Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Voice of New Gen
1 August 2019

ฟิอนน์ เฟอร์เรรา: เจ้าของ GOOGLE SCIENCE FAIR 2019 กำจัดไมโครพลาสติกออกจากสายน้ำ

เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • ฟิอนน์ เฟอร์เรรา วัยรุ่นไอริช วัย 18 เจ้าของรางวัล Google Science Fair 2019 ผู้คิดค้นนวัตกรรมกำจัดไมโครพลาสติก
  • ไมโครพลาสติก หรือ ไมโครบีดส์ คือขยะพลาสติกที่มีขนาดน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร มันเป็นส่วนผสมสำคัญของผลิตภัณฑ์ประเภทสครับ ทั้งสบู่ แชมพู โฟมล้างหน้า ฯลฯ ที่ไหลลงสู่แหล่งน้ำและกำจัดยากด้วยความจิ๋วของมัน
  • เฟอร์เรรา ใช้แม่เหล็กเหลว (Ferrofluid) ซึ่งเป็นการผสมระหว่างน้ำมันกับแร่แมกเนไทท์ (Magnetite) ดูดซับหรือดึงเอาเจ้าไมโครพลาสติกออกจากสายน้ำ

ฟิอนน์ เฟอร์เรรา (Fionn Ferreira) วัยรุ่นชาวไอริชอายุ 18 ปี เจ้าของรางวัล Google Science Fair 2019 เวทีแข่งขันโครงการวิทยาศาสตร์ระดับโลกรุ่นอายุ 13-18 ปี ผู้คิดค้นนวัตกรรมกำจัดไมโครพลาสติกออกจากสายน้ำ หนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลกที่นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมกำลังหาทางแก้ปัญหากัน คว้าเงินรางวัลจำนวน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1,539,000 บาท)* 

เป็นที่ทราบกันดีว่าเจ้าไมโครพลาสติก หรือ ไมโครบีดส์ คือขยะพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร เกิดจากการแตกหักของขยะพลาสติกชิ้น (ที่เคย) ใหญ่ครั้งอยู่ในภูเขาขยะหรือลอยอยู่ในน้ำ อีกส่วนหนึ่งคือพลาสติกที่ถูกทำให้เล็กตั้งแต่การผลิต เช่น อนุภาคพลาสติกที่ถูกใช้ในเครื่องสำอางอย่าง สบู่ แชมพู ยาสระผม สครับ ยาสีฟัน และอื่นๆ

ความร้ายกาจของมันคือ มันเล็กมากเสียจนย่อยสลายไม่ได้ สิ่งมีชีวิตในท้องทะเลเข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาหารจึงกินเข้าไป เมื่อมนุษย์จับสิ่งมีชีวิตในทะเลมากิน เราจึงกินไมโครพลาสติกมือสองเข้าไปในร่างกายอีกที และเพราะพลาสติกคือสารเคมี การกินพลาสติกชิ้นจิ๋ว จึงเท่ากับรับสารเคมีที่อยู่ในพลาสติกเข้าร่างกายเราด้วย (ซึ่งเจ้าปลาน้อยหรือสิ่งมีชีวิตในทะเลย่อมได้รับไปก่อนหน้าเราเต็มๆ)

บนเวที Google Science Fair 2019 เวทีสำหรับนวัตกรรุ่นเยาว์อายุระหว่าง 13-18 ปี สนับสนุนโดย Lego, Virgin Galactic, National Geographic และ Scientific American เฟอร์เรราคือหนึ่งใน 24 ผู้เข้ารอบสุดท้าย (และจาก 100 คนในรอบก่อนสุดท้ายอีกทีหนึ่ง)

เฟอร์เรรา คือเด็กหนุ่มจากไอร์แลนด์ที่เติบโตในแถบชายฝั่งด้านตะวันตกของเมืองคอร์ก เขาบรรยายสภาพแวดล้อมรอบบ้านที่โตมาตลอด 18 ปีว่าเป็น ‘ธรรมชาติบริสุทธิ์’ และทั้งหมดกลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้ลุกขึ้นมาหาวิธีกำจัดเจ้าพลาสติกจิ๋วจำนวนมหาศาลชนิดนี้

เริ่มต้น เขาสนใจวิธีการขจัดคราบน้ำมันโดยใช้แร่แมกเนไทท์ของนักวิทยาศาสตร์ อาร์เดน วอร์เนอร์ (Arden Warner) ซึ่งเป็นการกำจัดคราบน้ำมันโดยไม่สร้างมลพิษและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

จนนำมาสู่การค้นคว้า ทดลอง และได้วิธีในแบบของเด็กหนุ่มวัย 18…

ด้วยความตั้งใจอยากแก้ปัญหาขยะไมโครพลาสติกในทะเล เขาใช้แม่เหล็กเหลว (Ferrofluid) ซึ่งเป็นการผสมระหว่างน้ำมันกับแร่แมกเนไทท์ (Magnetite) ดูดซับหรือดึงเอาเจ้าไมโครพลาสติกออกจากสายน้ำ

วิธีการของเฟอร์เรราคือ ใช้ Ferrofluid เข้าไปจับไมโครพลาสติก จากนั้นจึงใช้แม่เหล็กดูดเจ้าพลาสติกจิ๋วขึ้นจากสายน้ำ จากการทดลอง 1,000 ครั้ง พบว่ากำจัดไมโครพลาสติกตัวอย่างได้ราว 87 เปอร์เซ็นต์ ได้ผลอย่างมากในพลาสติกที่ผ่านเครื่องทำความสะอาดมาแล้ว ได้ผลน้อยกับพลาสติกประเภทโพลีโพรพีลีน (Polypropylene) หรือ PP เฟอร์เรราชี้ว่านี่เป็นเพียงความเป็นไปได้ที่จะกำจัดเจ้าไมโครพลาสติกออกไป แต่เขาจะพัฒนาโครงการต่อให้นำไปใช้ระดับอุตสากรรมให้ได้ต่อไป

นอกจากเฟอร์เรราจะสนใจเรื่องการวิจัยและเทคโนโลยี หลักฐานคือการเป็นเจ้าของรางวัลด้านวิทยาศาสตร์กว่า 12 ชิ้น ปัจจุบันกำลังยื่นเรื่องเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เขายังเป็น curator หรือผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ที่ Schull Planetarium พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ที่เมืองคอร์ก ประเทศไอร์แลนด์ บ้านเกิดของเขา พูดได้ 3 ภาษา เป็นผู้เชี่ยวชาญทรัมเป็ตและเล่นในวงออร์เคสตราด้วย  

รายการโปรดของเขาคือช่องยูทูบ NileRed และ Backyard Scientist นอกจากนั้นยังเป็นแฟนตัวยงของ เดวิด แอทเทนเบอเรอห์ (David Attenborough) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษและผู้ร่วมสร้างสารคดีชุด Life กับบีบีซีด้วย 

“การได้รับรางวัลทำให้ผมตั้งใจกับโปรเจ็คท์มากขึ้น และมันดีกว่านี้ได้แน่ด้วยคำแนะนำและคำวิจารณ์ต่างๆ” เฟอร์เรรามั่นใจ และทิ้งท้ายไว้ว่า

“สิ่งที่ผมอยากเห็นที่สุดคือโปรเจ็คท์และไอเดียของผมถูกนำไปประยุกต์ใช้งานในชีวิตจริง”​ 

*ค่าเงิน ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2562 ที่ 30.78 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ

อ้างอิง
Irish teenager wins global science award for removing microplastics from water
forbes
googlesciencefair

Tags:

คาแรกเตอร์(character building)นวัตกรรมสิ่งแวดล้อมวิทยาศาสตร์

Author:

illustrator

ณิชากร ศรีเพชรดี

แอดมิชชันเข้าคณะการเขียนและสิ่งพิมพ์เพราะคิดว่าเขาจะสอนให้เขียนนิยาย แทนที่จะได้เขียนจากจินตนาการ อาจารย์และทุกอย่างที่นั่นเคี่ยวกรำให้ทำ-คิด-เขียน-รู้สึกกับประเด็นสังคม ยังคงสนุก(มาก)กับงานสื่อสาร ฝันสูงสุดคือยังเข้มแข็งเขียนงานได้อย่างมีคุณภาพและฐานะดี

Related Posts

  • Voice of New Gen
    Project-based learning กระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้อวกาศไม่ไกลเกินเอื้อม ของ ‘ทีมกรุงเทพคริสเตียนฯ’

    เรื่อง The Potential

  • Voice of New Gen
    กล้าดี D.I.Y: พาสองมือสร้างธรรมชาติ ปั้นกระถางต้นไม้รักษ์โลกด้วยตัวเอง

    เรื่อง กิติคุณ คัมภิรานนท์ ภาพ บัว คำดี

  • Voice of New Gen
    INSHELTER ราวตากผ้าอัจฉริยะ นวัตกรรมที่เกิดจากความขี้เกียจ

    เรื่อง กิติคุณ คัมภิรานนท์

  • Growth & Fixed Mindset
    ‘กล้า’ เด็กหนุ่มที่เติบโตและอีโก้หายไปในโรงเพาะเห็ด

    เรื่อง

  • Unique Teacher
    ‘ครูฝ้าย’ ครูผู้ชักใยและชวนเด็กๆ ออกไปใช้ชีวิตนอกห้องเรียนด้วย PROJECT BASED LEARNING

    เรื่อง

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel