Skip to content
ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)
  • Creative Learning
    Unique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique SchoolEveryone can be an Educator
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)
21st Century skills
27 February 2020

ฮาวทู GET 4CS! ออกแบบกิจกรรมอย่างไรให้พัฒนาทักษะเด็ก

เรื่อง The Potential

ภาพประกอบ: เสฎฐวุฒิ โกมารกุล ณ นคร

4Cs คือทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญทั้งปัจจุบันและอนาคต ประกอบด้วย

  • Creativity คิดนอกกรอบและต่อยอดเป็น
  • Critical Thinking คิดอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหาเองได้
  • Communication สื่อสารได้ถูกต้องเหมาะสม
  • Collaboration การทำงานร่วมกับผู้อื่น

แต่เราจะติดตั้งอาวุธเหล่านี้ให้กับเด็กๆ อย่างไร เพื่อสร้างและคืนประสบการณ์ความเป็นมนุษย์ให้กับพวกเขาโดยที่ไม่ละทิ้งทักษะที่สำคัญทั้ง 4Cs นี้ไป อาจฟังดูยาก แต่เราสามารถออกแบบได้ผ่าน 7 กิจกรรมนี้ 

กิจกรรม 1:  Ice Breaking ละลายตัวตน ออกมาเชื่อมโยงกับคนอื่น

ฝึกทักษะการสื่อสาร (Communication)

รอบที่ 1 : ให้ผู้เข้าร่วมเลือกคนที่เราคิดว่ารู้จักน้อยที่สุด เอามือไปแตะที่คนนั้น ถามว่า “ชื่ออะไรและเช้านี้ทานอะไรมา”

รอบที่ 2 : ให้ผู้เข้าร่วมเดินไปแตะมือคนใหม่ ถามว่า “ชื่ออะไร ทำงานอะไร และถ้าวันนี้ถูกหวยเขาจะทำอะไร”

รอบที่ 3 : ให้ผู้เข้าร่วมเดินไปแตะมือคนสุดท้าย ที่เราไม่รู้จักเลย ถามว่า “ชื่ออะไรและความรักครั้งแรกเป็นอย่างไร”ให้คล้องแขนกันไว้ วิทยากรสุ่มแลกเปลี่ยนกันในวง

กิจกรรม 2: แนะนำตัวผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์

ฝึกทักษะการสื่อสาร (Communication, Creativity)

  1. ให้ผู้เข้าร่วมวาดรูปหน้าตัวเอง ด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด
  2. ให้เขียนชื่อเล่นใต้รูปภาพ
  3. ให้เขียนข้อมูลในบัตรประชาชน (ให้เวลา 10 นาที)
  • ลักษณะทางกายภาพของชุมชนของตัวเอง เช่น บ้านของเราเป็นแบบไหน
  • อาหารจานโปรดของเรา 1 เมนู
  • มีที่เที่ยวที่ไหนที่เป็นที่เที่ยวสุดโปรด ไปแล้วรู้สึกสบายใจ
  • ข้อดี-ข้อเสียของเราคืออะไร
  • คำฮิตติดปากของเรา
  • ความฝันของเราคืออะไร เราอยากเป็นอะไร อยากทำอะไร
  • ปัจจุบันความสุขที่แท้จริงของเราคืออะไร
  • เวลาที่เราทุกข์ใจมากที่สุด เราก้าวข้ามไปได้อย่างไร
  1. ให้ผู้เข้าร่วมจับคู่แลกเปลี่ยนกับเพื่อน

กิจกรรม 3: รวมพลังกลุ่ม ทำภารกิจให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน

ฝึกการทำงานเป็นทีม (Collaboration,Critical thinking)

  • ฐานที่ 1 มือวาง ช่วยกันใช้นิ้วดีดให้แก้ว 3 ใบที่หงายอยู่กลับมาคว่ำ
  • ฐานที่ 2 ดัชนีมีดาว ใช้นิ้ว วาดรูป 2 รูป คือ วงกลม ดาว และเขียนชื่อกลุ่ม
  • ฐานที่ 3 จับปูเดินทาง สมาชิกเกาะกันเป็นวงกลม ห้ามมือขาดเดินไปยังฐานต่อไป
  • ฐานที่ 4 ไข่บิน ได้ไข่กลุ่มละ 2 ฟอง ให้โยนให้สมาชิกในกลุ่มที่อยู่ตรงข้าม โยนรอบที่ 1 สามารถเรียกชื่อผู้รับได้ โยนรอบที่ 2 ห้ามเรียกชื่อผู้รับ สามารถทำแตกได้กลุ่มละ 1 ใบเท่านั้น
  • ฐานที่ 5 ปากดี มีไม้เล็กๆ ความยาวประมาณ 1 ไม้บรรทัด ให้จับคู่ภายในทีม นำไม้สอดตรงที่เปิดกระป๋อง แต่ละคู่ใช้ปากคาบไม้เพื่อประคองกระป๋องไปสู่อีกฝั่งที่เป็นจุดหมาย
  • ฐานที่ 6 น้ำใจ มีแหล่งน้ำให้ ให้นำอุปกรณ์ที่มีในตัวของคนในทีม อะไรก็ได้ ให้ตักน้ำจากแหล่งน้ำเพื่อไปเติมน้ำในถังเปล่าของแต่ละทีมให้เต็ม ทีมไหนเต็มก่อนเป็นฝ่ายชนะ หยุดเล่นเมื่อมีทีมที่เติมน้ำเต็มแล้ว

กิจกรรม 4: สายธารชีวิต ทบทวนและถ่ายทอดเรื่องราวของตัวเอง

ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์, การสื่อสาร  (Critical thinking, Communication)

  1. ให้ผู้เข้าร่วมค่อยๆหลับตา นิ่งๆ และกลับมาอยู่กับตัวเอง (5 นาที)
  2. วิทยากรชวนผู้เข้าร่วมให้ย้อนกลับไปทบทวนตัวเองในวัยเด็ก ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ จนออกมาสู่โลกกว้าง
  • ตอนที่เราอายุ 10 ปี ระหว่างนั้นเราจำอะไรได้บ้าง ภาพความทรงจำในวัย 0-10 ปี เป็นอย่างไร มีสุข-มีทุกข์อะไรที่เราจำได้บ้าง
  • ออกเดินทางต่อไป ในช่วง 10-20 ปี เราเริ่มเข้าสู่โรงเรียน เรามีความทรงจำ สุข-ทุกข์อะไรบ้าง เราเห็นอะไร เราได้เรียนรู้อะไร
  • ในช่วงวัย 20-30 ปี เป็นอีกวัยที่เราเริ่มเติบโต เราได้ก้าวข้ามความสุข ความทุกข์ ในช่วงวัยนี้อย่างไร เราได้เรียนรู้อะไร หลายๆ คนได้ทำงาน และหลายคนเข้ามาทำงานเพื่อสังคม ทำงานจิตอาสา
  1. ให้ทุกคนเล่าเรื่องของตนเองให้เพื่อนในกลุ่ม 3-4 คนฟัง 

กิจกรรม 5: ลงพื้นที่จริง เพื่อศึกษาชุมชนในประเด็นที่สนใจร่วมกัน

ฝึกทักษะการสื่อสาร (Communication,Critical thinking)

ใช้การ sensing คือการเปิดประสบการณ์ เปิดผัสสะของเราในการรับข้อมูลอย่างเที่ยงตรงและกระทบใจ ไปในพื้นที่บริเวนหาดปากบารา แล้วตาเรามองเห็นอะไร รู้สึกอะไร ได้ยิน ได้กลิ่นอะไร กระทบใจกับตรงไหน ประเด็นอะไรที่โดน เป็นการทำให้เด็กอิน รู้สึก โดยไม่ใช้ฐานหัวอย่างเดียว

กิจกรรม 6: สร้างสรรค์งานศิลปะสื่อสารข้อมูลจากชุมชน

ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์, การสื่อสาร, การทำงานเป็นทีม (Creativity, Critical thinking, Communication, Collaboration)

ศิลปะจัดวาง ภาพวาดและกวี หุ่นเงา แต่งเพลง เป็นการนำสิ่งที่สัมผัส (sensing) ได้จากการลงพื้นที่มาผลิตงานศิลปะ เพื่อใช้งานศิลปะสื่อสารประเด็นที่เรามองเห็นสู่สาธารณะ เช่น ประเด็นการเข้ามาของคนนอกที่มาเป็นนายทุนทำธุรกิจในพื้นที่ ทำให้ธุรกิจในพื้นที่เป็นของคนนอก เป็นต้น

กิจกรรม 7: จัด Festival สื่อสารประเด็นที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลง

ฝึกทักษะการสื่อสารและทำงานเป็นทีม (Creativity, Critical thinking, Communication, Collaboration)

การสื่อสารมีหลายแบบอย่างที่พูดไปก่อนหน้านี้ แต่ที่ครั้งนี้เราเลือกออกแบบการเรียนรู้ให้น้องได้ใช้ศิลปะ เพราะเชื่อว่าการสื่อสารในปัจจุบันไม่ได้สื่อผ่านเทคโนโลยีอย่างเดียว สิ่งสำคัญคือการสื่อสารผ่านชุมชน ผ่านผู้คนที่เข้ามาเรียนรู้ผ่านงานที่เขากำลังจะจัด โดยการจำลองให้น้องจัดงาน festival ขึ้น งานนี้เขาต้องมีเรื่องจะสื่อสาร ต้องเชิญคนมาร่วมงานให้ได้อย่างน้อย 50 คนขึ้นไป ซึ่งเวลาคน 50 คนมารวมกันในพื้นที่ใดหนึ่ง เขาไม่ได้ดูงานตลอดเวลา แต่จะเอาตัวเองเข้าไปดูนิทรรศการ ดูการแสดง ดูอะไรบางอย่าง

Tags:

คาแรกเตอร์(character building)21st Century skills4Cs

Author:

illustrator

The Potential

กองบรรณาธิการ The Potential

Related Posts

  • Social Issues
    การศึกษาที่เท่าเทียมและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สร้างการเรียนรู้ที่แท้จริง

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • 21st Century skills
    กระตุ้นให้เด็กคิดวิเคราะห์ ครูต้องเลิกถามว่าเข้าใจไหมและไม่รีบเฉลยคำตอบ

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • 21st Century skills
    ในห้องเรียน ‘ความคิดสร้างสรรค์’ วัดกันได้ และไม่ต้องใช้คะแนนหรือเกรดเฉลี่ย

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • 21st Century skills
    เป็นเด็กยิ่งต้อง ‘เถียง’ และเถียงอย่างสร้างสรรค์เพื่อเข้าใจตัวเองและคนอื่น

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • 21st Century skills
    3 สูตร(ไม่)สำเร็จของความคิดสร้างสรรค์ ทักษะสำคัญของปัจจุบันและอนาคต

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel