Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long Learning
  • Family
    Dear ParentsEarly childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily Psychology
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
Family Psychology
24 April 2019

เอะอะก็ตี ลูกเจ็บแต่ไม่จำ

เรื่อง The Potential ภาพ KHAE

จากงานศึกษาพบว่า ‘วิธีการลงโทษโดยการตีของพ่อแม่’ จะใช้ได้ผลในระยะสั้นเท่านั้น แต่ระยะยาวกลับส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและสภาพจิตใจของเด็ก ผลเสียคือเพิ่มความขัดแย้ง ขุ่นเคืองใจ และปิดกั้นการเรียนรู้

ซึ่งการลงโทษแบบนี้ ไม่ต่างจากผลที่เกิดกับเด็กที่ถูกทำร้ายร่างกายซ้ำๆ จะกระตุ้นให้เกิดการต่อต้านและตอบโต้ เชื่อมโยงไปสู่กลไกการป้องกันตัว ยังไม่รวมความรู้สึกอับอาย ความโกรธ อาจนำไปสู่การหาวิธีการไม่ให้ถูกจับได้ ดังนั้นหากพ่อแม่ใช้ความรุนแรงลงโทษลูก จะส่งผลให้ลูกมีความก้าวร้าวและขาดความยับยั้งชั่งใจ

อย่างไรก็ตาม พ่อแม่บางคนอาจหลีกเลี่ยงวิธีลงโทษโดยการตีมาเป็น ‘การนิ่งเงียบ เฉยชา ไม่พูดไม่จา ไม่แสดงอารมณ์’ เมื่อลูกกระทำความผิด ซึ่งจะยิ่งผลให้ลูกยิ่งไม่ร่าเริง เก็บกด และขาดความอบอุ่น เนื่องจากภาวะดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดการสื่อสารระหว่างกัน

ท้ายที่สุดย่อมส่งผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว ทำให้ลูกไม่กล้าพูดคุยอย่างเปิดเผยกับพ่อแม่ นอกจากนี้ยังกระทบต่อพัฒนาการและการแสดงออกทางอารมณ์ของลูกด้วย

แล้วถ้าไม่ตี-ไม่เงียบ จะมีวิธีเข้าใจลูก ได้อย่างไร ?

พ่อแม่ทำได้ง่ายๆ โดย 4 วิธี ดังนี้

1. มองให้ลึกถึงสาเหตุที่แท้จริง

2. กระตุ้นแทนให้รางวัล เพราะแรงจูงใจเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องสร้างแรงจูงใจอย่างถูกต้อง

3. ‘ช่วย’ แทนที่จะ ‘ลงโทษ’ เพราะพ่อแม่สามารถวางข้อตกลงและแนะนำลูกได้ โดยไม่จำเป็นต้องลงโทษ

4. เป็นทีมเดียวกันกับลูก  

Tags:

วินัยเชิงบวกการลงโทษ

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Illustrator:

illustrator

KHAE

นักวาดลายเส้นนิสัยดี(ย้ำว่าลายเส้น)ผู้ชอบปลูกต้นไม้และหลงไหลไก่ทอดเกาหลี

Related Posts

  • How to get along with teenager
    ติ่งก็รักของติ่ง ทำไมพ่อแม่ไม่ฟังและไม่พยายามเข้าใจ?

    เรื่อง The Potential ภาพ BONALISA SMILE

  • Learning Theory
    เก็บความเชื่อเก่าเข้ากรุ แค่ครู ‘แคร์เด็ก’ วินัยในห้องเรียนก็เกิด

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • Learning Theory
    เพราะครูห้ามและไม่เอาใจใส่ วินัยจึงไม่เกิดในห้องเรียน

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Family Psychology
    เพราะทำผิดเท่ากับโดนลงโทษ ลูกจึงโกหก

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • Early childhood
    ลงโทษแค่หลาบจำ ลูกจะกลับมาทำอีก ‘หนุนเสริมเชิงบวก’ เวิร์คกว่า เขาจะรู้ผิดถูกเอง

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel