Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
21st Century skills
17 October 2018

ถึงเวลาปลูก ‘ฟาร์มคิดสร้างสรรค์’ โลกต้องการเด็กตั้งคำถามมากกว่าทำตามคำสั่ง

เรื่อง บุญชนก ธรรมวงศา

  • ยุคสมัยแห่งโซเชียลมีเดีย เสรีนิยม ทุนนิยม และสุขนิยมทั้งหลาย ‘ความคิดสร้างสรรค์และการคิดเชิงนวัตกรรม’ จะเป็นเชื้อไฟที่ต่อยอดไอเดียเป็นสิ่งที่ทำประโยชน์ต่อเศรษฐกิจสังคม
  • การศึกษาที่สามารถสร้างพลเมืองตื่นรู้ ต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและซับซ้อนได้จะต้องมี Growth Mindset หรือความคิดที่พร้อมเปิดรับสิ่งใหม่และยืดหยุ่นในการรับมือกับปัญหา
  • สิ่งที่เราต้องมีให้สังคมตอนนี้หรือในอนาคตคือ ‘ทักษะ ไหวพริบ จริยธรรม’ ที่ต้องมาด้วยกันเสมอ

ไม่ใช่ว่าประเทศไทยกำลังต่อสู้กับระบบการศึกษาล้าหลังอยู่เพียงลำพัง หลายประเทศทางยุโรปก็กำลังเผชิญปัญหาระบบการศึกษาที่ผลิตนักเรียน นักศึกษาให้มีทักษะที่สังคมกำลังตามหาไม่ทันด้วยเช่นกัน

ถ้าสังคมต้องการเชื้อเพลิงชั้นดีมาขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและเป็นเครื่องมือหาทางแก้ปัญหาที่เปลี่ยนไปตามบริบทของยุคสมัยแห่งโซเชียลมีเดีย เสรีนิยม ทุนนิยม และสุขนิยมทั้งหลาย ความคิดสร้างสรรค์และการคิดเชิงนวัตกรรม (Creative and Innovation Thinking) ที่ต่อยอดไอเดียเป็นสิ่งที่ทำประโยชน์ต่อเศรษฐกิจสังคมก็คือเชื้อไฟที่ว่า

แต่ที่ผ่านมา หลักสูตรในระบบการศึกษาที่ผลิตบุคลากรป้อนสู่สังคม ไม่ได้มีพื้นที่ให้เด็กแสดงความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมการคิดนอกกรอบ หรือปลดปล่อยความหลงใหล (passion) กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และไม่ไกด์ให้เด็กรู้จักผสานเอาทักษะความสามารถ พลังความสร้างสรรค์ ความกล้า และ passion อันเปี่ยมล้นแห่งวัยเยาว์รวมเข้ากับความคิดเชิงธุรกิจอีกด้วย

เมื่อโซเชียลมีเดียครองโลก ก่อให้เกิดช่องทางอาชีพแปลกใหม่มากขึ้น ผู้คนสร้างรายได้จากเกม รีวิวสินค้า เป็น Youtuber หรือสร้างเพจในเฟสบุ๊ก เพียงคลิกเดียวเราสามารถเข้าถึงความหลากหลายสุดโต่งของวัฒนธรรม แฟชั่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ ฯลฯ ภาพไอดอลความสำเร็จที่เป็นซีอีโอบริษัทใหญ่ วิศวกร แพทย์ สถาปนิก ได้เปลี่ยนไปแล้ว เราโตมาในยุคเชิดชู อายุน้อยร้อยล้าน คนเก่ง คนกล้าที่ไม่จำเป็นต้องเรียนจบสูง แค่ ‘มองเห็นโอกาส’ และ ‘ต่อยอดเป็น’ ความสำเร็จก็ไม่ไกลเกินเอื้อมมือ

ระบบการศึกษาต้องพัฒนาทักษะและศักยภาพให้เหมาะสมกับสภาวะความเป็นไปในปัจจุบันเสียที

รีเบคกา เวท (Rebecca Weicht) ผู้ก่อตั้งสถาบัน Bantani Education ซึ่งทำงานร่วมกับองค์กรกำหนดนโยบาย, NGOs, และสถาบันการศึกษาต่างๆ ในยุโรป เพื่อขับเคลื่อนเรื่องการศึกษาเพื่อการเป็นผู้ประกอบการ(Entrepreneurial Education) ให้เป็นหลักสูตรภาคบังคับเพื่อผลิตทรัพยากรบุคคลที่มีทักษะสอดคล้องกับความต้องการของสังคมปัจจุบัน

เวท กล่าวไว้ในบทความด้านการศึกษาซึ่งเผยแพร่บนเว็บไซต์ของ World Economic Forum ว่าการศึกษาที่สามารถสร้างพลเมืองตื่นรู้ (Active citizen) ต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและซับซ้อนได้จะต้องมีกระบวนทัศน์พัฒนา (Growth Mindset) หรือความคิดที่พร้อมเปิดรับสิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอด และยืดหยุ่นในการรับมือกับปัญหา ดังนั้นการปรับให้ระบบการศึกษาในปัจจุบันหันมาให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นเรื่องจำเป็นมาก

ความคิดสร้างสรรค์คือจุดกำเนิดความเปลี่ยนแปลง

ความคิดสร้างสรรค์เปรียบเหมือนเชื้อเพลิงตั้งต้นที่หากจุดติดแล้วลุกโชนเป็นเปลวไฟแห่งการเปลี่ยนแปลง แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะมีองค์ประกอบเหมาะสมเพียงพอให้เชื้อเพลิงกองนี้ติดไฟได้ขึ้นมา เวทเชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นจุดเริ่มต้นแรกสุดของการเปลี่ยนแปลง

หากเราต้องการให้สังคมเปลี่ยน ต้องกลับไปเริ่มที่การกระตุ้นให้ทรัพยากรบุคคลใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็น และกระบวนการนี้ควรเกิดขึ้นในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง เพราะผลวิจัยทางสมองชี้ว่าเซลล์สมองต้องใช้เวลา4-6 เดือนต่อเนื่องกันเป็นอย่างต่ำในการพัฒนาให้รู้จักคิดสร้างสรรค์เป็น

กิจกรรมเดี่ยวๆ อย่าง การระดมความคิด (Brainstorm) หรือแผนภาพความคิด (mind-mapping) ที่กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ช่วงสั้นๆ ไม่มีประสิทธิภาพให้เซลล์สมองพัฒนาทักษะนี้ได้

สถาบันของเธอพยายามสร้างเครือข่ายกับหลายภาคส่วนในยุโรป และร่วมกับหน่วยงานการศึกษาใน 38 ประเทศในยุโรป ร่างกรอบทักษะความสามารถผู้ประกอบการแห่งยุโรป (EntreComp – The European Entrepreneurship Competence Framework) ขึ้น โดยตั้งเป้าผลักดันให้ระบบการศึกษาภาคบังคับหันมาเน้นพัฒนาทักษะภายใต้กรอบนี้

EntreComp ประกอบไปด้วยทักษะ 3 ส่วน

1. หาไอเดีย และ โอกาส

  • มองเห็นโอกาส
  • คิดสร้างสรรค์ให้ต่างจากเดิม
  • สร้างวิสัยทัศน์
  • ต่อยอดไอเดียให้มีมูลค่า
  • มีจริยธรรมและการคิดอย่างยั่งยืน

2. ทรัพยากรการเงินและบุคลากร

  • หา/เปลี่ยนแหล่งเงินทุน
  • หา/เปลี่ยนภาคี
  • ความสามารถในการบริหารการเงินและดูทิศทางเศรษฐกิจ
  • รู้จักตัวเอง และ ขีดความสามารถของตัวเอง
  • สร้างจุดมุ่งหมาย และมุมานะ มุ่งมั่นให้ถึงเป้าหมายนั้น

3. ปฏิบัติ

  • จัดการกับความไม่ชัดเจน และความเสี่ยง
  • เริ่มลงมือปฏิบัติ
  • วางแผนและบริหารงานเป็น
  • ทำงานร่วมกับผู้อื่น/ภาคส่วนอื่น
  • เรียนรู้จากการถอดบทเรียน

แก่นการเรียนรู้คือทักษะการใช้ชีวิตที่ควบคู่ไปกับการเตรียมพร้อมออกไปสู่โลกธุรกิจในภายหน้า เด็กต้องตอบสนองโอกาสและไอเดียแปลกใหม่ของตนเองแล้วแปลงเป็นผลงานที่สร้างคุณค่าให้กับผู้อื่นทั้งทางพาณิชย์ วัฒนธรรม หรือสังคมได้

เวทชี้ว่าระบบการศึกษาภาคบังคับควรปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้จักความหมายของการเป็นผู้ประกอบการที่แท้จริงตั้งแต่เนิ่นๆ อย่างโครงการ CRADLE ที่เธอทำงานด้วยทุนจาก EU ใช้การสอนรูปแบบนี้ตั้งแต่ชั้นประถมและพยายามหนุนให้โรงเรียนอื่นๆ นำแนวทางแบบเดียวกันนี้ไปใช้ กล่าวคือ ให้มองภาพการริเริ่มธุรกิจอย่างสร้างสรรค์ ไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการแข่งขัน เพราะถ้าเป็นแบบนั้น เด็กจะหมดความเชื่อมั่นในตนเองด้วยคำถามว่า “จะทำได้เหรอ” “จะสู้เขาได้เหรอ”

เด็กควรมีเข็มทิศทางทักษะและจริยธรรมอยู่ในมือและพิจารณาว่า แนวคิด (mindset) ใดที่ผู้ประกอบการที่ดีพึงมี ทำอย่างไรจึงจะรักษาแรงขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นต่อเนื่องและยั่งยืน ควรรับมือกับปัญหาอย่างไร และทำอย่างไรให้วิสัยทัศน์ของตนเป็นที่รู้จักและยอมรับ

เมื่อความคิดสร้างสรรค์ถูกปลูกฝังและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เด็กๆ จะเติบโตมาแบบนี้

  1. เมื่อเด็กถูกฝึกให้คิดสร้างสรรค์จนเป็นนิสัย สมองจะเชื่อมต่อรูปแบบใหม่ตามธรรมชาติเอง จนมีทักษะความคิดสร้างสรรค์อัตโนมัติ
  2. เมื่อปลูกฝังให้เด็กตอบสนองโอกาสทางธุรกิจที่ตนเองมองเห็น และสร้างเสริมให้มีทักษะ พวกเขาจะสามารถนำแผนธุรกิจที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับปัญหาใหม่ๆ หรือคิดแผนธุรกิจที่ให้สินค้าหรือบริการใหม่ๆขึ้นมาได้
  3. เมื่อการศึกษามองความเหลื่อมล้ำทางทักษะของนักเรียนในชั้นเรียนเป็นความหลากหลาย อัตรานักเรียนที่เลิกเรียนกลางคันอาจลดลงและและมีทรัพยากรบุคคลวัยหนุ่มสาวตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น
  4. เมื่อเด็กมีทักษะความเป็นผู้ประกอบการ คือสามารถมองเห็นโอกาสจากไอเดีย มีจริยธรรม และการคิดอย่างยั่งยืน อย่างที่ระบุใน EntreComp ชุมชนจะเกิดธุรกิจใหม่ๆ มากขึ้น คนหนุ่มสาวมีทักษะผู้ประกอบการและความคิดนวัตกรรมตรงตามความต้องการของตลาดมากขึ้น

ด้านการเติบโตของการศึกษาเพื่อการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Education) นั้น เวทเล่าว่าตั้งแต่ปี 2016 ที่ยังเป็นแค่ก้าวแรกในยุโรป ปัจจุบันการขับเคลื่อนการศึกษา เศรษฐกิจและนโยบายการทำงานของยุโรปล้วนเกื้อหนุนให้แนวทางนี้แข็งแกร่งมากขึ้น ทั้งจากที่คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดให้ทักษะผู้ประกอบการเป็นวาระแห่งชาติ และกรอบความสามารถที่จำเป็นต้องมี

โครงการร่วมมือข้ามภาคส่วนที่ออกกรอบ EntreComp มา ก็เป็นแม่บทให้โรงเรียนทุกระดับชั้นในยุโรปค่อยๆ หันมาพัฒนาทักษะผู้ประกอบการเป็นภาษาเดียวกันและมองเห็นประโยชน์ของแนวทางนี้ โดยมีคู่มือใช้อ้างอิงในการปฏิบัติตามได้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

เห็นความมุ่งมั่นของพลังความร่วมมือกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ แล้วก็คาดว่า คงไม่เกินจริงนักที่จะบอกว่าก้าวย่างการศึกษาของยุโรปรุดหน้าไปไกล แม้อีกด้านหนึ่งผลการสำรวจพบว่า ยุโรปยังมีช่องว่างระหว่างการพัฒนาแนวทางนี้อยู่บ้าง และข้อเท็จจริงคือที่โรงเรียนต่างๆ พยายามปรับตัวเป็นโรงเรียนส่งเสริมทักษะผู้ประกอบการมากขึ้นเพราะจะได้มีภาษีในการขอทุนสนับสนุนมากกว่าโรงเรียนทั่วไป ก็ถือเป็นเรื่องดี โดยการร่วมมือของทุกองคาพยพ ในการผลักดันการศึกษาให้ตอบรับกับความเป็นไปของเศรษฐกิจและสังคมอย่างจริงจังได้ส่งผลให้เห็นแนวโน้มชัดเจนว่าการศึกษาในภูมิภาคยุโรปกำลังเดินไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม การจะผลิตพลเมือง ‘ตื่นรู้’ ออกสู่สังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม คงไม่ใช่แค่ระบบการศึกษาเท่านั้นที่จะสามารถสร้างกระบวนการคิดสร้างสรรค์ในระหว่างการเรียนรู้ของเด็กได้

การเลี้ยงดูของพ่อแม่ ตลอดจนสังคม และองค์กรทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงองค์กรขับเคลื่อนเศษฐกิจและสังคม ต้องทำงานสอดประสานกันเป็นโครงสร้างที่เกื้อหนุนแนวทางการเรียนรู้ที่ให้คุณค่ากับไอเดียความคิดควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตของเด็ก

ทำอย่างไรจึงโรงเรียนจะปรับลดกฎระเบียบหรือกรอบต่างๆ ในการเรียนการสอนที่จำกัดการคิดสร้างสรรค์และปลูกฝังให้เด็กคุ้นชินกับการทำตามคำสั่งเพียงอย่างเดียวได้ อีกประการหนึ่งคือต้องให้พื้นที่เด็กได้แสดงความสามารถ ไอเดีย หรือทำกิจกรรมอย่างเสรีตามใจฝัน

ครอบครัว โรงเรียนต้องไม่ตีกรอบไอเดีย ตั้งคำถามหลายๆ มิติดูก่อนว่า เด็กมีมุมมองอย่างไร แล้วพ่อแม่ ครู ต้องการเห็นเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่แบบไหน ในมุมของสังคม ตลาดกำลังต้องการทรัพยากรแบบใด

เป็นเรื่องปกติที่ความต้องการของแต่ละมุมมักไม่ลงรอยกัน แต่เรื่องคุณค่าและจิตใจคือสิ่งสำคัญ  เพราะสังคมตอนนี้และในอนาคตคือ ‘ทักษะ ไหวพริบ จริยธรรม’ ต้องมาด้วยกันเสมอ

อ้างอิง:
Education systems can stifle creative thought. Here’s how to do things differently

Tags:

ระบบการศึกษา4Csการฟังและตั้งคำถามความคิดสร้างสรรค์(Creativity)พ่อแม่

Author:

illustrator

บุญชนก ธรรมวงศา

จบภาษาและการสื่อสาร เคยผ่านงานบริษัทออแกไนซ์ เปิดคลินิก ไปจนเป็นเลขาซีอีโอ หลังค้นพบและติดใจโลกนอกระบบตอกบัตร จึงแปลงร่างเป็นนักเขียน นักแปลและนักพยากรณ์ไพ่ ขี้โวยวายเป็นนิสัยที่อยากแก้ไขแต่ทำยังไงก็ไม่หาย ปัจจุบันกำลังเข้าใกล้ Midlife Crisis และหวังจะข้ามผ่านได้ด้วยวิถี “ช่างแม่ง”

Related Posts

  • 21st Century skills
    คำถามสำคัญกว่า ควรมีการบ้านหรือไม่ คือ มีการบ้านไปเพื่ออะไร

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • Everyone can be an Educator21st Century skills
    USER EXPERIENCE: นักออกแบบประสบการณ์ อาชีพใหม่ที่เปลี่ยนปัญหาเป็นความสุข

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่าง

  • 21st Century skills
    เป็นเด็กยิ่งต้อง ‘เถียง’ และเถียงอย่างสร้างสรรค์เพื่อเข้าใจตัวเองและคนอื่น

    เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • 21st Century skills
    คิดอย่างสร้างสรรค์ด้วยการทำงานของสมอง 2 ซีก

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • 21st Century skills
    CREATIVE PROCESS : 7 นิสัยทำลายความคิดสร้างสรรค์

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel