Skip to content
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Learning TheoryGrowth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trend
  • Life
    Healing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/CrisisLife classroom
  • Voice of New Gen
  • Playground
    BookMovieSpace
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
วัยรุ่นeco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัย
Early childhood
20 July 2018

ปล่อยให้ลูก โกรธ เศร้า เหงา กลัว เขาจะได้เติบโตทั้งตัวและหัวใจ

เรื่อง ลีน่าร์ กาซอ

  • สุข เศร้า เหงา โกรธ มาด้วยกันเสมอ ถ้าเด็กๆ ได้สัมผัสอารมณ์บูดเหล่านั้นด้วยตัวเอง เขาจะเรียนรู้จัดการได้อย่างถูกต้องสมวัย
  • พ่อแม่ควรให้พื้นที่และเวลา เขาจะค่อยๆ สัมผัสความรู้สึกด้านลบเหล่านั้น ไม่ต่างจากการฝึกกินผัก แปรงฟัน และนอนหลับให้เต็มอิ่ม
  • การโอ๋จนลูกสงบลง พยายามทำให้เขาสนุก หรือให้ขนมดึงความสนใจเขาออกจากความทุกข์ พูดบ่อยๆ ว่าเดี๋ยวก็ดีขึ้นเอง – นี่ต่างหากที่ไม่ควรทำ

ถ้าให้เลือก Joy กับ Sadness ในหนังเรื่อง Inside Out เชื่อว่าพ่อแม่คงเลือกข้าง Joy เลือกเสียงหัวเราะ เสียงออดอ้อนจากลูก มากกว่าน้ำตา ความเศร้า และเสียงหวีดร้อง

บ่อยครั้งที่อารมณ์บูดๆ ของลูกทำให้พ่อแม่รู้สึกอึดอัดยามต้องรับมือ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์เศร้า ผิดหวัง โกรธ ซึ่งผู้ใหญ่มักตั้งโปรแกรมตัวเองไว้ว่าจะต้องปกป้องเด็กๆ จากความรู้สึกแบบนี้ และทำให้เขากลับมามีความสุขอีกครั้งให้ได้

แต่เพราะอารมณ์สุข เศร้า เหงา โกรธ มาด้วยกันเสมอ จะดีกว่าไหม หากเด็กๆ ได้สัมผัสและเรียนรู้วิธีจัดการอารมณ์บูดเหล่านั้นด้วยตัวเองและทำได้อย่างถูกต้องสมวัย

พื้นที่และเวลาของความเศร้า

เจนนิเฟอร์ อันเดอร์วู้ด (Jennifer Underwood) ผู้เขียนบล็อกเกี่ยวกับการเลี้ยงเด็กวัยรุ่นในเว็บไซต์ SexandtheSilly.com เกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกสาววัยรุ่นตอนต้นของเธอ เขียนเล่าว่า การเติบโตมาในครอบครัวที่ไม่เคยพูดถึงความรู้สึกอย่างจริงจัง ทำให้เราฝังมันไว้จนระเบิด ไม่เกิดการเรียนรู้ที่รับผิดชอบต่อความเสียหายและความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากการระเบิดความรู้สึกที่ไม่เหมาะสม ไม่มีการขอโทษ และไม่มีการเรียนรู้ แล้วก็จะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก

“เรามักถูกตั้งโปรแกรมมาให้โอ๋จนลูกๆ สงบลง พยายามทำให้เขาสนุกหรือให้ขนมดึงความสนใจเขาออกจากความทุกข์ พร่ำบอกว่าเดี๋ยวก็ดีขึ้นเอง แน่นอนล่ะว่าเด็กๆ อยากให้เราปลอบ แต่พวกเขาก็ต้องเรียนรู้วิธีปลอบตัวเอง ฉุดตัวเองขึ้นจากความเศร้า ก้าวพ้นความเจ็บปวดทั้งทางกายและจิตใจได้เองด้วย ซึ่งนั่นแหละคือหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องทำให้เขามั่นใจว่าเราจะไม่ไปไหนในเวลาที่อยากร้องไห้ ตะโกน และคร่ำครวญ”

สิ่งที่จำเป็นสำหรับเด็กจริงๆ คือ พื้นที่และเวลาค่อยๆ สัมผัสความรู้สึกด้านลบเหล่านั้น เหมือนกับที่พวกเขาต้องกินผัก แปรงฟัน นอนหลับเต็มอิ่ม – เพราะสิ่งเหล่านี้จำเป็นกับชีวิตมากๆ

5 วิธีฝึกให้ลูกรู้จักความโกรธ เศร้า เหงา กลัว

  • บอก ‘ชื่อ’ ความรู้สึก เช่น ถ้าลูกนอนอยู่และบอกว่าเหนื่อยจนยอมให้คุณเลือกเสื้อผ้าให้ เป็นโอกาสดีที่คุณจะแนะนำให้เขารู้จักความรู้สึกที่เรียกว่า ‘หมดแรง’
  •  เข้าใจปัญหาของเขา เป็นกองหนุนด้านอารมณ์ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ว่า ต่อให้รู้สึกแย่แค่ไหนเขาก็จะผ่านมันไปได้ เช่น บอกเขาว่า ความรู้สึกท้อระหว่างพยายามทำสิ่งใหม่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้
  • ช่วยหาทางออก ลองพูดคุยกับเด็กๆ ถึงไอเดียในการจัดการความรู้สึกตัวเอง ช่วยกันสร้างจุดที่ตัวเขาจะรู้สึกสงบและร่วมกันฝึกทักษะการจัดการอารมณ์บ่อยๆ
  • มองข้ามการกระทำ อะไรที่ผ่านแล้วก็ให้ผ่านไป ใส่ใจสิ่งที่เด็กๆ รู้สึกมากกว่าท่าทีที่เขาแสดงออกมา ลองเปลี่ยนการลงโทษเป็นความเห็นอกเห็นใจในความรู้สึกของพวกเขาดูสิ
  • หาวิธีสื่อสารใหม่ๆ การปล่อยให้เด็กๆ บ่นหรือสั่งได้ทุกอย่างตามใจอาจทำให้พวกเขาไม่สนใจอารมณ์บูดๆ ที่เกิดขึ้น ลองสอนวิธีที่จะทำให้เขาสื่อสารความรู้สึกในแบบที่ต่างจากเดิม เช่น อาจถามเขาว่า “หนูคิดว่าควรพูดขอความช่วยเหลือยังไงดีคะ”

คำพูดดีๆ แทนคำว่า “หยุดร้องไห้”

“หยุดร้องนะ” “ดูสิ คนอื่นมองหมดแล้ว” “อย่าโง่น่ะ” “หุบปากเดี๋ยวนี้ ไม่งั้นโดนตีแน่”

เคยพูดหรือได้ยินคำเหล่านี้กันใช่ไหม … สุดท้ายแล้วเด็กๆ ก็ไม่ได้รู้สึกดีขึ้น บางครั้งกลับร้องไห้อาละวาดหนักกว่าเดิมเสียอีก

ในเมื่อตอนนี้เรารู้แล้วว่า ควรปล่อยให้ลูกสัมผัสอารมณ์ด้านลบของตัวเองเพื่อเรียนรู้การจัดการอารมณ์ คำพูดข้างบนนี้จึงรังแต่จะทิ่มแทงจิตใจให้บอบช้ำ ลองเปลี่ยนเป็นคำพูดแบบนี้ดูสิ เพราะทุกคนต่างก็ชอบฟังคำพูดดีๆ กันทั้งนั้นแหละ

  • หนูเศร้าได้ ไม่เป็นไรหรอก
  • สำหรับหนู มันคงหนักหนาจริงๆ
  • ไหนลองเล่าให้ฟังหน่อยได้ไหม
  • พ่อ/แม่อยู่ตรงนี้กับหนูนะ
  • พ่อ/แม่ฟังอยู่จ้ะ
  • สำหรับหนู นั่นคงน่ากลัว/น่าผิดหวัง/น่าหงุดหงิด/น่าเศร้า (ฯลฯ) จริงๆ
  • พ่อ/แม่จะคอยช่วยหนูนะ
  • ไม่ยุติธรรมเลยนะ
  • พ่อ/แม่เข้าใจว่าลูกต้องการพื้นที่ แค่อยากให้รู้ว่าพ่อ/แม่อยู่ใกล้ๆ เสมอ พร้อมเมื่อไหร่ก็มาหาได้เลยนะจ๊ะ
ที่มา:
Why We Should Let Our Kids Be Sad
LET YOUR CHILDREN FEEL THEIR FEELINGS
10 Things to Say Instead of ‘Stop Crying’

Tags:

ปฐมวัยคาแรกเตอร์(character building)พัฒนาการทางอารมณ์พ่อแม่

Author:

illustrator

ลีน่าร์ กาซอ

ประชากรชาวฟรีแลนซ์ที่เพลิดเพลินกับเรื่องสยองกับของเผ็ด และเป็นมนุษย์แม่ที่ศึกษาจิตวิทยาเด็กอย่างเอาเป็นเอาตาย

Related Posts

  • Creative learning
    เจ้าหญิงคาราเต้: ศิลปะเป็นเรื่องของทุกคน และต้องมีไว้เพื่อหล่อเลี้ยงหัวใจ

    เรื่อง ขวัญชนก พีระปกรณ์

  • Early childhoodLearning Theory
    EP.1: THE TWELVE SENSES ปรัชญาการเติบโตของมนุษย์ตั้งแต่ระดับ ‘เซลล์’ และ ‘โซล’

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี ภาพ พรภวิษย์ โพธิ์สว่างบัว คำดี

  • 21st Century skills
    คิดอย่างสร้างสรรค์ด้วยการทำงานของสมอง 2 ซีก

    เรื่อง The Potential ภาพ บัว คำดี

  • Early childhoodBook
    เลี้ยงลูกด้วยเสียงดนตรี: เพลงสร้างจินตนาการและพัฒนาสมองได้จริง

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • Character building
    คาแรกเตอร์ดี ลูกมีได้ ไม่ต้องจ่าย เรียนได้กับพ่อแม่

    เรื่อง The Potential ภาพ KHAE

  • Social Issues
  • Podcasts
  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel