Skip to content
การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Education trendLearning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skills
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
EF (executive function)
28 August 2018

เราแค่ ‘รู้’ แต่เราไม่ ‘รู้สึก’ การศึกษาไทยจึงถูกทิ้งไว้กลางทาง : เดชรัต สุขกำเนิด

เรื่อง

เรื่อง: เดชรัต สุขกำเนิด

เราเคยได้ยินเพื่อนๆ คนไทย บ่นกันไหมครับ ว่าบ้านเรามีคนที่มีความรู้มากมาย ไปดูงานกันมาก็มากมาย แต่ทำไมปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะปัญหาของส่วนรวม จึงยังไม่ถูกแก้สักที

แน่ละว่าในชีวิตของเรา เราเผชิญปัญหาหลากหลายด้าน หลายๆ ครั้ง หลายปัญหา ที่เรามองข้ามและทนๆ กันไป (พร้อมกับบ่น) แต่หลายๆ ปัญหา เรากลับเลือกที่จะเผชิญหน้า และพยายามแก้ไขมัน

อะไรเป็นตัวกำหนดให้เรานิ่งเฉย หรือลงมือกับปัญหานั้นๆ? ตัวกำหนดนั้นคือ ‘ความรู้’ ที่เรามี ใช่หรือไม่?

ผมว่า ก็ไม่น่าจะใช่นะครับ เพราะหลายเรื่องเราเองก็มีความรู้ แต่เราก็ยังอาจจะเพิกเฉยกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

แล้วถ้างั้นอะไรคือตัวกำหนดให้เราต้อง ‘รู้สึก’ ทนไม่ไหว จนต้องลงมือแก้ปัญหาดังกล่าว?

ก็อย่างที่เห็นในคำถามนั่นแหละครับ สิ่งที่เป็นตัวกำหนดให้เราลุกขึ้นมาแก้ปัญหาก็คือ ‘ความรู้สึก’ ของเรานั่นเอง

หลายครั้ง ที่เรา ‘รู้สึก’ ว่าเราไม่อาจทนต่อปัญหานี้ได้แล้ว และเราต้องการแก้ไขปัญหาดังกล่าว แม้ว่า ในตอนแรก (ที่เรารู้สึก) เราอาจยังไม่มี ‘ความรู้’ ใดๆ เลย แต่ความรู้สึก นั่นแหละที่จะบอกหรือกระตุ้นให้เราไปหาความรู้มาให้ได้

ในทางตรงกันข้าม หลายๆ เรื่อง เรามีความรู้อยู่กับตัวเราแล้ว แต่เราไม่มี ‘ความรู้สึก’ ที่ชัดเจน หรือเข้มแข็ง เราก็ทิ้งปัญหานั้นไว้ ให้คงอยู่ควบคู่กับความรู้ของเรา

กล่าวในแง่นี้ ‘ความรู้สึก’ เป็นตัวบ่งบอกถึง ‘ความสำคัญ’ หรือ ‘ความหมาย’ ที่เรื่องๆ นั้นมีต่อตัวเรา หรือในทางกลับกัน ความหมายที่ตัวเรามีต่อเรื่องๆ นั้น

น่าเสียดาย ที่ในระบบการศึกษาไทยมักมอง ‘ความรู้สึก’ ว่าเป็นเรื่อง ‘ส่วนตัว’ บ้าง และไม่ใช่ ‘สิ่งที่จับต้องได้’ บ้าง ความรู้สึกจึงมีพื้นที่น้อยมากเมื่อเทียบกับ ‘ความรู้’ แม้ว่า ความรู้สึกนั่นเองที่จะทำให้ ‘ตัวเรา’ ลุกขึ้นมา ‘จับต้อง’ เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ แทนที่จะนิ่งเฉยเสีย ก็ตาม

ห้องเรียนของเราจึงมุ่งเน้นการดาวน์โหลด ‘ความรู้’ ลงไปให้ผู้เรียน โดยที่ผู้สอนอาจไม่มีเวลาหรือพื้นที่สำหรับการรับรู้และเรียนรู้ถึง ‘ความรู้สึก’ ของผู้เรียนแต่ละคนเลยก็ได้

แน่นอนว่า ‘ความรู้สึก’ ก็เหมือนกับ ‘ความรู้’ นั่นแหละ ความรู้สึกบางอย่างอาจช่วยให้เราแก้ไขปัญหาได้ แต่ความรู้สึกบางอย่าง นอกจากไม่ช่วยแล้วยังอาจทำให้ปัญหานั้นๆ รุนแรงมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ แม้ว่าแต่ละคนจะเผชิญหรือประสบกับสถานการณ์ปัญหาเดียวกัน เราก็อาจจะมีความรู้สึกแตกต่างกันก็เป็นได้

เราจึงจำเป็นต้องหยั่งรู้ ‘ความรู้สึก’ ของผู้เรียนแต่ละคน และนำ ‘ความรู้สึก’ เหล่านั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

เพราะฉะนั้น ความรู้สึกจึงเป็นปฏิบัติการร่วมกันของคนในสังคม ซึ่งการเรียนรู้ร่วมกันจะทำให้ผู้เรียนได้ทราบว่า เรื่อง/ประเด็นใดสำคัญหรือไม่สำคัญ? สำหรับใครบ้าง? เพราะอะไร? และความรู้สึกใดจะได้รับการยอมรับมากกว่าความรู้สึกอื่นๆ? ในสังคมแบบใด? เพราะอะไร?

แต่เราจะทำสิ่งนั้นไม่ได้เลย หากห้องเรียนของเราเต็มไปด้วยการดาวน์โหลด ‘ความรู้’ และการวัดผล ‘ความรู้’ โดยไม่เหลือพื้นที่ไว้สำหรับการรับรู้และการแลกเปลี่ยน ‘ความรู้สึก’

แล้วเราจะทำให้เกิด ‘ความรู้สึก’ และเรียนรู้เกี่ยวกับ ‘ความรู้สึก’ ได้อย่างไรในห้องเรียนของเรา

ดังที่ได้กล่าวไว้ว่า ‘ความรู้สึก’ ก็คือ สิ่งที่บ่งบอกว่า ปัญหานั้น หรือสิ่งนั้น มี ‘ความหมาย’ ต่อเราอย่างไร ความรู้สึกจึงเกิดจากการที่ตัวเราได้มีโอกาสที่จะมี ‘ปฏิสัมพันธ์’ กับปัญหานั้นหรือสิ่งนั้น แล้วเราจึงมาแปลหรือกำหนดขึ้นเป็น ‘ความหมาย’ ที่มีในใจของเราเอง

การสร้างปฏิสัมพันธ์หรือปฏิบัติการต่อสิ่งนั้นหรือสถานการณ์นั้นจึงเป็นตัวช่วยให้เรา และผู้เรียนของเราเกิด ‘ความรู้สึก’ ต่างๆ ขึ้นมาได้

การรับฟังเรื่องราวจากชีวิตจริง การชมภาพยนตร์ การเล่นเกมจำลองสถานการณ์ การใช้บทบาทสมมุติ การอภิปรายถกเถียงกัน การใช้ละคร ฯลฯ ล้วนเป็นสะพานเชื่อมที่ดีระหว่างตัวผู้เรียนกับเรื่องราวปัญหานั้นๆ

แต่สะพานเชื่อมแบบใด (หรือกลวิธีแบบใด) จะเหมาะสมสำหรับการทำให้เกิด ‘ความรู้สึก’ ในเรื่องนั้นๆ ย่อมขึ้นอยู่กับ (ก) ตัวผู้เรียน (เช่น เพศสภาพ วัย สาขาวิชา ความชอบ ความสนใจ เป็นต้น) (ข) เรื่องราวของสถานการณ์นั้นๆ (ค) ตัวสื่อการเรียนรู้ที่มี และ (ง) เงื่อนไขการเรียนรู้ที่มี (เช่น จำนวนผู้เรียน เวลา และสภาพแวดล้อมในห้องเรียน เป็นต้น)

แม้ว่า สะพานเชื่อมหรือการมีปฏิสัมพันธ์กับเรื่องราวๆ จะเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการสร้าง ‘ความรู้สึก’ นั้น แต่ ‘สะพานเชื่อม’ ก็ยังคงเป็นเพียงแค่สะพานเชื่อม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การเดินข้ามสะพานนั้น เพราะฉะนั้น ผู้สอนหรือผู้อำนวยการเรียนรู้จึงจำเป็นต้องรับรู้ว่า ผู้เรียนแต่ละคนเดินข้ามสะพานดังกล่าวหรือไม่ เดินข้ามไปสู่อะไร? (หรือมีความรู้สึกอย่างไร) ทำไมจึงมีความรู้สึกนั้น? และเมื่อมีความรู้สึกนั้นแล้ว ผู้เรียนจะทำอย่างไรต่อไป?

การรับรู้และการแลกเปลี่ยน ‘ความรู้สึก’ ของกันและกันจึงสำคัญมาก ผู้สอนจึงควรแบ่งสรรเวลาสำหรับการเรียนรู้เรื่องความรู้สึกต่างๆ ที่ผู้เรียนมีต่อเรื่องๆ นั้น โดยไม่กำหนดไว้เป็นหลักสูตรตายตัวว่า ผู้เรียนจะต้องมีความรู้สึกอย่างไร? แต่ควรให้ผู้เรียนได้รับรู้และเรียนรู้ในความรู้สึกของคนอื่นที่อาจแตกต่างออกไปจากตนด้วย

แน่ละว่า ไม่ใช่ทุกสะพานเชื่อมสู่ความรู้สึกจะทำงานได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้เรียนแต่ละคน เช่นเดียวกับการถ่ายทอดความรู้ ที่อาจไม่ได้ผลบ้างเช่นกัน เพียงแต่ในแง่ความรู้เราอาจนำ ‘การสอบ’ มาใช้เป็นกลไกบังคับให้ผู้เรียนขวนขวายหา ‘ความรู้’ กันเอาเอง เพื่อให้ผ่านการสอบไปให้ได้

แม้ว่าในที่สุดแล้ว ความรู้แบบนั้นอาจเป็น ‘ความรู้’ ที่ปราศจาก ‘ความรู้สึก’ ควบคู่มาด้วย และหลายครั้ง ความรู้ที่ปราศจากความรู้สึกก็ไม่มีความหมายใดสำหรับผู้เรียน นอกเหนือจากการสอบ นั่นทำให้ภายหลังจากการสอบผ่านไป ผู้เรียนก็อาจจะทิ้งความรู้ที่เคยมีไปด้วยนั่นเอง

ในทางตรงข้าม หากเราทำให้ ‘ความรู้’ นั่นมาควบคู่กับ ‘ความรู้สึก’ ความรู้สึกจะเป็นตัวกำกับว่า เรื่องนั้นมีความหมาย/ความสำคัญต่อผู้เรียน และ ‘ความรู้’ ที่จะนำมาใช้ ก็ย่อมจะมีความหมายต่อผู้เรียนไปในระยะยาว

ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องทำให้ห้องเรียนของเรา หรือการเรียนรู้ของเรา มีทั้งความรู้และความรู้สึกควบคู่กัน เราจึงต้องแบ่งเวลาสำหรับการมีปฏิสัมพันธ์หรือสะพานเชื่อมระหว่างผู้เรียนกับสิ่งที่กำลังเรียน เราจึงต้องออกแบบกระบวนการสำหรับการรับรู้ และการเรียนรู้ถึง ความรู้สึกของผู้เรียน (และของตัวผู้สอนเองด้วย)

Tags:

ความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ความเข้าอกเข้าใจ(empathy)เดชรัต สุขกำเนิดการศึกษา

Author:

Related Posts

  • Learning Theory
    กล้าพอไหม? ที่จะสร้างระเบียบโลกใหม่จากในโรงเรียน (Dare the school build a new social order?)

    เรื่อง อรรถพล ประภาสโนบล ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Creative learning
    ‘นอกกรอบ อิงลิช with teacher ดาว’ ห้องเรียนภาษาอังกฤษที่เปลี่ยนความกลัวเป็นความกล้า ด้วย Active Learning

    เรื่อง นฤมล ทับปาน ภาพ ณัฐวัตร์ สุพรรณกูล

  • Education trend
    การศึกษาจะไปทางไหนและปรับตัวอย่างไร เมื่อโควิด-19 ยังไม่จบลงง่ายๆ

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Learning Theory
    WILLING, FEELING, THINKING คือพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่วัย 0-21 ปี

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา ภาพ บัว คำดี

  • 21st Century skills
    SOCIAL AWARENESS ฝึกเด็กๆ เข้าไปถึงใจคนอื่นด้วยคำถาม “ถ้าเป็นเรา-เราจะรู้สึกยังไง”

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ บัว คำดี

  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel