ข้อมูลจากการศึกษาโดย สมาคมสุขภาพ การวิจัยและสวัสดิการแห่งอินเดีย (Indian Association of Health, Research and Welfare) เผยแพร่ในวารสารจิตวิทยาเชิงบวกของอินเดีย (Indian Journal of Positive Psychology) บอกว่า การสร้างวินัยเชิงบวกควรเป็นเรื่องของการส่งเสริม ให้กำลังใจ และสนับสนุนให้ทำ มากกว่าการห้าม
Thakur, Kalpna, (2017). Fostering a positive environment in schools using positive discipline. Summer-Hill Shimla: Department of Psychology, Himachal Pradesh University
The 12 Senses พัฒนาการการเติบโตในทางการแพทย์มนุษยปรัชญา กระบวนการสร้างประสบการณ์ผ่านสัมผัสของเด็กแต่ละช่วงวัยแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ Sense of Body ในช่วงวัย 0-7 ปี, Sense of Soul ในช่วงวัย 7-14 ปี และ Sense of Spirit ในช่วงวัย 14-21 ปี
คำถามที่เราได้ยินบ่อยๆ ว่า ทำไมเด็กรุ่นใหม่จึงไม่รู้จักกาลเทศะ, ไม่เห็นอกเห็นใจ, ไม่มี common sense ทั้งหมดนี้มีที่มาตั้งแต่แรกเกิดและอธิบายได้ผ่าน The 12 Senses
ผัสสะที่สาม – Sense of Movement พัฒนาการที่สำคัญในช่วงผัสสะนี้คือช่วงที่เด็กเริ่มอยากจะเคลื่อนไหว การตั้งไข่ หัดคลาน หัดเดิน คุณหมอย้ำว่าพัฒนาการในช่วงนี้ไม่ใช่แค่ ‘การเดินได้เร็ว’ แต่คือการเห็นภาพ อยากจะยืดเหยียดแขนออกไปจับต้องสิ่งที่อยู่ตรงหน้า เป็นการเคลื่อนไหวที่เชื่อมโยงกับความปรารถนาของตัวเองและการควบคุมจังหวะชีวิต
Senses of Touch เชื่อมโยงกับความรู้สึกมั่นคง (trust) ปลอดภัยต่อโลก
Senses of Life เชื่อมโยงกับการจัดจังหวะ (rhythm) และการมีสุขภาพดีในระยะยาว
Sense of Movement เชื่อมโยงกับการมองเห็น ความปรารถนา เจตจำนง และการควบคุมจังหวะชีวิต
Sense of Balance เชื่อมโยงกับการมองเห็นโลก ทักษะการพูดและการฟัง
Sense of Soul สร้างประสบการณ์ของเด็กในช่วงวัย 7-14 ปี
4 เซนส์ต่อมา คือ Sense of Smell, of Taste, of Sight และ of Warmth ผัสสะเหล่านี้จะถูกพัฒนาอย่างยิ่งยวดในช่วงปฐมวัย จากที่เคยเล่นน้ำกลางแดดได้หลายชั่วโมง พอเข้าช่วงประถมก็เริ่มบ่นร้อนหนาวหนักเป็นพิเศษ จากที่เคยหยิบของตกพื้นมากิน ในวัยนี้แค่ปอกกล้วยแล้วขั้วดำ ก็เริ่มร้องยี้ไม่ขอจับอีกต่อไป
ผัสสะที่ห้า – Sense of Smell หรือการดมกลิ่น ในทางการแพทย์อธิบายว่าการดมกลิ่นมีความเชื่อมโยงสำคัญกับประสาทสมองทำให้แยกกลิ่นออกเป็นประเภทๆ ได้ ในอีกมุมหนึ่ง กลิ่นยังบอก เตือน หรือให้สัญญาณต่อชีวิตบางอย่าง จำแนกว่าสิ่งที่ดี หรือ อันตราย ร่างกายควรรับเข้าไปหรือไม่
กล่าวโดยสรุป 4 ผัสสะใน Sense of Soul นี้ ไม่ใช่การแค่การรับรู้ในเชิงกายภาพ แต่เชื่อมโยงกับการเติบโตในการเป็นมนุษย์อีกด้วย คือ
Sense of Smell เชื่อมโยงกับ การแยกแยะสิ่งที่ดีและผิดปกติ
Sense of Taste เชื่อมโยงกับ รสนิยมในการใช้ชีวิต
Sense of Sight เชื่อมโยงกับ การไม่ตัดสินจากภายนอก
Sense of Warmth เชื่อมโยงกับความรู้สึก ‘อบอุ่น’
Sense of Spirit สร้างประสบการณ์ของเด็กในช่วงวัย 14-21 ปี
4 ผัสสะสุดท้าย คือหมวดจิตใจภายใน คือ Sense of Hearing, of Speech, of Thought และ of Self ความน่าสนใจของเซนส์ในกลุ่มนี้คือ แต่ละเซนส์จะโยงกลับไปที่พัฒนาการทางผัสสะใน 4 เซนส์แรก เป็นการย้ำเตือนว่า หากพัฒนาการในช่วงแรกไม่ดี หรือประสบการณ์ในช่วงแรกไม่ถูกเติมเต็ม ยิ่งมีผลต่อพัฒนาการทางความคิดในตอนโต
ผัสสะที่เก้า – Sense of Hearing ไม่ใช่การได้ยินในเชิงสู่รู้อยากรู้เรื่องของคนอื่น แต่เป็นการเปิดให้อะไรบางอย่างเข้ามาในตัวเรา และวิวัฒนาการหูมนุษย์ยังถอยห่างจากอวัยวะภายในเชิงปฏิบัติการหรือซอฟต์แวร์ ออกมาอยู่สูงขึ้นและแยกจากอวัยวะอื่น นั่นจึงทำให้เราได้ยินเสียงที่ละเมียดละไม ประณีต และสุนทรียะขึ้น มากกว่านั้นคือ ไม่ใช่การได้ยิน แต่ยังเกี่ยวเนื่องกับการทรงตัว หรือ Sense of Balance ด้วย
“ที่ยกตัวอย่างในช่วงแรกว่า ถ้าเราไปเร่งหรือช่วยให้เด็กยืนเร็วเกินไป หรือไม่มี Sense of Balance สิ่งที่ตามมาคือ เขาจะเสียจังหวะในการอ่านด้วย เช่น ‘ไก่ จิก เด็ก ตาย เด็ก ตาย บน ปาก โอ่ง’ จังหวะการอ่านเขาอาจเสีย หรือความคิดในหัวไม่ flow อ่านไม่แตก เวลาอ่านต้องเริ่มจากการลดรูป กอ-ไอ-ไก-ไม้เอก-ไก่ เพราะอย่างนั้นจะกลับไปแก้อะไร? ไปหัดขี่จักรยาน (หัวเราะ) แต่มากกว่านั้น เวลาอ่านหรือพูด เราต้องเห็นภาพคำศัพท์ในหัว ต้องเชื่อมคำให้เป็นประโยค ต้องเกิด flow ในหัว ที่เกิดเป็นอีกทักษะที่เรียกว่า Sense of Language”
ผัสสะที่สิบ – Sense of Language ถ้าการได้ยิน เชื่อมกลับไปที่ทักษะการทรงตัว ทักษะด้านภาษา ก็เชื่อมกลับไปที่การเคลื่อนไหว หรือ Sense of Movement เช่นกัน
ผัสสะที่สิบเอ็ด – Sense of Thought ไม่ใช่แค่ทักษะทางภาษาในเชิง พูดได้หรือไม่ได้ แต่เป็นเชิงการตีความระหว่างบรรทัด หรือ read between the line ซึ่งเชื่อมกลับไปยัง Sense of Life ในแง่การเข้าใจ ‘ชีวิต’ อีกด้วย
“ถ้าเรามี Sense of Thought แน่นอนเรามี IQ สูง แต่สิ่งที่อยากได้มากกว่าคือความเป็นคน และทั้งหมดไม่ได้เกิดจากการนั่งเรียนในห้อง แต่เกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ทุกคน
ความปลอดภัยและวินัย สิ่งที่พ่อแม่เตือนได้เรื่องการใช้ Social Media
คนในยุคปัจจุบัน ใช้โซเชียลมีเดียเพราะตนเองอยากรู้ข้อมูลข่าวสารรอบๆ ตัวอยู่แล้ว ซึ่งข้อมูลที่เราเสพก็มักเป็นข้อมูลที่เราชอบและสนใจ การใช้เพื่อติดตามดารานักร้องก็เป็นเรื่องที่เห็นได้ทั่วๆ ไปในโลกโซเชียล สิ่งที่ควรตระหนักมากที่สุด 2 เรื่อง คือ ความปลอดภัยในการใช้งานและวินัยในการใช้งาน social media ซึ่งพ่อแม่ควรให้ความสำคัญกับทั้งสองเรื่องนี้ ตระหนักและพูดคุยเรื่องนี้กับลูกด้วย
ความปลอดภัยในการใช้งาน social media นั้นสำคัญมาก เช่น ข่าวสารปลอมต่างๆ อาจทำให้เกิดการรับรู้ผิดๆ และลิงค์ข่าวบางอย่างอาจนำไปสู่ไวรัส หรือ การไตร่ตรองก่อนการพิมพ์ข้อความต่างๆ ก็สำคัญมาก เพราะการชอบหรือการเกลียดนักร้องเกาหลีสักคน ย่อมมีคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับเรา ถ้าความเห็นของเราถูกเอาไปประจานไปล่าแม่มดคงไม่ดีต่อตัวเราแน่ๆ
วินัยในการใช้งาน social media ก็สำคัญไม่แพ้กัน ควรพูดคุยกับลูกถึงระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้งาน จะทำอย่างไรให้การใช้งานนั้นไม่รบกวนการเรียน การทำงาน และการพักผ่อนจนเสียสุขภาพ ไม่ใช่แต่เรื่องดารานักร้องอย่างเดียว ไม่ว่าจะใช้งานกับเรื่องอะไรก็ต้องมีวินัยและความปลอดภัยควบคู่ด้วยเสมอ
ศิลปศาสตร์บัณฑิต และมนุษย์ฟรีแลนซ์ที่ทำงานเขียน ถ่ายรูป สัมภาษณ์ แปลงาน ล่าม ไปจนถึงครูสอนพิเศษเด็กชั้นประถม ของสะสมที่ชอบมากๆ คือถุงเท้าและผ้าลายดอก เขียนเรื่องเหนือจริงด้วยความรู้สึกจริงๆ ออกเป็นหนังสือ 'Sad at first sight' ซึ่งขายหมดแล้ว ผลงานล่าสุดคือ I Eat You Up Inside My Head รับประทานสารตกค้างในกลีบดอกปอกเปิก
ลอรี ก็อทลิบ (Lori Gottlieb) บรรณาธิการเว็บไซต์ The Atlantic, นักจิตอายุรเวช และผู้เขียนหนังสือ ‘Maybe You Should Talk to Someone’ ยกตัวอย่างกรณีศึกษา เมื่อพ่อแม่เริ่มระแคะระคายถึงความสัมพันธ์ของลูกกับเพื่อนผู้ชายคนหนึ่งแล้วแอบเปิดดูโทรศัพท์ของลูกสาว แล้วพบข้อความที่ไม่เหมาะสมทางเพศส่งมาจากเพื่อนผู้ชายคนนั้น ก็อทลิบบอกว่า
ดิไอริชไทมส์ (The Irish Times) เปิดเผยในบทความ ‘Sexting: do you know what your teenager is doing on their phone?’ ว่า ผลสำรวจในปี 2016 ไอร์แลนด์จัดเป็นประเทศลำดับ 4 ในยุโรปที่วัยรุ่นนิยมส่งข้อความ (ที่พ่อแม่รู้สึกว่าไม่เหมาะสม) ทางเพศ (sexting) หากัน
อย่างไรก็ตาม ดร.มารินา เอเวอร์รี (Marina Everri) นักจิตวิทยาไซเบอร์ และผู้นำโครงการวิจัยยุโรป (European Research Project) เกี่ยวกับบทบาทของสื่อดิจิทัลต่อพัฒนาการของวัยรุ่นและการสื่อสารในครอบครัว (The role of digital media in adolescent development and family communication) ร่วมกับวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน หรือแอลเอสอี (The London School of Economics and Political Science: LSE) หนึ่งในสถาบันที่มีชื่อเสียงในลอนดอน กล่าวไว้ในบทความว่า