Skip to content
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
  • Creative Learning
    Everyone can be an EducatorUnique TeacherCreative learningLife Long LearningUnique School
  • Family
    Early childhoodHow to get along with teenagerอ่านความรู้จากบ้านอื่นFamily PsychologyDear Parents
  • Knowledge
    Growth & Fixed MindsetGritEF (executive function)Adolescent BrainTransformative learningCharacter building21st Century skillsEducation trendLearning Theory
  • Life
    Life classroomHealing the traumaRelationshipHow to enjoy lifeMyth/Life/Crisis
  • Voice of New Gen
  • Playground
    SpaceBookMovie
  • Social Issues
    Social Issues
  • Podcasts
eco literacyการศึกษากลุ่มประเทศนอร์ดิกเทคนิคการสอนแบบแผนทางความสัมพันธ์ปม(trauma)Adolescent Brainโฮมสคูลมายาคติการเป็นแม่ชีวิตการทำงานความรู้สึกส่วนหนึ่งของการเรียนรู้การฟังและตั้งคำถามพัฒนาการgeneration gappublic spaceการสื่อสารอย่างสันติ(Nonviolent Communication)ไวรัสโคโรนา(โควิด-19)ปฐมวัยวัยรุ่น
Creative learning
27 June 2019

ไม่ได้แบ่งการเรียนสายวิทย์สายศิลป์ แต่ใช้ระบบ Track เหมือนเลือกคณะในมหา’ลัย ของกรุงเทพคริสเตียน

เรื่อง

  • ลืมแผนการเรียนวิทย์-ศิลป์ แบบเดิมไปได้เลย เราจะพาไปรู้จัก ระบบใหม่ที่เรียกว่า Track
  • เป็นระบบที่แผนก ม.ปลาย โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนใช้มาเป็นปีที่ 2 แล้ว เพื่อช่วยเด็กค้นหาตัวตน ความชอบ ความถนัด จะได้เลือกคณะในมหาวิทยาลัยไม่ผิด
  • นี่เป็นความพยายามหนึ่งในการปรับตัวของสถาบันการศึกษา ที่เห็นแล้วว่าการศึกษารอไม่ได้ และควรตั้งต้นที่เด็ก ไม่ใช่ที่ระบบ
เรื่อง: รุ่งรวิน แสงสิงห์
ภาพ: อนุชิต นิ่มตลุง

ภายหลังการประกาศปรับเปลี่ยนระบบการรับเข้าในระดับอุดมศึกษา จากระบบ admission สู่การรับเข้าด้วยระบบ TCAS สร้างความกังวลใจให้กับหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นกับตัวนักเรียน ครูผู้สอน โรงเรียน หรือแม้แต่ผู้ปกครอง เพราะการเตรียมเพื่อขึ้นสู่ระดับชั้นที่สูงขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางแผน เตรียมความพร้อม รู้ทั้งความต้องการของเด็กและรู้จักคณะที่อยากจะเข้าเรียนของนักเรียนให้ถ่องแท้เสียก่อน

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ไม่ใช่แค่คนหนึ่งหรือสองคนที่จะต้องเปลี่ยนไป แต่กลับเป็นทั้งระบบที่จะต้องปรับตัว ไม่ได้มีเพียงผู้ทำการทดสอบและคัดเลือกที่ต้องเปลี่ยนรูปแบบเท่านั้น แต่ผู้ถูกคัดเลือกเองก็ต้องเปลี่ยนตัวเองเพื่อเตรียมความพร้อมเช่นเดียวกัน นอกจากความพยายามที่ต้องเพิ่มมากขึ้นของนักเรียนในการพิชิตรั้วมหาวิทยาลัย โรงเรียนในฐานะสถานศึกษาที่ให้ความรู้กับนักเรียนเหล่านี้ก็จำเป็นต้องปรับตัวในทันกับระบบต่างๆ ด้วยเช่นกัน

โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เป็นหนึ่งในหลายๆ ความพยายามของหลายสถานศึกษาที่ต้องการช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จ ได้เข้าเรียนในคณะที่ชอบ มหาวิทยาลัยที่ใช่จริงๆ โดยทำให้เด็กๆ รู้จักกับความต้องการของตัวเอง และได้เรียนรู้ในระบบที่เหมาะสมกับการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านจากระดับมัธยมศึกษาสู่ระดับอุดมศึกษา

ทีม The Potential จะพาทำความรู้จักกับความพยายามและการเตรียมพร้อมของกรุงเทพคริสเตียน ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า ระบบ Track

Track เพื่อหาเป้าหมาย

‘ครูฟะห์’ สุดฤทัย สัจติประเสริฐ หัวหน้าฝ่ายวิชาการผู้ริเริ่มระบบ Track และ ‘ครูหน่อง’ วศวิศว์ ปุณณะสุขขีรมณ์ หัวหน้าด้านงานนักเรียนความสามารถพิเศษ ซึ่งเป็นฝ่ายเทคนิคในการจัดการระบบลงทะเบียน เล่าที่มาและการทำงานของระบบ Track ที่เพิ่งเริ่มใช้เป็นปีที่ 2 แทนระบบแบ่งสายวิทย์ สายศิลป์ แบบเดิม

ปัจจุบันโรงเรียนกรุงเทพคริสเตรียน มีทั้งหมด 14 tracks ได้แก่

  1. Track แพทยศาสตร์ และกลุ่มสาธารณสุขศาสตร์
  2. Track วิศวกรรมชีวการแพทย์
  3. Track วิศวกรรมศาสตร์ (ทั่วไป)
  4. Track วิศวกรรมการบินและอวกาศยาน
  5. Track วิศวกรรมหุ่นยนต์และคอมพิวเตอร์
  6. Track สถาปัตยกรรมศาสตร์
  7. Track บริหารธุรกิจ บัญชี เศรษฐศาสตร์
  8. Track สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์
  9. Track ศิลปกรรมศาสตร์
  10. Track อักษรศาสตร์ มนุษยศาสตร์
  11. Track นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ และสื่อดิจิทัล
  12. Track ศิลปะการประกอบอาหาร
  13. Track วิทยาศาสตร์การกีฬา
  14. Track ดนตรี-นิเทศศิลป์

แต่ละ Track จะได้เรียนวิชาสำคัญที่จะต้องใช้สอบ และใช้เรียนในระดับพื้นฐานของคณะ เช่น Track แพทยศาสตร์ นักเรียนจะต้องเรียนระเบียบวิธีวิจัยซึ่งเป็นวิชาที่จำเป็นต่อการเป็นแพทย์ ควบคู่ไปกับการเรียนในรายวิชาพื้นฐานที่จะต้องใช้สอบ ขณะที่ Track สถาปัตยกรรมศาสตร์ ก็จะต้องเรียนวิชา ดรออิ้ง (drawing) หรือวิชาวาดเขียนพื้นฐาน เพื่อเตรียมความพร้อมในการทดสอบสำหรับเข้าคณะสถาปัตย์ ซึ่งมีลักษณะเป็นวิชาเฉพาะ จำเป็นต้องได้รับการฝึกล่วงหน้า

ครูฟะห์และครูหน่องเผยว่า เป้าหมายหนึ่งเดียวของระบบ Track คือการส่งเด็กให้ถึงฝัน ในระดับมหาวิทยาลัยอย่างถูกต้อง เพราะบทเรียนที่ผ่านมา มีเด็กหลายต่อหลายคนที่ตัดสินใจผิดในการเลือกคณะ

“หลายคนต้องซิ่ว (เรียนใหม่) หลายคนต้องฝืนเรียนต่อ สถานการณ์เหล่านั้นเป็นสิ่งที่ทีมผู้คิดระบบไม่อยากให้มันเกิดขึ้น และ ในระบบการรับเข้าแบบ TCAS ที่มีทั้งหมด 5 รอบด้วยกัน การเรียนแบบ Track จะทำให้มีเวลาเตรียมความพร้อมในรอบพอร์ต (portfolio) ซึ่งเป็นรอบแรกของการคัดเลือกอีกด้วย”

เบื้องหลัง ไม่ง่าย

ในฐานะผู้ริเริ่มระบบ ครูฟะห์เล่าเบื้องหลัง ก่อนจะกลายมาเป็นระบบ Track ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันว่า โรงเรียนเริ่มต้นจากการวิจัย เปรียบเทียบ ศึกษาจากประสบการณ์ในต่างประเทศ พร้อมทั้งให้นักเรียน ม.3 ทำแบบสอบถามออนไลน์ เพื่อตรวจสอบว่าเด็กๆ มีแนวโน้มที่เข้าเรียนต่อในคณะใดบ้าง โดยสำรวจทั้งนักเรียนและผู้ปกครอง

ผลปรากฏว่าความต้องการอันดับหนึ่งของนักเรียนโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนคือ การเข้าศึกษาต่อด้านวิศวกรรมศาสตร์ ตามด้วยแพทยศาสตร์

แต่ปัญหาอยู่ที่ความพร้อมของคุณครูในการสอนรายวิชาเฉพาะทาง โรงเรียนจึงต้องอาศัยบุคคลภายนอก ใช้วิธีปรึกษากับอาจารย์มหาวิทยาลัยโดยตรงในคณะที่เฉพาะทาง และปรึกษาศิษย์เก่าเพื่อขอความช่วยเหลือในบางสายอาชีพ

เช่น การลงพื้นที่ไปปรึกษากับคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี, ธรรมศาสตร์, ศิลปากร, มหิดล และอีกหลายสถาบัน เพื่อความถูกต้อง เหมาะสม และแม่นยำของการเปิดรายวิชาใน Track

“เมื่อได้คำแนะนำต่างๆ ก็มาปรับใช้ เช่น นักเรียนบางคนอยากเรียนด้านสถาปัตย์ แต่ถ้าเป็นในรูปแบบการเรียนการสอนเดิม นักเรียนจะต้องเรียนวิทยาศาสตร์มากถึง 3 ตัว ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ โดยที่ไม่มีโอกาสได้เรียนวิชาพื้นที่ที่จำเป็นสำหรับการสอบเข้าในคณะสถาปัตย์ อย่างวิชาดรออิ้ง ทางเราก็เลยปรับในส่วนของรายวิชาที่เหมาะสม และเพิ่มวิชาที่จำเป็นลงไป”

แต่กว่าจะเป็นเช่นนี้ได้ ทีมครูฟะห์ต้องทำการบ้านกันอย่างหนัก เพราะนักเรียนจะต้องเริ่มรู้แล้วว่าตัวเองชอบด้านไหน และอยากจะทำอะไรในอนาคตก่อนที่จะเลือก Track

‘ทีมแนะแนว’ จึงต้องเข้ามาช่วยในขั้นตอนการค้นหาตัวเอง

“ทีมแนะแนวมีบทบาทมาก เพราะต้องทำหน้าที่พูดคุยและให้คำปรึกษากับเด็กนักเรียน และค่อยๆ อธิบายเรื่องที่เด็กยังไม่มีข้อมูล ครูแนะแนวจะเอาแบบทดสอบความถนัดให้นักเรียนทำ เพื่อค้นหาตัวเอง พอขึ้น ม.ปลาย นักเรียนก็จะรู้ตัวและเลือก Track ตามความต้องการของตัวเอง”

นอกจากนั้น เด็กๆ ยังได้ทดลองเรียน ทดลองเลือก เพื่อค้นหาความถนัด ในการเรียนภาคฤดูร้อนก่อนเปิดเทอมจริง

“ใครอยากจะเรียนทางวิทยาศาสตร์ ทางหมอ โรงเรียนก็จะเตรียมคุณครูฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ไว้ให้ด้วย ซึ่งเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยทำให้นักเรียนรู้จักตัวเองได้ไวมากยิ่งขึ้น การเตรียมพร้อมขึ้นชั้นระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจึงกลายเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด”

ฝั่งผู้ปกครองเองก็มีส่วนสำคัญกับระบบ Track มาก เด็กบางคนที่พ่อแม่เป็นนักธุรกิจ ก็ลองเข้าเรียนใน Track บริหาร แต่พบว่าตัวเองไม่สามารถคำนวณได้อย่างเพื่อน ไม่ชอบตัวเลขจริงๆ ทางโรงเรียนก็อนุญาตให้ย้าย Track ได้ แต่ต้องก่อนขึ้นชั้น ม.5 เพราะอาจจะไปกระทบกับโปรแกรมและตารางที่ทางโรงเรียนวางไว้ และอาจจะกระทบกับการทำพอร์ตในรอบแรกของ TCAS

“ปัญหาการย้าย Track ก็เป็นสิ่งที่ทีมพัฒนาระบบคิดมาตลอด ว่าจะต้องเกิดขึ้น แต่พอทางโรงเรียนได้แก้ปัญหาโดยใช้ระบบแนะแนวตั้งแต่ช่วง ม.ต้น ในปีที่ 2 ปัญหานี้ก็ลดน้อยลง และสิ่งที่สำคัญคือผู้ปกครองที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็ก จำเป็นต้องถามไถ่และพาเด็กๆ ไปรู้จักกับอาชีพต่างๆ ถือเป็นการร่วมด้วยช่วยกัน ระหว่างครู ผู้ปกครอง และตัวเด็กเอง”

โลกเปลี่ยน เด็กเปลี่ยน โรงเรียนต้องเปลี่ยน

การนำเอาระบบ Track มาใช้ ถูกหลายฝ่ายตั้งคำถามว่าเป็นการสลายระบบสายการเรียนที่มีอยู่เดิม

“ถามว่าสลายไหม มันยังไม่สามารถทำได้เสียทีเดียว แต่การนำระบบ Track มาใช้ ช่วยให้เด็กตั้งคำถามมากกว่าการเลือกเรียนระหว่างสายวิทย์หรือสายศิลป์ แต่มันพาเด็กๆ ไปได้ไกลกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นคณะที่อยากจะเรียน อาชีพที่อยากจะทำในอนาคต ตรงนี้คือส่วนสำคัญของระบบ” ครูฟะห์อธิบาย

เมื่อเรียนแบบ Track แล้ว ระบบการแบ่งห้องยังเป็นแบบเดิมอยู่หรือไม่?

ครูหน่องในฐานะผู้จัดการด้านเทคนิคบอกว่า การแบ่งตาม Track ก็จะแบ่งครึ่งๆ เช่น ห้อง 1-5 เป็น Track วิทยาศาสตร์ เช่น วิศวะทั่วไป แพทย์ ฯลฯ เนื้อหาที่เรียนมักจะเน้นวิทยาศาสตร์ นักเรียนก็จะต้องเลือกเรียนฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ขณะที่ ห้อง 6-10 จะเป็น Track สำหรับสายศิลป์ ที่มีทั้งหมด 8 Tracks อย่าง ศิลปศาสตร์ รัฐศาสตร์ ฯลฯ โดยจะเรียนอยู่ด้วยกันหมดแล้วจึงแยกเรียนทีหลัง

“ข้อดีของการทำ Track แบบนี้ เวลาการเรียนครูสามารถเน้นหนักในรายวิชาได้เลย เช่น การสอนวิชาชีวะ บาง Track จะต้องเรียน เช่น หมอ แต่ถ้าเรียนอย่างเดิมเป็นห้องรวมที่นักเรียนหลายๆ ความถนัดอยู่ร่วมกันก็จะสอนลำบาก แต่พอถนัดเหมือนกันมาอยู่ด้วยกัน ก็สอนได้เต็มที่โดยไม่ต้องกังวลว่าคนอื่นๆ จะตามทันหรือเปล่า”

ครูหน่องยังบอกอีกว่า ข้อดีจากการแยก Track ทำให้เห็นความแตกต่างในด้านการเรียนรู้

”วิศวะกลุ่มหนึ่ง หมอกลุ่มหนึ่ง เราจะเห็นเลยว่าเด็กเขาตั้งคำถามและให้คำตอบไม่เหมือนกัน ห้องหมอลักษณะก็จะเป็นเหมือนคำตอบของนักวิจัย ห้องวิศวะเหมือนกับนักลงมือปฏิบัติ เราก็คุยกันในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ว่าผลจากการแบ่งแบบนี้ ทำให้เราสามารถสอนเน้นไปตามธรรมชาติของเด็กได้เลย”

ปัจจุบันตารางสอนเด็กๆ จะมีทั้งหมด 36 คาบ 22 คาบเป็นวิชาพื้นฐานซึ่งเป็นวิชาบังคับตามบริบทของโรงเรียน และมีการเสริมคอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษเข้าไปตามบริบทของโรงเรียน ซึ่งนับรวมว่าเป็นวิชาพื้นฐาน

นอกจากนี้ในฐานะที่กรุงเทพคริสเตียนตั้งอยู่บนพื้นฐานของคริสต์ศาสนา จึงมีวิชาอบรมไบเบิล 1 คาบ แนะแนว 1 คาบ และ อีก 14 คาบที่เหลือคือวิชาเลือกที่เด็กสามารถเลือกได้เอง โดยเลือกผ่าน Track มาก่อน

“อย่าง Track หมอ ก็จะเลือก ชีวะ 4 คาบ เคมี 4 คาบ ฟิสิกส์อีก 4 คาบ ที่เหลือก็เป็นวิชาของหมอ อย่างระเบียบวิธีวิจัย จะเป็นหมอได้ดีก็ต้องเริ่มต้นที่การวิจัย เอาระเบียบวิธีวิจัยวิทยาศาสตร์ใส่ลงไป”

ครูหน่องกับครูฟะห์ทิ้งท้ายว่า สำหรับความแตกต่างและผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลง อาจจะยังเห็นได้ไม่ชัดเพราะเพิ่งเริ่มได้เพียง 2 ปีเท่านั้น เมื่ออนาคตมาถึงอาจจะทำให้เราเห็นความเปลี่ยนได้มากขึ้นอย่างแน่นอน

“แต่ที่แน่ๆ Track ของโรงเรียนจะต้องมีจำนวนเพิ่มขึ้นในอนาคต เพื่อรองรับความต้องการของนักเรียนที่อยากจะเข้าเรียนในคณะที่หลากหลาย”

Tags:

การสอบวิชาเสรีโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยระบบ Track

Author:

Related Posts

  • Creative learning
    หมดเวลาชอล์กแอนด์ทอล์ค มาเรียนรู้อย่างเสรีผ่านห้องเรียน NETFLIX

    เรื่อง รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา

  • Social Issues
    หลงทางกว่า TCAS คือ การศึกษาที่วนอยู่ในเขาวงกต

    เรื่อง

  • Education trend
    วัยรุ่นวัยเรียนและจิตวิทยาแห่งการ ‘โกง’

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดี

  • Dear Parents
    เด็กม.6ก็มีหัวใจ อย่าให้ความหวังของผู้ใหญ่ทับเด็กตาย

    เรื่องและภาพ KHAE

  • Voice of New Gen
    บาส-นัฐวุฒิ พูนพิริยะ: เพราะชีวิตมนุษย์ต้องผ่านบททดสอบตลอดเวลาจนกว่าจะตาย

    เรื่อง ณิชากร ศรีเพชรดีชลิตา สุนันทาภรณ์

  • Creative Learning
  • Life
  • Family
  • Voice of New Gen
  • Knowledge
  • Playground
  • Social Issues
  • Podcasts

HOME

มูลนิธิสยามกัมมาจล

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

เลขที่ 19 เเขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

Cleantalk Pixel