Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย

Month: February 2018

ฟรีแลนซ์ อาชีพแห่งศตวรรษที่ 21
Education trend
5 February 2018

ฟรีแลนซ์ อาชีพแห่งศตวรรษที่ 21

เรื่อง The Potential

  • จำนวนผู้ประกอบอาชีพฟรีแลนซ์ในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่เป็นคนยุคมิลเลนเนียม คาดการณ์ว่ามีอยู่ทั้งหมด 57.3 ล้านคน และในปี 2027 ฟรีแลนซ์จะเข้ามาเป็นกลุ่มแรงงานหลักในสหรัฐอเมริกา
  • กระแสการนำหุ่นยนต์ คอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในหลายภาคส่วนของอุตสาหกรรมกลายเป็นแรงผลักดันให้เกิดฟรีแลนซ์เพิ่มขึ้น
  • 50 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานชาวอเมริกันไม่มั่นใจว่าอาชีพที่ตัวเองทำอยู่จะยังคงมีอยู่ในอีก 20 ปีข้างหน้า
  • การมีทักษะคิดวิเคราะห์ (critical) และการหมั่นพัฒนาทักษะตัวเอง (reskilling) อยู่เป็นประจำ คือสิ่งสำคัญสำหรับการทำงานในศตวรรษที่ 21
  • ข้อกังวลพื้นฐานของฟรีแลนซ์ยังคงเหมือนเดิมคือ การมีรายได้ที่ไม่แน่นอน

ในระหว่างที่บ้านเรายังคงโต้เถียงกันไม่จบไม่สิ้นเกี่ยวกับอาชีพฟรีแลนซ์ที่คนเริ่มหันมาให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น

เวลานี้ที่สหรัฐอเมริกา จำนวนแรงงานชาวอเมริกันกว่า 36 เปอร์เซ็นต์ประกอบอาชีพอิสระหรือที่เรียกว่าฟรีแลนซ์ โดยคาดการณ์ว่ามีมากถึง 57.3 ล้านคน และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุมิลเลนเนียล (คนที่เกิดระหว่างปี 1984-1996) คือข้อมูลจากรายงานประจำปี 2017 ที่ชื่อว่า Freelancing in America (FIA) ภายใต้การทำงานร่วมกันระหว่างบริษัทสตาร์ทอัพ Upwork และกลุ่มสหภาพแรงงานฟรีแลนซ์ (Freelancers Union)

ตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมา จำนวนฟรีแลนซ์ในสหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดและแซงหน้าการเติบโตของพนักงานโดยรวมของสหรัฐอเมริกาถึง 3 เท่า สร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจสหรัฐถึง 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2027 กลุ่มฟรีแลนซ์จะก้าวมาเป็นกลุ่มแรงงานหลักในสหรัฐอเมริกาทั้งหมด

โดยรายงานประจำปีดังกล่าวจัดทำขึ้นโดยบริษัท Edelman Intelligence ผ่านการสำรวจออนไลน์แรงงานชาวอเมริกัน 6,000 คนที่อายุมากกว่า 18 ปี แบ่งออกเป็นสองกลุ่มได้แก่ กลุ่มอาชีพฟรีแลนซ์ 2,173 คนและกลุ่มอาชีพมีงานประจำ 3,827 คน ระหว่างวันที่ 21 กรกฎาคม 2017-14 สิงหาคม 2017 จากนั้นจึงนำข้อสรุปดังกล่าวไปทำค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักกับตัวเลขของผลสำรวจประชากรสหรัฐจากสำนักงานสถิติแห่งชาติสหรัฐอเมริกาปี 2017 เพื่อให้มั่นใจว่าข้อสรุปนั้นใกล้เคียงกับความจริงและถูกต้องมากที่สุด

การเพิ่มขึ้นของฟรีแลนซ์

แรงจูงใจที่ผลักดันให้พวกเขาหันมาประกอบอาชีพฟรีแลนซ์เพิ่มขึ้นนั้น FIA ระบุว่ามีอยู่ 5 ประการได้แก่

  1. เป็นเจ้านายตัวเอง
  2. เลือกเวลาทำงานเองได้
  3. เลือกงานที่อยากทำเอง
  4. เลือกสถานที่ที่อยากทำ
  5. ได้รับเงินพิเศษเพิ่ม

แต่ผลกระทบโดยตรงที่พอจะคาดเดาได้ว่า ปัจจัยอะไรถึงทำให้ฟรีแลนซ์มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่ามาจากกระแสการนำเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์หรือหุ่นยนต์มาทดแทนในหลายๆ อุตสาหกรรม ส่งผลให้แรงงานชาวอเมริกันมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ‘ไม่มีความมั่นใจ’ ว่าอาชีพที่พวกเขาทำอยู่ขณะนี้จะยังคงอยู่ในอีก 20 ปีข้างหน้า

สเตฟานี แคสเรียล (Stephane Kasriel) ซีอีโอบริษัทสตาร์ทอัพ Upwork และประธานร่วมการประชุม World Economic Forum ในหัวข้ออนาคตของเพศ การศึกษาและการทำงาน อธิบายถึงปรากฏการณ์และความท้าทายของคนวัยทำงานในศตวรรษที่ 21 ว่า

“เราอยู่ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ช่วงเวลาที่มนุษย์ถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่นั่นกลายเป็นโอกาสที่ดีในการชี้นำการทำงานในโลกอนาคต ฟรีแลนซ์จะกลายเป็นอาชีพที่มีบทบาทสำคัญมากกว่าที่หลายคนตระหนัก”

สอดคล้องกับซารา โฮโรวิทซ์ (Sara Horowitz) ผู้ก่อตั้งสหภาพแรงงานฟรีแลนซ์ที่กล่าวว่า เราจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับความท้าทายของการทำงานในศตวรรษที่ 21

“ประสบการณ์แรงงานได้ถูกเปลี่ยนแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทั้งเศรษฐกิจที่ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือการนำเครื่องจักรและคอมพิวเตอร์มาทำงานเพิ่มมากขึ้น เราจึงจำเป็นที่จะต้องเตรียมรับมือกับความท้าทายในอนาคตและสร้างองค์กรที่ช่วยสนับสนุนแรงงานแห่งศตวรรษที่ 21 ขึ้น”

สองทักษะสำคัญของฟรีแลนซ์

กุญแจสำคัญที่ทำให้ฟรีแลนซ์ดำรงอยู่ได้และตอบโจทย์สำหรับโลกแห่งศตวรรษที่ 21 นั้น แคสเรียลมองว่า เพราะฟรีแลนซ์มีสองทักษะสำคัญอยู่กับตัวคือ การคิดวิเคราะห์ (critical) และการหมั่นพัฒนาทักษะตัวเอง (reskilling) อยู่เป็นประจำ ซึ่งสองสิ่งนี้ได้ส่งเสริมให้พวกเขาไม่หยุดนิ่ง ราวกับการหมั่นลับดาบให้คมอยู่เสมอพร้อมต่อกรกับทุกสิ่ง

“เมื่อผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางตัดสินใจเป็นฟรีแลนซ์ พวกเขารู้ว่าจะเป็นเจ้านายตัวเอง กำหนดโชคชะตาอนาคตของตัวเอง นั่นทำให้ฟรีแลนซ์คิดทิศทางการตลาดเชิงรุกได้มากกว่าและต้องกระตุ้นหรือพัฒนาทักษะของตัวเองให้พร้อมรับมือกับทุกด้านอยู่เป็นประจำ กลายเป็นช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจให้ดีขึ้นไปโดยปริยาย” แคสเรียลอธิบายเพิ่มเติม

ความมั่นคงและข้อกังวลของฟรีแลนซ์

ความมั่นคงในหน้าที่การงานแบบดั้งเดิมที่เชื่อว่า ต้องทำงานบริษัทชั้นนำ มี career path ที่ชัดเจน กำลังถูกกลุ่มอาชีพฟรีแลนซ์ตีโต้กลับ เมื่อพวกเขามองว่าความมั่นคงในหน้าที่การงานควรถูกนิยามใหม่ เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่าการมีนายจ้างหลายคนปลอดภัยและมั่นคงกว่าการมีนายจ้างแค่คนเดียว จากผลสำรวจของ FIA ชี้ว่ามี 63 เปอร์เซ็นต์ที่เชื่อแบบนั้น โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2016 มา 10 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้นแล้วพวกเขายังมีลูกค้าโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 4.6 คนต่อเดือน

แต่ในเรื่องเงินคงต้องยอมรับว่าฟรีแลนซ์นั้นมีรายได้ที่ไม่แน่นอนและยังเป็นเรื่องที่น่าท้าทายอยู่เช่นเคย แต่สิ่งที่น่าสนใจระหว่างการศึกษาของ FIA กลับพบว่า กลุ่มที่ฝากเงินเป็นประจำคือกลุ่มฟรีแลนซ์ฟูลไทม์ คิดเป็นตัวเลขอยู่ 63 เปอร์เซ็นต์ที่ฝากเงินในธนาคารอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อเดือน สวนทางกับกลุ่มอาชีพงานประจำที่ทำเพียง 20 เปอร์เซ็นต์

อ้างอิง:
upwork.com

Tags:

21st Century skillsอาชีพวัยรุ่นDisruption

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Related Posts

  • Voice of New Gen
    NEXTZY: เทคโนโลยีสำคัญต่อการทำงาน แต่การเจอหน้ากันสำคัญกว่า

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • Life classroom
    PERFECTIONISM อย่าหวดวัยรุ่นด้วยความสมบูรณ์แบบอีกเลย

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • 21st Century skills
    “ศรีจันทร์ยังเกิดใหม่ได้ คนรุ่นต่อไปก็ต้องอยู่กับ AI ได้” รวิศ หาญอุตสาหะ

    เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะรชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • Creative learning
    CODERDOJO : โปรแกรมเมอร์ตัวน้อยที่สนุกกับคำว่า ‘ERROR’

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่าง

  • Character building
    ออกนอกห้องเรียน ไปตามติดชีวิตหอยแครง

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

ความโง่ไม่ใช่สิ่งถาวร ถ้าเขามี ‘ครู’ ให้พิงหลัง
Character buildingBook
2 February 2018

ความโง่ไม่ใช่สิ่งถาวร ถ้าเขามี ‘ครู’ ให้พิงหลัง

เรื่องและภาพ ณิชากร ศรีเพชรดี

  • หนังสือเล่มนี้เหมาะจะวางไว้บนโต๊ะของครูทุกโรงเรียน โดยเฉพาะครูที่ทำงานกับนักเรียนยากจน ที่ถูกความโหดร้ายของสังคมดูดกลืน และถอดใจกับการพัฒนาตัวเองด้วยการศึกษา
  • เคล้าด้วยชีวิตจริงของครู ศิษย์ สังคม ถึงวิธีการต่อสู้เพื่อพลิกชีวิตเด็กๆ ที่สังคมตราหน้าว่าเหลือขอ หรือ ‘สมองไม่ดี ทำอย่างไรก็ไม่ดี’ แต่เปลี่ยนได้ด้วยการทำงานระหว่างครูและศิษย์ ในการฝึกทักษะของลักษณะนิสัย
  • ไม่ใช่แค่เล่าเรื่องดราม่าแสนกินใจ แต่ผู้เขียนพิสูจน์ด้วยทฤษฎีจากนักวิชาการระดับโลก แบบทดสอบในตำนาน จากการสัมภาษณ์เจาะลึกและติดตามชีวิตของพวกเขาในช่วงเวลาหนึ่ง เมื่ออ่านจบ คุณจะพบว่าหน้าหนังสือเปื้อนไปด้วยสีไฮไลท์ รอยพับที่มุมหนังสือ เพราะคุณจะอยากกลับมาอ่านซ้ำ หรือใช้อ้างอิงในการทำงานได้ไม่รู้จบ
  • ไอคิวไม่ใช่ตัวชี้วัดระดับสติปัญญาที่แท้จริงและถาวร แต่ ‘ทักษะทางพฤติกรรม‘ บางอย่างเช่นความมุมานะและอดทนต่างหาก คือเครื่องทำนายความสำเร็จของเด็กทุกคน ไม่สิ… มนุษย์ทุกคนต่างหาก

หนังสือเล่มนี้พลิกความเชื่อว่า เด็กในครอบครัวร่ำรวย มีโอกาสทางสังคม มีเงินพอจะจ้างพี่เลี้ยงหรือครูพิเศษ กระทั่งมีงานอดิเรกที่รังแต่จะสนับสนุนพัฒนาการตั้งแต่เยาว์วัย ปัจจัยเหล่านี้เท่านั้น ที่จะมีแรงส่งให้ประสบความสำเร็จมากกว่าเพื่อนในวัยเดียวกันแต่ต่างสังคม

พลิกอย่างหน้ามือเป็นหลังเท้า เทียบเท่าความปรีดาจากฝนแรกในฤดูแล้ง หนังสือเล่มนี้ชวนให้มีความหวังเช่นนั้นจริงๆ เพราะ พอล ทัฟ (Paul Tough) เขียน How Children Succeed หรือในชื่อไทยว่า เลี้ยงให้รุ่ง: ปฏิวัติการเรียนรู้ ผ่านการสร้างลักษณะนิสัยสู่ความสำเร็จ จากงานวิจัยมากมาย ตั้งแต่…

  • ทฤษฎีในตำนานอย่างแบบทดสอบความอดทนมาร์ชมัลโล (Marshmallow Test) เมื่อปลายทศวรรษ 1960
  • การทดสอบเรื่องความอดทนอดกลั้นเช่นเดิมแต่ใช้ขนม M&M โดยตั้งข้อสังเกตว่าระดับไอคิวจะเป็นตัวชี้วัดสติปัญญาของมนุษย์ที่แท้จริงและถาวรหรือไม่ (แน่นอนว่าไม่จริง แต่ทั้งหักล้างและชวนตั้งคำถามต่อการเรียนการสอนอย่างไม่จบสิ้น)
  • มาร์ติน เซลิกแมน (Martin Seligman) ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัย เพนซิลวาเนีย หนึ่งในนักจิตวิทยาคนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก ที่อธิบายว่าแนวคิดในแง่ดีเป็น ‘ทักษะ’ ที่เรียนรู้และพัฒนาได้
  • กระทั่งแนวคิดด้านจิตวิทยาน้องใหม่ Growth Mindset หรือ กรอบคิดเติบโต Fixed Mindset กรอบคิดหยุดนิ่ง และ Grit แนวคิดเรื่องการควบคุมตัวเองและความมุมานะ
  • พร้อมกับการเดินทางไปสัมภาษณ์ครู นักการศึกษา นักวิชาการ และนักเรียนมากมายโดยเฉพาะเด็กในสลัม เด็กในสถานกักกัน เด็กจากโรงเรียนรัฐในชุมชนเล็กๆ ที่ไม่มีใครเชื่อว่าจะประสบความสำเร็จในการเรียนได้ เด็กสมาธิสั้น เด็กที่ทุกข์ระทมด้วยเหตุผลต่างๆ เพราะถูกชีวิตกระทำ

ทั้งหมดนี้เพื่อทำลายความเชื่อว่า สติปัญญาไม่ใช่สิ่งถาวร มันเปลี่ยนได้ด้วยการ ‘ฝึก’ นิสัยใหม่

ความสนุกของหนังสือเล่มนี้ คือการที่ทัฟค่อยๆ พาเราไปยังสถานที่ที่ไร้ซึ่งความหวังในชีวิต ในทางการศึกษา เช่น โรงเรียนในเขตสลัม พูดคุยกับนักเรียนหัวโจกที่ครูใหญ่ออกปากว่า ‘หมดหวังแล้ว’ ทั้งหมดนี้เขาตัดสลับฉากไปสัมภาษณ์ครูใหญ่ในโรงเรียนนี้ และข้ามรัฐไปสัมภาษณ์ครูอีกคนหนึ่งที่เผชิญกับสถานการณ์คล้ายกัน สลับไปยังชีวิตของวัยรุ่นสาวคนหนึ่งที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศจากคนในครอบครัว

เมื่อพาผู้อ่านถอนใจเฮือกๆ หากเข้าอกเข้าใจ และเห็นมิติของสังคมว่าความจนส่งผลเลวร้ายต่อเด็กในย่านนั้นอย่างไรแล้ว (แน่นอนว่ามันทำให้ยิ่งเชื่อและค้านเสียงแข็งขึ้นกว่าเดิม ถ้าใครเผลอพูดว่า ‘อย่าใช้ความจนเป็นข้ออ้างในการใช้ชีวิต’ เพราะมันมีผลอย่างแน่นอน และไม่ใช่ทุกคนที่จะเดินไปสะดุดกับ ‘โอกาสเปลี่ยนชีวิต’ ได้บ่อยครั้งและเหมาะเจาะ การยอมรับความเหลื่อมล้ำทางสังคมเสียก่อนต่างหาก จึงจะแก้ปัญหาได้ตรงจุด โดยเฉพาะการแก้ปัญหาเรื่องการศึกษา)

ทัฟยังฉุดกระชากให้เห็นความจริงเรื่องความซับซ้อนทางจิตวิทยาว่า มันเกี่ยวข้องกับร่างกายในทางชีววิทยา การหลั่งสารเคมีบางชนิดในสมองเพื่อป้องกันตัวเองจากความร้าวราน ความเจ็บปวดทางจิตใจ และมันสะท้อนออกทางพฤติกรรมอย่างไรบ้าง

ระหว่างนี้ ทฤษฎีทางจิตวิทยาจะทยอยออกมาแนะนำตัวกับผู้อ่าน รายนามนักวิจัยจะค่อยๆ เผยโฉม สลับกับครู คนทำงานเลือดใหม่ฝ่ายปฏิบัติการ ทำงานด้วยความเชื่อในเยาวชนด้วยวิธีที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่เป็นคุณครูจอมโหดที่ไม่เคยกอดนักเรียน แต่มุ่งมั่นสอนและคอยอยู่เคียงข้างไม่หายไปไหนแม้แต่วันอาทิตย์! และครูใจดีสายประนีประนอม

เป็นหนังสือวิชาการแต่ก็ไม่เหมือนหนังสือวิชาการ ค่าที่เราต้องสูญเสียพลังงานให้กับการขึ้นลงของอารมณ์ในหนังสือเล่มนี้ทุกบรรทัดทุกบทตอน

มันไม่ใช่หนังสือวิชาการ แต่คือชีวิตคน

คือความดูเบาปัญหาเชิงโครงสร้างที่มีแต่คนที่อยู่ข้างล่างสุดเท่านั้นจะมองเห็น แต่ก็ไม่หดหู่ เพราะมันมีรังสีของความเหงาฉายออกมาระหว่างบรรทัดอย่างประหลาด

วิธีแก้ปัญหาก็ไม่ยาก เพียงเข้าใจและต้องยอมรับก่อนว่าปัญหาสังคมส่งผลต่อการศึกษาอย่างไร ความคิดฝังแน่นที่ว่า ‘โง่ จน เจ็บ’ ต้องถูกทำให้หาย เพราะความโง่ไม่ใช่สิ่งชี้วัดถาวร ถ้าเพียงแต่วัยรุ่นคนนั้นมีใครสักคนที่ให้เขาพิงหลัง รู้ว่าจะไม่หายไป และเชื่อมั่นว่าต่อให้เด็กที่โง่และบอบช้ำที่สุด ก็พัฒนาได้

Tags:

ครูคาแรกเตอร์(character building)การเห็นคุณค่าในตัวเอง(Self-esteem)หนังสือ

Author & Photographer:

illustrator

ณิชากร ศรีเพชรดี

แอดมิชชันเข้าคณะการเขียนและสิ่งพิมพ์เพราะคิดว่าเขาจะสอนให้เขียนนิยาย แทนที่จะได้เขียนจากจินตนาการ อาจารย์และทุกอย่างที่นั่นเคี่ยวกรำให้ทำ-คิด-เขียน-รู้สึกกับประเด็นสังคม ยังคงสนุก(มาก)กับงานสื่อสาร ฝันสูงสุดคือยังเข้มแข็งเขียนงานได้อย่างมีคุณภาพและฐานะดี

Related Posts

  • Transformative learning
    เอื้อระบบนิเวศ เพื่อครูเป็นผู้ก่อการ: 6. คุณค่าของปฏิสัมพันธ์

    เรื่อง ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Book
    The Element: การค้นพบ ‘ธาตุ’ ที่บอกว่า ‘ฉันเกิดมาเพื่อสิ่งนี้’

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พิมพ์พาพ์

  • Character buildingBook
    ‘HOW TO RAISE YOUR SELF-ESTEEM’ เพียงแค่รักและไว้ใจตัวเอง เราจะเป็นได้ทุกอย่างในชีวิตนี้

    เรื่อง วิรตี ทะพิงค์แก ภาพ บัว คำดี

  • 21st Century skills
    เห็น-ฟัง-รู้สึก-ลงลึกกับสถานการณ์จริง 4 เคล็ดลับสร้าง TEAMWORK ในห้องเรียน

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • 21st Century skills
    4 คำถามเปลี่ยนทีมไม่เวิร์ค ให้กลายเป็นทีมเวิร์ค

    เรื่อง The Potential ภาพ BONALISA SMILE

Posts navigation

Newer posts

Recent Posts

  • ‘นิทานปากเปล่า’ เล่าความรักให้ลูกฟัง สร้างจินตนาการ สานสัมพันธ์ในครอบครัว: แม่จาว – วัชราวรรณ เพชรบุล
  • ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP4: การซึมซับและปรับตัว 
  • เปลี่ยนระบบนิเวศโรงเรียนเป็นสนามพลังบวก ยกระดับเด็กด้อยโอกาสสู่เด็กได้โอกาส: ผอ.วรรณรักษ์ หงษ์ทอง
  • F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง
  • Myth Universe : จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์สู่ Edutainment ความรู้นอกห้องเรียนที่เริ่มต้นจากคำถามและการเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง

Recent Comments

  • Existential crisis: วิกฤตชีวิตที่มาพร้อมกับคำถาม “แล้วฉันอยู่เพื่ออะไร” – EducationNet on Midlife Crisis: เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ทำไมใจถึงวิกฤต
  • The Psychological Wounds of Winnie the Pooh and His Friends: Exploring Characters from a Classic Literary Work - World Today News on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • Exploring the Psychological Wounds of Winnie the Pooh and Friends: A Fascinating Analysis - Archyde on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • 6 วิธีฝึกสอนให้ลูกเป็นเด็กมี Critical Thinking ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต – โรงเรียนมารีวิทยา ป on CRITICAL THINKING: สอนเด็กให้รู้คิด ผิดหรือถูกก็ใช้วิจารณญาณเป็น
  • Best รูป พลเมือง ดี Update New – Haiduongcompany.com on สอนและสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เรื่องไม่ง่ายที่ครูทำได้

Archives

  • July 2025
  • June 2025
  • May 2025
  • April 2025
  • March 2025
  • February 2025
  • January 2025
  • December 2024
  • November 2024
  • October 2024
  • September 2024
  • August 2024
  • July 2024
  • June 2024
  • May 2024
  • April 2024
  • March 2024
  • February 2024
  • January 2024
  • December 2023
  • November 2023
  • October 2023
  • September 2023
  • August 2023
  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • October 2021
  • September 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • April 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • November 2019
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017

Categories

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Uncategorized
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel