ถอดรหัสจากเกรต้า ธันเบิร์ก ทำไมเธอจึงลุกขึ้นมา act up และปลุกพลังมวลชนให้ลุกขึ้นมาต่อสู้เรื่องสิ่งแวดล้อมได้ทรงพลังขนาดนี้?
เหตุผลหนึ่งในนั้นก็เพราะเธอ(และเรา) รู้สึก เพราะมี passion กับมันอย่างลึกซึ้งและมากพอ และทั้งหมดนี้เป็นเรื่องเดียวกับประเด็นการเรียนรู้ อย่างตัดไม่ขาด
ข้อเท็จจริงทางประสาทสมองยืนยันว่า การเรียนรู้ที่ดีที่สุดเกิดขึ้นเมื่อสมองซีกหน้าทั้งสองข้าง ทั้งส่วนความรู้สึกและการคิดวิเคราะห์ ทำงานพร้อมกัน
ไม่ต้องให้งานวิจัยบอกก็ได้ แต่เคยมั้ยที่เรารู้สึกกับอะไรมากๆ ก็อยากเข้าไปค้นคว้ากับมัน, มี passion กับมัน, สงสัยกับมัน, บ้าบอไปกับมัน, ล้มลุกคลุกคลานไปกับมัน และเป็นเจ้า ‘ความรู้สึก’ นี่เองที่ทำให้เรารู้สึกอยากเป็นเจ้าของการเรียนรู้ด้วยตัวเอง อยากจะทำความรู้สึกกับมันโดยไม่ต้องมีใครบอก
ประเด็นนี้จริงจังขนาดที่ว่านำไปสู่การออกแบบการศึกษาทั่วโลกออกแบบสภาพแวดล้อมให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อย่างมีความรู้สึก เช่น การเรียนรู้แบบ STEAM ของฟินแลนด์, การสร้าง making space ในหลายประเทศเช่น สิงคโปร์, การใช้ design thinking ในการศึกษาเพื่อให้เด็กเข้าอกเข้าใจประเด็นนั้นอย่างลึกซึ้งแล้วจึงสร้างนวัตกรรมมาแก้ไขปัญหานั้น
เจ้าความรู้สึกนี่สำคัญนะ อย่าดึงมันออกจากการเรียนรู้เลย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ‘ความรู้สึก’ ส่วนผสมหลักเพื่อการเรียนรู้ ให้การมาโรงเรียนไม่ใช่แค่เรียนไปวันๆ