Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Learning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trend
  • Life
    Healing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/CrisisLife classroom
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
21st Century skills
23 November 2018

เรียน ‘วิชาเงียบ’ เพื่อให้เด็กๆ ฟังเสียงตัวเองชัดขึ้น

เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • ผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซาธ์แบงค์ อังกฤษ พบว่า ผลการสอบของนักเรียนจะลดลงมากถึง 1 ใน 3 หากพวกเขาเรียนในห้องเรียนที่มีเสียงดัง
  • เรียนรู้ได้ลึกและกว้างขวาง-ไม่ต้องเร่งตัวเองเกินไป-สร้างวินัยพร้อมดึงสมาธิ คือ 3 อย่างที่เด็กๆ จะได้จากช่วงเวลาของความเงียบ
  • ครูเอง ถ้าปล่อยให้นักเรียนโต้เถียง และทำหน้าที่แค่คอยสังเกตการณ์ วิธีนี้จะทำให้ครูสามารถฟังนักเรียนได้อย่างลึกซึ้ง

ผู้ใหญ่มักเรียกร้องให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง กล้าคิดกล้าแสดงออก แต่คำถามคือพวกเขาจะทำได้อย่างไรหากไม่มีเวลาหยุดนิ่งและทบทวนเสียงที่ดังอยู่ในหัวของตัวเอง ท่ามกลางสิ่งรบกวนแวดล้อมที่พร้อมจะทำให้เขาเสียสมาธิได้ทุกวินาที

ความเงียบคือคำตอบ และหลายๆ โรงเรียนในต่างประเทศได้เริ่มบรรจุวิชาเงียบลงในหลักสูตรแล้ว

ดร.เฮเลน ลีส์ (Helen Lees) จากวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยสเตอร์ลิง บอกว่า การสอนให้เด็กๆ รู้จักประโยชน์ของความเงียบในบรรยากาศปลอดความตึงเครียด จะสร้างโอกาสให้พวกเขาใช้สมาธิและสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้มา ซึ่งจะส่งผลต่อความสนใจและพฤติกรรมของนักเรียนอย่างมาก

เพิ่มความเงียบในห้องเรียน

ผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซาธ์แบงค์และสถาบันการศึกษาแห่งกรุงลอนดอนพบว่า ผลการสอบของนักเรียนจะลดลงมากถึงหนึ่งในสามหากพวกเขาเรียนในห้องเรียนที่มีเสียงดัง

ดร.ลีส์ ยังบอกว่า ความเงียบมีโครงสร้างที่กระตุ้นให้เกิดวินัยภายในและส่งผลให้สามารถคิดอย่างอิสระได้มากขึ้น เพราะบ่อยครั้ง ความเงียบถูกอ้างถึงในฐานะ การสะท้อนความคิดอย่างลึกซึ้ง (contemplative reflection) เป็นเวลาที่ใช้คิดถึงความหมายของบทเรียนในชั้นเรียน หรือประสบการณ์นอกกำแพงโรงเรียน ช่วยให้นักเรียนเปิดกว้างกับการเรียนได้ลึกซึ้งยิ่งกว่าเดิม

“เมื่อเราใช้แนวทางการวิจัยเกี่ยวกับการตั้งโรงเรียนและนำมารวมกัน สิ่งที่เราเห็นคือการศึกษาที่ปราศจากความเงียบไม่ค่อยให้ผลดีนัก ทั้งในแง่การเรียนรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความเชื่อมั่นในตนเอง รวมถึงสุขภาพของนักเรียนด้วย”

แต่ความเงียบ ไม่ใช่แค่การออกคำสั่งให้ “อยู่เงียบๆ” เพราะการใช้ความเงียบลงโทษจะกลายเป็นการหยุดยั้งความสามารถตามธรรมชาติของเด็กๆ ไปทันที – ลีส์ เพิ่มเติม

วิชาเงียบของนักเรียน

นักเรียนได้อะไรจากช่วงเวลาของความเงียบบ้าง

• เรียนรู้ได้ลึกและกว้างขวาง ให้นักเรียนนั่งโดยไม่มีสิ่งรบกวนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการซึมซับและจดจำเนื้อหา ประมวลผลความรู้สึกและความคิดจากเพื่อนๆ และพิจารณาความสำคัญของมุมมองอื่นได้ เมื่อมีเวลาให้คิดมากขึ้น นักเรียนจะสามารถพิจารณาเนื้อหาในวิชาประวัติศาสตร์ โดยคิดถึงผลจากเหตุการณ์ในอดีตที่กระทบต่อชีวิตและชุมชนของพวกเขาในปัจจุบัน

• ไม่ต้องเร่งตัวเองเกินไป ปกติแล้วนักเรียนต้องตามให้ทันครู เพื่อนร่วมชั้น และหลักสูตรที่ทั้งเร็วหรือช้ากว่าระดับความเร็วของพวกเขา การบ้าน กีฬา การสอบ กระทั่งเวลาพักเที่ยงยังมีเส้นตายและกำหนดเวลา ช่วงเวลาหยุดพักใคร่ครวญจะทำให้เด็กๆ มีโอกาสตามทันและประมวลผลสิ่งที่ทำไปตามจังหวะของตัวเอง

• สร้างวินัยและดึงสมาธิ ความเงียบทำให้ได้ยินเสียงลมหายใจของตัวเอง กระตุ้นให้นักเรียนฝึกมีสมาธิและควบคุมตัวเองไม่ให้พูดเรื่อยเปื่อยในห้อง รวมถึงพัฒนาการสื่อสารให้รอบคอบตั้งใจ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานเป็นทีม กระตุ้นให้เกิดการอภิปรายถกเถียงกันในสังคมด้วย

วิชาเงียบสร้างความเป็นหนึ่งเดียว

“ความเงียบเป็นหนึ่งในของขวัญยิ่งใหญ่ที่สุดที่เรามี” เฟรด โรเจอร์ส (Fred Rogers) เคยว่าไว้ เขาเป็นพิธีกรรายการทีวีสำหรับเด็ก Mr.Rogers’ Neighborhood ซึ่งออกอากาศมาตั้งแต่ปี 1967-2001

ไม่ใช่แค่เด็กๆ ที่จะได้ประโยชน์จากวิชาเงียบ ครูเองสามารถรื่นรมย์กับความเงียบในแต่ละวันได้เช่นกัน โดยปล่อยให้นักเรียนโต้เถียงและคอยนำบทสนทนาขณะที่ครูคอยสังเกตการณ์ วิธีนี้จะทำให้ครูสามารถฟังนักเรียนได้อย่างลึกซึ้งและใส่ใจต่อความสนุก ความกลัว และความกังวลของนักเรียน

ดังนั้น ไม่ใช่แค่การพูด ออกคำสั่ง จะช่วยให้ครูสื่อสารกับนักเรียนได้ แต่ความเงียบยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียนด้วย

นอกจากนี้ ความเงียบถือเป็นโอกาสในทุกความสัมพันธ์ ทั้งที่โรงเรียน ห้องเรียน บ้าน หรือชุมชน การสะท้อนความเงียบร่วมกันสามารถสร้างความเข้าใจและความเป็นหนึ่งเดียวได้อย่างลึกซึ้ง ผ่านการรับฟังความคิดเห็นและความเชื่อของคนอื่นอย่างตั้งใจ โดยไม่คาดหวังหรือโต้แย้งทันที

ช่องว่างระหว่างการฟังอย่างเงียบสงบนั้นทำให้เข้าใจแนวคิด มุมมอง และประสบการณ์ที่อาจแตกต่างไปจากของตัวเอง สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ ความกลัวที่หายไป ความเข้าใจที่ตามมา และสามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาความขัดแย้งได้

อย่างไรก็ตาม การสร้างชุมชนและวัฒนธรรมที่เหมาะสมจะสะท้อนความเงียบได้ต้องใช้การฝึกฝน ความอดทน และเวลา

อ้างอิง:
The Value of Silence in Schools
Silence is golden: how keeping quiet in the classroom can boost results

Tags:

ครูเทคนิคการสอน4Csการตั้งแกน(Centering)

Author:

illustrator

ลีน่าร์ กาซอ

ประชากรชาวฟรีแลนซ์ที่เพลิดเพลินกับเรื่องสยองกับของเผ็ด และเป็นมนุษย์แม่ที่ศึกษาจิตวิทยาเด็กอย่างเอาเป็นเอาตาย

Related Posts

  • 21st Century skills
    สังคมดี เพราะเด็กรู้คิดและคิดดี มีคุณครูเป็นผู้ช่วยคนสำคัญ

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • 21st Century skills
    เพราะสมองทำงานผ่านท่าทาง สัญชาตญาณวางใจการมองเห็นและได้ยิน เราจึงแตกหักกันง่ายๆ ในโลกโซเชียล

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • 21st Century skills
    4 คำถามเปลี่ยนทีมไม่เวิร์ค ให้กลายเป็นทีมเวิร์ค

    เรื่อง The Potential ภาพ BONALISA SMILE

  • 21st Century skills
    อย่าให้ใครว่ามั่ว เช็คให้ชัวร์ก่อนแชร์ FAKE NEWS

    เรื่อง The Potential ภาพ KHAE

  • 21st Century skills
    3 ห้องเรียนฝึกความคิดสร้างสรรค์ ที่ครูไม่ต้องอ่านตำราและเขียนกระดานหน้าห้อง

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel