Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
21st Century skills
18 October 2018

3 สูตร(ไม่)สำเร็จของความคิดสร้างสรรค์ ทักษะสำคัญของปัจจุบันและอนาคต

เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • ‘ความสร้างสรรค์’ เป็นที่ต้องการอย่างสูงในทุกวงการ ไม่ว่านักเรียนนักศึกษาเรื่อยไปจนถึงระดับนักธุรกิจต่างก็อยากได้เวทมนต์ของความสร้างสรรค์มาไว้กับตัวทั้งนั้น
  • ที่สำคัญ ความคิดสร้างสรรค์สอนกันได้ แต่ไม่ใช่แค่นั่งอยู่ในห้องเรียนหรือทำแบบทดสอบตามมาตรฐานทั่วไป
  • นี่คือ 3 วิธีที่สามารถจุดประกายความสร้างสรรค์ให้ผู้คนตลอดหลายปีที่ผ่านมา

แวดวงอาชีพไหนต้องใช้ความสร้างสรรค์บ้าง? ศิลปิน นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ … ผิดถนัด เพราะตอนนี้ ‘ความสร้างสรรค์’ เป็นที่ต้องการอย่างสูงในทุกวงการ ไม่ว่านักเรียนนักศึกษาเรื่อยไปจนถึงระดับนักธุรกิจต่างก็อยากได้เวทมนต์ของความสร้างสรรค์มาไว้กับตัวทั้งนั้น

หลายคนมักคิดว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นบ็อกซ์เซ็ทของพรสวรรค์ที่ติดตัวมาแต่แรกและไม่อาจสอนให้กันได้ แต่แม้การสอนวิธีคิดหาทางออกใหม่ๆ อย่างสร้างสรรค์จะเป็นเรื่องยาก ข่าวดีคือเรายังสามารถปลูกฝังปัจจัยพื้นฐาน บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ความสร้างสรรค์ให้เติบโตตามแบบฉบับของแต่ละคน

ถามว่าความคิดสร้างสรรค์สอนกันได้ไหม – สอนได้ แต่ไม่ใช่แค่นั่งอยู่ในห้องเรียนหรือทำแบบทดสอบตามมาตรฐานทั่วไปหรอก

วิชาจุดประกายความสร้างสรรค์

การคิดนอกกรอบกลายเป็นคำจำกัดความที่ได้ยินกันบ่อยที่สุดหากถามหาความคิดสร้างสรรค์ แต่พื้นที่และวิธีของความสร้างสรรค์นั้นหลากหลายกว่านั้นมาก อย่างเช่น 3 วิธีนี้ที่สามารถจุดประกายความสร้างสรรค์ให้ผู้คนตลอดหลายปีที่ผ่านมา

1. โมเดลของ ออสบอร์น-พาร์นส (The Osborne-Parnes model) ได้รับความนิยมในการศึกษาและธุรกิจ แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอนคือ 1.ระบุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ 2.รวบรวมข้อมูล 3.แจกแจงปัญหา 4.สร้างไอเดียต่างๆ ขึ้น 5.ประเมินไอเดียเหล่านั้นอย่างละเอียด และ 6.สร้างแผนงานที่ทำให้ไอเดียเหล่านั้นเป็นรูปธรรม

2. ความคิดแบบอเนกนัยและเอกนัย (Diverge and converge) เป็นส่วนผสมอย่างลงตัวของจินตนาการและความรู้ที่เริ่มต้นด้วยการแตกแยกย่อยไอเดียก่อนจะขมวดไปสู่การแก้ปัญหาในตอนท้าย

3. สร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริม ข้อนี้เหมาะกับโรงเรียนอย่างมาก เพราะความคิดสร้างสรรค์เป็นหนึ่งในแนวทางของการทำงานร่วมกันกับคนอื่น การหนุนความสร้างสรรค์ด้วยสถานที่จะทำให้ไอเดียของนักเรียนผุดขึ้นมาเป็นว่าเล่น

Diverge and Converge คิดแบบสมองสองซีก

Diverge and Converge

“ผมไม่ได้ล้มเหลว ผมแค่พบวิธีที่ไม่ได้ผล 10,000 วิธีเท่านั้น”

คำพูดสุดฮิตของ โธมัส อัลวา เอดิสัน ที่ถูกพูดถึงจนทุกวันนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานกันระหว่างความคิดแบบอเนกนัย (Divergent Thinking) และความคิดแบบเอกนัย (Convergent Thinking) ที่ถูกหยิบมาพูดถึงบ่อยๆ ในตอนนี้ โดยผลการวิจัยล่าสุดได้เปิดเผยว่า นักแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์มักมีทักษะการคิดทั้งสองแบบควบคู่ไปพร้อมกัน

Divergent Thinking : คิดถึงสิ่งใหม่ๆ และมองหาความน่าจะเป็น

‘ความคิดแบบอเนกนัย’ ชื่อไทยของ Divergent Thinking เป็นทักษะในการแตกแยกย่อยไอเดียโดยการสำรวจทางออกที่เป็นไปได้หลายๆ ทางเพื่อหาหนึ่งทางที่แก้ปัญหาได้ การคิดแบบนี้มีอยู่ 4 มิติ คือ

originality

1.ความคิดริเริ่ม (Originality) มองเห็นความคิดใหม่ๆ และทางแก้ที่โดดเด่นเฉพาะตัว

Flexibility

2.ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) มองปัญหาจากหลากหลายมุมมองได้ในเวลาเดียวกัน

fluency

3.ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) มีไอเดียมหาศาลและไม่ซ้ำกันเลย

elaboration

4.ความคิดประณีต (Elaboration) ขยายความคิดอย่างละเอียดเป็นขั้นตอน อธิบายให้เห็นภาพชัดเจน

Convergent Thinking : ขมวดทุกความคิดพุ่งตรงไปแก้ปัญหา

‘ความคิดแบบเอกนัย’ หรือ Convergent Thinking เป็นทักษะในการคิดหาวิธีทำให้ไอเดียมากมายรวบยอดตรงไปสู่ทิศทางเดียวกัน กลายเป็นทางออกที่เป็นรูปธรรมและนำไปใช้แก้ปัญหาได้จริง – ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะต้องอาศัยส่วนผสมอีก 4 อย่าง

Subject-knowledge and Expertise

1.ความรู้และเชี่ยวชาญ (Subject-knowledge and Expertise) ยิ่งข้อมูลแน่นก็ยิ่งสร้างสรรค์ได้มาก

logic and reasoning

2.ตรรกะและการใช้เหตุผล (Logic and Reasoning) เหตุผลชัดเจนมั่นคง ช่วยให้การแก้ปัญหาเดินหน้าได้ดีขึ้น

focus and concentration

3.มีสมาธิ (Focus and Concentration) ไม่ไขว้เขวไปจากความคิดสร้างสรรค์ที่กำลังจะเกิดขึ้น

Intelligence

4.สติปัญญา (Intelligence) หนุนหลังทุกอย่างทั้งความมีเหตุผล การวางแผน การแก้ปัญหา การเรียนรู้ได้เร็ว เข้าใจแนวคิดซับซ้อน และเรียนรู้จากประสบการณ์

วิธีแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 101

โมเดลของ ออสบอร์น-พาร์นส ได้สรุปว่า การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (Creative Problem Solving) เริ่มต้นได้จากสองอย่างคือ ทุกคนมีความสร้างสรรค์ในทางใดทางหนึ่ง และทักษะความสร้างสรรค์สามารถเรียนรู้และพัฒนาขึ้นได้ ซึ่งหลักการของเขามีอยู่ว่า

  • สร้างสมดุลให้กับจินตนาการ (ความคิดแบบอเนกนัย) และความรู้ (ความคิดแบบเอกนัย)
  • มองปัญหาเป็นคำถาม เพราะเมื่อมองเป็นคำถามเราจะพยายามหาคำตอบ แต่ถ้ามองว่าปัญหายังไงก็คือปัญหา มันก็จะกลายเป็นความลำบากที่ทำให้เราเหนื่อยจะเผชิญหน้า
  • ไม่ตัดสิน เพราะการจ้องจะตัดสินกันทำให้ไอเดียต่างๆ หดหายไปหมด การตัดสินควรเกิดขึ้นครั้งสุดท้ายเมื่อไอเดียต่างๆ มาบรรจบเป็นทิศทางเดียวกันในตอนท้ายเท่านั้น
  • สนใจแค่ ‘ใช่’ กับ ‘แล้วไงต่อ’ มากกว่า ‘ไม่’ กับ ‘แต่’ เพราะยิ่ง ‘ไม่’ ก็ยิ่งตัดโอกาสจินตนาการมากขึ้นเท่านั้น
อ้างอิง:
What improves one’s creative abilities? Brief description of Divergent and Convergent thinking
Can creativity be taught?
What improves one’s creative abilities? Brief description of Divergent and Convergent thinking

Tags:

พ่อแม่คาแรกเตอร์(character building)21st Century skills4Csวิทยาศาสตร์สมอง

Author:

illustrator

ลีน่าร์ กาซอ

ประชากรชาวฟรีแลนซ์ที่เพลิดเพลินกับเรื่องสยองกับของเผ็ด และเป็นมนุษย์แม่ที่ศึกษาจิตวิทยาเด็กอย่างเอาเป็นเอาตาย

Related Posts

  • 21st Century skills
    ฮาวทู GET 4CS! ออกแบบกิจกรรมอย่างไรให้พัฒนาทักษะเด็ก

    เรื่อง The Potential

  • 21st Century skills
    กระตุ้นให้เด็กคิดวิเคราะห์ ครูต้องเลิกถามว่าเข้าใจไหมและไม่รีบเฉลยคำตอบ

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • 21st Century skills
    เป็นเด็กยิ่งต้อง ‘เถียง’ และเถียงอย่างสร้างสรรค์เพื่อเข้าใจตัวเองและคนอื่น

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • 21st Century skills
    4CS : สี่ทักษะการเรียนรู้ที่ควรมี ฝึกกันได้ และไม่ต้องใช้พรสวรรค์

    เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • 21st Century skills
    10 ทักษะมนุษย์ต้องมี และ AI ก็ทำไม่ได้ในปี 2020

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel