Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย

Month: March 2022

Chronomania: อย่าให้เวลาเป็นนาย กายเป็นบ่าว
How to enjoy life
16 March 2022

Chronomania: อย่าให้เวลาเป็นนาย กายเป็นบ่าว

เรื่อง จณิสตา ธนาธรชัย ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • เราอาจเคยรู้สึกผิดกับการปล่อยให้เวลาผ่านไปเฉยๆ อย่างเปล่าประโยชน์ โดยที่ไม่ได้ทำอะไรเลย ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้น เราอาจเรียนหรือทำงานอย่างเต็มที่มาแล้วตลอดทั้งสัปดาห์ แล้วทำไมเราถึงยังต้องรู้สึกผิดกับการพักผ่อน?
  • คำตอบคือการกดดันจากบริบทสังคมในปัจจุบันที่ได้สร้างค่านิยมใหม่ต่อการบริหารเวลา ผู้คนจะยกย่องคนที่ดูยุ่งอยู่ตลอดเวลา (หรืออย่างน้อยก็มีกิจกรรมยามว่างเสมอ) ว่าเป็นคนขยัน บริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่คนที่ยืดหยุ่นกับเวลาชีวิตกลับถูกมองว่าเป็นคนไร้ความมุ่งมั่น ไม่มีความจริงจังกับการวางแผนอนาคต ใช้ชีวิตได้ไม่เต็มที่
  • มาตรฐานสังคมแบบนี้นี่เองที่ผลักให้เราต้องกระตือรือร้น มองหากิจกรรมทำอยู่เสมอ และให้ความสำคัญกับการใช้เวลามากกว่าสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ได้กลายเป็นคนที่ใช้เวลาได้อย่างคุ้มค่า เป็นคนที่มีประสิทธิภาพตามความคาดหวังของสังคม พฤติกรรมการหมกมุ่นกับเวลานี้เราเรียกว่า “โครโนมาเนีย” (Chronomania)

“เวลาไม่คอยท่า ทุกนาทีเป็นเงินเป็นทอง”

เชื่อว่าสำนวนในข้างต้น ทุกคนต้องเคยได้ยิน ไม่ว่าจะในรูปแบบประโยคแบบไหนก็ตาม แต่ล้วนแล้วต้องเป็นความหมายในทำนองนี้ อาจเป็นเพราะเราถูกปลูกฝังมาว่าชีวิตมันสั้น การบริหารจัดการเวลาจึงดูจะเป็นหนทางเดียวที่ทำให้เราสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่หลงทาง หรือสรุปได้ง่ายๆว่าเป็นการใช้ชีวิตแบบ ‘ไม่เสียเวลา’ ไปโดยเปล่าประโยชน์

การเสียเวลาลองผิดลองถูกเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ในยุคที่ทุกอย่างดูเร่งรีบไปหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่การสื่อสารเชื่อมถึงกันแค่ปลายนิ้ว การแจ้งเตือนจากผู้คนรอบตัวที่ไม่ว่าจะเรียน ทำงาน หรือทำกิจกรรมยามว่างก็มักจะผ่านมาให้เห็นอยู่เสมอ

ความกระตือรือร้นที่จะใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ ทำให้เรารู้สึกกระดากอายและเริ่มหลงใหลในการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ตามคนอื่นที่มีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดได้ทัน ไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง หรืออย่างน้อยก็แค่ไม่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนที่ไม่มีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการจัดการเวลาด้วยการวางแผนจะทำให้เราดูเป็นคนที่มีความคิด ใช้ชีวิตได้อย่างชาญฉลาดจนอาจปล่อยใจสบายๆ ได้และไม่กดดัน แต่แท้จริงแล้ว การกระทำดังกล่าวจะทำให้เราตกเป็นทาสของเวลา การหมกมุ่นจดจ่ออยู่กับเวลานี่เองที่ทำให้เราเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยไม่สบายใจ 

ผลการศึกษาของสแตนฟอร์ดกล่าวว่าการตีค่าเวลาเป็นตัวเงิน ไม่ได้ทำให้เราใช้เวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างที่คิด กลับกันความคิดดังกล่าวจะสร้างความกดดันซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพของเราด้วย การตกเป็นทาสของเวลาอาจก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ตัวอย่างเช่น

มีปัญหาในการใช้ความคิดอย่างชัดเจน

นั่นเพราะเราใช้ชีวิตโดยอิงอยู่กับเวลา ความเร่งรีบจะทำให้เรามองข้ามการเอาใจใส่ตัวเอง และไม่สามารถจัดลำดับความสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การรับรู้เวลาของเราจะเร่งมากขึ้น

เมื่อเรารู้สึกว่าเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว (ซึ่งเป็นเรื่องปกติ) เราก็จะยิ่งกดดันตัวเองเพื่อไม่ให้เวลาที่ผ่านไปสูญเปล่า และการคิดแบบนี้จะยิ่งทำให้การรับรู้เวลาของเราเร่งมากขึ้นอีกวนต่อไปเป็นวัฏจักร

สูญเสียการรับรู้ด้านอารมณ์

เมื่อเรายุ่งวุ่นวายอยู่กับการใช้เวลาให้มีประสิทธิภาพที่สุด เป็นเรื่องง่ายมากที่เราจะหลงลืมการเอาใจใส่จิตใจของเรา เราอาจไม่สามารถบอกได้ว่าเรารู้สึกอะไรหรือเจ็บปวดตรงไหนอยู่

ประสบกับความตึงเครียดและวิตกกังวลที่มากเกินไป

ข้อนี้เป็นผลต่อเนื่องมาจากข้อด้านบน เราอาจไม่ทันสังเกตว่าตัวเองมีความเครียดแต่แน่นอนว่าร่างกายของเราจะรับรู้และบอกได้เองว่าเรามีสภาวะความเครียดอย่างรุนแรง

สูญเสียช่วงเวลาที่น่าจดจำ

เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ในความเร่งรีบที่จะมีชีวิตที่มีประสิทธิภาพทำให้เราไม่ได้มีความสุขกับช่วงเวลาดีๆ ที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละวัน การพักผ่อนจากการโหมใช้ชีวิตกลายเป็นเรื่องยากเย็นเพราะการผ่อนคลายจากความเร่งรีบเป็นสิ่งที่สังคมมองว่าไร้แก่นสาร ไม่มีสาระ เวลาในการพักสามารถเอาประโยชน์ได้อีกมาก ทั้งที่ในระหว่างหยุดพักนั้นเราอาจค้นพบแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตได้ก็ตาม

การหลีกเลี่ยงโครโนมาเนียอาจเป็นเรื่องยาก ตราบเท่าที่เรายังอยู่ในสังคม เราก็ต้องขับเคลื่อนชีวิตด้วยเงื่อนไขของสังคม อย่างไรก็ตาม เราสามารถที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เป็นโครโนมาเนีย ตกเป็นทาสและหมกมุ่นกับใช้เวลาอย่างคุ้มค่ามากจนเสียสุขภาพไปได้ โดยเริ่มจากการปรับแผนชีวิตใหม่และจิตใจใหม่ ดังต่อไปนี้

จัดตารางเวลาไม่ให้แน่นจนเกินไป

ลองลดตารางงานที่เคยแน่นขนัดลงหากเป็นไปได้ เพื่อที่เราจะได้มีเวลาจัดการสิ่งต่างๆ ได้อย่างไม่ต้องเร่งรีบ และจะได้ไม่รู้สึกกดดันว่าไม่มีเวลา (ถึงแม้การพูดว่าไม่มีเวลาจะไม่ใช่เรื่องผิดเลยก็ตาม)

อาจจะฟังดูเป็นเรื่องยากสักหน่อย แต่ถ้าเราเจองานที่ทำให้รู้สึกพอใจ ไม่กดดัน ก็จะช่วยให้ชีวิตดีขึ้น เราจะรู้สึกดีและสามารถตั้งใจจดจ่อกับเป้าหมายในแง่บวกได้

ปล่อยให้ตัวเองว่างโดยไม่มีแผนดูบ้าง

ข้อนี้เป็นอะไรที่เเนะนำให้ทำอย่างมาก จัดไปไว้ในอันดับแรกของ to do list เลยจะยิ่งดี เพราะเป็นข้อที่ทำได้ง่าย เริ่มได้จากการฝึก “ขี้เกียจ” 

เราใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเรียนรู้การใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ลองไม่วางแผนเพื่อให้ตัวเองได้มีเวลาว่างดูบ้าง เอาช่วงเวลาที่ว่างๆ นั้นไปพักผ่อนและเรียนรู้เอาใจใส่ตัวเอง ทำเพื่อตัวเองดูบ้าง ไม่แน่อาจได้พบความสุขหรือแรงบันดาลใจของชีวิตก็เป็นได้

ลองสนุกไปกับสิ่งต่างๆ ระหว่างมากกว่าผลลัพธ์ที่ปลายทาง

แน่นอนว่าทุกคนในสังคมชอบที่จะทำให้ทุกอย่างออกมาดีเพื่อประโยชน์ที่จะตามมา เราถึงได้เข้มงวดกับการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพจนละเลยความรู้สึกและช่วงเวลาสนุกสนานไป แต่หากเราไม่สนุกกับหนทางที่จะไปสู่เป้าหมาย ความสำเร็จที่ได้มาก็อาจไม่มีความหมายอะไรเลย เราอาจพบว่าวันหนึ่งในอนาคต เราอาจกำลังหลงทาง ว่างเปล่า และนั่งตั้งคำถามหาความหมายของชีวิต อาจเป็นการดีกว่าถ้าเราเลือกมองหาความสุขในระหว่างทางมากกว่าการมุ่งมั่นสนใจแต่ผลลัพธ์

การวางแผนเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างคุ้มค่านับเป็นเรื่องที่ดี แต่จะดีกว่าหากแผนเหล่านั้นไม่ทำให้เราสูญเสียช่วงเวลาหรือโอกาสที่มีคุณค่าต่อชีวิตเราไป การติดบ่วงโครโนมาเนียและความรีบร้อนรังแต่จะทำให้เราเผลอละเลยสิ่งสำคัญต่างๆ

ดังนั้น เราต้องหมั่นเตือนตัวเองอยู่เสมอว่าชีวิตไม่ใช่การแข่งขัน แม้จะถูกปลูกฝังมาจนจำได้ขึ้นใจ แต่หากเชื่อแบบนั้นขึ้นมาจริงๆ เราคงไม่พ้นต้องหมกมุ่นอยู่กับเวลา เป็นโครโนมาเนีย และต้องแข่งขันไปตลอดชีวิตจนไม่ได้มีเวลาหาความสุขหรือความหมายของการมีชีวิตเลย ในโลกการทำงาน เราเป็นเฟืองตัวเล็กๆ ที่ช่วยให้กลไกทำงานได้ไม่ติดขัด แต่ถ้าขาดเราไปก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะหาเฟืองตัวใหม่มาแทน ดังนั้น ใส่ใจกับตัวเองให้มากเท่าที่จะทำได้  

และแม้ว่าคำแนะนำในข้างต้นจะปรับใช้ไม่ได้ทั้งหมด แต่ถ้ามีโอกาสก็ลองใช้ชีวิตช้าลงบ้างบางจังหวะถ้าเป็นไปได้ ลองเป็นคนที่ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากกว่าคนที่ใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพดูบ้างบางครั้ง ลองไม่มีเวลาทำตัวมีแก่นสารเพื่อออกไปหาแรงบันดาลใจดูบ้าง จำไว้เสมอว่าไม่จำเป็นต้องรู้สึกผิดถ้าต้องพูดคำว่า ‘ไม่มีเวลา’ เพราะการบริหารจัดการเวลาของแต่ละคนแตกต่างกัน เวลาไม่ได้เป็นเพียงแค่ตัวเงินแต่คือทั้งชีวิตของเรา และ 24 ชั่วโมงของคนเราไม่เท่ากัน


อ้างอิง

Chronomania: An Obsession with Time

Your Obsession With Time Management Is Slowly Killing You, Science Says

Tags:

Chronomaniaการจัดการเวลาการพักผ่อน

Author:

illustrator

จณิสตา ธนาธรชัย

นัก (ทดลอง) เขียนธรรมดาและนักอ่านวรรณกรรม(ฝึกหัด) ชื่นชอบหนังแอคชั่น เรื่องลี้ลับ และการ์ตูนslam dunk

Illustrator:

illustrator

ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

Related Posts

  • Relationship
    แม้แผลใจจะยังไม่หายดี แต่เธอก็มีความสัมพันธ์ที่ดีได้นะ

    เรื่อง ชัค ชัชพงศ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Myth/Life/Crisis
    ความตายขับเคลื่อนชีวิต (2): เมื่อการระลึกถึง ‘ความตาย’ ทำให้เข้าใจความหมายของ ‘ชีวิต’

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Healing the trauma
    Overexplaining: แกะปมที่ซ่อนอยู่ในคำอธิบายอันท่วมท้นของใครบางคน

    เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Learning Theory
    ‘อยากจำกลับลืม’ เข้าใจการทำงานของสมอง เพิ่มประสิทธิภาพการจดจำให้แม่นยำและยืนยาว

    เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Book
    New Year’s Resolutions: อ่าน 7 เล่ม เพื่อเป็นตัวเราที่ดีกว่าเดิม

    เรื่อง พิรญาณ์ บุลสถาพร

กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นในตัว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้
Adolescent Brain
15 March 2022

กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นในตัว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้

เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • เด็กๆ ทั่วโลกมีความอยากรู้อยากเห็นกันมาก แต่ทำไมเมื่อโตขึ้นเรื่อยๆ กลับมีความอยากรู้อยากเห็นน้อยลง? และเราจะกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นให้มีมากขึ้นอีกได้หรือไม่? 
  • เซอร์เคน รอบินสัน นักการศึกษาชื่อดัง เชื่อว่าความอยากรู้อยากเห็นเป็นเครื่องจักรสำคัญสำหรับความสำเร็จในชีวิตของคนเรา แต่ระบบการศึกษาของเรา เน้นไปที่การตอบคำถามให้ได้ มากกว่าที่จะกระตุ้นให้เกิดคำถาม
  • การฟังอย่างตั้งใจช่วยกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นในจุดยืนของคนอื่นได้แต่แค่รับฟังอาจไม่พอ การจะเข้าใจความคิดอ่านของคนอื่นต้องพึ่งพาคำถามที่เหมาะสมด้วย การฝึกตั้งคำถามและทำให้บ่อยจนเป็นนิสัย จะเป็นตัวกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นในตัวของเราเองได้อีกทางหนึ่ง

ความอยากรู้อยากเห็น ตามนิยามของพจนานุกรมฉบับเคมบริดจ์คือ “ความกระตือรือร้นอยากรู้หรืออยากเรียนรู้บางอย่าง” 

เอียน เลสลี (Ian Leslie) นักการตลาดที่ผันตัวมาเป็นนักเขียนและนัดจัดพ็อดคาสต์ ปัจจุบันเป็นสมาชิกราชสมาคมศิลปะอีกด้วย เขาเขียนหนังสือชื่อ ‘ความอยากรู้อยากเห็น: ความต้องการจะรู้และเหตุใดอนาคตของคุณต้องพึ่งพามัน (Curious: The Desire To Know And Why Your Future Depends On It)’ ซึ่งติดอันดับขายดี 

ในหนังสือเล่มดังกล่าว เขาแบ่งความอยากรู้อยากเห็นออกเป็น 3 จำพวกคือ ความอยากรู้อยากเห็นในความหลากหลาย (diverse curiosity) ซึ่งเป็นความต้องการสำรวจสถานที่และทำความรู้จักกับผู้คนต่างๆ แบบต่อมาคือ ความอยากรู้อยากเห็นในความรู้ (epistemic curiosity) ที่เป็นความต้องการดำดิ่งลงไปในหัวเรื่องจำเพาะบางอย่าง และสุดท้าย ความอยากรู้อยากเข้าใจความรู้สึกคนอื่น (empathic curiosity) 

ลองนึกกันดูเล่นๆ นะครับว่า ยังมีความอยากรู้อยากเห็นแบบอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวไปแล้วอีกหรือไม่?

ไม่แต่เพียงมนุษย์ สัตว์ต่างๆ ก็แสดงความอยากรู้อยากเห็นมากน้อย แตกต่างกันไปด้วยนะครับ นักวิทยาศาสตร์บอกว่าในบรรดาสัตว์ที่มนุษย์คุ้นเคยดีนี่ หนูกับแมวนี่น่าจะเป็นสัตว์ที่อยากรู้อยากเห็นที่สุดแล้ว ฝรั่งถึงกับมีภาษิตที่ว่า แมวต้องตายเพราะความอยากรู้อยากเห็นของมัน ซึ่งออกจะมองในแง่ลบไปบ้าง เพราะแมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่ฉลาดและเป็นตัวของตัวเองมาก  

ถ้าแมวมี 9 ชีวิตจริง มันก็คงคิดว่าคุ้มมากที่จะเสี่ยง เพื่อสนองตอบความอยากรู้อยากเห็น

เคยสงสัยกันบ้างไหมครับว่า เด็กๆ ทั่วโลกมีความอยากรู้อยากเห็นกันมาก แต่ทำไมเมื่อโตขึ้นเรื่อยๆ กลับมีความอยากรู้อยากเห็นน้อยลง? และเราจะกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นให้มีมากขึ้นอีกได้หรือไม่?   

คำถามทั้งสองนี้ นักวิทยาศาสตร์มีคำตอบให้ได้ระดับหนึ่งนะครับ นักการศึกษาผู้มีชื่อเสียงและคลิปของเขาบน TED Talk เป็นหนึ่งในคลิปที่มีคนดูมากที่สุดได้แก่ เซอร์เคน รอบินสัน (Sir Ken Robinson) เชื่อว่าความอยากรู้อยากเห็นเป็นเครื่องจักรสำคัญสำหรับความสำเร็จในชีวิตของคนเรานะครับ จึงสำคัญมากๆ  

เขาชี้ว่าระบบการศึกษาของเรา เน้นไปที่การตอบคำถามให้ได้ มากกว่าที่จะกระตุ้นให้เกิดคำถาม ฟังแล้วชวนให้คิดว่า แนวคิดแบบนี้ทำให้เกิดการเน้นไปที่การท่องจำข้อมูลเพื่อตอบคำถาม และการติวหรือแข่งขันต่างๆ หรือไม่? 

รอบินสันเชื่อในสิ่งที่ตรงกันข้าม เขาคิดว่าสิ่งที่ดีที่สุดที่ครูสักคนจะทำได้สำหรับนักเรียนก็คือ การกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็นติดตัวไป [1]  

ที่ว่ามานั้น อาจจะตอบคำถามแรกได้ส่วนหนึ่งว่า ทำไมเมื่อเด็กโตขึ้นเรื่อยๆ กลับมีความอยากรู้อยากเห็นน้อยลง? 

แต่นั่นยังไม่น่าจะครอบคลุมพอ ยังมีคำตอบจากนักประสาทวิทยาศาสตร์ (neuroscientist) ด้วยว่า การลดความอยากรู้อยากเห็นและการตั้งคำถามต่างๆ นั้น เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสมองจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ด้วย ในตอนที่ยังเป็นเด็ก สมองมี ‘ความยืดหยุ่น’ สูงมากๆ เป็นช่วงที่สมองกำลังวางเส้นทางการสื่อสารกระแสประสาท 

การตั้งคำถาม การทดลอง การสำรวจ และการเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว ล้วนเป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานของสมอง ที่จะนำมาใช้งานต่อไปตลอดชีวิต การให้เด็กได้พบเห็น สำรวจ และทดลองมากๆ จึงเป็นทรัพย์ที่มองไม่เห็น แต่มีมูลค่ามหาศาลติดตัวไปตลอดชีวิต 

เมื่อเราเติบโตมากขึ้น สมองจะค่อยๆ สูญเสียความยืดหยุ่นดังกล่าวไปทีละน้อย และเราก็ต้องพึ่งพาแต่เส้นทางกระแสประสาทที่วางไว้แล้วจากประสบการณ์ต่างๆ ในอดีต วิธีการนี้มีข้อดีคือ มันช่วยประหยัดพลังงานให้กับสมองครับ เพราะสมองเป็นอวัยวะที่ใช้พลังงานสูงมากของร่างกาย 

การประหยัดพลังงานจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องชดเชยด้วย ‘ประสิทธิภาพ’ รวมไปถึงความอยากรู้อยากเห็น เพราะในชีวิตประจำวันนั้น เราไม่จำเป็นต้องใช้ความอยากรู้อยากเห็นมากมายนัก และเมื่อทำสิ่งต่างๆ แบบเป็นกิจวัตรแล้ว สมองก็จะคุ้นชินกับมันมาก 

การทำสิ่งต่างๆ ซ้ำๆ เช่น สั่งอาหารเมนูเดิมๆ การใช้เส้นทางเดินทางไปยังโรงเรียนหรือที่ทำงานแบบเดิมๆ การดูหนังหรือฟังเพลงโปรดซ้ำๆ ฯลฯ จึงเป็นการลดความกระตือรือร้นของสมอง ที่ได้ประโยชน์ในแง่ของการประหยัดพลังงานตอบแทนกลับมา 

การอยากรู้อยากเห็นน้อยลงเมื่อเราเติบโตมากขึ้น จึงเป็นแนวโน้มตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน หากเราไม่หาวิธีการเก็บรักษา กระตุ้น หรือส่งเสริมให้สมอง รักที่จะสงสัยใคร่รู้อยู่ตลอดเวลา

แต่ความอยากรู้อยากเห็นมีประโยชน์กับเรามาก จนเราไม่ควรจะสูญเสียมันไปนะครับ 

เอมิลี แคมป์เบลล์ (Emily Campbell) ที่ศึกษาเรื่องพัฒนาการของมนุษย์ ชี้ว่าความอยากรู้อยากเห็นมีประโยชน์อยู่หลายอย่าง เช่น พบว่าคนอยากรู้อยากเห็นจะมีระดับความกระวนกระวายใจต่ำ มีความพึงพอใจในชีวิตมากกว่า ประสบความสำเร็จทางการศึกษามากกว่า อีกทั้งมีความสัมพันธ์และเข้าอกเข้าใจคนอื่นมากกว่า 

มีงานวิจัยที่ชี้ว่า แพทย์ที่มีความสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับตัวผู้ป่วยมากกว่า มีแนวโน้มที่จะทำให้ผลการรักษาดีมากขึ้นตามไปด้วย [2]  

นอกจากนี้ ความอยากรู้อยากเห็นยังช่วยทำให้สมองกระชุ่มกระชวย อันเป็นผลจากกิจกรรมแปลกๆ ใหม่ๆ ที่ได้ทำอีกด้วย   

เวลาที่เราเจอกับสิ่งใหม่ๆ หรือประสบการณ์ใหม่ๆ สมองของเราจะหลั่งสารสื่อประสาทชื่อ โดพามีน (dopamine) มากขึ้น มันได้ชื่อว่าเป็นสารที่ทำให้ ‘รู้สึกดี’ โดพามีนไม่เพียงแต่ทำให้เกิดความสุข ความพึงพอใจเท่านั้น แต่ยังไปกระตุ้นความต้องการให้เราอยากทำกิจกรรมนั้นเพิ่มมากขึ้นไปด้วย [3] 

ในกรณีของความอยากรู้อยากเห็น ผลก็คือทำให้เราอยากรู้อยากเห็นมากขึ้นไปอีก อาจจะเรียกว่าเป็นการเสพติดแบบหนึ่งก็ได้!

ไม่แน่ว่าความพึงพอใจแบนี้อาจจะทำให้บรรพบุรษมนุษย์ยุคหินของเรา ออกท่องไปยังดินแดนที่ไม่รู้จักและน่าหวาดหวั่นใจก็เป็นได้ 

คราวนี้ก็มาถึงคำถามสำคัญ เราจะทำให้เด็กๆ เกิดความอยากรู้อยากเห็นต่อไปได้เรื่อยๆ หรือทำให้ผู้ใหญ่ที่เริ่มมีความอยากรู้อยากเห็นน้อยลงแล้ว กลับมากระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็นอีกครั้งได้ยังไง?

คำแนะนำที่เซอร์เคน รอบินสัน ให้ไว้ก็คือ การเตรียมตัวเตรียมใจว่าเราผิดได้เสมอ 

อันที่จริงสำหรับแวดวงการศึกษา การเตรียมสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่ทำให้เด็กๆ รู้ว่า การทำผิดพลาดเป็นเรื่องปกติ และเราสามารถแก้ไขและเรียนรู้จากความผิดนั้นได้เป็นเรื่องสำคัญมาก ทั้งกับการเรียนรู้โดยรวมและกับการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์

คำแนะนำต่อมาได้แก่ การฝึกหัดการฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ เพราะคนเรามีแนวโน้มจะตัดสินคนอื่นได้ง่ายๆ ตามอคติ โดยไม่เปิดใจรับฟัง พินิจพิจารณาเหตุผล หรือปัจจัยเบื้องหลังต่างๆ อย่างรอบคอบ ทำให้ไม่สามารถมองจากจุดยืนของคนอื่นได้ 

การด่วนตัดสินแทบจะเป็นระบบอัตโนมัติ ขณะที่การคิดใคร่ครวญเป็นเรื่องที่ต้องตั้งสติและใช้ความพยายาม 

การฟังอย่างตั้งใจช่วยกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นในจุดยืนของคนอื่นได้

แต่เพื่อความสมบูรณ์พร้อมมากขึ้นไปอีก แค่รับฟังเท่านั้นอาจจะยังไม่พอ การจะเข้าใจความคิดอ่านของคนอื่น อาจจะต้องพึ่งพาคำถามที่เหมาะสมด้วย การฝึกหัดตั้งคำถามและทำให้บ่อยๆ จนเป็นนิสัย จะเป็นตัวกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นในตัวของเราเองได้อีกทางหนึ่งด้วย 

คำแนะนำข้อต่อไปคือ ให้ลองทำอะไรใหม่ๆ อาจเป็นการทำเมนูใหม่ๆ หรือแม้แต่ลองชิมเมนูใหม่ๆ กรณีที่ไม่ชอบการทำครัว การไปเที่ยวในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย เล่นเครื่องดนตรีที่ไม่เคยเล่นมาก่อน การอ่านหนังสือหรือเข้าคอร์สเรียนเรื่องที่ไม่เคยรู้มาก่อน เช่น เรียนภาษาใหม่ ทั้งหมดนี้กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นดีมาก 

อันที่จริงแล้วก็กระตุ้นสมองให้กระฉับกระเฉงได้ดีมากๆ ด้วยเช่นกัน 

คำแนะนำข้อสุดท้าย เป็นสิ่งที่ศิลปินเรเนอสซองต์ เลโอนาร์โด ดาวินชี ทำชั่วชีวิตของเขา นั่นก็คือ การพกสมุดจดไว้ใกล้ตัวเสมอ เดี๋ยวนี้ยิ่งสะดวก เพราะเราอาจจะจดลงในมือถือของเราเลยก็ยังได้  

การบันทึกสิ่งต่างๆ ที่เรานึกคิด รวมทั้งคำถามต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ทำให้เรากลับมาคิด พินิจพิจารณาอีกครั้งได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง และอันที่จริงมันกระตุ้นเตือนและทำให้เราประหลาดใจได้เสมอๆ เมื่อกลับมาอ่านมันอีกครั้ง 

ขอจบด้วยคำพูดของนวัตกรคนดังแห่งยุค สตีฟ จ็อบส์ คำพูดของเขาที่คนคุ้นเคยมากที่สุดวลีหนึ่งก็คือ Stay Hungry. Stay Foolish. จงทำตัวหิวกระหาย (ในความรู้) จงทำตัวเหมือนโง่ … อยู่เสมอ 

อาจเพิ่มอีกนิดว่า Be Curious! จงอยากรู้อยากเห็นไม่เลิก!   

เอกสารอ้างอิง

[1] https://www.ted.com/talks/sir_ken_robinson_do_schools_kill_creativity 

[2] J Gen Intern Med. 2003 Aug; 18(8): 670–674. doi: 10.1046/j.1525-1497.2003.21017.x  

[3] Psychopharmacology 191(3):391-431. May 2007. DOI:10.1007/s00213-006-0578-x

Tags:

ความอยากรู้อยากเห็นกลยุทธ์ฝึกสมองการเรียนรู้

Author:

illustrator

นำชัย ชีววิวรรธน์

นักอณูชีววิทยา นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ นักเขียน นักแปล และนักอ่าน ผู้มีความสนใจอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาขับเคลื่อนสังคม

Illustrator:

illustrator

ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

Related Posts

  • Book
    วันนั้นฉันเจอเพนกวิน: อย่าปิดกั้นจินตนาการของเด็กด้วยคำว่า ‘เพ้อฝัน’

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • How to enjoy life
    อ่านอะไร อ่านเท่าไร อ่านอย่างไร: วิธีสะสมต้นทุนชีวิตด้วยหนังสือ

    เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Character building
    โลกโกลาหล (BANI World) Ep4 Incomprehensible: คลายความไม่เข้าใจ ด้วยความโปร่งใสและสัญชาตญาณ

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Creative learningSocial Issues
    ‘วิชาเอาชีวิตรอด’ ทักษะพื้นฐานที่เด็กทุกคนควรมี: ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลท่ากว้าง จังหวัดเชียงใหม่

    เรื่อง นฤมล ทับปาน

  • ห้องเรียน ‘บาริสต้าน้อย’ โรงเรียนสินแร่สยาม : ทักษะและการเรียนรู้ที่เด็กๆ ร่วมกันออกแบบ

    เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ปริสุทธิ์

เมื่อลูกซึมเศร้า… เขาไม่ได้อ่อนแอ แต่ต้องการความช่วยเหลือ
14 March 2022

เมื่อลูกซึมเศร้า… เขาไม่ได้อ่อนแอ แต่ต้องการความช่วยเหลือ

เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • ความเศร้าที่สะสมเรื้อรังจากปัจจัยต่างๆ รอบตัวและไม่ได้รับการเยียวยา สามารถพัฒนากลายเป็น ‘โรคซึมเศร้า’ ได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ การวินิจฉัยทางการแพทย์ พบว่า โรคซึมเศร้าเกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมองหรือความผันผวนของระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติ แต่สาเหตุที่ทำให้สารเคมีผิดปกตินั้นมีที่มาที่ไป
  • “สำหรับพ่อแม่ถ้าลูกกล้าเดินมาบอกว่าอยากฆ่าตัวตายหรืออยากทำร้ายตัวเอง แปลว่าเขาไว้ใจพ่อแม่และกำลังต้องการความช่วยเหลือ เชื่อว่าหากลูกเดินมาบอกเช่นนี้จริงๆ พ่อแม่ย่อมเกิดความสับสนและตกใจ แต่พ่อแม่ต้องรีบควบคุมสติและจัดการอารมณ์ให้ได้เร็วที่สุด หากพ่อแม่จัดการอารมณ์ได้ดี จะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และสามารถช่วยให้ลูกจัดการความรู้สึกตนเองได้”
  • อันดับแรกต้องฟังลูกเยอะๆ เขาคิดอย่างไร มีอาการและมีมุมมองต่อโลกอย่างไรหรือเขาผ่านอะไรมาบ้าง ให้ฟังในมุมมองของลูกก่อน (Put yourself in the other person’s shoes)

“การที่ลูกวัยรุ่นเดินเข้ามาบอกเราว่า…เขาอยากฆ่าตัวตาย…แสดงว่าเขาไว้ใจเรา เพราะถ้าไม่ไว้ใจ เขาคงไม่พูดและคงทำไปแล้ว หรือไปบอกคนอื่นแทนที่จะบอกพ่อแม่” 

เป็นข้อความส่วนหนึ่งที่ หมอจริง – แพทย์หญิงชญานิน ฟุ้งสถาพร เจ้าของเพจ ‘หมอจริง DR JING’ แพทย์ประจำบ้านต่อยอด สาขาจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านการพูดคุยไว้ในเพจ Net PAMA: เน็ต ป๊าม้า หัวข้อ ‘ดูแลยังไง…เมื่อลูกซึมเศร้า’

คงไม่มีผู้ปกครองคนไหนอยากให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น แต่สถิติที่ได้จากการสำรวจทั้งในประเทศและจากองค์กรระดับนานาชาติสะท้อนให้เห็นผลลัพธ์ที่น่าเป็นกังวล 

การเพิ่มขึ้นของเด็กที่มีสุขภาพจิตย่ำแย่

ผลการประเมินสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทย โดยกรมสุขภาพจิต ผ่านแอปพลิเคชั่น Mental Health Check-in ช่วงระหว่างการระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2020 ถึง 30 กันยายน 2021 โดยเป็นการเก็บข้อมูลจากเด็กและวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปีจำนวน 183,974 คนที่เข้ามาประเมินสุขภาพจิตของตนเอง พบว่า 

  • ร้อยละ 28 ของเด็กและวัยรุ่นมีภาวะเครียดสูง 
  • ร้อยละ 32 มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า 
  • ร้อยละ 22 มีความเสี่ยงฆ่าตัวตาย 

ขณะที่ผลการสำรวจโดยกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ (UNICEF) ปี 2020 พบว่า เด็กและเยาวชนจำนวน 7 ใน 10 คนมีสุขภาพจิตย่ำแย่ลง ส่วนใหญ่กังวลกับรายได้ของครอบครัว การเรียน การศึกษาและการจ้างงานในอนาคต ทั้งนี้ โรคซึมเศร้าเป็นวิกฤตการณ์ระดับโลกตั้งแต่ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากรายงานโดยสถาบันวัดผลและประเมินผลสุขภาพ (Institute for Health Metrics and Evaluation) ที่ศึกษาสถานการณ์ของโรคต่างๆ ทั่วโลกในปี 2017 พบประชากรกว่า 792 ล้านคนทั่วโลก คิดเป็นร้อยละ 10.7 ของประชากรทั้งหมดประสบปัญหาสุขภาพจิต ในจำนวนนี้มีป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึงร้อยละ 32.5 ดูเหมือนว่าโควิด-19 ได้เข้ามาตอกย้ำให้สถานการณ์รุนแรงมากยิ่งขึ้น

ความเศร้าที่สะสมเรื้อรังจากปัจจัยต่างๆ รอบตัวและไม่ได้รับการเยียวยา สามารถพัฒนากลายเป็น ‘โรคซึมเศร้า’ ได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ การวินิจฉัยทางการแพทย์ พบว่า โรคซึมเศร้าเกิดจากความเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมองหรือความผันผวนของระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติ แต่สาเหตุที่ทำให้สารเคมีผิดปกตินั้นมีที่มาที่ไป 

พ่อแม่จะรู้ได้อย่างไร และ จะดูแลอย่างไรเมื่อลูกซึมเศร้า? เป็นคำถามสำคัญที่เชื่อว่าผู้ปกครองอยากรู้คำตอบ 

รู้เท่าทันโรคซึมเศร้าในวัยเด็ก

หมอจริง กล่าวว่า ทางการแพทย์ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้ามี 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ปัจจัยด้านชีวภาพ (biological ) ด้านจิตใจ (psychological ) และด้านสังคม (social)

  • ปัจจัยด้านชีวภาพ เป็นเรื่องของพันธุกรรมและฮอร์โมนในร่างกาย เช่น คนที่มีพ่อแม่หรือญาติเป็นโรคซึมเศร้าหรือโรคทางจิตเวชอื่นๆ มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าคนอื่น  หรืออาจเกิดขึ้นจากโรคประจำตัวที่ส่งผลกระทบต่อฮอร์โมน เช่น ผู้ป่วยไทรอยด์ต่ำ รวมทั้งโรคซึมเศร้าจากความเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลซึ่งเป็นเรื่องของภูมิภาค เช่น ประเทศเมืองหนาวบางประเทศมีช่วงระยะเวลาพระอาทิตย์ขึ้นเพียง 4 ชั่วโมงในหน้าหนาว ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้อยู่อาศัยทำให้ขาดความสดชื่นและความมีชีวิตชีวา
  • ปัจจัยด้านจิตใจ สัมพันธ์กับบุคลิก แนวคิดการใช้ชีวิต และการจัดการทางอารมณ์ บางคนมีความเป็น perfectionist ที่ต้องการให้ทุกอย่างเป็นไปตามแผนอย่างสมบูรณ์แบบ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ได้อย่างใจมักรู้สึกหงุดหงิดหรือผิดหวังกับตัวเองจนรู้สึกเศร้า หรือความเชื่อและวัฒนธรรมบางอย่างที่ปิดกั้นอารมณ์ความรู้สึก เช่น ผู้ชายต้องเข้มแข็งห้ามร้องไห้ ทั้งที่จริงๆ แล้วการร้องไห้เป็นเรื่องปกติของการระบายอารมณ์ที่สามารถทำได้ 
  • ปัจจัยด้านสังคม  เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ ตามธรรมชาติวัยรุ่นมักติดเพื่อนให้ความสำคัญกับการถูกยอมรับและการเข้าสังคม หากความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ดี เช่น พ่อแม่ไม่เข้าใจกันหรือทำให้เด็กๆ รู้สึกว่าพ่อแม่ไม่เข้าใจพวกเขา สร้างแรงกดดันหรือความคาดหวังต่อลูกให้ทำในสิ่งที่พ่อแม่ต้องการ รวมทั้งการถูกกลั่นแกล้งทั้งต่อหน้าและในโลกออนไลน์ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เด็กคนหนึ่งเป็นโรคซึมเศร้าได้

จากประสบการณ์จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น หมอจริงพบวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 18 ปีป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น โดยเฉพาะช่วงวัย 13-16 ปี (ระดับมัธยมศึกษา) ที่กำลังเผชิญหน้ากับความเครียด ความกดดันด้านการเรียนจนทำให้รู้สึกเศร้า แล้วเชื่อมโยงไปสู่จุดเปลี่ยนในชีวิตจากการก้าวเข้ารั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านจิตใจและสังคม

ความรู้สึกเศร้าเป็นอารมณ์เชิงลบจากการเผชิญหน้ากับการสูญเสียและความผิดหวัง สถานการณ์ที่กดดัน ทำให้รู้สึกอึดอัดและทรมานใจ เช่น อารมณ์อกหัก การเสียชีวิตของคนรัก ความไม่มั่นใจในตัวเองการถูกคาดหวังหรือความล้มเหลวจากเรื่องราวในชีวิต เช่น การเรียนและการงาน เรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่การต้องอยู่กับความเศร้าความหดหู่เป็นระยะเวลานาน ถูกปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการเยียวยารักษาจะทวีความรุนแรงขึ้นเป็นโรคซึมเศร้า จนทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ เพราะรู้สึกว่าตัวเองไร้คุณค่า สิ้นหวังและหาทางออกไม่ได้ 

กล่าวได้ว่า ‘การเสียสมดุลในชีวิต’ เป็นส่วนสำคัญที่ผลักให้คนๆ หนึ่งเข้าสู่วังวนของความเศร้าจนกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ในที่สุด

“ช่วงวัยประถม บางทีเด็กยังไม่มีคำศัพท์ใช้เล่าความรู้สึกของตัวเอง อาการของโรคซึมเศร้าจะตรงไปตรงมา ส่วนใหญ่เเสดงออกมาทางพฤติกรรม เช่น ความสามารถในการจัดการของอารมณ์ลดลง หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าวมากขึ้น ดื้องอแง ไม่เชื่อฟัง หรือมีพฤติกรรมถดถอยทางกาย เช่น ปวดท้อง ปวดหัวโดยหาสาเหตุไม่ได้ หรือขับถ่ายรดที่นอน ช่วงวัยรุ่น ผู้ปกครองอาจเริ่มเห็นเขาเสียสมดุลชีวิตไป เช่น เสียการเรียน เกรดตก และเริ่มไม่เข้าสังคม”

“ตามตำราเเพทย์ถ้าเศร้านานเศร้ามาก ประมาณ 2 เดือนขึ้นไปจัดได้ว่าเป็นโรคซึมเศร้า อาการของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เวลาที่หมอถามคนไข้มักถามถึงเรื่องอารมณ์และผลกระทบในชีวิต เช่น บางคนนอนไม่หลับแต่บางคนนอนเยอะ บางคนเศร้าแล้วกินไม่ได้แต่บางคนเศร้าแล้วกินจุ เรื่องของความสนใจทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันลดลง เช่น จากที่เคยไปดูหนัง ฟังเพลงกับเพื่อนๆ กลายเป็นไม่อยากทำแล้วหรือไม่อยากทำอะไรเลยเพราะไม่มีความสุข ส่งผลกระทบต่อพลังงานของตัวเอง เช่น ไม่อยากลุกจากเตียงนอน บางคนตอบสนองช้า มีสมาธิจดจ่อกับการเรียนและการทำงานลดลง หรือมีความรู้สึกนึกคิดว่าตัวเองเป็นคนผิด”

ฟังอย่างตั้งใจ ตัดสินให้น้อย ช่วยลดอัตราการฆ่าตัวตายได้

“สำหรับพ่อแม่ถ้าลูกกล้าเดินมาบอกว่าอยากฆ่าตัวตายหรืออยากทำร้ายตัวเอง แปลว่าเขาไว้ใจพ่อแม่และกำลังต้องการความช่วยเหลือ เชื่อว่าหากลูกเดินมาบอกเช่นนี้จริงๆ พ่อแม่ย่อมเกิดความสับสนและตกใจ แต่พ่อแม่ต้องรีบควบคุมสติและจัดการอารมณ์ให้ได้เร็วที่สุด หากพ่อแม่จัดการอารมณ์ได้ดี จะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และสามารถช่วยให้ลูกจัดการความรู้สึกตนเองได้” หมอจริง เน้นย้ำ

การรับฟังอย่างตั้งใจ โดยไม่ตัดสิน แสดงให้ลูกเห็นว่าพ่อแม่ยอมรับและเข้าใจความเศร้าของลูก โดยไม่มองว่าเป็นความผิดของใคร เป็นวิธีการที่พ่อแม่ใช้รับมือกับสถานการณ์ข้างต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พ่อแม่อาจเริ่มจากการถามลูกว่า ลูกรู้สึกอย่างไร? ทำไมจึงอยากทำร้ายตัวเอง? ไม่สื่อสารหรือแสดงท่าทางโทษว่าเป็นความผิดของลูก และไม่ใช้คำพูดในลักษณะทวงบุญคุณ เพราะจะยิ่งทำให้ลูกรู้สึกผิดต่อตนเองและพ่อแม่ หรือยิ่งรู้สึกไร้คุณค่ามากขึ้นกว่าเดิม เช่น

“จะทำไปทำไม?”

“ทำแบบนี้มันไม่ดีนะ?”

 “ทำแบบนี้ไม่สงสารพ่อแม่เหรอ?”

“ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าบางคนอาจทำร้ายตนเอง เพราะความเศร้ามีมากเกินไปและต้องการรู้สึกเจ็บปวดมากกว่าเศร้า ในขณะที่บางคนอารมณ์ซึมเศร้านั้นมีมากจนด้านชา เหมือนไม่มีความรู้สึกอีกต่อไป จึงอยากทำร้ายตนเองเพื่อให้รู้สึกถึงบางสิ่ง 

คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเป็นโรคซึมเศร้า อันดับแรกต้องฟังลูกเยอะๆ เขาคิดอย่างไร มีอาการและมีมุมมองต่อโลกอย่างไรหรือเขาผ่านอะไรมาบ้าง ให้ฟังในมุมมองของลูกก่อน (Put yourself in the other person’s shoes) 

เพราะเราไม่รู้หรอกว่าลูกต้องไปเจออะไรมาบ้างในแต่ละวัน การฟังช่วยได้เยอะในแง่ที่ว่าเราไม่ไปตัดสินเขา บางทีบางคำพูดของเราอาจพูดด้วยความหวังดี แต่มันไปตัดสินเขาแล้วว่าทำไมไม่ทำแบบนี้ หรือเพราะทำเเบบนี้ใช่ไหมถึงทำให้เป็นโรคซึมเศร้าซึ่งเป็นการต่อว่าผู้ป่วย พ่อแม่ต้องฟังอย่างตั้งใจ ตอนฟังอาจจะมีการสะท้อนความคิดให้ลูกไปด้วยก็ได้ ไม่ใช่ฟังไปด้วยเล่นมือถือไปด้วย พ่อแม่ควรพูดคุยถึงสาเหตุที่ลูกอยากทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย จากนั้นควรพาลูกไปพบจิตแพทย์โดยเร็วที่สุด” หมอจริง กล่าว

ปรับความคิด ลูกซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่าอ่อนแอ

หากมีอาการหรือสงสัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า ยิ่งพบจิตแพทย์ได้เร็วเท่าไรยิ่งดี แต่ก็ต้องยอมรับว่ากว่าไปถึงจุดนั้น ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องเผชิญหน้ากับความกลัวและความวิตกรอบด้าน ไหนจะเรื่องการยอมรับตัวเอง การยอมรับจากครอบครัวและคนรอบข้าง การหลีกหนีจากการตีตราทางสังคมที่มองผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติ

“คนที่เป็นโรคซึมเศร้าการตัดสินใจของเขาไม่ได้มีเหตุผลมากนัก ตอนเศร้ามากๆ บางคนทำร้ายตัวเองไม่ใช่เพราะอยากทำ แต่เป็นเพราะความสามารถในการตัดสินใจของเขาลดลง ดังนั้นความเข้าใจจากคนรอบข้างจึงสำคัญ 

ในหลายๆ ประเทศมีการตีตราผู้ป่วยซึมเศร้าว่าเป็นคนอ่อนแอหรือขี้เกียจ หมอคิดว่าการลดการตีตราตรงนี้ได้ต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจว่าโรคนี้เป็นโรคทางการเเพทย์อย่างหนึ่ง หรือบางคนไม่ยอมพบแพทย์เพราะกลัวประวัติไม่ดี เช่น ถ้าสมัครงานจะถูกกีดกันเพราะเป็นโรคหรือเปล่า หมอยืนยันว่าในประเทศไทยหากมีนายจ้างมาถามประวัติ  หมอไม่สามารถบอกประวัติผู้ป่วยเรื่องนี้ได้ หากใครกลัวในเรื่องนี้ให้สบายใจได้เลย” 

สำหรับแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หมอจริง กล่าวว่า การรักษาเเบ่งออกเป็นหลายระดับ 

  • เศร้าน้อยๆ สามารถนัดพบจิตแพทย์ เพื่อทำการบำบัดอย่างเดียวโดยไม่ต้องรับยา อย่างไรก็ตาม จิตบำบัดอาจจะเข้าถึงได้ยาก เนื่องจากในประเทศไทยมีบุคลากรด้านนี้ไม่เพียงพอ
  • เศร้ามาก เศร้านาน  ส่งผลกระทบต่อเรื่องต่างๆ ในชีวิตหรือไม่อยากมีชีวิตอยู่แล้ว 

เมื่อพบจิตแพทย์แล้ว สามารถใช้ยาต้านเศร้าในการรักษาซึ่งแต่ละคนมีขั้นตอนและใช้ระยะเวลาต่างกัน โดยส่วนใหญ่แล้วคุณหมอจะนัดและประเมินดูอาการตามระยะ เพื่อเพิ่มลดยาตามความเหมาะสม สำหรับคนที่กินยาไม่ได้ผล ทางการแพทย์มีวิธีช็อตไฟฟ้าเข้าไปช่วยกระตุ้น ซึ่งต้องพิจารณาดูแล้วแต่กรณีไป

“หมอบอกคนไข้เสมอว่า ไม่ใช่เราจะต้องพึ่งยาอย่างเดียว แต่เราต้องปรับทัศนคติ ปรับความคิดและปรับการจัดการของอารมณ์ของตัวเองด้วย”

สำหรับผู้ที่ต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าสามารถติดต่อสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 (ตลอด 24 ชั่วโมง) เป็นสายด่วนที่คอยรับฟังและให้คำแนะนำเบื้องต้น ผู้ที่ยังไม่เคยเข้ารับการรักษาและวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าก็สามารถติดต่อได้ และสมาคมสะมาริตันส์ 02-113-6789 (12:00-22:00 น.)  มีอาสาสมัครที่ผ่านการฝึกทักษะการฟังและทักษะการให้คำปรึกษามาเป็นอย่างดี เป็นองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายโดยเฉพาะ

Tags:


Author:

illustrator

วิภาวี เธียรลีลา

นักเขียนอิสระที่อยากเข้าใจวิถีชีวิตผู้คน เลยพาตัวเองไปใช้ชีวิตในลอนดอน ปักกิ่ง เซินเจิ้นและอเมริกา กินมังสวิรัติ อินกับโภชนาการ กำลังเรียนเป็นนักปรับพฤติกรรมสุนัขและชอบกินกาแฟใส่ฟองนม

Related Posts

  • Adolescent BrainSocial Issues
    The Anxious Generation EP 1: เลี้ยงลูกด้วย ‘หน้าจอ’ สัญญาณร้ายสู่คนรุ่นใหม่วัยวิตก

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ พิมพ์พาพ์

  • Transformative learningSocial Issues
    ขับเคลื่อนการศึกษาคุณภาพ ปั้นสมรรถนะ ‘เด็กตงห่อ’ สานต่ออนาคตของภูเก็ต

    เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง

  • Dek-Hoo-Jak-Kuam_nologo
    Transformative learningSocial Issues
    ‘เด็กฮู้จักควม’ คิดเป็น ทำเป็น เห็นคุณค่าในตัวเอง เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเชิงพื้นที่ จังหวัดศรีสะเกษ    

    เรื่อง นฤมล ทับปาน

  • Social Issues
    ไม่ควรมีเด็กคนไหนไร้การศึกษา เชื่อมโอกาสค้นพบศักยภาพด้วยการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นตอบโจทย์ชีวิต  

    เรื่อง The Potential

  • somjukchana
    Life Long Learning
    ‘วิทยาลัยส้มจุก’ พื้นที่ปลูกความหวัง สร้างการเรียนรู้ ปูทางสู่อนาคตกลุ่มเปราะบาง: อะหมัด หลีขาหรี

    เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง

เขียนให้รู้ว่ารัก Napkin Notes: การบอกลาอันอบอุ่นจากคุณพ่อถึงลูกสาว
Book
10 March 2022

เขียนให้รู้ว่ารัก Napkin Notes: การบอกลาอันอบอุ่นจากคุณพ่อถึงลูกสาว

เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • หนังสือ เขียนให้รู้ว่ารัก (Napkin Notes) เขียนโดย การ์ท แคลลาแฮน แปลเป็นภาษาไทยโดย พาสินี (สำนักพิมพ์ นานมีบุ๊คส์) บอกเล่าเรื่องราวสุดประทับใจระหว่างผู้เขียนที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งกับ เอมมา ลูกสาวสุดที่รักคนเดียวของเขา
  • การ์ทเขียนหนังสือเล่มนี้ตอนตรวจพบมะเร็งเป็นครั้งที่สี่ หมอบอกว่า 8% คือโอกาสที่เขาจะมีชีวิตได้อีก 5 ปี แต่แทนที่จะนั่งรอวันตาย การ์ทกลับลุกขึ้นสู้กับโรคร้าย เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับเอมมาได้ตระหนักถึงคุณค่าของความพยายามและความล้มเหลวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
  • ทุกเช้าการ์ทจะตื่นมาทำอาหารกลางวันให้เธอ ก่อนเขียนข้อความสั้น ๆ ที่สื่อถึงความรักและมุมมองของเขาเกี่ยวกับชีวิตผ่าน ‘กระดาษเช็ดมือ’ ที่แนบไปกับกล่องข้าว เพื่อเป็นกำลังใจให้เอมมาในแต่ละวัน

ว่ากันว่าความตายคือครูที่ดีที่สุด เมื่อใกล้ตาย เราจะตระหนักถึงความชัดเจนของชีวิตราวกับว่าปัญญาที่ปิดไว้ได้เปิดออก จน ‘เรา’ กลายเป็น ‘เรา’ ในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุด 

นี่คือสิ่งที่ผมเรียนรู้ หลังอ่านบันทึกชีวิตของคุณพ่อชาวอเมริกัน

ตอนนั้น การ์ท แคลลาแฮน อายุ 42 ปี เขามีภรรยาที่เอาใจใส่ และ เอมมา ลูกสาววัย 12 ขวบสุดน่ารัก การงานของเขามั่นคง มีบ้านมีรถในแบบ ‘อเมริกันดรีม’ 

คืนหนึ่ง การ์ทปัสสาวะเป็นสีเลือด เดิมทีเขาไม่ได้ตระหนกตกใจอะไรนัก แถมยังทึกทักว่า “วันนี้คงออกกำลังกายหักโหมและกินบีตรูตมากไปหน่อย” 

โชคร้ายที่การ์ทปัสสาวะเป็นสีเดิมในวันรุ่งขึ้น เขาจึงตัดสินใจไปโรงพยาบาล ก่อนพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งไตระยะแพร่กระจาย เนื้องอกของเขามีขนาด 12 ซม. ซึ่งต้องผ่าออกเท่านั้น แต่นั่นกลับไม่น่าตกใจเท่าบทสรุปที่ว่า 

“คุณแคลลาแฮนครับ…คุณกำลังจะตาย” 

การ์ทกำลังจะตาย แต่สิ่งที่เขากลัวที่สุดกลับไม่ใช่ความตาย หากเป็นความรู้สึกของ ‘เอมมา’ ที่ต้องกำพร้าพ่อ ส่วนการ์ทเองก็อยากอยู่ดูแลนางฟ้าตัวน้อยจนเธอเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี และคอยให้คำปรึกษายามเธอต้องการ

ลูกสาว

“เอมมาลูกรัก, เวลาที่พ่ออยากได้ปาฏิหาริย์ แค่มองดูนัยน์ตาลูก พ่อก็รู้แล้วว่าพ่อได้สร้างปาฏิหาริย์ไว้แล้ว  รัก, พ่อ”

แม้จะรับหน้าที่หาเงินและปล่อยให้ภรรยาเลี้ยงลูกเต็มเวลา แต่การ์ทก็พยายามมีส่วนร่วมกับภรรยาเสมอ โดยเฉพาะการอาสาตื่นเช้ามาทำอาหารกลางวันให้กับเอมมา ตั้งแต่เธออยู่ชั้นประถม

“ผมจะสับ หั่น คลุกเคล้าส่วนผสมเข้าด้วยกัน ทำเสร็จก็จัดใส่ห่อ พยายามหาของโปรดของเอมมาใส่ลงไปในถุงด้วย อย่างเช่นคุกกี้หรือพุดดิงสักถ้วย ให้มีบางอย่างที่ทำให้เธอมีรอยยิ้ม”

วันหนึ่งการ์ทเกิดไอเดียบางอย่าง ก่อนหยิบกระดาษเช็ดมือมาเขียนโน้ตสั้นๆ แทน ‘ความรักความห่วงใย’ และแนบกระดาษแผ่นนั้นเนียนๆ ไปกับกล่องอาหารกลางวัน

“รักลูกนะ ขอให้วันนี้มีแต่เรื่องยอดเยี่ยม เป็นเพื่อนที่ดีของใครสักคน”

นับแต่นั้น โน้ตกระดาษจึงกลายเป็นธรรมเนียมระหว่างสองพ่อลูก หากวันไหนการ์ทไม่ได้เขียน เอมมาจะมาทวงกระดาษเช็ดมือของเธอ “แล้วโน้ตล่ะคะ”

“เอมมาลูกรัก, สัปดาห์นี้เรามีแต่เรื่องวุ่นวาย อย่าลืมมีสุดสัปดาห์ที่ยอดเยี่ยมด้วยกันนะ!! รัก, พ่อ”

“เอมมาลูกรัก, ในชีวิตนี้ ที่ที่ลูกจะไป ยังมีความหมายน้อยกว่าคนที่จะอยู่เคียงข้างลูก และวิธีที่ลูกจะสร้างความแตกต่างให้กับโลก รัก, พ่อ” 

“เอมมาลูกรัก, ไม่เป็นไรถ้าลูกจะต้องขอให้ใครช่วยในเวลาจำเป็น จริงๆ นะ ลูกบอกพ่อได้ พ่ออยู่ตรงนี้เสมอ รัก, พ่อ”

มะเร็ง

“การเริ่มต้นของสิ่งใหม่ ๆ มักแฝงตัวมาในรูปแบบของจุดจบอันเจ็บปวด – – เล่าจื๊อ”

ปัญหาของคุณพ่อชาวเวอร์จิเนียคือไม่รู้ว่าจะบอก ‘ข่าวร้าย’ ยังไงให้ลูก ‘สบายใจ’ ที่สุด แถมตลกร้ายคือหลังผ่าตัดชิ้นเนื้อครั้งแรกสำเร็จ ยมทูตก็ยังยิงกระสุนมะเร็งใส่เขาอีกสามครั้ง จนเขาเริ่ม ‘เสียศูนย์’ แต่หากปล่อยไว้แบบนี้ การ์ทรู้ดีว่ามะเร็งไม่เพียงแต่จะพรากชีวิตเขา แต่จะลามไปทำร้ายภรรยาและลูกอีกด้วย

“ดังนั้น มะเร็งจึงเป็นเสียงที่ปลุกให้ผมตื่นขึ้น ทำให้ผมเอาใจใส่จดจ่อกับเรื่องสำคัญ”

การ์ทยอมรับว่าเขาใจสลายที่ต้องนั่งข้างเอมมาบนเตียงถึงสี่ครั้ง เพื่อบอกเธอว่าเขาเป็นมะเร็ง

ครั้งที่ 1 (มะเร็งไต) : “ผมทำใจให้รู้สึกกลัวน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ นั่งลงคุยกับเอมมา ค่อยๆ พูดเรื่องความเจ็บป่วยของผม มันอาจเป็นมะเร็งก็ได้ พ่อต้องเข้ารับการผ่าตัด ถ้าทุกอย่างราบรื่นดี เพียงแต่ผ่าตัดเอามันออกแล้วก็หมดเรื่อง”

หลังการผ่าตัดครั้งแรกผ่านไปด้วยดี เอมมาก็เริ่มเก็บโน้ตกระดาษของเขาในสมุดสะสม “ไม่มีอะไรค่ะ จะได้จำได้ไงคะ”

ครั้งที่ 2 (มะเร็งต่อมลูกหมาก) : “คืนนั้นผมนั่งลงข้างเอมมา ผมไม่ค่อยอยากพูดถึงเรื่องต่อมลูกหมากให้ลูกสาวอายุสิบสามฟังเลย ผมเครียดจนทำแผนพัง พ่อเป็นมะเร็งอีกแล้ว เอมมาเป็นเด็กฉลาด พอได้ยินคำว่า มะเร็ง ก็คิดล่วงหน้าไปไกล เอมมาเริ่มร้องไห้ ผมกอดเธอแน่น ผมยังต้องเรียนรู้อีกมากที่จะหาวิธีพูดกับลูกเรื่องนี้”

ครั้งที่ 3 (มะเร็งที่ต่อมหมวกไต) : “ผมอธิบายกับลูกว่าโรคมะเร็งอาจผลุบๆ โผล่ๆ เป็นบางครั้ง เหมือนเกมตีตัวตุ่นที่โผล่จากรู ที่เราต้องทำก็แค่คอยทุบมันกลับลงไป”

รอบนี้เอมมาชะงักและพูดขึ้นว่า “แต่เราเอาชนะตัวตุ่นไม่ได้นี่คะ ส่วนพ่อจะชนะมะเร็งต่างหาก” 

ครั้งที่ 4 (มะเร็งไตอีกครั้ง) : การรักษาของการ์ทในช่วงนี้จะเน้นไปที่การกินยารักษา (ตลอดชีวิต) แต่นั่นก็แลกมากับผลข้างเคียงสุดทรมาน

ท้องร่วง/อ่อนเพลีย/เบื่ออาหาร/คลื่นไส้อาเจียน/สูญเสียการรับรส/ปวดช่องท้องด้านขวา/สีผมขาวโพลน/ความดันโลหิตสูง/ต่อมไทรอยด์มีปัญหา

หลังตรวจพบมะเร็งครั้งที่สี่ เอมมาได้มีบทบาทดูแลการ์ทมากขึ้น อย่างน้อยก็คอยห่มผ้าและหาน้ำให้เขาดื่ม ทั้งยังลองเขียนโน้ตกระดาษและซ่อนมันในกล่องอาหารกลางวันของการ์ท

“ลูกธนูต้องถูกดึงถอยกลับมาก่อนจึงจะยิงออกไปได้ ดังนั้นช่วงชีวิตที่ถดถอยจึงหมายถึงชีวิตกำลังจะพาคุณไปพบสิ่งที่ยอดเยี่ยม”

การ์ทสัญญากับตัวเองว่าจะเขียนโน้ตบนกระดาษเช็ดมือให้ครบ 826 แผ่น เพื่อให้เอมมาได้รับ ‘จดหมายน้อย’ ทุกวันกระทั่งจบมัธยมปลาย 

“โฮมรันของเมื่อวาน ไม่ได้ทำให้ชนะเกมของวันนี้ –เบบ รูท”

“เอมมาลูกรัก, ลูกจะชนะไม่ได้ถ้าลูกไม่ได้เล่น”

“อย่าสวดขอพรให้มีชีวิตที่สะดวกสบาย จงขอให้มีความเข้มแข็งเพื่อยืนหยัดผ่านพ้นอุปสรรคของชีวิต –บรูซ ลี”

นอกจากนี้เขายังได้เขียนบันทึกก่อนตายที่ไม่ใช่การบอกลา แต่เป็นบทเรียนชีวิตที่เขาต้องการแชร์ให้เอมมารู้และเข้าใจ ซึ่งตัวอย่างที่ผมชอบมากคือเรื่องวางโทรศัพท์ลง

“พ่อรู้ว่าโทรศัพท์เป็นอุปกรณ์ของยุคนี้ แต่มันเป็นสิ่งของ ถูกต้องที่สิ่งของนี้เชื่อมโยงลูกกับเพื่อน ๆ และคนที่ลูกรัก แต่ลูกไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงกัน “ทั้งวันทั้งคืน” ลูกควรเป็นตัวของตัวเอง พักเสียบ้าง มีเวลาอยู่กับความคิดของตัวเองบ้าง เวลาอยู่กับผู้อื่น ลูกต้องอยู่ที่นั่นอย่างแท้จริง ให้ความสนใจ ฟังสิ่งที่เขาพูด ดังนั้นวางโทรศัพท์ลง ถ้าลูกไปดูหนังและเอาโทรศัพท์เก็บใส่กระเป๋าสองสามชั่วโมงได้ ลูกก็ควรมีมารยาทแบบเดียวกันในตอนที่นั่งกินอาหารเย็นกับครอบครัวนะ”

บทสรุป

หลังการต่อสู้ที่ยืดเยื้อ ในบทสุดท้าย ผมถึงกับหลั่งน้ำตาให้กับการ์ท ไม่ใช่เพราะหนังสือจบลงด้วยความตาย แต่จบด้วยกิจวัตรประจำวันง่ายๆ ที่เขายังคงตื่นเช้ามาทำอาหารกลางวันและเขียนโน้ตกระดาษเพิ่มเป็นสองแผ่น

“อย่าลืมเป็นคนที่ ‘ยอดเยี่ยม!’ อย่าลืมว่าเราคือเด็กมหัศจรรย์คนหนึ่งเช่นกัน น่าภูมิใจจริง ๆ

“ทำสิ่งที่ทำให้เรายอดเยี่ยมอีก! รักนะ!”

ใช่ครับ! การ์ทมีหลานตัวน้อยสองคน (แถมคนละเพศซะด้วย) ซึ่งเขาให้สัมภาษณ์กับสื่อภายหลังว่า “เป้าหมายของผมจากนี้คือตั้งใจมีชีวิตอยู่ เพื่อเขียนโน้ตให้หลานๆ ของผม ซึ่งผมคิดว่าไม่มีเหตุผลอะไรที่จะดีไปกว่านี้อีกแล้ว”

Tags:


Author:

illustrator

อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

เจ้าของเพจ The Last Bogie ผู้ตัดสินใจขึ้นรถไฟขบวนสุดท้าย โดยมีปลายทางอยู่ที่สถานี 'ยูโทเปีย'

Related Posts

  • Movie
    F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • SpaceBook
    Myth Universe : จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์สู่ Edutainment ความรู้นอกห้องเรียนที่เริ่มต้นจากคำถามและการเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง

    เรื่อง เจษฎา อิงคภัทรางกูร

  • Movie
    Elio:  ไม่ว่าจะหนีไปไกลแค่ไหน สุดท้ายความรู้สึกมีคุณค่า…เริ่มต้นจากหัวใจตัวเอง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • ปาฏิหาริย์ร้านชำของคุณนามิยะ: ปาฏิหาริย์ของการรับฟัง ‘โดยไม่ตัดสิน’

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • BookPlayground
    ไม่ว่าจะมีนิสัยที่เป็นภัยหรือไม่ เราทุกคนต่างก็เป็นที่รักได้ : Things No One Taught Us About Love

    เรื่อง อัฒภาค

Untamed อย่ายอม: ผู้ใหญ่รอบตัวอย่าทำให้เราต้องทิ้งความภักดีในตัวเองไป
Book
10 March 2022

Untamed อย่ายอม: ผู้ใหญ่รอบตัวอย่าทำให้เราต้องทิ้งความภักดีในตัวเองไป

เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • ‘Untamed อย่ายอม’ เป็นเรื่องราวของ ‘เกลนน็อน ดอยล์’ หญิงสาวผู้เพียบพร้อมไปเสียทุกอย่าง แต่อย่างเดียวที่เธอไม่เคยเป็นเลยคือ ‘เป็นตัวของตัวเอง’ ซึ่งเรื่องราวนี้เปรียบเสมือนการเดินทางภายในจิตใจของเธอ ซึ่งเมื่อเริ่มตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆ ก็ทำให้เธอตัดสินใจเลือกทางเดินใหม่ให้กับชีวิต เพื่อความรู้สึกอิสระและเป็นตัวเองได้มากกว่าที่เคย
  • มีเรื่องหนึ่งที่เธอบันทึกเกี่ยวกับลูกสาวสองคนของเธอโดยแต่ละคนก็มีบุคลิกที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงจากการเลี้ยงดูที่ต่างกัน เธอเริ่มตั้งคำถามกับคำว่า ‘กล้าหาญ’ ในตอนที่พาลูกไปเจาะหู และสุดท้ายก็สอนลูกว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การยืนหยัดในสิ่งที่ตัวเองรู้สึก
  • คนที่มีความเห็นอกเห็นใจอีกฝ่ายมากพอ จะพยายามทำความเข้าใจในความรู้สึกของเขาเหล่านั้น มากกว่าแค่บอกให้เขา ‘ยอม’ ทำตาม

Tags:

เกลนน็อน ดอยล์เป็นตัวของตัวเองซื่อสัตย์กับความรู้สึกUntamedGlennon Doyleอย่ายอม

Author:

illustrator

พิมพ์พาพ์

เป็นลูกคนเดียวจากแม่เลี้ยงเดี่ยว เรียกตัวเองว่านักวาดภาพประกอบที่ชอบวาดคนหน้าแมว เผลอเสียน้ำตาให้กับหนังครอบครัวอยู่บ่อยๆ

Related Posts

  • Movie
    F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • SpaceBook
    Myth Universe : จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์สู่ Edutainment ความรู้นอกห้องเรียนที่เริ่มต้นจากคำถามและการเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง

    เรื่อง เจษฎา อิงคภัทรางกูร

  • Movie
    Elio:  ไม่ว่าจะหนีไปไกลแค่ไหน สุดท้ายความรู้สึกมีคุณค่า…เริ่มต้นจากหัวใจตัวเอง

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • ปาฏิหาริย์ร้านชำของคุณนามิยะ: ปาฏิหาริย์ของการรับฟัง ‘โดยไม่ตัดสิน’

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • BookPlayground
    ไม่ว่าจะมีนิสัยที่เป็นภัยหรือไม่ เราทุกคนต่างก็เป็นที่รักได้ : Things No One Taught Us About Love

    เรื่อง อัฒภาค

ห้องเรียนที่ ‘เห็น’ นักเรียนตรงหน้ามากกว่าชื่อที่ปักบนอกเสื้อ
Social IssuesTransformative learning
9 March 2022

ห้องเรียนที่ ‘เห็น’ นักเรียนตรงหน้ามากกว่าชื่อที่ปักบนอกเสื้อ

เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล

  • การเปรียบเทียบตนเองกับสิ่งต่างๆ และเล่าเรื่องผ่านบัตรคำในชีวิตประจำวันวัน เป็นกิจกรรมแรกๆ ที่นักเรียนไทใหญ่และพม่าที่เข้าร่วมชั้นเรียนวิจัยจำนวน 5 คน ได้สะท้อนความคิด ความรู้สึก และนำไปสู่การเรียนรู้ในระดับที่ลึกขึ้นผ่านการสนทนา 
  • เรื่องราวที่ปรากฏขึ้นในกิจกรรมไม่ใช่แค่เพื่อทำความรู้จักกับนักเรียน แต่ทำให้เห็นนักเรียนที่อยู่ตรงหน้าไปมากกว่า “ชื่อที่ปักบนอกเสื้อ” การเล่าเรื่องของนักเรียนค่อยๆ เผยให้เห็นว่า ตัวเขาอยู่ตรงไหนของสังคมนี้ เขาถูกกระทำอย่างไร เขาและเพื่อนเขามีความคิดความฝันแบบไหน หรือกำลังเผชิญหน้ากับอะไรอยู่ 
  • ภายใต้ความแตกต่างด้านเชื้อชาติหรือชาติพันธุ์ เพศ ชนชั้น ร่างกาย และอื่นๆ ทั้งหมดนี้จะเป็นคำตอบให้ครูได้สร้างบทเรียน หลักสูตร การสอน ที่ยืนเคียงข้างนักเรียน เพื่อท้าทายกับความไม่ยุติธรรม และร่วมสร้างสังคมที่คนเท่ากัน

“ร้องเพลงชาติไม่ดัง เดี๋ยวก็จับส่งกลับพม่าไปเลย”   

เสียงตะโกนตำหนิจากครูคนหนึ่งถึงนักเรียนพม่าที่ร้องเพลงชาติไทยด้วยเสียงที่ไม่ดังพอ ในระหว่างการเข้าแถวทำกิจกรรมหน้าเสาธงในตอนเช้า เหตุการณ์นี้เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่ยังคงชัดเจนในความทรงจำของผม เมื่อครั้งเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ประโยคที่ปรากฏไม่ใช่แค่คำสั่งการหรือคำขู่เท่านั้น แต่ได้เผยให้เห็นอคติทางชาติพันธุ์ที่ทำงานอย่างเข้มข้นอยู่ในโรงเรียนไทย อย่างที่ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าหลักสูตรที่ผ่านมาของไทยกำลังทําหน้าที่ผลิตซ้ำอคติบนแนวคิดชาตินิยมสุดโต่ง จนไม่มีพื้นที่ว่างที่จะมองเห็นความแตกต่างในฐานะคนเท่ากัน ทั้งยังสร้างความชอบธรรมให้กับการกดขี่และการเลือกปฏิบัติต่อความแตกต่างจนกลายเป็นเรื่องปกติ

เมื่อห้องเรียนกำลังมอง (ไม่) เห็นนักเรียนบางคน 

โรงเรียนรัฐบาลขยายโอกาสแห่งนี้มีนักเรียนอยู่เพียง 200 กว่าคน แต่เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของเด็กกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนไทย ม้ง กระเหรี่ยง พม่า และไทใหญ่ หากมองไปที่คนสองกลุ่มหลังในภาพกว้าง พวกเขาถูกมองเห็นหรือรับรู้ในมิติทางเศรษฐกิจว่าเป็นแรงงานไร้ฝีมือที่คอยเสี่ยงอันตราย หรือเป็นพวกหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายก็เท่านั้น หากแต่ในมิติทางสังคม สิทธิความเป็นพลเมืองในฐานะมนุษย์คนหนึ่งของพวกเขากลับถูกปฏิเสธ ชีวิตในประเทศไทยจึงมีสถานะเสมือนเป็นพลเมืองชั้นสอง นักเรียนไทใหญ่และพม่าในโรงเรียนของผมในเวลานั้น บางคนอพยพจากบ้านเกิดเข้ามาในไทยพร้อมกับครอบครัว และเคลื่อนย้ายไปตามแหล่งงาน แต่บางคนก็เกิดและเติบโตที่นี่ ที่ที่เต็มไปด้วยข้อจำกัด พวกเขาใช้เวลาส่วนใหญ่พยายามเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้ากับสังคมใหม่ในโรงเรียน ซึ่งก็รวมถึงการปรับตัวให้เข้ากับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาชาติด้วย

ณ จุดนั้น ผมในฐานะครูเริ่มกลับมาตั้งคำถามถึงหลักสูตรและห้องเรียน แทนที่นักเรียนจะได้เปล่งเสียง (Voice) บนฐานประสบการณ์ของตนเองเพื่อบอกเล่าสิ่งที่พบเจอ พวกเขากลับถูกละเลยและมองข้าม ถูกเปลี่ยนบทบาทจากผู้เล่าที่เป็นเจ้าของเรื่องราวให้เป็นเพียงผู้ฟังที่ดี นั่งหลังตรง เพื่อฟังเรื่องที่ปราศจากความทรงจำและเรื่องราวในชีวิตของพวกเขาเอง

ทำไมหลักสูตรจึงไม่มีพื้นที่ให้พวกเขาได้นําเอาประสบการณ์ชีวิตในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่ถูกจัดให้เป็นพลเมืองชั้นสองของสังคมมาเป็นประเด็นสำคัญในการเรียนรู้ 

เปลี่ยนห้องเรียนให้เป็นพื้นที่เปล่งเสียงและเล่าเรื่อง 

ผมได้เริ่มต้นสร้างหลักสูตรเล็กๆ ผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในช่วงปีสุดท้าย โดยหยิบยืมแนวคิดของเปาโล แฟร์ นั่นคือ “การศึกษาแบบตั้งปัญหา”(Problem-posing education)  ซึ่งมุ่งเน้นนำเอาเรื่องราวปัญหาที่เกิดขึ้นจริงมาเป็นแก่นของการเรียนรู้ เพื่อพาทุกคนในชั้นเรียนไปทำความเข้าใจว่าตัวเราถูกกระทำจากปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร ด้วยความคิด คุณค่า โครงสร้างสังคมแบบใด และคิดหาหนทางสร้างการเปลี่ยนแปลง 

การเปรียบเทียบตนเองกับสิ่งต่างๆ และเล่าเรื่องผ่านบัตรคำในชีวิตประจำวันวัน เป็นกิจกรรมแรกๆ ที่นักเรียนไทใหญ่และพม่าที่เข้าร่วมชั้นเรียนวิจัยจำนวน 5 คน ได้สะท้อนความคิด ความรู้สึก และนำไปสู่การเรียนรู้ในระดับที่ลึกขึ้นผ่านการสนทนา 

อย่างไรก็ตามในข้อเขียนนี้มีพื้นที่จำกัด ผู้เขียนจึงขอเล่าผ่านเรื่องราวของเด็กหญิงเอ (นามสมมติ) เป็นหลัก เด็กหญิงเอ (ณ เวลานั้น) อายุห่างจากเพื่อนร่วมชั้น 1 ปี เธอมีเชื้อสายไทใหญ่ พ่อและแม่เธอ เป็นแรงงานรับจ้างเฝ้ารีสอร์ทและทําสวน บ้านของเธอตั้งอยู่ในรีสอร์ท แม่ของเอเล่าให้เธอฟังว่า ถึงแม้จะได้ทํางานในรีสอร์ทและสวนที่ดูเหมือนจะสบาย แต่รายได้นั้นไม่เพียงพอและยังต้องเหนื่อยจากการทํางานมากขึ้น เอเป็นเด็กที่กล้าแสดงออกและชอบตั้งคําถามในชั้นเรียนอยู่เสมอ เธอมีความฝันอยากเป็นสถาปนิก จึงไม่แปลกที่เธอเปรียบตนเองเป็นเหมือน ‘วงกลม’ ที่ไม่สามารถหยุดนิ่งได้ เธอบอกว่าตนเองชอบเปิดรับและเรียนรู้สิ่งใหม่ 

เมื่อเธอเริ่มขยายความเรื่องของตัวเองผ่านบัตรคำว่า ‘การเดินทาง’  น้ำเสียงของเอก็เปลี่ยนไป เธอเล่าถึงประวัติศาสตร์ของครอบครัวตนเองผ่านชีวิตของปู่ ปู่ของเธอเป็นคนเชื้อสายจีนที่มีชีวิตในช่วงระหว่างสงคราม ด้วยสภาวะสงครามทําให้ปู่ของเธอต้องหนีเอาตัวรอดเข้ามาในไทย ชีวิตของปู่ไม่ต่างจากชีวิตของพ่อแม่เธอนัก เพราะต้องอยู่ภายใต้ชะตากรรมของการหนีปัญหาสงครามและท้ายที่สุดก็ต้องย้ายถิ่นฐานจากบ้านเกิดมา การเข้ามาอยู่ในไทยของพ่อแม่ทำให้พวกเขาพบกับปัญหาอุปสรรคมากมาย ทั้งภาษา การเป็นคนไร้บัตร และการถูกกดค่าจ้างจากการทํางาน สิ่งที่เกิดขึ้นกับปู่ พ่อและแม่ ส่งผลต่อตัวเธอทั้งในเรื่องสิทธิการรักษาพยาบาล การย้ายโรงเรียน ไปจนถึงการแบกรับความคาดหวังของพ่อแม่ที่อยากจะมีชีวิตที่ดีขึ้น   

เรื่องราวที่ปรากฏขึ้นในกิจกรรมทั้งสองจึงไม่ใช่แค่กิจกรรมเพื่อทำความรู้จักกับนักเรียน แต่มันทำให้ผมเห็นนักเรียนที่อยู่ตรงหน้าไปมากกว่า ‘ชื่อที่ปักบนอกเสื้อ’ การเล่าเรื่องของเอ ส่งผ่านน้ำเสียงที่บรรจุความทรงจำ และตัวตน ซึ่งทั้งหมดนั้นค่อยๆ เผยให้เห็นว่า ตัวเขาอยู่ตรงไหนของสังคมนี้ เขาถูกกระทำอย่างไร เขาและเพื่อนเขามีความคิดความฝันแบบไหน หรือกำลังเผชิญหน้ากับอะไรอยู่ ภายใต้สังคมการเมืองของการศึกษาที่กระทำต่อพวกเขาบนความแตกต่าง 

จากกิจกรรมเริ่มแรกผ่านเรื่องราวของเด็กทั้ง 5 คน ได้เกิดเป็นบทเรียน 4 คำ (4 Theme) ในชีวิตประจำวันที่ถูกนำมาใช้ในการเรียนรู้ ประกอบด้วย ‘ย้าย  บ้าน คนต่างด้าว และทำงาน’ ซึ่งกลายเป็นแกนหลักในบทสนทนาถึงความสัมพันธ์ในมิติทั้ง 4 เชื่อมร้อยกับความรู้ ความคิด การถูกกระทำจากอคติ ตลอดจนการเข้าถึงโอกาสและสิทธิที่ไม่เป็นธรรม ในบทเรียนหนึ่ง ภายใต้ธีมหลักคือคำว่า ‘ทำงาน’ เอสรุปบทเรียนว่า

ปลายทางสุดท้ายของปัญหาการทํางานที่ครอบครัวของเธอ (และเพื่อน) เผชิญอยู่ ส่งผลให้พวกเธอตกอยู่ภายใต้วงจรของการเป็นหนี้ มีชีวิตที่ไม่มั่นคง “เรียนจบทํางานที่ดีๆ ก็ไม่ได้ เพราะมันเป็นวงจรชีวิตของพวกหนูแล้ว เขามีกฎหมายไว้แล้ว เรียนจบก็ทํางานไม่ได้ ต้องกลับไปทํางานแบบที่พ่อแม่ทํา ต้องทํางานหนักเพื่อใช้หนี้ หาเงินมาก็ใช้หนี้” 

เธอและเพื่อนอีก 4 คน มองเห็นสาเหตุของปัญหาผ่านคำเหล่านั้นที่กำลังสนทนากันอยู่คือ รัฐบาล กฎหมาย ศาล สื่อ และการศึกษา นั้นมีส่วนสำคัญในการกําหนด กระทำ และเลือกปฏิบัติต่อพวกเขาบนความแตกต่าง ในตอนท้ายเอเสนอว่า การปรับเปลี่ยนในทางกฎหมายจะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ด้วยการรวมตัวของคนที่มีปัญหาแบบเดียวกันเพื่อร่วมกันเปลี่ยนแปลง “ลองไปพูดคุยกับคนที่ไม่มีบัตรมันจะยิ่งดี เวลาเราเข้าไปในศาลเขาพูดอะไรมาก็ไม่รู้อะไรเลย เราก็ไม่รู้เรื่อง เราต้องศึกษากฎหมายตลอด แล้วก็ดูข่าวสารการเมือง เพื่อจะได้รู้ว่ามันเป็นแบบนี้”

บทสนทนาระหว่างทางของเอและเพื่อนๆ ที่ถูกเปล่งเสียงเล่าออกมาจึงเป็นการเรียนรู้ในตัวมันเอง พวกเขาตีความร่วมกันจากประสบการณ์เพื่อสร้างความรู้ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ไปจนถึงค่านิยมทางสังคมและความเชื่อที่ส่งผลต่อพวกเขา 

ทั้งหมดนี้จึงเสมือนเป็นหลักสูตรที่ให้พวกเขาได้กลับมาอธิบายและกําหนดความหมายให้กับชีวิตอย่างมีความหวังเพื่อท้าทายการกดขี่ ซึ่งต่างจากหลักสูตรแกนกลางฯ ที่ถูกเล่าและผลิตซ้ำให้ผู้เรียนเชื่อว่า อคติ ความไม่เป็นธรรม และการเข้าไม่ถึงโอกาสนั้นเป็นเรื่องปกติของธรรมชาติ 

นักเรียนของเราเป็นใคร 

ผมหวังว่า บทเรียนเล็กๆ จากงานวิจัยระดับปริญญาตรีในครั้งนี้จะเป็นหนึ่งในเรื่องราวที่ช่วยให้ครูได้กลับมาตั้งคำถามถึงชั้นเรียน หลักสูตร และการสอนของตัวเองว่ากำลังมองนักเรียนจากมุมมองแบบใด ใครคือนักเรียนของเราบ้างในห้องเรียน พวกเขาเป็นใคร มีเรื่องราว และความทรงจำต่อชีวิต ต่อสังคมแบบไหน มีความเจ็บปวดและบาดแผลที่ถูกกระทำอย่างไร พวกเขาถูกรับรู้ หรือถูกเลือกปฏิบัติอย่างไร ภายใต้ความแตกต่างที่ไม่เพียงแค่ด้านเชื้อชาติหรือชาติพันธุ์ แต่ยังรวมถึงเพศ ชนชั้น ร่างกาย และอื่นๆ ทั้งหมดนี้จะเป็นคำตอบให้ครูอย่างเราได้สร้างบทเรียน หลักสูตร การสอน ที่ยืนเคียงข้างนักเรียน เพื่อท้าทายกับความไม่ยุติธรรม และร่วมสร้างสังคมที่คนเท่ากัน

*ข้อเขียนนี้มาจากส่วนหนึ่งของการวิจัยช่วงฝึกสอนของผู้เขียน ในหัวข้อ “ผลการจัดการเรียนรู้แบบตั้งปัญหาในวิชาสังคมศึกษา: ภาพสะท้อนเรื่องเล่าของกลุ่มนักเรียนพหุวัฒนธรรม”

Tags:

ชาติพันธุ์การศึกษาอคติการศึกษาแบบตั้งปัญหา (Problem-posing education)

Author:

illustrator

อรรถพล ประภาสโนบล

ครูพล อดีตครูสังคมศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่ง ผู้เขียนหนังสือ “ห้องเรียนล้ำเส้น” และบรรณาธิการร่วมหนังสือ “สังคมศึกษาทะลุกะลา” ปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาสาขา Education studies ที่ไต้หวัน

Related Posts

  • Voice of New GenSocial Issues
    ‘เด็กทุกคนมีศักยภาพขอเพียงอย่าปิดกั้นโอกาส’  ชีวิตไม่หยุดฝันในวัน Dropout:  ‘กัน’ บัณฑิตา มากบำรุง

    เรื่อง The Potential

  • Learning Theory
    ทำไมเราควรมองพัฒนาการเรียนรู้ผ่าน ‘ม่านวัฒนธรรม’

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Transformative learning
    ทำไมครูควรมีมุมมอง พหุวัฒนธรรมศึกษา (Multicultural Education)

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Education trend
    การศึกษาจะไปทางไหนและปรับตัวอย่างไร เมื่อโควิด-19 ยังไม่จบลงง่ายๆ

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Creative learning
    สืบสานพิธีกรรมนางออ มนต์ขลังเสียงแคนที่เชื่อว่าช่วยขจัดปัดเป่าโรคได้

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ The Potential

เขียนฝันไปด้วยกัน : บันทึกความในใจของ ‘ในใจ เม็ทซกะ’ นักเขียนรุ่นเยาว์และคุณแม่สิตางศุ์ 
อ่านความรู้จากบ้านอื่น
7 March 2022

เขียนฝันไปด้วยกัน : บันทึกความในใจของ ‘ในใจ เม็ทซกะ’ นักเขียนรุ่นเยาว์และคุณแม่สิตางศุ์ 

เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง ภาพ ปริสุทธิ์

  • ‘การเขียน’ เป็นส่วนหนึ่งของทักษะการสื่อสาร และทักษะการจัดการตนเองที่สะท้อนในการรู้จักแบ่งเวลา มีวินัยและรับผิดชอบต่อภาระงานของตนเอง รวมไปถึงพัฒนาการด้านอื่นๆ ซึ่งจะติดตัวไปตลอดและเป็นพื้นฐานที่ดีต่อการทำงานไม่ว่าจะอยู่ในอาชีพอะไร นี่คือผลลัพธ์ของ ‘วิธีสมุดบันทึก’
  • ชวนอ่านบทสัมภาษณ์ของนักเขียนรุ่นเยาว์ที่ชื่อว่า ‘ในใจ’ เจ้าของผลงานหนังสือ ‘ความในใจ’ รวมถึงในฐานะนักแปลที่อาจจะอายุน้อยที่สุดในประเทศไทย และ คุณแม่สิตางศุ์ แรงหนุนสำคัญที่ทำให้เด็กคนหนึ่งได้ทำในสิ่งที่รัก และมีความสุขในสิ่งที่เลือก 
  • “สำหรับหนูแล้วก็ไม่ได้ถือว่าเป็น Passion นะคะ เพราะว่าไม่ได้เป็นอะไรที่หนูอยากทำเป็นอาชีพตลอดชีวิต แต่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำแล้วมีความสุขค่ะ หนูรู้สึกว่า Passion กับความสุขไม่เหมือนกัน การแปลและการเขียนสำหรับหนู เป็นเหมือนความสุขมากกว่า เพราะเป็นสิ่งที่ทำแล้วสบายใจค่ะ”

หลายคนอาจคุ้นชื่อของ ‘เด็กหญิงในใจ เม็ทซกะ’ เจ้าของรางวัลชมเชยจากการประกวดหนังสือดีเด่น พ.ศ. 2560 กับผลงานหนังสือ ‘ความในใจ’  และในฐานะนักแปลที่อาจจะอายุน้อยที่สุดในประเทศไทยกับผลงานเรื่อง ‘บิลลี่กับมนุษย์จิ๋ว’ เขียนโดย โรอัลด์ ดาห์ล ซึ่งแปลเมื่อตอนที่เธออายุได้ 12 ปี และถูกตีพิมพ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565

กว่าจะมาเป็นนักเขียนตัวน้อยที่หลายคนทึ่งในความสามารถ ในใจเริ่มต้นการเขียนจากความชอบส่วนตัวประกอบกับแรงผลักดันของคุณแม่ ซึ่งได้ชักชวนให้เข้าร่วมโครงการ ‘วิธีสมุดบันทึก’ ของอาจารย์มกุฏ อรฤดี บรรณาธิการบริหารและผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์ผีเสื้อ ตั้งแต่ในใจอายุได้ 9 ปี กระทั่งมีผลงานหนังสือเล่มแรก ‘ความในใจ’ ที่เจ้าตัวเขียนและวาดภาพประกอบเอง

ถึงตอนนี้ ‘เด็กหญิงในใจ’ เติบโตเป็น ‘นางสาวในใจ’ ในวัย 15 ปี กำลังศึกษาอยู่เกรด 10 หรือเทียบเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUIDS) ยังคงผลิตงานเขียนและผลงานการแปลอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เพราะรางวัลหรือความสำเร็จ แต่ด้วยเหตุผลว่า “เป็นสิ่งที่ทำแล้วมีความสุข” ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘ครอบครัว’ คือแรงหนุนสำคัญที่ทำให้เด็กคนหนึ่งได้ทำในสิ่งที่รัก และมีความสุขในสิ่งที่เลือก 

ในช่วงบ่ายๆ ของวันธรรมดาๆ วันหนึ่ง The Potential ชวนคุณแม่สิตางศุ์ เชยกลิ่น และ ‘น้องในใจ’ มาร่วมแบ่งปันเรื่องราวบนเส้นทางการเขียนที่ไม่ใช่แค่พรสวรรค์ แต่ต้องอาศัยวินัยและการฝึกฝน รวมถึงมุมมองของผู้เป็นแม่ในการซัพพอร์ทลูกให้เติบโตในแบบที่เขาต้องการ

‘ในใจ’ และ คุณแม่สิตางศุ์ เชยกลิ่น

บทที่หนึ่ง : วาดความฝันในสมุดบันทึก

หากถามถึงจุดเริ่มต้นบนเส้นทางนักเขียนของ ‘ในใจ’ คุณแม่สิตางศุ์เล่าว่า มาจากการที่เพื่อนแนะนำโครงการครอบครัวหนังสือรุ่นที่ 2 ว่ามีกิจกรรมให้เด็กเขียนเรื่องสั้นๆ ก็เลยสนใจเพราะตอนนั้นในใจเพิ่งย้ายจากนิวยอร์กกลับมาอยู่เมืองไทยได้ยังไม่ถึงปี ภาษาไทยของน้องยังไม่ค่อยดีเท่าไร ก็เลยคิดว่าถ้าลูกได้ไปเข้าร่วมกิจกรรม น่าจะช่วยให้ภาษาไทยดีขึ้น จึงพาไปเข้าร่วมโครงการ ‘สมุดบันทึก’ ของอาจารมกุฏ อรฤดี ตอนนั้นในใจอายุ 9 ขวบ 

“ตอนเด็กๆ ในใจเคยแต่งเรื่อง ‘เมืองสีฟ้า’ ตอนนั้นเราอ่านแล้วก็รู้สึกว่าก็สนุกดี คิดว่าเขามีจินตนาการที่ดี ไม่ได้คิดว่ามันจะไปไกลถึงขนาดที่สำนักพิมพ์เอาไปพิมพ์ แต่พอเข้าโครงการแล้วอาจารย์มกุฏเห็นแวว เราเองก็เลยพยายามที่จะเพาะเมล็ดพันธุ์ให้โตขึ้น” 

หลังจากเข้าโครงการ ‘วิธีสมุดบันทึก’ แล้วเห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง?

“เห็นเยอะเลยค่ะ รู้สึกว่าทักษะของในใจก้าวกระโดดมากเลย เขารู้ศัพท์มากขึ้น เรียบเรียงประโยคได้ดีขึ้น จากตอนช่วงแรกๆ ที่เขาเรียงคำเรียงประโยคไม่ค่อยได้ กลายเป็นว่าเขาก็สามารถใช้โครงสร้างประโยคได้ค่อนข้างถูกต้อง อาจจะมีผิดบ้างนิดๆ หน่อยๆ แต่ก็ถือว่าช่วยเรื่องภาษาไทยได้เยอะ เพราะเวลาเขียนเขาก็ต้องคิดว่า ถ้าเอามาเรียบเรียงประโยคแบบนี้ต้องใช้ศัพท์คำไหน ควรเอามาผสมกันยังไง ซึ่งพอเกิดความคิดแล้ว ก็จะทำให้เขาขวนขวายหาความรู้ หรือใช้วิธีถามเรา ไม่ก็ไปเปิดหาในพจนานุกรมค่ะ” 

คุณแม่เล่าถึงการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้ตั้งแต่แรก ขณะที่ ‘ในใจ’ ก็คิดว่าการใช้ภาษาไทยของตัวเองดีขึ้น

“จริงๆ ตัวหนูเองก็ชอบและสนใจเรื่องการเขียนจดบันทึกอยู่แล้วตั้งแต่ต้นค่ะ  ติดแค่ว่าตอนนั้นเรายังไม่เก่งภาษาไทย ตอนเรียนที่นิวยอร์กเขาก็มีสอนแต่งกลอน แต่ง Poem สอนเขียนเล่าเรื่อง ให้เขียนเรื่องของตัวเอง แต่ก็เป็นภาษาอังกฤษ พอช่วงแรกๆ ที่ต้องเขียนเป็นภาษาไทยก็รู้สึกว่ายาก เพราะหนูติดการใช้สำนวนภาษาอังกฤษ เวลาเขียนก็เลยจะผิดๆ ถูกๆ บ้าง 

เวลาคิดหนูจะชอบคิดเป็นภาษาอังกฤษก่อนในหัว แล้วค่อยแปลออกมาเป็นภาษาไทยอีกที หนูก็เลยคิดว่าตัวเองคงจะต้องฝึกให้เยอะขึ้น เลยอ่านหนังสือมากขึ้นโดยเฉพาะหนังสือภาษาไทย ซึ่งประโยชน์ที่ได้จาก ‘วิธีสมุดบันทึก’ คือการได้ฝึกเขียนภาษาไทยมากขึ้นนี่แหละค่ะ พอเราได้เขียนทุกๆ วัน ก็เป็นเหมือนการซ้อมให้ชิน แล้วเราก็จะทำได้ดีมากขึ้น”

นอกจากการเขียน อะไรคือสิ่งที่ได้จากวิธีสมุดบันทึก ? 

วินัยและการจัดการเวลา คือสิ่งที่แม่สิตางศุ์เล่าว่า  เกิดขึ้นหลังจากเริ่มเขียนบันทึกและทำจนเป็นนิสัย ในใจเริ่มรู้จักการจัดการเวลาและรู้จักค้นคว้ามากขึ้น เขาจะรู้เองว่าถ้ามีเวลาว่างก็ควรมานั่งเขียนสมุดบันทึก โดยตอนช่วงอายุประมาณ 7-10 ขวบ ในใจจะใช้เวลากับสมุดบันทึกเยอะมาก แต่เมื่อเริ่มโตขึ้น การเรียนก็เข้มข้นมากขึ้นตามระดับชั้น ทำให้ต้องลดเวลาที่ใช้เขียนบันทึกไปบ้างตามส่วน

“ด้วยความที่เขายังเป็นเด็ก และแม้ว่ามันจะเป็นโครงการของเด็ก แต่เราก็ต้องสอนให้เขามีความรับผิดชอบ บางทีเวลาเขาเล่นเกม หรือทำนู่นนี่ประสาเด็ก แล้วเล่นเพลินมากไป เราก็อาจจะต้องคอยเตือนว่าหนูทำอันนี้แล้วหรือยัง แต่ถ้าบังคับมากๆ เขาก็จะรู้สึกต่อต้าน เพราะมันก็จะมีช่วงวัยนึงที่เราพูดอะไรมากๆ เขาอาจจะรู้สึกรำคาญได้ พอเรารู้ตัวแล้วก็ต้องค่อยๆ ถอยออกมา ถ้าเขาหลงไปทางอื่น เราต้องค่อยๆ ตะล่อมกลับมาค่ะ”

ในมุมของในใจเอง แม้จะใช้เวลากับการเขียนค่อนข้างเยอะ แต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่าถูกบังคับ เพราะเวลาที่ได้เขียนความคิดตัวเองออกมาเหมือนเป็นการระบาย และรู้สึกสนุก 

“หนูคิดว่าถ้าหากว่าโดนบังคับ มันก็เป็นสิ่งที่ฝืนทำได้ยากนะคะ เพราะการเขียนคือต้องอยากเขียนเอง ถ้าไม่อยากเขียนก็จะเขียนไม่ออก มันเป็นสิ่งที่เราต้องอยากทำเอง บางครั้งหนูก็เคยรู้สึกอยากพักผ่อน แต่ก็ไม่เคยมีความคิดว่าจะไม่ทำแล้ว หรือรู้สึกว่าอยากทิ้งไปเลย”

สำหรับการแบ่งเวลาในการเขียน ในใจบอกว่าจะใช้เวลาว่าง เช่น เวลาไม่มีการบ้าน หรือหลังทำการบ้านเสร็จ หรือไม่มีอะไรทำ  แต่ไม่ได้มีการกำหนดเวลาว่าต้องเขียนตอนนี้ตอนนั้น 

“ตอนที่แปลหนังสือก็ใช้เวลาเหมือนกับตอนที่เขียนหนังสือค่ะ จะแบ่งเวลาตอนว่างมาแปลไปเรื่อยๆ ซึ่งก็มีบางช่วงที่รู้สึกว่าไปต่อไม่เป็นเพราะแปลไม่ออก ไม่รู้จะแปลยังไงดี ก็จะพักไว้ หรือว่าข้ามไปตรงอื่นที่รู้สึกอยากแปลมากกว่าไปก่อน จริงๆ แล้วหนูก็ใช้เวลาในการแปลนานเหมือนกัน แต่คุณตาก็ไม่ได้เร่งอะไร ก็ทำไปตามความเร็วของตัวเองค่ะ”

เรื่องนี้คุณแม่กล่าวเสริมว่า เป็นข้อดีของการทำงานกับอาจารย์มกุฏ “อาจารย์เข้าใจเด็กและธรรมชาติของเด็กค่ะ อาจารย์จะไม่กำหนดว่าต้องทำเสร็จเมื่อนั้นเมื่อนี้ เพราะว่าเมื่อไหร่ที่กำหนด เด็กก็จะเริ่มกดดัน เขียนไม่ออก จะรู้สึกว่าเป็นงาน นานมากกว่าอาจารย์จะถามความคืบหน้าแต่ละครั้ง แต่ก็ไม่เคยกำหนดเวลาค่ะ” 

บทที่สอง : มากกว่ารางวัลคือความสุข

“การมีรางวัลหรือการที่มีคนซื้อหนังสือเรา มันก็เป็นอะไรที่พอเห็นแล้วภูมิใจ ว่าเราทำได้ขนาดนี้เลยนะ พอมันมีผลออกมาดีมันก็ทำให้รู้สึกมีแรงบันดาลใจทำมากขึ้น หรือเวลามีคนเห็นงานเราแล้วชอบ ก็รู้สึกว่าเราก็ทำได้เหมือนกัน” 

นี่คือส่วนหนึ่งของความในใจจากในใจ ซึ่งเธอบอกว่าไม่ได้คาดหวังแต่แรกว่าผลงานจะต้องได้รับการตีพิมพ์หรือรางวัล ที่เขียนก็เพราะชอบ รู้สึกมีความสุข และคิดว่าแค่นั้นก็ดีที่สุดแล้ว

“ตอนแรกไม่นึกว่าคุณตาจะเอาไปพิมพ์เป็นหนังสือค่ะ นึกว่าคุณตาจะเอาไปทำเป็น Flash card พอรู้ว่าทำเป็นหนังสือ แล้วเราไปเจอหนังสือตัวเองวางขายอยู่ในร้านหนังสือก็ตื่นเต้น ดีใจ ที่เห็นลายมือลายเส้นตัวเองอยู่ในหนังสือ และก็รู้สึกว่าความรู้สึกนี้เป็นสิ่งสำคัญค่ะ

เราเป็นเด็ก เราก็อยากรู้สึกภูมิใจ เพราะมันเป็นเหมือนกำลังใจให้เราอยากทำต่อ ทำทุกอย่างให้ออกมาดี แล้วก็รู้สึกภูมิใจในตัวเอง” 

ในใจบอก ซึ่งแน่นอนว่าอีกคนที่ยิ้มกว้างด้วยความภูมิใจก็คือคุณแม่ 

“เราก็ภูมิใจในตัวน้องอยู่แล้ว เขาก็โชคดีด้วยที่เขามีคนรอบข้างที่คอยซัพพอร์ต หรือว่าช่วยไกด์ไปในทางที่ถูกต้อง กลายเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เขาทำงานออกมาได้ดีค่ะ”

เมื่อถามว่าถ้าทำมาเรื่อยๆ แล้วไม่ได้ผลตอบรับอะไร จะยังมีความสุขกับการเขียนอยู่ไหม? 

ในใจตอบทันทีว่า “ก็มีความสุขนะคะ เพราะเราไม่ได้เขียนเพื่อใคร การเขียนก็เป็นสิ่งที่มาจากความรู้สึกเราเอง เราไม่ได้เขียนเพื่อให้ได้รับคำชม หรือว่าเพื่อให้มีผลดีออกมา เป็นอะไรที่เขียนเพื่อความบันเทิงของตัวเอง แค่เป็นความคิดของตัวเองเลยค่ะ ไม่จำเป็นต้องมีความคิดของคนอื่นมาเกี่ยวข้อง”

แล้ว ‘การเขียน’ สำหรับในใจ ถือว่าเป็น Passion หรือเปล่า?

“สำหรับหนูแล้วก็ไม่ได้ถือว่าเป็น Passion นะคะ เพราะว่าไม่ได้เป็นอะไรที่หนูอยากทำเป็นอาชีพตลอดชีวิต แต่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำแล้วมีความสุขค่ะ หนูรู้สึกว่า Passion กับความสุขไม่เหมือนกัน การแปลและการเขียนสำหรับหนู เป็นเหมือนความสุขมากกว่า เพราะเป็นสิ่งที่ทำแล้วสบายใจค่ะ” 

บทที่สาม : ในวันที่นักเขียนน้อยเข้าสู่วัยรุ่น

จากเด็กหญิงตัวเล็กๆ  วันนี้นักเขียนน้อยเติบโตเป็นนางสาวในใจ เริ่มต้นชีวิตวัยรุ่นพร้อมกับชื่อเสียงและคำชื่นชมจากคนรอบข้าง ปฏิเสธไม่ได้ว่าแรงกดดันนี้ไมได้มีเฉพาะกับผู้เป็นลูกเพียงคนเดียว แต่ได้สร้างความคาดหวังและแรงกดดันให้กับคนเป็นพ่อแม่ด้วย 

“บางทีคนเป็นพ่อเป็นแม่มันอดไม่ได้หรอกที่จะคาดหวังสูง แต่พอรู้ตัวเราก็ต้องตบตัวเองให้ลงมา ให้อยู่บนความเป็นจริง เพราะมันไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบ แม้แต่ตัวเราเอง ก็ต้องคอยเตือนตัวเองเสมอ” 

คุณแม่แลกเปลี่ยนความเห็นว่า การมีลูกที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นบางทีก็รู้สึกว่าคุยกับลูกยากขึ้น เพราะบางครั้งอยากให้ลูกไปขวาแต่เขาอยากไปซ้าย ก็มีการคุยกับคุณแม่คนอื่นๆ ที่มีลูกวัยเดียวกันเหมือนกัน อย่างเช่นในสำนักพิมพ์ผีเสื้อที่มีแม่ๆ นักเขียนที่อายุไล่เลี่ยกันก็จะมาแชร์ประสบการณ์และทำความเข้าใจคนวัยนี้ด้วยกัน

“เราก็พยายามย้อนนึกถึงตัวเองตอนที่อยู่วันเดียวกันกับเขา ว่าถ้าเราโดนแบบนี้เราคงไม่ชอบ เพราะฉะนั้นเราก็ไม่ควรทำแบบนี้กับลูก ซึ่งเราเองก็ผ่านวัยนั้นมานานแล้ว อาจจะจำไม่ค่อยได้แล้วเหมือนกัน แต่ก็รู้ว่าจริงๆ คนวัยนี้เขาก็จะมีโลกส่วนตัวของเขา ถ้าเราไปก้าวก่ายมากเขาก็จะรู้สึกต่อต้าน เพราะฉะนั้นเราก็แค่คอยดูอยู่ห่างๆ ก็พอ”

ก่อนหน้านี้คุณแม่พูดถึงการเล่นเกมหรือใช้อินเทอร์เนต ที่ผ่านมามีการกำหนดเวลาในการใช้สื่อออนไลน์ไหม?

“ถ้าจะให้ห้ามก็คงไม่ได้ เพราะมันเป็นธรรมชาติของเด็กวัยนี้ แต่เราจะใช้วิธีจำกัดเวลาเอา พอเห็นว่าน้องเริ่มใช้เวลากับสิ่งนี้เยอะไปก็จะมีตักเตือนบ้างค่ะ” คุณแม่กล่าว ก่อนที่ในใจจะพูดต่อว่า

“จริงๆ หนูก็เล่นเกมและใช้ออนไลน์ได้มากตามที่ตัวเองอยากใช้ค่ะ แต่หนูจะมีเวลาว่างที่แบ่งออกมาอ่านหนังสือ เขียนหนังสือด้วย ซึ่งปกติตัวหนูเองก็ไม่ได้รู้สึกอยากใช้ หรืออยากเล่นเกมมากขนาดนั้น อีกอย่างคือพอโตแล้วหนูก็ทำอะไรตามใจตัวเองได้มากขึ้น คุณแม่ก็ไม่ได้ห้ามเวลาที่หนูอยากจะทำอะไร รู้สึกว่าสามารถทำอะไรก็ทำได้ตามที่ต้องการค่ะ” 

บทที่สี่ : บนเส้นทางสู่อนาคต

“หนูเคยคิดว่าจะเป็นนักเขียนนะคะ แต่ก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เพราะบางทีก็รู้สึกไม่ได้อยากเป็นนักเขียนไปตลอด บางครั้งก็อยากให้การเขียนเป็นงานอดิเรก เพราะมันเป็นสิ่งที่ทำแล้วเราเพลิน ไม่รู้สึกว่าโดนบังคับ แต่ตอนนี้ก็ยังไม่แน่ใจค่ะ ว่าจะเขียนเป็นอาชีพไหม ตอนนี้ที่คิดไว้ในอนาคตคืออยากลองเขียนบทหนังหรือบทละครค่ะ” 

แม้จะยังไม่แน่ใจว่าเส้นทางนับจากนี้ไป ในใจจะยึดการเป็นนักเขียนเป็นอาชีพในอนาคตหรือไม่ แต่ทั้งเธอและคุณแม่ต่างก็มั่นใจว่า ‘การเขียน’ คือทักษะที่จะติดตัวไปตลอดและเป็นพื้นฐานที่ดีต่อการทำงานไม่ว่าจะอยู่ในอาชีพอะไร

“ถ้าเขาอยากเป็นนักเขียนจริงๆ และจริงจังกับมัน ทั้งพ่อทั้งแม่ก็ชอบนะคะ ทั้งชอบและดีใจค่ะ และถึงแม้ว่าในอนาคตเขาอาจจะอยากทำอย่างอื่น ก็ไม่อยากให้ทิ้งการเขียน เพราะเราคิดว่ามันน่าเสียดายถ้าเขาทิ้งไปเลย อยากให้เขาทำควบคู่กับอะไรที่เขาชอบด้วย เพราะคิดว่างานเขียนมันสามารถเขียนในสถานภาพไหนก็ได้ และจริงๆ แล้วเกือบทุกสายงานก็เกี่ยวข้องกับการเขียนค่ะ” 

บทส่งท้าย : รู้จักวิธีสมุดบันทึก

ไม่ว่าจะเป็นการเขียนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทักษะการสื่อสาร  หรือทักษะการจัดการตนเองที่สะท้อนในการรู้จักแบ่งเวลา มีวินัยและรับผิดชอบต่อภาระงานของตนเอง รวมไปถึงพัฒนาการด้านอื่นๆ ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าเป็นผลลัพธ์ของ ‘วิธีสมุดบันทึก’ ซึ่งคุณแม่สิตางศุ์ อธิบายเพิ่มเติมว่า

“หลายคนอาจยังไม่ค่อยเข้าใจว่าวิธีสมุดบันทึกคืออะไร วิธีสมุดบันทึกก็คือการที่เราหาสมุดเปล่าๆ เป็นสมุดที่ไม่มีเส้น ถ้าเป็นสมุดที่เย็บกี่ด้วยก็จะดี จะได้ไม่ขาดเป็นชิ้นๆ แล้วปล่อยให้ลูกวาดรูปหรือเขียนอะไรก็ได้ เพราะบางทีเวลาที่เด็กมีอะไร จะออกมาทางรูปที่เขาวาด หรือที่ตัวหนังสือที่เขาเขียน เป็นวิธีที่เราจะสังเกตได้ว่าลูกเรามีความสามารถยังไง หรือเขามีความทุกข์ใจ มีความรู้สึกยังไงตอนนี้”

โดยใน ‘โครงการสมุดบันทึกวัยเยาว์’ อาจารย์มกุฏ หรือ‘คุณตาสมุดบันทึก’ จะให้เด็กๆ เขียนจดหมายมาขอสมุดบันทึกเพื่อเข้าร่วมโครงการ จากนั้นให้เด็กๆ เขียนบันทึกแล้วส่งกลับมาให้คุณตาอ่าน 

“เมื่ออาจารย์มกุฏได้ดูสมุดบันทึกของเด็กๆ แล้วเห็นแววก็จะส่งเสริมให้เป็นนักเขียน หรือถ้าพ่อแม่คนไหนไม่สามารถที่จะดูออกว่าอันนี้หมายความว่ายังไง ก็สามารถเขียนถามไปในกล่องข้อความของอาจารย์ได้ ถ้าอาจารย์ว่างก็จะมาตอบค่ะ 

แต่ว่าที่ดีที่สุดเลยคือเวลาที่ลูกเขียนเรื่องอะไร เราอย่าไปสอนนำ ปล่อยให้เขาเขียนไปเอง อย่างเด็กเล็กถ้าสะกดผิด อาจารย์บอกว่า อย่าไปเร่ง อย่าไปแก้ให้เขาสะกดถูก ณ ตอนนั้น ปล่อยให้เขาสะกดผิดไปก่อน เพราะไม่อย่างนั้นความคิดเขามันจะสะดุด” 

คุณแม่สิตางศุ์ให้ข้อคิด และในฐานะผลลัพธ์ที่น่าภาคภูมิใจของวิธีสมุดบันทึก  ในใจได้ฝากความรู้สึกทิ้งท้ายว่า

“อยากแนะนำว่า ถ้าอยากเขียนบันทึกหรือวาดรูป มันไม่ได้จำกัดว่าจะอายุ 80 หรือ 5 ขวบ ทุกคนเขียนได้หมด หนูคิดว่าวิธีสมุดบันทึกของคุณตาก็เป็นอะไรที่ใครๆ ก็นำไปใช้ได้ มันเป็นอะไรที่ไม่ได้มีกฎเกณฑ์ ทำอะไร เมื่อไหร่ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมีผลออกมา หรือว่าต้องเอาไปให้คนอื่นดูก็ได้ เหมือนทำให้ตัวเองมีความสุขก็พอค่ะ”

Tags:

นักเขียนการเขียนในใจ เม็ทซกะวิธีสมุดบันทึก

Author:

illustrator

กนกพิชญ์ อุ่นคง

A girl who aspires to live like a yacht floating on the ocean, a dandelion fluttering over the heather, a champagne bursting in party.

Photographer:

illustrator

ปริสุทธิ์

Related Posts

  • Movie
    Freedom Writers: ครูผู้ชวนเด็กๆ ขีดเขียนชีวิตในแบบของตัวเอง ด้วยความเชื่อว่าทุกคนมีสิทธิมีชีวิตที่ดี

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • Book
    การศึกษาของกระป๋องมีฝัน และที่ทางให้ตัวเองได้เบ่งบาน

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • How to enjoy life
    พลังแห่งการเขียน: ยารักษาบาดแผลทางจิตใจคือไดอารี่แห่งความรู้สึก

    เรื่อง จณิสตา ธนาธรชัย

  • ‘เตรียมใจและทุ่มเท’ เคล็ดลับในการทำอาชีพนักเขียนนิยายวาย ฟิล์ม – พิชญา สุขพัฒน์

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • Everyone can be an Educator
    วิธีสมุดบันทึก: การเรียนรู้บนสมุดไร้เส้น ชวนเด็กคิด อ่าน เขียนอย่างอิสระกับครูใหญ่สำนักพิมพ์ผีเสื้อ ‘มกุฏ อรฤดี’

    เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ปริสุทธิ์

‘Seapiens Camp Khaolak’ โรงเรียนชายหาดที่มีเซิร์ฟเป็นวิชาหลัก ทะเลสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
Creative learning
1 March 2022

‘Seapiens Camp Khaolak’ โรงเรียนชายหาดที่มีเซิร์ฟเป็นวิชาหลัก ทะเลสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต

เรื่อง ปริสุทธิ์

  • ไม่ว่าจะเป็นเด็ก Pre School หรือช่วงวัยใด การเล่นคือการเรียนรู้ที่สำคัญของพวกเขา ชวนเปิดแคมป์ท่ามกลางหาดทรายกับชายทะเล ที่ใช้ความสนุกเป็นตัวตั้ง ใช้ Surfing เป็น Learning ใช้ธรรมชาติรอบตัวเป็นสื่อการสอน กับ แพร – เพียงแพร โชติฐ์สถาพรป์ Co-founder ของ Seapiens Camp Khaolak
  • นอกจาก ‘เซิร์ฟ’ ที่เด็กๆ จะได้รู้จักมากกว่าแค่การเล่นเซิร์ฟ พวกเขายังได้สวมบทบาทเป็นสำรวจโลกท้องทะเลทั้งบนบกและในน้ำ เรียนรู้ภาพรวมของระบบนิเวศทางทะเล และดีไซน์เซิร์ฟบอร์ดของตัวเอง โดยลงมือทำทุกกระบวนการเหมือนที่โรงงานทำเลย
  • “ช่วงวัยก่อนเข้าเรียนสำคัญมากนะคะ เพราะมีผลต่อพัฒนาการของน้อง พอเรามาทำ Seapiens Camp Khaolak ก็เลยอยู่บนพื้นฐานที่ว่าทุกอย่างสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กหมดเลย เราไม่อยากให้วัยเด็กเป็นวัยเด็กที่ธรรมดา แต่เราอยากให้เป็นวัยเด็กที่ได้เรียนรู้ทุกอย่าง เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้นในวัยเด็กคือการสร้างบุคลิก สร้างตัวตนของเขาเมื่อเขาโตขึ้น”

ภาพ : Seapiens Camp Khaolak

นี่คือแคมป์การเรียนรู้สำหรับเด็กริมทะเลเขาหลักที่ใช้ความสนุกเป็นตัวตั้ง ใช้ Surfing เป็น Learning ใช้ธรรมชาติรอบตัวเป็นสื่อการสอน ประสบการณ์ตรงที่เกิดกับเด็กๆ จึงหยั่งลึกและไม่น่าเบื่อ อาจเพราะ Seapiens Camp Khaolak เกิดขึ้นจากความรู้สึกเดียวกันคือ ‘การเรียนรู้ต้องสนุก’ การเข้าแคมป์ที่นี่จึงเป็น Edutainment ท่ามกลางหาดทรายกับชายทะเล

ประมาณ 3 ปีก่อน หลังจากออกจากงานประจำทั้งแอร์โฮสเตสและคุณครูเด็ก Pre School แพร – เพียงแพร โชติฐ์สถาพรป์ Co-founder ของ Seapiens Camp Khaolak ก็ตัดสินใจมาปักหลักสร้างแคมป์เด็กแห่งนี้ ด้วยเหตุผลที่ฝังใจตั้งแต่เมื่อมาเที่ยวเขาหลักครั้งแรก นั่นคือการได้เจอเด็ก 7 ขวบคนหนึ่งเล่นเซิร์ฟ ความสุขและความมุ่งมั่นในเด็กคนนี้ส่งผ่านมาถึงเธอ จนเป็นจุดประกายให้เกิด Seapiens Camp Khaolak

“ตอนมาเที่ยวเขาหลักครั้งแรก เราได้เจอเด็กคนหนึ่งที่หาดเมโมรี่ น้องเขาเล่นเซิร์ฟเก่งมาก เราเจอน้องทุกวัน ไม่เล่นเซิร์ฟก็กำลังดูวิดีโอเกี่ยวกับเซิร์ฟอยู่ เลยไปทักทายและคุยกับน้องคนนั้น เราได้เห็นอะไรเยอะมากในตัวเด็กคนนี้ แววตาของเขามีความมั่นใจ มีความสุขมาก ตอนนั้นน้องน่าจะอายุ 7 ขวบ น้องบอกว่าอยากเป็นนักกีฬาทีมชาติ หรืออยากเป็นโปรเซิร์ฟ พอน้องเล่าให้ฟัง เราก็แบบ ทำไมเด็ก 7 ขวบคนนี้ดูต่างจากเด็กคนอื่นมากเลย เราเลยอยากเริ่มต้นทำให้คนอื่นได้รู้จักกีฬานี้บ้าง

ปัจจุบัน น้องคนนี้ได้เป็นนักกีฬาเซิร์ฟแล้ว เราเองเล่นกีฬานี้ก็ชอบ มันมีปัจจัยหลายอย่างมากที่ทำให้เราได้เรียนรู้ไปกับมัน ก็เลยเป็นจุดเริ่มต้นแรกที่อยากให้เด็กๆ ได้ลองเล่นกีฬานี้ตั้งแต่เด็ก เพราะมันมีประโยชน์มากกว่าแค่กีฬา และด้วยความที่เขาหลักมีทรัพยากรทางธรรมชาติเยอะมากๆ ถ้าครอบครัวของเขาได้มาที่นี่จะได้เรียนรู้อะไรมากกว่าแค่การเล่นเซิร์ฟ เราจึงมีโปรแกรมอื่นๆ ด้วย”

เมื่อตั้งใจให้เรื่องเล่นกับเรื่องเรียนรู้เป็นเรื่องเดียวกัน โปรแกรมต่างๆ ของ Seapiens Camp Khaolak จึงออกแบบภายใต้คอนเซปต์ Edutainment ซึ่งเพียงแพรนิยามว่าคือ ‘การเล่น’ ไม่มีการบังคับให้ทำหรือไม่ทำอะไร ที่แคมป์นี้เด็กๆ จะได้เล่นเต็มที่ โดยผู้ใหญ่มีหน้าที่สอดแทรกความรู้เข้าไปในสิ่งที่เขาเล่น ผ่านเกม, สื่อการสอน, วิดีโอ, การ์ตูน ฯลฯ

เธอยกตัวอย่างแกนหลักของแคมป์คือ ‘เซิร์ฟ’ ที่เด็กๆ จะได้รู้จักมากกว่าแค่การเล่นเซิร์ฟ

“การเรียนเซิร์ฟไม่ได้มีแค่การเรียนเซิร์ฟ ในพาร์ทแรกเขาจะได้รู้จักประวัติเซิร์ฟ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เรื่องวัฒนธรรมต่างๆ เกี่ยวกับเซิร์ฟ เขาจะได้รู้จักการเกิดคลื่นต่างๆ ว่าคลื่นที่เขาจะได้ไปเล่นวันนี้เป็นอย่างไร เกิดขึ้นมาได้อย่างไร จะมีเกมให้เขาเล่น และเราก็ให้เขาลงไปเรียนเซิร์ฟจริงๆ

ทีนี้องค์ประกอบของการเรียนเซิร์ฟ นอกจากได้ความรู้ต่างๆ แล้ว ยังได้ฝึกความกล้า เด็กบางคนที่มา เขาไม่เคยไปทะเลหรือไม่เคยกล้าเดินบนทรายเลย เขามาแล้วจะได้ปลดล็อกความกลัวของตัวเอง โดยมีพี่ๆ คุณครูคอยเล่นเป็นเพื่อนเขา ทำให้เขาไว้ใจเรา 

การเล่นเซิร์ฟของ Seapiens Camp Khaolak จึงไม่ใช่แค่การมาเรียนเซิร์ฟ แต่เด็กๆ จะได้ปัจจัยต่างๆ ที่เราตั้งใจมอบให้”

เรียนรู้และรักโลกจากการเล่น

สำหรับนักเซิร์ฟหรือคนที่ตั้งใจจะแค่มาเล่นเซิร์ฟก็คงโฟกัสอยู่อย่างเดียวคือการได้โต้คลื่นที่อยู่ตรงหน้า แต่สิ่งที่แคมป์นี้เตรียมไว้ให้เด็กๆ คือโปรแกรมการเรียนรู้ค่อนข้างหลากหลาย แบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ เริ่มจากส่วนแรก ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับเซิร์ฟในแง่มุมต่างๆ เช่น ประวัติ วัฒนธรรม ผ่านการ์ตูนและเกมต่างๆ

ต่อด้วยกิจกรรมแคมป์ไฟ ให้เด็กๆ ได้สนุกไปพร้อมกับการเรียนรู้ผ่านการก่อกองไฟปิ้งมาร์ชเมลโล ที่นอกจากผลลัพธ์คือความอร่อยของมาร์ชเมลโลนุ่มหนึบ ยังได้รู้จักทิศทางลม เทคนิคการก่อไฟ

ส่วนที่สอง เป็นโปรแกรมขวัญใจเจ้าตัวเล็กเลยทีเดียว นั่นคือ Meet Marine Life กิจกรรมสำรวจโลกท้องทะเลทั้งบนบกและในน้ำ

“Meet Marine Life พาเด็กๆ ไปเรียนรู้ภาพรวมของระบบนิเวศทางทะเล เรียนรู้เรื่องพฤติกรรมของสัตว์ทะเลบริเวณนี้ว่าเขาจะเจอใครบ้าง พี่คนนี้ (สัตว์ตัวนี้) ทำไมถึงอยู่ที่นี่ กินอะไรเป็นอาหาร มีพฤติกรรมอย่างไร ทำไมถึงเป็นสีนี้ โดยที่ความรู้จะถ่ายทอดผ่านสื่อการเรียนรู้และเกมต่างๆ ให้เด็กๆ ได้ร่วมสนุกไปกับเรา ได้รู้จักสัตว์ทะเล ระบบนิเวศทางทะเลไปกับเรา ไม่ใช่ให้เด็กมานั่งฟังที่เราพูด

เพราะเด็กๆ จะได้เดินสำรวจทะเลจริงๆ มีการเก็บตัวอย่างซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์และต่อเด็ก เพราะคุณครูของเราได้รับการเทรนมาในเรื่องนี้ด้วย ตัวอย่างที่น้องๆ เก็บมา เด็กๆ จะได้นำไปส่องกล้องจุลทรรศน์กัน โดยมีคุณครูอธิบาย” เธอเล่า

ส่วนที่สาม Shaper House คือห้องเรียนศิลปะที่เด็กๆ จะได้เรียนรู้การทำเซิร์ฟบอร์ดของตัวเอง โดยเริ่มจากดูการ์ตูนเพื่อเชื่อมโยงกับเด็กๆ ต่อจากนั้นให้เด็กเรียนรู้วัสดุอุปกรณ์แบบเดียวกับที่ใช้ในโรงงานผลิตเซิร์ฟ หลังจากคือการลงมือทำ

“กิจกรรมนี้เด็กๆ จะได้ดีไซน์เซิร์ฟบอร์ดของตัวเอง ได้ทำทุกกระบวนการเหมือนที่โรงงานทำเลย จุดเริ่มต้นของกิจกรรมนี้คือเราอยากให้เขารู้จักอาชีพคนทำเซิร์ฟบอร์ดที่เรียกกันว่า Shaper จริงๆ เป็นอาชีพที่ค่อนข้างทำเงินได้สูงมาก แต่ในไทยอาชีพนี้ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก จุดเริ่มต้นของโปรแกรมคือเราอยากให้น้องๆ ได้มาเห็นว่ามีอาชีพอีกเยอะมากบนโลกที่อาจยังไม่รู้จักหรือยังไม่เคยเห็น อะไรก็เป็นอาชีพได้ถ้าตั้งใจจริงๆ

นอกจากนี้เด็กๆ จะได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของเซิร์ฟบอร์ด ในสมัยก่อนที่ยังไม่มีอุปกรณ์ทันสมัยอย่างทุกวันนี้คนยุคนั้นใช้อะไรทำ เด็กๆ ก็จะได้เกิดกระบวนการคิดว่าจะใช้อะไรแทนได้ไหม ใช้เปลือกหอยแทนไหม ใช้หินแทนไหม”

ไม่ได้มีแค่สามส่วนหลักที่เพียงแพรกล่าวมา แต่เธอยังบอกว่ามีอีกหนึ่งโปรแกรมที่กำลังก่อตัว คือ Ocean and Art เกี่ยวกับขยะทะเลและงานศิลปะ ซึ่งเด็กจะได้มีส่วนร่วมตั้งแต่ไปเก็บขยะทะเลเพื่อนำมารีไซเคิลให้เกิดเป็นสิ่งประดิษฐ์สุดสร้างสรรค์ตามแต่ใจและจินตนาการ

“เด็กบางคนเอาขวดมาตัด ระบายสี ทำเป็นบ้าน บางคนเอาไม้มาทำเป็นเรือ โปรแกรมนี้เรามีจุดเริ่มต้นมาจากการที่อยากให้เด็กๆ เห็นความสำคัญขยะที่อยู่ริมทะเลมากขึ้น ถ้าสมมติเราชวนไปเก็บขยะกัน เขาก็คงไม่อยากไป เราเลยคิดเป็นงานศิลปะขึ้นมา ให้น้องได้ลงมือทำก่อน แล้วค่อยชวนไปเก็บขยะทีหลัง เราทำน้ำทะเลเสร็จแล้ว เราทำผืนทรายเสร็จแล้ว เราไปเก็บขยะมาสร้างเป็นบ้านกัน”

ออกแบบประสบการณ์ เติมเต็มความรู้และทัศนคติ

ในแต่ละกิจกรรมของ Seapiens Camp Khaolak ซึ่งมีเยอะและหลากหลายมาก จำเป็นจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านมารับบทคุณครู เพราะด้วยการเรียนรู้ที่มีห้องเรียนคือโลกกว้าง ความปลอดภัยต้องมาเป็นลำดับแรกเสมอ อย่างโปรแกรมสอนเซิร์ฟก็ใช้นักเซิร์ฟจริงๆ มีประสบการณ์การเล่นและการสอน ครูกลุ่มนี้มีทั้งเทคนิคการสอน ความปลอดภัย และจิตวิทยากับเด็ก

เพียงแพรเองก็เป็นครูสอนทุกโปรแกรม คอยเสริมให้ครูประจำและพาร์ทไทม์ในช่วงที่ตารางแน่นมาก ส่วนโปรแกรมที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมากๆ เช่น Meet Marine Life จะใช้คุณครูพาร์ทไทม์ที่เรียนจบมาด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล (Marine Science)

“เหตุผลที่เราทำโปรแกรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางทะเล ส่วนหนึ่งเพราะเราตั้งใจให้เด็กได้มาสนุกและได้ความรู้ด้วย จริงๆ เราตั้งใจอยากให้เด็กๆ รักษาธรรมชาติให้ได้มากที่สุด แต่ถ้าเราพูดไปตรงๆ หรือสื่อสารไปตรงๆ ก็เหมือนเป็นการพูดให้เขาฟังเฉยๆ เราเลยมาดีไซน์โปรแกรมให้เขาได้ใกล้ชิดธรรมชาติที่สุด

ในความรู้สึกเราเหมือนเขาได้ไปเจอบ้าน เจอเพื่อนที่เป็นสัตว์ทะเล เราหวังว่าในอนาคตเขาอาจจะอยากเอาไปศึกษาต่อ หรืออยากที่จะดูแลบ้านให้เพื่อนเขาต่อ”

ความคาดหวังที่แคมป์เด็กแห่งนี้พยายามส่งต่อความรู้ทั้งเรื่องเซิร์ฟ ระบบนิเวศทางทะเล สิ่งแวดล้อม กลายเป็นเสียงชื่นชมจากผู้ปกครองและเด็กๆ ที่ได้มาร่วมแคมป์

“ผู้ปกครองหลายคนบอกเราว่าน้องกลับไปเล่าให้พ่อแม่ฟังว่าได้ทำอะไรบ้าง เขามีทัศนคติต่อทะเลและธรรมชาติเปลี่ยนไปอย่างไร แต่ในใจจริงของ Seapiens Camp Khaolak คือเราไมได้หวังว่าจะเห็นผลภายในสองสามปีนี้ แต่เราหวังว่าเมื่อเด็กโตไปในอีก 10 ปี ข้างหน้า เขาอาจจะจำได้ว่าเขาเคยมาเล่นทะเล เขาเคยมาสำรวจทะเล และเขารู้สึกว่ามันเป็นประสบการณ์ที่ดี แล้วเขาอยากจะรักษาทะเลต่อไป”

นอกจากเสียงชื่นชม ผลลัพธ์ที่ทำให้เพียงแพรบอกว่าชื่นใจมาก คือ มีเด็กหลายคนกลับมาเรียนซ้ำในปีถัดไป มีทั้งเรียนในโปรแกรมอื่น และมีหลายคนเรียนซ้ำโปรแกรมเดิมเพราะพวกเขาชอบและประทับใจ

พื้นที่ค้นหาตัวตนของเด็กๆ ที่ครูได้เรียนรู้ไปด้วยกัน

การเรียนรู้ริมทะเลของ Seapiens Camp Khaolak ไม่ได้เป็นประโยชน์แก่เด็กๆ เท่านั้น แต่กลับสร้างความเปลี่ยนแปลงในตัวผู้ก่อตั้งและสร้างมันขึ้นมาด้วย

เพียงแพรเล่าว่าตลอด 3 ปี ทำให้เธอมีเป้าหมายมากขึ้น เพราะตั้งแต่เปิดแคมป์มาก็มีโอกาสสอนเด็กๆ เองด้วย ระยะเวลาเพียง 2-3 ชั่วโมง เธอเห็นพัฒนาการ ได้เห็นการเรียนรู้ที่เด็กได้รับ รวมถึงทัศนคติที่เปลี่ยนไป บทเรียนที่เธอได้จากความเปลี่ยนแปลงของเด็ก อาทิ การที่เด็กเล่าให้ผู้ปกครองฟัง ความตระหนักถึงปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการที่มีเด็กบางคนอยากเรียนเซิร์ฟด้วยความชื่นชอบ จนต่อยอดไปถึงความฝันที่จะเป็นนักกีฬาเซิร์ฟ นี่จึงเป็นเสมือนพื้นที่ค้นหาตัวเองของเด็กๆ ด้วย

“เช่นตอนเราพาไปสำรวจสัตว์ทะเล ถ้าเขาเห็นขยะในทะเล แพรจะเกริ่นให้เขาเห็นก่อนว่าขยะอยู่ตรงนี้ ถ้าสมมติพี่สัตว์ทะเลคนนี้เขามากิน เขาจะต้องตายแน่ๆ เลย เด็กก็จะได้คิดต่อว่าถ้าอย่างนี้ขยะก็ไม่น่าจะอยู่ตรงนี้ ถามว่าเรามีความคิดเปลี่ยนไปอย่างไร เรายิ่งอยากทำตรงนี้ให้เกิดขึ้นได้จริงและได้มากที่สุดในอนาคต

เราอยากเพิ่มโปรแกรมตามคอนเซปต์ Edutainment ให้ได้มากกว่านี้ เพราะเด็กมีความหลากหลาย บางคนมาที่แคมป์เราเขาอาจจะเจอตัวเองว่าอยากเป็นนักกีฬาเซิร์ฟมากๆ หรือเขาอาจจะลองเล่นโปรแกรมอื่นแล้วรู้สึกว่าชอบงานศิลปะมากเลย บางคนชอบทะเลมากเลย โตไปเขาอาจจะอยากเรียนด้านประมงหรือด้าน Marine ต่อไปได้ด้วย”

จากประสบการณ์ที่เคยเป็นครูเด็กเล็กมาก่อน เพียงแพรบอกว่าเปรียบเทียบกับการทำแคมป์นี้แล้วคล้ายกัน เพราะไม่ว่าจะเป็นเด็ก Pre School หรือช่วงวัยใด การเล่นคือการเรียนรู้ที่สำคัญของพวกเขา

“ช่วงวัยก่อนเข้าเรียนสำคัญมากนะคะ เพราะมีผลต่อพัฒนาการของน้อง พอเรามาทำ Seapiens Camp Khaolak ก็เลยอยู่บนพื้นฐานที่ว่าทุกอย่างสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กหมดเลย เราไม่อยากให้วัยเด็กเป็นวัยเด็กที่ธรรมดา แต่เราอยากให้เป็นวัยเด็กที่ได้เรียนรู้ทุกอย่าง เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้นในวัยเด็กคือการสร้างบุคลิก สร้างตัวตนของเขาเมื่อเขาโตขึ้น”

Tags:

การเรียนรู้Seapiens Camp Khaolakวิชาเซิร์ฟการเล่น

Author:

illustrator

ปริสุทธิ์

Related Posts

  • Everyone can be an Educator
    เรียนรู้นอกกรอบ กับอดีตครูนอกคอก: อาจารย์จำลอง บัวสุวรรณ์ ผู้ก่อตั้ง ‘กลุ่มลูกหว้า’ เยาวชนก่อการดีแห่งเมืองเพชร

    เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง ภาพ สิริเชษฐ์ พรมรอด

  • Early childhood
    Play with your heart ‘เล่นอย่างอิสระ’ เรียนรู้และเติบโตอย่างมีคุณภาพ: ครูมอส- อนุพันธุ์ พฤกษ์พันธ์ขจี

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Character building
    ชวนเด็กเปื้อนดิน ติดตั้ง ‘สมรรถนะการอยู่กับธรรมชาติและวิทยาการ’ ให้เขาอยู่รอดและอยู่ร่วมกับโลกได้อย่างยั่งยืน

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Creative learning
    Active Citizen : พลังเยาวชน คืนความสุขให้ชุมชน ‘บ้านเขาน้อย’ จังหวัดสตูล

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Creative learningอ่านความรู้จากบ้านอื่น
    พ่อปุ๊ วีรวัฒน์ กังวานนวกุล: โรงเล่นคือโรงเรียน เพราะเรียนเล่นคือเรื่องเดียวกัน

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

Posts navigation

Newer posts

Recent Posts

  • ‘นิทานปากเปล่า’ เล่าความรักให้ลูกฟัง สร้างจินตนาการ สานสัมพันธ์ในครอบครัว: แม่จาว – วัชราวรรณ เพชรบุล
  • ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP4: การซึมซับและปรับตัว 
  • เปลี่ยนระบบนิเวศโรงเรียนเป็นสนามพลังบวก ยกระดับเด็กด้อยโอกาสสู่เด็กได้โอกาส: ผอ.วรรณรักษ์ หงษ์ทอง
  • F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง
  • Myth Universe : จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์สู่ Edutainment ความรู้นอกห้องเรียนที่เริ่มต้นจากคำถามและการเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง

Recent Comments

  • Existential crisis: วิกฤตชีวิตที่มาพร้อมกับคำถาม “แล้วฉันอยู่เพื่ออะไร” – EducationNet on Midlife Crisis: เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ทำไมใจถึงวิกฤต
  • The Psychological Wounds of Winnie the Pooh and His Friends: Exploring Characters from a Classic Literary Work - World Today News on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • Exploring the Psychological Wounds of Winnie the Pooh and Friends: A Fascinating Analysis - Archyde on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • 6 วิธีฝึกสอนให้ลูกเป็นเด็กมี Critical Thinking ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต – โรงเรียนมารีวิทยา ป on CRITICAL THINKING: สอนเด็กให้รู้คิด ผิดหรือถูกก็ใช้วิจารณญาณเป็น
  • Best รูป พลเมือง ดี Update New – Haiduongcompany.com on สอนและสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เรื่องไม่ง่ายที่ครูทำได้

Archives

  • July 2025
  • June 2025
  • May 2025
  • April 2025
  • March 2025
  • February 2025
  • January 2025
  • December 2024
  • November 2024
  • October 2024
  • September 2024
  • August 2024
  • July 2024
  • June 2024
  • May 2024
  • April 2024
  • March 2024
  • February 2024
  • January 2024
  • December 2023
  • November 2023
  • October 2023
  • September 2023
  • August 2023
  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • October 2021
  • September 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • April 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • November 2019
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017

Categories

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Uncategorized
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel