Skip to content
ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์
  • Creative Learning
    Life Long LearningUnique SchoolEveryone can be an EducatorUnique TeacherCreative learning
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    21st Century skillsEducation trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์
How to enjoy life
20 April 2022

“จริงๆ ตอนนั้นก็ดีนะ” กับดักจิตใจรสขมปร่าจากอดีตอันแสนหวาน

เรื่อง จณิสตา ธนาธรชัย ภาพ ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

  • ถ้าย้อนกลับไปตอนนั้นได้ก็คงดี… ประโยคนี้อาจผุดขึ้นในหัวของเราในตอนที่กำลังหวนย้อนวันวานนึกถึงอดีตที่น่าจดจำ ความสดใสตอนเด็กๆ ความสนุกสนานในช่วงวัยรุ่น แค่คิดก็อยากจะย้อนๆ กลับไปสนุกสุดเหวี่ยงให้มันจบๆ เรื่อง อยากจะหนีจากปัจจุบันขณะที่เต็มไปด้วยความเครียดและภาระหนักอึ้ง
  • ในคราแรก การหวนนึกถึงอดีตอันหอมหวานก็ดูจะเป็นเรื่องที่ไม่แย่ เพราะการแอบนั่งฝันกลางวันแบบนี้นั้นเป็นเรื่องธรรมชาติที่ใครๆ ก็ทำกัน แถมยังเป็นเหมือนยาชั้นดีที่ช่วยให้เรามีกำลังใจในการใช้ชีวิตต่อไปในวันที่หัวใจอ่อนล้า
  • แต่เมื่อนานวันเข้า เราอาจเริ่มตั้งคำถามว่าทำไมชีวิตของเรามาถึงจุดนี้ได้ ทั้งที่ตอนนั้นอะไรๆ ก็ดูจะเป็นใจดูจะไปได้สวย ความไม่พอใจกับความเป็นอยู่ในปัจจุบันจะทำให้เราเริ่มเปรียบเทียบตัวเราตอนนี้กับในอดีต และหากเราเริ่มคิดแบบนี้ซ้ำๆ เราก็มีโอกาสเข้าข่ายเสี่ยงที่จะมีสภาวะซึมเศร้าได้

ย้อนกลับไปช่วงห้าถึงสิบปีก่อนหน้านี้ คำว่า Nostalgia (การหวนนึกถึงอดีต) ได้เริ่มแพร่หลายและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางสำหรับคนไทย เราเริ่มใช้คำคำนี้ในบริบทต่างๆ ที่แสดงถึงการหวนนึกถึงความทรงจำสีจางแสนหวาน ช่วงเวลาแห่งความสุขที่ทำให้อบอุ่นใจ 

คำว่า Nostalgia ถูกบัญญัติขึ้นโดยนายแพทย์ทหารชาวสวิตเซอร์แลนด์ Johannes Hofer โดยในแรกเริ่มเดิมที สภาวะนี้ถูกมองว่าเป็นอาการทางประสาท เนื่องจากอาการหวนนึกถึงอดีตนั้นในช่วงเวลานั้นมักพบในทหารซึ่งส่วนมากเป็นคนที่พลัดถิ่น (ถูกมองว่ามีอาการร่วมกันกับ Homesick) ในเวลาต่อมา Nostalgia ถูกพบในวงกว้างมากขึ้น อาจกล่าวได้ว่าพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย ทุกช่วงอายุ แม้กระทั่งเด็กอายุ 7 ขวบที่นึกถึงความทรงจำในวันที่ไปเที่ยวกับครอบครัว 

การคิดถึงอดีตตามที่เรารับรู้มาและเข้าใจอาจมีความหมายในเชิงบวก เสน่ห์ของนอสทัลเจียคือความปลอดภัย เพราะเหตุการณ์ในความทรงจำนั้นได้ผ่านไปแล้ว เราไม่จำเป็นต้องไปทำอะไรกับมันอีกแล้ว นอกจากนึกถึงและไตร่ตรอง เหมือนกับหนังสือหรือภาพยนตร์ที่เราเคยดูมาก่อนและรู้ว่ามันจบลงอย่างไรและย้อนกลับมาดูอีกเพื่อวิเคราะห์ทบทวนหรือเพื่อความสบายใจ 

หลายคนอาจใช้ Nostalgia เป็นเหมือนเครื่องย้อนเวลา พาตัวเองกลับไปในช่วงเวลาที่แสนสุขสันต์ ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ Nostalgia มีความเย้ายวนชวนฝันมากขึ้น แต่เหตุผลอะไรที่ทำให้การหวนคิดถึงอดีตเป็นเรื่องขมขื่น ในเมื่อเราแค่นึกถึงความทรงจำสุขที่เคยเกิดขึ้น เรามาทำความเข้าใจกับอดีตรสหวานปนขมนี้กัน 

ดาบสองคมของ Nostalgia 

Nostalgia เป็นอาการประหลาด ในขณะที่เรานึกถึงอดีตที่มีความสุข เราก็รู้สึกขมขื่นที่ไม่สามารถฉกฉวยเอาช่วงเวลาเหล่านั้นไว้ให้คงอยู่ตลอดไปได้จริงๆ เราอาจมีความสุขและมีกำลังใจที่จะใช้ชีวิตต่อไปได้ แต่ในอีกทางหนึ่ง สภาวะนี้ก็อาจทำให้เรารู้สึกสิ้นหวังกับทางเลือกที่ทำให้ปัจจุบันของเราไม่สุขสันต์เท่าครั้งวันวาน ทำให้เรารู้สึกอาวรณ์อดีต เพราะรู้ว่าไม่สามารถย้อนกลับไปสู่ช่วงเวลาที่ดีเหล่านั้นได้อีกแล้ว แย่ไปกว่านั้นคือเราอาจเพิกเฉยต่อความสุขของตัวเองในปัจจุบันไปด้วย แม้ว่าในอนาคตข้างหน้า วันนี้ก็จะกลายเป็นอดีตเหมือนกัน 

“ฉันหวังว่ามันจะมีวิธีที่เราจะได้รู้ว่าเราได้ใช้ช่วงเวลาที่แสนสุขสันต์นั้นก่อนที่จะต้องทิ้งความทรงจำพวกนั้นไปจริงๆ” 

คำพูดในข้างต้นมาจากตัวละคร Andy Bernard จากซีรีส์เรื่อง The Office ซึ่งตรงกับความรู้สึกของผู้คนจำนวนมาก ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม คนเรามักจะรับรู้ว่าอดีตของเราดีกว่าปัจจุบันของตัวเอง แต่ความจริงแล้วมันไม่ได้เป็นแบบนั้น 

มนุษย์เรามักมองข้ามความเจ็บปวดที่ได้พบเจอในอดีตและเชื่อมั่นในความทรงจำที่เลือนราง เป็นปกติที่เมื่อกาลเวลาผ่านไป ความทรงจำก็จะเป็นแค่ภาพในอดีตที่ไม่สมบูรณ์ ชิ้นส่วนที่ยังคงอยู่มักจะไม่ถูกต้องทั้งหมดเช่นกัน แต่สมองของเราก็มีแนวโน้มที่จะทำให้ความทรงจำนุ่มนวลและน่าดึงดูดใจมากกว่าเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริง

ตัวอย่างเช่น ย้อนกลับไปในสมัยเรียน ตอนที่จับกลุ่มนั่งคุยเล่นกับเพื่อนๆ หลังเลิก มีลมยามเย็นที่พัดพาและอบอวลไปด้วยกลิ่นของฝน เคล้าเสียงหัวเราะของเพื่อนๆ เราอาจคิดว่า “ถ้าตอนนี้ชีวิตเรียบง่ายเหมือนตอนนั้นก็คงจะดี” แต่เราอาจจำไม่ได้เลยว่าในช่วงเวลาเดียวกันนั้น เราอาจทะเลาะกับพ่อแม่เป็นประจำ อาจเจอกับความยากลำบากในการรักษาเกรดให้สูงพอที่จะเข้ามหาวิทยาลัยในฝัน อาจเจ็บปวดจากการอกหักครั้งแรก

อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะรู้สึกว่าแล้วมันผิดอะไรที่เราจะเลือกจดจำแค่ช่วงเวลาดีๆ คำตอบคือ ‘ไม่ผิด’ แต่การจมอยู่กับอดีตที่เราสร้างขึ้นใหม่ในอุดมคติของตัวเองนั้นจะทำให้เราเปรียบเทียบวันปัจจุบันกับอดีตอยู่เสมอ และไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข 

การหวนนึกถึงอดีตจะมีประโยชน์อะไรหากเรื่องที่เคยทำให้เรามีความสุขกลายเป็นเรื่องที่ทำให้เราร้องไห้

อาจกล่าวได้ว่า Nostalgia เป็นอารมณ์ที่ขมขื่น ด้านหนึ่งมันทำให้เราสบายใจ ทำให้เรารู้สึกรักและผูกพันเมื่อนึกถึงคนที่เรารักห่วงใยเราตลอดเวลาหรือช่วงเวลาในชีวิตที่เรารู้สึกว่าทุกอย่างดีพร้อมไปหมด แต่อีกด้าน เรากลับรู้สึกว่าเสียใจที่สิ่งเหล่านั้นจะหายไปในสักวัน และกลัวว่าเราจะสูญเสียและไม่มีวันได้สัมผัสเรื่องราวเหล่านั้นอีก และท้ายที่สุด ความคาดหวังเหล่านี้จะส่งผลต่อความทุกข์ทางอารมณ์และการใช้ชีวิตในอนาคตต่อไปได้ในที่สุด

คิดถึงได้แต่อย่าเสียใจ

ในฐานะมนุษย์ เราทุกคนต่างมีสัญชาตญาณตามธรรมชาติคือการเปรียบเทียบปัจจุบันกับอดีตเพื่อวางแผนสำหรับอนาคต เพราะอนาคตคือความไม่แน่นอนและเป็นสิ่งที่ทำให้เรากังวล และมนุษย์เรามีความเชื่อว่าความไม่แน่นอนนั้นเป็นอันตราย Nostalgia จึงถือเป็นเรื่องปกติสามัญธรรมดา เรานึกถึงอดีตแสนหวานได้แต่ให้เป็นครั้งคราว การคิดถึงซ้ำไปซ้ำมาครั้งแล้วครั้งเล่ามีแต่จะทำให้เรายิ่งจมลงไปอดีตที่เรากลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้อีกแล้ว

ช่วงเวลาแห่งความคิดถึงอาจเป็นเครื่องย้ำเตือนถึงสิ่งที่มีความหมายต่อเรา อาจย้ำให้เราจำได้ว่าเราเคยเป็นใคร เรากำลังเป็นใคร และเราต้องการจะเป็นใคร 

หากเราเข้าใจ Nostalgia ได้ เราจะเข้าใจว่าความคิดถึงนั้นเป็นเพียงสิ่งชั่วคราว และบางครั้งก็ช่างไร้ประโยชน์ 

แม้ว่าเราอาจรู้สึกว่าเราไม่สามารถกลับไปในอดีตนั้นหรือสร้างมันขึ้นมาใหม่ได้อีก แต่ในความจริง เราไม่จำเป็นต้องอาลัยอาวรณ์กับอดีตที่จะไม่ย้อนมาอีกแล้ว เราสามารถที่จะสร้างความทรงจำใหม่ๆ มาแทนที่ได้

มันอาจมีช่วงเวลาที่เรารู้สึกล้มเหลว ไร้จุดหมายในชีวิต เมื่อไม่มีทางข้างหน้าให้มองไปเราจึงเลือกที่จะมองย้อนกลับมาในอดีต มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเส้นเวลาต่อเนื่อง เรามักจะใช้ประโยชน์จากความทรงจำในอดีตเพื่อความสบายใจเพื่อทำให้จิตใจที่วิตกกังวลสงบลง และเตือนเราว่าเรามีคุณค่าที่แท้จริง

แต่เราไม่ควรจมอยู่กับอดีต จมอยู่ในความทรงจำสีจางจนหลงลืมตัวตนของตัวเองไป เราสามารถชื่นชมอดีตที่สวยงามได้ แต่เราต้องให้ความสนใจกับปัจจุบันด้วย 

จำไว้ว่าเราจะไม่สามารถเริ่มต้นชีวิตบทใหม่ได้ ถ้าเรายังย่ำอยู่กับบทเดิม อย่าปล่อยให้ตัวเองติดอยู่ในวังวนของ Nostalgia เกี่ยวกับอดีตที่จะทำให้รู้สึกผิดหวังและพ่ายแพ้

ชีวิตของเราไม่ได้สมบูรณ์แบบ ไม่มีชีวิตของใครที่สมบูรณ์แบบ แต่เราสามารถภูมิใจกับสิ่งที่มีในตอนนี้ได้ ไม่ว่าจะดีหรือร้าย อะไรก็ตามที่ชีวิตเลือกให้ หรือเราเลือกมาด้วยตัวเอง การสูญเสียผู้คนรอบตัว เวลา และเสี้ยวส่วนต่างๆ ของชีวิต อาจใหญ่บ้างเล็กบ้าง อาจทำให้บางส่วนของเราบิดเบี้ยวหรือเว้าแหว่งไปบ้าง แต่ทุกความสุขและความทุกข์ที่เกิดขึ้นได้หล่อหลอมให้เราเป็นเราอย่างในทุกวันนี้ ความทรงจำในอดีตเป็นเพียงอีกหนึ่งเครื่องย้ำเตือนว่าเราเปลี่ยนไปอย่างไรและกลายเป็นตัวตนแบบในทุกวันนี้ได้อย่างไร

Nostalgia แสดงถึงความงดงามของชีวิตในอดีต อย่างไรก็ตาม เราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าความทรงจำของเรานั้นแม่นยำแค่ไหน เพราะความรู้สึกดีๆ ที่มีต่ออดีตสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราจดจำสิ่งต่างๆ ได้ 

ดังนั้น ความคิดถึงจึงเป็นอุดมคติของชีวิตที่เราทำได้เพียงชื่นชมเท่านั้น อย่าคิดถึงอดีตมากเกินไป อย่ายึดติด ทำวันนี้ให้ดีในแบบที่เราอยากให้เป็น เพราะท้ายที่สุดแล้ว วันนี้ของเราก็จะกลายเป็นอดีตแสนหวานต่อไปในอนาคต

อ้างอิง

Those Happy Golden Years: Coping with Memories That Bring More Pain Than Peace

Nostalgia – is Missing the Past Good or Bad for You?

Does Nostalgia Fuel Depression?

Why Do I Miss My Childhood? Understanding Childhood Nostalgia Depression

Why Does Nostalgia Make You Sad Sometimes?

Tags:

ปม(trauma)Nostalgiaความทรงจำในอดีต

Author:

illustrator

จณิสตา ธนาธรชัย

นัก (ทดลอง) เขียนธรรมดาและนักอ่านวรรณกรรม(ฝึกหัด) ชื่นชอบหนังแอคชั่น เรื่องลี้ลับ และการ์ตูนslam dunk

Illustrator:

illustrator

ภาณุพงศ์ สุวรรณจุฑามณี

Related Posts

  • Myth/Life/Crisis
    กุลา: ด้อยค่าคนที่ตนอิจฉาในขณะที่เลียนแบบไปด้วย

    เรื่อง ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา ภาพ กรองพร ทององอาจ

  • Family Psychology
    เพราะไม่ว่าเป็นลูกคนที่เท่าไหร่ เราก็ต้องการความรักและความสนใจจากพ่อแม่เหมือนกัน

    เรื่อง The Potential ภาพ PHAR

  • Healing the traumaRelationship
    การตายเสมือนจริงของพ่อ ที่ทำให้ก้าวข้ามความเกลียด กลับไปสำรวจพ่อในฐานะเด็กน้อยคนหนึ่ง

    เรื่อง The Potentialมาแชร์ ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Healing the traumaMovie
    HONEY BOY: ใครๆ ก็อยากเป็นพ่อที่ดี แต่พ่อก็เป็นคนหนึ่งที่ยังเจ็บปวดเหมือนกัน

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Healing the trauma
    ปมฝังลึกที่หลงลืมไป อาจไม่เคยสูญหายและยังมีผลกับเราอยู่?

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่าง

  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel