Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Dear Parents
12 April 2020

ผู้ใหญ่เครียด เด็กก็เครียด: ภูมิคุ้มกันทางอารมณ์ สิ่งที่คุณพ่อ-คุณแม่และเด็กๆ ควรมีในปี 2020

เรื่อง ปราชญา ศิริ์มหาอาริยะโพธิ์ญา ภาพ ณัฐสุชา เลิศวัฒนนนท์

  • เด็กเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 เช่นเดียวกับคนอื่นๆ พวกเขาเกิดความเครียด ไม่ใช่ความเครียดเล็กๆ น้อยๆ ที่เป็นความคิดเพียงชั่วครู่ไม่นานก็หาย แต่สำหรับเด็กๆ หลายคน กลับเป็นความเครียดที่นำไปสู่สุขภาพจิตที่ยํ่าแย่ได้
  • ญา – ปราชญา ในฐานะคนที่คอยให้คำปรึกษาเด็กที่มีปัญหา ช่วงนี้จำนวนคนที่มาขอคำปรึกษาเยอะขึ้น เพราะความกังวลของพวกเขามีมากขึ้น ทั้งเรื่องความปลอดภัยจากการเดินทางออกไปนอกบ้าน เรื่องความรุนแรงของเหตุการณ์ ปัญหาด้านการเงิน
  • เมื่อเกิดปัญหาสิ่งที่ตามมาคือความเครียด ประสบการณ์ในการรับมือของเด็กอาจยังไม่มากพอ คนที่สามารถช่วยให้คำแนะนำพวกเขาได้ ผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดที่สุด หนึ่งในนั้นคือ พ่อแม่ แต่ตัวเด็กเองไม่กล้าเล่าปัญหาให้พ่อแม่ฟัง เพราะกลัวพ่อแม่เครียดตาม เพื่อหาทางออกปัญหา ญาแนะนำว่า สมาชิกในครอบครัวควรช่วยกันสร้าง ‘ภูมิคุ้มกันทางอารมณ์’ เปิดใจ รับฟังความคิดของกันและกัน ร่วมมือช่วยกันข้ามปัญหานี้ไปให้ได้
Illustrators ด.ช. นิปปอน Sandspace Studio

เริ่มต้นปีใหม่มาจนถึงตอนนี้ เดือนเมษายนแล้ว เชื่อว่าผู้อ่านหลายๆ ท่านคงได้ยินข่าวคราวที่ถาโถมเข้ามาตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนมีนาคม แต่ละข่าวสร้างความหดหู่ใจ ความเศร้า และความเครียดไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ จากเหตุการณ์ 3 เดือนที่ผ่านมา ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า แล้วเดือนหน้าจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นอีก? เราจะรับมือสิ่งนั้นไหวไหม? คำถามนี้ทำให้หลายคนวิตกกังวลและหวาดกลัวกันไปไม่น้อย ถึงเหตุการณ์ในอนาคต หรือแม้แต่เหตุการณ์ที่ยังไม่สิ้นสุด อย่าง Covid-19 ที่ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ หรือแม้แต่เด็กๆ อย่างพวกเราเอง ก็ตั้งคำถามนี้ขึ้นมาเช่นกัน

สถาบันครอบครัว ถือเป็นสถาบันที่ทำให้พวกเรา เด็กๆ และวัยรุ่น แข็งแกร่งขึ้น พร้อมเผชิญปัญหา และป้องกันตนเองจากเหตุการณ์ร้ายแรงได้ โดยไร้ซึ่งความเครียดในจิตใจ ถ้าเรามีภูมิคุ้มกันทางอารมณ์ในครอบครัว จะทำให้ครอบครัวเราสามารถจับมือกัน เผชิญปัญหาและฝ่าฟันไปได้

ญา – ปราชญา ศิริ์มหาอาริยะโพธิ์ญา

แต่ในขณะนี้กลับมีเด็กหลายๆ คนที่ ‘เครียด’ จากเหตุการณ์เหล่านั้น ไม่เพียงเป็นความเครียดเล็กๆ น้อยๆ ที่เป็นความคิดเพียงชั่วครู่ไม่นานก็หาย แต่สำหรับเด็กๆ หลายคน กลับเป็นความเครียดที่นำไปสู่สุขภาพจิตที่ยํ่าแย่ได้ จากการสำรวจและพูดคุยกับเพื่อนๆ วัยรุ่น พบว่า ในขณะนี้พวกเรากังวลเรื่องความปลอดภัยจากการเดินทางออกไปนอกบ้าน กังวลเรื่องความรุนแรงหากเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้น ว่าเราจะสามารถรับมือและปกป้องคนในครอบครัวได้หรือไม่ และเรื่องของ Covid-19 ในขณะนี้ที่มีอัตราผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งไวรัสนี้ยังมีความรุนแรงต่อร่างกาย สามารถติดต่อผ่านคนสู่คนได้จากการสัมผัส หรืออยู่ใกล้ผู้ติดเชื้อ และเรื่องของอุปกรณ์การป้องกันที่หาซื้อได้ยากในขณะนี้

รวมทั้งการที่เด็กและเยาวชนได้รับผลกระทบด้านการเงินจากสถานการณ์ในปัจจุบัน วัยรุ่นหลายคนเมื่อถึงช่วงเวลาปิดเทอมก็จะหารายได้เสริม ทำงานพาร์ทไทม์เพื่อช่วยเหลือครอบครัวและดูแลตนเอง แต่หากมีผลกระทบจากสถานการณ์นี้ ส่งผลให้วัยรุ่นหลายคนขาดรายได้ รวมทั้งยังเป็นห่วงสภาพการเงินของครอบครัวอีกด้วย

ในฐานะคนที่ให้คำปรึกษาเด็กที่มีปัญหา ช่วงนี้จำนวนคนที่มาปรึกษาเพิ่มขึ้น พวกเขาต่างได้รับผลกระทบ มีวัยรุ่นอายุ 16 ปีคนหนึ่งได้ส่งข้อความมาปรึกษา เธอกำลังศึกษาในระดับชั้นปวช. ซึ่งหากเป็นเหตุการณ์ปกติเธอคงทำงานพาร์ทไทม์ และขายของต่างๆ เพื่อนำเงินมาดูแลครอบครัวและจ่ายค่าเล่าเรียนของตนเอง แต่เมื่อมีสถานการณ์ของ Covid-19 ขึ้น เธอจำเป็นต้องขอพักการเรียนชั่วคราว เนื่องจากไม่สามารถหารายได้มาจัดการค่าใช้จ่ายได้เหมือนเดิม และเมื่อกิจการต้องพักลง ทำให้เธอไม่สามารถทำงานได้ ตอนนี้เธอมีเพียงรายได้จากการขายของซึ่งไม่มีความแน่นอน เธอยังเป็นห่วงทั้งเรื่องการเรียนของตนเอง และรายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายในครอบครัว เมื่อได้คุยกับเธอไปสักพักหนึ่ง เธอเล่าว่า หลายครั้งที่ความเครียดของเธอเพิ่มสูงขึ้น จนหาทางออกจากปัญหานี้ไม่พบ เธอเคยคิดที่จะทำร้ายตนเองและฆ่าตัวตายเหมือนกัน เมื่อเธอปรึกษาพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ที่เธอรู้จัก ส่วนใหญ่มักมองว่า ‘ก็แค่ไม่มีเงินเรียน ไม่นานก็หาใหม่ได้’ แต่สำหรับเธอการเรียนคือทั้งชีวิต เพราะหากเธอได้ศึกษาเล่าเรียน ในอนาคตเธอจะได้มีงานที่มั่นคง และเธอยังสามารถดูแลคนในครอบครัวของเธอได้เป็นอย่างดี

แม้สถานการณ์นี้จะส่งผลกระทบต่อประชาชนทุกคนทุกอาชีพ แต่หากพูดถึงเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจแล้ว เป็นเรื่องน่าวิตกกังวลอย่างมาก เพราะส่งผลถึงด้านชีวิตความเป็นอยู่ การศึกษา ครอบครัว และอนาคตของเด็กและเยาวชน ซึ่งในขณะนี้ เธอเองก็ยังไม่ทราบว่าจะได้กลับมาเรียนเมื่อไหร่ และเงินเก็บที่มีอยู่ในขณะนี้จะพอดูแลตนเองและครอบครัวถึงเวลาที่วิกฤตินี้สิ้นสุดลงหรือไม่

อาจเป็นเพราะช่วงเวลาไม่กี่ปีที่เราเติบโตมาในโลกที่สวยงามใบหนึ่ง ตั้งแต่ลืมตาขึ้นมาได้พบความงดงามและความสุขภายใต้ดาวเคราะห์กลมๆ ใบนี้ แต่เมื่อเราเติบโตไปเรื่อยๆ โลกใบนี้ก็โหดร้ายต่อเราและผู้คนมากยิ่งขึ้น มีปัญหาหลายอย่างที่เข้ามา บวกกับการที่เรายังไม่สามารถวิเคราะห์หาวิธีการแก้ไขปัญหาได้ ทำให้เด็กๆ ในยุคนี้เครียดมากยิ่งขึ้น

แต่…..พวกเรากลับไม่มีโอกาสปรึกษาผู้ปกครองเพื่อสร้างเกราะคุ้มกันจิตใจตนเองเลย บางครั้งอาจเป็นเพราะ ‘ไม่กล้า’ บางครั้งอาจเป็นเพราะ ‘กลัวคุณพ่อ-คุณแม่เครียดตาม’ หรือบางครั้ง พ่อแม่อาจไม่ใช่ ‘Safe Zone’ ของลูกอีกต่อไป

แล้วเราจะทำอย่างไร? ให้ครอบครัว พ่อแม่ และเด็กๆ หันกลับมาเปิดใจพูดคุยกัน และเป็นบุคคลที่มีภูมิคุ้มกันทางอารมณ์และจิตใจ ไร้ซึ่งความเครียดที่อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย และการทำร้ายผู้อื่น ซึ่งในขณะเดียวกัน เราก็พร้อมรับมือกับปัญหาในปัจจุบันที่ยังไม่สิ้นสุด รวมถึงปัญหาที่อาจมาในอนาคตอีกด้วย?

ทำไมเราต้องมีภูมิคุ้มกันทางอารมณ์ ?

เชื่อว่าหลายๆ ครั้งเวลาที่คนเราประสบปัญหา มักจะมีคนบอกว่า สู้ๆ นะ เดี๋ยวก็หาย เดี๋ยวก็ผ่านไป ทุกปัญหาย่อมมีทางออกเสมอ ถึงแม้ว่านั่นอาจมีส่วนที่ถูกต้อง แต่ในชีวิตจริงกว่าเราจะผ่านปัญหานี้ไปได้ เราต้องผ่านอุปสรรคอย่างปัญหาสุขภาพจิตในใจของเราให้ได้เสียก่อน ใจซึ่งเต็มไปด้วยความเครียดมากมาย

เวลาที่จิตใจเรามีความเครียด เปรียบได้กับตอนที่เรากำลังถูกขังอยู่ในห้องมืด ที่ไม่มีทางออก ไม่มีแสงสว่างใดๆ ทำให้เราสิ้นหวัง และหมดหวัง เช่นเดียวกับเหตุการณ์ในขณะนี้ ที่หลายคนเครียด สิ้นหวัง ดังนั้น หากเรามีภูมิคุ้มกันทางอารมณ์ เราจะสามารถจัดการอารมณ์ของตนเองได้ แล้วยังสามารถช่วยเหลือคนในครอบครัว ตัดสินใจอย่างถูกต้อง เหมาะสม เพื่อผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน โดยไร้ซึ่งเหตุการณ์ที่อยากย้อนเวลาเพื่อกลับไปแก้ไข

มาสร้างภูมิคุ้มกันทางอารมณ์ในครอบครัวกันเถอะ

  1. เปิดใจเล่าสู่กันฟัง เชื่อมสัมพันธ์ในครอบครัว

หลายครั้งที่เด็กๆ ไม่กล้าปรึกษาคุณพ่อคุณแม่ แต่อันที่จริงแล้ว พวกเราอยากให้พ่อแม่เป็นฝ่ายเข้าหามากกว่า โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตแบบนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจลองชวนเด็กๆ พูดคุยว่า คิดยังไงบ้างกับปัญหาที่มีในตอนนี้

และเมื่อถึงจุดที่เด็กๆ สบายใจ เขาจะเริ่มเล่าและปรึกษาคุณพ่อคุณแม่เกี่ยวกับความเครียดในตอนนี้ เมื่อครอบครัวของเรารู้แล้วว่า ใครเครียดเรื่องไหนอย่างไรบ้าง ก็ไม่ยากเลยที่จะร่วมมือกันจัดการกับความเครียดและปัญหาเหล่านั้น

พ่อแม่ในฝันของลูกๆ ไม่จำเป็นที่ต้องเป็นพ่อแม่ที่ดีเด่น หรือสมบูรณ์แบบไปหมดทุกอย่าง แต่พ่อแม่ที่พวกเราต้องการ คือพ่อแม่ที่เป็น ‘เพื่อน’ คอยรับฟังเราอย่างเปิดใจ คอยสนับสนุน เป็นเพื่อนที่เราปรึกษา พูดคุยได้ทุกเรื่อง เป็นเพื่อนที่เราอยากอยู่ด้วยตลอดเวลา และเป็นเพื่อนที่มีเหตุผลกับเราเสมอ

และที่สำคัญ คุณพ่อคุณแม่อย่าปิดบัง เรื่องราว เหตุการณ์ต่างๆ ในปัจจุบันกับพวกเรา เพราะจะทำให้เด็กๆสับสนว่าเหตุการณ์ไหนจริง หรือไม่จริง นำไปสู่การหาข้อมูลที่ไม่ถูกต้องได้ และอาจทำให้หวาดระแวงเกินไป และเก็บความเครียดไว้เพียงคนเดียว

  1. เรียนรู้การจัดการอารมณ์ร่วมกันในครอบครัว

หลายครั้งที่เรามักจะปล่อยอารมณ์ของตนเองไปตามความรู้สึก เครียดก็ปล่อยให้เครียด เศร้าก็ปล่อยให้เศร้า โกรธก็ปล่อยให้โกรธ เพราะคิดว่าสิ่งเหล่านั้นมันจะหายไปเอง และไม่ส่งผลกระทบต่อสภาวะจิตใจเรา แต่ความเป็นจริง ยิ่งเราไม่จัดการอารมณ์ของตนเองบ่อยเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้สุขภาพจิตของเราแย่มากขึ้นเท่านั้น และหากปล่อยไว้เป็นเวลานาน ทำให้เราจัดการอารมณ์ของตนเองได้ยากขึ้นอีกด้วย

หากเรามีทักษะในการจัดการอารมณ์ของตนเอง เราเครียดได้ เศร้าได้ โกรธได้ แต่หลังจากนั้นเราต้องจัดการให้อารมณ์เหล่านี้ แม้มันจะอยู่ข้างๆ เรา ก็ไม่สามารถทำอะไรเราได้ และทำให้อารมณ์เหล่านี้ไม่เป็นผลต่อการตัดสินใจของเรา

โดยการจัดการอารมณ์นี้ เราสามารถทำในครอบครัวได้ โดยสร้างให้มีชั่วโมงกิจกรรมครอบครัว ลองชวนกันพูดคุยถึงอารมณ์ในแต่ละวัน แยกแยะความคิดที่ไม่ดี และความคิดที่คู่ควรแก่สมองและอารมณ์ของเรา ร่วมใช้เวลาว่างที่มีด้วยกัน ไปกับการสร้างภูมิคุ้มกันและเรียนรู้วิธีการจัดการอารมณ์

  1. วิเคราะห์อารมณ์ เชื่อมโยงกับปัญหา

วิธีนี้จะช่วยป้องกันความเครียดที่เกิดกับปัญหาที่เราไม่ทันตั้งตัว โดยในขั้นตอนนี้ พ่อแม่อาจชวนลูกพูดคุยถึงปัญหาที่เคยเกิดมาในอดีต แล้วลองคุยกันว่า ‘เมื่อเราเจอปัญหานั้น มีอารมณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง’ บางครอบครัวเมื่อเจอสถานการณ์ปัญหาเดียวกัน แต่กลับมีอารมณ์ที่เกิดขึ้นต่างกัน แม่มีอารมณ์เศร้า ลูกมีอารมณ์เครียด พ่อมีอารมณ์โกรธ ดังนั้นแล้ว หากเราได้วิเคราะห์ปัญหานั้นแล้วเชื่อมโยงมายังอารมณ์ของเรา สังเกตว่าเราจะเกิดอารมณ์ไหนขึ้นขณะพบเจอปัญหา ก็จะทำให้เราสามารถเฝ้าระวังอารมณ์นั้นได้ ในยามที่เจอปัญหาเฉพาะหน้า

ภูมิคุ้มกันทางอารมณ์ เป็นสิ่งที่สามารถสร้างได้ จากความอบอุ่น ความรัก ความใส่ใจ และการเปิดใจหันหน้าพูดคุยกันในครอบครัว แม้จะใช้เวลาไม่มาก แต่ทักษะนี้จะอยู่ติดตัวทั้งคุณพ่อ คุณแม่ และเด็กๆ อย่างพวกเราไปอีกแสนนาน

สุดท้ายนี้ อยากเชิญชวนให้พ่อแม่ทุกท่าน ใช้เวลาอันมีคุณค่านี้กับลูกๆ สร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้กับคนในครอบครัว และทำให้ทุกๆ เวลาที่อยู่ร่วมกัน กลายเป็นห้วงเวลาแห่งความสุข ที่เมื่อนึกถึงทุกครั้งก็จะมีความสุขและความอบอุ่นจากครอบครัวเสมอ

Tags:

ซึมเศร้าวัยรุ่นไวรัสโคโรนา(โควิด-19)สุขภาพจิตพ่อแม่

Author:

illustrator

ปราชญา ศิริ์มหาอาริยะโพธิ์ญา

ผู้สนับสนุนการแก้พ.ร.บ. ให้คนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง ญาเริ่มทำงานด้านปัญหาสุขภาพจิตในเด็กเมื่ออายุ 12 ปี ปัจจุบันญาอายุ 14 ปีทำงานเป็นที่ปรึกษาให้เด็กที่เป็นโรคซึมเศร้า ประธานสภาเด็กและเยาวชนเขตบางกะปิ รองประธานสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร แกนนำเยาวชน Lovecare Station และทำวิชาภูมิคุ้มกันทางอารมณ์ในโรงเรียน

Photographer:

illustrator

ณัฐสุชา เลิศวัฒนนนท์

Related Posts

  • How to enjoy life
    สอนให้เด็กรู้ว่าอารมณ์ไม่ใช่ผู้ร้าย เรียนรู้และเข้าใจตัวเองผ่านดนตรี: กฤษดา หุ่นเจริญ

    เรื่อง อภิบาล ว่องวงษ์รักษ์ชุติมา ซุ้นเจริญ

  • Early childhoodFamily Psychology
    เข้าใจลูกในวันที่เขาเปลี่ยนไป EP.8 ‘Perfectionism’ เมื่อลูกคาดหวังว่าตัวเองต้องสมบูรณ์แบบ

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ ninaiscat

  • How to get along with teenager
    ในวันที่วัยรุ่นรู้สึกว่า “ตัวฉันไม่ดีพอ” การรับฟังที่ดีจากพ่อแม่ คือ สิ่งที่เขาต้องการมากที่สุด

    เรื่อง เมริษา ยอดมณฑป ภาพ PHAR

  • Social Issues
    โรคระบาด ความเครียด การฆ่าตัวตาย และสถานการณ์ที่วัยรุ่นทั่วโลกกำลังแบกรับ

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Adolescent Brain
    หน้าจอกับสภาพจิต วัยรุ่นกับอาการซึมเศร้า ความเชื่อมโยงที่อธิบายได้ด้วยงานวิจัย

    เรื่อง นำชัย ชีววิวรรธน์ ภาพ อัคคเดช ดลสุข

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel