ทุกวันนี้เพียงแค่เปิดโทรศัพท์ก็มีข่าว กระแส เรื่องเด่นประเด็นร้อนมากมายให้เราเลือกอ่าน บางครั้งเราก็อ่านโดยไม่คิดเลยว่านั่นเป็นข่าวจริง หรือข่าวปลอม เอริน วิลคีย์ โอห์ (Erin Wilkey Oh) ผู้อยู่เบื้องหลังเว็บไซต์ Common Sense Education เครือข่ายที่พูดเรื่องการเท่าทันสื่อโดยเฉพาะ ให้เคล็ดลับแยกข่าวจริงกับข่าวปลอมด้วย ‘คำถาม’ 5 ข้อ ดังนี้
- ใครเป็นคนเขียนบทความนี้? คำถามนี้จะช่วยให้นักเรียนหยุดคิดว่า บทความนี้ถูกเขียนขึ้นด้วย ‘บุคคล’ หนึ่ง ซึ่งหมายความว่ามันอาจเป็นทัศนคติส่วนตัว อันมาจากเหตุผล บริบท และภูมิหลังที่แตกต่างกัน
- ทำไมข้อความหรือบทความนี้จึงถูกส่งมา ทำไมเขาถึงเขียนมันขึ้น? คำถามนี้เปิดโอกาสให้เด็กๆ พิจารณาจุดประสงค์ของผู้เขียน ว่าเขียนขึ้นเพื่อ ให้ข้อมูล, สร้างความบันเทิง, โน้มน้าวให้เชื่อ หรือทั้งหมด? จากนั้นอาจถามต่อว่า บทความนี้ทำให้เด็กๆ หรือผู้อ่านรู้สึกอย่างไร เพื่อเปิดโอกาสให้พวกเขาตีความความตั้งใจของผู้เขียน
- บทความนี้เผยแพร่ที่ไหน? พื้นที่ที่ปล่อยย่อมสร้างบอกความน่าเชื่อถือในตัวเอง เช่น เผยแพร่ในเว็บไซต์ข่าวที่น่าเชื่อถือ, ถูกส่งกันต่อๆ มาในอีเมล, แชร์ต่อกันผ่านเฟซบุ๊ค ซึ่งทั้งหมดนี้สืบสาวกลับไปยังพื้นที่เผยแพร่ตั้งต้นได้หรือไม่
- ผู้เขียนใช้เทคนิคอะไรมาดึงความสนใจของผู้อ่าน? ในรูปแบบคลิปวิดีโอ, แอพพลิเคชั่น หรือแพลตฟอร์มอื่นในรูปแบบออนไลน์
- บทความนั้นสอดแทรกมุมมองอะไรเอาไว้บ้าง? เพราะทุกบทความย่อมมี ‘ข้อความระหว่างบรรทัด’ หรือทัศนคติบางอย่างที่ผู้เขียนต้องการจะโน้มน้าวให้ผู้อ่านเชื่อ แม้ว่าในบทความนั้นจะไม่ได้แสดงน้ำเสียงของผู้เขียน แต่ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้อ่านต้องพึงรู้ว่ามันมีอยู่
อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่: MEDIA LITERACY: หยุดแชร์ข่าวปลอม ด้วยวิชา ‘เท่าทันสื่อ’