Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
How to get along with teenager
13 October 2021

ในวันที่โลกดูสิ้นหวัง และตัวฉันที่กำลังจะหมดหวังกับตัวเอง : EP.3 “I am worth enough.”

เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • หนึ่งในปัจจัยที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการทำให้เด็กคนหนึ่งยืนหยัดเพื่อตัวเขาเองได้ คือ การมองเห็นคุณค่าในตัวเอง (Self-value) เมื่อเรารับรู้ว่า ‘ตัวเรานั้นมีคุณค่า’ เราจะสามารถยืนหยัดเพื่อตัวเองได้ เช่น ยืนหยัดเพื่อสิ่งที่เราเชื่อ สิ่งที่เราทำ และสิ่งที่เรารัก
  • การมองเห็นคุณค่าในตัวเองไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง หากแต่ก็ต้องได้รับการสร้างและพัฒนา โดยต้องได้รับความรัก การช่วยเหลือ การสอน และการมีแบบอย่างที่ดีจากผู้เลี้ยงดูหลัก ‘พ่อแม่’ หรือสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ
  • พ่อแม่เป็นบุคคลแรกในชีวิตของลูกที่จะช่วยเติมเต็มการมองเห็นคุณค่าตัวเองในขั้นแรกสุด โดยการรักลูกอย่างไม่มีเงื่อนไข ยอมรับเขาในแบบที่เขาเป็น ตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานทางกาย ในวันที่ลูกยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

เด็กๆ ที่เติบโตขึ้นบนโลกที่เต็มไปด้วยความสับสนอลหม่าน หากพวกเขาสามารถรักษาใจของเขาให้เข้มแข็งและมั่นคงเพียงพอ เขาจะสามารถเติบโตต่อไปเป็นตัวเองที่มีความสุขได้ หนึ่งในปัจจัยที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการทำให้เด็กคนหนึ่งยืนหยัดเพื่อตัวเขาเองได้ คือ ‘การมองเห็นคุณค่าในตัวเอง’

การมองเห็นคุณค่าในตัวเอง (Self-value) หมายถึง บุคคลรับรู้ถึงการมีคุณค่าในตัวเอง ทำให้ตัวเองเชื่อว่า “ตนนั้นมีคุณค่า”

ความสำคัญของการมองเห็นคุณค่าในตัวเอง

  1. เมื่อเรารับรู้ว่า ‘ตัวเรานั้นมีคุณค่า’ เราจะยอมรับในตัวเอง ซึ่งนำไปสู่ความพึงพอใจในชีวิต
  2. เมื่อเรารับรู้ว่า ‘ตัวเรานั้นมีคุณค่า’ เราจะสามารถยืนหยัดเพื่อตัวเองได้ เช่น ยืนหยัดเพื่อสิ่งที่เราเชื่อ สิ่งที่เราทำ และสิ่งที่เรารัก
  3. เมื่อเรารับรู้ว่า ‘ตัวเรานั้นมีคุณค่า’ เราจะไตร่ตรองก่อนที่จะทำสิ่งต่างๆ มากขึ้น ยิ่งสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี เราจะไม่อยากทำมัน เพราะเรารู้ว่าตัวเรานั้นมีค่ามากพอที่จะไม่ไปทำสิ่งที่ไม่ดี
  4. คุณค่าที่เรารับรู้เกิดจากภายใน ทำให้เมื่อภายนอกมากระทบเรา เราจะไม่หวั่นไหวต่อการกระทบนั้น เช่น ถ้าเรารับรู้ว่า เรามีความสามารถ และเราสามารถทำอะไรได้หลายอย่าง เมื่อคนมาบอกเราว่า “ไอ้ขี้แพ้” “ไอ้คนไม่เอาไหน” เราจะรู้สึกว่าคำพูดนั้นไม่เป็นความจริง และไม่ควรค่าพอจะเอาเก็บมาคิดหรือใส่ใจ
  5. ไม่เพียงแค่ตัวเราที่รับคุณค่าในตัวเอง แต่เรารับรู้ว่าผู้อื่นสามารถมองเห็นคุณค่าในตัวเราเช่นกัน ทำให้เราอยากทำสิ่งดีๆ เพื่อส่วนรวมอีกด้วย
  6. เมื่อรับรู้ถึงคุณค่าภายในตัวเองแล้ว การรับรู้จะแผ่ขยายไปสู่การรับรู้ถึงคุณค่าของผู้อื่นเช่นกัน

การมองเห็นคุณค่าในตัวเองไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง หากแต่ก็ต้องได้รับการสร้างและพัฒนา โดยต้องได้รับความรัก การช่วยเหลือ การสอน และการมีแบบอย่างที่ดีจากผู้เลี้ยงดูหลัก ในที่นี้ คือ ‘พ่อแม่’ หรือ ในบางครอบครัวอาจจะเป็นสมาชิกในครอบครัวท่านอื่นๆ เช่น คุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย คุณลุงคุณป้า เป็นต้น

แนวทางการสร้างการมองเห็นคุณค่าในตัวเองให้กับเด็กๆ 

ขั้นที่ 1 ให้ความรัก ให้เวลาคุณภาพ ให้การตอบสนอง ในเด็กเเรกเกิด

‘การมองเห็นในคุณค่าในตัวเองต้องเริ่มจาก ผู้อื่นให้ความสำคัญและตอบสนองต่อความต้องการของเขา’

พ่อแม่เป็นบุคคลแรกในชีวิตของลูกที่จะช่วยเติมเต็มในขั้นแรกสุด โดยการรักลูกอย่างไม่มีเงื่อนไข ยอมรับเขาในแบบที่เขาเป็น ตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานทางกาย ในวันที่ลูกยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

ขั้นที่ 2 สอนเด็กช่วยเหลือตัวเอง

‘การมองเห็นคุณค่าในตัวเองพัฒนาได้จาก ผู้อื่นยอมรับในสิ่งที่เขาทำ’

เมื่อเด็กๆ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดี พวกเขาจะสามารถพัฒนาการรับรู้ความสามารถในตนเอง และการเป็นที่ยอมรับของสังคม

ขั้นที่ 3 สอนเด็กดูแลข้าวของเครื่องใช้ของตนเองและพื้นที่ที่ตนใช้

เด็กๆ ที่ดูร่างกายของตัวเองพอสมควร เราจะมอบหมายให้เขาดูแลข้าวของเครื่องใช้ (Belongings) และพื้นที่ที่ตนเข้าไปใช้งานได้ เช่น

เมื่อเล่นของเล่นเสร็จ ให้เขาเก็บของเล่นด้วยตนเอง

เมื่อกินข้าวเสร็จ นำจานไปวางในอ่าง แล้วกลับมาเช็ดโต๊ะบริเวณที่เขากิน

เมื่อกลับมาจากโรงเรียน นำของใช้ในกระเป๋าออกมาดูแล จะซัก จะทิ้ง จะจัด เพื่อเตรียมสำหรับวันถัดไป

เมื่อรองเท้า-ถุงเท้าสกปรก เราสอนเขาซักได้ เป็นต้น

เพราะเมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะรับผิดชอบของๆ ตนเอง และพื้นที่ที่เขาใช้ เด็กจะเรียนรู้ว่า “ตนเองสามารถรับผิดชอบตัวเองได้ และไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับใคร” ซึ่งถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญของทุกๆ คนในสังคมก็ว่าได้

ขั้นที่ 4 สอนการดูแลส่วนรวม โดยเริ่มจากงานบ้าน

‘งานบ้าน’ ถือเป็นงานส่วนรวมงานแรกในชีวิตของเด็กเลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อเด็กทำงานบ้าน เขาได้ทำประโยชน์ให้กับคนที่มาใช้งานพื้นที่นั้น หรือของตรงนั้น เด็กจะรับรู้ถึงคุณค่าภายในตัวเองว่า “เขาสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้”

การมอบหมายงานบ้านให้เด็กๆ ทำ ไม่ได้มีเป้าหมายไปที่ ‘ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์แบบ’ เช่น บ้านที่สะอาด การทำงานได้ดีเยี่ยมไม่มีที่ติ แต่เพื่อ

‘ให้เด็ก ๆ ฝึกความอดทนอดกลั้น ทำงานบ้านให้เสร็จก่อนไปเล่น’ เพื่อสอนเขาเรื่องหน้าที่และลำดับความสำคัญ

‘ให้เด็กได้ใช้ความพยายามทำสิ่งที่มีคุณค่า’ เพื่อสอนเขาเรื่องการทำให้ตนเองมีคุณค่า ต้องอาศัยความพยายามและและความอดทน

‘ให้เด็กทำในสิ่งที่เขาทำได้ เพื่อผู้อื่นบ้าง’ เพื่อดึงเขาออกจากศูนย์กลาง (Egocentrics) ทำให้เขามองเห็นและเข้าอกเข้าใจผู้อื่นบ้าง

เด็กๆ หลายคน เกิดมาเพื่อเป็นผู้ช่วยเหลือ แต่ความอยากช่วยค่อยๆ เลือนหายไป เนื่องด้วย ‘การถูกตำหนิที่ผลลัพธ์ก่อนได้รับการชื่นชมในความตั้งใจทำ’ เพราะพ่อแม่อาจจะลืมไปว่า ผลลัพธ์สำคัญน้อยกว่าความพยายาม เด็กๆ ทำไม่ได้ดี เขาพัฒนาได้ แต่ถ้าเราห้ามเขาทำ บ่นที่เขาทำไม่ได้ดังความคาดหวังของเรา เด็กจะไม่อยากทำมันอีก นานวันไป ก็กลายเป็น ‘เขาไม่ทำมันดี น่าจะดีที่สุด’ เพราะเขาไม่อยากถูกบ่นหรือตำหนิ

ดังนั้น คุณค่าในตนเองเริ่มจาก ‘การทำให้ตนเองมีคุณค่า’ ผ่านการลงมือทำ ช่วยเหลือตัวเองไม่ให้เป็นภาระของใคร ดูแลของใช้และพื้นที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น และเมื่อดูแลตัวเองและของๆ ตัวเองได้ ก็พัฒนาไปสู่การช่วยเหลือส่วนรวม โดยเริ่มจากงานบ้านเพื่อคนที่บ้าน ซึ่งเป็นบุคคลที่เขารัก และสุดท้าย แม้จะไม่ได้เกิดกับทุกคน คือ การช่วยเหลือส่วนรวม ซึ่งเป็นบุคคลอื่นๆ ที่เด็ก อาจจะไม่เคยรู้จักมาก่อน

“สิ่งที่เด็กลงมือทำคือสิ่งที่มีคุณค่า เมื่อคุณค่าถูกส่งออกไปจากตัวเขาไปสู่ผู้อื่น สิ่งที่ได้รับกลับมา คือ การที่ผู้อื่นรับรู้ถึงคุณค่าในตัวเขา เป็นการยืนยันว่าเขามีคุณค่าในขั้นแรก นานวันเขาไม่จำเป็นต้องรอผู้อื่นมายืนยันคุณค่านั้นอีก เพราะเขาเรียนรู้แล้วว่า ภายในเขามีคุณค่า”

การรับรู้ถึงความรักที่พ่อแม่มอบให้เขาอย่างไม่มีเงื่อนไข และการรับรู้ความสามารถในตนเอง และการรับรู้ว่าตนเองทำอะไรได้บ้างเพื่อผู้อื่น ทำให้การมองเห็นคุณค่าในเด็กจะชัดเจนขึ้น และระยะยาวจะส่งผลดีต่อตัวเขา ในวันที่เขาต้องเจอกับปัญหา เขาจะฝ่าฟันมันไปได้ โดยไม่ยอมแพ้เสียก่อน

Tags:

วัยรุ่นการเห็นคุณค่าในตัวเอง(Self-esteem)Growth mindsetไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ความเครียด

Author:

illustrator

เมริษา ยอดมณฑป

นักจิตวิทยาเจ้าของเพจ ‘ตามใจนักจิตวิทยา’ เพจที่อยากให้ทุกคนเข้าถึง ‘นักจิตวิทยา’ ได้มากขึ้นในฐานะเพื่อนแปลกหน้าผู้เคียงข้าง ปัจจุบันเป็นนักจิตวิทยาที่ห้องเรียนครอบครัว เป็น "ครูเม" ของเด็กๆ และคุณพ่อคุณแม่ ความฝันต่อไปคือการเป็นนักเล่นบำบัด วิทยากร นักเขียน และการเปิดร้านหนังสือเล็กๆ เป็นของตัวเอง

Illustrator:

illustrator

ninaiscat

ทิพยา ทิพย์พันธ์ (ninaiscat) เป็นนักวาดภาพประกอบและนักออกแบบกราฟิกอิสระ ชอบแมว (เป็นชีวิตจิตใจ) ชอบทำกับข้าว กินกาแฟทุกวันและมีความฝันว่าอยากมีบ้านสักหลังที่เชียงใหม่

Related Posts

  • How to enjoy life
    Existential crisis: วิกฤตชีวิตที่มาพร้อมกับคำถาม “แล้วฉันอยู่เพื่ออะไร”

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Life classroom
    ‘อนุญาตให้ตัวเองผิดหวังได้แต่อย่านาน’ ไดอารี่ชีวิตสาวน้อยคิดบวก ธันย์- ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์

  • How to get along with teenager
    Teenage Burnout : ภาวะหมดไฟในวัยรุ่นวัย (หมด) ฝัน

    เรื่อง จณิสตา ธนาธรชัย ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to get along with teenager
    ในวันที่โลกดูสิ้นหวัง และตัวฉันที่กำลังจะหมดหวังกับตัวเอง : EP.1 ‘I feel hopeless.’

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Social Issues
    โรคระบาด ความเครียด การฆ่าตัวตาย และสถานการณ์ที่วัยรุ่นทั่วโลกกำลังแบกรับ

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel