Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย

Month: May 2018

สิ่งที่พ่อแม่ควรทำก่อนตัดสินใจโพสต์รูปของลูกลง SOCIAL MEDIA
Early childhood
24 May 2018

สิ่งที่พ่อแม่ควรทำก่อนตัดสินใจโพสต์รูปของลูกลง SOCIAL MEDIA

เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

สิ่งที่พ่อแม่ควรทำก่อนตัดสินใจโพสต์รูปของลูกลง Social Media:

  • ขออนุญาตลูกก่อนโพสต์ เมื่อลูกโตพอที่จะบอกความรู้สึก หรือแสดงความคิดเห็นได้
  • เลือกรูปที่ลูกใส่เสื้อผ้าปิดมิดชิด เหมาะสม
  • ตั้งค่า social media เป็น privacy เห็นกันเฉพาะกลุ่ม
  • ปิด location
  • เขียนบรรยายภาพด้วยถ้อยคำที่ให้เกียรติลูก สุภาพ และเหมาะสม
  • คุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของลูกให้เป็นความลับ
  • ที่สำคัญคือ ทุกรูปที่โพสต์ลง social media ไปแล้วจะไม่สามารถเรียกคืน หรือควบคุมได้

ทุกรูปที่โพสต์ลงโซเชียลมีเดียไปแล้วจะไม่สามารถเรียกคืนหรือควบคุมได้ ไม่ว่าพ่อแม่จะลบออกหน้าโซเชียลมีเดียของตัวเอง ก็ไม่อาจแน่ใจได้ว่าคนอื่นจะไม่ได้รูปของลูกเรา

ดังนั้น พ่อแม่จะต้องคิดพิจารณาให้ดี ว่ารูปนี้จะเกิดโทษกับลูกในอนาคตหรือไม่ เช่น การโพสต์รูปของลูกที่อาจส่งผลให้ลูกอับอายในอนาคต หรือ คนอื่นนำรูปลูกเราไปโพสต์ต่อ ด้วยข้อความที่เป็นเท็จ และไม่เหมาะสม เป็นต้น

Tags:

ปฐมวัยโซเชียลมีเดียความปลอดภัยไซเบอร์ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกรsharenting

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Illustrator:

illustrator

บัว คำดี

เติบโตมากับเพลงป็อปแดนซ์ยุค 2000 เริ่มเป็นติ่งวงการ k-pop ในวัยมัธยม มีเพลงการ์ตูนดิสนีย์เป็นพลังใจในทุกช่วงวัยของชีวิต

Related Posts

  • Movie
    Social Dilemma พลังการเก็บข้อมูล digital footprint ที่กำลังหลอกหลอนเรา

    เรื่อง พิมพ์พาพ์ ภาพ พิมพ์พาพ์

  • Early childhoodEF (executive function)
    “อุ้มหนูหน่อย” = ลูกกำลังเสียเซลฟ์ พ่อแม่สร้างตัวตนให้ลูกได้ผ่านการเลี้ยงดู

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา ภาพ ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Family Psychology
    “ไม่ต้องมีพ่อแม่ที่ดี มีแค่พ่อแม่ที่ธรรมดา” หมอโอ๋ เลี้ยงลูกนอกบ้าน

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนาทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ ภาพ สิทธิกร ขุนนราศัย

  • Family Psychology
    ทำไมพ่อกับแม่ถึงชอบแชร์เรื่องของหนู?

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • Social IssuesEarly childhood
    ทำความเข้าใจร่วมกัน โพสต์รูปลูกลงโซเชียลแค่ไหนจึง ‘ปลอดภัย’ ไม่ทำร้ายเด็ก

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดีทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

อยากให้เด็กชอบวิทย์และชอบอ่าน ต้องให้นักบินอวกาศเล่านิทานให้ฟัง
Education trend
24 May 2018

อยากให้เด็กชอบวิทย์และชอบอ่าน ต้องให้นักบินอวกาศเล่านิทานให้ฟัง

เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • อยากให้เด็กๆ หันมาสนใจทั้งวิทยาศาสตร์และการอ่าน ก็ต้องชวนนักบินอวกาศมาอ่านนิทานให้ฟัง
  • นี่คือตัวอย่างการบูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่างๆ (STEM Education) เข้ากับการอ่านผ่านรูปแบบที่เข้าถึงเด็กได้ง่ายๆ
  • นอกจากความสนุกจากนิทาน ของแถมชิ้นใหญ่คือ การได้เห็นนักบินอวกาศลอยไปเล่าไปในบรรยากาศสถานีอวกาศนานาชาติจริงๆ เลยล่ะ

คุณกำลังประสบปัญหาลูกไม่ชอบฟังนิทานหรือทำท่าเบื่อหน่ายเวลาคุณอ่านหนังสือให้ฟังใช่ไหม?

ลองให้นักบินอวกาศผมชี้ฟู ลอยไปมาในสภาวะไร้น้ำหนักของยานอวกาศอ่านให้พวกเขาฟังสิ

อย่างเช่นเรื่องนี้

“…คุณย่าโรสคว้าโรซีมากอดไว้แน่น หอมเธอฟอดใหญ่ และเริ่มร้องไห้อย่างยินดี ‘หลานทำได้แล้ว ไชโย! เป็นความพยายามครั้งแรกที่สมบูรณ์แบบมากๆ ได้เวลาเริ่มครั้งต่อไปแล้วล่ะ’ หนูน้อยโรซีอับอายและงุนงง ‘แต่หนูทำพังนะคะ พังหมดเลย’ คุณย่าตอบว่า ‘ก็ใช่ มันพังหมดแล้ว แต่ก่อนที่จะพัง มันบินได้ใช่ไหมล่ะ ความล้มเหลวที่ยอดเยี่ยมในครั้งแรกจะนำไปสู่ความสำเร็จนะจ๊ะหลานรัก’ …”

แคธลีน รูบินส์ (Kathleen Rubins) นักบินอวกาศหญิงกำลังอ่านหนังสือเรื่อง Rosie Revere, Engineer เรื่องราวของเด็กหญิงโรซีขี้อาย ผู้ฝันอยากเป็นวิศวกร และกำลังพยายามเติมเต็มความฝันของคุณย่าโรสที่อยากบินขึ้นไปบนท้องฟ้า – รูบินส์ เป็นหนึ่งในทีมนักบินอวกาศของโครงการ Story Time from Space โครงการนี้เป็นของ มูลนิธิเพื่อการศึกษาอวกาศโลก (Global Space Education Foundation) ซึ่งได้รวบรวมนักบินอวกาศสุดเท่ที่กำลังปฏิบัติภารกิจอยู่นอกโลก มาอ่านหนังสือเด็กยอดนิยมมากมายขณะลอยไปมาอยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติ

ทำไมต้องอ่านในอวกาศ?

แพทริเซีย ไทรบ์ (Patricia Tribe) อดีตผู้อำนวยการด้านการศึกษาแห่งศูนย์อวกาศฮุสตัน ในสังกัดขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NASA) เป็นต้นคิดไอเดียนี้ เธอคิดถึงการรวมเรื่องของอวกาศและการอ่านเข้าด้วยกัน หลังจากได้ทำวิจัยเกี่ยวกับทักษะด้านการอ่านและวิทยาศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา เธอตัดสินใจผสมผสานแนวการศึกษาที่ได้บูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาต่างๆ (STEM Education) เข้ากับการอ่านในวิธีที่เข้าถึงเยาวชนได้ง่ายๆ

Story Time from Space เริ่มต้นด้วยการทดสอบนักบินโดย เบนจามิน อัลวิน ดรูว์ จูเนียร์ หรือที่คนอื่นๆ เรียกเขาว่า อัลวิน ดรูว์ นักบินอวกาศที่ร่วมเริ่มไอเดียนี้กับไทรบ์ เขาเป็นนักบินอวกาศคนแรกที่อ่านหนังสือในโครงการนี้ โดยเขาอ่านเรื่อง ‘He read Max Goes to the Moon’ ของ เจฟฟรีย์ เบนเนตต์ นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์และนักเขียน ในระหว่างการปฏิบัติภารกิจสุดท้ายในยานอวกาศดิสคัฟเวอรี

“อะไรคือต้นแบบที่ดีในการกระตุ้นให้เด็กๆ สนใจวิทยาศาสตร์และการอ่าน” ไทรบ์บอก “คุณไม่ได้แค่กำลังดูหรือฟังเรื่องราวในหนังสือ แต่คุณกำลังเห็นสิ่งที่อยู่ภายในสถานีอวกาศนานาชาติจริงๆ เลยล่ะ”

ทีมงาน The Story Time from Space มีทั้งนักบินอวกาศ นักวิทยาศาสตร์ นักการศึกษา และอีกหลายวิชาชีพที่มีส่วนสำคัญในการเลือกหนังสือแต่ละเล่ม

พวกเขาต้องเลือกหนังสือที่เหมาะจะอ่านให้จบภายในเวลาไม่เกิน 15 นาที มีการบูรณาการความรู้ และสำคัญที่สุดคือความถูกต้องของข้อมูลทุกอย่าง

“เราไม่อยากให้เด็กๆ ได้รับข้อมูลที่ผิดๆ ไปหรอกนะ” ไทรบ์กล่าว

บางครั้ง สมาชิกในทีมก็ได้รับหนังสือจากนักเขียนที่ต้องการให้หนังสือได้รับการพิจารณาด้วย ทางทีมงานจะมีรายการหนังสือมากมายที่น่าสนใจและได้รับการแนะนำ เป็นหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการบูรณาการความรู้ในหัวข้อมากมาย ตั้งแต่ฟิสิกส์ วิศวกรรม จนถึงชีววิทยา – และแน่นอน เป็นหนังสือสำหรับเด็กทั้งหมด

เมื่อได้หนังสือที่ผ่านการพิจารณาแล้ว ทางทีมก็จะพูดคุยปรึกษาคัดเลือกหนังสือที่เหมาะสมและเหมาะกับกลุ่มอายุที่หลากหลาย

ค้นฟ้าหานักบินอวกาศมาเล่า

นอกจากจะใช้เวลาในการหาหนังสือที่ใช่แล้ว ตัวนักบินอวกาศที่จะมาอ่านก็ต้องผ่านการคัดเลือกเหมือนกัน ส่วนหนึ่งเป็นอาสาสมัครและอีกส่วนหนึ่งเป็นคนที่ได้รับเชิญมาอ่าน ด้วยภูมิหลังทางการศึกษาหรือความพิเศษอื่นๆ

ไทรบ์กล่าวว่า เมื่อถึงประเด็นของคนที่จะอ่านหนังสือแต่ละเล่ม ทีมงานของเธอพยายามอย่างหนักที่จะสร้างความหลากหลายให้เกิดขึ้น อย่างเช่น เธอคิดว่าสำคัญมากๆ ที่เรื่อง ‘Rosie Revere, Engineer’ จะต้องได้ผู้หญิงที่ทำงานในสถานีอวกาศนานาชาติมาอ่าน เช่นเดียวกับคนอ่าน ‘Max Goes to the Space Station’ ที่คนหนึ่งคือ ไมค์ ฮอปกินส์ นักบินอวกาศชาวอังกฤษ และ วากาตะ โคอิชิ นักบินอวกาศชาวญี่ปุ่น – เพราะเด็กๆ ที่จะได้ฟังมีหลากหลายเพศ วัย เชื้อชาติ และผู้รับหน้าที่อ่านก็เป็นเหมือนตัวแทนเด็กๆ เหล่านั้น

ตอนนี้ โครงการ The Story Time from Space Program กำลังขยายกิจกรรมมากขึ้น ทางทีมกำลังเดินหน้าเพื่อทำวิดีโอแสดงการทดลองทางวิทยาศาสตร์อย่างง่ายสำหรับเด็กๆ จากในสถานีอวกาศ การทดลองเหล่านั้นจะสอดคล้องกับโครงการและงานวิจัยที่พวกเขาตั้งใจแบ่งปันให้กับบรรดาครูผู้สอนและบรรณารักษ์อีกมากมายบนพื้นโลกด้วย

ขณะเดียวกัน ก็ยังมีหนังสืออีกหลายเล่มที่กำลังเดินทางไปหานักบินอวกาศนักอ่านเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ‘A Moon of My Own’ ของ เจนนิเฟอร์ รัสต์กี ‘The Rhino Who Swallowed A Storm’ ของ เลวาร์ เบอร์ตัน และ ซูซาน เชเฟอร์ เบอร์นาโด รวมถึง ‘Moustronaut’ ของนักบินอวกาศ มาร์ค เคลลี

เรียกได้ว่า Story Time from Space กำลังบอกและทำให้เด็กๆ ดูว่า การเรียนและการอ่านสามารถสร้างความบันเทิงสนุกสนานได้

“ทุกคนชอบคิดว่าอวกาศมันเท่ดี เพราะฉะนั้น วิธีอะไรจะจับใจผู้ชมและเด็กๆ ได้ดีไปกว่าอวกาศล่ะ” ไทรบ์บอก

ที่มา:
Your Kids Can Now Watch Astronauts Reading Stories From Space
FYI, You Can Watch Astronauts Read Popular Kids Books From Space

Tags:

STEMวิทยาศาสตร์นิทาน

Author:

illustrator

ลีน่าร์ กาซอ

ประชากรชาวฟรีแลนซ์ที่เพลิดเพลินกับเรื่องสยองกับของเผ็ด และเป็นมนุษย์แม่ที่ศึกษาจิตวิทยาเด็กอย่างเอาเป็นเอาตาย

Related Posts

  • Space
    Space Inspirium:  แหล่งการเรียนรู้ที่ชวนคนทุกวัยท่องอวกาศไปด้วยกัน

    เรื่อง ชุติมา ซุ้นเจริญ ภาพ ปริสุทธิ์

  • Early childhood
    ข้อคิดสะกิดใจในนิทาน ‘ซินเดอเรลลา’ สาวน้อยผู้ไม่เคยหยุดฝันและไม่ลังเลที่จะยืนยันสิทธิของตัวเอง

    เรื่อง รัชดา ธราภาค ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Early childhood
    ทำเรื่อง ‘เล่น’ ให้จริงจัง: เมื่อองค์ความรู้ด้านออกแบบมาชนกับพัฒนาการและจิตวิทยาเด็ก

    เรื่องและภาพ ณิชากร ศรีเพชรดี

  • EF (executive function)
    อ่าน เล่น ทำงาน: อ่าน-สมองและจิตใจของเด็กสร้างขึ้นมาได้อย่างไร ตอนที่ 1

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • Creative learning
    ให้ละครหุ่นบอกเด็กน้อยว่า อย่ายอมให้ผู้ใหญ่มาปิดกั้นจินตนาการของเรานะ

    เรื่อง

ทอ-ไอ-ยอ-ไทย แอพไทยเพื่อเด็กอ่านไม่ออก ฝีมือโปรแกรมเมอร์ ม.6
Voice of New Gen
22 May 2018

ทอ-ไอ-ยอ-ไทย แอพไทยเพื่อเด็กอ่านไม่ออก ฝีมือโปรแกรมเมอร์ ม.6

เรื่อง

  • ภีร์ คือ หนึ่งในผู้พัฒนาโปรแกรม ทอ-ไอ-ยอ-ไทย ที่ใช้เป็นสื่อในการสอนวิชาภาษาไทยสำหรับเด็กชั้นอนุบาลจนถึงประถมศึกษาปีที่ 1
  • แรกเริ่มภีร์ไม่ได้สนใจประเด็นปัญหาเรื่องการศึกษา หรือปัญหาสังคม แต่ได้รับการชักชวนจากครูที่ปรึกษา มาทำงานในโครงการต่อกล้าฯ รุ่นที่ 3
  • ภีร์เปลี่ยนความสนใจจากการวาดรูป มาสู่การเป็นโปรแกรมเมอร์จากการมาเข้าร่วมโครงการ และเพราะเธอรู้สึกว่ามันทำอะไรได้มากกว่าการวาดรูป
  • สมองของวัยรุ่นมีคุณสมบัติในการเปลี่ยนแปลงตัวเองสูงที่สุด (Plasticity) เพื่อประมวลผลและตัดสินว่าอะไรจำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตต่อไปในอนาคต
เรื่อง วรุตม์ นิมิตยนต์

Plasticity คือหนึ่งในความพิเศษของสมองวัยรุ่น อธิบายในภาษาวิทยาศาสตร์ คือ คุณสมบัติการเปลี่ยนแปลงการเชื่อมต่อใยประสาทได้ดีที่สุด อธิบายให้ง่ายกว่านั้น คือ วัยรุ่นเป็นช่วงที่สมองกำลังเติบโต และพยายามอย่างหนักในการปรับเปลี่ยนตัวเองว่าแบบไหนจะดีที่สุดในการใช้ชีวิตต่อไป

ทว่าความน่าสนใจอยู่ตรงที่ “สมองของวัยรุ่น” ไม่ได้เลือกรับว่าสิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี สมองรู้แต่เพียงว่า อะไรที่ถูกให้ความสำคัญมาก ถูกคิดถึงบ่อย ถูกใช้บ่อยๆ แสดงว่าสิ่งนั้นคือสิ่งสำคัญที่ต้องเก็บเอาไว้ใช้

‘ภีร์’ คือ วัยรุ่นคนนั้นที่เอา Plasticity มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ภีร์-ณัฐกนก โภคทรัพย์ไพบูลย์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หนึ่งในผู้พัฒนาโปรแกรม ทอ-ไอ-ยอ-ไทย สื่อภาษาไทยสำหรับเด็กอ่านไม่ออก สะกดคำไม่ได้ ชั้นอนุบาล-ป.1 แต่ตอนที่เธอพัฒนาโปรแกรมนั้น เธอยังเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปี่ที่ 6 แผนกการเรียนวิทย์-คณิต โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์

“เริ่มต้นจากการทำกราฟิกแอนิเมชั่น ทำสูจิบัตรให้โรงเรียน ครูเห็นว่ามีความสามารถก็ถามว่าสนใจไหม ชวนมาลองแข่งดู” ภีร์เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการเข้ามาร่วมทำงานในโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ ที่สนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามาพัฒนาผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ผู้ใช้งาน ภีร์ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ และได้ลองนำสิ่งที่ตัวเองมีอยู่มาใช้ประโยชน์

ทำไมต้อง ทอ-ไอ-ยอ-ไทย

“หนูสนใจประเด็นทางสังคมตั้งแต่ก่อนหน้านี้ที่ทำแอพพลิเคชั่นซาลาเปามิลเลียนแนร์ ในโครงการต่อกล้าฯ รุ่นที่ 3 ซึ่งเป็นแอพที่สอนเกี่ยวกับการลงทุนเล่นหุ้น รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องใกล้ตัวแต่ทำไมหนังสือต้องทำให้เป็นเรื่องยาก”

สิ่งที่ภีร์สะท้อน น่าจะไม่ต่างจากวัยรุ่นส่วนใหญ่ ที่ต้องเจอตำราหนังสือจำนวนมาก ใช้ชีวิตหลายปีอยู่ในห้องเรียน แม้หนังสือเรียนรุ่นใหม่อาจจะปรับปรุง เพิ่มภาพประกอบ รูปเล่มสวยงาม หรือเพิ่มลูกเล่นบางอย่างแล้ว แต่ก็ยังยากอยู่ดี

“อยากจะเปลี่ยนจากหนังสือเป็นอย่างอื่นบ้าง หนังสือมันน่าเบื่อ มันไม่น่าสนใจสำหรับเด็ก ถ้าลองเปลี่ยนเป็นการ์ตูน หรืออะไรที่น่าสนใจ ก็น่าจะช่วยดึงดูดเด็กๆ ได้มากขึ้น”

จึงกลายมาเป็นแนวคิดตั้งต้นที่ใช้ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่น ทอ-ไอ-ยอ-ไทย ร่วมกับรุ่นพี่ในกลุ่มอีกสองคน

แต่การพัฒนาแอพพลิเคชั่นใดๆ นั้น ต้องเริ่มจาก ‘ปัญหา’ ที่ต้องการแก้ก่อน

“แรกๆ หนูไม่ได้สนใจปัญหานี้เลย ทั้งที่ทุกโรงเรียนก็มีปัญหาเด็กอ่านหนังสือไม่ออก”

ภีร์เล่าช่วงต้นในการค้นปัญหา

“ตอนไปปรึกษาครูฝ้ายที่เป็นที่ปรึกษา ก็ถามว่าสนใจไหม หนูก็มองว่ามันน่าสนใจนะ ถ้ามีโอกาสช่วยเด็กที่อ่านหนังสือไม่ออกได้ก็น่าภูมิใจ”

ปัญหาเด็กอ่านหนังสือไม่ออก ไม่ได้มาเพราะความอยากรู้ แต่ครูที่ปรึกษาคือคนผลักดันให้ภีร์และเพื่อนๆ ลงสนามจริง ไปพูดคุย สัมภาษณ์  สอบถามกับกลุ่มครู เพื่อค้นให้ได้ว่า จริงๆ แล้วปัญหานี้เกิดจากอะไร ขั้นตอนต่อมาคือ เก็บข้อมูล นำมาเป็นวัตถุดิบสำคัญในการพัฒนาแอพพลิเคชั่น

“หลังจากพัฒนาขึ้นมา ก็ลองเอาไปใช้ที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิง เพราะที่นั่นมีปัญหา เด็กช่วงประถมต้น อ่านหนังสือไม่ออก เพราะจำเสียงสระ และเสียงพยัญชนะไม่ได้ ทำให้เวลาสะกดคำเกิดความสับสน เสียงตอบรับส่วนใหญ่ออกมาในทิศทางดีมาก เด็กๆ ที่มาลองใช้ก็สนใจ ทำให้สะกดคำได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น” ภีร์เล่าถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น หลังจากที่เมื่อนำไปจัดแสดงและมีคนสนใจอยากให้ทดลองนำไปใช้งานจริง

“โครงการต่อกล้าฯ ก็เป็นจุดเปลี่ยนอีกจุดหนึ่งที่ทำให้เห็นว่า พอเห็นปัญหาแล้วหาอะไรมาตอบโจทย์ปัญหา มันดีกว่าการทำอะไรออกมาแล้วใช้ไม่ได้จริง”

“เมื่อมันออกแบบมาจากปัญหาอยู่แล้ว ก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพียงแต่เราต้องมาดูว่าจะทำให้เกิดผลมากน้อยได้อย่างไร” ภีร์บอกถึงแนวคิดสำคัญที่ขับเคลื่อนให้เกิดเป็น ทอ-ไอ-ยอ-ไทย และอะไรคือสิ่งที่เป็นกุญแจสำคัญ ที่สร้างให้เกิดการแก้ไขปัญหา หรือการเปลี่ยนแปลงขึ้น

เปลี่ยนปัญหาเป็นพลัง แค่คลิกเดียว

แม้จะผ่านความสำเร็จมาระดับหนึ่ง แต่ด้วยวัยแล้ว ภีร์ก็ยังอยู่ในชุดนักศึกษา ประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้เธอมักชอบทำงานเป็นทีมเวิร์ค ทั้งในรูปแบบงานกลุ่ม งานคณะ หรือ คณะกรรมการในสภาฯ

สิ่งนี้อาจมาจากสายตาของภีร์ที่ชอบมองไกลไปมากกว่าแค่ตัวเอง มักโฟกัสไปที่ผู้คนรอบๆ เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นรอบตัว และไม่นิ่งดูดายกับปัญหานั้น จนนำไปสู่ความฝันหลังเรียนจบ

“คิดว่าอยากจะทำแอพพลิเคชั่นอะไรสักอย่าง ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาในสังคมของเรา” เธอตอบด้วยรอยยิ้ม

จากการพูดคุยกับภีร์ พบว่าสิ่งที่น่าสนใจมาก คือการพบว่าแท้จริงแล้ววัยรุ่นที่ผู้ใหญ่หรือคนในสังคมส่วนใหญ่มักจะพร่ำบ่นกันว่า วัยรุ่น เป็นวัยที่มักจะสนใจแต่เรื่องของตัวเองเป็นหลัก ผู้ใหญ่ด่วนสรุปจำนวนไม่น้อย เลือกปล่อยให้พวกเขาอยู่ในโลกของตัวเองแบบนั้น หรือในทางกลับกันก็พยายามดึงวัยรุ่นออกมาจากโลกของเขาโดยไม่สนใจในสิ่งที่พวกเขาเป็น

ถ้าเราเข้าใจว่าพวกเขากำลังอยู่ในช่วงที่สมองกำลัง ‘หิวกระหาย’ ในการซึมซับดึงเอาทุกสิ่งที่ตัวเองสนใจมาก่อร่างเป็นตัวตน นั่นหมายความว่าหากผู้ใหญ่เห็นว่า ประเด็นทางสังคม และการเรียนรู้ ทำความเข้าใจมนุษย์ผู้อื่นเป็นเรื่องสำคัญ สิ่งที่ทำได้และดีที่สุดคือ เชื่อมโยงเรื่องเหล่านั้นเข้ากับความสนใจของพวกเขา ใช้แรงสนับสนุนและกำลังใจเหล่านั้นเป็นสะพานเพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้

เหมือนที่ครูฝ้ายใส่ใจและใช้ความชอบด้านไอที ชักชวนภีร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา ทอ-ไอ-ยอ-ไทย ก่อนจะหมุนความสนใจให้กว้างออกไปสู่ประเด็นปัญหาทางสังคม เป็นพื้นที่ให้ได้ทดลองทำในสิ่งที่ชอบ ขณะเดียวกันก็ชวนคิดชวนคุยถึงการลงไปค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้น ผ่านโครงการต่อกล้าฯ ที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์การแก้ไขปัญหาสังคมด้วยสิ่งที่ตอบโจทย์ปัญหานั้น

แอพพลิเคชั่น ทอ-ไอ-ยอ-ไทย นอกจากจะเป็นประโยชน์สำหรับเด็กเล็กที่อ่านไม่ออก สะกดไม่ได้ ยังถือเป็นการเรียนรู้ครั้งสำคัญของภีร์ ที่ได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Learning by Doing) กลายเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่า ควรจดจำ

สำคัญที่สุด คือ วัยรุ่นคนนี้กลายเป็นพลเมืองที่มองเห็นปัญหา พร้อมลุกขึ้นมาสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อไป

Tags:

วัยรุ่นโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่นวัตกรรมนวัตกร

Author:

Related Posts

  • Voice of New Gen
    รดิศ ค้าไม้: จากเด็กติดเกมสู่นักออกแบบเกม เกมเป็นครู เป็นความฝัน และผู้สอนทักษะการบริหาร

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Voice of New Gen
    ALGOLAXY: แอพฯ สอนอัลกอรึทึม เปลี่ยนความงงเป็นโอกาส ฝึกคิดให้เป็นระบบ 1-2-3-4

    เรื่อง

  • Voice of New Gen
    จากเด็กที่ไม่รู้กระทั่งชื่อต้นไม้ กลายเป็นผู้คิดค้นเจลรักษาโรคให้กบ

    เรื่องและภาพ The Potential

  • Growth & Fixed Mindset
    ‘กล้า’ เด็กหนุ่มที่เติบโตและอีโก้หายไปในโรงเพาะเห็ด

    เรื่อง

  • Unique Teacher
    ‘ครูฝ้าย’ ครูผู้ชักใยและชวนเด็กๆ ออกไปใช้ชีวิตนอกห้องเรียนด้วย PROJECT BASED LEARNING

    เรื่อง

ทำความเข้าใจร่วมกัน โพสต์รูปลูกลงโซเชียลแค่ไหนจึง ‘ปลอดภัย’ ไม่ทำร้ายเด็ก
Social IssuesEarly childhood
22 May 2018

ทำความเข้าใจร่วมกัน โพสต์รูปลูกลงโซเชียลแค่ไหนจึง ‘ปลอดภัย’ ไม่ทำร้ายเด็ก

เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดีทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

  • ข้อดีของการโพสต์รูปเด็กๆ ลงโซเชียลมีเดีย คือคนในครอบครัวที่อยู่ห่างไกลยังรู้สึกใกล้ชิดกับเด็กๆ ผู้ปกครองได้รับฟีดแบ็คที่ดีจากคนที่ดูคลิปทำให้เขายิ่งอยากจะลงรูปเด็กอีกเรื่อยๆ
  • ในข้อดีมีข้อเสีย เพราะทุกรูปที่โพสต์ลงไปจะฝังในอินเทอร์เน็ตตลอดไป ขณะเดียวกันมันคือการให้ข้อมูลส่วนตัวกับสาธารณะ เข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชนและถือว่าไม่ปกป้องข้อมูลของเด็ก
  • ไม่ใช่ว่าห้ามลงโซเชียลมีเดียเลย แต่ถึงเวลาต้องทำความเข้าใจร่วมกัน ถึงข้อควรระวังในการใช้ชีวิตจริงในโซเชียลมีเดีย
ภาพ: พิศิษฐ์ บัวศิริ

สืบเนื่องจากกรณีน้องเป่าเปาโดนแฟนคลับหยิก (ด้วยความรัก-ตามการชี้แจง) ซึ่งสังคมให้ความเห็นอย่างมากมายหลากหลาย ทีมงาน Potential ต่อสายตรงถึง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เจ้าของงานวิจัย “101S เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวก&พัฒนาการสมอง จิตใจ และพฤติกรรม” ถามความเห็นต่อประเด็นดังกล่าว

สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจร่วมกันในการโพสต์รูปลูกๆ ลงโซเชียลมีเดีย เพราะภายใต้ความน่ารักน่าเอ็นดูที่คุณพ่อแม่อยากส่งต่อ มันคือข้อมูลส่วนตัวพื้นฐาน ความปลอดภัย และมีผลต่อจิตใจของเด็กในอนาคต

การบอกว่า ‘ไม่ให้โพสต์รูปตัวเองลงโซเชียลมีเดียนะ’ เป็นสิทธิ์ของเด็กใ้ช่หรือไม่ แต่การจะถามเด็กเล็กเรื่องนี้ย่อมเป็นไปไม่ได้ แล้วพ่อแม่ควรทำความเข้าใจเรื่องนี้อย่างไร

ปัจจุบัน โลกโซเชียลได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของหลายๆ คนไปแล้ว หรืออาจเรียกได้ว่า โลกโซเชียลได้กลายเป็นโลกแห่งความเป็นจริง และโลกแห่งความเป็นจริงกลายเป็นโลกโซเชียลจากเมื่อก่อนตื่นมา จิบกาแฟ อ่านหนังสือพิมพ์ พูดคุยกับครอบครัว อาบน้ำ แต่งตัว ไปทำงาน แต่ปัจจุบัน โซเชียลมีเดียแทบจะเป็นอย่างแรกที่เราเช็คเมื่อตื่นนอน และเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะทำก่อนเข้านอน โซเชียลมีเดียทำให้การเข้าถึงสมาชิกครอบครัว ญาติ เพื่อน หรือคนรู้จัก ได้ง่ายขึ้น ติดต่อผู้คนได้มากขึ้น ไกลขึ้น และเร็วขึ้น ส่งผลให้พฤติกรรมใหม่ๆ ของเราเกิดขึ้นมากมาย

Sharenting คือ พฤติกรรมของพ่อแม่ที่โพสต์รูปลูกลงโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวอย่างของพฤติกรรมใหม่ของพ่อแม่ในยุคสมัยนี้ แน่นอนว่าการลงโพสต์รูปของลูกที่ยังเป็น Baby หรือ ยังเป็นเด็กเล็กอยู่ เป็นสิทธิ์ของพ่อแม่ สามารถทำได้ แต่เมื่อลูกเริ่มมีพัฒนาการด้านตัวตน มีความรู้สึกนึกคิดที่ชัดเจน สามารถบอกความรู้สึก และแสดงความคิดเห็นได้ (ประมาณ 3 ขวบเป็นต้นไป) ก่อนลงรูป พ่อแม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากลูกก่อน

ถึงแม้ว่า การโพสต์รูปของลูกในโซเชียลมีเดีย มีข้อดีมากมาย เช่น เพื่อส่งข่าวสารให้ครอบครัวคนรู้จัก หรือเพื่อเก็บเป็นความทรงจำดี ๆ แต่การโพสต์รูปลูกลงโซเชียลมีเดียแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็เป็นโทษเช่นกัน

พ่อแม่อาจจะเข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ เช่น สิทธิในการถูกคุ้มครอง ซึ่งเป็นหนึ่งในสิทธิขั้นพื้นฐานที่เด็กจะต้องได้รับจากผู้เลี้ยงดู หรือการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของเด็ก

ดังนั้นก่อนโพสต์รูปของลูก พ่อแม่จำเป็นจะต้องคำนึงถึงสิทธิของลูกที่พ่อแม่ต้องคุ้มครองด้วย

สิ่งที่พ่อแม่ควรทำก่อนตัดสินใจโพสต์รูปของลูกลง Social Media:

  • ขออนุญาตลูกก่อนโพสต์ เมื่อลูกโตพอที่จะบอกความรู้สึก หรือแสดงความคิดเห็นได้
  • เลือกรูปที่ลูกใส่เสื้อผ้าปิดมิดชิด เหมาะสม
  • ตั้งค่า social media เป็น privacy เห็นกันเฉพาะกลุ่ม
  • ปิด location
  • เขียนบรรยายภาพด้วยถ้อยคำที่ให้เกียรติลูก สุภาพ และเหมาะสม
  • คุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของลูกให้เป็นความลับ
  • ที่สำคัญคือ ทุกรูปที่โพสต์ลง social media ไปแล้วจะไม่สามารถเรียกคืน หรือควบคุมได้

ทุกรูปที่โพสต์ลงโซเชียลมีเดียไปแล้วจะไม่สามารถเรียกคืน หรือควบคุมได้ ไม่ว่าพ่อแม่จะลบออกหน้าโซเชียลมีเดียของตัวเอง ก็ไม่อาจแน่ใจได้ว่าคนอื่นจะไม่ได้รูปของลูกเราไป

ดังนั้น พ่อแม่จะต้องคิดพิจารณาให้ดี ว่ารูปนี้จะเกิดโทษกับลูกในอนาคตหรือไม่ เช่น การโพสต์รูปของลูกที่อาจส่งผลให้ลูกอับอายในอนาคต หรือ คนอื่นนำรูปลูกเราไปโพสต์ต่อ ด้วยข้อความที่เป็นเท็จ และไม่เหมาะสม เป็นต

การโพสต์รูปเด็กๆ สิ่งที่ปรากฏไม่ใช่ภาพน่ารักน่าเอ็นดู แต่คือข้อมูลพื้นฐาน เช่น ชื่อ อายุ สถานที่อยู่อาศัย พวกเขากำลังทำอะไร ไปที่ไหน ข้อมูลเหล่านี้เสี่ยงต่อการขโมยข้อมูล และการลักพาตัวเด็ก หรือเข้าไปแอบตาม แอบทำร้ายได้

ที่จริงแล้ว ทุกคน ทุกวิชาชีพ มีหน้าที่ปกป้องสิทธิส่วนตัว และเคารพสิทธิของผู้อื่น ไม่เว้นแม้แต่โลกโซเชียลที่เราก็ต้องรู้จักปกป้องสิทธิของตนเอง และเคารพสิทธิของผู้อื่นด้วย ก่อนจะโพสต์อะไร หรือจะคอมเมนต์ใคร ก็ต้องคิดพิจารณาก่อนว่า เมื่อแชร์ลงโลกโซเชียลไปแล้ว จะกลายเป็นเป้าให้ผู้อื่นเข้ามาล่วงละเมิดสิทธิเราได้หรือไม่

เพราะเมื่อแชร์ลงไปแล้ว ก็เหมือนเราวางคุกกี้ไว้บนโต๊ะ เปิดช่องทางให้ผู้อื่นเข้ามาหยิบชิมฟรีๆ ได้ ชื่นชมก็ได้ ตำหนิก็ได้ แถมเอากลับบ้านได้อีกด้วย ดังนั้นหากสิ่งที่จะโพสต์เป็นเรื่องส่วนตัว ที่เราไม่พร้อมจะให้คนอื่นมาละเมิดสิทธิเรา เราก็ต้องไม่โพสต์ ไม่แชร์ ปกป้องสิทธิของตัวเองไว้ หากในโลกแห่งความเป็นจริง เราคอยระแวดระวัง ไม่ทิ้งกระเป๋าตังค์ หรือของมีค่าไว้ในที่สาธารณะอย่างไร บนโลกโซเชียลเราก็ต้องระวังอย่างนั้น

แต่สิ่งสำคัญที่เพิ่มเติมสำหรับผู้ใหญ่ทุกคนในสังคม ก็คือ ช่วยกันเคารพและคุ้มครองสิทธิของเด็กจนกว่าพวกเขาจะสามารถปกป้องสิทธิของตัวเองได้ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานกับเด็กปฐมวัย นอกจากจะต้องคำนึงถึงการเคารพ และปกป้องสิทธิของเด็กแล้ว ยังจะต้องคอยเป็นกระบอกเสียงให้เด็กๆ คอยพิทักษ์สิทธิเด็ก คอยสื่อสารกับผู้ปกครอง และสังคมให้มีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติเรื่องคุ้มครองสิทธิเด็กได้อีกด้วย

การเป็นที่นิยมอาจส่งผลทางจิตวิทยาต่อเด็กอย่างไร โดยเฉพาะผลกระทบต่อตัวเด็กเองในอนาคต เช่น การรับรู้ว่าตัวเองเป็น ‘สาธารณะ’ มาตั้งแต่เด็ก การได้รับความรักจากผู้คนจำนวนมาาย การได้รับสิทธิพิเศษบางอย่างมากกว่าเด็กทั่วไป ความรู้สึกไม่มีเพื่อนเพราะวัยเดียวกันไม่มีพ่อแม่เป็นคนดังหรือทำกิจกรรมต่างจากเด็กทั่่วไป เช่น ออกรายการโทรทัศน์ ออกงานอีเวนท์ ฯลฯ

ตามหลักการพัฒนาการมนุษย์ พัฒนาการที่สำคัญของเด็กเล็กวัย 0-3 ปี คือ พัฒนาการด้านการรับรู้ตัวตน หรือ sense of self ซึ่งเป็นพัฒนาการพื้นฐานที่มีความสำคัญมาก และส่งผลต่อพัฒนาการ 4 ด้าน และพัฒนาการทักษะสมอง EF ด้วย การรับรู้ตัวตน คือการที่เด็กรู้ตัวว่า ตนเองมีความรู้สึกนึกคิดเป็นของตัวเอง แยกความคิด ความต้องการของตนเองออกจากแม่ และผู้อื่นได้ เด็กรับรู้ว่า คำพูด และการกระทำของตนเองที่แสดงออกมา มีผลกับผู้อื่น และคำพูดและการกระทำของผู้อื่น ก็มีผลกับตัวเองเช่นกัน ซึ่งประสบการณ์ที่สะสมในช่วง 3 ปีแรกนี่เอง จะเป็นต้นกำเนิดของ ความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อตนเอง ความชอบ แรงบันดาลใจ การตีความโลกใบนี้ และเป้าหมายในชีวิต

ปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการส่งเสริมพัฒนาการด้านการรับรู้ตัวตน คือ การทำที่บ้านให้เป็นฐานที่มั่นทางใจให้กับลูก เพื่อให้ลูกโตมาพร้อมกับความพึงพอใจในความสามารถ และความฝันของตนเอง หากเด็กช่วงนี้ได้รับประสบการณ์ที่มีคุณภาพ ก็จะมีความรู้สึกนึกคิดที่ดีต่อตนเอง ตีความโลกใบนี้ในทางที่ดี มีความภาคภูมิใจในตัวเอง รู้ว่าตนเองมีค่ากับพ่อแม่ มีแรงบันดาลใจในการตามฝัน และมีความหวังในการใช้ชีวิต

ประสบการณ์เดิมที่มีคุณภาพในช่วงวัย 0-3 คือ ประสบการณ์ความรัก ความอบอุ่น และความผูกพันที่ได้รับจากพ่อแม่ และผู้เลี้ยงดู นอกจากนี้ ประสบการณ์เดิมที่มีคุณภาพ ที่สำคัญและขาดไม่ได้อีกประการ คือ การให้โอกาสเด็กได้ใช้ทักษะสมอง EF ในการคิด ตัดสินใจ แก้ไขปัญหา ลองผิดลองถูก ใช้ความพยายาม จนเกิดความสำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งการสะสมประสบการณ์แห่งการทำอะไรให้สำเร็จด้วยตนเองนี้ เป็นกุญแจสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกคนให้ก้าวผ่าน พัฒนาการด้านการรับรู้ตนเองไปให้ได้อย่างมีคุณภาพ เนื่องจากส่งผลให้เด็กรับรู้ว่าตนเองเป็นคนมีความสามารถ มีค่า และมีความภาคภูมิใจตนเอง ไม่จำเป็นต้องหาความสุข ความพึงพอใจจากความนิยมที่คนอื่นมอบให้

ในทางกลับกัน ข้อดีจากสถานะนี้ มีหรือไม่

ข้อดี คือ การได้รับโอกาสที่ได้พบปะผู้คนมากมาย การได้ไปสถานที่หลากหลาย ได้สัมผัส และเรียนรู้โลกใบนี้ในแบบที่แตกต่าง ซึ่งทำให้น้องได้เรียนรู้ ฝึกฝนการปรับตัว ปรับอารมณ์ ให้เข้ากับสถานการณ์ในทุกๆ วัน ซึ่งหากมาพร้อมกับความรักความปลอดภัย และความผูกพันของพ่อแม่ด้วยแล้ว จะกลายเป็นการสะสมประสบการณ์เดิมที่มีคุณภาพมากเลยทีเดียวค่ะ

เด็กวัยนี้โดนหยิก หรือโดนทำอะไรแรงๆ เขาจะจำหรือไม่

มีความเป็นไปได้ที่จะจำได้ และจำไม่ได้ค่ะ หากสื่อมีการพูดถึงทุกวันๆ แล้วน้องได้ยินสื่อ ได้ยินผู้ใหญ่รอบข้างพูดเรื่องนี้ไม่จบ เขาก็จะโตมากับเรื่องนี้ แต่ถ้ามีการปลอบใจน้อง แสดงความเห็นอกเห็นใจ แล้วดำเนินชีวิตต่อ ดูแลเขาให้ปลอดภัย เขาก็จะยังเชื่อใจ และผ่านไปได้ เหมือนวิ่งแล้วหกล้ม อาจจะจำได้ แต่ไม่เป็นไร หรืออาจจะจำไม่ได้ไปเลย เพราะอารมณ์ความรู้สึกถูกจัดการไปเรียบร้อยแล้วค่ะ

ส่วนมากที่ฝังใจ จะมาจากเหตการณ์นั้นรุนแรงมาก หรือ ถูกกระทำบ่อยๆ ทุกวันเป็นระยะเวลานาน

Tags:

โซเชียลมีเดียความปลอดภัยไซเบอร์sharentingพ่อแม่

Author:

illustrator

ณิชากร ศรีเพชรดี

แอดมิชชันเข้าคณะการเขียนและสิ่งพิมพ์เพราะคิดว่าเขาจะสอนให้เขียนนิยาย แทนที่จะได้เขียนจากจินตนาการ อาจารย์และทุกอย่างที่นั่นเคี่ยวกรำให้ทำ-คิด-เขียน-รู้สึกกับประเด็นสังคม ยังคงสนุก(มาก)กับงานสื่อสาร ฝันสูงสุดคือยังเข้มแข็งเขียนงานได้อย่างมีคุณภาพและฐานะดี

illustrator

ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

อดีตนักข่าวที่ผันตัวมาทำงานด้านการเรียนรู้(อย่างรื่นรมย์) ด้วยอินเนอร์คุณแม่ลูกหนึ่ง(ที่เป็นวัยรุ่นและขายาวมาก) รักการทำงานก็จริงแต่ชอบหนีไปออกกำลังกายตามคำบอกของคุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เพื่อให้ชีวิตการงานสมดุลอยู่

Related Posts

  • Early childhood
    หมอโอ๋: พ่อแม่ที่ไม่สร้างบาดแผลให้ลูก คือพ่อแม่ที่ไม่ได้เลี้ยงลูก

    เรื่องและภาพ The Potential

  • Family Psychology
    “ไม่ต้องมีพ่อแม่ที่ดี มีแค่พ่อแม่ที่ธรรมดา” หมอโอ๋ เลี้ยงลูกนอกบ้าน

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนาทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ ภาพ สิทธิกร ขุนนราศัย

  • How to get along with teenager
    ทำไมลูกหายใจเข้าออกเป็น ‘IG’ (INSTAGRAM)

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • How to get along with teenager
    อินสตาแกรม 101: รู้ไว้ให้ ‘ลูก’ ใช้เป็น

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • Family Psychology
    ทำไมพ่อกับแม่ถึงชอบแชร์เรื่องของหนู?

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

เป็นห่วง VS ไม่เชื่อใจ ทำยังไงให้ลูกอยากเล่าให้ฟังเอง
Family Psychology
21 May 2018

เป็นห่วง VS ไม่เชื่อใจ ทำยังไงให้ลูกอยากเล่าให้ฟังเอง

เรื่อง The Potential ภาพ KHAE

เราเป็นเด็กหลบๆซ่อนๆกับที่บ้านมากนะ และเชื่อว่าหลายคนเป็นแบบนี้กันเยอะแยะ จำได้มั้ยว่าทำไม หรือเคยเปิดใจเล่านู่นเล่านี่ให้ฟังแล้วเกิดอะไรขึ้น – KHAE

Tags:

การสอบการเติบโตพ่อแม่จิตวิทยา

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Illustrator:

illustrator

KHAE

นักวาดลายเส้นนิสัยดี(ย้ำว่าลายเส้น)ผู้ชอบปลูกต้นไม้และหลงไหลไก่ทอดเกาหลี

Related Posts

  • Family Psychology
    พ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน เพราะความรักเป็นเรื่องไม่อาจฝืน

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Family Psychology
    ‘ตอนนี้’ และ ‘โตขึ้น’ อยากเป็นอะไร พ่อแม่ช่วยลูกค้นหาได้ด้วย 9 วิธีนี้

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Family Psychology
    ‘วิชาแพ้’ พ่อกับแม่แค่ปล่อยและคอยนั่งอยู่ข้างๆ

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • Family Psychology
    สอบตกไม่ใช่เรื่องใหญ่ ทำยังไงให้เด็กไว้ใจเล่าให้ฟัง

    เรื่อง The Potential ภาพ KHAE

  • Social Issues
    พี่ลาเต้ DEK-D: มหัศจรรย์การสอบสุดจะเครียด 10 ปี ไม่มีเปลี่ยนแปลง

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดีทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

3 นาทีกับ TCAS
Social Issues
17 May 2018

3 นาทีกับ TCAS

เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

Tags:

มนัส อ่อนสังข์(ลาเต้ Dek-D)การสอบTCAS

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Illustrator:

illustrator

บัว คำดี

เติบโตมากับเพลงป็อปแดนซ์ยุค 2000 เริ่มเป็นติ่งวงการ k-pop ในวัยมัธยม มีเพลงการ์ตูนดิสนีย์เป็นพลังใจในทุกช่วงวัยของชีวิต

Related Posts

  • Dear Parents
    มนุษย์นักเรียนกับสิ่งที่ไม่เคยบอก

    เรื่อง

  • Character building
    PROJECT-BASED LEARNING ทักษะมาก่อน คะแนนจะตามไป

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Social Issues
    ฟังเสียงเด็ก TCAS: อยากให้ครูแนะแนวเป็นแบบไหน?

    เรื่อง The Potential

  • Social Issues
    หลงทางกว่า TCAS คือ การศึกษาที่วนอยู่ในเขาวงกต

    เรื่อง

  • Social Issues
    พี่ลาเต้ DEK-D: มหัศจรรย์การสอบสุดจะเครียด 10 ปี ไม่มีเปลี่ยนแปลง

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดีทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

‘ก่อการครู’ เปลี่ยนห้องเรียนด้วยการ ‘ฟังอย่างลึกซึ้ง’ และ ‘ตั้งคำถามไม่รู้จบ’
Transformative learning
17 May 2018

‘ก่อการครู’ เปลี่ยนห้องเรียนด้วยการ ‘ฟังอย่างลึกซึ้ง’ และ ‘ตั้งคำถามไม่รู้จบ’

เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • ครูเองก็หมดไฟ เด็กก็ไม่ฟัง แถมหลายๆ ครั้งพวกเขาส่งเสียงว่า ‘ก็ห้องเรียนมันไม่สนุก’ นี่แค่ปัญหาก้อนหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์กับครู แต่เกิดจริงหลากหลายห้องเรียน
  • “หลายครั้งที่ครูปฏิบัติกับผู้เรียนแบบที่ ‘เธอไม่รู้หรอก ชั้นรู้ดีกว่า’ เราไม่ฟังเขามากพอ มันเลยเกิดความขัดแย้ง”
  • อาจารย์เปิ้ล-อธิษฐาน์ คงทรัพย์ หัวหน้าโครงการก่อการครูชวนครูกลับมาดูแลหัวใจตัวเองและลูกศิษย์ ด้วยเทคนิคง่ายๆ แต่ทรงพลัง แค่นั่งตรงนั้นเพื่อ ‘ฟังอย่างลึกซึ้ง’ และ ‘ตั้งคำถามไม่รู้จบ’ การเปลี่ยนแปลงระดับลึกก็จะตามมา
ภาพ: โกวิท โพธิสาร

แค่เอ่ยคำว่า ‘ครู’ หลายคนถึงกับเสียววาบที่สะโพก เสียงหวดไม้เรียวดังขวับขึ้นที่หู ภาพครูไหวใจร้ายปรากฏขึ้นเหมือนฝันกลางวัน ความหมายของครูจึงไม่ใช่แค่ ‘ผู้สอน ผู้ถ่ายทอดความรู้’ แต่นัยหนึ่ง มันให้ความรู้สึกเสียวๆ ทรงอำนาจ นักเรียนต้องเกรงกลัว

ว่ากันตรงๆ เราจะเรียนรู้ได้อย่างไร ถ้าบรรยากาศในห้องเรียนเต็มไปด้วยความหวาดกลัว ตั้งแง่ ไม่เคารพกัน หรือบางครั้ง (มันมีจริงๆ นะ) ลุกลามไปจนถึงความเกลียดชังเคียดแค้นครูบางคน แทนที่ห้องเรียนจะเป็นที่ประสิทธิ์ประสาทวิชา กลับเป็นห้องเรียนที่มีแต่กองเพลิง

อาจจะดู ‘เว่อร์’ ไปนิด แต่เรื่องเล็กน้อยมหาศาลแบบนี้ เกี่ยวพันกับความอยากรู้อยากเรียน พฤติกรรมนักเรียน และการเติบโตของเด็กจริงๆ นะ

ทั้งหมดนี้คือจุดประสงค์หนึ่งของ ‘โครงการก่อการครู’ กลุ่มนักการศึกษาและการเปลี่ยนแปลงโดยมีเจ้าภาพทางวิชาการคือ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ที่ต้องการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ใหม่ สร้างครูแกนนำที่เปลี่ยนแล้ว ให้กลับไปทำงานต่อในพื้นที่ เพื่อเขย่า ‘กรอบคิด’ ว่าครูคือผู้ถือไม้เรียวอันศักดิ์สิทธิ์หน้ากระดานดำ ไปเป็น ครูก็คือมนุษย์ ที่ทำงานกับมนุษย์ในด้านการศึกษา

ท่ามกลางการทำงานเชิงประเด็นที่หลากหลายของก่อการครู The Potential ชวน อาจารย์เปิ้ล-อธิษฐาน์ คงทรัพย์ อาจารย์คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ. และหัวหน้าโครงการก่อการครู พูดคุยประเด็น ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับลูกศิษย์ และทำไม ‘การฟังอย่างลึกซึ้ง’ และ ‘การตั้งคำถามไม่รู้จบ’ จึงเป็นเครื่องมือสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างถึงราก และการเปลี่ยนอย่างน้อยนิดแต่มหาศาลมันคืออะไร

ในคนทำงาน ‘ก่อการครู’ มีความชอบและวิธีทำงานไม่เหมือนกัน แต่เฉพาะตัวครูเปิ้ลสนใจเรื่องการโค้ชของครู ทำไมต้องเป็นเรื่องนี้

เราสนใจเรื่องการทำงานกับคน การสร้างการเติบโตให้กับคน ก่อนหน้านี้ก็ไปศึกษาเครื่องมือหลายชิ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารอย่างสันติ การบำบัดในแบบต่างๆ แล้วก็มาพบว่า โค้ชเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังอย่างหนึ่ง การทำงานของโค้ชไม่ได้ทำงานแค่ตัวทักษะ แต่ทำงานกับความเชื่อข้างใน ความเชื่อพื้นฐานที่ว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพ มีปัญญา หน้าที่ของโค้ชคือการไปตั้งคำถาม เพื่อให้เจ้าตัวกลับไป connect หรือเห็นปัญญาที่มีแล้วหามันออกมาได้ด้วยตัวเอง

เรารู้สึกว่าเครื่องมือนี้มันทรงพลังมาก เริ่มจากพื้นฐานการเคารพคน เคารพตัวเอง ไว้วางใจคน ไว้วางใจตัวเอง ซึ่งถ้าครูเห็นตรงนี้ ครูจะทำงานได้อย่าง… เขาเรียกว่าอะไร (นิ่งคิด) มันจะมีความสุขขึ้น เพราะครูจะไม่ได้มองว่าเด็กโง่ หรือเด็กไม่รู้ แต่วางใจว่าเด็กทุกคนมีปัญญาภายใน เด็กอาจไม่รู้ข้อมูลบางอย่าง แต่ไม่ใช่เรื่องยากที่เขาจะไปค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง เพราะเดี๋ยวนี้การค้นหาคำตอบมันมีอยู่ทั่วไป

แต่ความเชื่อนี้มันสำคัญมากๆ เวลาที่ครูเห็นเด็กคนหนึ่งแล้วมองเด็กคนนั้นด้วยความมั่นใจว่า “เธอน่ะ มีศักยภาพนะ ครูรู้ว่าเธอมีความสามารถ” มันช่วยให้เด็กคนนั้นเติบโตขึ้นอย่างมั่นคงมากกว่าการมองแบบตัดสิน

ความสัมพันธ์ หรือการเห็นศักยภาพ สำคัญอย่างไรกับการเติบโตของเด็ก

สำคัญมาก มันเป็นจุดเปลี่ยนหลายอย่างในชั้นเรียน ยกตัวอย่างงานวิจัยชิ้นที่เข้าไปวิจัยผลการสอบของเด็กแล้วพบว่าโรงเรียนต่างจังหวัดโรงเรียนหนึ่ง ทำไมผลสอบจึงดีกว่าที่อื่น พอเข้าไปศึกษาจริงๆ พบว่า เพราะครูในโรงเรียนมีความสัมพันธ์ที่ดีมากๆ กับเด็ก ดูแลใส่ใจ ให้การสนับสนุนเต็มที่ พอความสัมพันธ์เปลี่ยน เขาก็มีความกระหายอยากจะเติบโต นั่นคืออย่างหนึ่ง

แต่ที่เจอในชั้นเรียนตัวเองคือนักศึกษาปริญญาตรีและโท พบว่าเด็กหรือนักศึกษา เวลาที่เขาเรียนรู้ ถ้าพื้นที่ตรงนั้นไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัย เขาจะไม่รู้สึกว่าเขาถูกรับฟัง มองเห็น หรือได้ยิน เขาจะหดตัว ไม่กล้าเอาศักยภาพข้างในของตัวเองออกมา ไม่กล้าตอบคำถามครู กลัวผิด กลัวถูกทำโทษ ถูกมอง ถูกล้อเลียน

แต่ถ้าเขาเห็นว่านี่คือพื้นที่แห่งการรับฟัง เป็นที่ให้เขากล้าลองผิดลองถูกและเรียนรู้จากการทำผิดถูกไปด้วยกันกับเพื่อน ความสัมพันธ์ที่เคารพและไว้วางใจกันตรงนี้จะช่วยให้เขาเกิดการเรียนรู้ ไม่ใช่แค่กับครู แต่เป็นเรียนรู้ระหว่างกันและกันเอง

เรายังพบว่าถ้าครูสร้าง space ให้เกิดขึ้นได้ เขาจะไม่เหนื่อยเลย เพราะเพื่อนในชั้นเรียนจะช่วยหนุนเสริมกันให้ทุกคนได้เรียนรู้ เสียงสะท้อนหนึ่งจากนักเรียนคือ เขาพบว่าทุกคนมีความเชี่ยวชาญที่แตกต่าง มนุษย์มีความหลากหลาย เราบังคับให้คนทุกคนคิดเหมือนกันไม่ได้ แต่เราเรียนรู้จากความแตกต่างของเพื่อนและทำให้เขาอ่อนน้อมถ่อมตนขึ้น ขณะเดียวกันก็ใส่ใจกับผู้คนมากขึ้น ยังคงมี passion ที่แต่ละคนจะเติบโตในวิถีของตัวเอง

ครูจะมีสายตาแบบนั้น ต้องมีเครื่องมือหรือต้องคิดอย่างไร

ครูต้องเห็นตัวเองก่อน เห็นว่าเขาเองก็มีศักยภาพเหมือนกัน ในกระบวนการโค้ชที่เราใช้ จะเน้นประสบการณ์ตรง (experiential learning) คือเขาต้องทำ ต้องมีประสบการณ์จริง นาทีที่เขาเจอคำถามที่ทรงพลังแล้วพาให้เขากลับไปเจอคำตอบข้างในตัวเอง มันจะเจ๋งขนาดไหน ทำให้เขามั่นใจว่าไม่ว่าปัญหาข้างหน้ามันจะดูยากหรือมองไม่เห็นทางออก ถ้าเรามีความสามารถจะ ‘ฟัง’ ได้เพียงพอ และมี ‘คำถาม’ ที่ดีพอ มันจะช่วยให้เขาเจอคำตอบตรงนี้ได้

กล่าวได้มั้ยว่า เครื่องมือหนึ่งคือ ‘การฟังอย่างลึกซึ้ง’ และ ‘การตั้งคำถามไม่รู้จบ’

ถือเป็นเครื่องมือได้ แต่จริงๆ ทักษะของโค้ชมีมากกว่านั้น และแต่ละสำนักก็มีเครื่องมือเป็นของตัวเอง แต่โดยระดับพื้นฐานร่วมก็คือการฟังและตั้งคำถาม และจะเป็นพื้นฐานที่จะอยู่ไปตลอด แต่อีกอย่างคือการ acknowledge หรือการเห็นคุณค่าและจุดแข็งในตัวคนคนนั้น จนสามารถบอกออกมาได้ว่าจุดแข็งของเขาคืออะไร และก็ท้าทายให้เขาไปที่เส้นขอบความสามารถและการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ด้วย

เพราะถ้าเราเติบโตอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยก็จะไม่ค่อยโต เราต้องผลักเขาไปที่ขอบให้ได้ แต่มันจะมีสกิลอยู่ว่าคุณจะผลักเขายังไงโดยไม่ทำให้เขารู้สึกตื่นกลัวและวิ่งหนีไป แต่ค่อยๆ พาเขาไปที่ขอบการเรียนรู้ของเขา

ทำไมเครื่องมือสำคัญของการเป็นโค้ช เป็นครู คือ ‘การฟังอย่างลึกซึ้ง’ และ ‘การตั้งคำถาม’ ทั้งๆ ที่มันเป็นบทสนทนาในชีวิตประจำวันของคนทั่วไป ปัญหาเดิมของครู หรือการเรียนการสอนในห้องเรียนคืออะไร

เราพบว่าครูส่วนใหญ่ถูกฝึกมาในระบบที่ว่า ครูต้องเป็นผู้บอก ผู้สอน ซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไร คำว่าครูคือผู้บอก ผู้สอน เราจะเรียกว่าอย่างนั้นก็ได้แต่มันก็คงมีหลายนิยาม แต่มุมหนึ่งที่เราเห็นบ่อยๆ คือ

ครูมักคิดว่าคนตรงหน้าไม่รู้ ครูต้องรู้มากกว่า ต้องบอกเขา มันมีลักษณะของความไม่เท่าเทียมกันอยู่ หลายครั้งที่ครูปฏิบัติกับผู้เรียนในแบบที่ “เธอไม่รู้หรอก ชั้นรู้ดีกว่า” เราไม่ฟังเขามากพอ มันเลยเกิดความขัดแย้ง

ทั้งที่การบอกการสอนแบบเดิมอาจจะไม่เวิร์คกับผู้เรียนหรือการเรียนรู้ในปัจจุบันนี้แล้วก็ได้ เคยเจอเด็กนักเรียนหรือนักศึกษาบางคนมาบอกว่า สิ่งที่เรียนอยู่ในห้องเรียน ที่จริงแล้วเขารู้มากกว่านั้นอีก แต่เข้าห้องเรียนไปอย่างนั้นหรือเข้าไปเพื่อเก็บเกรด การเข้าห้องเรียนอาจไม่ได้มีความหมายอะไร เดี๋ยวนี้เขาหาความรู้ได้ด้วยตัวเอง บางทีอาจรู้มากกว่าครูผู้สอนอีก เราก็แบบ… เออ ก็จริงนะ ถ้าไปคุยกับเด็กที่สนใจเรื่องบางเรื่องอย่างจริงจัง เขารู้ลึก รู้มากกว่าเรา เก่งกว่าเราอีก

แต่สิ่งที่เด็กต้องการจริงๆ คือคนที่ตั้งคำถาม กระตุ้น จุดประกายเขาเพื่อไปแสวงหาความรู้เหล่านั้นต่อได้ด้วยตัวเอง มันจะเป็นการเดินทางของการเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ครูไม่ต้องเหนื่อยไปบอกไปสอนแล้วกลับมาบ่นว่า ทำไมเด็กไม่ฟัง

เพราะเด็กก็ไม่อยากจะฟังการสั่งการสอน ถามว่าถ้ามีคนมาสั่งมาสอนตัวครู ครูก็ไม่ชอบ แต่ถ้ามีคนเข้ามานั่งฟังคุณและตั้งคำถามอย่างเคารพและไว้วางใจว่า คุณมีศักยภาพเพียงพอที่คุณจะหาคำตอบด้วยตัวเอง มันเกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ก่อการครู สร้างกระบวนการเรียนรู้ที่มาจากการฟังและตั้งคำถามอย่างไร

มันเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ชวนให้เขากลับมาสำรวจตัวเองว่าเขาคือใคร เป็นวงให้ได้ฟังกันและกันอย่างลึกซึ้ง มีบางกิจกรรมที่ไปเขย่าเรื่องคุณค่า บางคนทำงานอย่างอัตโนมัติแต่ไม่เคยกลับมาดูว่าที่เขาเลือกหรือทำแบบนั้น จริงๆ แล้วเขากำลังตอบโจทย์คุณค่าบางอย่างในตัวเองอยู่ พอได้มาเจอก็ อ้าว… ตายแล้ว ชั้นเชื่อเรื่องนี้มาตลอด แต่ไม่เคยรู้ว่าที่ทำไปเพราะเชื่อเรื่องนี้ เหมือนกับการตระหนักรู้ พอตระหนักรู้ว่าทำไปทำไม เพราะอะไร มันตัดสินใจเลือกได้ ว่าเขาอยากจะเลือกมั้ย

อย่างแรกเราจะเชื้อเชิญให้คุณครูได้มารู้จักการฟังก่อน การฟังมีหลายระดับมาก ให้ครูเห็นว่าการฟังแต่ละระดับมันส่งผลกระทบกับตัวผู้ที่ถูกรับฟังอย่างไร และส่งต่อคนที่รับฟังอย่างไร เราจะพาเขาเดินทางไปสำรวจวิธีการแบบนั้น หลังจากนั้นก็จะค่อยๆ ให้เครื่องมือ ให้รู้จักกรอบคิด (mindset) ของการโค้ช คนที่ทำโค้ชชิ่งแล้วมีพลัง เขามีพลังหรือความเชื่อเบื้องลึกว่าอย่างไร ต่อให้คนคนนั้นไม่ได้พูดหรือตั้งคำถามอะไร แค่อยู่ตรงนั้นด้วยความเชื่อแบบนั้นจริงๆ แล้วดูว่ามันส่งผลต่อคนข้างหน้าอย่างไรบ้าง จากนั้นอาจจะมีเครื่องมือการตั้งคำถามแบบต่างๆ ให้ได้ลองฝึก มีทักษะพื้นฐานประมาณ 4-5 อย่างให้ได้ลองทำ เช่น การรักษาความเงียบ การใช้ภาพอุปมาอุปไมย การใช้การหยั่งรู้โดยสัญชาตญาณ (intuition) การสะท้อนคิด และการตระหนักรู้ถึงคุณค่าภายในคนคนนั้น

ครูก็จะได้ฝึกกับเพื่อนที่มาร่วมเรียนรู้ด้วยกัน ฝึกเป็นคู่ เป็นกลุ่ม แล้วแต่ว่ากิจกรรมมันคืออะไร สิ่งที่เราเจอคือ พอได้ฝึก ได้เปิดใจที่จะคุย มิตรภาพมันเกิดขึ้นเองโดยที่เราไม่ต้องไปบังคับว่าคุณคือเพื่อนกันนะ แต่การที่พาให้เขาได้มานั่งทำงานด้วยกัน ก็คือการกลับไปสร้างคุณค่าในตัวนั่นแหละ คือการสร้างพื้นฐานความไว้วางใจอย่างเป็นธรรมชาติมากๆ

เห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรในตัวเด็กและครูบ้าง

ครูจำนวน 84 คนที่ผ่านโมดูล 1 ไป สะท้อนว่าอยากจะกลับไปเปลี่ยนชั้นเรียนตัวเอง ทั้งที่เขายังไม่ได้มีเครื่องมืออื่นเลยนะ นี่แค่เครื่องมือเดียวที่ได้มาเจอตัวเอง มาฟัง มาพบสิ่งที่อยู่ข้างในตัว แค่นั้นเอง เขาบอกว่าอยากจะกลับไปฟังเด็กมากขึ้น อยากสร้างชั้นเรียนที่ทำให้เด็กๆ ได้มาเจอสิ่งที่เขาเจอด้วย

ครูที่มาแปดสิบกว่าคนวันนั้นพลังดีมาก (เน้นเสียง) คืนแรกที่มาอาจจะแบบ “อะไรนี่ โครงการนี้” บางคนสมัครเพราะเพื่อนชวน กลัวว่าจะเป็นการอบรมแบบเดิมมั้ย เพราะเขาก็ถูกอบรมกันมาจนเกรียมละ หลายๆ คน ได้ยินการอบรมนี่เป็นอะไรที่เบื่อมาก แต่วันที่สอง ที่สาม โห… พลังในห้องเปลี่ยนไปเลย ประกายตาครูเปลี่ยน ครูลุกขึ้นมาบอกว่าอยากทำนู่นทำนี่ โดยที่เราไม่ได้จัดไม่ได้ทำอะไรเลย ทันทีที่ไฟถูกจุด เขาไปต่อได้

ทีนี้สิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็ก ก็มีครูที่แบ่งปันเรื่องเล่ากับเรา ว่าได้เอากิจกรรมนี้ไปทดลองกับเด็ก ตอนแรกเด็กก็งงว่าคุณครูทำอะไร มาชวนหนูทำอะไร แต่พอจบกิจกรรม เด็กๆ มีความสุข เบิกบาน บอกว่า “คุณครู วันหลังเอาแบบนี้อีกนะ อยากเรียนแบบนี้อีก” อย่างนี้เป็นต้น ครูก็มีความสุข ครูดีใจจังเลย นักเรียนอยากเรียนรู้ เด็กเป็นฝ่ายเดินเข้ามาหาเอง ประมาณนี้ แต่ก็ยังไม่ได้ตามลึกๆ ว่าเขาเปลี่ยนไปขนาดไหน

ครูหลายท่านอาจมีคำถามว่า แต่ครูไทยไม่เคยทำงานสอนแค่อย่างเดียว มีภาระหน้าที่ทั้งในและนอกห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นการทำประเมิน ปัญหาสังคมในชุมชนที่กระทบกับชีวิตเด็ก ครูเองก็มีปัญหาส่วนตัวและทุกภาระเป็นความทุกข์จริง การสอนด้วยวิธีนี้ซึ่งใช้พลังเยอะมาก จะเพิ่มภาระให้คนเป็นครูมากขึ้นหรือเปล่า

กรณีที่ครูรู้สึกว่าท่วมท้นกับสภาวะหรือภาระทั้งหลายทั้งมวล (overwhelm) แบบ ชั้นไม่มีเวลาแล้วนะ ไม่อยากจะฟังเด็กแล้ว เขาก็อาจไม่ไปด้วยกับหลักการนี้ แต่อันหนึ่งที่คิดว่าเป็นจุดเปลี่ยนหรือสิ่งที่เราอยากจะเชื้อเชิญให้คุณครูมาเรียนรู้ร่วมกัน คือการพาคุณครูกลับมาดูแลตัวเอง

ก่อนที่ครูจะไปดูแลคนอื่นได้ ตัวเขาต้องได้รับการดูแลก่อน และมันจะเป็นเครื่องมือให้เขากลับมาดูแลตัวเองเช่นกัน

ครูดูแลตัวเองได้สำเร็จ ต่อไปคือกลุ่มเพื่อนครูที่ช่วยดูแลกัน เราพบว่าไม่ว่าโลกข้างนอกจะหนักขนาดไหน แต่ถ้าใจมีพลัง ใจมีทิศทาง มีคำตอบ มันไปได้ค่ะ แต่ถ้าใจไม่เจอคำตอบ ไม่มีทิศทาง ปัญหานิดเดียวมันก็พัง มันอยู่ที่ข้างในเนอะ

อีกอันที่พบคือ วิธีการแบบนี้ใช้พลังงานและใช้เวลาเยอะในช่วงแรกกับการที่คุณจะฟังใครสักคนจริงๆ แต่เราพบว่ามันส่งผลในระยะยาว ครูอาจเหนื่อยในช่วงแรก แต่ระยะยาว มันคือการปูพื้นฐานความสัมพันธ์ที่แข็งแรง เป็นศักยภาพที่สำคัญมากๆ กับตัวผู้เรียน การแสวงหาคำตอบด้วยตัวเอง ไว้วางใจในศักยภาพ มั่นใจในคุณค่าตัวเอง อันนี้เป็นรากฐานของคนที่จะเติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ ยอมเหนื่อยในช่วงแรก แล้วช่วงปลาย คุณจะสร้างคนแบบนี้ได้มากมาย เราเห็นตรงนี้นะ

ช่วงเริ่มต้นที่ครูอยากจะเปลี่ยนห้องเรียนด้วยวิธีนี้ แต่มองไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงกับเด็ก เพื่อนครูด้วยกันก็ไม่เอาด้วย เราจะจัดการกับภาวะเริ่มต้นที่มองไม่เห็นเส้นชัยอย่างไรดี

อย่าคาดหวังว่าใครจะมาเชื่อเราว่าอันนี้ดี อันนี้ถูก เพราะเขาก็มีทางเลือกของเขา แต่ให้มองกลับมาที่ตัวเองก่อนเลยว่าเส้นทางที่เลือก คำตอบที่อยากพาตัวเองไปถึงมันคืออะไร มีโอกาสหรือช่องทางไหนบ้างที่จะช่วยให้เราเดินไปถึงตรงนั้น และคำตอบหรือโอกาสอาจจะไม่ได้อยู่ที่เพื่อนครูในโรงเรียนหรือร่วมชั้นเรียน แต่อาจเป็นเพื่อนครูต่างโรงเรียนที่อยู่ในแวดวงการพัฒนามนุษย์ และถ้าครูมีประสบการณ์ตรง ครูได้กลับมาเชื่อมโยงกับความงดงามภายในตัวเอง คำถามพวกนี้จะไม่เกิดขึ้น เพราะครูรู้ว่าครูอยู่ตรงนี้เพื่ออะไร ครูอยากทำอะไร

เวลาที่พูดถึงการเปลี่ยนแปลง สิ่งหนึ่งที่มีผลมากคือ ความสัมพันธ์ที่ความเท่าเทียม ไม่มีใครมีอำนาจมากกว่า แต่ในวัฒนธรรมไทย มันมีเรื่องอำนาจ พ่อแม่กับลูก ครูกับลูกศิษย์ เจ้านายกับลูกน้อง การเปลี่ยนแปลงแบบเสมอภาคจะเกิดขึ้นได้จริงหรือ?

มันทำได้แต่ไม่ได้สวยหรู ในเชิงอุดมคติมันสวยหรูเนอะ แต่ทางปฏิบัติมันไม่สวยเลยนะ คุณจะเปลี่ยนได้แปลว่าคุณต้องฝ่าด่านความเจ็บปวดและความทุกข์ในใจไปหลายขั้นมาก และด่านนี้มันไม่มีวันสิ้นสุดด้วย แต่ทุกๆ ขั้นที่ผ่านไปได้ มันเหมือนได้พลังชีวิตกลับคืนมาและจะมากขึ้นเรื่อยๆ เหมือนตามเก็บความเป็นตัวเองกลับมา ไม่ได้เป็นอะไรที่โรยด้วยกลีบกุหลาบแน่นอน คุณจะเจอกับความกลัวในตัวเอง เจอกับมุมมืดที่ตัวเองไม่ยอมมองแล้วต้องไปมองมัน

เปลี่ยนตัวเองก็ยากแล้วนะ แล้วถ้าจะมองในเชิงโครงสร้าง แน่นอนว่าเราเปลี่ยนใครไม่ได้ คนข้างนอกก็เป็นอย่างที่เขาเป็น โครงสร้างมันเป็นอย่างที่เป็น แต่เราพบว่า ถ้าคนคนหนึ่งเปลี่ยน พลังของการเปลี่ยนแปลงในคนนั้น มันจะเป็นแรงบันดาลใจ จุดประกาย มีอิมแพคกับคนรอบข้าง แล้วถ้าคนรอบข้างค่อยๆ เปลี่ยน เดี๋ยวมันจะไปเขย่าระบบเอง แต่ไม่ได้แปลว่าเราเพิกเฉยกับระบบนะ คือระบบกับคน มันมีความสัมพันธ์ที่เป็น dynamic หรือการกระทบกันไปมาตลอดเวลา แต่เราเชื่อว่าเรายังไปทำงานกับระบบไม่ได้ด้วยศักยภาพของเราตอนนี้ เพราะระบบมันใหญ่มาก

แต่อย่างน้อยเราทำงานกับคน ให้คนอยู่ได้ในระบบที่แย่แต่ใจยังดี ใจยังมีความสุข เราจะทำตรงนั้นได้ยังไง แล้วถ้าเกิดคนคนนี้เข้มแข็งพอ มีศักยภาพพอ เติบโตพอ เขาจะส่งเสียงบางอย่างเพื่อเปลี่ยนระบบได้ เพราะระบบมันเกิดจากคน ถ้าคนไม่เปลี่ยน ระบบก็ไม่เปลี่ยนนะ แต่ถ้าคนเริ่มเปลี่ยน เริ่มเห็นมุมที่ต่าง เริ่มรู้ว่ามันมีคำตอบที่ดีกว่าแบบเดิม มันก็จะสร้างระบบแบบใหม่ที่จะตอบตัวเองได้มากขึ้น แล้วมันจะมาแทนที่ระบบเก่าเอง มันไม่มีอะไรที่อยู่กับที่อยู่แล้ว

การศึกษาไทยยังมีความหวัง?

มี เราเห็นครูดีๆ เยอะ เจอว่าคุณครูที่เก่งๆ ที่รักเด็ก ที่มีแพชชั่นอยากช่วยให้เด็กๆ เกิดการเรียนรู้ มี มาก (เน้นเสียง) มายทั่วประเทศ แต่เขาเข้าถึงเครื่องมือ ปัจจัย สิ่งที่มันเกื้อหนุนเขามั้ย อันนั้นคือโจทย์อีกอัน และเราเชื่อว่า ถ้าครูเหล่านี้เข้าถึง แล้วตัวเขาเข้าถึง จริงๆ เขาตื่นแล้วแหละ เพราะเขามีแพชชั่นจะช่วย มันจะไปอีกไกลมาก เราเลยเชื่อว่าเราต้องทำงานกับครู เพราะครูคือหัวใจของการศึกษา

ก่อการครูต้องทำอะไรต่อ

ยังมี เฟสสอง และสาม เฟสที่สองกำลังจะเริ่มขึ้นก็คือตลาดวิชา เราชวนเพื่อนๆ ในเครือข่ายมาเปิดวิชาที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนในมุมที่แตกต่างหลากหลาย วิชาที่ตัวเองเปิด ก็คือเรื่องการโค้ช ทักษะเบื้องต้นการโค้ช ทางมะขามป้อมเปิดเรื่องสื่อสร้างสรรค์ บางคนเปิดเรื่องห้องเรียนแห่งความสุข บางคนพูดเรื่องสะเต็มศึกษา (STEM) มีเรื่องสมองกับการเรียนรู้ อะไรแบบนี้เป็นต้น และเป็นช่วงที่เติมมุมมองความรู้ความเข้าใจ deepening มุมมองความรู้ความเข้าใจของเขา

เฟสสาม ชวนเขามาฝึกการเป็นกระบวนการ facilitator เราเชื่อว่าการศึกษาเปลี่ยนโฉมไป ครูไม่ใช่ผู้บอก ผู้สอนหนังสือ แต่เป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ เฟสสามเป็นเฟสที่ให้เขามาเรียนรู้เรื่องนี้ในตัวทักษะ ให้ความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเป็นผู้อำนวยความรู้ (facilitator)โดยจะจัดสองรอบ รอบแรกให้พื้นฐาน พอฝึกเสร็จเขาต้องลงไปในพื้นที่ มีข้อเรียกร้องว่า พอเรียนจบ คุณต้องลงไปจัดกระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียนหรือในห้องเรียนตัวเองก็ได้อย่างน้อยหนึ่งครั้ง หลังจากนั้นให้กลับมาแชร์กันว่าพอลงไปทำกิจกรรมจริงแล้วมีอะไรเกิดขึ้น มีบทเรียนอะไรที่เจอ หรือเจอเครื่องมืออะไรใหม่ๆ ที่คุณไปสร้างสรรค์แล้วเกิดการเรียนรู้อะไรบ้าง ก็ให้มา celebrate ตรงนั้น

Tags:

โคชเทคนิคการสอนการฟังและตั้งคำถามก่อการครูคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์อธิษฐาน์ คงทรัพย์transformative learning

Author:

illustrator

ณิชากร ศรีเพชรดี

แอดมิชชันเข้าคณะการเขียนและสิ่งพิมพ์เพราะคิดว่าเขาจะสอนให้เขียนนิยาย แทนที่จะได้เขียนจากจินตนาการ อาจารย์และทุกอย่างที่นั่นเคี่ยวกรำให้ทำ-คิด-เขียน-รู้สึกกับประเด็นสังคม ยังคงสนุก(มาก)กับงานสื่อสาร ฝันสูงสุดคือยังเข้มแข็งเขียนงานได้อย่างมีคุณภาพและฐานะดี

Related Posts

  • Learning Theory
    สื่อสารกันอย่างสันติ: ครูกับเด็กเป็นมนุษย์เท่ากันในห้องเรียน

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • How to enjoy lifeFamily Psychology
    หยุดทำร้ายใจด้วยคำพูด เริ่มต้นกันใหม่ด้วยการสื่อสารอย่างสันติ

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ บัว คำดี

  • Creative learning
    MAGICAL CLASSROOM: ครูทุกคนต่างมีเวทมนตร์ในตัวเอง

    เรื่อง กิติคุณ คัมภิรานนท์

  • Transformative learning
    HEAR STRATEGY: เทคนิคง่ายๆ ฝึกทักษะการ ‘ฟัง’ ให้กับเด็กๆ

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • Transformative learning
    ‘THEORY U’ การฟัง 4 ระดับ: ลองเช็ค คุณ ‘ฟัง’ ระดับไหน

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

ถ้าไม่เวิร์ค เลิกก็ได้นะลูก – ประโยคที่เด็กอยากได้ยินมากที่สุด
Family Psychology
11 May 2018

ถ้าไม่เวิร์ค เลิกก็ได้นะลูก – ประโยคที่เด็กอยากได้ยินมากที่สุด

เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

  • ในนามความรักและความหวังดี พ่อแม่มักจะส่งให้ลูกเรียนนั่นโน่นนี่ เพื่อมีวิชาติดตัวให้มากที่สุด
  • หลายครั้งลูกไม่ชอบ ไม่มีความสุข จะขอเลิกเรียนก็ไม่ได้ กลัวพ่อแม่เสียใจ หรือขออย่างไรคำตอบก็คือไม่ได้อยู่ดี
  • จะดีกว่ามากๆ ถ้าพ่อแม่ลงมาดูแล เอาใจใส่ และเปิดใจกว้าง มองว่าสิ่งที่ให้ลูกเรียนอยู่นี้ ทุกข์มากกว่าสุข
  • แล้วเป็นฝ่ายบอกลูกเองว่า “ถ้ามันไม่เวิร์ค เลิกก็ได้นะลูก” แต่จะบอกตอนไหน บทความนี้มีคำตอบ

พ่อๆ แม่ๆ ทุกคนน่าจะเคยผ่านจุดนี้ จุดที่ลูกๆ เว้าวอน ร้องขอ เลิก ไม่เรียนนั่นโน่นนี่ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะดูเลอค่าหรือมีประโยชน์แค่ไหนก็ตาม เช่น ว่ายน้ำ ฟุตบอล เปียโน บัลเล่ต์ จินตคณิต ญี่ปุ่น ไปจนถึงอานาปานสติแบบง่ายๆ (ฝึกกำหนดลมหายใจเข้าออก – แหม ก็หนูไม่ชอบนี่นา)

เมื่อคำขอถูกปฏิเสธ เราจึงเห็นเด็กๆ หนีเรียน มุ่งเล่นเกม หรือเรียนไปงั้นๆ จบวันก็ส่งคืนครู บางรายขยับขั้นเป็นความไม่ชอบ เกลียดฝังใจไปเลย

เรื่องของเรื่องก็คือ เหตุผลของเด็ก = ข้ออ้างของผู้ใหญ่

เมื่อเหตุผลของเด็กโดนตีตกแทบจะทุกครั้ง ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วเมื่อมันไม่เวิร์ค เขามีสิทธิ์ที่จะลาออก (เหมือนผู้ใหญ่ลาออกจากงานนั่นแหละ) แต่สำหรับเด็ก เขาต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ใหญ่ว่าเมื่อไหร่ถึงจะเลิกได้ เพื่อจะได้ไปเริ่มและลองสิ่งใหม่ๆ ที่น่าสนใจกว่า

ขึ้นอยู่กับว่าพ่อแม่ใจกว้างพอหรือไม่ที่จะยอมรับและเอ่ยออกมาเองว่า “ถ้าไม่เวิร์ค เลิกก็ได้นะลูก”

แต่จะบอกอย่างไร และบอกเมื่อไหร่  เรามีคำแนะนำอย่างเป็นระบบจากผู้เชี่ยวชาญ

เด็กๆ ควรเลิกก็ต่อเมื่อ…

ดร.แคเธอรีน เพิร์ลแมน (Catherine Pearlman) นักเขียน โค้ช และผู้เชี่ยวชาญด้านครอบครัว กล่าวว่า สำหรับเด็กบางคน การได้เริ่มเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ นำมาซึ่งความกลัวและความกังวลระดับพายุถล่ม

“ความกลัวมีเสมอ มันไม่สำคัญว่าพวกเขาต้องการทำหรือเรียนสิ่งนั้นมากแค่ไหน หรือ มันมาจากความคิดริเริ่มของเด็กเองหรือเปล่า”

ความกังวลที่มีต่อสถานการณ์ใหม่ๆ ทางสังคม หรือ ข้อเรียกร้องให้เด็กๆ ทำโน่นทำนี่ในกิจกรรม ยิ่งกลายเป็นหินก้อนใหญ่ยักษ์ที่หล่นทับลงมา

ถ้าเป็นเช่นนั้น “การเลิกหรือหนี” ของเด็กอมทุกข์คนหนึ่งจากหินก้อนใหญ่ อาจกลายมาเป็นวิธีหลักในการแก้ปัญหาของชีวิตเมื่อเติบโตต่อไป ถ้าเด็กคนนั้นไม่เคยถูกสอนให้รับมือกับความเสียใจ

เพื่อไม่ให้ปรากฏการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้น สิ่งที่พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ควรทำคือ คอยดุนหลัง รับฟัง สนับสนุน ระหว่างการเรียนหรือทำกิจกรรม ไม่ว่าสถานการณ์นั้นจะเต็มไปด้วยความสุข ความกดดัน การชนะ ความแข็งแกร่ง ฯลฯ ทั้งหมดนี้จะหลอมรวมกันกลายเป็นการรู้จักยืดหยุ่น – เกราะสำคัญของอนาคต

พวกเขาคือนักสู้

ไม่มีมนุษย์คนไหนอยากพ่ายแพ้ แต่สำหรับเด็กบางคน เป้าหมายที่ไม่ได้อยากจะเป็นเลิศหรือเป็นที่หนึ่งนั้น เป็นเหตุผลเพียงพอที่พวกเขาจะโบกธงขาว

“โดยทั่วไปแล้ว เด็กๆ ที่มีแนวโน้มว่าจะถอยหรือเลิก ก็ต่อเมื่อสิ่งที่ทำอยู่นั้นไม่ได้รับความใส่ใจและคำแนะนำจากผู้ใหญ่หรือพ่อแม่ว่าควรไปต่อหรือเลิกดี”

เพิร์ลแมนยังบอกอีกว่า “เด็กจำนวนไม่น้อยติดกับอยู่ความพ่ายแพ้, ทำดีที่สุดไม่ได้ หรือหาคุณค่าในตัวเองไมได้สักที

“ไม่ว่าจะลำเอียง โดนดูถูก หรือเหยียดหยามเด็กๆ เหล่านี้ควรถูกผลักให้มีความสู้ มุ่งมั่น ฝ่าฟัน สถานการณ์จริงไปได้ – แล้วพวกเขาจึงจะเติบโตขึ้น” เพิร์ลแมนย้ำ

เมื่อทุกข์มากกว่า ก็หยุดเถอะ

“เด็กๆ ในชั้นเรียนดนตรี พวกเขาไม่ได้ born to be แต่พวกเขาถูกฝึกฝน” เป็นคำพูดของศาสตราจารย์โรเบิร์ต คูเตียตตา (Robert Cutietta) นักวิจัย นักเขียน และผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการดนตรีและการศึกษา

“จากจุดเริ่มต้น พ่อแม่จำเป็นต้องเตรียมตัวเตรียมใจ ในเวลาที่เด็กๆ ไม่ได้ชอบที่จะเล่นเครื่องดนตรีชิ้นนั้นๆ อีกแล้ว” ด้วยการตั้งเป้าหมายที่มีโอกาสสำเร็จมากกว่าและออกแบบชั่วโมงการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ

สำหรับกีฬา ข้อพึงปฏิบัติง่ายๆ มีอยู่ว่า อยู่ไปให้จบฤดูกาล หลังจากเด็กๆ ถูกดุนหลังให้อดทนขยันซ้อมจนรู้ทางเพื่อนร่วมทีม จากนั้นพวกเขาจะประเมินได้เองว่าจะไปต่อหรือหยุด

“ถ้าเด็กๆ ขอร้องที่จะเลิกเล่นหรือเลิกเรียนกิจกรรมนั้นๆ ที่พวกเขาใช้เวลาไปอย่างคุ้มค่าและมุ่งมั่น แต่สุดท้ายแล้วความสนอกสนใจกลับไม่ไปต่อ ก็ปล่อยพวกเขาไปเถอะ” เป็นคำแนะนำจากเพิร์ลแมน เพราะหลังจากนั้น สิ่งที่พวกเขาจะมีติดตัวคือประสบการณ์จากกิจกรรมที่ผ่านไป และระบบประสาทตั้งต้น (ในทุกครั้งที่เริ่มลองสิ่งใหม่ๆ) จะไม่ใช่แค่ “ทำเล่นๆ ” อีกต่อไป

“บางครั้งการเป็นส่วนหนึ่งของทีมหรือห้องเรียน ก่อให้เกิดความเครียดแก่เด็กหรือครอบครัวโดยไม่ได้ตั้งใจ และเมื่อความทุกข์ล้ำหน้าความสนุกไป ก็หยุดเถอะ”

ก็แค่มันไม่เหมาะ

เด็กบางคนไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นนักว่ายน้ำท่าผีเสื้อ แต่ชอบที่จะนั่งเล่นหมากรุกมากกว่า และเมื่อเด็กและกิจกรรมไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สิ่งที่ได้กลับมาคือ ‘การรู้จักตัวเอง’ ซึ่งได้จากการหันหลังให้บางสิ่ง

“ข้อสังเกตคือ การยืนยันหรือยืนกราน คือเครื่องมือสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จและความสุขอย่างแท้จริง” ประโยคนี้ปรากฏในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Psychological Science

“อย่างไรก็ตาม เมื่อใครก็ตาม เผชิญกับสถานการณ์ที่รู้ตัวเองว่านั่นไม่ใช่เป้าหมายสำคัญของชีวิตแน่ๆ” ปฏิกิริยาตอบรับทางกายและใจ อาจเป็นการไม่เอาตัวผูกพันกับเป้าหมายนั้นๆ และหลายครั้งการยืนกรานหรือยืนยัน อาจจำให้สุขภาพและความเป็นอยู่ดีขึ้นแบบไม่รู้ตัว

เพียงแค่พ่อแม่ตอบคำถามง่ายๆ ให้ได้ว่า

“กิจกรรมนั้น ทำให้เด็กๆ มั่นใจในตัวเองมากขึ้น หรือ หายไปเลย” โดยไม่โกหกหรือเข้าข้างตัวเอง

ที่มา:
When It Is And Isn’t OK To Let Your Kids Quit

Tags:

พ่อแม่ปฐมวัยวัยรุ่นจิตวิทยาความเข้าอกเข้าใจ(empathy)

Author:

illustrator

ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

อดีตนักข่าวที่ผันตัวมาทำงานด้านการเรียนรู้(อย่างรื่นรมย์) ด้วยอินเนอร์คุณแม่ลูกหนึ่ง(ที่เป็นวัยรุ่นและขายาวมาก) รักการทำงานก็จริงแต่ชอบหนีไปออกกำลังกายตามคำบอกของคุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เพื่อให้ชีวิตการงานสมดุลอยู่

Related Posts

  • How to enjoy life
    ณัฐวุฒิ เผ่าทวี: เศรษฐศาสตร์ความสุขในครอบครัว “ถ้าคนหนึ่งสุขที่สุด แล้วคนอื่นทุกข์อยู่หรือเปล่า”

    เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะรชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • Voice of New Gen
    9 เด็กจาก TED TALK กับ 9 เรื่องเล่าที่ผู้ใหญ่ไม่เคยฟัง

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • Early childhoodLearning Theory
    EP.1: THE TWELVE SENSES ปรัชญาการเติบโตของมนุษย์ตั้งแต่ระดับ ‘เซลล์’ และ ‘โซล’

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่างบัว คำดี

  • How to get along with teenagerAdolescent Brain
    สมองสุขภาพดีของวัยรุ่น ผู้ใหญ่สร้างได้

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Life classroom
    SELF-COMPASSION: ไม่ต้องใจร้ายกับตัวเองมากนักก็ได้วัยรุ่น

    เรื่อง ชลิตา สุนันทาภรณ์

ฝังชิปการเรียนรู้ ต้องอนุญาตให้เด็กถามว่า ‘ทำไม?’
Early childhoodLearning Theory
9 May 2018

ฝังชิปการเรียนรู้ ต้องอนุญาตให้เด็กถามว่า ‘ทำไม?’

เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • คุณเคยพูดคนเดียวไหม? คุณพูด ถาม ทบทวน เล่าให้คนในอากาศฟัง สุดท้ายแล้วมันนำไปสู่อะไร ความอับอายบ้าบอเพราะพูดคนเดียว หรือความรู้สึกปลอดโปร่งและบางทีอาจทบทวนจนพบความรู้สึกใหม่?
  • ใกล้เคียงกับ ‘การสะท้อนคิด‘ กระตุ้นให้เด็กๆ สำรวจความคิด สังเกตสิ่งที่เรียนรู้ และเชื่อมโยงตัวเองกับเนื้อหาได้ลึกซึ้ง
  • “เมื่อเด็กๆ ตอบคำถาม พวกเขาก็จะได้เรียนรู้จากคนอื่น รับรู้ว่ามีเพื่อนอีกหลายคนที่เจอปัญหาแบบเดียวกัน”
  • เด็กๆ อาจเบื่อหน่ายและคิดว่าเป็นอีก ‘งาน’ น่าเบื่อที่ต้องทำ แต่เมื่อกระตุ้นให้พวกเขาคอยสังเกตความคิดอยู่เสมอ งานที่ว่านั้นจะกลายเป็นการตระหนักรู้ภายใน สร้างความมั่นใจ รู้จักควบคุม และสะท้อนตัวตนออกมาได้ชัดเจนขึ้น

“ไม่รู้จะเรียนไปทำไม” – ประโยคนี้คุ้นหูกันบ้างไหม

เมื่อไม่เห็นความเชื่อมโยงของตัวเองกับสิ่งที่เรียน เด็กๆ ก็จะไม่รู้เหตุผลที่ต้องตั้งใจเรียนไปมากกว่าสร้างความพอใจให้พ่อแม่หรือเพื่อคะแนนสอบ

แต่ แอนนา เดอร์ฟี (Anna Durfee) ครูสอนภาษาอังกฤษในรัฐไอดาโฮ สหรัฐอเมริกา บอกว่า เมื่อเด็กๆ เชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียนได้ พวกเขาจะมั่นใจ รู้จักตัวเอง และไปได้ไกลกว่าแค่ ‘เรียนหนัก’ อย่างเดียว

เธอยกตัวอย่างลูกสาววัย 11 ปีของตัวเอง “หลังเข้าเรียนยิมนาสติกไม่กี่สัปดาห์ เธอกลับบ้านมาพร้อมความว้าวุ่นเพราะโค้ชให้เธอทำท่าใหม่ สองสามครั้งแรกเกือบดี แต่ยังไม่ใช่ จนกระทั่งครั้งที่ห้าถึงทำได้สมบูรณ์แบบ แต่หลังจากนั้นมันก็ไม่เกิดขึ้นอีกแม้จะพยายามอีกเป็นสิบครั้งก็ตาม เธอบอกว่า ‘หนูแค่ทำไม่ได้อะแม่ มันเหมือนว่ายิ่งฝึกก็ยิ่งแย่ลงทุกที’”

เดอร์ฟีถามลูกว่า ครั้งที่ห้าเธอทำอย่างไร เด็กหญิงได้แต่คิดแล้วตอบว่า “หนูก็ไม่รู้”

อีกด้านหนึ่ง เบธ ฮอลแลนด์ (Beth Holland) นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยจอห์นส ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University) เข้าสังเกตการณ์การเรียนการสอนในห้องเรียนแห่งหนึ่งร่วมกับอาจารย์หลายคน พวกเขาพบว่า

นักเรียนบอกได้เพียงสิ่งที่กำลังทำ แต่ไม่รู้ว่ากำลังเรียนรู้อะไรอยู่

ฮอลแลนด์ได้แนะนำให้ชั้นเรียนนั้นได้รู้จักแนวคิดของการสะท้อนคิด (reflection) เพื่อกระตุ้นให้เด็กๆ สำรวจ สังเกตสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ และเชื่อมโยงตัวเองกับเนื้อหาได้ลึกซึ้งมากขึ้น เช่นเดียวกับเดอร์ฟีที่ใช้วิธีเดียวกันมาปรับใช้กับลูกและนักเรียนของเธอ

เพราะ ‘ยิ่งฝึกยิ่งเก่ง’ อาจไม่จริงอีกต่อไป หากการฝึกซ้ำๆ นั้นไร้ทิศทาง

เริ่ม ‘สะท้อน’ ด้วยคำถาม

การสะท้อนคิด คือการหยุดคิดว่าตอนนี้เราได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง เรากำลังจะทำอะไร สิ่งใดดีสิ่งใดเหมาะสมแก่การทำต่อไป สิ่งใดควรหยุดหรือแก้ไข และมีแนวทางในการดำเนินการอย่างไร

“เป็นการวิเคราะห์ตัวเอง เพราะการมองเห็นความสามารถของตัวเองจริงๆ ช่วยให้เรียนรู้ได้ลึกและมีประสิทธิภาพดีขึ้น” ฮอลแลนด์กล่าว

ถึงจะเคยสำเร็จก็ไม่ได้แปลว่าจะได้รับความสำเร็จต่อไปโดยอัตโนมัติ และถึงจะเคยล้มเหลว ก็ไม่ได้แปลว่าต้องล้มเหลวตลอดกาล สิ่งที่จะวัดได้ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลวอยู่ที่การควบคุมความสามารถตัวเองให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ และการสะท้อนคิดจะทำให้อำนาจการควบคุมนั้นอยู่ในมือเด็กๆ ได้

คำถามคือจะเริ่มต้นอย่างไร – “ทุกอย่างเริ่มต้นด้วยคำถาม” ฮอลแลนด์กล่าว

เพราะการสะท้อนคิดทำงานควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนรู้ตามธรรมชาติและทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม (Bloom’s Taxonomy) ที่เชื่อว่า การเรียนการสอนจะประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพเมื่อ ผู้สอนกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน ดังนั้น

คำถามจึงควรเริ่มจากการรื้อฟื้นความทรงจำ แล้วต่อด้วยคำถามถึงความเข้าใจ และปิดท้ายด้วยคำถามถึงความเชื่อมโยง

อาจเป็นคำถามง่ายๆ อย่าง “วันนี้ฉันทำอะไร” ต่อด้วย “สิ่งที่ฉันทำมีความสำคัญอะไร” และ “ฉันทำได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร” เหล่านี้จะเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้ทบทวนหลากหลายมิติของตัวเอง

แต่ถ้ายังไปไม่เป็นว่าจะถามอะไร โปรเจ็คต์ซีโร (Project Zero) กลุ่มวิจัยด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้จัดชุดคำถามสามข้อมาให้เห็นภาพกว้างที่จะไปสู่การสะท้อนคิดได้ง่ายขึ้น

  • เชื่อมโยง: ลองวาดสี่เหลี่ยมแล้วถามว่า “แนวคิดที่ฉันเพิ่งเรียนมา เชื่อมโยงกับสิ่งที่รู้อยู่แล้วอย่างไร” หรือ “บทเรียนนี้ตรงกับความคิดของฉันอย่างไรบ้าง”
  • ขยาย: ลองวาดสามเหลี่ยมแล้วถามว่า “การเรียนรู้ครั้งนี้ขยายความคิดของฉันอย่างไร” หรือ “สิ่งที่ฉันได้รับจากบทเรียนครั้งนี้คืออะไร”
  • ความท้าทาย: ลองวาดวงกลมแล้วถามว่า “อะไรที่ฉันยังคิดว่าเป็นอุปสรรค” หรือ “คำถามอะไรที่ยังกวนใจฉันอยู่”

ทั้งสามหัวข้อนี้จะช่วยให้เด็กๆ ได้กลั่นเอาความคิดของตัวเองออกมา และสร้างความเชื่อมโยงกับเนื้อหาที่เพิ่งเรียนไป กระตุ้นต่อมสงสัยเพื่อให้พวกเขาได้ลองถามตัวเองด้วยคำถามใหม่ๆ ที่จะเปิดประตูให้พวกเขาได้เรียนรู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ด้วย

FAMILY DINNER

เพราะทุกคำถามมีไว้หาคำตอบ เดอร์ฟีจึงนำแนวทางการตั้งคำถามนี้ไปเป็นกิจกรรมเพื่อใช้กับลูกๆ ของเธอที่บ้าน เธอตั้งชื่อกิจกรรมนี้ว่า ‘มื้อเย็นของครอบครัว’ (Family Dinner)

“วันนี้หนูได้เรียนรู้อะไรมาบ้าง” หัวข้อยอดฮิตในเวลามื้อเย็นของครอบครัว และเธอได้นำไปปรับใช้กับนักเรียนที่โรงเรียนด้วย

ในระหว่างทางและตอนท้ายของการทำแต่ละโปรเจ็คต์ของห้องเรียน เธอจะจัดโต๊ะเสมือนมื้อเย็นของครอบครัวที่สมาชิกทุกคนต่างร่วมโต๊ะอาหาร พูดคุยถึงเรื่องราวในหนึ่งวันที่ผ่านมา เธอแจกขนมให้นักเรียนทุกคนระหว่างการพูดคุยสะท้อนตัวตน ระหว่างนั้นก็หยิบการ์ดที่มีชื่อนักเรียนแต่ละคนแล้วถามคำถามกระตุ้นให้นักเรียนสะท้อนความคิดของตัวเอง เช่น “แต่ละวัน เธอทำอะไรที่ช่วยให้โปรเจ็คต์สำเร็จ” หรือ “เธอรู้สึกแพ้หรือล้มเหลวกับโปรเจ็คต์นี้ตอนไหน และเพราะอะไร”

แต่ละครั้งจะมีเด็กสี่คนที่ได้รับบทบาท ตั้งแต่คนเลือกคำถาม คนกระตุ้นให้คนอื่นอธิบายคำตอบของตัวเอง คนควบคุมดูแลหัวข้อเพื่อให้การพูดคุยไม่หลุดจากหัวข้อที่ตั้งไว้ และคนให้กำลังใจที่คอยดูให้แน่ใจว่าทุกคนมีโอกาสพูดถึงความคิดของตัวเอง

“การพูดคุยสะท้อนตัวตนมักจะเริ่มต้นอย่างช้าๆ แต่นักเรียนก็ค่อยๆ คุ้นเคยกับมัน และไม่นานเราก็ได้ยินประโยคว่า “ถึงหนูจะภูมิใจกับผลงาน หนูก็คิดว่าอาจทำได้ดีกว่านี้ถ้า…” หรือ “ผมรู้สึกขาดแรงบันดาลใจระหว่างทำโปรเจ็คต์นี้ ผมว่าผมควรขอความช่วยเหลือ”

เมื่อเด็กๆ ตอบคำถาม พวกเขาก็จะได้เรียนรู้จากคนอื่นๆ รับรู้ว่ามีเพื่อนอีกหลายคนที่เจอปัญหาแบบเดียวกัน

บันทึกแล้วก้าวไปข้างหน้า

ถัดจากคำถามคือการบันทึก ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการอภิปรายและเผยแพร่ความคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียน

แต่หัวใจสำคัญของการบันทึกยังคงอยู่ที่การเรียนรู้ ไม่ใช่แค่การโชว์ผลงาน เมื่อเด็กๆ สามารถสะท้อนให้คนอื่นเห็นประสบการณ์ของตัวเอง พวกเขาจะตระหนักถึงกระบวนการและวิธีการต่างๆ ที่จะพาพวกเขาไปสู่ความสำเร็จ ให้พวกเขาได้เรียนรู้จากความสำเร็จของตัวเองเช่นเดียวกับเรียนรู้จากความล้มเหลวที่ได้รับ

ในหนังสือ Digital Student Portfolios โดย แมทท์ เรนวิค (Matt Renwick) เขียนถึงความจำเป็นของบันทึกการสะท้อนคิดไว้ว่า “เราสามารถทำให้การเรียนรู้มีชีวิตได้ …และผลงานของเด็กๆ สามารถเป็นตัวแทนความก้าวหน้า สะท้อนความคิดของพวกเขาผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ของตัวเอง”

อย่างไรก็ตาม เด็กๆ อาจเบื่อหน่ายและคิดว่าเป็นอีก ‘งาน’ น่าเบื่อที่ต้องทำ แต่เมื่อกระตุ้นให้พวกเขาคอยสังเกตความคิดอยู่เสมอ งานที่ว่านั้นจะกลายเป็นการตระหนักรู้ภายใน สร้างความมั่นใจ รู้จักควบคุม และสะท้อนตัวตนออกมาได้ชัดเจนขึ้น

รอนดา มิทเชลล์ (Rhonda Mitchell) ครูจากโรงเรียนทรินิตี (Trinity School) รัฐแอตแลนตา เคยเขียนไว้ว่า “พลังที่แท้จริงของการบันทึกคือการหวนกลับไปดู ในฐานะผู้ให้ความรู้ ความท้าทายของเราคือการทำให้แน่ใจว่า นักเรียนมีโอกาสที่จะได้เห็นว่าพวกเขาสร้างผลงานที่มีความหมายและสามารถหวนกลับไปดู กลับไปเรียนรู้ได้อีกครั้ง และอีกครั้ง”

แต่ทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลา

ในระหว่างนั้น หน้าที่สำคัญของครูและผู้ปกครองคือช่วยให้เขารับรู้ความสามารถของตัวเองและพัฒนาต่อไปได้ถึงที่สุด

อ้างอิง:
Frameworks for Reflection
The Art of Reflection

Tags:

พ่อแม่เทคนิคการสอนการฟังและตั้งคำถาม

Author:

illustrator

ลีน่าร์ กาซอ

ประชากรชาวฟรีแลนซ์ที่เพลิดเพลินกับเรื่องสยองกับของเผ็ด และเป็นมนุษย์แม่ที่ศึกษาจิตวิทยาเด็กอย่างเอาเป็นเอาตาย

Related Posts

  • Learning Theory
    7 วิธี ตั้งคำถามแบบโสเครติส

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Transformative learning
    TEACHING EMPATHY: สอนเด็กให้ ‘เข้าอกเข้าใจ’ ลงมือทำ แบ่งปัน มองปัญหาผู้อื่นให้ทะลุปรุโปร่ง

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • Transformative learning
    วิชาฝึกฟัง: อยากให้เด็ก ‘คิด’ เป็น แต่ไม่เคยสอนให้ ‘ฟัง’ เป็น

    เรื่อง The Potential

  • Transformative learning
    เดชรัต สุขกำเนิด: วาร์ปไปเข้าใจโลกที่ต่างโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ ด้วยบอร์ดเกม

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Transformative learning
    ‘ก่อการครู’ เปลี่ยนห้องเรียนด้วยการ ‘ฟังอย่างลึกซึ้ง’ และ ‘ตั้งคำถามไม่รู้จบ’

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

VICARIOUS TRAUMA: โรคซึมเศร้าของคนเป็นครู
Relationship
7 May 2018

VICARIOUS TRAUMA: โรคซึมเศร้าของคนเป็นครู

เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • หน้าที่ครูไม่ใช่แค่การสอน แต่มักเป็น ‘พยาน’ รับรู้ความเศร้าหมองและบาดแผลของนักเรียนที่พกติดตัวมาจากบ้านและชุมชน
  • เมื่อต้องฟังแต่เข้าไปช่วยแก้ทุกสิ่งอย่างไม่ได้ นานวันเข้าจึงพัฒนาไปสู่ความเศร้าหมองทางจิตใจที่เรียกว่า ‘vicarious trauma‘ บาดแผลที่ได้รับจากการฟังเรื่องราวทุกข์ใจอย่างต่อเนื่องยาวนาน
  • บทความนี้จะอธิบายว่าอาการของมันเป็นอย่างไร และวิธีแก้ไขเบื้องต้น คืออะไรได้บ้าง
  • สิ่งสำคัญก็คือ การขีดเส้นแบ่งให้ชัดระหว่างความคาดหวังที่จะเกิดได้จริง เส้นแบ่งความเป็นส่วนตัวระหว่างใจตัวเองกับนักเรียน และมันโอเคนะ กับการบอกว่าครูเข้าไปแก้ปัญหาทุกอย่างของนักเรียนไม่ได้ทุกเรื่องจริงๆ

‘With Student Trauma, It’s OK to Set Boundaries’

คือชื่อบทความที่แปลเป็นไทยคู่กับบริบทภายในเรื่องได้ว่า “กับบาดแผลของนักเรียน มันโอเคที่ (ครู) จะกำหนดขอบเขตว่าจะซึมซับ รับฟัง และเข้าไปแก้ปัญหาของนักเรียนได้แค่ไหน” พร้อมกำชับในพาดหัวรองว่า วิธีนี้ไม่ใช่แค่ความคิดหรือคำคมแสนสวยงามชุบชูใจ แต่เป็นเรื่อง ‘จำเป็น’

ที่มาของเรื่องก็คือ หน้าที่ครูไม่เคยใช่แค่การสอน แต่ครูมักเป็น ‘พยาน’ รับรู้ความเศร้าหมอง บาดแผลของนักเรียนที่พกติดตัวมาจากบ้าน จากชุมชน จากความสัมพันธ์แสนเปราะบาง จากประสบการณ์ชีวิตของพวกเขาเอง ทั้งหมดนั้นระบายออกผ่านสีหน้า วิธีพูด คิด การตอบสนอง พฤติกรรมในห้องเรียน และความสามารถในการเรียนรู้

ทั้งหมดนี้ทำให้ครู แม้ไม่ได้มีบาดแผลทางตรง แต่เมื่อรับฟังหรือร่วมรับรู้ -ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง – แบบวันต่อวัน จึงอาจเรียกว่าเป็นหนึ่งในพยาน หัวใจของครูถูกกระทบ และนั่นนำมาซึ่งอาการ – ใช่แล้ว นักวิชาการสุขภาพจิตและนักจิตวิทยา ระบุว่ามันคืออาการ ‘vicarious trauma’ หรือ บาดแผลที่ได้รับจากการฟังเรื่องราวทุกข์ใจอย่างต่อเนื่องยาวนาน

บทความชิ้นนี้สัมภาษณ์ ไมเซียร์ คีลส์ (Micere Keels) ผู้ช่วยศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยชิคาโก และผู้ก่อตั้ง TREP Project หน่วยงานที่ให้คำแนะนำแก่ครูเรื่องการจัดการกับบาดแผลของทั้งนักเรียนและตัวครู ประเด็นเรื่อง จะรู้ได้อย่างไรว่าครูถูก vicarious trauma เล่นงาน อาการเป็นอย่างไรบ้าง และจะรับมือกับมันได้อย่างไร

vicarious trauma คืออะไร?

อันที่จริงแล้วความทุกข์ยากอันถูกหล่อหลอมจากความกดดัน และถูกเล่นงานในเชิงอารมณ์ (emotional) เกิดขึ้นกับทุกวิชาชีพ แต่เฉพาะบาดแผลชั้นสองจากการรับฟังชีวิตที่มีปัญหาของคนอื่น หรือ vicarious trauma ทำให้ครู – ซึ่งไม่ใช่นักจิตวิทยา อาจทำให้เป็นปัญหาเฉพาะของวงการครูผู้สอน

คีลส์อธิบายว่า มาตรวัดของ vicarious trauma คือเมื่อคุณและคนรอบข้างเริ่มสังเกตได้ว่าคุณตกอยู่ในความเศร้าล้ำลึก ยากจะถอนความรู้สึกออกมา เป็นความอ่อนล้าโรยแรงอย่างที่คุณคิดว่าอาจเป็นอาการ ‘หมดไฟ’ (burnout) จากการทำงานปกติ

แต่ถ้าลองเปรียบเทียบตัวเองในช่วงเวลาปกติ แล้วคุณพบว่าตัวเองเศร้าบ่อย โกรธบ่อย กระวนกระวายบ่อย นำไปสู่ความเครียดอื่นๆ ที่เแสดงออกผ่านร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ท้องผูก เครียดลงกระเพาะ ไร้เรี่ยวแรงไม่อยากลุกขึ้นทำสิ่งใด

จากนั้นคุณอาจเริ่มรำคาญสมาชิกในบ้าน โดดเดี่ยวตัวเองจากเพื่อนฝูง สำคัญก็คือ คุณเริ่มถอยตัวเองจากเรื่องราวของนักเรียน ไม่รู้สึกอะไรต่อความทุกข์ยากที่อยู่ตรงหน้า และเริ่มแสดงท่าทีเชิงลบต่อนักเรียนและเพื่อนร่วมงานของตัวเอง

ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องที่คุณจะดูเบาแล้วปล่อยให้มันผ่านไป เพราะนอกจากมันจะค่อยๆ กลืนกินตัวคุณจนมีผลต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้างและที่ทำงาน ยังเป็นการเพาะเชื้อความเศร้า ลุกลามจนพัฒนาเป็นความป่วยไข้ทางจิตใจในขั้นต่อไปด้วย

แต่คีลส์ย้ำว่า มันเป็นเรื่องปกติที่ครูจะรู้สึกไร้ซึ่งความหวัง ไร้ความกระตือรือร้นเท่าที่เคยเป็น เพราะหลายครั้งสิ่งที่ครูรับฟังเป็นเรื่องที่พวกเขาไม่อาจแก้ไขหรือช่วยอะไรได้ (นอกจากรับฟัง) แต่ในเมื่อต้องเป็นผู้ฟัง ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะรู้สึกว่า ต้องเข้าไปรับผิดชอบ รู้สึกท่วมท้นด้วยความรู้สึกหลากหลาย ครูอาจรู้สึกว่า ถ้าครูไม่เข้าไปช่วย ครูกำลังทำลายความไว้ใจของนักเรียน ครูจะทำความหวังของนักเรียนร่วงหล่น

แต่… ด้วยข้อจำกัดการเป็นมนุษย์และหน้าที่ ไม่ใช่ทุกเรื่องที่คุณ (และ) ครูจะเข้าไปแก้ไขได้

วิธีดูแล (ความรู้สึก) ตัวเอง

ก่อนทุกอย่างจะระเบิด คีลส์แนะนำวิธีดูแลตัวเองที่ปรับใช้เพื่อบรรเทาอาการ พยานและบาดแผลชั้นที่สองของนักเรียน สำคัญแค่ว่า ต้องยอมรับก่อนว่าปัญหาแบบนี้มีอยู่จริง จึงจะนำไปสู่วิธีการแก้ปัญหา ซึ่งมีตัวอย่างหรือไอเดียง่ายๆ ดังต่อไปนี้

ผ่อนปรนนโยบายการเป็น ‘ผู้เชี่ยวชาญด้านการโดดเดี่ยว’

หาเพื่อนร่วมงานที่คุณไว้ใจพอจะเล่าปัญหา ความอ่อนไหวอ่อนแอของคุณให้ฟังได้ (ในที่นี้ เพื่อนร่วมงานสำคัญมากเพราะต่อให้เป็นเพื่อนสนิท ก็ไม่เข้าใจเพราะไม่เห็นบริบท เห็นข้อจำกัดในงานทั้งหมด – ผู้เขียน) วิธีนี้จะทำให้คุณเห็นว่าคุณไม่ได้ไร้ประสิทธิภาพ สถานการณ์ที่เผชิญอยู่เป็นเพียงอุปสรรคหนึ่งในการทำงานเท่านั้น และยังได้เห็นวิธีการแก้ปัญหาของเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ ด้วย

พัฒนาตัวเองสู่การเป็น ‘ผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ปัญหา’

คีลส์กล่าวว่า หนึ่งในสิ่งท้าทายที่สุดในการทำงานกับนักเรียนซึ่งล้วนแต่มีปัญหาชีวิตหนักเบาไม่เท่ากัน (แต่มาพร้อมกันทีเดียวก็เล่นเอาหนัก) คือการที่ครูคนนั้นพัฒนากระบวนการดูแลจิตใจของตัวเองและนักเรียนได้

คีลส์เล่าว่า สิ่งที่เธอได้ยินจากครูมากที่สุดก็คือ “สิ่งที่ยากที่สุดจนอยากจะลาออกไปเลย คือรู้ว่าสิ่งที่คุณทำมันไม่เวิร์ค แต่ก็ไม่รู้อีกเช่นกันว่าจะทำให้ดีขึ้นได้อย่างไร” หมายความว่า คงจะดีไม่น้อยถ้ามีการรวมตัวครู การจัดเวิร์คช็อปเพื่อให้ครูได้คิดหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน หรือถ้ามีเวิร์คช็อปเหล่านั้นแล้ว อย่ารีรอที่จะเข้าไปทดลองดูว่า กระบวนการเหล่านั้นมันเหมาะกับเราไหม ได้หรือไม่ได้ผลอย่างไร

เธอยกตัวอย่างโรงเรียนประถมศึกษาฟอล-แฮมิลตัน (Fall-Hamilton Elementary) เมืองแนชวิลล์ (Nashville) ใช้วิธี ‘แปะมือ’ หรือ tap-in/tap-out คือ ในกรณีที่ครูเจ้าของวิชานั้นรู้สึกว่ามีความเครียดในห้องเรียนมากเกินไป ก็ให้เมสเสจหาเพื่อนครูด้วยกันเข้ามารับช่วงอีกต่อหนึ่ง เมื่อรู้สึกว่าความเข้มข้นด้านความรู้สึกของตัวเองบรรเทาลงแล้ว ค่อยเข้าไปในห้องเรียนนั้นใหม่

วิธีการอะไรก็ได้ที่ถูกคิดร่วมกันเพื่อบรรเทาความเครียดที่ท่วมท้นของคุณครู

ขีดเส้นแบ่งให้ชัดระหว่างความคาดหวังที่จะเกิดได้จริง และเส้นแบ่งความเป็นส่วนตัวระหว่างใจตัวเองกับนักเรียน

ความช่วยเหลือและขุมกำลังใจที่ไม่มีวันหมด, อาหาร, ความสัมพันธ์แบบผู้พิทักษ์, การดูแลในชีวิตประจำวัน ความต้องการเหล่านี้เกินกว่าสิ่งที่ ‘ครู’ คนหนึ่งจะจัดสรรให้ได้

แม้จะโหดร้าย แต่คีลส์ย้ำกับครูที่เผชิญปัญหาทุกคนว่า จงสรรเสริญตัวเองทุกครั้งที่ได้ทำสิ่งที่ดีที่สุด ท่ามกลางข้อจำกัดของตัวเองต่อนักเรียนคนนั้น และบอกกับเขาว่า ครูมีข้อจำกัดที่ไม่อาจทำสิ่งที่เกินขอบเขตการเป็นครูได้

มากไปกว่านั้น อีกครั้ง… จงโอบรับทุกความสำเร็จที่คุณได้ทำ ไม่ว่าจะเป็นการ์ดขอบคุณจากเด็กๆ หลังจากพวกเขาเข้ามหาวิทยาลัยหรือประสบความสำเร็จตามที่พวกเขามาดหมาย อ้อมกอดแสนอบอุ่นหลังพบคุณโดยบังเอิญระหว่างเดินสวนกันบนถนน และบอกว่าคุณคือแรงบันดาลใจต่อชีวิตของเขาในวันนี้มากแค่ไหน

“จงจดจำทุกข้อความของนักเรียนแต่ละคน แม้สิ่งที่คุณทำอย่างเต็มที่ คือการซัพพอร์ตจิตใจของเขาเท่านั้น เพราะนั่นคือสิ่งที่คุณได้ทำ คุณไม่ได้ล้มเหลว เป็นเพียงอุปสรรคหนึ่งของอาชีพครูเท่านั้น” คีลส์ฝากประโยคสำคัญเอาไว้

ที่มา: With Student Trauma, It’s OK to Set Boundaries

Tags:

ปม(trauma)ครูซึมเศร้า

Author:

illustrator

ณิชากร ศรีเพชรดี

แอดมิชชันเข้าคณะการเขียนและสิ่งพิมพ์เพราะคิดว่าเขาจะสอนให้เขียนนิยาย แทนที่จะได้เขียนจากจินตนาการ อาจารย์และทุกอย่างที่นั่นเคี่ยวกรำให้ทำ-คิด-เขียน-รู้สึกกับประเด็นสังคม ยังคงสนุก(มาก)กับงานสื่อสาร ฝันสูงสุดคือยังเข้มแข็งเขียนงานได้อย่างมีคุณภาพและฐานะดี

Related Posts

  • Healing the traumaMovie
    HONEY BOY: ใครๆ ก็อยากเป็นพ่อที่ดี แต่พ่อก็เป็นคนหนึ่งที่ยังเจ็บปวดเหมือนกัน

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Healing the trauma
    ไม่หนี ไม่สู้ สมองถูกแช่แข็ง จากความเครียดท่วมท้นในสมองเด็ก

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ บัว คำดี

  • Relationship
    TOP 5 ครูพูดอะไรที่ทำให้หัวใจเราพองโตที่สุด

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • Education trend
    มหกรรมสอบในเด็ก: ความเครียดและความล้มเหลวก่อนวัยอันควร

    เรื่อง The Potential

  • Dear Parents
    ความในใจ 5 อย่าง ของเด็กสอบตก

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

Posts navigation

Older posts
Newer posts

Recent Posts

  • ‘นิทานปากเปล่า’ เล่าความรักให้ลูกฟัง สร้างจินตนาการ สานสัมพันธ์ในครอบครัว: แม่จาว – วัชราวรรณ เพชรบุล
  • ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP4: การซึมซับและปรับตัว 
  • เปลี่ยนระบบนิเวศโรงเรียนเป็นสนามพลังบวก ยกระดับเด็กด้อยโอกาสสู่เด็กได้โอกาส: ผอ.วรรณรักษ์ หงษ์ทอง
  • F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง
  • Myth Universe : จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์สู่ Edutainment ความรู้นอกห้องเรียนที่เริ่มต้นจากคำถามและการเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง

Recent Comments

  • Existential crisis: วิกฤตชีวิตที่มาพร้อมกับคำถาม “แล้วฉันอยู่เพื่ออะไร” – EducationNet on Midlife Crisis: เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ทำไมใจถึงวิกฤต
  • The Psychological Wounds of Winnie the Pooh and His Friends: Exploring Characters from a Classic Literary Work - World Today News on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • Exploring the Psychological Wounds of Winnie the Pooh and Friends: A Fascinating Analysis - Archyde on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • 6 วิธีฝึกสอนให้ลูกเป็นเด็กมี Critical Thinking ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต – โรงเรียนมารีวิทยา ป on CRITICAL THINKING: สอนเด็กให้รู้คิด ผิดหรือถูกก็ใช้วิจารณญาณเป็น
  • Best รูป พลเมือง ดี Update New – Haiduongcompany.com on สอนและสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เรื่องไม่ง่ายที่ครูทำได้

Archives

  • July 2025
  • June 2025
  • May 2025
  • April 2025
  • March 2025
  • February 2025
  • January 2025
  • December 2024
  • November 2024
  • October 2024
  • September 2024
  • August 2024
  • July 2024
  • June 2024
  • May 2024
  • April 2024
  • March 2024
  • February 2024
  • January 2024
  • December 2023
  • November 2023
  • October 2023
  • September 2023
  • August 2023
  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • October 2021
  • September 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • April 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • November 2019
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017

Categories

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Uncategorized
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel