Skip to content
ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)
  • Creative Learning
    Creative learningLife Long LearningEveryone can be an EducatorUnique Teacher
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Transformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent Brain
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)
Myth/Life/Crisis
18 August 2022

สารจากรูปแบบความสัมพันธ์กับสิ่งของ

เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • บางครั้งความสัมพันธ์ของเรากับสิ่งของในบ้าน สามารถบอกอะไรเราได้หลายอย่าง น่าคิดว่าเรามีสัมพันธ์กับวัตถุต่างๆ อย่างไร และสิ่งเหล่านี้เชื่อมโยงกับเรื่องอื่นๆ ในชีวิตหรือไม่
  • วัตถุและสิ่งของที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน อาจบอกเราได้ว่าสภาพความเป็นอยู่หรือพฤติกรรมในการใช้ชีวิตของเราเป็นอย่างไร โดยสิ่งเหล่านี้สามารถสะท้อนรูปแบบการใช้ชีวิตกลับมาให้เราเห็นได้อย่างน่าสนใจ
  • ลองมองไปรอบๆ อีกที ว่าวัตถุที่เราสัมพันธ์ด้วยกำลังส่งสารอะไรแก่เรา มีที่มาที่ไปอย่างไร และ‘รูปแบบ’ ที่เราสัมพันธ์กับของสิ่งหนึ่ง กำลังเกิดซ้ำในมิติอื่นๆ ของชีวิตด้วยหรือไม่

1.

เวลาชาร์ตโทรศัพท์มือถือ ก่อนนำมาใช้ได้ชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มจริงๆ ก่อนหรือเปล่า?

โทรศัพท์มือถือที่ไม่ใส่ใจจะชาร์จให้เต็มในระหว่างวัน

คุณเสาร์(นามสมมุติ)เคยชินกับการโหมงานติดต่อกันทีละนานๆ โดยไม่ค่อยเว้นช่วงเวลาให้ตัวเองพักเต็มที่ เขาทำตามความเคยชินกระทั่งร่างกายเหนื่อยล้าหมดเรี่ยวแรงแม้แต่จะเดินไปมาในบ้าน  

เพื่อนของคุณเสาร์ถามขึ้นว่า “ปรกติเวลาชาร์ตโทรศัพท์ คุณปล่อยให้แบตเตอรี่เต็มก่อนนำมาใช้หรือเปล่า?” 

เขาแวบเข้าใจรูปแบบบางอย่างชัดขึ้น เพราะยกเว้นการชาร์จแบตข้ามคืน ในระหว่างวันนั้นเมื่อแบตที่พร่องไปได้รับการเติมขึ้นมาเพียงนิดหน่อยแล้ว เขาก็มักจะนำโทรศัพท์มาใช้ต่อเลย จนหลายครั้งก็ถึงขั้นโทรศัพท์ดับไปเอง

และสิ่งนี้ก็สะท้อนกลับมายังรูปแบบการทำงานที่เขาไม่ค่อยเว้นวรรคเพื่อพักผ่อนให้เต็มที่หลังจากจบงานหนึ่งๆ ก่อนจะเริ่มงานต่อๆ ไป ด้วย  

การทำงานได้ถูกเขาใช้ตอบสนองแรงขับที่ต้องการถมช่องว่างแห่งประสบการณ์ ส่วนโทรศัพท์มือถือยังถูกเขาใช้ตอบสนองความปรารถนาจะเชื่อมต่อกับมนุษย์คนอื่นและหนีออกจากความเดียวดาย 

แต่การพักและการเว้นช่องว่างก็เป็นส่วนหนึ่งของความเต็ม รวมถึงเป็นส่วนสำคัญของการก้าวต่อไป ในที่สุด เขาก็ได้กลับมาสัมผัสกับอีกด้านในตัวเองที่ปรารถนาในความหยุดนิ่ง เงียบงันและปลีกวิเวก

สิ่งของพังๆ 

เมื่อเห็นโทรศัพท์หน้าจอแตกร้าวแบบที่แทบจะอ่านอะไรไม่รู้เรื่องแล้วและวัตถุพังๆ ของใครก็ตาม ดูผิวเผินคล้ายผู้ถือครองนั้นเป็นคนประหยัด หรือเขาอาจมีความทรงจำบางอย่างติดอยู่กับวัตถุพังๆ อันนั้น

แต่อีกอย่างที่ถามได้ก็คือ 

เหตุใดคนๆ นั้นจึงไม่สนใจซ่อมสิ่งต่างๆ ให้ทำงานได้สมบูรณ์ หรือไม่ยอมทิ้งอะไรที่หมดสภาพที่จะใช้ต่อแล้ว? 

เขารู้สึกว่าตน ควรค่ากับอะไรพังๆ หรือไม่?

หรือ กลัวว่าถ้าเขาไม่พังแล้ว จะต้องพลัดพรากกับคนที่สัมพันธ์อยู่ด้วยตอนนี้ หรือไม่? 

เขากำลังทนกับความสัมพันธ์พิษซึ่งมีความทารุณกรรมบางอย่างร่วมด้วยหรือไม่? 

เขาให้ค่ากับการ ‘ทนทุกข์’ ซึ่งเป็นคนละอย่างกับการร่วมทุกข์อย่างมีปัญญาหรือไม่? 

วิถีการเงินของเขาเป็นอย่างไร?

เขามีอาการป่วยเรื้อรังที่ไม่ใส่ใจจะรักษาหรือไม่สนใจจะทำงานกับมันให้คลี่คลายด้วยหรือไม่? 

เขากำลังทนใช้สิ่งของอย่างอื่นที่ทำให้ชีวิตและจิตใจติดขัด เพียงเพราะคนอื่นนำมาให้ใช้นานแล้วและขี้เกียจเปลี่ยน หรือเพียงแค่ ไม่กล้าปฏิเสธ หรือไม่? เขาไม่กล้าปฏิเสธคนอื่นในเรื่องที่เป็นนามธรรมอย่างความคาดหวังและอุมดมการณ์ที่ถูกยัดเยียดมาจากภายนอกด้วยหรือไม่? หากเขาไม่ต้องการ อะไรทำให้เขาไม่กล้าสลัดมันทิ้งไป?

สถานการณ์ของแต่ละคนไม่จำเป็นต้องเป็นอย่างที่ถาม และสารของแต่ละคนก็แตกต่างกันไปได้ อย่างไรก็ตาม ถึงจุดหนึ่ง เราทุกคนอาจต้องล่องเรือออกจากสิ่งที่คุ้นเคย และลอกคราบผลัดเปลี่ยน

2.

ความสัมพันธ์ของเรากับสิ่งของในบ้าน ยังบอกอะไรได้อีกหลายอย่าง

ชายคนหนึ่งวางเครื่องใช้ไฟฟ้าพังๆ ทิ้งไว้ในครัวเป็นเวลานาน เมื่อถูกถาม เขานึกขึ้นได้ว่าเขามักทิ้งของพังๆ ไว้แล้วพ่อเขาจะนำไปซ่อม เขานึกได้อีกว่าตนทำแบบนี้กับเรื่องอื่นๆ ในชีวิตด้วย

ยังมีคนซุกซ่อนของที่ทำให้ขุ่นเคืองกันเอาไว้ในบ้าน เช่น ถ้วยแตกร้าวที่เป็นของโปรดคนรักซึ่งยังคงหาว่าตนทำมันพังทั้งที่ตนไม่ได้ทำอะไรผิดเลย การดำรงอยู่ของถ้วยแตกร้าวนั้นสะท้อนว่าฝ่ายที่ถูกกล่าวหาดูเหมือนยังมีอะไรจะบอก และเธอยังคงรู้สึกไม่ปลอดภัยในบ้านของตัวเอง

มีคนที่กองข้าวของรุงรังไว้บนฝั่งหนึ่งของเตียง มากเสียจนขวางทางเปิดประตูห้องนอน เมื่อถูกถาม เขาสะเทือนใจมาก เตียงนอนนั้นเชื่อมโยงกับสัมพันธ์รักและความชิดใกล้ เขาบอกว่าคนรักเก่าทำลายเขา และเขาหวาดกลัวที่จะมีความสัมพันธ์รักโรแมนติกอีก 

น่าสนใจว่าเราสัมพันธ์กับวัตถุต่างๆ อย่างไร? ในบ้านเรามีอะไรบ้าง เราวางอะไรไว้ตรงไหน, ผนังห้องนอนเราแขวนรูปอะไรไว้บ้าง? หรือแม้แต่รูปแบบการกินข้าว ใครบางคนมักตักของกินมีราคาที่ตัวเองชอบให้คนอื่นกินไปก่อน หรือบางคนรีบกินของที่ชอบเยอะๆ ไปก่อน หรือบ้างก็เก็บของชอบไว้ให้ตัวเองกินทีหลัง แล้วบางทีก็เลยอดกิน, วิถีที่เราเล่นของเล่นหรือเล่นกับเพื่อนเล่นในวัยเด็กเป็นอย่างไร ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ มันเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นๆ ในชีวิตหรือไม่ อย่างไร?

มันกำลังส่งเสริมเรา หรือมันกำลังขัดขวางความไหลลื่นงอกงามของชีวิตเรา?

3.

ลองมองไปรอบๆ อีกทีสิ วัตถุที่เราสัมพันธ์ด้วยกำลังส่งสารอะไรแก่เรา? 

มันมีที่มาที่ไปอย่างไร?

‘รูปแบบ’ ที่เราสัมพันธ์กับของสิ่งหนึ่ง กำลังเกิดซ้ำในมิติอื่นๆ ของชีวิตด้วยหรือไม่?

อ้างอิง

Listen to Monster in Your Closet โดย Star Hansen

Tags:

ความสัมพันธ์การใช้ชีวิตรูปแบบสิ่งของ

Author:

illustrator

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา

ชอบอยู่กับต้นไม้ใบไม้ต่างๆ ผืนน้ำ เที่ยวไปในโบราณสถาน และเรียบเรียงสิ่งที่อยู่ในเงามืด เราเองยังต้องเรียนรู้และขัดเกลาอะไรอีกมาก รู้สึกขอบคุณที่ให้โอกาสเราได้ฟังเรื่องราวของทุกคนนะ (Line ID: patrasuwan)

Illustrator:

illustrator

กรองพร ทององอาจ

Graphic Designer & Illustrator Instagram: @monkrongpin

Related Posts

  • Dear ParentsMovie
    Stutz: เปิดอกสื่อสารออกไป ให้หัวใจได้บำบัด

    เรื่อง พิมพ์พาพ์

  • Book
    แผลลึกหัวใจสลาย : ชีวิตสั้น..แต่ขอให้รักนั้นยืนยาว

    เรื่อง สิทธิพงศ์ อุรุวาทิน

  • How to enjoy lifeRelationship
    ไม่โสดก็เหงาเป็น

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • How to get along with teenager
    จิตวิทยาวัยรุ่น: ความสัมพันธ์(ความสับสนยุ่งเหยิง)วัยรุ่น กับ หมอโอ๋ เลี้ยงลูกนอกบ้าน

    เรื่อง กิตติรัตน์ ปลื้มจิตร ภาพ จิตติมา หลักบุญ

  • Relationship
    Attachment Theory: เหตุใดเราต้องการอยู่ใกล้คนรักตลอดเวลา?

    เรื่อง พงศ์มนัส บุศยประทีป ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel