Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
Character buildingBook
17 September 2019

‘HOW TO RAISE YOUR SELF-ESTEEM’ เพียงแค่รักและไว้ใจตัวเอง เราจะเป็นได้ทุกอย่างในชีวิตนี้

เรื่อง วิรตี ทะพิงค์แก ภาพ บัว คำดี

  • หนังสือ How to Raise Your Self-esteem พาเรากลับไปหาต้นเหตุของความไม่นับถือตัวเอง กลับไปเชื่อมโยงกับสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตที่เรามักหลีกหนี
  • ไม่ใช่เพื่อให้รู้สึกแย่กับตัวเอง แต่เพื่อให้เปิดใจยอมรับความจริงว่า สิ่งเหล่านี้อยู่ในตัวเรา และมองเห็นอย่างเข้าใจลึกซึ้งโดยไม่ตัดสิน เพื่อกลับไปคืนดีกับตัวเองได้
  • ทั้งหมดนี้ก็เพื่อ จะได้ใช้ชีวิตได้อย่างรู้ตัว ใช้ชีวิตอย่างมีความรับผิดชอบต่อตัวเอง และ ใช้ชีวิตอย่างที่เราเป็นจริงๆ และสุดท้าย…กลับมานับถือตัวเอง

มนุษย์ทุกคนมีความต้องการสูงสุดในชีวิตไม่ต่างกัน เราต้องการเป็นที่รัก ได้รับการยอมรับ มีความสุข ประสบความสำเร็จ ‘ในแบบที่ตัวเองเป็นจริงๆ’ มิใช่ต้องเสแสร้งแกล้งทำเพื่อตอบสนองความพอใจของคนอื่นหรือในแบบที่สังคมบอกว่าดี แต่มีกี่คนที่นำพาชีวิตไปถึงจุดนั้นได้จริง หลายคนประสบความสำเร็จในมุมมองของสังคม ทว่าภายในกลับรู้สึกพังทลายคล้ายคนที่หลอกตัวเองให้เป็นในสิ่งที่ไม่อยากเป็น ขณะเดียวกันก็หลอกให้คนอื่นเห็นความสุขทั้งที่มีความทุกข์ท่วมท้นใจ

How to Raise Your Self-esteem หรือ พลังแห่งการเพิ่มความนับถือตัวเอง เขียนโดย เนธาเนียล แบรนเดน (Nathaniel Branden PH.D.) นักจิตวิทยาชื่อดังที่ทำงานบุกเบิกด้านแนวคิดจิตวิทยาเกี่ยวกับการนับถือตัวเองมานาน จนได้รับการเรียกขานว่า ‘บิดาแห่งจิตวิทยาการนับถือตัวเอง’ เป็นหนังสือเล่มเล็กทรงพลังที่เชื้อเชิญให้เรากลับมาเชื่อมโยงกับตัวเอง สืบค้นหาความรู้สึกคับข้องใจภายในเพื่อนำพาไปสู่ความรู้สึกนึกคิดและมุมมองใหม่อย่างมีชีวิตชีวาในการใช้ชีวิต

การนับถือตัวเองหรือ self-esteem เป็นพลังภายในที่ขับเคลื่อนชีวิต มีผลโดยตรงต่อการคิด การตัดสินใจ การลงมือทำ การตอบสนองผู้คนและเหตุการณ์ทุกเรื่องราวในชีวิตของเรา ช่วยให้เราสำเร็จและล้มเหลวได้พอๆ กัน ขึ้นอยู่กับว่าเรามีความรู้สึกต่อตัวเองอย่างไร

ผู้เขียนให้นิยามของการนับถือตัวเอง หมายถึง การมีจิตใจที่ไว้ใจและยอมรับตัวเองได้ รู้ความต้องการของตัวเองและยืนหยัดต่อความต้องการนั้น เลือกใช้ชีวิตเชิงบวกโดยเป็นผู้เลือกลงมือทำ รับผิดชอบผลของการเลือกทำทุกอย่างด้วยความเต็มใจ (ไม่ว่าดีหรือร้าย) และมีชีวิตที่เป็นมิตรกับตัวเองอย่างสงบสุข

ความรู้สึกนับถือตัวเองนั้นก่อตัวขึ้นจากสิ่งแวดล้อมที่เราได้รับการเลี้ยงดูทั้งจากครอบครัว โรงเรียน รวมถึงผู้คนรอบข้างที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ตลอดชีวิต เกิดเป็น self-concept หรือภาพในใจบางอย่างที่เราใช้เป็นกรอบความคิดเพื่อมองตัวเองว่า เราเป็นใคร เราเป็นคนแบบไหน ทั้งในระดับที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ส่งผลต่อการเลือก การตัดสินใจทำ/ไม่ทำ ทุกเรื่องในชีวิต สิ่งที่ปรากฏในชีวิตของเราทุกวันนี้ (ปัจจุบัน) จึงเป็นผลลัพธ์โดยตรงต่อความรู้สึกที่เรามีต่อตัวเราเอง (อดีต) หากเราเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดตัวเองได้ตั้งแต่วันนี้ (ปัจจุบัน) เราย่อมสร้างสิ่งที่เราต้องการ (อนาคต) ได้อย่างไม่ยากเย็น

สิ่งที่ดีที่สุดของหนังสือเล่มนี้คือ การนำพาเรากลับไปมองหาต้นเหตุที่แท้จริงของความรู้สึกนับถือตัวเองต่ำ ว่าเกิดขึ้นจากอะไร เป็นการพาตัวเรากลับไปเชื่อมโยงกับสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตที่เรามักหลีกหนี เก็บกดเอาไว้ ผ่านคำถามสั้นๆ ที่เรียบง่ายแต่ค้นลึกถึงแก่นแท้ความเป็นจริงที่บางครั้งอาจทำให้เราต้องร้องไห้

ตัวอย่างคำถามในแบบฝึกหัด เช่น

ถ้าเด็กที่อยู่ในตัวฉันพูดได้ เขาจะพูดว่า…

สิ่งที่ตัวตนวัยเด็กต้องการจากฉันคือ…

ไม่ง่ายเลยที่ฉันจะยอมรับว่า…

ถ้าฉันยอมรับความรู้สึกของฉันได้มากขึ้น…

สิ่งที่ฉันไม่ชอบเกี่ยวกับตัวเองอย่างหนึ่งคือ…

สิ่งที่ฉันชอบเกี่ยวกับตัวเองอย่างหนึ่งคือ…

ถ้าฉันต้องยอมรับว่าฉันชอบตัวเองแค่ไหน… ฯลฯ

ฉันเองได้ทดลองทำแบบฝึกหัดในหนังสือและพบว่า คำถามเหล่านั้นได้พาเรากลับไปมองเห็นความกลัว ความกังวล ความรู้สึกเชิงลบต่างๆ ที่อยู่ภายในได้อย่างชัดเจนกระจ่างแจ้ง และที่ชอบมากที่สุดคือการพาเราไปพบกับตัวเองตั้งแต่วัยเด็กและวัยรุ่นเพื่อเห็นการก่อรูปของความคิด ความรู้สึกที่เรามีต่อตัวเอง ไม่ใช่เพื่อให้เรารู้สึกแย่กับตัวเอง แต่เพื่อให้เราเปิดใจยอมรับความจริงว่า สิ่งเหล่านี้อยู่ในตัวเรา และมองเห็นอย่างเข้าใจลึกซึ้งโดยไม่ตัดสินว่ามันเกิดขึ้นในตัวเราด้วยสาเหตุใด เพื่อกลับไปคืนดีกับตัวเองได้ ขณะเดียวกันก็พาเรากลับไปสืบค้นความดีงามภายในที่เรามีอยู่ ที่บางครั้งเรากดข่มตัวเองไว้ ทำให้เรารักตัวเอง ภูมิใจในตัวเองอย่างที่เราเป็นได้ลึกซึ้งกว่าที่เคย

การยอมรับตัวเอง (self-awareness) ทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งที่เป็นข้อจำกัดเพื่อ ‘เป็นหนึ่งเดียวกับตัวเอง’ จึงเป็นก้าวแรกของการเดินต่อ ทำให้เราได้มองเห็นทางเลือกในการลงมือทำมากขึ้น เต็มใจรับผิดชอบชีวิตของตัวเองมากขึ้น (ด้วยการตัดสินใจเลือกเอง) การเลือกด้วยตัวเองทำให้ตระหนักถึงอำนาจที่ควบคุมชีวิตตัวเองได้มากขึ้น ช่วยให้เรายืนหยัดต่อความท้าทายและโอกาสในชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ

เนื้อหาหนังสือในแต่ละบทจึงค่อยๆ นำทางให้เรากลับไปสืบค้นสิ่งต่างๆ ภายในอย่างช้าๆ ทั้งการเรียนรู้ การยอมรับตัวเอง การปลดปล่อยตัวเองจากความรู้สึกผิด การหลอมรวมตัวตนวัยเยาว์ เพื่อว่านับจากนี้ไป เราจะใช้ชีวิตได้อย่างรู้ตัว (live consciously) ใช้ชีวิตอย่างมีความรับผิดชอบต่อตัวเอง และ ใช้ชีวิตอย่างที่เราเป็นจริงๆ

คีย์เวิร์ดสามคำนี้มีความหมายลึกซึ้งมาก เพราะผู้ที่มีความนับถือตัวเองสูงย่อมสามารถเลือกใช้ชีวิตด้วยปัญญา ตระหนักเสมอว่าอำนาจในการเลือกทำหรือไม่ทำนั้นอยู่ที่ตัวเอง จึงเป็นผู้เลือกผลักดันตัวเอง (active) เสมอ หรือ อย่างน้อยก็สร้างทางเลือกเพิ่มขึ้น กล้าเผชิญหน้าความจริง ยอมเสี่ยงลงมือทำ (และเต็มใจรับผลการกระทำนั้น) ไม่ใช่รอคอยให้เกิดสถานการณ์ที่ตัวเองต้องกลายเป็นเหยื่อของการเลือก (passive) เช่น ทำตามความต้องการของคนอื่นทั้งชีวิตโดยกดข่มความต้องการของตัวเองไว้ลึกที่สุด หรือ ทำเป็นไม่รู้สึกอะไรทั้งที่รู้สึกอยากเปลี่ยนแปลงสถานการณ์มาก

คนที่รับรู้ความรู้สึก-ความต้องการของตนเองอยู่เสมอ จึงได้ทำในสิ่งที่เป็นตัวตนจริงแท้ ยิ่งทำก็ยิ่งรู้สึกดีกับตัวเอง ชอบตัวเอง เชื่อมั่นในตัวเอง ตระหนักรู้ว่าตัวเองมีความสามารถ คู่ควรที่จะมีความสุข และรักตัวเองได้อย่างแท้จริง

การรักตัวเองหรือการเพิ่มความนับถือตัวเองไม่ใช่การเห็นแก่ตัว หากเป็นวิธีการที่ทำให้มนุษย์แต่ละคนได้กลับไปมองเห็นศักยภาพสูงสุดภายในของตัวเองและได้ใช้ชีวิตอย่างเปล่งประกายสูงสุด

ถ้าคนทุกคนได้ ‘ใช้ชีวิตอย่างที่ตัวเองเป็นอย่างแท้จริง’ เขาจะรักตัวเองได้ รักตัวเองเป็น คนที่รักตัวเองเป็น จะเป็นคนที่รักคนอื่นเป็นไปโดยปริยาย เพราะเขาเป็นมนุษย์ที่อิ่มเต็มแล้วด้วยตัวเอง (ไม่ต้องรอการเติมเต็มจากคนอื่นไม่ว่าเรื่องความรักหรือการยอมรับก็ตาม) โลกใบนี้จะเต็มไปด้วยมนุษย์ที่ยอมรับความรู้สึกตัวเอง พูดและทำตรงกับใจอย่างรับผิดชอบต่อตัวเองและคนอื่น พอใจตัวเอง ให้เกียรติตัวเอง และเรียนรู้การปฏิบัติตนต่อคนอื่นด้วยความเคารพ รับฟัง ยอมรับและให้เกียรติคนอื่นด้วยเช่นกัน

How to Raise Your Self-esteem หรือ พลังแห่งการเพิ่มความนับถือตัวเอง จึงเป็นเครื่องมือนำทางให้เราได้กลับไปทำความรู้จัก มองเห็น และเป็นมิตรกับตัวเองได้อย่างง่ายดายและมีพลังที่สุดเล่มหนึ่งเท่าที่เราจะพึ่งพาตัวเองได้ เพราะแนวทางของคำถามในแบบฝึกหัดนั้นเป็นการกลั่นกรองจากประสบการณ์การบำบัดคนไข้ของผู้เขียนมาหลายสิบปี ผ่านคำถามเรียบง่ายที่เชื่อเถิดว่าเราจะได้มองเห็นตัวเองในอีกมุมหนึ่งอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย

และวันใดที่เราเป็นมิตรกับตัวเองได้ โอบกอดตัวเองได้ รักตัวเองได้อย่างแท้จริง วันนั้นจะไม่มีคำว่า “เป็นไปไม่ได้” อยู่ในพจนานุกรมชีวิตของเราอีกต่อไป

How to Raise Your Self-esteem หรือ พลังแห่งการเพิ่มความนับถือตัวเอง เขียนโดย Nathaniel Branden PH.D. แปลโดย สาริศา มีสุขศรี โดยสำนักพิมพ์ OMG Books ราคาเล่มละ 220 บาท

Tags:

คาแรกเตอร์(character building)การเห็นคุณค่าในตัวเอง(Self-esteem)หนังสือ

Author:

illustrator

วิรตี ทะพิงค์แก

นักเขียน นักเล่าเรื่อง และบรรณาธิการอิสระ ที่ยังคงมีความสุขกับการเดินทางภายนอกเพื่อเรียนรู้โลกภายในของตัวเอง เจ้าของผลงานนิทานชุดดอยสุเทพเรื่อง ‘ป่าดอยบ้านของเรา’ หนังสือเรื่อง ‘เตรียมหนูให้พร้อมก่อนเข้าอนุบาล’ และ ‘ของขวัญจากวัยเยาว์’ คู่มือสังเกตความถนัดของลูกช่วงปฐมวัย เคยทำนิทานร่วมกับลูกชายเมื่อครั้งอายุ 6 ปี เรื่อง ‘รถถังนักปลูกต้นไม้’

Illustrator:

illustrator

บัว คำดี

เติบโตมากับเพลงป็อปแดนซ์ยุค 2000 เริ่มเป็นติ่งวงการ k-pop ในวัยมัธยม มีเพลงการ์ตูนดิสนีย์เป็นพลังใจในทุกช่วงวัยของชีวิต

Related Posts

  • Book
    The Element: การค้นพบ ‘ธาตุ’ ที่บอกว่า ‘ฉันเกิดมาเพื่อสิ่งนี้’

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พิมพ์พาพ์

  • Everyone can be an Educator
    RABBITHOOD ของโจ้ วชิรา ในวันที่ลูกค้าเป็นฝ่ายเดินเข้ามาหาแล้วบอกว่าชอบงาน

    เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ ภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

  • อ่านความรู้จากบ้านอื่นBook
    บันทึกคุณแม่นักอ่านนิทาน: แค่คำว่า ‘กาลครั้งหนึ่ง’ ก็เปลี่ยนโลกได้

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • How to get along with teenager
    โตขึ้นอยากเป็นอะไร คำถามง่ายแต่ตอบไม่ได้จริงๆ

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • Character buildingBook
    ความโง่ไม่ใช่สิ่งถาวร ถ้าเขามี ‘ครู’ ให้พิงหลัง

    เรื่องและภาพ ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel