Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย

Month: May 2018

เดชรัต สุขกำเนิด: วาร์ปไปเข้าใจโลกที่ต่างโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ ด้วยบอร์ดเกม
Transformative learning
30 May 2018

เดชรัต สุขกำเนิด: วาร์ปไปเข้าใจโลกที่ต่างโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ ด้วยบอร์ดเกม

เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็ฮิตเล่นบอร์ดเกม แถมเป็นที่สนับสนุนโดยนักการศึกษาและคนทำงานทางสังคม ทำไม?!
  • เพื่อจำลองความขัดแย้งและเปิดช่องให้สื่อสารโดยไม่ต้องมีใครเสียเลือดเนื้อหรือล่มจม เพราะต่อให้ในเกมจะมีการโกง เกทับ ข่มขู่ แต่ทุกความขัดแย้งจบลงในเกม ไม่มีต้นทุน และยังเปิดพื้นที่ให้พูดคุยเจรจาเพื่อความเข้าใจ
  • “เวลาที่พูดถึงสันดานดิบ ที่สุดคือการเรียนรู้ผ่านข้อผิดพลาด แต่เป็นข้อผิดพลาดที่จำลองขึ้นโดยไม่มีต้นทุนในชีวิตจริง แต่เขาเข้าใจ รู้ว่าถ้าปล่อยสันดานดิบบางอย่างโดยไม่ระวังผลกระทบที่เกิดขึ้น เขาจะได้รับผลเหมือนอย่างที่ได้รับในเกม”
ภาพ: โกวิท โพธิสาร

พูดถึงคำว่า ‘เกม’ คุณพ่อคุณแม่เป็นต้องทำหน้านิ่วขมวดคิ้วรอ เกมคือการใช้เวลาว่างโดยเปล่าประโยชน์  ที่สำคัญเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กๆ หมกมุ่นจนไม่เป็นอันเรียนอันนอน

…นั่นอาจจะหมายถึงเกมออนไลน์ แต่เรากำลังพูดถึง ‘บอร์ดเกม’

ขณะนี้บอร์ดเกมถูกพูดถึงในวงการศึกษา โดยเฉพาะประเด็นเคลื่อนไหวเชิงสังคม จุดประสงค์ไม่ใช่เพื่อเกทับหรือห้ำหั่นกัน (อาจจะมีบ้างเพื่อความสนุกตามธรรมชาติ) แต่เพื่อจำลองความขัดแย้ง ปัญหา และเปิดช่องให้สื่อสารโดยไม่ต้องมีใครเสียเลือดเนื้อหรือล่มจม จริงๆ

“เวลาที่พูดถึงสันดานดิบ(ที่ออกมาระหว่างเล่นบอร์ดเกม) ที่สุดคือการเรียนรู้ผ่านข้อผิดพลาด แต่เป็นข้อผิดพลาดที่จำลองขึ้นโดยไม่มีต้นทุนในชีวิตจริง แต่เขาเข้าใจ รู้ว่าถ้าปล่อยสันดานดิบบางอย่างโดยไม่ระวังผลกระทบที่เกิดขึ้น เขาจะได้รับผลเหมือนอย่างที่ได้รับในเกม”

คือคำอธิบายโดยดร.เดชรัต สุขกำเนิด หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อีกหนึ่งบทบาทคือ สมาชิกกลุ่มเถื่อนเกม นักวิชาการที่ชวนทั้งลูกตัวเอง – แดนไท สุขกำเนิด และลูกศิษย์เล่นและพัฒนาบอร์ดเกมอย่างจริงจัง เขาใช้บอร์ดเกมทั้งในและนอกห้องเรียน และการบรรยายนอกสถานที่

คงไม่ผิดหากบอกว่าอ.เดชรัตคือ คอเกม แต่ทำไมนักวิชาการอย่างเขาจึงติดและนำไปให้นิสิต นักศึกษา และชาวบ้านเล่นกันจนติดงอมแงมขนาดนี้ มันมีดีอะไร เป็นเครื่องมือทางการเรียนรู้สมัยใหม่ที่สำคัญอย่างไร และทำไมเขาจึงชวนเชิญให้ครูหลายท่าน หันมาใช้บอร์ดเกมเป็นเครื่องมือแห่งการเรียนรู้

บอร์ดเกมคืออะไร ทำไมในวงการศึกษาจึงฮิตเล่นบอร์ดเกมกันมาก

บอร์ดเกมอาจจะไม่เหมือนเกมทั่วๆ ไป อย่างน้อยก็สองลักษณะใหญ่ๆ ประเด็นแรกคือ มันต้องการการมีส่วนร่วมระหว่างกัน (interaction) ซึ่งมันเห็นได้ชัดว่าจริงๆ บอร์ดเกมสร้าง interaction ระหว่างกันได้มากกว่ากิจกรรมอื่นๆ ยกตัวอย่าง เรานั่งดูทีวีด้วยกัน เราอาจจะแทบไม่ได้คุยกัน หรือเราอาจจะพูดถึงกันบ้าง แต่ interaction ระดับลึกลงไป เช่น คุณคิดยังไง คุณจะแก้ปัญหานี้ยังไง ในบอร์ดเกมจะมีเยอะกว่า

ประเด็นที่สอง บอร์ดเกมตามมาด้วยสิ่งที่เรียกว่า คอนเทนต์ ภาษาบอร์ดเกม หรือจะเรียกว่าธีมก็ได้ ธีมที่มีอยู่ในบอร์ดเกม เช่น ถ้าเราเล่นเกมเรื่อง CO2 ก็จะเป็นเกมที่ให้ข้อมูล ให้ความคิด และวิธีแก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือ Yellow Card เกมจับปลาที่แดนไทย (ลูกชาย) พัฒนาขึ้นมาก็จะเป็นตัวอย่างที่บอกว่าถ้าเราจับปลากันเยอะเกินไป มันก็จะทำให้ทรัพยากรประมงหายไป เหมือนที่ประเทศเราโดนใบเหลืองจากสหภาพยุโรปในเรื่องประมง เลยเป็นที่มาชื่อเกมว่า Yellow Card อย่างนี้เป็นต้น

เพราะฉะนั้น บอร์ดเกมมันจะมีธีมซึ่งให้สาระอยู่ บางทีการชวนพูดชวนคุยมันก็อาจจะนึกภาพไม่ได้ว่าตกลงมันคืออะไร ชาวประมงจับปลาเกินปริมาณที่ควรจะเป็นคืออะไร? เราอาจฟังเฉยๆ แต่จำลองสถานการณ์เข้ามาอยู่ในตัวเราไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าพ่อแม่ชวนลูกเล่นบอร์ดเกมในธีมต่างๆ มันก็จะเข้าไปสู่ขั้นที่สามที่เราวางไว้ที่เรียกว่า empathy หรือ ความเข้าอกเข้าใจคนอื่นในบทบาทหรือในสถานการณ์ที่แตกต่างจากเรามากขึ้น

เพราะฉะนั้นในตัวบอร์ดเกมจึงมีสามองค์ประกอบที่สำคัญ คือ สร้าง interaction สอง ได้เรียนรู้คอนเทนต์เนื้อหา สาม เกิดความเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน ไม่ได้หมายถึงเฉพาะผู้เล่นกับผู้เล่นเพียงอย่างเดียว แต่เข้าใจบทบาทที่เรารับมาด้วย

เข้าใจอย่างไร

ความเข้าอกเข้าใจมันจะอยู่ในสิ่งที่เราเรียกว่าธีมหรือคอนเทนต์ของเรื่อง นักออกแบบบอร์ดเกมก็จะบอกว่า เราต้องคิดก่อนว่าสิ่งที่ต้องการจะสื่อในเกมนั้นคืออะไร อย่าง Yellow Card หรือเกมจับปลา สิ่งที่เราต้องการจะสื่อคือทรัพยากรประมง เป็น Open access หรือการที่ทุกคนเข้าถึงทรัพยากรได้โดยเสรี แล้วไปจับออกมามันจนเกินขีดความสามารถที่ทรัพยากรประมงจะผลิตขึ้นมาใหม่ได้ มันก็เลยเสื่อมโทรมลงไป

นักออกแบบเกมก็จะเอาประเด็นเหล่านั้นมาคิดว่า แล้วกลไกในเกมอะไรที่จะเป็นกลไกง่ายๆ แต่ถูกต้องครบถ้วน คือถ้าจับเยอะ ทรัพยากรก็จะน้อยลง จะเพิ่มทรัพยากรประมงได้ก็ต้องอาศัยการบริจาคของแต่ละคน แต่สุดท้ายแล้วจะเกิดภาวะที่เรียกว่า ‘การต้องตัดสินใจระหว่างคุณค่าส่วนตัวกับคุณค่าส่วนรวม’ ตรงนี้จะเกิดการเจราการหารือต่อรองกันว่าเราจะตัดสินใจอย่างไร

ขณะเดียวกันตัวเกมก็ซ่อนกลไว้อีกชั้นหนึ่งว่า ถ้าคุณจับได้เยอะ ทุกคนจับได้เยอะ จนทรัพยากรเสื่อมสลาย วงทั้งวงจะต้องแพ้ การซ่อนกลอยู่สองชั้นนี่แหละครับคือปมขัดแย้งภายในเกม แต่ละคนต้องหาจุดสมดุลกันว่าจะเป็นยังไง คนชนะก็จะมีแนวโน้มเป็นผู้มีวิธีการร่วมมือกับคนอื่น ขณะเดียวกันก็ได้ประโยชน์จากการจับของตนเองด้วย

สิ่งที่น่าสนใจของเกมนี้คือ พอเล่นเสร็จ เราจะมีการพูดคุยกัน ไม่ได้เป็นการให้ความรู้สึกว่าฉันเป็นผู้ชนะ แต่จะให้ความรู้สึกว่า เข้าใจแล้วว่าการอยู่ร่วมกันมันต้องมีการเจรจา ต่อรอง ต้องมีกลไกเข้ามาควบคุม กำกับกันได้อย่างไร มิฉะนั้นอาจจะแพ้ทั้งวง

ดังนั้นแล้วจุดพีคของเกม คือความรู้สึกของผู้เล่นตอนจบเกม และการถอดบทเรียนเพื่อความเข้าใจ ไม่ใช่การแพ้ชนะ?

การจะไปสู่ข้อสรุปเช่นนั้นได้ เราต้องรู้ว่าจุดพีคต้องเกิดในเกม คราวนี้เราต้องไปสร้างกลไกเกมให้มันเกิดจุดพีค เกมมันเลยต่างจากละครนิดหน่อย ในละคร เราสามารถคิดอย่างดีที่สุดว่ามันจะเกิดอย่างนี้ขึ้น พระเอกนางเอกซ้อมกันเล่นกันจนเกิดอย่างนี้ อย่างน้อยที่สุดก็คอนโทลได้มาก

แต่ในเกมมันไม่รู้ไงว่าผู้เล่นจะเล่นอย่างไร อาจจะเกิดอาการเแป้ก แทนที่เขาจะโลภแล้วจับปลาได้เยอะเขากลับไม่โลภ อะไรแบบนี้ เราก็ต้องสร้างกลไกให้เป็นไปตามนั้น ในละครจะเล่นตามบท แต่นี่เป็นสิ่งที่ฉันเลือกเองแล้วมันก็เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นมาจริงๆ ด้วยตัวฉันเอง ด้วยมือฉันเอง เราก็ต้องหาทางแก้ไขด้วยตัวเราเอง

เพราะฉะนั้นนักออกแบบเกมจึงต้องดูคอนเทนต์ก่อนอันดับแรก และก็เอาคอนเทนต์ที่ว่ามาแปลงเป็นกลไกเพื่อที่จะไปถึงจุดพีค พอถึงจุดพีคเราก็เอาจุดพีคมาพูดคุยโยงไปถึงจุดคอนเทนต์ที่เป็นจุดเริ่มต้น แต่คราวนี้การโยงมันไม่ใช่เป็นการเล่าแล้ว มันเป็นการโยงลักษณะที่ว่าตอนนั้นคุณคิดอย่างไรเหรอ เมื่อทำไปแล้วไม่เกิดผลอย่างที่ว่า ความรู้สึกคุณเป็นอย่างไร แล้วเราคิดว่าในชีวิตจริงเราจะปรับสิ่งต่างๆ เหล่านี้เข้ามาร่วมกันได้อย่างไร

เพราะอะไรอาจารย์จึงใช้บอร์ดเกมเป็นเครื่องมือการเรียนรู้แทบจะทุกคลาส

เสน่ห์ของมันคือ หนึ่ง เขาได้ทดลองเอง เราพบว่าคนรุ่นใหม่อยากจะมีโอกาส มีประสบการณ์ตรง อย่างคำที่เขาชอบพูดกันมากตอนนี้คือ Experience learning แต่ประสบการณ์อย่างนั้นไม่สามารถอยู่ได้ในทุกที่ บอร์ดเกมคือการจำลองสถานการณ์ขึ้นมา แล้วเข้าไปอยู่ในประสบการณ์ของคนที่อยู่ตรงหน้า

เราจะได้เห็นว่าเขามีเงื่อนไขในชีวิตอย่างไร เห็นความพยายามขวนขวายเอาชนะ เอาตัวรอดจากสถานการณ์นั้น แต่การขวนขวายเอาตัวรอดนั้นนำมาสู่ความเข้าอกเข้าใจกันมากขึ้นว่า ที่ไม่รอด หรือรอดเป็นเพราะอะไร

ในบอร์ดเกม ความเข้าอกเข้าใจไม่ได้อยู่ที่ตัวเราอย่างเดียว อยู่ที่คนอื่นด้วยว่าเขาจะมีท่าทีหรือตอบสนองต่อสิ่งที่เราทำหรือไม่อย่างไร ทั้งหมดนี้จะค่อยๆ เรียนรู้และค่อยเกิดขึ้นเป็นความเข้าใจและนำไปสู่ความมั่นใจในลำดับต่อไป

อาจารย์ไม่ได้ใช้บอร์ดเกมแค่กับนักศึกษา แต่ใช้ในการบรรยายนอกสถานที่ด้วย

บอร์ดเกมทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ทุกวง ไม่จำเป็นต้องเป็นการเรียนรู้ในห้องเรียน เราเคยไปใช้เรื่องของการนำวางแผนพลังงานในภาคใต้ เพื่อทำให้พี่น้องในภาคใต้เห็นว่าเวลาวางแผนพลังงาน มันต้องคิดเรื่องอะไรบ้าง ถ้าไฟฟ้าเราเพิ่มขึ้น ก็ต้องไปหาแหล่งไฟฟ้ามา ไฟฟ้าแต่ละแหล่งที่ไปหามามันมีผลประโยชน์ในแต่ละด้านไม่เหมือนกัน แล้วอีกที่หนึ่ง อีกกลุ่มหนึ่งเขาทำอย่างไร จะแข่งกันยังไงเพื่อให้ระบบไฟฟ้าของเราดีที่สุด ซึ่งในตอนสรุปเขาก็จะพูดในเชิง “เข้าใจแล้ว มันมีความยาก แต่ก็ใช่ว่าจะทำไม่ได้นะ” เป็นสิ่งที่ต้องเข้าไปร่วมทำเพื่อบอกว่าเราต้องการให้เกิดผลอะไร

พูดได้ว่า นำเกมไปเล่นเพื่อให้เห็นความขัดแย้งจริง จำลองความขัดแย้งเข้มงวด เพื่อเปิดพื้นที่พูดคุยสร้างความเข้าใจ และลดความขัดแย้ง?

Conflict จะถูกแก้ ต้องดูว่านอกจากความแตกต่าง คุณจะอยู่ร่วมกันอย่างไร แต่ในโลกของความเป็นจริงเราไม่มีโจทย์ว่าเราอยู่ร่วมอย่างไรนอกจากภาพกว้างๆ ว่าคุณเป็นคนไทยเหมือนกันนะ แต่อย่างอื่นกลับไกลตัวหมด แม้กระทั่งไฟดับก็อาจจะยังไกลออกไปเพราะมันยังไม่ได้ดับปีนี้นะ การตัดสินใจเรื่องโรงไฟฟ้าทั้งหลายมันอาจจะดับหรือไม่ดับในอีกไม่รู้กี่ปีข้างหน้า แต่ในเกมมันจะดับในรอบถัดไปเลย คุณจะทำอย่างไร ก็ทำให้ทุกคนเอาสถานการณ์หรือประสบการณ์ที่อาจเกิดในอนาคต จำลอง.ให้เกิดในปัจจุบัน

สิ่งสำคัญสำหรับเกม คือเกิดข้อผิดพลาดได้มากมาย แต่ข้อผิดพลาดทั้งหมดจะต้องทำให้เกิดความรู้สึกว่า “ฉันพลาดนะ” ไม่ว่าจะอินแค่ไหนและเพียงใด ในความเป็นจริงต้นทุนยังเป็นศูนย์ มันยังไม่มีต้นทุนในชีวิตจริง แต่เขาจำได้นะเวลาเล่นประมง เวลาคนที่โดนใบแดงก็จะบอก โอ้โห… เขาแพ้ เขาโดนใบแดง แต่เขาไม่ได้เสียหายอะไร เพราะฉะนั้นในห้องเรียน มันก็ไม่ค่อยมีโอกาสที่เราจะปล่อยให้นักเรียนได้ทำผิดพลาด ในเกมก็จะเป็นกระบวนการเรียนรู้ผ่านการผิดพลาดของเราเอง

เรียกว่าพานักเรียนออกจากห้องเรียน เข้าสู่สถานการณ์ที่เข้มงวดมากๆ ด้วยเกม

และให้ทุกคนได้ผ่านความผิดพลาด บางคนอาจพูดว่าบอร์ดเกมปล่อยสันดานดิบออกมา จริงๆ แล้วมันก็ต้องตั้งคำถามก่อนว่า ในห้องเรียน เรากันสันดานดิบแบบไหนไม่ให้เกิดขึ้นหรือเปล่า ในห้องเรียนแบบไทย เราอาจจะต้องการให้ทุกอย่างอยู่ในกรอบจารีตที่ควรเป็น เพราะฉะนั้นสันดานดิบแต่ละคนอาจมี ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็แล้วแต่ มันมีอยู่แต่ไม่รู้ว่าจะออกมาตรงไหน

หลายๆ ครั้ง มันไปออกนอกห้องเรียน แล้วพอออกนอกห้องเรียนหลายครั้ง ห้องเรียนก็บอกว่าถ้าคุณทำถึงขนาดนี้ก็ออกไปจากระบบโรงเรียน เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วถ้าเรามองในมุมกลับ สันดานที่ถูกใช้ในเกมซึ่งต้นทุนความผิดพลาดเป็นศูนย์ แต่เราเปิดให้เขาแสดงออกมา บางเกมก็มีลักษณะของการเกทับ ข่มกัน หรือโกงกันบ้าง แต่ผลสุดท้าย นักสร้างเกมที่ดีต้องให้ฟีดแบคกลับมาว่า ถ้าคุณโกงเพื่อน ผลสุดท้ายจะเป็นยังไง ในที่สุดครูได้เอาสันดานดิบมาพูดในแง่มุมที่มีคนได้ลองใช้จริง ไม่งั้นเราจะพูดกันว่า คนนั้นเขาเคยทำแล้วมันเกิดปัญหาแบบนี้แบบนั้น แต่ผู้เรียนอาจไม่ได้เข้าใจในสิ่งที่ครูพยายามจะสอน

เวลาที่พูดถึงสันดานดิบ ที่สุดคือการเรียนรู้ผ่านข้อผิดพลาด แต่เป็นข้อผิดพลาดที่จำลองขึ้นโดยไม่มีต้นทุนในชีวิตจริง แต่เขาเข้าใจ รู้ว่าถ้าปล่อยสันดานดิบบางอย่างโดยไม่ระวังผลกระทบที่เกิดขึ้น เขาจะได้รับผลเหมือนอย่างที่ได้รับในเกม

ครูบางคนอาจอยากใช้ยาแรงและเร็ว สั่งและปราบให้นักเรียนทำตาม ไม่ต้องรู้สึกหรือตั้งคำถามอะไร

ผมเข้าใจได้นะครับ ชีวิตจริง ถ้าผมเป็นครูที่บอกให้ทุกคนจงแสดงสันดานดิบออกมาแต่ไม่ได้มีกลไกทำให้ผลลัพธ์ของสันดานดิบอยู่ในขอบเขตที่นำไปสู่การเรียนรู้ แต่บอร์ดเกมมันช่วย ช่วยทำให้การแสดงออกอยู่ในขอบเขตของการเรียนรู้โดยที่ไม่ได้มีต้นทุนมากมายในชีวิต ตรงนี้น่าจะมาช่วยเติมเต็มสิ่งที่คุณครูกังวลได้ เพียงแต่มันพูดยาก ต้องลองสัมผัสแล้วจะรู้ว่ามันมีโอกาสพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของเด็กๆ ที่ผ่านมาเราแทบไม่มีโอกาสจะพูดเลยนอกจากเรื่องเล่า แต่อันนี้เขาได้ตัดสินใจเอง ได้เห็นผลของมันเอง

ถ้าเรากำลังพูดถึงข้อเสนอเรื่องการใช้บอร์ดเกม ในฐานะสื่อการสอนอย่างจริงจังในโรงเรียน ต้องมีบอร์ดเกมเยอะแค่ไหน และเล่นอย่างไร

อย่างแรกคือ บอร์ดเกมที่เราเคยเล่นได้มากที่สุดพร้อมกันคือประมาณ 3,500 คน ถามว่าเป็นเกมที่เหมือนเรานั่งเล่นกันหกคนไหม คำตอบคือ ไม่เหมือนกัน ต้องเข้าใจว่าโรงเรียนจำเป็นจะต้องมีการให้ชุดประสบการณ์หลายแบบ

ทำบอร์ดเกมให้มีผู้เล่นจำนวนมากๆ ก็ทำได้ แต่จะเป็นบอร์ดเกมที่ยากขึ้นหน่อยและขณะเดียวกัน ชีวิตจริงเราไม่ได้เจอคน 50 คนเพื่อทำทุกอย่างพร้อมกันเสมอไป อันนี้ก็ต้องตั้งคำถามทางโรงเรียนกลับว่า ประสบการณ์แบบไหนที่เราจะเจอกัน 50 คนตลอดเวลา ไม่อยากให้บอกว่าบอร์ดเกมคือการนั่งกันหกคน เราก็พยายามพัฒนาเกมตั้งแต่นั่งกันหกคน ยี่สิบคน ห้าสิบคน จนถึงเกินร้อยคนขึ้นไป เราก็พัฒนาขึ้นมาให้เหมาะกับทุกรูปแบบ

ครูจะเห็นอะไร จากการเล่นบอร์ดเกม

ถ้าเราถอดหัวโขนออกมันก็จะได้เห็นเด็กในอีกมุมหนึ่ง ซึ่งเราอาจจะไม่เคยเห็นมาก่อน เป็นความสำคัญที่ไม่ได้เอาตัวเราเป็นที่ตั้ง เช่น เวลาเราคอนเมนท์งานนิสิต เหมือนอาจารย์เป็นตัวตั้ง นิสิตเป็นผู้รับคอมเมนท์ว่าจะผ่านไม่ผ่าน แต่เวลาทำเกมโดยเฉพาะเวลาออกแบบบอร์ดเกม คนที่เป็นตัวตั้งจริงๆ คือผู้เล่น ถ้าพูดภาษาธุรกิจคือ User หรือผู้ใช้งาน ทั้งเราทั้งเขาต่างช่วยกันมองว่า User สนุกหรือไม่สนุก ไม่ว่าเราจะยืนยันในความคิดของเราเพียงใด แต่สุดท้ายเล่นแล้วไม่สนุก ไม่หัวเราะ ในขณะที่น้องๆ ใช้กลไกอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเราอาจคิดว่าว่าวิธีนั้นน่าจะประสบความสำเร็จน้อยกว่า แต่ปรากฏว่าผู้เล่นสนุก ได้เรียนรู้มากกว่า อินมากกว่า

คำว่า Power ในภาษาอังกฤษ แปลเป็นไทยได้สองคำ ด้านหนึ่งเราอาจเคยคิดว่า เพื่อที่จะทำให้ห้องเรียนวิ่งไปข้างหน้าได้ เราต้องใช้ Power ที่แปลว่าอำนาจคอยบอกว่ามันต้องไปทางนี้ทางนั้นนะ ขณะเดียวกัน เมื่อเล่นเกมไประดับหนึ่งเราจะพบว่ามันมีคำว่า Power อีกคำหนึ่ง คือคำว่า capacity ความสามารถที่จะทำให้เกิดพลัง ไม่ใช่อำนาจที่ไปอยู่ในสภาวะต่ำกว่า แต่เคียงข้างไปกับผู้เรียน

capacity เกิด power ได้มากกว่าการที่เราอยู่ข้างบนเขา เพราะเวลาที่อยู่ข้างบน เหมือนกับเราเดินข้างหน้า เขาเห็นแต่หลังของเรา ลำดับแรกเราก็บังคับทิศทางเขาแล้ว แต่เวลาเราไปเดินอยู่หลังเขา ลำดับแรกไม่มีใครบังเขา เขาจะไปทางไหนก็ไปในทิศทางของเขา ลำดับต่อมา เรายังช่วยระวังหลังให้ ถ้าเกิดเขาผิดพลาดขึ้นมา เราจะช่วยป้องกันให้ ถ้าเขาล้มเราก็เห็นเขาก่อน เราอาจจะเห็นเราช่วยเขาไม่ทันแต่เราจะเห็นทันที โดยไม่จำเป็นต้องใช้บอร์ดเกมอย่างเดียวจะใช้วิธีอื่นก็ได้

การเลี้ยงลูกก็เหมือนกัน ถ้าเกิดเราอยู่ข้างหลังเราก็จะเห็นความคิดของเขาเยอะแยะเลย ระหว่างซ้ายกับขวาไปทางไหน ถ้าเราบอกเขามันก็จะจบ เขาก็อาจจะเดินตามเราโดยที่ใจจริงเขาไม่ได้อยากจะเดิน


และติดตามดร.เดชรัต สุขกำเนิด กับวิธีเลี้ยงลูกที่ไม่ตั้งแง่แต่ตั้งคำถาม จุดกำเนิดเกือบทั้งหมดมาจากจักรวาล ‘บอร์ดเกม’ ที่ เดชรัต-แดนไท สุขกำเนิด พ่อลูกเท่ากันในจักรวาลบอร์ดเกม

Tags:

ความเข้าอกเข้าใจ(empathy)การเติบโตtransformative learningบอร์ดเกมเดชรัตน์ สุขกำเนิดพ่อแม่คาแรกเตอร์(character building)เทคนิคการสอน

Author:

illustrator

ณิชากร ศรีเพชรดี

แอดมิชชันเข้าคณะการเขียนและสิ่งพิมพ์เพราะคิดว่าเขาจะสอนให้เขียนนิยาย แทนที่จะได้เขียนจากจินตนาการ อาจารย์และทุกอย่างที่นั่นเคี่ยวกรำให้ทำ-คิด-เขียน-รู้สึกกับประเด็นสังคม ยังคงสนุก(มาก)กับงานสื่อสาร ฝันสูงสุดคือยังเข้มแข็งเขียนงานได้อย่างมีคุณภาพและฐานะดี

Related Posts

  • 21st Century skills
    SOCIAL AWARENESS ฝึกเด็กๆ เข้าไปถึงใจคนอื่นด้วยคำถาม “ถ้าเป็นเรา-เราจะรู้สึกยังไง”

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ บัว คำดี

  • Character building
    ปั้น ‘คาแรคเตอร์’ ที่ดีให้เด็ก: โรงเรียน พ่อแม่ ชุมชน ต้องร่วมมือกัน

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Family Psychology
    ‘วิชาแพ้’ พ่อกับแม่แค่ปล่อยและคอยนั่งอยู่ข้างๆ

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • Life classroom
    ทรอย ซีวาน: เพราะผมรักในเสียงเพลง ดนตรี และการเป็นเกย์

    เรื่อง ชลิตา สุนันทาภรณ์

  • Creative learningอ่านความรู้จากบ้านอื่น
    เดชรัต-แดนไท สุขกำเนิด พ่อลูกเท่ากันในจักรวาลบอร์ดเกม

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

เดชรัต-แดนไท สุขกำเนิด พ่อลูกเท่ากันในจักรวาลบอร์ดเกม
Creative learningอ่านความรู้จากบ้านอื่น
30 May 2018

เดชรัต-แดนไท สุขกำเนิด พ่อลูกเท่ากันในจักรวาลบอร์ดเกม

เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • เดชรัต สุขกำเนิดพูดถึงลูกชาย กับวิธีเลี้ยงลูกที่ไม่ตั้งแง่แต่ตั้งคำถาม จุดกำเนิดเกือบทั้งหมดมาจากจักรวาล ‘บอร์ดเกม’
  • “เวลาเราเล่นบอร์ดเกม มันไม่มีความเป็นพ่อแล้วสั่งลูกได้ ถ้าแพ้คือคุณก็อ่อนเอง ไม่ใช่เป็นเพราะว่าลูกผิด หรือพ่อไม่ดี ในเกมทุกคนเท่ากัน” แดนไท สุขกำเนิด
  • เปิดใจ ตั้งคำถาม ชวนกันคิดต่อ ไม่ใช่แค่ได้เข้าไปร่วมแจมในโลกของลูก แต่อาณาเขตโลกของพ่อก็กว้างขึ้นเช่นกัน
  • “ผมคิดว่าความสัมพันธ์พ่อกับลูกเป็นความสัมพันธ์ที่กลับเข้ามาสู่ความเป็นปกติ เป็นสองทางมากขึ้น อย่าไปคิดว่าพ่อต้องรู้ดีกว่า เพราะโลกจริงๆ มันเป็นอย่างนั้น”
ภาพ: โกวิท โพธิสาร

“เวลาเราเล่นบอร์ดเกม มันไม่มีความเป็นพ่อแล้วสั่งลูกได้ ถ้าแพ้คือคุณก็อ่อนเอง ไม่ใช่เป็นเพราะว่าลูกผิด หรือพ่อไม่ดี ในเกมทุกคนเท่ากัน”

แดนไท สุขกำเนิด นักพัฒนาบอร์ดเกมอายุ 14 ปี นักเรียนสถาบันศึกษาทางไกล กล่าวเอาไว้

‘พ่อ’ ที่เขาพูดถึงคือ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในอีกทาง พ่อลูกคู่นี้คือสมาชิกกลุ่ม ‘เถื่อนเกม’ กลุ่มที่เล่นบอร์ดเกมทั้งเพื่อความสนุกและใช้บอร์ดเกมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้สู่ประเด็นทางสังคม

แดนไทเข้าสู่โลกของบอร์ดเกมตั้งแต่ชั้น ป.4 ในวิชาเลือกตัวหนึ่ง จากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลาเกือบ 5 ปี เขาผันตัวจากผู้เล่นสู่ผู้ออกแบบและพัฒนาเกมในประเด็นเชิงสังคม โดยมีเพื่อนร่วมงานคือพ่อ ลูกค้าคือคนในภาคีเครือข่ายสังคมต่างๆ

รายชื่อบอร์ดเกมที่แดนไทได้พัฒนา

  • Yellow Card: ฝ่าวิกฤตประมงไทย
  • School Changer: โรงเรียนเปลี่ยนโลก
  • ASEAN Line: ท่องประวัติอาเซียน
  • ASEAN Questination: ที่เที่ยวในอาเซียน
  • The Next Dream: นโยบายทำมือ
  • Ricevolution: มหัศจรรย์พันธุ์ข้าว

“เกมล่าสุดชื่อ Rice Evolution เป็นเกมเกี่ยวกับพันธุ์ข้าว เราจะปลูก รักษาพันธุ์ หรือจะปลูกอย่างไรให้ตรงกับความต้องการผู้บริโภคที่สุด” แดนไทอธิบาย

เวลาเกือบ 5 ปี หากเทียบเป็นอายุงานถือว่าอยู่ในระดับผู้เชี่ยวชาญเป็น senior ได้ ไม่แปลกใจที่อีกหนึ่งบทบาทของแดนไท จะคือวิทยากรบอร์ดเกมที่บางครั้งผู้ฟังคืออาจารย์ หรือนักศักษาปริญญาตรีและโท

หลายคนอาจบอก ‘ก็เด็กรุ่นใหม่เก่ง เติบโตมากับเทคโนโลยีนี่นา’ จะถูกจะจริงก็คงไม่ใช่หัวข้อที่ควรเถียงกันเพื่อหาข้อสรุป คำถามที่น่าถามยิ่งกว่าคือ แดนไทอยู่ในครอบครัวแบบไหน ที่สนับสนุนให้เขาทำในสิ่งที่ชอบ และทำอย่างจริงจังจนเป็นนักพัฒนาบอร์ดเกม ทำงานเชิงประเด็นสังคม กระทั่งเป็นวิทยากรขึ้นบรรยายเรื่องการนี้ได้

คนที่จะตอบได้ดีที่สุด หนีไม่พ้นพ่อของเขา ดร.เดชรัต สุขกำเนิด ที่มีอีกหนึ่งนามสกุลว่า ‘สมาชิกกลุ่มเถื่อนเกม’

ครอบครัวสุขกำเนิดค้นพบบอร์ดเกมตอนไหน ระหว่างแดนไทกับอาจารย์ใครเจอก่อนกัน

แดนไทเจอก่อน ผมเคยเจอมาบ้างแต่ไม่รู้เป็นเพราะอะไรมันไม่เข้าใจเงื่อนไขของการใช้บอร์ดเกม แต่แดนไทเล่นแล้วติด คุณแม่เลยให้ไปดูมันเป็นยังไง พอไปดูก็เกิดภาวะที่เข้าใจขึ้นมา โอ้… กลไกของเกมมันอยู่ตรงนี้เองที่เด็กๆ สนุกกัน เพราะมันมีตรงนี้นะที่นำไปสู่การเรียนได้ พอเริ่มจับปมได้ คราวนี้มันไม่ใช่การเล่น มันเริ่มเห็นแล้วว่าเอาเข้ามาใช้กับวิชาเรายังไง เราก็ทดลองทำ โดยมีแดนไทเป็นคนให้คำแนะนำนิดหน่อย

และเพราะแดนไทตัดสินใจจะไปเรียนสถาบันการศึกษาทางไกล เพราะฉะนั้นเวลาที่มีอยู่ ก็ควรจะต้องถูกใช้เพื่อการเรียนรู้ในรูปแบบอื่นๆ บอร์ดเกมก็เป็นสิ่งที่แดนไทชอบ เราก็เลยประยุกต์เข้ามาให้เขาเรียนรู้ผ่านบอร์ดเกม อันนี้คือลำดับที่หนึ่ง

ลำดับที่สองคือ ในการเรียนรู้ เราก็อยากให้เขาเป็นผู้ใหญ่เพิ่มขึ้นด้วย วิธีการที่จะทำให้เขาเป็นผู้ใหญ่ก็คือให้รับผิดชอบต่องานที่ตัวเองทำ จริงๆ ผมจะใช้คำว่าผู้ประกอบการเลย แต่บางครั้งคำภาษาไทยอาจมองว่าเพื่อให้ลูกได้เงิน จริงๆ เงินไม่ได้เป็นตัวสำคัญแต่เขาต้องเอาผลงานนี้ไปส่งให้กับลูกค้าได้ตามวันเวลาที่ควรจะเป็น รวมถึงได้รับฟีดแบ็คให้นำมาแก้ไขปรับปรุง สรุปว่ามันเป็นกระบวนการเรียนรู้สำหรับคนที่ไม่ได้ไปโรงเรียนทั่วไป เราก็เลยใช้วิธีนี้ในการสร้างการเรียนรู้ แต่ทีนี้มันมาได้ผลอย่างที่สามด้วยคือ

เขาได้วิธีการใหม่ๆ ในการสื่อสารทางความคิดว่า เราจะจำลองสถานการณ์นี้ให้มันเกิดการเรียนรู้ได้อย่างไร อย่างการพัฒนาเกมไข้เลือดออก ให้ฝั่งหนึ่งเป็นคน ฝั่งหนึ่งเป็นยุง ซึ่งมันเป็นสถานการณ์ที่อาจจะเหนือจริงนิดหน่อย แต่ก็จำลองมาได้ว่า เอ ยุงคิดยังไงน้า เราไม่รู้ว่ายุงคิดยังไงเราจัดการปัญหาตามประสาคน หลายครั้งคนที่เล่นอยู่ฝั่งคนก็แพ้

แดนไทไม่ได้แค่เล่นและคิดค้นบอร์ดเกม แต่ทำงานบอร์ดเกมเป็นประเด็นสังคมร่วมกับพ่อ

มันอาจจะซับซ้อนนิดหน่อย เพราะด้วยความที่เราทำงานด้วยกัน ก็ต้องตีกรอบว่าเวลาทำงาน เราไม่ได้ทำงานในฐานะพ่อกับลูกแต่เป็นเพื่อนร่วมงาน ซึ่งโชคดีมากที่การทำเกมมันเอื้อให้เขาไปพิสูจน์กับผู้ใช้งาน ไม่จำเป็นต้องเถียงกัน ก็ลองเลย ผมว่าแดนไทคงรู้สึกว่า มันก็ดีนะ พ่อไม่ต้องมาคุมเขา จริงๆ ก็ไม่ได้มองกระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่พ่อต้องคอยดูแลการเติบโตของลูก เป็นแต่เพียงแค่กระบวนการเรียนรู้ที่เขาจะต้องมีอะไรสักอย่างเข้ามาเรียนรู้ทดแทนการไปโรงเรียน ซึ่งมันทำให้เห็นการเติบโตของเขา

สิ่งที่ดีใจมากกว่าไม่ใช่เรื่องการออกแบบเกม แต่เป็นความรับผิดชอบของเขา บางครั้งเขาต้องไปเรียน หรือเป็นวิทยากร ซึ่งก็เป็นโจทย์ที่ไม่ง่ายสำหรับเด็ก บางกรณีผู้ฟังคือนิสิตระดับปริญญาตรี บางครั้งกระทั่งเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่เขาอยู่มัธยม เขาจะแสดงท่าทีการพูดยังไง มันก็ท้าทายให้เขาค่อยๆ สร้างการวางตัวของเขาขึ้นมา

เคยทะเลาะกันเพราะบอร์ดเกมไหม จัดการอย่างไร

ไม่เคยมี แต่จะทะเลาะกันเรื่องอื่นมากกว่า คือไม่ได้ทะเลาะกันเพราะเล่นบอร์ดเกม แต่ทะเลาะเรื่องวิธีการทำงานในบอร์ดเกม แต่ตอนหลังมันก็ถูกจัดการได้ เพราะตัวบอร์ดเกมมันไปวัดกันที่ผู้ใช้ อันนี้ผมค่อนข้างให้ความสำคัญมาก อะไรก็แล้วแต่ที่ไปวัดกันที่ผู้ใช้มันทำให้เราลดเวลาในการเถียงกันลงมา เถียงกันนี่ไม่ได้เป็นปัญหานะ แต่บางครั้งเถียงกันและไม่รู้ว่าจะจบอย่างไร หลายครั้งนำมาสู่การใช้อำนาจ แต่เวลาเล่นบอร์ดเกม เราจะ “แดนคิดอย่างนี้เหรอ” “พี่สาวคิดอย่างนี้ งั้นลองเลย” เป็นการลองที่ไม่เคย พอเราลองแล้วมันจะไม่มีเรื่องคาใจเลย มันจะ “อ้อ ตรงนี้เอาแบบของแดนนะ ตรงนั้นเอาแบบของพ่อ” แล้วเอามาผสมกัน ผสมกันเสร็จก็ลองใหม่

เลยชอบวิธีการทำงานในการออกแบบบอร์ดเกมมาก ลึกที่สุดคือมันหมดเรื่องเถียงและเราไม่จำเป็นต้องใช้อำนาจ หรือเราไม่จำเป็นต้องถูกใช้อำนาจ พอใช้อำนาจก็จะตามมาด้วยเรื่องดราม่าเยอะแยะ

คล้ายๆ กับเราทำคลิปส่งเสนอเจ้านาย เจ้านายก็อาจจะบอกคลิปนี้ไม่ไหวอะ พอเราไปโพสต์ยูทูบ เฟซบุ๊ค มันวัดด้วยยอดแชร์ ก็ตอบคำถามด้วยตัวมันเอง

การทำงานอาจทำให้เขาโตกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน เป็นห่วงไหม

ต้องสังเกตอยู่เหมือนกันนะครับ แต่ในการเรียนของแดนไท เรามีเกณฑ์อยู่ข้อหนึ่งว่าเขาจะต้องออกจากความเป็นตัวเองด้วย แต่ละปีแดนไทต้องเสนอว่าจะลองออกจากความเป็นตัวเองไปสู่เรื่องอื่นๆ ออกจาก comfort zone ตอนไหนและอย่างไรบ้าง ซึ่งก็ได้ผลพอสมควร ปีนี้ก็พยายามให้เขาลองออกจาก comfort zone ให้ไกลขึ้น

ยกตัวอย่าง เราอาจจะต้องสื่ออย่างอื่นนอกจากเกมละ ยกตัวอย่าง ระหว่างที่แดนไททำเกม เวลาเขาแก้กลไก สิ่งที่แก้ มันก็อยู่ในเกม แต่จะตกผลึกได้ต้องก้าวออกจากสิ่งนั้น อย่างเวลาที่ผมสอนหนังสือผมก็วนอยู่อย่างนี้ แต่พอก้าวมาสู่เกมทำให้ผมสอนได้ดีขึ้น แดนไทเหมือนกัน ถ้าเขาสรุปได้อย่างนี้ผมก็อาจจะชวนเขาก้าวไปสู่อย่างอื่น เหมือนอย่างที่ก้าวไปสู่การพูด การเขียน ตรงนั้นทำให้เขาเห็นชัดขึ้น การโยกย้ายแพลตฟอร์มเป็นอะไรบางอย่างที่คนทุกวัยเรียนรู้ได้และเป็นการเรียนรู้จากคนยุคใหม่ ซึ่งบางทีเราไม่ได้คิดถึง

เรามองคนรุ่นใหม่แบบแปลกแยก เพราะว่าเราไม่อยากปรับตัวตามเขา เราก็เลยมองแล้วใช้คำที่มันดูเหมือนกับว่าการแปลกแยกของเขาเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยดี จริงๆ ถ้าเราเข้าใจทุกอย่าง มันก็เหมือนกับเราใส่เสื้อตลกๆ ในสมัยเราเป็นหนุ่ม

ยกตัวอย่างข้อกังวลหลายข้อของผู้ปกครอง ซึ่งขอย้ำว่าไม่ใช่เรื่องผิดหรือถูก เช่น ถ้าลูกๆ เป็นติ่งเกาหลี พ่อแม่จะมองหาประโยชน์จากเรื่องนี้อย่างไร

กระติ๊บเขาชอบฟังเพลง เราก็ฟังร่วมกันกับเขา พอฟังร่วมกันเราก็จะเห็นความแตกต่างบางอย่างซึ่งที่ผ่านมาเราอาจไม่เคยเห็น ซึ่งยังไม่รู้ว่าเป็นประโยชน์อะไรแต่น่าสนใจมาก คือผมก็ฟังเพลงที่เขาฟังและก็เปิดเพลงเพลงยุคเก่าที่ผมฟัง แล้วถามลูกว่า ลูกฟังแล้วมันต่างกันยังไง เพราะสำหรับเรามันไม่ต่างกันไง สมมุติฐานของเรามันแค่กระแสนิยม

เขาตอบว่า พ่อดูนะ… เพลงยุคเก่ามันจะมีจังหวะที่ค่อนข้างตายตัว แม้กระทั่งท่อนฮุคจังหวะก็ยังคงเดิม อาจเปลี่ยนแค่โทนนิดหน่อย มีภาษานิดหน่อยแล้วมันก็วนกลับมาที่จังหวะแบบเดิม แต่ถ้าฟังเพลงโดยเฉพาะเพลงสากลจะเห็นว่าบางเพลงจะมีสามริธึมในเพลงเดียวกัน เราก็รู้สึก เออ ทำไมอะ ทำไมความสามารถในการสังเกตของเรามันถึงจำกัด ทำไมเราจึงถามในความรู้สึกที่ว่า เหมือนเขาก็นิยมไปอย่างนั้นแหละ

เราก็เริ่มสงสัยถามต่อว่า การที่เกิดริธึมขึ้นมามากมาย มันเกิดขึ้นมาจากอะไร เขาก็บอก อันดับหนึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการ ฟีเจอริ่งไหม เพราะการฟีเจอริ่ง (featuring-การทำงานโดยมีผู้ร่วมรับเชิญ) ให้หลายคนที่มีความถนัดไม่เหมือนกันเข้ามาแจมกันด้วยจังหวะของตัวเอง แต่ฟังแล้วมันยังเป็นเพลงเดียว และจริงๆ อาจเป็นเพลงที่ดีกว่าคนร้องคนเดียวอีก นี่คือโลกยุคหน้าไง เวลาเราจะออกแบบหรือทำอะไรแต่ละอย่าง ไม่ใช่แค่ข้าพเจ้าร้องเพลงอย่างเดียว

ลองย้อนกลับไปดูในรายการอื่นๆ ที่มีสองทีมเข้าประกวด ฝั่งไหนร้องเพลงของอีกฝายได้แล้วเด็ดกว่าด้วย ก็จะได้ไปลงในแผ่นเสียง เราจะพบว่าถ้าคนรุ่นเก่าร้องเพลงของเด็กรุ่นใหม่ ศิลปินรุ่นเก่าจะร้องในแบบของตัวเอง ขณะที่ศิลปินรุ่นใหม่ร้องเพลงศิลปินรุ่นเก่า เขาร้องไกลกว่าที่ตัวเขาเคยร้อง อันนี้เรียกว่าเรามี capacity มากขึ้นหรือไม่ ผมเห็นว่ามันเป็นพัฒนาทางดนตรีที่มันน่าสนใจมาก

คีย์เวิร์ดของโมเดลนี้ คือการเปิดใจและตั้งคำถาม?

ผมคิดว่าความสัมพันธ์พ่อกับลูกเป็นความสัมพันธ์ที่กลับเข้ามาสู่ความเป็นปกติ เป็นสองทางมากขึ้น อย่าไปคิดว่าพ่อต้องรู้ดีกว่า เพราะโลกจริงๆ มันเป็นอย่างนั้น

คือย้อนกลับไปตอนที่เราอายุสักสิบกว่าขวบ พ่อเราบอกได้ว่าตอนที่เราอายุสี่สิบจะเป็นอย่างไร แต่ตอนนี้ไม่ใช่ ผมไม่กล้าพูดอะไรเลยว่าลูกตอนอายุสี่สิบเขาจะเป็นยังไง ถามว่าลูกเห็นไหม ลูกก็อาจจะยังพูดไม่ได้แต่ลึกๆ เขารู้สึกชัดกว่าเราว่าโลกมันเปลี่ยน

ถ้าโลกเป็นแบบนี้แต่เรายังอยากเป็นพ่อแบบเดิม โอ้โห… โคตรทุกข์ เราจะให้ลูกเรียนนู่นเรียนนี่ยังไง เตรียมการซะ แต่มันจะไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด ผมอาจจะติดตามและมีข้อเสนออะไรก็แนะไป

เหมือนเป็นคุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ ทำให้เราไม่แก่ด้วย

แค่ลดความเป็นพ่อสู่ความเพื่อน แต่โอเค ในความเป็นพ่อก็มีเรื่องความปลอดภัย ความคุ้มครอง เรื่องเงิน ที่เหลือก็เป็นเพื่อนกันนี่แหละ


ติดตามบทความ ดร.เดชรัต พูดถึงความหมาย กลไก เครื่องมือของการเรียนรู้ในจักรวาลบอร์ดเกม แบบเต็มๆ ที่นี่ เดชรัต สุขกำเนิด: วาร์ปไปเข้าใจโลกที่ต่างโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ ด้วยบอร์ดเกม

Tags:

transformative learningบอร์ดเกมเดชรัตน์ สุขกำเนิด

Author:

illustrator

ณิชากร ศรีเพชรดี

แอดมิชชันเข้าคณะการเขียนและสิ่งพิมพ์เพราะคิดว่าเขาจะสอนให้เขียนนิยาย แทนที่จะได้เขียนจากจินตนาการ อาจารย์และทุกอย่างที่นั่นเคี่ยวกรำให้ทำ-คิด-เขียน-รู้สึกกับประเด็นสังคม ยังคงสนุก(มาก)กับงานสื่อสาร ฝันสูงสุดคือยังเข้มแข็งเขียนงานได้อย่างมีคุณภาพและฐานะดี

Related Posts

  • Voice of New Gen
    ชวนฟังเสียงจากคนรุ่นใหม่ Voice of new gen

    เรื่อง The Potential

  • Voice of New Gen
    Deschooling Game ถอดวิธีคิดคนสร้างเกม ออกแบบประสบการณ์อย่างไรให้รู้สึกรู้สมจนอยากเปลี่ยนแปลง

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษาณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ ธีระพงษ์ สีทาโส

  • Unique Teacher
    ครูปุ้ย วรีย์ สืบสมุท: ใช้ ‘บอร์ดเกม’ เสกคาบว่างในวิชาแนะแนวให้หายไป

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • Transformative learning
    เดชรัต สุขกำเนิด: วาร์ปไปเข้าใจโลกที่ต่างโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ ด้วยบอร์ดเกม

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Transformative learning
    ละครเวทีของเด็กสาธิต มธ. ห้องเรียนจริงบนเวทีจำลอง

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

ละครเวทีของเด็กสาธิต มธ. ห้องเรียนจริงบนเวทีจำลอง
Transformative learning
30 May 2018

ละครเวทีของเด็กสาธิต มธ. ห้องเรียนจริงบนเวทีจำลอง

เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • ในชีวิตจริงไม่มีใครเข้าใจใครได้ทั้งหมด แต่ถ้าต้องทำ ละครเวทีเป็นไฟต์บังคับให้ต้องตีความ เข้าใจ เพื่อสวมบทเป็นชีวิตคนอื่น ‘ให้ถึง’ ไม่ไปไม่ได้ เพราะยังมีทีมงานอีกหลายชีวิตรออยู่
  • เบื้องหน้าคือละคร เบื้องหลังคือการทำงานของครู ตั้งแต่เลือกประเด็นที่จะแสดง ชวนเด็กตีความตัวละคร ทำความเข้าใจประเด็นผ่านบริบทสังคม กระทั่งคิดต่อว่าควรจะมอบบทนี้ให้นักแสดงคนไหน ด้วยเงื่อนไขอะไรดี
  • ละครเวทีเรื่องนี้คือโปรเจ็คท์จบของนักเรียน ม.1 วิชาสุนทรียะทางศิลปะ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาครบมาเต็มตั้งแต่ทีมนักแสดง ฉาก ดนตรี และทีมคนดู
ภาพ: โกวิท โพธิสาร

อันที่จริง ‘ละครเวที’ กับนักเรียน ในฐานะกิจกรรมพิเศษไม่ใช่เรื่องใหญ่ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่กับวิชากลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ สุนทรียะทางศิลปะ (Appreciation of Arts) ณ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ละครเวทีถือเป็นหนึ่งในหลักสูตรของห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ในวิชาสุนทรียะทางศิลปะ เด็กๆ จะได้เวียนกันเรียน 4 วิชาย่อย คือทัศนศิลป์ ออกแบบ ดนตรี และละคร เมื่อจบภาคเรียน พวกเขาต้องจัดแสดงละครเวที ด้วยการเปิดห้องแสดงจริง แสงสีจริง มีผู้ชมจริง เสียงปรบมือและปฏิกิริยาผู้ชมจริง ทั้งต้องเผชิญหน้ากับความตื่นเต้นในฐานะนักแสดงและทีมงานที่ต้องการให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด… จริงๆ

แต่ศาสตร์ละครเวทีกับการเรียนรู้ในห้องเรียน ไปด้วยกันได้อย่างไร?

ครูแอม-นิธิ จันทรธนู ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายเครือข่ายและกิจกรรมพิเศษ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในครูวิชาสุนทรียะทางศิลปะบอกกับเราว่า

“(ละคร) พาเขาเดินทางไปพบมิติความรู้สึกแบบหนึ่งซึ่งในชีวิตจริงเขาอาจจะไม่ยอมไป แต่ละครเป็นไฟต์บังคับที่คุณต้องเป็นตัวละครตัวนี้และต้องพาการแสดงไปให้ถึงให้ได้ เพราะมันเป็นการรับผิดชอบในภาพรวมต่อหมู่คณะ”

ละครจึงไม่ใช่แค่กิจกรรมพิเศษ แต่คือเครื่องมือการเรียนรู้การเป็นมนุษย์ จำลองความรู้สึกของการเป็น ‘คนอื่น’ แสดงออกมาด้วยการ ‘ตีความ’ ที่อยากจะเข้าใจตัวละครนั้นมากที่สุด ไม่นับว่าระหว่างทางก่อนเปิดเวทีจริง เด็กๆ ต้องผ่านจุดปะทะ ต้องตีความ ต้องสื่อสารกับทีมงานเพื่อทำภารกิจให้สำเร็จลุล่วงกันหนักหน่วงขนาดไหน

The Potential ชวนมองประเด็น ละครเวที หนึ่งในเครื่องมือสำคัญของการเรียนรู้ ซึ่งขอเริ่มจากความคิดฝัน วิธีคิด และประสบการณ์ในการเป็นครูกระบวนกรของครูแอมก่อน จากนั้นชวนเข้าไปเปิดห้องเรียน วิชาสุนทรียะทางศิลปะ ดูว่าในห้องเรียนแบบนี้ สิ่งที่เด็กๆ ได้ (มากกว่า) เรียนรู้ คืออะไร

การเดินทางของ ‘ครูกระบวนกร’

จุดเริ่มต้นของครูแอม ของการเป็น ‘ครูกระบวนกร’ คืออะไร

เรียนครูมาโดยตรงที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ตอนเรียนตั้งคำถามกับตัวเองเยอะ ไม่แฮปปี้ ไม่อยากกลับเข้าโรงเรียนอีก แต่คิดว่าจะทำอะไรดีที่ยังได้ทำงานกับเด็กๆ อยู่ จากนั้นก็ได้เข้าไปทำงานอาสาสมัครกับกลุ่มมะขามป้อม รู้สึกว่า โห… มันไม่ใช่แค่ละครเนอะ แต่เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรู้ด้วย เราก็ได้พัฒนาวิทยายุทธ์ ฝึกปรือวิชา มีมุมมองประเด็นสังคมต่างๆ กลายเป็นว่าการทำงานที่มะขามป้อมตอบคำถามที่สงสัยตอนเรียนหนังสือหลายอย่าง

พอเดินทางไปเรื่อยๆ ก็ได้ทำงานกับเด็ก ลงไปจัดกิจกรรม โดยใช้กระบวนการศิลปะการละครและศิลปะอื่นๆ เข้าไปทำงาน จนวันหนึ่งรู้สึกว่าเราเดินทางเยอะเหมือนกันเนอะ ประสบการณ์ของเราน่าจะถูกแบ่งปันไปที่ใดที่หนึ่ง ตอนแรกตั้งใจว่าจะเปิดโรงเรียนหรือศูนย์การเรียนรู้ มีแผนว่าจะทำแล้ว แต่โรงเรียนสาธิตแห่งธรรมศาสตร์เปิดรับครูกระบวนกรจำนวนหนึ่ง ก็เลยมาสมัคร โดยเห็นว่าเราอาจจะมีอะไรบางอย่างแบ่งปันได้ และโรงเรียนนี้ก็เพิ่งสร้างใหม่ เพราะฉะนั้นมันต้องมีพื้นที่เยอะมากให้เราได้ทดลองอะไรใหม่ๆ หรือทำในสิ่งที่เราเชื่อ

คือพอเรามีฝันจะสร้างโรงเรียน มันก็เลย “เดี๋ยวไปดูก่อนมั้ย” ไปเป็นฟันเฟืองเล็กๆ อยู่สักตัวหนึ่งก่อน ดูว่ามีรายละเอียดอะไรบ้างในคำว่าโรงเรียน ปรากฏว่ามันมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ แต่ในรายละเอียดและข้อจำกัดหลายๆ อัน ก็มีพื้นที่ให้ได้ทดลองในฐานะครูเยอะเหมือนกัน

กลุ่มละครมะขามป้อมตอบปัญหาอะไรให้ครูบ้าง

เป็นไปได้มั้ยถ้าเราไม่เรียนอยู่แต่ในโรงเรียน เป็นไปได้ไหมที่เราจะไม่ต้องเป็นหมอ พยาบาล ครู หรือประกอบอาชีพทั่วไป ตอนนั้นเราอยากรู้ว่ามันมีอาชีพอะไรบ้างที่ทำงานโดยใช้ทักษะเฉพาะอย่าง เป็นทักษะที่เราชอบ และได้เดินทาง ได้ทำงานที่มีความหมาย ซึ่งตอนเด็กๆ เราคิดแค่ว่าทำอะไรที่มันดูเท่ๆ หน่อยดีมั้ย มันจะเท่มั้ยถ้าทำแบบนี้ (หัวเราะ)

แต่พอมาอยู่ที่มะขามป้อม ซึ่งทำงานหลายประเด็นตั้งแต่ทำให้เด็กรักการอ่านผ่านละครสร้างสรรค์ ทำหนังสือให้มีชีวิตได้ยังไง เท่าทันสื่อ ตั้งคำถามกับสื่อ พาเด็กลงชุมชนแล้วเห็นว่าสื่อถูกสร้างมาเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง ไปทำละครเพื่อการเปลี่ยนแปลงก็เห็นว่า

ละครมันเลียนแบบตรรกะการเป็นมนุษย์นี่นา ถ้าเราเข้าใจตรรกะการเป็นมนุษย์หรือตัวละครตัวหนึ่ง เราน่าจะมีเครื่องมือเพื่อกลับมาเข้าใจตัวเองเนอะ

หลายคำถามที่เคยสงสัย ถูกทำให้เห็นผ่านกระบวนการที่เราไปเป็นทีมงานทำประเด็นนั้นๆ ในมะขามป้อม น้องๆ ที่ไปค่ายเกิดการเปลี่ยนแปลง มีทักษะ มีคำถามและชวนหาคำตอบไปด้วยกัน เขาสะท้อนบางอย่างออกมามากกว่าสิ่งที่เห็น ไปไกลกว่าการคิดวิเคราะห์ การเข้าใจในเชิงลึก

ทำไมการเรียนรู้ในห้องเรียนจึงไม่ตอบคำถามเหล่านั้น

ห้องเรียนมันไม่เห็นจริง (ตอบทันที) ห้องเรียนเป็นกล่องสี่เหลี่ยมและก็มีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้น แต่การที่เราได้ไปสัมผัส ได้เห็นคน เห็นชุมชน เห็นเยาวชนจริงๆ น่าจะเป็นจุดที่ตอบคำถามเราได้หลายอย่างว่า จริงๆ มันมีข้อจำกัดแบบหนึ่ง สิ่งที่คิดไว้ สิ่งที่เรียนมา เช่น ศาสตร์ของครูบอกว่าสอนแบบนี้ถึงจะดี แต่พอลงไปแล้วพบว่าวิชาที่เรียนมามันใช้ไม่ได้เลย ลงสนามจริงมันมีเรื่องราวต่างๆ มากมายให้ได้ฝึกฝนตัวเอง

เช่นเรื่องเล็กๆ อย่าง ถ้าสมมุติเด็กๆ มาเข้าร่วมกิจกรรมปุ๊บ เขานั่งลง เราจะทำยังไงให้เขานั่งลง โฟกัส และเตรียมพร้อมสำหรับการจะเริ่มกิจกรรมต่อไป ถ้าสังเกตจังหวะการเรียนรู้ในเหตุการณ์นี้ดีๆ จะพบว่า อ๋อ… อย่างนี้แปลว่ายังไม่พร้อมในการเรียนรู้ แล้วสังเกตได้จากอะไรบ้าง

ร่างกายยังไม่นิ่งใช่มั้ย ลมหายใจยังไม่ปกติ จะทำให้ลมหายใจสู่ภาวะปกติต้องทำยังไง ต้องดึงดูดความสนใจ ให้มีโฟกัสที่เดียวกัน แล้วเราจะปูเรื่องยังไงจากการใช้น้ำเสียงของเรา เบาลงนิดนึงมั้ย พอเขาไปกับเรามากขึ้น การเรียนรู้ก็ค่อยๆ มากขึ้น

แค่เทคนิคเล็กๆ แบบนี้แต่มันสอนไม่ได้ในชั้นเรียน เทคนิคการเป็นวิทยากร เป็นคนจัดกิจกรรม หรือแม้แต่เทคนิคการเป็นครูก็ตาม เราเรียนครูมา วิธีการสอนในชั้นเรียนก็ค่อนข้างให้ความสำคัญกับการลงมือปฏิบัติ แต่ด้วยเวลาที่จำกัด มันก็น้อยมากเลยที่เราจะได้มีโอกาสลงไปสัมผัสเด็กๆ การกระโดดลงมาแล้วพาตัวเองไปผจญภัย ก็ทำให้เรามีโอกาสมากขึ้นในการจะพัฒนาตัวเอง

จากที่เคยได้เดินทาง เปลี่ยนห้องเรียนบ่อยๆ ทำไมจึงตัดสินใจกลับมาสอนห้องเรียนเล็กๆ ที่มีนักเรียนไม่มาก

คิดว่าถึงเวลามั้งครับ มันมีเงื่อนไขหลายอย่าง เดินทางไปเรื่อยๆ มันก็ดีนะ สนุกดี แต่ว่าเราจะดูแลคนอื่นไม่ได้ แต่ถ้าเราเลือกทำจริงจังแต่สิ่งนั้น มันอาจจะเหนื่อยมากๆ ก็ได้ เลยมองว่าอะไรนะที่เรายังได้ทำในสิ่งที่รัก และเกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในช่วงชีวิตเรา โรงเรียนนี้ตั้งต้นด้วยแนวคิดที่น่าสนใจ มีพี่ๆ หลายคนเข้ามาเป็นผู้ร่วมให้ข้อมูลความคิดเรื่องการก่อตั้ง เลยรู้สึกว่าน่าสนใจจังเลย ถ้าถามตัวเองว่าเราจะหยุดเดินทางแล้วมาผจญภัยที่นี่ ก็น่าจะมีเรื่องที่เหนื่อยแต่ลองดู ด้วยจังหวะชีวิตตัวเอง ด้วยความพร้อมและถึงเวลา ที่น่าจะพร้อมส่งต่อให้นักเรียน

ครูสอน ‘วิชาการละคร’

ครูใช้ศาสตร์ละครสอนอย่างไร

เวลาที่เราทำงานภาคสนาม เราเตรียมการไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ต้องเป็นการทำงานปลายเปิด เลยหยิบวิธีนี้มาใช้ที่โรงเรียน ลองใช้กลไกปลายเปิดนี้ในการพานักเรียนเดินผ่านประสบการณ์ทางความรู้สึก เช่น เล่นละคร วินาทีที่ซ้อมเป็นแบบหนึ่ง ช่วงก่อนแสดงเป็นแบบหนึ่ง บนเวทีแบบหนึ่ง และเล่นเสร็จแบบหนึ่ง

วิชานี้ เรียนอะไรบ้าง

หลักสูตรของโรงเรียนสาธิต มธ. แบ่งวิชาออกเป็นกลุ่มประสบการณ์ วิชานี้คือกลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ สุนทรียะทางศิลปะ (Appreciation of Arts) มี 4 วิชาย่อย คือทัศนศิลป์ ออกแบบ ดนตรี และละคร ตอนที่เราร่างหลักสูตรก็คุยกันว่าจะเริ่มจากทักษะที่ครูมี คือเรามีครูที่สอนทัศนศิลป์ ออกแบบ ครูที่จบทางดนตรี และมีครูละคร

ศิลปะของเราต้องเป็นศิลปะปฏิบัติ เพราะถ้าเราเชื่อในเครื่องมือศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นละคร ดนตรี ทัศนศิลป์ หรือออกแบบ ถึงเวลาศิลปะจะทำงานเอง วิธีคิดแบบนี้อาจจะดูศิลปินไปหน่อย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ต้องวางวิธีการเอาไว้เพื่อให้มันไปมากกว่าศิลปะ แต่คือการเรียนรู้การเป็นมนุษย์ในมิตินั้นๆ เพราะละครต้องทำงานร่วมกัน ต้องเอื้อคนอื่น ซัพพอร์ตคนอื่น การที่เราเห็นคนอื่น ทำให้เราเห็นตัวเอง

ละครที่หยิบมาแสดงในวิชานี้คือเรื่องอะไร

เรื่องแรก ‘ติสตู นักปลูกต้นไม้’ (Tistou les pouces verts เขียนโดย โมรีซ ดรูยง) วรรณกรรมเยาวชนที่มีประเด็นพูดถึงเรื่องสงคราม สันติภาพ ผ่านตัวละครหลักที่เป็นเด็กคนหนึ่งมีพ่อเป็นพ่อค้าอาวุธ แต่เด็กคนนี้กลับมีนิ้วหัวแม่มือสีเขียวซึ่งปลูกต้นไม้ได้ สุดท้ายเป็นคนทำให้บริษัทของพ่อเจ๊งเพราะเอาดอกไม้ไปปลูกในปืน ประเด็นจากเรื่องนี้ พอนึกว่าเป็นภาพอย่างไรในละครมันก็ดูตื่นตาตื่นใจและพูดโดยภาพรวมว่าโลกนี้มีสันติภาพน้อยมาก

เรื่องที่สอง ‘ยักษ์ลักเสียง’ เป็นโครงเรื่องจากละครเร่มะขามป้อม ใช้ในเวทีเสวนาเป็นละครเปิดประเด็นเพื่อจะพูดต่อเรื่องเสียงของเด็กว่าพวกเขามีสิทธิในการส่งเสียง การถูกรับฟัง ตั้งคำถามว่าผู้ใหญ่ต้องฟังรึเปล่า และใส่ประเด็นเล็กๆ ในสังคมเข้าไปในเพลง ตั้งคำถามว่ายักษ์นี่คือใครบ้าง เสียงนี่คือเสียงของใคร เสียงอะไร เสียงจริงหรือความเปรียบ แล้วเราก็ถามต่อว่าเรื่องเล็กๆ ใกล้ตัวที่เขาเจอคืออะไร แล้วถ้าเรื่องระดับประเทศหรือระดับโลกล่ะ? มันคือประเด็นอะไร มีใครขโมยเสียงใครเหรอในโลกนี้ เขาขโมยแต่เสียงเด็กหรือเปล่า หรือเป็นเสียงของคนจนที่ถูกขโมย เสียงของคนที่มีอำนาจน้อยกว่า คำถามพวกนี้ถูกตีความในเรื่องราวตอนที่เราทำละคร

ละครอาจไม่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงอะไร แต่มันจุดประกายความคิด ไปกระเพื่อมต่อในความทรงจำของเขา ละครบางเรื่องที่เขาได้ดูหรือได้เล่น มันจะทำให้เขาจำประเด็นนี้ ความรู้สึกนี้ไปตลอด นี่คือการปลูกเมล็ดพันธุ์ ปลูกด้วยประเด็นของเรื่อง ด้วยการทำให้รู้สึก ผ่านเรื่องราวบางอย่างที่ถูกตีความ

ทำไมต้องเลือกประเด็นที่ซับซ้อนและแฝงด้วยสัญลักษณ์ขนาดนี้กับนักเรียนชั้น ม.1

โจทย์สำหรับเด็กๆ ผ่านการเลือกและประเมินจากทีมครู ถ้าโจทย์ง่ายไปเขาก็จะดูถูกบทเรียน ถ้ายากไปเขาก็จะทำไม่ได้ เราเลยเลือกโจทย์ที่ (หยุดคิด) เรียกว่าอะไรดี ‘ตึงมือ’ ตึงมือพอสมควร คือมันไม่ง่ายนะ แต่ก็ไม่ได้ยากเกินเข้าใจ แต่อาจจะต้องมีกุญแจแบบ ‘อันนี้คืออะไร?’ ครูช่วยไขเป็นคีย์ให้หน่อยๆ พอมีคีย์แล้วเขาก็จะหันมา “โห ครู เขียนบทขนาดนี้เลยเหรอ?”

จริงๆ ดนตรีก็มีการออกแบบและเป็นโจทย์ที่ยาก เราให้โจทย์ที่เป็นนามธรรม เช่น ให้โจทย์เรื่องการเดินทาง การเดินทางต้องทำเสียงยังไง? หรือให้โจทย์ว่านี่คือเมืองมหัศจรรย์ เขาจะตีความเป็นเสียงแล้วถ่ายทอดออกมายังไง หรือแม้แต่โจทย์ทัศนศิลป์ก็ดี เราให้ตีความว่ายักษ์ตัวแดงจะเป็นแบบไหน ให้หาจุดอ้างอิง (reference) มาหน่อย บางคนคิดถึงยักษ์ไทย ยักษ์วัดแจ้ง หรือให้เด็กๆ ทำกำแพงอิฐจากอะไรก็ได้ ทุกคนก็รังสรรค์เต็มที่ มีฝั่งที่เป็นต้นไม้ ป่าไม้ แบบไหนก็ได้ ทุกคนก็เต็มที่และถือว่าตึงมือกันทุกฝ่าย

ละครกับการเรียนรู้ ไปด้วยกันได้อย่างไร

ตัวละครตัวหนึ่ง ย่อมมีความต้องการจะพาตัวเองไปเจออะไร มีความเชื่อเบื้องหลังอะไร ต้องลิงค์กับตัวละครอีกตัว เขาจะได้ขุดค้นความเป็นมนุษย์ว่า การเป็นตัวละครตัวนี้ เขาคิดอะไรอยู่เหรอ เขาเข้ามาในฉากนี้เพื่อความต้องการอะไร อยากจะบอกคนคนนี้ว่าอะไร เศร้ารึเปล่า ดีใจ อำลา หรือที่คือครั้งสุดท้ายที่จะได้เจอกัน ครูประเมินไว้แต่แรกแล้วว่ามีโจทย์ไหนที่น่าจะท้าทายเขา

(ละคร) พาเขาเดินทางไปพบมิติความรู้สึกแบบหนึ่งซึ่งในชีวิตจริงเขาอาจจะไม่ยอมไป แต่ละครเป็นไฟต์บังคับที่คุณต้องเป็นตัวละครตัวนี้และต้องพาการแสดงไปให้ถึงให้ได้ เพราะมันเป็นการรับผิดชอบในภาพรวมต่อหมู่คณะ

ชีวิตมนุษย์คนหนึ่ง พฤติกรรมที่แสดงออกเหมือนยอดภูเขาน้ำแข็ง แต่ภายใต้ภูเขานั้นมีความเชื่อ ความต้องการ มีภูมิหลังเยอะแยะ อันนี้คือมนุษย์หนึ่งคน ทีนี้ตัวละครหนึ่งตัวถ้าเทียบกับมนุษย์หนึ่งคน มันก็มีอีกหนึ่งตรรกะ มีอีกหนึ่งภูเขาน้ำแข็ง

เด็กต้องไปเข้าใจภูเขาน้ำแข็งของตัวละครตัวนั้นว่าที่ปรากฏแบบนี้ ตั้งคำถามแบบนี้ ลึกๆ แล้วเขามีความเชื่ออะไร มีความต้องการในชีวิตแบบไหน ถูกเลี้ยงดูและเติบโตมาในสภาวะแวดล้อมแบบไหน

แต่กระบวนการก่อนที่จะพาไปเข้าใจและสวมบทเป็นตัวละครนั้นมันต้องมีแหล่งอ้างอิงบางอย่างที่ต้องอ้างอิงกับชีวิตมนุษย์ ซึ่งก็ไม่รู้จะอ้างอิงตรงไหนนอกจากตัวเอง มันก็จะสะท้อนซึ่งกันว่ายิ่งนักเรียนเข้าใจ logic การปรากฏของตัวละครนี้และเบื้องหลังของตัวละครมากเท่าไร แปลว่าเขาน่าจะเข้าใจตัวเองในเบื้องลึกมากเท่านั้น

ถ้าละครตั้งคำถามว่า ทำไมตัวละครนี้ถึงมีพฤติกรรมแบบนี้ แปลว่าเบื้องหลังเขาต้องผ่านประสบการณ์บางอย่างมา สิ่งนั้นมันจะสะท้อนกลับมาสู่ชีวิตเขาเองว่า ถ้าเป็นเราแต่ต้องอยู่ในคาแรคเตอร์นี้ เรามีความเชื่ออะไร ผ่านการเลี้ยงดูแบบไหน ในสิ่งแวดล้อมอย่างไร

หรือแม้แต่กับนักเรียนคนอื่นๆ ที่เป็นผู้ชม เขาอาจจะเห็น ได้ไอเดียไปต่อ “อ๋อ… เสียงเดียวมันไม่ดังสินะ ต้องรวมกันหลายเสียงถึงจะมีพลัง” หรือว่า “อ๋อ… จริงๆ แล้วความเศร้าที่สุดของโลกนี้อาจเป็นเรื่องสงครามก็ได้ แล้วความร้ายกาจของสงครามอาจเป็นคนที่ค้าอาวุธสงคราม และความตายก็อาจจะมีมากกว่าการแก่ตาย สงครามอาจทำให้คนตายเร็วขึ้น ทั้งๆ ที่คนต้องตายอยู่แล้วก็ได้” คือมันอาจมีบางคำไปโดนใจเขา

งานศิลปะเป็นปลายเปิดมากๆ ถ้าเราเชื่อว่าศิลปะทำงานกับมนุษย์ มันจะโดนจุดไม่เหมือนกัน ผู้ชม คนดู ผู้เสพงานที่มีเบื้องหลังที่แตกต่าง ถ้านักขับเคลื่อนสังคมมาดูเรื่องนี้ก็จะตีความแบบหนึ่ง ถ้านักเรียนมาดู น้องคนอื่นๆ ที่ดูเรื่องนี้ก็อาจคิดอีกแบบหนึ่งก็ได้

น้องฮีโร่ แสดงเป็น ติสตู

ประเมินอย่างไรว่า ที่ทำอยู่นั้น มาถูกทางแล้ว

ถ้าในเรื่องการตีความ ตอนแรกเราให้เอาบทและเพลงมาอ่านก่อน เราก็แกล้งให้โจทย์เรื่องการตีความเล็กๆ ปรากฏว่าเด็กตีความได้ ก็เลยโอเค… ผ่านละ แปลว่าเราลุยต่อได้ พอลุยต่อ ที่เหลือเป็นเรื่องเทคนิคการละครแล้ว การจัดบล็อกกิ้ง การจำบท เป็นรายละเอียดเชิงเทคนิค ก็ค่อยๆ ฝึกกันไป

ทักษะพัฒนาได้ ส่วนเรื่องแก่นความคิด ถ้าให้อ่านเรื่องแล้วนักเรียนสะท้อนได้ว่าตัวละครเขาคิดแบบนี้นะ เขาเป็นแบบนั้นนะ หรือมีคำถามกับเรื่องแบบนั้นนะ แสดงว่าผ่านละ

หนึ่งปีที่ผ่านมา ประเมินตัวเองอย่างไร

จริงๆ อยู่ในช่วงทดลอง เราก็ไม่รู้ว่าควรเอาเรื่องเบากว่านี้ ซับซ้อนน้อยกว่านี้หรือมากกว่านี้ดี หนึ่งปีแรกนี้ก็เป็นช่วงทดลองของครูเหมือนกัน เราถือว่าเวทีนี้เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ของเด็กด้วย หลังจากนี้คุณครูก็ต้องพูดคุยถกเถียงกันว่า หนึ่งปีที่ผ่านมาเราดำเนินการแบบนี้ ใช้เครื่องมือทางศิลปะแบบนี้ มีประเด็นที่จะพาเขาไปในมิติอื่นๆ ของชีวิตแบบนี้ มันเป็นอย่างไรบ้าง แล้วถ้าปีหน้าจะต้องมีอะไรเพื่อทำซ้ำให้เกิดความเชี่ยวชาญ มีอะไรที่ถ้าไม่เวิร์คก็ควรเอาออกแล้วเราจะปรับเป็นอะไรรึเปล่า ถ้าพูดถึงการเดินทาง คุณครูเองก็กำลังเดินทางด้วยอยู่เหมือนกัน

แต่สิ่งที่อยู่ในใจเราตลอด คือถ้าเป็นครูต้องไม่ผูกขาดความรู้และความจริง จริงในมุมของเรากับของเด็กไม่เหมือนกัน ก็ต้องใช้เวลาดูกันต่อไป ในส่วนการจัดการหลักสูตร ตอนนี้เป็นช่วงไอเดียล้วนๆ ครีเอทีฟล้วนๆ ทดลองล้วนๆ และต้องขอบคุณนักเรียนมากๆ ที่มาทดลองกับครูรุ่นแรก ให้ทดลองและเรียนรู้ไปด้วยกัน

Tags:

เทคนิคการสอนก่อการครูนิธิ จันทรธนูศิลปะการแสดงโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์transformative learning

Author:

illustrator

ณิชากร ศรีเพชรดี

แอดมิชชันเข้าคณะการเขียนและสิ่งพิมพ์เพราะคิดว่าเขาจะสอนให้เขียนนิยาย แทนที่จะได้เขียนจากจินตนาการ อาจารย์และทุกอย่างที่นั่นเคี่ยวกรำให้ทำ-คิด-เขียน-รู้สึกกับประเด็นสังคม ยังคงสนุก(มาก)กับงานสื่อสาร ฝันสูงสุดคือยังเข้มแข็งเขียนงานได้อย่างมีคุณภาพและฐานะดี

Related Posts

  • Unique Teacher
    ครูปุ้ย วรีย์ สืบสมุท: ใช้ ‘บอร์ดเกม’ เสกคาบว่างในวิชาแนะแนวให้หายไป

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • Unique TeacherCreative learning
    ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์ : CREATIVE DRAMA วิชาดีๆ ที่เด็กไทยไม่ได้เรียน

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Unique Teacher
    ครูสอญอ: ผู้อำนวยการสร้างเยาวชนแห่งโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่าง

  • Creative learning
    MAGICAL CLASSROOM: ครูทุกคนต่างมีเวทมนตร์ในตัวเอง

    เรื่อง กิติคุณ คัมภิรานนท์

  • Transformative learning
    เดชรัต สุขกำเนิด: วาร์ปไปเข้าใจโลกที่ต่างโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ ด้วยบอร์ดเกม

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

TOP 5 ครูพูดอะไรที่ทำให้หัวใจเราพองโตที่สุด
Relationship
29 May 2018

TOP 5 ครูพูดอะไรที่ทำให้หัวใจเราพองโตที่สุด

เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • The Potential ชวนคุย กิจกรรมชวนเพื่อนๆ แชร์ประสบการณ์ในห้องเรียน อะไรที่ยังจำฝังใจ อะไรที่ยังไม่ลืม เพื่อร่วมกันหาว่า การเรียนที่ไม่ได้มีแค่ความรู้เชิงวิชาการแต่มาพร้อม ‘เหตุผลเชิงอารมณ์‘ ให้ผลลัพธ์อะไรบ้าง
  • คำตอบมีทั้งแบบจริงจังและสายตลก แต่ในความตลกก็ยังเห็นคีย์เวิร์ดบางอย่างที่บอกว่า ‘ก็ห้องเรียนไม่จำเป็นต้องเรียนอย่างเดียว แต่ต้องมีพื้นที่ให้เล่นจริงจังด้วย’
  • ศักยภาพของผู้เรียนจะฉายแววได้ ถ้ามีครูที่เห็นหัวใจของเขา มีสายตาและคำพูดที่สร้าง ‘ความเชื่อมั่น’ ช่วยส่องสะท้อนให้เด็กได้มองเห็นศักยภาพตัวเองชัดเจนขึ้น
  • ขณะเดียวกัน ครู -มนุษย์- เองก็ต้องการกำลังใจจากศิษย์และเพื่อนร่วมงานด้วยเช่นกัน

หลายครั้งที่คำพูดเดียว แต่ช่างชุบชูใจและผลักดันเราไปสู่การเปลี่ยนแปลงมหาศาล ขณะที่บางคำ บางช่วงเวลา สัมผัสเพียงแผ่วเบากลับทำให้เราต้องเดินหนี ไม่หันกลับไปอีกเลยตลอดกาล

เพราะเชื่อเช่นนั้นและอยากรู้ว่า ประสบการณ์ของแต่ละคนแตกต่างกันอย่างไร The Potential จึงชวนคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ‘ครูพูดอะไรที่ทำให้หัวใจเราพองโต’

หลังจากที่เราได้ชูตคำถามทางหน้าเพจเฟซบุ๊ค ปรากฏว่าโพสต์นี้ได้รับการตอบรับจำนวนมากทั้งจากนักเรียนและอดีตนักเรียน หลายๆ คำตอบให้เหตุผลใกล้เคียงกันว่า ‘ความสัมพันธ์’ มีผลต่อ ‘ลูกฮึด’ ในการเล่าเรียน เปิดหัวใจแห่งการเรียนรู้ เขายังคงจดจำจุดเปลี่ยนเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่มหาศาลจนถึงทุกวันนี้

เราเลยรวบรวมคำตอบของเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ มาจำนวนหนึ่ง โดยแบ่งเป็น

  • คำพูดที่ทำให้หัวใจเราพองโต
  • ครูไม่พูด แต่ ‘ทำให้เห็น’ จนหัวใจเราฟูฟ่อง
  • คำตอบยอดฮิต ‘วันนี้ครูประชุม’ ‘ยกเลิกคลาส’ นะครับ
  • คำพูดที่ทำให้หัวใจนักเรียนเกือบวาย ^^
  • คำพูดอื่นๆ สุดประทับใจ

คำพูดที่ทำให้หัวใจเราพองโต

ผู้ที่เข้ามาร่วมให้ความเห็นบอกคล้ายกันหลายคนว่า คีย์เวิร์ดคำพูดที่ทำให้หัวใจพองโตคือคำว่า ‘เชื่อมั่น’ ครูเชื่อมั่นว่านักเรียนทำได้ แต่แค่คำพูดอย่างเดียวคงไม่ทำให้นักเรียนยังฝังคำนี้อยู่ในใจไปแสนนาน แต่อาจหมายรวมถึงสายตา น้ำเสียง วิธีการปฏิบัติของครูที่เด็กๆ รับรู้ได้ว่าครูจริงใจ ครูเชื่อเช่นนั้นจริงๆ

ความสามารถ ทักษะ ต้องพัฒนาอย่างไรไว้ว่ากัน แต่ความเชื่อมั่นว่าเด็กๆ พัฒนาได้ หลายๆ คนยืนยันว่าเขาใช้มันเป็นกำลังใจต่อสู้เพื่อพัฒนาตัวเองต่อ

แต่โพสต์ที่ทำให้หัวใจของแอดมิน The Potential และมีลูกเพจกดไลค์ (และเลิฟ) ตามไปด้วยมากเช่นกัน ขอยกให้กับคำตอบนี้นะคะ

ในหัวข้อนี้มีอีกหนึ่งคำตอบที่ทำให้ชวนหัวใจพองฟูเช่นกัน คือ

“คำว่าขอโทษจากครู มีครั้งหนึ่งเราโดนตีโดยไม่ได้ทำอะไรผิดเลย เหมือนวันนั้นแค่ครูอารมณ์ไม่ดีแล้วเราอยู่ตรงนั้น เราเลยโดนตี ตอนนั้นจำได้เลยว่าโกรธมาก แต่สักพักครูเดินมาบอกว่าขอโทษ ตอนนั้นเราทั้งอึ้งทั้งดีใจ ไม่คิดว่าครูจะเดินมาบอกขอโทษเรา คนที่เป็นผู้ใหญ่และเป็นครูกล้าเดินมาพูดว่าขอโทษนักเรียนที่อายุน้อยกว่า เรามองว่ามันต้องใช้ความกล้ามากในการพูด เรื่องนี้ทำให้เรารักและเคารพครูแบบนี้ไม่เคยลืมเลย” – Phon Pitchaya

สื่อความหมายอย่างจริงใจว่า ครูทำผิดได้ โกรธเป็น เพราะเป็นมนุษย์ แต่การขอโทษและยอมรับว่าตัวเองทำผิดโดยไม่เกี่ยงลำดับอาวุโส นั่นก็คือการปฏิบัติกันแบบมนุษย์เช่นกัน #รักเลย 🙂

ครูไม่พูด แต่ ‘ทำให้เห็น’ จนหัวใจเราฟูฟ่อง

ครูบางคนก็ ‘ไม่พูดว่ารักนะแต่จะแสดงออก’ ซึ่งคำตอบของหลายๆ คนยืนยันชัดว่า ครูไม่จำเป็นต้องพูดหรอก เด็กๆ รับรู้ได้ รับรู้และฝังเป็นประสบการณ์เดิมที่มีคุณภาพ ใช้พลังแห่งความใจดีของครูท่านนั้น เป็นพลังขับเคลื่อนไปอีกแสนนาน

คำตอบแบบนี้มีมากจนขึ้นชาร์ต จนต้องจัดเป็นหนึ่งหมวดหมู่เลยค่ะ แต่คำตอบที่โดนใจเราที่สุด ขอยกให้…

#ซึ้ง และเราอยากเน้นคีย์เวิร์ดที่คุณเกียรติภพ สรุปว่า ‘สิ่งที่ป้าใหญ่ทำ ทำให้รู้สึกว่ามีคนที่เอาใจใส่เราจริงๆ’ ไม่ใช่แค่คำที่ทำให้คนอ่านยิ้มมุมปาก แต่มันคือชีวิตและพลังขับเคลื่อนของเด็กคนหนึ่งจริงๆ

คำตอบยอดฮิต ‘วันนี้ครูประชุม’ / ‘ยกเลิกคลาส’ นะครับ

ส่วนคำตอบยอดฮิตสำหรับโพสต์นี้ต้องยกให้คำตอบเกี่ยวกับการ ‘ยกเลิกชั้นเรียน’ แอดมินเองก็เช่นกัน (อิอิ) เป็นช่วงเวลาสุดคลาสสิกสำหรับนักเรียนประถมและมัธยมเลยนะคะ เมื่อไหร่ที่ครูเดินเข้ามาให้ห้องแล้วเอ่ยประโยคทำนองนี้ เด็กๆ เป็นต้องแอบเฮในใจ หัวใจพองฟูไม่หยุดเลยทีเดียว

ตอนเด็กๆ เราก็อาจจะดีใจนะคะ แต่พอโตเป็นผู้ใหญ่และรู้ว่าทำไมครูถึงต้องมีประชุมเยอะมากขนาดนี้ มันก็จะเศร้าแทนครูไทยหน่อยๆ

แต่ลึกลงไปที่เด็กๆ (และอดีตเด็กอย่างเรา) ดีใจ อาจถึง “เด็กชอบเล่น มากกว่าเรียน” “เด็กมีความสุขที่ได้ว่างเว้นจากการเรียนในห้อง” ดังนั้น การเรียนรู้อาจจะไม่จำเป็นต้องมีครูที่ต้อง ‘สอนเสมอ’ ครูไว้ใจปล่อยให้เด็กเรียนจากการเล่นหรือทำกิจกรรมด้วยตัวเอง ความไร้สาระที่มาจากการเล่นอาจจะเป็นสิ่งมีสาระขึ้นมาก็ได้

การว่างเว้นจากสาระอาจเป็นการเรียนรู้อย่างมีความสุข ที่ทำให้เด็กหัวใจพองโตก็ได้นะ ^^

คำพูดที่ทำให้หัวใจนักเรียนเกือบวาย ^^

ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อ คำตอบสายตลกของเรามีหลายกลุ่มจนต้องแบ่งมาอีกหนึ่งประเภท ครั้งที่แล้วเราตลกแบบเจาะจงคือครูบอกเลิกคลาส แต่โพสต์นี้ตลกแบบสุขเศร้าเคล้าน้ำตา ไม่ว่าจะเป็น

  • ถ้าไม่ตอบ ครูจะสุ่มเลขที่นะ
  • นักเรียน ส่งการบ้าน
  • ว่างมากเหรอ ครูจะนอน

และบางคำตอบ แม้จะตลก เห็นความสัมพันธ์บางอย่างของมนุษย์นักเรียนกับมนุษย์ครู แต่บางครั้งก็เป็นวีรกรรมขำขัน แต่บางครั้งก็… ฝังใจให้เราตั้งแง่กับระบบการศึกษาและคำว่าครูไปเลยก็มี

แต่โพสต์ที่ยกมานี้ ขอให้พื้นที่กับความ หัวเราะร่าแต่น้ำตาริน เหมือนเวลาเห็นเพื่อนโดนตีแต่เราแอบขำแล้วกันนะคะ ^^


คำพูดอื่นๆ สุดประทับใจ

ส่วนหัวข้อนี้เป็นข้อความที่เราได้แลกเปลี่ยนความเห็นจากผู้ที่ติดตามเพจ ชวนเราคิดต่อว่า ‘แล้วเคยเห็นนักเรียนพูดให้กำลังใจ จนหัวใจครูพองฟูบ้างไหม’ โดยมีข้อชวนกันคิดต่อว่า ไม่ใช่แค่เด็กที่ต้องการกำลังใจ ครูเองก็เช่นกัน ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ที่ทางทีมงานนำไปทำงานกันต่อไป ?

The Potential ชวนคุย

สุดท้ายแล้ว อยากชวนคุยค่ะว่า คำตอบทั้งหมดที่ได้มา สะท้อนอะไรบ้าง

สังเกตว่า ‘การพองโตของหัวใจ’ จากประสบการณ์ ได้ถูกบันทึกไว้ในความทรงจำอันยาวนาน เพราะนั่นเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์การเรียนรู้ สอคคล้องกับทฤษฎีทางสมองกับการเรียนรู้ ที่สมองเรียนรู้ด้วยความรู้สึก (Emotional in Learning) ยิ่งรู้สึกมากทั้งรู้สึกสุขและทุกข์ จะเก็บจำเป็นประสบการณ์อย่างยาวนานในสมองส่วน working memory ส่วนเดียวกับ limbic system มันพร้อมใช้งานได้อยู่ตลอดเวลา ถ้าหยิบศักยภาพนั้นมาใช้ได้ถูกจังหวะและสถานการณ์  

ศักยภาพของผู้เรียนจะฉายแววได้ ถ้ามีครูที่เห็นหัวใจของเขา สายตาที่มองเห็น คำพูดที่สร้าง ‘ความเชื่อมั่น’ จะช่วยส่องสะท้อนให้เด็กได้มองเห็นศักยภาพตัวเองชัดเจนขึ้น สำคัญอีกอย่าง คือ การกระทำที่แสดงถึง ‘ความเอาจริงเอาจัง’ เพราะอยากให้ลูกศิษย์ทำได้ ครูไม่เพียงรอคอยได้แต่ก็เร่งและขับเคี่ยวให้เขาทำได้จริง การอยู่ตรงนั้นกับผู้เรียน (being with the flow) จึงเป็นพฤติกรรมที่มีความหมายมากกับการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเห็นได้ชัด

ปิดท้ายด้วย ครูเองก็ต้องการ ‘พลังแห่งถ้อยคำ’ จากลูกศิษย์ เพื่อชุบชูจิตใจให้มีพลังในการสอนเช่นเดียวกัน เหมือนตั้งคำถามให้ครูเองได้ตระหนักดูแลพลังงานในการสร้างการเรียนรู้ของตัวเอง

เพราะการสอน ครูเองก็เผชิญหน้ากับความกลัว ความกังวล ที่มาจากความไม่รู้ของครูเช่นเดียวกัน ไม่รู้ว่าเด็กจะรู้เรื่องไหม ไม่รู้ว่าเด็กจะทำข้อสอบได้ไหม ถ้าทำไม่ได้ครูเองก็รู้สึกผิด เพราะทุกครั้งการเรียนรู้มันอยู่ที่ขอบ ‘ครู คือ มนุษย์’ อีกคนหนึ่งที่กำลังยืนอยู่ตรงนั้น ที่มองเห็นลูกศิษย์กำลังก้าวข้ามขอบศักยภาพของตนเอง ได้อย่างมั่นคง

Tags:

ครูจิตวิทยาปม(trauma)การเติบโต

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Illustrator:

illustrator

บัว คำดี

เติบโตมากับเพลงป็อปแดนซ์ยุค 2000 เริ่มเป็นติ่งวงการ k-pop ในวัยมัธยม มีเพลงการ์ตูนดิสนีย์เป็นพลังใจในทุกช่วงวัยของชีวิต

Related Posts

  • Relationship
    ทำไมเราถึงชอบเป็นผู้ให้และลำบากใจที่จะเป็นผู้รับ? ชวนมอง “การให้” ที่อนุญาตให้ผู้อื่นเป็นผู้ให้บ้าง

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ MACKCHA

  • Family Psychology
    THEY ARE WHAT YOU TEACH ลูกพ่อแม่ชอบสั่ง ไม่ชอบสอน

    เรื่องและภาพ SHHHH

  • Unique Teacher
    ‘ครูหยกฟ้า’ ไพลิน ลิ้มวัฒนชัย: ครูแนะแนวมีอยู่จริง จริงๆ

    เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Dear Parents
    สงครามกลางบ้าน: อย่าคิดว่าเด็กไม่รู้ว่าผู้ใหญ่ทะเลาะกัน

    เรื่อง The Potential

  • Education trend
    ถึงเวลาเอาคะแนน ‘ยกมือตอบในห้อง’ ออกได้หรือยัง?

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

‘เจ้านาย’ ผู้หันหลังให้ร้านเกมแล้วเดินเข้าสวนมะพร้าว
Creative learning
28 May 2018

‘เจ้านาย’ ผู้หันหลังให้ร้านเกมแล้วเดินเข้าสวนมะพร้าว

เรื่องและภาพ The Potential

  • จากเด็กหนุ่มติสต์แตก มีบ้านเป็นร้านเกม จู่ๆ ก็ทิ้งทุกอย่างแล้วมุ่งหน้าเข้าสวนมะพร้าว
  • เรื่องทั้งหมดเริ่มต้นจากความอยากเท่ตามประสาวัยรุ่น แต่พอได้ลงมือทำจริงๆ ความเท่ก็ถูกสะกดใหม่กลายเป็น ‘ศักยภาพ’
  • สนใจ เรียนรู้ ลงมือทำ ผิดพลาดก็ฮึดใหม่ คือเคล็ดลับ ‘วิชามะพร้าวเผา’ – วิชานอกห้องเรียนที่ได้คะแนนเป็นประสบการณ์และชีวิตที่เปลี่ยนตลอดไป

เพราะฝันอยากมีรูปตัวเองเท่ๆ อยู่ในหนังสือกับเขาบ้าง…

นั่นคือแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้ นาย-เปรมจิณณวัตร ลาภภูต หนุ่มน้อยจากบ้านทุ่งมน ตำบลห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษในปี 3

เส้นทางของนาย อาจจะดูแปลกไปจากคนอื่นๆ ที่ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ จุดเริ่มมาจากการได้เห็นรูปของเพื่อนอยู่ในหนังสือถอดบทเรียน “พลังเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ปี 2” เลยลองเปิดอ่านดู และพบว่าในหนังสือมีเรื่องราวสนุกๆ จนรู้สึกอยากลงมือทำโครงการกับเขาบ้าง จึงตัดสินใจถามข้อมูลจากตุ้ยนุ้ย-หนึ่งในเพื่อนที่อยู่ในหนังสือ และตบปากรับคำเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีม

นายยอมรับว่าเดิมเป็นคนโลกส่วนตัวสูง ไม่สนใจใคร ไม่เว้นแม้กระทั่งคนในครอบครัว กลับจากโรงเรียนก็จะรีบเข้าบ้าน เปิดทีวี เล่นเกม วันไหนวันหยุดก็ขับรถเข้าร้านเกมทันที จะให้มาสนใจคนรอบข้างบอกได้เลยว่า – ไม่มี

วิชามะพร้าวเผา

หนทางสู่การเรียนรู้นอกห้องเรียนเกิดขึ้นจากการทำโครงการเพื่อชุมชน ชื่อว่า ‘โครงการมะพร้าวเผาของดีประจำหมู่บ้านทุ่งมน’ ร่วมกับเพื่อนๆ ในทีม

อยากทำเรื่องมะพร้าวเผา แต่ไม่มีใครมีความรู้เรื่องนี้เลยสักคน ทำอย่างไรถึงจะรู้…

คำตอบที่ได้คือ ต้องพาตัวเองไปเรียนรู้…นายและเพื่อนลงพื้นที่ สอบถามข้อมูลจากคนในชุมชน ไปพบปะผู้คนที่ทำสวนมะพร้าว สำรวจจำนวนมะพร้าวสวนในชุมชน ราคาขายของมะพร้าวเผา รวมถึงเทคนิคการเผามะพร้าว

นายอาสาทำหน้าที่สำรวจจำนวนต้นมะพร้าว เพราะคิดว่าน่าจะง่ายที่สุด

“ตอนนั้นผมอาสาทำหน้าที่นี้ เพราะคิดว่าคงไม่ยาก แค่เดินเข้าไปในบ้านที่เขามีต้นมะพร้าวแล้วไปขอนับต้นมะพร้าว ตอนนั้นรู้สึกสนุกที่ได้เข้าไปบ้านโน้น ออกบ้านนี้”

จากคนที่ไม่เคยสนใจใคร เมื่อต้องเข้าไปนับต้นมะพร้าวของบ้านแต่ละหลัง ทำให้นายค่อยๆ พาตัวเองเข้ามาใกล้ชิดกับชุมชนมากขึ้น จากเดิมที่ตื่นเช้ามาเข้าร้านเกมก็เปลี่ยนมาเป็นเข้าสวนมะพร้าวแทน จากคนมีโลกส่วนตัวสูงก็เริ่มเดินออกจากโลกของตัวเอง เข้ามาพูดคุยกับลุง ป้า น้า อารอบบ้านมากขึ้น

ต่อมาเมื่อสืบค้นจนทราบขั้นตอนการทำมะพร้าวเผาตามแบบฉบับของชุมชนทุ่งมนแล้ว ด้วยความร้อนวิชา ทำให้สมาชิกทุกคนในทีมอยากลองเผามะพร้าวด้วยตัวเอง แต่ก็ล้มไม่เป็นท่า การทำมะพร้าวเผาไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

คว้าน้ำเหลวจนสำเร็จ

“ผมต้องปีนเก็บลูกมะพร้าว ครั้งแรกลูกมะพร้าวร่วงมาแตกเกือบหมด แทบจะใช้ไม่ได้เลย จนมารู้เทคนิคว่าก่อนตัดต้องเอาเชือกผูกไว้ก่อน หลังจากตัดเสร็จค่อยๆ ปล่อยเชือกลงมา เพื่อลดแรงกระแทกของมะพร้าว”

ไม่ใช่เพียงแค่การเก็บมะพร้าวที่ต้องมีเทคนิค แต่ทุกขั้นตอนของการเผามะพร้าวพวกเขาต้องค่อยๆ เรียนรู้ไป ผิดบ้าง ถูกบ้าง ขั้นตอนที่ไหนที่ผิดพลาดไปก็ค้นหาเหตุผล จนค่อยๆ แก้ไขไปทีละขั้นตอน ทั้งสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ต เช็คความถูกต้องจากคนทำมะพร้าวเผาจริงๆ ก่อนจะนำข้อมูลที่ได้มาทดลองทำด้วยตัวเองเพื่อค้นหาคำตอบ

จากคนที่ไม่เคยมีทักษะในการเผามะพร้าวเลย ไม่รู้แม้กระทั่งสายพันธุ์ของมะพร้าว แต่ทุกวันนี้ไม่ว่าจะถามอะไร ขั้นตอนไหน นายและเพื่อนในทีมตอบได้หมด

นานาแบบฝึกหัดนอกห้องเรียน

ไม่ใช่เพียงแค่การลงมือทำโครงการในชุมชนเท่านั้นที่กระตุ้นให้นายเกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวเอง แต่กิจกรรมเวิร์คช็อปโดยพี่เลี้ยงโครงการพลังเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษที่ออกแบบให้เยาวชนทุกทีมต้องนำเสนอผลงานของตนเองคือหนึ่งปัจจัยที่ทำให้นายกลายเป็นคนกล้าพูด กล้านำเสนอ

“เหตุผลที่เรายอมลุกออกมาจากพื้นที่ส่วนตัว เพราะเห็นว่าเพื่อนบางคนพูดไม่ได้ ไม่กล้าพูด เพราะยังเขินอาย แต่สิ่งที่ทำให้ผมกล้าพูด คือ เรารู้ข้อมูล เราเลยไม่กลัวที่จะลุกออกไปพูดหน้าเวที”

ความเปลี่ยนแปลงของนายยิ่งฉายแววชัดเจนยิ่งขึ้นในงานมหกรรมหนังกลางแปลงที่เขาและเพื่อนๆ ได้นำสารคดีเกี่ยวกับมะพร้าวเผาบ้านทุ่งมนฝีมือตัวเองไปเปิดให้คนในชุมชนได้รับชม

“วันนั้นผมไม่คิดว่าตัวเองจะทำได้ ตอนแรกก็หวั่นใจกลัวว่าคนที่เข้ามาชมนิทรรศการในบูธของเราจะถามอะไรเราบ้าง จะตอบได้ไหม แต่พอถึงเวลาจริงๆ ผมไม่รู้เหมือนกันว่าความกล้าของผมมาจากไหน ผมทักทายผู้คนที่แวะเวียนเข้ามาดู หยิบใบแนะนำโครงการให้คนที่เข้ามาชม พูดคุยกับเขา ตอบคำถามได้หมดเลย”

จากเด็กชายคนหนึ่งที่ไม่สนใจโลกภายนอก ชีวิตอยู่แค่ในโลกของเกมออนไลน์ แต่เมื่อเขาได้ทำโครงการในชุมชนกลับพบว่า โลกความเป็นจริงสนุกกว่าโลกในเกมเป็นไหนๆ การได้แก้ปัญหาด้วยตัวเอง ได้ลงมือทำจากสิ่งที่ไม่รู้จนเกิดเป็นความชำนาญ ส่งผลให้นายในวันนี้กลายเป็นคนที่มีความรู้ในเรื่องมะพร้าวเผาทุ่งมนไปโดยปริยาย

“ส่วนหนึ่งเพราะมีโอกาสได้ลงมือทำ เหมือนที่โครงการพาให้เราได้ลองทำ ได้ลองพูด เราเลยรู้ว่าเราจะต้องทำอะไร พูดอย่างไร ยิ่งได้พูดในหลายๆ เวทีก็ยิ่งทำให้ตัวเองกล้าขึ้น ”

สู้ต่อไปนะนาย!

Tags:

คาแรกเตอร์(character building)เกษตรกรศรีสะเกษactive citizenproject based learning

Author & Photographer:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Related Posts

  • Everyone can be an Educator
    ‘ครูแอ๊ด’ ผู้ร้อยเด็กๆ เข้ากับผ้าไหมชาวกวย

    เรื่องและภาพ The Potential

  • Character building
    รู้อะไรก็ไม่สู้ ลองดูแล้ว ‘ลงมือทำ’

    เรื่อง

  • Everyone can be an Educator
    “เด็กจะโต ต้องออกจากห้องเรียน” ครูเร-เรณุกา หนูวัฒนา

    เรื่อง ขวัญชนก พีระปกรณ์

  • Character building
    “ผมอยากจะเป็นชาวสวน” เรื่องเท่ๆ ของเด็กหนุ่มที่หา PASSION เจอ

    เรื่อง

  • Character building
    กฎข้อที่ 1 ของการเป็นคนกล้า คือการเผชิญหน้ากับความกลัว

    เรื่อง The Potential

พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์: เพราะรักจึงไม่ปล่อยให้ลูกเจ็บปวด ‘เลย’ ?
Family Psychology
28 May 2018

พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์: เพราะรักจึงไม่ปล่อยให้ลูกเจ็บปวด ‘เลย’ ?

เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • ไปรับไปส่ง ให้เงินเดือนแม้ลูกทำงานแล้ว โทรหาอาจารย์ถามว่าทำไมเกรดลูกไม่ดี แก้ปัญหาให้ทุกเรื่องไม่เว้นเรื่องส่วนตัว ถ้าเป็นเกือบทั้งหมด คุณเข้าข่ายมนุษย์พ่อแม่ ‘เฮลิคอปเตอร์สไตล์’
  • พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์ จะบินวนใกล้ลูกตลอดเวลา พร้อมเสมอที่จะโฉบไปจัดการกับปัญหาให้เมื่อเห็นสัญญาณ-แค่เห็นและตีความว่าลูกมีปัญหา ก็กดปุ่มลงจอดฉุกเฉินแลนดิ้งไปช่วยทันที
  • นี่คือสาเหตุหนึ่งทำให้ชาวมิลเลนเนียลถูกหาว่า เป็นลูกแหง่ ไม่ยอมโต ไม่อดทน ไม่เป็นอิสระ แก้ปัญหาตัวเองไม่ถูก

หลายคนลงความเห็นว่าวัยรุ่นสมัยนี้ไม่อดทน ขี้โวยวาย ลนลาน ไม่มีสมาธิ คิดว่าตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาล และบุคลิกอื่นๆ ที่อาจทำให้ผู้ใหญ่หลายคนส่ายหัว แต่ทำไมวัยรุ่นสมัยนี้จึงมีบุคลิกรวมหมู่ นิสัยคล้ายกัน (จนมีคำสบประมาทแบบเหมารวม) พวกเขาถูกเลี้ยงมาอย่างไร ด้วยพ่อแม่ที่มีบุคลิกแบบไหน แล้วทำไมพ่อแม่จึงเลี้ยงลูกวัยรุ่นยุคใหม่ให้โตมามีนิสัย (เกือบ) คล้ายกันหมดแบบนี้?!

อาจตอบไม่ได้ทั้งหมด แต่บุคลิกของคุณพ่อคุณแม่รุ่นใหม่มีอาการคล้ายกันอย่างหนึ่งที่เรียกว่า ‘helicopter parents’ หรือ พ่อแม่ที่มีลักษณะคล้ายเฮลิคอปเตอร์ ที่จะบินวนอยู่ใกล้ลูกตลอดเวลา เตรียมพร้อมเสมอที่จะโฉบไปจัดการกับปัญหาให้ลูกทุกครั้งที่เห็นสัญญาณ-แค่เห็นและตีความว่าลูกมีปัญหา ก็กดปุ่มลงจอดฉุกเฉินแลนดิ้งไปช่วยทันที

ด้วยวิธีการแบบนี้ เป็นไปได้ที่วัยรุ่นยุคใหม่ จะไม่ได้เข้าใกล้คำกล่าว “เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด” เพราะยังไม่ทันได้เจ็บปวด ก็มีคนเข้ามาจัดการให้เรียบร้อยแล้ว

ที่มา helicopter parents

คำว่าพ่อแม่แบบ ‘เฮลิคอปเตอร์สไตล์’ ถูกพูดถึงตั้งแต่ต้นปี 2000 ยุคที่ชาวมิลเลนเนียลรุ่นแรกๆ (millennials ผู้ที่เกิดช่วงปี 1981-1997) กำลังอยู่ในช่วงหนุ่มสาว (young adulthood) โตขึ้นมากับช่วงเหตุการณ์ 911 และการล่มสลายของเศรษฐกิจ 2 ครั้ง คือปี 2000 และปี 2008 พ่อแม่ของพวกเขาจึงห่วงและกลัวอนาคตของลูกๆ ตัวเองเป็นพิเศษ

กังวลขนาดไหน?

ขนาดที่ อาจขอเข้าไปอยู่หน้าห้องตอนลูกๆ สัมภาษณ์เข้าทำงาน โทรหาอาจารย์ที่โรงเรียนหรือกระทั่งในมหาวิทยาลัย สงสัยว่าทำไมลูกได้เกรดไม่ดี ไปรับไปส่งทุกการเดินทาง กิจวัตรประจำวันในบ้านพ่อแม่จัดการให้ เด็กๆ ไม่ต้องทำกับข้าว เย็บผ้า ซักผ้าตากผ้าของตัวเอง หรือถ้าทำเป็น ก็แค่พอทำเป็น แต่ไม่ใช่หน้าที่หลักในชีวิตประจำวัน

เหมือนจะดี แต่ส่งผลอะไรต่อลูกๆ?

ยังไม่มีรายงานวิจัยที่ฟันธงหรือพูดเรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่รายงานจำนวนหนึ่งบอกว่า ‘เฮลิคอปเตอร์สไตล์’ กำลังแพร่ระบาด เช่นรายงานปี 2009 เรื่อง Helicopter Parents: Examining the Impact of Highly Involved Parents on Student Engagement and Educational Outcomes โดยมหาวิทยาลัยอินเดียนา ระบุว่า นักศึกษาใหม่ 38 เปอร์เซ็นต์ และ นักศึกษารุ่นพี่ 29 เปอร์เซ็นต์เผยว่า พ่อแม่เข้ามาก้าวก่ายหรือช่วยแก้ปัญหาอยู่บ่อยครั้ง

หรืองานสำรวจโดย Pew Research Survey ปี 2013 ระบุว่า 73 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใหญ่วัย 40-50 ปี ยังให้เงินสนับสนุนอื่นๆ ที่ไม่ใช่เงินสนับสนุนในทางการศึกษาแก่เด็กๆ อยู่

บทความล่าสุดเรื่อง What Millennials Say About Their Parents During Therapy หรือ ชาวมิลเลนเนียลพูดถึงพ่อแม่อย่างไรระหว่างคุยกับนักจิตบำบัด ข้อมูลจาก เดโบราห์ ดูลีย์ (Deborah Duley) นักจิตบำบัดและผู้ก่อตั้ง Empowered Connections องค์กรให้คำปรึกษาเฉพาะทางประเด็นผู้หญิงและความหลากหลายทางเพศ

ดูลีย์ ร่วมกับเพื่อนนักจิตบำบัดคุยกันว่า ผู้เข้าบำบัดอายุระหว่าง 20-30 ปี พูดถึงพ่อแม่อย่างไรระหว่างจิตบำบัด ข้อแรกเลยคือ เพราะโตมากับพ่อแม่เฮลิคอปเตอร์ จึงไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวเลย

“มันเป็นปัญหานะที่พ่อแม่ของลูกชายอายุ 28 โทรหาฉันเพื่อขอดูตารางเวลาเข้ารับจิตบำบัด พ่อแม่ชาวมิลเลนเนียลได้รับสมญานามว่าเป็นเฮลิคอปเตอร์สไตล์ มันทำให้ลูกๆ ของเขาไม่มีอิสระ ไม่รู้ว่าจะจัดการปัญหาของตัวเองอย่างไร”

ทารา กริฟฟิธ (Tara Griffith) นักจิตบำบัดกล่าว

ปัญหาอื่นที่ดูลีย์อธิบาย คือ พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์เข้าไปจัดการปัญหาการเงินให้ลูกๆ ไม่ได้สอนให้จัดการกับอารมณ์ และ พ่อแม่เฮลิคอปเตอร์ ก็กำลังจะกลายเป็นคุณตาคุณยายแบบ เฮลิคอปเตอร์สไตล์ ด้วยเช่นกัน

แต่จะเปลี่ยนพ่อแม่เหรอ? เปลี่ยนตัวเองง่ายกว่า

อันที่จริงต้องกล่าวว่า จะเปลี่ยน ‘คนอื่น’ เหรอ เปลี่ยนที่ตัวเองสิ เวนดี โมเกล (Wendy Mogel) นักจิตวิทยาคลินิก ผู้เชี่ยวชาญด้านครอบครัวและการเลี้ยงเด็กกล่าวว่า แนวคิดเรื่องพ่อแม่แบบเฮลิคอปเตอร์สไตล์ จุดประสงค์เพื่อให้ลูกรู้เท่าทันว่าทำไมเราจึงมีนิสัยแบบนี้ ถูกเลี้ยงดูมาด้วยสิ่งแวดล้อมแบบไหน แต่ข้อเท็จจริงคือ เราจะเปลี่ยนใครได้ นอกจากตัวเอง

“ไม่มีทางที่พ่อแม่คุณจะตื่นขึ้นมาแล้วเข้าใจว่าวิธีเลี้ยงลูกแบบนี้เป็นปัญหาอย่างไร พวกเขาเห็นว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นถูกต้องและมีเจตนาดี”

กลับกัน การนอนกอดตัวเอง เฝ้าโทษแล้วโยนความผิดทั้งหมดลงบนบ่าของพ่อแม่โดยไม่แก้ไขปัญหานั้นไม่ช่วยอะไร เพียงแต่เข้าใจที่มาที่ไปของพ่อแม่ เข้าใจความผิดพลาดที่ผ่านมาแล้วเดินหน้าพัฒนาอิสรภาพของตัวเองโดยไม่ต้องรอให้พ่อแม่เปลี่ยน แม้จะดูพูดง่ายแต่ทำยาก  ทว่าน่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

ที่มา: 

5 Signs You Were Raised By Helicopter Parents

Tags:

วัยรุ่นคาแรกเตอร์(character building)overprotective parentการเติบโตพ่อแม่

Author:

illustrator

ณิชากร ศรีเพชรดี

แอดมิชชันเข้าคณะการเขียนและสิ่งพิมพ์เพราะคิดว่าเขาจะสอนให้เขียนนิยาย แทนที่จะได้เขียนจากจินตนาการ อาจารย์และทุกอย่างที่นั่นเคี่ยวกรำให้ทำ-คิด-เขียน-รู้สึกกับประเด็นสังคม ยังคงสนุก(มาก)กับงานสื่อสาร ฝันสูงสุดคือยังเข้มแข็งเขียนงานได้อย่างมีคุณภาพและฐานะดี

Related Posts

  • MovieDear Parents
    Boyhood: ครอบครัว แตกสลาย เติบโต

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Family Psychology
    ‘วิชาแพ้’ พ่อกับแม่แค่ปล่อยและคอยนั่งอยู่ข้างๆ

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • Life classroom
    ทรอย ซีวาน: เพราะผมรักในเสียงเพลง ดนตรี และการเป็นเกย์

    เรื่อง ชลิตา สุนันทาภรณ์

  • How to get along with teenager
    โตขึ้นอยากเป็นอะไร คำถามง่ายแต่ตอบไม่ได้จริงๆ

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • 21st Century skills
    เพราะความรู้ปัจจุบันไม่เพียงพอ ‘โรงเรียนอนาคต’ จะทำให้เด็กอยู่รอดและไปต่อในโลกที่เปลี่ยนแปลง

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

กล้าที่จะสอน: ตัวตน ซื่อตรง เสมอภาค และหัวใจที่ไม่หวั่นกลัวของคนเป็นครู
Book
27 May 2018

กล้าที่จะสอน: ตัวตน ซื่อตรง เสมอภาค และหัวใจที่ไม่หวั่นกลัวของคนเป็นครู

เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • ‘กล้าที่จะสอน’ รวบรวมจากการพูดคุยกับครูในพื้นที่ต่างๆ จนได้ข้อสรุปว่า การสอนที่ดีไม่ใช่แค่เรื่องเทคนิค แต่มาจากตัวตน ความซื่อตรง ความรักในอาชีพและความมีสำนึกในวิชาชีพของครู
  • ‘กล้าที่จะสอน’ สื่อสารอย่างตรงไปตรงมาถึงข้อบกพร่องและข้อผิดพลาดของครู โดยเฉพาะเรื่อง ‘ความกลัว’ แล้วจึงคืนความเป็นตัวเอง
  • “ไม่ใช่เพียงเพราะเธอต้องการให้ครูช่วยเหลือเธอให้ก้าวหน้าเท่านั้น แต่ครูก็ต้องการสติปัญญาและพลังชีวิตของพวกเธอที่จะช่วยให้ชีวิตของครูสดใหม่มีพลังไปด้วย” หัวใจที่หวั่นกลัวของครู หน้า 109
ภาพ: นัฐยากร บุญเกิด / วิภาวรรณ เผือกเชาว์ไวย์

“ในการเผชิญกับการตัดสินของคนหนุ่มสาว ครูต้องหันเข้าหานักศึกษาแทนที่จะหันหน้าหนี แล้วพูดกับพวกเขาว่า “มีช่องว่างที่ใหญ่มากระหว่างเรา แต่ไม่ว่ามันจะกว้างและต้องเสี่ยงเพียงใด ครูให้สัญญาว่าเชื่อมมันให้ได้ ไม่ใช่เพียงเพราะว่าเธอต้องการให้ครูช่วยเหลือเธอให้ก้าวหน้าเท่านั้น แต่ครูก็ต้องการสติปัญญาและพลังชีวิตของพวกเธอที่จะช่วยให้ชีวิตของครูสดใหม่มีพลังไปด้วย” หัวใจที่หวั่นกลัวของครู หน้า 109

“แต่สำหรับครูบางคนที่ให้ความใส่ใจกับเรื่องราวเหล่านี้ ไม่มีความแตกต่าง ไม่ว่าเราจะให้นิยามชุมชนว่าเป็นพื้นที่แห่งปฏิสัมพันธ์ที่เปิดเผยชัดเจน เป็นละครหรือการสนทนาภายใน ครูเหล่านี้อ้างว่าการศึกษาจะไม่สามารถบรรลุความเป็นชุมชนในรูปแบบใดๆ ตราบที่ความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนเป็นไปอย่างไม่เสมอภาคกันทั้งในเชิงสถานะและอำนาจ…

“…ภัยคุกคามที่แท้จริงของชุมชนในห้องเรียน ไม่ใช่ความแตกต่างในอำนาจและสถานะระหว่างครูกับนักเรียน แต่เป็นการขาดความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันที่ความแตกต่างถูกหนุนเสริม …” ชุมชน: ความหลากหลายและอุปสรรค หน้า 241

คำกล่าวข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งจาก หนังสือ ‘The Courage to Teach’ หรือที่ใช้ชื่อไทยอย่างห้าวหาญว่า ‘กล้าที่จะสอน’ เขียนโดย ปาร์กเกอร์ เจ. ปาล์มเมอร์ แปลเป็นภาษาไทยโดย เพ็ญนภา หงส์ทอง และ ณัฐฬส วังวิญญู ที่ทำให้เห็นภาพรวมและสะท้อนถึงบทสรุปที่เป็นแก่นของการเรียนรู้ว่า กุญแจของการเรียนรู้อยู่ที่ ‘หัวใจ’ ของผู้สอนและผู้เรียน

หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นบนพื้นฐานข้อมูลที่รวบรวมจากการพูดคุยกับครูในพื้นที่ต่างๆ จนได้ข้อสรุปว่า การสอนที่ดีไม่ใช่แค่เรื่องเทคนิค แต่มาจากตัวตน ความซื่อตรง ความรักในอาชีพและความมีสำนึกในวิชาชีพของครู

ปาล์มเมอร์จึงพาผู้อ่านเดินทางเข้าไปสำรวจภายในของตัวเอง เพื่อปลุกกระตุ้นพลังและแรงบันดาลใจในการสอนให้ครูมีความกล้าและสามารถยืนหยัดต่อไปได้โดยไม่ถอดใจ เขาตั้งใจท้าทายระบบและการสอนของนักการศึกษาจำนวนหนึ่งที่สูญเสียจิตวิญญาณความเป็นครูไปแล้วอย่างสิ้นเชิง

ปาล์มเมอร์ เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการสอนและเป็นนักจัดการศึกษามากว่า 30 ปี เขาจึงพยายามชี้ให้เห็นถึงความกลัวหรือความไม่กล้าเปลี่ยนแปลงบทบาทการสอนของครู จนกลายเป็นฟันเฟืองหนึ่งที่เป็นปัญหาหลักทำให้ไม่สามารถขับเคลื่อนการศึกษาทั้งระบบได้

“…ครูที่ไม่ได้เรื่องวางตัวห่างจากวิชาที่ตัวเองกำลังสอน และด้วยเหตุผลนี้จึงห่างจากนักเรียนด้วย ครูที่ดีรวมเอาตัวเอง วิชาที่สอน และนักเรียน เข้าไว้ในสายใยชีวิต” บทที่ 1 การสอนที่พ้นจากเทคนิค

ปาล์มเมอร์พยายามชี้ให้เห็นว่า การสอนที่ดีเกี่ยวข้องกับ อัตลักษณ์ และ ความซื่อตรง ในความเป็นครู แกนหลักในการประกอบอาชีพที่ต้องใช้ทั้งสติปัญญา อารมณ์ความรู้สึกและจิตวิญญาณ ในขณะที่ครูและนักเรียนต้องเผชิญหน้ากัน ครูไม่ได้ทำหน้าที่เพียงแค่สอน ครูที่ดีต้องรักการเรียนรู้ด้วย วิถีการสอนของครูต้องสร้างความไว้วางใจให้กับผู้เรียนเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างครูกับนักเรียน ทำให้นักเรียนอยากรู้ อยากเรียนรู้ แล้วอยากกลับมาเรียนอีกอย่างต่อเนื่อง สร้างการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและยั่งยืน

กรณีศึกษาในเล่มนี้ทำให้รู้และเข้าใจว่า

  • ทำไมการสอนให้ได้ดีจึงไม่ใช่แค่มีเทคนิคการสอนที่ดีอย่างเดียว?
  • การค้นคว้าและเก็บข้อมูล เพื่อหาคุณลักษณะนิสัยของครูที่ดีซึ่งมีคุณลักษณะบางอย่างเหมือนๆ กัน
  • การเรียนรู้วิธีการเชื่อมต่อการเรียนรู้ระหว่างครูกับนักเรียน เป็นต้น

จุดเด่นของหนังสืออยู่ที่การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาถึงข้อบกพร่องและข้อผิดพลาดของครู โดยเฉพาะเรื่อง ‘ความกลัว’ ซึ่งเป็นศัตรูที่ร้ายกาจต่อการเรียนรู้และการพัฒนาตัวเอง ทั้งต่อตัวนักเรียนและครู เพราะความกลัวทำให้เกิดความรู้สึกตัดขาด ไม่สามารถเชื่อมโยงได้ ยกตัวอย่างเช่น การที่ครูอยากเป็นผู้สอนที่ควบคุมทุกอย่าง ไม่ชอบให้นักเรียนตั้งคำถามหรือแสดงความคิดเห็นเพราะกลัวการถูกท้าทาย

นอกจากการขจัดความกลัวแล้ว ปาล์มเมอร์ยังผลักดันให้สร้างความเปลี่ยนแปลงการสอนด้วยการจัดบรรยากาศการเรียนให้มีความตื่นตัว ภาษาที่ใช้ในหนังสือ คือ การสร้างความสัมพันธ์ของความย้อนแย้ง (paradox) ยกตัวอย่างเช่น

  • การเปิดพื้นที่ให้มีทั้งพื้นที่เปิดและปิด เช่น การเรียนรู้ควรมีพื้นที่ให้นักเรียนตั้งคำถาม ขณะเดียวกันต้องกำหนดขอบเขตการอภิปรายให้ตรงประเด็น
  • การเปิดพื้นที่ให้แสดงความคิดเห็นส่วนบุคคล และการแสดงความคิดจากข้อสรุปภายในกลุ่ม (การรับฟังผู้อื่น)
  • การไม่มองข้ามเรื่องราวเล็กๆ ของนักเรียน และไม่ลืมเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและสังคม เป็นต้น

ในขณะที่เนื้อหาสามบทแรกพูดถึงครูโดยเน้นที่ตัวบุคคล แต่ในส่วนที่เหลือของหนังสือ ปาล์มเมอร์นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้กับชุมชน เขาแนะนำวิธีการเอาชนะความกลัว แล้วเรียกคืนความเป็นตัวเองของครูกลับมา รวมทั้งการจัดการกับความขัดแย้งบางอย่างภายในตัวเอง หนังสือ ‘กล้าที่จะสอน’ จึงช่วยกระตุ้นและเป็นแรงกระเพื่อมทางจิตวิญญาณของครู เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะช่วยสร้างความงดงามของการสอนและการเรียนรู้ขึ้นมาได้ใหม่

Tags:

ครูหนังสือเทคนิคการสอนณัฐฬส วังวิญญู

Author:

illustrator

วิภาวี เธียรลีลา

นักเขียนอิสระที่อยากเข้าใจวิถีชีวิตผู้คน เลยพาตัวเองไปใช้ชีวิตในลอนดอน ปักกิ่ง เซินเจิ้นและอเมริกา กินมังสวิรัติ อินกับโภชนาการ กำลังเรียนเป็นนักปรับพฤติกรรมสุนัขและชอบกินกาแฟใส่ฟองนม

Related Posts

  • Transformative learning
    เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 7. ลัทธิบูชาผลงาน

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Learning Theory
    Achievement mindset: เสริมสร้างทักษะ Grit ให้อยู่กับนักเรียน

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชครูใหม่ วิมลศรี ศุษิลวรณ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • 21st Century skills
    สังคมดี เพราะเด็กรู้คิดและคิดดี มีคุณครูเป็นผู้ช่วยคนสำคัญ

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Voice of New Gen
    หนังสือ ‘WIZES’ เสกการท่องจำเป็นเข้าใจด้วย INFOGRAPHIC

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Creative learningBook
    FINNISH LESSONS 2.0 : การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่อยู่นอกห้องเรียน

    เรื่อง The Potential

FINNISH LESSONS 2.0 : การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่อยู่นอกห้องเรียน
Creative learningBook
25 May 2018

FINNISH LESSONS 2.0 : การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่อยู่นอกห้องเรียน

เรื่อง The Potential

  • หนังสือ ‘Finnish Lesson 2.0′ บอกเอาไว้ว่า ความเปลี่ยนแปลงที่สำเร็จของนักเรียน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นนอกโรงเรียน
  • มีเพียง 10-20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเกิดขึ้นในห้องเรียน
  • ‘สอนน้อย เรียนรู้มาก’ คือคำแนะนำจาก ปาสิ ซอห์ลเบิร์ก ผู้เขียนหนังสือบทเรียนแนวใหม่จากฟินแลนด์เล่มนี้
ภาพ: เฉลิมพล ปัณณานวาสกุล

“ความผันแปรของผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนส่วนใหญ่ล้วนเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยภายนอกโรงเรียน”

เป็นประโยคสำคัญเพื่อย้ำความสำคัญกว่าของการเรียนรู้นอกห้องเรียนจากหนังสือ ‘ปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จ บทเรียนแนวใหม่จากฟินแลนด์: ‘ โดย ปาสิ ซอห์ลเบิร์ก (Pasi Sahlberg) อดีตครูคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อารมณ์ดี นักวิชาการด้านการศึกษาฟินแลนด์ระดับเวิลด์คลาส เจ้าของหนังสือ ที่ได้รับการแปลกว่า 20 ภาษา

ปัจจัยภายนอกห้องเรียนได้แก่อะไรบ้าง

ปาสิ ยกตัวอย่าง การศึกษาและอาชีพของพ่อแม่ อิทธิพลจากเพื่อน และคุณลักษณะของนักเรียนแต่ละคน ต่อมาอีกราว 50 ปีให้หลัง งานวิจัยที่ศึกษาสาเหตุที่จะช่วยอธิบายคะแนนสอบของนักเรียนก็ให้ข้อสรุปว่า

“ความผันแปรของผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนมีเพียง 10-20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เกิดจากปัจจัยในห้องเรียน”

หมายถึงครูและการสอนของครู ส่วนปัจจัยภายในโรงเรียน ได้แก่ บรรยากาศภายในโรงเรียน สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และภาวะผู้นำก็ส่งผลให้เกิดความผันแปรในตัวเลขที่ใกล้เคียงกัน

ปาสิ ซอห์ลเบิร์ก

อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า สองในสามของตัวแปรที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนอยู่เหนือความควบคุมของโรงเรียน

ผลสัมฤทธิ์อีกสองในสามมาจากกิจกรรมของ ‘ภาคส่วนที่สาม’ สาระส่วนนี้อยู่ในหัวข้อ ‘สอนน้อย เรียนรู้มาก’ (หน้า 194-195) เป็นส่วนขยายความและอธิบายว่าเมื่อโรงเรียนเลิกชั้นเรียนตอนบ่ายสองโมง หลังจากนั้นนักเรียนฟินแลนด์ไปทำอะไร

“นักเรียนฟินแลนด์ใช้เวลาเรียนที่โรงเรียนในแต่ละวันน้อยกว่านักเรียนในอีกหลายประเทศ ถ้าเช่นนั้น หลังเลิกเรียนเด็กๆ ไปทำอะไรกัน? ปาสิชวนตั้งคำถามและเฉลยเองว่า

โดยหลักการนักเรียนสามารถกลับบ้านได้ในตอนบ่าย เว้นแต่โรงเรียนจะจัดกิจกรรมอะไรให้ทำ โรงเรียนประถมศึกษาต้องจัดกิจกรรมหลังเลิกเรียนสำหรับเด็กเล็ก และโรงเรียนก็ควรมีชมรมทางวิชาการหรือสันทนาการให้นักเรียนชั้นที่โตกว่า

ทั้งนี้สมาคมเยาวชน และสมาคมกีฬาหลายแห่งของฟินแลนด์มีส่วนสำคัญมากในการหยิบยื่นโอกาสให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการในองค์รวม

สองในสามของนักเรียนอายุ 10-14 ปี และนักเรียนอายุ 15-19 ปี เกินกว่าครึ่ง สังกัดอยู่กับสมาคมเยาวชนหรือสมาคมกีฬาอย่างน้อยหนึ่งสมาคม เครือข่ายของสมาคมที่ไม่ใช่หน่วยงานภาครัฐเหล่านี้เรียกว่า ภาคส่วนที่สาม (Third Sector)

“พวกเขามีส่วนอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมและพัฒนาการเฉพาะบุคคลของเยาวชนฟินน์ และนับว่ามีคุณูปการอย่างสูงต่องานด้านการศึกษาของโรงเรียนฟินแลนด์ด้วย”

Tags:

ครูระบบการศึกษาหนังสือการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอน

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Related Posts

  • Voice of New Gen
    หนังสือ ‘WIZES’ เสกการท่องจำเป็นเข้าใจด้วย INFOGRAPHIC

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • Character building
    ปั้น ‘คาแรคเตอร์’ ที่ดีให้เด็ก: โรงเรียน พ่อแม่ ชุมชน ต้องร่วมมือกัน

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Adolescent Brain
    ห้องเรียนเพื่อพัฒนาการสมอง: เมื่อความรู้นอกห้องสนุกกว่า ห้องเรียนสี่เหลี่ยมจะอยู่อย่างไร?

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Education trend
    สอบแบบไหนให้ได้ดี VS สอบแบบไหนยังไงก็ไม่ดี

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Unique Teacher
    ‘ครูภาคิน’ ครูไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผิดได้ และเป็นมนุษย์แบบพวกเอ็งนั่นแหละ

    เรื่องและภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

ทำไมพ่อกับแม่ถึงชอบแชร์เรื่องของหนู?
Family Psychology
25 May 2018

ทำไมพ่อกับแม่ถึงชอบแชร์เรื่องของหนู?

เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • นอกจากประเด็นละเมิดสิทธิแล้ว เด็กๆ หลายคนถึงกับหัวเสียเมื่อเห็นพ่อแม่เอารูปตัวเองไปโชว์ในโซเชียลมีเดีย
  • พ่อแม่อาจโพสต์เพราะความรัก ความภูมิใจ แต่ลึกๆ ลงไปในทางจิตวิทยา ลูกคือ ความสำเร็จที่มีชีวิต…และโพสต์ได้
  • ถึงที่สุดแล้ว แม่คือผู้ชี้ขาดว่าจะโพสต์รูปอะไร ถึงลูกจะบอกว่าไม่ได้ แต่แม่ก็มีเหตุผลที่ไม่จนมุมเสมอ

การเลื่อนดูฟีดเฟซบุ๊ค ถือเป็นหนึ่งกิจวัตรของคนยุคดิจิตอล แต่ละวันเราเห็นรูปภาพมากมายบนหน้าฟีด ไม่ว่าจะเห็นรูปน้องหมา น้องแมว อาหาร หรือแม้กระทั่งรูป ข้อความเกี่ยวกับเด็ก ที่แม่ๆ หลายคนอัพโหลด เพื่ออธิบายเรื่องราวหรือกิจกรรมที่ลูกทำ เพราะมองว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความภาคภูมิใจ

สมาชิกเฟซบุ๊คบางคนถึงขั้นหงุดหงิดที่เห็นโพสต์เด็กๆ มากเกินไป พวกเขามองว่าเป็นเรื่องที่ ‘น่าเบื่อ’ ‘ซ้ำซาก’ ‘ธรรมดา และน่ารำคาญ’ บางคนรู้สึกหงุดหงิดถึงขนาดตั้งกลุ่มในเฟซบุ๊คขึ้นมา เช่น กลุ่ม ‘STFU Parents’ เพราะคิดว่ากำลังจะ ‘บ้าคลั่ง’ จากการอัพเดตรูปและเนื้อหาเด็กของเหล่าแม่ๆ ที่เป็นเพื่อนในเฟซบุ๊คของตน

หลายคนตั้งข้อสังเกตว่าการอัพเดตสถานะลูกน้อยโดยพ่อแม่เกิดจากอะไร และมีผลกระทบต่อครอบครัวและเด็กหรือไม่ มีงานวิจัยเผยว่า แม่จะโพสต์ข้อมูลลูกมากกว่า เมื่อเทียบกับสมาชิกคนอื่นๆ ในบ้าน และมีบทบาทสำคัญในการตัดสินว่ารูปหรือข้อความนั้น สามารถอัพโหลดได้หรือไม่ โดยเฉพาะรูปครอบครัว

อวดแบบถ่อมตัว?

Sharenting หรือการโพสต์รูปลูกตามโซเชียลมีเดียต่างๆ นัยหนึ่งถูกมองว่าเป็น การลุ่มหลงตัวเองในโลกดิจิตอล (Digital Narcissism) ยิ่งไปกว่านั้นก็ถูกมองว่าเป็นอาการ Humblebrag หรือการอวดตัวเองที่เหมือนไม่ได้อวด ของพ่อแม่

ณัฐวุฒิ เผ่าทวี ศาสตราจารย์ทางด้านวิทยาศาสตร์พฤติกรรมที่ Warwick Business School เคยอธิบายเอาไว้ในเว็บไซต์ไทยพับลิก้าว่า

Humblebrag เป็นการอวดที่แฝงมากับการถ่อมตนเพื่อให้คนอื่นคิดว่าเราไม่ได้ตั้งใจจะอวดแต่ที่จริงก็คือการอวด

หลายๆ คน Humblebrag เพราะว่าเราต่างคนต่างต้องการการตอบสนองที่ดีในความสามารถของเรา หรือความสำเร็จของเรา หรือแม้แต่ในสิ่งที่เรามีและภูมิใจ เพราะการตอบสนองที่ดีจากคนอื่นๆ นั้นช่วยทำให้เราคงภาพพจน์ที่ดีของตัวเราเอง (positive self-image) เอาไว้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญต่อความเชื่อมั่นในตัวเองและความสุขของเรา

อาการ Humblebrag นั้น ใกล้เคียงและถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของความภาคภูมิใจหรือ Pride

หรือแชร์เพราะ ‘ภาคภูมิใจ’

งานวิจัยชิ้นหนึ่งศึกษาแม่ 15 คน ที่ยอมรับว่าได้โพสต์เรื่องราวและประสบการณ์เกี่ยวกับลูกและครอบครัว พบว่าผู้เป็นแม่จะใช้คำว่า ‘ภาคภูมิใจ’ เมื่อโพสต์เกี่ยวกับความสำเร็จของลูก เช่น การแข่งขัน หรือสอบผ่าน ซึ่งความภาคภูมิใจดังกล่าวเป็นความคาดหวังทางสังคมอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าลูกของพวกเขาได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี เหล่าแม่ๆ จึงไม่ได้มองว่าเป็นปัญหาแต่อย่างใดที่จะอัพโหลดให้คนอื่นรู้

การแสดงความภาคภูมิใจของผู้ปกครองทางสื่อออนไลน์ยังเชื่อมโยงกับความต้องการทางสังคมที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแม่ที่มีแนวโน้มจะเลี้ยงดูและให้เวลาลูกมากกว่า

พวกเขาต้องมั่นใจว่าสิ่งที่เขาทำให้กับลูกเป็นสิ่งที่ดี ฉะนั้นสื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือหนึ่งที่พ่อแม่ใช้ประเมินว่าการเลี้ยงดูลูกของพวกเขาเป็นอย่างไร

การเลี้ยงลูกในยุคสื่อดิจิตอลกลายเป็นเรื่องซับซ้อนมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นของลูก งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าการอัพโหลดเรื่องลูกสามารถนำไปสู่ความขัดแย้งของครอบครัวได้ เช่น เด็กหญิงคนหนึ่งไม่พอใจรูปของเธอที่พ่อโพสต์ลงเฟซบุ๊ค เธอกังวลว่าเพื่อนที่โรงเรียนจะเห็นรูป และจะได้คอมเมนต์ไม่ดีกลับมา

สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นคือ ลูกสาว report พ่อไปยังเฟซบุ๊คเพราะพ่อปฏิเสธที่จะลบโพสต์นั้นออกไป

อย่างไรก็ตาม แม่ของเธอบอกว่า การโพสต์รูปเป็นสิทธิ์ของพ่อในการเผยแพร่ นี่จึงเป็นกรณีที่แสดงให้เห็นว่า ‘ความภาคภูมิใจ’ ของผู้ปกครองอาจจะส่งผลกระทบต่อชีวิตของลูกได้ทั้งในโลกออฟไลน์ และออนไลน์

แม่มักถือว่าการแบ่งปันข้อมูลออนไลน์เป็นวิธีการรักษาความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายทางสังคมเดียวกัน ซึ่งข้อค้นพบนี้สอดคล้องกับการรักษาความสัมพันธ์ในครอบครัวแบบออฟไลน์ ที่ชี้ว่าผู้หญิงมีส่วนร่วมในการติดต่อสื่อสารกับสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ มากกว่าผู้ชายทั้งในรูปแบบจดหมายและโทรศัพท์

เหล่าแม่ๆ ที่เข้าร่วมในงานวิจัย บอกอีกว่าการโพสต์รูปและข้อความแสดงให้เห็นถึงความใกล้ชิดกับครอบครัว และมองว่าเป็นประโยชน์แก่ลูกๆ ถือว่าเป็นการแสดงความรักและความเอาใจใส่ของแม่ยุคดิจิตอล

ที่มา:
Sharenting: why mothers post about their children on social media
humblebrag: จิตวิทยาของการอวดตัวเองแบบถ่อมตน

Tags:

พ่อแม่จิตวิทยาโซเชียลมีเดียความปลอดภัยไซเบอร์sharenting

Author:

illustrator

กนกอร แซ่เบ๊

อดีตนักศึกษามานุษยวิทยา เกิดในครอบครัวคนจีนจึงพูดจีนได้คล่องราวภาษาแม่ ปัจจุบันเป็นคุณน้าที่หลงหลานสุดๆ และขยันฝึกโยคะเกือบเท่างานประจำ

Related Posts

  • Early childhood
    หมอโอ๋: พ่อแม่ที่ไม่สร้างบาดแผลให้ลูก คือพ่อแม่ที่ไม่ได้เลี้ยงลูก

    เรื่องและภาพ The Potential

  • Family Psychology
    “ไม่ต้องมีพ่อแม่ที่ดี มีแค่พ่อแม่ที่ธรรมดา” หมอโอ๋ เลี้ยงลูกนอกบ้าน

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนาทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ ภาพ สิทธิกร ขุนนราศัย

  • How to get along with teenager
    ทำไมลูกหายใจเข้าออกเป็น ‘IG’ (INSTAGRAM)

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • How to get along with teenager
    อินสตาแกรม 101: รู้ไว้ให้ ‘ลูก’ ใช้เป็น

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • Early childhood
    สิ่งที่พ่อแม่ควรทำก่อนตัดสินใจโพสต์รูปของลูกลง SOCIAL MEDIA

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

สงครามกลางบ้าน: อย่าคิดว่าเด็กไม่รู้ว่าผู้ใหญ่ทะเลาะกัน
Dear Parents
25 May 2018

สงครามกลางบ้าน: อย่าคิดว่าเด็กไม่รู้ว่าผู้ใหญ่ทะเลาะกัน

เรื่อง The Potential

  • เด็กตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป สามารถจับสังเกตพฤติกรรมและอารมณ์ที่ผิดปกติของผู้ใหญ่ ทั้งยังตีความหมายท่าทางดังกล่าวและหาเหตุผลได้ด้วยตัวเอง
  • การทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัว นอกจากจะทำให้ความสัมพันธ์ในบ้านร้าวฉาน ยังส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองและอารมณ์ของเด็กจนอาจนำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและการทำร้ายตัวเอง
  • หนึ่งในหนทางเยียวยาความสัมพันธ์ที่ดีคือ การที่ผู้ใหญ่เปิดใจนั่งจับเข่าคุยบอกเล่าถึงปัญหาข้อเบาะแว้งที่เกิดขึ้นให้เด็กฟัง ยังต่อยอดให้เด็กได้เรียนรู้การควบคุมอารมณ์ ทักษะสังคมและความสัมพันธ์ได้อีกด้วย

รู้กันอยู่แล้วว่าความรุนแรงในครอบครัวนั้นส่งผลเสียต่อหลายๆ มิติ ทั้งความสัมพันธ์ ร่างกายและจิตใจของสมาชิกแต่ละคนในบ้านที่ต้องเผชิญกับประสบการณ์ดังกล่าวด้วย

อย่างไรก็ดี ไม่จำเป็นต้องถึงขั้นความรุนแรงในครอบครัวแค่การโต้เถียงโดยใช้อารมณ์หรือมีปากเสียงทะเลาะกันเพราะเห็นต่างกันต่อหน้าเด็ก โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการเลี้ยงดูพวกเขาเอง ก็ให้ผลลัพธ์เชิงลบไม่ต่างกัน

แม้จะเป็นเรื่องปกติที่ทุกความสัมพันธ์จะต้องมีการโต้เถียงเพราะความเห็นที่ไม่ตรงกันและผู้ใหญ่จะสามารถจัดการจบปัญหาดังกล่าวนั้นได้ด้วยดี แต่อย่าลืมว่าเด็กไม่ได้จบและจัดการปัญหานั้นได้เหมือนผู้ใหญ่ เมื่อพวกเขากลายเป็นประเด็นให้คนรอบข้างทะเลาะกันแต่ถูกกีดกันให้กลายเป็นคนนอก บางคนอาจจะต้องรู้สึกแบบนั้นไปตลอดชีวิต ถึงจะผ่านช่วงวัยเด็กไปแล้วก็ตาม

พ่อแม่รู้สึกแย่ เด็กก็รู้สึกแย่เหมือนกัน

บางครั้งผู้ปกครองเองก็เผลอลืมความรู้สึกของเด็กๆ เมื่อพวกเขาต้องได้ยิน รับรู้และพบว่าตัวเองเป็นปัญหา เด็กเองก็รู้สึกแย่ไม่ต่างจากผู้ใหญ่

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยซัสเซ็กส์ (University of Sussex) โดยศาสตราจารย์กอร์ดอน ฮาโรลด์ (Gordon Harold) ซึ่งเผยแพร่ลงวารสารวิชาการ The Journal of Child Psychology and Psychiatry โดยได้ทำการสังเกตการณ์ความสัมพันธ์ในบ้านของกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลาหลายสิบปี พบว่าเด็กตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไปจนถึงช่วงวัยรุ่น พวกเขามีความสามารถในการสังเกตพฤติกรรมของผู้ใหญ่และสามารถจับความผิดปกติทางอารมณ์ในเชิงลบของผู้ใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว

แม้การโต้เถียงเหล่านั้นจะอยู่ ‘นอกสายตา’ พวกเขาหรือจะเป็นการโต้เถียงกันใน ‘พื้นที่ส่วนตัว’ เด็กก็มีไหวพริบมากพอที่จะจับสังเกตได้

น่าสนใจกว่านั้น ทีมวิจัยยังพบว่าแม้แต่เด็กหกเดือนก็ยังสามารถรับรู้ได้ถึงความขัดแย้งของผู้ใหญ่ โดยเด็กจะมีอัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้นและฮอร์โมนความเครียดเพิ่มขึ้น

เท่ากับว่า ผู้ใหญ่อย่างเราอย่าประเมินหรือคิดไปเองโดยเด็ดขาดว่าการที่เด็กทำเป็นไม่สนใจหรือมีท่าทีไม่รับรู้อะไรนั้นไม่ได้หมายความว่าพวกเขาไม่รู้สึกอะไร เพราะหลายครั้งที่เด็กเก็บเอาประเด็นต่างๆ ที่พ่อแม่ทะเลาะกันมาโทษตัวเองและตามมาด้วยความกังวลว่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับผู้ปกครองจะแย่ลงไปมากกว่าเดิม

ส่งผลเสียขนาดไหน?

เมื่อผู้ใหญ่อย่างเรารู้อยู่เต็มอกว่า การทะเลาะเบาะแว้งในบ้านอาจนำมาสู่ผลเสียในระยะยาวต่อเด็กๆ แทบทุกด้าน ไม่ใช่แค่เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนในบ้านเท่านั้นแต่ส่งผลครอบคลุมไปถึงสุขภาพจิต การศึกษาและทักษะทางสังคมและความสัมพันธ์ในอนาคต

อย่าคิดว่าพวกเขาเด็กเกินไปจนไม่เข้าใจอะไร เพราะแท้จริงแล้วพวกเขาสามารถตีความหมายท่าทางหรืออาการของผู้ใหญ่ พร้อมทั้งดึงประสบการณ์ทางความทรงจำมาร่วมหาเหตุผลประกอบได้ไม่ต่างจากผู้ใหญ่ และหากเรื่องที่พ่อแม่ทะเลาะกันเป็นเพราะตัวเขาเอง เด็กยิ่งรู้สึกผิดและกล่าวโทษตัวเองมากขึ้น

อันตรายกว่านั้นคือ ส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางสมองช่วงต้น นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท และมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมซึ่งอาจนำมาสู่การเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้ปกครองขั้นเรื้อรัง เลวร้ายกว่านั้นคือ การทำร้ายตัวเอง – ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กหรือเด็กโตพวกเขาก็จะมีอาการไม่ต่างกัน

นอกจากนั้น ทีมวิจัยยังอธิบายอีกว่า เด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายจะได้รับผลกระทบที่แตกต่างกันและแสดงออกมาไม่เหมือนกัน กล่าวคือ เด็กผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาทางอารมณ์หรือจิตใจมากกว่าเด็กผู้ชาย ในขณะที่เด็กผู้ชายจะมีปัญหาทางพฤติกรรมมากกว่าเด็กผู้หญิง

พันธุกรรมหรือการเลี้ยงดู?

แม้จะมีข้อกังขาเรื่องการแสดงออกและพฤติกรรมของเด็กๆ เหล่านั้นอาจมาจาก ‘ธรรมชาติ’ ของพวกเขา กล่าวคือ ‘พันธุกรรม’ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพจิตของเด็กรวมถึงต่อท่าทีการตอบสนอง เมื่อเผชิญกับความขัดแย้ง จนกลายเเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาจากภาวะความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ทั้งหมดนั้นฮาร์โรลด์ไม่ปฏิเสธ

อย่างไรก็ดีเขาชี้ว่า ปัจจัยภายนอกอย่าง ‘สภาพแวดล้อม’ และ ‘การเลี้ยงดู’ ยังคงเป็นอีกหนึ่งข้อเท็จจริงสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเพราะก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบต่อจิตใจเด็กและความสัมพันธ์ในครอบครัวสูงไม่แพ้กัน

นั่นหมายความว่า การตอบสนองที่แสดงออกมาทั้งทางอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กส่วนหนึ่งก็ไม่อาจมองข้ามปัจจัยใดๆ ไปได้ – ขีดเส้นใต้ประโยคดังกล่าวพร้อมท่องจำให้ขึ้นใจ

“ไม่ว่าจะไม่ได้อยู่ด้วยกัน หรือมีพันธุกรรมที่เหมือนหรือไม่เหมือนกัน ความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพระหว่างผู้ปกครองและเด็กยังคงเป็นสิ่งสำคัญ” ฮาร์โรลด์กล่าว

เยียวยาความสัมพันธ์: เปิดใจและนั่งจับเข่าคุยกัน

หากเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นไปแล้ว ฮาโรลด์เสนอว่าสิ่งที่จะช่วยเยียวยาและฟื้นฟูความสัมพันธ์ให้กลับมาเหมือนเดิมควรทำอย่างไร เขาเสนอว่าควรนั่งจับเข่าคุยกันและอธิบายสาเหตุให้เด็กฟังอย่างสมเหตุสมผลมากที่สุด

“เป็นเรื่องปกติที่บางครั้งเรา (ผู้ปกครอง) จะทะเลาะกันหรือเห็นต่างกัน แต่ข้อเท็จจริงคือเด็กส่วนใหญ่ตอบสนองได้ดีเมื่อผู้ใหญ่หันหน้าเข้าหาพวกเขาและอธิบายให้ฟังอย่างเหมาะสมถึงข้อโต้เถียงของผู้ใหญ่ที่เกิดขึ้น”

ฮาร์โรลด์ยังกล่าวอีกว่า วิธีการลักษณะนี้ยังเป็นบทเรียนที่ดีในการช่วยนำทางอารมณ์และความสัมพันธ์ของเด็กให้ออกไปนอกเหนือจากวงสังคมที่บ้านได้อีกด้วย

อย่างไรก็ดี การมีความสัมพันธ์ที่ดีในบ้านเป็นเรื่องที่ดี แต่การที่เด็กจะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบตัว ไม่ว่าจะกับญาติพี่น้อง เพื่อนในโรงเรียนหรือครูต่างก็มีอิทธิพลสำคัญในการช่วยเสริมสร้างพัฒนาการที่เหมาะสมให้ได้ในระยะยาว

ที่มา:
How parents’ arguments really affect their children

Tags:

พัฒนาการทางอารมณ์พ่อแม่ซึมเศร้าจิตวิทยาปม(trauma)ความรุนแรง

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Related Posts

  • Healing the trauma
    ไม่หนี ไม่สู้ สมองถูกแช่แข็ง จากความเครียดท่วมท้นในสมองเด็ก

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ บัว คำดี

  • Healing the traumaFamily Psychology
    เปิดลิ้นชักความทรงจำพ่อแม่ สะสางปมเลวร้าย เลี้ยงลูกด้วยหัวใจที่เป็นมนุษย์

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา ภาพ บัว คำดี

  • Early childhood
    ยังตีอยู่ไหม เมื่อตีลูกให้จำ ทำลายความผูกพันและเพิ่มพฤติกรรมเสี่ยง

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Adolescent Brain
    พรากลูกจากพ่อแม่ สร้าง ‘ความเครียดที่เป็นพิษ’ และทำลายสมองตลอดชีวิต

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • Dear Parents
    ความในใจ 5 อย่าง ของเด็กสอบตก

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

Posts navigation

Older posts

Recent Posts

  • ‘นิทานปากเปล่า’ เล่าความรักให้ลูกฟัง สร้างจินตนาการ สานสัมพันธ์ในครอบครัว: แม่จาว – วัชราวรรณ เพชรบุล
  • ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP4: การซึมซับและปรับตัว 
  • เปลี่ยนระบบนิเวศโรงเรียนเป็นสนามพลังบวก ยกระดับเด็กด้อยโอกาสสู่เด็กได้โอกาส: ผอ.วรรณรักษ์ หงษ์ทอง
  • F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง
  • Myth Universe : จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์สู่ Edutainment ความรู้นอกห้องเรียนที่เริ่มต้นจากคำถามและการเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง

Recent Comments

  • Existential crisis: วิกฤตชีวิตที่มาพร้อมกับคำถาม “แล้วฉันอยู่เพื่ออะไร” – EducationNet on Midlife Crisis: เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ทำไมใจถึงวิกฤต
  • The Psychological Wounds of Winnie the Pooh and His Friends: Exploring Characters from a Classic Literary Work - World Today News on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • Exploring the Psychological Wounds of Winnie the Pooh and Friends: A Fascinating Analysis - Archyde on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • 6 วิธีฝึกสอนให้ลูกเป็นเด็กมี Critical Thinking ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต – โรงเรียนมารีวิทยา ป on CRITICAL THINKING: สอนเด็กให้รู้คิด ผิดหรือถูกก็ใช้วิจารณญาณเป็น
  • Best รูป พลเมือง ดี Update New – Haiduongcompany.com on สอนและสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เรื่องไม่ง่ายที่ครูทำได้

Archives

  • July 2025
  • June 2025
  • May 2025
  • April 2025
  • March 2025
  • February 2025
  • January 2025
  • December 2024
  • November 2024
  • October 2024
  • September 2024
  • August 2024
  • July 2024
  • June 2024
  • May 2024
  • April 2024
  • March 2024
  • February 2024
  • January 2024
  • December 2023
  • November 2023
  • October 2023
  • September 2023
  • August 2023
  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • October 2021
  • September 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • April 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • November 2019
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017

Categories

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Uncategorized
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel