Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
How to get along with teenager
6 August 2018

วัยรุ่นไอซ์แลนด์ไม่ ‘เสพยา’ : พวกเขาแค่ไม่ว่าง และมีอะไรทำ

เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • จะแก้ปัญหายาเสพติดในวัยรุ่น ก็จะต้องเข้าใจวัยรุ่นให้ลึกซึ้งถึงกระบวนการทำงานทางสมอง ถึงจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุจริงๆ
  • การป้องกันสารเสพติดจากวัยรุ่น ไม่สามารถทำได้แค่ในโรงเรียนเท่านั้น แต่ต้องร่วมมือจากหลายๆ หน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น พ่อแม่ องค์กรด้านสาธารณสุข คริสตจักร ตำรวจ และหน่วยบริการทางสังคมที่เกี่ยวข้อง
  • การสร้างทางเลือกกิจกรรมที่หลากหลาย เป็นหนึ่งในวิธีสำคัญที่ทำให้วัยรุ่นลดความเครียด และถอยห่างจากยาเสพติด

ปัจจุบันไอซ์แลนด์ถือเป็นประเทศที่มีเยาวชนปลอดสารเสพติดมากที่สุดในยุโรป ตัวเลขทางสถิติระบุว่า เด็กอายุ 15 และ 16 ปี ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ลดลงจาก ร้อยละ 42 ในปี 2541 เป็นร้อยละ 5 ในปี 2560 ส่วนเด็กที่ใช้กัญชาลดลงจากร้อยละ 17 เป็นร้อยละ 7 และเด็กที่สูบบุหรี่ทุกวันก็ลดลงจากร้อยละ 23 เป็นร้อยละ 3

ตัวเลขเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าไอซ์แลนด์มาถูกทางแล้วสำหรับการแก้ปัญหาการใช้สารเสพติดในหมู่วัยรุ่น เพราะกว่าจะได้วิธีการมา ต้องผ่านการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจสมองของเด็กให้ถ่องแท้ดังที่ ฮาร์วี่ มิลค์แมน (Harvey Milkman) ศาสตราจารย์ภาควิชาจิตวิทยาชาวอเมริกันในมหาวิทยาลัย Reykjavik กล่าวว่า

“นี่เป็นการศึกษาที่เข้มข้นและลึกซึ้งมากที่สุดเกี่ยวกับความเครียดในชีวิตของวัยรุ่นที่เคยเห็นมา”

วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของมิลค์แมนสรุปว่า สารเสพติดแต่ละชนิดถูกใช้เพื่อจัดการความเครียด แต่จะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน เช่น ผู้ใช้เฮโรอีนต้องการให้ตัวเองรู้สึกมึนงง ผู้ใช้แอมเฟตามีนต้องการเผชิญหน้ากับความเครียดอย่างจริงจัง เป็นต้น หลังจากงานวิจัยได้ตีพิมพ์แล้ว มิลค์แมนได้เป็นหนึ่งในกลุ่มนักวิจัยในสถาบันแห่งชาติของสหรัฐฯ หัวข้อ “การใช้ยาเสพติด” เพื่อหาคำตอบที่ว่า ทำไมคนเริ่มใช้ยาเสพติด? ทำไมพวกเขาใช้ต่อเนื่อง? เมื่อใดที่พวกเขาถึงเกณฑ์การละเมิด? พวกเขาจะหยุดเมื่อไหร่? และเมื่อไหร่ที่พวกเขากลับมาเป็นแบบเดิม?

ต่อมาปี 1992 ทีมงานของเขาในเดนเวอร์ (Denver) ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลมูลค่า 1.2 ล้านเหรียญเพื่อสร้างโครงการ Self Discovery โดยเน้นไปที่เด็กที่มีแนวโน้มเสพยาเสพติดและอาชญากรรมสูง แม้ว่าพวกเขาจะยังไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด หรือก่อปัญหาอาชญากรรมก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้ Milkman รวบรวมจากเด็ก ครู พยาบาลในโรงเรียนและอาจารย์ที่ปรึกษาของนักเรียน เพื่อให้พวกเขาเข้าสู่โปรแกรม Self Discovery

“พวกเราไม่ได้บอกเด็กกลุ่มนี้ว่าให้เข้ามารักษา แต่บอกเขาว่า เราจะมาสอนในสิ่งที่คุณสนใจและอยากเรียน ไม่ว่าจะเป็น ดนตรี เต้น ฮิปฮอป ศิลปะ ศิลปะการต่อสู้ เป็นต้น”

การมีตัวเลือกวิชาที่แตกต่างจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสารแคมีในสมองของเด็ก และให้พวกเขาได้เรียนรู้ในสิ่งที่สามารถเอาไปใช้ในชีวิตจริงได้

เด็กที่เข้าร่วมโครงการบางคนอยู่สามเดือน หรือบางคนอยู่ถึงห้าปี จะถูกฝึกฝึกอบรมทักษะชีวิต เน้นการปรับปรุงความคิดเกี่ยวกับตัวเอง ชีวิต และวิธีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น “การให้ความรู้เด็กเรื่องยาเสพติดที่ผ่านมาไม่ได้ผล เนื่องจากไม่มีใครให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ฉะนั้นต้องทำให้เด็กมีทักษะชีวิตในการปฏิบัติตามโปรแกรมต่างๆ” Milkman กล่าว

ปี 1991 Milkman ได้รับเชิญจากไอซ์แลนด์เพื่อบรรยายผลการวิจัยและความคิดของเขา เขากลายเป็นที่ปรึกษาให้กับศูนย์บำบัดยาเสพติดท้องถิ่นเมือง Tindar และสร้างแนวทางการปฏิบัติให้กับคนในพื้นที่

จากภาคทฤษฎี สู่ภาคปฏิบัติ

ยกตัวอย่างเมือง เคานาส (Kaunas) ตั้งแต่ปี 2006 เมืองได้ทำแบบสำรวจห้าครั้งเพื่อสำรวจการใช้สารเสพติดของวัยรุ่น สร้างเครือข่ายให้โรงเรียน พ่อแม่ องค์กรด้านสาธารณสุข คริสตจักร ตำรวจ และหน่วยบริการทางสังคม ทั้งหมดร่วมมือกันปรับปรุงสวัสดิภาพเด็กและลดการใช้สารเสพติด เช่น พ่อแม่ได้รับสิทธิ์เข้ารับการอบรม 8-9 ครั้งต่อปี ให้เงินทุนเพิ่มเติมสำหรับสถาบันสาธารณสุขและ หน่วยงานเอกชนที่ทำงานส่งเสริมสุขภาพจิตและการจัดการความเครียด

ระหว่างปี 2006-2014 จำนวนเด็กอายุ 15 และ 16 ปีในเคานาสดื่มเหล้าลดลงประมาณ1 ใน 4 และสูบบุหรี่รายวันลดลงมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์

สำหรับครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ รัฐได้ระดมทุนสำหรับ การจัดกีฬา ดนตรี ศิลปะการเต้น และอื่น ๆ เพื่อให้เด็กทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และรู้สึกดีขึ้นมากกว่าการใช้แอลกอฮอล์และยาเสพติด อย่างเมือง Reykjavik จะให้ครอบครัวละ 35,000 โครนา (ประมาณ 10,850 บาท) ต่อปี ต่อเด็กเพื่อจ่ายค่ากิจกรรมสันทนาการ

จากงานวิจัย และผลสำรวจเชิงลึกจำนวนมาก ซึ่งรวมไปถึงงานของ Milkman ถูกนำมารรวมกันและพัฒนาให้เป็นวาระแห่งชาติภายใต้ชื่อ “Youth in Iceland”

สืบเนื่องจาก Youth in Iceland กฎหมายเดิมก็ถูกปรับให้เข้มข้นขึ้น เช่น การซื้อบุหรี่ในวัยต่ำกว่า 18 ปี และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่อายุต่ำกว่า 20 ปีเป็นเรื่องผิดกฎหมาย การโฆษณายาสูบและแอลกอฮอล์ถูกห้ามทั้งหมด และสายสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียนเข้มแข็งขึ้นจากการกำหนดให้ผู้ปกครองเป็นสมาชิกสภาโรงเรียนด้วย และยังสนับสนุนให้พ่อแม่ใช้เวลาร่วมกับลูกเป็นประจำ ไม่ใช่แค่ตามโอกาสสำคัญเท่านั้น เพื่อพูดคุยเรื่องราวเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของลูก เพื่อนของลูก และเพื่อให้ลูกไม่ออกไปไหนมาไหนตอนเย็นๆ เพราะกฎหมายห้ามเด็กที่อายุ 13 – 16 ปีออกนอกบ้านหลังจากเวลาสี่ทุ่มในช่วงฤดูหนาวและ เที่ยงคืนในช่วงฤดูร้อน

จากมาตราการดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด จากข้อมูลทางสถิติปี 1997 และ 2012 เด็กอายุ 15-16 ปีใช้เวลากับพ่อแม่ในวันธรรมดาเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากร้อยละ 23 เป็นร้อยละ 46 เล่นกีฬาอย่างน้อย 4 ครั้งต่อสัปดาห์ จาก 24 เปอร์เซ็นต์เป็น 42 เปอร์เซ็นต์

ตารางชีวิตแน่น จนไม่เหลือที่ให้ยาเสพติด

JónKonrád อายุ 21 ปีและ Birgir Ísar อายุ 15 ปี สองพี่น้องได้พูดคุยเกี่ยวกับการดื่มและสูบบุหรี่ Jón บอกว่าเขาและเพื่อนๆ ดื่นแอลกอฮอล์เป็นเรื่องปกติ แต่ Birgir บอกว่านึกไม่ออกเลยว่าใครในโรงเรียนที่สูบบุหรี่หรือดื่ม ส่วนเรื่องการเล่นกีฬา Birgir ฝึกฟุตบอล 5-6 ครั้งต่อสัปดาห์ Jón ฝึก 5 ครั้งต่อสัปดาห์ พวกเขาทั้งคู่เริ่มฝึกซ้อมหลังเลิกเรียนเมื่ออายุ 6 ขวบ

พ่อของ Jón และ Birgir บอกว่า “เรามีอุปกรณ์กีฬาทั้งหมดที่บ้าน ก่อนหน้านี้เราเคยพยายามให้เขาเล่นดนตรี แล้วก็เคยให้เขาฝึกขี่ม้า แม้ว่าภรรยาของผมจะเก่งเรื่องขี่ม้า แต่ก็ไม่สามารถให้พวกเขาสนใจได้ แล้วท้ายที่สุดพวกเขาก็เลือกเล่นฟุตบอล”

เมื่อถามเด็กทั้งสองว่า เคยรู้สึกว่าซ้อมหนักเกินไปไหม มีแรงกดดันจากการฝึกหรือไม่ Birgir ตอบว่า “ไม่เลย เราสนุกกับการเล่นฟุตบอล” ส่วน Jón กล่าวเพิ่มเติมว่า “เราพยายามเล่นให้ชิน และทำมันต่อไปเรื่อยๆ”

แต่ก็ใช่ว่าทั้งสองจะเล่นแต่ฟุตบอล เพราะว่าพ่อแม่ก็พาไปทำกิจกรรมอย่างอื่นด้วย เช่นพาไปดูภาพยนตร์ กินข้าวที่ร้านอาหาร เดินป่า ตกปลา สังสรรค์ภายในครอบครัว เพื่อให้เด็กๆ ได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย และให้รู้สึกสนุก ผ่อนคลาย ไม่เครียด

การสร้างทางเลือกให้กับเด็ก ทำให้เด็กสามารถเลือกทำในสิ่งที่เขามีความสุขจริงๆ เขาได้เรียนรู้ว่าอะไรที่เขาชอบหรือไม่ชอบ ไม่บังคับให้เด็กอยู่ในกรอบไม่กี่กรอบ เพราะจะทำให้เด็กเกิดความเครียดได้ง่าย และอาจจะนำไปสู่การใช้สารเสพติด ไม่ว่าจะเป็น บุหรี่ เหล้า กัญชา ยาบ้า เป็นต้น

แต่เมื่อไหร่ที่เขามีความสุขในสิ่งที่ทำ กระบวนการเรียนรู้จะเกิดขึ้น เมื่อให้ความรู้เรื่องยาเสพติด เด็กก็จะสามารถเชื่อมโยงเข้ากับสิ่งที่เขาจะทำในอนาคต ดังนั้นถ้าผู้ใหญ่เข้าใจกระบวนการทำงานสมองของเด็ก ก็จะรู้ว่าที่เด็กเสพยา ไม่ใช่เพราะดื้อ ไม่ใช่เพราะว่าเขาเป็นเด็กไม่ดี แต่เพราะสารเคมีในสมองเขาเขาต่างหาก

ที่มา: https://www.theatlantic.com

Tags:

พ่อแม่ครูวัยรุ่นคาแรกเตอร์(character building)การศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิก

Author:

illustrator

กนกอร แซ่เบ๊

อดีตนักศึกษามานุษยวิทยา เกิดในครอบครัวคนจีนจึงพูดจีนได้คล่องราวภาษาแม่ ปัจจุบันเป็นคุณน้าที่หลงหลานสุดๆ และขยันฝึกโยคะเกือบเท่างานประจำ

Related Posts

  • Learning Theory
    พลังเคลื่อนการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ที่ปรากฎใน DNA ของเด็กทุกคน

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • Character building
    ปั้น ‘คาแรคเตอร์’ ที่ดีให้เด็ก: โรงเรียน พ่อแม่ ชุมชน ต้องร่วมมือกัน

    เรื่อง วิภาวี เธียรลีลา

  • How to get along with teenager
    โตขึ้นอยากเป็นอะไร คำถามง่ายแต่ตอบไม่ได้จริงๆ

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • 21st Century skills
    เพราะความรู้ปัจจุบันไม่เพียงพอ ‘โรงเรียนอนาคต’ จะทำให้เด็กอยู่รอดและไปต่อในโลกที่เปลี่ยนแปลง

    เรื่อง กนกอร แซ่เบ๊

  • Everyone can be an Educator
    “เด็กจะโต ต้องออกจากห้องเรียน” ครูเร-เรณุกา หนูวัฒนา

    เรื่อง ขวัญชนก พีระปกรณ์

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel