Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย

Month: January 2019

CHILDHOOD DISRUPTED : บาดแผลในวัยเด็ก สาเหตุของความป่วยไข้เมื่อเติบโต
Healing the traumaBook
9 January 2019

CHILDHOOD DISRUPTED : บาดแผลในวัยเด็ก สาเหตุของความป่วยไข้เมื่อเติบโต

เรื่อง ญาดา สันติสุขสกุล

  • ความเจ็บป่วยเรื้อรังในตอนโต เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคภูมิต้านตนเอง เมื่อสืบสาวไปดีๆ อาจมาจากบาดแผลในวัยเด็ก
  • แต่ประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็กไม่ได้เป็นสาเหตุเดียวของโรคในวัยผู้ใหญ่
  • หนังสือ Childhood Disrupted จะพาเราล้วงและค้นจิตใจตัวเองได้ลึกและไกล เพื่อจะไปพบว่าที่สุดแล้วเราจะเจอทางออก ไม่ใช่ทางตัน

หาก ณ วันนี้คุณกำลังเผชิญกับปัญหาทางสุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บเรื้อรังต่างๆ หรือมีความรู้สึกปั่นป่วนต่อบทบาทต่างๆ ในชีวิต เช่น เป็นพ่อแม่ที่มักมีอารมณ์รุนแรงเสมอเวลาที่ลูกของคุณทำอะไรผิดพลาดบ่อยๆ เป็นเจ้านายที่ไม่ค่อยพอใจกับลูกน้องที่ไม่ค่อยกระตือรือร้น หรือมีความสัมพันธ์กับคู่ครองด้วยความระแวงว่าจะถูกทอดทิ้ง ไม่รู้สึกถึงความมั่นคงในความสัมพันธ์

ถ้าคุณกำลังประสบกับความยุ่งยากเหล่านี้ ขอให้ลองกลับมาทบทวนเนื้อหาต่อไปนี้ ที่มาจากการอ่านหนังสือ “เกินกว่าเจ็บปวด” Childhood Disrupted: How Your Biography Becomes Your Biology, and How You Can Heal (บาดแผลทางใจที่เราประสบในวัยเด็ก ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยและโรคเรื้อรัง เมื่อเราโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ได้อย่างไร และเราจะเยียวยามันด้วยวิธีใด) เขียนโดย Donna Jackson Nakazawa ฉบับแปลภาษาไทยโดยสำนักพิมพ์โอ้ มายกอด

เราจะมาดูแง่มุมต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจที่มาของตัวคุณพร้อมกัน ว่าอดีตได้ส่งผลต่อคุณในทุกวันนี้อย่างไร และสุดท้ายคุณมีทางเลือกที่จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มั่นคง เป็นพ่อแม่ที่เข้าใจลูกด้วยจิตใจที่สงบ เป็นคุณครูที่เอื้อต่อลูกศิษย์ด้วยตระหนักรู้ เป็นหัวหน้าที่เข้าถึงจุดติดขัดของลูกน้องและเพื่อนร่วมงานได้อย่างเข้าอกเข้าใจ หรือสุดท้าย คุณคือคนที่จะสามารถเริ่มเยียวยาใจตนเองด้วยทางเลือกที่สร้างสรรค์

อดีต ปัจจุปัน และอนาคต เชื่อมโยงเป็นสายธารของชีวิต

 “ช่วงปีของวัยเด็กไม่ได้สูญหายไปไหนเลย แต่เป็นเหมือนรอยเท้าของเด็กที่เหยียบลงบนซีเมนต์เปียก ซึ่งแปลว่ามันถูกประทับไปตลอดชีวิต” ประโยคหนึ่งจากหนังสือ

ประสบการณ์ในวัยเด็กทำให้เรากลายเป็นผู้ใหญ่ในแบบที่เราเป็นอยู่ได้อย่างไร ถึงแม้เราจะผ่านวิกฤติต่างๆ ในชีวิตมากมายจนเราเข้มแข็ง และได้เรียนรู้ที่จะอยู่รอดอย่างปลอดภัย แต่ในความจริงอีกด้าน เราก็ค้นพบว่า ความเครียด การสูญเสียและประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็กที่เราต้องเผชิญช้ำๆ ได้ส่งผลทางชีวภาพในแบบที่ก่อปัญหาสุขภาพให้เราในตอนโตด้วย และผลทางชีวภาพที่สั่งสมมาทำให้มีแนวโน้มจะป่วยเป็นโรคร้ายแรงอย่างเช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคภูมิต้านตนเอง โรคปวดกล้ามเนื้อและโรคซึมเศร้า นอกจากนั้นอดีตยังเป็นตัวกำหนดรูปแบบของความสัมพันธ์รัก หรือรูปแบบการเลี้ยงดูบุตรให้เติบโต

แม้บาดแผลในวัยเด็กจะมีความเกี่ยวโยงกับโรคภัยในตอนโต แต่ประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็กไม่ได้เป็นสาเหตุเดียวของโรคในวัยผู้ใหญ่ ยังมีอีกหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม สารพิษในอาหาร แต่จากงานวิจัยที่มากพอก็บอกเราว่า ถ้าเราไม่รู้ว่าวัยเด็กของเรามีส่วนอย่างมากต่อการเกิดปัญหาด้านสุขภาพ การเยียวยารักษาก็จะยากขึ้นไปอีก และนี่จึงเป็นสาเหตุให้ห้องปฎิบัติงานของเหล่านักประสาทวิทยาทั่วประเทศกำลังค้นหาความเชื่อมโยงอันลึกลับระหว่างสมองและร่างกาย

ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ได้เริ่มต้นสืบค้นความเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็กกับสุขภาพในวัยผู้ใหญ่ของเธอเอง หลังจากต้องต่อสู้กับโรคภูมิต้านตนเองที่ส่งผลให้เธอเป็นอัมพฤกษ์สองครั้งและกำจัดเวลาในชีวิตของเธอไปกว่าสิบปี และนี่คือจุดเริ่มต้นของการเข้ามาค้นคว้างานด้านนี้

มีการศึกษาเกี่ยวกับประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็ก (Adverse childhood experiences) หรือ ACE Study การศึกษานี้แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงอย่างชัดเจนระหว่างประสบการณ์เลวร้ายประเภทต่างๆ ในวัยเด็กกับโรคที่เกิดขึ้นทางกายและจิตใจในวัยผู้ใหญ่ บาดแผลทางใจก่อขึ้นด้วยรูปแบบของคำพูดที่ทำให้รู้สึกต่ำต้อยและอับอาย หรือการถูกทอดทิ้งทางกายและทางความรู้สึก และอาจจะถูกลวนลามทางเพศ การใช้ชีวิตร่วมกับพ่อแม่ที่เป็นโรคซึมเศร้า พ่อแม่ที่มีโรคทางจิต หรือพ่อแม่ที่ติดสุราหรือติดสารเสพติด และการเห็นแม่ของตนถูกรังแกต่อหน้าต่อตา หรือการสูญเสียพ่อแม่คนใดคนหนึ่งไปเพราะการหย่าร้างหรือแยกทางกัน ในกรณีอื่นๆ ก็อาจจะมีผลด้วย เช่น การเห็นพี่น้องถูกรังแก หรือเติบโตมาในชุมชนที่เต็มไปด้วยความรุนแรง เติบโตมาพร้อมกับความยากจน รวมถึงเพื่อนนักเรียนหรือครูรังแก ก็อาจทำให้เกิดผลกระทบระยะยาวด้วยเช่นกัน

เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าความทุกข์เรื้อรังเหล่านี้ได้เข้าไปเปลี่ยนโครงสร้างทางสมองของเด็ก เปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนความเครียด ซึ่งมันไปกระตุ้นการตอบสนองต่อความเครียดด้วยกระบวนการอักเสบที่มากเกินไปสำหรับชีวิต เลยทำให้เด็กเสี่ยงต่อการเกิดโรคเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

และในกรณีของคนเขียนหนังสือเล่มนี้ แพทย์ประจำตัวที่ศูนย์การแพทย์จอห์นฮอปกินส์บอกกับเธอว่า จากความเครียดเรื้อรังที่เธอประสบในวัยเด็กอาจทำให้ร่างกายและสมองสะสมสารพิษที่ทำให้เกิดการอักเสบมาเรื่อยๆ ในวัยเด็กแต่เดิมที่ชีวิตครอบครัวเคยอยู่อย่างมีความสุขอบอุ่น ตัวเธอเคยสนิทสนมกับพ่อแต่เมื่อวันที่พ่อมาด่วนเสียชีวิตลง ความเป็นเด็กของเธอก็จบสิ้นลงชั่วข้ามคืนไปด้วย และเมื่อมองย้อนกลับไปมันก็ไม่ใช่ความผิดของใคร มันเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต เธอกลับคิดว่าคนที่ไม่ยอมหลุดออกจากอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยเด็กคือคนที่เป็นจำเลยของอารมณ์

เราจึงกลับมาตั้งคำถามต่อหนทางของการเยียวยาผลกระทบทางชีวภาพอันเกิดจากความเครียดที่เป็นพิษร้ายในวัยเด็กว่าสามารถที่จะเยียวยาให้คืนกลับมาเป็นตัวเราเองได้อย่างแท้จริงได้อย่างไร และได้ด้วยวิธีการใดบ้าง

นายแพทย์วินเซนต์ เจ เฟลิติ และนักวิจัยหัวหน้าโครงการป้องกันโรคแนวใหม่จากศูนย์การแพทย์ไกเซอร์ในซานดิเอโก ศึกษากับผู้ป่วยกว่า 17,000 ราย ที่ยินยอมให้สำรวจกรอบแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องเลวร้ายในอดีตที่โยงถึงสุขภาพ นายแพทย์ท่านนี้ค้นพบและตั้งข้อสังเกตว่า บาดแผลที่เรามองไม่เห็นที่เกิดขึ้นกับจิตใจ อาจส่งผลให้เกิดพฤติกรรมความเครียดเรื้อรัง และสร้างกลไกการลดความตึงเครียดด้วยการมีอัตราเสี่ยงต่อการมีนิสัยสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือกินอาหารมากเกินไป

แล้วนายแพทย์เฟลิติบอกว่า “เวลาไม่อาจรักษาบาดแผลทุกชนิดได้ คนเราไม่สามารถแค่ลืมมันไปได้ง่ายๆ แม้เวลาจะผ่านไป 50 ปีแล้วก็ตาม” และตรงกันข้าม เวลาเก็บซ่อนมันไว้ แล้วมนุษย์จะเปลี่ยนบาดแผลทางใจที่ได้รับในวัยเด็กให้เป็นโรคทางกายต่อไปในอนาคต

ร่างกายไม่ลืมและจะบอกเล่าเรื่องราวของมัน

เเคท เมื่อตอนอายุ 5 ขวบ ในช่วงที่แม่ทิ้งพ่อของเธอไป ในวันหนึ่งของเหตุที่เกิดขึ้น แม่ของเธอพาเธอไปที่ร้านทำความสะอาดพรมของพ่อ และสั่งให้แคทแอบอยู่ในรถด้านหลังเบาะ ไม่ให้ใครเห็นและให้อยู่นิ่งๆ

“อีกประเดี๋ยวแม่จะกลับมา” แม่ของเธอบอกว่ามีเรื่องต้องคุยกับพ่อ เธอจำได้ว่าตอนนั้นเธออยู่ท้ายรถและระบายสีวาดรูปอย่างมีความสุข แต่ต่อมาเธอได้ยินเสียงกรีดร้องเธอจึงลุกขึ้นมาดู และพบว่าแม่ของเธอไม่กลับมา เวลาผ่านไปนาน ทั้งหิวและร้อนเธอจึงปีนออกมานอกรถและเดินไปที่ประตูด้านหน้า ประตูด้านหน้าล็อคไว้แคทจึงเดินไปที่หน้าต่างด้านข้างและเขย่งขาเพื่อดูว่าแม่หรือพ่อของเธออยู่ข้างในหรือไม่ และเธอเห็นร่างของแม่นอนหน้าคว่ำอยู่ที่พื้นพรมและไม่ขยับตัวเลย เธอพยายามจะไปเปิดประตูด้านหน้าแต่ก็ไม่มีใครตอบรับ เธอจึงวิ่งไปที่รถแวนและขังตัวเองอยู่ในนั้น อีกพักพ่อของเธอเดินมาหาและบอกว่าแม่กำลังคุยโทรศัพท์อยู่ เขายิ้มและบอกว่า “พ่อจะพาลูกไปที่บ้านพ่อ” ขณะที่ขับรถกลับดูเหมือนเขายิ้มแย้มราวกับทุกอย่างไม่มีอะไรผิดปกติ

แคทยังเก็บข่าวที่ตัดจากหนังสือพิมพ์ ตำรวจสงสัยว่าพ่อฆ่าแม่ของเธอแต่พวกเขากลับไม่พบศพ นักสืบขอให้แคทเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอีกครั้งด้วยตุ๊กตาบาร์บี้ เธอไปให้การที่ศาลว่าเห็นเหตุการณ์อะไรบ้างที่คอกพยาน และคำให้การของแคททำให้คณะลูกขุนตัดสินส่งพ่อของเธอเข้าเรือนจำ ต่อมาจนแคทอายุ 8 ขวบ พ่อได้เขียนจดหมายสารภาพและบอกรายละเอียดเกี่ยวกับการฆาตกรรมภรรยา

เขาเล่าว่า ได้หั่นศีรษะแม่ของแคทออก บดกะโหลกศีรษะและบดฟันทั้งหมดแล้วโยนทิ้งแม่น้ำ และฝังศพที่ไร้ศีรษะเอาไว้ แคทร่วมงานศพของแม่ และได้เห็นโครงกระดูกที่ไม่มีกะโหลกศีรษะของแม่ แคทในตอนนั้นรู้สึกได้ถึงความอ้างว้างและไม่มีส่วนใดของแม่ที่เธอรักหลงเหลืออยู่ แม่คนที่เธอรักอย่างแท้จริง

เรื่องของผู้หญิงคนนี้ที่อดีตหลอกหลอนเธอมาตลอดชีวิต ตอนนี้เธออยู่ในวัย 37 ปีที่ต้องการเป็นอิสระจากผีที่ตามหลอกหลอนเธอ เธอเล่าให้ฟังว่า “ในช่วง 2-3 ปีถัดมาจากเหตุการณ์นั้นเรื่องของฉันกลายเป็นเรื่องต้องห้าม ไม่มีใครพูดถึงมันเลย รวมถึงเรื่องที่ฉันทำให้พ่อต้องติดคุก”

ในช่วงวัยรุ่นเธอมีผลการเรียนที่ดี เป็นนักกีฬาที่มีความสามารถ เธอได้เป็นนักเรียนตัวอย่างที่ดูดีสมบูรณ์ แต่ภายใต้เปลือกนอกที่ดูปกตินี้ เธอต้องแอบดื่มเหล้าเพื่อระงับความฟุ้งซ่าน เมื่อทุกอย่างหยุดนิ่งและกลางคืนที่เงียบงัน เธอไม่สามารถหลับตาลงได้ มีแต่ความหวาดผวา ปัจจุบันเธอก็เปลี่ยนงานไปเรื่อยๆ ในช่วงวันที่หมดลงจะจบด้วยความรู้สึกสิ้นหวังและโดดเดี่ยวและมีความวิตกกังวล ความเศร้าได้เกาะกินทำให้จิตใจของเธอไม่สงบ อารมณ์เป็นพิษของแคทในวัยเด็กก็เริ่มแสดงออกทางร่างกาย ราวกับว่าความเจ็บปวดตั้งแต่หลายสิบปีก่อนเริ่มลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ ผิวหนังทั้งตัวของเธอเป็นผื่น แคทรักษากับหมอหลายคน ทดลองยาหลายขนานเพื่อรักษาแต่ก็ไม่มีวิธีไหนเลยที่จะลดความเจ็บปวดทางกายลงได้

แคทไปหาหมออีกสองสามคนเพื่อหาวิธีการรักษาแบบทางเลือก แล้วหมอท่านหนึ่งที่ตั้งคำถามเปลี่ยนชีวิตแคทไปตลอดกาลว่า “คุณคิดว่าความเครียดที่สั่งสมมากับคุณเมื่อ 30 ปีก่อนเกี่ยวข้องกับการอักเสบทั่วร่างกายของคุณในตอนนี้ไหม?” บางอย่างในตัวแคทบอกว่ามีความจริงในคำถามของหมอคนนี้

หลังจากนั้นเธอจึงถามตัวเองว่า “ฉันจะเป็นคนอย่างไรถ้าไม่ได้เจอความเจ็บปวดและความเศร้าแบบนั้นในอดีต?”

“ฉันจะมีชีวิตที่ต่างออกไปไหมถ้าฉันมีวัยเด็กที่เป็นสุขมากกว่านี้?”

แคทเริ่มจดจ่อกับคำถามสำคัญเหล่านี้เพื่อเริ่มต้นกระบวนการรื้อสร้างและเยียวยาบาดแผล

ถ้าคุณเจอแคทในขณะที่เธออายุประมาณ 30 คุณจะไม่มีทางสังเกตพบความเชื่อมโยงระหว่างบาดแผลในวัยเด็กและปัญหาสุขภาพ หากคุณเป็นเจ้านายของเธอคุณอาจจะมองว่าเธอไม่ยอมใช้ศักยภาพให้เต็มที่ หากคุณเป็นเพื่อนของเธอคุณอาจจะคิดว่าเธอเป็นพวกชอบครอบงำ ชอบทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ ชอบโทษตัวเองว่าเป็นเหยื่อและโทษคนอื่นแม้ในเรื่องเข้าใจผิดเล็กน้อย

เพื่อตระเตรียมการเผชิญต่อสถานการณ์ต่างๆ ระบบร่างกายจะใช้กลไกในการตอบสนองต่อความตึงเครียด เพื่อสู้หรือหนี ซึ่งเมื่อคุณมีการตอบสนองต่อความเครียดอย่างถูกต้อง หมายถึง เมื่อเหตุการณ์ผ่านไปร่างกายคุณจะหยุดการตอบสนองแบบสู้หรือหนี และกลับคืนสู่ภาวะพื้นฐานของการฟื้นตัวและผ่อนคลายจากความตึงของกายและใจ

แต่หากเมื่อคุณต้องเจอกับสถานการณ์ที่สร้างความตึงเครียดอยู่บ่อยๆ ก็ราวกับว่าคุณต้องเข้าสู่ภาวะสงครามรบภายในร่างกายคุณบ่อยๆ จนกลายเป็นความเครียดเรื้อรัง บ่อยจนร่างกายคุณไม่เคยได้หยุดพักการตอบสนองต่อความเครียดเลย จึงทำให้ร่างกายหลั่งสารเคมีแห่งการอักเสบออกมาในระดับต่ำๆ ตลอดเวลา

ความเครียดในวัยเด็กทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสมองซึ่งปรับเปลี่ยนระบบภูมิคุ้มกันจนเกิดการเปลี่ยนที่ระดับยีน เพราะในเด็กเล็กสมองกำลังพัฒนาอยู่ เมื่อถูกผลักไปเจอกับสภาพที่ต้องสู้หรือหนี ภาวะเครียดเรื้อรังจะระงับการทำงานของยีนที่ควบคุมการตอบสนองต่อความเครียด และทำให้ไม่สามารถควบคุมการตอบสนองได้อย่างเหมาะสมไปตลอดชีวิต ในขณะที่ผู้ใหญ่ที่โตมาไม่มีบาดแผลทางใจในวัยเด็ก เมื่อมีสิ่งกระตุ้นความเครียดระดับสารเคมีในร่างกายก็พุ่งสูงได้เช่นเดียวกัน แต่เมื่อสิ่งเหล่านั้นผ่านพ้นไป เขาจะกลับสู่สภาวะพักและผ่อนคลายอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าเราได้รับบาดแผลทางใจในวัยเด็ก แกนตอบสนองความเครียดในวัยผู้ใหญ่ของเราจะไม่สามารถแยกอันตรายที่แท้จริงออกจากความรู้สึกเครียดได้

“เด็กที่ตื่นตัวตลอดเวลา” ผู้ใหญ่ที่เคยมีประสบการณ์ในวัยเด็กที่เลวร้ายจะมีความตื่นตัวสูง มันเป็นนิสัยที่ถูกบ่มเพาะขึ้นตั้งแต่เด็ก หลังจากที่ป่วยครั้งร้ายแรงในตอนเด็ก มิเชลไม่เคยรู้สึกผ่อนคลาย หรือรู้สึกปกติสุขอีกเลยเมื่อเป็นผู้ใหญ่

“ฉันกลัวว่าตัวเองจะเกิดภาวะแทรกซ้อนอะไรก็ตามที่อาจจะเปลี่ยนชีวิตฉันไปทั้งชีวิต”

อีกตัวอย่างคือ ลอรา เธอโตเป็นผู้ใหญ่ที่ทำงานเธออยู่ในระดับสูง ในแผนกขนถ่ายสินค้าซึ่งต้องอาศัยการตัดสินใจที่เร่งด่วนและตื่นตัวตลอดเวลา เธอทำหน้าที่นี้ได้ดีทีเดียวเพราะสมองของเธอเรียนรู้ที่จะตื่นตัวเสมอ เพราะเธอต้องเตรียมรับมือกับการถูกแม่เล่นงานมาตั้งแต่เด็ก เหมือนว่าถ้าเตรียมพร้อมไว้ก่อนก็จะเจ็บน้อยลง

“ฉันกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเดาอารมณ์ของแม่” ลอราเรียนรู้ที่จะ “ระวังตัวโดยสัญชาตญาณเวลาที่เห็นแม่หรี่ตาลง” ซึ่งบอกให้รู้ได้ว่าเธอกำลังจะถูกตำหนิในบางเรื่องซึ่งเธอไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนเป็นคนทำ เช่น กินแซนด์วิชครึ่งที่เหลืออยู่ในตู้เย็น หรือใช้เวลาผูกเชือกรองเท้านานเกินไป

“แม่เป็นคนอันตรายในสายตาของฉัน ถึงรู้ว่าแม่จะไม่มีวันทำร้ายร่างกาย แต่ฉันก็กลัวแม้ในเวลาที่แม่อารมณ์ดี เวลาที่ฉันได้ยินเสียงแม่กรนเบาๆ ตอนกลางคืน ฉันจะรู้สึกเป็นอิสระที่สุด รู้สึกโล่งอก”

ในห้องทดลองวิจัย ที่ทดลองการทำงานสมองของหนู โดยการสร้างความเครียดในระดับต่างๆ ในหนูสองกลุ่มเป็นระยะเวลาสามสัปดาห์ หนูกลุ่มแรกสร้างแรงตึงเครียดแบบอ่อนๆ โดยที่หนูจะไม่สามารถคาดเดาว่าจะเกิดอะไรหรือเวลาไหน และหนูในกลุ่มที่สอง สร้างความตึงเครียดในเวลาเดิมและลักษณะเดิมทุกวัน ผลออกมาคือ หนูกลุ่มแรกที่ถูกกดดันในสถานการณ์ต่างๆ แบบคาดเดาไม่ได้นั้นสมองไม่สามารถหยุดตอบสนองต่อความเครียด และเกิดมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อสมอง พวกมันป่วย มีแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งผลจะต่างจากหนูอีกกลุ่ม หากคาดเดาความเครียดได้แน่ชัด แม้จะเป็นความเครียดที่รุนแรงกว่าก็ตาม ความเครียดเหล่านั้นจะไม่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงแบบหนูกลุ่มแรกที่คาดเดาสถานการณ์ไม่ได้ ทีมวิจัยบอกว่า “พวกมันจะหาวิธีจัดการ พวกมันจะรู้ว่าสิ่งเร้ากำลังจะมา จากนั้นมันจะจบลงเร็ว” และผลคือ พวกมันไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อสมอง การอักเสบหรือการเจ็บป่วยในแบบเดียวกันนั้น”

สรุปก็คือ สมองสามารถทนต่อความเครียดที่รุนแรง ถ้ามันเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ แต่คุณจะไม่สามารถทนแม้แต่ความเครียดเล็กน้อยได้ ถ้ามันเกิดขึ้นโดยไม่อาจคาดเดาได้ หากเปรียบเทียบตัวอย่างกับหมีตัวหนึ่งที่วนเวียนอยู่รอบบ้านของคุณ ซึ่งทำให้คุณหนีไปไหนไม่ได้ ไม่รู้ว่ามันจะบุกเข้ามาหรือไม่ หรือบุกเข้ามาเมื่อไร หรือจะทำอะไรต่อไป ทำให้คุณขวัญผวาทุกวัน คุณไม่สามารถสู้หรือหนี นั่นจะทำให้ “ระบบการตอบสนองแบบฉุกเฉินของคุณทำงานเกินกำลังตลอดเวลา เครื่องรับรู้ความกังวลของคุณเดินเครื่องทำงานเต็มที่ไม่มีหยุด”

แม้แต่ความเครียดของเด็กแบบที่พบได้ทั่วไป เช่น พ่อแม่ที่ชอบจ้องจับผิด มีอารมณ์พลุ่งพล่านเกินปกติ สามารถก่อความเสียหายได้เช่นเดียวกับพ่อแม่ที่ชอบระบายอารมณ์กับเด็ก

มีอีกมากมายอยู่ข้างนอกบ้านของคุณ ทำให้คุณมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ทั้งอาการของโรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ (อารมรณ์ที่เหวี่ยงขั้ว) การติดสุราและรูปแบบของการเสพติดต่างๆ เช่น เกม เซ็กส์ การกินที่เกินขีดจำกัด การชอปปิ้งที่เกินเหตุ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้ในผู้ใหญ่ จากงานวิจัยจะพบได้ถึง 18 เปอร์เซ็นต์ ของคนอเมริกัน และคนในจำนวนนี้เมื่อศึกษาประวัติก็พบว่า 1 ใน 4 เคยมีประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็ก อย่างเช่นมีพ่อแม่ที่ติดสุรา ฯลฯ

“ประสบการณ์เลวร้ายในอดีตส่งผลต่อขนาดและรูปร่างสมอง”

เมื่อชีวิตดำรงอยู่กับบาดแผลอย่างยาวนาน

มีผู้ใหญ่จำนวนไม่น้อยที่ใช้ชีวิตแต่ละวันด้วยความหวาดกลัว ขี้ระแวงเกินเหตุ และด้วยสภาวะเซลส์สมองอักเสบระดับต่ำๆ โดยอาจจะไม่รู้ตัว สมองก็จะถูกกำหนดการทำงานที่ต้องสู้กับภาวะอารมณ์ขุ่นเคืองไม่แจ่มใส และไม่อาจใช้ชีวิตได้เต็มศักยภาพ มองสิ่งต่างๆ เกินเลยจากสิ่งที่เป็นจริงอยู่เสมอ ซึ่งทำให้พวกเขาเหล่านั้นไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นรอบๆตัวเขานั้นเป็นเรื่องดีหรือเปล่า หรือว่าเป็นเรื่องเลวร้าย และโดยส่วนใหญ่พวกเขามักจะมองว่าทุกอย่างเป็นเรื่องเลวร้ายมากกว่าคนอื่น

“รอยประทับแห่งประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็กที่ถูกทิ้งไว้ในสมองของเรา สามารถรื้อสร้างรอยประทับนั้นได้เพื่อไม่ให้ร่องรอยเหล่านี้ติดตัวเราไปตลอดชีวิต”

เราจะลองมาสำรวจคนจำนวนหนึ่งที่ผ่านความทุกข์ยากหรือมีบาดแผลฝังลึกในจิตใจ แต่กลับมีชีวิตที่มีความสุขอายุยืนยาวแถมมีความสามารถในการจัดการกับความเครียดได้ดี เพราะคนที่ผ่านประสบการณ์เลวร้ายมาก็ไม่จำเป็นต้องลงเอยด้วยการเป็นโรคต่างๆ กันทุกคน มัลคอม แกลดเวลล์ นักวิจัยและนักทฤษฎีสังคม นำเสนอไว้ว่า “การสูญเสียพ่อแม่ตั้งแต่วัยเยาว์อาจจะส่งผลได้ทั้งทางลบและทางบวกในวัยผู้ใหญ่ บางคนความยากลำบากกลับทำให้ยิ่งต้องพยายามดิ้นรนมุ่งมั่นหาทางแก้ไขชีวิตของพวกเขา”กดดก

และจากงานวิจัยค้นพบว่า การเรียนรู้ที่จะจัดการความเครียดในระดับปกติเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการที่เป็นประโยชน์ ฉะนั้นประสบการณ์ด้านลบก็อาจจะสอนให้คนแข็งแกร่งขึ้นได้ เพราะพวกเขาได้โอกาสพัฒนาความสามารถในการจัดการเรื่องยุ่งยาก จึงทำให้พวกเขาจัดการกับปัญหาในอนาคตได้ดี

“หนทางเยียวยา เริ่มต้นจากการเผยความลับที่ต้องเก็บงำมานานกับใครบางคนที่มีพลังแห่งความเป็นผู้ใหญ่ (Eldership)”

ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนั้น สามารถบอกถึงความแตกต่างในเด็กที่ได้รับความเห็นอกเห็นใจและได้กำลังใจจากผู้ใหญ่สักคนหนึ่ง เด็กเหล่านี้จะสามารถฟื้นตัวและปรับตัวได้กับการเผชิญความทุกข์ในใจ

แต่เมื่อเรามักเข้าใจว่า การกลับไปย้อนดูเรื่องราวในอดีต คือการรื้อปมที่เคยมีความเจ็บปวดให้กลับมาเจ็บซ้ำอีก ซึ่งแนวคิดนี้มีด้านที่ถูกและผิดปนอยู่ ที่บอกว่าถูกเพราะบาดแผลในอดีตนั้นจะมีผลต่อใจคุณ มันยังคงตามหลอกหลอนได้เสมอทุกครั้งเมื่อคุณได้ย้อนรำลึกอดีตที่ปวดร้าวใจ คุณจะกลับไปรู้สึกแบบเดิม รู้สึกเปราะบางดังที่เคยเป็นเด็กน้อยในวันวาน ซึ่งความทรงจำเหล่านี้ก็จะมีอิทธิพลต่อชีวิตคุณโดยไม่รู้ตัว

ภาพหรือสัญลักษณ์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบาดแผลในอดีตจะส่งผลมาถึงปัจจุบันทำให้คุณมีปฎิกิริยาด้านลบเสมอและมีแนวโน้มที่ทำให้คุณอยากจะหลีกเลี่ยงด้วยวิธีการต่างๆ ให้ห่างตัวออกไป หากความเจ็บปวดที่เคยเกิดขึ้นร้ายแรงจะทำให้คุณจดจำมันได้ดี เรียกว่าเป็นความทรงจำที่ชัดเจน และอีกระบบที่สมองได้ฝากความทรงจำไว้ คือ กระบวนการบันทึกความทรงจำแฝงเร้นไว้ เป็นความรู้สึกที่มีต่อเหตุการณ์นั้นๆ อย่างเช่น เด็กบางคนจะเก็บความรู้สึกกลัว โกรธ ฯลฯ เหล่านั้นไว้และนำติดตัวไปจนโต เนื่องจากในตอนเด็กยังไม่สามารถจดจำเหตุการณ์และเรื่องราวได้ สมองของคุณสร้างโลกที่คนอื่นไม่มีทางมองเห็นได้เลย มันกลายเป็นมุมมองต่อการดำเนินชีวิต

และอีกแง่มุมหนึ่ง การย้อนกลับไปดูความทรงจำเหล่านั้นด้วยกระบวนการเยียวยาก็มีผลที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ เพราะกระบวนการเก็บความทรงจำของสมองนั้นมีความสลับซับซ้อนมากกว่านั้น ความทรงจำที่ถูกประทับไว้เหล่านั้นถูกปรับแต่งตลอดชีวิตของคุณ แม้หลังจากที่ความทรงจำเหล่านั้นได้ถูกสรุปรวมเข้าด้วยกันแล้วก็ตาม มันไม่ได้คงอยู่แบบนั้นตลอด สมองของคนเราสามารถเติมแต่งเรื่องราวในความทรงจำเหล่านี้ได้อย่างสดใหม่เสมอ เมื่อเวลาผ่านไป ตามข้อมูลใหม่ หรือมีประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ได้รับ ทุกครั้งที่คุณนึกถึงเหตุการณ์เลวร้ายในวัยเด็ก ความทรงจำนั้นจะเริ่มไม่คงตัวดังเดิม หรือเรียกว่า มีโอกาสเปลี่ยนแปลงวิธีที่คุณจำถึงเรื่องที่เคยเกิดขึ้นนั้นเอง

นักวิทยาศาสตร์ด้านสมองเรียกกระบวนการนี้ว่า “การให้ความหมายใหม่” ในตัวอย่างของเคนดอลซึ่งในอดีตเธอคือเด็กหญิงที่ไม่ได้รับการใส่ใจจากพ่อแม่ แต่กลับถูกมองว่าอาการป่วยไข้ของเธอเป็นการเรียกร้องความสนใจ แต่เมื่อเคนดอลโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว และได้ทำความเข้าใจเรื่องราวต่างๆผ่านมุมมองการเยียวยา เธอจึงให้ความหมายใหม่ว่า

“ฉันพยายามที่จะไม่ถือโทษโกรธพ่อแม่ ฉันเป็นแค่เด็กตัวเล็กๆ ที่อ่อนไหวซึ่งต้องเจอกับการถูกทอดทิ้งซึ่งเป็นพฤติกรรมที่สืบทอดต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ถูกปฎิบัติอย่างเลวร้ายและไม่ได้รับการดูแลเช่นเดียวกับที่พ่อแม่ของฉันเจอสมัยที่พวกเขาเป็นเด็ก และพวกเขาก็ส่งต่อสิ่งเหล่านี้มาให้ฉัน เพราะนั่นเป็นสิ่งที่พวกเขาถูกฝึกมาให้ทำ”

ชีวภาพในวัยเด็กส่งผลต่อความสัมพันธ์ในอนาคต

จอห์นจำได้ว่าตอนที่เขายังเรียนในระดับมหาวิทยาลัยจนจบการศึกษา พ่อไม่เคยถามไถ่เกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้เลย ไม่เคยแม้กระทั่งเอ่ยคำชื่นชมใดๆ แถมพ่อไม่เคยพอใจในคะแนนสอบที่ผมได้เลย มันได้ส่งผลให้จอห์น “ขาดการเคารพหรือรักในสิ่งที่ตัวเองเป็นหรือกระทำ” จอห์นบอกว่าเขามีชีวิตอยู่กับเสียงกระซิบในใจตัวเองเสมอว่าไม่มีค่า

“ไม่เคยรู้สึกได้เลยว่าจะมีใครรักผมในแบบที่เป็นตัวผมและความรู้สึกนี้ได้ติดตามตัวผมอย่างเงียบๆ สร้างเป็นความไม่มั่นคงอยู่ลึกๆ”

เขาเชื่อว่าเสียงกระซิบว่าตนเองไม่มีค่าเป็นสิ่งที่ทำให้เขาล้มเหลวในความสัมพันธ์ “สิ่งที่ผมต้องการมากที่สุดคือ ความรู้สึกสบายๆ กับตัวเอง และมีความสุขอยู่ในโลกใบนี้ แต่ทุกครั้งที่เข้าใกล้ความสัมพันธ์ที่มั่นคง ผมจะทำมันพัง ผมยับเยินและอึดอัดอยู่ในร่างของตัวเอง ไม่รู้จะเป็นคนที่สุขสบายในร่างของตัวเองอย่างไร เพื่อไปให้พ้นจากความอึดอัดนี้ ผมเลยตัดตัวเองจากสิ่งที่ผมต้องการมากที่สุด นั่นคือ ความรัก”

“ผมอยากให้มีใครสักคนบอกว่าผมยังใช้ได้แม้จะผลักใสเขาออกไป คำดุด่าของพ่อกลายเป็นความรู้สึกอัปยศอยู่ลึกๆ ที่ผมมีต่อตัวเอง เพียงแต่คราวนี้ผมกลายเป็นคนที่ดุด่าตัวเอง ผมไม่อาจหลุดพ้นจากเสียงกระซิบที่บอกว่าผมใช้ไม่ได้ ผมจึงอยากให้ใครสักคนมาปลดปล่อยผม มาบอกรักผม”

และไม่เพียงแต่บรรยากาศในครอบครัวที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก สังคมของโรงเรียนที่เด็กต้องเผชิญ การถูกรังแกก็เป็นประสบการณ์เลวร้ายรูปแบบหนึ่งที่เชื่อมโยงกับความเจ็บป่วยและโรคในวัยผู้ใหญ่ จากกรณีศึกษามากมายทั้งงานวิจัยในผู้ป่วยหรือในวงการจิตบำบัด ชี้ให้เห็นว่า เด็กที่ถูกรังแกมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าวิตกกังวลและอาจจะมีปัญหาด้านสุขภาพจิตอื่นๆ เมื่อเด็กต้องดิ้นรนกับความเจ็บปวดจากการถูกกีดกันทางสังคมในหมู่เพื่อน จะกระตุ้นวงจรสมองเดียวกับที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรับรู้ความเจ็บปวดทางร่างกาย

วิคกี้ อบิเลส ผู้ผลิตสารคดีเรื่อง Race to Nowhere เธอได้สร้างการตระหนักรู้ถึงผลกระทบระยะยาวของความเครียดในโรงเรียนซึ่งบั่นทอนสุขภาพ เธอเชื่อว่าวัฒนธรรมที่บ้าคลั่งความสำเร็จกำลังสร้างปัญหาต่อเด็ก สร้างความเครียดเรื้อรัง เพื่อการต่อสู้ให้ไปถึงภาพพจน์แห่งความสำเร็จทางสังคมซึ่งแทบเป็นไปได้ยาก

อบิเลสเชื่อว่า “การคร่ำเคร่งอย่างหนักในโรงเรียนหรือในช่วงวัยรุ่นที่กำลังอยู่ในวัยเปราะบางนั้น นำไปสู่การหลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมาท่วมท้นร่างกาย”

ประสบการณ์ในวัยเด็กที่โยงให้เราโตขึ้นมา

บุคลิกภาพที่คนเรามีในวัยผู้ใหญ่ต่อการเผชิญสถานการณ์อาจจะมีหลากวิธี แต่ในรูปแบบหนึ่งคือ แบบชะงักงัน นิ่ง ด้วยเพราะต้องการสะกดอารมณ์ความหวาดหวั่น หรือนิ่งไว้ก่อนเพื่อชะลอและดูสถานการณ์ จนดำเนินไปสู่รูปแบบที่ไม่สามารถรับรู้อารมณ์ใดๆได้ ซึ่งในแง่ของการทำงานของสมอง จิตแพทย์เด็ก แดน ซีเกล อธิบายตัวอย่างแบบง่ายๆ ว่า ถ้าเด็กที่มีแม่เลี้ยงดูมาในแบบบูดเบี้ยว สมองส่วนหนึ่งบอกว่าให้ “เดินเข้าหาแม่” แต่สมองอีกส่วนหนึ่ง หรือก้านสมองที่คอยดูแลความอยู่รอดปลอดภัย มีอีกเสียงที่ต่างไปคือ “จงหนีไปจากแม่” มันคือความย้อนแย้งทางชีวภาพที่ไม่สามารถแก้ไขได้

จิตใจของเด็กแตกออกเป็นเสี่ยงๆ ความอึดอัดที่เกิดขึ้น ความเครียดตึงที่ก่อตัว เพราะสมองพยายามทำงานประสานกันในเป้าหมายที่ขัดแย้งกันนั่นเอง และถ้าไม่สามารถจัดการได้จะทำให้เด็กมีแนวโน้มที่จะเติบโตมาในแบบที่เพิกเฉยต่ออารมณ์ความรู้สึกทั้งบวกและลบ มันคือกระบวนการวางระยะให้ตนออกห่างสภาวการณ์นั่นเอง และสุดท้ายคุณอาจจะกลายเป็นคนที่ใช้เหตุผลมากกว่ามาดูอารมณ์ หรือ อาจจะไม่รู้สึกรู้สากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัว
เราอาจจะมืดบอดกับสภาวะจิตใจของเรา เราอาจจะเป็นผู้ให้มากเกินไปในแง่ความสัมพันธ์ เราอาจจะเสียสละตนจนไม่สามารถปล่อยวางได้ อาจจะมีการควบคุมสั่งการจนเกินเหตุที่ควรจะเป็น

ทางออกสำหรับการดูแลพัฒนาการทางสมองของเด็ก คือ ในเวลาที่พ่อหรือแม่เกิดอารมณ์แห่งความปั่นป่วน ให้กลับมาดูแลรับรู้อารมณ์ตน มิฉะนั้นความปั่นป่วนของผู้ใหญ่จะทำให้เด็กหวาดกลัว เพราะเขาจะไม่สามารถเข้าใจอารมณ์ต่างๆของเราได้ และจะส่งผลให้เด็กปิดกั้นอารมณ์ความรู้สึกต่างๆของตนเองไปตลอดชีวิต

ภาคสอง “เริ่มต้นหนทางการเยียวยา”

การรู้ว่าความเครียดเรื้อรังทั้งหลายในวัยเด็กนำพาไปสู่โรคภัยต่างๆ ที่คุณกำลังเผชิญอยู่นั้น คือด่านแรกของการยอมรับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นกับคุณ อย่างน้อยก็จะทำให้คุณเข้าใจความสับสน ความพยายามในการดิ้นรนอย่างหนักในวัยผู้ใหญ่ว่ามาจากสาเหตุใด ซึ่งจะสร้างทางเลือกว่าจะติดอยู่ในอดีตหรือก้าวเดินต่อไปด้วยความตระหนักรู้ ที่สามารถลดแนวโน้มของการเกิดการอักเสบ ซึมเศร้า เสพติด เจ็บปวดทางกายและโรคภัยไข้เจ็บ

“หาคนที่คุณไว้ใจแล้วลองบอกเล่าถึงประสบการณ์เลวร้ายที่เคยเกิดขึ้นกับคุณ” ความอึดอัดในอดีตที่คุณยังพอจดจำได้ อาจจะเป็นเพียงความทรงจำที่เลือนลาง แต่พอจะบรรยายถึงความรู้สึกที่มีต่อสิ่งต่างๆ หรือผู้คนที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในเหตุการณ์เหล่านั้น เพื่อให้คุณค่อยๆ ตระหนักได้ว่าเด็กน้อยในอดีตของคุณต้องเจอกับความยากและผ่านมันมาได้อย่างไร ซึ่งผู้รับฟังคุณอาจจะมีทัศนะที่ช่วยให้คุณสำรวจความทรงจำนั้นๆ ด้วยใจที่เป็นกลาง เพียงคุณสามารถบอกเล่าได้ว่ามีอะไรบางอย่างเกิดขึ้นกับตนสมัยที่ยังเป็นเด็ก การบำบัดก็ได้เริ่มขึ้นแล้ว

เขียนเพื่อบำบัด

การเขียนบอกเล่าถึงเหตุการณ์ในอดีต ก็อาจจะช่วยให้คุณได้ประสบการณ์ในการมองตัวเองอย่างที่เป็นจริงๆ มันคือวิธีการที่ได้ระบายสิ่งที่อึดอัดที่เก็บกดไว้นาน เพราะเมื่อร่างกายไม่ได้รับการใส่ใจจากคุณ ร่างกายก็จะทวงหนี้จากเรา ซึ่งจากงานวิจัยทางจิตวิทยา ได้ชี้ชัดว่า การเขียนช่วยให้ผู้ป่วยลดความตึงเครียดลงได้และมันยังทำให้พวกเขาไม่แย่ลงไปกว่าเดิม

นักจิตวิทยาท่านหนึ่งเสนอชุดการเขียนไว้เป็นตัวอย่าง คือ ช่วงสี่วันจากนี้ ขอให้เขียนถึงอารมณ์ในส่วนลึกสุด และเลือกเวลาเขียนให้เหมาะ ปล่อยวางและสำรวจเหตุการณ์นั้นว่ามันส่งผลต่อคุณอย่างไร คุณอาจจะโยงกับประสบการณ์นี้เข้ากับวัยเด็กของคุณ ความสัมพันธ์ของคุณกับพ่อและแม่ คนที่คุณเคยรักหรือยังรักอยู่ หรือแม้แต่กับอาชีพของคุณ เขียนไปเรื่อยๆ วันละ 20 นาที

วาดเพื่อบำบัด

คุณอาจจะเริ่มต้นวาดภาพที่พอจะนึกออก อาจจะเป็นภาพทิวทัศน์ หรือภาพครอบครัวของคุณเอง ดูว่าเกิดภาพอะไรขึ้นมาได้บ้าง จากนั้นทิ้งภาพนั้นไว้และกลับมาดูใหม่ในวันหลังเพื่อวิเคราะห์ ทำเหมือนว่าคุณกำลังแปลความฝัน มันช่วยให้เกิดความเข้าใจอะไรขึ้นบ้างหรือไหม ดร.ซีเกล เล่าตัวอย่างของคนไข้รายหนึ่งที่ใช้วิธีการวาดเพื่อบำบัด เธอวาดภาพผู้หญิงสวยมีเสน่ห์ โดยมีรายละเอียดเล็กๆ เช่น นาฬิกาแขวนผนังมีเข็มเดียวที่ขี้ไปเลข 12

“จิตใต้สำนึกของเธอต้องการให้เธอกลับไประลึกถึงประสบการณ์ในวัยเด็กซึ่งสร้างบาดแผลทางใจตอนที่เธออายุสิบสอง” ดร.ซีเกลพูด

ในกระบวนการ “ศิลปะบำบัด” ถึงแม้ยังไม่สามารถสรุปได้ถ่องแท้ถึงกระบวนการนี้ ที่ช่วยเปิดเผยบาดแผลในอดีตได้อย่างไร แต่มันก็เป็นเครื่องมือที่ช่วยค้นหาสิ่งที่ลืมไปหรือจิตใต้สำนึกที่พยายามซ่อนไว้

การฝึกสมาธิ เป็นวิธีซ่อมแซมสมองที่ดีที่สุด

การฝึกสมาธิช่วงเปลี่ยนสมองของเราได้ เพราะมันรวมไปถึงการดูจิตใจตนเองเป็น ก็คือการแผ่เมตตา การให้อภัย และสามารถลดความเครียดได้เร็ว ที่สถาบันด้านจิตเวชที่นำเรื่องการฝึกสมาธิไปใช้กับเด็กที่มีบาดแผลทางใจ สามารถทำให้วงจรสมองที่เคยอ่อนแอจากความทุกข์กลับแข็งแรงขึ้นได้ รวมทั้งกลีบสมองส่วนหน้าและฮิปโปแคมปัสด้วย แถมการฝึกสมาธิยังช่วยให้คนเราควบคุมอารมณ์ ยืดหยุ่นกับคนรอบข้าง เพิ่มความเห็นอกเห็นใจ และทบทวนตัวเองได้ดีด้วย และการทำสมาธิยังแฝงไปด้วยการหายใจเข้าออกลึกๆ ทำให้การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติชะลอลงซึ่งจะทำให้จิตใจของคุณกลับคืนสู่ความเป็นปกติได้เร็วขึ้น

ออกกำลังกาย

ด้วยการทำ ชี่กง ไท่เก็ก โยคะ เป็นการซ่อมร่างกาย หรือคือการขยับร่างกาย เพื่อปลดปล่อยเราจากอดีตที่เคยต้องต่อสู้ หนี ถอย หรือภาวะการแช่แข็งมาตลอดชีวิต ช่วยปลดปล่อยความตึงเครียดที่สะสมในกล้ามเนื้อและลดกระบวนการอักเสบได้

เข้าบำบัดกับนักบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อเยียวยาบาดแผลในวัยเด็ก

เพราะเพียงการดูแล กาย ใจ จิต ในแบบที่เราถนัด อาจจะไม่เพียงพอต่อการสะสางอดีตที่ยังคงตกค้างอยู่ในความทรงจำ การที่มีนักบำบัดที่พร้อมมอบการยอมรับแก่คุณโดยไม่มีเงื่อนไข จะช่วยเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในสมองของคุณ แล้วความรู้สึกที่คุณมีต่อตัวเองจะค่อยๆ พัฒนาและสร้างสรรค์ขึ้น และในสายบำบัดของนักบำบัดผู้มีความเชี่ยวชาญยังมีอีกหลากวิธีในการนำพาคุณไปสู่การเปลี่ยนแปลงระดับโมเลกุลได้ด้วยการใช้การจินตนาการเชิงบวก เพื่อกระตุ้นการจัดการกับความรู้สึกทางกายและความทรงจำลบๆ ที่ผุดขึ้นมา

การฝึกฝนด้วยการกลับมารับรู้ความรู้สึกทางกาย

คือกระบวนการที่ช่วยให้คุณกลับมาดำรงอยู่กับศูนย์แกนกลางของจิตใจ ผ่อนแรงขับต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่ร่างกายลง ซึ่งช่วยคุณให้เปลี่ยนสภาวะที่ดำเนินไปอย่างเป็นอัตโนมัติที่หลับไหลมาสู่ การรับรู้อย่างมีสติ การรับรู้ความรู้สึกทางกายเป็นวิธีที่ปลอดภัยในการปลดปล่อยอารมณ์ต่างๆที่คุณกักเก็บไว้

เมื่อคุณได้ทบทวนสิ่งต่างๆแล้ว ขอให้คุณวางใจว่าธรรมชาติลึกๆ ในตัวคุณจะช่วยคุณไปด้วย และอยากให้คุณลองดูผู้ใหญ่คนที่คุณเห็นในกระจก พยายามมองให้เห็นเด็กคนที่คุณเคยเป็นภายใต้ดวงตาของคุณ ใส่ใจเรื่องราวของเขา คิดทบทวนถึงกลยุทธ์และวิธีการที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อช่วยให้คุณกลับมาเป็นคนที่คุณเป็นจริงๆ และดีขึ้น ฉลาดขึ้น เข้มแข็งขึ้นสำหรับการเดินทาง และสัญญากับเด็กคนที่ครั้งหนึ่งคุณเคยเป็นว่า คุณจะพาเขาสู่เส้นทางของการเยียวยา

Tags:

หนังสือปม(trauma)Adverse Childhood Experiences(ACE)พ่อแม่

Author:

illustrator

ญาดา สันติสุขสกุล

Related Posts

  • Book
    รถไฟขนเด็ก – เพราะรักจึงยอมปล่อยมือ

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Myth/Life/Crisis
    ดอเรียน เกรย์ : ความเหงาและหัวใจที่เชื่อมโยง

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Healing the trauma
    ไม่หนี ไม่สู้ สมองถูกแช่แข็ง จากความเครียดท่วมท้นในสมองเด็ก

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ บัว คำดี

  • Family PsychologyBook
    การแบ่งปันอารมณ์ความรู้สึกในครอบครัวคือขุมพลังชีวิตของลูก

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Early childhoodBook
    THE HAPPIEST KIDS IN THE WORLD: อิสรภาพจากการได้เล่นอิสระ เคล็ดลับเด็กดัตช์แฮปปี้สุดๆ

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

อ่าน เล่น ทำงาน: ความต่างระหว่าง ‘อ่านออก (เร็ว)’ กับ ‘อ่านเอาเรื่อง’
EF (executive function)
8 January 2019

อ่าน เล่น ทำงาน: ความต่างระหว่าง ‘อ่านออก (เร็ว)’ กับ ‘อ่านเอาเรื่อง’

เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

ผู้ใหญ่มีคลังคำ คลังคำเป็นคนละส่วนกับเส้นประสาทที่ใช้สะกดคำแล้วอ่าน เรื่องที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์

ข้อสังเกตนี้ได้จากการศึกษาผู้ใหญ่ที่เส้นเลือดสมองตีบ หลายครั้งที่เราพบว่าผู้ป่วยสะกดคำไม่ได้อีกแล้ว แต่เขาอ่านได้ แม้ว่าความหมายจะผิดเพี้ยนไปบ้างแต่ก็ใกล้เคียง

ยกตัวอย่าง ให้ผู้ป่วยเส้นเลือดสมองตีบอ่านคำว่า “แฮม” ถ้าเขาสะกดได้ เขาควรจะอ่านว่า “สระ แอ ฮ นกฮูก ม ม้า แฮม” แต่เพราะเส้นเลือดสมองตีบและเส้นประสาทที่ทำหน้าที่สะกดคำเสียหาย ผู้ป่วยรายนี้อ่านตัวอักษรที่เขียนว่า “แฮม” ออกมาว่า “เนื้อ”

ลองดูอีกตัวอย่าง ให้ผู้ป่วยอ่านตัวอักษรที่เขียนว่า “นักวาด” หากผู้ป่วยปกติดีเขาควรอ่านว่า “น หนู ไม้หันอากาศ ก ไก่ นัก ว แหวน สระ อา ด เด็ก วาด นักวาด” แต่เพราะเส้นประสาทสะกดคำเสียหายไปแล้ว ผู้ป่วยรายนี้จึงเปล่งเสียงว่า “สิน ละ ปิน”

จะเห็นว่าเส้นทางของการอ่านมิได้มีเพียงแค่สะกดคำ แต่ยังมีเส้นทางอีกเส้นหนึ่งคือเส้นทางรูปภาพ เราแปลตัวอักษรเป็นรูปภาพแล้วอ่านรูปภาพอีกทีหนึ่ง เส้นทางนี้มักใช้กับคำที่อ่านยากหรือพบไม่บ่อย เช่น ปรัศวภาควิโลม เรามิได้แค่สะกดแล้วอ่าน แต่เราแปลคำนี้เป็นภาพกลับด้านซ้ายขวาในกระจกเงาและเรารู้อยู่ก่อนแล้วว่าปรากฏการณ์กลับด้านซ้ายขวาในกระจกเงานั้นอ่านว่า “ปรัด สะ วะ พาก วิ โลม”

ถ้าเช่นนั้น เด็กๆ อ่านหนังสืออย่างไรกันแน่?!

เราพบว่าเด็กอ่านหนังสือด้วยทั้งสองวิธี คือดูตัวอักษรแล้วพยายามสะกดคำ ในขณะเดียวกันเขาจับคู่คำกับรูปภาพที่เห็นในหนังสือนิทานประกอบภาพแล้วสร้างเส้นทางการอ่านจากภาพขึ้นมาใหม่อีกเส้นทางหนึ่ง นั่นคือเมื่อพบตัวอักษรที่เขียนว่า “ช้าง” แล้วแม่ซึ่งนอนอยู่ข้างๆ อ่านว่า “ช้าง” เป็นเวลาที่เขาเห็นรูปสัตว์ตัวใหญ่ที่มีหูใหญ่งวงยาวงาแหลมและมีสี่ขา เจ้าตัวนี้แหละที่เรียกกันว่าช้าง

จากเด็กเล็กที่แม่อ่านนิทานประกอบภาพก่อนนอนทุกคืน แล้วไปโรงเรียน วันหนึ่งเขารู้แล้วว่า “ช ช้าง สระ อา ไม้โท ช้าง” อ่านว่าอะไร แล้วหมายถึงสัตว์ที่มีรูปร่างอย่างไร เขาโตขึ้นเรื่อยๆ อ่านหนังสือเก่งขึ้นเรื่อยๆ เขารู้จักคำว่า “กุญชร” แล้วเส้นประสาทก็สร้างภาพสัตว์ตัวเดียวกันขึ้นมาในสมอง บัดนี้เขามีเส้นทางที่ใช้อ่านสองเส้นทาง วันหนึ่งเมื่อเขาแก่ตัวลงเขาอาจจะมีเส้นเลือดสมองตีบ เขาอ่านคำว่า ”กุญชร” ด้วยวิธีสะกดคำมิได้เพราะเส้นประสาทสะกดคำเสียหาย เขาไม่สามารถเปล่งเสียงออกมาว่า “กุน ชอน” แต่เขาจะอ่านคำว่า “กุญชร” โดยเปล่งเสียงออกมาว่า “ช้าง”

นี่คือมหัศจรรย์แห่งการอ่าน และมหัศจรรย์ของนิทานประกอบภาพก่อนนอน

เด็กอ่านออกนั้นไม่พอ การศึกษาไทยดูเหมือนจะเคร่งเครียดกับการทำให้เด็กอ่านออกเร็วที่สุดประหนึ่งว่าเด็กไทยอ่านไม่ออกเป็นความขายหน้าระดับชาติ ซึ่งว่าไปแล้วก็น่าขายหน้าจริง อย่างไรก็ตามการเฆี่ยนตีให้เด็กอ่านหนังสือให้จงได้ก่อน ป.1 เป็นวิธีที่ผิดแน่

การอ่านควรเป็นเรื่องสนุก การอ่านนิทานประกอบภาพด้วยความสุขไม่ว่าจะเป็นแม่ พ่อ หรือครูอ่านให้ฟัง หรือเขาฝึกสะกดคำแล้วอ่านเอง ทั้งสองกิจกรรมควรตีคู่ขนานมาด้วยกัน เส้นประสาทด้านเสียงและภาพพัฒนาคู่ขนานกัน ส่งเสริมและสอดรับซึ่งกันและกัน นำไปสู่ความสามารถที่เรียกว่า fluent reading คืออ่านอย่างแคล่วคล่องด้วยความเร็วเกือบๆ น้ำไหลไฟดับ

การเฆี่ยนตีเด็กไทยให้อ่านได้ ทำได้เพียงอ่านได้ แต่จะอ่านน้ำไหลไฟดับไม่ได้แน่นอน

มากไปกว่านี้การอ่านอย่างน้ำไหลไฟดับก็ไม่พอ ที่เราต้องการคืออ่านแล้วเก็บความได้ ซึ่งเด็กไทยส่วนใหญ่ทำไม่ได้ เหตุเพราะว่าเด็กไทยส่วนใหญ่สักแต่ว่าอ่านแต่ไม่สามารถถอดความหมายของคำแล้ว “ถือครอง” ความหมายของคำได้นานพอจนถึงคำต่อไป ซึ่งเขาจะต้องอ่านแล้วถอดความหมายของคำแล้ว “ถือครอง” ความหมายของคำที่สองเอาไว้นานพอ จากนั้นอ่านต่อไปแล้วถอดความหมายแล้วถือครอง แล้วอ่านต่อไปแล้วถอดความหมายแล้วถือครอง แล้วอ่านต่อไปแล้วถอดความหมายแล้วถือครอง เป็นเช่นนี้จนครบประโยค ครบย่อหน้า ครบหน้า ครบครึ่งเล่ม หมดเล่ม ก็ยังรู้เรื่อง คืออ่านเอาเรื่อง

อ่านเอาเรื่องเกิดขึ้นได้เมื่อเด็กมีความจำใช้งานที่ดี กล่าวคือมีวงจรประสาทรองรับการถือครองความจำใช้งานได้นานพอ และนานพอที่จะถอดความหมายแล้วถือครองต่อไป ปัญหาคือเด็กไทยไม่มีระบบบริหารความจำใช้งานที่ดี

เพราะเด็กไทยไม่ทำงาน

ความจำใช้งานเกิดจากการทำงาน มิได้เกิดจากการท่องจำ ความจำใช้งานเกิดจากการทำงานด้วยนิ้วมือทั้งสิบมากพอที่จะสร้างร่างแหของความจำใช้งานและทางด่วนข้อมูลที่ความจำใช้งานจะลื่นไหลลงมาให้ใช้งาน ถือครองไว้ แล้วปล่อยไหลลงมาเมื่อถึงเวลา เด็กที่ไม่ทำงานจะไม่มีเครื่องมือนี้ในสมอง ดังนั้นแม้ว่าจะอ่านออกแต่ก็ไม่รู้เรื่อง หรือถึงแม้ว่าจะรู้เรื่องแต่ก็เก็บใจความสำคัญมิได้

ลำพังความรู้เรื่องเส้นประสาทการอ่านสองเส้นทางและเรื่องความจำใช้งานอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของ EF บอกเราว่าการบังคับอ่านที่การศึกษาไทยทำนั้นไม่ได้อะไรนอกจากอ่านออกก่อนวัยแล้วอาจจะจบเพียงเท่านั้น มิได้ประกันว่าเด็กไทยจะอ่านหนังสือเล่มหนาๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นนวนิยายขนาดยาว สารคดีขนาดยาว หรือตำราเล่มหนาๆ เราทำได้แค่ “อ่านออก”

แม้กระทั่งการอ่าน เป็นเรื่องเลี่ยงมิได้ที่จะต้องมีความสุขด้วย ตั้งแต่ปฐมวัย

Tags:

การอ่านประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์อ่าน เล่น ทำงานEFและการศึกษา

Author:

illustrator

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

Illustrator:

illustrator

antizeptic

Related Posts

  • EF (executive function)
    อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านนิทานได้อะไร ฉบับสมบูรณ์ ตอน 7 (จบ)

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • EF (executive function)
    อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านนิทานได้อะไร ฉบับสมบูรณ์ ตอนที่ 5

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • EF (executive function)
    อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านนิทานได้อะไร ฉบับสมบูรณ์ ตอนที่ 3

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • EF (executive function)
    อ่านเถอะนะ ง่ายจะตายชัก

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • EF (executive function)
    อ่าน-เล่น-ทำงาน : สมอง ‘อ่าน’ อย่างไร

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

9 วิธีพ่อแม่ช่วยลูกพิชิตฝัน ดันไปให้สุดทาง
Character building
7 January 2019

9 วิธีพ่อแม่ช่วยลูกพิชิตฝัน ดันไปให้สุดทาง

เรื่อง The Potential ภาพ BONALISA SMILE

‘เป้าหมาย’ เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเมื่อมีเป้าหมายแล้ว ‘ลงมือทำ’ นั่นนำไปสู่การทุ่มเทแรงกายแรงใจ พลังงาน และความคิดสร้างสรรค์ หมกมุ่นอยู่กับสิ่งนั้น

วิลเลียม เดมอน (William Damon) ผู้อำนวยการศูนย์สแตนฟอร์ดเกี่ยวกับวัยรุ่น (Stanford Center on Adolescence) และ ผู้เขียนหนังสือ The Path to Purpose (เส้นทางไปสู่เป้าหมาย) บอกว่า

เป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกที่ช่วยกระตุ้นการใช้ชีวิตในระยะยาว แตกต่างจากความหลงใหล (passion) และ ความทะเยอทะยาน (ambition) ซึ่งโฟกัสไปที่ตัวบุคคลมากกว่า

ผลจากการศึกษาของเดมอน พบว่า มีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้นที่รู้เป้าหมายว่าตนเองเรียนไปเพื่ออะไร นอกนั้นเข้าข่าย มีแรงกระตุ้นแต่ขาดการวางแผน มีความตื่นตัวและกระตือรือร้นแต่ไม่รู้จะไปทางไหนดี หรือไม่ก็หัวก้าวหน้าเกินจนไปต่อไม่ถูก

เดมอนจึงเสนอวิธีช่วยให้คนรุ่นใหม่ค้นหาเป้าหมายของตัวเองเจอ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากพ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้องสวมบทบาทเป็นพี่เลี้ยง ด้วย 9 วิธี

1.ให้ลูกเขียนชีวิตตัวเองโดยมีพ่อแม่สนับสนุน

2.พูดคุยถึงคุณค่าของอาชีพทำให้เด็กไม่ดูถูกงาน

3.ตั้งคำถามที่ดีและฟังอย่างตั้งใจ

4.แลกเปลี่ยนความเห็นจนเป็นนิสัย เข้าใจว่าสิ่งไหนที่ลูกให้ความสำคัญ

5.พ่อแม่ต้องอยู่ทีมเดียวกับลูกเพื่อสนับสนุนและเรียนรู้ไปด้วยกัน

6.คิดบวกและแชร์ประสบการณ์

7.ลองทำแบบทดสอบหาจุดแข็ง

8.ไว้ใจให้แสดงฝีมือ

9.สร้างความเชื่อมั่นว่าสิ่งที่เด็กทำสำคัญ

อ่านข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ ‘ตอนนี้’ และ ‘โตขึ้น’ อยากเป็นอะไร พ่อแม่ช่วยลูกค้นหาได้ด้วย 9 วิธีนี้

Tags:

4Csคาแรกเตอร์(character building)Growth mindset

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Illustrator:

illustrator

BONALISA SMILE

Related Posts

  • 21st Century skills
    ในห้องเรียน ‘ความคิดสร้างสรรค์’ วัดกันได้ และไม่ต้องใช้คะแนนหรือเกรดเฉลี่ย

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • 21st Century skills
    เป็นเด็กยิ่งต้อง ‘เถียง’ และเถียงอย่างสร้างสรรค์เพื่อเข้าใจตัวเองและคนอื่น

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • 21st Century skills
    อย่าเอาความคิดผู้ใหญ่ มาทำลายความคิดสร้างสรรค์เด็ก

    เรื่อง The Potential ภาพ BONALISA SMILE

  • 21st Century skills
    คิดอย่างสร้างสรรค์ด้วยการทำงานของสมอง 2 ซีก

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • How to enjoy life
    ‘กล่อง’ ใบนี้ ห้ามเราไม่ให้ทำในสิ่งที่รัก

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

VISUALIZATION: ในโลกของ BIG DATA เราต้องการนักสร้างภาพจากมหาสมุทรข้อมูล
Voice of New Gen
7 January 2019

VISUALIZATION: ในโลกของ BIG DATA เราต้องการนักสร้างภาพจากมหาสมุทรข้อมูล

เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊antizeptic ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • โจ้ ภูริพันธุ์ รุจิขจร Data Specialist แห่งบริษัท บุญมีแล็บ และอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สอนและเซียนด้าน visualization โดยเฉพาะจะมาอธิบายว่า visualization คืออะไร และสำคัญอย่างไร
  • visualization จะเน้นการสื่อสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยภาพ หรือบางทีก็มีอนิเมชั่นด้วยก็ได้ เพื่อให้คนสนใจและเข้าใจง่าย
  • visualization เป็นศาสตร์ที่ต้องใช้หลายศาสตร์มาผสมกัน ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะเจาะจง อย่างน้อยต้องเขียนโค้ดได้ เป็นโปรแกรมเมอร์ เรื่องออกแบบก็ต้องพอรู้บ้าง แล้วยังต้องมี soft skill ไว้คุยกับลูกค้าอีกด้วย

ในยุคที่ล้นไปด้วยข้อมูล ใครๆ ต่างตื่นตูมเรื่อง Big Data หากมีใครสักคนรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ แล้วนำเสนอออกมาในรูปแบบที่น่าสนใจ เข้าใจง่าย ก็คงจะช่วยบรรเทาอาการเวียนหัวเมาดาต้า และอาจช่วยให้เราเข้าใจประเด็นต่างๆ ร่วมกันได้มากขึ้น ซึ่งกระบวนการแปรข้อมูลมาเป็นภาพเพื่อการสื่อสารนี้ เป็นศาสตร์หนึ่งที่เรียกว่า visualization

เมื่อพูดถึง visualisation เรานึกถึง โจ้-ภูริพันธุ์ รุจิขจร Data Specialist แห่งบริษัท บุญมีแล็บ (Boonmee Lab) เพราะโปรเจ็คท์น่าสนใจต่างๆ ที่บุญมีแล็บทำ เช่น เว็บ elect.in.th ที่ให้ข้อมูลเรื่องการเลือกตั้ง และหมวกอีกใบคือบทบาทการเป็นอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สอนด้าน visualization โดยเฉพาะ จะมาอธิบายแบบชัดเจนว่า visualization คืออะไร ทำอย่างไร และสำคัญอย่างไร

บุญมีแล็บ คืออะไร

บุญมีแล็บ คือบริษัทดีไซน์เทคโนโลยี หลักๆ คือออกแบบและพัฒนาระบบ ทำทั้งสองอย่าง จะเรียกว่าครบวงจรก็ไม่เชิง แต่ถ้าให้เราดีไซน์อย่างเดียวเราก็ไม่ทำ ให้พัฒนาระบบอย่างเดียวเราก็ไม่ทำ เรามักทำทั้งหมด งานที่เราทำเยอะคือเรื่องข้อมูล เช่น มีข้อมูลอยู่ชุดหนึ่ง อยากจะนำเสนอออกมา จะนำเสนออย่างไรดี เราก็ออกแบบ แล้วก็พัฒนาเป็นระบบด้วย

ส่วนใหญ่ผลลัพธ์ออกมาจะไม่ได้เป็นภาพนิ่งๆ หรือเป็นโปสเตอร์อย่างเดียว มักเป็นเว็บที่ใช้งานได้ interactive ได้

คุณโจ้ทำหน้าที่อะไร แล้วต้องใช้ทักษะอะไรในการทำงาน

ที่บริษัทจะมีคนก่อตั้งสามคน ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ, รพี สุวีรานนท์ แล้วก็มีผม ฐิติพงศ์จะเน้นเรื่องออกแบบ รพีจะเน้นเรื่อง tech ส่วนผม เป็น Data Specialist ที่เน้นส่วนข้อมูลมากกว่า เช่น ข้อมูลเหล่านี้ควรจะเล่าเป็นอย่างไร ใช้ ชาร์ตประเภทไหนถึงจะเหมาะสม แล้วผมจะโค้ดเองบางส่วนด้วย เพราะว่า การโค้ดส่วน visualisation นั้นจะต้องใช้ความเชี่ยวชาญคนละประเภทกับส่วนอื่นๆ

สมัยเรียนผมเรียนด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ไม่ได้มีความรู้เรื่องออกแบบโดยเฉพาะ แต่มาเรียนต่อปริญญาเอกด้าน visualization โดยตรง ซึ่งจะเน้นการทำวิจัย เช่น ทดสอบว่าทำชาร์ตหรือแผนภูมิแบบนี้ไป จะอ่านง่ายหรืออ่านยาก

พอทำไปสักพัก อ่านงานวิจัยไปสักพัก ผมก็พอรู้แพทเทิร์นบางอย่าง เหมือนกฎอะไรง่ายๆ ว่าทำแบบนี้แล้วพออ่านได้หรือไม่ได้ การใช้สี ฯลฯ เราก็พยายามหลีกเลี่ยงทางที่อ่านยาก แล้วก็ทำให้อ่านง่าย

ศาสตร์ที่ใช้ก็คิดว่าต้องผสมๆ กัน ไม่มีชื่อเรียกเฉพาะเจาะจง อย่างน้อยต้องเขียนโค้ดได้ ต้องเป็นด้านโปรแกรมมิ่ง เรื่องออกแบบก็ต้องพอรู้บ้าง พวกหลักการออกแบบพื้นฐาน ออกแบบอย่างไรให้อ่านง่าย แล้วถ้าคุยกับลูกค้าก็ต้องมีทักษะ soft skill ต่างๆ จะคุยกับเขาอย่างไร

อย่างเราอยากนำเสนอแบบนี้ เราคิดว่าอ่านง่าย ชัดเจน แต่บางทีลูกค้าไม่ได้อยากได้แบบนี้ เพราะความรู้สึกว่าไม่หวือหวา ไม่ตื่นเต้น เราก็ต้องพยายามคิดว่าต้องทำอย่างไรถึงน่าสนใจ และอ่านง่ายด้วย เราก็ต้องพยายามคุยกับเขา บอกว่าให้อ่านง่ายด้วยนะ ส่วนใหญ่ลูกค้าไม่ค่อยสนใจเรื่องอ่านง่าย อย่างชาร์ตไหนดูตื่นตาตื่นใจมากๆ มีอนิเมชั่นจะว้าว จะชอบ

Visualization ต่างจาก Infographic อย่างไร

จริงๆ ไม่ได้มีคำนิยามตายตัว แต่เชื่อว่าคนส่วนใหญ่เมื่อพูดว่า infographic ก็มักเข้าใจว่าเป็นภาพนิ่ง แต่ visualization มีความหมายกว้างกว่าคือไม่จำเป็นต้องเป็นภาพนิ่ง อาจเป็นระบบหนึ่งซึ่งคนทำอะไรบางอย่างกับมันได้ เลือกดูเฉพาะสิ่งที่ต้องการได้ รวมทั้งมีเกมที่เป็น visualization ก็มี

ช่วงนี้คนอาจได้ยินคำว่า big data บ่อยๆ เขาก็จะสนใจเรื่องข้อมูล หลังๆ มีกระแสเรื่องเปิดเผยข้อมูล (open data) เขาก็เอามาใช้ หรือเอามาเป็นเหตุผลในการทำ visualization

ผลงานที่ผ่านมามีอะไรบ้าง

อย่างของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) เขามีข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ประชากร คนจน บัตรคนจน เขาต้องการให้คนทั่วไปรับรู้เรื่องนี้ เขามีข้อมูลเยอะ อยากเผยแพร่สู่สาธารณะ แต่ไม่รู้ว่าจะทำรูปแบบไหน บางครั้งออกมาเป็นรายงาน เป็นเอกสารเฉยๆ ก็ไม่มีคนสนใจ เราก็ไปช่วยคิดว่าจะทำอย่างไรดี

สุดท้ายออกมาเป็นเว็บไซต์หนึ่งที่สามารถดูจำนวนคนยากจนในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้แต่ละพื้นที่เอาไปปรับปรุง แต่ละที่เขาก็จะมี feedback ตลอดเวลาว่าคนจนเพิ่มขึ้นน้อยลงอย่างไรเมื่อเทียบกับปี 59 60 61 ก็จะสามารถเห็นความเปลี่ยนแปลง

ที่ออกแบบออกมา สัญลักษณ์มีลักษณะเป็นดาว แต่ละดวงจะแหว่งๆ ถ้าดาวเต็มแสดงว่าไม่มีคนจน นี้คือคิดเผื่อเขาจะเอาไว้ใช้อวด เอาไว้ปรินท์โปสเตอร์แปะที่อำเภอได้ว่าเราดาวเต็มเลย อันที่ดาวแหว่งๆ เขาก็อาจค่อยๆ พัฒนาให้ดาวมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (สามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.tpmap.in.th)

อีกชิ้นหนึ่งคือ Elect เป็นปฏิทินที่บอกว่า เลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาเกิดขึ้นเมื่อไหร่บ้าง เคยมีกบฏ ปฏิวัติ หรือรัฐประหารกันวันไหน (ดูรายละเอียดและดาวน์โหลดปฏิทินได้ฟรี ที่ elect.in.th/democracy-calendar)

ผมมองว่าข้อมูลการเมืองของไทย ไม่ค่อยมีการนำเสนอในรูปแบบอื่นนอกจากเป็นตัวเลข อย่างเช่นวันสำคัญหนึ่งวัน เราจะพูดถึงเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับวันนั้น แต่ไม่มีการเชื่อมโยง ไม่มีการนำเสนอข้อมูลในเชิงปริมาณ บางครั้งก็จะมีบ้าง อย่างการนับความถี่ เช่นเรามีรัฐประหารมากี่ครั้ง แต่ไม่เห็นอยู่ดีว่ารัฐประหารที่เกิดขึ้นมันถี่ขนาดไหน พอเราไปดูย้อนหลังก็รู้สึกว่ามันมีอะไรน่าสนใจดี อย่างเช่นรัฐประหารก่อนหน้าครั้งล่าสุดก็น่าสนใจในแง่ที่ว่า มันเกิดขึ้นหลังจากที่ไม่เกิดขึ้นมานานแล้ว ซึ่งผมก็คิดว่า visualisation ช่วยให้เห็นภาพและดึงความน่าสนใจขึ้นมาได้

เราทำออกมาในรูปแบบปฏิทิน เราก็ไม่รู้ว่าแต่ละวันแต่ละปีมีเหตุการณ์สำคัญอะไรบ้าง เรารู้แค่วันสำคัญทางศาสนา หรือวันที่รัฐบังคับให้ต้องรู้ อันอื่นที่ไม่มีมันก็ไม่มีจริงๆ เช่น บางทีเราก็อยากรู้ว่าเดือนไหนเกิดรัฐประหารบ่อยครั้งที่สุด ก็ดูน่าสนใจ อยากรู้ว่า circle ของมันคืออะไร

หรืองานของที่อื่นๆ ที่เคยทำเกี่ยวกับเรื่องรัฐประหาร ว่าแต่ละครั้ง รัฐประหารห่างกันเท่าไหร่ เราก็ทำแบบเป็นกราฟแท่ง ทำให้เห็นว่าแท่งค่อยๆ ห่างขึ้นเรื่อยๆ ช่วงแรกๆ ที่มีประชาธิปไตย จะมีรัฐประหารถี่ๆ แล้วก็ห่างขึ้นๆๆๆ แล้วพอเราพล็อตเหตุการณ์สำคัญลงไป อย่างเรื่องการเลือกตั้ง เราจะเห็นว่า เฮ้ย รัฐประหารหลายๆ ครั้งเกิดขึ้นหลังจากเลือกตั้ง ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าสนใจ เราก็ไม่เคยรู้มาก่อนว่ามันเกิดขึ้นอย่างนั้น ถ้าเราไม่เอาข้อมูลทั้งหลายพล็อตมันออกมา

Feedback ที่ได้เป็นอย่างไร

ก็มีคนสนใจระดับหนึ่ง เพียงแต่ว่าโดยส่วนตัวรู้สึกว่าเรื่องการเมืองเป็นเรื่องที่คนจะไม่อยากแชร์ออกนอกหน้า คนไม่แชร์เรื่องนี้ออนไลน์ เขาอาจจะรู้สึกว่าไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับมิติเรื่องการเมือง เราก็พยายามทำให้กลางๆ คือทำให้รู้สึกว่าเป็นเรื่องประวัติศาสตร์ไทยที่สำคัญ เป็นข้อมูล ไม่ได้มีน้ำเสียงหรืออารมณ์ รัฐประหารอาจดูเป็นเรื่องที่หนักหน่อย แต่การเมืองในประเด็นอื่นๆ อาจสนใจก็ได้ เช่น เรื่องนโยบาย

อีกเรื่องที่อยากทำก็คือว่า เนื่องจากทุกคนก็มีประวัติศาสตร์ส่วนตัว ก็อยากให้ลองแมตช์กับเรื่องของตัวเอง อย่างปฏิทิน เชื่อว่าทุกคนพอเห็นครั้งแรก เราจะหาวันเกิดเราว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง มีรัฐประหารไหม ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องปกติ ถ้ามัน success อีกสักนิด ให้ใส่วันเกิดของตัวเอง ก็บอกขึ้นมาเลยว่าวันนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง มันสามารถทำได้หลายแนว เพราะตัวมันไม่ได้เป็นแค่ภาพอย่างเดียว มันควรเอื้อต่ออะไรหลายๆ อย่าง แล้วพอเอาข้อมูลส่วนตัวที่มันเป็นประวัติศาสตร์ส่วนตัวไปด้วย ก็จะน่าสนใจมากขึ้น เขาอาจจะยินยอม หรือสนใจเรื่องการเมืองมากขึ้นโดยที่ไม่ต้องพูดเรื่องหนักๆ อย่างเดียว

ระหว่างการทำงานมีปัญหาอะไรบ้าง

ปัญหาเรื่องข้อมูลถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ สมมุติลูกค้าบางคนคิดว่าข้อมูลเขาดีแล้ว เยอะแล้ว เก็บเรียบร้อยแล้ว แต่ในความเป็นจริงมันอาจไม่ได้ละเอียดพอ หรือเก็บในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม บางทีเราคิดว่าจะทำสิ่งหนึ่งได้ แต่พอมาดูแล้วก็ทำไม่ได้

ช่วงนี้เราอาจเคยได้ยินคำว่า big data บ่อย มันคือข้อมูลขนาดใหญ่ ถ้าให้ผมบอกคือส่วนใหญ่ไม่น่าจะมีองค์กรไหนในไทยที่มีข้อมูลใหญ่ขนาดนั้น ยกเว้นพวกธนาคาร แต่องค์กรทั่วๆ ไป แม้กระทั่งงานของเนคเทคเองเรียกได้ค่อนข้างยากว่าเป็น big data เขามีข้อมูลคนจนทั้งประเทศ แต่คนในประเทศไทยก็มีแค่ 70 ล้านคน ประชากรทั้งหมดก็มีแค่หลัก 10 ล้าน 100 ล้าน ไม่ได้เยอะขนาดนั้น

โดยทั่วไป ถ้าใหญ่ต้องใหญ่ขนาดเก็บใน data base ก้อนเดียวไม่ได้ เช่นข้อมูลการซื้อขายหุ้นที่เกิดขึ้นเยอะและถี่ สมมุติซื้อขายกันวันละเป็นหมื่นเป็นแสนครั้ง ต่อปีก็หลายล้าน ซึ่งอย่างนี้ก็น่าจะเยอะกว่าถ้าสะสมไปเยอะๆ

เรามีข้อมูลเยอะๆ แบบนั้นไปทำอะไร

สมมุติเป็นธนาคาร เราสามารถหาพฤติกรรมบางอย่างของลูกค้า เช่นว่า คนมักจะทำสิ่งหนึ่ง แล้วจะทำสิ่งหนึ่งต่อไปด้วย อย่างดูหนังแล้ว ช็อปปิ้งต่อ ถ้าเจอพฤติกรรมแบบนั้น ธนาคารเองก็สามารถเอาไปทำอย่างอื่นได้ต่อ ถ้าเราดูหนังปุ๊บ เขาอาจจะส่งโปรโมชั่นการซื้อของในซูเปอร์ฯ มาให้เรา ซึ่งเราอาจมองว่ามันไม่เกี่ยวข้องกัน มันเป็นพฤติกรรมที่เราทำไปโดยไม่รู้ตัว

คิดว่าอะไรเป็นต้นเหตุที่ทำให้ข้อมูลไม่พร้อม หรือไม่มีข้อมูล

ถ้าเป็นเอกชนเขาไม่มีความจำเป็นต้องให้อยู่แล้ว กฎหมายไม่ได้บังคับ สองคือ ถึงเป็นรัฐ ข้อมูลที่มีอยู่ก็อยู่ในฟอร์แมทที่ไม่เหมาะสมบ้าง ไม่ละเอียดพอบ้าง ซึ่งอันนี้ก็ไม่ได้มีกฎหมายบังคับ DGA (สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล Digital Government Development Agency) พยายามกระตุ้นให้เกิดการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งหน่วยงานรัฐของเรา ผมว่าจริงๆ ก็ไม่ได้แย่มากถึงขั้นไม่มีข้อมูลเลย เพียงแต่ว่าบางครั้งได้ข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์มา หรือได้ข้อมูลที่ม่ละเอียดพอ หรือฟอร์แมทไม่ดี เช่น ถ้ามาเป็นกระดาษก็ไม่มีประโยชน์ สแกนมาเป็นภาพดิจิตอลก็จริง แต่ไม่สามารถเอาไปทำเป็นอะไรได้ ก็ต้องมาพิมพ์อีกครั้ง นี่เป็นปัญหาคลาสสิก

ส่วนเรื่องการเปิดเผยข้อมูล ในแง่ของรัฐคือ ข้อมูลนั้นเป็นของเราอยู่แล้ว เป็นของประชาชนอยู่แล้ว เราเป็นคนจ่ายภาษีสร้างข้อมูลนั้นขึ้นมา ส่วนเอกชนจะถูกบังคับให้เปิดเผยข้อมูลในระดับหนึ่งอยู่แล้ว เช่น ถ้าอยู่ในตลาดหุ้น ยังไงก็ต้องเปิด เพราะเป็นความโปร่งใส แล้วเขาก็ต้องให้ข้อมูลเพื่อจะผู้ที่สนใจจะลงทุนกับบริษัทเขา

ทราบมาว่าคุณโจ้ยังเป็นอาจารย์อีกด้วย?

งานหลักจริงๆ ของผมคือเป็นอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีหนึ่งผมสอนหลายวิชา แต่วิชาที่สอนโดยตรงคือวิชา visualisation ที่จะเปิดสอนปีละหนึ่งครั้ง ในระดับปริญญาตรี คือ เอาข้อมูลมาแปลงเป็นภาพได้อย่างไรให้อ่านเข้าใจง่าย สื่อสารได้ ตรงวัตถุประสงค์

ตอนแรกก็จะพูดถึง introduction คร่าวๆ ก่อน แล้วก็ถัดมาก็จะพูดถึงข้อมูลแต่ละชนิด ปกติในทางวิชาการจะแบ่งข้อมูลเป็น 1 2 3 4 มิติ เรื่อยๆ จาก excel มาเป็นกราฟแท่ง แล้วจะขยายเป็นมิติถัดไปอย่างไร เอามาซ้อนกันก็ได้ เอามาวางข้างๆ ก็ได้ ถัดจากนั้นก็มีเทคนิคอื่นๆ อีกมากมาย ถ้ามันเป็นสามมิติขึ้นไปก็จะเป็นอนิเมชั่น แล้วสุดท้ายก็ให้นิสิตทำโปรเจ็คท์

การทำโปรเจ็คท์ นิสิตจะทำอะไรก็ได้ตามใจ เอาข้อมูลมา แล้วก็เอามาแสดงผล จริงๆ ฟีดแบ็คก็โอเคนะ ทำให้เขาได้เห็นในสิ่งที่เขาไม่เห็นมาก่อน

แต่เวลานิสิตทำโปรเจ็คท์ก็จะมีปัญหาอยู่บ้าง เช่น ข้อมูลไม่ละเอียดพอ ยกตัวอย่างข้อมูลโรคพิษสุนัขบ้า หาได้จากกรมควบคุมโรค แต่บางทีเขาสรุปมาให้แล้วว่าภาคเหนือมีเท่าไหร่ ซึ่งไม่เห็นถึงระดับจังหวัด ไม่เห็นถึงแพทเทิร์นบางอย่าง ฉะนั้นข้อมูลที่ดีควรละเอียด ซึ่งนิสิตจะหากันไม่ค่อยได้ บางทีเรื่องรถไฟฟ้า บีทีเอส กับ เอ็มอาร์ที เสียกี่ครั้ง เราไม่มีวันรู้ได้จากการขอเขา ซึ่งจริงๆ ก็ควรจะเปิดเผย

อีกปัญหาหนึ่งคือสื่อในไทยไม่ค่อยมีตัวอย่างแบบซับซ้อนให้เขาดู ถ้าดูสื่อต่างประเทศเยอะก็จะรู้ว่าเขาจริงจังกับเรื่องพวกนี้พอสมควร เขาผลิตชิ้นงานประเภทนี้ขึ้นบ่อยๆ อาจจะไม่ได้มีทุกวัน แต่อย่างน้อยทุกอาทิตย์ ที่ไทยอาจไม่ค่อยเห็น อย่างที่ทำ elect หรืองานอื่นๆ เราก็ใช้เป็นตัวอย่างในชั้นเรียนด้วย เพราะเขาเห็นอะไรที่ใกล้ตัวเขามากขึ้น เช่น ข้อมูลบัตรคนจน ว่ามันมาเอาแสดงผลได้ด้วย

ทำไมวิชานี้ถึงอยู่ในคณะบัญชี

ที่จุฬาฯ จะมีสอนคอมพิวเตอร์อยู่สามที่ มีที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แล้วก็บัญชี ทั้งสามที่ก็เรียนคล้ายๆ กัน ต่างกันที่ว่าคณะบัญชีจะเน้นวิชาธุรกิจมากกว่า หลังๆ เรียนเรื่อง data science คือเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่ง visualisation เป็นส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์ข้อมูล มักเป็นตอนต้นกับตอนท้าย

ตอนต้นคือ เมื่อเราได้ข้อมูลมา เราอาจยังไม่มีไอเดียเลยว่าจะทำอะไรกับข้อมูลเหล่านี้ เรามักจะนำมาแสดงผลก่อน เช่น ทำชาร์ต เพื่อดูว่าจะเห็นแพทเทิร์นอะไรบางอย่างหรือเปล่า แล้วค่อยเอาไปคิดโมเดล หรือเอาไปทำอะไรต่อ

กับตอนท้าย สมมุติคิดมาได้แล้ว เราอยากแสดงผลออกมาแล้วให้คนคล้อยตาม ก็ใช้ visualisation ในการทำให้คนคล้อยตามประเด็นที่เราจะสื่อสาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ข้อมูลมันก็เลยอยู่ในคณะบัญชี แต่ก็มีนิสิตคณะอื่นมาลงเรียนนะ

ถ้าหากเด็กๆ อยากทำงานด้าน visualisation ต้องทำอย่างไรบ้าง

ต้องมีความสนใจหลายด้าน เพราะอย่างที่เล่าไปว่ามันใช้ศาสตร์จากหลายๆ วิชา ต้องปะติดปะต่อเอา ซึ่งทุกวันนี้ผมเข้าใจว่าเด็กส่วนใหญ่มีความสนใจรอบด้านอยู่แล้ว ผมเห็นว่าเด็กหลายคนก็จะไปลงวิชาคณะอื่น ซึ่งผมคิดว่าคนที่มีความสนใจรอบด้านก็จะทำงานด้านนี้ได้ อย่างที่บอกว่ามันไม่ใช่เรื่องเทคนิคหรือโค้ดล้วนๆ จะต้องมีการการคิดประเด็นด้วย ว่าทำอย่างไรถึงน่าสนใจ ต้องมีการออกแบบเล็กๆ น้อยๆ นอกจากนั้นก็มีเรื่องของการเขียนโปรแกรม

ถ้าใครสนใจก็เรียนต่อเลย ที่ต่างประเทศมีด้านนี้โดยตรง อย่างเช่นอเมริกา มีหลักสูตรที่สอนแบบนี้เยอะ เรียนทั้งเขียนโปรแกรม ทั้งดีไซน์ ภายในหลักสูตรเดียว ซึ่งผมคิดว่าน่าสนใจสำหรับคนที่จะเรียนต่อ

นอกจากนี้มีหนังสือเยอะแยะ หาอ่านได้ แต่ก็จะกระจัดกระจายหน่อย เพราะงานด้านนี้ค่อนข้างใหม่ อย่างแม้กระทั่งที่อเมริกาเอง ทำด้านนี้แบบจริงจังก็แค่ประมาณ 10 ปีมานี่เอง ก็ไม่แปลกที่จะไม่มีหนังสือที่อ่านจบปุ๊บแล้วครอบคลุมเลย

แล้วอีกอย่างเทคโนโลยีเปลี่ยนไปเร็วมาก 10 ปีที่ผ่านมา เครื่องมือที่ใช้เขียนโปรแกรมเปลี่ยนไปเป็นสิบเครื่องมือแล้ว ฉะนั้นเราก็ต้องอัพเดทเรื่อยๆ

ที่สำคัญ คือต้องยอมรับว่าในไทยยังไม่มีงานด้านนี้โดยตรง เพราะว่าถ้าเราจะทำด้านนี้ จะไปทำที่ไหน จะได้เงินอย่างไร ก็ไม่ค่อยชัดเจน ในขณะที่บางสายชัดเจน อย่างโปรแกรมเมอร์ก็ชัดเจนว่าไปทำงานสายไอทีทั่วๆ ไป เรียนนิเทศน์ก็ไปทำข่าว แต่ visualisation ไม่ค่อยชัด แต่ในอเมริกาเขาค่อนข้างโอเค เราอาจจะต้องสร้างงานพวกนี้ด้วย ซึ่งอาจต้องใช้เวลาสักพัก

เรียนจบ visualisation แล้วมีงานทำไหม

แต่ผมเชื่อว่าอาชีพนี้กำลังจะเป็นที่นิยม เพราะถ้าเรียนมาทางด้าน visualisation ในแง่ธุรกิจก็หาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ได้ หรือไว้อธิบายข้อมูลต่างๆ ได้ทุกวันนี้บริษัทหลายที่อาจมีคนทำงานนี้อยู่แล้ว แต่อาจจะชื่อตำแหน่งอื่น เช่น data scientist หรือ analyst เพียงแต่ visualization specialist จะเน้นแต่เฉพาะการสื่อสารหรือวิเคราะห์ข้อมูลด้วยภาพ

และในแง่ demand หลายบริษัทมีขนาดใหญ่ขึ้น มีข้อมูลมากขึ้น (ทั้งจากขนาดและการเก็บข้อมูลดีขึ้น) ตำแหน่งงานด้านข้อมูลรวมทั้งด้าน visualization ก็น่าจะเยอะขึ้นด้วย

Tags:

โซเชียลมีเดียนักออกแบบภูริพันธุ์ รุจิขจรData Journalismทักษะการสื่อสาร(Communication Skill)AIนวัตกรรม

Author:

illustrator

กนกอร แซ่เบ๊

อดีตนักศึกษามานุษยวิทยา เกิดในครอบครัวคนจีนจึงพูดจีนได้คล่องราวภาษาแม่ ปัจจุบันเป็นคุณน้าที่หลงหลานสุดๆ และขยันฝึกโยคะเกือบเท่างานประจำ

illustrator

antizeptic

Photographer:

illustrator

ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

ศิลปศาสตร์บัณฑิต และมนุษย์ฟรีแลนซ์ที่ทำงานเขียน ถ่ายรูป สัมภาษณ์ แปลงาน ล่าม ไปจนถึงครูสอนพิเศษเด็กชั้นประถม ของสะสมที่ชอบมากๆ คือถุงเท้าและผ้าลายดอก เขียนเรื่องเหนือจริงด้วยความรู้สึกจริงๆ ออกเป็นหนังสือ 'Sad at first sight' ซึ่งขายหมดแล้ว ผลงานล่าสุดคือ I Eat You Up Inside My Head รับประทานสารตกค้างในกลีบดอกปอกเปิก

Related Posts

  • Voice of New Gen
    E-SACK ถุงเพาะชำจากกากถั่วเหลืองและผักตบชวา ทำไม? ปลูกต้นไม้ยังต้องใช้พลาสติก

    เรื่อง

  • Voice of New Gen
    ALGOLAXY: แอพฯ สอนอัลกอรึทึม เปลี่ยนความงงเป็นโอกาส ฝึกคิดให้เป็นระบบ 1-2-3-4

    เรื่อง

  • Education trend
    เอาชนะหุ่นยนต์ได้ด้วยการ ‘เอาใจเขามาใส่ใจเรา’ และความฉลาดทางอารมณ์

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Everyone can be an Educator
    ความสิ้นหวังการศึกษาในกราฟิกดีไซน์: ศิลปะต้องสร้างอนาคต

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Voice of New Gen
    CONNEXT KLONGTOEY : เรื่องจริงของ ‘เด็กคลองเตย’ ผ่านแฟชั่น แร็ป ภาพถ่ายและลายสัก

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา ภาพ สิทธิกร ขุนนราศัย

อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านนิทานได้อะไร ฉบับสมบูรณ์ ตอนที่ 6
EF (executive function)
7 January 2019

อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านนิทานได้อะไร ฉบับสมบูรณ์ ตอนที่ 6

เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

ต่อจากตอนที่แล้ว อ่านนิทานได้อะไร ฉบับสมบูรณ์ ตอน 5: ประโยชน์ของการอ่านนิทาน ข้อ 11-12

13. การจัดกลุ่ม (Grouping)

​โดยไม่ต้องสอนเด็กจัดกลุ่มสรรพสิ่งเป็นด้วยการนอนดูและฟังแม่อ่านนิทาน เรื่องแรกๆ คือแยกสัตว์ออกจากคน แม้ว่าสัตว์หลายตัวในนิทานจะแต่งตัวเป็นคนและพูดภาษาคน (anthropomorphism) เด็กรู้เสมอว่าพวกนั้นเป็นสัตว์มิใช่คน

ทำไม

​เพราะแม่มีอยู่จริงมาก่อนแล้ว และใบหน้าแม่นั้นมิใช่ใบหน้าของสัตว์ งานแรกๆ ของทารกคือจับภาพใบหน้ามนุษย์ (face recognition) อันที่จริงแล้วงานวิจัยสมัยใหม่พบว่าเด็กแยกพืชออกจากสัตว์ได้ด้วยตนเองอีกด้วย สัตว์เดินได้แต่พืชเดินไม่ได้ แม้ว่าทั้งสองอย่างจะทั้งเดินได้และพูดได้ในนิทานก็ตาม

ทำไม

เพราะแม่มีอยู่จริงมาก่อนแล้วอีกเช่นกัน แม่ที่มีอยู่จริงเป็นต้นทางของจิตวิทยาพัฒนาการที่หลายเรื่องเราก็ยังไม่สามารถหาคำอธิบายที่ดีได้ว่าทำไมแม่ที่มีอยู่จริงจึงสำคัญนักหนา

​เราให้เด็กดูสิ่งมีชีวิตกองหนึ่ง  คน สัตว์ พืช เด็กคนไหนก็จัดได้ ส่วนหนึ่งเพราะเขาสามารถคงไว้ซึ่งความมีอยู่และมองหลากหลายตัวแปรได้ (conserve&decentrate) ดังที่เขียนในตอนที่แล้ว

ข้อสอบอนุบาลจึงไม่จำเป็นต้องสอนให้เด็กจัดกลุ่มสัตว์ตามที่เรากำหนดเสมอไป เช่น ออกลูกเป็นไข่ หรือออกลูกเป็นตัว บินได้หรือบินไม่ได้ ว่ายน้ำได้หรือว่ายน้ำไม่ได้ ความรู้เหล่านี้ดีและสำคัญแต่จะลดความสำคัญลงเมื่อโลกเข้าสู่ยุคใหม่ เด็กต้องการความสามารถที่จะจำแนกและแบ่งกลุ่มด้วยตนเองมากกว่าและด้วยตัวแปร parameter ที่ตนเองกำหนดขึ้น

14. การจำแนก (Classification)

​การจำแนกเป็นความสามารถที่มาพร้อมกับการจัดกลุ่ม  เราไม่แน่ใจนักว่าอะไรเกิดก่อนอะไรเกิดหลัง เมื่อเราให้เด็กๆ เดินหาดทราย เขาจำแนกหิน เปลือกหอย และพลาสติกออกจากกันได้เองแล้วจัดวางเป็นกองๆ ให้เรียบร้อยได้อย่างไม่น่าเชื่อ การศึกษาที่อนุญาตให้เด็กได้ออกจากห้องเรียนแล้วเดินป่าเพื่อจำแนกและแบ่งกลุ่มสรรพสิ่งจะมีประโยชน์ต่อพัฒนาการสมองมากกว่ามาก

​มีบางเรื่องที่เราจำแนกด้วยสายตา แต่เรื่องหลายเรื่องบนโลกไม่สามารถจำแนกด้วยสายตา ความสามารถในการจำแนกเป็นเรื่องสำคัญ

15. การจัดอันดับ (Ordering)

เด็กจัดอันดับได้เองอีกเช่นกัน จากเล็กไปใหญ่หรือจากใหญ่เป็นเล็ก เป็นเรื่องที่พวกเขาฝึกทำได้เองจากการเล่นบนกองทราย กองหินและกองดิน เด็กบางคนสามารถเรียงลำดับเฉดสีได้อย่างน่าอัศจรรย์ด้วยตัวแปรที่เขากำหนดขึ้นเองด้วย

การจัดอันดับเป็นส่วนย่อยของการแบ่งกลุ่มด้วย  เช่น เมื่อเด็กแบ่งกลุ่มตัวละครในหนังสือนิทานได้ เช่น กลุ่มผู้ร้ายประกอบด้วย พ่อมด แม่มด องครักษ์ ทหารเลว อสูร  หมาป่า ค้างคาว นกฮูก ปืนใหญ่ ยาพิษ เขาควรเรียงลำดับอย่างไร เป็นต้น

เวลาเราเปิดนิทานหนึ่งเล่ม ลองพยายามแบ่งกลุ่มสรรพสิ่งและจัดอันดับสรรพสิ่ง เราจะพบว่าทำมิได้ง่ายๆ เพราะที่แท้แล้วของสิ่งหนึ่งหรือตัวละครตัวหนึ่งสามารถอยู่ได้ในสองกลุ่มพร้อมๆ กันและไม่รู้จะวางอันดับความสำคัญไว้ที่ตรงไหนอีกต่างหาก

การท่องหนังสือนั้นง่าย แต่การอ่านยังประโยชน์ต่อพัฒนาการของสมองมากกว่ามาก

16. การกำหนดตัวบ่งชี้ (Seriation)

​การกำหนดตัวบ่งชี้เป็นเรื่องที่ยากมากยิ่งขึ้นไปอีก  เด็กๆ ใช้ตัวบ่งชี้อะไรในการจัดให้หลายสิ่งหลายอย่างเป็นพวกผู้ร้าย แล้วถ้าผู้ร้ายของผู้ร้ายเล่าจะเอาไปไว้ตรงไหน เช่น จระเข้ในเรื่องปีเตอร์แพนที่คอยจะตามงับมือกัปตันฮุคอยู่ตลอดเวลา เป็นต้น  จระเข้ตัวนี้ควรเป็นพวกไหน

กลับไปที่เรื่องการแบ่งกลุ่มสัตว์  เราให้เด็กอนุบาลแบ่งกลุ่มสัตว์ด้วยการกำหนดตัวบ่งชี้ให้เด็กท่องเป็นเรื่องง่าย แต่ถ้าเราให้โอกาสเขากำหนดตัวบ่งชี้ด้วยตนเองเขาจะพัฒนาสมองสูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง เช่น เด็กคนหนึ่งอาจจะแบ่งกลุ่มสัตว์ตามนิสัย ให้หนอน ผีเสื้อและปลาทองเป็นสัตว์ใจร้าย ในขณะที่ให้เสือโคร่ง งูเห่า และจระเข้เป็นสัตว์ใจดี ประเด็นมิได้อยู่ที่ผิดถูกแต่อยู่ที่เด็กได้ฝึกกำหนดตัวบ่งชี้

ความสามารถ 4 ประการคือ การแบ่งกลุ่ม การจำแนก การจัดอันดับ และการกำหนดตัวบ่งชี้ คือพื้นฐานของสิ่งที่เรียกว่าคณิตศาสตร์ และเรื่องแรกคือการนับ

ผู้ใหญ่มักคิดว่าเด็กนับก้อนหินก่อน แต่ที่จริงแล้วการแบ่งกลุ่มและการนับเกิดพร้อมๆ กัน  นอกจากนี้การจัดอันดับและการนับเกิดพร้อมๆ กันอีกด้วย ลองนึกดูว่าเราจะจัดอันดับได้อย่างไรโดยไม่นับ และทุกครั้งที่มีการนับจะเกิดการบวก หนึ่งบวกหนึ่งบวกหนึ่งได้สาม ในขณะเดียวกันทุกครั้งที่มีการแบ่งกลุ่มก็จะเกิดการนับ กลุ่มหนึ่งกลุ่มสองกลุ่มสาม ส่วนการลบเกิดขึ้นเมื่อมีการสลายกลุ่ม หรือเมื่อเด็กขว้างก้อนหินออกไปหนึ่งก้อน

การศึกษาไทยไม่เชื่อเรื่องนี้ การนับ การบวก และการลบ เกิดขึ้นได้เองจากการเล่น และเป็นการเกิดขึ้นด้วยกลไกธรรมชาติ นั่นแปลว่าเรามิได้ไปขัดขวางหรือทำลายกลไกทางธรรมชาติ ตรงข้ามกับการบังคับเด็กนับแล้วบวกด้วยกลวิธีทางคณิตศาสตร์ซึ่งเรากำลังข้ามขั้นตอนทางธรรมชาติ

หนังสือนิทานแทบทุกเล่มซ่อนเรื่องการแบ่งกลุ่ม การจำแนก การจัดอันดับ การกำหนดตัวบ่งชี้ การนับ การบวก และการลบ  

ลองอ่านใหม่อย่างตั้งใจแล้วจะเห็น

หมายเหตุ: ติดตามอ่านบทความ อ่าน เล่น ทำงาน ของคุณหมอเรื่อง ‘การอ่าน’ ได้ที่นี่

ต่อจากตอนที่แล้ว อ่านนิทานได้อะไร ฉบับสมบูรณ์ ตอน 5: ประโยชน์ของการอ่านนิทาน ข้อ 11-12

13. การจัดกลุ่ม (Grouping)

​โดยไม่ต้องสอนเด็กจัดกลุ่มสรรพสิ่งเป็นด้วยการนอนดูและฟังแม่อ่านนิทาน เรื่องแรกๆ คือแยกสัตว์ออกจากคน แม้ว่าสัตว์หลายตัวในนิทานจะแต่งตัวเป็นคนและพูดภาษาคน (anthropomorphism) เด็กรู้เสมอว่าพวกนั้นเป็นสัตว์มิใช่คน

ทำไม

​เพราะแม่มีอยู่จริงมาก่อนแล้ว และใบหน้าแม่นั้นมิใช่ใบหน้าของสัตว์ งานแรกๆ ของทารกคือจับภาพใบหน้ามนุษย์ (face recognition) อันที่จริงแล้วงานวิจัยสมัยใหม่พบว่าเด็กแยกพืชออกจากสัตว์ได้ด้วยตนเองอีกด้วย สัตว์เดินได้แต่พืชเดินไม่ได้ แม้ว่าทั้งสองอย่างจะทั้งเดินได้และพูดได้ในนิทานก็ตาม

ทำไม

เพราะแม่มีอยู่จริงมาก่อนแล้วอีกเช่นกัน แม่ที่มีอยู่จริงเป็นต้นทางของจิตวิทยาพัฒนาการที่หลายเรื่องเราก็ยังไม่สามารถหาคำอธิบายที่ดีได้ว่าทำไมแม่ที่มีอยู่จริงจึงสำคัญนักหนา

​เราให้เด็กดูสิ่งมีชีวิตกองหนึ่ง  คน สัตว์ พืช เด็กคนไหนก็จัดได้ ส่วนหนึ่งเพราะเขาสามารถคงไว้ซึ่งความมีอยู่และมองหลากหลายตัวแปรได้ (conserve&decentrate) ดังที่เขียนในตอนที่แล้ว

ข้อสอบอนุบาลจึงไม่จำเป็นต้องสอนให้เด็กจัดกลุ่มสัตว์ตามที่เรากำหนดเสมอไป เช่น ออกลูกเป็นไข่ หรือออกลูกเป็นตัว บินได้หรือบินไม่ได้ ว่ายน้ำได้หรือว่ายน้ำไม่ได้ ความรู้เหล่านี้ดีและสำคัญแต่จะลดความสำคัญลงเมื่อโลกเข้าสู่ยุคใหม่ เด็กต้องการความสามารถที่จะจำแนกและแบ่งกลุ่มด้วยตนเองมากกว่าและด้วยตัวแปร parameter ที่ตนเองกำหนดขึ้น

14. การจำแนก (Classification)

​การจำแนกเป็นความสามารถที่มาพร้อมกับการจัดกลุ่ม  เราไม่แน่ใจนักว่าอะไรเกิดก่อนอะไรเกิดหลัง เมื่อเราให้เด็กๆ เดินหาดทราย เขาจำแนกหิน เปลือกหอย และพลาสติกออกจากกันได้เองแล้วจัดวางเป็นกองๆ ให้เรียบร้อยได้อย่างไม่น่าเชื่อ การศึกษาที่อนุญาตให้เด็กได้ออกจากห้องเรียนแล้วเดินป่าเพื่อจำแนกและแบ่งกลุ่มสรรพสิ่งจะมีประโยชน์ต่อพัฒนาการสมองมากกว่ามาก

​มีบางเรื่องที่เราจำแนกด้วยสายตา แต่เรื่องหลายเรื่องบนโลกไม่สามารถจำแนกด้วยสายตา ความสามารถในการจำแนกเป็นเรื่องสำคัญ

15. การจัดอันดับ (Ordering)

เด็กจัดอันดับได้เองอีกเช่นกัน จากเล็กไปใหญ่หรือจากใหญ่เป็นเล็ก เป็นเรื่องที่พวกเขาฝึกทำได้เองจากการเล่นบนกองทราย กองหินและกองดิน เด็กบางคนสามารถเรียงลำดับเฉดสีได้อย่างน่าอัศจรรย์ด้วยตัวแปรที่เขากำหนดขึ้นเองด้วย

การจัดอันดับเป็นส่วนย่อยของการแบ่งกลุ่มด้วย  เช่น เมื่อเด็กแบ่งกลุ่มตัวละครในหนังสือนิทานได้ เช่น กลุ่มผู้ร้ายประกอบด้วย พ่อมด แม่มด องครักษ์ ทหารเลว อสูร  หมาป่า ค้างคาว นกฮูก ปืนใหญ่ ยาพิษ เขาควรเรียงลำดับอย่างไร เป็นต้น

เวลาเราเปิดนิทานหนึ่งเล่ม ลองพยายามแบ่งกลุ่มสรรพสิ่งและจัดอันดับสรรพสิ่ง เราจะพบว่าทำมิได้ง่ายๆ เพราะที่แท้แล้วของสิ่งหนึ่งหรือตัวละครตัวหนึ่งสามารถอยู่ได้ในสองกลุ่มพร้อมๆ กันและไม่รู้จะวางอันดับความสำคัญไว้ที่ตรงไหนอีกต่างหาก

การท่องหนังสือนั้นง่าย แต่การอ่านยังประโยชน์ต่อพัฒนาการของสมองมากกว่ามาก

16. การกำหนดตัวบ่งชี้ (Seriation)

​การกำหนดตัวบ่งชี้เป็นเรื่องที่ยากมากยิ่งขึ้นไปอีก  เด็กๆ ใช้ตัวบ่งชี้อะไรในการจัดให้หลายสิ่งหลายอย่างเป็นพวกผู้ร้าย แล้วถ้าผู้ร้ายของผู้ร้ายเล่าจะเอาไปไว้ตรงไหน เช่น จระเข้ในเรื่องปีเตอร์แพนที่คอยจะตามงับมือกัปตันฮุคอยู่ตลอดเวลา เป็นต้น  จระเข้ตัวนี้ควรเป็นพวกไหน

กลับไปที่เรื่องการแบ่งกลุ่มสัตว์  เราให้เด็กอนุบาลแบ่งกลุ่มสัตว์ด้วยการกำหนดตัวบ่งชี้ให้เด็กท่องเป็นเรื่องง่าย แต่ถ้าเราให้โอกาสเขากำหนดตัวบ่งชี้ด้วยตนเองเขาจะพัฒนาสมองสูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง เช่น เด็กคนหนึ่งอาจจะแบ่งกลุ่มสัตว์ตามนิสัย ให้หนอน ผีเสื้อและปลาทองเป็นสัตว์ใจร้าย ในขณะที่ให้เสือโคร่ง งูเห่า และจระเข้เป็นสัตว์ใจดี ประเด็นมิได้อยู่ที่ผิดถูกแต่อยู่ที่เด็กได้ฝึกกำหนดตัวบ่งชี้

ความสามารถ 4 ประการคือ การแบ่งกลุ่ม การจำแนก การจัดอันดับ และการกำหนดตัวบ่งชี้ คือพื้นฐานของสิ่งที่เรียกว่าคณิตศาสตร์ และเรื่องแรกคือการนับ

ผู้ใหญ่มักคิดว่าเด็กนับก้อนหินก่อน แต่ที่จริงแล้วการแบ่งกลุ่มและการนับเกิดพร้อมๆ กัน  นอกจากนี้การจัดอันดับและการนับเกิดพร้อมๆ กันอีกด้วย ลองนึกดูว่าเราจะจัดอันดับได้อย่างไรโดยไม่นับ และทุกครั้งที่มีการนับจะเกิดการบวก หนึ่งบวกหนึ่งบวกหนึ่งได้สาม ในขณะเดียวกันทุกครั้งที่มีการแบ่งกลุ่มก็จะเกิดการนับ กลุ่มหนึ่งกลุ่มสองกลุ่มสาม ส่วนการลบเกิดขึ้นเมื่อมีการสลายกลุ่ม หรือเมื่อเด็กขว้างก้อนหินออกไปหนึ่งก้อน

การศึกษาไทยไม่เชื่อเรื่องนี้ การนับ การบวก และการลบ เกิดขึ้นได้เองจากการเล่น และเป็นการเกิดขึ้นด้วยกลไกธรรมชาติ นั่นแปลว่าเรามิได้ไปขัดขวางหรือทำลายกลไกทางธรรมชาติ ตรงข้ามกับการบังคับเด็กนับแล้วบวกด้วยกลวิธีทางคณิตศาสตร์ซึ่งเรากำลังข้ามขั้นตอนทางธรรมชาติ

หนังสือนิทานแทบทุกเล่มซ่อนเรื่องการแบ่งกลุ่ม การจำแนก การจัดอันดับ การกำหนดตัวบ่งชี้ การนับ การบวก และการลบ  

ลองอ่านใหม่อย่างตั้งใจแล้วจะเห็น

หมายเหตุ: ติดตามอ่านบทความ อ่าน เล่น ทำงาน ของคุณหมอเรื่อง ‘การอ่าน’ ได้ที่นี่
อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านนิทาน
อ่าน เล่น ทำงาน: เล็กๆ น้อยๆ แต่สำคัญมากของ ‘นิทานก่อนนอน’
อ่าน เล่น ทำงาน: ความต่างระหว่าง ‘อ่านออก (เร็ว)’ กับ ‘อ่านเอาเรื่อง’
อ่าน เล่น ทำงาน: ‘นิทาน’ สมาธิและความฉลาดเริ่มต้นในห้องนอนยามค่ำคืน
อ่าน เล่น ทำงาน: เด็กทำอะไรช้า มาจาก ‘ความจำใช้งาน’ เด็กๆ จึงต้องได้อ่านนิทานภาพก่อนนอน
อ่าน เล่น ทำงาน: อ่าน ‘อย่างมีความสุข’ เพื่อสร้างระบบความจำใช้งาน
อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านวรรณคดีไทย ลูกจะเผชิญด้านมืดได้ดีกว่าคำพ่อแม่สั่งสอน
อ่าน เล่น ทำงาน: อ่าน–สมองและจิตใจของเด็กสร้างขึ้นมาได้อย่างไร ตอนที่ 1
อ่าน เล่น ทำงาน: อ่าน–สมองและจิตใจของเด็กสร้างขึ้นมาได้อย่างไร ตอนที่ 2 (จบ)
อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านนิทานได้อะไร ฉบับสมบูรณ์ ตอน 1
อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านนิทานได้อะไร ฉบับสมบูรณ์ ตอน 2
อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านนิทานได้อะไร ฉบับสมบูรณ์ ตอน 3
อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านนิทานได้อะไร ฉบับสมบูรณ์ ตอนที่ 4
อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านนิทานได้อะไร ฉบับสมบูรณ์ ตอนที่ 5

Tags:

นิทานประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์อ่าน เล่น ทำงานEFและการศึกษาการอ่าน

Author:

illustrator

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

Illustrator:

illustrator

antizeptic

Related Posts

  • EF (executive function)
    อ่าน เล่น ทำงาน: อ่านนิทานได้อะไร ฉบับสมบูรณ์ ตอนที่ 3

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • EF (executive function)
    อ่าน เล่น ทำงาน: รู้จักพลิกแพลง เปลี่ยนแปลงได้ไม่รู้จบด้วย ‘ความจำหมายเลข 4’

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • EF (executive function)
    อ่าน เล่น ทำงาน: เด็กทำอะไรช้า มาจาก ‘ความจำใช้งาน’ เด็กๆ จึงต้องได้อ่านนิทานภาพก่อนนอน

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • EF (executive function)
    อ่านเถอะนะ ง่ายจะตายชัก

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

  • EF (executive function)
    อ่าน-เล่น-ทำงาน: เล็กๆ น้อยๆ แต่สำคัญมาก ของ ‘นิทานก่อนนอน’

    เรื่อง ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ภาพ antizeptic

SISU เลือกทางยากแทนทางง่าย ฝึกหัวใจและร่างกายไม่ให้ชินกับความสำเร็จรูป
Voice of New GenBook
4 January 2019

SISU เลือกทางยากแทนทางง่าย ฝึกหัวใจและร่างกายไม่ให้ชินกับความสำเร็จรูป

เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Sisu คือคำที่ made in ฟินแลนด์ เป็นคำเฉพาะที่ยังไม่มีคำแปลไทยใดๆ ที่ตรงและลงตัว
  • ประเทศที่ฤดูร้อนมีแสงแดดรำไรเพียงวันละ 4-5 ชั่วโมง ความหนาวส่วนใหญ่เข้าขั้นติดลบ แต่ทุกคนก็ยังปั่นจักรยาน นั่นก็คือ Sisu
  • ในวันที่ทุกอย่างสำเร็จรูปยกเว้นใจเราเอง การผ่านความลำบากต่างๆ ไม่ต่างอะไรกับการค่อยๆ สร้างกล้ามเนื้อเพื่อรอวันสู้วิกฤติที่ชีวิตหยิบยื่นมาให้

Sisu เป็นคำภาษาฟิน เป็นคำเฉพาะที่ยังไม่มีคำแปลไทยใดๆ ที่ตรงและลงตัว

แต่ ก้อย-กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ ผู้แปลหนังสือ Finding Sisu ใช้คำไทยบนปกหนังสือสีฟ้าใสว่า เด็ดเดี่ยวแม้โดดเดี่ยว

ก้อย-กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์

จริงๆ อดีตนักศึกษาปริญญาโทจากฟินแลนด์อย่างก้อย ได้ยินคำว่า Sisu มานานแล้ว แต่ค่อยๆ ซึมซับแบบซึมลึกก็เมื่อตอนใช้ชีวิตอยู่คนเดียวในประเทศที่ฤดูร้อนมีแสงแดดรำไรเพียงวันละ 4-5 ชั่วโมง ความหนาวส่วนใหญ่เข้าขั้นติดลบ – แต่ทุกคนก็ยังปั่นจักรยาน

ทำไมถึงไปเรียนที่ฟินแลนด์? คนที่จบปริญญาตรีด้านอักษรศาสตร์อย่างก้อย สนใจวัฒนธรรมเป็นทุนเดิม ทำงานได้สักพักก็อยากเรียนต่อด้านนี้ พอดีกับที่เพื่อนคือ ‘ครูจุ๊ย’ กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ แนะนำว่ามีทุนเรียนฟรีที่ฟินแลนด์ (ปี 2550-2553 – ปัจจุบันประชากรสหภาพยุโรปเท่านั้นที่เรียนฟรี)

“เสียแค่ค่ากินอยู่ เดินทาง นอกนั้นฟรีหมด เราก็เสิร์ชเจอวิชา Digital Culture (วัฒนธรรมดิจิตอล) เราอยากเรียนเรื่องการสร้างสรรค์ของคน การส่งต่อความหมาย ประเพณีต่างๆ”

ชีวิตนักศึกษาไทยในฟินแลนด์ ทำให้แว่นการมองบ้านเมืองเป็นไปอย่างช่างสงสัยและตั้งข้อสังเกต วิธีการหาคำตอบของก้อยคือใช้ชีวิต เก็บรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่เจอในแต่ละวันมาต่อจิ๊กซอว์ให้ค่อยๆ เต็ม จนเข้าใจความหมายของ Sisu

Sisu บทที่1

เปรียบเทียบกับเมืองไทย สำหรับก้อย ฟินแลนด์ถือว่าเรียนน้อยมากแต่ได้เรียนในสิ่งที่อยากรู้อย่างลงลึกจริงๆ ภายใต้แนวคิด “อาจารย์และนักศึกษาก็คือมนุษย์คนหนึ่ง”

“ถ้ามีการสอบ จะจัดสอบประมาณ 3 ครั้ง ถ้าเราติดธุระหรือไม่สบายไม่สามารถมาสอบครั้งแรกได้ ก็ให้ไปครั้งถัดไป เหตุผลคือมนุษย์ถึงมนุษย์มาก เขาถือว่ามนุษย์ทุกคนไม่ได้พร้อมในวันเดียวกัน ธุระอย่างอื่นสามารถสำคัญกว่าการเรียนได้ การเรียนไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต”

หรือครั้งแรกสอบตก ก็มาสอบใหม่ครั้งที่ 2 ได้ เพื่อที่จะได้รู้ว่าคุณขาดอะไร ไม่เข้าใจตรงไหน ไปอ่านเพิ่ม”

ก้อยบอกว่า เป็นการศึกษาที่ทำให้คนคนหนึ่งได้เรียนรู้และได้ก้าวผ่านสิ่งที่ยังไม่รู้จริงๆ

นอกจากวิชาที่ลงเรียน อาจารย์เองก็สอนการใช้ชีวิตให้นักศึกษาไทยโดยไม่รู้ตัว และนี่คือ Sisu บทแรกๆ ที่ก้อยได้สัมผัส

“อาจารย์ที่ปรึกษาจะขี่จักรยานมาสอนทุกวัน มีรถนะคะแต่ไม่ได้ใช้ ไม่ว่าฤดูอะไร ไม่ว่าจะหนาวแค่ไหนแกจะมาด้วยจักรยาน ก่อนมาถึงมหา’ลัย แกจะขี่จักรยานไปส่งลูกก่อนด้วย นี่คือ Sisu ในชีวิตประจำวัน เขาอาจจะไม่ได้เลือกทางที่ง่ายแต่เขาจะเลือกทางที่ยากกว่านิดหนึ่ง แต่มันเสริมสร้างอะไรบางอย่าง เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตที่ฝึกให้เราแข็งแกร่งขึ้นทีละนิดๆ สุขภาพดี ได้ใกล้ชิดธรรมชาติด้วย”

ก้อยเองใช้ชีวิตนักศึกษาด้วยการเดินไปเรียนที่มหาวิทยาลัยทุกวัน ยิ่งหนาวยิ่งต้องเดิน โดยเฉพาะหน้าหนาวจะปั่นจักรยานไม่ได้เพราะโอกาสลื่นล้มสูง

“ก่อนออกจากบ้าน อาบน้ำก็ต้อง Sisu (หัวเราะ) เป็นสภาพแวดล้อมที่เราต้องมุมานะ ทะเลสาบในเมืองที่ก้อยอยู่ จะมีคนวิ่งและเดินตลอด คนแก่อายุ 80-90 ก็มา อุณหภูมิติดลบพ่อแม่ก็เข็นลูกออกมาเดิน เหมือนเขาฝึกกายฝึกใจของตัวเองอยู่ตลอดเวลาจนอยู่ในวิถีชีวิตของเขา”

Sisu ยังกินความหมายถึง ความประหยัด ใช้ของที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และทำทุกอย่างด้วยตัวเอง

“ที่นี่จะมีร้านขายอะไหล่มือสองเยอะ คนฟินจะชอบซ่อม ปรับเปลี่ยน ไม่ซื้อใหม่ ทำของที่มีให้ดีกว่าเดิม ทำงานบ้านเอง จะจ้างก็จ้างได้แต่ส่วนใหญ่ทำเองมากกว่า”

Sisu บทที่ 2

หลังจากกลับมาเมืองไทย ความเปลี่ยนไปเกิดขึ้นกับก้อย จากที่ไม่เคยทุกข์ร้อนกับสิ่งใด ทำงานหรือทำอะไรใช้ความสุขของตัวเองเป็นที่ตั้ง ก็กลายเป็นก้อยอีกคน

“การไปอยู่ในที่ที่เราควบคุมอะไรไม่ได้ ทำให้รู้ว่าถ้าเราต้องการไปถึงอะไรสักอย่างหรือทำงานอย่างตั้งใจและมีคุณภาพ เราต้องเจออุปสรรคแน่นอน”

เพื่อจะผ่านอุปสรรคหรือที่ก้อยเรียกว่าความท้าทายนั้นมาได้ นอกจากหัวใจ ยังต้องมีร่างกายที่แข็งแรงด้วย

“แต่ก่อนยังคิดว่า Sisu คือเรื่องของจิตใจ คือ ฮึบ แต่อยู่ไปๆ จึงได้รู้ว่า ฮึบอย่างเดียวมันไม่พอ คลื่นใหญ่มาอยู่ตรงหน้าแล้วแต่เรือยังไม่ได้อัพเกรด ยังเป็นแพไม้ไผ่อยู่เลย ใจสู้แค่ไหนก็คงแพ้ ฉะนั้นมันจะมีความสัมพันธ์ระหว่างความคิด กายและใจ ลึกกว่านั้นคือสัญชาตญาณ เราต้องฝึกทุกอย่างให้สัมพันธ์กัน”

จนเมื่อได้มีโอกาสทำงานเป็นนักแปลกับสำนักพิมพ์ openbooks ของ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา และเป็นบรรณาธิการให้สำนักพิมพ์ในเครืออย่าง Open Meri เล่มที่ก้อยเลือกมาคือ Finding Sisu ของ กัตเทีย พันต์ซาร์ (Katja Pantza) โดยให้เหตุผลว่า ‘อยากทำ’ ในฐานะคนที่ฝึก Sisu อยู่

ไม่ใช่แค่การอ่านอย่างทะลุปรุโปร่งจนแปลออกมาได้สละสลวยหมดจด หากประเด็นสำคัญอยู่ที่ความเข้าใจ ทำให้ก้อยต้องหันกลับมา ‘ว่ายน้ำ’

“แรกๆ ยอมรับว่าฉันแปล Sisu ฉันต้อง Sisu ก็ตะบี้ตะบันทำงานตื่นตีห้าลากยาวไปถึงสองทุ่ม กินข้าวไม่เป็นเวลาแต่เล่มนี้ทำให้ก้อยกลับไปว่ายน้ำประจำ อาทิตย์ละสองถึงสามครั้ง ครั้งละหนึ่งกิโลหรือมากกว่านั้น”

การกลับมาว่ายน้ำทำให้ตารางชีวิตก้อยเข้ารูปเข้ารอยมากขึ้น เช่น ว่ายน้ำ 6 โมงเย็น ก็ต้องกินมื้อเย็นบ่ายสามถึงบ่ายสี่ มื้อเที่ยงขยับไป 11.30 น. กระทบไปเป็นทอดๆ ถึงมื้อเช้าและเวลาตื่น

ผลลัพธ์คือสุขภาพที่ดีขึ้น เวลาการทำงานน้อยลงแต่ปริมาณงานต่อวันเท่าเดิม เพิ่มเติมคือมีคุณภาพมากขึ้น

“ชั่วโมงนึงอาจพัก 10 นาที ระหว่างนั้นอาจจะมี YouTube บ้างนิดหน่อย (ยิ้ม) แต่จะรู้ตัวเร็วขึ้น” ก้อยเลียนแบบชั่วโมงเรียนชั้นประถมของฟินแลนด์ที่จะมีการพัก 15 นาทีทุกๆ การเรียนคาบละ 45 นาที

ที่สำคัญ การว่ายน้ำทุกเย็นคือการเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น ซึ่งก้อยมารู้ทีหลังว่ามันคือการคลายเครียด ช่วยให้หลุดออกจากการทำงาน

“เรานั่งแปลงาน edit งานมาทั้งวันพอตอนเย็นได้กระโดดลงน้ำ เหมือนมันตื่น ในทางวิทยาศาสตร์เราไม่สามารถอธิบายได้ แต่มันมีพลัง”

Sisu บทที่ 3

“ทุกวันนี้พยายามทำสิ่งที่มีประโยชน์กับผู้คน ทำเล่มนี้ก็เพราะอยากอ่านเองด้วย แต่มีการพิจารณามากขึ้นว่าสิ่งที่เราทำมีประโยชน์กับคนอื่นไหม คนอื่นจะเอาไปใช้ได้ยังไง” ก้อยพูดถึงเป้าหมายของการแปลเล่ม Finding Sisu

อย่างน้อยๆ ‘กำลังใจและความเข้มแข็ง’ น่าจะเกิดขึ้นหลังจากอ่านเล่มนี้จบ

“ยุคนี้มีความสะดวกทุกอย่าง มีของสำเร็จรูป แต่สิ่งที่เราไม่มีหรือสิ่งที่ไม่สำเร็จรูปก็คือความคิดกับใจเราเอง” ก้อย อธิบายต่อ

ก้อยคิดว่ามันเป็นยุคที่ต้องเข้มแข็งยิ่งกว่ายุคไหนทั้งหมด ที่ทำหนังสือเล่มนี้เพราะเราก็ยังเป็นคนหนึ่งที่ยังฝึกอยู่ กัตเทีย พันต์ซาร์ คนเขียน พูดว่าเขาก็ฝึกอยู่ เขาไม่ได้เป็นอาจารย์แต่เป็นเหมือนเพื่อนร่วมห้องที่ตั้งใจเรียน เอาไปทดลองแล้วค่อยเอากลับมาบอกเราว่าอ๋อ มันเป็นแบบนี้ อันนี้ฉันได้ผล อันนี้ฉันยังฝึกอยู่”

หลังจากแปลเล่มนี้จบลงแต่การฝึก Sisu ยังเดินหน้าต่อ เพราะก้อยคิดว่า ไม่ว่าจะมีเทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวกแค่ไหนก็ตาม แต่แก่นของความเป็นมนุษย์ไม่เคยง่าย มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญความลำบากเพื่อก้าวผ่าน

“โลกทุกวันนี้มันซับซ้อน เราจะใช้ชีวิตอย่างสบายก็ได้ อยู่บ้านเปิดแอร์เล่นไอแพด งานนี้ไม่อยากทำ ก็ไปเที่ยวเล่นก็ได้ เดี๋ยวนี้มีทางหนีหรือเทคโนโลยีช่วยเราเยอะแยะ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งเราก็ต้องเจอสิ่งที่ซัดเข้ามาหาเราอยู่แล้ว ถ้าเราไม่เตรียมพร้อม ไม่ฝึกความมุมานะ ไม่ฝึกความอดทนเสมอ วันหนึ่งที่ชีวิตหยิบยื่นสิ่งนี้มาให้เรา เราจะจัดการมันไม่ได้

ที่คนฟินออกไปวิ่งออกไปขี่จักรยานทุกวัน เค้าฝึกตัวเองให้พร้อมกับความท้าทายทุกอย่าง เมื่อชีวิตหยิบยื่นความลำบากมาให้ เค้าจะมีวิธีคิด มีใจ มีสมองที่จะต่อสู้กับอุปสรรคนั้น โดยส่วนตัวก้อยไม่คิดว่าเราจะหลีกเลี่ยงอุปสรรคได้ตลอดไป การไม่เจอปัญหาเลยก็เป็นปัญหาในตัวมันเองอยู่แล้ว”

sisu แบบไทยๆ

บางคนอาจบอกว่า Sisu ใช้ได้แค่ฟินแลนด์หรือเปล่า ก้อยนิ่งคิดพักใหญ่ก่อนตอบว่า

“ถ้าอ่านไปจนจบหรือลองเองก็จะรู้ว่ามันเป็นคอนเซ็ปต์ธรรมชาติของมนุษย์ทั่วไป มันก็คือความพยายาม มันทำได้แน่นอนแต่ใช้เวลา เหมือนเรามุ่งมั่นแต่มันใช้ความมุ่งมั่นที่จะมุ่งมั่น”

ในฐานะคนที่กำลังฝึกอยู่ ก้อยบอกว่าไม่ต้องมุ่งมั่นแบบยิ่งใหญ่ แค่เริ่มจากจุดเล็กๆ เช่น ฉุดตัวเองขึ้นมาให้ได้จากเตียงเสียก่อน

“ลองไปว่ายน้ำดูซัก 5 นาทีรอบเล็กๆ เดี๋ยวพรุ่งนี้ไปอีกครั้งหนึ่ง ไม่ต้องคิดว่าจะได้อะไรอย่างอื่นนอกจากนี้ หรือวันนี้คิดแค่ว่าฉันจะแปลย่อหน้านี้ให้ดีที่สุด เสร็จแล้วจะกลับมาทวนอีกรอบอย่างตั้งใจ นี่คือความมุ่งมั่นเล็กๆ”

เพราะ Sisu คือการสะสมความมุ่งมั่นเล็กๆ เพื่อนำไปใช้ในความมุ่งมั่นใหญ่ๆ ที่รอเราอยู่

“Sisu เหมือนกล้ามเนื้อที่เราต้องฝึกทุกวันเมื่อเราเจออุปสรรคหรือปัญหาใดๆ ถ้าเรามีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงพอ เราจะสู้ได้”

Sisu สำหรับเด็กและห้องเรียนประโยคหนึ่งในเล่มบอกเราว่า

“ไม่มีวันที่อากาศไม่ดีหรอก มีแต่วันที่เราแต่งตัวไม่เหมาะสมเท่านั้น”

ก้อยอธิบายความหมายว่า ไม่ว่าข้างนอกจะเป็นยังไงถ้าคุณแต่งตัวให้พร้อมคุณก็ไปทำกิจกรรมข้างนอกได้เหมือนเดิม

“ถ้าคนที่อยู่รอบตัวเด็กๆ มีทัศนคติอย่างนี้ ถึงจะมีอุปสรรคข้างหน้ามากมายเยอะแยะ แต่สิ่งที่เรากำหนดได้คือตัวเราเอง และถ่ายทอดไปสู่ลูกของเรา”
สำหรับห้องเรียน Sisu คือการทำทุกอย่างให้เป็นปลายเปิด เพราะปลายเปิดจะไม่มีคำตอบสำเร็จรูป

“ต้องค้นหา การค้นหาคือการออกเดินทางหาวิธี เด็กต้องหาวิธีเอง ผ่านอุปสรรคและแก้ปัญหาเอง ครูอาจโยนคำถาม โยนโปรเจ็คท์ไปเลยว่าจะเอาอย่างนี้ ให้เด็กๆ ไปหาทางเอาเอง ความรู้ทุกอย่างอยู่ใกล้มืออยู่แล้วเพียงแต่ว่าเราจะจัดความรู้เหล่านั้นมาแก้ปัญหาเพื่อไปถึงจุดที่ต้องการได้อย่างไร นอกจากเราจะมีลอจิค มีตรรกะแล้วเราต้องมีทัศนคติแห่งการแก้ปัญหาด้วย”

Tags:

กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์นักเขียนความคิดสร้างสรรค์(Creativity)หนังสือ

Author:

illustrator

ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

อดีตนักข่าวที่ผันตัวมาทำงานด้านการเรียนรู้(อย่างรื่นรมย์) ด้วยอินเนอร์คุณแม่ลูกหนึ่ง(ที่เป็นวัยรุ่นและขายาวมาก) รักการทำงานก็จริงแต่ชอบหนีไปออกกำลังกายตามคำบอกของคุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เพื่อให้ชีวิตการงานสมดุลอยู่

Photographer:

illustrator

ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

ศิลปศาสตร์บัณฑิต และมนุษย์ฟรีแลนซ์ที่ทำงานเขียน ถ่ายรูป สัมภาษณ์ แปลงาน ล่าม ไปจนถึงครูสอนพิเศษเด็กชั้นประถม ของสะสมที่ชอบมากๆ คือถุงเท้าและผ้าลายดอก เขียนเรื่องเหนือจริงด้วยความรู้สึกจริงๆ ออกเป็นหนังสือ 'Sad at first sight' ซึ่งขายหมดแล้ว ผลงานล่าสุดคือ I Eat You Up Inside My Head รับประทานสารตกค้างในกลีบดอกปอกเปิก

Related Posts

  • Book
    วันนั้นฉันเจอเพนกวิน: อย่าปิดกั้นจินตนาการของเด็กด้วยคำว่า ‘เพ้อฝัน’

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Book
    New Year’s Resolutions: อ่าน 7 เล่ม เพื่อเป็นตัวเราที่ดีกว่าเดิม

    เรื่อง พิรญาณ์ บุลสถาพร

  • Book
    การศึกษาของกระป๋องมีฝัน และที่ทางให้ตัวเองได้เบ่งบาน

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Life classroom
    วาดลายเส้นลากใจเขามาใส่ใจเรา กับการ์ตูนสีเทาๆ ของ ‘มุนินฺ’

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนาทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

  • Everyone can be an Educator
    รักที่จะเรียน: ความโรแมนติกในความรู้ ฉบับนักเรียนโอลิมปิกของแทนไท ประเสริฐกุล

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

‘ภูมิ’ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ผู้หยุดการศึกษาไว้ที่ ม.4 เพื่อเริ่มการเรียนรู้ตลอดชีวิต
Voice of New Gen21st Century skills
3 January 2019

‘ภูมิ’ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ผู้หยุดการศึกษาไว้ที่ ม.4 เพื่อเริ่มการเรียนรู้ตลอดชีวิต

เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • ภูมิ คือเด็กหนุ่มที่รู้ว่าตัวเองชอบอะไรตั้งแต่มัธยมต้น และเลือกที่จะลาออกตั้งแต่ชั้น ม.4 เพื่อเดินต่อในฐานะโปรแกรมเมอร์
  • กองหลังสำคัญคือพ่อแม่ ที่สร้างพื้นที่ปลอดภัย เมื่อเดินไปสู่พื้นที่ใหม่ๆ ภูมิจะรู้เสมอว่า ‘จะไม่เกิดอะไรขึ้น’ เพราะพ่อแม่พร้อมรองรับ
  • สำหรับภูมิ การไม่ได้เกรด 4 ไม่ได้หมายความว่าไม่เก่ง คุณอาจจะเป็นนกที่โบยบินได้เก่ง แต่ใครก็ไม่รู้มาบอกว่าให้คุณว่ายน้ำ…แค่นั้นเอง

เรียน ม.4 ไปได้เพียงเทอมเดียว ภูมิ-ภูมิปรินทร์ มะโน เด็กหนุ่มวัย 15 ปีก็ตัดสินใจลาออกจากโรงรียน เพราะรู้สึกว่าอยู่กับสิ่งที่ไม่ชอบมานานพอแล้ว

ย้อนไปไกลกว่านั้น ราวๆ ม.ต้น ด.ช.ภูมิปรินท์ ปฏิบัติการ ‘แฮคระบบโรงเรียน’ เพราะสนใจเรื่อง software security จู่ๆ อาจารย์เดินมาเห็นเข้า (เพราะดันทำในห้องคอมโรงเรียน) แทนที่อาจารย์จะว่ากล่าวหรือลงโทษ กลับเห็นแวว ชวนไปแข่งในสนามต่างๆ จนคว้ามาหลายรางวัล 

ปัจจุบันภูมิเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือ software developer ที่อายุน้อยที่สุดของบริษัท OmniVirt สตาร์ทอัพสัญชาติไทยในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

ด้วยวัยเพียง 17 ปี

เริ่มรู้สึกว่าสิ่งที่เราเรียนอยู่ไม่ตอบโจทย์ตั้งแต่ตอนไหน

ตอน ม.1-ม.2 รู้สึกว่าตอนเรียนเราไม่สามารถเลือกได้ว่าสิ่งไหนบ้างที่เราอยากจะเรียนรู้เพิ่มเติม ต่างจากในมหาวิทยาลัย ถ้าผมสนใจเรียนความปลอดภัยของซอฟต์แวร์หรือสนใจเรื่องอะไรเป็นพิเศษ ก็สามารถลงเรียนหนักๆ ได้ แต่มัธยมเราต้องเป็นทุกอย่าง ไม่ได้เจาะลึกกับอะไรสักอย่าง 12 ปีสำหรับการศึกษาผมคิดว่ามันเป็นเวลาที่เยอะมาก เวลานี้สามารถเอาไปใช้ทำอย่างอื่นอย่างจริงจังได้ดีกว่า

ย้อนกลับไปไกลกว่านั้น ภูมิเริ่มพบว่าตัวเองชอบอะไรและตั้งแต่เมื่อไหร่

น่าจะเป็นช่วง ป.5 ตอนนั้นติดเกมหนักมาก หนักขนาดทำคอมพังไป 2 ตัว (ยิ้ม) เพราะพัดลมระบายความร้อนทำงานไม่ไหว ผมติดหนักขนาดเอาเงินไปเติมเกมเพราะอยากได้ของในเกม แต่พ่อแม่ไม่เข้าใจ ผมเลยคิดขึ้นมาได้ว่า ถ้าเราสามารถสร้างของในเกมขึ้นมาได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องเสียเงินเลยก็น่าจะดี จากนั้นก็เลยสนใจการสร้างของเสริมในเกม แต่การจะสร้างอะไรสักอย่างในคอม เราจำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเป็น

ซึ่งผมเป็นคนชอบจับคีย์เวิร์ดอยู่แล้ว ไม่ว่าจะอ่านบทความ หรือทำอะไร ฉะนั้นเวลาผมเล่นเกม ก็จะเจอคีย์เวิร์ด เช่น คำว่า JAVA PHP javascript ผมเลยจำคำพวกนี้เอาไปค้นหาใน Google ต่อว่าถ้าจะเขียนจะต้องทำอย่างไร บวกกับตอนเด็กๆ แม่จับผมเรียนภาษาอังกฤษ เลยทำให้เราค้นข้อมูลและฝึกเขียนโปรแกรมมาได้

อะไรทำให้ตัดสินใจว่าต้องลาออกแล้ว

ช่วงนั้น (ม.4) ผมลงแข่งขันเยอะมาก ม้นเริ่มจาก ม.2 ผมเข้าชมรมคอมพิวเตอร์ ไปเล่นอะไรแปลกๆ ในห้องคอม จนอาจารย์มาเห็นเข้า เลยชวนไปแข่ง

อะไรแปลกๆ ที่ว่า คือ?

แฮคระบบโรงเรียน (หัวเราะ) พูดกันตรงๆ ตอนนั้นเราสนใจเรื่อง software security จนทำอะไรแปลกๆ พออาจารย์เข้ามาเห็น อาจารย์ไม่ว่าอะไรแต่กลับชวนไปแข่ง ‘ภาษาซี’ (เขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา โดยมีโจทย์มาให้) ได้รางวัลที่หนึ่งระดับประเทศ จากนั้นก็มีอีกหลายสนามและได้หลายรางวัล หนึ่งในนั้นคือการเข้าร่วมโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ของมูลนิธิสยามกัมมาจล ทำให้ผมได้ลองทำโปรดักท์ขึ้นมา ชื่อ FlipED

ตอนนั้นเราไม่ได้สนุกที่เราได้รางวัล แต่เราสนุกที่เราได้สร้างของขึ้นมาที่มาแก้ปัญหาของตัวเอง และยังช่วยคนอื่นแก้ปัญหาได้

ยกตัวอย่างการแก้ปัญหาให้ฟังหน่อย

ผมรู้สึกว่าการทวนบทเรียนในห้อง มันเป็นเรื่องน่าปวดหัว ไปนั่งดูที่ไฮไลท์เอาไว้ หรือดูชีทสรุป มันก็ช่วยนะ แต่ถ้ามีอะไรที่เราได้เล่นกับมันก็น่าจะสนุกขึ้นนะ เลยสร้างโปรแกรมขึ้นมาชื่อว่า FlipED ขึ้นมาตอนนั้นเราก็เป็นมือใหม่ เขียนโปรแกรมแบบ beginner ใช้เทคโนโลยีที่เราไม่เคยเล่นมาก่อน ท้าทายตัวเองว่าจะทำได้ไหม

FlipED คือห้องเรียนกลับหาง แทนที่เราจะสอนปากเปล่า เราก็ทำโปรแกรมให้โต้ตอบได้ ผมลองทำเป็นตัวเลือก 4 ข้อให้เลือกตอบแล้วเฉลยคะแนน หรือเป็นแชทบอทที่พูดโต้ตอบเล่นกันได้ ก็ทดลองทำดู ถึงแม้ตัวนี้จะพัฒนาไปไม่สำเร็จ แต่ทำให้เรามีความรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมขึ้นมาเยอะมาก

ตอนติดเกม พ่อแม่ว่าอย่างไรบ้าง

พ่อแม่ไม่ค่อยว่าอะไรมาก (พ่อแม่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย สอนด้านวิศวะไฟฟ้า) เพราะเราได้เจอสิ่งที่เราชอบ เราสนใจ พ่อแม่สบายใจ ไม่ได้มาควบคุม แต่คนที่เป็นห่วงจริงๆ คือย่า ย่ากลัวเสียคน ที่ผมรู้ว่าตัวเองอยากเขียนโปรแกรม ส่วนหนึ่งคืออยากพิสูจน์ให้ย่าเห็นว่า คอมพิวเตอร์มันไม่ได้ทำให้เสียคน ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้อย่างไร

แสดงว่ามีการแบ่งเวลาที่ดี?

ผมไม่ได้แบ่งเวลาเลยครับ (ตอบทันที) แต่เราต้องตั้ง goal (เป้าหมาย) กับมันมากกว่า สมมุติแต่ก่อนเราอยากแค่เล่นเกม แต่เราเปลี่ยนเป้าหมายเป็นว่าเราอยากจะเขียนโปรแกรม เราก็ยังได้เล่นเกมเหมือนเดิม แต่มีเป้าหมายเพิ่มขึ้นมา ผมว่ามันก็เหมือนกฎ 70:30  

70 คือสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วคือการเล่นเกม อีก 30 คือที่เราไม่รู้ คือการเขียนโปรแกรม ผมว่ามันจะทำให้เราเล่นเกมได้สนุกมากขึ้น

กังวลไหมที่เราไม่ได้เรียนเหมือนเพื่อน

ถ้าช่วง ม.1-ม.2 ผมมีปัญหากับเพื่อนอยู่แล้ว หมายถึงนิสัยผมนี่แหละครับ นิสัยค่อนข้างแย่มาก ช่วงนั้นเหมือนเราไม่รู้ว่าเขียนโปรแกรมได้จริงไหม เลยทำตัวมีปัญหามาก ทำให้เพื่อนปวดหัว ทำตัวให้เด่นกว่าเพื่อน แต่มันก็อาจจะเรื่องของวัยด้วย

พอเรารู้ตัวว่าการเขียนโปรแกรม คือสิ่งที่ทำให้เราสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ ทำให้เรามีเป้าหมายในชีวิตขึ้นมา ฉะนั้นก็ไม่มีความจำเป็นที่เราจะต้องทำตัวแย่ๆ หรือทำตัวไม่มีประโยชน์แล้ว ไปแข่งชนะได้รางวัล เราไปช่วยอาจารย์ เราเขียนโปรแกรมได้ แค่นี้มันก็มีความหมายแล้ว ซึ่งเราก็ได้ใช้การเขียนโปรแกรมแก้ปัญหาเรื่องนิสัยตัวเองด้วย ปัญหากับเพื่อนก็ค่อยๆ หายไป

จริงๆ ตอนแรกไม่ได้คิดจะลาออกเลย อยากจะเรียนอยู่ในระบบต่อไปด้วยซ้ำ แต่ช่วงนั้นผมได้เข้ากลุ่มนักโปรแกรมเมอร์ที่สนใจเรื่องเทคโนโลยี มีโอกาสคุยกับพี่ๆ หลายคนก็แนะนำให้เราออก จะได้เอาเวลาไปทำอย่างอื่น

ตอนนั้นพ่อแม่ว่าอย่างไร

พอตัดสินใจบอกท่านไป ก็ freak out (ชะงัก) พอสมควร แบบเฮ้ย เราจะเอาจริงเหรอ?

ก็เล่าให้เขาฟังว่าเราไปงาน เจออะไรบ้าง เขาก็เป็นห่วง ถกเถียงกันอยู่หลายเดือนว่าจะเอาอย่างไร ผลที่เกิดขึ้นคือเราพิสูจน์ตัวเองได้ ผมไปลงแข่งเอารางวัลมาได้ เราอยู่รอด พ่อแม่เขาก็โอเค วันรุ่งขึ้นพ่อแม่ก็พาไปหาอาจารย์ ตอนแรกไม่ได้จะลาออก จะไปแค่เปลี่ยนสายการเรียน เพราะรู้สึกว่าสายวิทย์-คณิตที่เป็น EP เราต้องใช้เวลาไปกับมันเยอะ เลยจะย้ายเป็นศิลป์-คำนวณ แต่เงื่อนไข เวลาเรียนกับการสอบไม่ตรงกัน เลยตัดสินใจลาออก

พ่อแม่ดูแลเราอย่างไรบ้าง

จริงๆ พ่อแม่พูดมาตลอดว่า ชีวิตเป็นของภูมิ เราสามารถวาดทางเดินของเราได้ แล้วพ่อแม่จะสนับสนุน ผมว่าแค่นี้มันก็พอแล้ว พอแล้วจริงๆ 

ถ้าเด็กที่รู้ goal มีเป้าหมายแล้ว สิ่งต่อมาที่เขาต้องการคือพ่อแม่ที่พร้อมจะอยู่กับการตัดสินใจของเขา ซึ่งผมโชคดีมากที่พ่อแม่เป็นแบบนั้น ตอนผมตัดสินใจลาออก พ่อแม่ก็ไม่ต้องบอกว่าเราจะต้องทำอะไรต่อ ผมก็ใช้ชีวิตเหมือนเดิม

ลาออกแล้วทำอะไรต่อ

ผมพยายามเข้าร่วมกับกลุ่ม meet-up ให้มากขึ้น ทำความรู้จักกับคนอื่น ขณะเดียวกันก็พยายามสร้าง portfolio ด้วย ตอนนั้นผมขึ้นบีทีเอสได้ยินพี่ๆ นักศึกษาพูดเรื่อง theinternship.io ผมก็ไปเสิร์ชหาข้อมูลต่อว่ามันเป็นโครงการฝึกงานของนักศึกษามหาวิทยาลัย ผมเลยถามไปว่า อยู่มัธยมสามารถส่งไปได้ไหม เขาตอบว่าถ้าแน่จริงก็ส่งมา ผมเลย เอาดิวะ รีบทำ รีบส่ง ปรากฏเข้ารอบสุดท้าย และได้ฝึกงานด้านนี้เต็มๆ

ไปฝึกงานกับบริษัท itax เป็นแอพพลิเคชั่นเกี่ยวกับการจัดการเรื่องภาษี เข้าไปเจอพี่ๆ มหาวิทยาลัยดังๆ ทั้งนั้น ผมจำคำพูดของแม่ได้ว่า ‘ชอบช่วยจะโชติช่วง’ ถ้าเราให้ความช่วยเหลือกับคนที่อาจจะยังทำไม่ได้ มันจะดีกว่าการไปเยาะเย้ย หรือถากถางเขา

ตอนนั้นผมฟัดกับเทคโนโลยี react มานานมาก มันเป็นระบบที่ใช้สร้างเว็บที่มีความซับซ้อนในระดับหนึ่ง พี่ๆ หลายคนที่เป็นพนักงานในบริษัทอาจยังไม่คุ้นชินกับตัวนี้ แต่ผมที่ฟัดกับมันมานานเป็นปี ช่วงนั้นถ้าผมเห็นว่าพี่ๆ คนไหนติดขัดอะไร ผมจะเข้าไปช่วยเหลือ

อายุเป็นอุปสรรคไหม

ถ้าถามความคิดผมในตอนนั้นมันจะมีสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น คือ เวลาที่เราไม่รู้อะไร เราจะคิดว่าเรารู้เยอะ แต่ถ้าเรารู้เยอะในสิ่งใด เราจะคิดว่าเรารู้น้อย ลองคิดภาพเด็ก อายุ 15 ที่มีงานทำแล้ว มีความหยิ่ง เราจะรู้สึกว่าเราเก่งแล้ว ซึ่งความคิดนี้มันอยู่กับผมมาหลายเดือน เราต้องรู้เยอะกว่านี้ แต่เรากลับไม่ได้ฝึกตัวเองเรื่องการเข้าหาคน ไม่ได้สนใจ เรื่อง soft skill เรื่องการทำงานเป็นทีม ผมคิดว่ามันเป็นทั้งคำสาปและการอวยพร เพราะอายุแค่ 15 ปี ทุกคนเลยไม่ค่อยถือสามาก ทั้งเรื่องคำพูดคำจา เรื่องการวางตัว ผมไม่ได้ใช้คำหยาบอยู่แล้ว แต่บางคำพูดมันก็อาจจะเกินเลยไป

แล้วมาปรับได้ตอนไหน

ช่วงหลังฝึกงานเสร็จ ผมก็ยังไม่รู้จะเข้าทำงานที่นี่ดีไหม ได้เจอพี่คนหนึ่งเขาจะรับผมไปทำงานต่อ แต่ตอนนั้นคำพูดคำจาของเราค่อนข้างแรง พี่เขาคิดว่าเราอาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดี เขาบอกว่าจะสนับสนุนเมื่อเราทำงานผลิต product แต่ถ้าให้ไปทำงานเป็นทีม อาจจะทำให้สภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศในทีมเสีย ตอนนั้นผมก็เจ็บมาก แต่ก็ต้องขอบคุณพี่คนนั้นที่ทำให้ผมรู้ตัวเอง ไม่งั้นกว่าจะรู้ตัวก็อีกนานเลย

จุดไหนที่ทำให้เริ่มคิดว่าต้องปรับ soft skill

ผมว่าแค่คำพูดของพี่คนนั้น เราก็เจ็บมากแล้ว แต่เราแค่ไม่รู้ว่าจะต้องปรับมันแค่ไหน จนได้เจอกับพี่อีกคนหนึ่งที่เป็นมือหนึ่งในวงการโปรแกรมมิ่ง

แต่สิ่งที่ผมเห็นคือพี่เขาอ่อนโยนมาก mindset เดิมเราจะรู้สึกว่าคนเก่งๆ ต้องห้าวหรือเปล่า กระด้างหรือเปล่า แต่ไม่ใช่ฮะ คนที่เก่งจริงๆ ค่อนข้างอ่อนน้อม เพราะ 1.เขารู้ว่าทำตัวแย่ๆ ไปไม่ได้ทำให้เราเก่งขึ้น 2.การที่เรารู้สึกว่าเก่งขึ้น หลายๆ ครั้งเราอาจเสียความมั่นใจหรือเสียความหยิ่งผยองเหมือนที่เราทำงานแรกๆ

เราเลยรู้สึกว่าต้องปรับนิสัยตัวเองแล้วแหละ ผมคิดว่า soft skill มันไม่ได้เปลี่ยนแบบกดสวิตช์ปุ๊บ กลายเป็นคนดีเลย แต่เราต้องทำงานไปเรื่อยๆ แล้วจะเห็นผลตอนเราโต้ตอบ

อาจจะไม่ใช่ภูมิคนเดียวที่รู้สึกว่า soft skill ยังน้อยหรือยังต้องฝึก เป็นเพราะอะไรที่คนที่เก่งด้านไอที กลับรู้สึกว่า soft skill คือจุดอ่อนของตัวเอง

soft skill ไม่ได้เป็นสูตรสำเร็จว่า กดปุ่มปุ๊บหรือเข้าไปนั่งเรียนอ่านหนังสือแล้วเราได้สิ่งนั้นมาเลย ผมว่าจริงๆ soft skill มันคือการทำความเข้าใจกับตัวเราเองมากกว่าว่าการที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับคน สื่อสารหรือการพยายามอธิบายเรื่องให้คนคนหนึ่งเข้าใจ

ผมว่าเหมือนเป็นบับเบิลหรือฟองสบู่อันหนึ่ง ที่มันครอบตัวเองไว้ว่าเฮ้ย เราเก่งนะ เพราะฉะนั้น ไม่มีใครทำอะไรเราได้ เราก็จะใช้เรื่องนี้เป็นข้ออ้างหรือเป็นฟองสบู่กันเราไว้ว่าเราจะทำตัวแย่ๆ ยังไงก็ได้

พอช่วงหลังเรารู้ว่าเราไม่ได้เก่งอะไรขนาดนั้น ยิ่งช่วงที่ไปต่างประเทศมันก็ชัดมากว่าเราอ่อนจริงๆ ยังมีอะไรให้เราพัฒนาตัวเองได้เมื่อเทียบกับคนทีทำงานในบริษัทดังๆ อย่างกูเกิล หรือไมโครซอฟท์

อยากให้เล่าให้ฟังเรื่องไปทำงานต่างประเทศ

ที่ได้ทำ itax จะได้จัดกิจกรรมเยอะ อันหนึ่งที่ได้รับฟีดแบ็คค่อนข้างเยอะคือ Stupid Hackaton เราเอาคอนเซ็ปท์ Stupid Hackaton ของต่างประเทศมาจัดที่เมืองไทย เป็น Hackaton ที่เราทำอะไรโง่ๆ มากที่สุด

เช่น ทำแอพเดินยังไงให้หลงทาง หรือบางคนทำแอพ กินอะไรดีวะ กดไปก็จะสุ่มอาหารมาให้ถึงจะไม่อยากกินจานนั้นก็ตามก็ต้องกิน ตอนนั้นผมรู้จักพี่ๆ ที่ทำงานต่างประเทศ เขาก็ refer ให้ผมว่าลองไปทำงานต่างประเทศดูมั้ย จะได้พัฒนาตัวเอง จนได้ไปทำบริษัทสตาร์ทอัพชื่อ Omnivert เจ้าของเป็นคนไทย แต่ทีมธุรกิจหรือ COO เป็นต่างชาติหมดเลย ถือเป็นทีมลูกผสม อยูที่ซานฟรานซิสโก

หลักๆ บริษัทนี้ทำ immersive advertising การโฆษณาที่เข้าถึงผู้คน แบบ 3D 360 องศา ผมไปทำเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ เข้าไปอยู่ในส่วนการจัดการ แสดงผล ให้คนที่เข้ามาดูโฆษณาในเว็บได้ดู เป็นส่วนที่ให้ publisher หรือผู้ผลิตคอนเทนต์ ได้ใช้ เรียกง่ายๆ ว่าได้ทำทั้งหน้าบ้าน หลังบ้าน

ผมรู้สึกว่าเป็นโปรแกรมเมอร์ทั้งที ก็ควรสร้างได้ทุกอย่าง ตอนนั้นอายุเพิ่งครบ 16 ปี ถือว่าเด็กที่สุดในบริษัท

ความเป็นเด็กมีผลไหม

พอไปอยู่ที่โน่นเราพอรู้แล้วว่าอะไร do อะไร don’t พี่ๆ ไม่ได้ทรีตเราแบบเด็กอายุ 16 ฉะนั้นทุกอย่างค่อยข้างราบรื่นดี ทุกคนเป็นคนเก่งอยู่แล้ว ที่นี่เลยไม่จำเป็นต้อง hand holding มาก เราได้เจอปัญหาจริงๆ ต้องแก้ปัญหาจริงๆ

แต่ปัญหาจริงๆ คือการจัดการอารมณ์ ซึ่งก็มาจากความเป็นเด็ก 

ผมอ่านหนังสือ ‘The Art of not giving a fuck’ ศิลปะของการช่างแม่ง คือ เวลาเราพยายามคิด ก็ชอบบอกตัวเองว่าอย่าไปคิดๆ มันก็จะเกิดเป็นลูปๆ หนึ่งที่เราพยายามคิดวนอยู่ในหัว สิ่งนี้มันก็จะอยู่ในหัวเรื่อยๆ ทำให้การจัดการอารมณ์ของเราแย่มาก ฉะนั้นเวลาเราเขียนโปรแกรมไป มันเริ่มมี pressure เข้ามาจากคนอื่น เช่น ทำไมไม่ทำตรงนั้นก่อน เฮ้ย ตรงนี้ไม่ต้องทำให้มัน perfect แค่ทำให้เสร็จไปก่อน เราก็เริ่มขุ่นๆ นิดนึง หรือบางทีก็โพล่งไปเลย ซึ่งเราก็รู้แก่ใจแหละว่ามันเฮิร์ท แต่มันคุมตัวเองไม่ได้

การอยู่แต่กับคนเก่งๆ ทำให้รู้ว่าตัวเองก็ไม่ได้เก่งมาก เราพัฒนาตัวเองจากอะไร

ช่วงที่อเมริกา ผมมีเป้าหมายหนึ่ง คืออยากไปดูว่า นักพัฒนาซอฟต์แวร์ในต่างประเทศเค้าทำยังไง ถึงได้เก่งขนาดนั้น พอเราไปเจอ meet up ต่างประเทศเราก็ได้คำตอบว่า คนที่เก่งเจอกับคนที่เก่งมันเหมือนการเกื้อกูลกัน พอคนที่ยังไม่เก่ง ก็มีคนเก่งๆ พร้อมช่วยเหลือ ฉะนั้น สิ่งหนึ่งที่ผมได้คือ เรารู้ว่าตรงนี้เราทำได้ดีแล้วแต่ตรงนี้เรายังไม่เก่ง แล้วมีอะไรบ้างที่เรายังไม่รู้ สิ่งสำคัญคือ know what you don’t know yet ฮะ

แต่สิ่งที่ตามมาคือการเรียนรู้ ถ้าเราเรียนรู้คนเดียวและการเรียนรู้เพื่อตัวเองมันทำให้การเรียนรู้ไม่สนุก เพราะเราจะรู้สึกเห็นแก่ตัว รู้อยู่แค่ตัวเอง จะได้ใช้หรือทำให้เป็นประโยชน์หรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่ถ้าเอาความรู้ไปถ่ายทอดให้คนอื่น คนที่เขาได้ฟังก็จะรู้ว่าเราพูดผิดตรงไหนบ้าง เขาจะได้เสริมให้เรารู้ได้ เพราะว่าการสอนคนอื่นมันทำให้เราได้ความรู้มากขึ้น

point 2 คือการจัดงาน สร้างกิจกรรม สร้างซอฟต์แวร์ เพื่อทำให้เรารู้อะไรมากขึ้น หลังจากนั้นผมมีไอเดียอยากจัดงานมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในงานที่เราต้องสอนคนอื่น 

การจะไปสอนใครได้ ผมต้องทำความเข้าใจ ต้องเปิดตำรา หาว่าอะไรที่จะเอาไปทำทอล์คหรือเวิร์คช็อปให้น้องๆ ได้ ผมก็จะตั้ง challenge กับตัวเองว่าเฮ้ย ยังไม่รู้เรื่องนี้ใช่มั้ย เดี๋ยวเอาเรื่องนี้ไปพูดเดือนหน้าเลย ทั้งๆ ที่เราก็ไม่รู้ว่าเรื่องนี้คือเรื่องอะไร แล้วเดือนนี้อ่านให้เต็มที่ เดือนหน้าจะได้พูดให้ได้ ท้าตัวเอง

เป้าหมายหลังจากนี้ของภูมิคืออะไร

ผมแบ่งเป้าหมายตัวเองเหมือนพีระมิดอันหนึ่งที่มี 3 ช่วง

ช่วงแรก ฐานพีระมิด ผมเรียกว่าซอฟต์แวร์ การสร้างซอฟต์แวร์ทำให้เราแก้ปัญหาของตัวเองได้ การเขียนโปรแกรมมันเหมือนกับการเสกเวทมนตร์ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาที่เราเจอ เช่น สมุมติว่าเดือนนี้เราไม่รู้ว่าตัวเองใช้เงินไปเท่าไหร่ เราก็เขียนโปรแกรมมาดักเอสเอ็มเอสของธนาคารแล้วขึ้นว่าเดือนนี้เราใช้ไปกับบัตรเดบิตไปเท่าไหร่

ฐานที่ 2 ผมเรียกว่าโปรดักท์ พอเราสร้างวิธีแก้ปัญหาของตัวเอง แต่อะไรก็ตามที่เราแก้ปัญหา คนอื่นก็อาจจะมีปัญหาเหมือนเรา ปัญหาของคุณไม่ได้วิเศษ เพราะหลายๆ คนก็เจอปัญหาเหมือนกัน ฉะนั้น ถ้ามีคนที่มีปัญหาเหมือนเรา เราก็เอาซอฟต์แวร์ที่เราสร้าง ใส่ความเป็นมนุษย์ ใส่ความเข้าใจผู้ใช้เข้าไปนิดนึง ใส่เพื่อให้คนอื่นใช้ได้มากขึ้น ง่ายขึ้น  มันก็จะกลายมาเป็นโปรดักท์ที่ทำให้ชีวิตคนอื่นดีขึ้นได้ นี่คือการสร้างซอฟต์แวร์โปรดักท์ หรือโปรดักท์ที่อยู่บนซอฟต์แวร์ เพื่อแก้ปัญหาคนในชุมชน

ฐานที่ 3 คือคอมมูนิตี้ ชุมชน ถ้าใช้หลักการเรื่องการจับปลา การที่เราเอาเบ็ดไปให้คนมันดีกว่าการให้ปลาเพราะการให้ปลา เขาก็อิ่มได้แค่มื้อนั้น แต่ถ้าเรามีเบ็ด เราก็สามารถหาปลาเลี้ยงชีพได้เรื่อยๆ

แต่ผมคิดล้ำไปกว่านั้นอีก ถ้าเรามีซอฟต์แวร์ เราสามารถเขียนโปรแกรมมาจับปลาตั้งแต่ทำเซ็นเซอร์ไว้ ลอง detect ว่าปลาอยู่ตรงไหน ใช้เซนเซอร์ keep เอา แล้วพอเราจับปลาได้ด้วยตัวเอง เราก็ทำเป็นโปรดักท์ซึ่งโปรดักท์นี้จะทำให้คนอื่นหัดจับปลาได้เหมือนเรา 

แต่ task community ของผมมันยิ่งใหญ่กว่านั้นมาก วันหนึ่งเราก็ต้องตาย ลูกหลานของเราก็จะเป็นคนทำโปรดักท์นี้ต่อ ซึ่งถ้ามีความรู้เรื่องนี้อยู่คนเดียว เมื่อผมไปอยู่อเมริกาหรือผมแต่งงานมีลูกแล้วตาย มันก็จบไปแค่นั้น ทุกอย่างจบแค่เรา แต่ถ้าเราให้ความรู้กับนักพัฒนา ถ้าเราให้ความรู้กับเด็กๆ ที่จะโตมาเป็นโปรแกรมเมอร์ในไทย ให้เขาได้เจออะไรไม่เหมือนกับที่ผมอยู่ในโรงเรียน คือผมเป็นเด็กคนเดียวหรือเป็นเด็กไม่กี่คนในโรงเรียนที่เขียนโปรแกรมได้ ผมไม่อยากให้เป็นอย่างนั้น

ผมอยากให้เด็กๆ ได้มากับพี่ๆ เป็นนักพัฒนา น้องจะได้รู้ว่าตัวเองต้องก้าวไปทางไหนต่อ ไม่ได้โดดเดี่ยว เรามีทุกคนคอยรองรับคอยสนับสนุนคุณอยู่ เราอยากให้คุณดึงความเป็นตัวเองดึงความพิเศษของตัวเองออกมา ดึงสิ่งที่คุณรักเช่น คุณชอบดนตรีหรือเปล่า ลองมาทำเกี่ยวกับดนตรีมั้ย หรือชอบทำอาหารหรือเปล่า ลองมาทำสิ่งที่คุณชอบดูมั้ย

เราอยากให้เขาดึงความพิเศษของเขามา แล้วมาสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคม เพราะการทำคอมมูนิตี้มันคือการเอ็มพาวเวอร์  คือการให้พลังกับคนอื่นๆ ไปสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น

เรารู้สึกว่าการทำคอมมิวนิตี้คือการให้ความรู้เขา พยายาม inspire เขาว่าการเขียนโปรแกรมไม่ใช่กรรมกรห้องแอร์นะเว้ย เราไม่ได้นั่งหน้าคอม 24 ชั่วโมงเพื่อทำงานให้คนอื่น แต่มันคือการที่เราเป็นนักเวทมนตร์เสกอะไรขึ้นมาก็ได้ แล้วเราสามารถแก้ปัญหาให้ทุกคนได้ นี่จึงเป็นที่มาของพีระมิดยอดสูงสุดของผม ผมอยากเป็นคนทำ developer community หรือชุมชนนักพัฒนาในไทย ที่ทำให้ประเทศนี้ดีขึ้นด้วยซอฟต์แวร์

โดยไม่ต้องพึ่งโครงสร้างใหญ่หรือนโยบายต่างๆ? ทุกอย่างสามารถทำด้วยตัวเอง?

ใช่ครับ เมื่อไม่กี่วันก่อนผมเพิ่งชวนพี่ๆ ที่เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์มาคุยกันเรื่อง TCAS ยาว 4 ชม. คุยว่ามันเกิดอะไรขึ้น ชวนเพื่อนคนหนึ่งที่ประสบปัญหา TCAS มานั่งหัวโต๊ะ แล้วพวกเราก็นั่งล้อม 

ผมว่าต้องใช้เรื่องโครงสร้างช่วย ผมว่าโลกนี้เรามีเทคโนโลยีก็จริง แต่เทคโนโลยีจะไปไม่ได้เลยถ้าไม่มีความเป็นมนุษย์ เพราะฉะนั้นการทำ policy หรือ policy maker ผมมองว่าความรู้เรื่องซอฟต์แวร์ของนักกฎหมายมีผลมาก เพราะมันจะเป็นตัวชี้เป็นชี้ตายว่าสิ่งที่ออกมามีอะไรบ้าง

คนพัฒนาซอฟต์แวร์เหมือนเป็นนักเวทมนตร์ แต่เรายังใช้ไม่ได้ถ้ารัฐบาลบอกว่าคุณห้ามใช้เวทมนตร์ในโลกนี้ เพราะฉะนั้นเราต้องทำงานด้วยกัน คนที่เป็น policy maker เป็นรัฐบาล เป็นนักกฎหมายก็ต้องมาคุยกันว่า ถ้าจะใช้เวทมนตร์ต้องไม่เอาเวทมนตร์ไปทำร้ายใครหรือทำให้ใครตายนะ

หน้าที่ของ policy maker คือเอื้อให้คนใช้เวทมนตร์ หรือการเขียนโปรแกรมในทางที่ถูก

ถ้าประเทศไทยเป็นเหมือนดินแดนเวทมนตร์ โปรแกรมเมอร์ก็เป็นเหมือนนักเวทมนตร์ แล้วนักร่างกฎหมายก็เป็น regulator ที่จะบอกว่าเอาแรงของแต่ละคนไปใช้ทำอะไรบ้าง ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดไม่ได้เลยถ้าเราไม่มานั่งสนทนากัน

ทุกวันนี้ยังได้คุยกับเพื่อนเพื่อนที่โรงเรียนอยู่หรือเปล่า

คุยครับ ตอนนี้เพื่อนๆ กำลังปวดหัวกับ TCAS (หัวเราะ) ปวดหัวหนักมาก วันก่อนคุยกับเพื่อนสนิทว่าตอนเรียนเป็นยังไงบ้าง ผมก็ไม่รู้ว่าผมทำตัวเป็นคนแก่หรือเปล่าแต่ชอบถามเพื่อนว่า โตไป รู้หรือเปล่าว่าเรียนจบ ม.6 อยากจะทำอะไร

เพื่อนก็จะบอกว่าหลังจบ ม.6 ก็เรียนปริญญาตรี จบปริญญาตรีก็เรียนปริญญาโท จบปริญญาโทก็เรียนปริญญาเอก แต่จบปริญญาเอกแล้วไม่รู้ 

การได้มาคุยกับเด็กรุ่นเดียวกันมันเป็นเรื่องดีมาก เพราะเราจะรู้ว่าเราขาดอะไรไป เวลาเราทำซอฟต์แวร์ เราใช้ design thinking เพื่อช่วยดูว่าเราจะออกแบบซอฟต์แวร์ยังไง ซึ่งกฎข้อแรกคือ emphathy หรือการเห็นอกเห็นใจการเข้าใจผู้อื่น ในมุมมองของเขาเขาต้องเจออะไรบ้างในแต่ละวัน แล้วเราจะทำความเข้าใจเขาได้ยังไง

ภูมิพูดดูเหมือนง่าย แต่สิ่งที่ภูมิผ่านมา ทั้งแข่งขัน ทำนั่นโน่นนี่ มันยาก?

เพราะผมมีความชอบของตัวเอง

ผมว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับหลายคน เพราะเขาไม่ได้มี sand box หรือบ่อทรายให้ไปเล่นหรือไปดูว่ามีอะไรบ้างที่เป็นทางเลือกสำหรับเขา หรือมีอะไรบ้างที่เขาอาจจะชอบ

พ่อแม่หลายหลายคนปิดกั้น ซึ่งตอนนี้ผมทำอีกหน้าที่หนึ่งนอกเหนือจากโปรแกรมเมอร์คือ รับคุยกับพ่อแม่ชาวบ้านฮะ (หัวเราะ) ว่าอันนี้ไม่ใช่ทางเลือกเดียวที่ลูกคุณจะไปได้ เราต้องเข้าใจว่าในโลกนี้หน้าที่การงานมั่นคงไม่มีอยู่จริง ไม่มีอะไรต้องกลัว การเป็นเป็ดไม่ใช่เรื่องที่แย่

เพื่อนหลายคนชอบมาบ่นกับผมว่าไม่รู้เลยว่าตัวเอง specialized เรื่องอะไร ผมก็บอกเฮ้ยไม่ต้องรู้ มันไม่จำเป็นขนาดนั้น แต่เราต้องรู้ว่าสิ่งไหนที่เราทำแล้วสนุก มันตอบสนองตัวเรา ซึ่งมันอาจจะไม่ใช่แค่อย่างเดียวก็ได้ เพราะหลายๆ ศาสตร์ในโลกนี้มันเกิดขึ้นจากสองศาสตร์รวมกัน

แม้แต่การเขียนโปรแกรม มันคือการผสมผสานกันระหว่างวิทยาศาสตร์กับศิลปะ หรือการทำเสียงเพลงด้วยซอฟต์แวร์ คุณต้องรู้เรื่องศิลปะ ต้องรู้ว่าเล่นดนตรีอย่างไร ต้องเข้าใจทฤษฎีดนตรี และยังต้องเข้าใจเรื่องซอฟต์แวร์ด้วย ซึ่งผู้ใหญ่บ้านเมืองเราไม่ค่อยให้ความสำคัญกับสิ่งที่ผมเรียกว่า cross disciplinary หรือการบวกกันระหว่างศาสตร์สองสาย

เราจะคิดว่าสายวิทย์ก็เป็นหมอสิ สายศิลป์ก็ไปวาดรูปสิ แต่เรายังไม่รู้ว่า พวกนี้ไม่ได้ขาวหรือดำ แต่คือสีหลายๆ สีมาผสมกัน นี่คือสิ่งที่เป็นในตอนนี้ แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะมากกว่านี้อีก เพราะจะมีอาชีพใหม่ๆ เกิดขึ้นเยอะมาก

แล้วตอนนี้ ‘งาน’ ของภูมิคืออะไร

ตอนนี้มีสองอัน ถ้าใช้ตอนทำงานเรียก full stack developer แต่ส่วนตัวผมชอบเรียกตัวเองว่าเป็น Dreamer Ideaer and Thinkerer

Dreamer คือเราหลับตาฝันก่อน Ideaer คือออกแบบไอเดีย และ Thinkerer คือเราทำ

ในฐานะตอนนี้ที่เป็นเด็กไทยอายุ 17 เป็นวัยรุ่น คิดว่าปัญหาของเพื่อนเราและเด็กวัยรุ่นคืออะไร

ปัญหาที่ใกล้ตัวมากที่สุดอย่างแรกคือ เด็กไม่รู้ว่าชอบอะไร จะทำอะไรต่อ ทำให้เด็กต้อง force ตัวเองให้หาเจอซึ่งมันจะจริงหรือไม่จริงก็ไม่รู้ ในระบบ TCAS รอบหนึ่งเป็นรอบ portfolio เป็นรอบที่ติดได้ง่ายที่สุด ถ้าคุณมีผลงานมากพอ เด็กก็พยายาม force ตัวเอง ซึ่งหลายคนยังไม่รู้เลยว่าตัวเองชอบอย่างนั้นจริงหรือเปล่า

ปัญหาที่สองคือ การออกนอกลู่นอกทางแบบ extreme เรารู้จักปัญหาแบบนี้จากเด็กห้องท้าย ซึ่งเป็น stereotype อย่างหนึ่งที่เราบอกว่า เด็กห้องท้ายเป็นเด็กไม่ดี ซึ่งผมเคยไปอ่านงานวิจัยมา พบว่าเด็กไทยมีเด็กเก่ง แม้จะไม่เยอะแต่เป็นเด็กที่เก่งมากๆ แต่เด็กที่ไม่เก่งก็จะถูกทิ้งไปเลย

ผมรู้สึกว่ามนุษย์ทุกคนมี purpose ของตัวเอง ไม่มีเด็กคนไหนที่เกิดมาแล้วเหยียดผิว หรือไม่มีเด็กคนไหนที่เกิดมาแล้วเหยียดชาติกำเนิด ไม่มีเด็กคนไหนที่เกิดมาก้าวร้าว เด็กทุกคนได้รับอิทธิพลมาจากสื่อ พ่อแม่ ครอบครัว และสภาพแวดล้อมที่ไม่ยอมรับเขา

ผมว่าปัญหานี้มันแก้ได้ด้วยการสร้างคุณค่าให้กับตัวเด็กเอง โรงเรียนไม่ใช่โรงงานพิมพ์เด็กให้ทุกคนเหมือนกัน เด็กทุกคน special ตามแบบของเขาที่ได้มาจากสภาพแวดล้อมที่เขาอยู่ แล้ววัยรุ่นเป็นช่วงที่อารมณ์แปรปรวนมาก ผมผ่านช่วงนั้นมาแล้ว ช่วงนั้นผมแย่จริงๆ ทำอะไรที่ unspeakable เยอะมาก

จากการเป็นเด็กเลว เป็นเด็กเหี้ยมาก่อน ทำให้เรารู้ว่าที่เขาทำตัวแบบนั้นไม่ใช่เพราะว่าเขาแย่ แต่เป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อให้เขาเห็นว่าอะไรคือคุณค่าของเขา

ทั้งสองปัญหานี้เกิดขึ้นจากต้นตอเดียวกันคือเราไม่เปิดโอกาสให้เด็กออกไปหาว่าอะไรคือสิ่งที่ใช่สำหรับเขา เราบอกว่าเราไม่ตีกรอบนะ เราบอกว่าเราเอื้อให้เด็กพัฒนา บอกว่ามี participate discussion แต่เวลาตอบคำถามในห้อง เด็กยกมือตอบในสิ่งที่ครูสอนไม่ได้สอนก็โดนด่า เด็กมหาวิทยาลัยก็เป็น เขียนโปรแกรมในสิ่งที่อาจารย์ไม่สอน ให้ F คือผมว่ามันแก้ได้ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กๆ มีคุณค่า นี่คือสิ่งที่ผมจะทำในปี 2019

ทำอะไร

ปี 2019 ที่ผมจะทำคือ Empowering Young Developer เราจะมอบพลังให้กับเด็กที่จะโตมาเป็นนักพัฒนาในรุ่นต่อไป ถ้าเป็นไปได้ผมอยากไปเจอเด็กที่ไม่มีโอกาสขนาดนั้น แต่มีความสนใจ อยากให้มาสัมผัสกับโปรแกรมมิ่ง เพราะไทยเรา left behind (ทิ้งไว้ข้างหลัง) เด็กๆ เยอะมาก

ตอนผมไปอยู่อเมริกา ผมแทบจะได้ยินเรื่องแบบนี้ทุกวัน เขาเอา women of color ผู้หญิงผิวสี เด็กที่โดน child abuse หรือคนที่เป็น minority ที่โดนกระทำรุนแรงมา เขาพาคนเหล่านั้นมาเขียนโปรแกรมแล้วชีวิตเขาดีขึ้นเยอะเลย เขาได้มอบพลังของการเขียนโปรแกรมให้กับคนอื่นๆ ซึ่งเป้าหมายของผมในปีหน้าคือผมจะมอบพลังเหล่านั้นให้กับเด็กไทย แล้วผมจะไปให้ไกลว่าอเมริกาอีก อเมริกาเอาแค่เรื่องการเขียนโค้ด แต่ของผมจะเอาเรื่องการสร้างโปรดักท์เพื่อแก้ปัญหาของผู้อื่นไปด้วย

ถ้าผมทำได้สำเร็จจะสามารถดึงเด็กๆ ที่ออกนอกลู่นอกทางให้กลับเข้ามาได้ กับสองคือดึงเด็กๆ ที่ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร มาสัมผัสดูว่าอันนี้ใช่สำหรับเขาหรือเปล่า

ถ้าสามารถออกแบบระบบการศึกษา ภูมิจะออกแบบอย่างไร

ชอบคำถามนี้มากฮะ ส่วนตัวผม ผมสนับสนุนเรื่อง home school ผมรู้สึกว่ายิ่งในประเทศไทย home school เป็นเรื่องที่ค่อนข้างดีมาก แต่ปัญหาคือไม่ใช่พ่อแม่ทุกคนที่ทำ home school ได้ 

ผมรู้สึกว่าหลายๆ อย่างต้องทำเป็นระบบ ต่างประเทศเขาจะมีระบบเครดิต หมายความว่าเด็กๆ มีเครดิตที่สามารถไปลงเรียนได้จำนวนหนึ่ง เขาจะเอาตรงนี้ไปลงเรียนอะไรก็ได้ที่เขาสนใจ ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่แค่เด็กๆ ในสิงคโปร์มีระบบที่เรียกว่า SkillsFuture เป็นระบบที่รัฐบาลสิงคโปร์ให้คนสิงคโปร์เรียนรู้อะไรก็ได้โดยใช้เครดิตของรัฐบาล ไม่ต้องเสียเงิน จะเรียนบาร์เทนเดอร์หรือเต้นบัลเลต์ก็ได้ แบบนี้มันทำให้ครอบครัวฐานะไม่ได้รวยมากสามารถเข้าถึงการศึกษาได้

ถ้าเอามาประยุกต์กับประเทศไทย อันนี้ต้องระวังหน่อยคือไม่ให้พ่อแม่ influence คือให้เด็กได้ลอง ให้เขาเลือกเครดิตได้ตามใจชอบ

อย่างที่สองคือ การสอบไม่ใช่คำตอบ ถ้าให้ผมไปสอบ TCAS GAT PAT ผมเชื่อว่าผมตกแน่นอน ผมว่าการทำ standardized testing หรือการทดสอบอย่างมาตรฐาน เป็นเหมือนการ boundary ว่านี่คือสิ่งที่ทุกคนต้องรู้นะ ถ้าคุณไม่รู้ you are failure

มีบางประเทศที่เขาเริ่มเอาระบบเกรดออกไป ผมรู้สึกว่าระบบเกรดควรให้เด็กดูเองมากกว่า เพื่อให้รู้ว่าตัวเองมีอะไรที่พัฒนาอีกได้ แต่ตอนนี้มันถูกใช้ในทางที่ผิด พ่อแม่ใช้เป็นเครื่องมือลดคุณค่าลูกตัวเอง ทำให้ลูกรู้สึกว่าตัวเองเรียนวิชาการไม่ได้ ไม่ได้ 4 ทุกวิชา ฉันไม่เก่งพอ ผมว่าไม่ใช่

การไม่ได้เกรด 4 ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่เก่ง คุณอาจจะเป็นนกที่โบยบินได้เก่ง แต่ใครก็ไม่รู้เสือกมาบอกว่าให้คุณว่ายน้ำ แค่นั้นเอง

อย่างที่สามคืออยากให้เด็กๆ ได้ลองไปสัมผัสอาชีพตั้งแต่วัยเรียน เพราะผมเรียนแนะแนวในห้อง หลายอย่างถูกเบนไปด้วยอคติของอาจารย์ เช่น แบบฟอร์ม แบบสอบถาม ถามว่าคุณถนัดเป็นอะไร ผมว่าพวกนั้นวัดไม่ได้ อย่างติ๊กไป เป็นหมอ ตัวเด็กเองอยากเป็นหมอจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ ผมว่าจะดีกว่าไหมถ้าให้เด็กออกไปลองทำอาชีพนั้นจริงๆ

ภูมิรู้สึกกลัวบ้างไหมอย่างตอนตัดสินใจที่จะลาออก ตอนแฮคระบบโรงเรียน รู้สึกกลัวไหมเวลาที่เราจะทำอะไรที่ท้าทายตัวเอง

ส่วนตัวผมไม่กลัวนะ ผมคิดว่าเราอยู่ในบ่อทราย การสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้เด็กๆ เรียนรู้ได้ดีคือการอยู่บ่อทราย สมมุติผมทำโปรดักท์ผมจะไม่เกิดอะไรขึ้น เพราะพ่อแม่แบคเราอยู่ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าผมแฮคระบบโรงเรียน ไม่เกิดอะไรขึ้น เพราะเรารู้ว่าอะไรคือขอบเขตที่เราเข้าถึงได้ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราลาออกจากโรงเรียน ไม่เกิดอะไรขึ้น เพราะเรารู้ว่าพ่อแม่แบคเราอยู่ แล้วเรารู้ว่าเราจะทำอะไรต่อ

คำว่า “ไม่เกิดอะไรขึ้น” คือ key สำคัญของการทำ ซอฟต์แวร์ หรือการใช้ชีวิตในสังคม

เด็กๆ จะเรียนรู้ได้เต็มที่ก็ต่อเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อม (จำลอง) ที่ไม่มีโอกาส fail เหมือนเราเล่นเกมโดยมีชีวิตไม่จำกัด เราจะกล้าเล่น ไม่กลัวตาย เล่นไปเรื่อยๆ ฝึกตัวเองไปเรื่อยๆ แม้ว่าเกมมันจะโคตรยากแค่ไหน เราก็จะสู้มันไปได้เรื่อยๆ เพราะยังไงเราก็ไม่ Fail 

สภาพแวดล้อมที่โอกาส fail เท่ากับศูนย์ นี่คือ point ของการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมควรปลอดภัยต่อการลองอะไรใหม่ สภาพแวดล้อมควรปลอดภัยต่อการล้มเหลว ต่อการเจ็บปวด เหมือนตอนเราขี่จักรยาน เราล้ม พ่อแม่ก็มาดูบอกว่า ไม่ต้องร้อง ลุกขึ้นมา ปั่นต่อ ถึงอันตรายแต่พ่อแม่เขาดูเราอยู่ตลอด คงไม่มีใครเอาปืนมาจี้ตรงนั้น เพราะพ่อแม่อยู่กับเรา

ถ้าเทียบกับการเรียนรู้ทุกวันนี้ ตอบผิด หักคะแนน อาจารย์ด่าว่า เฮ้ย ทำไมมึงตอบผิด แค่นี้ก็ไม่ safe แล้ว ทำให้เด็กเราไม่กล้าลอง ในฝั่งซอฟต์แวร์ เรามีศัพท์ทางซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า make illegal state impossible คำนี้แปลภาษามนุษย์ว่า ทำให้สภาวะที่ผิดพลาดไม่มีอยู่จริงในซอฟต์แวร์ แปลว่าเราเขียนโปรแกรม เราเขียนตัวมาทดสอบโปรแกรมมาครอบคุม ไม่ว่าคุณจะเขียนมั่วแค่ไหน ระบบคุณไม่พังแน่นอน เพราะมีชุดทดสอบที่ดีพอ

การเรียนรู้จริงๆ ในชีวิตก็ต้องมีชุดแบบนี้เหมือนกัน ต้องมีอาจารย์ที่มีความรู้ว่าเราจะคอยช่วยเหลือเด็กๆ ได้มากน้อยแค่ไหน เราจะคอยดูอยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ ได้อย่างไร อาจารย์ควรเป็น facilitator ผู้ที่คอยให้คำแนะนำ คอยพาไปให้ถึงฝั่ง ไม่ใช่ชี้นำ ชี้นิ้ว ว่าคุณต้องทำอย่างโน้น อย่างนี้

Tags:

ภูมิปรินทร์ มะโนcodingNECTECGeneration of InnovatorระบบการศึกษาAIโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่นวัตกร

Author:

illustrator

กนกอร แซ่เบ๊

อดีตนักศึกษามานุษยวิทยา เกิดในครอบครัวคนจีนจึงพูดจีนได้คล่องราวภาษาแม่ ปัจจุบันเป็นคุณน้าที่หลงหลานสุดๆ และขยันฝึกโยคะเกือบเท่างานประจำ

illustrator

ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ

อดีตนักข่าวที่ผันตัวมาทำงานด้านการเรียนรู้(อย่างรื่นรมย์) ด้วยอินเนอร์คุณแม่ลูกหนึ่ง(ที่เป็นวัยรุ่นและขายาวมาก) รักการทำงานก็จริงแต่ชอบหนีไปออกกำลังกายตามคำบอกของคุณหมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เพื่อให้ชีวิตการงานสมดุลอยู่

Photographer:

illustrator

ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

ศิลปศาสตร์บัณฑิต และมนุษย์ฟรีแลนซ์ที่ทำงานเขียน ถ่ายรูป สัมภาษณ์ แปลงาน ล่าม ไปจนถึงครูสอนพิเศษเด็กชั้นประถม ของสะสมที่ชอบมากๆ คือถุงเท้าและผ้าลายดอก เขียนเรื่องเหนือจริงด้วยความรู้สึกจริงๆ ออกเป็นหนังสือ 'Sad at first sight' ซึ่งขายหมดแล้ว ผลงานล่าสุดคือ I Eat You Up Inside My Head รับประทานสารตกค้างในกลีบดอกปอกเปิก

Related Posts

  • Voice of New Gen
    ปิยะธิดา อินทะนัย: จากนักเรียนสู่นักวิจัยรุ่นเยาว์ ผ่านโครงการทำอาหารกุ้งฝอยจากเบต้ากลูแคน

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ The Potential

  • Voice of New Gen
    รดิศ ค้าไม้: จากเด็กติดเกมสู่นักออกแบบเกม เกมเป็นครู เป็นความฝัน และผู้สอนทักษะการบริหาร

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Voice of New Gen
    สอน CODING อย่างไรให้ง่าย สนุกเหมือนสนามเด็กเล่น: ภูมิปรินทร์ มะโน

    เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Voice of New Gen
    นวัตกรตัวน้อย: ไม้ยืนต้น รากลึกและแข็งแรงจาก ‘ต่อกล้าให้เติบใหญ่’

    เรื่อง The Potential

  • Voice of New Gen
    ‘ภูมิ’ เด็กสร้างค่าย เปลี่ยนเด็กธรรมดาให้กลายเป็น ‘นักสร้างสรรค์’ ภายใน 3 วัน

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

สังคมดี เพราะเด็กรู้คิดและคิดดี มีคุณครูเป็นผู้ช่วยคนสำคัญ
21st Century skills
3 January 2019

สังคมดี เพราะเด็กรู้คิดและคิดดี มีคุณครูเป็นผู้ช่วยคนสำคัญ

เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • การสอนให้นักเรียนคิดที่แท้จริง ไม่ใช่แค่กระตุ้นให้นักเรียนให้คิดวิเคราะห์เท่านั้น แต่ควรรวมถึงการคิดใคร่ครวญความรู้จนตกผลึกเป็นสติปัญญามองเห็นคุณค่าที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นคนที่ดีขึ้นด้วย
  • ทั้งพฤติกรรมหรือคำพูดที่นักเรียนแสดงต่อกันสามารถสะท้อนมุมมองที่แท้จริงที่ว่าพวกเขาเข้าใจโลกและเหตุการณ์ที่ดำเนินในชีวิตอย่างไร
  • เพราะสังคมร้องหาการอ้างอิงด้วยผลการวัดและประเมินด้วยคะแนนเพื่อเทียบวัดความสำเร็จเชิงตัวเลข ครูจึงถูกบีบบังคับให้ต้องสอนให้นักเรียนคิดเหมือนกันเพื่อที่จะวัดประเมินได้ แทนที่จะส่งเสริมความถนัดที่แตกต่างและกระตุ้นการคิดเฉพาะตัวของผู้เรียน

ห้องเรียนที่เป็นเหมือนเวทีเสวนา เปิดโอกาสให้นักเรียนกล้าฝัน กล้าคิด กล้าพูด แบ่งปัน แย่งกันยกมือตอบ คงเป็นห้องเรียนในอุดมคติของพ่อแม่และคุณครูทั้งหลาย

โจเอล เวสธีเมอร์ (Joel Westheimer) ประธานองค์การวิจัยด้านการศึกษาและประชาธิปไตยแห่ง The University of Ottawa ก็เช่นเดียวกัน ประสบการณ์ของการเป็นครูมาทั้งชีวิตให้ข้อคิดและแนวทางที่เขานำมาใช้เองและเขียนหนังสือเผื่อแผ่ให้คุณครูอีกหลายล้านคนนำเทคนิคและคำแนะนำของเขาไปปลุกปั้นในห้องเรียนที่ส่งเสริมการคิดทั่วโลก

อาชีพครูของโจเอลเริ่มต้นช่วง 1980 ภาพคุณครูวิชาสังคมศึกษาชั้นประถมและมัธยมต้นผู้มุ่งมั่นในตอนนั้นยังชัดเจน โจเอลพกพาความฝันอันเต็มเปี่ยมที่จะเพิ่มพูนทักษะความรู้ต่างๆ ให้นักเรียนในชั้นเรียนของเขาออกไปสร้างโลกที่ดีขึ้น เด็กๆ ไม่เพียงเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ดีเท่านั้น เขาฝันไกลไปว่า การสอนให้นักเรียนคิดดีได้ จะช่วยบรรเทาเมฆหมอกความอคติและความเกลียดชังในสังคมให้ลดน้อยลง คุณครูคนใหม่หวังให้เด็กๆ ซาบซึ้งในพลังความคิดที่จะช่วยให้พวกเขาค้นเจอความหมายที่มีต่อสังคมและโลกใบนี้ และทำมันให้น่าอยู่ขึ้น

แน่นอนว่าเพียงแค่เดือนแรกของการสอน ฟองสบู่ที่บรรจุความเพ้อฝันไว้เต็มเปี่ยมก็แตกโพละ นักเรียนในชั้นไม่เพียงต่อต้านเขาอย่างวายป่วงทุกทาง มีทั้งลากโต๊ะเก้าอี้วางระเกะระกะไปทั่วห้องเมื่อเริ่มชั้นเรียน ยกกล่องอาหารเช้าขึ้นมากินระหว่างการสอนโดยอ้างว่าครูคนเก่าให้ทำอย่างนี้ได้

ตอนนั้นโจเอลไม่เคยนึกมาก่อนว่าจะต้องพก 3 สิ่งนี้เข้าไปสอนใน ‘นรก’ แห่งนั้นด้วย คือ การให้เวลา ความอดทน และ ความคิดสร้างสรรค์

ในขณะที่พยายามทุกวิถีทางเพื่อยัดเยียดให้เหล่าตัวแสบรับเอาความรู้ที่เป็นประโยชน์จากโรงเรียนไปให้ได้ แต่โจเอลก็ยอมรับว่า ตัวเขาในขณะนั้นกลับไม่เคยมองไปไกลกว่าการดื้อดึงจะสอน โดยไม่เคยมองว่าสิ่งที่เรียนรู้จากตำราในโรงเรียนกับชีวิตความเป็นอยู่ข้างนอกรั้วโรงเรียนของเด็กๆ ครอบครัว สังคมที่พวกเขาเติบโตขึ้นนั้น มันเกี่ยวกันหรือไม่อย่างไร

พฤติกรรมและคำพูดของเด็กบอกได้ว่าเขามองโลกอย่างไร

จุดเริ่มต้นที่ทำให้โจเอลฉุกคิดว่า การเอาแต่สอนให้นักเรียนฉลาดคิดวิเคราะห์อย่างเดียวยังไม่พอ นักเรียนรู้ดีชั่วแต่ในทางปฏิบัติกลับล้มเหลว ในชั้นเรียนที่อภิปรายกันด้วยหัวข้อการเหยียดสีผิวและอคติที่มีต่อเชื้อชาติต่างๆ การเคลื่อนไหวทางสิทธิมนุษยชนเพื่อปกป้องคนผิวสีในอเมริกา นักเรียนทุกคนดูเหมือนจะสนับสนุนคุณค่าความเป็นมนุษย์โดยเท่าเทียม พวกเขาพูดถึงโลกยุคใหม่ที่ทุกเชื้อชาติ ทุกความต่างสามารถเป็นน้ำหนึ่งเดียวกันได้อย่างออกรสออกชาติ

แต่ทว่า ความเป็นจริงนอกคาบเรียน พวกเขาล้อเลียนกลั่นแกล้งเพื่อนร่วมชั้นต่างชาติอย่างหนัก เช่น ใช้คำสแลงเรียกจิกเพื่อนชาวสเปนว่า spic (คล้ายๆ กับเรียกคนไทยเชื้อสายจีนว่า ‘เจ๊ก’) หรือ ล้อเพื่อนที่อ่อนทักษะกีฬาว่า faggot ซึ่งเป็นคำเรียกที่มีความหมายดูแคลนชายรักชายทำนอง ‘ไอ้ตุ๊ด’

แทนที่จะจำความรู้ไปพูดแบบนกแก้วนกขุนทองเวลาอภิปรายในชั้นหรือพื้นที่วิชาการ โจเอลตระหนักว่าเขาต้องทำอะไรสักอย่างให้นักเรียนเห็นความเชื่อมโยงว่า ตัวเองกับผู้คนในสังคม รวมถึงสรรพสิ่งรอบตัว ทั้งหมดคือเรื่องเดียวกัน การสอนให้นักเรียนรู้ดีชั่วเป็นเรื่องง่าย แต่จะสอนให้พวกเขา ‘มีจิตสำนึก’ นั้นยากกว่า

เขาคิดว่าการสอนให้นักเรียนคิดที่แท้จริง ไม่ใช่แค่กระตุ้นให้นักเรียนให้คิดวิเคราะห์เท่านั้น แต่มันควรรวมถึงการคิดใคร่ครวญความรู้จนตกผลึกเป็นสติปัญญามองเห็นคุณค่าที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นคนที่ดีขึ้นด้วย

ไม่ช้า โอกาสก็มาถึง นิวยอร์คขณะนั้น (ช่วงกลางปี 1980’s) มีงานเฉลิมฉลอง Gay Pride ที่กำลังเป็นประเด็นพิพาท ระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้าน โรงเรียนของโจเอลให้พื้นที่กับอาจารย์เกย์ที่เปิดเผยรสนิยมคนหนึ่งทำดิสเพลย์บนบอร์ดติดกระจกเพื่อนำเสนอบทความ ข่าวตัดจากหนังสือพิมพ์ให้เข้ากับบรรยากาศงาน

แต่เพียงไม่กี่วัน บอร์ดก็ถูกมือดีใช้เก้าอี้ทุ่มซะเละเทะ กระจกแตกเกลื่อน โจเอลมองเหตุการณ์นี้เป็นโอกาสที่เขาจะได้ให้นักเรียนในวิชาสังคมศึกษา ‘คิด’ ‘เข้าใจ’ ‘ตระหนักรู้’ จากเหตุการณ์ที่พวกเขามีส่วนร่วมด้วยจริงๆ ไม่ใช่แค่เรียนรู้จากตำราประวัติศาสตร์เย็นชืดอย่างที่ผ่านมา

เก้าอี้ถูกนำมาวางล้อมบอร์ดที่พังยับเยินดังกล่าว ห้องเรียนของโจเอลเปลี่ยนสถานที่จากในห้องสี่เหลี่ยมมาเป็นโถงกว้าง ตรงหน้ามีกระดาษรุ่งริ่งและเศษกระจกกระจัดกระจาย ชั้นเรียนในวันนี้จะพูดคุยกันต่อถึงประเด็นการเหยียดสีผิวที่เกิดขึ้นในอเมริกา

ครั้งนี้ โจเอลสัมผัสได้ว่าบรรยากาศการอภิปรายเปลี่ยนไปเมื่อบอร์ดที่ถูกทุ่มทำลายด้วยน้ำมือความเกลียดชังตั้งอยู่ตรงหน้า โจเอลกระตุ้นชั้นเรียนด้วยคำถามที่ต่อยอดจากคาบที่แล้วเรื่องอคติว่า พวกเขาคิดอย่างไรกับประเด็นความอคติที่สังคมบางส่วนมีต่อคนผิวสีหรือกลุ่มคนที่เชื้อชาติแตกต่างที่อยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกับเรา

เหนือความคาดหมาย เมื่อตัวจี๊ดประจำชั้นที่โจเอลเรียกนามแฝงเขาว่า อาชีม (Archeem) นักเรียนแอฟริกัน-อเมริกันผู้คอยทำลายแผนการสอนที่เขาตระเตรียมเป็นอย่างดีให้พังพินาศแทบทุกครั้ง แถมเป็นหัวโจกสำคัญในการล้อเลียนเพื่อนร่วมชั้นทุกรูปแบบ ยกมือขอพูดบางอย่าง เขาชี้ไปที่บอร์ดนั่นแล้วบอกว่า…

ไอ้การเหยียดสีผิวมันก็คือเรื่องเดียวกันกับบอร์ดที่พังๆ นั่นแหละ เมื่อโจเอลให้เขาอธิบายว่า เหมือนตรงไหน เขาตอบว่า

“Racism is like when you hate someone just because of something about them that you don’t even know nothing about.”

การเหยียดสีผิวก็คือเวลาที่เราเกลียดใครสักคนด้วยสาเหตุบางอย่างซึ่งเราก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคืออะไร

ในฐานะคุณครูหน้าใหม่ช่างฝันอย่างโจเอลในตอนนั้น เขามองว่านี่คือคำตอบที่สั่นสะเทือนมาก การที่เด็กผิวสีแอฟริกันอเมริกันอายุ 13 ปีซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมา ทำอะไรไม่เข้าท่ามาโดยตลอดกลับตระหนักถึงอะไรบางอย่าง และปล่อยหมัดเด็ดครั้งใหญ่ โจเอลรู้ว่า นาทีนี้อาชีมและเพื่อนๆ น่าจะเข้าใจมากขึ้นว่าความเกลียดชังด้วยอคติที่คนทั้งโลกรู้จักกันดีคือเรื่องเลวร้ายที่จับต้องได้จริงๆ และมันกลวงโบ๋เพียงใด

บทเรียนในวันนี้ เขาทำให้นักเรียนประจักษ์ด้วยตาตนเองแบบจะแจ้งว่า คุณค่าความดีงามในมนุษย์มันบิดเบี้ยวได้มากแค่ไหนเมื่ออยู่ในโลกความจริง อคติที่พวกเขาพูดคุยถกเถียงกันมาเป็นสิบๆ ครั้งไม่ได้อยู่แค่ในตำรา แต่มันเกาะกินในใจของพวกเราทุกคนที่มีเลือดเนื้อจริงๆ

“If schools are to be instrumental in helping young people engage with the world around them and work to improve it, then the lessons in school have to teach more than a calcified version of past events. Schools need to offer lessons that encourage new interpretations and that lend themselves to contemporary problems.”

ถ้าโรงเรียนมุ่งหวังให้เด็กและเยาวชนตระหนักในการเป็นส่วนหนึ่งของโลกที่พวกเขาอยู่และมีหน้าที่ที่จะทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น โรงเรียนควรสอนให้พวกเขาตีความปัญหาจากประสบการณ์จริงที่กำลังเกิดขึ้นกับสังคมความเป็นอยู่ขณะนั้น มากกว่าแค่จากเรื่องเล่าในประวัติศาสตร์

ตีเหล็กต้องตีตอนร้อน คำตอบของอาคีมปลุกบรรยากาศการถกเถียงให้ลุกโชน โจเอลยิงคำถามต่อว่า “พวกหนูสงสัยไหมว่า เวลาที่คนผิวขาวเขาแสดงปฏิกิริยากับคนผิวสีนี้มันเหมือนกับการที่พวกเราบางคนรู้สึกบางอย่างกับคนที่เป็นเกย์รึเปล่า พวกหนูคิดว่ายังไง” ในชั้นเรียนแสดงความเห็นกันเผ็ดร้อน นักเรียนบางคนตอบกลั้วหัวเราะว่า “ไม่เหมือนกัน เพราะเกย์เป็นเรื่องผิดธรรมชาติ น่ารังเกียจ”

ใช่แล้ว นี่เป็นแค่ก้าวแรกของความพยายามที่ยังห่างไกลจากสิ่งที่มุ่งหวังเหลือเกิน แต่อย่างน้อยนักเรียนได้ถกเถียง โต้แย้ง หักล้างกัน ตลอดเวลาที่คลาสสังคมศึกษาดำเนินต่อไป นักเรียนอภิปรายเรื่องข้อกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพจากอคติทางเชื้อชาติในยุค 50s-60s มาเปรียบเทียบกับความไม่เท่าเทียมในสิทธิของเกย์ยุคปัจจุบัน รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น จนกระทั่งในที่สุด ใครบางคนก็ตาสว่างกับคำว่าอคติอย่างแท้จริง จดหมายปิดผนึกจากนักเรียนนิรนามฉบับหนึ่งส่งตรงถึงอาจารย์เกย์เจ้าของดิสเพลย์ เพื่อกล่าวขอโทษกับการกระทำอันแสนขลาดเขลาของเขา

โรงเรียนต้องให้ความสำคัญกับการสร้างจิตสำนึก พอๆ กับกระบวนการคิด

จากประสบการณ์ในวันนั้น โจเอลพบข้อสรุปว่า ทั้งพฤติกรรมหรือคำพูดที่นักเรียนแสดงต่อกันสามารถสะท้อนมุมมองที่แท้จริงที่ว่าพวกเขาเข้าใจโลกและเหตุการณ์ที่ดำเนินในชีวิตอย่างไร

วิธีที่จะสอนให้นักเรียนในชั้นเรียนวิชาสังคมศึกษาของเขาตระหนักในเรื่องนี้ คือต้องให้แยกแยะความเชื่อ ความเห็น ค่านิยม ออกจากความเป็นจริงให้ได้ก่อน (เช่น อคติการเหยียดสีผิวก็คือความเห็นที่ไร้หลักการ ว่าคนผิวสีมีมันสมองด้อยกว่าจึงไม่มีสิทธิความเป็นมนุษย์เท่าเทียมคนผิวขาว แต่ข้อเท็จจริงคือ มนุษย์มีหลายเผ่าพันธุ์และสีผิวเกิดจากยีนพันธุกรรมที่ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ เลยกับความเฉลียวฉลาด เป็นต้น)

อีกประการคือ ในเมื่อนักเรียนมองความรู้จากตำราประวัติศาสตร์เป็นเรื่องไกลตัว และยังเชื่อมโยงความรู้ในห้องเรียนกับชีวิตจริงไม่เป็น ดังนั้นหน้าที่ของคุณครูคือ ต้องชี้ให้เห็นถึงประเด็นปัญหาที่จับต้องได้ของยุคสมัยที่พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งในนั้น

นอกจากข้อค้นพบข้างต้น โจเอลเสริมให้คุณครูต้องปฏิบัติดังนี้

1. กระตุ้นให้นักเรียนเป็นเด็กช่างถาม – การที่นักเรียนถามเพราะเขาสงสัย อยากรู้ อยากเข้าใจ ถ้านักเรียนขาดจุดเริ่มต้นตรงนี้ไป ก็เท่ากับเขาไม่มีเป้าหมายที่จะเรียนรู้ ครูต้องมีสิ่งกระตุ้นที่ทำให้นักเรียนสงสัยใคร่รู้ให้ได้

2. กระตุ้นให้ถกเถียงกันในชั้นเรียน – ถกเถียงที่ไม่ใช่การทะเลาะ แต่เห็นต่างด้วยเหตุผลคนละอย่าง ที่คิดอย่างนั้นเพราะอะไร มีหลักฐานข้อมูลใดมาสนับสนุนความคิดตนได้ จุดนี้ สิ่งที่โจเอลมองว่านักเรียนจำเป็นต้องพิจารณาให้มากคือ ที่มาที่ไปของแหล่งข้อมูลที่เอามาอ้างอิงด้วย อย่าหูเบาและบ้องตื้นจนเชื่อในสิ่งที่อ่านเจอทุกอย่าง

3. เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้จากตำรากับการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง เบื้องต้น การสอนให้นักเรียนขบคิดลึกซึ้งและกว้างไกล จำเป็นที่ต้องให้จดจำหลักการบางอย่างให้ได้ก่อน หลักการนั้นอาจเป็นเสาหลักให้ยึดในการวิเคราะห์ หรือเพื่ออ้างอิงความถูกต้องได้ แต่ในโลกใบนี้ หลักการหรือข้อเท็จจริงเหล่านั้นไม่ ‘เสถียร’ เสมอไป ขึ้นอยู่กับว่าหลักการใดที่จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่จะหยิบยกมันมาใช้ได้มากกว่ากัน สมการคณิตศาสตร์ก็เช่นกัน เราเรียนรู้มันเพียวๆ ไม่ได้ แต่ต้องนำไปใช้ประโยชน์บางอย่าง อาทิ หาปริมาตรของความจุน้ำในเขื่อนชลประทาน วิถีโค้งของถนน

4. แม้ตัวอย่างจากบทเรียนเป็นสิ่งจำเป็น แต่ยังต้องสอนจากของจริง ให้พวกเขาแบ่งปันประสบการณ์ตรงที่เคยพบเจอ ตั้งคำถาม ระบุปัญหา หนทางแก้ไข ความชอบ ความชัง ความต่างที่เกิดขึ้นในขณะนั้น

5. สร้างโอกาสและผลักดันให้นักเรียนทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน สิ่งที่เรียนรู้ในห้องเรียนนำไปพัฒนาความเป็นอยู่นอกรั้วโรงเรียนได้มากน้อยอย่างไร การสร้างประโยชน์ให้ส่วนรวม สามารถเติมเต็มความขาดในใจ ขัดเกลาทักษะและคุณงามความดีของการคิดการกระทำให้เป็นไปอย่างเอื้อเฟื้อ เกื้อกูลต่อกัน

ความพยายามที่โจเอลทุ่มเทในการสอนเด็กและเยาวชนให้รู้ซึ้งและเข้าใจทั้งหมดนี้คือ การสร้างการรู้คิด (Metacognition) หรือความสามารถของบุคคลที่มีต่อกระบวนการคิดของตนเอง รู้ว่าอะไรเหมาะสมกับตนเองในการเรียนรู้ ตลอดจนสามารถเลือกกลวิธี ในการวางแผน กำกับควบคุม และประเมินการเรียนรู้ของตนเองได้ เพื่อให้การเรียนรู้หรือการปฏิบัติงานต่างๆ บรรลุตามวัตถุประสงค์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะแปรเปลี่ยนเป็นพลังที่แก้ไขสังคมหรือโลกใบนี้ให้ดีขึ้นได้

อย่างไรก็ดี หลักสูตรที่มุ่งเน้นให้นักเรียนคิดเป็นยังถือเป็นหนทางอันยากลำบากและท้าทาย ทั้งนี้ อุปสรรคสำคัญคือสังคมที่ร้องหาการอ้างอิงด้วยผลการวัดและประเมินด้วยคะแนนเพื่อเทียบวัดความสำเร็จเชิงตัวเลข ครูจึงถูกบีบบังคับให้ต้องสอนให้นักเรียนคิดเหมือนกันเพื่อที่จะวัดประเมินได้ แทนที่จะส่งเสริมความถนัดที่แตกต่างและกระตุ้นการคิดเฉพาะตัวของผู้เรียน

สาเหตุนี้เองที่ลดทอนประสิทธิภาพการสอน ลิดรอนอิสรภาพและความคิดสร้างสรรค์เฉพาะตัวของคุณครูเก่งๆ หลายคนที่คิดริเริ่มออกแบบการสอนใหม่ๆ เพราะต้องสอนให้สอดคล้องกับการสอบวัดและประเมินผลที่เน้นความจำ แม้โรงเรียนรู้เต็มอกเรื่องนี้ แต่พอพูดถึงค่าใช้จ่ายที่ควบคุมดูแลง่ายกว่า แรงสนับสนุนที่จะพัฒนาศักยภาพครูไปจนถึงหลักสูตรพัฒนาการคิดของนักเรียนก็แผ่วไป

ไม่ว่าจะอย่างไร สารพันปัญหา ความเกลียดชัง ความแตกแยกล้วนมีอยู่ทั้งในครอบครัว เพื่อนฝูง หรือชุมชนที่เราอาศัยอยู่ตลอดเวลา การสอนให้คิดตริตรองแก้ไขเป็นสิ่งจำเป็นอยู่แล้ว ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือการศึกษาต้องให้ผู้เรียนเรียนรู้ความเป็นไปในสังคมจริงที่ตนเองอยู่อาศัยเพื่อให้เด็กและเยาวชนตระหนักว่าทั้งความคิด การกระทำที่ได้จากการเรียนรู้นั้นจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความเปลี่ยนแปลงและแก้ไขบรรเทาปัญหาเหล่านั้นได้

สุดท้ายการสอนให้คิดต้องเกิดควบคู่ไปกับการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีและยกระดับคุณค่าความเป็นมนุษย์ อันจะทำให้โลกใบนี้ของทุกคนดีขึ้นได้จริง

โจเอล เวสธีเมอร์ (Joel Westheimer) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานองค์การวิจัยด้านการศึกษาและประชาธิปไตยแห่ง The University of Ottawa เคยมีผลงานวิจัยทางการศึกษาได้รับรางวัลชนะเลิศ CEA Whitworth Award ในปี 2009 และนำประสบการณ์การเป็นครูอันยาวนานมาเขียนหนังสือที่ช่วยแนะแนวทางการสอนที่จุดประกายแง่มุมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในแวดวงการศึกษาจนมีชื่อเสียงได้รับเชิญไปร่วมรายการชื่อดังหลายแห่ง อาทิ Good Morning America, The Agenda, NBC TV News และ CBC เป็นต้น
อ้างอิง:
Teaching Children to Think: Joel Westheimer 2016

Tags:

ครูเทคนิคการสอน4Csการคิดเชิงวิพากษ์(critical thinking)

Author:

illustrator

บุญชนก ธรรมวงศา

จบภาษาและการสื่อสาร เคยผ่านงานบริษัทออแกไนซ์ เปิดคลินิก ไปจนเป็นเลขาซีอีโอ หลังค้นพบและติดใจโลกนอกระบบตอกบัตร จึงแปลงร่างเป็นนักเขียน นักแปลและนักพยากรณ์ไพ่ ขี้โวยวายเป็นนิสัยที่อยากแก้ไขแต่ทำยังไงก็ไม่หาย ปัจจุบันกำลังเข้าใกล้ Midlife Crisis และหวังจะข้ามผ่านได้ด้วยวิถี “ช่างแม่ง”

Related Posts

  • Learning Theory
    ทำไมคำถามจึงสำคัญ? สร้างบทสนทนาในห้องเรียนด้วยคำถามแบบโสเครติส : อรรถพล ประภาสโนบล

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล

  • 21st Century skills
    3 ห้องเรียนฝึกความคิดสร้างสรรค์ ที่ครูไม่ต้องอ่านตำราและเขียนกระดานหน้าห้อง

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • 21st Century skills
    เรียน ‘วิชาเงียบ’ เพื่อให้เด็กๆ ฟังเสียงตัวเองชัดขึ้น

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • 21st Century skills
    ในห้องเรียน ‘ความคิดสร้างสรรค์’ วัดกันได้ และไม่ต้องใช้คะแนนหรือเกรดเฉลี่ย

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • 21st Century skillsEducation trend
    MEDIA LITERACY: หยุดแชร์ข่าวปลอม ด้วยวิชา ‘เท่าทันสื่อ’

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

Posts navigation

Newer posts

Recent Posts

  • ‘นิทานปากเปล่า’ เล่าความรักให้ลูกฟัง สร้างจินตนาการ สานสัมพันธ์ในครอบครัว: แม่จาว – วัชราวรรณ เพชรบุล
  • ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP4: การซึมซับและปรับตัว 
  • เปลี่ยนระบบนิเวศโรงเรียนเป็นสนามพลังบวก ยกระดับเด็กด้อยโอกาสสู่เด็กได้โอกาส: ผอ.วรรณรักษ์ หงษ์ทอง
  • F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง
  • Myth Universe : จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์สู่ Edutainment ความรู้นอกห้องเรียนที่เริ่มต้นจากคำถามและการเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง

Recent Comments

  • Existential crisis: วิกฤตชีวิตที่มาพร้อมกับคำถาม “แล้วฉันอยู่เพื่ออะไร” – EducationNet on Midlife Crisis: เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ทำไมใจถึงวิกฤต
  • The Psychological Wounds of Winnie the Pooh and His Friends: Exploring Characters from a Classic Literary Work - World Today News on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • Exploring the Psychological Wounds of Winnie the Pooh and Friends: A Fascinating Analysis - Archyde on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • 6 วิธีฝึกสอนให้ลูกเป็นเด็กมี Critical Thinking ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต – โรงเรียนมารีวิทยา ป on CRITICAL THINKING: สอนเด็กให้รู้คิด ผิดหรือถูกก็ใช้วิจารณญาณเป็น
  • Best รูป พลเมือง ดี Update New – Haiduongcompany.com on สอนและสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เรื่องไม่ง่ายที่ครูทำได้

Archives

  • July 2025
  • June 2025
  • May 2025
  • April 2025
  • March 2025
  • February 2025
  • January 2025
  • December 2024
  • November 2024
  • October 2024
  • September 2024
  • August 2024
  • July 2024
  • June 2024
  • May 2024
  • April 2024
  • March 2024
  • February 2024
  • January 2024
  • December 2023
  • November 2023
  • October 2023
  • September 2023
  • August 2023
  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • October 2021
  • September 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • April 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • November 2019
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017

Categories

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Uncategorized
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel