Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Character building
18 April 2018

“ผมอยากจะเป็นชาวสวน” เรื่องเท่ๆ ของเด็กหนุ่มที่หา PASSION เจอ

เรื่อง

  • การที่วัยรุ่นสักคนลุกขึ้นมาพูดอย่างจริงจังว่า “ผมอยากจะเป็นชาวสวน” มันไม่ใช่แค่เรื่องเท่
  • เพราะสิ่งนี้ทำให้ลูกชายเลือกเรียนต่อด้านเกษตร เพื่อกลับมาสานต่องานสวนมะพร้าวที่บ้าน หลังจากพ่อหมดหวังและคิดว่าไร้ทายาทเคี่ยวน้ำตาลรุ่นต่อไปซะแล้ว
  • สิ่งนี้เรียกง่ายๆ ว่า passion แต่หา ‘ยาก’ ซะเหลือเกิน
เรื่อง: พัชรี ชาติเผือก

เตาตาลที่ไร้คนเคี่ยวตาล ก็เหมือนขนมหวานที่ไร้คนชิม…

เรากำลังพูดถึงหนึ่งใน ‘ยี่ห้อ’ สำคัญของจังหวัดสมุทรสงครามอย่าง ‘น้ำตาลมะพร้าว’ ที่ พ.ศ.นี้ กลายเป็นของหายากขึ้นทุกวัน

โดยเฉพาะในตำบลท่าคา จากการสำรวจของเยาวชนจาก โครงการบอกกล่าวเล่าขานน้ำตาลมะพร้าวท่าคา พบว่าปัจจุบันเหลือเตาตาลอยู่ในพื้นที่ไม่ถึง 40 เตา จากเดิมเคยมีการบันทึกไว้ว่า พ.ศ. 2500-2510 จังหวัดสมุทรสงครามเป็นจังหวัดที่เสียภาษีสูงที่สุดในประเทศ เพราะมีรายได้จากน้ำตาล ในหนึ่งปีสามารถผลิตน้ำตาลได้ถึง 1,200,000 ปี๊บ

ออกไปหา passion

ปอย-ปิยวัฒน์ วัชนุชา เจเนอเรชั่นล่าสุดของตำบลท่าคา เขาบอกว่าอาชีพในฝันไม่ใช่ข้าราชการหรือพนักงานบริษัทใส่ชุดเท่ๆ แต่สิ่งที่ปอยอยากเป็นคือ ‘ชาวสวนธรรมดา’ ที่ได้สานต่ออาชีพจากครอบครัวที่ทำมากว่า 40 ปีให้คงอยู่ต่อไป

อะไรทำให้ปอยคิดแบบนั้น?

คำตอบคือ เพราะเขาเข้าใจแล้วว่าอาชีพนี้มีคุณค่าอย่างไร สิ่งนี้นำทางให้เขาค่อยๆ ค้นพบเป้าหมายที่อยากทำ อยากเป็น ปอยเรียกสิ่งนั้นว่า passion

ทั้งที่เมื่อสองปีก่อน ปอยยังมองว่าการทำน้ำตาลมะพร้าว เป็นแค่อาชีพที่สร้างรายได้ให้ครอบครัวเท่านั้น

“ไม่ได้ภูมิใจอะไรกับอาชีพนี้เท่าไหร่ ถามว่าช่วยที่บ้านไหม ก็มีช่วยบ้าง แต่ก็ช่วยตามประสาเด็กที่ไม่ได้สนใจหรือใส่ใจรายละเอียดอะไร”

แน่นอน ตอนนั้นลูกคนทำเตาตาล ไม่เคยคิดจะสานต่ออาชีพของครอบครัว กระทั่งมีโอกาสเข้ามาร่วมโครงการพลังเด็กและเยาวชนเพื่อการเรียนรู้ภูมิสังคมภาคตะวันตก ทำให้มุมมองที่มีต่อเตาตาลของปอยเปลี่ยนไป

“เห็นเพื่อนมาทำโครงการในชุมชนของเรา ทั้งๆ ที่เขาไม่ใช่คนในชุมชน จนได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ทำให้เราเห็นความพยายามของเพื่อนที่ต้องเก็บข้อมูลทั้งตำบล เลยเริ่มกลับมามองตัวเองว่า เราเป็นคนในพื้นที่แท้ๆ แต่ทำไมถึงไม่สนใจเรื่องราวในชุมชนตัวเอง

ยิ่งลงพื้นที่บ่อยก็ยิ่งเห็นสวนมะพร้าวถูกทิ้งร้าง ที่ดินถูกขาย บางบ้านเหลือแต่คนแก่ที่ทำเตาตาล ส่วนลูกหลานพากันออกไปทำงานข้างนอก ทำให้ผมฉุกคิดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน และอยากลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง

“เพื่อให้เยาวชนเห็นคุณค่าของอาชีพการทำน้ำตาลมะพร้าว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้ผมเข้ามาสานต่อการทำโครงการเกี่ยวกับน้ำตาลมะพร้าวในปีที่สอง” ปอยเล่าถึงจุดเปลี่ยนของตัวเองให้ฟัง ก่อนที่จะหันหน้าเข้ามาศึกษาเรื่องราวของการทำน้ำตาลมะพร้าวอย่างจริงจัง

กระบวนการทำงานในปีที่สอง ปอยและเพื่อนร่วมทีมต้องลงพื้นที่พูดคุยเพื่อสืบค้นข้อมูลเรื่องการทำน้ำตาลมะพร้าวตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจากเจ้าของเตาตาลแต่ละแห่ง จากน้้น ลงไปเรียนรู้ขั้นตอนการเคี่ยวตาลแต่ละบ้าน การได้เข้าไปสัมผัสกับความยากลำบากของคนทำตาล ทำให้ปอยอยากกลับไปสานต่ออาชีพของครอบครัวตัวเอง

“การที่ผมได้ลองเคี่ยวตาล ลองเก็บน้ำตาลมะพร้าว ช่วยคนในครอบครัวอย่างจริงจัง ไม่ใช่ช่วยแค่เพราะหน้าที่เหมือนที่เคยเป็นมา ทำให้ผมเห็นความยากลำบากของครอบครัว เห็นความสำคัญของอาชีพคนทำตาลที่ผูกพันกับคนในชุมชน จนรู้ซึ้งว่าน้ำตาลมะพร้าวมีคุณค่ากับผมมากๆ เพราะที่บ้านทำมาตั้งแต่รุ่นย่า รุ่นยาย ครอบครัวทางย่าก็ทำน้ำตาลมะพร้าว ก่อนหน้านี้ผมไม่เคยรู้ประวัติเตาตาลของที่บ้านด้วยซ้ำว่า ทำมาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่พอมาทำโครงการนี้ ได้มีโอกาสพูดคุยซักถามประวัติเตาตาล ทำให้เราเห็นของดีๆ ที่มีอยู่ในบ้านเรามากขึ้น”

ปอยบอกต่ออีกว่า พ่อของเขาเกือบจะเลิกหวังให้เขามาสานต่ออาชีพคนทำตาลไปแล้ว แต่มาวันนี้พ่อมั่นใจแล้วว่าเตาตาลของครอบครัวที่พ่อสืบทอดมาจะไม่ร้างคนเคี่ยวตาลอีกต่อไป เพราะมีปอยเข้ามารับช่วงต่อ

‘ลงมือทำ’ เท่านั้น

กว่าปอยจะคิดได้เช่นนี้ต้องยกนิ้วให้พี่เลี้ยงโครงการพลังเด็กและเยาวชนเพื่อการเรียนรู้ภูมิสังคมภาคตะวันตกที่ทั้งผลักและดันให้เขากล้าเผชิญปัญหา

“ผมคิดว่าส่วนหนึ่งที่ทำให้ผมได้ค้นพบตัวเอง เพราะพี่เลี้ยงที่คอยสร้างเงื่อนไขให้ผมได้มีโอกาสแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ยิ่งเราเจอปัญหาใหญ่ๆ แล้วเราสามารถแก้ปัญหานั้นได้ ยิ่งทำให้เรารู้สึกภูมิใจ พี่เขาสอนให้ผมและทีมงานได้คิดและวางแผนมากขึ้น เวลาเจอปัญหาเขาจะคอยดูเราอยู่ห่างๆ การได้เข้าไปสัมผัสสัมพันธ์กับน้ำตาลมะพร้าวอย่างใกล้ชิด ได้เห็นว่านับวันอาชีพทำน้ำตาลมะพร้าวในจังหวัดสมุทรสงครามเริ่มลดน้อยลง ยิ่งทำให้เรารักและเห็นคุณค่าในสิ่งที่เราทำไปโดยปริยาย”

เมื่อเจอเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว ทำให้วันนี้ปอยเลือกที่จะเรียนคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน หวังว่าจะได้นำความรู้ใหม่ๆ มารับใช้อาชีพทำน้ำตาลมะพร้าวที่ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ความรู้เรื่องการทำน้ำตาลคุณภาพเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ถึงลูกค้า เพื่อให้เขาประกอบอาชีพเลี้ยงตนได้ด้วยเช่นกัน

เรื่องของปอยทำให้เราได้เรียนรู้ว่า passion นั้นเป็นเข็มทิศนำทางให้คนรุ่นหลังรู้ว่าตัวเองจะเดินไปทางไหน และการจะหา passion ให้เจอนั้น คือการลงมือทำ

สำหรับปอย มันคือการีเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้ฝึก (practice) ผ่านการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ที่สร้างประโยชน์ต่อตัวเองและส่วนรวมในลักษณะการฝึกซ้ำโดยมีการไตร่ตรองสะท้อนคิด และหาทางปรับปรุง และเมื่อเจอปัญหาเขาจะไม่ท้อไปเสียง่ายๆ แต่จะมุมานะที่จะทำให้สำเร็จให้จงได้

อ้างอิง: หนังสือเลี้ยงลูกยิ่งใหญ่บทที่ 22 กระบวนทัศน์พัฒนา (passion)

Tags:

วัยรุ่นactive citizenproject based learningคาแรกเตอร์(character building)สมุทรสงคราม

Author:

Related Posts

  • EF (executive function)
    ไม่พอใจก็แค่ใส่หูฟังแล้วเปิดเพลงดังๆ ‘การจัดการอารมณ์’ ที่ท้าทายแต่ทำได้ในวัยรุ่น

    เรื่อง

  • Growth & Fixed Mindset
    คิดว่า ‘ทำได้’ เพราะได้ลงมือทำ: สิ่งที่ห้องเรียนไม่ได้สอน

    เรื่อง ขวัญชนก พีระปกรณ์

  • Creative learning
    หาดหายไปไหน?: เมื่อความสงสัยอัพเกรดไปสู่การเรียนรู้

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Growth & Fixed Mindset
    เด็กไม่เก่งก็เจ๋งได้ ง่ายนิดเดียว

    เรื่อง The Potential

  • Character building
    เยาวชนจังหวัดน่าน กับ(หลาย)ก้าวที่กล้า สู่การเป็น ‘ผู้นำ’

    เรื่อง The Potential

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel