เพราะปมในวัยเด็กของแม่ ส่งผลให้แม่อารมณ์มั่นคง วิตกกังวล เพิกเฉย และควบคุมตัวเองไม่ได้ สำรวจตัวเองว่าคุณเป็นแม่แบบไหน ?
แม่ที่มั่นคง ปลอดภัย เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง รื้อซ่อมความสัมพันธ์เป็น
สาเหตุ: เพราะแม่ในวัยเด็กถูกเลี้ยงจากความสัมพันธ์ที่มั่นคง มีคนพร้อมส่งความปราถนาดีและแสดงออกให้เห็น
ผลกับลูก: เด็กจะรู้สึกถูกรัก อารมณ์จะมั่นคง สัมพันธ์กับคนอื่นได้ เมื่อเจอวิกฤตก็แก้ไขให้กลับมาอยู่ในภาวะปกติได้ มีสายสัมพันธ์อย่างสนิทสนมระหว่างคนในครอบครัว
แม่ทีวิตกกังวล รับรู้ไว สร้างความหวาดระแวงให้คนรอบข้าง
สาเหตุ: เพราะแม่ในวัยเด็กขาดการดูแลอย่างสม่ำเสมอ ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ วัยเด็กจึงตรวจสอบและคอยเช็คความสัมพันธ์ของตัวเองกับคนรอบข้าง เมื่อเป็นแม่ก็เป็นแม่ที่มีอารมณ์ไม่มั่นคง อารมณ์ดีก็ตอบสนองความต้องการลูกได้ แต่ถ้าอารมณ์เสียจะปิดกั้นลูก
ผลกับลูก: จะเกิดความหวาดระแวง ไม่รู้สึกว่าโลกใบนี้มีพื้นที่ปลอดภัย ขั้วบวกเด็ก จะทำตัวน่ารักหรือเอาใจให้แม่เห็น หรือให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตัวเองต้องการ ส่วนขั้วลบ เด็กจะควบคุมอารมณ์ด้วเองยาก
แม่ผู้เพิกเฉย เชื่อตำรามากกว่าสัญชาตญาณ เอาเหตุผลและหลักการนำความรู้สึก จนละเลยอารมณ์และความรู้สึกของตัวเอง เพราะไม่เห็นว่าอารมณ์มีสาระให้จับต้อง
สาเหตุ: เพราะในวัยเด็กแม่อยู่ในระเบียบที่เข้มงวดมากเกินไป
ผลกับลูก: ทำให้หยุดความพยายามในสการสื่อสารต่างๆ เช่น ร้องขอ บอกความรู้สึก ทำตัวเหมือนไม่มีปัญหา ตัดความรู้สึกตัวเองไปทีละน้อย เด็กจะมีบุคลิกภาพนิ่งเฉย ไม่ค่อยแสดงอารมณ์ความรู้สีก เมื่อเด็กโตจะเป็นผู้ใหญ่ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่รู้ว่าตัวเองชอบหรือไม่ชอบสิ่งไหน ไม่แสดงออก มีระยะห่าง โดดเดี่ยวอยู่ลึกๆ สานสัมพันธ์กับคนอื่นไม่เป็น
แม้ผู้เสียการควบคุมทางอารมณ์รู้สึก โดยเฉพาะในเวลาที่เกิดความปั่นป่วนขึ้น มีแนวโน้มที่แม่เองจะทำร้ายเด็กทั้งทางร่างกายและจิตใจ
สาเหตุ: เพราะแม่ในวัยเด็กเคยเป็นเด็กที่ถูกเข้าหาด้วยความรุนแรง จึงไม่รับรู้ถึงการถูกรักและการได้รับความทะนุถนอมว่าเป็นเช่นไร
ผลกับลูก: ทำให้เด็กเกิดภาวะหวาดหวั่นใจ เช่น เด็กที่เคยถูกเลี้ยงด้วยความกลัว แม่ที่คอยจับผิดลูกตลอดเวลา เลี้ยงลูกด้วยคำว่า ‘อย่า!’ ในบางรายของเด็กจะมีพัฒนาการเดินช้า เดินๆ แล้วสะดุดล้มทั้งที่ไม่มีสิ่งใดกีดขวาง
อ่านบทความเคยเป็นลูกแบบไหน ก็จะเป็นแม่แบบนั้น ต่อได้ ที่นี่