่สร้างความอบอุ่นใจและวางใจได้ เราจะสร้างความรู้สึกมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตของตัวเองได้

ภูมิหลัง

  • คุณเติบโตมาจากครอบครัวแบบไหน?
  • ครอบครัวของคุณมีใครบ้าง?
  • พ่อแม่มีวิธีการ/ แนวทางการเลี้ยงลูกอย่างไรบ้าง?
  • วิธีการ/ แนวทางการเลี้ยงลูกในครอบครัวของคุณ มีเรื่องไหนที่คุณชอบหรือไม่ชอบ?
  • ถ้าคุณมีลูก คุณจะเลี้ยงลูกแบบเดียวกันหรือต่างออกไป?

ความสัมพันธ์

  • คุณมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพ่อแม่และคนในครอบครัวหรือเปล่า?
  • แล้วความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวเป็นอย่างไรบ้าง?
  • ความสัมพันธ์ของคุณกับคนในครอบครัวเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างในแต่ละช่วงอายุ?
  • คำจำกัดความสั้นๆ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับพ่อและแม่สมัยที่คุณอายุน้อยกว่านี้
  • นอกจากพ่อกับแม่แล้ว คุณสนิทหรือไว้ใจใครอีกบ้าง?

การพลัดพราก

  • คุณจำครั้งแรกที่คุณต้องแยกจากพ่อหรือแม่ของคุณได้ไหม?
  • สถานการณ์เป็นอย่างไร? พ่อแม่ของคุณทำอย่างไร?
  • ช่วงวัยเด็กคุณมีประสบการณ์ต้องแยกจากพ่อแม่นานๆ บ้างไหม? คุณรู้สึกอย่างไร?

ระเบียบวินัย

  • พ่อแม่มีวิธีการสอนเกี่ยวกับพฤติกรรมการแสดงออกของคุณอย่างไร?
  • พ่อแม่ใช้วิธีการลงโทษกับคุณหรือไม่?
  • เรื่องระเบียบวินัยที่วางไว้ มีผลต่อการพัฒนาตัวเองของคุณอย่างไรบ้าง?

ความกลัวและการถูกคุกคาม

  • เคยรู้สึกว่าโดนพ่อแม่ข่มขู่หรือเปล่า?
  • เคยรู้สึกว่าโดนปฏิเสธจากพ่อแม่หรือเปล่า?
  • คุณมีประสบการณ์ในชีวิตที่รู้สึกว่าเกินจะรับไหวบ้างหรือไม่ แล้วเหตุการณ์เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อชีวิตคุณอย่างไรบ้าง?
  • คุณยังรู้สึกกับเหตุการณ์เหล่านั้น คล้ายว่าเพิ่งเคยเกิดขึ้นไหม?

การสูญเสีย

  • คุณเคยมีประสบการณ์สูญเสียคนสำคัญในชีวิตบ้างไหม?
  • คุณเคยมีประสบการณ์ที่คนสำคัญในชีวิตทอดทิ้งคุณไปบ้างไหม?
  • ที่ผ่านมาการสูญเสียเหล่านั้นส่งผลต่อตัวคุณและครอบครัวอย่างไรบ้าง?
  • ความสูญเสียเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อตัวคุณอย่างไรในปัจจุบัน?

การสื่อสารทางอารมณ์

  • เวลาคุณมีความสุขหรือตื่นเต้นกับอะไรบ้างอย่าง พ่อแม่สื่อสารกับคุณยังไง?
  • จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากคุณรู้สึกเศร้า ไม่มีความสุข ได้รับบาดเจ็บ หรือป่วยขึ้นมา?
  • พ่อแม่รับมือกับอารมณ์ของคุณอย่างไร แตกต่างกันไหม?
  • เวลาคุณอยู่ในภาวะที่ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ตอนนี้คุณแสดงออก/ สื่อสารอย่างไรกับคนรอบข้าง?

พื้นที่ปลอดภัย

  • มีใครหรือสถานที่ไหนที่คุณสามารถหันหน้าเข้าหา เมื่อต้องการความช่วยเหลือหรือกำลังเจอเรื่องยากๆ ในชีวิต? คุณมีพื้นที่ปลอดภัยแบบนี้บางไหมในวัยเด็ก?
  • พื้นที่ปลอดภัยที่ว่ามีความสำคัญกับคุณมากขนาดไหน?
  • ตลอดเวลาที่ผ่านมา คุณรู้สึกว่าพ่อแม่เข้าใจคุณ อยู่เคียงข้างคอยปกป้องและให้กำลังใจคุณบ้างไหม?

ความท้าทาย

  • พ่อแม่สนับสนุนให้คุณออกไปค้นหาหรือผจญกับชีวิตมากแค่ไหน?
  • คุณรู้สึกปลอดภัยหรือไม่ เมื่อต้องออกไปทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองตั้งแต่เด็กๆ?

ปัจจุบัน

  • ความสัมพันธ์ของคุณกับพ่อแม่เป็นอย่างไรบ้างในปัจจุบัน?
  • คุณคิดว่าเพราะอะไรพ่อแม่ถึงแสดงออกแบบที่เขาทำอยู่?
  • คุณตัดสินใจไม่ทำอะไรบางอย่างเพราะพ่อแม่ไม่อยากให้ทำไหม?
  • คุณคิดว่าประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตของคุณที่ผ่านมา มีอิทธิพลต่อการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับคนรอบข้างหรือเปล่า?
  • คุณรู้สึกอย่างไรบ้าง เมื่อค้นพบว่าเรื่องราวต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นในชีวิต หล่อหลอมตัวตนของคุณในปัจจุบัน?

และอนาคต

  • คุณอยากเห็นความสัมพันธ์ในอนาคตของคุณเป็นแบบไหน?
  • ความผูกพันรูปแบบต่างๆ ในชีวิตของคุณและประสบการณ์ในวัยเด็ก สามารถหล่อหลอมความเป็นตัวตนของคุณไปเป็นแบบไหนได้บ้าง?
  • ประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาเรื่องใดบ้างที่คุณคิดว่าเป็นข้อจำกัดและเป็นอุปสรรคต่อชีวิตของคุณในอนาคต?
  • คุณอยากเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างไรบ้างเพื่อเป็นตัวเองในแบบที่อยากเป็น?

         ชุดคำถามเหล่านี้พาคุณกลับไปเจออะไรบ้าง?

หลายคำถามเป็นคำถามที่ตอบได้ง่ายดาย แต่บางคำถามอาจทำให้เราหยุดชะงัก ต้องทบทวนและใช้เวลารื้อฟื้นความทรงจำ ภาพความทรงจำที่ย้อนกลับเข้ามาฉายให้เห็นการเดินทางของตัวเอง รูปแบบความผูกพันที่สร้างขึ้นระหว่างทางกับผู้คนที่เกี่ยวข้อง คำถามเหล่านี้ไม่ได้ต้องการตอกย้ำบางเรื่องราวที่แสนเจ็บปวด แต่เพื่อให้เรามองเห็นและยอมรับสิ่งที่หล่อหลอมความเป็นตัวตนของเราในปัจจุบัน ส่วนอนาคตที่ให้ความรู้สึกมั่นคงและปลอดภัยสามารถเกิดขึ้นได้จากการตั้งคำถามข้อต่อไปให้ชีวิตก้าวเดินต่อ

อ้างอิง
หนังสือ Brainstorm: The Power and Purpose of the teenage brain โดย แดเนียล เจ. ซีเกล (Daniel J. Siegel)

Tags:

ปม(trauma)การจัดการอารมณ์พื้นที่ปลอดภัยความกลัว (Fear)การสนทนาแบบไตร่ตรอง (Reflective Conversation)

Author:

illustrator

วิภาวี เธียรลีลา

นักเขียนอิสระที่อยากเข้าใจวิถีชีวิตผู้คน เลยพาตัวเองไปใช้ชีวิตในลอนดอน ปักกิ่ง เซินเจิ้นและอเมริกา กินมังสวิรัติ อินกับโภชนาการ กำลังเรียนเป็นนักปรับพฤติกรรมสุนัขและชอบกินกาแฟใส่ฟองนม

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Myth/Life/Crisis
    กุลา: ด้อยค่าคนที่ตนอิจฉาในขณะที่เลียนแบบไปด้วย

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Character building
    ‘รับมือ’ และ ‘สร้างขวัญกำลังใจ’ เพื่อก้าวผ่านความกลัว (แม้ขายังสั่นอยู่) โดยนักจิตวิทยาโรงเรียน

    เรื่อง เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to enjoy life
    สู้กับความกลัว: เปลี่ยนจากแพนิก อยู่กับตัวเอง เป็นแบ่งปัน เชื่อมโยงกับคนอื่น

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศากิตติรัตน์ ปลื้มจิตร ภาพ ภาพพิมพ์ พิมมะรัตน์

  • Education trend
    เพราะผู้ใหญ่กลั่นแกล้งและไม่เคารพกัน เด็กๆ จึง BULLY ตาม

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • Early childhood
    5 วิธีฝึกลูกให้รู้จัก โกรธ เศร้า เหงา กลัว

    เรื่อง ภาพ บัว คำดี

  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel