Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Character building
7 June 2022

Love of Learning: ความรักที่จะทำให้การเรียนรู้ไม่ใช่เรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป

เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • ความรักการเรียนรู้งอกงามได้จากการส่งเสริมให้เด็กได้ทำในสิ่งที่พวกเขาสนใจ
  • ผู้ที่รักการเรียนรู้มักตื่นเต้นและรู้สึกดีเมื่อได้เรียนรู้ทักษะหรือความรู้ใหม่ๆ รวมไปถึงการพัฒนาทักษะหรือเติมเต็มความรู้ที่มีอยู่เดิม แม้ว่าบางครั้งต้องเผชิญหน้ากับเรื่องที่ยากหรือเป็นความท้าทายที่ไม่เคยเจอมาก่อน
  • ‘ความรักในการเรียนรู้’ ทำให้เด็กไม่ปิดกั้นตัวเองจากความรู้รอบตัวและผู้คนรอบข้าง ไม่ตัดขาดตัวเองจากสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ เป็นแรงจูงใจให้พวกเขาแสวงหาและรู้สึกตื่นเต้นกับการเรียนรู้ไปตลอดชีวิต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพในอนาคต

“การเรียนรู้แบบไหนถึงจะเหมาะกับเด็กและเยาวชนในปัจจุบัน?”

ท่ามกลางการตั้งคำถามที่ดูเหมือนต้องการหาคำตอบที่ถูกต้องเพียงหนึ่งเดียว

จะดีกว่าไหมหากเด็กและเยาวชนสามารถสร้างการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ เมื่อพวกเขามี ‘ความรักในการเรียนรู้’ (Love of Learning)

จุดเริ่มต้นของความรักการเรียนรู้

โรงเรียนเป็นสถานที่สำคัญที่เปิดประตูรับเด็กๆ เข้าสู่การเรียนรู้เมื่อถึงวัยที่เหมาะสม นักวิชาการด้านการศึกษาทั่วโลกต่างเห็นพ้องกันว่า การศึกษาที่มีคุณภาพในปัจจุบันต้องผลักดันให้โรงเรียนไม่เป็นเพียงสถานที่ให้ความรู้ แต่มีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังและสร้างรากฐานทางความคิดและทักษะชีวิต เพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่พึ่งพาตนเองได้ 

‘ความรักในการเรียนรู้’ เป็นคุณลักษณะเชิงบวกอย่างหนึ่งที่สำคัญ ทำให้เด็กไม่ปิดกั้นตัวเองจากความรู้รอบตัวและผู้คนรอบข้าง ไม่ตัดขาดตัวเองจากสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ เป็นแรงจูงใจให้พวกเขาแสวงหาและรู้สึกตื่นเต้นกับการเรียนรู้ไปตลอดชีวิต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพในอนาคต 

หากผู้ปกครองและครูสามารถปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะข้อนี้ได้ การรักการเรียนรู้จะช่วยปลดปล่อย เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการค้นพบตัวเองของผู้เรียน 

พัฒนาความรัก (การเรียนรู้) จากความสนใจใกล้ตัว

ความรักการเรียนรู้งอกงามได้จากการส่งเสริมให้เด็กได้ทำในสิ่งที่พวกเขาสนใจ ความรักในการเรียนรู้ คือ ความหลงใหลและความปรารถนาที่จะเรียนรู้ ผู้ที่รักการเรียนรู้มักตื่นเต้นและรู้สึกดีเมื่อได้เรียนรู้ทักษะหรือความรู้ใหม่ๆ รวมไปถึงการพัฒนาทักษะหรือเติมเต็มความรู้ที่มีอยู่เดิม แม้ว่าบางครั้งต้องเผชิญหน้ากับเรื่องที่ยากหรือเป็นความท้าทายที่ไม่เคยเจอมาก่อน 

จากการศึกษา พบว่า คนเรามีสิ่งที่สนใจไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งอยู่แล้วในชีวิต เช่น บางคนไม่ชอบคณิตศาสตร์แต่สนใจประวัติศาสตร์ บางคนชอบแฟชั่น ชอบปลูกต้นไม้ ชอบการตกแต่งดัดแปลงวัตถุสิ่งของ ชอบกีฬาหรือเกม เป็นต้น 

ทั้งนี้ ‘ความรักในการเรียนรู้’ แตกต่างจาก ‘ความสงสัยใคร่รู้’ (curiosity)

‘ความสงสัยใคร่รู้’ เป็นแรงขับที่ทำให้คนๆ หนึ่งมีความพยายามในการค้นหาข้อมูลใหม่ แรงจูงใจมาจากความต้องการแสวงหา (explore) ความรู้ ขณะที่ ‘ความรักในการเรียนรู้’ เป็นความหลงใหลหรือความสนใจที่ทำให้คนๆ หนึ่งมีความต้องการรู้ (ความปรารถนาที่จะรู้) ในเรื่องๆ หนึ่งอย่างลึกซึ้งมากขึ้น โดยแรงจูงใจมีที่มาจากความต้องการขยายขอบเขต (expand) ความรู้จนมีความเชี่ยวชาญหรือรู้จริงในเรื่องนั้นๆ ในเด็กโตอาจมีแรงจูงใจจากความต้องการช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาบางอย่างที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตนเองให้ความสนใจอยู่ 

พฤติกรรมที่แสดงออกถึงการมีความรักในการเรียนรู้ ได้แก่

  • มีความรู้สึกเชิงบวกเมื่อได้เรียนรู้สิ่งใหม่
  • สามารถควบคุมตนเองและมีความเพียรพยายาม แม้ต้องเผชิญหน้ากับเรื่องที่ยากหรือท้าทาย และต้องลงมือทำซ้ำๆ เพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ ระหว่างการเรียนรู้ก็ไม่ย่อท้อ
  • มีความเป็นอิสระในตนเอง
  • ชอบความท้าทาย
  • เชื่อในความเป็นไปได้: ถึงแม้จะยังทำไม่ได้ตอนนี้ แต่คิดว่าสามารถทำได้ในอนาคต
  • มีไหวพริบ
  • เปิดใจต่อการสนับสนุนจากผู้อื่น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
  • ชอบลงมือทำในสิ่งที่ตนเองสนใจมากกว่าการกังวลถึงผลลัพธ์ทางการเรียน เช่น เกรด หรือ คะแนนประเมินผล

เด็กคนหนึ่งสามารถมีทั้งความสงสัยใคร่รู้และความรักการเรียนรู้ร่วมกันได้ อย่างไรก็ตาม หากผู้ปกครองและครูสามารถแยกแยะได้ว่าแรงจูงใจของลูกหรือเด็กคนหนึ่ง มีที่มาจากคุณลักษณะเด่นด้านใด จะทำให้สามารถสนับสนุนเด็กๆ ได้ถูกทิศทางโดยไม่ขัดขวางการเรียนรู้ของพวกเขา

การปลูกฝังความรักในการเรียนรู้

การปลูกฝังความรักในการเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากขาดการสนับสนุนจากผู้ปกครองและโรงเรียน รวมถึงการเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ อุปกรณ์และสภาพแวดล้อมรอบตัวที่เหมาะสม สำหรับโรงเรียนการจัดหลักสูตร แนวทางการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล ล้วนมีผลต่อการส่งเสริมและทำลายความรักในการเรียนรู้ของเด็ก 

งานวิจัยบางชิ้นระบุว่าความสนใจของเด็กที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะค่อยๆ ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะหากไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในเรื่องเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเมื่อเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษาที่ต้องแข่งขันในเชิงวิชาการมากขึ้นในระดับประถมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษา 

การเรียนเพื่อการแข่งขันสร้างความกดดันให้กับผู้เรียน และจะผลักไสให้ความสนใจหันเหจากการเรียนเชิงวิชาการไปสู่กิจกรรมอื่น เช่น การเล่นเกมหรือกีฬา ที่ทำให้รู้สึกเป็นอิสระมากขึ้น

จากการศึกษา พบว่า มนุษย์มีความรักการเรียนรู้และมีแนวโน้มอยากเป็นเจ้าของการเรียนรู้เมื่ออยู่ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้

  1. พวกเขาได้รับแรงจูงใจหรือเหตุผลที่น่าสนใจ และมีความหมายต่อพวกเขาเมื่อเรียนรู้สิ่งนั้น
  2. พวกเขามีทางเลือกในการลงมือทำให้การเรียนรู้นั้นน่าสนใจมากขึ้น โดยไม่ถูกบังคับ
  3. พวกเขาได้อยู่ในเครือข่ายทางสังคมที่ตนเองพึงพอใจ 

สำหรับเงื่อนไขที่ 3 จะเห็นได้ว่าแม้กระทั่งการเล่นเกมที่หากมองจากภายนอกเหมือนเป็นการใช้เวลาหมกหมุ่นอยู่กับตัวเอง แต่เกมที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่มักเป็นเกมที่เล่นกันเป็นกลุ่มเครือข่ายร่วมกันเป็นทีม โดยไม่จำเป็นต้องเจอหน้ากัน 

ทั้งนี้ การปรับสภาพแวดล้อมและบรรยากาศเพื่อสร้างการเรียนรู้เชิงบวก เป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้เด็กพร้อมเปิดใจและมีความรักการเรียนรู้นอกเหนือไปจากเรื่องที่ตนเองสนใจได้ เช่น

  • การสร้างห้องเรียนที่ปราศจากความกลัว (Fear-free) เพราะความกลัวและความกังวลใจจะทำให้สมองเปิดรับการเรียนรู้ได้แค่ในระดับผิวเผิน ในทางกลับกันห้องเรียนที่ปลอดภัยทำให้ผู้เรียนไม่กลัวการแสดงความคิดเห็นหรือการตอบคำถาม เป็นห้องเรียนที่ไม่มีคำว่า ‘ถูก’ หรือ ‘ผิด’ และช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับผู้เรียน
  • การชี้แจง/ อธิบายให้ผู้เรียนรู้ตั้งแต่ต้นว่ากำลังจะเรียนอะไร เพื่ออะไร และให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
  • การดึงสถานการณ์หรือกิจกรรมใกล้ตัวมาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ เชื่อมโยงกับสังคมรอบข้าง
  • การตั้งคำถามกระตุ้นคิด ต่อเนื่องจากสิ่งที่ผู้เรียนให้ความสนใจหรือกำลังทำอยู่

เช่น

  • มีเรื่องอะไรอีกบ้างที่ลูกอยากรู้?
  • มีเรื่องอะไรอีกบ้างที่ลูกกำลังสงสัยอยู่?
  • ลูกคิดว่ามันเกิดขึ้นได้ยังไง? ทำไมมันถึงเกิดขึ้น?

หากจัดกิจกรรมในชั้นเรียน ครูสามารถให้นักเรียนเขียนคำถามที่สงสัยหรืออยากรู้คำตอบแปะไว้บนบอร์ด ทั้งก่อนและหลังการเรียนรู้ในหัวข้อต่างๆ เพื่อกระตุ้นความต้องการเรียนรู้ร่วมกันในชั้นเรียน

เมื่อเด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และมีพื้นที่เรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจได้อย่างอิสระ พวกเขาจะสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองและกำกับการเรียนรู้ของตนเองได้ ส่งผลให้เกิดแรงจูงใจในเชิงบวกที่ส่งผลดีต่อการเรียนรู้ไปตลอดชีวิต

อ้างอิง

Peterson, C., & P., S. M. E. (2004). Character strengths and virtues a handbook and Classification. Oxford University Press.

Aguilar, E. (2016, April 20). Cultivating a love of learning. Edutopia. Retrieved June 4, 2022, from https://www.edutopia.org/blog/cultivating-love-learning-elena-aguilar

Tags:

ความสงสัยใคร่รู้(Curiosity)ความรักในการเรียนรู้ (Love of Learning)แรงจูงใจ

Author:

illustrator

วิภาวี เธียรลีลา

นักเขียนอิสระที่อยากเข้าใจวิถีชีวิตผู้คน เลยพาตัวเองไปใช้ชีวิตในลอนดอน ปักกิ่ง เซินเจิ้นและอเมริกา กินมังสวิรัติ อินกับโภชนาการ กำลังเรียนเป็นนักปรับพฤติกรรมสุนัขและชอบกินกาแฟใส่ฟองนม

Illustrator:

illustrator

ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

นักวาดภาพที่ใช้ชื่อเล่นว่า ววววิน facebook, ig : wawawawin

Related Posts

  • Everyone can be an Educator
    เรียนรู้จากธรรมชาติอย่างเป็นธรรมชาติ ให้เด็กเปล่งประกายด้วยแสงของตัวเอง: จูน-วรัญญา สุนทรแต โรงเรียนหิ่งห้อย

    เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง ภาพ ปริสุทธิ์

  • How to enjoy life
    เก็นจิ เก็นบุตซึ (Genchi Genbutsu):  ไปให้เห็นกับตา ค้นหาความจริงและไม่ด่วนตัดสิน

    เรื่อง ปริพนธ์ นำพบสันติ ภาพ ninaiscat

  • Everyone can be an EducatorSocial Issues
    ‘Saturday School’ วิชานอกห้องเรียนที่ทำให้เด็กกล้าฝันและเป็นเจ้าของการเรียนรู้: ยีราฟ-สรวิศ ไพบูลย์รัตนากร

    เรื่อง กนกพิชญ์ อุ่นคง

  • Early childhoodLearning Theory
    เด็กจะเล่นอย่างไรให้สนุกเเละคลายความเศร้าในใจได้ โดยมีผู้ใหญ่เป็นนักสังเกตการณ์

    เรื่อง ณัฐธนีย์ ลิ้มวัฒนาพันธ์ ภาพ เพชรลัดดา แก้วจีน

  • Character building
    เรากลายเป็นคนที่ ‘ไม่ตั้งคำถาม’ ไปตั้งแต่เมื่อไรกัน

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel