Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย

Month: October 2020

หาก Grit คือความเพียร แต่จะเพียรพยายามในเรื่องที่ไม่อินมากๆ ได้อย่างไร?
Character building
15 October 2020

หาก Grit คือความเพียร แต่จะเพียรพยายามในเรื่องที่ไม่อินมากๆ ได้อย่างไร?

เรื่อง เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • คุณลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จ และสามารถอดทนต่ออุปสรรคต่างๆ ได้ เรียกว่า Grit
  • คนที่มี Grit จะเป็นคนที่มีเป้าหมายชัดเจนและอินกับเป้าหมายมาก พออินหนักเข้าก็จะเข้าโหมด work hard คือจะพยายามอย่างสุดความสามารถโดยไม่ยอมแพ้ ไม่ยอมจำนน
  • บทความนี้จะช่วยให้เราเข้าใจ Grit มากขึ้น ผ่านการแบ่ง Grit เป็นผลึก 3 ก้อน และวิธีหล่อเลี้ยงให้ Grit ยังอยู่ในตัวเรา
อ่าน Character World ตอนที่ 1 ‘รับมือ’ และ ‘สร้างขวัญกำลังใจ’ เพื่อก้าวผ่านความกลัว (แม้ขายังสั่นอยู่) โดยนักจิตวิทยาโรงเรียน

ทำไมกันนะ เด็กฝึกหัดเป็นศิลปินของเกาหลีใต้หรือจีน ในรายการ Produce 101 ถึงสามารถซ้อมเต้นต่อวันได้มากกว่า 8 ชั่วโมง ทำไมกันนะ เด็กฝึกในรายการที่แม้จะร้องไห้บ่อยครั้งและร้องอย่างหนักหนาเพราะเครียดกับการแข่งขัน แต่ก็ยังไม่ยอมแพ้เลิกไป

ทำไมกันนะ การเป็นนักเขียนการ์ตูนมังงะ ที่มักถูกมองว่า ‘ไส้แห้ง’ แต่วงการการ์ตูนญี่ปุ่นก็ยังเจิดจรัสและดำรงอยู่ได้ พวกนักเขียนเขาไม่กลัวว่าจะตกงานกันหรือ? ทำไมเขายังคงกล้าทำในสิ่งที่ตนเองรักมากได้ขนาดนั้นกันนะ

ทำไมกันนะ ทั้งๆ ที่ไม่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักกีฬาบาสของโรงเรียน เสียใจอย่างหนัก แต่ไมเคิล จอร์แดน ก็ยังคงมุ่งมั่นสู่การฝึกฝนเพื่อเป็นนักบาสมืออาชีพ

ทำไมกันนะ พี่ๆ สถาปนิกถึงไม่ยอมหลับยอมนอนแล้วแต่ยอมทนนั่งปั่น ‘ตีฟ (perspective)’ กันให้เสร็จ หรือทำไมเหล่าวิศวกรถึงยังอยากทำอาชีพนี้ ทั้งต้องเรียนกันหนักมาก ทั้งต้องเคยหนีให้ไกลจาก F ของวิชาฟิสิกส์

แล้วตัวฉันเอง จะเป็นแบบนี้ได้ไหมนะ ‘คนที่มุ่งมั่นจนทำฝันให้เป็นจริง’

วันนี้พี่นีทจะมาชวนคุยกัน 2 หัวข้อที่ว่า อะไรที่ทำให้ ‘เขาเหล่านั้น’ ยังพร้อมสู้ต่อไปจนฝันกลายเป็นจริง และ เราจะเป็นแบบ ‘เขาเหล่านั้น’ ได้อย่างไร

Grit คืออะไร 

เรามาเริ่มต้นกันที่คำถามแรกก่อนดีกว่าค่ะว่า อะไรที่ทำให้ ‘เขา’ ยังพร้อมสู้ต่อไปได้

คุณลักษณะหนึ่งที่นักจิตวิทยา นามว่า แอนเจลา ลี ดักเวิร์ธ (Angela Lee Duckworth) ศึกษาและเพิ่งค้นพบในปี 2007 โดยบอกว่าคุณลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จ และสามารถอดทนต่ออุปสรรคต่างๆ ได้ เรียกว่า Grit (เอาจริงๆ พี่ไม่รู้ว่าควรแปลคำนี้ว่าอะไรดีเนอะ แต่ในงานวิจัยของพี่จะใช้คำว่า ความเพียร แต่บางคนก็ใช้คำว่า ความมุ่งมั่น ความตั้งมั่น ด้วยความที่ยังไม่แน่ใจว่าควรจะใช้ภาษาไทยว่าอะไรดี ในบทความนี้พี่เลยจะขอทับศัพท์ว่า Grit ตลอดบทความ)

ดักเวิร์ธมักบอกว่า คนที่มี grit จะเป็นคนที่มีเป้าหมายชัดเจนและอินกับเป้าหมายมาก แบบว่า หายใจเข้าหายใจออก ก็เป็นเธอ เอ้ย! เป็นเป้าหมาย พออินหนักเข้าก็จะเข้าโหมด work hard ค่ะ คือจะพยายามอย่างสุดความสามารถโดยไม่ยอมแพ้ ไม่ยอมจำนน พี่ว่าความรู้สึก คงใกล้ๆ กับคำว่า ‘ตายเป็นตาย เพราะใจสั่งมา’ ถ้าไม่ได้ทำเราคงจะลงแดงตายอยู่ตรงนี้ หรือที่เรามักใช้กันบ่อยๆ ว่า passion (เรามี passion กับสิ่งนี้) เพราะอย่างนี้เองค่ะ เจ้า Grit เลยมีอิทธิพลในการใช้ชีวิตและการประสบความสำเร็จของเรามาก

Grit ทำให้คนหนึ่งคนประสบความสำเร็จได้อย่างไร สงสัยแบบนี้ใช่ไหมคะ ?

พี่ขออนุญาตย่องานวิจัยปริญญาโท* เกือบร้อยหน้าของตัวเองให้เหลือเพียงสั้นๆ และเปลี่ยนจากภาษาทางการให้เป็นภาษาคนคุยกัน มันเป็นอย่างนี้ค่ะ…

เวลาที่เรามีเป้าหมายหรือสิ่งที่อยากทำ เช่น อยากเป็น youtuber ตรงนี้มันก็จะมีความอิน อินแล้วเราก็จะค่อยๆ พยายาม อาจเริ่มต้นจากการลงคลิปบน Youtube ยิ่งเยอะยิ่งดีเพราะจะได้มีคนมาติดตาม แต่เราก็ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า บางทีช่องของเราก็อาจจะไม่ปัง ไม่ดัง (คือถ้าดังมันก็จบ เราก็เป็น youtuber ต่อไปอย่างมีความสุข) และเจ้าความไม่ดังนี้มันจะก่อกวนจิตใจทำให้เรารู้สึกอยากยอมแพ้

ทำมาเป็นสิบคลิปแล้วยอดคนดูยังไม่เพิ่มเลย / คนติดตามก็มีแต่เพื่อนตัวเอง ไม่มีคนอื่นๆ เลย เลิกทำดีไหม / เหนื่อยใจจังเลย ทำไปก็น่าจะได้เท่านี้

ถ้าเราสังเกตดีๆ เราจะพบว่า ก้อนความคิดที่มาก่อกวนเรา มันคือความคิดแง่ลบที่มาจากใจเราทั้งนั้น เป็นความคิดที่พยายามบอกเราให้หยุดหรือล้มเลิกเถอะ ซึ่งตอนนี้เอง หากคนที่อยากเป็น youtuber เป็นคนที่มี Grit เจ้า Grit ตัวนี้ก็จะมาสู้กับความคิดทางลบ เหมือนเป็นเสียงนางฟ้าในตัวเอง (หรือจริงๆ ก็คือเราเองนั่นแหละ) ที่คอยกระซิบบอกว่า… 

“อย่าเพิ่งยอมแพ้เลย เพราะมันเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้นเอง”

“เธอลองดูสิ ภูเขานั้นสูงมากก็จริง แต่ภาพทิวทัศน์ข้างบนนั้นสวยมากเลยนะ ไม่อยากเห็นหรือ”

หรือ “มันแค่อุปสรรคเล็กๆ เอง อดทนอีกหน่อยนะ”

จึงไม่แปลกใจว่าคนที่มี Grit จะเลือกไม่ยอมแพ้เพียงเพราะความคิดแง่ลบ ความเหนื่อยล้าต่ออุปสรรคทำอะไรเขาไม่ได้ก็เพราะเขามีกำลังใจ/ความคิดมุมบวกแบบนี้อยู่ในหัว จุดแตกต่าง (แม้จะฟังดูโหดร้าย) คือ คนที่มี Grit จะยังอยากพยายามต่อไป คนที่ไม่มี Grit อาจทิ้งฝันไว้กลางทาง 

อ่านกันมาถึงตอนนี้ เราก็คงรู้แล้วใช่ไหมคะว่า ‘คนเหล่านั้น’ ที่พี่ยกตัวอย่าง เขามี Grit อยู่เต็มหัวใจเลย เขาถึงได้เลือกที่จะไปต่อแม้รู้อยู่ว่าจะต้องเสียน้ำตา

แล้วเราจะเป็นแบบเขาได้ไหมนะ ก็นำมาสู่คำถามที่ 2 ของบทความนี้ค่ะ

จะมี grit ในเรื่องที่ไม่อินมากๆ ได้อย่างไร? 

เราจะเป็นแบบเขาได้ไหม? – พี่ขอตอบเลยค่ะว่าทุกคนเป็นได้แน่นอน เพราะ Grit มีอยู่ในตัวพวกเราทุกคน เพียงแต่เราจะได้นำมันมาใช้หรือไม่ เท่านั้นเอง

แต่หลายคนอาจตั้งคำถาม “บางทีชีวิตจริงก็ไม่ได้เป็นเหมือน ‘ตัวอย่าง’ ที่พี่ยกมา เรื่องบางเรื่องเราก็ไม่ได้อินนะ” หรือ “ไม่อยากทำด้วยซ้ำ บางทีเรายังไม่รู้เลยว่าฝันอยากเป็นอะไร แล้วจะมี Grit ได้อย่างไร จะทำสำเร็จได้อย่างไร” “แล้วการที่พวกเราไม่อินกับอะไรมากๆ ก็เลยกลายเป็นคนที่ไม่ประสบความสำเร็จหรอ?”

พี่ขอตอบแบบนี้แล้วกันค่ะว่า ในทุกๆ สถานการณ์และทุกๆ เรื่องราว มันมี Grit อยู่ในนั้นได้จริงๆ นะ เพียงแต่หน้าตาของ grit นั้นอาจแตกต่างกันไป พี่เชื่อว่าหน้าตาของ Grit เท่าที่พี่ศึกษามาและขอนำมาเล่ามี 3 แบบค่ะ (ต่อไปนี้ ขอเรียกว่า ผลึก นะคะ)

ผลึก Grit ก้อนแรก คือผลึกสีแดง ที่เต็มไปด้วยอารมณ์ของความอิน ว่าฉันอยากเป็น ฉันอยากได้ เช่น อยากไปเดบิวต์ เหมือน Lisa Blackpink หรือ เหมือน Sunnee อดีตวง Rocket Girl, อยากสอบชิงทุนไปแลกเปลี่ยนตอนม.ปลาย, ถ้าได้เป็นทูตก็ดีนะ เป็นต้น โดยข้อเสียของผลึกก้อนสีแดงคือ มีแต่ความฝัน ขาดการกระทำ 

ผลึก Grit ก้อนที่สอง คือผลึกสีเหลือง ที่เต็มไปด้วยความพยายามกระทำ อาจจะมาจากพฤติกรรมที่เต็มใจ หรือไม่เต็มใจก็ตามที เช่น ต้องทำการบ้านให้เสร็จ เดี๋ยวไม่มีส่ง, ต้องอ่านหนังสือเดี๋ยวสอบตก, พยายามซ้อมเปียโน เพราะใกล้ถึงงานแสดงเปียโนแล้ว, ซ้อมว่ายน้ำหนักมากเพราะเป็นนักกีฬาโรงเรียน เป็นต้น โดยข้อเสียของผลึกก้อนสีเหลืองคือ ต้องลงมือทำแม้บางทีไม่อยากทำ หรือหาเหตุผลที่ดีให้กับการกระทำของตัวเองไม่ได้ 

ผลึก Grit ก้อนที่สาม (สุดท้ายแล้ว) คือ ผลึกสีส้ม ที่เกิดมาจากผลึกสีแดงแห่งความอิน และ สีเหลืองจากความพยายาม เช่น ฉันอยากเป็นไกด์ทัวร์มากเลยเพราะฉันชอบไปเที่ยวในที่ต่างๆ ได้เจอประสบการณ์ใหม่ๆ ฉันจึงพยายามเรียนภาษาหลายๆ ภาษา, ผมเต็มใจที่จะไปเรียนพิเศษเสาร์-อาทิตย์อย่างไม่มีบ่น เพราะผมอยากเป็นสัตวแพทย์ เนื่องจากตอนเด็กๆ คุณลุงสัตวแพทย์ได้ช่วยหมาของผมที่ป่วย เขาเลยเป็นไอดอลของผมเลย

แน่นอนว่า ผลึกก้อนที่ดีที่สุดก็ต้องเป็นผลึกก้อนสีส้มสด แต่ไม่ใช่ทุกเรื่องที่เราสามารถทำให้มันเป็นสีส้มสดได้ แต่พี่ก็อยากให้น้องๆ ค่อยๆ เบลนสีผลึกให้มันมีความเป็นส้มไว้บ้างก็พอ นี่คือ grit ตามสถานการณ์ของน้องแล้วค่ะ 

เช่น หากน้องอยากไปเดบิวต์ต่างประเทศ (เป็นผลึกสีแดง) พี่อยากให้น้องลองใส่การกระทำกับมันดู เช่น น้องอาจจะลองหาสถานที่ที่มีการคัดตัว หรือเปลี่ยน/เลือก โรงเรียนสอนร้องเพลงหรือสอนเต้น ที่มีเครือค่าย สามารถส่งน้องไปเดบิวต์ได้ หรือเรียนภาษาของประเทศนั้นๆ ไว้ หรือบางทีที่น้องฝันอยากไปแลกเปลี่ยนเมืองนอกแต่ไม่ได้แสดงพฤติกรรม (อาจจะยังเหมือนฝันอยู่ เพราะคิดวิธีไม่ออก) อาจจะเป็นเพราะน้องไม่รู้ว่าต้องเริ่มต้นอย่างไรดี พี่คิดว่าน้องอาจเริ่มต้นดูว่าเขาสมัครสอบกันช่วงไหน เขาสอบอะไรกันบ้าง หรือเราควรเรียนเสริมอะไรดี เพื่อให้สอบได้ พฤติกรรมเช่นนี้เอง คือการเบลนให้ผลึกของเป็น สีแดงอมส้ม 

ถ้าหาก น้องต้องทำการบ้านเยอะมาก แต่ไม่ได้อยากทำ มันเป็นผลึกสีเหลือง พี่อยากให้น้องลองใส่เหตุผลที่ยอมรับได้ให้กับมัน เช่น จริงๆ แล้วทำการบ้านก็ดีนะ เวลาสอบจะไม่ได้ต้องอ่านหนังสือเยอะ เพราะเราเข้าใจมันอยู่แล้ว หรือจริงๆ หากเราสอบได้ดี มันก็มีผลต่อการเลือกเรียนต่อนะ ประมาณว่าอยากเข้าที่ไหนก็ได้ เพราะคะแนนดี หรือในสถานการณ์ที่เราเป็นนักกีฬา เราอาจจะไม่ได้ชอบ แต่พี่ก็อยากให้น้องลองใส่เหตุผลกับมันว่า การที่เราได้อยู่กับมันนานๆ ก็อาจจะเป็นเครื่องมือในการตอบคำถามว่า มันใช่สิ่งที่เราอยากจะทำหรือเปล่า (ใช่ก็ใช่ ไม่ใช่ก็หาใหม่) การที่น้องๆ ได้ลองใส่เหตุผลกับมัน จะค่อยๆ เบลนผลึกให้เป็น สีเหลืองอมสม

สำหรับน้องบางคนที่มี Grit เป็นผลึกสีเหลืองและยังสงสัยในตนเองว่า ฉันอยากจะเป็นอะไร ยังไม่เจอกับสิ่งที่อิน พี่ก็เชื่อว่า การที่น้องค่อยๆ หาเหตุผล ค่อยๆ เลือกและพิจารณา เดี๋ยวเราจะเจอ เพราะเรากำลังเริ่มต้นตัดตัวเลือกในสิ่งที่ไม่ใช่ จนเจอในสิ่งที่ใช่ค่ะ (ใช้เวลานิดนึง) ซึ่งสิ่งนี้มันหมายถึงน้องไม่ยอมตัดใจนะ (มี Grit ที่เต็มเปี่ยมไปเลยค่ะ)

อาจจะเห็นแล้วว่าในทุกสถานการณ์เรามีผลึกของ Grit ได้ทั้งหมด เพียงแต่บางทีสีของมันอาจแตกต่างกันเท่านั้น ซึ่งพี่คิดว่าสีที่แตกต่างนั้นไม่สำคัญเพราะเราต่างให้น้ำหนักแต่ละเรื่องไม่เท่ากันอยู่แล้ว แต่ก็ขอให้เราพยายามในทุกๆ เรื่องเท่านั้นเอง 

สุดท้ายนี้ สำคัญมากจริงๆ ค่ะ คือการทำให้ผลึกเปล่งประกายได้ตลอดเวลานั้น มักเป็นเรื่องราวของคนที่พยายามทำตามฝันแล้วผิดหวัง และกำลังอยากล้มเลิกหรือทิ้งความฝันไป (ผลึกก้อนสีส้มสด ที่เจอกับอุปสรรค และสีส้มสดกำลังจะกลายเป็นสีดำ) เช่น อยากเป็นนักเปียโนแต่ไปแข่งก็ไม่เคยชนะเลิศสักที คว้าโอกาสแสดงงานสำคัญหรือเป็นตัวเด่นในงานโชว์ไม่ได้ บางทีมันก็ท้อนะ สงสัยในตัวเองว่าเส้นทางนี้มันเป็นเส้นทางของฉันจริงๆ หรือเปล่า

เวลาที่น้องๆ เกิดความสงสัยในตัวเอง พี่อยากให้น้องๆ กลับไปมองหาความหวังอีกครั้งหนึ่ง ว่าทำไมเราถึงอยากเป็น เรื่องราวที่ผ่านมากับสิ่งๆ นี้มีอะไรที่น่าจดจำหรือประทับใจบ้าง การที่เราได้กลับไปย้อนดูเรื่องราวต่างๆ ในอดีตที่เต็มไปด้วยความพยายาม ความน่ายินดี และปลื้มใจ จะช่วยหล่อหลอมให้เรามีความหวังอีกครั้งหนึ่งและพร้อมจะเริ่มต้นอีกครั้ง ซึ่งการเริ่มต้นใหม่ในครั้งนี้ พี่เชื่อว่าสิ่งที่จะทำให้น้องเดินได้อย่างมั่นคงมากขึ้น คือ หาที่ปรึกษา พูดคุยกับครูฝึกมากขึ้น ทบทวนว่าความผิดพลาดครั้งที่แล้วเกิดมาจากอะไรแล้วแก้ไขความผิดพลาดเก่า เพื่อที่ครั้งหน้าน้องจะได้ไม่ผิดแบบเดิมและเขยิบเข้าใกล้เส้นชัยมากขึ้นไปทีละนิด

อย่ากลัวว่าเราจะไปถึงเป้าหมายช้า อย่ากลัวว่าเราจะใช้เวลานานในการทำฝันให้เป็นจริง Life is a marathon, not a sprint ชีวิตเราไม่ได้ถูกกำหนดด้วยเวลา ด้วยจำนวนครั้งของความสำเร็จ หรือด้วยความผิดพลาด แต่ชีวิตเราเหมือนการวิ่งระยะไกลในการตั้งเป้าหมายไว้เพื่อไปให้ถึง จะช้าหรือเร็วก็อยู่ที่พลังของเราค่ะ 

ช่วงไหนมีไฟ ก็ไปเร็วหน่อย (เหมือนกับการวิ่งระยะไกลในจุดเริ่มต้นเลยเนอะ) ช่วงไหนเจออุปสรรคเยอะก็ไปช้าหน่อย (เหมือนอารมณ์ตอนมองหาว่า จุดพักดื่มน้ำอยู่ไหนนะ) แต่ในทุกจุดของการวิ่งและใช้ชีวิต เราจะมีจุดพักและจุดบริการน้ำด้วยเจ้า Grit เสมอ Grit จึงเป็นพลังที่ทำให้เราไม่ยอมแพ้และไปต่อจากไฟความมุ่งมั่นและเพียรพยายามของเพื่อให้เรามีพลังพร้อมพุ่งชนกับอุปสรรคต่างๆ นั่นเอง 

พี่เชื่อว่า ความหวังและความอินทำให้คนเราเริ่มที่จะฝัน และการลงมือทำนั้นจะช่วยทำฝันนั้นให้เป็นจริง ดังนั้น ต่อให้เราจะสงสัยในตัวเองกี่ร้อยครั้ง ผิดพลาดกี่สิบครั้งก็ตาม แต่ถ้าสุดท้ายเราทำสำเร็จได้ในครั้งที่พันพี่ว่ามันก็คุ้มที่จะลงมือทำนะ มาเดินตามความฝันบนวิถีทางแห่งความมุ่งมั่นและมั่นคงดั่งภูผาหรือ Gritty style กันเถอะ

อ้างอิง
*เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความหวังและสุขภาวะองค์รวมโดยมีความเพียรและความเครียดเป็นตัวแปรกำกับ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Duckworth, A. (2016). Grit: The power of passion and perseverance. Scribner/Simon & Schuster.

Tags:

Character worldนักจิตวิทยาโรงเรียนคาแรกเตอร์(character building)Grit

Author:

illustrator

เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์

นักจิตวิทยาโรงเรียน ผู้ฝันอยากจะเป็น “ฮีโร่” ให้กับเด็กๆ และวัยรุ่น ให้เขามีความสุขในชีวิตมากขึ้น ปรับตัวได้ดีมากขึ้น และมีพลังมุ่งหน้าไปสู่ฝัน นอกจากนี้ยังมีความโลภอยากจะเชิญชวนให้มนุษย์ผู้ใหญ่ทุกคนมาร่วมกันเป็น “ฮีโร่” ของเด็กๆ ผ่านปลายปากกา

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Character building
    สอนให้เด็กเห็นคุณค่าสิ่งที่มี ขอบคุณยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้น เขาจะเป็นเด็กที่มีความสุขที่สุดในโลก

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Character building
    HOPE อย่าหมดหวังในตัวเองนะวัยรุ่น

    เรื่อง เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Character building
    ‘รับมือ’ และ ‘สร้างขวัญกำลังใจ’ เพื่อก้าวผ่านความกลัว (แม้ขายังสั่นอยู่) โดยนักจิตวิทยาโรงเรียน

    เรื่อง เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Grit
    S.M.A.R.T GOAL ตั้งเป้าหมายให้ชัด ใกล้ ใช่ และจริง – ไม่ล้มเหลวแน่นอน

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • Life Long Learning
    คุณจะนอนเล่นมือถือบนโซฟา หรือลุกขึ้นมาแล้ววิ่งไปหาเป้าหมายของตัวเอง

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ บัว คำดี

ถอดบทเรียนกรณีครูปฐมวัยทำร้ายเด็กเล็ก1: บทบาทครูปฐมวัยและการควบคุมคุณภาพ
Early childhood
14 October 2020

ถอดบทเรียนกรณีครูปฐมวัยทำร้ายเด็กเล็ก1: บทบาทครูปฐมวัยและการควบคุมคุณภาพ

เรื่อง The Potential

  • ครูผู้ช่วย ผู้ดูแลเด็ก ครูคู่ชั้นคืออะไร? แล้วเป็นครูปฐมวัยต้องจบอะไรมา? หน้าที่ของครูปฐมวัยเป็นอย่างไร? และอีกสารพัดคำถามที่หลายคนมีต่อวงการครูปฐมวัย สามารถหาคำตอบได้ที่บทความด้านล่าง
  • บทความที่ฉายให้เห็นว่า ครูปฐมวัยและครูผู้ช่วยในไทยมีคุณสมบัติอะไรบ้าง เปรียบเทียบกับวิชาชีพเดียวกันในสหรัฐอเมริกา

ท่ามกลางภาวะฝุ่นตลบเรื่องจากความกังวลของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาให้กับเด็กวัยอนุบาล จากกรณีครูผู้ช่วยอนุบาลใช้ความรุนแรงกับเด็กเล็ก หลายคำถามประดังเซ็งแซ่ขึ้นมาหนาหู …จากนี้เราจะไว้ใจฝากลูกน้อยไว้กับลูกได้อย่างไรบ้าง? 

The Potential ขอใช้โอกาสนี้ชวนวิทยากรในแวดวงปฐมวัย จัดวงเสวนาออนไลน์ในวันที่ 5 ตุลาคม 2563 คุยกันยาวๆ ว่า เราจะถือโอกาสนี้พัฒนาวงการปฐมวัยได้อย่างไรได้บ้าง เริ่มกันตั้งแต่ บทบาทครูปฐมวัยและครูผู้ช่วยคืออะไร, การควบคุมคุณภาพควรเป็นแบบไหน, การเยียวยาหัวใจของเด็กๆ ที่ถูกละเมิดคุกคามทำอย่างไรกันดี วิทยากรทั้ง 3 ท่าน รายนามดังต่อไปนี้

  • ดร.วรนาท รักสกุลไทย ผู้อาวุโสในวงการการศึกษาด้านปฐมวัยมากว่า 30 ปี ผู้อํานวยการแผนกอนุบาล โรงเรียนเกษมพิทยา 
  • ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ และ ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง จิตใจ และความสัมพันธ์ ในเด็กปฐมวัย สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และเจ้าของเพจ ‘เลี้ยงลูกนอกบ้าน‘ 

บทความต่อไปนี้คือการถอดบทสนทนาตลอด 2 ชั่วโมง โดยได้เรียบเรียงให้เหมาะแก่การอ่านและตรวจเช็คความถูกต้องเพิ่มเติมโดยกองบรรณาธิการ แบ่งบทความออกเป็น 2 ชิ้น 

ชิ้นแรกว่าด้วยเรื่อง หลักสูตรผลิตครู การคัดเลือก และ บทบาทหน้าที่ครูปฐมวัยและครูผู้ช่วย ทั้งในประเทศไทยและกรณีตัวอย่างที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และการควบคุมคุณภาพ 

ชิ้นที่สอง ว่าด้วยประเด็นจิตวิทยา ผลกระทบที่เกิดในใจของเด็กที่ถูกคุกคามได้รับความรุนแรง การเยียวยา และ ประเด็นที่ต้องถูกทำงานต่อหลังเกิดเหตุนี้ อ่านต่อที่นี่

อีกชิ้นในประเด็นเดียวกัน The Potential คุยกับครูผู้ช่วยและครูปฐมวัยจาก 3 ประเทศถึงบทบาทหน้าที่ของพวกเขา อ่านต่อ ที่นี่

หลักสูตรผลิตครู การคัดเลือก และ บทบาทหน้าที่ครูปฐมวัยและครูผู้ช่วย (ในประเทศไทย)

กระบวนการคัดเลือกครูและครูผู้ช่วยเข้ามาทำงาน มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง 

ดร.วรนาท รักสกุลไทย: ก่อนว่ากันเรื่องคัดเลือกครู อยากเริ่มที่คำที่เกี่ยวข้องในบุคลากรครูนะคะ อยากให้ลองทายกันว่ามีกี่คำ? เรามีกันประมาณ 7 – 8 คำนะคะ ตั้งแต่ ครู ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ดูแลเด็ก พี่เลี้ยง ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภายใต้การดูแลของการปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เรียกว่าผู้ดูแลเด็ก (ผดด.) ส่วนโรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็กสังกัดในกทม. เรียกว่าพี่เลี้ยงเด็ก และอื่นๆ โดยบางโรงเรียนที่ต้องการสร้างความสัมพันธ์กับเด็กๆ เป็นพิเศษก็อาจเรียกแทนตัวเองว่า ‘แม่ครู’ ครูเองก็เรียกเด็กๆ ว่า ‘ลูก’ ทีนี้ยังมีคำว่าครูคู่ชั้นอีก คือการสอนเป็นทีม ด้วยการกำหนดจำนวนเด็กต่อชั้นเรียน

ส่วนการคัดเลือกจะขึ้นอยู่กับแต่ละสังกัด สำหรับข้าราชการ ปัจจุบันนี้เวลาสอบคัดเลือกครูปฐมวัยหรือครูอนุบาลก็ยังใช้คำว่า ‘การสอบครูผู้ช่วยวิชาเอกปฐมวัย’ อยู่ แน่นอนว่ามีการการกำหนดคุณสมบัติ เช่น อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี เป็นผู้ที่ไม่เคยทำผิดอะไร สุขภาพกายและจิตดี ไม่เป็นโรคติดต่อ และอื่นๆ อะไรก็ว่าไป แต่กระบวนการของหน่วยงานรัฐก็เข้มข้นมาก มีทั้งสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ และปีนี้มีการสอบภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นด้วย และหลังจากสอบข้อเขียนผ่านแล้วจะต้องสอบสอน ต้องเตรียมทั้ง portfolio สื่อการสอน อุปกรณ์ ไปสอบสอนให้คณะกรรมการดู 

ดร.วรนาท รักสกุลไทย: ยังจำได้ว่าสมัยเข้าวงการใหม่ๆ ได้ไปช่วยสำนักงานการศึกษาเอกชนพัฒนาหลักสูตร 120 ชั่วโมงขึ้นมาสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นครูพี่เลี้ยงแต่ไม่ได้จบด้านปฐมวัยมา ขณะเดียวกัน ตอนนี้ยูนิเซฟได้ให้ทุนสนับสนุนกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ พัฒนาโมดูลหรือหลักสูตรอบรมพี่เลี้ยงเด็ก/ครูพี่เลี้ยงเด็กที่ดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ซึ่งทำงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อทดแทนการอบรม 120 ชั่วโมงนั้น 

ถ้าผู้บริหารเข้มๆ หน่อยก็จะมีการสอบข้อเขียน สอบสอน มีการทดสอบเชิงจิตวิทยา อย่างการสัมภาษณ์เราก็ไม่ได้ใช้คำถามทั่วๆ ไป เช่น ถ้าป้าหนูเป็นคนสัมภาษณ์ ก็จะดูหลายอย่าง ตั้งแต่ประสบการณ์ว่าเคยฝึกสอนที่ไหนมาบ้าง แล้วอนุบาล/โรงเรียนที่เคยไปฝึกสอนได้บ่มเพาะเขามาอย่างไร เวลาสัมภาษณ์เขาก็อาจใช้คำถามว่า “ถ้าเด็กเล็กไม่เชื่อฟัง… ซึ่งเราพยายามเลี่ยงคำว่า ‘ดื้อ’ นะคะ ถ้าเขาไม่เชื่อฟัง เช่น ไม่กินผัก ไม่ยอมนอนกลางวัน แล้วหนูจะจัดการอย่างไร?” ถามแบบนี้ก็เพื่อดึงออกมาว่าผู้สอบมีทัศนคติอย่างไร การคัดเลือกด้วยการสอบสอนมันดี เพราะจะทำให้รู้ว่าเขามีปฏิสัมพันธ์กับเด็กได้อย่างไร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับเวลา และอะไรหลายๆ อย่าง ก็คือผู้บริหารโรงเรียนที่พี่หนูสัมภาษณ์มาบางทีก็ดู 

ขณะเดียวกัน ครูปฐมวัยก็จะมีเกณฑ์บังคับอีกทั้งมาตรฐานสถานศึกษาปฐมวัยที่ออกมาใหม่ (มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ 2562)* และการประกันคุณภาพภายในของแต่ละสังกัด ที่บอกว่าครูต้องมีการอบรมต่อเนื่องระหว่างประจำการอย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งน้อยมาก 

มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ (2562) ระบุถึงคุณสมบัติเหมาะสมของครู ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ดูแลเด็ก พี่เลี้ยง หรือบุคลากรที่ทำหน้าที่หลักในการสอนและเลี้ยงดูเด็ก มีคุณสมบัติเป็นไปตามที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด แต่อย่างน้อยต้องมีคุณสมบัติดังนี้
 
1. ผู้ทำหน้าที่ครู ต้องมีใบประกอบวิชาชีพครู มีวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี สาขาวิชาเอกอนุบาล ศึกษา หรือปฐมวัย หรือกรณีที่มีวุฒิปริญญาตรีสาขาที่เกี่ยวข้อง (ครูสาขาอื่นที่ไม่ใช่เอกปฐมวัย จิตวิทยา แพทย์ พยาบาล สาธารณสุข คหกรรม) ต้องมีการศึกษารายวิชาที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยอย่างน้อย 3 หน่วยกิต (ไม่ต่ำกว่า 45 ชั่วโมง)

2. ผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพครูมีวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี สาขาวิชาเอกอนุบาล ศึกษา หรือปฐมวัย หรือกรณีที่มีวุฒิปริญญาตรีสาขาที่เกี่ยวข้อง (ครูสาขาอื่นที่ไม่ใช่เอกปฐมวัย จิตวิทยา แพทย์ พยาบาล สาธารณสุข คหกรรม) ต้องมีการศึกษารายวิชาที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยอย่างน้อย 3 หน่วยกิต (ไม่ต่ำกว่า 45 ชั่วโมง)

3. ผู้ที่ทำหน้าที่ผู้ช่วยครู กรณีที่วุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี มีประสบการณ์ทำงานพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 2 ปีหรือผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัยตามที่ส่วนราชการรับรองหรืออยู่ในระหว่างการอบรมภายในระยะเวลา 1 ปี

4. ครู/ผู้ดูแลเด็กได้รับการพัฒนาต่อเนื่องระหว่างประจำการอย่างน้อยปีละ 20 ชั่วโมง 

ครูประจำชั้น กับ ครูผู้ช่วย ทำงานต่างกันอย่างไร 

ดร.วรนาท รักสกุลไทย:  ตามระเบียบของมาตรฐานสถานศึกษาที่ออกมาใหม่ (มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ 2562) จะพูดถึงจำนวนเด็กกับครูเอาไว้ ในลักษณะนี้ก็บ่งบอกอยู่แล้วว่าถ้าเด็กอยู่ระหว่าง 2 – 3 ปี ก็ต้องมีครู 1 คนต่อเด็ก 10 คน เวลาทำกิจกรรมกลุ่มก็ต้องไม่เกิน 20 คน แบบนี้ก็เท่ากับว่าต้องมีครูสองคนต่อเด็กหนึ่งห้องเรียน ซึ่งถ้าโรงเรียนเข้าใจตรงนี้ ก็แปลว่าครูคู่ชั้น/ครูประจำชั้น ตรงนี้ต้องจบปริญญาตรีทั้งสองคน 

บทบาทแรก คือ ‘ครูคู่ชั้น’ คือครูสองคนที่สอนเป็นทีม (Team teaching) ด้วยสัดส่วนตาม class size ที่กำหนดไว้ ทำหน้าที่เหมือนครูประจำชั้น สองคนนี้จะสอนเท่ากันแต่แบ่งบทบาทหน้าที่ ครูสองคนต่อห้องเรียนต้องมีความสามารถเท่าเทียมกัน และเรียกว่าครูคู่ชั้น

ตาราง: อัตราส่วนของครู/ผู้ดูแลเด็ก ตามอายุ 

เด็ก (อายุ) อัตราส่วนครู/ผู้ดูแล : เด็ก(คน)จำนวนเด็กในกลุ่มกิจกรรม
ต่ำกว่า 1 ปี1 : 3กลุ่มละไม่เกิน 6 คน
ต่ำกว่า 2 ปี1 : 5กลุ่มละไม่เกิน 10 คน
ต่ำกว่า 3 ปี 1 : 10กลุ่มละไม่เกิน 20 คน
3 ปี – ก่อนเข้าป.1 1 : 15กลุ่มละไม่เกิน 30 คน 

ดร.วรนาท รักสกุลไทย: แต่ ‘ครูผู้ช่วย’ คำว่าผู้ช่วย ก็บอกอยู่แล้วว่าคุณไปเป็นอะไรก็ตามในเชิงวิชาการ และเชิงจัดการห้องเรียน (management classroom) โดยหลักการและเป้าหมายของอนุบาลก็คือ educare คือ อบรม เลี้ยงดู และให้การศึกษา ที่สำคัญเลยมันต้องขัดเกลา กล่อมเกลา หรือดูแลเขาเหมือนแม่ดูแลลูก ดูทุกอย่างและมีโอกาสทำงานแม่บ้านด้วย

คุณสมบัติครูปฐมวัยต้องมีอะไรบ้าง หลักสูตรผลิตครูปฐมวัยในไทยเรียนอะไรบ้าง 

ดร.วรนาท รักสกุลไทย: ในหลักสูตรปริญญาตรีสถาบันศึกษาครูจะแยกออกเป็นหมวดวิชาครู, หมวดวิชาทั่วไป และหมวดวิชาเฉพาะ ในหมวดวิชาทั่วไปก็คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หมวดวิชาครูจะว่าด้วยปรัชญาการศึกษา และหมวดวิชาเฉพาะก็คือกลุ่มวิชาเอก เช่น พัฒนาเด็ก การจัดประสบการณ์ การทำงานกับผู้ปกครอง การดูแลเด็กพิเศษ การดูแลในเชิงของสิ่งแวดล้อมทั้งกายภาพและจิตภาพ ที่สำคัญเลยคือการวัดและประเมินพัฒนาการเด็ก อันนี้เป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญมาก เพราะว่าครูยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องการประเมินพัฒนาเด็กเยอะ เพราะฉะนั้นเราเลยอยากสอดแทรกเข้าไป 

แล้วก็จะมีในลักษณะที่ป้าหนูจำได้ว่า รศ.ดร.พัชรินทร์ พหลโยธิน ตอนที่ท่านมาช่วยทบทวนและพัฒนาหลักสูตร ท่านเสนอให้เรามีวิชา Child Advocacy การรณรงค์เพื่อพิทักษ์สิทธิเด็ก ให้สถาบันฝึกหัดครูเอาวิชาพวกนี้ใส่เข้าไป เพราะมันจะสร้างมายเซ็ทใหม่ให้เกิดขึ้นว่าจิตวิญญาณครูต้องทำอะไรบ้าง แต่เท่าที่ทราบคือ เนื่องจากมันเป็นวิชาใหม่มาก หลายสถาบันก็บอกว่าไม่รู้จะสอนอย่างไร ก็เลยตัดออก

แปลว่าเรายืนยันได้ว่า หลักสูตรผลิตครูมีเรื่องพัฒนาการ เรื่องจิตวิทยา เรื่องสิทธิเด็กเหล่านี้อยู่ 

ดร.วรนาท รักสกุลไทย: ใช่ค่ะ อย่างน้อยวิชาต่างๆ ที่ป้าหนูพูดระบุไว้ 3 หน่วยกิต หรือมี 45 ชั่วโมงอย่างต่ำ แต่ก็ยังมีการตั้งคำถามต่อระบบอยู่ ด้วยหลักสูตรเดิมต้องฝึก 5 ปี แต่หลักสูตรใหม่ปี 62 เราปรับมาเรียน 4 ปี ซึ่งการเรียนวิชาเอกปฐมวัย ป้าหนูยืนยันตลอดว่าเราต้องเน้นการปฏิบัติ ฉะนั้นพอกลับมาเรียน 4 ปี จากที่เคยฝึกสอนในสถานศึกษาเป็นเวลา 1 ปี ก็จะเหลือแค่หนึ่งเทอม ตัวระบบเองก็มีความพยายามจะแก้ไขโดยให้ (นักศึกษา) เข้าไปสังเกตและอยู่ในห้องเรียนตั้งแต่เรียนปี1, ปี2, ปี3 สอดแทรกเข้าไป ซึ่งคิดว่าต้องมีการทบทวนค่ะ

ในหลักสูตรการผลิตครูของต่างประเทศ เป็นอย่างไรบ้าง 

ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร: ส่วนตัวครูหม่อมไปเรียนปริญญาโทกับปริญญาเอกด้าน early childhood education (การศึกษาปฐมวัย) อยากเล่าก่อนว่า คนที่จบสาขาอื่นมาก่อนจะเรียนปริญญาโทด้านการศึกษาปฐมวัยนั้น จะต้องเรียน core course หรือหัวใจของการศึกษาปฐมวัยอีกประมาณ 40 หน่วยกิตก่อน แปลว่าเหมือนปริญญาโท (สาขาที่เลือก) กับปริญญาโทอีก 40 หน่วยกิต (core course) ห้ามข้ามด้วย 

ทีนี้ สิ่งที่เขาเตรียมครูปฐมวัยที่อเมริกา ต้องเล่าอย่างนี้ค่ะว่า อเมริกาจะมีหลักหัวใจของการศึกษาปฐมวัยที่เรียกว่า DAP (Developmentally Appropriate Practice) คือ หลักการปฏิบัติกับเด็กให้เหมาะสมกับอายุ จะมีหลัก 3 ข้อใหญ่ คือ 

หนึ่ง – เรื่องของการทำให้เหมาะสมกับอายุ ปฏิบัติกับเขาให้เหมาะกับอายุ 

สอง – ปฏิบัติกับเขาให้เหมาะกับความสามารถหรือเงื่อนไขส่วนตัวของเขา (individual) 

สาม – การยอมรับความหลากหลาย ความแตกต่างของวัฒนธรรม ความแตกต่างส่วนบุคคล ซึ่งตรงนี้เป็นแกนหลักที่ทุกคนจะมาทำงานเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยหรือครูปฐมวัยต้องรู้ 

ใน core หรือหัวใจของการศึกษาปฐมวัยที่เขาจะไม่ให้ข้ามเลย ก็คือจะต้องเรียนประวัติศาสตร์ของการศึกษาปฐมวัย มีตั้งแต่ว่า เมื่อก่อนเราเป็นสมัยอุตสาหกรรม คุณพ่อคุณแม่ก็ออกไปทำงานกันหมด ฉะนั้นคนที่จะเลี้ยงลูกเลี้ยงเด็กก็เป็นเหมือนบ้านเรา คือเลี้ยงใต้โบสถ์ โรงเรียนวัด โรงเรียนอะไรแบบนี้ เช่นเดียวกันว่าพอเรียนไปสักพักหนึ่ง เขาก็พบว่ามีการกระทำกับเด็กไม่ดี อาจละเมิดสิทธิบ้าง คุกคามทำร้าย (abuse) บ้าง ซึ่งหากเราไม่รู้วิธีการอยู่กับเด็ก และอยู่กับเด็กนานๆ ก็จะส่งผลต่อผู้เลี้ยงดูเช่นเดียวกัน ซึ่งพอเรียนที่มา/ประวัติศาสตร์การเป็นครู เรื่องของสิทธิเด็กและจิตวิญญาณครูจะอยู่ในนั้น

แล้วในประวัติศาสตร์ที่มาของการศึกษาปฐมวัย เขาจะพูดถึงบทบาทหน้าที่ว่าที่มาเป็นแบบนี้ๆ นะ และวิชาชีพนี้มีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ แปลว่าวิชานี้กำลังบอกเราว่า เราต้องรู้เพิ่มขึ้นจากโลกที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย รู้เพิ่มขึ้นจากความรู้ที่มันมีเพิ่มขึ้นและเป็นประโยชน์กับเด็กเล็ก พอเราหลุดออกจากปริญญาโทและปริญญาเอกปุ๊บ มันฝังอยู่ในหัวพวกเราเลยว่า เดี๋ยวครูปฐมวัยต้องมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องความรู้ เราต้องพัฒนาตัวเองต่อไป เหมือนถูกฝังเอาไว้ว่าการพัฒนาตัวเองกี่ชั่วโมงต่อปีเป็นอะไรที่พวกเรากระหายมาก ไม่เคยรู้สึกว่าน่าเบื่อหรือเป็นภาระอะไร 

ซึ่งตรงนี้มองว่าอาจาย์พัชรีพามาถูกทางนะคะ และก็อยากให้พวกเราที่ได้เรียนการศึกษาปฐมวัยได้เรียน เพราะพอเรารู้เรื่องประวัติศาสตร์ รู้เรื่องความสำคัญ ที่มาของวิชาชีพนี้ มันปลุกจิตวิญญาณความเป็นครูปฐมวัยโดยไม่รู้ตัวและก็รักในวิชาชีพนี้

หลักสูตรผลิตครู การคัดเลือก และ บทบาทหน้าที่ครูปฐมวัยและครูผู้ช่วย (ตัวอย่าง สหรัฐอเมริกา)

คุณสมบัติครูปฐมวัยในมุมครูหม่อม 

ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร: หลายครั้งครูหม่อมจะพูดว่า เป็นครูปฐมวัยไม่จำเป็นต้องใจเย็น รวมถึงคุณพ่อคุณแม่ด้วย และ เป็นครูปฐมวัยไม่จำเป็นต้องอดทน 

เวลาพูดแบบนี้ คุณครูปฐมวัยก็จะบอกว่า ‘ไม่จริงอะครูหม่อม’ ครูก็เลยบอกว่า…ฟังให้จบก่อน 

เป็นครูปฐมวัยอย่างเดียวเลยคือ ‘ต้องทำใจ’ คือไม่ต้องใจเย็นและไม่ต้องอดทน แต่ต้องทำใจ แล้วทำใจเรื่องอะไร? คือถ้าใจเย็น มันก็มีขีดจำกัด ถ้าอดทน มันก็มีเวลาความอดทน แต่ถ้าทำใจไปเลยว่าเมื่อก้าวมาเป็นครูปฐมวัยแล้ว อะไรบ้างที่คุณจะต้องเจอ มันเป็นอะไรที่คาดคะเนได้และกลับมาบอกเราว่าตัวเองต้องการไหม ใช่ไหม? 

หากว่าเราต้องเจอเด็กที่ร้องไห้ทั้งวัน เราอยู่กับเขาได้ไหม เด็กที่สำลักใส่เรา หรือเด็กที่มีโรคประจำตัว บางทีถ่ายแล้วไส้ออกมาด้วย เราก็ต้องช่วยดันเข้าไปให้ เพราะฉะนั้น ไอ้คำว่าทำได้ มันก็เป็นที่มาของวิชาของครูปฐมวัยที่จะต้องเรียนมาเรื่อยๆ 

ครูหม่อมต้องบอกเลยว่าอะไรที่เป็นเรื่องวิชาการกลายเป็นวิชาเลือกหมดเลย เป็นวิชาเลือกนะคะ (ย้ำ) เช่น ครูที่จะสอนเด็กเรื่อง early literacy อย่างนี้จะเป็นวิชาเลือก แต่วิชาหลักที่เรียนเป็น core เลยจะเป็นเรื่องของสมอง จิตใจ และก็ความสัมพันธ์ค่ะ รุ่นของครูหม่อมที่ไปเรียนมีเรื่องวิทยาศาสตร์สมอง (neuroscience) มีเรื่องจิตวิทยาเชิงบวก (positive psychology) 

ทุกพฤติกรรมออกมาจากสมองและจิตใจของพวกเราจะมีความสัมพันธ์กันเป็นแบบสามเหลี่ยม คือ สมอง จิตใจ พฤติกรรม ที่ผ่านมาเรามุ่งปรับพฤติกรรม เพราะว่าวิทยาการเรายังไม่รู้ว่าพฤติกรรมเนี่ย สมองทำงานอย่างไร จิตวิทยาเรายังรู้บ้าง ทีนี้ พอวิทยาการทำให้เรารู้ว่าสมองจิตใจเขาทำงานร่วมกันอย่างไร และออกเป็นพฤติกรรมอย่างไร พฤติกรรมที่เหมาะสมส่วนใหญ่แล้วออกมาจากสมองกับจิตใจที่ทำงานสมดุลกัน พฤติกรรมไหนที่ไม่เหมาะสมส่วนใหญ่มาจากสมองและจิตใจทำงานไม่สมดุลกัน และความสัมพันธ์นี่แหละที่ทำให้เกิดโครงสร้างสมองและโครงสร้างจิตใจ ถ้าพฤติกรรมสามารถทำให้โครงสร้างสมองและจิตใจไม่สมดุล และเกิดพฤติกรรมไม่เหมาะสมได้ เราก็ต้องมาแก้ที่ความสัมพันธ์ เรื่องนี้เลยกลายเป็น core หรือหัวใจครูปฐมวัยว่าครูปฐมวัยจำเป็นต้องเรียนจิตวิทยาเชิงบวก ซึ่งมันก็ต่อออกมาเป็นวิชาหลายๆ วิชา 

ประการแรก – เริ่มตั้งแต่ตัวเองก่อนเลยค่ะ พวกเราต้องเรียนเรื่อง self คือตัวเราเอง แต่เป็น self ของครูค่ะ พอจบเทอมเราต้องตอบให้ได้ว่าคุณจะเป็นครูแบบไหน ครูแบบไหนก็เริ่มตั้งแต่การสวมบทบาทเป็นครูเดินเข้าไปในห้องเรียน คุณจะเดินอย่างไร พูดอย่างไร จะเป็นครูแบบไหน ต้องสร้าง character ของตัวเอง

ประการที่สอง – เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวก เราจะสื่อสารเชิงบวกกับเด็กอย่างไร วิธีบริหารจัดการชั้นเรียน การสร้าง environment สร้างสิ่งแวดล้อม สร้างบรรยากาศที่เด็กรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย

ประการที่สาม – ก็คือเรื่องของวิธีการพูดและสอนอย่างไรให้ EF หรือทักษะสมอง EF ทำงาน อันนี้ก็จะเป็นเรื่องที่ครูจะถูกเตรียมออกมา 

การคัดเลือก และ บทบาทครูปฐมวัยและครูผู้ช่วยที่อเมริกา เป็นอย่างไร 

ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร: พอพูดถึงบทบาทครูปฐมวัย ที่อเมริกาจะใช้คำว่า lead teacher (ครูประจำชั้น/ครูผู้นำ) กับ assistant teacher (ครูผู้ช่วย)

ถามว่าแล้วครูผู้นำกับครูผู้ช่วยมีบทบาทอะไร? ต้องทำหน้าที่ได้เหมือนกันเลยค่ะ เพียงแต่ว่า lead teacher จะเป็นเหมือนผู้นำวงออร์เคสตรา เหมือนเป็นคนหลักในห้องเรียนที่คอยกำกับ (direct) ว่าอะไรทำอย่างไร แต่ก่อนหน้านั้นทุกคนต้องมาประชุมและแยกย้ายกันไปทำ และทำเองได้ 

ทีนี้ ตอนที่ครูหม่อมเรียน…จะว่าไปก็ 20 ปีมาแล้วนะเนี่ย (หัวเราะ) คือช่วงนั้นที่อเมริกาจะเริ่มเรียนร่วม คือเรียนร่วมอายุและเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกติ เวลาที่เราเรียน เราใช้หลักการเรียนรู้ของครูปฐมวัย ซึ่งตามหลักการศึกษาคือการแบ่งกลุ่ม ฉะนั้นเวลาที่เราแบ่งกลุ่มกันในห้องเรียน ครูผู้ช่วยก็จะมีบทบาทเหมือนครูคนหนึ่งเลย 

ครูผู้ช่วยไม่ใช่ช่วยแค่เปลี่ยนผ้าอ้อม พาเข้าห้องน้ำ ปูที่นอน แต่เหมือนกับว่า ถ้าเด็กนักเรียนในห้องมี 25 คน เราจะแบ่งกันเลยว่าใครจะต้องดูแลเด็กกี่คนๆ หมายถึงว่ามีเด็กที่ดูแลไว้ในใจ แต่หากใครเผลอพลาดพลั้งอะไรไปต้องการความช่วยเหลือ เราก็จะต้องเข้าไปช่วยได้ 

เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะครูผู้นำชั้นหรือครูผู้ช่วย บทบาทสำคัญก็คือคุณมีหน้าที่ครู คุณเป็นครูปฐมวัย คุณต้องทำหน้าที่ครูปฐมวัย 

สิ่งหนึ่งที่ครูหม่อมชอบในห้องเรียนปฐมวัยที่อเมริกาก็คือว่า การเป็น lead teacher ก็ไม่ได้แปลว่า lead teacher forever ไม่ได้เป็นตลอดไป ใน 5 วัน ก็อาจมีสัก 2 วัน ที่ครูผู้ช่วยขึ้นมาคิดแผนหรือว่าเป็นผู้นำห้องเรียน ที่เขาทำแบบนี้ก็เพื่อว่า หนึ่ง – เด็กๆ ไม่มองว่าใครเป็นผู้นำหรือมี authority มากกว่า แต่เราต้องเป็นที่พึ่งให้เด็กได้ทุกคน ไม่วิ่งเข้าหาใครคนใดคนหนึ่ง สอง – คนที่เป็น lead teacher จะได้พัก เราจะมีวิธีการแบ่ง เช่น พอเราอยู่กับเด็กสักสามชั่วโมง ใครที่ lead หนักๆ หน่อยจะได้พัก แล้วก็หมุนเวียนไปเรื่อยๆ ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องได้พัก คือพักไม่นานหรอกค่ะ ประมาณ 20 นาที แต่กลับเข้ามามัน set zero ได้    

ดร.วรนาท รักสกุลไทย: อยากจะสนับสนุนครูหม่อมนิดนึงค่ะ คือในฐานะผู้บริหาร ต้องบอกว่าตลอด 30 กว่าปีที่บริหารโรงเรียนมา ป้าหนูมองว่าการพัฒนาบุคลากรครู ครูผู้ช่วย ครูพี่เลี้ยง ระบบ support ในไทยกับที่ครูหม่อมเล่ามันแตกต่างกันมากมาย เช่นตอนนี้กระบวนการหนึ่งที่สมาคมปฐมวัยแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา (National Association for the Education of Young Children: NAEYC) ทำ เรียกว่า power to the profession หรือการเสริมพลังวิชาชีพ โดยให้องค์กรทั้ง 15 องค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาผนึกกำลัง ช่วยกันพัฒนา growth mindset ของครู 

อีกประเด็นที่ชอบคือ ที่ต่างประเทศครูไม่จำเป็นต้องจบปริญญาตรี แต่เขาจะแบ่งครูออกเป็นด้วยระบบ ECE (Early Childhood Education หรือบางแห่งเรียกว่า nursery education) มี ECE1, 2, 3 โดย ECE1 สำหรับคนที่ไม่ได้จบปริญญา แต่ผ่านการอบรมของ CDA (Child Development Associate) เช่นเจ้าแม่ของวิชา Project Approach อย่าง ดร.ลิลเลียน แคทส์ (Dr.Lillian Katz) ก็เริ่มต้นจาก ECE1 ระหว่างที่เลี้ยงลูก เธอก็ไปหาความรู้เพิ่มในมหาวิทยาลัย 

ถ้าเปรียบเทียบ ECE1 ก็เหมือนประกาศนียบัตรครูขั้นต้นในสมัยก่อนบ้านเรา ต่อมาก็เป็น ECE2 คือคุณเริ่มมีวิชาชีพมากขึ้น เรียนมากขึ้น ก็จะเป็นประกาศนียบัตรขั้นสูงหรือเทียบเท่าอนุปริญญา ECE3 ก็เท่ากับการจบปริญญาตรีหรือปริญญาโท และเมื่อคุณจบการเรียนจากสถาบันแล้ว คุณจะต้องมีการพัฒนาวิชาชีพอีกถึง 5 ขั้นตอน เพราะครูที่เพิ่งจบใหม่ก็เท่ากับเพิ่งใช้หลักสูตรเป็น แล้วกว่าจะไปถึงขั้นของการคิดนวัตกรรม (การสอน) ได้ มันต้องใช้ประสบการณ์ 

การควบคุมคุณภาพ  

การควบคุมคุณภาพครูปฐมวัยควรเป็นอย่างไร 

ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร: ตอนนี้ที่ครูหม่อมได้ไปทำกับอาจารย์หนู คือการที่เรานำเสนอนโยบายแนวทางการปฏิบัติสำหรับครูปฐมวัยให้กับกระทรวงศึกษาธิการ และได้ประกาศออกมาแล้วเมื่อวันที่ 23 กันยายน โดยนโยบายที่พวกเราเสนอไป เราเสนอจากทฤษฎีฐานราก 3 เรื่อง คือพัฒนาการด้านตัวตน พัฒนาการ 4 ด้าน และทักษะสมอง EF 3 เรื่องนี้เป็นแกนหลักที่ครูจำเป็นต้องรู้ ซึ่งหลายครั้งวิธีการสอนของครูปฐมวัยกลับไปยับยั้งพัฒนาการด้านตัวตน ไปทำให้ตัวตนของเด็กเหลือน้อย และทำให้ EF เด็กไม่ได้ทำงาน 

จากทฤษฎีนี้เราทำออกเป็นแนวทางปฏิบัติเรียกว่า ‘5 สิ่งมีอยู่จริง’ ซึ่งตรงนี้ล้อกับที่คุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เคยพูดถึง ‘แม่มีอยู่จริง’ ทีนี้ นั่นคือครูมีอยู่จริง เด็กมีอยู่จริง หลักสูตรปฐมวัยมีอยู่จริง พ่อแม่มีอยู่จริง และผู้ร่วมงานมีอยู่จริง 

  1. ครูต้องมีอยู่จริง พวกเราเคยอยู่กับประสบการณ์ที่ครูไม่มีอยู่จริงมาแล้ว ทำให้เด็กรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย ครูต้องมีอยู่จริงหมายความว่าครูจำเป็นต้องใช้วินัยเชิงบวก ใช้การสื่อสารเชิงบวกทำตัวให้เป็นคนที่มีคาแรกเตอร์มั่นคง ปลอดภัย ไว้ใจได้ เป็นปากเสียงให้เด็กได้ 
  2. เด็กมีอยู่จริง เด็กต้องรู้สึกถูกยอมรับว่ามีตัวตนอยู่ในห้องเรียน พวกเราเองไม่เคยมีอยู่จริงในห้องเรียนนะคะ เช่น เวลาที่ครูถามว่า ‘ไหนใครมีคำถาม?’ เรานี่อยากจะหายตัวไปเดี๋ยวนี้ ฉะนั้น ครูต้องมีวิธีการว่า… เอ๊ะ แล้วจะมีวิธีอย่างไรให้เด็กรู้สึกถูกยอมรับ ได้แสดงความคิดเห็นของเขา แสดงความรู้สึกถูกอนุญาตให้คิดผิดคิดถูกในห้องเรียนได้ 
  3. หลักสูตรปฐมวัยต้องมีอยู่จริง ห้องเรียนปฐมวัยไหนละเมิดหลักสูตรปฐมวัย มีการเร่งเรียนเขียนอ่าน ถือว่าใช้ไม่ได้ ต้องควบคุม ครูต้องรู้วิธีการเขียน การจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรปฐมวัย หัวใจของหลักสูตรปฐมวัยเลย คือ เรื่องการให้โอกาสและความสำเร็จ เรื่องนี้ก็ต้องมีอยู่จริง ครูหม่อมคิดว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของเด็กไทย พอเดินเข้าโรงเรียนปุ๊บรู้สึกเสียเซลฟ์ รู้สึกไม่ประสบความสำเร็จ ไม่กล้าคิด ไม่กล้าทำ ฉะนั้นหลักสูตรปฐมวัยต้องมีอยู่จริง  
  4. พ่อแม่ต้องมีอยู่จริง แปลว่าครูปฐมวัยต้องทำงานกับพ่อแม่เป็น partner กัน เป็นผู้ร่วมเดินทางไปด้วยกันให้ได้ 
  5. เพื่อนร่วมงานต้องมีอยู่จริง ครูปฐมวัยจะต้องทำตัวเองเป็นผู้ร่วมงานที่ดีด้วย มีวง PLC (Professional Learning Community) หรือว่าคุยกันให้ได้ว่า เมื่อเกิดปัญหาอะไรเราจะต้องทำอย่างไร และที่สำคัญก็คือคำว่าเพื่อนร่วมงาน ก็หมายรวมถึงสหวิชาชีพด้วย

ตอนที่ครูหม่อมเป็นครูอยู่ที่อเมริกา เด็กคนหนึ่งบ้านไฟไหม้แล้วเกิดภาวะช็อก แต่ครูหม่อมต้องรับเด็กเอาไว้ เพราะคุณพ่อคุณแม่ก็ช็อกเช่นกัน พอคุณพ่อคุณแม่หายช็อก แต่เด็กยังไม่หายค่ะ สิ่งที่ครูหม่อมจะต้องทำงานด้วยก็คือนักสังคมสงเคราะห์และคุณหมอจิตแพทย์ หลายครั้งเลยที่ครูปฐมวัยหรือตัวครูหม่อมเองจะได้ใบสั่งยาเขียนมาเลย เรียกครูประจำชั้นให้เข้าไปทำงานกับน้องด้วย เด็กบางคนมีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อในการพูด ใบสั่งยามาอีกแล้วค่ะ ครูปฐมวัยก็ต้องไป ไม่ไปถือว่าผิด 

ครูปฐมวัยบางครั้งไม่รู้หน้างานของตัวเอง ไม่รู้ว่าบทบาทของครูปฐมวัยมีอะไรบ้าง เพราะฉะนั้น 5 สิ่งมีอยู่จริงจะทำให้ครูรู้ว่านี่คือบทบาทของครูนะ ครูมีอยู่จริง เด็กมีอยู่จริง หลักสูตรปฐมวัยมีอยู่จริง พ่อแม่มีอยู่จริง และผู้ร่วมงานมีอยู่จริง 

ผู้อำนวยการหรือผู้บริหารขั้นต้นที่อยู่ในโรงเรียนลองดูว่า ครูของท่านมี 5 สิ่งนี้อยู่จริงไหม หากไม่มี ก็ต้องพัฒนาครูค่ะ (professional development) คือไปเพิ่มพูนความรู้ของตัวเอง ที่อเมริกาก็เป็นแบบนี้นะคะ โดยจะมี 2 อย่าง คือ เราจะเพิ่มพูนแบบหลากหลายก็ได้ แต่เมื่อไหร่ที่คุณเพิ่มพูนความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง คุณจะต้องเลื่อนขั้นมาเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องนั้น จะคล้ายๆ กับที่อาจารย์หนูบอกว่าเหมือนกับเรามีความก้าวหน้าทางวิชาชีพของเราเอง เวลาที่คุณไปอบรมอะไรก็ตาม คุณต้องเก็บสะสมเอาไว้ ถ้าคุณทำเรื่องนั้นซ้ำๆ กัน คุณต้องบอกให้ได้ว่าคุณกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องนั้นแล้ว 

และคุณพ่อคุณแม่คะ หากว่าคุณพ่อคุณแม่เข้าไปดูสถานศึกษาให้ลูก สิ่งที่อยากให้ดูก็คือ ‘5 สิ่งมีอยู่จริง’ นี้ว่ามีไหม ครูในโรงเรียนเป็นอย่างไร ครูมีอยู่จริงให้ลูกท่านไหม ลูกท่านรู้สึกว่ามีตัวตนในห้องเรียนไหม ครูใช้หลักสูตรปฐมวัยไหม เขียนแผนตามหลักสูตรปฐมวัยไหม หากมีการเขียนรับรองว่าปลอดภัย รับรองว่ากำลังจะได้รับการพัฒนาตามหลักการและหัวใจของการศึกษาปฐมวัยค่ะ 

ในส่วนการควบคุมคุณภาพ อาจารย์หนูมีอะไรอยากเพิ่มเติมไหมคะ 

ดร.วรนาท รักสกุลไทย: ป้าหนูอยากพูดว่าปัญหามันเกิดจากบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารในเชิงของกระบวนการนิเทศภายในนั้นถูกละเลย ระบบนิเทศภายในต้องทำอย่างกัลยาณมิตร อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และระบบนิเทศภายในไม่จำเป็นต้องเป็นผู้บริหารก็ได้ เป็นระดับสายหัวหน้าชั้นทำก็ได้ หรือนิเทศกันเอง นิเทศเพื่อนร่วมงานกัน อย่างที่อาจารย์หม่อมพูดว่าเพื่อนร่วมงานที่มีอยู่จริง ทีมงานนิเทศแบบ collaborate กัน แต่ที่สำคัญคือต้องมีการ reflect ให้ชัดเจน ทบทวน เชื่อมโยง แล้วก็มองไปข้างหน้า เชื่อมโยงทฤษฎีให้ได้ เชื่อมโยงไปสู่การปฏิบัติ แล้วมองไปข้างหน้าว่าเราจะทำให้ดีขึ้นได้อย่างไร คำถาม reflect สำคัญมาก 

ขณะเดียวกันก็อยากเรียกร้องระบบนิเทศจากหน่วยงานข้างนอกเหมือนกัน อยากให้มีระบบศึกษานิเทศประจำเขตพื้นที่ ประจำเขตจังหวัดที่เข้มแข็งขึ้น เพราะว่ามันเป็นไปไม่ได้เลยที่ครูทำหน้าที่การสอน แล้วขาด leader 

เมื่อสองปีที่แล้วได้ไปเข้าอบรม national academy ของ NAEYC วิทยากรท่านหนึ่งบอกว่า ถ้าอยู่ดีๆ มีครูท่านหนึ่งเดินเข้ามาในห้องทำงานคุณแล้วบอกว่า ‘I need help’ มีเด็กกำลังอาละวาดอยู่ในห้อง คุณต้องลุกไปช่วยทันที หมายความว่าผู้บริหารต้องมีความรู้ที่จะเป็นที่ปรึกษาให้กับครูว่าวิธีแก้ไขพฤติกรรมอย่างไร คือเขากำลังบอกว่าที่อเมริกาก็มีปัญหาเรื่องระบบประกันคุณภาพที่เน้นเอกสารแล้วทำให้ครูไม่สะดวกใจเลย เพราะฉะนั้น เขาบอกเลยว่าคุณต้องลุกจากโต๊ะและเข้าไปช่วยครูเหมือนกัน 

ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร: ขอเพิ่มจากอาจารย์หนูนิดหนึ่งนะคะ ตอนเรียนอยู่ที่อเมริกา รุ่นของครูหม่อมมีการเปลี่ยนวุฒิของผู้บริหารการศึกษาปฐมวัย จากตอนแรกเขาระบุว่าผู้บริหารต้องจบด้านการบริหารการศึกษา แต่ในปีนั้นเขาบอกว่าต้องจบการศึกษาปฐมวัย แล้วก็ไปเรียนเพิ่มเรื่องการบริหารการศึกษา ด้วยเหตุผลเดียวกับที่อาจารย์หนูบอกเลยค่ะว่า ท้ายสุดแล้วผอ.ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำเป็นต้องรู้เรื่องการศึกษาปฐมวัย และต้องเป็นผู้ช่วยให้กับครูให้ได้ คือคำนี้เลยค่ะ เพราะหลายครั้งมากที่ครูหม่อมก็ ‘need help’ เหมือนกัน ต้องยอมรับนะว่าการเป็นครูปฐมวัย ไม่ว่าจะเตรียมตัวอย่างไร เราต้องมีมากกว่า plan B เสมอ ต้องมี plan C, plan D, plan สุดท้าย เลยคือห้องผู้บริหารนะคะ เราก็วิ่งเข้าไปและขอความช่วยเหลือได้

อีกหนึ่งระบบที่ครูหม่อมชอบมากเลยก็คือ พวกเราจะมีมาตรการของเมืองนั้น ตอนนั้นครูหม่อมอยู่เมืองนอร์ฟอล์ก รัฐเวอร์จิเนีย เขาจะมีระบบประกันมาตรฐาน โดยไปดูที่เด็กเลยนะคะว่าเด็กมีความสามารถจะผ่านมาตรฐานของรัฐไหม แต่มาตรฐานของเขาจะถูกตั้งขึ้นโดยที่ไม่เกินไปกว่าอายุและเป็นจริงได้ เช่น ไม่มีคำว่าอ่านออกเขียนได้ตอนจบอนุบาล ไม่มีนะคะ เขาเอาแค่การเขียนชื่อได้ บอกชื่อตัวเองได้ มีพัฒนาการด้านร่างกายเป็นอย่างไร หรือรู้ว่าตัวเองเป็นใคร เขาจะเน้นเรื่องอะไรแบบนี้ 

แล้วถ้าเกิดเราทำไม่ได้จะเกิดอะไรขึ้น? หากว่าเราทำไม่ได้ อันที่หนึ่ง เราจะสามารถติดโปรหรือติดใบเหลืองได้ แล้วบอกเลยว่าภายในสามหรือสี่เดือน คุณต้องมีแผนที่จะพัฒนาครูคนนี้กันเองก่อน เพื่อให้ผ่านมาตรฐานของรัฐ หากไม่ผ่าน เขาจะส่งคนมาประกบครูคนนั้น แต่นั่นแปลว่าศูนย์นั้นจะได้รับเงินอุดหนุนน้อยลงด้วย เพราะเขาถือว่ามีทรัพยากรเงินกับทรัพยากรครูที่เขาส่งมา คิดว่าตรงนี้เป็นระบบที่ดี แต่เขาเป็นกัลยาณมิตรนะคะ แต่ตัวพวกเราเองจะกลัวมากว่าจะมีใครจากข้างนอกมาประกบเรา เหมือนใครมองเข้ามาก็จะ โห…เราต้องมีคนมาประกบ แต่ว่าตรงนี้มันทำให้พวกเราระวังตัวมากขึ้น และครูว่ามันเป็นระบบที่อุ่นใจ ตรงที่ถ้าเราสติแตก เรามี director และถ้า director สติแตก เอาไม่อยู่กันจริงๆ เราก็มีรัฐที่จะส่งคนเข้ามาช่วย

ติดตามเรื่องการเยียวยา และ การพัฒนาระบบการการศึกษาปฐมวัยต่อ ได้ที่ ถอดบทเรียนกรณีครูปฐมวัยทำร้ายเด็กเล็ก2: ความรุนแรงซึ่งหน้าในเด็กเล็ก ส่งผลอย่างไร แก้ไขเยียวยาอย่างไรดี

Tags:

ระบบการศึกษาปฐมวัยความรุนแรงคุณภาพการศึกษา

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Related Posts

  • Early childhood
    “เด็กแต่ละคนปีนต้นไม้ไม่เหมือนกัน ถ้าเราไม่เชื่อ เราจะไม่เห็น” ชั้นหนึ่ง (First Grade)

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Early childhood
    ถอดบทเรียนกรณีครูปฐมวัยทำร้ายเด็กเล็ก2: ความรุนแรงซึ่งหน้าในเด็กเล็ก ส่งผลอย่างไร แก้ไขเยียวยาอย่างไรดี

    เรื่อง The Potential

  • Education trendCreative learning
    จุดร่วม 8 ข้อของประเทศที่มีการศึกษาคุณภาพสูง: สิงคโปร์ แคนาดา ฟินแลนด์ จีน ออสเตรเลีย

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ภาพ อัยยา มัณฑะจิตร

  • Early childhoodBook
    พลังแห่งวัยเยาว์: ขอผู้ใหญ่ ‘อย่าเข้าไปยุ่ง’ เด็กเล็กควรเล่นอิสระมากกว่าฝึกฝน

    เรื่องและภาพ ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Character building
    สุภาวดี หาญเมธี: สันดานดี สร้างได้ ด้วย CHARACTER BUILDING

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

ถ้อยคำทำร้ายลูก(2): อย่าทำนะ เดี๋ยวตำรวจมาจับ, ตีพื้น นี่แหนะจัดการให้แล้ว, นิสัยเหมือนพ่อ/แม่ไม่มีผิด
Early childhoodFamily Psychology
13 October 2020

ถ้อยคำทำร้ายลูก(2): อย่าทำนะ เดี๋ยวตำรวจมาจับ, ตีพื้น นี่แหนะจัดการให้แล้ว, นิสัยเหมือนพ่อ/แม่ไม่มีผิด

เรื่อง ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์อังคณา มาศรังสรรค์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • ระวัง, อย่า, ไม่ / เห็นไหม บอกแล้วไม่เชื่อ / อย่าไปทำแบบนั้น เดี๋ยวตำรวจมาจับ / (ลูกล้มแล้วตีพื้น) นี่แหนะ พ่อ/แม่จัดการให้แล้ว / ทำไมไม่ทำเหมือนคนอื่นเขา อายเขาไหมเนี่ย / นิสัยเหมือนพ่อ/แม่ไม่มีผิด
  • ถ้อยคำเหล่านี้ไม่ดีอย่างไร และถ้าไม่พูดคำแบบนี้ พูดอะไรแทนได้บ้าง?
บทความนี้ถอดความมาจาก Podcast รายการ ‘โรคพ่อแม่ทำ’ ตอนที่ 2 ถ้อยคำทำร้ายลูก ดำเนินรายการโดย เม้ง-ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ คุณพ่อลูกหนึ่งและครีเอทีฟจากบริษัท ชูใจ กะ กัลยาณมิตร และ ครูณา-อังคณา มาศรังสรรค์ กระบวนกรและนักเยียวยาความสัมพันธ์

โรคพ่อแม่ทำ ถ้อยคำทำร้ายลูก ตอนที่ 1 คลิก

ตอนที่แล้วเราคุยกับครูณาไปแล้วเรื่อง ‘ถ้อยคำทำร้ายลูก’ ตอนที่ 1 ซึ่งคุยกันไม่จบเลยต้องแบ่งมาเป็น 2 ตอน ตอนที่แล้วเราคุยเรื่อง ‘คำด่า’ ถ้อยคำที่รุนแรง ด่า ตำหนิ คือมองโลกในแง่ร้าย ทำลายลูก และหลายๆ ครั้งมันก็เป็นผลจนทุกวันนี้ แต่ยังไม่จบยังมีดีกรีที่กระเถิบมาอีก นั่นคือ “การขู่” จริงๆ จะพูดว่าขู่ก็ไม่เชิง คือเป็นห่วงมากจนใช้คำที่เลยขอบของการอยากให้เขาความระมัดระวังขึ้นไปอีก เลยอยากชวนครูณาคุย แล้วก็ปรึกษาว่าเราจะใช้คำอะไรแทนคำพวกนั้นดี และที่สำคัญคำพวกนั้นที่เผลอพูดไปมันไปเกิดอะไรในใจลูก

โดยวันนี้เราจะคุยกันถึงคำเหล่านี้ฮะ 

ระวัง, อย่า, ไม่ / เห็นไหม บอกแล้วไม่เชื่อ / อย่าไปทำแบบนั้น เดี๋ยวตำรวจมาจับ / (ลูกล้มแล้วตีพื้น) นี่แนะ พ่อ/แม่จัดการให้แล้ว / ทำไมไม่ทำเหมือนคนอื่นเขา อายเขาไหมเนี่ย / นิสัยเหมือนพ่อ/แม่ไม่มีผิด 

รับฟังในรูปแบบ Podcast คลิก

“ระวัง”, “อย่านะ”, “ไม่”

คำที่ผมติดปากที่สุดก็คือ ‘ระวัง, อย่า, ไม่’  ระวังลูก เดี๋ยวหล่นนะ ยืนดีๆ นะลูก คำเหล่านี้มันไม่ดียังไงครับ เพราะจริงๆ มันก็เป็นความห่วงของเรา 

ที่เม้งถามพี่ถึงคำว่า ‘ระวัง’ เนี่ย มันยังอยู่ในดีกรีที่พอเข้าใจได้ รับได้ แต่คำที่พ่อแม่หรือผู้ใหญ่มักจะพูดกับเด็กโดยทั่วไปคือคำว่า ‘อย่านะ’ ‘ไม่’ ซึ่งเวลาที่เราพูดคำว่า ‘อย่า’ หรือ ‘ไม่’ มันมีผล 2 อย่างที่เราควรทำความเข้าใจว่าทำไมถึงไม่ควรทำ  

คำแรก คำว่า ‘อย่า’ หรือคำว่า ‘ไม่’ แบบนี้สมองจะประมวลผลไม่ได้ เพราะสมองไม่มีเซลล์ที่สร้างคำว่า ‘ไม่’ หรือ ‘อย่า’ ในตรรกะการคิด เราถูกสร้างตอนที่เป็นผู้ใหญ่ว่าคำว่า ‘อย่า’ หรือคำว่า ‘ไม่’ มันเกิดภาพอะไรแล้วเราไปสร้างวงจรที่เป็นภาพตรงข้าม ซึ่งมันซับซ้อนนะ แต่เด็กเขาทำไม่ได้ พี่จะลองทำให้เม้งดู แล้วผู้ฟังก็ลองทำไปด้วยกันนะ 

ลองจินตนาการนะ หลับตาสบายๆ รู้สึกว่าเราเห็นท้องฟ้าที่สดใส มีก้อนเมฆ หลังจากนั้นมีนกบินมาตัวหนึ่ง นกไม่ใช่สีแดงนะคะ อย่าคิดนะว่านกสีแดง แล้วหลังจากนั้นมีนกบินมาเป็นฝูงเลย ไม่มีสีแดงสักตัว ห้ามคิดว่าสีแดงนะคะ เม้งลืมตาค่ะ นกสีอะไรคะ 

แดงครับครู แดงทั้งฝูงเลยครับ (หัวเราะ) 

 ใช่ เพราะในการทำงานของสมองที่ไม่ซับซ้อนจะคิดตามสิ่งที่ได้ยินแล้วไปกระตุ้นวงจรให้เกิดขึ้น คราวนี้ในการคิดอย่างแท้จริงมันไม่มีคำว่า ‘ไม่’ หรือ ‘อย่า’ เพราะคำว่า ‘ไม่’ หรือ ‘อย่า’ มันคืออะไรอะ?

ต่อมาคือ เวลาบอกว่า ‘อย่า’ ทำอะไรสักอย่างหนึ่ง มันมีทางเลือกอื่นๆ อีกมหาศาลเลยซึ่งไม่รู้ว่าควรจะทำอย่างไหน เด็กยังคิดซับซ้อนขนาดนั้นไม่ได้ เช่น ‘อย่าทำเสียงดัง!’ เขายังคิดไม่เก่งว่าถ้าไม่ทำเสียงดังแล้วทำอะไรเหรอ นึกออกไหมคะ เขายังไม่ถูกฝึกให้คิด

แล้วการพูดว่า ‘อย่า’ ในเด็กเล็กมากๆ มันอันตรายเหมือนกันนะ สมมติว่าเขากำลังจะจับปลั๊กไฟ แล้วเราก็บอกว่า “อย่าจับ!” ณ ตอนนั้นเด็กจะถูกกระตุกด้วยภาพว่า “จงจับ!” เด็กหลายคนพอบอกอย่าจับปุ๊บ จับทันที “อย่าแหย่!” เอานิ้วแหย่พัดลมทันที “อย่าวิ่ง!” เขาวิ่งค่ะ “อย่าคุยเสียงดัง!” “จงคุยเสียงดัง” ดังนั้น ในเรื่องที่อันตรายแล้วเราบอกว่า “อย่าจับ!” มันทำให้เด็กมีความรู้สึกเหมือนกับว่า ทำไมอะ แล้วยังไงหรอ ต้องทำยังไง เพราะเขายังประมวลผลไม่ทัน สมองเขายังทำงานซับซ้อนไม่ได้ พอบอกว่าอย่าทำอะไรหรือไม่ให้ทำอะไร ให้เรานึกเลยว่าเด็กจะคิดถึงการตัดคำเหล่านั้น แล้วเปลี่ยนเป็นว่าให้ทำแบบนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เด็กอยากรู้ เด็กยังไม่เข้าใจ เด็กก็จะประมวลผลเองไม่ได้แล้วก็ทำ แล้วเราจะเรียกเด็กเหล่านี้ว่า “เด็กดื้อ” แต่ไม่ใช่ เด็กไม่ได้ดื้อ แต่ผู้ใหญ่ใช้คำพูดไม่ถูก หรือคิดไม่เป็น 

ถ้าเราอยากให้เขาทำอะไร ให้บอกไปอย่างนั้น เช่น “เดินเบาๆ ลูก” พอพี่พูดคำว่า “เดินเบาๆ” เม้งเห็นภาพคนกำลังย่องเลยไหม? การพูดแบบนี้สมองจะเห็นภาพจริงๆ นั่นน่ะคือวิธีการฝึกเด็ก แต่ไม่ใช่บอกว่า “อย่าเดินเสียงดัง!” แล้วเขาก็งงว่าแล้วต้องทำอะไร เด็กต้องเห็นภาพปลายทางก่อน 

เช่น มีเด็กคนหนึ่งเดาะบอลในห้อง เดาะที่พื้น แล้วพ่อแม่ก็บอกว่า “อย่าทำเสียงดัง! ไม่ให้เดาะบอลกับพื้น” แล้วเด็กก็คิดว่าเดาะบอลกับผนังได้ ก็ไปเดาะบอลกับผนัง เพราะเขาไม่รู้ว่าทำไมไม่ให้เดาะบอลกับพื้น หมายถึงแม่ให้เดาะบอลกับผนังได้ใช่ไหม พอเดาะบอลกับผนังก็ไม่ได้อีก “บอกว่าอย่าเดาะบอล!” เอ้า..เมื่อกี้บอกว่าอย่าเดาะบอลกับพื้น เขาก็อุตส่าห์เลือกเดาะบอลกับผนัง แล้วสุดท้ายไม่ให้เขาเดาะบอล เขาก็ไปเอาของเล่นมาเท แต่จริงๆ แล้วพ่อแม่อาจจะบอกว่า “พ่อแม่กำลังคุยกันลูก ถ้าลูกจะทำเสียงดังลูกไปข้างนอกแป๊ปนึงนะ” เขาก็จะมีทางออกว่า อ๋อ…ตรงนี้กำลังต้องการใช้ความเงียบ เขาควรจะไปทำอย่างงี้

โดยเฉพาะเด็กเล็กที่เขายังคิดซับซ้อนไม่ได้ เราควรที่จะฝึกให้เขาเห็นปลายทางว่าอะไรคือทางออกที่ดี ไม่ใช่การบ่น หรือการทำให้เขารู้สึกว่าเขาเป็นคนที่ดื้อ เขาเป็นคนที่ไม่ฟังผู้ใหญ่

หมายถึงว่า การใช้คำว่า “อย่า” อย่าทำนั่นนี่นู่น อาจตามมาด้วยการกระทำที่พ่อแม่ก็ไม่ถูกใจอีก แล้วเขาทำก็ถูกว่าว่าดื้อ กลายเป็นว่า การเปลี่ยนพฤติกรรมไปทำอย่างอื่นเป็นผลพลอยได้ที่กลับสร้างให้เขากลายเป็นเด็กดื้ออีกทีนึง 

เหมือนกลับไปที่ EP.แรก ที่เราพูดถึงคำตำหนิ คือพ่อแม่ต้องฝึกว่าเราจะสื่อสารยังไงให้ได้ผล หากอยากให้เด็กเล็กทำอะไร ลองหาประโยคบอกเล่าที่ให้เห็นการกระทำอย่างชัดเลยว่าทำแบบนี้แล้วโอเคนะ ถ้าเกิดเขานั่งอยู่ที่ระเบียงแล้วเราบอก “ลูกนั่งระวังๆ นะลูก” ใช้คำว่า “ระวัง” ได้นะ “ระวังตกนะลูก” ซึ่งมันก็จะเหมือนที่เราพูดคราวที่แล้วเรื่อง ‘พลังงาน’ ที่เราใส่ไปว่ามันเป็นพลังงานความกลัว และมันก็ทำให้เขามีภาพตกอยู่ในหัว แต่ถ้าบอกว่า “นั่งระวังๆ นะลูก” เขาก็จะรู้สึกถึงท่าทีที่ระวัง 

แล้วถ้าเขาตกไปแบบนั้นนะ ให้รู้เลยว่า เด็กเนี่ย…การที่เขาต้องผจญภัยทางร่างกายของเขา ร่างกายของเขาถูกออกแบบมาเพื่อให้เกิดอุบัติเหตุเล็กๆ ได้ ล้มแบบนั้นแล้วก็หายเลยได้ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขาแบบนั้นมันทำให้เขาเรียนรู้ว่า เขาจะนั่งดีๆ นะ แต่พอเราไปห้ามเขาต่อ มันกลายเป็นว่าเขาไม่ได้ฝึกที่จะนั่งให้ดี แต่กลายเป็นว่าในเมื่อเธอนั่งดีๆ ไม่ได้ เธอจงไม่ได้นั่งอีกต่อไป 

ลูกพี่เคยขี่จักรยานแล้วล้ม แล้วบ้านพี่อนุญาตให้ลูกออกถนนเลยนะ ทีนี้เขาขี่ๆ อยู่แล้วโดนรถเฉี่ยว มีการกระแทกแล้วเลือดกำเดาไหล พี่ก็ยังไม่ห้ามเขานะ แต่นั่งดูเขาคุย ให้เขาทบทวนเรื่องราว แล้วเราก็มีกระบวนการที่ทำให้เขาเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น พี่กอดเขาโดยที่ไม่ได้พูดอะไรเลย หลังจากนั้นผ่านไปสัก 6-7 วัน เขาก็ขี่จักรยานใหม่ หลังจากนั้นเขามาบอกว่าการขี่จักรยานอย่างมีความสุข…มันคุ้มค่ามากกว่าการเกิดอุบัติเหตุนี่ 1 ครั้ง มีความสุขมากกว่าการบาดเจ็บครั้งนี้ ดังนั้น สิ่งที่เขาต้องเรียนรู้ก็คือ เขาจะขี่จักรยานให้ไม่เกิดแบบนี้อีก แบบนี้ต่างหากที่เด็กจะพัฒนาขึ้น ถูกป้ะ?

วันหนึ่งเราก็อยากได้ลูกที่อยู่ตรงไหนก็เล่นได้ ผจญภัยได้ สามารถทำอะไรได้เยอะแยะ ขี่จักรยานได้ ว่ายน้ำได้ ถูกไหม เราอยากได้ลูกแบบนี้ แต่ถ้าเขาเกิดอุบัติเหตุ 1 ครั้ง แล้วเราบอกว่า งั้นจงไม่เล่น นั่นแสดงว่าเราฆ่าความสุขของเขาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ไปทั้งชีวิต พระไพศาล วิสาโล ท่านก็เคยพูดว่าชีวิตที่หลีกเลี่ยงความเสี่ยง เป็นชีวิตที่เสี่ยงอย่างยิ่ง เพราะนั่นหมายถึงว่า ถ้าคุณไม่ได้เผชิญความเสี่ยงเลยคุณจะไม่ได้ฝึกทักษะที่จะผ่านสิ่งเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง 

แต่ถ้าเป็นเรื่องที่เสี่ยงถึงชีวิตล่ะ เพราะบางทีความรักมากๆ ของเราก็กลายเป็นห่วงมาก อย่างที่ผมบอกว่าตัวผมเองอาจจะเพราะมีแฟ้มภาพความกลัวอย่างนั้นเยอะมั้ง เขาเดินขึ้นบันไดแรกๆ เราจะเห็นภาพสะดุด เห็นภาพเขาตกระเบียงซ้ำๆ หรือวิ่งออกถนน “อย่า! อย่าเพิ่งวิ่งออกไป” หรือแบบปลั๊กไฟอย่างนี้ แล้วเราจะไม่ห้ามเขาเหรอ เช่นแบบ เขากำลังจะจิ้มปลั๊กไฟอยู่แล้ว ถ้ามันเกิดเหตุการณ์ตรงหน้าอย่างนั้น เราจะจัดการยังไง 

เมื่อตอนที่แล้วที่เราพูดว่า เราอยากเป็นพ่อแม่ที่สับสนวุ่นวาย หรือ เป็นพ่อแม่ที่สงบ? เราอยากให้เขาเป็นเด็กที่สงบหรือเด็กที่สับสนวุ่นวาย ถ้าเราได้คำตอบว่าเราอยากเป็นคนสงบและอยากได้ลูกที่สงบ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ดีมากเพราะว่าความสงบนี่แหละ สร้างการเรียนรู้ในระดับเชิงลึกได้ดีกว่าความวุ่นวายหรือการบอกว่า ‘ห้าม ‘อย่า’ 

สำหรับพี่ ถ้าลูกพี่เล็กๆ แล้วคลานไปที่ปลั๊ก แล้วเราเป็นคนสงบ แล้วลูกเราก็สงบ เราก็จะแบบว่า “แอะ!” เขาก็จะรู้แล้ว เชื่อไหมว่าเด็กที่สงบ เข้าสู่บางสิ่งที่เป็นอันตรายแบบนี้ เขาจะรับรู้ได้ด้วยสัญชาตญาณ 

ถ้าเกิดเขาเดินไปแล้วจะไปจิ้มปลั๊ก แล้วพี่ก็ “อะแฮ่ม” (ทำเสียงกระแอมในลำคอดังๆ) แล้วเขาก็หันมามอง เราก็สื่อสารอย่างชัดเจน ‘ผ่านสายตา’ ของเราแล้วว่าไม่ได้ เจ็บ เขาก็จะเริ่มเข้าใจ หรือจะไปจิ้มพัดลม เราแค่เอากระดาษแหย่ให้เขาดูแล้วมันดัง แป้กก! เขาก็ตกใจนะ เราก็จะบอกเขาว่า “เจ็บมากๆ ไม่ได้ลูก” 

เห็นภาพครับ 

ใช่ไหม? แค่นี้เขาก็เห็นภาพ พอมันได้ยินเสียง แป้กกก! เราก็บอกว่า “เนี่ย เจ็บมากๆ ไม่ได้หรอก” พี่ชอบเทียบกับเรื่องของสิงโต เวลาที่สิงโตเขาคลอดลูกออกมา ตัวเมียก็จะอนุญาตให้ลูกวิ่งเล่น ลูกก็วิ่งไป แต่พอมันเกินอาณาจักรที่พ่อแม่ไม่ให้ สิงโตก็จะหันมา แล้วถ้าพ่อแม่คำรามขู่ “แฮ่” (ทำเสียงประกอบ) ลูกก็จะรู้ได้ว่า อ๋อ…ไม่ควรไปเกินขอบเขตนี้ นี่คือสิ่งที่มันกลับไปสู่คำว่าสัญชาตญาณ ความจริงเด็กเขามีนะ

หรือว่าปลั๊กนี่นะ บางทีด้วยความที่เราใส่ความรู้สึกสงสัยให้กับเขา เด็กบางคนก็ยังอยากจะจิ้ม แต่เขาจะจิ้มด้วยท่าทีที่พร้อม คือเด็กบางคนก็โดนไฟช็อตนะ แล้วก็กระตุกออกมาทันที เพราะว่าเขาพร้อม แต่ถ้าเด็กที่ใช้วิธีการห้ามและตี และเขาอยากรู้มากๆ โดยที่ไม่รับรู้ถึงอันตรายในชีวิต เขาทำมันนะ เวลาที่เราห้ามเด็กโดยที่เด็กไม่ได้เรียนรู้ น่ากลัวกว่ามาก เพราะเขาจะแอบทำ แล้วตอนที่เขาแอบทำ เขาไม่มีสติเลยนะ เด็กเล็กๆ เธอจะใช้การขู่ อย่างที่บอกว่ามันไม่ได้เห็นทางออก มันไม่ได้ให้ข้อมูล 

ฟังแล้วเห็นภาพ แต่จริงๆ เราควรจะมีทางเลือกหรือทำให้ลูกเห็นภาพ และที่สำคัญมันกลับไปเหมือนอีพีที่แล้วเลย คือ สงบปากสงบคำ ผมรู้สึกว่ามันกลายเป็นคำเตือนใจเราที่ศักดิ์สิทธิ์ คือไม่ต้องเตือนไปซะทุกอย่าง และจริงๆ ผมคิดไปถึงลูกน้องเรา เพื่อนร่วมงานเราด้วยนะ บางทีชอบสั่งว่า ‘อย่า’ ‘ห้ามทำ’ น้องก็คงงงว่าจะให้ทำอะไรก็บอกมา เหมือนเราเองก็บรีฟไม่เคลียร์ 

ใช่ อยากให้ทำอะไรก็บอกมา คือบางทีเราก็ไม่รู้ตัวเองนะว่าเราอยากได้อะไร การที่เราทบทวนว่าเราอยากได้อะไร เราก็จะชัดเจนกับตัวเอง แล้วการสื่อสารของเรากับลูกหรือลูกน้องก็จะชัดเจน และอีกคำถามถามคือ เราอยากได้ลูกที่ ‘เชื่อง’ กับเราขนาดนั้นเลยเหรอ ถึงพูดครั้งเดียวแล้วเขาฟัง ทำตามเลย 

“เห็นไหม บอกแล้วไม่เชื่อ”

คำต่อไป ต่อเนื่องจากคำข้างบนเลย พอพลาดมา เราจะบอกว่า “เห็นไหม บอกแล้วไม่เชื่อ”

ตรงนี้ต้องระวัง ไอ้คำว่า ‘แม่บอกแล้ว’ ‘ครูบอกแล้ว’ ‘ฉันบอกเธอแล้ว’ คำนี้ขอให้สงบและก็เงียบไปเลย 

หนักกว่าเมื่อกี้เลยใช่มั้ยฮะ ผมเกือบจะข้ามคำนี้ไปแล้วนะ 

จริงๆ เด็กเรียนรู้ด้วยตัวเองได้เยอะมากนะ อย่างไรก็ตาม ถ้าเราสอนเขาแล้ว เราสร้างประสบการณ์ให้เขาแล้ว แต่สุดท้ายเขาทำพลาด สิ่งที่เราควรทำคือ ต้องเชื่อใจและวางใจเลยว่าเขาเรียนกับมันแล้ว แล้วเราก็กอดเขา บอกเขาว่า “รู้สึกแย่จังเลยเนอะ” แล้วจบ เราต้องวางใจว่ามนุษย์เรียนรู้แล้ว เชื่อไหมว่าถ้าเราทำ Process นี้ได้ สงบปากสงบคำกับคำนี้ได้ หลังจากนั้นเขาจะทำมันจริงๆ เขาจะตั้งใจกับมันจริงๆ 

แต่ลองฟังสิ “แม่บอกแล้วใช่ไหม! ว่าไม่ให้ทำ” มันเป็นอะไรบางอย่างที่ทำให้รู้สึกเหมือนว่า ‘ครั้งหน้าต้องแอบทำ’ แล้วถ้าเป็นวัยรุ่นแล้วเราบอกว่า ‘ก็ครูบอกแล้ว’ ‘ก็แม่บอกแล้ว’ ‘เสียดายใช่ไหมล่ะ ก็บอกแล้ว’ มันกระทำกับเขาให้รู้สึกว่า…ก็แล้วไงอะ?  กระบวนการที่จะรู้สึกผิดหรือรู้สึกสำนึกกับมันสิ้นสุดเลยนะ เนื่องจากมันเกิดอัตตาใหม่ที่จะรับว่า…ก็จะทำอะ ต่อไปจะทำให้เนียนขึ้น

พี่เคยทำแก๊งขี่จักรยานกับเด็ก ขี่กันมาเป็นร้อยกิโลฯ เลยนะ ขี่อยู่ 5-6 วัน แล้วการขี่นี่มันจบแล้วนะ แต่จะมีพาร์ทเสริมคือต้องอีก 10 กิโลฯ เพื่อกลับเข้าเมือง แต่ก็มีบางกลุ่มที่เอาจักรยานขึ้นรถบรรทุกแล้วนั่งกลับไป เราก็ให้เด็กเลือกเองว่าใครจะไปยังไง ทีนี้ก็จะมีเด็ก 10 คนที่เลือกขี่จักรยานไปกับครูต่อ อีก 10 กว่าคนที่เลือกว่าพอละ จบแล้ว เพราะเราบอกกับเขาว่าถ้าขี่จักรยานเข้าเมืองต้องระมัดระวังมากขึ้นนะและต้องขี่ให้เป็นระเบียบ ปรากฏว่ารถบรรทุกก็เอาจักรยานกับเด็กไปรอที่ตึก แล้วพวกที่ขี่จักรยานกับเราก็ขี่ไปเรื่อยๆ พอไปถึงตึก บรรดาเด็กที่ขี่จักรยานไปก็ชูสองแขนเข้าตึกเหมือนกับว่า Yes! เราเจ๋ง! เราเห็นสีหน้าของเด็กที่นั่งรถมาเลยว่า เหมือนเขารู้สึกว่าแบบ…โหย! อีกนิดนึงเราก็เจ๋งแบบนี้แล้ว 

สิ่งที่พี่พูดกับครูเลย คือ “อย่าพูดกับเด็กนะว่า ‘เสียดาย’ ระมัดระวังนะ” เพราะไม่อย่างนั้นกระบวนการที่เขากำลัง ‘เสียดาย’ อยู่จะจบลง ถ้าเธอพูดแบบนั้นแปลว่าเธอไปกระตุ้นกลไกป้องกันตัว แล้วมันไปปิดสวิตช์ของการเสียดาย ทันทีที่เขารู้สึกข้างในแล้วบอกว่า ‘เราไม่น่าเลย’ นั่นแหละ ทั้งหมดนั้นเขาจะคิดกับตัวเองแล้วก็จัดการกับตัวเอง แต่ถ้าเธอไปพูดกับเขาด้วยพลังงานที่ไม่ระมัดระวัง มันมีอัตตาที่ค่อยๆ เกิดขึ้น “ไม่ ผมไม่เสียดายหรอก” มันเกิดขึ้นมาแทน 

คล้ายๆ ว่า รู้แล้วน่าว่าเจ็บ ไม่ต้องซ้ำ พอไปซ้ำ เขาก็แปรเปลี่ยนความทุกข์นี้เป็นอย่างอื่นอีก 

คือถ้าเราเห็น ถ้าเราสงบพอ เราจะเห็นพลังงานทั้งหมดว่ากระบวนการมันจบแล้ว เขารู้สึกแล้ว เราก็ตบไหล่หรือเรากอด แล้วมันก็สมบูรณ์ในตัวของมันเองแล้ว 

“อย่าไปทางนั้น เดี๋ยวตำรวจมาจับ”

มันมีการขู่แบบคลาสสิกอีกอันคือ ‘อย่าไปทางนั้นเลย เดี๋ยวตำรวจมาจับ’ ‘อย่าทำๆ เดี๋ยวตุ๊กแกกินตับ’ ทุกวันนี้กลัวตำรวจเพราะไม่รู้ว่าตอนเด็กๆ แม่ชอบพูดคำนี้รึเปล่า โตมาเลยเป็นคนขี้ระมัดระวัง ขี้กลัว 

‘ระมัดระวัง’ กับ ‘ขี้กลัว’ คนละแบบกันนะ เด็กที่ขี้กลัว กลัวกับเรื่องไม่เข้าเรื่อง ทำไมต้องอยากให้เด็กกลัวตำรวจล่ะ ในเมื่อตำรวจเป็นคนที่ช่วยชีวิตเรา ช่วยสิ่งที่ดี แล้วทำไมเวลาที่บอก ‘อย่าไปทำงั้นนะ เดี๋ยวตำรวจจับ’ คือมันคล้ายกับว่าคุณค่าของมนุษย์ที่ตำรวจจะจับเนี่ยมันต่ำต้อยมากเลย แค่ทำแค่นี้ตำรวจก็จะมาจับแล้ว

เด็กเขาไม่ได้คิดซับซ้อนแบบนั้น แต่เราเอาลำดับการคิดวิเคราะห์ของเด็กไปเทียบกับสิ่งที่…มันแค่ทำแบบนี้ตำรวจก็จับ แล้วมันทำให้เขากลัวตำรวจโดยไม่เข้าเรื่อง บางทีเราไปสร้างเงื่อนไขที่ทำให้เขารู้สึกกลัวกับสิ่งที่ไม่ได้มีเหตุผลที่ดี ถ้าเราไม่อยากให้เขาทำอะไร เราก็สื่อสารให้ชัดเจนว่า ทำไมควรไม่ทำ

พี่ยังเคยอายเลย ด้วยความที่เรากลัวตุ๊กแก ก็เหมือนเธอที่กลัวตำรวจ แล้วเราไปกับอีกคนหนึ่งที่เขาไม่กลัวตำรวจเลย แล้วเขาก็คุยกับตำรวจสนุก แล้วเราก็มีจิตใจที่เรารู้สึกว่า ไม่อยากคุย ตำรวจน่ากลัว หรือเราไปปฏิบัติธรรม เพื่อนเราอยู่ห้องที่มีตุ๊กแกได้ แต่เราอยู่ไม่ได้ แล้วทำไมเราต้องสร้างเด็กที่มามีเงื่อนไขกับความกลัวพวกนี้ล่ะ 

คือเหมือนเวลาไปพูดอะไร ทำอะไร แล้วก็ไปสร้าง ไป Register สิ่งนั้นให้กับเขา ทำไมเราไม่บอกความจริงไปเลย ‘อย่าไปทางนู้น เดี๋ยวแม่มองไม่เห็น เดี๋ยวพ่อตามไม่ทันนะ’ แค่พูดความจริงก็พอ 

ใช่ มันนึกไม่ออกว่า ฉันทำอะไรเหรอฉันถึงต้องโดนจับ แล้วมันก็เป็นเงื่อนไขที่ไร้สาระ พี่คิดว่านะ  บอกไปเลย “อย่าไปทางนั้นนะลูก เดี๋ยวแม่มองไม่เห็นแล้วแม่จะเป็นห่วง” 

ทำผิดแล้วตีพื้น 

อีกอันที่ผู้ปกครองชอบทำ ลูกล้มแล้วตีพื้น พื้นผิด! อากงอาม่าผมก็ตีประจำ “นี่แหนะ จัดการให้แล้ว”

พอเป็นอากงอาม่าเราเลยไม่กล้าพูด (หัวเราะดัง) อันนี้มันฝึกอะไรรู้ปะ? โทษอย่างอื่น ไม่โทษตัวเอง ไม่เรียนรู้ที่จะจัดการตัวเอง เพราะฉะนั้นก็จะบ่มเพาะบางอย่างว่าพอมีอะไรปุ๊บ เขาจะชี้ออกนอกตัวทันทีว่าเขาจะไปจัดการกับอะไรดี

ทั้งที่จริงแล้วเราเหมือนจะพยายามจัดการให้ลูก เราอยากปลอบเขา

เราอยากปลอบประโลมเขา อยากทำให้เขาหายเร็วๆ ล้มก็ดูแลจิตใจ ดูแลอารมณ์ ลูกล้มเขาเจ็บ ให้สะท้อนอารมณ์เลย “เจ็บใช่ไหมลูก มากอดที” แล้วเขาก็จะเรียนรู้ของเขาเลย ไม่ต้องฝึกเขาเรื่องโทษคนอื่น 

 แต่นี่ชัดฮะ เพราะเราโตมาในสังคมที่โทษคนอื่นเยอะ 

เหมือนเมื่อกี้เธอพูดถึงหัวหน้ากับลูกน้อง พอเวลาทำงานอะไรผิดพลาด ลูกน้องก็จะโทษว่าหัวหน้าสั่งยังไง หัวหน้าก็จะบอกว่าลูกน้องอะฟังยังไง แต่ถ้าเราย้อนกลับมาที่ตัวเราเองว่า เฮ้ย…เราสั่งยังไงนะมันถึงได้ผลลัพธ์อย่างงี้ หรือว่า เอ๊ะ…เราฟังหัวหน้าบอกยังไงนะเราถึงทำผิด พอเรากลับมาที่ตัวเองเราจะเรียนรู้ที่จะแก้ไข ถ้าเด็กหกล้มแล้วเราไม่โทษอย่างอื่น แล้วเขาจะรู้ว่าเขาควรที่จะเดินอย่างระมัดระวัง 

การสร้างเด็กเล็กๆ นี่มันเหมือนสร้างสังคมนะ แล้วยิ่งเราต้องรออีกหลายปีกว่าสังคมมันจะค่อยๆ Transform 

อย่าง ‘โรคพ่อแม่ทำ’ มันถูกส่งต่อ อย่างที่พูดว่ามันหลายรุ่น แล้วเราก็สร้างกลไกความเป็นอัตโนมัติ สมมติว่าเราสร้างการโทษคนอื่นโดยการตีพื้น แล้วพอรุ่นถัดไปก็ตีต่อแล้วก็โทษอย่างอื่นต่อ ดีกรีมันก็จะสูงขึ้น พี่เรียนรู้กับบางอย่างแล้วพบว่า ‘โรคพ่อแม่ทำ’ มันทำความเจ็บปวด บางคนทำให้เกิดความเจ็บป่วยทางกาย แต่บางคนมันเป็นความเจ็บป่วยทางใจ แล้วมันสร้างพฤติกรรมบางอย่างที่กลายเป็นส่งต่อลูกถัดไป พี่คิดว่าถ้าผู้ฟัง คุณพ่อคุณแม่ หรือคนที่เลี้ยงดูเด็กทำความเข้าใจอย่างแท้จริง แล้วคิดว่าเราจะตั้งใจทำสิ่งนี้ เพราะถ้าจะตัดวงจรที่รุ่นเรา เราไม่เอาแล้วที่จะส่งต่อความผิดปกติที่เป็นความปกติอย่างนี้ เรียนรู้ว่าเราไม่เอาความผิดปกติของชีวิตแบบนี้ไปส่งต่อความเป็นปกติของมนุษย์ ทันทีที่เราฝึก เราแก้ไขเยียวยาตัวเองไง สิ่งที่ได้คือผลลัพธ์ที่มีค่ามากเลยต่อลูกของเรา แล้วลูกของเราก็จะไม่ใช่เด็กที่เกิดจาก ‘โรคพ่อแม่ทำ’

“ทำไมไม่ทำเหมือนคนอื่นเขา อายเขาไหมเนี่ย”

คำสุดท้ายครับ  “ทำไมทำไม่เหมือนคนอื่นเขา อายเขาไหมเนี่ย” แล้วไปเปรียบเทียบกับคนอื่นด้วย

ณาเชื่อว่ามีหลายคนที่โดนแบบนี้ เช่น พ่อแม่เปรียบเทียบเรากับพี่น้องหรือคนข้างบ้าน คำพูดเหล่านี้แหละที่ทำให้เด็กรู้สึกว่าฉันไม่มีค่า สงสัยในคุณค่าของตัวเขา สิ่งที่พ่อแม่ควรเรียนรู้คือเด็กไม่เหมือนกัน คุณเปรียบเทียบกันไม่ได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเปรียบเทียบคือ การไม่เห็นคุณค่าและความหมายในตัวของเราเอง รู้สึกว่าพี่น้องหรือคนข้างบ้านมีคุณค่ามากกว่าฉัน ฉันไม่มีคุณค่า ฉันไม่มีตรงไหนเลยที่ทำได้ดีใช่ไหม ซึ่งการพูดแบบนี้กับลูก ลูกเจ็บปวดมากนะ ลองกลับไปนึกถึงตอนเราเด็กๆ เราได้ยินเราก็เจ็บปวด 

แต่ถ้าประโยคนี้ไม่ถูกพูดขึ้น แต่เรายกมาว่า ลูกแม่คนนี้น่ารักยังไง เช่น ลูกพี่คนโตเป็นนักเปียโน คนเล็กเป็นนักปั้น ซึ่งเขาสองคนไม่มีทางเหมือนกันเลย ศักยภาพก็ไม่เหมือนกัน นิสัยก็ไม่เหมือนกัน ถ้าเราพูดโดยเปรียบเทียบ ไม่คนเล็กหรือคนโตต้องแย่เลย “โห..ลูกปั้นดิน ไม่เห็นเหมือนเฮียเขาเล่นเปียโนเลย” หรือพอคนพี่จะปั้นก็บอก “โหย…ปั้นสู้น้องก็ไม่ได้”แล้วเขาจะยังไงอะ แล้วเราจะให้เขาเชื่อในตัวเองตรงไหน เขาก็เลิกปั้นดิน เลิกเล่นเปียโนเท่านั้น แต่การที่เรายอมรับแล้วก็ให้เขาพัฒนาตัวเองในความเป็นเขา แบบนี้มันทำให้เกิดคุณค่าความหมายมากกว่าที่จะเปรียบเทียบกัน

สุดท้ายกลับไปเหมือนเดิม ไม่พูดดีกว่า สงบปากสงบคำดีกว่า 

พี่ชอบใช้คอนเซ็ปต์นี้นะ คือถ้าจะด่าหรือพูดไม่ดี เอาไว้พรุ่งนี้ไม่สาย เจ็บพอกัน เจ็บเท่าเดิม โน้ตไว้ก่อนก็ได้ ไปคิดก่อนว่าควรด่าไหม พอทำแบบนี้ ใคร่ครวญไปสักพักแล้วลองพูดแบบนี้ใส่ตัวเรา เราจะรู้เลยว่ามันเจ็บปวดมากอะ ทำไปทำไมนะ แล้วเราก็จะหยุด 

คือเราไม่มีชุดความคิดดีๆ หรือชุดคำพูดดีๆ เงียบดีกว่า ตอนนี้ผู้ฟังเงียบกันหมดแล้วนะฮะ 

(หัวเราะ) แต่ก็ยังดีกว่า เพราะทันทีที่เราพูดไม่ดี เรากำลังเพิ่มพลังของสมอง ใส่คำพูดแบบนั้นให้เรายิ่งพูดไม่ดีมากขึ้นได้ง่าย ตัวเราจะกลายเป็นคนที่ถนัดที่จะพูดประโยคแบบนี้ บางทีเราก็พูดประโยคแบบนี้จนกลายเป็นวงจรถาวร แต่ถ้าเราเงียบ สิ่งที่มันเกิดขึ้นก็คือ เราค่อยๆ สลายพลังงานของวงจรการพูดแบบนี้ แล้วก็ค่อยๆ ไปสร้างการพูดดีๆ สิ่งเหล่านี้มันต้องฝึก แต่ถ้าเรารู้สึกว่ายากหรือไม่มีประโยชน์ ก็แสดงว่าเรานี่แหละเป็นคนอนุญาตให้วงจรนี้ทำงาน เพราะฉะนั้นเราก็ต้องรับผลลัพธ์ของเราในอนาคตที่เราพูดไปกับลูกนี่แหละ

แต่เงียบไม่ใช่เก็บกดนะ เงียบแปลว่า ‘เดี๋ยวขอคิดก่อน’ ปล่อยวางกับเพิกเฉยนี่ต่างกัน ฉะนั้นเงียบเพื่อที่จะคิด เงียบเพื่อพรุ่งนี้ค่อยว่ากัน ไม่ใช่ว่าเงียบไม่พูดๆๆ

Solution ของครูณาคือ จะด่าก็ได้แต่ขอช้าสักวันหนึ่ง ช้าสักชั่วโมงสองชั่วโมง ลองทำแค่นี้ก่อน

ใช่ เพราะว่าเจ็บพอกัน ไม่ต้องกลัวว่าด่าช้าแล้วจะสายหรอก แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ถ้าเขาไม่ผิด หรือคำพูดของเราไม่ถูก แล้วเราด่า ความเสียหายมันมาทันที แต่ถ้าเราไปคิดนิดนึง เราอาจจะพบว่าไม่ด่าดีกว่า เราก็อาจจะได้การเติบโตที่ดีกว่า ความเสียหายจะน้อยลง 

“เนี่ย ทำนิสัยเหมือนแม่เลย”

สุดท้ายละฮะ คำนี้ใกล้เคียงเมื่อกี้ เแต่ทีนี้จะกระทบคราดนิดหนึ่ง ‘เนี่ย ทำนิสัยเหมือนแม่เลย’ ผมเผลอใช้ไปสองทีฮะ หรืออีกทีก็ “ทำนิสัยเหมือนพ่อเลยนะ” (หัวเราะ) อันนี้ผมพลาดบ่อย แต่ดูเหมือนลูกไม่ค่อยเสียใจเท่าไหร่

สิ่งที่มันเกิดขึ้นก็คือ คนที่ถูกเปรียบไปแบบนี้ เช่น เหมือนแม่ ภรรยาเราก็จะรู้สึกแย่มากเลย 

นี่เฮิร์ตนะฮะ เลยผมพลาดไปสองที 

แล้วนี่มันเป็นประโยคคลาสสิกนะ แม้แต่พี่กับสามี เมื่อก่อนนะ ถ้าอะไรที่ไม่ดี เราจะบอก ‘ทำไมเหมือนพ่อเลย’ แต่ถ้าเขาทำอะไรดีเราจะบอกว่า ‘ลูกแม่’ ซึ่งมันเป็นอัตโนมัติมากเลย 

เหมือนเราไป Register พ่อที่ไม่ดี กลายเป็นมีอคติกับพ่อไป ทั้งที่จริงๆ พ่ออาจจะยังไม่ได้ ‘ไม่ดี’ ขี้ในสายตาลูกก็ได้

ใช่ๆ แล้วเขาก็จะคิดว่าทำไมฉันต้องได้พันธุกรรมแบบนี้มา แล้วพอลูกไปคิดว่า อ๋อ..”นี่ฉันได้พันธุกรรมมาจากพ่อที่ขี้เกียจ ฉันขยันไม่ได้ก็เพราะพ่อ แล้วมันกลายเป็นว่าพ่อรู้สึกแย่ไปเลย 

พอหอมปากหอมคอแล้วกันนะฮะ จริงๆ ผมคิดว่าผมไม่ต้องสรุปอะไรละ เพราะในแต่ละประโยค แต่ละคำ เหมือนสรุปแล้วสรุปอีกๆ ก็มีหลายๆ อย่างที่เราน่าจะได้ไปเรียนรู้กันนะครับ แต่มีอีกชุดคำพูดหนึ่งครับที่อยากจะชวนครูณามาคุยในตอนต่อไป มันมาแบบแนบเนียน มาในรูปแบบของคำที่หวังดี หรือเราคิดว่ามันน่าจะดีนี่ เช่น “อย่าร้องนะ” “เป็นพี่ต้องเสียสละให้น้องสิ” อ้าว เป็นพี่ดีทีก็ดีแล้วนี่ แต่ว่ามันไม่ดียังไง เลยอยากจะชวนคุณผู้ฟังมาฟังกันในตอนต่อไปว่า “ถ้อยคำทำร้ายลูก” ที่แอบซ่อนมาในคำที่ดีๆ ที่จริงมันอาจจะไม่ดีอย่างที่คิด มันเป็นยังไง ก็ขอฝากไว้ชวนกันมาฟังในตอนหน้าด้วยนะครับ สวัสดีครับ

Podcast รายการ ‘โรคพ่อแม่ทำ’ รายการที่ได้แรงบันดาลใจมาจากหนังสือ โรคพ่อแม่ทำ เขียนโดย ศ.นพ. ชิเงโมริ คิวโกกุ ศาสตราจารย์ด้านกุมารเวชศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในญี่ปุ่น โดยเฉพาะด้านโรคภูมิแพ้และโรคทางกายที่เกิดจากสภาพจิตใจไม่ปกติ (Psychosomatic Disorder) ได้บันทึกและทำวิจัยเกี่ยวกับโรคที่รักษาว่าส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย โดยเฉพาะการเป็นผู้ปกครองหลังยุคอุตสาหกรรมที่ได้ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ผู้คนเคร่งเครียดขึ้นและส่งผลทางจิตวิทยาและทางกายต่อลูกๆ หลายโรคดูเหมือนไม่เกี่ยวกับการเลี้ยงดูโดยผู้ปกครอง แต่เมื่อคุณหมอคิวโกกุแนะนำให้รักษาด้วยการ ‘ห่าง’ จากพ่อแม่ อาการนั้นกลับหายราวไม่เคยเกิดมาก่อน เช่น ประจำเดือนไม่มาหรือมาไม่ปกติ ภูมิแพ้ เป็นต้น

โรคบางอย่างที่เกิดกับลูกนั้น หลายอย่างมาจากความรักและหวังดีของพ่อแม่(ที่อาจมากเกินไป) คือคีย์เวิร์ดจากหนังสือที่รายการนี้อยากหยิบยกมาพูดถึงต่อ เจาะจงไปที่พ่อแม่มือใหม่ ทำความเข้าใจเพื่อไม่สร้างโรคให้กับลูกโดยไม่รู้ตัว ขณะเดียวกัน ก็ชวนคนเป็นลูกทุกช่วงวัยเปิดฟังเพื่อกลับไปสำรวจบาดแผลวัยเด็ก ทำความเข้าใจพ่อแม่ในมุมมองใหม่ และฟังเพื่อถอนพิษให้กับตัวเอง 

ดำเนินรายการโดย เม้ง-ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ คุณพ่อลูกหนึ่งและครีเอทีฟจากบริษัท ชูใจ กะ กัลยาณมิตร และ ครูณา-อังคณา มาศรังสรรค์ กระบวนกรและนักเยียวยาความสัมพันธ์

Tags:

แบบแผนทางความสัมพันธ์วินัยเชิงบวกอังคณา มาศรังสรรค์ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์โรคพ่อแม่ทำ

Author:

illustrator

ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์

คุณพ่อลูกหนึ่งและครีเอทีฟจากบริษัท ชูใจ กะ กัลยาณมิตร

illustrator

อังคณา มาศรังสรรค์

กระบวนกรและนักเยียวยาความสัมพันธ์

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Book
    Olive Kitteridge : อาจใช้เวลาทั้งชีวิตกว่าจะยอมรับ เราไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบอารมณ์ร้ายๆ ของแม่

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Family Psychology
    คำพูดอาจส่งเสริม หรือเป็นอุปสรรคกับพัฒนาการ ถ้อยคำเหล่านี้ชวนคิดอีกที ก่อนพูดกับเด็กๆ ของเรา

    เรื่อง อังคณา มาศรังสรรค์ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Early childhoodFamily Psychology
    มหากาพย์การเลือกโรงเรียน (โรงเรียนที่ดีของพ่อแม่ โรงเรียนที่แย่ของลูก)

    เรื่อง อังคณา มาศรังสรรค์ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Early childhoodFamily Psychology
    ถ้อยคำทำร้ายลูก(3): ไม่ต้องร้อง เป็นพี่ต้องเสียสละ เป็นน้องต้องเชื่อฟังพี่ เป็นเด็กดีเชื่อฟังพ่อแม่ ที่ทำไปทั้งหมดก็เพื่อลูก

    เรื่อง อังคณา มาศรังสรรค์ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Early childhoodFamily Psychology
    ถ้อยคำทำร้ายลูก(1) ทำไมโง่อย่างนี้ ไม่น่าเกิดมาเป็นลูกฉันเลย ทำได้แค่นี้แหละ โกหก!

    เรื่อง อังคณา มาศรังสรรค์ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

ห้องเรียนอนุบาลคือพื้นที่ปลอดภัย: ชวนดูห้องเรียนของ 3 คุณครู จาก 3 ประเทศที่ครูไม่ได้เป็นเเค่คนสอน
Early childhoodEducation trend
12 October 2020

ห้องเรียนอนุบาลคือพื้นที่ปลอดภัย: ชวนดูห้องเรียนของ 3 คุณครู จาก 3 ประเทศที่ครูไม่ได้เป็นเเค่คนสอน

เรื่อง อุบลวรรณ ปลื้มจิตรกิตติรัตน์ ปลื้มจิตรณัฐธนีย์ ลิ้มวัฒนาพันธ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • ครูอนุบาล คือ ผู้เตรียมนักเรียนตัวน้อยก่อนจะก้าวเข้าสู่การเรียนในระดับประถมศึกษาเเบบเต็มตัว สนับสนุนเเละส่งเสริมความสนใจของนักเรียน
  • ตอนนี้สังคมกำลังตั้งคำถามว่า ห้องเรียนที่เหมาะสมกับห้องเรียนอนุบาลควรเป็นอย่างไรเเละบทบาทของครูปฐมวัยมีหน้าที่อะไรบ้าง
  • ชวนทำความเข้าใจบทบาทของครูที่อยู่ในห้องเรียนอนุบาลของ 3 คุณครู จาก 3 ประเทศ ได้เเก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เเละนอร์เวย์ จะช่วยวาดภาพห้องเรียนเเละเเสดงให้เห็นบทบาทของครูอนุบาลที่เเตกต่างจากเดิม…
ภาพ ครูเจี๊ยบ สุวิมล ปาณะลักษณ์ มาร์ติน, ครูปุ๊ก หิรัญญา​ กิจกอบชัย และครูจาร์ อุทุมพร สุญาณเศรษฐกร

คุณครูอนุบาล คือ ผู้เตรียมนักเรียนตัวน้อยให้เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการ ได้พัฒนากาย ใจ จิตวิญญาณ ตัวตน และการสัมพันธ์กับผู้อื่น การสัมพันธ์กับโลก แต่จากข่าวคุณครูใช้ความรุนแรงกับเด็กๆ ทำให้สังคมตั้งคำถามมากมายว่า ตกลงแล้วครูอนุบาลต้องเรียนอะไรมาจึงจะเป็นครูได้ และโรงเรียนควรมีการควบคุมคุณภาพครู และคุณภาพการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กอย่างไร

The Potential ได้รับความกรุณาจากครูอนุบาลใน 3 ประเทศ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เเละนอร์เวย์ ช่วยมาให้ข้อมูลว่า พวกเขาคือใครในห้องเรียน ระบบการคัดเลือกครูและการควบคุมคุณภาพเป็นอย่างไร 

ห้องเรียนอเมริกา: การควบคุมคุณภาพครูเเละโรงเรียนเป็นเรื่องสำคัญ

“สิ่งสำคัญคือการควบคุมคุณภาพหรือ Quality Control ของบุคคลากรที่รัฐต้องมาตรวจอย่างสม่ำเสมอ เขามาเมื่อไหร่ เราต้องพร้อม ไม่ใช่เเเค่เอกสารของครูหรือนักเรียน เราต้องมีทุกอย่าง ตั้งแต่แผนการสอน จนถึงงานประเมินผลการเรียนของนักเรียน เพราะสำหรับเด็กเล็ก คุณภาพครูสำคัญสำคัญที่สุด ถ้าเด็กเริ่มเกลียดการเรียนและโรงเรียนเเต่เล็กก็จะจำฝังใจจนกลายเป็นไม่ชอบเรียน”

คุณครูเจี๊ยบ สุวิมล ปาณะลักษณ์ มาร์ติน

คุณครูเจี๊ยบ-สุวิมล ปาณะลักษณ์ มาร์ติน อดีตครูประจำชั้นเตรียมอนุบาล (โปรแกรมพิเศษสำหรับเด็กกลุ่มเสี่ยง) โรงเรียน บราวน์ เออรี่เลิร์นนิ่ง สคูล (Brown’s Early Learning School) รัฐนอร์ทแคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา เเละอดีตครูผู้ช่วย 

การคัดเลือกครู และบทบาทของครูประจำชั้น และผู้ช่วยครู

ครูประจำชั้น ต้องจบปริญญาตรีทางศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ มีหน้าที่หลักคือการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ (lesson plan) ส่วนครูผู้ช่วยก็คือครูผู้ช่วยจริงๆ ช่วยทุกๆ อย่าง เป็นมือขวาของครูประจำชั้นเลยก็ว่าได้ โดยครูประจำชั้นจะออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ (lesson plan) ซึ่งเขาจะบอกเราก่อนว่าวันนี้เราจะทำอะไร มีทั้งเป็นลายลักษณ์อักษรที่แปะไว้บนบอร์ดของห้องเรียนและส่งให้ผู้ปกครอง รวมถึงต้องอธิบายปากเปล่าว่า วันนี้จะทำอะไรบ้าง แผนสำรองมีไหมถ้ามีการเปลี่ยนแปลง และต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง ถ้ามีเด็กที่ดูเกินความสามารถในการดูเเลและครูผู้ช่วยไม่สามารถตัดสินใจเองได้ก็สามารถปรึกษาครูประจำชั้นตลอด ครูประจำชั้นเองก็จะรับฟังและปรับปรุงถ้าครูผู้ช่วยต้องการนำเสนอความความคิดในการเรียนการสอนเช่นกัน เน้นทำงานร่วมกันเป็นทีม

ในส่วนของการไปเข้าห้องน้ำครูผู้ช่วยจะพาไปเป็นส่วนใหญ่ ถ้าเป็นเด็กเล็กนั้นในห้องเรียนจะมีห้องน้ำในตัวแต่เป็นห้องน้ำที่ไม่มีประตู เพราะต้องรู้ว่าเขาทำอะไรอยู่ เพื่อป้องกันเหตุอันตรายสำหรับเด็ก

และนอกจากการจัดการเรียนรู้แล้ว ครูจะต้องคอยสังเกตและประเมินพัฒนาการของนักเรียนในด้านต่างๆ ทั้งการเรียน การเข้าสังคม เเละวิชาการ โดยมีการประเมินทุก 3 เดือน ซึ่งห้องเรียนของครูเจี๊ยบนั้นมีครูประจำชั้น 2 คน และมีครูผู้ช่วยหนึ่งคน ทั้งสามคนจะสลับกันประเมินเพื่อป้องกันการโน้มเอียง (bias)

ซึ่งหากจะเป็นครูผู้ช่วยต้องเรียนอะไรบ้างนั้น เเต่ละรัฐไม่เหมือนกัน ของรัฐนอร์ทแคโรไลนาต้องเรียนวิชา EDU 119 ซึ่งวิชาเป็นพื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีการศึกษาและพัฒนาการเด็ก วิชานี้เราจะได้เรียนรู้และทำความรู้จักกับนักทฤษฎี นักจิตวิทยาทางด้านการศึกษา และพัฒนาการในการเรียนรู้แบบต่างๆ เช่น เพียเจต์ (Piaget), ไวกอตสกี้ (Vygotsky), สไตเนอร์ (Rudolf Steiner), มารีย์ มอนเตสซอรี่ (Montessori), เฟรดเดอริค โฟรเบล (Friedrich Fröbel), เรกจิโอ เอมิเลีย (Reggio Emilia approach), วอลดอลฟ์ (Waldorf) เป็นต้น และวิชานี้จะเน้นความรู้ตั้งแต่เกิดจนถึงห้าขวบ แม้จะจะไม่ลงลึกแต่เน้นปูพื้นฐานสำหรับการเริ่มเป็นครูที่จะสามารถเข้าใจธรรมชาติของเด็กๆ ได้ และตัวครูเจี๊ยบเองแม้จะจบปริญญาตรีมาคนละด้าน แต่ก็ต้องไปเรียนใหม่และเป็นครูผู้ช่วยหลังจากเรียนจบวิชานี้ และหากจะเป็นครูประจำชั้นก็จะต้องไปเรียนต่อยอด หากไม่ได้เรียนจบครูในระดับปริญญาตรี ก็สามารถไปเรียนต่ออีก 1 ปี หรือ 1 ปีครึ่งเพื่อเอาใบประกอบวิชาชีพครูได้ หรือเลือกที่จะต่อปริญญาโทก็ได้เช่นกัน

แต่การจบ EDU 119 จะได้เป็นครูผู้ช่วย Assistant Teacher หรือเป็น Floater (ครูห้องไหนขาดก็ไปห้องนั้น เพราะที่นี่มีกฎหมายว่าเเต่ละห้องเรียน เเต่ละช่วงอายุจะมีจำนวนเด็กต่อครู อย่างเด็ก 2 ขวบ ก็จะเป็นเด็ก 4 คนต่อครู 1 คนซึ่งถ้ามี 5 คนต้องมีครู 2 คน เเต่หากเด็กกลับบ้าน เหลือ 4 คน ครูผู้ช่วยคนนี้สามารถวิ่งไปช่วยห้องอื่นได้ ใครขาดก็ไปช่วย ต้องทำได้ทุกอย่าง และที่สำคัญต้องเข้าใจเด็กๆ) ส่วนใหญ่ถ้าเรียนวิชานี้แล้วจะได้ขึ้นมาเป็นครูผู้ช่วยเพราะถือว่ามีความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานการศึกษาเด็กปฐมวัย

ในส่วนครูผู้ช่วยนั้นถ้าต้องการเรียนเพิ่มเพื่อเป็นครูประจำชั้นก็สามารถขอเงินสนับสนุนจากรัฐไปเรียนต่อได้เช่นกัน อาจจะรอนานหน่อย หรือใช้ทุนจากรัฐแล้วกลับมาสอนให้โรงเรียนรัฐบาลเป็นการแลกเปลี่ยนหลังเรียนจบก็ได้ เช่นเดียวกับครูที่จบปริญญาตรี หากต้องการเรียนต่อก็สามารถทำได้เช่นกัน

ระบบควบคุมคุณภาพและพัฒนาครู

ครูเจี๊ยบเล่าให้ฟังว่า ห้องเรียนของเธอคุณครู 1 คนจะดูเเลนักเรียน 6 คน ไม่มีการติดกล้องวงจรปิด เเต่จะใช้เป็นกระจก 2 ด้าน ที่ผู้ปกครองสามารถสังเกตพฤติกรรมการเรียนของลูกหลานได้จากภายนอก โดยไม่เข้าไปเเทรกกิจกรรมการเรียนการสอน อยากมาเมื่อไรก็มาได้เสมอ ติดต่อกับทางผู้อำนวยการแล้วนัดเวลามา กระจกสองด้านตรงนี้เป็นตัวช่วยที่ดีที่ทำให้ครูต้องพร้อมเสมอเพราะเราไม่รู้ว่าอาจมีใครมาแอบดูเราสอนอยู่

นอกจากนี้ยังมีการควบคุมคุณภาพจากกระทรวงสุขภาพเเละบริการมนุษย์สหรัฐ (United States Department of Health and Human Service) ที่เข้ามาตรวจปีละ 2 – 3 ครั้ง โดยไม่บอกก่อน ดังนั้น คุณครูต้องพร้อมในการสอนเเละดูเเลเด็กๆ ตลอดเวลา

และสำหรับครูประจำชั้นและครูผู้ช่วยแม้ว่าจะบรรจุเข้าทำงานแล้ว (โรงเรียนรัฐบาลที่นี่จะทำสัญญารายปี เราต้องพัฒนาตัวเองเพื่อจะได้ต่อสัญญาทำงาน) เเต่ละปียังต้องเรียน Continued Education ทั้งลงเรียนในห้องเรียน ออนไลน์ หรืออบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ในหลักสูตรต่างๆ เพื่อพัฒนาตัวเอง ซึ่งเป็นการพัฒนาองค์กร และพัฒนาห้องเรียนไปในตัว “ไม่ใช่เป็นครูแล้วก็เป็นไปเลย ซึ่งแต่ละปีเราต้องเรียนเพิ่มเพื่อเอามาใช้ในห้องเรียน ถ้าเป็นครูประจำชั้นอาจจะเยอะหน่อย เพราะจะต้องอบรมเชิงปฏิบัติการเยอะมาก (workshop) ยิ่งเป็นครูนานขึ้นก็ต้องสร้าง workshop ให้ครูคนอื่นไปเป็นที่ปรึกษา (mentor) ให้ครูเพิ่งจบเเละครูผู้ช่วย”

ในทุกๆ ปีโรงเรียนต้องส่งเอกสารการดำเนินการเหล่านี้ให้กับกระทรวงสุขภาพเเละบริการมนุษย์สหรัฐ (United States Department of Health and Human Service) ในการประเมินคุณภาพ ซึ่งจะร่วมกับการมาตรวจโรงเรียน ที่มีการตรวจทั้งความสะอาด อาคาร สนามเด็กเล่น การเรียนการสอน นโยบายของครูและโรงเรียน และทุกๆ สองปีบุคลากรทุกคนในโรงเรียนก็ต้องเรียนและสอบ CPR , First Aid (การปฐมพยาบาลเบื้องต้น) เพื่อรักษาคุณภาพองค์รวมของโรงเรียน (ยังไม่รวมถึงระดับดาวในการรักษาคุณภาพองค์รวมระดับสากลทุกสามปี)

ในส่วนของโรงเรียนในสังกัดโรงเรียนรัฐบาลแต่ละเดือนจะมีการประชุมกลุ่มครูในเขตโดยเฉพาะซึ่งมีนัดหมายทุกเดือน โดยวันที่นัดหมายนี้จะนับเป็นวันทำงานของครู (Teacher Workday) และวันนั้นเด็กๆ ไม่ต้องมาเรียน ครูจะใช้เวลาทั้งวันไปอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) เรียนเพิ่ม หรือไปคุย ปรึกษา แบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ รวมไปถึงเยี่ยมชมห้องเรียนของกันและกันกับครูในเขต “ห้องเรียนเธอกับห้องเรียนฉันเป็นอย่างไร เรามีนักเรียนแบบนี้เราต้องติดต่อครูพิเศษเพื่อจะมาช่วยเป็นพิเศษไหม ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้เราควรช่วยนักเรียน หรือ พ่อ แม่ ผู้ปกครองอย่างไร เป็นต้น นี่คือตัวอย่างโรงเรียนกลุ่มเสี่ยงของรัฐบาลเฉพาะกลุ่มเตรียมอนุบาล แต่ถ้าเป็นโรงเรียนเอกชนทั่วไป เขาก็จะมีวันลักษณะนี้เช่นกัน วันทำงานครูปีละ 3 – 4 ครั้งหลังเลิกงาน และอย่างน้อยต้อง 2 ครั้งที่ปิดโรงเรียนแล้วใช้เวลาทั้งวันและรวมตัวกันเพื่อจะเรียนเพิ่มเติม”

ข้อดีของโรงเรียนรัฐบาลคือ ครูสอนจริงๆ ในห้องเรียน 6.5 ชั่วโมง แม้ว่าจะทำงาน 8 ชั่วโมงก็ตาม เวลาที่เหลือครูผู้ช่วยรับต่อ ขณะที่เราเองสามารถใช้เวลานั้นมาเตรียมการเรียนการสอน ทำให้ครูไม่ต้องเครียดขนงานกลับมาทำที่บ้านและช่วยลด Teacher Burnout (ภาวะหมดไฟในการทำงาน) ด้วย

คุณครูทำงานกับพ่อแม่ของเด็กอย่างไร

ก่อนเปิดเรียน ครูทั้งห้องจะไปเยี่ยมพ่อแม่ที่บ้านเพราะจะได้ดูว่าเด็กเป็นยังไง ดูสภาพเเวดล้อมที่บ้านว่าเวลาอยู่บ้านเป็นยังไง จะได้รู้ว่ามีเด็กที่ต้องการความดูแลพิเศษแบบไหนบ้าง แล้วเราจะต้องเตรียมตัวยังไง เรามีเวลาคุยกับพ่อแม่เขาแบบ one on one พ่อแม่อยากรู้อะไรถามมา เเละมี Open Door policy พ่อแม่อยากมาพบครูเมื่อไหร่นัดเวลามาได้เลย (เราสามารถขอล่ามได้ด้วยในกรณีที่พ่อแม่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่) โดยปกติมีการคุยและประชุมพ่อแม่ผู้ปกครองทุก 3 เดือนอยู่แล้ว อันนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละแห่งด้วย เท่าที่ทำงานมาเราเชื่อว่าครูกับพ่อแม่ต้องทำงานร่วมกัน เพราะไม่งั้นเด็กคือคนที่จะไม่ได้อะไรเลย

 “หน้าที่ของครูคือต้องเข้าถึงพ่อแม่ให้ได้มากที่สุดเพราะพ่อเเม่คือครูคนเเรกของลูก”

บทบาทครูเมื่อเกิดการใช้ความรุนแรงกับเด็ก

“ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเด็ก ข้างหลังหูเป็นรอยเขียว ใต้ผมเป็นรอยช้ำ เราในฐานะครูต้องเป็นกระบอกเสียงให้เขา”

ธรรมชาติของครู เราต้องช่างสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นกับเด็ก เช่น วันหนึ่งเด็กเข้ามาในห้องเรียน เงียบ ไม่พูดคุย หรือมีอะไรเปลี่ยนไปเราต้องเช็ค ต้องถาม เรามีเคสนักเรียนมาโรงเรียนแล้วเราเช็คเจอว่าหลังใบหูเขียว ใต้ผมเป็นรอยช้ำ (หลังหู​ใต้ผมเป็นที่ๆ ไม่มีใครเห็นหรือสังเกต) เราต้องถ่ายรูปส่งไปให้นักสังคมสงเคราะห์ จดรายละเอียดเป็นหลักฐานเพราะถ้าครูไม่ส่งจะมีความผิดเพราะครูต้องเป็นกระบอกเสียงให้เด็กๆ บางทีคุณครูต้องแจ้งความให้เมื่อเกิดการทำร้ายเด็กขึ้น

ถ้าคุณครูเห็นว่านักเรียนต้องการความช่วยเหลือไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม ทางโรงเรียนจะมีนักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา เเละนักกิจกรรมบำบัดเข้ามาช่วยฟื้นฟูจิตใจเขา (ที่นี่มีกฎหมายว่าเด็กทุกคนไม่ว่าจะพิการ พิเศษ​พูดต่างภาษา หรือไม่ว่าอะไรก็ตามต้องได้เรียนร่วมกัน อาจมีแยกห้องบ้างเวลาเรียนกับครูพิเศษ แต่ต้องได้มีเวลาเรียนร่วมกับเด็กคนอื่นทุกวัน)

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในไทย ครูเจี๊ยบให้ความเห็นว่า เด็กจะมองและจดจำภาพของโรงเรียนและครูเปลี่ยนไป เเต่เราในฐานะครูจะทำอย่างไรให้เขากลับมารู้สึกว่าโรงเรียนคือ “พื้นที่ปลอดภัย” ที่เขาจะเล่นเเละสนุกได้อย่างเต็มที่อีกครั้ง

ที่นี่สอนเรื่องสิทธิในร่างกายตั้งเเต่อนุบาล เพราะเด็กอยากรู้เเล้ว ยิ่งมีเพื่อนที่เพศไม่เหมือนเรา เเล้วห้องน้ำไม่มีประตู ทำไมเขามีอันนั้น ทำไมเราไม่มีอันนี้ ซึ่งทำให้เราต้องเริ่มสอนว่ามันโอเคนะที่เรามีร่างกายไม่เหมือนกัน เเล้วเราจะทำยังไงให้เขาเข้าใจว่านี่คือร่างกายของเขา คนอื่นไม่มีสิทธิมาเเตะต้องเรา ถ้าเรารู้สึกไม่ปลอดภัยเราต้องให้ไปหาใคร หรือเราต้องขอความช่วยเหลืออย่างไร เวลารู้สึกไม่ปลอดภัย

“เด็กเล็กควรจะมองโรงเรียนว่าเป็นที่ๆ สนุกเเละอยากไป เพราะมีความสุขและปลอดภัย ครูคือเพื่อน ถึงแม้ว่าจะมีกรอบการเคารพอยู่ แต่ในห้องเรียนเราเป็นเพื่อนกัน เล่นด้วยกัน มีอะไรมานั่งคุยกัน เพราะนอกจากนักจิตวิทยาที่จะเข้ามาช่วยเด็กเเล้ว คุณครูก็เป็นสื่อกลางที่จะช่วยปรับสภาวะจิตใจเด็กๆ ด้วย ครูอยู่กับเด็กๆ ทั้งวัน เขาไว้ใจเรา แต่ถ้าเข้าไม่สามารถไว้ใจเราได้เพราะเด็กกลัวครูไปแล้ว นั่นคือปัญหาใหญ่ ถ้าเด็กกลัวครูเขาจะเรียนไม่ได้”

อ่านรายละเอียด สมาคมการศึกษาปฐมวัยแห่งชาติได้ที่ The 10 NAEYC Program Standards

อ่านรายละเอียด คุณสมบัติครูปฐมวัยรัฐนอร์ท แคโรไลน่าบัญญัติ ได้ที่ Institute for child development professionals

ห้องเรียนอนุบาลที่ออสเตรเลีย: เด็กคือคนที่ควรปกป้อง

“ทุกวันนี้บ้านเราไม่ให้ความสำคัญกับการปกป้องเด็ก หรือ Child Protection เด็กโดนทำร้าย แต่บางคนกลับมองว่าเป็นเรื่องปกติ หมายความว่าถ้าเด็กเจอแบบนี้ตั้งแต่เล็กๆ ความรุนเเรงหรือบาดเเผลในใจเขาจะติดตัวไปตลอด เพราะช่วงอายุ 0 – 5 ขวบ เป็นช่วงวัยที่สำคัญในการค้นหาตัวตนที่จะส่งผลต่อเขาในอนาคต”

คุณครูปุ๊ก หิรัญญา​ กิจกอบชัย

คุณครูปุ๊ก – หิรัญญา​ กิจกอบชัย เป็น Educator ของแฟมิลี่เดย์เเคร์ ของค็อกคาทู เเฟมิลี่เดย์เเคร์ (Cockatoo​ Family Day​ Care) รัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) ประเทศออสเตรเลีย

ที่ออสเตรเลียการเข้าอนุบาลจะมี 3 แบบคือ 1) Pre-school สำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี เหมือนโรงเรียนอนุบาลที่ประเทศไทย 2) Long day care (Child care centre) รับดูแลเด็กตั้งแต่อายุ 0 – 5 ปี บางที่เริ่มทำงานกันตั้งแต่ 6:00 น. ถึง 18.00 น. และ 3) Family Day care ซึ่งใช้บ้านพักอาศัยเป็นสถานที่ดูแลและให้ความรู้เด็ก สามารถดูแลเด็กได้ไม่เกิน 4 คน อายุตั้งแต่ประมาณ 1 – 5 ขวบเรียนร่วมกัน โดยการจะเปิดทำการนั้นต้องขอใบอนุญาต จะมีเจ้าหน้าที่จาก Family day care scheme มาตรวจดูบ้านเลยว่าทุกอย่างปลอดภัยสำหรับเด็กหรือไม่ และผู้ดูแลเด็ก (Educator) ต้องมีคุณสมบัติครบตามกฎระเบียบ

การเรียนในชั้นอนุบาลจะเรียนแบบ play based learning กับ​ child interests จัดกิจกรรมให้เด็กจากที่เด็ก​สนใจ เช่น เด็กๆ ​คุยเรื่องพระจันทร์​ ก็หาหนังสือมาอ่าน แล้วดูว่าพระจันทร์​ที่เห็นมีรูปร่างยังไงบ้าง​ แล้วมีเทศกาลขนมไหว้พระจันทร์​พอดี​ ก็เล่น​ playdough​ ทำขนมไหว้พระ​จันทร์​กัน​ ส่วน​ Butterfly Life Cycle (วงจรชีวิตผีเสื้อ) ที่จัดไว้ในห้องก็เพราะมีเด็กชอบให้อ่านหนังสือ​ Crazy Caterpillars แบบนี้เป็นต้น

การคัดเลือกครู และบทบาทของครูประจำชั้น และผู้ช่วยครู

เส้นทางของการเป็นครูผู้ช่วย (Child care assistant) หรือ Educator ในออสเตรเลียจะต้องเรียนหลักสูตร ‘Certificate III in Early Childhood Education and Care’ เป็นเวลาประมาณ 6 เดือน เเต่ถ้าต้องการจะทำในตำเเหน่งที่สูงขึ้นเป็นครูประจำชั้น หรือ Room leader จะต้องเรียนต่อในระดับ ‘Diploma’ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง และหากต้องการเรียนเพิ่มจนจบปริญญาตรีจะต้องเรียนต่ออีกประมาณ 2 ปี หรือใครแน่ชัดว่าชอบเป็นครูจะเรียนปริญญาตรี (Bachelor of Early Childhood Education) 4 ปีเลยก็ได้

ซึ่งคุณสมบัติ​ของ​ Family​ Day​ Care​ educator ที่ออสเตรเลียระบุไว้ชัดเจนตามกฎหมายว่าต้องมีคุณสมบัติ คือ 1) สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรระดับ 3 ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาและการดูแลเด็ก (Certificate Ill level education and care) 2) มีใบรับรองการผ่านการอบรมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการทำซีพีอาร์ (First aid and CPR) รวมถึงการจัดการภาวะฉุกเฉินของโรคหอบหืดและภาวะภูมิแพ้ 3) ผ่านการประเมินประสบการณ์ทำงานร่วมกับเด็ก ไม่เคยมีประวัติการทำร้ายเด็ก (Working with children check) 4) ต้องมีใบรับรองประวัติอาชญากรรม (Police Check) 5) มีใบรับรองแพทย์ สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคติดต่อ สุขภาพจิตดี

หน้าที่ของ Family day care educator จะเป็นคนดูแลและให้ความรู้เด็กทั้งสี่คนเองทั้งหมด แต่จะมี Family Day Care Coordinator มาเยี่ยมที่บ้านทุกๆ 1 – 2 ครั้งต่อเดือน เพื่อตรวจบ้านและตรวจงานต่างๆ ของ educator คอยให้ความรู้เพิ่มเติม ให้ความช่วยเหลือในกรณีมีข้อสงสัยหรือเด็กมีปัญหา Family Day Care Coordinator จะต้องมีวุฒิ Diploma in Early Childhood Education

ส่วนใน Pre-school และ Child care center บทบาทของครูประจำชั้น หรือ Room leader (Diploma in Early Childhood Education) จะเป็นคนทำโปรแกรมการเรียนรู้ว่าในแต่ละวันเด็กจะทำกิจกรรมอะไร ซึ่งคอยดูจากความสนใจของเด็ก แล้วจะมี Child care assistant (วุฒิ Certificate III in Early Childhood education) ช่วยดูแลเด็ก และนอกจากครูประจำชั้น และครูผู้ช่วยแล้ว ยังมี ECT (Early Childhood Teacher) เป็นครูที่ดูภาพรวมทั้งหมดซึ่งจะจบปริญญาตรี

นอกจากการสอนพื่อพัฒนาความรู้ของเด็กแล้ว สิ่งที่สำคัญสำหรับการเป็นครูคือจะต้องช่างสังเกตในสิ่งผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กและถ้าเด็กมีปัญหาจะต้องรู้วิธีที่จะรับมือเพื่อไม่ให้เด็กเกิดอันตราย ครูและ educator จะต้องอบรมเรียนการปกป้องเด็ก (Child protection training) ทุกๆ สามปีนอกเหนือจากการเรียนวิชา Identify and respond to children and young people at risk ในหลักสูตร และจะต้องเรียนเพิ่มเติมในเรื่อง การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First aid and CPR) และเรียนรู้การรับมือกับหอบหืดและภูมิแพ้ (Asthma and Anaphylaxis) เด็กๆ ที่ออสเตรเลียเป็นโรคหอบหืดกับภูมิแพ้กันค่อนข้างเยอะ เด็กบางคนเป็นหนักมากจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้นจึงให้ความสำคัญกับการเรียนปฐมพยาบาลเบื้องต้น ซึ่งใบรับรอง CPR ต้องต่ออายุทุกปี และใบรับรองหลักสูตรปฐมพยาบาลต้องต่ออายุทุก 3 ปี

ระบบควบคุมคุณภาพและพัฒนาครู

ทุกรัฐจะมีกรอบตัวชี้วัดพัฒนาการของเด็ก และครูจะสังเกตพัฒนาการของเด็กอยู่ตลอด โดยใช้ Early Year Learning Framework เป็นแนวทางเพื่อดูว่าพัฒนาการของเด็กสมวัยตาม Developmental Milestones หรือไม่ และมีคู่มือ (guideline) ที่คอยดูว่าที่เราสอนเด็กไปตรงกับข้อไหน เด็กสามารถทำตามสิ่งที่ควรจะได้ทำตามวัยไหม เป็นมาตรฐานเหมือนกันทั้งประเทศ

ส่วนการประเมินโรงเรียนจะใช้ระบบ ‘Assessment and Rating’ จากกระทรวงศึกษาธิการ (Department of Education) ที่ออสเตรเลียใช้ National Quality Standard เป็นกรอบในการชี้วัด จะได้รับแจ้งล่วงหน้าก่อนการตรวจทุกๆ 2 – 3 ปี ไม่ได้ตรวจเเค่สถานที่ เเต่รวมถึงวิธีการเรียนการสอน การเก็บข้อมูลเด็ก ความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม สุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก จำนวนครูต่อนักเรียน ความสัมพันธ์ของเด็กกับครู การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และคุณภาพครู นอกจากนี้ยังมี Spot Check การเข้ามาตรวจโดยไม่บอกล่วงหน้า

“ถึงเขาจะสุ่มตรวจ แต่เราก็ไม่รู้ว่าเราจะโดนเมื่อไหร่ แล้วตรวจจริงจังมากเพราะว่าถ้ามีอะไรไม่ถูกต้อง โรงเรียนอาจจะถูกสั่งปิดเลย”

ในส่วนของ Family day care educator จะต้องเข้าอบรมเพื่อพัฒนาความรู้อย่างน้อยปีละสี่ครั้ง และมี Educator conference ปีละหนึ่งครั้ง

ยังสามารถเรียนเพิ่มเพื่อต่อยอดความรู้ของตนเองได้ รวมถึงมีทุนการศึกษาจากรัฐบาลเข้ามาสนับสนุนสำหรับเรียนปริญญาตรีเพื่อเป็นครู การลดราคาค่าเล่าเรียน Certificate III และ Diploma หรือบางรัฐสามารถเรียนฟรี เพราะเขามองเห็นความสำคัญของเด็กอนุบาลที่ไม่ได้มีเเค่การนำเด็กมาให้โรงเรียนดูเเล เพราะช่วงอนุบาลเป็นวัยที่เด็กจะเรียนรู้จากการเล่นเเล้วนำไปต่อยอดในอนาคต

บทบาทครูเมื่อเกิดการใช้ความรุนแรงกับเด็ก

“ที่ออสเตรเลียทำร้ายเด็กคือไม่ได้เลย ผิดกฎหมาย และถ้าได้ชื่อว่าเป็น ครูหรือ educator แล้ว หน้าที่ก็คือต้องเป็นคนดูแลปกป้องเด็ก ถ้าเห็นว่ามีอะไรผิดปกติจะต้องรายงาน จะนิ่งเฉยไม่ได้”

กรณีครูที่ทำร้ายเด็ก​ ถ้าเป็นกฎหมายที่ออสเตรเลีย หากมีหลักฐานชัดเจนจะดำเนินการตามกฎหมาย แต่จะถูกตัดสินยังไงก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและดุลพินิจ​ของศาล ​และครูที่เกี่ยวข้องและรับรู้เหตุการณ์​ก็จะถูกพิจารณา​ด้วย​ ครูทุกคนที่นี่เป็น​ mandatory reporter ต้องคอยสังเกตดูแลเด็กว่าปกติดีไหม​ ปลอดภัยหรือเปล่า​

ครูปุ๊กทิ้งท้ายว่า การตีเด็กเป็นเรื่องผิดกฎหมายของออสเตรเลีย เพราะฉะนั้นคุณครูควรมีความรู้เรื่องการจัดการพฤติกรรมของเด็ก (Behaviour Management Strategies) เช่น เวลาพูดกับเด็กควรย่อตัวลงให้อยู่ระดับใกล้เคียงกับเด็ก เวลาอยู่ใกล้กับเด็กจะทำให้เราได้รับรู้ความรู้สึกนึกคิดของเด็กได้ดีขึ้นและจะช่วยให้เด็กสนใจตอนที่เราพูดหรือถาม ฟังในสิ่งที่เด็กพูด และใช้ทักษะการพูดให้เด็กอารมณ์เย็นลงและค่อยๆ เข้าใจในสิ่งที่เขาทำลงไป เเละถ้าเด็กจะต้องได้รับการดูเเลพิเศษ ก็จะปรึกษากับ Family Day Care Coordinator ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่คอยดูแลให้คำปรึกษาของ Family day care educator ก่อนที่จะพูดคุยกับพ่อเเม่ให้พาลูกไปพบกับผู้เชี่ยวชาญเเละนักบำบัด

อ่านรายละเอียดมากกว่านี้ได้ที่ Australia children’s education and care quality authority

ห้องเรียนนอร์เวย์: ความสุขของเด็กเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด

“การตีเด็กเป็นเรื่องที่ค่อนข้างห่างไกลสำหรับคนนอร์เวย์ อาจเป็นเพราะความแตกต่างเรื่องวัฒนธรรมและหลักการคิดในด้านสิทธิของเด็ก”

คุณครูจาร์ อุทุมพร สุญาณเศรษฐกร

คุณครูจาร์- อุทุมพร สุญาณเศรษฐกร เจ้าหน้าที่เฉพาะทางด้านเด็กเเละเยาวชน อนุบาล Ullern Menighets barnehage Holgers lyst ประเทศนอร์เวย์ เล่าว่า คนนอร์เวย์จะเข้าใจเรื่องสิทธิเเละจิตวิทยาเด็กเป็นเรื่องพื้นฐานอยู่เเล้ว เพราะเขาเชื่อว่าเด็กจะเติบโตด้วยการเรียนรู้จากสังคม ทำให้นอร์เวย์เเทบจะไม่มีการตีเด็กเลย ซึ่งส่งผลให้เด็กอนุบาลนอร์เวย์ไม่เรียนวิชาการ เเต่คุณครูจะนำเรื่องที่เด็กสนใจมาประยุกต์ให้เข้ากับแบบแผนโครงสร้างการเรียนการสอนประจำปี อนุบาลไม่ใช่การศึกษาภาคบังคับ เเต่เด็กในนอร์เวย์ 9 ใน 10 คน ไป kindergarten (โรงเรียนอนุบาล) กัน

ครูจาร์เกริ่นกับเราให้เห็นภาพว่าวัฒนธรรมของคนในประเทศนั้นก็มีผลต่อการเลี้ยงดูเด็ก เธอเล่าว่า คนนอร์เวย์รักการอยู่กับธรรมชาติมากเป็นพิเศษ และด้วยภูมิประเทศซึ่งประกอบไปด้วยภูเขา ป่า และฟยอร์ด (หรือ fjord บริเวณชายฝั่งที่ถูกน้ำกัดเซาะจนกลายเป็นอ่าว) ทำให้ธรรมชาติเป็นส่วนนึงของชีวิตของคนที่นี่ และเชื่อว่าอากาศที่ดีจะช่วยให้ร่างกายเเข็งเเรงเเละช่วยเรื่องจิตใจ ความสงบ และเป็นพื้นฐานความสุขอย่างหนึ่งของชีวิต ดังนั้น เมื่อเด็กๆ เข้ามาเรียนเนอสเซอรี่ คุณครูก็จะออกเเบบกิจกรรมนอกห้องเรียน เช่น การเก็บใบไม้ การเดินทริปสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรือเดินออกไปร้านค้าเพื่อเลือกซื้ออุปกรณ์และส่วนประกอบในการทำอาหารร่วมกัน 

“คนนอร์เวย์รักธรรมชาติมาก ไม่เเปลกที่จะต้องไปเดินป่า เพราะเป็นวัฒนธรรมที่ทำกันมานาน ไม่ใช่กระทรวงศึกษาบอกให้ทำเพราะเขาเชื่อว่าการที่เด็กออกไปใช้ร่างกาย สูดอากาศบริสุทธิ์จะดีกว่าอยู่ในห้องเรียนเเละทำให้ร่างกายเเข็งเเรง เพราะฉะนั้นถ้าเด็กเล็กมาเนอสเซอรี่ ก็เป็นวัฒนธรรมที่ต้องอยู่ข้างนอก พาเด็กเล่นกลางสายฝนหรืออากาศหนาวติดลบก็ต้องออกไปเล่นข้างนอก

“อนุบาลของนอร์เวย์จะไม่มีการเรียนการสอนด้านวิชาการอย่างเป็นทางการจนกว่าจะถึงชั้นประถมศึกษา เเต่ทุกอย่างที่เรียนคือการเข้าสังคมผ่านกิจกรรม ให้เด็กลองใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ใช้มือ เล่นข้างนอก เล่นทราย ไปทริปเข้าป่า เพราะเขาเชื่อว่าการเล่นคือการเรียนของเด็ก เด็กคือเด็ก เด็กต้องได้โตแบบเด็ก โตผ่านการเรียนรู้จากการเล่นและการอยู่ร่วมกันในสังคม การแสดงออกให้เด็กได้รับรู้ว่าเราเข้าใจความรู้สึก ความต้องการ ความเป็นตัวของเขา ยอมรับเขาในแบบที่เขาเป็นแบบ individual ส่งเสริมเขาในสิ่งที่เขาสนใจ และช่วยพัฒนาหาแนวทางส่งเสริมในด้านที่เป็นจุดอ่อนของเขา คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเป็นครู

หรือตัวอย่างในห้องเรียน จะมีชาร์ตเรื่องเพื่อน สอนให้เด็กรู้ว่าถ้ารู้สึกเเย่ต้องทำยังไง เเละถ้าเห็นเพื่อนที่เดินคนเดียว เศร้าหรือเหงาเราต้องปฎิบัติตัวอย่างไร

การคัดเลือกครู และบทบาทของครูประจำชั้น และผู้ช่วยครู

การเป็นครูนอร์เวย์ต้องผ่านด่านการคัดเลือก ไม่ต่างจากอเมริกาหรือออสเตรเลีย คือ ครูต้องเรียนจบปริญญาตรีโดยตรง ครูจาร์เล่าว่า เธอไม่ได้เรียนจบครูมาโดยตรง ได้มาศึกษาเพิ่มเติมที่นี่ด้านเด็กและเยาวชน และปัจจุบันกำลังศึกษาต่อด้าน Children with Special Needs ก็จะทำงานตำเเหน่งเจ้าหน้าที่เฉพาะทางด้านเด็กเเละเยาวชนที่จะช่วยดูเเลเด็กๆ ในห้องเรียน ขณะที่ครูผู้ช่วยไม่จำเป็นต้องจบปริญญาตรี เเต่ส่วนใหญ่ต้องมีประสบการณ์ทำงานเนอสเซอรี่มาก่อน เเละไม่ว่าตำเเหน่งอะไรก็ตามจะต้องมีใบรับรองประวัติจากกรมตำรวจของนอร์เวย์ว่า ไม่มีประวัติการทำร้ายร่างกายหรือประวัติอาชญากรรม

ตาม พรบ. การศึกษาปฐมวัยของนอร์เวย์ระบุว่า ครูประจำชั้น (head teachers) และผู้อำนวยการ (pedagogical leaders) จำเป็นต้องผ่านการอบรมการศึกษาก่อนปฐมวัย (Preschool teacher) หรือได้รับคุณวุฒิทางการศึกษาที่รับรองคุณสมบัติของการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาสำหรับเด็ก คุณครูต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี สำหรับผู้อำนวยการที่ไม่มีคุณวุฒิด้านการศึกษาปฐมวัยจำเป็นต้องมีวุฒิการศึกษาเกี่ยวกับการสอนในระดับอนุบาล (kindergartens)

ผู้ช่วยคุณครูใน kindergarten ไม่มีข้อบังคับว่าต้องมีการศึกษาขั้นพื้นฐานเรื่องเด็ก แต่ทุกคนไม่ว่าทำงานประจำหรือชั่วคราวต้องมีใบรับรองจากตำรวจว่าไม่เคยก่อเหตุอะไรมาก่อน 

สำหรับหน้าที่การทำงานดูเเลเด็กจะเหมือนกันหมด เเต่ต่างกันตรงที่ครูมีหน้าที่วางเเผนการทำงานของคนในเเผนกด้วย เเละวางเเผนว่าเเต่ละสัปดาห์ เเต่ละเดือน จะเน้นเรื่องอะไรเพื่อให้สอดคล้องกับเเผนโครงสร้างของรัฐในด้านปฐมวัย ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่ครูก็สามารถเสนอความคิดได้ว่าอยากให้มีการเปลี่ยนเเปลงอะไร ตรงไหน อย่างไร เเละครูมีหน้าที่ประชุมกับผู้ปกครองตัวต่อตัวเพื่อรายงานว่าเด็กๆ เป็นยังไง สรุปการติดตามพัฒนาการให้ผู้ปกครองทราบ เเละผู้ปกครองก็จะติดต่อกับคุณครูในกรณีที่มีเรื่องจะปรึกษา

ครูจาร์อธิบายเพิ่มว่า ในกรณีที่มีเจ้าหน้าที่ลาหรือขาดงาน และทางเนอสเซอรี่มีการว่าจ้างเจ้าหน้าที่จากที่อื่นมาทำงานแทน เจ้าหน้าที่คนนั้นจะไม่สามารถอยู่กับเด็กตามลำพังได้ ถ้าจะต้องพานักเรียนไปเข้าห้องน้ำก็จะมีเจ้าหน้าที่ไปด้วย เพื่อป้องกันอันตรายต่อเด็กหรือทำให้เด็กรู้สึกไม่ปลอดภัย ซึ่งในห้องเรียนคุณครู 1 คนจะดูเเลนักเรียน 3 คน 

“ในเเผนกพี่มีเด็ก 15 คน ก็จะมีคุณครูสองคน ซึ่งจบครูโดยตรงมีพี่ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ด้านเด็กเเละเยาวชน เเละมีผู้ช่วยครูอีกสองคนค่ะ ซึ่งทั้งคู่ไม่ได้จบด้านเด็กหรือครู รวมทั้งหมดเจ้าหน้าที่ 5 คน เด็ก 15 คน ตามกฏหมาย (0 – 3 ขวบ)”

ระบบควบคุมคุณภาพและพัฒนาครู

ระบบพัฒนาครูจะมีคอร์สให้ครูเลือกได้ว่าอยากจะพัฒนาตนเองอย่างไร ซึ่งกิจกรรมที่จะเข้าร่วมก็จะขึ้นอยู่กับสหภาพครูในเขตพื้นที่นั้นเพราะเป็นการจัดร่วมกับเนอสเซอรี่อื่นๆ ซึ่งมีวันของคุณครูเหมือนกับอเมริกา เรียกว่า ‘Planning Day’ โดยครูจาร์บอกว่า ที่โรงเรียนจะมีการประชุมใหญ่ของครูปีละ 4 ครั้ง โดยเป็นการประชุมหรือสัมมนาแบบทั้งวันเพื่อเเลกเปลี่ยนไอเดียเเละปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีผู้อำนวยการเป็นคนช่วยวางแผนให้ และในแต่ละห้อง/แผนกจะมีการประชุมกันอาทิตย์ละครั้ง สรุปผลการทำงาน ติดตาม ปรับปรุงแก้ไข และแลกเปลี่ยนความคิดกัน

“อนุบาลของพี่จาร์จะจัดสัมมนาที่ทุกคนมานั่งคุยเเลกเปลี่ยนกันในเรื่องที่อยากจะเเก้เเละปรับเปลี่ยน เเล้วหาทางออกร่วมกัน เช่น ครั้งนี้เราจะคุยกันเรื่องอาหาร เราก็จะนั่งใส่รายละเอียด นั่งถกกัน อะไรที่อยากแก้ไข เพิ่มเติม ”

ส่วนเรื่องเกณฑ์ในการควบคุมคุณภาพของการสอน ครูจาร์บอกว่า ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนของรัฐหรือเอกชนก็จะมีมาตรฐานเดียวกันที่จะต้องผ่านเกณฑ์เหล่านี้ก่อน

การดูแลเมื่อเกิดการใช้ความรุนแรงกับเด็ก

คนที่นี่มองว่าเด็กควรได้รับการดูเเลที่ดีที่สุด เรื่องการคุ้มครองเด็กเป็นเรื่องสำคัญมาก ไม่ว่าจะบุคคลใดก็ตาม แม้กระทั่งพ่อ เเม่ ก็ไม่มีสิทธิ์เเตะเนื้อต้องตัวให้เจ็บหรือด้านอารมณ์ 

ที่นี่มี The Norwegian Child Welfare Services เป็นผู้ดูเเลเรื่องความเป็นอยู่ของเด็ก การตีเด็กเป็นเรื่องผิดกฎหมายของที่นี่ เเม้กระทั่งการตีด้วยมือเล็กๆ น้อยๆ เพื่อทำโทษ พ่อเเม่ไม่มีสิทธิ์เเตะต้องตัวลูกในลักษณะที่ทำให้เจ็บ ถ้ามีการเเจ้งจากเพื่อนบ้าน ครู หรือใครก็ตาม หรือแม้กระทั่งตัวเด็กเองเป็นคนแจ้งว่าเด็กถูกกระทำ เจ้าหน้าที่จะทำการสอบสวนสัมภาษณ์เด็กโดยเร็วที่สุด โดยไม่มีการแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ หลังจากมั่นใจแล้วว่าเด็กโดนกระทำจริง ในวันเดียวกันนั้นเจ้าหน้าที่ทางการจะเรียกผู้ปกครองให้มาพบและแจ้งเรื่องราวทั้งหมด และดำเนินการโดยด่วน

ในบางกรณีจะมีการจับเด็กแยกออกไปจากครอบครัวและไปอาศัยอยู่ในสถานที่ที่ทางการจัดให้ในระหว่างที่เรื่องยังไม่จบ ครอบครัวที่โดนเอาลูกไปเพราะเขามองว่าพ่อแม่ไม่มีประสิทธิภาพในการเลี้ยงลูกให้ดีพอ ทางรัฐก็จะไปหาครอบครัวอุปถัมภ์เพื่อให้เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น และมีเจ้าหน้าที่ทางด้านจิตวิทยาด้านเด็กร่วมมือในขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้เด็กได้รับการดูแลที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

เรื่องความสุขของเด็กเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เเละการที่เราวางพื้นฐานให้เขารักเเละมีความสุข สนุกกับการไปอนุบาลหรือไปโรงเรียน เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่จะทำให้เขาเอนจอยกับการเรียน มีความกระตือรือร้นเเละพร้อมที่จะเรียนรู้เสมอ เราในฐานะบุคลากรทางด้านการศึกษามีหน้าที่ที่ต้องทำส่วนของเราให้ดีที่สุด เเละใช้จิตวิทยาในการทำงานกับเด็ก รู้ต้นเหตุที่มาที่ไปเเละผลกระทบที่จะเกิดกับเด็กจากการกระทำหรือเเผนงานของเรา สถานศึกษาเป็นรากฐานที่สำคัญในชีวิตเเละอนาคตของเด็ก เด็กๆ ใช้เวลาอยู่ในสถานศึกษามากกว่าอยู่กับผู้ปกครองในเเต่ละวัน เพราะฉะนั้นเราต้องร่วมกันทำให้เด็กๆ มีความรู้สึกที่ดีกับสถานที่เเห่งนี้

3 ห้องเรียน จาก 3 ประเทศ อาจเป็นทางออกของสถานการณ์การศึกษาปฐมวัยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะเเต่ละประเทศ บุคลากรในโรงเรียน ทั้งผู้บริหาร คุณครูเเละนักเรียนต่างช่วยกันสร้างห้องเรียนของตัวเอง เเล้วถ้าถามว่า ตอนนี้ใครคือคนที่มีบทบาทสำคัญเเละเป็นเจ้าของพื้นที่ในห้องเรียนเด็กเล็กของไทย คำตอบของคุณคืออะไร…

Tags:

พื้นที่ปลอดภัยสหรัฐอเมริกาออสเตรเลียครูปฐมวัยการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิก

Author:

illustrator

อุบลวรรณ ปลื้มจิตร

บรรณาธิการเว็บไซต์ The Potential

illustrator

กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร

บรรณาธิการเว็บไซต์ The Potential

illustrator

ณัฐธนีย์ ลิ้มวัฒนาพันธ์

นักศึกษาปีสุดท้ายที่ชอบดูซีรีส์เกาหลี เชื่อว่าซีรีส์คือพื้นที่การเรียนรู้ที่ทำให้เราพัฒนาตัวเองได้ สนใจเรื่องระบบการศึกษา อยากเล่าเรื่องให้สนุกเเบบฉบับของตัวเอง

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • ‘โรงเรียน = รุนแรง’ สมการนี้สังคมต้องร่วมแก้ …เพราะทุกคนมีสิทธิที่จะไม่ถูกรังแก

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • Creative learning
    พาเด็กอนุบาลเรียนรู้ผ่าน ‘งานสวน’ เสริมสมรรถนะการอยู่ร่วมกันและการแก้ปัญหา:  ครูกิม – ภาวิดา แซ่โฮ่ โรงเรียนรุ่งอรุณ

    เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ปริสุทธิ์

  • Social Issues
    ‘ถึงไม่ได้เติบโตมาอย่างดีก็เอาดีได้’ จากนักพนันรุ่นจิ๋วสู่ครูมโนราห์ของเด็กนอกระบบ: วิชญะ เดชอรุณ

    เรื่อง ชุติมา ซุ้นเจริญ ภาพ ปริสุทธิ์

  • Space
    เปลี่ยนสนามเด็กเล่นที่ไม่น่าเล่นและไม่ปลอดภัย มาเป็นผู้ช่วยให้เด็กพัฒนาสมวัย

    เรื่องและภาพ ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Unique Teacher
    พรรณวิภา โซลเบิร์ก: ครูไทยในห้องเรียนนอร์เวย์ ชอบพาเข้าป่า เรียนวิชา 4 ฤดู

    เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

ถอดบทเรียนกรณีครูปฐมวัยทำร้ายเด็กเล็ก2: ความรุนแรงซึ่งหน้าในเด็กเล็ก ส่งผลอย่างไร แก้ไขเยียวยาอย่างไรดี
Early childhood
9 October 2020

ถอดบทเรียนกรณีครูปฐมวัยทำร้ายเด็กเล็ก2: ความรุนแรงซึ่งหน้าในเด็กเล็ก ส่งผลอย่างไร แก้ไขเยียวยาอย่างไรดี

เรื่อง The Potential

  • ต่อกันที่พาร์ทสุดท้ายของวงเสวนาบทบาทครูปฐมวัยและครูผู้ช่วย กรณีข่าวครูใช้ความรุนแรงเด็กอนุบาล ว่าด้วยประเด็นจิตวิทยา ผลกระทบที่เกิดในใจของเด็กที่ถูกคุกคามได้รับความรุนแรง การเยียวยา และประเด็นที่ต้องถูกทำงานต่อหลังเกิดเหตุนี้
  • ช่วงปฐมวัย เป็นช่วงที่เด็กกำลังพัฒนาเรื่อง trust (ความเชื่อมั่น ความวางใจ) รู้สึกว่า ‘โลกปลอดภัย’ เกิดความไว้วางใจต่อโลก กล้าที่จะเปิดรับและพัฒนาตัวเอง แต่ถ้าเขาตกอยู่ในสถานการณ์ความรุนแรง รู้สึกว่าโลกไม่ปลอดภัย ความเครียดจะทำให้เด็กใช้สมองส่วนสัญชาตญานในการเอาตัวรอด เด็กจะตอบสนองอยู่ 3 แบบ คือ สู้ หนี หรือยอม 
  • การรักษาเยียวยาบาดแผลที่เกิดขึ้นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ เพราะเด็กแต่ละคนมีบาดแผลไม่เหมือนกัน การพาไปพบหมอพัฒนาการเด็ก จิตแพทย์เด็ก หรือนักจิตวิทยา ให้เด็กๆ ได้ระบายสิ่งที่ท่วมท้นในใจออกมาว่าเขารู้สึก คิด มองสิ่งที่เกิดขึ้นยังไง ผู้ใหญ่จะได้เข้าไปในใจเขาถูกว่าเราจะไปเปลี่ยนความเชื่อ ความคิด ที่เกิดขึ้นยังไงบ้าง เราจะโอบอุ้มความรู้สึกหวาดกลัวของเขาอย่างไร

ท่ามกลางภาวะฝุ่นตลบเรื่องจากความกังวลของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาให้กับเด็กวัยอนุบาล จากกรณีครูผู้ช่วยอนุบาลใช้ความรุนแรงกับเด็กเล็ก หลายคำถามประดังเซ็งแซ่ขึ้นมาหนาหู …จากนี้เราจะไว้ใจฝากลูกน้อยไว้กับลูกได้อย่างไรบ้าง? 

The Potential ขอใช้โอกาสนี้ชวนวิทยากรในแวดวงปฐมวัย จัดวงเสวนาออนไลน์ในวันที่ 5 ตุลาคม 2563 คุยกันยาวๆ ว่า เราจะถือโอกาสนี้พัฒนาวงการปฐมวัยได้อย่างไรได้บ้าง เริ่มกันตั้งแต่ บทบาทครูปฐมวัยและครูผู้ช่วยคืออะไร, การควบคุมคุณภาพควรเป็นแบบไหน, การเยียวยาหัวใจของเด็กๆ ที่ถูกละเมิดคุกคามทำอย่างไรกันดี วิทยากรทั้ง 3 ท่าน รายนามดังต่อไปนี้

  • ดร.วรนาท รักสกุลไทย ผู้อาวุโสในวงการการศึกษาด้านปฐมวัยมากว่า 30 ปี ผู้อํานวยการแผนกอนุบาล โรงเรียนเกษมพิทยา 
  • ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ และ ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง จิตใจ และความสัมพันธ์ ในเด็กปฐมวัย สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และเจ้าของเพจ ‘เลี้ยงลูกนอกบ้าน‘ 

บทความต่อไปนี้คือการถอดบทสนทนาตลอด 2 ชั่วโมง โดยได้เรียบเรียงให้เหมาะแก่การอ่านและตรวจเช็คความถูกต้องเพิ่มเติมโดยกองบรรณาธิการ แบ่งบทความออกเป็น 2 ชิ้น

ชิ้นที่หนึ่งจะว่าด้วยเรื่อง หลักสูตรผลิตครู การคัดเลือก และ บทบาทหน้าที่ครูปฐมวัยและครูผู้ช่วย ทั้งในประเทศไทยและกรณีตัวอย่างที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และ การควบคุมคุณภาพ 

ส่วนชิ้นที่สองว่ากันต่อด้วยประเด็นจิตวิทยา ผลกระทบที่เกิดในใจของเด็กที่ถูกคุกคามได้รับความรุนแรง การเยียวยา และประเด็นที่ต้องถูกทำงานต่อหลังเกิดเหตุนี้

ความรุนแรงซึ่งหน้า ส่งผลต่อใจและกายเด็กอย่างไร
แก้ไขเยียวยาอย่างไรอย่างไรดี 

เวลาเกิดเรื่องแบบนี้ สิ่งที่เกิดในใจเด็กมีอะไรบ้าง 

ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร: ต้องบอกว่า เด็กเล็กๆ เขามีสิ่งที่จะพัฒนาหลักๆ ในช่วง 1 – 2 ปีแรกคือการสร้าง trust (ความเชื่อมั่น ความวางใจ) เพราะเด็กเล็กยังจัดการช่วยเหลือตัวเองได้ไม่เต็มที่ เวลากลัวก็ยังต้องการคนมาปลอบ เวลาเครียดก็ต้องคนอยู่ใกล้ๆ ซึ่งความรู้สึกว่า ‘โลกปลอดภัย’ คือสิ่งที่จะพัฒนาเด็กไปข้างหน้า เกิดความไว้วางใจต่อโลก อยากวิ่งไปสำรวจอะไรก็วางใจว่าทำได้เพราะโลกเปิดรับ โลกไม่ได้น่ากลัว แต่กับความรุนแรงที่เกิดขึ้นทำให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าโลกไม่มีความปลอดภัย (insecure) โลกมันน่ากลัว คนรอบข้างซึ่งควรพึ่งพาได้ก็พึ่งพาไม่ได้ ก็อย่างที่ครูหม่อมบอกเลยค่ะ นั่นคือ ‘เมื่อครูไม่มีอยู่จริง’ ก็เลยทำให้เด็กเกิดความรู้ว่าไม่ปลอดภัย ทีนี้เวลาที่มนุษย์รู้สึกไม่ปลอดภัย 

เช่น เวลาที่ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดความรุนแรง แทนที่สมองจะทำงานขึ้นไปที่สมองส่วน EF ซึ่งเป็นสมองส่วนที่เราอยากให้เด็กพัฒนา หรือเป็นสมองส่วนของมนุษย์ที่พัฒนามากกว่าสัตว์ ความเครียดทำให้การทำงานวิ่งไปที่สมองส่วนล่างซึ่งเป็นสมองส่วนสัญชาตญาน ส่วนของการเอาตัวรอด เด็กก็จะตอบสนองอยู่ 3 แบบแค่ สู้ หนี หรือยอม 

การสู้ เช่น เวลาเจอครูมาดุใส่ เขาอาจสู้โดยการตีกลับหรือเอาคืนบ้าง หรืออย่างภาพของเด็กที่ถูกคลุมถุงแล้วเขาก็สู้กลับ เขาเอาตัวรอด การสู้นี่แหละคือทางรอดของชีวิต เด็กเหล่านี้อาจเติบโตมาเป็นเด็กที่ก้าวร้าว ใช้ความรุนแรง อย่างที่คุณพ่อเขาให้สัมภาษณ์ว่าอยู่ดีๆ ลูกก็ตบปากคนในบ้าน คือมันเป็นวิธีซึมซับที่ส่วนหนึ่งมาจากการมองเห็นผู้ใหญ่รอบตัวใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหากับเขา และส่วนหนึ่งก็เป็นวิธีการเอาตัวรอดจากสมองของเขาที่รู้สึกว่า พอเจออะไรไม่ปลอดภัยเขาสู้กลับเป็นหลัก 

การหนี คือ ไม่เผชิญ หลบ สมมุติอยู่ในห้อง ครูเรียกให้ทำอะไรก็ไม่กล้าทำ เพราะกลัวผิด เพราะผิดแล้วรู้ว่าจะไม่ปลอดภัย อีกเดี๋ยวอาจถูกกระทำความรุนแรง เด็กเหล่านี้ก็จะหนีด้วยการร้องไห้ บอกว่าไม่อยากมาโรงเรียน คือพยายามหนีออกจากภาวะคับขัน ที่สำคัญจะ sensitive ง่ายขึ้น อะไรนิดหนึ่ง… ซึ่งจริงๆ อาจจะไม่ได้ดูคุกคาม แต่เขาก็จะรู้สึกอยู่ไม่ได้ ไม่ง่าย รู้สึกว่าไม่ปลอดภัย เพราะพื้นฐานการเรียนรู้ คือ โลกนี้ไม่ปลอดภัย ไม่มีที่ไหนไว้ใจได้ คล้ายเวลาเราอยู่ในสงครามเราก็จะตื่นตัวกว่าปกติ แบบ เฮ้ย… มันจะมายิงเราไหม? การรับรู้ของเรามันจะรับรู้ด้วยการตีความให้มากขึ้นกว่าปกติ เราต้องเอาตัวรอด 

แล้วเด็กที่ใช้วิธีการหนีก็จะเป็นแบบนี้ค่ะ คือในระหว่างหนี ลึกๆ ในใจก็จะกังวลว่าเราจะรอดไหม เราจะหนีพ้นหรือเปล่า เขาจะจับเราได้ไหม หรือหลายครั้งก็ใช้วิธีการอื่นๆ ที่ทำให้เรารอดไปเลย เช่น โกหกปกปิดความผิด เด็กกลุ่มนี้ก็จะพัฒนาปัญหาในระยาว คือ วิตกกังวลง่าย โกหกปกปิดความผิด เลี่ยง ไม่สู้ ไม่ทำ ถอย สุดท้ายเด็กก็พัฒนาศักยภาพตัวเองไม่ได้ หรือพัฒนาศัยภาพตัวเองไม่ดี และที่สำคัญ พอศักยภาพตัวเองพัฒนาไม่ได้ด้วยการ ‘อะไรก็ไม่อยากทำ’ ‘อะไรก็ไม่ลองทำเพราะกลัว’ สิ่งที่เสียไปคือตัวตน (self) กลายเป็นรู้สึกว่า ฉันคือคนที่ไม่ได้เรื่อง ฉันคือคนที่ไม่เก่ง 

การยอม เป็นรูปแบบที่เราเจอเยอะที่สุด คือพอเงื้อมือปั๊บ เด็กหลายคนก็รีบๆๆ ทำ รีบด้วยความกลัว เป็นวิธีการที่ทำให้รู้ว่า ‘ทำแบบนี้แล้วฉันจะรอดนะ’ คือยอมทำตามเขาไปนี่แหละ เด็กที่ต้องยอมอยู่บ่อยๆ ก็ดูเหมือนจะง่ายสำหรับผู้ใหญ่ แล้วผู้ใหญ่ที่ชอบใช้วินัยเชิงลบก็จะพบว่า วิธีนี้ก็เวิร์คนี่ พอจะตีทีไรก็ยอมทำตลอด แต่สิ่งที่เด็กต้องแลกคือการที่เขาพบว่า เขาจะเติบโตอย่างรู้สึกว่า ฉันไม่มีอำนาจ ฉันไม่มี power ฉันมีหน้าที่ทำตามที่คนอื่นสั่ง ฉันโต้แย้งไม่ได้ ฉันไม่สามารถแสดงสิ่งที่ฉันรู้สึกและที่คิดได้ ทุกอย่างถูกเก็บอยู่ข้างใน ฉะนั้นสิ่งที่ถูกทำร้ายอยู่ตลอดเวลาก็คือตัวตน (self) ของเด็ก เด็กกลุ่มนี้จะพัฒนาไปเป็นโรคซึมเศร้า 

ฉะนั้นปัญหาทางสุขภาพจิตของเด็กที่เกิดขึ้นในวัยรุ่นหรือในผู้ใหญ่ หลายครั้งมันมาจากประสบการณ์เชิงลบที่เด็กได้รับในวัยเด็ก หลายครั้งบาดแผลก็ค่อนข้างลึก โดยเฉพาะวัยปฐมวัยก็เป็นวัยที่กำลังพัฒนาตัวตน เฮ้ย…จริงๆ ฉันปฏิเสธได้นี่ ฉันวิ่งได้นะ ฉันปีนป่ายเก่ง แต่ตัวตน (self) ตรงนี้มันถูกทำลาย ถูกจับนั่งนิ่งๆ ในห้อง ถูกบอกว่าเธอไม่ได้เรื่อง เธอมันแย่ เธอถูกทำโทษ เธอถูกตี ตัวตน (self) ตรงนี้มันเลยถูกสั่นคลอนตั้งแต่ระยะต้นของชีวิต แล้วมันไม่ได้สร้างได้ง่ายๆ ไม่ใช่ว่าจะมาสร้างใหม่ตอน 5-6 ขวบ ไม่ใช่ มันเลยเป็นที่สำคัญว่า ทำไมการเลี้ยงดูวัยเด็กถึงได้เป็นรากฐานสำคัญ เพราะว่าสมองมันพัฒนามากๆ มหาศาลในช่วงวัยต้นๆ ของชีวิต

จับได้สองอย่างคือ หนึ่ง – มีอาการทางกายที่แสดงออกอย่างเด่นชัด เช่น เมื่อได้รับความรุนแรงมา ก็ใช้ความรุนแรงกลับ สอง – ตัวตนข้างในที่ถูกทำลาย เป็นคาแรกเตอร์ที่อาจไม่แสดงออก เช่น ภาวะของการเป็นคนไม่มั่นใจ ยอมคน ขี้กลัว

ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร: จริงๆ แล้วบาดแผลทั้ง 3 รูปแบบ เป็นบาดแผลที่เกิดทั้งข้างในและข้างนอกนะคะ แม้ว่าเด็กที่สู้บ่อยๆ จะแสดงออกมาข้างนอก แต่จริงๆ เวลาที่สู้ เราก็หวาดกลัวอยู่ข้างใน แล้วหลายครั้งเราพบว่าเด็กเล็กๆ เวลาที่เขาสู้ จริงๆ เขาก็สู้ไม่ได้หรอกเนื่องจากเขาตัวเล็ก พละกำลังไม่พอ พอเขาตีกลับครูก็จัดการเขาหนักกว่าเดิม พ่อแม่ก็ตีเขาหนักกว่าเดิม เด็กก็จะสู้ออกมาเป็นลักษณะความก้าวร้าว เป็นที่มาของเด็กดื้อ คล้ายว่ายังไงฉันจะก็สู้ให้รู้ว่าเธอควบคุมฉันไม่ได้ บอกให้ทำ ไม่ทำ บางคนออกมาเป็นดื้อแบบชัดเจน บางคนออกมาเป็นดื้อเงียบ พยักหน้าแต่ว่าไม่ทำ 

ทั้งหมดนี้ จริงๆ แล้วมันกลับมากระทบตัวตน self ของเด็ก เด็กที่โตมาแบบดื้อๆ เขาไม่ได้รู้สึกดีกับตัวเองเลยนะคะ เขาก็รู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ ตัวเองไม่เป็นลูกที่น่ารัก ตัวเองไม่เป็นลูกศิษย์ที่ครูชื่มชม ฉะนั้นทั้ง 3 อย่าง จริงๆ มันก็กระทบเรื่อง self ของเด็ก แล้วตัวตนนี่สำคัญกับมนุษย์เรามากเลยนะคะ พลังชีวิตเรามีตัวตนเป็นรากฐานเลย เราจะเชื่อว่าเราทำสิ่งนี้ได้ไหม 

เข้าใจว่าภาวะสามอย่างนี้ มีผลต่อการพัฒนาสมองในเชิง neuroscience (วิทยาศาสตร์สมอง) ด้วย 

ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร: เวลาที่พูดคำว่าจิตใจ จริงๆ มันก็คือสมอง เพราะว่าหัวใจเรา มันรู้สึกไม่ได้เนอะ แต่จะเป็นสมองส่วนความรู้สึก เป็นสมองส่วนที่เราซึมซับด้านความสัมพันธ์ ด้านอารมณ์ต่างๆ ฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้น มันก็กระทบกับจิตใจ ทั้งความรู้สึกปลอดภัย ความรู้สึกมั่นคง ความรู้สึกเป็นที่รัก ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันเป็นพื้นฐานด้านจิตใจว่า การที่เราเติบโตมากับความรุนแรงก็มีผลกระทบต่อโครงสร้างทางด้านอารมณ์ ที่สำคัญมันไปกระทบโครงสร้างของสมอง เพราะว่าเวลาที่เรารู้สึกไม่ปลอดภัย อย่างที่เมื่อกี้บอกไป เราจะไปใช้สมองส่วนสัญชาตญาณเอาตัวรอด 

ประเด็นคือ เวลาที่สมองทำงาน เมื่อสมองส่วนอารมณ์ถูกกระตุ้นโดยความรู้สึกเชิงลบว่าไม่ปลอดภัย สมองมันวิ่งลงข้างล่าง สิ่งที่เกิดขึ้นกับสมองอีกอย่างหนึ่งก็คือ สมองส่วนคิดจะปิดทำการ สมองส่วนคิดก็คือสมองส่วน EF เป็นสมองที่เราอยากให้เด็กพัฒนา เราอยากให้เด็กรู้ว่าเวลาที่เขารู้สึกโกรธ นอกจากเขาจะตีกลับ หรือแสดงอาการดื้อ เราอยากให้เขาเรียนรู้ว่าเวลาโกรธเขาทำอะไรได้ หนูมาเขียนระบายใส่กระดาษแบนี้ได้ หนูมานั่งหายใจลึกๆ ตรงมุมสงบแบบนี้นะ หนูจัดการความโกรธตัวเองได้ แบบนี้จะทำให้เขาไม่โตไปเป็นเด็กที่ก้าวร้าว ให้รู้ว่าไม่ได้มีวิธีการจัดการอารมณ์แบบเดียว แต่ครูอาจไม่ได้ใช้วิธีการเชิงบวกที่ทำให้เขาเข้าใจว่าจัดการความโกรธแบบอื่นได้ 

ที่ร้ายกว่าคือสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ถูกสอนผ่านการบอกแต่ผ่านการเห็น เวลาครูโกรธแล้วครูตบหัว เขาก็เรียนรู้แบบนั้นว่าเวลาโกรธก็แค่ตบหัวกลับ เสร็จแล้ว ได้ระบายแล้ว แต่จริงๆ เด็กอยากเรียนรู้ว่าเวลาโกรธเราไม่ต้องตบหัวใครนะลูก ให้หนูทำแบบนี้ๆ แทน แต่โอกาสในพื้นที่ที่มีเลี้ยงดูเชิงลบ ใช้การขู่ ใช้อำนาจ มันปิดกั้นวิธีการเรียนรู้ที่เราอยากให้สมองพัฒนา 

เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้แล้ว เยียวยาอย่างไรดี 

ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร: ประการแรก – สำหรับเด็กเล็ก ความรู้สึกปลอดภัยเป็นพื้นฐานสำคัญของชีวิต ฉะนั้นเราต้องทำให้เขารู้สึกก่อนว่า ณ ขณะนี้ ชีวิตเขาจะปลอดภัย เขาจะมีพ่อแม่ที่ดูแลเขา ทำให้เขารู้สึกปลอดภัยที่บ้าน ปัญหาที่โรงเรียนกำลังจะมีการเปลี่ยนแปลง หรืออะไรก็ตามที่ทำให้ตัวเขารู้สึกว่าเขาปลอดภัย

ประการที่สอง – การเยียวยาบาดแผลที่เกิดขึ้น อันนี้ต้องบอกว่าเด็กแต่ละคนมีผลกระทบที่เกิดขึ้นในระดับรุนแรงมากน้อยต่างกัน เพราะความรุนแรงที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ลักษณะพื้นฐานหรือพื้นอารมณ์ของเด็กแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน การจัดการทักษะการคิด การจัดการความรู้สึกทางอารมณ์เด็กแต่ละคนก็แตกต่าง การซัพพอร์ตที่บ้านก็มีความแตกต่าง วิธีการเดียวกันคงใช้กับทุกคนไม่ได้ แต่ละคนควรจะต้องกลับมาประเมินลูกของตัวเองว่า ลูกเรามีผลกระทบที่เยอะไหม ตราบใดที่รู้สึกว่ามีและไม่แน่ใจ หมอคิดว่าการพบผู้เชี่ยวชาญเป็นเรื่องที่ควรจะต้องรีบทำ 

หลายครั้งเราแค่เดาเอาว่า ‘คงไม่เป็นไรมั้ง’ คำนี้แหละที่อันตราย เพราะมันส่งผลกับการเรียนรู้ระยะยาว ฉะนั้นตราบใดที่รู้สึกไม่แน่ใจ ลูกดูซึมๆ ลูกดูหวาดกลัวผิดปกติ กลางคืนตื่นมาร้องไห้หลายคืนติดกัน อะไรเหล่านี้ ให้เอะใจไว้ก่อนเลยว่ามันไม่ปกติ แล้วไม่ได้แปลว่าต้องหาผู้เชี่ยวชาญ หาหมอพัฒนาการเด็ก จิตแพทย์เด็ก นักจิตวิทยาเฉพาะเมื่อลูกเป็นปัญหาเยอะ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เรารู้สึกว่าเราจัดการไม่ได้ ไม่รู้จะช่วยลูกยังไง ช่วงเวลาแบบนี้เราไปเจอกับผู้เชี่ยวชาญได้นะคะ 

การเยียวยาจริงๆ ที่ทำกัน บางทีเขาทำผ่านการให้เด็กค่อยๆ ระบายสิ่งที่ท่วมท้นออกมาว่า เขารู้สึกยังไง เขาคิดยังไง เขามองสิ่งที่เกิดขึ้นยังไง เราจะได้เข้าไปในใจเขาถูกว่าเราจะไปเปลี่ยนความเชื่อ ความคิด ที่เกิดขึ้นยังไงบ้าง เราจะโอบอุ้มความรู้สึกหวาดกลัวของเขายังไง ส่วนใหญ่เทำผ่านการเล่าเรื่อง การเล่น การวาด หรือบางทีเป็นพวกการใช้ทราย (Sand Tray Therapy) มันจะมีรูปแบบการช่วยเยียวยาเด็ก หรือให้เด็กแค่เล่าออกมา มันก็ช่วยเยียวยาเด็กไปได้เยอะ 

คุณพ่อคุณแม่อาจจะมีอคติกับการพาน้องไปหาคุณหมอ เพราะนั่นเท่ากับการยอมรับว่ามันมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น

ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร: มันมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตลอดชีวิตการเติบโตของเด็กและการเป็นพ่อแม่ของเรา ไม่มีพ่อแม่คนไหนเลี้ยงลูกได้ถูกต้องอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราเลี้ยงแบบไม่สร้างบาดแผลกันและกันเลยอาจจะต้องกลับมาสงสัย เอ๊ะ…เราอยู่กับลูกเยอะพอหรือเปล่า คือมันมีอยู่แล้ว พ่อแม่เป็นมนุษย์ที่มีอารมณ์ ความรู้สึก มีการจัดการตัวเองไม่ได้ และหลายครั้งตรงนี้มันก็ส่งผลกระทบกระเทือนกับลูก หมอคิดว่า ยอมรับว่าความไม่ปกติมันเป็นความธรรมดา เกิดขึ้นได้ ไม่ได้เป็นเรื่องผิด แต่เมื่อไรที่เจอว่ามันผิดปกติ แล้วเรียนรู้ที่จะแก้ไข หมอว่าอันนี้เป็นการบอกว่าเราเป็นพ่อแม่ที่ใช้ได้นะ เราใส่ใจลูก เราเห็นความไม่ปกติ แล้วเราก็สละเวลาที่จะลงมาจัดการกับเรื่องนี้แล้วก็ดูแล แล้วอยากให้รีบทำ ไม่อยากให้มาเสียดายทีหลังว่า โห…เราไม่รู้เลยว่าลูกเรามีบาดแผล เพราะมันจะเรื้อรั้ง 

แต่เวลาพูดเรื่องนี้ก็ไม่ใช่แค่พ่อแม่อย่างเดียวเนอะ เป็นเรื่องของครูปฐมวัยที่จะต้อง detect บาดแผลในใจเด็กให้เจอและต้องเยียวยาได้ด้วย ตรงนี้อยากให้ครูหม่อมช่วยแชร์นิดนึงค่ะ 

ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร: เป็นเรื่องจำเป็นที่ครูปฐมวัยต้องเข้าใจเรื่องจิตวิทยาเด็กที่ดี อย่างที่บอกว่า ความหวังแรกของเด็ก คนหนึ่งคือพ่อแม่ แต่แน่นอนว่าพ่อแม่อาจจะมีอยู่จริงหรือไม่มีอยู่จริงก็ได้ เด็กหลายคนก็เป็นกำพร้า หรือว่ามีอยู่แล้วแต่อาจไม่พร้อม 

ซึ่งเวลาที่ครูหม่อมทำอบรมเรื่องวินัยเชิงบวกกับพ่อแม่ที่อเมริกา ครูหม่อมไม่ได้ทำกับพ่อแม่ที่พร้อมจะจ่ายเงิน แต่ทำให้รัฐ ให้กับพ่อแม่ที่ทำร้ายเด็ก พ่อแม่ที่ติดยาเสพติด ถ้าพ่อแม่เขาไม่มีอยู่จริง ครูจำเป็นจะต้องเข้าไป นี่หนึ่งในหน้าที่ของครูปฐมวัย แล้วครูคิดว่ามันถึงเวลาแล้วที่ครูปฐมวัยจะต้องกลับมาทำหน้าที่บทบาทครูปฐมวัยจริงๆ ไม่เป็นไปตามความคาดหวังหรือค่านิยมที่ผิดว่าครูปฐมวัยคือครูที่ต้องสอนเด็กให้อ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องการเรียนแต่เป็นเรื่องของการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ 

ดร.วรนาท รักสกุลไทย: พูดตรงๆ เลยนะคะ หลักสูตรเรายังไปไม่ถึงเรื่องการให้ครูเป็นที่ปรึกษา เป็นนักจิตวิทยาโรงเรียนเลย นี่เป็นอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจมากเลย การรู้ถึงจิตวิทยาครอบครัว การให้คำปรึกษากับคุณพ่อคุณแม่ในบทบาทที่ทำได้และถูกเทรนด์มาพอสมควร คุณหมอโอ๋ต้องมาเป็นวิทยากรแล้วค่ะ สำคัญมาก (หัวเราะ)

นอกจากเด็กๆ ต้องถูกเยียวยา จริงๆ ตัวคุณครูคู่กรณีและผู้ปกครองก็ต้องถูกเยียวยาเหมือนกัน 

ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร: ถ้าเรามองในบริบทของตัวตน ครูพี่เลี้ยงอย่างครูจุ๋มคือครูคนหนึ่งที่มีปัญหาเนอะ แต่ถ้ามองให้ลึกในเชิงระบบ เราก็ต้องกลับมามองแล้วว่ามันเป็นผลผลิตของกระบวนการสร้างครูหรือเปล่า ตั้งแต่การเลือกรับครูที่อาจทำให้เขาได้ทำงานที่ไม่เหมาะกับความถนัดของเขารึเปล่า หรือปัญหาเศรษฐกิจที่ทำให้ครูจุ๋มเองก็ตกเป็นเหยื่อในสังคมที่เขาไม่ได้มีความสุข จนเขาเผยแพร่พลังงานเชิงลบกับเด็กๆ รอบตัวเขาอยู่หรือเปล่า 

แง่นี้เราก็เชื่อว่าคุณครูเองก็มีปัญหาและควรต้องได้รับการดูแลตัวเองหรือเยียวยาตัวเองของเขาก่อน เราคิดว่าทุกคนก็มีศักยภาพที่จะพัฒนาไปได้ แต่การที่เราไปตีตรา ไปทำให้เขาจมดินไปต่อไม่ได้ เราก็เสียศักยภาพมนุษย์คนหนึ่งที่เขาควรจะอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ ฉะนั้นหมอเลยมองว่า ทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องได้รับการเยียวยา 

คุณพ่อคุณแม่เอง ก่อนไปช่วยเด็ก จริงๆ ต้องช่วยตัวเองให้รอดก่อนเหมือนกัน ตอนนี้อารมณ์โกรธของเราเต็มไปหมด หรืออาจรู้สึกผิดท่วมท้น เราจัดการอะไรได้ยากมาก ก็อยากให้กลับมาจัดการความรู้สึกของตัวเองก่อน กลับมาดูแลตัวเองก่อน แล้วค่อยๆ จัดการเรื่องลูก จัดการเรื่องการตัดสินใจต่างๆ มีหลายอย่างที่เราต้องใช้พละกำลังข้างในที่มันเข้มแข็งพอสมควรถึงจะเข้าไปจัดการสิ่งเหล่านั้นได้ 

หน่วยงานของรัฐหน่วยงานไหนที่ควรเข้ามาช่วยกันทำงานเรื่องนี้บ้าง 

ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร: ครูหม่อมขอแชร์ประสบการณ์นะคะ อยากจะนำเสนอเป็นนโยบายในคำว่า ‘เพื่อนร่วมงานมีอยู่จริง’ หากเป็นเคสที่หนักจริงๆ จะมีครูปฐมวัย นักจิตวิทยา แล้วก็นักสังคมสงเคราะห์ ต้องเรานั่งทำงานด้วยกัน แต่พอหมดเคสแล้วจะมีนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์อีกหนึ่งคนมาทำให้พวกเรา (ทีมงาน) ต่อด้วย เพราะเวลาที่เราไปช่วยเหลือใคร พลังงานเราก็ลด เราก็ต้องมาช่วยกันเพิ่มพลังงาน ทำยังไงให้พลังงานที่เป็นลบหายไป เรื่องนี้สำคัญมากและจะช่วยแก้ทัศนคติเรื่องการบูรณาการข้ามสหวิชาชีพ การทำงานร่วมกัน แก้ทัศนคติในเรื่องของการที่เราทำเกินบทบาทหน้าที่แล้วก็หยิบมาเป็นเรื่องส่วนตัวแล้วก็ทุกข์เอง พอทุกข์เองสื่อสารก็ไม่ค่อยดี 

เวลาลูกเจอกับความรุนแรงมา เขาอาจอธิบายเป็นคำพูดไม่ได้ พอจะมีวิธีสังเกตอาการของเด็กๆ ไหมคะ เพื่อให้ผู้ปกครอง detect ลูกได้ไว

ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร: เห็นรูปแบบพฤติกรรมบางอย่างที่สังเกตได้ เช่น เด็กที่ก้าวร้าวขึ้น เราก็ต้องกลับมาดูว่าเกิดอะไรขึ้น มีอะไรที่เขารู้สึกไม่ปลอดภัยแล้วมันกระตุ้นเขาอยู่ง่ายๆ หรือเปล่า พวกพฤติกรรมก้าวร้าว พฤติกรรมที่เด็กดูถดถอยขึ้น เช่น ปกติเคยกินข้าวเองได้ แต่อยู่ดีๆ ก็กินไม่ได้ มันแปลว่าพลังข้างในเขาหาย เรียกร้องความสนใจ ช่วยดูแลฉันหน่อย ซึ่งเขาไม่ได้ตั้งใจแต่มันเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ 

หรือเด็กแยกตัวออกไป หวาดกลัวผิดปกติ มีการปฏิเสธ ให้ทำอะไรก็ไม่เอา ไม่กล้า กลัว เจอคนแปลกหน้าแล้วตัวสั่น อันนี้อาจจะต้องมองว่า เอ๊…ทำไมช่วงนี้ดูกลัวไปหมด อีกอันคือ เด็กซึมลง ไม่ร่าเริงสดใส เราต้องเอะใจแล้วว่ามันเกิดอะไรขึ้น

หรือคำพูดว่า “ไม่อยากไปโรงเรียนเลย” ตรงนี้เราอย่าเพิ่งตัดสินหรือรีบฟังสรุปแล้วรีบตอบว่า “ต้องไปกันทุกคนแหละลูก” เพราะถ้าตอบไปแบบนี้ เราจะไม่ได้ยินอะไรที่อยู่ลึกลงไปอีกมาก ควรจะเปิดคำถามให้ลูกสามารถเล่าต่อได้ เช่น “เกิดอะไรขึ้นหรอลูก หนูรู้สึกยังไงเวลาไปโรงเรียน” “เกิดอะไรขึ้น เพราะอะไรหนูถึงไม่อยากไปโรงเรียนแล้วช่วงนี้ มันมีอะไรเกิดขึ้นที่นั่น” แล้วฟังเพื่อที่จะได้ยินว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เพราะหลายครั้งเขาอาจพยายามหาช่องที่จะบอกหรือเล่าสิ่งที่เกิดขึ้น แต่พอเราไม่ได้ฟังมันจริงๆ เราก็จะได้ยินแค่ เด็กคนหนึ่งขี้เกียจเรียน ไม่อยากไปโรงเรียน แต่ว่ามันอาจจะมีข้างใต้ภูเขาน้ำแข็งที่เขาเจอเหตุการณ์อะไรมากมายหลายอย่าง ที่ถ้าเรารู้ก่อนจะได้แก้ไข

หลังจากนี้ วงการปฐมวัยต้องผลักดัน พัฒนาระบบให้ดี ต้องทำอะไรกันบ้าง 

เพื่อควบคุมคุณภาพการศึกษาปฐมวัย เราต้องทำอะไรกันบ้าง 

ดร.วรนาท รักสกุลไทย: การพัฒนาระบบการควบคุมคุณภาพ จริงๆ เราทำกันมาตลอดนะ เรียกว่าตั้งแต่เป็นข้าราชการปี 2525 เราก็พัฒนาในสถานศึกษากันมาตลอดเลย แต่ก็เห็นชอบว่ามันต้องมีระบบประกันคุณภาพ ทำให้พ่อแม่เกิดศรัทธา ไว้วางใจ ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ มันเป็นจุดสะท้อนแล้วว่า ระบบประกันภายในก็ล้มเหลว ระบบประกันภายนอก เราผ่าน สมศ. (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา) รอบที่ 4 กันแล้ว โรงเรียนตัวอย่างก็ผ่านแล้ว แต่ทำไมจับผิดเรื่องวุฒิครูกันไม่ได้เลยหรือ? ไม่มีวุฒิครูกันถึง 300 กว่าคนแบบนี้ แล้วมาพูดว่ากำลังรอผ่อนผัน มันไม่ใช่ ฉะนั้นตรงนี้มันเป็นสิ่งที่ระบบต้องได้รับการพัฒนา 

ป้าหนูอยากพูดจากใจเลยนะคะ ระบบประกันคุณภาพภายใน พวกเอกสารต่างๆ ที่ทำมา มีข้อหนึ่งที่เราอึดอัดใจกันมากเลย นั่นคือข้อ ‘โรงเรียนได้รับรางวัลอะไรมาแล้วบ้าง’ เช่น โรงเรียนมีนักเรียนพระราชทานไหม ได้รางวัลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไหม เป็นโรงเรียนนำร่องเรื่องคุณธรรมไหม เป็นโรงเรียนที่เอา EF เข้าไปใช้ไหม ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องดีเนอะ เอาใจอาจารย์หม่อมๆ (หัวเราะ) 

หมายถึงว่า ไม่ได้บอกว่ารางวัลพวกนั้นเชื่อถือไม่ได้นะ แต่มันทำให้เกิดความอึดอัด คำถามคือแล้วโรงเรียนที่ไม่ได้ผ่านรางวัลเลยเขาไม่มีคุณภาพเหรอ? แต่สิ่งสำคัญเลย ป้าหนูมองว่า ผู้บริหารต้องกลับมาดูโรงเรียนของตัวเอง ไม่ว่าจะสังกัดไหนก็แล้วแต่ 

เมื่อกี้อาจารย์หม่อมบอกว่าที่นู่นมี Lead Teacher ใช่ไหมคะ แต่ของเรามีผู้บริหารที่เป็นผู้นำทางวิชาการ ผู้นำทาง instructional leadership ผู้นำทางด้านบริหารเชิงการจัดการ ด้านการบริหารในเชิงปรับสัมพันธ์กับชุมชน งานเยอะ แต่อยากให้พยายามใส่ใจเวลาในการบริหารวิชาการอย่างน้อย 80% ของเวลาที่คุณมีอยู่ ลุกจากโต๊ะออกไปไปรื้อเรื่องของระบบนิเทศภายในก็ไปทำให้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยให้เหมาะสม ที่สำคัญเลยเราพยายามพูดกลั่นกรอง โดยเฉพาะทำให้หัวใจของการศึกษาของเด็กปฐมวัยเป็นจริง คือการทำให้เด็กมีความสุข ณ ปัจจุบันด้วย ไม่ได้มองที่อนาคตว่าเด็กคนนี้จะต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัยดังๆ ได้ แต่ให้เขามีความสุข เพราะว่าความสุขคือพื้นฐานของความสำเร็จ ตรงนี้คือสิ่งที่สำคัญมาก 

และป้าหนูมองว่ามันเป็นบทเรียนซึ่งต้องมีการถอดบทเรียน ป้าหนูก็สนทนากับพี่ชายซึ่งเป็นหมออยู่ที่อเมริกา เขาบอกว่าแปลกที่ยังไม่มีการจัดการกับครู เพราะถ้าเป็นครูที่อเมริกาจะต้องโดนลงโทษทันที กระบวนการต้องมีตำรวจเข้ามา มีคนทำงานเรื่องการเยียวยากับครอบครัวเด็กหรือตัวเด็กโดยทันที แต่เรารออยู่กี่วันกว่าที่เราจะมาพูดกันถึงเรื่องเด็ก 

ในส่วนของครูหม่อม อยากให้ทิ้งท้ายว่าเรื่องความหมายของการศึกษาปฐมวัยว่ามันสำคัญ ไม่ใช่แค่พื้นที่แค่ให้เด็กมานอน มาเล่น 

ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร: เหมือนที่อาจารย์หนูพูดตอนแรกเลยว่าเป็นเรื่องของการเลี้ยง ปลูกฝังและส่งเสริมพัฒนาการ ซึ่ง 3 งานนี้จะทำได้ต้องเกิดจากความเข้าใจในเรื่องพัฒนาการ สมอง จิตใจ พฤติกรรมของเด็ก ตามพัฒนาการตามวัยของเขา 

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ เลยในการคัดเลือกครู คือเรื่องทัศคติ มีข้อสอบเรื่องนี้นะคะ ถามเหมือนนางสาวไทยเลย บางครั้งเป็นคำถามง่ายๆ ว่า หากเด็กคนหนึ่งร้องไห้ คุณปลอบไปแล้ว 10 ครั้ง เขาก็ยังร้องไห้อยู่ คุณจะทำยังไง เป็นคำถามง่ายๆ แบบนี้ ก็วัดได้ว่า เรายึดหลักว่าเราต้องสื่อสารอย่างไรให้ EF ทำงาน ยึดว่าการสื่อสารนั้นต้องตรงกับวัยของเด็กด้วย และ จะต้องรักษาตัวตน (self) ตัวเองได้ด้วย หรือเปล่า 

ครูหม่อมมองว่าเรื่องของทัศนคติในการเป็นครูปฐมวัย ทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพนี้ การรู้บทบาทหน้าที่ตัวเอง เป็นเรื่องที่ไม่มีอยู่ในเอกสารแต่ออกมาทางบุคลิกภาพและการปฏิบัติ คุณสามารถเข้าไปแล้วดูได้เลย ในห้องเรียนเด็กปฐมวัย ความสุขของเด็กดูได้ง่าย ไม่ใช่ว่าเด็กจะวิ่งเล่นตลอดเวลา เอาแค่เด็กคนหนึ่งหกล้ม แล้วเขาวิ่งไปหาครูคนไหน เขาวิ่งหนีครูคนไหน ครูคนไหนเดินเข้าไปแล้วตลาดวาย อะไรแบบนี้มันเป็นเรื่องที่สามารถดูกันได้ง่ายๆ 

สุดท้ายที่หมอโอ๋นะคะ ช่วงที่ผ่านมามีการพูดเรื่องจิตวิทยาเด็กที่ส่งผลต่อตัวตนในปัจจุบันกันมากขึ้นเรื่อยๆ เคสนี้เห็นชัดเลยว่าจิตวิทยาสำคัญมากๆ ในวัยเด็ก อยากให้คุณหมอช่วยย้ำอีกนิดหนึ่งค่ะว่า วัยเด็กนี้เป็นวัยที่เรามองข้ามไม่ได้โดยเฉพาะเรื่องจิตวิทยา

พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร: เหตุการณ์นี้มองอีกแง่หนึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีที่ทำให้เราตื่นตัวกันมากขึ้นในเรื่องของความรุนแรงในรั้วโรงเรียน และหมอเชื่อว่าหลายๆ คน ก็จะเห็นภาพสะท้อนว่าความรุนแรงเหล่านี้ก็เกิดขึ้นในบ้านเราด้วย สิ่งที่หมออยากให้มองกว้างขึ้นไปคือ ความรุนแรงตรงนี้มันไม่ได้เกิดเฉพาะกับโรงเรียนอนุบาล มันเกิดขึ้นในโรงเรียนชั้นประถม มัธยม มีครูหลายคนใช้การตีเด็กที่รุนแรง ใช้ปัตตาเลี่ยน ใช้การเรียกชื่อเด็กด้วยรูปลักษณ์ทำให้เกิดความอับอายใดๆ ก็ตาม สิ่งเหล่านี้คือความรุนแรงที่มันส่งผลกับการพัฒนาตัวตน

อยากเน้นย้ำว่า มนุษย์เราเวลาพัฒนาตัวตนจากรากแล้วค่อยไประดับชั้นที่สูงขึ้น รากคือความรู้สึกเชื่อใจ ปลอดภัย trust สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นในวัยประถม ต่อมาจึงพัฒนาเรื่อง self การมีตัวตนของเรา แล้วมันก็ไปพัฒนาเรื่องการลงมือทำต่างๆ การสร้างคุณลักษณะ แปลว่าถ้าฐานไม่แน่น ถึงคุณจะไปสร้างสิ่งเหล่านี้ตอนโตมันไม่ได้สร้างได้ง่ายๆ จึงมีความจำเป็นที่เราต้องลงทุนกับการสร้างเด็กในวัยเล็กซึ่งเป็นช่วงต้นของชีวิต 

หมอไม่ได้บอกว่าการลงทุนจะมาจากแค่พ่อแม่ แต่รัฐเองก็ต้องลงทุน การพัฒนาศักยภาพมนุษย์คนหนึ่ง อย่าเพิ่มแค่ค่าแรงขั้นต่ำ แต่ต้องทำเรื่องการศึกษาในปฐมวัย ทำยังไงที่เด็กไม่ต้องแย่งกันสอบเข้าอนุบาล ทำยังไงที่เขาไม่ต้องถูกจับหัดเขียน หัดเรียน เพื่อจะได้ดูฉลาดพอที่จะเข้าโรงเรียนดีๆ ที่มีน้อยในประเทศ ทำยังไงการศึกษาเหล่านี้มันถึงเข้าถึงคนทุกคน

ต้องบอกว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดในเด็กที่มีโอกาส เด็กที่พ่อแม่มีเงินจ่ายเข้าไปในโรงเรียนที่ถือว่าดีระดับหนึ่ง เพราะว่าเป็นโรงเรียนเอกชน

แต่มีเด็กอีกจำนวนมากมายมหาศาลในประเทศไทยที่อยู่ในโรงเรียนวัด อำนาจของครูคับห้องคับโรงเรียน ครูจะกระทำกับเด็กยังไงก็ได้ พ่อแม่ไม่มีปากเสียง เพราะไม่มีทางเลือก ถ้าไม่มีโรงเรียนนี้ฉันไม่มีโรงเรียนอื่นแล้วที่จะให้ลูกเรียน สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยและเกิดขึ้นเยอะมาก

ทำยังไงที่เด็กเหล่านั้นจะได้รับโอกาสที่เขาจะอยู่แบบปลอดภัย หมอคิดว่าอันนี้มันเป็นสิ่งที่รัฐต้องเข้ามาช่วย แล้วหมอก็รู้แล้วว่าตอนนี้เราหวังพึ่งใครไม่ได้มาก เราหวังพึ่งรัฐมาไม่รู้กี่สิบปีก็ไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงอะไร จนคนทำงานด้านการศึกษาต่างก็ถอดอกถอดใจ หรือทำเท่าที่ทำได้กันไปหมดแล้ว

หมอเชื่อว่า ณ ปัจจุบันเราทุกคนต้องรู้ว่าเรามีสิทธิที่จะลุกขึ้นมาปกป้องลูกของเรา ลุกขึ้นมาเรียกร้องกับผู้บริหารของโรงเรียน ลุกขึ้นมาถามครูว่าเกิดอะไรขึ้นกับลูก อย่าเกรงใจ อย่าทำให้เราเชื่อว่าเราอยู่ในระบบที่มีอำนาจต่ำกว่า แล้วเราทุกคนก็มีสิทธิเสียงเรียกร้องโรงเรียนที่มีคุณภาพและปลอดภัยให้กับเด็กทุกคนในประเทศเรา นั่นคือสิ่งที่จะไปออกดอกออกผล สุดท้ายมันก็จะออกดอกออกผลกับการพัฒนาชาติมากกว่าการลงทุนด้านอื่นๆ 

Tags:

ความรุนแรงภาวะถูกแช่แข็ง (Freeze)การเยียวยาปฐมวัย

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Related Posts

  • Healing the trauma
    ความสัมพันธ์ที่ทำร้ายทารุณ

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • ชวนพ่อแม่เล่า เล่น ฟังนิทานสร้างสรรค์ กับ เบิร์ด คิดแจ่ม Bird KidJam EP.4 ปลาฉลามฟันหลอ

    เรื่อง The Potential

  • Early childhood
    ถอดบทเรียนกรณีครูปฐมวัยทำร้ายเด็กเล็ก1: บทบาทครูปฐมวัยและการควบคุมคุณภาพ

    เรื่อง The Potential

  • Healing the trauma
    ไม่หนี ไม่สู้ สมองถูกแช่แข็ง จากความเครียดท่วมท้นในสมองเด็ก

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ บัว คำดี

  • Early childhood
    PLAY THERAPY ให้การเล่นช่วยบำบัด เพราะเด็กถูกสั่งสอนมามากพอแล้ว

    เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

เจ้าหญิงกับเม็ดถั่ว: คนอ่อนไหว จะหาสมดุลอย่างไรในโลกอันท่วมท้น
Myth/Life/Crisis
8 October 2020

เจ้าหญิงกับเม็ดถั่ว: คนอ่อนไหว จะหาสมดุลอย่างไรในโลกอันท่วมท้น

เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • คนที่มีลักษณะ อ่อนไหวไวต่อสิ่งเร้าสูง (Highly Sensitive Person) หมายถึงคนที่มีระบบประสาทไวต่อสิ่งเร้าต่างๆ เช่น เสียง แสง อารมณ์ของคนอื่น ฯลฯ อีกทั้งมักจะดูดซับความละเอียดอ่อนในสิ่งแวดล้อมเข้ามามาก ทำให้ตื่นตัวง่ายและรู้สึกท่วมท้นได้ง่ายเช่นกัน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 15 – 20% ของประชากร ทว่าคนที่อ่อนไหวสูงไม่จำเป็นต้องอ่อนไหวสูงต่อสิ่งเร้าเดียวกัน และต่อให้ไวต่อสิ่งเดียวกันก็อาจเป็นคนละระดับกัน ในกรณีส่วนใหญ่ความอ่อนไหวไวต่อสิ่งเร้าสูงเป็นมรดกทางกรรมพันธุ์
  • ความอ่อนไหวสูงมีทั้งข้อดีและเป็นเหตุแห่งทุกข์ได้ด้วย คนอ่อนไหวสูงที่เติบโตมาในครอบครัวหรือวัฒนธรรมย่อยที่ให้คุณค่ากับความอ่อนไหวมักเคารพความอ่อนไหวของตัวเอง แต่หากโตมาในวัฒนธรรมที่มองความอ่อนไหวของเขาในเชิงลบ ก็มีแนวโน้มจะรู้สึกว่าตัวเองบกพร่องหรือด้อยกว่าคนที่ไม่อ่อนไหว
  • บทความวาดรายละเอียดของคนอ่อนไหวไวต่อสิ่งเร้าสูง พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการดูแลผู้ใหญ่และเด็กลักษณะนี้ โดยเขียนต่อยอดจากนิทานเกี่ยวกับการทดสอบความเป็นเจ้าหญิงแท้ๆ ผ่านการพิสูจน์ความอ่อนไหว และตบท้ายด้วยการนำเสนอวิธีการ 3 อย่างที่สามารถช่วยให้คนอ่อนไหวปรับสมดุลให้ตัวเองในวันที่รู้สึกท่วมท้นได้ 

1.

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเจ้าชายเรื่องมากอยู่องค์หนึ่งซึ่งต้องแต่งงานแต่หาคนถูกใจไม่ได้ หรือบางทีพระองค์ก็ไม่แน่ใจว่าผู้หญิงคนนั้นเป็นเจ้าหญิงจริงหรือเปล่า กระทั่งอยู่มาวันหนึ่งในคืนฝนกระหน่ำ มีหญิงสาวตัวเปียกโชกมาขอหลบฝนในปราสาทของเจ้าชายโดยอ้างว่าตนเองเป็นเจ้าหญิง แม่ของเจ้าชายจึงทดสอบเธอด้วยการแอบเอาเม็ดถั่วเล็กๆ มาวางไว้บนที่นอนของเธอ จากนั้นก็ทับด้วยฟูกทบซ้อนกันหลายชั้นจนสูงชะลูด ผู้หญิงคนนั้นเข้านอนโดยไม่รู้ว่าถูกทดสอบ แต่วันรุ่งขึ้นเธอก็บ่นว่านอนไม่หลับเพราะรู้สึกเหมือนมีอะไรแข็งๆ มาทิ่มร่างกาย อีกทั้งยังมีรอยฟกช้ำที่แผ่นหลังของเธอด้วย!

เจ้าชายดีใจมากที่ได้เจอเจ้าหญิงตัวจริง เพราะ “มีแค่เจ้าหญิงตัวจริงเท่านั้นแหละที่อ่อนไหวไวต่อสิ่งเร้า (sensitive) ได้ขนาดนั้น” แล้วพวกเขาก็แต่งงานกัน

       2.

ความอ่อนไหวไวต่อสิ่งเร้าสูง (ต่อไปขอเขียนย่อว่า ‘อ่อนไหว’) ในนิทานดูจะเป็นความรู้สึกตื่นตัวง่ายจากสิ่งที่มากระตุ้นเร้า แม้สิ่งนั้นจะเป็นเพียงเม็ดถั่วซึ่งดูเล็กน้อยในสายตาคนทั่วไป แต่ก็ทำให้เจ้าหญิงถึงขั้นนอนไม่หลับหนำซ้ำแผ่นหลังยังฟกช้ำ! กับวงสนทนาทั่วไปในสังคมนอกนิทาน เวลาที่ใครสักคนพูดว่าคนนั้นคนนี้เป็นคนอ่อนไหว ก็มักจะหมายความถึงคนที่อ่อนไหวไวต่ออารมณ์คนอื่น หรือบ้างก็หมายถึงคนอารมณ์ศิลปินที่ชอบใคร่ครวญและหวั่นไหวต่อสิ่งละเอียดอ่อน บ้างก็ถึงขนาดพูดในเชิงตัดสินว่าคนอ่อนไหวคือคน ‘เปราะบาง’ ‘อ่อนแอ’ ‘เยอะ’ ซึ่งเหล่านี้เป็นนิยามความอ่อนไหวที่แคบและเป็นเชิงลบมากเกินไป

อย่างไรก็ดี ดร.เอเลน อารอน นักจิตวิทยาวิจัยและนักจิตบำบัดซึ่งบอกว่าตัวเองก็อ่อนไหวเหมือนกัน ได้ศึกษาความอ่อนไหวไวต่อสิ่งเร้าสูง (highly sensitive) อย่างจริงจังและได้นิยามมันอย่างเป็นกลางและกว้างกว่านั้น นั่นคือการมีระบบประสาทที่ไวต่อสิ่งเร้าต่างๆ ซึ่งทำให้เข้าสู่ภาวะตื่นตัว ได้ง่าย โดยประชากรมนุษย์ประมาณ 15 – 20% จะมีลักษณะอ่อนไหวอย่างนี้เฉกเช่นกันกับสัตว์วิวัฒนาการสูงอย่างเช่น แมว หมา ม้า ลิง

กระนั้น คนที่อ่อนไหวสูงไม่จำเป็นต้องไวต่อสิ่งกระตุ้นเดียวกัน เพราะบางคนอาจอ่อนไหวต่อเสียงเป็นพิเศษ บางคนอาจอ่อนไหวกับอารมณ์ความรู้สึกคนอื่นอย่างยิ่งแต่ไม่อ่อนไหวต่อเสียง อีกทั้งไม่อ่อนไหวต่อคาเฟอีน ในขณะที่บางคนก็อาจอ่อนไหวต่อคาเฟอีนอย่างเดียว ฯลฯ นอกจากนี้ ต่อให้คนเราอ่อนไหวต่อสิ่งเดียวกันแต่ก็อาจเป็นคนละระดับกัน อย่างไรก็ตาม คนที่อ่อนไหวก็มักจะมีลักษณะเหล่านี้ร่วมกันเช่น มีแนวโน้มในทางศิลปะและดนตรี มีโลกภายในที่ซับซ้อน มักจะถนัดใช้จินตนาการสร้างสรรค์ มักมีความเป็นนักจิตบำบัดในตนเอง มักต้องหาจังหวะปลีกตัวไปในพื้นที่อันมีสิ่งกระตุ้นน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นได้เมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์โกลาหลวุ่นวาย มักห่วงใยใส่ใจคนอื่น (แต่ก็มีเงามืดเหมือนกันซึ่งยังไม่ขอเขียนถึงในที่นี้) ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม การที่คนอ่อนไหวสูงถูกกระตุ้นให้เข้าสู่ภาวะตื่นตัวได้ง่ายก็อาจทำให้ทุกข์ง่ายเช่นกัน ต้องอธิบายก่อนว่าโดยทั่วไปคนเราจะทำสิ่งต่างๆ ได้ดีที่สุดเมื่อตื่นตัวในระดับที่พอดี อันหมายถึงระดับที่ ไม่เบื่อเกินไปและไม่ใช่ตื่นตัวล้นเกินจนเครียด แต่ พอดีของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน ดังนั้น เมื่อประชากรส่วนใหญ่ที่ไม่ได้ไวต่อสิ่งกระตุ้นนักอยากจะรู้ตื่นตัวพอดีๆ พวกเขาก็ย่อมต้องใช้สิ่งกระตุ้นในระดับที่มากกว่าคนอ่อนไหวสูง เช่น เปิดเสียงเพลงดังๆ หรืออยู่กับคลื่นมหาชนในงานคอนเสิร์ตแล้วรู้สึกคึกคัก หรืออัดกาแฟหนักๆ คุยกับคนเยอะๆ เพื่อให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า อย่างไรก็ตาม เสียงดังครึกโครมหรือฝูงชนหรือแสงจ้า ฯลฯ ที่ทำให้คนทั่วไปรู้สึกตื่นตัวพอดีๆ กลับมีแนวโน้มจะทำให้คนอ่อนไหวรู้สึกตื่นตัว ‘มาก’ ส่วนสิ่งกระตุ้นที่มากสำหรับคนส่วนใหญ่ก็อาจทำให้คนอ่อนไหวรู้สึกท่วมท้นจนต้องปิดระบบประสาทรับรู้ไปเลย เช่น ต้องรีบกลับบ้านไปอาบน้ำกินยาแล้วนอนพักยาวเป็นสิบชั่วโมง

นอกจากนี้ ความอ่อนไหวก็มักส่งผลต่อคุณภาพของการนอนด้วย ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่เป็นเด็กทารก ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน เด็กไม่อ่อนไหวมักจะหลับง่ายมากและไม่ค่อยตื่นอีก ส่วนเด็กที่อ่อนไหวมักจะตื่นกลางคันง่ายกว่าและกลับไปนอนต่อยากกว่า (ดร.อารอนแนะนำให้ลองใช้การเคลื่อนไหว เช่น ไกวแปล และใช้บรรยากาศที่มืดและเงียบอันเป็นการลดสิ่งกระตุ้นให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อช่วยเด็กอ่อนไหวให้กลับไปนอนหลับต่อได้ง่ายขึ้น) อีกทั้งอารมณ์ขุ่นมัวง่ายกว่าหรือระแวดระวังมากกว่าเมื่อสิ่งต่างๆ รอบตัวเปลี่ยนไป เช่น เมื่อเพื่อนพ่อแม่มานอนที่บ้าน

ถ้าหากคุณมีลูก การสังเกตการนอนหลับของลูกนับแต่วัยทารกและลักษณะอื่นๆ ที่ปรากฏเมื่อเขาค่อยๆ เติบโตขึ้นมา ก็อาจทำให้คุณเห็นลักษณะอ่อนไหวไวต่อสิ่งเร้าของลูก (ถ้ามี) ที่น่าสนใจคือ เนื่องจากงานศึกษาของดร. อารอน บอกว่าในกรณีส่วนใหญ่ความอ่อนไหวนี้เป็นลักษณะเฉพาะตามกรรมพันธุ์ นั่นหมายความว่าหากลูกของคุณอ่อนไหว คุณเองหรือญาติของคุณก็อาจจะอ่อนไหวเช่นนั้นด้วย การเห็นความอ่อนไหวในตัวใครคนหนึ่งในครอบครัวได้จึงสามารถช่วยให้คุณออกแบบวิถีชีวิตและปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะกับสมาชิกครอบครัวได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งอันเป็นภูมิคุ้มกันให้สมาชิกครอบครัวผู้อ่อนไหว ในการอยู่ในโลกที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้อ่อนไหวนัก

คนอ่อนไหวจำนวนมากเติบโตมากับความเห็นของคนส่วนใหญ่ที่มองเขาได้ทางลบ เช่น เพื่อนบางคนอาจบอกว่าเขาป่วยง่าย ร้องไห้ง่าย อันเป็นความ ‘เปราะบาง’ หรือเด็กอ่อนไหวบางคนอาจแสดงออกแบบขี้อายและต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้ากับเพื่อนได้ (ไม่ได้บอกว่าทุกคนต้องเป็นแบบนั้น เพราะก็มีเด็กอ่อนไหวที่หาเพื่อนง่ายและกล้าแสดงออกมากอยู่เหมือนกัน) ทำให้ครูมองว่าต้อง ‘แก้ไข’ อะไรบางอย่างเกี่ยวกับเด็กคนนั้น

ถ้าพวกเขาโตมาในบริบทที่ความอ่อนไหวไม่ได้รับการชื่นชม เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ก็อาจเฆี่ยนตีตัวเองเกินจำเป็นเพื่อให้ทำงานหามรุ่งห้ามค่ำได้อย่างสมบุกสมบันและแข็งกร้าวไปตามมาตรฐานของคนอื่นในสังคมกระทั่งสุดท้ายก็ป่วยเรื้อรัง เพราะถึงแม้คนเราจะ ปรับตัวได้พอสมควรราวกับหนังยางที่สามารถยืดออกไป แต่หากยืดออกไปถึงจุดหนึ่งหนังยางก็จะขาด

ในที่สุดแล้วร่างกายของคนอ่อนไหวไม่ได้สร้างมาให้มีสุขภาวะกับการกระตุ้นในระดับที่คนส่วนใหญ่ชอบ ดังนั้นเมื่อฝืนตัวเองเกินสมควร (ไม่ได้บอกว่าไม่ต้องปรับตัวเลย) ก็ทำให้มีแนวโน้มจะเครียดได้ง่าย คุณภาพของการนอนไม่ค่อยดี อีกทั้งอาจมีอาการเจ็บป่วยทางร่างกายถี่อย่างอาการปวดหัว อาหารไม่ย่อย เป็นภูมิแพ้ เป็นหวัดบ่อย ฯลฯ

แต่โชคดีที่เราก็มีตัวอย่างของคนอ่อนไหวผู้เติบโตมาในวัฒนธรรมย่อยซึ่งให้คุณค่ากับลักษณะเฉพาะนี้ (เหมือนในเรื่องเจ้าหญิงกับเม็ดถั่วที่เจ้าชายเจาะจงจับคู่กับหญิงสาวที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าอ่อนไหวไวต่อสิ่งเร้าอย่างสูง) อย่างเช่นชายคนหนึ่งที่มีพ่อแม่เป็นปัญญาชนแนวศิลปินซึ่งชื่นชมความอ่อนไหวของลูก รวมถึงขลุกอยู่ในแวดวงของคนที่ให้คุณค่าความอ่อนไหวอยู่แล้ว เด็กคนนี้จึงเติบโตมาเป็นคนที่เคารพตัวเองและมองความอ่อนไหวในเชิงบวกได้ง่าย เขาเลือกทำงานวิชาการและยามว่างก็เป็นนักเปียโน เขาออกแบบชีวิตการทำงานให้สอดคล้องกับระดับความอ่อนไหวของตนโดยไม่รู้สึกว่าทำอะไรผิด เช่น เขาจงใจหลีกเลี่ยงงานสายธุรกิจที่ต้องห้ำหั่นสูง และรีบเปลี่ยนตำแหน่งทางวิชาการหากว่าการเลื่อนตำแหน่งทำให้เขาเครียดจนเกินไป อีกทั้งเขาเลือกอาศัยอยู่ในละแวกที่เงียบและมีเสียงธรรมชาติอันรื่นรมย์อย่างสอดคล้องกับความไวต่อเสียงของเขาเอง

3.

ไม่ว่าภูมิหลังจะเป็นอย่างไร คนอ่อนไหวไวต่อสิ่งเร้าสามารถมองเหตุการณ์เก่าๆ ที่อาจเคยทำให้เจ็บปวดในมุมใหม่จากความตระหนักรู้ในลักษณะอ่อนไหวของตนเอง และกลับมาเห็นด้านบวกของตนเอง เช่น คนอ่อนไหวมักจะแสวงหาการเติบโตภายในและมีความสามารถสูงในการสร้างพื้นที่เยียวยาเปลี่ยนผ่านให้ผู้คนได้เติบโตภายในไปด้วยกัน นอกจากนี้ ขอนำเสนออีก 3 วิธีที่คนอ่อนไหวสามารถลองใช้เพื่อเพิ่มสมดุลให้ตัวเองหรือคนใกล้ชิดที่อ่อนไหว ดังนี้

  • คุยกับหลายๆ คนที่อ่อนไหวในด้านเดียวกัน ซึ่งจะทำให้รู้สึกมีพวกและลดความรู้สึกว่าเรามีตำหนิผิดปรกติ คนอ่อนไหวมักจะมีช่วงเวลาเก็บตัวเพราะมันคือการชาร์ตพลังงานด้วยการเลี่ยงสิ่งกระตุ้น แต่การเก็บตัวนานไปก็จะทำให้เราขาดการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับมนุษย์คนอื่น ซึ่งถ้ามาโดดเดี่ยวตัวเองตอนเผชิญปัญหาอยู่ก็อาจรู้สึกว่าปัญหาบางอย่างเกิดกับเราคนเดียว แต่ถ้าเรากลับไปอัพเดตข้อมูลกับคนอ่อนไหวในด้านเดียวกัน เราก็อาจจะพบว่าเขากำลังเผชิญบางอย่างคล้ายๆ เราอยู่ ซึ่งทำให้มีโอกาสเกื้อกูลกันได้
  • ฝึกสร้างอาณาเขต ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยกู้ความเคารพตัวเองของคนอ่อนไหวและช่วยลดแนวโน้มสู่ความเครียดและภาวะซึมเศร้าด้วย ลองสื่อสารอย่างตรงไปตรงมากับคนอื่นบ้างก็ได้ว่าไม่โอเคกับอะไร แล้วจะพบว่าจริงๆ ก็มีใครอีกหลายคนที่อยากให้เกียรติและอยากเกื้อกูลเรา แต่เขาแค่ไม่รู้ว่าเราชอบหรือไม่ชอบอะไรเท่านั้นเอง ถ้าคนอื่นรู้ว่าเราช่วยเขาแล้วเหนื่อยมากเกินไปเขาก็คงไม่อยากรบกวนหรอก หรือพอเขารู้ว่าการแหย่เล่นบางประเด็นทำให้เรารู้สึกไม่ดี เขาก็รู้สึกผิดเหมือนกัน
  • เคารพร่างกายของตัวเอง เหนื่อยล้าก็พักบ้าง เราไม่ต้องพยายามเป็นซูเปอร์ฮิวแมนเพื่อพิสูจน์อะไรบางอย่างตลอดก็ได้ เพราะบางสถานการณ์เราอาจกำลังอยู่ในระบบ/ โครงสร้างที่ป่วย แต่เราเองไม่ได้ป่วยอะไรขนาดนั้นก็ได้นะ นอกจากนี้เรายังสามารถใช้กิจกรรมฐานกายเพิ่มความหยั่งรากทางจิตใจด้วย เช่น ออกไปว่ายน้ำ ออกไปถีบจักรยานท่ามกลางธรรมชาติ แล้วเอาจิตไปอยู่กับการเคลื่อนไหวร่างกายและธรรมชาติแทนที่จะดำดิ่งในความนึกคิดที่คิดว่าตัวเองมีข้อบกพร่องร้ายแรง การเลิกอินกับความคิดลบหลายทีก็ไม่ง่าย แต่ก็ฝึกให้วงจรความคิดลบค่อยๆ สั้นลงได้ ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องสั้นเท่าที่คนอื่นคาดหวังต่อเราด้วย แค่มันสั้นกว่าสมัยก่อนของคุณเองก็ถือว่ามีพัฒนาการแล้ว

หากคุณเป็นคนอ่อนไหว คุณก็เห็นแล้วว่ามีหนทางมากมายที่สามารถใช้จัดการกับความรู้สึกท่วมท้นที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น อีกทั้งการมีลักษณะเฉพาะนี้ก็ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย เพราะโลกนี้ไม่ได้ต้องการแค่ลักษณะนักรบที่เหี้ยมหาญและถึกทน

เหมือนอย่างที่ แอลเลน ชอว์น นักเขียนและนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน บอกเป็นนัยว่าโลกจำต้องมีคนทุกรูปแบบ “คนซึ่งสามารถจับรอยประทับแห่งดอกซากุระผลิบานอันผันผ่านเข้ามา ไว้ในบทกวี 14 พยางค์ หรืออุทิศ 25 หน้ากระดาษ วิเคราะห์ความรู้สึกของเด็กชายตัวน้อยขณะนอนบนเตียงในความมืดมิด รอคอยแม่มาจูบราตรีสวัสดิ์…” ก็เป็นคนที่โลกใบนี้ต้องมีด้วยเช่นกัน

อ้างอิง
Quiet: The Power of Introverts in a World That Can’t Stop Talking โดย Susan Cain
The Highly Sensitive Person: How to Thrive When the World Overwhelms You โดย Elaine N. Aron
The Princess and the Pea (หรือ The Princess on the Pea) นิทานโดย Hans Christian Andersen

Tags:

ปม(trauma)การจัดการอารมณ์Myth Life Crisis

Author:

illustrator

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา

ชอบอยู่กับต้นไม้ใบไม้ต่างๆ ผืนน้ำ เที่ยวไปในโบราณสถาน และเรียบเรียงสิ่งที่อยู่ในเงามืด เราเองยังต้องเรียนรู้และขัดเกลาอะไรอีกมาก รู้สึกขอบคุณที่ให้โอกาสเราได้ฟังเรื่องราวของทุกคนนะ (Line ID: patrasuwan)

Illustrator:

illustrator

กรองพร ทององอาจ

Graphic Designer & Illustrator Instagram: @monkrongpin

Related Posts

  • Myth/Life/Crisis
    แดรกคิวล่า : เรียนรู้จากผีดิบ และอาการป่วยไข้ที่รุกล้ำอาณาเขตของเรา

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Myth/Life/Crisis
    กุลา: ด้อยค่าคนที่ตนอิจฉาในขณะที่เลียนแบบไปด้วย

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Myth/Life/Crisis
    ผ่านไซเรนในน่านน้ำ: เสียงวิจารณ์ภายในที่ต้อนเราให้อยู่ในวิธีคิดเดิมๆ

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • How to enjoy lifeAdolescent Brain
    11 ชุดคำถาม ชวนนั่งไทม์แมชชีนกลับไปคุยกับอดีตเพื่อรู้จักและเข้าใจตัวเอง

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Education trend
    เพราะผู้ใหญ่กลั่นแกล้งและไม่เคารพกัน เด็กๆ จึง BULLY ตาม

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

สร้างห้องเรียนนอกห้องเรียน ‘วิชาการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และพัฒนาชุมชน’ สู่ปากคลองตลาด Strike back กับ อ.หน่อง สุพิชชา โตวิวิชญ์
Creative learning
8 October 2020

สร้างห้องเรียนนอกห้องเรียน ‘วิชาการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และพัฒนาชุมชน’ สู่ปากคลองตลาด Strike back กับ อ.หน่อง สุพิชชา โตวิวิชญ์

เรื่อง ภาพพิมพ์ พิมมะรัตน์ ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • พาเข้าห้องเรียนวิชาการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและพัฒนาชุมชน ของ อาจารย์หน่อง ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ แห่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิชาที่ชวนนักศึกษาไปเรียนรู้ผ่าน “กระบวนการมีส่วนร่วม” กับชุมชน
  • เรียนรู้ผ่านการทำ Asset Mapping หรือการทำแผนผังต้นทุนชุมชน เพื่อเข้าไปทำความเข้าใจบริบทพื้นที่และดึงเอาศักยภาพของชุมชนออกมาโชว์
  • จากคลองบางหลวง ปากคลองตลาด และบางลำพู อ.หน่องเล่าว่า พวกเขาไม่ได้เข้าไปเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ แต่หัวใจของการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของนักศึกษาและชุมชน คือเป็นกระบอกเสียงให้คนในพื้นที่รู้ว่าเขาสำคัญ เขามีความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ และสื่อสารข้อมูลบางชุดที่ไม่ถูกรับรู้ และที่สำคัญได้หว่านเมล็ดพันธุ์บางอย่างไว้ในใจผู้คน
  • “กลุ่มของนักศึกษาคือชุมชนหนึ่งที่อาจารย์ต้องดูแล ให้เขาไม่ใช่แข่งกันได้ A แต่เขาจะต้อง mobilize ชุมชนของเขาเอง ใครมีศักยภาพอะไรให้เอาออกมาใช้ ในชุมชนนี้จะต้องขับเคลื่อนศักยภาพกันและกัน”

อินเตอร์แอคทีฟฟิลเตอร์อินสตาแกรมดอกไม้ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากภาพวาดของโมเน่ต์  (Claude Monet), นิทรรศการย้อนวันวานย่านบางลำพูที่แง้มประตูห้างนิวเวิลด์ที่ถูกปิดตายมาหลายปี การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ชุมชนคลองบางหลวง ชวนเด็กมัธยมมาเขียนแผนที่ย่านเกาะรัตนโกสินทร์  

อาจารย์หน่อง ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์

ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นผลงานจากห้องเรียนวิชาการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและพัฒนาชุมชน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ของอาจารย์หน่อง ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ ที่เธอตั้งใจสร้างห้องเรียนนอกห้องเรียนให้นักศึกษาได้ไปเรียนรู้ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชน

หากกล่าวถึง “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” ใครหลายคนอาจนึกถึงบ้านไม้ใต้ถุนสูง เรือนไม้ไผ่แบบปกาเกอะญอ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้นใช่ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด และหากจะเปรียบให้เห็นภาพกันอีกนิด ก็เหมือนกับที่เรามีภาษาถิ่น ภาษาใต้ ภาษาเหนือ หรือแม้แต่ภาษาทวิตเตี้ยนในโลกออนไลน์ ในเชิงการออกแบบสถาปัตยกรรมก็มีภาษาเช่นกัน ซึ่งภาษาที่หมายถึงนั้นคือ เสา หน้าต่าง หลังคา เป็นต้น ที่เป็นองค์ประกอบหลักของตัวสถาปัตยกรรม ซึ่งจะปรับรูปแบบให้สอดรับกับบริบทของพื้นถิ่นนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น เราขึ้นเหนือไปกินข้าวซอย ที่ลำแต้ลำว่า ก็เหมือนกับหลังคาบ้านของชาวเหนือที่มีกาแล หากลงใต้แล้วได้ทานแกงไตปลาที่หรอยแรง ก็เปรียบได้กับอาคารที่มีหลังคาสูงชันเนื่องจากฝนตกชุก นั่นเอง

แล้ว เทคโนโลยี AR ฟิลเตอร์อินสตาแกรม กราฟฟิตี้ ประติมากรรมดอกไม้รูปยูนิคอร์น นั้นเกี่ยวยังไงกับการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและการพัฒนาชุมชน วันนี้จึงชวนเข้าห้องเรียนของ อ.หน่อง เพื่อหาคำตอบกัน

หลังจบปริญญาโท ด้าน Development Practice และปริญญาเอก สาขา Development Planning Unit จากประเทศอังกฤษ ด้วยการทำวิทยานิพนธ์เรื่องชุมชนแออัดในเมืองและกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง เป็นจังหวะที่ได้เข้ามาเป็นอาจารย์ให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ ม.ศิลปากร ซึ่งที่นี่เองที่อาจารย์ได้นำแนวคิดเรื่อง Urban Informality (ความไม่เป็นทางการของเมือง) มาขยายให้เป็น Urban Vernacular (ความเป็นพื้นถิ่นเมือง)

“อธิบายอย่างง่าย ‘พื้นถิ่น’ คือ non-expert เรานำมาผสมกับสิ่งที่เรียนมา จนลงตัวที่คำว่า Vernacular หรือภาษาถิ่น ภาษาที่ไม่ใช่ทางการกำหนดมาให้ ซึ่งจะไปเชื่อมกับคำว่า informality หรือไม่เป็นทางการพอดี งานเกี่ยวกับชุมชนต่างๆ และย่านต่างๆ จึงเป็นการเอาความรู้ทั้งหมดที่ได้ร่ำเรียนมาถ่ายทอดและสร้างห้องเรียนให้กับลูกศิษย์”

“ชุมชน” คืออะไร

เรามักได้ยินคำว่าชุมชน หรือคอมมูนิตี้ กันบ่อยๆ ในหลากบริบท และเชื่อว่าเมื่อเอ่ยถึง ‘ทำงานกับชุมชน’ ภาพในหัวของหลายคนอาจไม่พ้นภาพชุมชนแออัด ชาวบ้าน ชนบท เราเลยขอให้อาจารย์ช่วยขยายความคำนี้อีกครั้ง

“ชุมชนคือกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกัน โดยมีการบริหารจัดการอะไรบางอย่างร่วมกัน หรือมีความร่วมกันในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง แต่สำหรับอาจารย์ อาจารย์ไม่ได้มานั่ง defind ว่าอันนั้นคือชุมชนหรือเปล่า สิ่งที่อาจารย์สนใจคือ process อะไรที่ทำให้คนรู้สึกว่า ฉันเป็นแก๊งค์เดียวกับคนนั้นคนนี้ สิ่งนี้มันทำให้มนุษย์เป็นสัตว์สังคม

“เหมือนโควิด ต่อให้ introvert นะ มันก็ยังต้องโพสต์ว่าตัวเองเป็น introvert มันก็ยังแบบ นิดนึงอ่ะ มนุษย์ยังไงมันก็ต้องการสังคม มัน belong to กลุ่มเพื่อน กลุ่มคน”

อาจารย์หน่องช่วยขยายความตามหลักวิชาการเพิ่มว่า ชุมชนแบ่งได้เป็น 5 แบบ

หนึ่ง – Place based community การแบ่งตามพื้นที่กายภาพ เป็นวิธีที่เราคุ้นชินและรัฐนิยมใช้ เช่น มีการแบ่งขอบเขตชัดเจน ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบที่ขึ้นทะเบียนและไม่ขึ้นทะเบียน เช่น อยู่ในรั้วเดียวกัน หมู่บ้านเดียวกัน

สอง – Community of Interest ชุมชนที่เกิดจากการรวมตัวกันจากความสนใจร่วม อย่างการติดแฮชแทค #ฉันรักเค้กแมคคาเดเมีย แล้วเราคลิกไปเจอคนที่สนใจร่วมกัน ก็รู้สึกคอนเนคกันได้แล้ว โดยไม่ต้องมี place based ร่วมเลย

สาม – Community of Practice คือชุมชนของคนร่วมอาชีพ เช่น สมาคมวิชาชีพ ก็จะมีสิ่งที่เป็น common มีศัพท์ มีเรื่องที่รู้กันในวงการ เป็นการคอนเนคกันไปได้แบบไม่รู้ตัว

สี่ – Community of Culture อันนี้จะเป็นแบบ ชาติพันธุ์ ศาสนา มีวัฒนธรรมความเชื่ออะไรบางอย่างร่วมกัน เช่น คนจีนเหมือนกัน คนพุทธเหมือนกัน ไปจนถึงการติดสติกเกอร์ ที่เห็นแล้วรู้ว่า อ้อ นี่ลูกศิษย์หลวงพ่อวัดเดียวกันนิ

ห้า – Community of Resistant คือมีศัตรูร่วมกัน หรือร่วมต้านทาน อย่างเช่น บางชุมชนปกติอาจจะต่างคนต่างอยู่ แต่พอวันหนึ่งจะโดนเวนคืนที่ เลยต้องรวมตัวกันเพราะว่าต้องเกลียดร่วมกันก่อนเพื่อจะจัดการมัน ซึ่งจัดการศัตรูแล้วเราค่อยเกลียดกันใหม่ก็ได้

ทั้ง 5 รูปแบบนี้คือเลนส์ที่อาจารย์หน่องใช้มองชุมชนที่ทำงานด้วย เพื่อดูว่าเขามีความสนใจร่วมกันตรงไหน หรือมีศัตรูร่วมไหม ซึ่งศัตรูร่วมบางทีก็ไม่ใช่คน อาจเป็นประเด็นของปัญหา

“ที่ต้องพยายามจับตรงนี้ เพราะเราต้องพยายามชวนคนเข้ามาร่วมทำกับเรา การที่เขาไม่อยากมามีส่วนร่วม มันก็ไม่ใช่ความผิดของเขา มันเป็นความผิดของเราส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถสื่อสารสิ่งที่เราจะทำได้ว่ามันมีประโยชน์กับเขายังไง ยกตัวอย่างเช่น ที่ปากคลองตลาด สองปีที่แล้วเราทำเว็บไซต์ flowerhub.space ขึ้นมา เป็นโครงการนำร่องเก็บฐานข้อมูล 50 ร้าน ตอนนั้น ทำ google form ซึ่งมันกรอกกันเองก็ได้ แต่เขาก็ไม่กรอกกันหรอก เพราะเขาไม่เห็นว่ามันสำคัญ ทีมก็ไปนั่งเก็บข้อมูลกันเองหมดเลย เราก็มานั่งกรอกเองว่ามีขายดอกอะไรบ้าง จนโควิดมา มีคน inbox มาสิบกว่าเจ้า ว่าเขามากรอกฟอร์มแล้วนะ จะทำยังไงให้ได้อยู่ในแพลตฟอร์ม เราก็อธิบายวิธีเขา ขอให้ถ่ายรูปหน้าร้านมา ซึ่งเราสื่อสารเหมือนเดิมเลยนะ แต่คราวนี้ได้รับความร่วมมือ เพราะเขาเห็นประโยชน์”

อาจารย์หน่องเล่าว่า วิธีการเลือกพื้นที่นั้นเลือกจากพื้นที่ที่อยู่ไม่ไกล เพราะธรรมชาติของการทำงานแบบนี้ต้องเทียวไล้เทียวขื่อ จีบใจผู้คนในชุมชน และสานสัมพันธ์กันระยะยาว ฉะนั้นการจะเลือกพื้นที่ต่างจังหวัดจึงเป็นทางที่ไม่ควรเลือก จากนั้นก็เล็งพื้นที่ที่ดูจะมีของ และใช้เครื่องมือ Asset Mapping หรือการทำแผนผังต้นทุนชุมชน เพื่อเข้าไปทำความเข้าใจบริบทพื้นที่และดึงเอาศักยภาพของชุมชนออกมาโชว์

งานชุมชนไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่เราไม่จำเป็นต้องโชว์แผล

พื้นที่แรกที่อาจารย์หน่องเข้าไปทำงาน คือคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ ซึ่งเป็นชุมชนริมคลองบางกอกใหญ่ มีเรือนข้าหลวงอยู่ตามริมน้ำ หากย้อนกลับไปเมื่อ 6 – 7 ปีที่แล้วยังเป็นพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักมากนัก

“ตอนนั้นคนจะมาแค่ ‘บ้านศิลปิน’ ตอนที่เราไปเป็นวันธรรมดาเพราะพาเด็กไปในชั่วโมงเรียน ไปครั้งแรกไม่เจออะไรเลย อาหารไม่มีกิน บ้านก็ปิดๆ เราก็แบบ ฉันเลือกผิดที่หรือเปล่าวะ แต่ความตั้งใจคือจะเลือกที่ที่ไม่ได้มี conflict เยอะ หนึ่ง เพราะเรายังไม่เก่ง ชุมชนไม่ใช่สนามเด็กเล่นของเรา ที่ฉันอยากจะทำความดี อยากจะลองไปทำอะไรสนุกๆ จังเลย ไม่ได้ คือเรายังไม่เก่ง เพราะฉะนั้นเราต้อง minimise (ลดทอน) ความเสียหายจากความใหม่ความไม่รู้ของเรา จึงต้องเลือกพื้นที่ที่เขาไม่มีเราเขาก็ไม่เป็นไร สิ่งที่เราทำไม่ทำให้เขาแย่ลงก็พอแล้ว ไม่ต้องดีขึ้นก็ได้ เพราะเขาก็โอเคอยู่แล้ว”

ในปีแรกที่ทำงานกับชุมชนคองบางหลวง กระบวนการมีส่วนร่วมเริ่มจากนักศึกษาชักชวนผู้อำนวยการโรงเรียนและเด็กๆ ในชุมชนมามากางแผนที่ใหญ่เท่าผืนห้อง ปักหมุดของดีในชุมชน

“พอทำ asset mapping เลยได้รู้ว่ามีร้านอาหารอร่อย ชื่อร้านก๋วยเตี๋ยวหยุดบ่อย ซึ่งสาเหตุที่เราไปแล้วหาไม่เจอก็ตรงตามชื่อร้านเลย วันไหนอยากปิดเขาก็ปิด ไม่มีอะไรซับซ้อน แต่เสน่ห์ที่ซ่อนในชุมชนแบบนี้จะมีแต่คนในชุมชนเท่านั้นที่รู้ หน้าที่ของอาจารย์คือพานักเรียนไปสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม แล้วดึงเอาสิ่งที่ซ่อนอยู่เหล่านี้ออกมาสื่อสาร พูดเหมือนง่ายแต่ทำจริงนั้นยากกว่าพูดหลายเท่า”

“เราทำคลองบางหลวง เราเองก็เรียนรู้ไปด้วย แล้วก็โชคดีมาก คือเขาเป็นชุมชนที่มีความเป็นบ้าน วัด โรงเรียน อยู่ในนั้นน่ะ มันมีความอ่อนโยน ความใจดีของผู้คนที่มีความเป็นชุมชนอยู่แล้ว เราไม่ได้เข้าไปสร้างอะไรเลย เราแค่เข้าไปไฮไลท์หรือทำให้มันเหนียวแน่นขึ้น อะไรอย่างนี้”

“มันดูเหมือนโรแมนติกนะ แต่เชื่อเหอะว่าในโลกนี้มันไม่โรแมนติก อย่างเค้กที่เรากิน มันหวานอร่อย แต่เดี๋ยวเราก็ต้องกลับไปตายด้วยเบาหวาน ต้องไปเบิร์นออก มันไม่มีอะไรโรแมนติกเลยเว้ย แต่แล้วยังไง เราก็ต้องกินให้มันอร่อย แล้วเราก็ไปวิ่งเอา ทำงานกับชุมชนก็เหมือนกัน”

“งานที่อาจารย์ทำมันไม่ใช่ชุมชนในจินตนาการที่ทุกคนรักกัน มันไม่มีทางเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว คนเรามีหลากหลาย มีคนเห็นแก่ตัว ซึ่งบางครั้งก็จะถูกมองว่าโลกสวย ซึ่งก็เออ ก็สวยอะ (หัวเราะ) เราคิดว่ามองให้ร้ายมันก็ไม่ได้ช่วยอะไร เราเลือกมองให้สวยไว้ก่อน มองว่ามันมีโอกาสที่จะทำอะไรได้ นิดหนึ่งก็ยังดี แต่ว่าในความที่เรามองให้มัน positive เนี่ย เรารู้อยู่แล้วว่าจะหาคนที่เห็นประโยชน์ร่วมมันยาก แต่เราจะไปทำให้มันทุกข์ทนเหลือเกินทำไม จะเล่าทำไมล่ะ แบบนั้นเอาเวลาไปเล่นกับหมาให้ร่าเริงดีกว่า”

ยิ่งหลากหลาย ยิ่งสวยงาม

วิชาการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และพัฒนาชุมชน เปิดรับนักศึกษาจากทุกสาขา ทุกคณะและทุกระดับชั้นทั้ง ตรี โท เอก นักเรียนในคลาสนี้จึงมีความหลากหลายมาก ตั้งแต่เด็กโบราณคดี เด็กเรียนเอกไทย เด็กสถาปัตย์ เด็กโปรดักดีไซน์ และด้วยทักษะที่หลากหลายของนักเรียนนี้เองที่ช่วยเพิ่มเสน่ห์ให้กับการทำงานกับชุมชนและห้องเรียนแห่งนี้

“เรารับทุกสาขาเลย มันเลยจะมีความเพี้ยนนิด (หัวเราะ) ทุกวันนี้เวลาตรวจงานเด็กบางคนทำอนิเมชันภาพกากในจิตรกรรมวัดพระแก้วมาส่งก็มี ซึ่งมันคือข้อดีมากๆ อย่างคนที่เขาเรียนโบราณคดี เขาคุยกับมนุษย์เก่งกว่าเรามากเลย สถาปนิกมันจะมีมาดอะไรบางอย่างไม่รู้ ต่อให้เราเป็นคนน่ารักแล้วนะ เราก็ยังไม่เหมือนเด็กโบราณคดี สมมติลงพื้นที่ชุมชนชาวประมง แก๊งค์นั้นนั่งคุยกับเขาแป๊บเดียวเขาให้ปลามาตัวเบ้อเร่อ คุยกันยี่สิบนาทีชาวบ้านรักเป็นลูกแล้ว โดยที่เด็กก็ไม่ได้ประจบ เสแสร้งอะไรเลยนะ” อาจารย์หน่องเล่าพร้อมรอยยิ้ม

รู้ว่าเราไม่รู้

“มันมีทฤษฎีอยู่ เป็นคำที่อาจารย์ของอาจารย์ชอบใช้ ‘optimal ignorant’ คือเราไม่รู้ให้พอดี คือถ้าเราต้องรู้ทุกอย่างเพื่อที่จะทำอะไรบางอย่าง มันจะไม่ได้ทำ แต่ถ้าเรารู้ว่าเราไม่รู้อะไร แล้วเราจัดการความ ignorant นั้น หมายถึงว่าเราไม่ต้องเป็นเลิศทุกด้านก็ได้ ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าชุมชนนี้มีประชากรกี่คน สัดส่วนของคนที่ตกงานเท่าไร ถ้าต้องรู้ทุกอย่างแก่ตายกันไปแล้วไม่ได้ทำพอดี เราเริ่มจากจุดที่เราคิดว่าเราเริ่มได้เล็กๆ แล้วเลือกจุดเปลี่ยนที่มันสามารถ scale up ได้ อาจจะได้วันนี้หรือปีหน้า อาจารย์ของอาจารย์ที่ชื่อว่า Nabeel Hamdi[1] เขาจะสอนเรื่อง small change ซึ่งเราก็จะเป็นสายนั้นเลย เป็นสายมุ้งมิ้ง ทำอะไรเล็กๆ”

อาจารย์หน่องเล่าเสริมว่า ในช่วงแรกก็มีความไม่มั่นใจว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นเล็กไปหรือเปล่า แต่เมื่อทำไปเรื่อยๆ ก็เริ่มเห็นว่าสิ่งเล็กๆ เหล่านั้นล้วนนำไปต่อยอดได้ ทั้งงานที่คลองบางหลวงที่ทำต่อเนื่องมากว่าห้าปี ที่เริ่มจากงานในคลาสเรียน จนไปได้ทุนจากโครงการส่งเสริมย่านเก่า และได้ทุนอื่นๆ จนตอนนี้มีแกนในพื้นที่ที่สามารถต่อยอดได้เอง ไปจนถึงการที่เขตเข้ามาเห็น และมีภาคีเข้ามาช่วยพัฒนาย่าน

ห้องเรียนที่ชื่อ ปากคลองตลาด

หากดูภายนอกอาจเหมือนวิชานี้เปลี่ยนชุมชนไปเรื่อยๆ แต่ความจริงแล้ว การทำงานในแต่ละชุมชนนั้นอาจารย์ทำงานอย่างต่อเนื่องกลับไปกลับมาหลายปี เละเพิ่มพื้นที่เพื่อขยายห้องเรียนสู่ชุมชนใหม่ๆ จากคลองบางหลวง ขยับมาปากคลองตลาด และบางลำพู

ย้อนกลับไปปี 2017 การจัดระเบียบร้านค้าแผงลอยย่านปากคลองกำลังเป็นประเด็นร้อน

“เรารู้สึกว่าเราฝึกมือกันมาพอสมควรแล้ว เริ่มเข้าใจความซับซ้อนของชุมชนและผู้คนแล้วในระดับหนึ่ง ตอนนั้นประเด็นปากคลองถือว่าเป็นประเด็นร้อน ซึ่งปกติอาจารย์จะไม่เล่นประเด็นร้อนเลย แต่ก็พิจารณาแล้วว่า มันร้อนแบบที่เราทำอะไรไม่ได้ละ มันรู้ตอนจบของเรื่องนี้แล้ว ยังไงเขาก็ต้องโดนจัดระเบียบ ถ้างั้นก็ขออนุญาตใช้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่เรียนรู้ เพราะอาจารย์ต้องบอกว่าอาจารย์ไม่ใช่นักพัฒนาชุมชน หน้าที่ของอาจารย์คือสร้างบรรยากาศให้มันน่าเรียนรู้สำหรับคนที่มาเรียนกับอาจารย์ แต่ในการสร้างการเรียนรู้ก็ต้องไม่ไปเบียดเบียนชุมชนนะ”

กระบวนการทำงานในครั้งนี้ เริ่มจากเข้าไปทำความเข้าใจในประเด็นที่คนตั้งคำถามกัน เช่น แผงลอยบนฟุตบาทเป็นผู้ร้ายจริงหรือเปล่า แผงลอยมาแย่งลูกค้าจากร้านค้าที่เสียค่าเช่าจริงไหม ร้านค้าบนฟุตบาทสามารถขายตัดราคาได้สิ ซึ่งคำตอบที่อาจารย์ได้พบคือ จริง แต่นั่น ไม่ใช่ทั้งหมด

“สิ่งที่เราพบคือในตึกแถว เขาจะขายไม้ดอกนำเข้าที่ราคาจะแพงหน่อย ต้องมีห้องแอร์เก็บ ในขณะที่บนฟุตบาทจะเป็นดอกไม้แบบ ห้าบาทสิบบาทยี่สิบบาท คือเขาขายของแนมกัน มันมีขายแข่งกันเป็นธรรมดา แต่มันคือระบบนิเวศของมนุษย์ที่อยู่ที่นี่”

“เราให้โจทย์นักศึกษาทำ photo essay มนุษย์ปากคลอง พอศึกษาไปเรื่อยๆ เราพบว่าไม่ใช่แค่แผงลอย มันมี informal economy (ระบบเศรษฐกิจแบบไม่เป็นทางการ) หลายอย่างในนิเวศนี้ เช่น แม่ค้าต้องนั่งเฝ้าแผงริมฟุตบาท เลยมีบริการส่งอาหารเดลิเวอรี่ เป็นระบบที่แม่ค้าเขารู้จักกัน มีมาก่อน grab ก่อน lineman อีก มีแม้กระทั่งบริการนวดเดลิเวอรี่ มีคนส่งน้ำแข็ง เพราะดอกไม้บางอย่างแช่ในตู้เย็นแล้วจะช้ำ มีธนาคาร 11 ธนาคาร มีเงินสะพัดอยู่ในนี้มหาศาล ที่เข้าระบบภาษีรึเปล่าไม่รู้ เราได้เห็นความสัมพันธ์เหล่านี้ หรือแม้แต่แผงลอยเองก็มีทั้งผู้ร้ายและผู้ดี ซึ่งทุกอย่างมันมีเหตุผล จริงๆ แผงลอยไม่ได้ผิดกฎหมายถ้าตั้งบนจุดผ่อนผัน ถ้าตั้งล้ำเส้นที่อนุญาตอันนี้ผิด แล้วทำไมเขาถึงตั้งได้ ทำไมเขาถึงกล้าล้ำเส้น ทุกอย่างมันมีสาเหตุหมด ก็เป็นพื้นที่ให้นักศึกษาได้ไปเรียนรู้ระบบนิเวศ

“มันมีรูปหนึ่งซึ่งอาจารย์ชอบยกตัวอย่าง นักศึกษาไปถ่ายรูปมาลัยมาอันหนึ่ง แล้วป้าที่เขาให้สัมภาษณ์บอกว่า มาลัยหนึ่งพวง กุหลาบก็มาจากไร่กุหลาบ มะลิมาจากสวนมะลิ ริบบิ้นที่ผูกมาจากชาวนาที่อยู่ในอยุธยา ช่วงที่ไม่ได้ทำนาก็พับริบบิ้นส่งปากคลอง แค่ไม่ให้ขายมาลัยตรงฟุตบาทมันกระทบผู้คนเยอะมาก ซึ่งอันนี้เราตัดเรื่องความถูกต้องของกฎหมายออกไปก่อนนะ นี่คือความสัมพันธ์ของผู้คน ซึ่งเราก็ย้ำกับนักศึกษาว่า เราไม่ได้เข้าไปโปรฝั่งชาวบ้านนะ เพราะว่าพอมันเลยจุดผ่อนผันมันก็ผิด ผิดก็คือผิด”

จากโจทย์ photo essay ในห้องเรียน โปรเจ็กต์จบของนักศึกษาถูกจัดช่อเป็น photo exhibition ที่นำภาพของพี่ๆ มนุษย์ปากคลอง มาจัดวางที่ท่าเรือยอดพิมาน จัดคล้ายๆ เป็นงานเลี้ยงอำลาของแม่ค้าปากคลองที่มีแม่ค้ามาร่วมคับคั่ง และถึงขนาดแม่ค้าขอเก้าอี้นั่งเซ็นท์สมุดชมนิทรรศการ เพื่อบันทึกเรื่องราวกันยาวคนละหลายหน้ากระดาษ

“เรารู้อยู่แล้วว่าเราเปลี่ยนผลลัพธ์ไม่ได้ ในมุมเรา มันดูเป็นการ farewell ที่ดี คือการที่เขาไปตะโกนด่าแล้วก็เทดอกไม้ประท้วง อันนั้นมันก็เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่ง แต่อย่างของเรา เราก็พยายามทำให้มันพาสเทลขึ้น พยายามดึง cohesion ให้เห็นว่าเขาสำคัญนะ” 

แน่นอนว่าพอทำงานกับชาวพื้นที่เยอะๆ รับรู้เรื่องราวจิตใจก็ต้องมีเอนไปบ้าง แล้วอย่างนี้การวางตัวของเราที่จะต้องไปอยู่ในนี้ มันจะยิ่งยากไหมคะ เอ่ยถาม

“เราต้องวางตัวให้ชัดค่ะ บอกเขาตั้งแต่แรก บอกนักศึกษาเองเลยว่า ให้ใช้คำว่า ‘ขอเข้าไปเรียนรู้’ อันนี้คือเห็นแก่ตัวเลย ขอเข้าไปเรียนรู้จริงๆ ช่วยอะไรไม่ได้เลยนะ คือพูดกับเขาตรงๆ เลยว่าการที่พวกเรามาถ่ายรูปหรือสัมภาษณ์ ไม่ได้ช่วยให้พี่จะไม่โดนไล่ แต่ว่าอย่างน้อยการที่พี่จะโดนไล่ออกไป มันจะสร้างความเข้าใจบางชุด ว่าจริงๆ พวกพี่มีความสำคัญ และมีความสัมพันธ์บางอย่างกับพื้นที่ ได้แค่นี้ แล้วย้ำเด็กมากว่า เราไม่มี authority ในการไปบอกให้เขาอยู่-ไม่อยู่ เราไม่ใช่ กทม. แล้วถามว่า กทม. ผิดไหม กทม. ก็ไม่ผิด เขาทำหน้าที่ของเขา แล้วใช้การตั้งคำถามต่อว่า conflict นี้เกิดจากอะไร”

อาจารย์ย้ำกับเราเสมอว่าอาจารย์ไม่ได้เข้าไปสร้างการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ ทีมเปลี่ยนผลลัพธ์ของเรื่องไม่ได้ แต่หัวใจของการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของนักศึกษาและชุมชน คือเป็นกระบอกเสียงให้คนในพื้นที่รู้ว่าเขาสำคัญ เขามีความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ และสื่อสารข้อมูลบางชุดที่ไม่ถูกรับรู้  และที่สำคัญได้หว่านเมล็ดพันธุ์บางอย่างไว้ในใจผู้คน

“พอโปรเจกต์จบไป ก็เป็นเด็กๆ เนี่ยแหละมาพูดกับอาจารย์ ว่าเราได้รู้เยอะมาก ไม่เห็นได้ช่วยอะไรเขาเลย เราก็ตอบว่าอาจารย์มีหน้าที่สอนพวกแกไง ดีแล้วที่แกทำแล้วอิน เด็กๆ เขาไปทำแคมเปญตามหามนุษย์ปากคลองต่อกันเอง คือลงรูปเดิมมาโพสต์ในเฟส ว่าคนนี้ไปขายที่ไหนแล้ว ก็มีคนเข้ามาช่วยตอบให้ ยายคนนี้เคยขายมาลัยอยู่ฟุตบาท ย้ายไปขายในยอดพิมานแล้วอะไรแบบนี้ หรืออีกหลายๆคนก็ยังกลับมาทำงานกับเรา ทั้งที่คลองบางหลวง บางลำพู ปากคลอง ก็จะมีแก๊งค์ที่ทำงานกันต่อเนื่อง หรือบางคนจบแล้วไปเปิดสตูดิโอออกแบบด้านนี้เลย ทำ content documentary ก็มี”

พัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้

เมื่อปักธงชัดเจนว่าการเข้าไปในชุมชนครั้งนี้ไม่ใช่เพื่อเข้าไปพัฒนา แต่เป็นการขอเข้าไปเรียนรู้ การเรียนรู้ในห้องเรียนนี้ทุกคนจึงเป็นครูและนักเรียนของกันและกัน

“จุดประสงค์ของเรา เราอยากทำเป็นโครงการจุดประกาย (catalyst project) อย่างงาน New World X Oldtown คือทำ catalyst project ใช้งานออกแบบมาช่วยบันทึกประวัติศาสตร์และให้คนในชุมชนมาเล่าเรื่องของตัวเอง และสื่อสารภายนอก คนในชุมชนเองบางคนเขาก็เพิ่งได้มารู้จักชุมชนตัวเองมากขึ้นจากเรื่องเล่าของคนที่เคยมาเที่ยวห้างนิวเวิร์ลที่มาเล่าให้นักศึกษาของเราฟัง หรือร่วมงานกับกลุ่มเด็กๆ เกษรลำพูไปเก็บเรื่องราวจากผู้ใหญ่ในพื้นที่มาจัดแสดง เพื่อให้คนเห็นภาพว่า ถ้าคนอื่นอยากมาทำอะไรแบบนี้ ที่นี่ทำได้นะ มาจัดเวิร์คชอป เล่น AR ได้ด้วย ไม่ได้ต้องทำกับเราก็ได้ แต่คุณต้องมาคุยกับเขาให้เขาไม่ด่าด้วยนะ”

ครั้งที่จัดงานที่ปากคลองตลาด โดยชักชวนเหล่าดีไซเนอร์หลากหลายสตูดิโอให้ไปจัดดอกไม้ร่วมกับร้านดอกไม้ ฟีดแบคหนึ่งที่อาจารย์ได้จากเจ้าของร้านดอกไม้รายใหญ่ที่ควบตำแหน่งอาจารย์สอนวิชาจัดดอกไม้ คือ “คิดไว้แล้วค่ะว่า คนอื่นทำยังไงก็ไม่สวยกว่าที่ร้านทำ” อาจจะฟังดูแทงใจ แต่คำพูดนั้นคือการเรียนรู้ครั้งใหญ่ที่อาจารย์ประทับใจจนทุกวันนี้

“อย่างหนึ่งที่เราชอบคือว่า มันทำให้ลุคของแม่ค้าดู smart ขึ้น ก็คือหลอกใช้เราแหละ ร้ายมาก (หัวเราะ) ซึ่งเราตอนที่อยู่แก๊งค์ดีไซเนอร์ ก็จะแบบ เหย แรงนะ แต่ลึกๆ ในเชิงวิชาการทางด้านชุมชน นี่คือดีมากๆ คือเขาโคตร empower เราเลยอ่ะ เขาให้โอกาสเรา แล้วเขาก็รู้ด้วยว่าอาจจะได้อะไรที่มันเฟล แต่จริงๆ ก็ไม่เฟล เขารู้อยู่แล้ว ก็ถ้าเขาทำแล้วมันสวยกว่าแล้วยังไงอ่ะ มันก็จะเหมือนเดิม คือเราไม่เชี่ยวชาญเรื่องการจัดดอกไม้เท่าเขาอยู่แล้ว แต่การที่มี TEDxBangkok มีองค์กรต่างๆ เข้าไปทำงานกับเขา มันเหมือนค่อยๆ เปิดพื้นที่ปากคลองตลาด ให้คนได้เข้าไปมีส่วนร่วม ได้เห็น Potential ต่างๆของพื้นที่”

หัวใจของวิชานี้ คือการมีส่วนร่วมของนักศึกษา ที่อาจารย์หน่องนิยามว่า นักศึกษาคืออีกหนึ่งชุมชนที่อาจารย์ต้องดูแล

“กลุ่มคนที่อาจารย์ต้องโฟกัสที่สุดคือนักศึกษา  ไม่รู้พูดอย่างนี้จะแฟร์เปล่าเนอะ แต่มันคือเรื่องจริง เพราะเราเป็นอาจารย์น่ะ เราต้องสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้เขาต้อง positive ไม่ใช่เอาเขาโยนเข้าไปในสงครามของชุมชน

กลุ่มของนักศึกษาคือชุมชนหนึ่งที่อาจารย์ต้องดูแล ให้เขาไม่ใช่แข่งกันได้ A แต่เขาจะต้อง mobilize ชุมชนของเขาเอง ใครมีศักยภาพอะไรให้เอาออกมาใช้ อาจารย์มักจะพูดเสมอว่าใครถนัดอะไร ทำอันนั้น ไม่ใช่แบบฉันขี้อาย พูดไม่เก่ง จะต้องไปทำงานชุมชนแล้วทำไม่ได้ ก็ไม่ต้องพูดดิ สเกตซ์เก่งก็สเกตซ์ ถ่ายรูปเก่งก็ถ่ายรูป คนไหนคุยเก่งก็ปล่อยมันไปคุย คนไหนเก่งเรื่องกฎหมายผังเมือง ก็มาไกด์ซิ เพราะฉะนั้น ในชุมชนนี้จะต้องขับเคลื่อนศักยภาพกันและกัน

“asset mapping ที่เราทำกับชุมชนน่ะ เราต้องทำกับทีมเราและตัวเราเองด้วย อาจารย์เองก็ทำได้บางอย่าง ทำไม่ได้บางอย่าง อันไหนเราทำไม่ได้ก็ปล่อยให้ความเซ็กซี่ของคนอื่นได้ทำหน้าที่ของมัน ใครถนัดอะไรก็ไปทำที่ตัวเอง ไม่ใช่คิดว่า โห ฉันต้องทำทุกอย่างเลย ฉันเก่งจังเลย ไม่มีใครที่จะทำได้ตั้งแต่สเกลข้างบนลงข้างล่างได้หมดหรอก อย่างมากคือ concern ถึงเรื่องอื่นๆ คิดถึงทางที่มันจะไปต่อได้ แต่เราทำเองหมดไม่ได้ มันถึงต้องมีกระบวนการมีส่วนร่วมไง”

อีกสิ่งที่อาจารย์หน่องย้ำด้วยแววตาจริงจัง คือเราต้องเคารพคนที่อยู่ในห้องนั้นมากๆ  เพราะนี่คือห้องเรียนโลกจริง สิ่งที่เรียนรู้มันคือคนจริง เหตุการณ์จริง เงื่อนไขจริง จึงต้อง minimize ignorance ของเรา ถ้าโง่มากก็อันตราย ถ้าโง่มากแล้วมั่นใจนี่คืออันตรายสุด

“พอพาเด็กๆ ลงไปในชุมชน เราจะบอกว่าเด็กๆ คะ กฎในการเรียนวิชานี้ก็คือ หนึ่งทำตัวน่ารัก สองทำตัวน่ารัก สามทำตัวน่ารัก คือ ทำตัวให้มันน่ารักน่ะ คำว่าน่ารักก็คือมีกาลเทศะ เป็นธรรมชาติ”

เสน่ห์ของการทำงานกับชุมชนสำหรับอาจารย์คืออะไร

“ทำงานกับชุมชน อาจารย์ว่ามันสนุกนะ ซึ่งสนุกมันไม่เหมือนความสุขซะทีเดียว สนุกมันจะเหนื่อยกว่า แต่เหนื่อยแบบสนุกไง เจอเด็กมาเล่าว่าป้าเขาชอบมากเลย ก็ขนลุก มีความสุขละ สักพักป้าวีน ก็ทุกข์ จะเป็นไบโพลาร์ละ (หัวเราะ)”

“มันสนุก เหมือนเราได้กลิ้งไปกับโลกน่ะ รู้สึกได้มีชีวิต ได้เจอมนุษย์ ซึ่งก็ไม่ใช่เจอแล้วมีความสุขอย่างเดียว อีกอย่างหนึ่งที่อยากฝาก คือทุกคนสามารถทำตัวให้มีประโยชน์ได้ โดยที่ไม่ต้องฝืนตัวเอง อาจารย์เชื่อว่าเราทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อโลกได้หมด เป็นอะไรก็ได้ ทำให้มันดี ไม่จำเป็นต้องมาทำเพื่อสังคม สมมติเป็นสถาปนิกก็ออกแบบตึกให้มันดี คนเข้าไปใช้แล้วไม่ตาย แค่นี้ก็ดีแล้ว แต่ถ้าอยาก extra เพื่อสังคมขึ้นมา สมัยนี้ก็มีทุนให้ได้ทำอะไรเยอะแยะ และขอให้จำกัดพื้นที่ที่จะเสียหายจากความไม่รู้ความมั่นใจของเราให้ดี ระวังความมั่นใจเกินไป”

ปากคลองตลาด Strike Back

ห้องเรียนล่าสุดของอาจารย์หน่องที่เปิดให้ทุกคนได้ไปสนุกร่วมกันได้ที่ปากคลองตลาด ในตีม “ปากคลองฯ Strike Back!” #เดินหลงในดงดอก ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.), หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ และกฎบัตรแห่งชาติและกฎบัตรรัตนโกสินทร์ ซึ่งปีนี้นับเป็นปีที่ 3 ของพื้นที่ปากคลองตลาด
ปีนี้มีกิจกรรมหลากหลายให้เลือกเล่นกันได้ตั้งแต่จากที่บ้านผ่านหน้าจอ ที่จะทำให้อยากแต่งตัวสวยไปเดินหลงในดงดอกทั่วปากคลองตลาด เริ่มตั้งแต่

กิจกรรมที่ 1 Quiz คุณเป็นดอกไม้แบบไหน

กิจกรรมที่ 2 Flower Tracking เดินหาดอกไม้ต่างๆ  แล้วหยิบมือถือขึ้นมาสแกน QR code เพื่อรับอินเตอร์แอคทีฟฟิลเตอร์อินสตาแกรมดอกไม้ฟรุ้งฟริ้ง ทั้งดอกเดซี่ ลิลลี่ ทิวลิป ไปจนถึงบ่อบัวAR ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากภาพของ Monet

กิจกรรมที่ 3 เดินหลง (เสน่ห์) ปากคลองในดงดอกไม้ กับ Hide&Seek ตามถ่ายภาพกับสตรีทอาร์ต ที่เลือกนำภาพคนตัวเล็กๆ ที่เป็นมดงานของปากคลองฯ ขึ้นมาขยายใหญ่เต็มผนัง ที่ไม่ใช่แค่ขนาดภาพแต่คือความสำคัญของเขาในระบบนิเวศนี้ด้วย

กิจกรรมที่ 4 ช้อปดอกไม้ มาถึงปากคลองทั้งทีจะไม่มีดอกไม้ติดมือกลับบ้านก็เหมือนจะมาไม่ถึง หรือถ้ายังไม่จุใจก็สามารถไปชอปต่อได้ใน flowerhub.space ที่สามารถสั่งดอกไม้ส่งตรงถึงหน้าบ้าน นอกจากจะได้รับรอยยิ้มของแม่ค้าเป็นของแถม ใครถ่ายรูปติดแฮชแทก ก็รอรับมงกุฎดอกไม้ไดอีกด้วย

ใครสนใจงานมีถึง วันที่ 11 ตุลาคม 2563 หรือติดตามได้ที่เพจ Humans of Flower Market : มนุษย์ปากคลองฯ

Tags:

นักออกแบบสถาปนิกสุพิชชา โตวิวิชญ์

Author:

illustrator

ภาพพิมพ์ พิมมะรัตน์

เพิ่งค้นพบว่าเป็นคนชอบแมวแบบที่ชอบคนที่ชอบแมวมากกว่าชอบแมว (เอ๊ะ) มีความฝันว่าอยากเป็นแมวที่ได้อยู่ใกล้ๆคนที่ชอบ (จริงๆ ก็แค่อยากมีมนุดเป็นทาสและนอนทั้งวันได้แบบไม่รู้สึกผิดน่ะแหละ)

Photographer:

illustrator

ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

ศิลปศาสตร์บัณฑิต และมนุษย์ฟรีแลนซ์ที่ทำงานเขียน ถ่ายรูป สัมภาษณ์ แปลงาน ล่าม ไปจนถึงครูสอนพิเศษเด็กชั้นประถม ของสะสมที่ชอบมากๆ คือถุงเท้าและผ้าลายดอก เขียนเรื่องเหนือจริงด้วยความรู้สึกจริงๆ ออกเป็นหนังสือ 'Sad at first sight' ซึ่งขายหมดแล้ว ผลงานล่าสุดคือ I Eat You Up Inside My Head รับประทานสารตกค้างในกลีบดอกปอกเปิก

Related Posts

  • Character buildingCreative learning
    สามหนุ่มอาชีวะนักพัฒนา เจ้าของ WIMC อุปกรณ์ตรวจสอบมอเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ

    เรื่อง กิติคุณ คัมภิรานนท์

  • Everyone can be an Educator
    จุฤทธิ์ กังวานภูมิ: เปลี่ยนย่านตลาดน้อย คนในต้องอยู่สบาย บ้านถึงจะกลายเป็นพื้นที่เรียนรู้

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • Voice of New Gen
    CROSSS: นักออกแบบที่สนุกกับการฟัง ‘ความฝัน’ ชวนคนทะเลาะ เพราะทุกคนต้องมีส่วนร่วม

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่าง

  • Voice of New Gen
    ฮอมสุข สตูดิโอ: แค่เห็นปลาว่ายอยู่ในคลองแม่ข่าสักตัว เราก็ดีใจแล้ว

    เรื่องและภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Voice of New Gen
    CONNEXT KLONGTOEY : เรื่องจริงของ ‘เด็กคลองเตย’ ผ่านแฟชั่น แร็ป ภาพถ่ายและลายสัก

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา ภาพ สิทธิกร ขุนนราศัย

“ถึงพ่อแม่จะเลิกรักกัน ไม่ได้แปลว่าเราจะเลิกเป็นครอบครัว” แคลร์ จิรัศยา ผู้กำกับที่ใช้ซีรีส์ส่งข้อความจากใจลูกถึงพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว
MovieDear Parents
3 October 2020

“ถึงพ่อแม่จะเลิกรักกัน ไม่ได้แปลว่าเราจะเลิกเป็นครอบครัว” แคลร์ จิรัศยา ผู้กำกับที่ใช้ซีรีส์ส่งข้อความจากใจลูกถึงพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว

เรื่อง ภาพพิมพ์ พิมมะรัตน์ ภาพ ณัฐสุชา เลิศวัฒนนนท์

  • คุยกับ แคลร์ จิรัศยา วงษ์สุทิน ผู้กำกับซีรีส์ 365 วัน บ้านฉันบ้านเธอ ที่ใช้ภาพยนตร์มาเป็นสื่อ ถ่ายทอดอีกมุมมองหนึ่งต่อความเป็น”ครอบครัว” 
  • แคลร์โตมากับการดูหนังและละคร เธอเชื่อว่าแมสเสจในหนังทำให้เห็นโลกของบ้านหลังอื่นๆ รวมทั้งทำให้แคลร์ในวัยมัธยมสามารถรับมือกับสถานการณ์ในบ้านของตัวเองได้ วันนี้เธอจึงอยากส่งต่อแมสเสจความหลากหลายของรูปแบบครอบครัวผ่านหนังและซีรีส์ เพื่อสื่อสารกับทุกคนว่า พ่อ แม่ ก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ที่ผิดพลาดได้ มีความรักใหม่ได้ และเรายังเป็นครอบครัวเดียวกันได้แม้ในวันที่พ่อกับแม่ไม่ได้รักกันแล้ว
  • “กับแม่มุก เราตั้งใจให้เขาเป็นผู้หญิงคนหนึ่งที่มีความรักได้ อกหักได้ เห็นแก่ตัวได้ ตัดสินใจผิดพลาดได้ เราอยากเห็นตัวละครแม่แบบนี้บ้างในสื่อไทย เพราะหวังว่าแม่บางคนที่ดูเรื่องนี้อยู่จะรู้สึกว่าชีวิตเขามันไม่ได้หนักหนา มันโอเค เขามีเพื่อนนะ”
  • คอลัมน์ Dear Parents รอบนี้อยากชวนผู้ปกครองทุกท่าน นั่งดูซีรีส์เรื่องนี้ไปพร้อมกับลูกๆ วัยรุ่น และชวนสร้างบทสนทนาเพื่อหาความหมายของความเป็นครอบครัว ในพื้นที่ที่เราต่างนึกถึงความสุขของลูก แล้วอะไรคือสิ่งที่ลูกต้องการจริงๆ 

มีคำกล่าวว่า “ลูกคือโซ่ทอง คล้องใจของพ่อกับแม่” แต่ในวันที่ใจของพ่อกับแม่ไม่ได้อยากอยู่ใกล้กันอย่างที่เคย โซ่ทองกลับกลายเป็นโซ่ล่ามสองหัวใจที่อยากแยกย้ายกันไปใช้ชีวิต การเลือกที่จะปลดโซ่หรือก้าวออกจากความสัมพันธ์จึงเป็นเรื่องเปราะบางและท้าทาย 

หนึ่งในเหตุผลที่เรามักจะได้ยินบ่อยๆ เมื่อพ่อแม่พยายามประคองความสัมพันธ์ที่เต็มไปด้วยรอยร้าวคือ ”เพื่อลูก” แต่ในวันที่หัวใจของผู้ปกครองเองก็บอบช้ำ เราจะซุกซ่อนรอยร้าวนี้เพื่อไม่ให้มันบาดหัวใจลูกได้จริงหรือ และหากวันนี้เราต่างทำ “เพื่อลูก” อะไรคือสิ่งที่ลูกอยากบอก

ชวนคุยกับ แคลร์ จิรัศยา วงษ์สุทิน ผู้กำกับและเป็นหัวหน้าทีมเขียนบท ซีรีส์ 365 วัน บ้านฉันบ้านเธอ จากค่าย GTH นำแสดงโดย สาวๆ ไอดอล BNK48  

ซีรีส์ที่หยิบยื่นนิยามของคำว่า “ครอบครัว” ที่ไม่ค่อยได้เห็นนักในละครไทย ซีรีส์เรื่องนี้เล่าเรื่องราวความรักครั้งใหม่ ของบ้านแม่มุก (แสดงโดย แหม่ม – แคทลียา) คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวที่อยู่กับลูกสาววัยรุ่นห้าคน กับ บ้านพ่อตั้ม (แสดงโดย ดู๋ – สัญญา) คุณพ่อหม้ายลูกสอง โดยมีโจทย์คือการสร้างครอบครัวใหม่ที่ไม่ทำร้ายใจลูกๆ ของทั้งสองบ้าน

ทีเเรกเราเองก็คิดว่าซีรีส์เรื่องนี้ก็เป็นแค่ซีรีส์วัยรุ่นทั่วไปอีกเรื่องหนึ่ง และหากวันนั้นเพื่อนไม่ชวนให้นั่งดูด้วยกัน เราคงกดข้ามเรื่องนี้ไป

และคงเป็นฉากคุณพ่อนั่งเป่าผมให้ลูกสาว พร้อมพูดว่า “ลูกจำกฏของบ้านเราได้ไหม ไม่ว่ามีอะไรเกิดขึ้นเราจะไม่โกหกกัน เราจะพูดความจริงเสมอ” ที่ทำให้เราตามดูซีรีส์เรื่องนี้ต่อ

เพราะเราเชื่อเหลือเกินว่าการพูดความจริงคือทางออกของทุกปัญหา แต่ในพื้นที่ของครอบครัว ที่ที่ทุกคนรักกัน “ฉันคิดถึงความสุขของเธอก่อน*” นั้นก็จริงเสมอเช่นกัน การโกหกสีขาวจึงถูกหยิบมาใช้บ่อยครั้งกว่าจนเกิดข้อขัดแย้ง (conflict) จากการที่ทุกคนรักและหวังดีต่อกัน 

และหากความจริงในครอบครัววันนี้คือ “พ่อกับแม่ไม่ได้รักกันแล้ว” หรือ “แม่มีความรักครั้งใหม่” เราควรจัดการกับความจริงแบบไหน จะประคับประคองแก้วที่ร้าวนี้ต่อไปอย่างไรให้ไม่บาดหัวใจลูก พ่อแม่จะเริ่มต้นกับความรักครั้งใหม่ได้ไหม แล้วทุกคนจะมีความสุขไปพร้อมกันได้อย่างไร คือเรื่องที่แคลร์อยากสื่อสารผ่านซีรีส์เรื่องนี้

อะไรคือแรงบันดาลใจในการทำซีรีส์เรื่องนี้

คนชอบคิดว่าการดูละครก็แค่เพื่อความบันเทิง แต่เราเชื่อจริงๆ ว่ามันมีอะไรบางอย่าง มีข้อมูลบางอย่างที่ละครส่งมาแล้วมันฝังอยู่ในตัวเราโดยที่เราไม่รู้ตัว เช่น กรณีข่มขืนแล้วรักกัน เราดูสิ่งนี้มาตั้งแต่เด็ก ดูซ้ำๆ จนบางทีบางคนเขาอาจจะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่โอเค เราเลยไม่อยากทำอะไรที่สร้างค่านิยมที่ผิดให้กับคนดู สิ่งนี้คือสิ่งที่เราตระหนักอยู่ตลอดเวลาในการทำงาน เราอยากสร้างความคิดที่ดีให้คนดูเขาได้ซึมซับกับเรื่องนี้ไป ให้มันกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เขาได้เห็น  

อย่างเรื่องนี้เราพูดถึงครอบครัวที่ไม่ได้สมบูรณ์แบบตามค่านิยม ‘พ่อแม่ลูกแล้วทุกคนแฮปปี้’ เรื่องนี้คือครอบครัวที่แตกกัน เขาผ่านการหย่าร้าง ผ่านปัญหามาแล้วเขาพยายามที่จะ move on จนเกิดครอบครัวแบบใหม่ เป็นโมเดิร์นแฟมิลี 

สมัยนี้อัตราการหย่าร้างสูงขึ้น น่าจะมีเด็กหรือคุณพ่อคุณแม่ที่มีประสบการณ์แบบนี้เยอะ เลยอยากพูดถึงครอบครัวแบบนี้บ้าง อยากให้คนที่เคยผ่านประสบการณ์แบบนี้มาดูแล้วรู้สึกว่าเขามีเพื่อนที่เข้าใจสิ่งนี้นะ แล้วมันไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดอะไรที่คุณจะไม่ประสบความสำเร็จในความรักหรือว่าครอบครัวแตกแยก มันไม่ใช่เรื่องน่าอาย มันเป็นความจริงของมนุษย์ที่เราต้องรับผิดชอบกับมันแล้วใช้ชีวิตกันต่อไป  

แล้วเนื้อเรื่องนี้เกี่ยวกับครอบครัวของแคลร์บ้างไหม

เรื่องนี้มันมาจากแม่เราเยอะเหมือนกัน พ่อแม่เราแยกทางกันสมัยมัธยม ซึ่งเรารู้สึกว่าแม่เองก็ไม่ได้อยากให้สิ่งนี้เกิดขึ้น พยายามปิดบัง มีความยื้อเพื่อคงอยู่ในความสัมพันธ์นี้ ขณะที่เราในฐานะลูกกลับรู้สึกว่ามันโอเคถ้าคุณจะแยกทางกัน ถ้าคุณไม่รักกันแล้ว คุณไม่จำเป็นต้องอยู่เพื่อลูก เพราะยิ่งอยู่ต่อไปเราก็ยิ่งต้องเจอกับสภาพแวดล้อมที่มันไม่ดี แล้วคำว่าครอบครัวในหัวเรามันจะยิ่งไม่ดี 

สถานการณ์ในตอนนั้นเป็นยังไง ส่งผลต่อตัวเเคลร์ยังไงบ้าง

ตอนนั้นเราค่อนข้างเครียด เพราะเราอยู่บ้านเดียวกัน แล้วพอพ่อแม่เขาเจอกันก็จะมีเรื่องทะเลาะกันตลอดเวลา พอเจอสภาพแวดล้อมที่มีการทะเลาะตลอดเวลามันเครียด ทำให้เราเป็นเด็กที่ไม่มีความสุข

มันไม่มีการคุยกันตรงๆ ฝั่งพ่อเขาไม่ได้พูดอะไร ฝั่งแม่จะพูดบ้างแต่มันเป็นอารมณ์เพราะเหมือนเขาเป็นฝั่งที่โดนกระทำ ก็จะพูดว่าร้ายพ่อให้ฟัง แต่เราไม่ได้เกลียดพ่อเลยนะ  รู้สึกว่าเราโตพอและเข้าใจ ไม่ได้โกรธที่เขานอกใจแม่ แต่เราโกรธที่เขาทำให้ครอบครัวมีปัญหา เราแค่ไม่ชอบที่เขาทำให้บ้านมันเครียด ถ้าเขามีคนอื่น แล้วทำให้เราเข้าใจได้ หรือไม่มาทะเลาะต่อหน้าเรา เราก็จะรู้สึกโอเคนะ 

เลยคิดว่าทางออกมันคือต้อง”สื่อสารกัน” ทั้ง พ่อ แม่ ลูก ใช้อารมณ์ให้น้อยลง ซึ่งเราเข้าใจนะว่าเรื่องแบบนี้มันเกี่ยวข้องกับอารมณ์ เรื่องความรักชายหญิง แต่คิดว่าต้องพยายามแยก คุณมีสิทธิ์ที่จะรู้สึก แต่พอมีลูกเข้ามาเกี่ยวข้อง อยากให้พยายามเอาตัวเองออกมามองสถานการณ์และใช้เหตุผลแก้ปัญหา

อย่างบ้านเรา เขาอาจจะมองว่าเราจะไม่เข้าใจรึเปล่า เราอาจจะเด็กเกินไปรึเปล่า แต่เราเข้าใจนะตอนนั้น ถ้ามันมีการคุยกันให้เข้าใจว่าสถาณการณ์ตอนนี้คืออะไร ไม่พ่นความเกลียดชังให้กัน มันอาจจะดีกว่านี้

คิดว่าอะไรที่ทำให้เขาไม่กล้าตัดสินใจจบ

เรารู้สึกว่าแม่ในยุคหนึ่งมีความเชื่อว่าเขาต้องเป็นแม่และเมียที่ดี การที่ชีวิตครอบครัวล้มเหลวเป็นเรื่องผิดต่อการเป็นผู้หญิงคนหนึ่งมาก อย่างแม่เราเขาไม่อยากให้บอกใครเลยว่าพ่อไม่อยู่แล้ว เพราะเขาอายที่จะยอมรับว่าเขาเป็นคนล้มเหลวในชีวิตคู่ โดยเฉพาะผู้หญิง ก็ไม่อยากถูกมองว่าสามีไปมีผู้หญิงคนอื่น

ซึ่งเรารู้สึกว่าไม่เลย เราอยากให้เขาเปลี่ยนความคิดและเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มีสิทธิ์ที่จะ move on ไปมีใครใหม่ ไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้ 

ความเชื่อเรื่องพ่อแม่แยกทางเท่ากับครอบครัวล้มเหลว มันอยู่มานานในสังคมไทย อีกปัจจัยคือครอบครัวดารา ซึ่งมีอิทธิพลหนักมาก โดยเฉพาะสื่อที่ชอบไปเล่นเรื่องบ้านเล็กบ้านใหญ่ หรือเวลาดาราเลิกกันแล้วแยกย้ายไปมีคนใหม่ สื่อทำให้มันเป็นเรื่องใหญ่มากๆ มันเลยยิ่งตอกย้ำภาพเลิกกันคือล้มเหลวให้เเข็งแรง ทั้งที่การเลิกกัน การเริ่มใหม่ มันเป็นเรื่องปกติ เราเลยยิ่งอยากสื่อสารเรื่องนี้ผ่านสื่อ

เรามักได้ยินเหตุผลที่หลายครอบครัวพยายามประคองสถานะการอยู่ด้วยกันเพื่อรักษาครอบครัว “เพื่อลูก” ในมุมลูกคุณมีความเห็นอย่างไร

เราคิดว่าคำว่าเพื่อลูกของแต่ละครอบครัว ของแต่ละคนต่างกัน ลูกของแต่ละครอบครัวมีความต้องการไม่เหมือนกัน แต่สำหรับเรา เราไม่อยากอยู่ในบ้านที่มีแต่มวลไม่มีความสุขอะ เวลาคนสองคนไม่รักกัน หรือเขาต้องอยู่ด้วยกันทั้งที่เขาไม่ได้อยากอยู่ด้วยกัน มันรับรู้ได้ มันมีมวลการปฏิบัติหรือการพูดจาที่มันไม่ปกติ ยิ่งพอเราเป็นคนที่อยู่บ้านเดียวกัน ลูกรับรู้ได้อยู่แล้ว แล้วลูกก็รับความรู้สึกนั้นมา

เรารู้สึกว่ามันโอเคถ้าคุณจะแยกทางกัน ถ้าคุณไม่รักกันแล้ว คุณไม่จำเป็นต้องอยู่เพื่อลูก เพราะยิ่งอยู่ต่อไปเราก็ยิ่งต้องเจอกับสภาพแวดล้อมที่มันไม่ดี แล้วคำว่าครอบครัวในหัวเรามันจะยิ่งไม่ดี

ในฐานะลูก เราอยากเห็นพ่อแม่อยู่ในบ้าน อยากเห็นเขามีความสุขอยู่แล้ว

แต่การอยู่ด้วยกันถ้ามันทำให้เขาไม่มีความสุข เราก็ไม่มีความสุข เพราะฉะนั้น เราแค่อยากให้เขาอยู่ตรงไหนก็ได้ที่เขาอยู่แล้วมีความสุข พร้อมเมื่อไหร่ก็มาเจอกัน ถึงพ่อแม่จะเลิกรักกันแล้ว ไม่ได้แปลว่าเราจะเลิกเป็นครอบครัว

เลยกลายมาเป็นคาแรกเตอร์ของแม่มุกและพ่อตั้มในซีรีส์ 365 วัน บ้านฉัน บ้านเธอ ?

กับแม่มุก เราตั้งใจให้เขาเป็นผู้หญิงคนหนึ่งที่มีความรักได้ อกหักได้ เห็นแก่ตัวได้ ตัดสินใจผิดพลาดได้ เราอยากเห็นตัวละครแม่แบบนี้บ้างในสื่อไทย เพราะหวังว่าแม่บางคนที่ดูเรื่องนี้อยู่จะรู้สึกว่าชีวิตเขามันไม่ได้หนักหนา มันโอเค เขามีเพื่อนนะ

พอเรามีตัวละครในบ้านแม่มุกที่โกลาหลประมาณหนึ่ง แม่ลูกบ้านนี้เขาผ่านเรื่องราวลำบาก ผ่านอะไรกันมาเยอะมากๆ เราเลยคิดว่าถ้าเขาจะเริ่มต้นใหม่กับใครอีกครั้ง อีกครอบครัวหนึ่งมันต้องไม่ใช่แบบเดียวกัน มันต้องเติมเต็มบางอย่างให้กัน ซึ่งจะเห็นว่าฝั่งบ้านแม่มุกเขาจะไม่ค่อยคุยกัน เราเลยอยากเห็นครอบครัวที่เขาคุยกัน  

บ้านพ่อตั้มเลยเป็นบ้านที่คุยกัน เขาเลี้ยงดูกันแบบเพื่อน พ่อไม่ได้วางตัวห่างกับเด็ก มีอะไรเขาคุยกันหมด เรารู้สึกว่ามันเป็นครอบครัวที่ดีจังเลย ในบ้านพ่อตั้มเขาจะมีกฎว่า “ไม่ว่าจะมีเรื่องอะไรเกิดขึ้น เราจะไม่โกหกกัน เราจะพูดความจริงเสมอ” พอมันเกิดการคุยกัน มันเลยไม่ได้มีปัญหาอะไร หรือถ้ามีปัญหาบ้างก็คุยกัน พอเข้าใจกันก็ก้าวไปต่อได้

บ้านพ่อตั้มคือครอบครัวแบบที่อยากเห็น ?

ใช่ๆ บ้านพ่อตั้มคือภาพครอบครัวที่เราอยากนำเสนอให้สังคมเห็น สิ่งที่เราอยากให้คนดูคือสิ่งที่พ่อตั้มคุยกับลูก

เรื่องที่พ่อตั้มพูดคือเรื่องที่เราอยากให้พ่อแม่คุยกับลูกจริงๆ เป็นตัวละครที่เราอยากให้พ่อแม่เป็นแบบนี้ ให้พ่อแม่เปิดใจคุยกับลูกอย่างเป็นตามธรรมชาติ 

ซึ่งมันไม่ได้เป็นความตั้งใจแต่แรกก่อนเขียนบทนะ แต่พอเราเขียนไปมันกลายเป็นว่าเราเรียนรู้ความสัมพันธ์ในแต่ละบ้านไปเอง ตัวละครต่างเรียนรู้ในแบบของกันและกัน เราก็เรียนรู้ไปกับตัวละครด้วย

นอกจากความรักของคู่พ่อแม่แล้ว มันมีความรักของลูกๆ ที่มาเป็น conflict ของเรื่อง ไอเดียนี้มาจากไหน

ส่วนตัวเราชอบดูความรักที่มันผิดที่ผิดทาง ซึ่งไออะไรแบบนี้เรารู้สึกว่ามันจริง เราจะอินกับอะไรแบบนี้มากกว่าหนังที่ความรักมันง่ายๆ เราเลยชอบโมเมนต์อะไรแบบนี้ก็เลยคิดพลอตนี้ขึ้นมา 

ความตั้งใจแรกของเราคืออยากทำซีรีส์ที่ตัวละครรักกัน ตัวอย่างเช่น เรื่อง Reply 1988 ซึ่งเป็นซีรีส์เกาหลีเล่าเรื่องครอบครัวที่ทุกคนรักกัน แล้วเราอินมาก ร้องไห้หนักมาก ที่เรื่องต่างๆ เกิดขึ้นเพราะทุกคนรักกันทั้งหมดแล้วทำเพื่อกันและกัน มันเรียล มันไม่ได้น้ำเน่า แล้วความรู้สึกที่เราได้รับมันดีอะ เหมือนเราดูอะไรที่มันโหดร้ายมาเยอะ พอมาดูอะไรแบบนี้เเล้วจิตใจเราพองโต แต่พอหันกลับมาดูละครไทยแล้วมันไม่ค่อยมีอะไรแบบนี้ เราเลยรู้สึกว่าถ้าวันหนึ่งเรามีโอกาส เราอยากทำอะไรแบบนี้ แล้วพอโอกาสมันเข้ามาพอดี เราเลยอยากไปทางละครที่ดูแล้วจิตใจพองโตบ้าง เลยอยากทำซีรีส์ครอบครัวที่ไม่มีตัวร้าย แต่ว่าทุกคนรักกันมากๆ เนี่ยแหละมันเลยเกิด conflict เล่าบนพื้นฐานความจริง การดีลกับความสัมพันธ์ในครอบครัว หรือจากเพื่อนอะไรแบบนี้ 

อยากให้คนดูคอนเนคกับสิ่งนี้ได้จริงๆ อยากให้คนดูเจอ energy ของความรักกัน ไม่ต้องร้ายใส่กันอะ ความรู้สึกที่ตัวละครรักกัน เผื่อดูแล้วจะรู้สึกรักคนรอบข้างมากขึ้น

แต่ว่าความรักกันมากๆ เนี่ย มันก็เจ็บปวดมากด้วยนะ แล้วทางออกของมันคืออะไร

มันเจ็บปวดแต่มันสวยงามป่ะ มันแค่ต้องคุยกัน สุดท้ายแล้วทุกคนรักกันมากแหละ แต่ต่างคนต่างมีช้อยส์ที่ตัวเองอยากจะทำหรืออยากใช้ชีวิต บางที สิ่งที่เขาอยากเลือกอาจจะดูผิด แต่มันไม่ได้หมายความว่าเขาเป็นคนไม่ดี มันเลยต้องเกิดการคุยกันโดยเฉพาะในครอบครัว บางครั้งเรามีอะไรเราไม่ค่อยคุยกันในบ้าน แล้วก็เกิดการผิดใจกัน จริงๆ แค่คุยกันก็จะเข้าใจกันมากขึ้นและทำให้ความสัมพันธ์แนบแน่นมากขึ้นด้วย

แล้วถ้า conflict มันไปถึงจุดที่ต้องเลือกระหว่าง ประคองหัวใจตัวเอง กับ ประคองหัวใจคนที่เรารักล่ะ

เราว่ามันต้องหาบาลานซ์ มันอยู่ที่ว่าสุดท้ายแล้วยังอยากอยู่ด้วยกันไหม ถ้าภาพสุดท้ายยังอยากอยู่ด้วยกัน เราเชื่อว่ามันมีวิธีแก้ปัญหาเยอะแยะมาก ครอบครัวมันคือการ compromise ต้องคุยกัน มาหาทางออกร่วมกัน แต่ถ้าสุดท้ายต้องเลือกจริงๆ เราเชื่อว่าต้องเอาตัวเองเป็นหลัก เพราะสุดท้ายคนที่ต้องอยู่กับตัวเรามากสุดคือตัวเราเอง

คุณคิดว่าหนังหรือละครส่งสารไปถึงคนดูได้มากแค่ไหน

สมัยก่อนเราไม่มีโซเชียลมีเดียให้ไปรู้ชีวิตคนอื่นได้มากเท่านี้ เลยมีละครทีวีนี่แหละที่ทำให้เราได้เห็นโลกภายนอก มันเลยเป็นสื่อที่ส่งผลต่อความคิดของเรา เป็นสิ่งที่เราเสพแล้วทำให้เราเห็นว่าที่บ้านอื่น ในโลกเขามีชุดความคิดแบบนี้

อย่างเช่น ในตอนเด็กที่พ่อแม่เราเลิกกัน คิดว่าวันนั้นความเข้าใจของเรามันเกิดเพราะเราดูหนังต่างประเทศ มันเลยเห็นความหลากหลายในความหมายของครอบครัวตั้งแต่เด็กๆ เหมือนเราเห็นตัวอย่างจากในหนังในซีรีส์มาแล้ว พอมาเจอเรื่องจริงเลยนึกออกว่ามันเป็นแบบนี้

ส่วนปัจจุบันวัยรุ่นไทยเขามีทางเลือกมากขึ้นที่จะเสพสื่อ แล้วสื่อไทยมันยังค่อนข้างจำกัด มันเลยทำให้ละครดูมีความน่าเชื่อถือน้อยลง บวกกับมีคอนเทนท์ให้ได้เลือกมากขึ้น ละครมันเริ่มมีผลน้อยลงกว่าแต่ก่อน

อย่างงานเราด้วยช่องทางออนไลน์ อาจจะทำให้เข้าถึงกลุ่มผู้ใหญ่ได้ยากขึ้น เพราะเขาไม่รู้จักแพลตฟอร์ม หรือภาพของ BNK48 ที่ดูวัยรุ่น แต่พอฉายออกไป ได้รับรีวิวที่ดี มันก็เกิดการบอกปากต่อปากนะ ซึ่งถ้าได้ฉายทีวีแต่แรกก็อาจจะเข้าถึงแมสได้มากขึ้น แต่ก็จะมีข้อจำกัดที่ต่างกัน เราก็ต้องเข้าใจธรรมชาติของวิธีสร้างคอนเทนท์ละครด้วย ละครออกแบบมาให้ดูไปด้วยทำอย่างอื่นไปด้วยได้ เปิดทีวีไปรีดผ้าไป เนื้อหากลับมาแล้วต่อติด คนทำต้องออกแบบคอนเทนท์ที่คนได้ยิน ซึ่งต่างจากหนังหรือซีรีส์ที่เน้นงานภาพหรือใส่สัญลักษณ์ลงไปได้มากกว่า แต่มันก็ค่อยๆ เปลี่ยนนะ อย่างล่าสุดซีรีส์ฉลาดเกมส์โกง ที่ฉายทีวีช่วงไพรมไทม์ แม่เราก็ติดมาก มันต้องมีตัวอย่างให้คนทำคอนเทนท์ละครเห็นว่าเนื้อหาอื่นๆ มันมีคนดู เพื่อให้เขากล้าที่จะผลิตอะไรที่หลากหลาย ซึ่งตอนนี้ก็คงเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน เราเชื่อว่าสุดท้ายแล้ว มันคือการเพิ่มตัวเลือกให้คนดูด้วย สร้างคอนเทนท์ที่มันหลากหลายและสร้างสรรค์

ภาพครอบครัวของแคลร์ในวันนี้เป็นแบบไหน

ครอบครัวที่ดีของเราคือครอบครัวที่เราเลือกเอง เรามองเพื่อนเป็นครอบครัวเหมือนกัน เพราะเพื่อนช่วยให้เราผ่านช่วงชีวิตที่หนักหนาหรือเศร้าใจมาได้ มันเลยแล้วแต่ว่าคนจะมองว่าใครเป็นครอบครัวของใคร คุณสามารถเลือกครอบครัวคุณได้ ครอบครัวไม่จำเป็นต้องเป็นพ่อแม่ลูกก็ได้ แต่เราต้องยอมรับว่าพ่อแม่ส่งผลต่อลูกจริงๆ 

อย่างที่มีคนพูดว่าบางทีพ่อแม่พูดหรือทำอะไรออกไปโดยที่ไม่ทันได้ไตร่ตรอง แต่คำนั้นกลายเป็นคำที่ลูกจำฝังใจไปจนวันตาย มันเลยเป็นความสัมพันธ์ที่ยากและซับซ้อนมาก เราเลยนับถือความเป็นพ่อเป็นแม่ของคนเสมอ มันยากมากนะที่จะเลี้ยงดูคนหนึ่งคนขึ้นมาในขณะที่เขาก็ยังต้องมีชีวิตในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ถ้าวันหนึ่งความสัมพันธ์นี้หรือครอบครัวมันพังพินาศ เราไม่อยากให้ไปตำหนิว่าใครพลาด 

อยากบอกอะไรกับผู้ปกครอง คุณพ่อคุณแม่ในวันนี้

อยากให้พ่อแม่เป็นเซฟโซนของลูก ตอนเด็กเรามีความกลัวว่าจะทำอะไรผิดตลอดเวลา เหมือนโตมาด้วยความรู้สึกว่าไม่สามารถพูดอะไรกับพ่อแม่ได้ขนาดนั้น เหมือนฝังหัวไปแล้วว่าพูดแล้วเขาจะโกรธเลยไม่อยากพูด พอโตมาแม่เราพยายามลดความดุและเป็นเพื่อนกับเรามากขึ้น แต่มันยากสำหรับเราแล้ว เพราะเราฝังหัวตั้งแต่เด็กไปแล้วว่าการคุยกันจะสร้างปัญหาตามมา 

เลยอยากให้พ่อแม่คุยกับลูกตั้งแต่เด็กๆ ทำให้เขารู้สึกว่าพ่อแม่เป็นเซฟโซนของเขาตั้งแต่ประถม

อยากชวนให้ทุกคนมาเปิดใจดูซีรีส์เรื่องนี้ และเปิดใจคุยกันเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยที่ชื่อ “ครอบครัว” เพื่อทุกคน  tv.line.me/oneyeartheseries

เพราะทุกคนรักกันนั่นแหละ เรื่องต่างๆ จึงเกิดขึ้น แต่ไม่ว่าเราจะเสียน้ำตา หรือเจ็บปวดแค่ไหน มันก็คือความเจ็บปวดที่สวยงาม และมั่นใจได้เสมอว่ายังมีคนรักเราอยู่จริงๆ บนโลกใบนี้นะ 

*ฉันคิดถึงความสุขของเธอก่อน มาจากเนื้อเพลง มปร. เพลงประกอบซีรีส์

ขอบคุณภาพจาก GDH 559

Tags:

มายาคติการเป็นแม่จิรัศยา วงษ์สุทินซีรีส์ศิลปิน

Author:

illustrator

ภาพพิมพ์ พิมมะรัตน์

เพิ่งค้นพบว่าเป็นคนชอบแมวแบบที่ชอบคนที่ชอบแมวมากกว่าชอบแมว (เอ๊ะ) มีความฝันว่าอยากเป็นแมวที่ได้อยู่ใกล้ๆคนที่ชอบ (จริงๆ ก็แค่อยากมีมนุดเป็นทาสและนอนทั้งวันได้แบบไม่รู้สึกผิดน่ะแหละ)

Photographer:

illustrator

ณัฐสุชา เลิศวัฒนนนท์

Related Posts

  • Book
    ธอโร กับหัวหน้าฮง (และขงจื๊อ)

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Dear ParentsMovie
    Ginny & Georgia : คนรักใหม่ของแม่ กับ การมีหรือไม่มีสิทธิ์ตัดสินใจชีวิตของเรา

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • อ่านความรู้จากบ้านอื่น
    เอกชัย กล่อมเจริญ: คุณพ่อช่างไม้ เลี้ยงเดี่ยว พาลูกเที่ยวและสอนให้ลงมือทำ

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Family PsychologyMovie
    SKY CASTLE: จากเด็กผู้เอื้อมมือแตะแผ่นฟ้า สู่เบื้องหลัง ‘ออมม่า’ ผู้ไม่แพ้

    เรื่อง

  • Voice of New Gen
    รักที่จะรักหลากหลาย: นักเขียนรางวัลซีไรต์กับนิยายYของเธอ

    เรื่อง ชลิตา สุนันทาภรณ์

SISAKET ASTECS: กรอบหลักสูตรฐานสมรรถนะ หมุดหมายการสร้างเมืองและคนศรีสะเกษในระยะ 10 ปี
Education trend
1 October 2020

SISAKET ASTECS: กรอบหลักสูตรฐานสมรรถนะ หมุดหมายการสร้างเมืองและคนศรีสะเกษในระยะ 10 ปี

เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • หลักสูตรการศึกษาที่ออกแบบโดยคนในพื้นที่ ต้นตั้งจากฐานทุนที่จังหวัดมี ‘เกษตรกรรม กีฬา ท่องเที่ยว นวัตกร วัฒนธรรม และจิตวิญญาณ’ ออกมาเป็น ASTECS เครื่องมือสำหรับสร้างเมืองและคนศรีสะเกษในระยะ 10 ปี
  • สิ่งหนึ่งที่เด็กๆ จำเป็นต้องมี คือ ทักษะที่จะไปต่อยอดเป็นอาชีพในอนาคต แต่การสร้างทักษะต้องทำอย่างไร? บทความนี้จะผ่านไปเจาะลึกหลักสูตร ASTECS และการติดตั้งทักษะผ่านการเรียนรู้แบบ active learning ให้นักเรียนเป็นคนออกแบบแผนการเรียนด้วยตัวเอง เป็นความรู้นอกตำราที่ได้จากการพูดคุยและลงมือปฎิบัติ

“ลองสังเกตพวกเมืองหลวง หรือเมืองท่องเที่ยว เขาใช้หลักการอะไรในการตั้ง พวกเขาจำเป็นต้องมีภูเขาใหญ่ๆ ไหม? หรือว่าต้องมีแม่น้ำสวยๆ ไหม? จริงๆ ไม่เลย ดูอย่างญี่ปุ่นเขาเป็นประเทศที่เก่งมาก ทำให้คนรู้จักทุกจังหวัดและอยากไปเที่ยว เพราะว่าเขาพยายามสร้างจากฐานทุนที่แต่ละที่มี ให้เกิดเป็นความเข้มแข็งของเขา

“ที่ตั้งไม่ใช่สิ่งที่จะกำหนดตัวตนของเรา ที่ตั้งเป็นเพียงแค่พื้นที่ที่เราอยู่ แต่คนที่อยู่ต่างหากที่จะกำหนดว่าเราเป็นคนแบบไหน”

ลลนา ศรีคราม

ประโยคจากลลนา ศรีคราม เจ้าของไร่ทอง ออแกนิกส์ ฟาร์ม ขึ้นพูดบนเวทีภายในงาน TEP FORUM SISAKET: พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยพลังคนศรีสะเกษ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 25 – 26 กันยายน 2563 งานที่เปิดพื้นที่นำเสนอและแลกเปลี่ยนนวัตกรรมการศึกษาของคนศรีสะเกษ

ลลนาขึ้นพูดในฐานะที่เธอเป็นตัวแทน A ที่มาจาก ORGANIC AGRICULTURE เกษตรอินทรีย์ก้าวหน้า อันเป็นหนึ่งในเป้าหมายของกรอบหลักสูตรการศึกษาของจังหวัดศรีสะเกษ หรือ SISAKET ASTECS หัวใจสำคัญของงาน TEP FORUM SISAKET ครั้งนี้ SISAKET ASTECS คือเครื่องชิ้นใหม่สำหรับการผลิตคนและเมืองศรีสะเกษในอนาคต กรอบหลักสูตรที่ได้จากการร่วมกันออกแบบของคนในจังหวัด

SISAKET ASTECS การออกแบบการเรียนรู้ที่ได้จากฐานทุนและคนศรีสะเกษ

เสนีย์ เรืองฤทธิ์ราวี

เสนีย์ เรืองฤทธิ์ราวี ผู้อำนวยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 หนึ่งในผู้ที่จัดทำหลักสูตรดังกล่าว อธิบายว่า เมื่อก่อนเราผลิตคนไปตามวิธีที่คิดว่าดีที่สุด แต่พอสำรวจความคิดเห็นของคนอื่นๆ ในจังหวัด พวกเขากลับบอกว่าคนที่เราผลิตไม่ตรงตามความต้องการของเขา กลายเป็นโจทย์ว่าเราจะผลิตคนรุ่นใหม่ของศรีสะเกษอย่างไรดี โดยเก็บข้อมูลความคิดเห็นคนศรีสะเกษ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน รวมถึงสำรวจต้นทุนที่จังหวัดศรีสะเกษมี ออกมาเป็น SISAKET ASTECS

  • ORGANIC AGRICULTURE เกษตรอินทรีย์ก้าวหน้า
  • WORLD CLASS SPORT กีฬาก้าวไกล
  • CREATIVE TOURISM ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
  • INNOVATIVE ENTREPRENEUR นวัตกรประกอบการ
  • CULTURE DIVERSITY ร่ำรวยวัฒนธรรม
  • SISAKET SPIRIT จิตวิญญาณศรีสะเกษ

“ฐานทุนของศรีสะเกษ เรามีเรื่องเกษตกรรมเป็นหลัก ได้รับประกาศให้เป็น Sport city เพราะคนศรีสะเกษชอบกีฬามากโดยเฉพาะฟุตบอล มีฐานทุนทางวัฒนธรรมของคนจาก 4 เผ่า ส่วย ลาว เขมร และเยอ เรามีการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเกษตร มีคนศรีสะเกษที่มีความรู้ความสามารถเยอะ จากฐานทุนพวกนี้เราก็มากำหนดทิศทางคนและเมืองศรีสะเกษ เป็นอาชีพและสมรรถนะที่คนศรีสะเกษควรมี แต่จะทำอย่างไรให้ไปถึงตรงนั้น ก็คือการสร้างหลักสูตรในโรงเรียน” ผอ.เสนีย์ กล่าว

ซึ่งตัวหลักสูตร ASTECS สอดคล้องกับหลักสูตรฐานสมรรถนะที่กระทรวงศึกษาธิการเตรียมใช้เป็นหลักสูตรแกนหลักของการศึกษาไทยในปี 2565 เปลี่ยนจากการเรียนที่โฟกัสการท่องจำตำรา เป็นให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการลงมือปฎิบัติ สร้างทักษะ สมรรถนะ โดยหลักสูตรนี้จะเริ่มจากจังหวัดนำร่องก่อน 6 จังหวัด ได้แก่จังหวัดระยอง ศรีสะเกษ สตูล เชียงใหม่ กาญจนบุรี และปัตตานี  

สมรรถนะคืออะไร? ผอ.เสนีย์ อธิบายว่า สมรรถนะคือความสามารถต่างๆ ของเด็กที่พัฒนาตามระดับชั้น โดยเราจะตั้งเป้าหมายไว้ว่าพวกเขาควรมีสมรรถนะด้านใด เช่น สมรรถนะด้านการสื่อสาร ถ้าเป็นเด็กเล็กระดับการสื่อสารเขาจะทำได้เท่านี้ เมื่อเด็กโตขึ้นสมรรถนะก็เพิ่มขึ้น 

“หลักสูตรสมรรถนะแทนที่เราจะประเมินด้วยข้อสอบแบบเก่า เราก็ประเมินเขาโดยวัดจากเกณฑ์พฤติกรรมว่านักเรียนมีความรู้ มีทักษะสามารถทำเรื่องนั้นๆ ได้หรือไม่ได้ เกณฑ์สมรรถนะที่เราตั้งก็มาจากตัว ASTECS เอามาประยุกต์เข้ากับหลักสูตรฐานสมรรถนะที่กระทรวงศึกษาธิการตั้งไว้ ซึ่งโรงเรียนไม่จำเป็นต้องทำให้เด็กมีครบทุกตัว เลือกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ปรับให้เข้ากับพื้นฐานที่โรงเรียนมี”

ในการสร้างสมรรถนะ ผอ.เสนีย์กล่าวว่า ต้องใช้วิธีการเรียนรู้แบบ active learning ให้นักเรียนเป็นคนออกแบบแผนการเรียนด้วยตัวเอง ความรู้นอกตำราที่ได้จากการคุยกัน ลงมือปฎิบัติ เป็นความรู้ที่แท้จริงเกิดในตัวนักเรียน

“วิธีการเรียนรู้ที่ศรีสะเกษใช้อยู่ก็จะมี PBL (Problem-based Learning) BBL (Brain-based Learning) RBL (Research-based Learning) เป็นต้น พวกนี้เป็นเหมือนรถยนต์ที่โรงเรียนขับอยู่แล้ว แต่ว่าโรงเรียนจะขับพาเด็กไปไหนละ? ASTECS ก็คือเป้าหมายที่เราตั้งไว้ให้เขา ประยุกต์ 6 ตัวนี้ไปกับหลักสูตรที่โรงเรียนใช้ เช่น ถ้าเด็กอยากเป็นเกษตรอินทรีย์ก้าวหน้า เขาต้องมีทักษะอย่างไรจึงจะถือว่าเขาสามารถทำเกษตรก้าวหน้าได้” ผอ. เสนีย์ กล่าว

ฟังดูเหมือนหลักสูตรนี้เป็นการตีกรอบอาชีพให้กับเด็ก ผอ.เสนีย์บอกว่า หัวใจของ ASTECS คือ การติดตั้งทักษะสมรรถนะให้คนรุ่นใหม่ อาชีพเป็นเพียงยอดภูเขา แต่สิ่งสำคัญคือการสร้างพื้นฐานให้เด็ก 

“ทักษะหนึ่งที่คิดว่าเด็กควรมี คือ นักจัดการ หรือที่เราใช้คำว่านวัตกรประกอบการ เขาจะต้องมีกระบวนการคิดโดยใช้ข้อมูลเป็นฐานในการออกแบบและพัฒนา รู้วิธีนำข้อมูลเข้ามา สังเคราะห์ คัดเลือกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของข้อมูล ต่อยอดเข้าสู่กระบวนการจัดการ เช่น คำนวณต้นทุน วัตถุดิบ ค่าแรง ไม่จำเป็นว่าทักษะนี้ใช้ได้เฉพาะการทำอาชีพธุรกิจเท่านั้น เขาสามารถนำไปต่อยอดทำอย่างอื่นได้ เช่น ทำงานมีรายได้ จะจัดสรรเงินตรงนี้ยังไงให้พอกับการดำรงชีวิต”

แผนนี้ถูกวางไว้เป็นระยะ 10 ปี ถือเป็นระยะทางที่ยาวไกล และในยุค Disruption เช่นนี้ ซึ่งผอ.เสนีย์บอกว่า ตัวเองไม่กลัวเลย เพราะเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเสมอ แผนที่ไว้วางไม่ใช่การวางแบบตายตัว สามารถทบทวนเปลี่ยนได้ตลอด 

“ถ้าตายตัวเราก็ตายเด็กก็ตาย เหมือนฆ่าเขาโดยไม่ได้ใช้อาวุธอะไร ไม่ให้เขาได้เรียนในสิ่งที่เขาควรเรียน เป็นการทำร้ายเด็กอย่างหนึ่งนะ” ผอ.เสนีย์ กล่าว

วิเชียร ไชยโชติ

วิเชียร ไชยโชติ ครูสอนวิชาเคมีจากโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม หนึ่งในโรงเรียนที่ได้รับเลือกให้เป็นโรงเรียนนำร่องใช้หลักสูตรสมรรถนะ เขาเล่าว่า ปัจจุบันโรงเรียนมีวิชา ‘เพาะพันธุ์ปัญญา’ สามารถตอบโจทย์หลักสูตรสมรรถนะและ ASTECS

“โรงเรียนเรามีวิชาเพาะพันธุ์ปัญญา ใช้เรียนมา 8 ปีละ เป็นวิชาสอนทำโครงงาน เราจะใช้โครงงานฐานวิจัยเป็นตัวเดินเรื่องการเรียนการสอน ไม่เน้นเนื้อหา เน้นให้เด็กลงมือปฎิบัติ เพราะเนื้อหาของเด็กจะเกิดจากการรีวิว ลงพื้นที่ ศึกษาปัญหาในชุมชนในโรงเรียน เนื้อหาแต่ละเทอมไม่เหมือนกัน เช่น เทอมนี้เด็กอยากได้เนื้อหาเกี่ยวกับปาลม์ ซึ่งไม่เกี่ยวกับภาคอีสาน แต่เด็กอยากเรียน ครูก็ต้องหาพื้นที่ที่มีปาลม์ ไปเรียนรู้กับเด็กๆ

“เนื้อหาส่วนใหญ่ที่เด็กเราเรียนจะเกี่ยวกับเกษตรเพราะว่าพื้นถิ่นของเด็กส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวของเขา เราพยายามไม่สอนเรื่องที่ไกลตัวเด็ก เน้นให้เขาสามารถเอาความรู้ไปใช้จริงได้ เราไม่รู้หรอกว่าเขาจะจบไปเป็นอะไร แต่ให้ความรู้เกษตรเป็นพื้นฐานเขา หากเขาต้องออกเรียนกลางคัน หรือเรียนจบปริญญาตรีแล้วหางานทำไม่ได้ ก็เอาความรู้เกษตรไปต่อยอดได้

“การเรียนแบบนี้ ความรู้หรือทักษะที่ได้มันเข้าไปอยู่ในตัวนักเรียนจริงๆ เห็นผลชัดเจน หนึ่ง – ได้ทักษะการพูด สอง – ความคิดกล้าแสดงออก สาม – รู้จักทำงานเป็นระบบมากขึ้น รู้ว่าต้องทำอะไรตามหลัง มันก็ส่งผลกับตัวเขานะ เช่น ถ้ามีการบ้านก็สามารถวางแผนว่าใช้เวลาทำกี่วันเสร็จ

“ตัว ASTECS เราว่ามันตรงเป้าดี มองเห็นว่าอีก 10 ปีหน้าเราจะสร้างให้เด็กเป็นคนแบบไหน ปกติเราสอนเขาจบก็ไม่รู้เขาจะไปเป็นอะไรต่อ ซึ่งในอีก 10 ปีข้างหน้ามันก็อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง แต่มีบางอาชีพที่เราสามารถคาดคะเนได้ เช่น ตอนนี้ระบบขนส่งสำคัญมาก ที่โรงเรียนมีรถเคอร์รี่วิ่งเข้า-ออกวันละ 3 – 4 คัน อีก 3 – 4 ปีข้างหน้า อาชีพนี้ก็อาจจะยังโตอยู่ก็ได้ หรือว่าอาชีพที่เกี่ยวกับหุ่นยนต์หรือเทคโนโลยีที่มันล้ำสมัย เด็กเราต้องได้เรียนรู้ทักษะพวกนี้ด้วย” วิเชียร กล่าว

พิรัล วีสมหมาย

พิรัล วีสมหมาย เจ้าของร้านบอร์ดเกม และตัวแทนภาคประชาชนที่เข้าไปทำงานหลักสูตร ASTECS ในฐานะกรรมการสร้างการมีส่วนร่วมและการรับรู้ พิรัลมองว่าหลักสูตรนี้จะช่วยสร้างเมืองและอาชีพรองรับคนรุ่นใหม่ที่อยากกลับบ้าน 

“พิรัลสนใจเรื่องการกลับบ้านของคน คือพอเราไปสำรวจความคิดเห็นคนตอนทำหลักสูตร ASTECS เราพบว่าเพื่อนเราอยากกลับบ้านเยอะมาก แต่กลับไม่ได้ เพราะไม่มีอาชีพรองรับ มีเพื่อนพิรัลคนหนึ่งเรียนจบทางด้านภาษา ตอนนี้เป็นล่ามภาษาญี่ปุ่น ถ้ากลับมาศรีสะเกษจะมีอาชีพอะไรให้เขาละ? มันก็เลยยากที่จะให้เขากลับมา 

“เมื่อ 10 ปีที่แล้ว การกลับบ้านไม่กลับมาทำงานรับราชการ ก็ทำงานในหน่วยงานต่างๆ หรือไม่ก็ช่วยงานที่บ้าน ทุกวันนี้ยังเป็นแบบนี้อยู่ ค่อนข้างลำบาก คนที่ตัดสินใจกลับมาอยู่บ้านก็ต้องดิ้นรนเยอะ”

ปราณี ระงับภัย

ปราณี ระงับภัย ในฐานะที่ทำงานเป็นโคชพัฒนาเยาวชน active citizen จังหวัดศรีสะเกษ และเป็นอนุกรรมการสร้างการมีส่วนร่วมของ ASTECS เธอมองว่า หลักสูตร ASTECS จะช่วยให้เด็กสามารถออกแบบการเรียนรู้ได้เอง ได้เรียนสิ่งที่ตัวเองถนัด เกิดเป็นทักษะชีวิต ช่วยลดจำนวนเด็กที่จะถูกผลักออกจากระบบการศึกษา

ปราณีเสริมต่อว่า สิ่งที่หลักสูตรควรเพิ่ม คือ เน้นให้ครูเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เธอมองว่า หากครูไม่เปลี่ยนวิธีคิด แม้หลักสูตรจะดีแค่ไหนก็อาจทำไม่สำเร็จ ควรมีหลักสูตรสำหรับครูด้วยเฉพาะ หากเราบอกว่าอยากได้เด็กที่รู้ทักษะชีวิต สามารถนำไปแปลงเป็นอาชีพได้ สามารถคิดวิเคราะห์ เชื่อมโยง แล้วครูละ? คนที่จะมาสอนเด็กเรื่องพวกนี้เขาควรเป็นแบบไหน ครูแบบไหนที่ศรีสะเกษอยากได้? 

“เด็กศรีสะเกษมีความหลากหลาย ถ้าเป็นเด็กเก่งก็เก่งไปเลย แต่ถ้าเป็นเด็กที่ไม่เก่งก็มีโอกาสหลุดออกจากระบบการศึกษา ยังมีความเหลื่อมล้ำสำหรับพี่ที่มองเห็นชัดมาก ทั้งการเข้าถึงการศึกษา การเข้าถึงการเรียนรู้ จะทำอย่างไรให้เด็กๆ กลุ่มนี้มีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้เหมือนคนอื่นๆ 

“ตัว ASTECS เด็กสามารถออกแบบการเรียนรู้เองได้ในห้องเรียน ถ้าคนที่เอาหลักสูตรไปใช้แล้วเข้าใจจริงๆ พี่ว่าจะลดจำนวนเด็กที่ออกจากระบบ เพราะเขาสามารถเลือกได้เลยว่าเขาอยากเรียนด้วยวิธีไหน ใช้ระบบแบบไหนเรียน เด็กมีสิทธิที่จะออกแบบการเรียนรู้ร่วมกับครู โดยที่ครูเปิดใจรับฟังเขา” ปราณี ทิ้งท้าย

Tags:

TEP ForumหลักสูตรฐานสมรรถนะASTECSศรีสะเกษ21st Century skillsพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

Author:

illustrator

เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

เพิ่งพ้นรั้วมหาวิทยาลัยจากคณะแห่งการเขียนและสื่อมวลชน แม้ทำงานแรกในฐานะกองบรรณาธิการ The Potential หากขอบเขตความสนใจขยายไปเรื่องเพศ สิ่งแวดล้อม และผู้ลี้ภัย แต่ที่เป็นแหล่งความรู้วัยเด็กจริงๆ คือซีรีส์แวมไพร์, ฟิฟตี้เชดส์ ออฟ จุดจุดจุด และ ยังมุฟอรจาก Queer as folk ไม่ได้

Related Posts

  • Creative learning
    ‘ใบงานบูรณาการ’ โรงเรียนบ้านเขาจีน : เมื่อครูช่วยกันออกแบบการเรียนรู้ร่วมในโจทย์เดียว ลดภาระผู้เรียนและผู้ปกครอง

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • Social Issues
    ปลดล็อกระบบการศึกษาไทย ปฏิรูปการเรียนรู้บนฐานสมรรถนะ : เสียงสะท้อนจากผู้ทรงคุณวุฒิ

    เรื่อง นฤมล ทับปาน

  • Creative learning21st Century skills
    วิชาสตูดิโอและภาคสนามออนไลน์ : เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เด็กออกแบบเองได้ กับโรงเรียนมัธยมรุ่งอรุณ

    เรื่อง ปริสุทธิ์

  • Education trend
    พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ: คุณภาพการศึกษาที่คนศรีสะเกษออกแบบเอง

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Creative learning
    โรงเรียนบ้านโนนแสนคำฯ พลิกคุณภาพโรงเรียนด้วยการสอนคิดและฝึกฝีมือคุณครู

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา ภาพ ศรุตยา ทองขะโชค

How I met your mother: เมื่อต้องตกลงกันว่าจะส่งต่อความเชื่อของตัวเองสู่ลูก ดีรึเปล่า?
Dear ParentsMovie
1 October 2020

How I met your mother: เมื่อต้องตกลงกันว่าจะส่งต่อความเชื่อของตัวเองสู่ลูก ดีรึเปล่า?

เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • How I met your mother ซีรีส์ที่ว่าด้วยเรื่องราวของ ‘เท็ด’ ชายหนุ่มที่เล่าเรื่องให้ลูกๆ ของเค้าฟังถึงการเดินทางในชีวิตกว่าจะมาเจอแม่ของลูกที่เค้าเฝ้ารอและตามหามาตลอดหลายปี แล้วระหว่างทางเค้าก็ได้เจอกับสาวมากหน้าหลายตา เป็นเรื่องราวการเติบโตที่วุ่นวายของเท็ดกับเพื่อนสนิทอีกสี่คนที่อาศัยอยู่ในอพาร์ทเมนท์เล็กๆ ในนิวยอร์ค
  • แม้จะเป็นคนครอบครัวเดียวกัน แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อสิ่งเดียวกัน สิ่งสำคัญคือเรามานั่งคุยกันนะ ว่าเธอเชื่อยังไง เราเชื่อแบบไหน ถ้ายอมรับกันและกันได้ ก็จะเข้าใจตัวตนกันมากขึ้น ความสัมพันธ์มันก็ไปต่อได้แบบให้เกียรติความคิดอีกฝ่าย
"ขณะที่มาร์แชลและลิลลี่กำลังจัดห้องให้กับลูกที่กำลังจะเกิดของพวกเค้า ลิลลี่ก็ไปเจอหนังสือเกี่ยวกับเรื่องเร้นลับมหัศจรรย์ของมาร์แชลแล้วเกิดคำถามว่าทำไมหนังสือเล่มนี้ถึงมาอยู่ในห้องของลูก มาร์แชลเลยบอกว่า เค้าอยากอ่านหนังสือเกี่ยวกับความเชื่อลึกลับแปลกๆ ให้ลูกฟังก่อนนอน แต่ลิลลี่บอกกับมาร์แชลตามตรงว่า เธอไม่ค่อยเชื่อเรื่องพวกนี้"

Tags:

แบบแผนทางความสัมพันธ์ซีรีส์พิมพ์พาพ์

Author:

illustrator

พิมพ์พาพ์

เป็นลูกคนเดียวจากแม่เลี้ยงเดี่ยว เรียกตัวเองว่านักวาดภาพประกอบที่ชอบวาดคนหน้าแมว เผลอเสียน้ำตาให้กับหนังครอบครัวอยู่บ่อยๆ

Related Posts

  • Myth/Life/Crisis
    ฟังเสียงผีแมรี่และหลากหลายบุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายใน

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Movie
    The Big Bang Theory (2007-2019) อย่าใจร้ายกับตัวเองนักเลย เพราะไม่ว่าใครก็สมควรได้รับการปฏิบัติอย่างมนุษย์ที่มีหัวใจ

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Movie
    The Queen’s Gambit (2020) นิยาม ‘ครอบครัว’ ที่ไม่จำเป็นต้องสายเลือดเดียวกัน ขอแค่เป็นคนที่เราต้องการมากที่สุด

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • MovieDear Parents
    Never Have I Ever แม้ไม่ใช้ชีวิตตามความคาดหวังของแม่ แต่ยังอยากได้ยิน ‘แม่ภูมิใจในตัวลูกนะ’

    เรื่องและภาพ พิมพ์พาพ์

  • Dear ParentsMovie
    Whisper of the heart : เมื่อลูกมีความฝันต่างจากคนอื่น อยากให้ครอบครัวถามไถ่ รับฟัง และเชื่อใจ

    เรื่องและภาพ พิมพ์พาพ์

Posts navigation

Newer posts

Recent Posts

  • ‘นิทานปากเปล่า’ เล่าความรักให้ลูกฟัง สร้างจินตนาการ สานสัมพันธ์ในครอบครัว: แม่จาว – วัชราวรรณ เพชรบุล
  • ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP4: การซึมซับและปรับตัว 
  • เปลี่ยนระบบนิเวศโรงเรียนเป็นสนามพลังบวก ยกระดับเด็กด้อยโอกาสสู่เด็กได้โอกาส: ผอ.วรรณรักษ์ หงษ์ทอง
  • F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง
  • Myth Universe : จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์สู่ Edutainment ความรู้นอกห้องเรียนที่เริ่มต้นจากคำถามและการเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง

Recent Comments

  • Existential crisis: วิกฤตชีวิตที่มาพร้อมกับคำถาม “แล้วฉันอยู่เพื่ออะไร” – EducationNet on Midlife Crisis: เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ทำไมใจถึงวิกฤต
  • The Psychological Wounds of Winnie the Pooh and His Friends: Exploring Characters from a Classic Literary Work - World Today News on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • Exploring the Psychological Wounds of Winnie the Pooh and Friends: A Fascinating Analysis - Archyde on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • 6 วิธีฝึกสอนให้ลูกเป็นเด็กมี Critical Thinking ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต – โรงเรียนมารีวิทยา ป on CRITICAL THINKING: สอนเด็กให้รู้คิด ผิดหรือถูกก็ใช้วิจารณญาณเป็น
  • Best รูป พลเมือง ดี Update New – Haiduongcompany.com on สอนและสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เรื่องไม่ง่ายที่ครูทำได้

Archives

  • July 2025
  • June 2025
  • May 2025
  • April 2025
  • March 2025
  • February 2025
  • January 2025
  • December 2024
  • November 2024
  • October 2024
  • September 2024
  • August 2024
  • July 2024
  • June 2024
  • May 2024
  • April 2024
  • March 2024
  • February 2024
  • January 2024
  • December 2023
  • November 2023
  • October 2023
  • September 2023
  • August 2023
  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • October 2021
  • September 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • April 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • November 2019
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017

Categories

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Uncategorized
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel