Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย

Month: January 2022

6 วิธีจัดการชีวิตและสิ่งแวดล้อม สร้างสมาธิในการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น
Adolescent Brain
31 January 2022

6 วิธีจัดการชีวิตและสิ่งแวดล้อม สร้างสมาธิในการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น

เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • การฟังดนตรีช่วยเพิ่มการหลั่งโดพามีนได้ จึงเชื่อกันว่าน่าจะทำให้เด็กที่สมาธิสั้นสงบและตั้งสมาธิในการเรียนได้ดีมากขึ้น แต่ดนตรีที่ชอบหรือเกลียดเป็นพิเศษไม่เหมาะสำหรับใช้สร้างสมาธิ
  • การอยู่ใกล้ชิดกับต้นไม้และบรรยากาศแบบสีเขียวของพืช นอกจากจะเป็นประโยชน์กับการพัฒนาของสมอง ยังช่วยเรื่องสมาธิในเด็กอีกด้วย
  • รวมถึงการแบ่งช่วงเวลาการทำงานออกเป็นช่วงสั้นๆ แทนที่จะทำอย่างยืดยาวรวดเดียวเสร็จ ซึ่งบางครั้งอาจยาวนานหลายชั่วโมงก็ช่วยให้มีสมาธิมากขึ้นได้

ปัญหาใหญ่ของคนยุคไอทีรุ่งเรืองที่ผู้คนจ้องหน้าจอกันตลอดเวลาแบบปัจจุบันนี้คือ ไม่มีสมาธิ  ความสนใจกระจัดกระจาย ถ้าเป็นสำนวนกำลังภายในก็คงว่า “ลมปราณแตกซ่าน” ประมาณนั้น 

สำหรับคนทั่วไปคำแนะนำที่ตรงไปตรงมา แต่ทำได้ยากยิ่งก็คือ ลดหรือเลิกการใช้งานมือถือ เข้าโซเชียลมีเดียให้น้อยลง หากเป็นเช่นนี้เราจะมีวิธีจัดการชีวิตหรือจัดสิ่งแวดล้อมอย่างไร เพื่อให้เกิดสมาธิในการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น? 

จะขอแนะนำ 5 ข้อต่อไปนี้ ซึ่งมีผลการวิจัยสนับสนุน หลายข้ออาจคาดไม่ถึงกันทีเดียว 

คำแนะนำข้อแรกได้แก่การใช้ดนตรีช่วยครับ 

มีงานวิจัยในเด็กสมาธิสั้นจำนวน 41 คน [1] ทำให้รู้ว่า เด็กๆ เหล่านี้เรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น หากเปิดเพลงบางแบบให้ฟังไปด้วยขณะที่เรียน สำหรับสาเหตุที่เป็นเช่นนี้อาจเกิดจากเด็กในกลุ่มนี้บางคนสมาธิสั้นจากการขาดสารสื่อประสาทชื่อ โดพามีน

การฟังดนตรีช่วยเพิ่มการหลั่งโดพามีนได้ จึงเชื่อกันว่าน่าจะทำให้เด็กเหล่านี้สงบและตั้งสมาธิในการเรียนได้ดีมากขึ้น [2]   

ชนิดของดนตรีสำคัญนะครับ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เปิดจำพวกเพลงคลาสสิกหรือแม้แต่เสียงธรรมชาติ เช่น น้ำไหล เสียงลม หรือคลื่น ก็ดีมากๆ เพลงจำพวกดนตรีบรรเลงไม่มีเสียงร้องก็เหมาะเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน ช่วยทำให้เกิดสมาธิได้ดี 

แต่ดนตรีที่ชอบหรือเกลียดเป็นพิเศษไม่เหมาะสำหรับใช้สร้างสมาธิขณะเรียนหรือทำงาน เพราะมันคอยแต่จะดึงดูดความสนใจ ทำให้เสียสมาธิ

คำแนะนำข้อที่ 2 อาจขัดต่อความเชื่อของคนจำนวนมากที่เชื่อว่า การเล่นวิดีโอเกมทำให้เสียการเรียน ไม่ดีต่อเด็ก แต่จากการวิจัย [3] พบว่าการปล่อยให้เล่นเกมนาน 1 ชั่วโมง ช่วยเพิ่มสมาธิได้ ทำให้มีใจจดจ่อมากขึ้นกับงานที่ได้รับมอบหมาย โดยไม่โดนเรื่องอื่นๆ ดึงความสนใจไป 

แต่เนื่องจากกลุ่มทดลองยังมีขนาดเล็กคือ 29 คน และยังไม่ได้ทดสอบจนตอบได้ว่า สมาธิจดจ่อแบบนี้จะคงอยู่ได้นานแค่นี้ จึงถือว่าเป็นการค้นพบชั้นต้นที่ต้องวิจัยเพิ่มเติมกันอีกครับ

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่การศึกษาชิ้นเดียวที่ชี้ไปในทางดังกล่าว 

มีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง [4] ที่พยายามหาข้อสรุปจากการทดลองก่อนหน้า 100 เปเปอร์ โดยใช้วิธีการทางสถิติเข้าช่วย ทำให้ได้ข้อสรุปว่าการเล่นวิดีโอเกมอาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในสมอง ซึ่งก็รวมทั้งการทำให้มีสมาธิจดจ่อมากขึ้นด้วย 

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเปเปอร์ส่วนใหญ่ที่นำมาวิเคราะห์ ตั้งเป้าหมายการทดลองไปที่การศึกษาเรื่องการเสพติดและความรุนแรงจากเกม จึงน่าจะยังต้องรอผลการวิเคราะห์แบบเดียวกันของงานวิจัยจำพวกที่ออกแบบมาศึกษาเกี่ยวกับผลดีของวิดีโอโดยตรง ซึ่งน่าจะทำให้ตอบได้อย่างเต็มปากเต็มคำมากยิ่งขึ้น 

ข้อนี้จึงเป็นข้อเสนอที่ทดลองทำดูได้ไม่เสียหาย แค่พยายามจำกัดเวลาเพื่อไม่ให้เด็กๆ ติดเกม แทนที่จะได้รับผลดีจากการฝึกสมาธิหรือความสามารถในการจดจ่อจากเกมครับ

คำแนะนำต่อไปคือ ให้ออกกำลังครับ … แปลกดีไหมครับ ออกกำลังกายแล้วสมาธิดีขึ้น?

การทดลองนี้ [5] ทำในเด็ก ป.5 จำนวน 116 คน โดยให้ออกกำลังอย่างต่อเนื่องนาน 4 สัปดาห์ แต่ทำแค่วันละ 6 นาที เพียงแค่นี้ก็พบว่าช่วยเพิ่มสมาธิและความจดจ่อให้มากขึ้นได้แล้ว  

คำแนะนำที่ 4 นี่น่าสนใจมากครับคือ ให้เอาตัวเข้าไปใช้เวลาอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น 

มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นเรื่อยๆ ว่า การอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติส่งผลดีกับเราในหลายทางนะครับ เช่น มีงานวิจัย [6] ที่สรุปว่าการมีพืชอยู่ในออฟฟิศช่วยทำให้มีสมาธิดีขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นด้วย 

นี่ยังไม่นับเรื่องช่วยให้คุณภาพอากาศในห้องดีขึ้นอีกด้วยนะครับ       

มีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง [7] ที่ศึกษาในเด็กมากกว่า 1,000 คน นับแต่เกิดจนอายุ 7 ขวบ เพื่อดูว่าการได้พบเจอกับต้นไม้และบรรยากาศแบบสีเขียวของพืชในบ้านกับแถวๆ บ้าน ส่งผลอะไรกับตัวเด็กบ้าง ทำให้พบความจริงว่าสิ่งแวดล้อมที่ดีเหล่านี้ เป็นประโยชน์กับการพัฒนาของสมองและยังช่วยเรื่องสมาธิในเด็กอีกด้วย    

การวิจัยในเด็กสมาธิสั้น 17 คน [8] ทำให้รู้ว่า การเดินในสวนแค่ 20 นาทีต่อวัน ก็สร้างความแตกต่างได้มากแล้ว โดยช่วยทำให้เด็กเกิดสมาธิในการเรียนรู้มากขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่เดินในเขตเมือง 

คำแนะนำข้อ 5 ที่เป็นข้อสุดท้ายคือ เรื่องกาเฟอีนและพวกสารเสริมอาหารต่างๆ 

สำหรับคนที่ไม่ดื่มกาแฟ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องหันมาดื่มแต่อย่างใด หากไม่ต้องการ แต่สำหรับคอกาแฟก็คงดีใจที่ได้ทราบว่า มีผู้ทบทวนผลการวิจัยจำนวนหนึ่ง [9] แล้วสรุปว่า กาเฟอีนเพิ่มสมาธิและทำให้จดจ่อเรียนรู้ดีขึ้นได้ 

โดยพบว่าหากเหนื่อยล้าจนเริ่มไม่มีสมาธิ การดื่มกาแฟหรือชาเขียวสักแก้ว หรือหากไม่ชอบทั้งสองอย่างนั้น แต่ดื่มช็อกโกแลตเข้มข้น 70% หรือเข้มข้นมากกว่านั้น ก็ช่วยทำให้กลับมามีสมาธิได้เหมือนเดิม แต่ที่พิเศษสำหรับชาเขียวก็คือ นอกจากกระตุ้นทำให้สมองตื่นตัวแล้ว ยังทำให้รู้สึกผ่อนคลายอีกด้วย จึงเหมาะมากสำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟแล้วรู้สึกว่า “ดีด” มากไปหน่อย จนหัวใจเต้นรัวหรือมึนหัว 

ส่วนพวกอาหารเสริมต่างๆ นั้น หลายชนิดก็มีรายงานว่าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสมอง หรือส่งเสริมให้เกิดสมาธิได้เช่นกัน แต่ควรปรึกษาแพทย์สักนิดก็จะดี เพราะสภาพร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว 

ตัวอย่างของอาหารเสริมที่มีหลักฐานว่าพอช่วยได้ก็มี เช่น โฟเลต โคลีน (choline) วิตามินเค ฟลาโวนอยด์ และโอเมก้า-3  

นอกเหนือจากทั้ง 5 ข้อที่กล่าวไปแล้ว ยังมีคำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสมองและอาจช่วยเพิ่มสมาธิได้เช่นกัน โดยที่ไม่น่าจะมีผลเสียข้างเคียงอะไร เช่น การฝึกสมองบ่อยๆ ด้วยเกมฝึกสมอง เช่น ซูโดกุ ครอสเวิร์ด หมากรุก ฯลฯ 

การปรับปรุงคุณภาพการนอน เช่น ไม่ดูทีวีหรือเข้าโซเชียลมีเดียก่อนนอนสักชั่วโมง จัดห้องนอนให้เงียบและเย็นสบาย ไม่ร้อนไม่หนาวเกินไป อาจฟังเพลงเบาๆ ก่อนนอน และนอนกับตื่นเป็นช่วงเวลาที่แน่นอน ฯลฯ 

การแบ่งช่วงเวลาการทำงานออกเป็นช่วงสั้นๆ แทนที่จะทำอย่างยืดยาวรวดเดียวเสร็จ ซึ่งบางครั้งอาจยาวนานหลายชั่วโมงก็ช่วยให้มีสมาธิมากขึ้นได้ 

การพักสั้นๆ ช่วยดึงสมาธิให้กลับมาจดจ่อกับการเรียนหรืองานได้ดียิ่งขึ้น

ชนิดของอาหารก็ส่งผลกับสมองและสมาธิเช่นกัน หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ น้ำตาลปริมาณมากๆ และหากเป็นไปได้ การกินปลา ไข่ ผัก และผลไม้จำพวกเบอร์รี่ต่างๆ ก็มีส่วนช่วยเช่นกัน อาหารเช้าเป็นมื้อสำคัญที่จะกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัวและมีสมาธิได้ยาวนาน 

สุดท้ายคือ การฝึกนั่งสมาธิหรือทำวิปัสสนา ก็ส่งผลโดยตรงกับการสร้างและนำสมาธิมาใช้กับการเรียนและการทำงาน สำหรับคนที่ไม่เคยฝึกเรื่องพวกนี้เลย ก็น่าจะลองหาคอร์สฝึกหัดดูนะครับ 

ทั้งหมดนั้นจะช่วยได้มากหรือน้อยเพียงใด ก็ต้องลองสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกายของตัวคุณเองไปด้วยครับ แต่ละคนอาจได้ผลมากน้อยแตกต่างกันไป 

อ้างอิง

[1] William E Pelham Jr. et al. J Abnorm Child Psychol. 2011 Nov;39(8):1085-98. DOI: 10.1007/s10802-011-9529-z

[2] https://www.healthline.com/health/adhd-music#what-to-listen-to  

[3] Nan Qiu et al. Front. Hum. Neurosci., 13 February 2018. doi.org/10.3389/fnhum.2018.00047 

[4] Marc Palaus et al. Front Hum Neurosci. 22 May 2017. doi: 10.3389/fnhum.2017.00248

[5] Heidi Buchele Harris et al. BioMed Res Internatl. Vol. 2018. Article ID 2539748. doi.org/10.1155/2018/2539748

[6] Marlon Nieuwenhuis et al. J Exp Psychol Appl. 2014 Sep;20(3):199-214. doi: 10.1037/xap0000024. 

[7] Payam Dadvand et al. Environmental Health Perspectives. Vol. 125, No. 9. doi.org/10.1289/EHP694.

[8] Andrea Faber Taylor and Frances E Kuo. J Atten Disord. 2009 Mar;12(5):402-9. doi: 10.1177/1087054708323000. 

[9] Suzanne J L Einöther and Timo Giesbrecht. Psychopharmacology (Berl). 2013 Jan;225(2):251-74. doi: 10.1007/s00213-012-2917-4. 

Tags:

ดนตรีสิ่งแวดล้อมสมาธิ (attention)การเรียนรู้

Author:

illustrator

นำชัย ชีววิวรรธน์

นักอณูชีววิทยา นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ นักเขียน นักแปล และนักอ่าน ผู้มีความสนใจอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาขับเคลื่อนสังคม

Illustrator:

illustrator

ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

Related Posts

  • Learning Theory
    Simulation experience pedagogy: รู้สึกถึงโลกใบนี้โดยไม่ต้องมองให้เห็น

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Learning Theory
    สร้างแรงจูงใจทางบวก กระตุ้นศักยภาพการเรียนรู้ให้เด็กเอาตัวรอดได้ในสิ่งแวดล้อมที่ยากจะคาดเดา

    เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Education trend
    10 อันดับประเทศที่เหมาะต่อการเลี้ยงลูกมากที่สุดแห่งปี 2020

    เรื่อง ชลิตา สุนันทาภรณ์

  • Voice of New Gen
    #SCHOOLSTRIKE 4 เหตุผลที่คนรุ่นใหม่ไม่ทนกับโลกร้อน

    เรื่อง

  • Everyone can be an Educator
    กวิ๊: ดริปกาแฟ หมักเหล้าบ๊วยแบบโลกไม่สวยแต่ยั่งยืน

    เรื่องและภาพ ณัฐชานันท์ กล้าหาญ

มูซาชิ : ที่มองคนอื่นนั้นก็เพียงเงาสะท้อนของเราเอง
Myth/Life/Crisis
27 January 2022

มูซาชิ : ที่มองคนอื่นนั้นก็เพียงเงาสะท้อนของเราเอง

เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • ภัทรารัตน์ หยิบ มูซาชิ มาเล่าในมุมการเผชิญกับเงาสะท้อนของตนเอง จริงๆ แล้วที่เรามองคนอื่นนั้นก็เพียงเงาสะท้อนของเราเอง
  • มูซาชิ เป็นผู้ฝึกวิถีแห่งดาบหลอมรวมไปกับการฝึกตนผ่านการเรียนรู้จากสรรพสิ่ง ครั้งเมื่อเขายังหนุ่มและท่วมท้นด้วยความทะยานอยากที่จะเป็นจอมดาบผู้ไร้เทียมทาน เขาออกท่องโลกไปและได้ประลองกับยอดฝีมือนับไม่ถ้วน ซึ่งมักได้รับชัยชนะกลับมาเสมอ
  • เป็นที่ประจักษ์ว่ามูซาชิในห้วงเวลานั้นชอบเอาชนะสิ่งที่อยู่ภายนอกอย่างชัดแจ้ง หากมีคนที่เขารู้สึกว่าแน่กว่าตนแม้เพียงเล็กน้อย นั่นก็เพียงพอจะทำให้เขาสั่นคลอนแล้ว ความต้องการต่อสู้ช่วงชิงความเหนือกว่าภายในตัวมูซาชิเองได้ถูกฉายออกไปยังสิ่งที่ดำรงอยู่ภายนอก

1.

มูซาชิ เป็นผู้ฝึกวิถีแห่งดาบหลอมรวมไปกับการฝึกตนผ่านการเรียนรู้จากสรรพสิ่ง ครั้งเมื่อเขายังหนุ่มและท่วมท้นด้วยความทะยานอยากที่จะเป็นจอมดาบผู้ไร้เทียมทาน เขาออกท่องโลกไปและได้ประลองกับยอดฝีมือนับไม่ถ้วน หนึ่งในสถานที่ที่เขาได้เดินทางไปรับทราบฝีมือก็คือวัดโฮโซอิน ซึ่งเลื่องชื่อด้านวิชาหอก

โดยในระหว่างที่มูซาชิกำลังเดินผ่านวัดแห่งหนึ่งเพื่อจะทะลุไปถึงด้านหน้าของวัดโฮโซอิน เขาก็ได้เผชิญหน้ากับพระชราคิ้วขาวหลังงุ้มงอซึ่งกำลังพรวนดินอยู่อย่างสงบนิ่ง มูซาชิเห็นว่าท่านกำลังจดจ่อจึงเดินเลียบด้านข้างของท่านไปอย่างเงียบงัน    

ทว่าทันใดนั้นเอง มูซาชิรู้สึกว่ามีพลังคุกคามดั่งสายฟ้าฟาดจากภิกษุชราโถมใส่กระทั่งเขาต้องกระโดดห่างออกไป ราวกับว่าจอบของพระสามารถจะชำแรกอากาศธาตุมาเฉาะเท้าของเขาและประหนึ่งว่าจุดอ่อนของเขากำลังถูกจับจ้องค้นหา 

เขาสะทกสะท้านและฉงนฉงายว่าภิกษุรูปนี้คือผู้ใดกัน? แต่เมื่อเดินไปถึงวัดโฮโซอินแล้วเขาก็เพียงสนใจการดวลฝีมือ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เขาได้ประมือกับศิษย์เอกวิชาหอกของวัดโฮโซอินกระทั่งฝ่ายนั้นสิ้นใจไป มังกรเฒ่าผู้สุขุมลึกซึ้งรูปนั้นก็เข้ามาขอสนทนากับมูซาชิ ท่านกล่าวให้เกียรติจอมดาบหนุ่มทว่าก็ตักเตือนด้วยว่า “ทำตัวเข้มแข็งเกินไป” โดยย้อนขยายความถึงตอนที่เขาเดินเลียบท่าน แต่โดยฉับพลันก็กลับสะดุ้งโหยงออกจากท่านไปไกล   

มูซาชิย้อนความรับรู้ของตนในห้วงขณะนั้นที่รู้สึกถูกจู่โจม และก็ได้ เผชิญกับเงาสะท้อนของตนเอง 

ด้วยเพราะพระรูปนั้นแถลงไขว่า ในเวลานั้นท่านสัมผัสถึงไอฉุนแห่งการฆ่าฟันจากมูซาชิ ส่งผลให้รู้สึกว่าต้องป้องกันตัว แต่ท่านเองก็เป็นเพียงพระแก่ที่กำลังใช้จอบพรวนดินอยู่หากคนที่เดินผ่านตัวท่านไปเป็นเพียงชาวนาธรรมดาที่ปราศจากกลิ่นกระหายสมรภูมิ

เหมือนดั่งถูกกระทุ้งเข้าอย่างจัง มูซาชิรู้สึกพ่ายแพ้และเก็บเอาถ้อยคำของพระที่ว่าเขา “เข้มแข็งเกินไป” มาเจ็บใจใคร่ครวญต่อ แม้เขาเองมุทะลุน้อยลงกว่าแต่ก่อนแล้ว แต่ก็ยังเป็นเรื่องยากยิ่งที่จะสลัดภาพคนที่แน่กว่าออกจากห้วงคำนึงได้ ความอยากโหยที่จะเอาชนะบุคคลที่เขาคิดว่าเหนือกว่านั้นทำให้เขาปั่นป่วนใจยิ่งนัก..  

2.

เผชิญกับเงาสะท้อนของตนเอง

เป็นที่ประจักษ์ว่ามูซาชิในห้วงเวลาที่ได้กล่าวถึงนั้นยังชอบเอาชนะสิ่งที่อยู่ภายนอกอยู่อย่างชัดแจ้ง หากมีคนที่เขารู้สึกว่าแน่กว่าตนแม้เพียงเล็กน้อย นั่นก็เพียงพอจะทำให้เขาสั่นคลอนแล้ว ความต้องการต่อสู้ช่วงชิงความเหนือกว่าภายในตัวมูซาชิเองได้ ถูกฉานฉายออกไปยังสิ่งที่ดำรงอยู่ภายนอก ซึ่งในที่นี้ก็คือ พระภิกษุ ที่หากปราศจากบรรยากาศศึกสงครามจากมูซาชิ ก็จะเป็นเพียงชายชราที่เพียงแต่พรวนดินอยู่อย่างสันติเท่านั้น

แม้ภิกษุชราจะมีปฏิกิริยาสะท้อนกลับ แต่ความรับรู้ของมูซาชิก็ยังเป็นเครื่องเตือนใจได้ว่าเรามักไม่ได้มองโลกอย่างที่มันเป็น แต่อย่างที่เราเป็น สิ่งที่เราสั่งสมไว้ในใจอีกทั้งอุปนิสัยของเราเองโดยเฉพาะที่เราไม่รู้ตัว ได้ถูกถ่ายโอนไปยังสิ่งอื่นภายนอกตัวอย่างง่ายดาย

3.

ฉายภาวะในใจของเราไปยังสิ่งที่อยู่ภายนอก

ความเปราะบางและต้องการความช่วยเหลือ

นอกเหนือจากการฉายความอยากท้ารบไปที่คนอื่นว่าเขาเป็นปรปักษ์หรือจ้องทำร้ายเรา สถานการณ์อีกขั้วหนึ่งซึ่งเห็นได้ในชีวิตประจำวันก็คือการฉาย ‘ความเปราะบาง’ ‘ความอ่อนแอ’ ที่ ‘ต้องถูกซ่อม’ และ ‘ต้องถูกช่วยชีวิต’ ไปที่คนอื่น เช่น ใครคนหนึ่งมองเห็นคนที่ตนมิได้รู้จักมากนักว่าเปราะบาง ดูน่าจะต้องพึ่งพาคนอื่นอยู่เสมอด้วยสายตาด้อยค่า แต่ในที่สุดผู้มองเองกลับดำดิ่งลงในความซึมเศร้าอนธการและจำต้องเข้าไปในหุบเหวลึกแห่งใจเพื่อเผชิญกับความรับรู้เกี่ยวกับตัวเองว่ามีความเปราะบางและต้องพึ่งพาคนอื่นในหลายเรื่องเหมือนกัน 

ในที่สุดเขาก็ต้องทะลวงความคาดหวังว่าตนเองต้องเข้มแข็งตลอดเวลา และเรียนรู้จะมอบความรักอย่างไร้เงื่อนไขให้แก่ความเปราะบางและต้องการความช่วยเหลือซึ่งดำรงอยู่ภายในตัวเขาเอง แล้วหัวใจเขาจึงเปิดพื้นที่ให้การปลอบประโลมอันอ่อนโยนและสลัดเปลือกกระด้างที่เขานึกว่าเป็นความเข้มแข็งออกไป

เห็นคนอื่นดีเกินจริง

ใช่ว่าคนเราจะฉายแต่ด้านที่ตนไม่ชอบไปที่คนอื่น บางกรณีผู้คนก็เห็นคนอื่นดีเกินจริง บ้างก็รู้สึกว่าคนอื่นจะเป็นมิตรกับเราเหมือนที่เรารู้สึกกับเขาทั้งที่เขาไม่ได้อยากเป็นมิตรด้วย บ้างก็มองไม่เห็นคุณสมบัติด้านบวกของตนเองและไปยกย่องเทิดทูนคนที่ไม่รู้จักดีอย่างปราศจากการตั้งคำถามเพราะได้ฉายอุดมคติเลิศเลอบางอย่างลงไปที่คนอื่น ก่อนที่ในที่สุดจะต้องผิดหวังหรือแม้แต่พังทลายภายใน เมื่อพานพบด้านต่างๆ ของคนอื่นที่ไม่สอดคล้องกับภาพอุดมคติที่ตนเองอยากให้เขาเป็น 

ตำหนิตนเองอยู่แล้วจึงบอกว่าคนอื่นตำหนิ 

การฉายสิ่งที่อยู่ภายในเราเองไปที่คนอื่นนั้นรวมไปถึงการเก็บถ้อยคำของคนอื่นมาคิด(เองเออเอง)ว่าเขาตัดสินเรา ทั้งที่ใจเราสะเทือนอย่างมากมายก็เพราะว่าเราเฆี่ยนตีตัวเองในเรื่องนั้นๆ อยู่ก่อนแล้ว ถ้อยคำของคนอื่นก็เพียงแต่สะกิดแผล ซึ่งหากได้ยินจากคนไกลเราอาจเฝ้ามองความเจ็บปวดขุ่นข้องอยู่ภายใน แต่ในการสื่อสารกับคนที่ค่อนข้างสนิทและรู้ว่าเขาหวังดี เราสามารถสะท้อนว่า “คำพูดเมื่อครู่ของเธอเราตีความว่าอย่างนี้และรู้สึกถูกตัดสิน รู้สึกไม่ดีเลย ซึ่งเธออาจหมายความอีกอย่างหนึ่งก็ได้ จริงๆ เธอหมายความว่าอย่างไรนะ?” และเราอาจประหลาดใจว่าโดยส่วนใหญ่แล้วอีกฝ่ายเขาพูดสิ่งเหล่านั้นออกมาด้วยมุมมองที่เป็นกลางหรือเป็นบวกด้วยซ้ำ สวนทางกับการตีความในเชิงลบของเรา

ด้อยค่าตัวเองและฉายความรู้สึกนี้ลงไปในความสัมพันธ์ 

ในทำนองเดียวกับคนที่เริ่มต้นความสัมพันธ์ใดๆ จากพื้นฐานความรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าหรือคิดไปเองว่าตัวต่ำต้อยกว่าอีกฝ่าย ไม่วันใดก็วันหนึ่งความรู้สึกนี้ก็จะถูกฉายลงไปในมิติต่างๆ ของความสัมพันธ์อย่างเข้มข้น ทั้งที่คนอื่นเขาไม่ได้เห็นว่าเราไร้ค่าแบบนั้นเลย และต่อให้เขาและคนแวดล้อมของเขาคิดและพูดออกมาจริง มันก็สะท้อนภาวะต่างๆ ของพวกเขา

ในส่วนภาวะของเราที่แยกจากคนอื่นได้นั้น ลองเพิ่มความรู้สึกตัวให้ถี่ขึ้นรวมไปถึงการสัมผัสถึงความรู้สึกซ้อนความรู้สึก เช่น โกรธตัวเองที่โกรธ รู้สึกไร้ค่าซ้อนความรู้สึกด้อยกว่า โดยไม่ได้บีบเค้นต่อ ก็ถือว่ามีวิวัฒนาการแล้ว ไม่จำเป็นต้องคาดคั้นให้ตัวเองพิสุทธิ์หมดจดทางอารมณ์หรอก   

4.

ลอกหมอกสีหม่นแห่งอดีต

หลายครั้งสิ่งที่เรารับรู้ก็ต้องถูกตรงกันกับความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่นและช่วยป้องกันอันตรายไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำรอยเดิมได้จริง แต่หลายคราก็เป็นเพียงการที่เราฉายภาวะภายในบางอย่างออกไปข้างนอกโดยมิได้ลงรอยกับข้อเท็จจริง  ซึ่งสามารถมีรากมาจากประสบการณ์ที่สั่งสมมานับแต่อดีต

เราจึงสามารถตระหนักถึงแว่นตาชุดหนึ่งที่เราใช้มองสิ่งต่างๆ ซึ่งได้ผสานไปกับกลไกการปกป้องตัวเอง ที่มักสกัดความเป็นไปได้ของประสบการณ์ชีวิตแบบอื่นๆ อันไม่ลงรอยกับแว่นดังกล่าวออกไป  ในหมุดหมายต่างๆ ของชีวิตเราจึงจำต้องสลัดทิ้งร่องเดิมอันคุ้นชินและเปิดโอกาสให้กับสิ่งที่ไม่รู้ เพราะไม่ว่าแว่นตาเดิมนั้นจะเปื้อนเปรอะด้วยประสบการณ์วัยเด็กอันโหดร้าย ครอบครัวพังทลาย หรือชีวิตตอนโตที่ผิดหวังชอกช้ำ ถูกปฏิเสธ ถูกทรยศโชกเลือดปางตายเพียงใด สุดท้ายแล้วเราก็ไม่อาจให้คนอื่นมารับผิดชอบการตระหนักรู้และการเยียวยาของเราได้    

และแม้การโอบกอดความเป็นส่วนเสี้ยวอันช้ำเลือดช้ำหนองและการลอกคราบออกจากโทษวิถีเก่าๆ นั้นต้องอาศัยเวลา แต่อย่างน้อย ในห้วงขณะที่เรารู้สึกตัวว่ากำลังมองผู้คนและประสบการณ์ในปัจจุบันผ่านแว่นของอดีต อีกทั้งตระหนักว่ามันไม่จำเป็นต้องซ้ำรอยกับความร้าวรานในอดีต..  

เราก็ได้ เปิดใจต่อความเป็นไปได้อื่นๆ ในปัจจุบันขณะและอนาคตแล้ว 

อ้างอิง 

มูซาชิ ฉบับท่าพระจันทร์ โดย อาจารย์สุวินัย ภรณวลัย พิมพ์ครั้งที่ 6 โดยโครงการจัดพิมพ์คบไฟ

Tags:

มูซาชิการรับรู้Myth Life Crisisตำนานความเปราะบาง (Vulnerability)

Author:

illustrator

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา

ชอบอยู่กับต้นไม้ใบไม้ต่างๆ ผืนน้ำ เที่ยวไปในโบราณสถาน และเรียบเรียงสิ่งที่อยู่ในเงามืด เราเองยังต้องเรียนรู้และขัดเกลาอะไรอีกมาก รู้สึกขอบคุณที่ให้โอกาสเราได้ฟังเรื่องราวของทุกคนนะ (Line ID: patrasuwan)

Illustrator:

illustrator

กรองพร ทององอาจ

Graphic Designer & Illustrator Instagram: @monkrongpin

Related Posts

  • Myth/Life/Crisis
    หลวิชัย : ความสัมพันธ์ที่เคารพอาณาเขตของตัวเอง (2)

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Myth/Life/Crisis
    หลวิชัย : เพื่อนผู้พึ่งพาได้ ในขณะที่ยังมีเส้นอาณาเขตระหว่างตัวเองและผู้อื่นชัดเจน (1)

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Myth/Life/Crisis
    แดรกคิวล่า : เรียนรู้จากผีดิบ และอาการป่วยไข้ที่รุกล้ำอาณาเขตของเรา

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Myth/Life/Crisis
    กุลา: ด้อยค่าคนที่ตนอิจฉาในขณะที่เลียนแบบไปด้วย

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Myth/Life/Crisis
    ซื่อตรงต่ออารมณ์ด้านลบ สร้างพื้นที่เยียวยาเพื่อกู้ร่าง ‘เอลฟ์’ ผู้สง่างามในตัวเรา

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

Feedback 101: คำติชมคือคำติหรือคำชม?
How to enjoy life
25 January 2022

Feedback 101: คำติชมคือคำติหรือคำชม?

เรื่อง จณิสตา ธนาธรชัย ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • ในการทำงาน หลังงานนั้นๆ สิ้นสุดลงแล้วมักจะมีการมานั่งหารือสรุปผลลัพธ์ว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้มากน้อยแค่ไหน พึงพอใจหรือต้องปรับปรุงแก้ไขในส่วนไหนอย่างไร ขั้นตอนนี้เรียกว่าการให้คำติชมหลังการทำงาน หรือ feedback 
  • แม้ว่าขั้นตอนดังกล่าวจะเป็นเรื่องที่ปกติสามัญธรรมดา เพราะการได้รับคำแนะนำจะช่วยให้เราสามารถพัฒนาตัวเองในการทำงานครั้งต่อๆ ไปให้ดีขึ้นได้ แต่ในความเป็นจริง คนส่วนมากกลับรู้สึกกังวลใจที่จะได้รับ feedback และพยายามหลีกเลี่ยงขั้นตอนนี้มากที่สุด
  • อาจเป็นเพราะประสบการณ์ที่ทำให้เกิดความรู้สึกไม่ดีกับการได้รับ feedback เช่น การถูกตำหนิอย่างรุนแรงถึงข้อผิดพลาดในที่ประชุมจนทำให้เกิดความอับอาย หรือได้รับคำติชมที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลงานแต่เป็นอคติที่หัวหน้างานมีต่อเราโดยตรง เป็นต้น การเรียนรู้ศิลปะการให้ feedback จะทำให้คำติชมนั้นกลายเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการจัดการบริหาร และส่งผลให้พนักงานและองค์กรสามารถเติบโตไปพร้อมๆ กันได้ดียิ่งขึ้น

การให้คำชมแก่ผู้ร่วมงานนั้นเป็นเรื่องที่ง่ายดาย แต่การชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดในการทำงานนั้นเป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม เพราะเมื่อเราถูกตำหนิก็จะไม่อยู่ในอารมณ์ที่จะรับฟังเหตุผลหรือคำแนะนำต่อแล้ว ซ้ำร้ายอาจทำให้เกิดรู้สึกแย่จนไม่กล้าทำงานหรือไม่อยากทำงานอีกก็เป็นได้ การแก้ปัญหาความขัดแย้งนี้ บ่อยครั้งพบว่า หลายคนอาจเลี่ยงและปล่อยผ่านความผิดไป ซึ่งการกระทำนี้จะทำให้การทำงานครั้งต่อไปเกิดปัญหาเดิมขึ้นได้อีก แต่การตำหนิและให้คำแนะนำก็ทำได้ยาก 

ที่จริงแล้ว เราสามารถให้ feedback อย่างสร้างสรรค์ได้ไม่ว่าจะในทางบวกหรือทางลบโดยการใช้ศิลปะในการพูด ตัวอย่างเช่น หากผู้ร่วมงานส่งงานช้ากว่ากำหนด แทนที่จะตำหนิเขาว่า “คุณส่งงานช้าทำให้ทีมได้รับผลกระทบและโครงการดำเนินการล่าช้า” คุณอาจพูดแทนได้ว่า “เราพบว่าคุณประสบปัญหาในการจัดการงานให้ทันกำหนด มีอะไรที่ทางเราพอจะช่วยคุณได้บ้างไหม” ซึ่งจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกดีกว่าเพราะเขาจะไม่รู้สึกว่าถูกตำหนิ แต่กำลังได้รับความช่วยเหลือ

จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงรูปประโยคหรือความสำคัญของสารสามารถเปลี่ยนแปลง feedback ทางลบให้กลายเป็นบวกได้ มีสิ่งที่ควรคำนึงอีกหลายประการที่เป็นประโยชน์กับการให้ feedback ที่จะส่งผลดีและมีประสิทธิภาพ ดังนี้

การให้ feedback ที่ดี 

1. เน้นความสำคัญให้ถูกต้อง

หากผู้ให้ feedback ให้ความสำคัญกับการเผชิญหน้าและการตำหนิ แน่นอนว่า feedback นั้นจะให้ผลในด้านลบทันที การสร้างความเชื่อใจโดยการให้กำลังใจและให้ความสำคัญกับการปรับปรุงแก้ไขจะเป็นทางเลือกที่ดีต่อผู้รับสารมากกว่า อย่างไรก็ตาม เราควรระวังไม่ทำให้ข้อผิดพลาดนั้นกลายเป็นเรื่องเล็กน้อย แม้จะไม่เห็นด้วยแต่ก็ควรเข้าใจว่าเพื่อนร่วมงานรู้สึกและต้องการอะไร การให้คำติชมจึงควรเน้นไปที่การให้คำแนะนำแทน

2. การแก้ไขต้องมาก่อนเป็นอันดับแรก

หากจะให้ feedback โดยมองปัญหาเป็นเรื่องหลักจะเป็นการปิดกั้น ทำให้ผู้ที่ทำงานพลาดไม่ได้พัฒนาทักษะให้ดีขึ้น ในทางตรงกันข้ามหากมองแนวทางการแก้ไขเป็นหลัก ผู้ที่ได้รับคำแนะนำคำติชมจะสามารถพัฒนาทักษะให้ดีขึ้นได้และจะส่งผลให้การดำเนินงานในครั้งต่อๆ ไปมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3. คำติชมต้องไม่ทำให้เสียกำลังใจ

แทนที่จะต่อว่าผู้ร่วมงานเรื่องความผิดพลาดให้เสียความมั่นใจในตัวเอง เราควรจะเพิ่มความมั่นใจให้เขาได้มีโอกาสพัฒนาความสามารถในการทำงานในอนาคตโดยเรียนรู้จากความผิดพลาดจะดีกว่า การให้คำติชมแบบนี้จะมีประสิทธิภาพในการผลักดันให้เกิดการแก้ไขในทางบวกมากกว่า นอกจากนี้ เพื่อนร่วมงานที่ได้รับสารไปจะไม่เกิดความรู้สึกกลัว feedback ด้านลบ ซึ่งจะนำไปสู่การหารือการดำเนินงานที่ดียิ่งขึ้น

4. สร้างความรู้สึกด้านบวกด้วยการไม่ทิ้งให้โดดเดี่ยว

นอกจากการให้ feedback ที่สะท้อนให้เพื่อนร่วมงานรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองในการดำเนินงานครั้งนี้ และแนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาโดยไม่ปล่อยให้เขาต้องเดาต้องคิดไปเองแล้ว ผู้ให้คำติชมต้องคำนึงถึงการช่วยเหลือหรือสร้างแรงบันดาลใจให้เพื่อนร่วมงานด้วย การตำหนิจะทำให้เขารู้สึกว่าเราปิดกั้นและชิงตัดสินเขาไปแล้ว เราควรให้เขามีส่วนร่วมในการหาแนวทางแก้ไขและสนับสนุนบทบาทของเขาเพื่อไม่ให้เขารู้สึกโดดเดี่ยว การทำงานเป็นทีมจึงจะมีประสิทธิภาพ

ความผิดพลาดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำงานที่มีผู้คนหลากหลาย การตัดสินใจต่างๆ จึงมีปัจจัยมากมายมาเกี่ยวทำให้หลายๆ ครั้งเราไม่สามารถควบคุมได้ การให้ feedback คือการหาแนวทางแก้ไขร่วมกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแบบเดิมขึ้นอีก ดังนั้น ควรเข้าใจเพื่อนร่วมงานให้มาก เปิดใจให้กว้างทั้งผู้รับสารและผู้ส่งสาร ให้คำติชมและแนะนำซึ่งกันและกัน

สิ่งสำคัญคือการไม่เอาความรู้สึกส่วนตัวมาบดบังเหตุผลในการให้คำติชม คนที่มีนิสัยไม่ดีอาจเป็นคนทำงานที่ดีได้ ในขณะเดียวกันคนนิสัยดีก็อาจเป็นพนักงานที่ไม่ดีได้เช่นกัน หากเราเอาความรู้สึกส่วนตัวมาปะปน เราก็จะมองเห็นแต่ข้อบกพร่องของเขา ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้การทำงานร่วมกันไม่มีประสิทธิภาพ

การบรรลุเป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญ ระหว่างทางที่จะไปถึงจะเป็นเรื่องยากหากการบริหารภายในไม่ดี เราต้องมีศิลปะในการสื่อสารกันเพื่อรักษากำลังใจและเป้าหมายของกลุ่มให้สามารถพัฒนาและดำเนินต่อไปได้อย่างดี หากมีกลยุทธ์การให้ feedback บ่อยขึ้นก็จะเป็นการสร้างความคุ้ยเคย ทำให้ผู้ร่วมงานไม่กลัวการรับสารและมีความกล้าในการนำเสนอความคิดในการทำงานมากขึ้นตามไปด้วย

Tags:

การสื่อสารFeedbackการทำงานการพัฒนาตนเอง

Author:

illustrator

จณิสตา ธนาธรชัย

นัก (ทดลอง) เขียนธรรมดาและนักอ่านวรรณกรรม(ฝึกหัด) ชื่นชอบหนังแอคชั่น เรื่องลี้ลับ และการ์ตูนslam dunk

Illustrator:

illustrator

ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

Related Posts

  • Alexithymia-nologo
    How to enjoy life
    พูดไม่ออก บอกไม่ถูก? เมื่อใจรู้สึก แต่ปากกลับบอกไม่ได้ว่าคืออารมณ์อะไร: Alexithymia ภาวะไร้คำให้กับอารมณ์

    เรื่อง ศุภณัฐ เติมชัยอนันต์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • reverse-bucket-list-nologo
    How to enjoy life
    Reverse Bucket List: ระลึกถึงเรื่องราวดีๆ แรงกระตุ้นมุมกลับให้เราพัฒนาตัวเองเพื่อชีวิตที่ดีกว่า

    เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to enjoy lifeLife classroom
    เปลี่ยนที่ทำงานเป็นพื้นที่ฮีลใจ ‘โศรยา ทองดี’ ฮีลเลอร์แห่งโบว์เบเกอรี่เฮ้าส์

    เรื่อง The Potential

  • Book
    New Year’s Resolutions: อ่าน 7 เล่ม เพื่อเป็นตัวเราที่ดีกว่าเดิม

    เรื่อง พิรญาณ์ บุลสถาพร

  • Character building
    ฟังโดยไม่ตัดสิน ไม่ใช่แค่ได้ยินแต่เข้าใจ : บันไดขั้นแรกของ ‘สมรรถนะการสื่อสาร’ ที่ช่วยสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

ทุกคน คือ  ‘Active Citizen’: สร้างความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ จากเรื่องใกล้ตัว
Character building
25 January 2022

ทุกคน คือ ‘Active Citizen’: สร้างความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ จากเรื่องใกล้ตัว

เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • สมองมนุษย์จำเป็นต้องได้รับการเชื่อมต่อทางสังคมและอารมณ์เพื่อสร้างการเรียนรู้ การมีความฉลาดทางสังคมและอารมณ์นำไปสู่การเป็นพลเมืองที่ดี หรือที่ถูกนิยามว่า ‘พลเมืองเข้มแข็งและตื่นรู้’  Active Citizenship ได้
  • เริ่มต้นจากการรับผิดชอบตัวเองในระดับบุคคลก่อน แล้วสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นร่วมกัน เป็นคนละเรื่องกับวิธีคิดที่บอกว่า “ฉันเป็นพลเมือง ฉันมีสิทธิเสรีภาพจะทำอะไรก็ได้”
  • ในโลกที่อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียเข้ามามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิต การรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารบนโลกออนไลน์เป็นเรื่องจำเป็น นอกจากนี้ตัวเราเองต้องเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบกับข้อมูลข่าวสารที่ตัวเองสื่อสารไปสู่สาธารณะ

“ไม่มีใครเกิดมาแล้วเป็นพลเมืองที่ดี เป็นนักประชาธิปไตยที่ดี หรือเป็นผู้นำที่ดี ทั้งหมดต้องใช้เวลาและการศึกษา”  โคฟี อันนัน (Kofi Annan) นักการทูตชาวกานาและชาวแอฟริกันผิวสีคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น ตั้งแต่ปี 1997 – 2006 ผู้ประกาศนโยบายการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมสิทธิความเท่าเทียมกัน ตลอดจนการส่งเสริมด้านการศึกษาและการหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ กล่าวไว้

การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งและตื่นรู้ หรือ Active Citizenship เป็นเรื่องที่ถูกเอ่ยถึงอย่างกว้างขวางในทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยเชื่อว่าพลเมืองที่เข้มแข็งสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในสังคมได้ Active Citizen หมายถึง พลเมืองที่มีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาสังคมทั้งในระดับประเทศและสังคมโลก มีความเชื่อว่าทุกคนต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แม้จะไม่มีตำแหน่งหรือบทบาทด้านการปกครอง 

สหราชอาณาจักร หรือ ประเทศอังกฤษเป็นประเทศที่ริเริ่มแนวคิดการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง หลักสูตร ‘Citizenship’ ถือกำเนิดขึ้นและเป็นหลักสูตรภาคบังคับในโรงเรียนทุกระดับชั้นจนถึงอายุ 14 ปี ด้านยูเนสโก หรือ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ให้ความสำคัญกับการออกแบบหลักสูตรต้นแบบเพื่อพัฒนาพลเมืองที่เข้มแข็ง โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม (SEL: Social and Emotional Learning) สำหรับวัยรุ่นอายุ 12-14 ปี โฟกัสไปที่การทำความเข้าใจระบบการทำงานของสมองและจิตวิทยาวัยรุ่น

The Potential เน้นย้ำมาตลอดว่านโยบายการศึกษาทั่วโลกไม่ควรมุ่งเน้นไปที่การประเมินทดสอบความรู้ของนักเรียนเพียงอย่างเดียว งานวิจัยด้านการศึกษามากมายแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสมองมนุษย์จำเป็นต้องได้รับการเชื่อมต่อทางสังคมและอารมณ์เพื่อสร้างการเรียนรู้ การมีความฉลาดทางสังคมและอารมณ์นำไปสู่การเป็นพลเมืองที่ดี หรือที่ถูกนิยามว่า พลเมืองเข้มแข็งและตื่นรู้ ได้

สำหรับหลักสูตรสมรรถนะของประเทศไทยให้ความหมาย การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง หมายถึง การปฏิบัติตนอย่างรับผิดชอบในฐานะพลเมืองไทยและพลเมืองโลก รู้เคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น เคารพในกฎกติกาและกฎหมาย มีส่วนร่วมทางสังคมอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ร่วมกับผู้อื่นท่ามกลางความหลากหลาย เห็นคุณค่าของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีบทบาทในการตัดสินใจและสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยยึดมั่นในความเท่าเทียมเป็นธรรม ค่านิยมประชาธิปไตย และสันติวิธี

พลเมืองที่เข้มแข็งไม่มองแค่ความต้องการตัวเอง แต่มองเห็นและเข้าใจผู้อื่น

ปัจจุบันการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการศึกษาทั้งในประเทศอังกฤษ ยุโรป รวมถึงญี่ปุ่น ฮ่องกง จีนและอีกหลายประเทศทั่วโลก ด้วยเชื่อว่าการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องนี้ตั้งแต่ในระบบโรงเรียน จะทำให้เด็กเยาวชนรุ่นใหม่มีความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับหน้าที่พลเมือง นำไปสู่การตัดสินใจลงมือทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตด้วยความรับผิดชอบ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาตัวเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคมรอบข้าง

จะเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งได้ต้องทำอะไรบ้าง?

  • ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
  • มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
  • วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลในโซเชียลมีเดีย

หลายคนน่าจะพอมีประสบการณ์ข้างต้นอยู่บ้าง

แต่หากถามว่า ครั้งสุดท้ายที่เราได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการตัดสินใจหรือลงมือทำเรื่องในท้องถิ่น ละแวกบ้านหรือชุมชนของเรา นอกเหนือจากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างเป็นทางการระดับประเทศคือเมื่อไร? คำตอบของแต่ละคนมีอะไรกันบ้าง….

จากการสำรวจ พบว่า ผู้คนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมกับกิจกรรมในท้องถิ่นใกล้ตัวน้อยมาก

หลายครั้ง ไม่ใช่เพราะไม่สนใจ และ ไม่ใช่เพราะมองว่าปัญหาเหล่านั้นไม่สำคัญ

แต่เป็นเพราะเราอาจยังไม่เข้าใจหน้าที่ของพลเมืองในทุกมิติ  หรือเราไม่มีโอกาสเพราะไม่มีการเปิดพื้นที่ให้คนในชุมชนได้เข้าไปมีส่วนร่วม

อย่างไรก็ตาม พลเมืองที่เข้มแข็งไม่รอคอยโอกาสแต่สร้างความเปลี่ยนแปลงจากการลงมือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์กับเรื่องใกล้ตัว เพราะการพัฒนาในระดับท้องถิ่นที่เข้มแข็งสามารถผลักดันให้เกิดการพัฒนาที่ขยายวงกว้างออกไปได้ 

ปัจจุบันมีการรวมกลุ่มของพลเมืองที่เข้มแข็งในหลายชุมชนทั่วโลก โดยเฉพาะชุมชนที่สนใจเรื่องเดียวกัน กำลังแก้ปัญหาและลงมือทำสิ่งที่คล้ายคลึงกัน พวกเขาเชื่อมโยงถึงกันด้วยอินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย มีการเดินทางแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะและทำงานร่วมกันทั้งในระดับพื้นที่และระดับนานาชาติ

พลเมืองที่เข้มแข็ง ไม่ใช่ “ฉันจะทำอะไรก็ได้” หรือ “ฉันอยากทำอะไรก็ทำ” 

การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งเริ่มต้นจากการรับผิดชอบตัวเองในระดับบุคคลก่อน แล้วสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นร่วมกัน เป็นคนละเรื่องกับวิธีคิดที่บอกว่า “ฉันเป็นพลเมือง ฉันมีสิทธิเสรีภาพจะทำอะไรก็ได้” 

หัวใจของการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่

Me – ตัวฉัน การรู้จักและเข้าใจตนเอง การพัฒนาการตระหนักรู้ ทั้งด้านความคิด อารมณ์และความรู้สึกของตัวเอง รวมถึงความมั่นใจและการให้คุณค่ากับมุมมองที่แตกต่าง

Me and you – ตัวฉันและเธอ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น เรียนรู้เพื่อใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือสร้างความเห็นใจ ความเชื่อมั่นและความเข้าใจซึ่งกันและกัน

We – พวกเรา (ครอบครัว/ ชุมชน/ สังคม) การสร้างความรู้ความเข้าใจให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของแก้ปัญหาในชุมชนของตนเอง จากการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้มแข็งจากภายในชุมชน 

Social Action – การลงมือทำร่วมกัน การวางแผนโครงการเพื่อชุมชน แล้วให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบแก้ปัญหาและสร้างความเปลี่ยนแปลงร่วมกัน ผ่านการวางแผน ลงมือทำ แล้วประเมินผลลัพธ์

  • วางแผน (Get planning) การกำหนดเป้าหมายและทิศทางการทำงาน

ขั้นที่ 1 ถามตัวเองว่าสนใจเรื่องอะไร?

ขั้นที่ 2 เราสามารถช่วยใครและอะไรได้บ้าง?

ขั้นที่ 3 เราต้องลงมือทำอะไรบ้าง?

ขั้นที่ 4 เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่ทำสำเร็จหรือไม่สำเร็จ?

ขั้นที่ 5 วางแผนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เตรียมอุปกรณ์และความพร้อมของบุคลากร

  • ลงมือทำ (Take action) การสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เคารพกติกาสังคม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
  • ประเมินผลลัพธ์ (Measure impact) สะท้อนความคิดเห็น ปัญหาอุปสรรคและความสำเร็จ เพื่อประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และวางแผนปรับปรุงแนวทางการทำงานอย่างต่อเนื่อง

แนวทางพัฒนาตัวเองให้เป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง

ทุกคนสามารถเรียนรู้และฝึกฝนตนเองให้เป็นพลเมืองที่เข้มแข็งได้ ในระดับโรงเรียนผู้สอนสามารถประยุกต์แนวคิดต่อไปนี้นำไปจัดการเรียนการสอน ส่วนพ่อแม่ผู้ปกครอง สามารถแนะนำและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกๆ เปิดโอกาสให้พวกเขาได้เรียนรู้จากประสบการณ์และการลงมือทำด้วยตัวเอง

1. อาสาสมัคร

เมื่อให้คำตอบกับตัวเองได้ว่าอยากมีส่วนร่วมแก้ปัญหาหรือสร้างความเปลี่ยนแปลงเรื่องอะไร ลำดับต่อไปคือ การเริ่มทำเรื่องนั้นกับตัวเอง แล้วอาสาเข้าร่วมทำกิจกรรมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประโยชน์ของ “การให้” หรือ “งานอาสา” นั้นยิ่งใหญ่มาก นอกจากได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์แล้ว ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่างานอาสาที่ทำแล้วไม่ได้ค่าตอบแทนกลับทำให้หลายคน “มีความสุข” กับตัวเองและรู้สึกดีกับการใช้ชีวิตมากขึ้น เมื่อสุขภาพใจดี สุขภาพกายก็ดีตามไปด้วย 

“ไม่มีเวลา” “ไม่สามารถจัดสรรเวลาได้” เป็นคำตอบที่อยู่ในความคิดของหลายๆ คน แต่นิตยสาร ‘Harvard Business Review’ รายงานว่า คนที่ทำงานอาสาสมัครรู้สึกว่าตัวเองมีเวลา (ให้กับตัวเองและคนรอบข้าง) มากกว่าตอนไม่ทำงานจิตอาสาเหมือนคนทั่วไป

2. ทำความรู้จักเพื่อนบ้านรอบข้าง

เรื่องนี้ดูเหมือนเป็นเรื่องที่ถูกให้ความสำคัญน้อยลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะในสังคมเมือง ลองจินตนาการถึงตัวเองย้ายเข้าอยู่บ้านหลังใหม่ คอนโดหรืออพาร์ตเม้นท์ใหม่ในชุมชนที่ไม่คุ้นเคย การทำความรู้จักกับเพื่อนบ้านข้างเคียงไม่น่าจะเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ แต่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง การทำความรู้จักกับเพื่อนบ้านอาจทำให้เราได้พบเจอความเชื่อและมุมมองความคิดที่ไม่เหมือนกับเรา การทำความรู้จักไม่จำเป็นต้องลงเอยด้วย ความชอบ-ไม่ชอบ ถูกใจ-ไม่ถูกใจ ไม่ต้องกลายเป็นคนสนิท แต่ “Active Citizen” จะใช้โอกาสนี้ทำความเข้าใจและยอมรับความแตกต่าง 

ผลการศึกษาวิจัยในประเทศออสเตรเลีย พบว่า ชาวออสเตรเลีย 1 ใน 3 ไม่ไว้ใจเพื่อนบ้านข้างเคียง สาเหตุไม่ได้เกิดจากพวกเขารู้จักกัน แต่เป็นเพราะพวกเขาแทบไม่เคยมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ความไม่รู้นำมาสู่การขาดความไว้เนื้อเชื่อใจ นำมาสู่การละเลย มองข้ามสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน

3. มีส่วนร่วมในประชาธิปไตยท้องถิ่น

หลายหมู่บ้านจัดการประชุมประจำปี มีการจัดตั้งกรรมการหมู่บ้าน คอนโดบางแห่งจัดกิจกรรมให้ลูกบ้านได้ร่วมสนุก การเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่น การจ่ายภาษีท้องถิ่น หรือแม้แต่เรื่องเล็กๆ อย่างค่าธรรมเนียมการกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย เราได้รับผิดชอบเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตัวเองเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน? ถ้าคำตอบ คือ “ไม่” ถึงเวลาแล้วที่ควรมีส่วนร่วมทำอะไรบางอย่าง

4. เลิกบ่นกล่าวโทษผู้อื่น แต่ลงมือทำ

ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะแค่ในประเทศไทยเท่านั้นแต่เป็นปัญหาระดับนานาชาติ รัฐบาลแต่ละประเทศมีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของพลเมือง ทั้งในเรื่องสวัสดิการและสวัสดิภาพการใช้ชีวิต เช่น การปรับปรุงสาธารณูปโภค ถนนหนทาง การเข้าถึงด้านสาธารณสุขและการศึกษา ฯลฯ เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ควรถูกผลักดันในระดับนโยบาย แต่ก็ต้องยอมรับความจริงว่า หลายๆ ปัญหาเกิดขึ้นและแก้ไขได้จากความเปลี่ยนแปลงระดับบุคคลและความร่วมมือของชุมชน

ปัญหากองขยะเกลื่อนกลาดที่อยู่ตรงมุมถนนหน้าปากซอย ปัญหาขยะพลาสติก ปัญหามลภาวะทางอากาศ เราเคยหยุดตั้งคำถามกับตัวเองไหมว่า…ตัวเราเป็นส่วนหนึ่งของปัญหานั้นหรือไม่? ปัญหาน้ำหนักเกิน โรคอ้วน และโรคไม่ติดต่อแต่เรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันอุดตันในเส้นหลอด โรคหัวใจ ฯลฯ ที่กลายเป็นโรคยอดฮิตและเป็นวิกฤตระดับโลก เราเคยหยุดตั้งคำถามกับตัวเองไหมว่า…เราสนใจดูแลอาหารการกินของตัวเอง จัดสรรเวลาให้กับการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพกายใจของตัวเองมากน้อยแค่ไหน? 

ด้วยเหตุนี้ การสร้างความเปลี่ยนแปลงโดยเริ่มจาก “ตัวเอง” จึงเป็นหัวใจที่เป็นบันไดขั้นแรกของการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง เพราะหนึ่งคนเปลี่ยนสามารถสร้างแรงบันดาลและเป็นแรงกระตุ้นให้คนรอบข้างเปลี่ยนแปลงได้ แน่นอนว่าเรื่องราวเหล่านี้ต้องใช้เวลา แต่ก้าวแรกของการเดินทางไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย หากเราไม่ก้าวไปข้างหน้า

5. คิดก่อนโพสต์และแชร์ 

ในโลกที่อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียเข้ามามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิต การรู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารบนโลกออนไลน์เป็นเรื่องจำเป็น นอกจากนี้ตัวเราเองต้องเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบกับข้อมูลข่าวสารที่ตัวเองสื่อสารไปสู่สาธารณะ 

เพราะข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นสามารถส่งผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อตัวเองและผู้อื่นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ด้วยเหตุนี้เราจึงควรคิดก่อนโพสต์และแชร์ข้อมูลต่างๆ 

  • แยกแยะข้อคิดเห็น ข้อเท็จจริง และความถูกต้องของข้อมูล
  • ไม่ตกเป็นเครื่องมือเผยแพร่ข่าวปลอม สร้างความตื่นตระหนกทางสังคม เป็นต้น
  • ไม่บูลลี่ ใช้คำพูดหรือข้อความ ทำร้ายจิตใจด้อยค่าผู้อื่น พลเมืองที่ตื่นรู้สามารถควบคุมการสื่อสารด้วยความเคารพในความคิด ความต่างและความรู้สึกของผู้อื่น 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการพัฒนาสมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งอาศัยการเรียนรู้ ฝึกฝนและพัฒนาสมรรถนะด้านอื่นๆ ประกอบด้วย ไม่ว่าจะเป็น การจัดการตนเอง การคิดขั้นสูง การสื่อสาร และการรวมพลังทำงานเป็นทีม The Potential ได้นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้และการพัฒนาสมรรถนะต่างๆ ไว้ในบทความต่อไปนี้ 

การจัดการตนเอง https://thepotential.org/knowledge/self-management-for-cbe/

การคิดขั้นสูง https://thepotential.org/knowledge/system-thinking/

การสื่อสาร https://thepotential.org/knowledge/communication-skills/

การรวมพลังทำงานเป็นทีม https://thepotential.org/knowledge/teamwork-and-collaboration/

อ้างอิง

https://active-citizens.britishcouncil.org/about

https://www.opensocietyfoundations.org/voices/active-citizenship-can-change-your-country-better

https://www.cmcaindia.org/5-ways-to-become-an-active-citizen-and-make-an-impact/

https://mgiep.unesco.org/global-citizenship

Tags:

ความเข้าอกเข้าใจ(empathy)หลักสูตรฐานสมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งActive CitizenshipสิทธิและเสรีภาพCompetency-based Curriculum

Author:

illustrator

วิภาวี เธียรลีลา

นักเขียนอิสระที่อยากเข้าใจวิถีชีวิตผู้คน เลยพาตัวเองไปใช้ชีวิตในลอนดอน ปักกิ่ง เซินเจิ้นและอเมริกา กินมังสวิรัติ อินกับโภชนาการ กำลังเรียนเป็นนักปรับพฤติกรรมสุนัขและชอบกินกาแฟใส่ฟองนม

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Character building
    สมรรถนะ ‘การทำงานเป็นทีม’ จิ๊กซอว์ความสำเร็จที่สอนเด็กว่ากระบวนการสำคัญกว่าผลลัพธ์

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Character building
    ฟังโดยไม่ตัดสิน ไม่ใช่แค่ได้ยินแต่เข้าใจ : บันไดขั้นแรกของ ‘สมรรถนะการสื่อสาร’ ที่ช่วยสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Character building
    ‘การคิดเชิงระบบ’ สมรรถนะการคิดขั้นสูงที่ช่วยเด็กรับมือกับความซับซ้อนของโลกในอนาคต

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Character building
    Self-Management : สมรรถนะการจัดการตนเอง ปูทางเด็กสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของชีวิต

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • RelationshipHow to enjoy life
    รักดาราแล้วได้อะไร (ตอน 1): ยีนคลั่งคนดัง และต้นแบบในดวงใจ

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

หลวิชัย : ความสัมพันธ์ที่เคารพอาณาเขตของตัวเอง (2)
Myth/Life/Crisis
20 January 2022

หลวิชัย : ความสัมพันธ์ที่เคารพอาณาเขตของตัวเอง (2)

เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • จากตอนที่แล้ว ภัทรารัตน์ หยิบ หลวิชัย – คาวี มาเขียนในประเด็นความสัมพันธ์ ‘เพื่อน’ อย่างหลวิชัยที่มีคุณสมบัติ คือ มีเส้นกั้นอาณาเขต (boundary) ระหว่างตัวเองกับผู้อื่นที่ชัดเจน โดยในขณะเดียวกันก็เป็นที่พึ่งให้คาวีได้อย่างที่สุด ในตอนที่ 2 นี้ มาต่อที่ความสัมพันธ์ที่เคารพอาณาเขตของตัวเอง
  • สิ่งที่เรียกว่ามิตรภาพบางลักษณะนั้นมีอาณาเขตระหว่างกันไม่ชัดนัก ทว่ายิ่งไม่มีขอบเขตมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเกื้อกูลกันอย่างแท้จริงหรือยั่งยืนได้น้อยลงเท่านั้น เพราะจะเป็นการที่มีฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่าตนเป็นผู้ให้อย่างล้นพ้น ในที่สุดจึงเหนื่อยล้าเกินทนเพราะรู้สึกถูกเอาเปรียบหรือถูกเหยียบย่ำ
  • เราไม่อาจโทษผู้อื่นอยู่แต่ฝ่ายเดียวหากรู้สึกถูกสูบพลังชีวิตไปแทบหมดสิ้น เพราะเราก็เป็นผู้อนุญาตให้รูปแบบบางอย่างดำรงอยู่ด้วยเช่นกัน  แล้วจะทำอย่างไรดีหากไม่ต้องการความสัมพันธ์แฝงพิษกับมวลมิตรอีกต่อไปแล้ว?

1.

(ความเดิมจากหลวิชัยคาวีตอน 1) ลูกเสือและลูกวัวกำพร้าเดินทางท่องพงไพรไปเจอฤาษี ท่านได้ทราบว่าลูกวัวเคยขอให้แม่วัวให้นมลูกเสือทั้งยังผ่านเหตุการณ์ยากลำบากมาด้วยกันและเป็นมิตรกันผิดวิสัยเสือกับวัวก็ประทับใจ ฤาษีจึงเสกให้สัตว์สองตัวนี้กลายเป็นคนโดยให้เสือชื่อว่า หลวิชัย และวัวชื่อ คาวี สองกุมารเรียนสรรพวิชากับฤาษีจนเติบใหญ่และอยากอยู่ปรนนิบัติฤาษีเพื่อตอบแทนคุณ แต่ฤาษีเห็นว่าผู้มีวิชาความรู้น่าจะออกไปครองเมืองก็จะช่วยผู้คนได้มาก เมื่อทั้งสองเห็นชอบ ท่านจึงทำพิธีถอดดวงใจของทั้งสองใส่ลงพระขรรค์และย้ำว่าห้ามให้ศัตรูได้ขรรค์ไปเด็ดขาด ทั้งสองรับทราบแล้วพากันลาฤาษีออกเดินทางไปในโลกกว้าง 

เมื่อสองหนุ่มมาถึงทางแยก หลวิชัยก็ปรารภว่าให้แยกกันไปคนละทิศ แล้วอีก 3 เดือนค่อยกลับมาเจอกันที่เดิมนี้ 

คาวีเดินทางไปเจอกลองในพระราชวังแห่งเมืองซึ่งร้างไร้ผู้คนแห่งหนึ่ง ในกลองนั้นมีนาง จันท์สุดา ผมหอมจรุงผู้เป็นธิดาของเจ้าเมืองจันทรนคร เมื่อได้ทราบจากนางว่าชาวเมืองรวมถึงบิดามารดาของนางถูกนกอินทรีย์กิน เขาจึงล่อนกมาสังหารเสีย จากนั้นก็ได้สมรสกับนางจันท์สุดาและครองจันทรนครนับแต่นั้น    

แต่ภายหลังท้าวสันนุราชผู้ครองกรุงพันธวิสัยได้พบเส้นผมกลิ่นเย้ายวนของนางจันท์สุดาที่ลอยมาตามน้ำจนปรารถนาในตัวนางและประกาศให้รางวัลคนที่ช่วยเหลือได้ ยายทัศประสาทซึ่งเป็นข้าเก่าของพระธิดาจึงวางแผนโดยขอกลับไปรับใช้นางและในระหว่างนั้นก็ได้รู้ความลับว่าหัวใจของคาวีอยู่ในพระขรรค์และคาวีจะตายหากนำขรรค์ไปเผาไฟ ยายจึงหลอกล่อสองคนไปอาบน้ำแล้วให้ฝากของไว้จนได้ขรรค์ไปเผา ซึ่งทำให้คาวีล้มสิ้นสติไป เปิดทางให้ยายเจ้าเล่ห์นำทหารของท้าวสันนุราชเข้ารวบตัวจันท์สุดาไปถวายท้าวเฒ่า   

ฝั่งหลวิชัยนั้น เมื่อครบกำหนดเวลา 3 เดือนก็กลับไปเจอคาวีตรงที่จากกัน แต่รอทั้งวันก็ไม่พบ เขาจึงเดินทางเสาะหากระทั่งได้พบกับคาวีที่นิ่งแน่ใกล้เพลิงที่แผดเผาพระขรรค์อยู่ เขาจึงช่วยเอาขรรค์ออกมาจากเปลวเพลิง ทำให้คาวีฟื้นขึ้นและได้ทราบความจากคาวี หลังจากนั้นเขาได้ทราบข่าวว่าท้าวสันนุราชอยากจะกลับไปเป็นหนุ่มและประกาศหาผู้มีวิชาอาคมที่จะสามารถทำพิธีชุบรูปให้ตนได้ เขาจึงปลอมตัวเป็นฤาษีไปหาพระองค์แล้วทำทีช่วย แต่ที่แท้แล้วเขากลับสลับตัวคาวีออกมาหลังทำพิธีกรรม ทำให้ผู้คนเชื่อว่าคาวีเป็นท้าวสันนุราชในเวอร์ชั่นหนุ่ม นั่นทำให้คาวีได้สมรสกับจันท์สุดาอีกครั้ง และได้ครองสองเมืองอย่างเป็นสุข 

เมื่อหลวิชัยเห็นดังนั้นก็ลาคาวีเพื่อไปตามทางของตนต่อไป   

2.

หลวิชัยเป็นตัวอย่างของคนที่สามารถจะมีมิตรภาพที่เกื้อกูลผู้อื่นได้อย่างสุดซึ้ง ในขณะที่ก็ยังมีอาณาเขตของตัวเองที่ชัดเจนและเคารพอาณาเขตของผู้อื่นด้วย     

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เรียกว่ามิตรภาพบางลักษณะนั้นมีอาณาเขตระหว่างกันไม่ชัดนัก ทว่ายิ่งไม่มีขอบเขตมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเกื้อกูลกันอย่างแท้จริงหรือยั่งยืนได้น้อยลงเท่านั้น เพราะจะเป็นการที่มีฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่าตนเป็นผู้ให้อย่างล้นพ้น ในที่สุดจึงเหนื่อยล้าเกินทนเพราะรู้สึกถูกเอาเปรียบหรือถูกเหยียบย่ำ 

ทว่าเมื่อสืบค้นให้ลึกลงไป ฝ่ายที่ยอมและทำตัวเป็นผู้ให้อย่างถึงที่สุดจนไม่มีอะไรเหลือจะให้อีกต่อไปนั้นก็มักกำลัง แลก กับความรู้สึกต่างๆ เช่น รู้สึกไม่ขัดแย้ง หนีความรู้สึกผิด ได้ความสงบ รู้สึกมีค่าและได้รับการยอมรับ หนีความเหงา ฯลฯ แตกต่างกันไป ซึ่งก็ถือเป็นการพึ่งพาคนที่ตนเห็นเป็นผู้รับเช่นกัน

และรูปแบบความสัมพันธ์ดังกล่าวนั้นสามารถมีรากมาได้จากหลายอย่าง เช่น การถูกทำให้เคยชินกับการไม่มีอาณาเขตตามสมควรระหว่างตัวเองและคนในครอบครัว ฯลฯ ตั้งแต่เด็ก หนำซ้ำยังถูกทำให้รู้สึกผิดเมื่อกั้นเขต คนที่โตมาเช่นนี้จะมีอาณาเขตที่ชัดเจนกับคนอื่นได้ง่ายนักงั้นหรือ? หากไม่ได้ทำงานกับโลกภายในของตัวเองก็มักลงเอยด้วยความเคยชินในการเปิดเปลือยให้คนอื่นสนองความปรารถนาใดๆ ของเขาผ่านการล่วงล้ำอาณาเขตของเรา…     

อย่างไรก็ตาม การตอบสนองต่อสถานการณ์เดียวกันของแต่ละคนสามารถแตกต่างกันกระทั่งเป็นไปในทางตรงข้ามเลยก็ได้ ไม่จำเป็นว่าโตขึ้นมาแบบไหนแล้วจะต้องกลายเป็นแบบไหนตายตัว ที่สำคัญเราทุกคนมีศักยภาพเติบโตก้าวข้ามเงื่อนไขที่ถูกตั้งขึ้นในวัยเด็กได้ แม้มักจะต้องใช้เวลาทำงานกับภายในตัวเองมากและต้องอาศัยความใจดีกับตัวอย่างที่สุด นอกจากนี้ โดยทั่วไปแล้วไม่มีพ่อแม่คนไหนตั้งใจทำร้ายลูก และแม้การให้อภัยพ่อแม่หรือผู้ดูแลในวัยเด็กมักไม่อาจปลดเปลื้องใจได้ในครั้งเดียวและไม่ได้แปลว่าเราต้องเห็นด้วยกับการกระทำบางอย่างของพวกเขา แต่แปลว่าเราเห็นใจพ่อแม่ได้และพร้อมที่จะทิ้งความหนักอึ้งออกไปจากใจของเรา นี้เองทุกคนจึงมีโอกาสเกิดใหม่ได้เสมอ  

4.

หนทางคลาย และการสำรวจตัวเองให้มากขึ้นอีก

เราไม่อาจโทษผู้อื่นอยู่แต่ฝ่ายเดียวหากรู้สึกถูกสูบพลังชีวิตไปแทบหมดสิ้น เพราะเราก็เป็นผู้อนุญาตให้รูปแบบบางอย่างดำรงอยู่ด้วยเช่นกัน  แล้วจะทำอย่างไรดีหากไม่ต้องการความสัมพันธ์แฝงพิษกับมวลมิตรอีกต่อไปแล้ว?

1. สร้างขอบเขต (boundary) บางทีเราเองนั่นแหละที่ทำให้คนอื่นเคยชินว่า กับเรานั้นจะทำอย่างไรก็ได้ เราอาจชินกับการพูดว่า “ได้หมดๆ” “ไม่เป็นไร” ดังนั้น ลองกลับมาซื่อตรงต่อความรู้สึกตัวเองอีกหน่อย อะไรที่รู้สึกไม่โอเคก็ไม่จำเป็นต้องพูดว่าไม่เป็นไร ซึ่งการปฏิเสธก็ไม่จำเป็นต้องแข็งกร้าวเสมอไป เพียงแค่บอกอย่างสุภาพว่าเราต้องการหรือไม่ต้องการอะไรตอนไหนคนส่วนใหญ่ก็มักจะเข้าใจได้ และถ้าพยายามรักษาน้ำใจอย่างที่สุดไปแล้ว เขาดันไม่เข้าใจ สุดท้ายก็ต้องปล่อยให้เป็นปัญหาของเขาบ้าง เพราะการรักษาความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลนั้นไม่อาจเป็นความพยายามของเราฝ่ายเดียวไปตลอดกาลได้  

2. สำรวจความคาดหวังต่อตัวเอง ใช่เราเองหรือเปล่าที่ติดกรอบภาพการเป็นอะไรบางอย่าง ไม่ว่าจะในฐานะส่วนตัวหรือหน้าที่การงาน ซึ่งทำให้รู้สึกว่าฉันต้องเข้มแข็ง วางตัวสุขุม และแก้ปัญหาทุกอย่างได้เองอยู่ตลอดเวลา ทำให้เราปิดกั้นตัวเองจากการ “รับ” ความใส่ใจและความช่วยเหลือจากคนอื่นเสียบ้าง? 

หากลองเปิดใจ ก็มักเห็นได้ว่ามีหมู่มิตรจำนวนหนึ่งที่พร้อมจะเกื้อกูลเราอยู่ในยามที่เราตกทุกข์ เพียงแค่เราต้องสื่อสาร แต่หากเราเคยมีประสบการณ์ในการถูกซ้ำเติมและตัดสินมาในอดีต แล้วปัจจุบันเลือกที่จะไม่ขอความช่วยเหลือใครเอง มันก็คือการตัดสินใจของเราเอง หาใช่ความผิดของคนอื่นไม่

3. สำรวจความคาดหวังต่อคนอื่น ทุกคนย่อมมีชีวิตไปตามครรลองของตัวเองและย่อมมีจังหวะที่ไม่อาจเกื้อกูลคนอื่นได้ตลอด หากลองสำรวจตัวเองให้ละเอียดและเป็นกลางขึ้นก็อาจพบว่า เราเองก็ไม่ได้พร้อมเกื้อกูลคนอื่นในตอนที่เขาต้องการเสมอไปหรือถึงอยากช่วยเหลือเกินแต่ก็ไม่มีความสามารถที่จะช่วยผู้อื่นได้ในหลายเรื่อง หรือบางครั้งเราก็ทำอะไรตามอำเภอใจโดยอาจไม่ได้ใส่ใจความรู้สึกของเพื่อนเท่าที่เราคิดเหมือนกัน     

หากเป็นเช่นนั้น เรายังคาดหวังอะไรเกินจริงจากคนอื่นได้อีกล่ะหรือ?  

4. สำรวจว่าตัวเองว่ามีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอยู่หรือเปล่า? มันมาจากความต้องการตอบสนองความปรารถนา (yearning) อะไรในตัวเอง? ถึงปล่อยให้ตัวเองพยายามกับความสัมพันธ์หรือเสียสละอยู่ฝ่ายเดียว โดยที่คนอื่นทำตัวอย่างไรกับคุณก็ได้จนดูไร้ขอบเขต แล้วคุณเห็นคุณค่าของตัวเองมากน้อยเพียงไหนกัน? 

การเห็นตัวเองมากขึ้นช่วยปลดล็อครูปแบบบางอย่างได้ มิตรภาพที่มีการให้และรับอย่างเสมอกันนั้นดีต่อใจ หาไม่แล้วก็ต้องซื่อตรงต่อตัวเองว่ารับได้จริง ไม่เช่นนั้นความใจดีก็ต้องมีขอบเขตบ้าง เราจะหายใจออกไปเรื่อยๆ ได้อย่างไรถ้าไม่หายใจเข้าเลย และการหายใจเข้าออกนี้เองสะท้อนว่าคนส่วนหนึ่งในชีวิตก็สามารถผลัดเปลี่ยนเวียนเข้ามาและออกไปตามจังหวะชีวิตของทุกฝ่ายที่ก็ผันแปรไปเรื่อยเช่นกัน และเมื่อเราได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว ก็ขอให้ระลึกไว้ว่าสุดท้าย   

ผู้คนย่อมมาหาเรา และจากไป ในเวลาที่สมควร

นี่คือถ้อยคำของครูด้วง อาจารย์สอนวาดรูปตอนเด็ก ที่เมื่อโตขึ้นก็ใคร่ครวญได้ความหมายมากมายหลายชั้นทีเดียว

อ้างอิง

*หมายเหตุ เนื้อเรื่องของหลวิชัยคาวีมีความหลากหลาย ในที่นี้ได้ผสานเนื้อหาจากสามแหล่งคือ จาก “นิทานเรื่องคาวี” ใน บทละครนอก โดย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พิมพ์เมื่อพ.ศ. ๒๕๓๐ สำนักพิมพ์กรมศิลปากร; “คู่พระใหญ่พระน้อยในนาฏกรรมไทย” โดย ไพโรจน์ ทองคำสุก ใน วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๙ และ เสือโคคำฉันท์ ต้นฉบับพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร จากห้องสมุดดิจิตอลวชิรญาณ  

บทความทางโหราศาสตร์และจิตวิทยาเกี่ยวกับดาวเนปจูนในเรือน 11 อีกทั้งลักษณะเด่นของราศีกรกฏ และแง่มุมท้าทายต่างๆ ในเรือน 4 

บทสนทนากับอจ.ด้วง ศักดิ์สิน เมื่อครั้งเรียนวาดรูป ประมาณปีพ.ศ. ๒๕๔๒

18 Signs You Lack Personal Boundaries (and Feel Constantly Used)

Attachment Re-visited: 7 Red Flag Signs of Poor Boundaries

Tags:

หลวิชัย-คาวีเส้นกั้นอาณาเขต (boundary)Myth Life Crisisตำนานเพื่อนแบบแผนความสัมพันธ์

Author:

illustrator

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา

ชอบอยู่กับต้นไม้ใบไม้ต่างๆ ผืนน้ำ เที่ยวไปในโบราณสถาน และเรียบเรียงสิ่งที่อยู่ในเงามืด เราเองยังต้องเรียนรู้และขัดเกลาอะไรอีกมาก รู้สึกขอบคุณที่ให้โอกาสเราได้ฟังเรื่องราวของทุกคนนะ (Line ID: patrasuwan)

Illustrator:

illustrator

กรองพร ทององอาจ

Graphic Designer & Illustrator Instagram: @monkrongpin

Related Posts

  • Myth/Life/Crisis
    มูซาชิ : ที่มองคนอื่นนั้นก็เพียงเงาสะท้อนของเราเอง

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Myth/Life/Crisis
    หลวิชัย : เพื่อนผู้พึ่งพาได้ ในขณะที่ยังมีเส้นอาณาเขตระหว่างตัวเองและผู้อื่นชัดเจน (1)

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Myth/Life/Crisis
    แดรกคิวล่า : เรียนรู้จากผีดิบ และอาการป่วยไข้ที่รุกล้ำอาณาเขตของเรา

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Myth/Life/Crisis
    กุลา: ด้อยค่าคนที่ตนอิจฉาในขณะที่เลียนแบบไปด้วย

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • แมงมุมเพื่อนรัก : สายใยแห่งมิตรภาพ ความตาย และการไถ่บาป

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

‘เราต้องมีสิทธิเป็นตัวของตัวเอง’ ก้าวข้าม Beauty Standard กับ ซิลวี่ – ภาวิดา มอริจจิ
Life classroomSocial Issues
20 January 2022

‘เราต้องมีสิทธิเป็นตัวของตัวเอง’ ก้าวข้าม Beauty Standard กับ ซิลวี่ – ภาวิดา มอริจจิ

เรื่อง ปริสุทธิ์ ภาพ ปริสุทธิ์

  • ความพยายามเปลี่ยนตัวเองเพื่อตามใจตลาด นอกจากจะทำให้ ซิลวี่ – ภาวิดา มอริจจิ สูญเสียตัวตนและความสุขไป ขณะเดียวกันชื่อเสียงและการยอมรับที่คิดว่าจะดีก็ไม่ได้ดีนัก หลังจากหลงทางไป ซิลวี่กลับมาพร้อมกับซิงเกิลแรก XL แล้วตามมาด้วย Queen และ Troublemaker คือบทพิสูจน์ว่าไม่มีอะไรลบล้างสิ่งที่เธอเป็น และทุกคนควรจะภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นด้วย
  • “ในเมื่อเราเป็นคนที่แตกต่าง ที่ไม่ได้เหมือนศิลปินคนอื่นในเมืองไทย เราต้องมีสิทธิเป็นตัวของตัวเองได้สิ เราก็เลยลองเป็น ฉันจะรักเธอซิลวี่ ฉันจะยอมรับตัวตน ในเมื่อเธอเปลี่ยนไม่ได้ ฉันจะรักตัวเองในแบบที่เป็น เธอจงชอบมัน เธอจงอยู่เคียงข้างมัน นั่นมันเป็นช่วงแรกๆ เลยที่เรารู้จักพูดคุยกับตัวเอง เข้าไปรู้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในหัว”
  • วันนี้ซิลวี่ใช้พลังงานด้านลบมาแปรเป็นผลลัพธ์ด้านบวก เคล็ดลับของความแกร่งนี้คือการไม่ละทิ้งตัวตน ไม่ด้อยค่าตัวเอง และภูมิใจในสิ่งที่เป็นอย่างสนิทใจ ไม่ต้องรอให้ใครมาสร้างมาตรฐานให้ทำตาม เพราะทุกคนคือความแตกต่างที่ต้องยอมรับกันและกัน

จากเด็กผู้หญิงที่เคยถูกด้อยค่ารูปลักษณ์ ถูกบั่นทอนความมั่นใจจนกลายเป็นเสียศูนย์ พลังงานลบที่ ซิลวี่ – ภาวิดา มอริจจิ ได้รับมาตั้งแต่เริ่มเข้าวงการบันเทิง วันนี้กลายเป็นแรงผลักดันให้ทั้งผลงานและตัวตน ยืนหนึ่งในการเป็นปากเสียงให้ทั้งคนที่เคยถูก Body Shaming และกลุ่ม LGBTQ ว่าจงลุกขึ้นมาภูมิใจ ‘Proud of yourself’

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับซิลวี่ นอกจากบทบาทในฐานะนักร้องที่เคยเป็นสายดีว่า สวมชุดราตรี ร้องเพลงด้วยเสียงทรงพลัง มาสู่กลิ่นอายศิลปินอินเตอร์ทั้งแนวเพลงและคาแรกเตอร์ เรื่องตัวตนถูกเคี่ยวกรำจนชัดเจนกว่าเดิม ด้วยพื้นฐานความคิด ความเชื่อ ที่เคยมีอยู่เดิม แต่เคยถูกกดทับไว้ด้วยคำดูถูกต่างๆ นานา

“เรามีความมั่นใจในสิ่งที่คิดมากขึ้น วันนี้เหมือนเราได้รับพื้นที่ที่จะเป็นตัวของตัวเอง ณ วันนั้นเราไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร อาจจะเป็นเด็กไปด้วย แต่วันนี้เรามั่นใจและเผชิญโลกมาเยอะพอสมควร ไปลองผิดลองถูกมาเยอะ จนเรารู้ว่าชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เลยมีความมั่นใจมากขึ้น”

เปลี่ยนตัวเองตาม Beauty Standard สูญเสียตัวตนและความสุข

ภาพลักษณ์ของซิลวี่ตอนที่เพิ่งเข้าวงการบันเทิง หลายคนจะรู้สึกว่าเธอเป็นเด็กขี้อาย ไม่มีความมั่นใจ แต่เธอบอกว่าในเรื่องความสามารถด้านการร้องเพลงนั้นมั่นใจมาก ทว่าชีวิตจริงในฐานะศิลปินนักร้องในวงการบันเทิงไทยกลับทำลายความมั่นใจอย่างรุนแรง เพียงเพราะเธอไม่มีรูปร่างหน้าตาตรงตามค่านิยม

“รูปร่างหน้าตามีผลต่อการได้อยู่ต่อ ต่อการเป็นที่ชื่นชอบ เราอาจจะต้องผอม เราอาจจะต้องขาว เราอาจจะต้องเรียบร้อย มันมีเรื่องพวกนี้อยู่ เราก็เคยลองพยายามเป็นแบบนั้นแล้ว เคยลองลดน้ำหนัก เคยลองทำทุกอย่าง แต่สุดท้ายแล้วความสุขเราหายไป ไม่ได้สบายเท่าตอนนี้ที่สบายๆ กับตัวเอง

ตอนนี้สบายใจจะกินก็กิน เมื่อก่อนกังวลมากเรื่องการกิน ต้องนับแคล มันหนัก แต่ทุกวันนี้เราเอาที่เราสบายใจ”

ความพยายามเปลี่ยนตัวเองเพื่อตามใจตลาด นอกจากจะสูญเสียตัวตนและความสุขไป ขณะเดียวกันชื่อเสียงและการยอมรับที่คิดว่าจะดีก็ไม่ได้ดีนัก เพราะผลงานหลักๆ ตอนนั้นคือละครเวที ส่วนผลงานเพลงไม่มีเลย ซิลวี่เล่าว่าช่วงนั้นมีแต่ความคิดเชิงลบ “เราไม่ดีขนาดนั้นเลยเหรอ” แล้วเธอก็ห่างหายไปจากวงการบันเทิงระยะหนึ่ง

หลังจากหลงทางไป ความสามารถและทัศนคติซึ่งยังยึดมั่น พาให้ได้มาร่วมงานกับค่าย Warner Music Asia ด้วยแนวทางแบบสากล ซิลวี่เหมือนได้รับโอกาสเป็นตัวเองอย่างภาคภูมิใจอีกครั้ง โดยตั้งแต่ซิงเกิลแรก XL แล้วตามมาด้วยอีกสองเพลง Queen และ Troublemaker คือบทพิสูจน์ว่าไม่มีอะไรลบล้างสิ่งที่เธอเป็น และทุกคนควรจะภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นด้วย

“ซิลวี่ก็คือซิลวี่คนเดิม แต่เป็นเวอร์ชั่นใหม่ ก็ยังเด๋อด๋าบ้างบางที ก็ยังไม่มั่นใจบ้างบางครั้ง แต่สิ่งที่ชัดคือเราให้อภัยตัวเองเก่งขึ้น และเราให้แรงบันดาลใจคนอื่นๆ ได้มากขึ้น ในการที่จะเป็นตัวของตัวเอง ในการเป็นคนที่เรียนรู้จะรักตัวเองในแบบที่ตัวเองเป็น”

‘ฉันจะรักตัวเองในแบบที่เป็น’ ปรับ Mindset เพื่อก้าวต่อและเติบโต

Beauty Standard ของสังคมไทย ที่ตีกรอบว่าสวยต้องเท่ากับผอม ผิวขาว ผลักดันให้ซิลวี่เดินตามความสวยในแบบที่หลายคนเชื่อว่าเป็นอย่างนั้น ด้วยวิธีการต่างๆ หนึ่งในนั้นคือการหลงผิดไปยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดอยู่พักหนึ่ง แน่นอนว่าเธอผอม ไม่อยากอาหาร มันเสมือนทางลัดสู่ความผอม แต่ในทางกลับกันมันคือทางลัดสู่หายนะเช่นกัน

ซิลวี่เปลี่ยนเป็นคนละคน จากเป็นคนอ่อนโยน ใจเย็น อัธยาศัยดี ก็กลายเป็นคนเกรี้ยวกราด ก้าวร้าว สภาพจิตใจ สภาพร่างกายย่ำแย่ถึงขีดสุด กระทั่งเธอรับกับสภาพที่เป็นไม่ได้ บวกกับความห่วงใยจากคนรอบตัวที่สังเกตเห็น ทำให้เธอตระหนักได้ว่า จะไม่ยอมให้ Beauty Standard จอมปลอมมาบงการชีวิตได้อีก

“จากสิ่งที่เราเคยเป็นและเจอมา ทำให้เราอยากเป็นคนที่ดีขึ้น หนูก็ปล่อยให้ตัวเองอ้วนขึ้น แล้วก็พอมองตัวเองในกระจก รู้สึกว่าไหนๆ ที่ผ่านมา เราลองมาหมดแล้ว วันนี้อ้วนขึ้นแล้วจะกลับไปแบบเดิมไหม คำตอบคือไม่เอา เราไม่เคยมีความสุขเลย งั้นก็ลองเส้นทางใหม่ คือ มองข้อเสียของตัวเอง เราไม่ชอบที่อ้วนขึ้น แล้วอ้วนขึ้นมันไม่ดีอย่างไร มันผิดตรงไหน แล้วสิ่งที่เราไม่ชอบ เราไม่ชอบมันจริงๆ หรือแค่คนอื่นรู้สึกว่ามันไม่โอเค

เวลาเราดูอินฟลูเอนเซอร์หรือนักแสดงต่างชาติ มีเยอะมากที่รูปร่างเขาไม่ได้ผอม ขาว แต่มันหลากหลาย แล้วเรายังชอบเขาในแบบที่เขาเป็น 

ในเมื่อเราเป็นคนที่แตกต่าง ที่ไม่ได้เหมือนศิลปินคนอื่นในเมืองไทย เราต้องมีสิทธิเป็นตัวของตัวเองได้สิ เราก็เลยลองเป็น ฉันจะรักเธอซิลวี่ ฉันจะยอมรับตัวตน ในเมื่อเธอเปลี่ยนไม่ได้ ฉันจะรักตัวเองในแบบที่เป็น เธอจงชอบมัน เธอจงอยู่เคียงข้างมัน 

นั่นมันเป็นช่วงแรกๆ เลยที่เรารู้จักพูดคุยกับตัวเอง เข้าไปรู้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในหัว บางคำพูดคนอื่นพูดกับเราแค่หนึ่งที แต่เราวนซ้ำในหัวตัวเองเป็นร้อยครั้งเพื่อกดให้เรารู้สึกแย่กับตัวเอง เพราะฉะนั้นเราแค่ต้องเปลี่ยนเสียงนั้น ในเมื่อเรามีเสียงในหัว เราควรเลือกให้มันดังในแบบที่สร้างสรรค์ แล้วมันก็พาเรามาถึงทุกวันนี้”

ช่วงเวลาอันยากลำบากจนถึงวันที่ความคิดเปลี่ยน ซิลวี่บอกว่ากินเวลานานถึง 5 ปี ถึงแม้จะนาน แต่เมื่อเลือกได้แล้ว เธอไม่หันกลับไปรู้สึกแย่กับการด้อยค่าทั้งจากตัวเองและคนอื่นอีกเลย ควบคู่ไปกับการพัฒนาตัวเองด้านอื่นๆ อาทิ ความสามารถ ทัศนคติ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Beauty Standard และ LGBTQ

ส่งต่อพลังงานบวก Self Empowerment ผ่านบทเพลงและตัวตน 

ความเข้มแข็งของซิลวี่ ถูกแสดงออกผ่านเพลงและตัวตนของเธอมาตลอดตั้งแต่ปลดล็อกความรู้สึก แน่นอนว่าเธอไม่ใช่คนเดียวที่ต้องต่อสู้กับมาตรฐานและความเชื่อของสังคม ซึ่งเธอเองก็ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจของคนมากมายที่เคยเจอปัญหาคล้ายๆ กัน

“ทุกวันนี้มี DM เข้ามาในอินสตาแกรมเยอะมาก เขาบอกว่าที่ผ่านมาไม่เคยรัก ไม่เคยใส่ใจความรู้สึกตัวเองเลย ไม่เคยสนุกกับการแต่งตัวเลย ไม่เคยให้เวลาตัวเองได้เสริมสร้างความมั่นใจในแบบตัวเอง แต่พอเราได้มาฟังเพลงเธอ ได้มาติดตามเธอ เธอทำให้เรากล้าออกมาใช้ชีวิตมากขึ้น เธอทำให้เราอยากลองหาอะไรสนุกๆ ให้ตัวเองทำ

ตอนแรกที่เรากลับมาออกผลงานในแบบที่เป็นตัวเรา (ในเพลง XL) เราไม่ทันได้คิดว่าคนจะชอบหรือไม่ชอบ แต่คิดว่าเขาน่าจะเซอร์ไพรส์แน่นอน ยิ่งคนที่ตามมาตั้งแต่สมัยเป็นดีว่าจ๋าๆ แต่เราก็รู้สึกว่าเราค่อยๆ เปลี่ยน ถ้าได้ติดตามกันทางโซเชียลมีเดีย จะสังเกตว่าซิลวี่เวอร์ชั่นนี้จะดุๆ หน่อย เพราะว่าเราเก็บกดมานาน มันคือการประกาศศักดาว่าเธอทำอะไรฉันไม่ได้หรอก (หัวเราะ)”

นอกจากประเด็น Beauty Standard ในเพลง XL ซิลวี่ยังพูดถึงประเด็น LGBTQ ในเพลง Queen ด้วย โดยในเนื้อเพลงตีความได้หลายอย่าง แต่ที่ชัดเจนสุดคือเรื่องเพศสภาพ และ Self Empowerment จนกลายเป็นหนึ่งในเพลงที่กลุ่ม LGBTQ มอบมงให้สมกับชื่อเพลงเลยทีเดียว

ประเด็นดังกล่าว ซิลวี่ต้องการสื่อสารไปเพื่อให้ทุกคนไม่เฉพาะเจาะจงว่าเพศไหน เกิดความภาคภูมิใจในสิ่งที่เป็น และโชว์พลังของตัวเองออกมาว่าความงดงามอันแตกต่างของทุกคนคืออะไร ซึ่งนับตั้งแต่เพลง XL ก็เกิด Challenge บนแพลตฟอร์ม TikTok ให้ Cover เพลงในแบบที่ตัวเองเป็น ผลที่ได้คือมีคนร่วมสนุกเยอะมาก แล้วทุกคนปล่อยของเต็มที่ เพื่อประกาศให้โลกรู้ถึงความภาคภูมิใจในตัวเอง

“มีหลายคนบอกว่าเราเป็นคุณแม่ของพวกเขาเลยนะ ก็เลยบอกว่าเป็นคุณแม่ก็ได้ ถึงในใจเราจะรู้สึกว่าเรายังเด็กอยู่เลยนะ

เราไม่ได้ตั้งใจให้สิ่งที่ทำเกิดเป็น Social Movement แต่ว่าสิ่งที่จะสื่อ รู้ว่ามันเป็นเรื่องที่คนจะถกเถียงกันแน่นอน เพราะสิ่งที่เราเป็น มันเป็นอย่างนั้น เราไม่อยู่ในกรอบ แล้วมันก็นำเสนอตัวเราได้ดี ถ้าจะเกิดการถกเถียงกันในสังคมก็ถูกแล้ว”

หยุดตีตรา และยอมรับว่าเราแตกต่างกัน

สิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่เดินตามหาฝัน จนได้เข้าสู่วงการบันเทิง แต่ถูกกดทับด้วยการตีตราของสังคม ทำให้เธอดำดิ่งสู่จุดดำมืด กระทั่งถึงการตระหนักรู้ว่าไม่มีใครทำร้ายเราได้นอกจากตัวเราเอง แล้วกลายมาเป็นซิลวี่ที่แข็งแรงแบบทุกวันนี้ ต้องยอมรับว่าไม่ใช่ทุกคนจะผ่านเรื่องร้ายได้อย่างเธอ หลายคนต้องพ่ายแพ้ให้กับการตีตรา ซึ่งสังคมไทยยังไม่หลุดพ้นจากเรื่องนี้สักที

“สังคมไทยยังตัดสินคนด้วยรูปลักษณ์ภายนอกค่อนข้างเยอะ ที่เห็นชัดๆ คือ คนสักคือคนคุก หรือ LGBTQ ต้องตลก คนอ้วนคือคนไม่แข็งแรง คนผอมคือคนไม่กินข้าว เรามีวัฒนธรรมในด้านการติเยอะ แม้แต่จากคำทักทาย เช่น อ้วนขึ้นหรือเปล่า ผอมลงหรือเปล่า มันดูเข้าไปยุ่มย่ามกับตัวเขาเยอะเกินไป และคนที่ได้รับข้อความนั้นหรือประโยคนั้น รู้สึกแย่กับตัวเอง

ซึ่งเราก็เจอมาหมดแล้ว และยังเจออยู่เรื่อยๆ ก็เลยรับรู้ว่ามีคนอีกเยอะแยะมากมายที่ยังไม่เข้าใจ ยกตัวอย่าง แอนชิลี ที่โดน Body Shaming เยอะมาก อาจเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องพร้อมโดนด่า แต่เราจะสร้าง Movement ตรงนี้ เราจะยังเป็น Leader ด้านนี้ แล้วเราต้อง Strong”

แต่ถึงจะแข็งแกร่งแค่ไหน ซิลวี่ก็ยอมรับว่ายังมีช่วงอ่อนไหว ที่ต้องกลับมาตั้งคำถามตัวเองว่าทำไมจะต้องเป็นเราที่ต้องขับเคลื่อนสิ่งที่ตัวเองเป็นให้คนเข้าใจเรื่องความแตกต่าง ทั้งที่หลายคนก็เหมือนนั่งรอเฉยๆ ให้คนที่ถูกกระทำมาอธิบาย

“เคยคิดนะว่าทำไมโลกไม่เปลี่ยน ทำไมต้องเป็นเราที่ออกมาเพื่อโดนด่า ทำไมไม่ง่าย ทั้งที่เป็นเรื่องที่ควรเข้าใจกันอยู่แล้วว่าทุกคนแตกต่าง แต่โลกมันเป็นแบบนี้ ก็ได้แต่บอกตัวเองว่ามันเป็นหน้าที่ของเรา เราต้องสู้เพื่อคนอีกหลายคน

แต่เราก็มองเห็นพัฒนาการนะ อย่างเรื่อง LGBTQ ปัจจุบันเปิดกว้างมากขึ้น แต่ก็ยังเปิดกว้างได้อีก ในแง่กฎหมาย เช่นเรื่องสมรสเท่าเทียม ก็ควรจะทำให้ถูกกฎหมาย เพราะเราไม่ควรจะแบ่งแยกใครว่าเป็นเพศอะไร เราควรจะวัดจากความเป็นมนุษย์มากกว่า ถ้าเขาเป็นเพื่อนที่ดี เป็นคนรักที่ดี เป็นครอบครัวที่ดี เขาก็ไม่สมควรถูกตัดสินเพียงเพราะเขาเป็นเพศอะไร หรือแตกต่างจากคนอื่น ซึ่งจริงๆ แล้วประเทศไทยเปิดกว้างมากกว่าต่างชาตินะ มีหลายที่ที่เขาเหยียดเยอะกว่ามาก แต่มันก็ยังเปลี่ยนได้มากขึ้น”

จะเรียกว่าแรงผลักหรือแรงส่งก็ตาม วันนี้ซิลวี่ใช้พลังงานด้านลบมาแปรเป็นผลลัพธ์ด้านบวก เคล็ดลับของความแกร่งนี้คือการไม่ละทิ้งตัวตน ไม่ด้อยค่าตัวเอง และภูมิใจในสิ่งที่เป็นอย่างสนิทใจ ไม่ต้องรอให้ใครมาสร้างมาตรฐานให้ทำตาม เพราะทุกคนคือความแตกต่างที่ต้องยอมรับกันและกัน

Tags:

การยอมรับความสุขBody ShamingSelf Empowermentซิลวี่ - ภาวิดา มอริจจิ

Author:

illustrator

ปริสุทธิ์

Photographer:

illustrator

ปริสุทธิ์

Related Posts

  • Book
    ความสุขคืออะไร?  คำถามที่ทุกคนต้องหาคำตอบด้วยตัวเอง

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • Dr.Tong The Filter
    Life classroomHow to enjoy life
    ‘เราต่างเป็น Expert ของชีวิตตัวเอง’ ค้นพบศักยภาพที่จะมีความสุข กับ ดร.พงษ์รพี บูรณสมภพ

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ ภาพ ปริสุทธิ์

  • emotional corrective experience-cover
    Healing the trauma
    บาดแผลทางใจอาจลึกเกินกว่าจะเยียวยาด้วยความคิด การเปลี่ยนแปลงต้องเกิดที่ความรู้สึกด้วย (emotional corrective experience)

    เรื่อง ชัค ชัชพงศ์ ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • How to enjoy life
    Existential crisis: วิกฤตชีวิตที่มาพร้อมกับคำถาม “แล้วฉันอยู่เพื่ออะไร”

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to enjoy life
    ฮุกกะ (Hygge): สุขแบบไม่หิวแสง จริตชีวิตในแบบฉบับคนเดนมาร์ก

    เรื่อง ปริพนธ์ นำพบสันติ ภาพ ninaiscat

เมื่อครู คือ ผู้ทำงานทางการเมือง
Social Issues
17 January 2022

เมื่อครู คือ ผู้ทำงานทางการเมือง

เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • ครูไม่ใช่บทบาทที่แยกขาดจากสังคมการเมือง แต่คือคนที่กระโดดเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการท้าทายใจกลางของความอยุติธรรม แปรเปลี่ยนห้องเรียนให้กลายเป็นพื้นที่ที่พานักเรียนมองเห็นการกดขี่ที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ตั้งคำถามต่อความไม่เป็นธรรมในทุกรูปแบบ และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อก่อร่างสร้างอนาคตของสังคมที่ดีขึ้นอย่างมีความหวัง ครูคือผู้ทำงานทางการเมือง
  • นิยาม ‘ครู’ ในความหมายที่มากกว่า ครูคือเรือจ้าง ครูคือพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ ครูคือโค้ช ครูคือผู้อำนวยการเรียนรู้ นิยามความหมายเหล่านี้กำลังก่อร่างสร้างสังคมแบบไหน เป็นสังคมที่เป็นธรรมกว่าวันนี้หรือไม่? ถ้อยคำคุ้นหูเหล่านี้นำไปสู่คำถามสำคัญที่อยากชวนทบทวนและขบคิดว่านิยามความเป็นครูนั้น แท้จริงควรเป็นอย่างไร
  • หากเราปรารถนาที่จะเห็นสังคมที่เป็นธรรมมากขึ้น ครูจึงไม่ใช่แค่แม่พิมพ์หรือโค้ช แต่คือคนที่กล้าลุกขึ้นมาท้าทายกับความไม่เป็นธรรม พร้อมๆ กับการสร้างนักเรียนให้เป็น ‘พลเมืองที่อันตราย’ (Dangerous citizenship) ต่อระบบที่กดขี่พวกเขาอยู่ มีความตระหนัก กล้าตั้งคำถาม และจินตนาการถึงการสร้างสังคมที่ดีขึ้นกว่าเดิม

“หากเราปรารถนาให้สังคมข้างหน้าเป็นสังคมที่ดีขึ้นกว่าวันวาน เราจำเป็นต้องกลับมาตั้งคำถามว่า 

นิยามความเป็นครูแบบใด ที่จะเป็นเมล็ดพันธุ์ก่อร่างสร้างสังคมแบบนั้นขึ้นมา”

หากเราเห็นความเหลื่อมล้ำที่กำลังกัดกินเพื่อนร่วมสังคมและผลักใครหลายคนให้ดิ้นรนหาหนทางตะเกียกตะกายให้มีชีวิตรอดไปวันๆ ในขณะที่คนเพียงหยิบมือผูกขาดทรัพยากรและความมั่งคั่ง หากเราเห็นอำนาจถูกใช้เพื่อปราบปรามกดขี่ ปิดกั้นผู้คนให้ตกอยู่ในความเงียบงันและความกลัว เพียงเพราะพวกเขาลุกขึ้นทวงถามและต่อสู้เพื่อสังคมที่ดีกว่า 

การเปรียบเปรย นิยาม และให้ความหมายของ ‘ครู’ ที่หลายคนคุ้นเคย เช่น ครูคือคนสวน ครูคือโค้ช ครูคือผู้อำนวยการเรียนรู้ ครูคือเรือจ้าง ครูคือพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ ครูคือข้าราชการ ครูคือผู้เสียสละ หรือครูคือพ่อแม่คนที่สอง ฯลฯ นิยามความหมายเหล่านี้กำลังก่อร่างสร้างสังคมแบบไหน เป็นสังคมที่เป็นธรรมกว่าวันนี้หรือไม่? ถ้อยคำคุ้นหูเหล่านี้นำไปสู่คำถามสำคัญที่อยากชวนทบทวนและขบคิดว่านิยามความเป็นครูนั้น แท้จริงควรเป็นอย่างไร   

ทำไมครูจึงควรเป็นผู้ทำงานทางการเมือง 

การนิยามความเป็นครูในแบบต่างๆ ล้วนสะท้อนถึงมุมมองเกี่ยวกับความรู้ การเรียนรู้ การสร้างหลักสูตร ไปจนถึงปฏิบัติการในห้องเรียน จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่เราพยายามตอบคำถามว่า “ครูคืออะไร” หรือ “ครูที่ดีควรเป็นอย่างไร” อีกคำถามที่ซ้อนทับอยู่ในตัวมันเองก็คือ “สังคมที่เราอยากเห็นนั้นเป็นอย่างไร” “เรามองเห็นอะไรในพื้นที่โรงเรียนและสังคมการเมือง” คำถามเหล่านี้พาเราไปสู่คำถามสำคัญที่ว่า “เรากำลังมองการศึกษาและสังคมด้วยมุมมองแบบใด” 

ในทางหนึ่งการศึกษาได้กลายเป็นเครื่องมือที่ใช้ควบคุม ถ่ายทอดความคิด ให้นักเรียนเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย พร้อมที่จะเชื่อฟังและปฏิบัติตามสิ่งที่ชนชั้นผู้ปกครองต้องการ เพื่อที่พวกเขาจะได้รักษาไว้ซึ่งอำนาจ ความไม่เป็นธรรม และการกดขี่เชิงระบบให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ 

“โรงเรียนในฐานะพื้นที่ควบคุม” คือสิ่งที่นักการศึกษาสายวิพากษ์ E Wayne Ross มองเห็น ดังนั้น หากเราปรารถนาที่จะเห็นสังคมที่เป็นธรรมมากขึ้น ครูจึงไม่ใช่แค่แม่พิมพ์หรือโค้ช แต่คือคนที่กล้าลุกขึ้นมาท้าทายกับความไม่เป็นธรรม พร้อมๆ กับการสร้างนักเรียนให้เป็น “พลเมืองที่อันตราย” (Dangerous citizenship) ผู้เป็นอันตรายต่อระบบที่กดขี่พวกเขาอยู่ มีความตระหนัก กล้าตั้งคำถาม และจินตนาการถึงการสร้างสังคมที่ดีขึ้นกว่าเดิม   

ในทำนองเดียวกัน Sonia Nieto นักการศึกษาพหุวัฒนธรรมศึกษาเชิงวิพากษ์ สะท้อนว่าโรงเรียนและสังคมการเมืองเป็นพื้นที่ของอำนาจ การกดขี่ การเลือกปฏิบัติ และความไม่ยุติธรรม ทั้งในด้านชนชั้นทางสังคม เชื้อชาติ ชาติพันธุ์  เพศ และความแตกต่างอื่นๆ อีกทั้งการศึกษายังเป็นพื้นที่ผลิตสร้างความรู้กระแสหลัก ที่ก่อให้เกิดมายาคติ และภาพจำแบบเหมารวมที่นำไปสู่ความไม่เท่าเทียมกันในการเลือกปฏิบัติต่อนักเรียนในระดับโครงสร้างอีกด้วย ด้วยเหตุนี้เธอจึงเสนอว่าครูควรขยับไปสู่การเป็น “ครูในฐานะผู้ทำงานทางการเมือง” (Teacher as political work)  ที่มองเห็น รู้สึก ตั้งคำถาม กล้าหาญ และผลักดันให้เกิดความเป็นธรรมตั้งแต่ระดับห้องเรียนจนถึงไประดับนโยบาย 

ความหมายของการเป็นครูสำหรับ Ross และ Nieto เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับความเป็นครูแบบฝากธนาคาร (banking education) ที่บอกว่าครูมีหน้าที่ป้อนชุดความรู้กระแสหลักของชนชั้นผู้ปกครองและคอยตรวจสอบดูว่านักเรียนรับความรู้นั้นแล้วหรือยัง ครูที่เป็นเพียง “ช่างเทคนิค” ที่มุ่งเน้นหาเทคนิควิธีการหรือเครื่องมือไปใช้เพื่อส่งต่อความรู้ สร้างห้องเรียนที่ปราศจากคำถามต่อความรู้ที่ถูกป้อน และผลักให้นักเรียนอยู่ในสภาวะของความเงียบงัน (Moment of silence) ท้ายที่สุด นักเรียนจึงเป็นเพียงหุ่นยนต์ที่รอรับความรู้  

การสอนคือการกระทำทางการเมือง

นิยามครูในความหมายของทั้งคู่ยังหมายถึง “ครูในฐานะปัญญาชน” (Teacher as Intellectuals)   ครูที่มีความความสงสัยใคร่รู้ สังเกต และตั้งคำถามกับสำนึกและความเชื่อเดิมที่ถูกหล่อหลอมมา สำนึกที่ทำให้ความไม่เป็นธรรมและการกดขี่ดำรงอยู่ สามารถเชื่อมโยงทฤษฎีไปสู่การอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมผ่านชีวิตประจำวัน เพื่อเผยให้เห็นถึงการกดขี่ ความไม่เป็นธรรม การครอบงำ และไม่หวาดกลัวที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับสังคม ผ่านคำถามสำคัญ ได้แก่

  • ความคิดที่กำลังครอบงำสังคมปัจจุบันเป็นความคิดแบบใด วิธีคิดเหล่านั้นเข้ามาสู่ระบบ โรงเรียนจนเกิดเป็นวัฒนธรรมหลักที่หล่อเลี้ยงการกดขี่ได้อย่างไร แล้วเราจะท้าทายสิ่งเหล่านี้อย่างไร?
  • เรื่องราว/เรื่องเล่า/เนื้อหาความรู้ของใครที่ปรากฏในระบบการศึกษา และใครได้ประโยชน์จากการถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้?
  • อะไรคือความไม่เท่าเทียม ความไม่ยุติธรรม การเลือกปฏิบัติ การกีดกัน มายาคติ ที่เกิดขึ้นทั้งในพื้นที่การศึกษา และสังคมของเรา มันเกิดขึ้นกับใครบ้าง แล้วเราจะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
  • อะไรคือจุดยืนของเราในฐานะครู ที่มีต่อความไม่เป็นธรรมในสังคม การเมือง และการศึกษา?
  • เราจะสร้างห้องเรียน โรงเรียน และการศึกษา เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมได้อย่างไร?

เช่นเดียวกับ Paulo Freire  นักการศึกษาชาวบราซิลคนสำคัญของโลก ที่นิยามการเป็นครูในหนังสือที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาทั่วโลกอย่าง การศึกษาของผู้กถูกดขี่ pedagogy of oppressed  และ teacher as cultural work ไว้ว่า “การสอนคือการกระทำทางการเมือง” ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า การสอนคือ

  1. การทำงานเพื่อความยุติธรรม การมองเห็นสังคมและยืนอยู่ข้างผู้ที่ถูกกดขี่ ผู้ที่ถูกกีดกัน ผู้ที่ไม่ได้รับความยุติธรรมภายใต้โครงสร้างสังคมที่ไม่เท่าเทียม พร้อมๆ กับหาหนทางสร้างการเปลี่ยนแปลง
  2. มีจุดยืนเชิงวิพากษ์ การกล้าท้าทายอำนาจที่ครอบงำอยู่ ท้าทายการมองโลกในสำนึกเดิม ท้าทายวัฒนธรรมความคิด ความจริงที่เป็นอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะรื้อออกมาว่ามันทำงานและส่งผลกับตัวเราอย่างไร แล้วลงมือแสวงหาทางออกใหม่บนคุณค่าใหม่ที่มองเห็นความเป็นมนุษย์เท่าเทียม 
  3. สร้างความหวัง การเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเราและผู้อื่นในการร่วมเปลี่ยนแปลง เพื่อยืนหยัด แตกหักกับสิ่งเดิม และเสนอจินตนาการถึงสังคมแบบใหม่ที่ดีกว่าเดิม

ครูไม่ใช่บทบาทที่แยกขาดจากสังคมการเมือง แต่คือคนที่กระโดดเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการท้าทายใจกลางของความอยุติธรรม แปรเปลี่ยนห้องเรียนให้กลายเป็นฐานที่มั่นสำคัญที่เป็นมากกว่าสถานที่ถ่ายทอดความรู้แล้วจบไป แต่เป็นพื้นที่ที่พานักเรียนมองเห็นการกดขี่ที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ตั้งคำถามต่อความไม่เป็นธรรมในทุกรูปแบบ และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อก่อร่างสร้างอนาคตของสังคมที่ดีขึ้นอย่างมีความหวัง ครูคือผู้ทำงานทางการเมือง

อ้างอิง

Critical pedagogy for Social justice โดย John Smyth  

Humanizing critical pedagogy: What kind of teachers? What kind of citizenship? What kind of future?  โดย  E. Wayne Ross

Pedagogy of oppressed โดย Paulo Freire  

As Cultural Workers: Letters to Those Who Dare Teach โดย Paulo Freire

Teaching as Political Work:   Learning from Courageous and Caring Teachers โดย Sonia Nieto

ห้องเรียนล้ำเส้น โดย พล พลเรียน (อรรถพล ประภาสโนบล)

Tags:

ครูระบบการศึกษาประชาธิปไตย

Author:

illustrator

อรรถพล ประภาสโนบล

ครูพล อดีตครูสังคมศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่ง ผู้เขียนหนังสือ “ห้องเรียนล้ำเส้น” และบรรณาธิการร่วมหนังสือ “สังคมศึกษาทะลุกะลา” ปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาสาขา Education studies ที่ไต้หวัน

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Learning Theory
    ‘ครูคือคนที่สร้างความแตกต่าง’ ความทรงจำ ตัวตน และจุดยืนการสอน

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Voice of New Gen
    พังกำแพง ‘ก็เขาทำกันมาแบบนี้’ : เป้าหมายของมายมิ้น – ศุกรียา วรรณายุวัฒน์ Voice of new gen วงการการศึกษาไทย

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา ภาพ ศรุตยา ทองขะโชค

  • Social Issues
    ครูในยุคเสรีนิยมใหม่: จะทำอย่างไรไม่ให้หมดสนุกกับการสอน

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา ภาพ บัว คำดี

  • Social Issues
    แฟนฟิค ทศกัณฑ์ โพลีแคท ธนาธร พ่อหล่อสอนลูก งานวิจัยของเด็กรุ่นใหม่ที่ไม่ได้สนใจแต่ตัวเอง

    เรื่อง

  • Voice of New Gen
    ครูสอนสังคมที่ให้สังคมสอนนักเรียน : ‘ครูพล’ อรรถพล ประภาสโนบล

    เรื่อง

ทำไมครูไทยต้องอดทน อุทิศตน พอเพียง? ชวนมองเบื้องหลังการสร้างภาพจำครูไทยผ่านสื่อ กับ ดร.ออมสิน จตุพร
Social Issues
14 January 2022

ทำไมครูไทยต้องอดทน อุทิศตน พอเพียง? ชวนมองเบื้องหลังการสร้างภาพจำครูไทยผ่านสื่อ กับ ดร.ออมสิน จตุพร

เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

  • เคยสงสัยหรือไม่ทำไมภาพจำเมื่อพูดถึงครูในสังคมไทยต้องเป็นคนที่อดทน เสียสละทำงานหนัก อุทิศตนเพื่อนักเรียน? รายงานการวิจัย เรื่อง วาทกรรมความเป็นครูไทยในวัฒนธรรมป๊อปร่วมสมัย โดย ดร.ออมสิน จตุพร จะพาเราไปหาคำตอบดังกล่าว
  • “การสร้างภาพจำแบบที่สังคมไทยทำ แง่หนึ่งทำให้ครูไม่กล้าที่จะออกจากกรอบความเป็นครูไปสู่ในมิติอื่นๆ บางทีอาจจะรู้สึกผิดด้วยซ้ำถ้าปฏิบัติตนไม่ตรงตามกรอบ หลายครั้งมีดราม่าครูใส่ชุดข้าราชการไปกินหมูกระทะ เดินห้างในเวลาราชการ ถูกมองว่าไม่เหมาะสม หรือครูเอาเสื้อออกนอกกางเกงไม่ได้ ความรู้สึกภายในของครูรู้สึกว่าต้องอยู่ในกรอบกฎระเบียบที่สังคมคาดหวัง“
  • “เราต้องกลับมาที่วิธีคิดที่ว่าครูก็เป็นอาชีพหนึ่ง อาชีพครูไม่ใช่เรื่องการทำความดีหรือบุญคุณ ครูเป็นคนธรรมดาทั่วไป มีหน้าที่ให้ความรู้นักเรียนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ“

‘พระคุณที่สามงดงามแจ่มใส

แต่ว่าใครหนอใครเปรียบเปรยครูไว้ว่าเป็นเรือจ้าง

ถ้าหากจะคิดยิ่งคิดยิ่งเห็นว่าผิดทาง

มีใครไหนบ้างแนะนำแนวทางอย่างครู’

เพลงที่เราอาจเคยได้ยินในกิจกรรมวันครู ฟังเพลงแล้วภาพครูที่ปรากฏในหัวเราเป็นคนที่อุทิศตนทำทุกอย่างเพื่อศิษย์ ความใส่ใจของครูที่มีให้นักเรียนระดับรองจากพ่อแม่ ถือเป็นพระคุณที่สามเลยก็ว่าได้ 

แต่ข่าว ‘คาว’ ที่เราเห็นประจำ ไม่ว่าจะครูทำโทษเด็กอนุบาลตีจนไม้หัก ครูข่มขืนเด็ก ครูทำร้ายร่างกายนักเรียนเพราะทัศนคติที่แตกต่าง คงทำให้เรารู้สึกสับสนกับภาพลักษณ์ครูไทย

การมีภาพจำถือเป็นเรื่องธรรมดา ช่วยให้เราสามารถประมวลข้อมูลรับเข้าง่ายขึ้น เช่น ภาพจำดาราไทย คือ ต้องสวยหล่อดูดี หรือภาพจำตำรวจที่เข้มแข็งดูแลประชาชน (ส่วนความจริงเป็นอย่างไรก็อีกเรื่องหนึ่ง) ภาพจำครูไทยก็เหมือนกัน เป็นพระคุณที่สาม เป็นแสงส่องทางให้กับนักเรียน ในแง่หนึ่งถือเป็นกุศโลบายให้ครูปฏิบัติตามเพราะภาพดังกล่าวก็ส่งผลดีกับทุกคน แต่การสร้างภาพที่เกินจริงจนทำให้ครูไม่ใช่ปุถุชนทั่วไป ก็อาจทำให้ครูบางคนรู้สึกวางตัวลำบาก หรือทำให้นักเรียนไม่กล้าตั้งคำถามกับการกระทำของครู

ในวาระวันครู เราขอหยิบรายงานการวิจัย เรื่อง วาทกรรมความเป็นครูไทยในวัฒนธรรมป๊อปร่วมสมัย โดย ดร.ออมสิน จตุพร อาจารย์ประจำสาขาวิชาสังคมศาสตร์การศึกษา ภาควิชาพื้นฐานและการพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่จะพาเราไปมองเบื้องหลังการสร้างภาพจำครูในสังคมไทย และถอดรื้อวิธีคิดมองครูมุมใหม่ ให้ครูเป็น ‘คนดี’ ด้วยนิยามตัวเอง

เหตุผลที่อาจารย์ออมสินสนใจหัวข้องานวิจัยประเด็นนี้

ผมได้รับมอบหมายให้สอนวิชาพื้นฐานวิชาชีพครู เป็นรายวิชาในหมวดจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพที่กำหนดโดยคุรุสภา นักศึกษาครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์ต้องเรียน สาระสำคัญของวิชานี้ คือ สภาพงานครู คุณลักษณะและมาตรฐานวิชาชีพครู การปลูกฝังจิตวิญญาณความเป็นครู กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครูและวิชาชีพครู การจัดการความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพครู และการสร้างความก้าวหน้าและพัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ในระดับหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน อาจารย์ผู้สอนสามารถเพิ่มเติมมุมมองเชิงปรัชญา ประวัติศาสตร์ และอุดมการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นครูในสังคมไทยได้ 

ช่วงที่สอนเทอมแรกผมยังจับทางไม่ค่อยถูก จะสอนอย่างไรให้นักศึกษาไม่รู้สึกเบื่อ ไม่ใช่การมานั่งจดตามคำบอก ส่วนตัวเราชอบเสพสื่อสมัยใหม่ เคยฟังเพลง ดูหนังที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับครู เลยมีแนวคิดว่าทำไมเราไม่หยิบสื่อพวกนี้มาสอนนักศึกษาครูล่ะ ภาพยนตร์หรือบทเพลงเขาพูดถึงความเป็นครูไว้อย่างไร ผมได้จัดกิจกรรม Movie Club ให้นักศึกษาดูหนัง ฟังเพลงที่พูดถึงครู เช่น ครูบ้านนอก คิดถึงวิทยา เพลงครูบนดอย ดูเสร็จมาคุยกันว่าเพลง/หนังแต่ละเรื่องนำเสนอธีมความเป็นครูอย่างไร ตั้งคำถามภาพจำต่างๆ ที่ถูกนำเสนอ 

ภาคเรียนถัดมาผมปรับมาใช้หนัง เพลงเป็นส่วนหนึ่งในการสอนบางประเด็น เน้นเรื่องวิชาชีพครู การนิยามความหมายของครูโดยรัฐหรือคุรุสภา ผมพยายามใช้คำถามให้นักศึกษาลองระดมความคิด เช่น ภาพจำความเป็นครูที่นำเสนอผ่านบทเพลงหรือหนังแสดงถึงอะไร ตีความได้อย่างไรบ้าง สิ่งที่น่าสนใจคือ คำศัพท์ หรือภาษาที่นักศึกษาใช้แสดงความคิดเห็น เช่น ความเสียสละ อุทิศตน ภาพจำ ภาพตัวแทน อัตลักษณ์ การรับรู้ การพูดคุยอภิปรายได้ชี้ชวนให้นักศึกษารู้สึก ‘เอ๊ะ’ มากขึ้น กลายเป็นจุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจของงานวิจัยชิ้นนี้ เป็นจุดที่ทำให้เราเห็นว่าความเป็นครูในสังคมไทยถูกประกอบสร้างขึ้นมาได้อย่างไร 

ความเป็นครูที่เขียนโดยคุรุสภาว่าไว้อย่างไร

กำหนดว่าความเป็นครูประกอบด้วยสาระอะไรบ้าง เช่น สภาพงานครู คุณลักษณะและมาตรฐานวิชาชีพครู ความรู้เกี่ยวกับการปลูกฝังจิตวิญญาณความเป็นครู กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครูและวิชาชีพครู ความรู้เกี่ยวกับการจัดการวิชาชีพครูว่าด้วยการสร้างพัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง จะเห็นว่ามีส่วนที่เป็นเรื่องจิตวิญญาณที่รัฐพยายามกำหนดกรอบไว้ เป็นเรื่อง subjectivity หรืออัตวิสัย ไม่สามารถวัดและประเมินได้ว่าอะไรคือความเป็นครู ขณะเดียวกันก็มีกรอบคิดเชิงเทคนิคในการเป็นข้าราชการครูที่ดี เช่น ต้องรู้เรื่องกฎหมาย จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ การพัฒนาวิชาชีพครู หรือความก้าวหน้าในวิชาชีพ 

ข้อกำหนดโดยคุรุสภาจะเป็นคุณลักษณะกว้างๆ ที่เปิดโอกาสให้เราสามารถตีความเพิ่มเติมได้ รัฐไม่ได้ปิดกั้นว่าความเป็นครูต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เช่น มีแนวคิดอนุรักษ์นิยม วางตนอยู่ในกฏระเบียบ ต้องใส่ผ้าไทย ตีกระบังผมสูง และถ้าเรามองว่าครู อาจารย์ หรือตัวผมเองเป็นผู้กระทำการสอนที่มีอำนาจอันชอบธรรมในการตีความหลักสูตรมาสู่ระดับปฏิบัติการในชั้นเรียน ผมคิดว่าความเป็นครูมันตีความได้หลากหลายไม่จำเป็นต้องยัดเยียดความเป็นครูในมิติใดมิติหนึ่งให้แก่นักศึกษา โดยเฉพาะคุณลักษณะของครูที่ต้องเสียสละ อุทิศตนตลอดเวลา เราสามารถตีความว่าความเป็นครู คือ การทำงานเชิงวัฒนธรรม เป็นผู้มีจิตสำนึกประชาธิปไตย และตระหนักถึงความเสมอภาค ความเท่าเทียม และความเป็นธรรมในการจัดการศึกษา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับจุดยืนและอุดมการณ์เบื้องหลังของอาจารย์ผู้สอนด้วย 

ประเด็นสำคัญที่ทำให้ผมทำงานวิจัยเรื่องนี้ เพื่อให้เกิดการถอดรื้อมายาคติความเป็นครู เพราะวาทกรรมความเป็นครูที่มีอำนาจแบบกระแสหลักยังเป็นไปในแนวอนุรักษ์นิยมอยู่ตลอดเวลา 

ทำไมภาพตัวแทนความเป็นครูต้องถูกนำเสนอว่าเป็นคนดี มีเมตตา เรามักไม่พูดถึงครูในเชิงคุณภาพการจัดการเรียนการสอน แต่มักพูดถึงครูที่ดีก่อน ครูที่เสียสละ มีน้ำใจ อดทนทำงานหนักต่างๆ ภาพพวกนี้มักถูกสร้างและฉายซ้ำๆ ผ่านภาพยนตร์ บทเพลง

ผมขอยกตัวอย่างเพลงครูในดวงใจ ของไมค์ ภิรมย์พร มีท่อนหนึ่งบอกว่า ‘ครูทำงานหนัก แต่ก็รักศักดิ์ศรี พอใจสิ่งที่ตนมี เป็นพิมพ์ดีให้ลูกศิษย์จำ’ ผมว่าตรรกะไม่ค่อยไปด้วยกัน ครูทำงานหนักแล้วอย่างไรต่อ ทำไมต้องรักศักดิ์ศรี? เนื้อเพลงเหมือนจะเรียกร้องว่าครูทำงานหนักนะ แต่ไม่กล่าวต่อว่ารัฐต้องสร้างระบบสวัสดิการแก่ครูให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี? ยังไม่ถึงจุดนั้น “พอใจสิ่งที่ตนมี” แปลว่า ครูต้องพอใจในสภาพที่เป็นอยู่ ห้ามปริปากบ่น ใครสั่งอะไรมาก็ต้องทำหรือเปล่า? เมื่อพิจารณาจากบทเพลงสะท้อนกลับไปในชีวิตครูจริงๆ ก็ต้องถามว่าตั้งคำถามหรือวิพากษ์วิจารณ์ได้ไหม ก็สามารถทำได้ แต่สุดท้ายแล้วก็ต้องก้มหน้าทำต่อไป เพราะมองว่าทำสิ่งพวกนี้เพื่อเป็นแม่พิมพ์ต้นแบบให้แก่ลูกศิษย์ เป็นภาพจำที่พึงปรารถนาของสังคม

เมื่อมองจากมุมมองการศึกษาเชิงวิพากษ์ สิ่งที่รัฐทำอาจจะไม่ได้เป็นไปในแนวทางเดียวกับมุมมอง หรือปฏิบัติการทางสังคมที่ครูรุ่นใหม่หลากหลายกลุ่มกำลังพยายามขับเคลื่อนอยู่ แต่รัฐก็ไม่ได้ปิดกั้นจนเกินไป ประเด็นสำคัญที่เป็นความท้าทาย คือ อาจารย์คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ซึ่งเป็นต้นทางในการผลิตครู รับเอาภาพจำจากสื่อกระแสหลักมาผลิตซ้ำวาทกรรมความเป็นครูและอุดมการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นครูไทยในอุดมคติ วนเป็นวงจรไม่จบสิ้น ทำให้เราเห็นว่า ภาพจำและอัตลักษณ์ความเป็นครูที่ปรากฏในสื่อและร่องรอยความคิด ความทรงจำเกี่ยวกับครูที่ดีในสังคมไทยนั้นยังคงทรงพลังและมีอิทธิพลจวบจนถึงปัจจุบัน 

อาจารย์ว่าปัจจัยหรือเหตุผลอะไรที่ทำให้สื่อนิยมสร้างภาพจำครูเช่นนี้  

ผมคิดว่านิยามความเป็นครูที่เรากำลังพูดถึงนี้ เป็นนิยามตามแนวอนุรักษ์นิยมที่นำเสนอแล้วไม่ไปท้าทายอำนาจเดิม สื่อร่วมสมัยเองก็พยายามนำเสนอภาพความเป็นครูที่ต้องพอเพียง หยิ่งทะนงในศักดิ์ศรี พอใจในสิ่งที่ตัวเองมี ไม่เรียกร้องใดๆ โดยเฉพาะเรื่องสวัสดิการและคุณภาพชีวิตซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะของกลุ่มครู แต่ถ้าพูดให้ถึงที่สุด คือ ภาพยนตร์และบทเพลงไม่เคยนำเสนอว่าครูมีบทบาทหน้าที่ในการสร้างสังคมให้มีความเท่าเทียม ความเป็นธรรม และความเสมอภาคผ่านการทำงานในโรงเรียนและสังคม สื่อเองก็อาจรู้สึกว่าปลอดภัยที่จะนำเสนอแบบนี้ ภาพยนตร์ บทเพลงตั้งแต่ช่วงปลายปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน อาจจะเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการนำเสนอที่ทันสมัยตามกาลเวลา แต่สาระสำคัญเกี่ยวกับครูยังคงเป็นแนวทางเดิมไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก

เช่น คิดถึงวิทยา เข้าฉายในปี พ.ศ. 2557 ทำให้เราเห็นภาพตัวแทนครูในตัวละคร ครูสอง ที่เสียสละ อุทิศตน ไปเป็นครูอยู่บนเรือนแพ ทั้งที่ความเป็นจริง ในปี พ.ศ. 2557 รัฐต้องการพัฒนาการศึกษาไทยในแบบ 4.0 อย่างน้อยโรงเรียนเรือนแพควรจะมีสภาพทั่วไปทั้งห้องเรียน พื้นที่การจัดกิจกรรมให้แก่นักเรียนที่ดีขึ้น มีการจัดสรรครูไปประจำการ และระบบสาธารณูปโภคในโรงเรียนควรจะมีความพร้อมในระดับหนึ่ง 

แต่กลับกลายเป็นว่าหนังเรื่องนี้ได้รับความนิยมจากสังคมไทยเพราะเราพูดถึงภาพจำครูที่ถูกโรแมนติไซส์ (romanticize) ผ่านการอุทิศตน ทำงานหนัก ใช้ชีวิตในพื้นที่ทุรกันดาร ห่างไกลความเจริญ และต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการ แถมพ่วงความรักโรแมนติกระหว่างครูหนุ่มสาว (ครูสอง – ครูแอน) ที่ผิดหวังจากรักเก่าและทั้งสองกลับค่อยๆ รักกันผ่านการเรียนรู้เรื่องราวสุดประทับใจที่เขียนไว้ในสมุดบันทึก คนดูเลยไม่รู้สึกว่า ชีวิตความเป็นครูช่างลำบาก หรือถูกขูดรีดให้ต้องเสียสละอดทน 

สุดท้ายก็จบลงด้วยความทรงจำที่ดีในการเป็นครูและความรักอันสวยงาม ธีมที่เกี่ยวข้องกับครู ความเป็นครู ความรักโรแมนติค และพื้นที่ชนบทที่มีความสวยงาม เรียบง่าย และเป็นธรรมชาติ ถูกนำมาใช้ในละครโทรทัศน์ช่อง PPTV HD 36 ในซีรีย์มิติรักผ่านเลนส์ ตอนหมอกสีจางกับน้ำค้างสีชมพู เช่นกัน   

นอกจากนั้น สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ภาพยนตร์พยายามนำเสนอว่า ครูที่ดีไม่ได้มีแบบเดียว ภาพยนตร์ได้นำเสนอภาพตัวแทนครูในตัวละคร ครูแอน เธอพยายามตั้งคำถามกับระบบการศึกษา โดยเฉพาะความแตกต่างในเชิงคุณภาพระหว่างโรงเรียนในเมืองกับโรงเรียนในชนบท (โรงเรียนเรือนแพ คือ ภาพตัวแทนของโรงเรียนชนบท) ครูแอนยังเป็นภาพตัวแทนของครูที่พยายามต่อต้านขัดขืนวิธีการสอนแบบเดิมๆ และวัฒนธรรมแนวอนุรักษ์นิยมในโรงเรียน เช่น กรณีที่ครูแอนปฏิเสธที่จะลบรอยสักที่แขนของตนเอง ทำให้เธอต้องถูกย้ายมาสอนที่โรงเรียนเรือนแพ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการขัดขืนไม่ยอมปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียนที่ห้ามไม่ให้ครูมีรอยสักติดตัว 

หรือกรณีที่โรงเรียนในเมือง ครูแอนสอนหลักการวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียนโดยการฝึกทักษะการลอยตัวในน้ำ แต่กลับถูกครูท่านอื่นต่อว่าจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ให้กับครูแอน กล่าวได้ว่า ครูแอนเป็นภาพตัวแทนของครูรุ่นใหม่ รักอิสระ ไม่ค่อยอยู่ในกฎระเบียบของโรงเรียน ชอบแต่งกายเรียบง่ายสบายๆ มาสอน ไม่ชอบใส่เครื่องแบบหรือแต่งกายตามระเบียบ และเน้นวิธีการสอนให้นักเรียนเข้าใจและนำไปใช้ได้จริง โดยมิได้เคร่งครัดในเนื้อหาสาระสำหรับการสอบเท่านั้น 

แต่สุดท้ายภาพยนตร์ก็ยังให้คุณค่ากับนิยามความเป็นครูที่ดีว่าต้องเป็นแบบครูแอน หรือครูสองที่เสียสละความสุขส่วนตัวและทำทุกอย่างได้เพื่อให้นักเรียนมีชีวิตที่ดี ส่วนตัวละคร ครูหนุ่ย ถูกนำเสนอว่า เป็นครูที่ไม่ใช่ครูในอุดมคติแบบครูสอง และครูแอน เพราะเน้นการสอนแบบติวเตอร์ มุ่งสอนนักเรียนให้มีความรู้ความสามารถเพื่อที่จะสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัย  ครูหนุ่ยจึงไม่ใช่ครูผู้เสียสละ ไม่อุทิศตน และไม่ยอมละทิ้งความสะดวกสบายในเมืองไปทำงานในพื้นที่ชนบทห่างไกล 

คำถามที่ตามมาคือ ครูหนุ่ยเป็นครูที่ไม่ดีใช่หรือไม่? และทำไมครูที่ดี เสียสละ และอุทิศตนจึงมักเป็นครูในชนบทหรือพื้นที่ทุรกันดารห่างไกลความเจริญ ครูในเมืองสอนในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ยุพราชวิทยาลัย หรือ โรงเรียนรัฐ/เอกชนขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมในทุกด้านไม่เสียสละ อุทิศตน ทำงานหนักเลยหรือ? 

อย่างไรก็ตามพูดง่ายๆ ก็คือ ภาพยนตร์มีนัยของการตั้งคำถามเชิงโครงสร้างในระบบการศึกษาไทย แต่อาจจะยังไม่เข้มข้นมากพอที่จะก้าวข้ามเพดานของอำนาจทางวัฒนธรรมที่แฝงฝังอยู่ในวิธีคิดและมุมมองต่อความเป็นครูไทย 

ภาพยนตร์ บทเพลงยังเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างภาพจำครูแบบกระแสหลักของสังคมไทย เป็นอำนาจที่อยู่เหนือกว่าและรายล้อมพวกเรา ไม่ต้องแปลกใจที่ปัจจุบันเรายังคงเห็นคอนเทนต์ในสื่อที่นำเสนอภาพศิษย์เก่าที่อาจเป็นเด็กเกเรดื้อรั้นมาก่อน แต่เปลี่ยนได้เพราะครู มาไหว้ครูเนื่องในวันครู

ถ้าคนที่มีอำนาจในการผลิตสื่อมีวิธีคิดมองครูอีกแบบที่ไม่ใช่สายโรแมนติไซส์หรือแนวอนุรักษ์นิยม ตั้งคำถามกับภาพจำครูมากขึ้น เราก็อาจเห็นภาพครูยืนชูสามนิ้วก็เป็นได้ ผมว่าตอนนี้ในวงการครูและวิชาชีพครูก็กำลังเป็นพื้นที่ต่อสู้ หรือสนามประลองความเป็นไปได้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ทั้งยังเห็นสื่อใหม่ๆ พยายามพูดถึงความเป็นครูที่ไปไกลกว่ามิติที่ผมกำลังพูดถึงด้วยซ้ำ

‘ครูบนดอย’ เป็นคอนเทนต์ที่เราเห็นบ่อยมาก

ครู หรือกล่าวให้ชัดว่า ข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัด สพฐ. (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ) จะเป็นภาพจำครูกระแสหลัก แต่เรายังมีครูกลุ่มอื่นๆ อาทิ ครูช่างและอาชีวศึกษา สังกัด สอศ. (สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา) ครูการศึกษานอกระบบ หรือ กศน. (สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย) ครูส่วนท้องถิ่นและเทศบาล สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ครูที่สอนนอกระบบ ครูติวเตอร์ ครูอาสา และครูอัตราจ้าง ซึ่งครูเหล่านี้เขาเป็นครูก็จริง แต่ไม่ได้เป็นข้าราชการครู จึงไม่ได้รับสวัสดิการต่างๆ เช่นเดียวกับข้าราชการครู แต่เวลาสื่อภาพยนตร์ หรือบทเพลงกล่าวถึงกลับรวมเขาเป็นก้อนเดียวกัน อาจนำเสนอทั้งสิ่งที่เป็นจริงหรือไม่มีอยู่จริงเลยก็ได้ แต่ภาพรวมคือ นำเสนอภาพตัวแทนความเป็นครูโดยการโรแมนติไซส์ให้เป็นแบบเดียวกัน 

ทุกยุคทุกสมัยในสังคมของเรามีครูหัวก้าวหน้า ต่อสู้กับระบบที่เป็นอยู่ และพยายามสร้างการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่แค่ครูรุ่นใหม่หรอก หรือต้องเรียกว่าครูที่อายุยังน้อยถึงจะถูก อย่างในยุคก่อน คำหมาน คนไค ที่ได้ชื่อว่าเป็นครูประชาบาลบ้านนอกก็ได้สร้างผลงานเรื่องสั้น นวนิยาย และสารคดีที่รู้จักกันดีคือเรื่อง ครูบ้านนอก จดหมายจากครูบ้านนอก – บันทึกของครูประชาบาล และครูประชาบาลปฏิวัติ  ซึ่งครูบ้านนอกได้ถูกนำสร้างเป็นภาพยนตร์ งานเขียนทั้งหมดมีสาระสำคัญที่พยายามวิพากษ์และตั้งคำถามกับระบบการศึกษาไทยในยุคสมัยนั้นผ่านมุมมองของครูบ้านนอกคนหนึ่งที่มีความคิดความอ่าน อยากจะเห็นการศึกษาและสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น แต่ประเด็นสำคัญคือ ถ้าใช้ภาพตัวแทนความเป็นครูแบบครูบ้านนอกที่ถูกนำเสนอผ่านภาพยนตร์และสื่อต่างๆ ในช่วง ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา เวลาผ่านมาแล้วเกือบ 4 ทศวรรษ

แต่เพราะเหตุใดในปี พ.ศ. 2564 สื่อกระแสหลักทั้งภาพยนตร์ บทเพลงหรือแม้แต่สื่อโซเชียลอย่างเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ เวลานำเสนอภาพครูถึงยังเป็นมุมโรแมนติไซส์อยู่ รวมถึงภาพยนตร์โฆษณาและสปอตโทรทัศน์ที่ผลิตโดยเครือข่ายธุรกิจและคุรุสภา ในช่วงเทศกาลวันครู 16 มกราคม ของทุกปี เรายังเห็นคลิปครูบนดอย ครูชนบทห่างไกล หรือเพจคำคมให้กำลังใจครู ชื่นชมครูหรือสนับสนุนให้ครูต้องอุทิศตน เสียสละ ทำงานหนักในสภาพที่ขาดแคลนทรัพยากร และขาดความพร้อมในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพให้แก่เด็กและเยาวชนไทย 

สังคมไทยจำเป็นต้องตั้งคำถามหนักๆ กับเนื้อหาสาระ และประเด็นคัดสรรที่สื่อนำเสนอ เพราะขณะนี้การเคลื่อนไหวในภาคปฏิบัติการ ไม่ว่าจะเป็นระบบการผลิตครูในคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ที่พยายามขยับปรับเปลี่ยนให้ทันกับนักศึกษาครูรุ่นใหม่ ที่มีแนวคิดเสรีนิยมและมีจุดยืนทางการเมืองแบบประชาธิปไตย รวมถึงกลุ่มครูอาจารย์ นักการศึกษา และภาคประชาสังคมที่พยายามรื้อสร้าง และปลดแอกอำนาจทางวัฒนธรรมในเรื่องเหล่านี้  อย่างไรก็ตามสื่อสมัยใหม่ยังคงมีพลังที่จะทำให้ผู้คนซึมซับภาพจำเหล่านั้นไปโดยไม่รู้ตัวและไม่คิดที่จะตั้งคำถาม และยอมรับเข้าเป็นส่วนหนึ่งในวิธีคิด มุมมอง และจุดยืนไปโดยปริยาย 

ภาพจำที่เรามีต่อครูไทยอีกอย่าง คือ พิธีไหว้ครู ซึ่งให้ความรู้สึกเป็นพิธีทางศาสนา ทำให้ตั้งข้อสังเกตว่าศาสนาก็มีผลต่อการสร้างภาพจำครูในสังคมไทยด้วยไหม?

เพราะส่วนหนึ่งระบบการศึกษาไทยเกิดขึ้นจากพระพุทธศาสนา ผู้ชายเรียนจากวัด ซึ่งศาสนาอื่น เช่น ศาสนาคริสต์ คนก็เรียนจากโบสถ์ ผมคิดว่ามิติศาสนาอาจเป็นหนึ่งตัวแปรสำคัญในการตีกรอบนิยามความเป็นครู

ศาสนาพุทธในสังคมไทยดำเนินตามแนวจารีตแบบอนุรักษ์นิยม และแฝงฝังด้วยระบบอำนาจนิยม ศักดินา และความเหลื่อมล้ำต่ำสูงที่มองคนไม่เท่ากัน ครูเปรียบเสมือนพระผู้ให้ ผู้ชี้ทางสว่าง ทำให้เวลาพูดถึงครูเรารู้สึกว่าเขาไม่ใช่ปุถุชนทั่วไป ต้องให้ความเคารพหรือต้องเป็นต้นแบบที่ดี อุดมคติของความเป็นครูมีความเกี่ยวข้องกับการเป็นพระสงฆ์ที่ดี มีการใช้หลักธรรมเป็นแนวทางในการดำรงตนในการประกอบอาชีพ เช่น หลักพรหมวิหาร 4 มีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา

อาจารย์ออมสินเคยบอกว่าระบบฝึกหัดครูในไทยเราได้รับอิทธิพลจากโลกตะวันตก สิ่งที่เราได้รับมีอะไรบ้าง

รูปแบบการผลิตครูที่เป็นทางการ คือ ครูจำเป็นต้องเรียนจากคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ เรียน 4 ปี หรือ จบจากสาขาวิชาอื่นๆ และได้รับการอบรมวิชาชีพครูจากคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ครูจะต้องเรียนวิชาว่าด้วยการสอน วิชาชีพครู เนื้อหาสาระวิชาเอก และการฝึกปฏิบัติการสอน แต่พอถึงระดับปฏิบัติการโดยเฉพาะในคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์จะเริ่มมีการสอดแทรกอุดมการณ์ การส่งผ่านทางวัฒนธรรม และการผลิตซ้ำความเป็นครูไทยในอุดมคติ เช่น บุคลิกภาพ มารยาท และการดำรงตนของครู คนเป็นครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ต้องไว้ทรงผม แต่งตัวสุภาพ ห้ามทำสีผมร้อนแรง ห้ามแต่งตัวเซ็กซี่ ครูที่จบจากคณะนี้ต้องเป็นต้นแบบความเป็นครูที่ดี รักเด็ก เสียสละ อดทน สู้งานหนัก ผมคิดว่าถ้าไม่มีการระบาดของโรคโควิดที่ทำให้ต้องสอนออนไลน์ เรื่องพวกนี้ก็ยังคงมีต่อไปแต่อาจจะเบาบางลง หรือปรับรูปเปลี่ยนร่างไปปรากฏในรูปแบบทางวัฒนธรรมที่เป็น soft power เช่น ระบบโซตัสที่เป็นแบบอำนาจนิยมค่อยๆ หายไป แต่การปลูกฝังวัฒนธรรมความเป็นครูในแนวอนุรักษ์นิยมที่ปรับตัวได้เข้ากับระบบราชการสมัยใหม่ในสังคมไทยยังคงอยู่ สิ่งเหล่านี้รวมกันทำให้การผลิตครู หรือการสร้างภาพตัวแทนครูยังคงอยู่ในกรอบอนุรักษ์นิยม

ในการสำรวจภาพยนตร์ บทเพลงที่พูดถึงครู มีชิ้นไหนที่อาจารย์รู้สึกสนใจเป็นพิเศษ 

ผมประทับใจหนังเรื่องครูบ้านนอกกับเพลงครูบนดอย สาระสำคัญของสองเรื่องนี้เหมือนกัน คือ พูดถึงชีวิตครูที่ลำบากยากแค้น ต้องเสียสละ อดทน และอุทิศชีวิตตนเองเพื่อทำให้สังคมดีขึ้น กลายเป็นภาพจำของสังคมไทยว่าครูไม่ใช่แค่เรือจ้างทำหน้าที่สอนอย่างเดียว แต่ยังเป็นแสงที่ส่องสว่างให้นักเรียน เป็นพ่อพระแม่พระ และสร้างเด็กธรรมดาคนหนึ่งให้กลายเป็นคนที่มีคุณค่าและมีชีวิตที่ดีในสังคมต่อไป

ซึ่งวิธีคิดแบบนี้แตกต่างจากโลกตะวันตกอยู่แล้ว ในภาพยนตร์ต่างประเทศ โดยเฉพาะจากฝั่งยุโรปและอเมริกาเราจะเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนเป็นเหมือนเพื่อนร่วมเรียนรู้และร่วมทางในการสร้างประสบการณ์ชีวิตมากกว่าคนที่เป็นต้นแบบให้เด็กปฏิบัติตาม นักเรียนถกเถียงกับครูได้ ครูมีความเป็นมิตร  มีความใกล้ชิดคุ้นเคยกับนักเรียน ครูสามารถแสดงตัวตนหรือมีคุณลักษณะที่ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามกรอบของสังคมกระแสหลัก

การสร้างภาพจำแบบที่สังคมไทยทำ แง่หนึ่งทำให้ครูไม่กล้าที่จะออกจากกรอบความเป็นครูไปสู่ในมิติอื่นๆ บางทีอาจจะรู้สึกผิดด้วยซ้ำถ้าปฏิบัติตนไม่ตรงตามกรอบ หลายครั้งมีดราม่าครูใส่ชุดข้าราชการไปกินหมูกระทะ เดินห้างในเวลาราชการ ถูกมองว่าไม่เหมาะสม หรือครูเอาเสื้อออกนอกกางเกงไม่ได้ ความรู้สึกภายในของครูรู้สึกว่าต้องอยู่ในกรอบกฎระเบียบที่สังคมคาดหวัง

ถ้าให้อาจารย์ออมสินสร้างหนังเรื่องหนึ่งพูดถึงครู อาจารย์ว่าหนังเรื่องนั้นจะพูดถึงครูด้วยภาพแบบไหน 

หนังที่ผมคิดว่านำเสนอภาพครูได้ดี ชื่อ The Class (Entre les Murs) เป็นหนังฝรั่งเศสพูดถึงครูคนหนึ่งที่มีจุดยืนทางสังคม และเพศสภาพที่แตกต่างจากกรอบกระแสหลัก มีความเป็นปุถุชนคนหนึ่งที่ผิดหวัง ล้มเหลว ไม่ประสบความสำเร็จ แต่ก็พยายามเรียนรู้เพื่อก้าวข้ามปัญหาต่างๆ  การนำเสนอแบบนี้เราไม่ค่อยเห็นในสื่อไทย เด็กในชั้นเรียนมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม การนำเสนอมิติความเป็นครูและวิธีการสอนค่อนข้างแตกต่างจากสังคมไทย อย่างเรื่องครูบ้านนอกจะให้ภาพครูแบบข้าราชการในชนบท ขยัน อดทน ซื่อสัตย์ มีความตั้งใจ อุทิศตน และทำงานหนัก แต่การเรียนการสอนนั้นให้ภาพเด็กนั่งเรียงแถวหน้ากระดาน ครูจดเนื้อหาบนกระดานดำ นักเรียนก็จดตามอย่างตั้งใจ ส่วนใครทำผิดก็โดนเรียกมาทำโทษหน้าชั้น ในภาพยนตร์ หรือบทเพลงที่ศึกษาหลายชิ้น จะนำเสนอภาพนักเรียนที่เป็นเด็กเกเรดื้อรั้น หรือไม่เชื่อฟังครู แต่สุดท้ายตอนจบนักเรียนเกิดความเข้าใจและสำนึกว่าที่ครูลงโทษเพราะอยากให้นักเรียนได้ดี และมักจะลงเอยที่การกราบเท้าครูหรือสำนึกในคุณงามความดีของครูที่มีต่อศิษย์  

อีกเรื่องหนึ่งที่ผมว่าน่าสนใจ ชื่อ Mona Lisa Smile ไม่ได้พูดถึงความเป็นครูโดยตรง แต่มีนัยที่เกี่ยวข้องกับความหมายของชีวิต การศึกษา และคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ผมดูแล้วประทับใจตัวละครครูผู้หญิงที่แสดงโดย Julia Roberts เป็นครูที่มีแนวคิดแบบเสรีนิยมก้าวหน้าในยุคสมัยนั้น พยายามเข้าไปเปลี่ยนแปลงค่านิยมและอุดมการณ์แบบอนุรักษ์นิยมในวิทยาลัยหญิงล้วนชั้นนำแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาที่เน้นให้ผู้หญิงเรียนจบไปเพื่อเป็นเมีย แม่บ้าน และแม่ที่ดีของลูก 

ถามว่าผมอยากเห็นครูแบบไหนในสื่อ ผมคิดว่าเราเริ่มจากหนัง The Class หรือ Mona Lisa Smile ก่อนก็ได้ คงยังไม่ต้องไปถึงขั้นครูที่เป็นนักปฏิวัติ จริงๆ ก็อยากเห็นภาพตัวแทนครูฝ่ายซ้ายใหม่ สายวิพากษ์ ครูที่ออกไปประท้วงบนถนนเหมือนกันนะ แต่ในความเป็นจริง ในยุคความขัดแย้งทางการเมืองเสื้อเหลือง-แดง เราก็เห็นครูใส่เสื้อสีต่างๆ รวมตัวกันประท้วงมากมาย แต่ในเชิงอุดมการณ์ไม่ใช่แบบฝ่ายซ้ายใหม่ หรือสายวิพากษ์ จนถึงสังคมนิยมประชาธิปไตยอย่างแน่นอนในยุคสมัยนั้น อย่างน้อย การนำเสนอภาพครูในสื่อควรเริ่มต้นจากครูที่พยายามเปลี่ยนแปลงชั้นเรียนบนฐานแนวคิดประชาธิปไตย หรือความเท่าเทียมกันก็น่าจะเป็นไปได้  

อาจมีคนอ่านที่รู้สึกว่างั้นการเป็นครูที่เสียสละอุทิศตนไม่ใช่เรื่องดีไหม?

การเป็นครูที่เสียสละหรืออุทิศตนไม่ใช่เรื่องผิด ผมว่าสิ่งที่เป็นปัญหาในการนำเสนอนิยามความเป็นครูแบบนี้ คือ เราต้องกลับมาที่วิธีคิดที่ว่าครูก็เป็นอาชีพหนึ่ง อาชีพครูไม่ใช่เรื่องการทำความดีหรือบุญคุณ ครูเป็นคนธรรมดาทั่วไป มีหน้าที่ให้ความรู้นักเรียนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ

อาจยังไม่ต้องพูดถึงครูในมุมจิตวิญญาณหรือศาสนา แต่พูดถึงในเชิงคุณภาพ วิธีจัดการเรียนการสอน สวัสดิการที่ครูควรได้รับหากต้องทำงานหนักก็ควรได้ผลตอบแทนที่เป็นธรรม

ถ้ามีครูมาอ่านงานชิ้นนี้ อาจารย์คิดว่าเขาจะได้อะไรกลับไป และสิ่งที่อาจารย์อยากส่งให้เขา

เขาจะเห็นเลยว่ามิติความเป็นครูมันลื่นไหลแปรเปลี่ยนตลอดเวลา ถึงจะมีนิยามความเป็นครูแบบกระแสหลักที่อิงแอบกับแนวอนุรักษ์นิยมก็ตาม อย่างน้อยครูเมื่อได้อ่านก็น่าจะเกิดแรงบันดาลใจหรือเห็นว่าอาชีพครูมันสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้

สิ่งที่ผมอยากบอกเขา คือ อยากให้เป็นครูที่ดีต่อไป ดีในที่นี้คือ การนิยามความเป็นครูที่ดีด้วยการสร้างความหมายของตนเอง ด้วยการไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ ฟังเสียงเรียกจากภายใน พิจารณาว่าตนเองจะจัดวางความเชื่อ แนวคิด และแนวปฏิบัติในการเป็นครูแบบใด เพื่อใคร ทำไม และทำอย่างไร และไม่จำเป็นต้องอิงกับวาทกรรมทางสังคมที่ผลิตซ้ำภาพจำความเป็นครูอยู่ตลอดเวลา ถ้าครูคนนั้นมองว่าการเป็นครูที่ดีคือการอุทิศตนทำงานหนักเพื่อสอนนักเรียนให้ประสบความสำเร็จ ก็ไม่ใช่เรื่องผิด ความเป็นครูที่ดีไม่มีตายตัว ขอให้ครูอย่าปิดกั้นโอกาสตัวเองที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่ครูคนใหม่ ด้วยการตื่นรู้เป็นครั้งที่สองสามสี่ และตลอดชีวิต

ในมุมผมคิดว่าครูสามารถเรียนรู้การเป็นครูที่ดีได้จากนักเรียน เสียงสะท้อนจากพวกเขาจะบอกเราเองว่าเราเป็นครูที่ดีหรือไม่

นอกจากการรื้อสร้างและทบทวนนิยามความเป็นครู ผมอยากให้ครูศึกษาเรื่องประเด็นทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และประวัติศาสตร์ ที่รายล้อมพวกเราอยู่ อ่านหนังสือ อ่านโลก เข้าใจชีวิต และรู้จักใช้ชีวิตเพื่อให้เป็นประสบการณ์และบทเรียนที่จะทำให้ครูมีวิสัยทัศน์ ก้าวหน้า และทันโลก มีมุมมองได้กว้างและไกลกว่าห้องเรียน โอบรับสิ่งเหล่านี้เข้ามาในห้องเรียน ถ้าครูเข้าใจเรื่องพวกนี้ก็จะส่งผลดีกับนักเรียน เพราะนักเรียนคือกระจกที่สะท้อนตัวตนของครูได้ชัดเจนที่สุด

Tags:

ครูประชาธิปไตย

Author:

illustrator

เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา

เพิ่งพ้นรั้วมหาวิทยาลัยจากคณะแห่งการเขียนและสื่อมวลชน แม้ทำงานแรกในฐานะกองบรรณาธิการ The Potential หากขอบเขตความสนใจขยายไปเรื่องเพศ สิ่งแวดล้อม และผู้ลี้ภัย แต่ที่เป็นแหล่งความรู้วัยเด็กจริงๆ คือซีรีส์แวมไพร์, ฟิฟตี้เชดส์ ออฟ จุดจุดจุด และ ยังมุฟอรจาก Queer as folk ไม่ได้

Related Posts

  • Voice of New Gen
    พังกำแพง ‘ก็เขาทำกันมาแบบนี้’ : เป้าหมายของมายมิ้น – ศุกรียา วรรณายุวัฒน์ Voice of new gen วงการการศึกษาไทย

    เรื่อง เพ็ญสินี ธิติธรรมรักษา ภาพ ศรุตยา ทองขะโชค

  • Learning Theory
    ประชาธิปไตยง่ายๆ เริ่มได้ที่ห้องเรียน

    เรื่อง The Potential ภาพ KHAE

  • Social Issues
    ครูในยุคเสรีนิยมใหม่: จะทำอย่างไรไม่ให้หมดสนุกกับการสอน

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา ภาพ บัว คำดี

  • Social Issues
    แฟนฟิค ทศกัณฑ์ โพลีแคท ธนาธร พ่อหล่อสอนลูก งานวิจัยของเด็กรุ่นใหม่ที่ไม่ได้สนใจแต่ตัวเอง

    เรื่อง

  • Voice of New Gen
    ครูสอนสังคมที่ให้สังคมสอนนักเรียน : ‘ครูพล’ อรรถพล ประภาสโนบล

    เรื่อง

เงินทองต้องคิดส์ (10) : พื้นฐานเรื่องภาษีที่ลูกๆ ต้องรู้
Early childhood
13 January 2022

เงินทองต้องคิดส์ (10) : พื้นฐานเรื่องภาษีที่ลูกๆ ต้องรู้

เรื่อง รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • ไม่ว่าใครต่างก็ต้องเสียภาษีตั้งแต่วินาทีแรกที่ลืมตาดูโลกไปจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต ภาษีที่ว่าอาจเป็นภาษีเงินได้ที่หักออกจากรายได้ในแต่ละเดือน เป็นภาระที่ต้องจ่ายจากสารพัดความมั่งคั่งอย่างภาษีที่ดินและภาษีโรงเรือน เป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเมื่อนำเข้าสินค้า หรือกระทั่งซุกซ่อนอยู่ในทุกการจับจ่ายใช้สอยในรูปของภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • วิธีเริ่มต้นสอนลูกเรื่องภาษีที่ง่ายที่สุด คือ การตอบคำถามว่ารัฐบาลเก็บภาษีจากพวกเราทุกคนไปทำอะไร โดยอาจชวนเจ้าตัวเล็กคุยเรื่องสวนสาธารณะหรือสนามเด็กเล่นสุดโปรดว่าเป็นพื้นที่ที่รัฐบาลจัดหามาให้พวกเราทุกคนในฐานะประชาชน พร้อมทั้งเล่นเกมสนุกๆ โดยผลัดกันทายว่าสิ่งที่เราเจอในชีวิตประจำวันนั้น มีส่วนไหนบ้างที่เกิดจากภาษีของเราทุกคน
  • เมื่อเด็กๆ เริ่มเข้าใจแนวคิดพื้นฐานเรื่องภาษี ก้าวต่อไป คือ การรู้จักสารพัดภาษีที่ซุกซ่อนอยู่ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏอยู่ในใบเสร็จรับเงิน ไปจนถึงสารพัดภาษีที่พ่อแม่ต้องจ่ายในแต่ละปี และในวันแรกที่ลูกๆ เริ่มมีรายได้ พ่อแม่ควรจะต้องให้ความช่วยเหลือในการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีแรก พร้อมทั้งแนะนำเรื่องการหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเพื่อวางแผนจัดการภาษีให้ดีที่สุด

เราทุกคนต่างต้องเสียภาษีตั้งแต่วินาทีแรกที่ลืมตาดูโลกไปจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต ภาษีที่ว่าอาจหักออกไปจากรายได้ในแต่ละเดือน เป็นภาระที่ต้องจ่ายจากสารพัดความมั่งคั่งอย่างภาษีที่ดินและภาษีโรงเรือน หรือกระทั่งซุกซ่อนอยู่ในทุกการจับจ่ายใช้สอยในรูปของภาษีมูลค่าเพิ่ม 

ผมโชคดีที่เรียนด้านบัญชีเลยมีความรู้ทางภาษีจากรั้วมหาวิทยาลัย แต่เชื่อไหมครับว่า เพื่อนหลายต่อหลายคนแม้ว่าจะทำงานมาร่วมสิบปีก็ยังต้องทักมาสอบถามเรื่องภาษีอยู่เนืองๆ การเตรียมให้ลูกพร้อมรับมือกับสารพัดภาษีที่ต้องเผชิญจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง แม้ว่านี่อาจจะไม่ใช่หัวข้อที่น่าสนุกนัก แต่ก็จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตในสังคม

ส่วนคำถามที่ว่าควรเริ่มต้นเมื่อไหร่ ผมมีคำตอบเดียวสำหรับทุกเรื่องเกี่ยวกับการเงิน คือ เริ่มต้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แม้หัวข้อภาษีจะฟังดูน่ากลัว แต่ความจริงแล้วการสอนเด็กๆ อาจไม่ได้ยากอย่างที่หลายคนคิด

1. รัฐเก็บภาษีไปทำอะไร?

วิธีเริ่มต้นสอนเรื่องภาษีที่ง่ายที่สุด คือ การตอบคำถามว่ารัฐบาลเก็บภาษีจากพวกเราทุกคนไปทำอะไร?

พ่อแม่สามารถเริ่มจากชวนให้เด็กๆ รู้จักผลลัพธ์จากการใช้เงินภาษี เช่น เวลาที่พาไปเดินสวนสาธารณะหรือสนามเด็กเล่นใกล้บ้าน เราก็ชวนคุยและตั้งคำถามว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นของใคร เจ้าตัวเล็กอาจรู้สึกตื่นเต้นที่ได้รู้ว่าพื้นที่ที่ตัวเองใช้งานเป็นประจำนั้นดูแลและบริหารจัดการโดยรัฐบาลซึ่งเป็นเงินภาษีจากพวกเราทุกๆ คน 

นอกจากนี้ ทุกครั้งที่ออกนอกบ้านเรายังสามารถชี้ชวนสารพัดโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐบาลเป็นคนดูแลจัดการให้ ไม่ว่าจะเป็นท้องถนน ฟุตพาท สะพานลอย ตำรวจ และสถานีดับเพลิงซึ่งเป็นบริการที่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างความปลอดภัยแก่ทุกคนในสังคม

แน่นอนครับว่าเราไม่จำเป็นต้องสอนลูกเพียงฝ่ายเดียว แต่อาจชวนเล่นเป็นเกมสนุกๆ โดยให้ลูกทายว่าอะไรบ้างที่พบเห็นในชีวิตประจำวันเป็นผลงานของภาครัฐที่มาจากภาษีประชาชน บางทีเด็กๆ อาจจะเห็นบางอย่างที่เราอาจมองข้ามและไม่คิดว่าเป็นผลงานของภาครัฐก็ได้นะครับ!

2. ของส่วนรวมกับของส่วนตัว

เมื่อเจ้าตัวเล็กพอจะนึกออกว่าภาษีจะถูกนำไปใช้ทำอะไรบ้าง เด็กๆ ก็อาจเริ่มสงสัยว่าทำไมภาครัฐจะต้องเป็นตัวตั้งตัวตีในการจัดหาสินค้าหรือบริการเหล่านั้น แทนที่จะปล่อยให้ภาคธุรกิจจัดการเหมือนกับสินค้าและบริการอื่นๆ ตอนนี้เองที่พ่อแม่ต้องเตรียมคำอธิบายเอาไว้ให้ว่าด้วยสินค้าสาธารณะและสินค้าเอกชน หรือหากจะพูดแบบไม่วิชาการก็คือของส่วนรวมกับของส่วนตัว

เราสามารถชวนให้ลูกสังเกตความแตกต่างของสองอย่างนี้โดยการยกตัวอย่าง ‘ถนน’

ถนนทั่วไปที่เราเห็นแทบทั้งหมดเป็นพื้นที่สาธารณะเพราะไม่ว่าใครอยากจะใช้งานก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องควักกระเป๋าจ่ายเงินให้กับใครเพราะถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ภาครัฐจัดหาให้กับประชาชนทุกคน แต่การสร้างถนนก็มีต้นทุน รัฐจึงเป็นเสมือนตัวกลางรวบรวมเงินจากคนในสังคมมาสร้างถนนแก่สาธารณะ 

ในทางกลับกัน ทางด่วนก็นับว่าเป็นถนนเหมือนกันแต่ทุกครั้งที่เราจะขึ้นไปใช้บริการกลับต้องเสียเงิน สาเหตุก็เพราะว่าทางด่วนดังกล่าวลงทุนก็สร้างโดยเอกชน ทางด่วนจึงถือเป็นของส่วนตัวไม่ใช่ของส่วนรวม หากจะเข้าไปใช้ก็ต้องเสียเงินให้กับเจ้าของนั่นเอง

3. ภาษีเริ่มต้นที่บ้าน

อ่านหัวข้อแล้วหลายคนอาจจะเกาหัวว่าภาษีเกี่ยวอะไรกับเรื่องในบ้าน?

ก็กว่าเด็กๆ จะต้องเสียภาษีแบบจริงจังก็อาจต้องรอจนวันที่เรียนจบมหาวิทยาลัยซึ่งอาจช้าเกินการณ์ พ่อแม่สามารถออกแบบภาษีสำหรับทุกคนในบ้านเพื่อนำเงินที่รวบรวมได้มาทำโครงการส่วนรวมที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกัน เช่น ไปเที่ยวต่างจังหวัด ทานอาหารร้านอร่อย หรือลงทุนซื้อโทรทัศน์จอยักษ์สำหรับทุกคนในครอบครัว

การเก็บภาษีในบ้านก็คล้ายๆ กับการออม แต่แยกออกมาเป็นกระปุกหมูกองกลางที่ทุกคนจะต้องช่วยกันหยอด โดยอาจออกแบบกฎเกณฑ์ง่ายๆ เช่น ลูกหยอดวันละ 10 บาท ส่วนพ่อแม่หยอดวันละ 100 บาท แล้วสิ้นเดือนจะมีการประชุมครอบครัวว่าเอาเงินก้อนนี้ไปใช้ทำอะไรร่วมกัน สิ่งสำคัญของกิจกรรมนี้ คือ การลิ้มรสชาติการถูกหักเงินรายได้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ของส่วนรวม

4. ตามหาภาษีในชีวิตประจำวัน

หลังจากเจ้าตัวเล็กเริ่มรู้เรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับภาษี ก้าวต่อไป คือ การรู้จักสารพัดภาษีที่ซุกซ่อนอยู่ในชีวิตประจำวัน

ภาษีที่พื้นฐานที่สุดและอาจถูกมองข้ามมากที่สุด คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อไปซื้อของตามห้างร้านขนาดใหญ่ พ่อแม่อาจชี้ให้เจ้าตัวเล็กดูราคา ‘จริงๆ’ ของสินค้าที่ซื้อกับเงินที่เราต้องจ่ายพร้อมกับชวนให้สังเกตหนึ่งบรรทัดที่เขียนว่าภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ Value Added Tax (VAT) ที่จะบวกเพิ่มจากราคาสินค้าหรือบริการแทบทุกรายการถึง 7 เปอร์เซ็นต์!

นอกจากภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว พ่อแม่อาจชวนให้ลูกๆ รู้จักภาษีสรรพสามิตที่เป็นฉลากติดอยู่บนเครื่องดื่ม หรือภาษีศุลกากรที่ต้องจ่ายเวลาที่สั่งสินค้าบางอย่างจากต่างประเทศอีกด้วย

ส่วนภาษีที่อาจไม่ได้พบเจอในชีวิตประจำวันสักเท่าไหร่แต่จะมาเยี่ยมเยือนเราทุกปี ไม่ว่าจะเป็นภาษีป้าย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งภาษีเงินได้ เราก็อาจใช้โอกาสที่ไหนๆ ก็ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว ชวนลูกมาทำความรู้จักภาษีประเภทต่างๆ พร้อมทั้งฐานของภาษีที่ต้องจ่าย เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคิดจากมูลค่าของสินทรัพย์ หรือภาษีเงินได้ก็คิดจากรายได้ทั้งหมดของเราในแต่ละปี

5. ชวนลูกยื่นภาษี

พ่อแม่ควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับปีแรกที่ลูกๆ เริ่มมีรายได้ ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากการทำงานเสริมระหว่างเรียนหรือรายได้จากการทำงานประจำหลังเรียนจบ เมื่อถึงฤดูกาลยื่นภาษี พ่อแม่ควรเข้าประกบและให้คำแนะนำในการยื่นแบบฟอร์มภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แม้ว่าในปีนั้นรายได้อาจไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษีก็ตาม

การเสียภาษีครั้งแรก คือ ครั้งที่ยากที่สุด เพราะนอกจากจะต้องรู้จักฐานภาษีแล้ว การยื่นภาษียังมีรายละเอียดปลีกย่อย เช่น การหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน ตรงนี้เองที่พ่อแม่ซึ่งมีประสบการณ์ยื่นภาษีมาค่อนชีวิตควรเข้ามาช่วยเหลือ แนะนำสารพัดเทคนิคในการประหยัดภาษีไม่ว่าจะเป็นการซื้อประกัน ซื้อกองทุน หักลดดอกเบี้ยค่าผ่อนบ้าน และอีกสารพัดทางเลือกซึ่งต้องวางแผนให้เรียบร้อยก่อนสิ้นปี

ปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายช่วยให้เราวางแผนภาษีได้ง่ายขึ้น สิ่งหนึ่งที่พ่อแม่ต้องย้ำหากลูกๆ ทำงานประจำ คือ ภาษีที่ต้องเสียส่วนใหญ่จะถูกหักไปแล้วจากเงินเดือนในแต่ละเดือน หากไม่วางแผนภาษีตอนสิ้นปีก็อาจแทบไม่ต้องจ่ายเพิ่ม แต่ถ้าวางแผนดีๆ รับรองว่าจะมีเงินเครดิตภาษีคืนเข้ากระเป๋าหลายพันบาท!

แต่นอกจากจะต้องจ่ายตามที่กำหนดพร้อมกับบริหารจัดการอย่างเหมาะสมแล้ว พ่อแม่ก็อย่าลืมปลูกฝังลูกๆ ว่า

ผู้เสียภาษีทุกคนยังมีสิทธิในการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ พร้อมตั้งคำถามหรือแสดงความคิดเห็นตามระบอบประชาธิปไตยเมื่อพบการใช้เงินภาษีอย่างไม่เหมาะสม การใช้งบประมาณแบบไร้ประสิทธิภาพเป็นธรรมชาติของทุกรัฐบาลในโลก ประชาชนผู้เสียภาษีจึงต้องช่วยเป็นหูเป็นตาเพื่อให้เงินภาษีทุกบาททุกสตางค์ถูกใช้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

ส่วนพ่อแม่คนไหนที่ยังไม่ค่อยคล่องเรื่องภาษี ก็อาจถือโอกาสนี้เรียนรู้เรื่องภาษีในชีวิตประจำวันไปพร้อมๆ กับลูกด้วยเลยก็ได้นะครับ 

Tags:

ปฐมวัยการเงินภาษีพ่อแม่

Author:

illustrator

รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์

คุณพ่อลูกอ่อน นักการเงินทาสหมา ที่ใช้เวลาว่างหลังลูกนอน (ซึ่งไม่ค่อยจะมี) ในการอ่าน เขียน และเรียนคอร์สออนไลน์

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Early childhoodFamily Psychology
    เติบโตไปด้วยกัน Alpha Generation EP.5 ‘ตัวตนภายในที่แข็งแรง ภายนอกจึงไม่เปราะบาง’

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • Space
    เปลี่ยนสนามเด็กเล่นที่ไม่น่าเล่นและไม่ปลอดภัย มาเป็นผู้ช่วยให้เด็กพัฒนาสมวัย

    เรื่องและภาพ ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Early childhoodBook
    THE HAPPIEST KIDS IN THE WORLD: อิสรภาพจากการได้เล่นอิสระ เคล็ดลับเด็กดัตช์แฮปปี้สุดๆ

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Family Psychology
    ฟังลูกบ้าง อย่าเพิ่งแปลงร่างเป็นหมาป่า

    เรื่อง ภาพ BONALISA SMILE

  • Early childhoodCharacter building
    อนุบาลบ้านรัก : ตื่นเช้าไป ‘บ้าน’ ไม่ใช่โรงเรียน

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

หลวิชัย : เพื่อนผู้พึ่งพาได้ ในขณะที่ยังมีเส้นอาณาเขตระหว่างตัวเองและผู้อื่นชัดเจน (1)
Myth/Life/Crisis
13 January 2022

หลวิชัย : เพื่อนผู้พึ่งพาได้ ในขณะที่ยังมีเส้นอาณาเขตระหว่างตัวเองและผู้อื่นชัดเจน (1)

เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • ภัทรารัตน์ หยิบ หลวิชัย – คาวี มาเขียนในประเด็นความสัมพันธ์ ‘เพื่อน’ อย่างหลวิชัยที่มีคุณสมบัติ คือ มีเส้นกั้นอาณาเขต (boundary) ระหว่างตัวเองกับผู้อื่นที่ชัดเจน โดยในขณะเดียวกันก็เป็นที่พึ่งให้คาวีได้อย่างที่สุด
  • ความสัมพันธ์ของหลวิชัยและคาวีแสดงให้เห็นแล้วว่าเราสามารถมีมิตรภาพอันเกื้อกูลกันกับผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้ง ขณะเดียวกันก็ยังมีเส้นอาณาเขตระหว่างตัวเองและผู้อื่นที่ชัดเจนไปพร้อมๆ กันได้
  • ฤาษีผู้เป็นคล้ายบิดาบุญธรรมไม่ได้รู้สึกว่าเมื่อตนได้ชุบชีวิตหลวิชัยคาวีให้เป็นคน ทั้งยังถ่ายทอดวิชาอาคมให้แล้วจะต้องเป็นเจ้าเข้าเจ้าของชีวิต แต่กลับสนับสนุนให้ทั้งสองออกไปใช้ชีวิตของตัวเอง 

1.

ลูกเสือตัวหนึ่งถูกแม่เสือที่ออกไปหากินทิ้งไว้ในถ้ำ ลูกเสือน้อยผู้หิวโหยสาหัสออกมาเจอแม่วัวลูกติดที่ปากถ้ำจึงขอดื่มนม ซึ่งในตอนแรกแม่วัวก็เกรงว่าจะแว้งมาทำอันตรายเพราะโดยทั่วไปนั้นเสือไม่เป็นมิตรกับวัว แต่ลูกวัวก็วิงวอนให้แม่วัวช่วยลูกเสือด้วยเพราะเป็นเรื่องขัดกับมโนธรรม หากว่าสามารถที่จะช่วยแต่กลับจะทิ้งลูกเสือให้หิวตาย

แม่วัวฟังเหตุผลแล้วจึงให้นมลูกเสือที่หิวโซ ฝั่งลูกเสือก็รู้สึกขอบคุณอย่างยิ่งและรักวัวทั้งสองประหนึ่งเป็นสมาชิกครอบครัว ลูกเสือเห็นว่าถิ่นที่อยู่ของตนมีความอุดมสมบูรณ์จึงชวนสองวัวมาอยู่ด้วยเพื่อสนองคุณ

เมื่อแม่เสือกลับมายังถ้ำลูกเสือจึงบอกเล่าความตั้งใจที่จะชักชวนลูกวัวและแม่วัวซึ่งมีคุณต่อตนมาอยู่ด้วยกันให้แม่เสือทราบ แม่เสือเห็นแก่ลูกจึงทำทีให้สัญญาว่าหากสองวัวมาอยู่ด้วยก็จะไม่ทำร้าย ทว่าอยู่มาวันหนึ่งแม่เสือกลับกินแม่วัวไป เมื่อลูกเสือและลูกวัวทราบจึงวางแผนทำเป็นหิวนมแม่เสือแล้วกลับรุมทำร้ายนางจนตาย

จากนั้นสองเด็กกำพร้าก็พากันออกผจญภัยไปในป่าไพรกระทั่งไปเจอฤาษี ซึ่งได้เสกเสือและวัวให้กลายเป็นคนโดยชื่อว่า หลวิชัย และ คาวี ตามลำดับ สองกุมารเรียนสรรพวิชากับฤาษีจนโตและอยากอยู่ปรนนิบัติแทนคุณฤาษี แต่ท่านเห็นว่าผู้มีวิชาความรู้น่าจะออกไปครองเมืองก็จะช่วยผู้คนได้มาก เมื่อทั้งสองเห็นด้วย ฤาษีก็ทำพิธีถอดดวงใจของทั้งสองลงพระขรรค์เพื่อไม่ให้ใครฆ่าได้แต่หากใคร “ได้ขรรค์บวร นี้ใส่ไฟอน จึ่งจักพินาศวายชนม์” กล่าวคือถ้าผู้ใดนำขรรค์ไปเผาไฟ เจ้าของหัวใจที่ถูกถอดลงไว้ในขรรค์ก็มีอันถึงแก่ความตายได้ ดังนั้น ทั้งคู่ยังต้องรักษาขรรค์ไว้ยิ่งชีพมิให้ผู้ปองร้ายได้ไปเป็นอันขาด

สองหนุ่มรับความแล้วลาฤาษีแล้วออกท่องโลกกว้าง เมื่อมาถึงทางแยก หลวิชัยก็ปรารภว่าให้แยกกันไปคนละทิศ แล้วอีก 3 เดือนค่อยกลับมาเจอกันที่เดิมนี้ (เนื้อเรื่องตรงนี้นิทานเรื่องคาวีว่า เมื่อทั้งสองไปถึงจันทรบุรีซึ่งมียักษ์กินคนอาละวาด คาวีก็ฆ่ายักษ์ตายแต่ได้ยกบำเหน็จความชอบให้พี่กระทั่งหลวิชัยได้รับแต่งตั้งจากเจ้าเมืองให้เป็นอุปราช ส่วนคาวีก็ปรารถนาจะเดินทางไปหาเมืองมาครองให้สมพรฤาษีด้วย ซึ่งแม้หลวิชัยไม่อยากพรากจากน้องแต่ก็ยอมให้น้องไป) 

คาวีเดินทางไปเจอกลองในพระราชวังแห่งเมืองซึ่งร้างไร้ผู้คนแห่งหนึ่ง ในกลองนั้นมีหญิงงามผู้มีกลิ่นเส้นผมหอมกำจายอยู่ เธอคือ จันท์สุดา ธิดาของเจ้าเมืองจันทรนคร นางเล่าให้เขาฟังว่าชาวเมืองรวมถึงบิดามารดาของนางถูกนกอินทรีย์กินเข้าไปแล้ว เขาจึงใช้ควันไฟล่อนกมาสังหารเสีย คาวีสมรสกับนางจันท์สุดาและครองจันทรนครนับแต่นั้น

อย่างไรก็ตาม ครั้นนางจันท์สุดาลงอาบน้ำ นางได้ใส่เส้นผมที่ร่วงลงในผอบซึ่งได้ลอยตามน้ำไปถึง ท้าวสันนุราช ผู้ครองกรุงพันธวิสัย ชายเฒ่าต้องการตัวสาวเจ้าของเส้นผมอันหอมรัญจวนนี้จึงได้ประกาศออกไป ฝั่ง ยายทัศประสาท ซึ่งเป็นข้าเก่าของพระธิดาก็รุดไปบอกท่านท้าวจนได้เงินทองมามากมาย และด้วยความโลภจึงวางแผนขอกลับไปอยู่รับใช้นางจันท์สุดา และใช้โอกาสนั้นยุแยงว่าคาวีไม่ไว้ใจพระนางเพราะเห็นเขาเหน็บขรรค์ติดตัวตลอด

นางจันท์สุดาถูกปั่นสำเร็จจึงไปค่อนขอดคาวี และได้รู้ความลับว่าหัวใจของคาวีอยู่ในพระขรรค์และหากเผามันเสียคาวีก็จะต้องเป็นอันมอดม้วย จันท์สุดารีบแจ้นนำความลับนี้ไปแก้ตัวกับยายทัศประสาท ยายจึงใช้อุบายล่อหลอกทั้งสองจนได้ขรรค์คาวีไปเผาไฟ เมื่อคาวีล้มพับสิ้นสติ ยายเจ้าเล่ห์ก็จัดแจงให้ทหารเข้ารวบตัวจันท์สุดาไปถวายท้าวสันนุราช ซึ่งจันท์สุดาก็มิได้รับรักแต่อย่างใด

ฝั่งหลวิชัยนั้น เมื่อครบกำหนดเวลา 3 เดือนก็กลับไปเจอคาวีตรงที่จากกันแต่รอทั้งวันก็ไม่พบ เขาจึงสืบเสาะหากระทั่งได้เจอกับคาวีที่นอนนิ่งอยู่ใกล้กองเพลิงที่โลมเลียพระขรรค์อยู่ เขาจึงช่วยเอาขรรค์ออกจากไฟเสียเพื่อให้คาวีฟื้นขึ้นและบอกเล่าเรื่องร้อนใจให้ทราบ

ในระหว่างนั้นเองหลวิชัยได้ข่าวว่าท้าวสันนุราชอยากจะกลับไปเป็นหนุ่มและประกาศหามุนีพราหมณ์ชุบรูปให้งามพึงใจ เขาจึงปลอมตัวเป็นฤาษีไปหาพระองค์แล้วทำทีว่าทำพิธีชุบตัวช่วยได้ แต่มีเงื่อนไขว่าต้องขุดหลุมสุมเพลิงไว้และกั้นม่านเจ็ดชั้นในระหว่างพิธี แล้วหลวิชัยก็ให้ท้าวสันนุราชกระโดดเข้ากองไฟ คนเฒ่าใคร่ได้สาวเชื่อตามจึงสิ้นอายุขัย จากนั้นหลวิชัยก็สลับตัวคาวีออกมาแทน คาวี (ที่ผู้คนเชื่อว่าเป็นท้าวสันนุราชในเวอร์ชั่นหนุ่ม)จึงได้สมรสกับจันท์สุดาอีกครั้ง

เมื่อหลวิชัยเห็นคาวีได้ครองเมืองทั้งสองโดยอยู่ดีมีสุขแล้ว ก็ลาเพื่อเดินทางไปตามทางของตนต่อไป

2.

หลวิชัยกับคาวีมีมิตรภาพลึกซึ้งในลักษณะที่แม้ ‘มีใช่ชาติมิใช่เชื้อ แต่มีความเอื้อเฟื้อ’ เหมือนอย่างเลือดเนื้อของตัวเอง หลังจากที่ลูกวัว (คาวี) เคยชักแม่น้ำร้องขอให้แม่ช่วยชีวิตลูกเสือ (หลวิชัย) หลวิชัยก็กลายเหมือนพี่และเพื่อน ‘ที่พึ่งพาได้’ ของคาวีมาตลอดเช่นกัน ซึ่งแม้ว่าจะดำเนินชีวิตอยู่ในระบบศีลธรรมแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน แต่ขอละเว้นการมองอย่างตัดสิน และขอมองการกระทำต่างๆ ตามนิทานในเชิงอุปมาอุปไมย ว่าเป็นภาพสะท้อนกระบวนการทางจิต ซึ่งคงจะได้วิเคราะห์รายละเอียดจากมุมมองทางจิตวิทยาสายคาร์ล ยุง (Jungian Psychology) ต่อไป ส่วนในที่นี้ จะเน้นคุณสมบัติของหลวิชัยที่ 1) มีเส้นกั้นอาณาเขต (boundary) ระหว่างตัวเองกับผู้อื่นที่ชัดเจน โดยในขณะเดียวกันก็ 2) เป็นที่พึ่งให้คาวีได้อย่างที่สุด อันจะเห็นได้จากพฤติการณ์ต่างๆ ดังนี้

ความพึ่งพาได้ ของหลวิชัยเห็นได้จาก

  • การเลือกเข้าข้างคาวี และไม่ยอมรับพฤติกรรมที่เขาเห็นว่าไม่ถูกต้องของแม่แท้ๆ ซึ่งในระหว่างบรรทัดก็สะท้อนอีกด้วยว่าหลวิชัยให้ความสำคัญกับการรักษาสัตย์สัญญาและการแทนคุณ ดังนั้น ความสัมพันธ์ของหลวิชัยกับคาวีจึงมีทั้งการรับและให้ต่างตอบแทน อันเป็นการเกื้อกูลกันทั้งสองทาง

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่หลวิชัยยังเป็นเสือ เขาขีดเส้นกับแม่ว่าอะไรที่เขารับไม่ได้แบบสัตว์ ทว่าความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์นั้นย่อมจะต้องมีวิธีกั้นอาณาเขตที่ไม่ใช่มาตุฆาต ซึ่งในทางพุทธนับเป็นกรรมหนักฝ่ายอกุศล อีกทั้งเป็นการกระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด จึงขอเน้นย้ำสาระสำคัญของการอ่านนิทานว่าเป็นการเข้าไปเชื่อมโยงกับกระบวนการของจิตไร้สำนึก (unconscious) ผ่านสัญลักษณ์ มากกว่าที่จะเอาสารตามตัวอักษรตรงๆ

  • การไปตามนัด หลวิชัยไปพบคาวีตามเวลาที่นัดกันไว้และรอคอยคาวีอยู่ทั้งวัน หนำซ้ำแม้ไม่พบตัวก็ยังพยายามเสาะหาจนเจอคาวีที่กำลังมีภัย ซึ่งจะเป็นคนละรูปแบบกับเพื่อนที่นัดแล้วก็มักเทคุณหรือนัดแล้วเปลี่ยนแผนไปมาอยู่ตลอดกระทั่งคุณรู้สึกว่าเขาไม่เคารพเวลาของคุณ
  • การพร้อมเอาตัวเข้าช่วยเหลือและยินดีในความสำเร็จและสุขภาวะของมิตร เมื่อหลวิชัยเห็นคาวีนอนสิ้นสติอยู่ก็รีบช่วย อีกทั้งเมื่อรู้ว่าคาวีโดนแย่งแฟนไป ก็คิดหาวิธีการช่วยและเอาตัวลงไปเสี่ยงเพื่อคาวีจนกรณีถึงที่สุดเมื่อได้เห็นเขาปลอดภัยและมีความสุขเจริญ ซึ่งจะต่างโดยสิ้นเชิงจากความสัมพันธ์ที่ฝ่ายหนึ่งต้องการพึ่งพาอีกฝ่ายหนึ่งแต่ถ่ายเดียวโดยไม่ต้องการจะช่วยเหลืออะไรตอบในยามยากเลยแม้สักเล็กน้อยเลย

การมีอาณาเขตที่ชัดเจน ของหลวิชัยเห็นได้จาก 

นอกจากจะชัดเจนว่าโอเคหรือไม่โอเคกับพฤติกรรมอะไรของคนอื่นแม้แต่กับแม่แล้ว หลวิชัยเปิดพื้นที่ให้ทั้งตัวเองและคนอื่นได้มีชีวิตในแบบของตัวเองด้วย เขาไม่แสดงออกแบบครอบครอง โดยหลวิชัยบอกให้คาวีแยกเดินทางไปคนละทิศเมื่อถึงทางแยก นอกจากนี้ เมื่อช่วยคาวีให้พ้นภัยและสุขสบายดีในอาณาจักรที่คาวีได้ครองแล้ว หลวิชัยก็แยกไปตามทางของตัวเอง

เป็นไปได้มากว่าการที่หลวิชัยชัดเจนกับขอบเขตของตัวเองนั้นทำให้เขาเคารพอาณาเขตของคาวีได้ง่าย และทำให้ไม่เกิดการพึ่งพากันจนเป็นพิษ ซึ่งเราจะเห็นรูปแบบคล้ายกันนี้จากฤาษีผู้เป็นคล้ายบิดาบุญธรรม ที่ไม่ได้รู้สึกว่าเมื่อตนได้ชุบชีวิตหลวิชัยคาวีให้เป็นคนทั้งยังถ่ายทอดวิชาอาคมให้แล้วจะต้องเป็นเจ้าเข้าเจ้าของชีวิตและกักตัวพวกเขาไว้อยู่รับใช้ตัวเอง แต่กลับสนับสนุนให้ทั้งสองออกไปใช้ชีวิตและเติบโตเป็นเจ้าอาณาจักรของชีวิตตัวเอง  

3.

สำรวจความสัมพันธ์ของเราเอง

ลองกลับมาสำรวจความสัมพันธ์ของเรากับเพื่อนๆ บ้างว่าเรามีหรือเป็นเพื่อนแบบหลวิชัยให้ใครบ้างหรือไม่?

แต่ไม่ว่าความสัมพันธ์ของเราจะเป็นเช่นไร ความสัมพันธ์ของหลวิชัยและคาวีก็แสดงให้เห็นแล้วว่า เราสามารถมีมิตรภาพอันเกื้อกูลกันกับผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้ง โดยในขณะเดียวกันก็ยังมีเส้นอาณาเขตระหว่างตัวเองและผู้อื่นที่ชัดเจนไปพร้อมๆ กันได้ด้วย

อ้างอิง
หมายเหตุ เนื้อเรื่องของหลวิชัยคาวีมีความหลากหลาย ในที่นี้ได้ผสานเนื้อหาจากสามแหล่งคือ จาก “นิทานเรื่องคาวี” ใน บทละครนอก โดย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พิมพ์เมื่อพ.ศ. ๒๕๓๐ สำนักพิมพ์กรมศิลปากร; “คู่พระใหญ่พระน้อยในนาฏกรรมไทย” โดย ไพโรจน์ ทองคำสุก ใน วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๙ และ เสือโคคำฉันท์ ต้นฉบับพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร จากห้องสมุดดิจิตอลวชิรญาณ  
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๙(๑), (๔) มาตรา ๘๓, มาตรา ๗๓ ฯลฯ“กรรม ในฐานะหลักธรรมที่เนื่องอยู่ในปฏิจจสมุปบาท” ใน พุทธรรม ฉบับปรับขยาย โดย พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) พิมพ์ปี ๒๕๕๕ โดยสำนักพิมพ์ผลิธัมม์ และ พุทธธรรมออนไลน์ โดยเว็ปไซต์วัดญาณเวศกวัน

Tags:

แบบแผนทางความสัมพันธ์Myth Life Crisisตำนานเพื่อน

Author:

illustrator

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา

ชอบอยู่กับต้นไม้ใบไม้ต่างๆ ผืนน้ำ เที่ยวไปในโบราณสถาน และเรียบเรียงสิ่งที่อยู่ในเงามืด เราเองยังต้องเรียนรู้และขัดเกลาอะไรอีกมาก รู้สึกขอบคุณที่ให้โอกาสเราได้ฟังเรื่องราวของทุกคนนะ (Line ID: patrasuwan)

Illustrator:

illustrator

กรองพร ทององอาจ

Graphic Designer & Illustrator Instagram: @monkrongpin

Related Posts

  • Myth/Life/Crisis
    มูซาชิ : ที่มองคนอื่นนั้นก็เพียงเงาสะท้อนของเราเอง

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Myth/Life/Crisis
    หลวิชัย : ความสัมพันธ์ที่เคารพอาณาเขตของตัวเอง (2)

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Myth/Life/Crisis
    แดรกคิวล่า : เรียนรู้จากผีดิบ และอาการป่วยไข้ที่รุกล้ำอาณาเขตของเรา

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Myth/Life/Crisis
    กุลา: ด้อยค่าคนที่ตนอิจฉาในขณะที่เลียนแบบไปด้วย

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Myth/Life/Crisis
    เราไม่จำเป็นต้องสูญเสียตัวเองเพื่อรักษาความสัมพันธ์ : ผลจากการเลี้ยงดูที่ถูกปกป้อง (ควบคุม) อย่างสุดขีดและทางออก

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

Posts navigation

Older posts

Recent Posts

  • ‘นิทานปากเปล่า’ เล่าความรักให้ลูกฟัง สร้างจินตนาการ สานสัมพันธ์ในครอบครัว: แม่จาว – วัชราวรรณ เพชรบุล
  • ปลุกพลังซ่อนเร้นในมนุษย์ EP4: การซึมซับและปรับตัว 
  • เปลี่ยนระบบนิเวศโรงเรียนเป็นสนามพลังบวก ยกระดับเด็กด้อยโอกาสสู่เด็กได้โอกาส: ผอ.วรรณรักษ์ หงษ์ทอง
  • F1 The Movie: ชัยชนะที่ดีที่สุดคือการปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระจากการเป็นที่หนึ่ง
  • Myth Universe : จากสิ่งศักดิ์สิทธิ์สู่ Edutainment ความรู้นอกห้องเรียนที่เริ่มต้นจากคำถามและการเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง

Recent Comments

  • Existential crisis: วิกฤตชีวิตที่มาพร้อมกับคำถาม “แล้วฉันอยู่เพื่ออะไร” – EducationNet on Midlife Crisis: เมื่อเป็นผู้ใหญ่ ทำไมใจถึงวิกฤต
  • The Psychological Wounds of Winnie the Pooh and His Friends: Exploring Characters from a Classic Literary Work - World Today News on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • Exploring the Psychological Wounds of Winnie the Pooh and Friends: A Fascinating Analysis - Archyde on วินนีเดอะพูห์ : ด้วยหัวใจอันแหว่งวิ่น และความลับในป่าลึก
  • 6 วิธีฝึกสอนให้ลูกเป็นเด็กมี Critical Thinking ทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งในอนาคต – โรงเรียนมารีวิทยา ป on CRITICAL THINKING: สอนเด็กให้รู้คิด ผิดหรือถูกก็ใช้วิจารณญาณเป็น
  • Best รูป พลเมือง ดี Update New – Haiduongcompany.com on สอนและสร้างพลเมืองประชาธิปไตย เรื่องไม่ง่ายที่ครูทำได้

Archives

  • July 2025
  • June 2025
  • May 2025
  • April 2025
  • March 2025
  • February 2025
  • January 2025
  • December 2024
  • November 2024
  • October 2024
  • September 2024
  • August 2024
  • July 2024
  • June 2024
  • May 2024
  • April 2024
  • March 2024
  • February 2024
  • January 2024
  • December 2023
  • November 2023
  • October 2023
  • September 2023
  • August 2023
  • July 2023
  • June 2023
  • May 2023
  • April 2023
  • March 2023
  • February 2023
  • January 2023
  • December 2022
  • November 2022
  • October 2022
  • September 2022
  • August 2022
  • July 2022
  • June 2022
  • May 2022
  • April 2022
  • March 2022
  • February 2022
  • January 2022
  • December 2021
  • November 2021
  • October 2021
  • September 2021
  • August 2021
  • July 2021
  • June 2021
  • May 2021
  • April 2021
  • March 2021
  • February 2021
  • January 2021
  • December 2020
  • November 2020
  • October 2020
  • September 2020
  • August 2020
  • July 2020
  • June 2020
  • May 2020
  • April 2020
  • March 2020
  • February 2020
  • January 2020
  • December 2019
  • November 2019
  • October 2019
  • September 2019
  • August 2019
  • July 2019
  • June 2019
  • May 2019
  • April 2019
  • March 2019
  • February 2019
  • January 2019
  • December 2018
  • November 2018
  • October 2018
  • September 2018
  • August 2018
  • July 2018
  • June 2018
  • May 2018
  • April 2018
  • March 2018
  • February 2018
  • January 2018
  • December 2017
  • November 2017

Categories

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Uncategorized
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel